rock – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 16 Feb 2018 11:46:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Annalynn วงเมทัลคอร์รุ่นเก๋าที่อาจไม่คุ้นชื่อในหมู่เรา แต่พวกเขาไปทัวร์มาแล้วทั่วเอเชีย https://thestandard.co/podcast/multipleeargasms23/ Fri, 16 Feb 2018 07:03:36 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=70919

เวียดนาม สิงคโปร์ มาเก๊า เจิ้นเจียง เซี่ยงไฮ้ มาเลเซีย […]

The post Annalynn วงเมทัลคอร์รุ่นเก๋าที่อาจไม่คุ้นชื่อในหมู่เรา แต่พวกเขาไปทัวร์มาแล้วทั่วเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>

เวียดนาม สิงคโปร์ มาเก๊า เจิ้นเจียง เซี่ยงไฮ้ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น คือประเทศและเมืองที่วงเมทัลคอร์อย่าง Annalynn พาเสียงดนตรีดิบแน่นและเสียงว้ากแตกพร่าไปบรรเลงกระหึ่มมาแล้วทั้งนั้น แม้จะไม่เป็นที่รู้จักในวงการเพลงเมนสตรีมบ้านเรานัก แต่ในวงการเมทัล พวกเขาคือรุ่นเก๋ามากประสบการณ์ที่แสดงสดมาแล้วทั่วทวีปเอเชีย


ไปฟัง 5 สมาชิกของวงพูดคุยเรื่องซีนดนตรีเมทัลและไลฟ์เฮาส์ของเอเชีย ประสบการณ์การเล่นในต่างประเทศและในไทยแตกต่างกันที่ตรงไหน ปิดท้ายด้วยครั้งแรกของการเล่นเพลงของตัวเองในแบบอะคูสติก

 


 

 

ใครคือ Annalynn

สมาชิกปัจจุบันของวงดนตรีวงนี้ประกอบด้วย บอล (ร้องนำ), เอก (กีตาร์เบส), ม้ง (กลอง), บอส (กีตาร์), ภพ (กีตาร์) แนวดนตรีคือเมทัลคอร์ คือหนักกว่าแนวร็อกขึ้นมาอยู่ระหว่างเมทัลกับฮาร์ดคอร์


วง Annalynn โลดแล่นอยู่ในวงการดนตรีมา 15 ปีแล้ว ได้เล่นตามซีนอินดี้และซีนอันเดอร์กราวน์จนเลยเถิดมาถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ทำเพลงหนักเท่าทุกวันนี้ แถมยังทำเป็นภาษาไทยด้วย

 

อยู่มาได้อย่างไรเป็นสิบปี ทั้งที่เพลงฟังย้ากยาก

ไม่ว่าจะวงร็อกหรือวงป๊อป ยังไงก็ต้องทำเพลงฮิตเพื่อให้อยู่ได้ ของวงเราคือเพลง Seconds of a Thousand Lies ซึ่งถึงจะไม่ใช่เพลงที่ได้เปิดวิทยุ แต่ก็เป็นเพลงที่ทำให้คนรู้จักว่าเพลงแบบนี้เป็นของวงอะไร เป็นเพลงแจ้งเกิดของวง


สำหรับการตลาดของวงเมทัลแบบนี้ การเล่นสดเป็นตัวโปรโมตที่ดีที่สุด  

 

 

พูดถึงซีนเมทัลคอร์

ทุกวันนี้ซีนเมทัลในเมืองไทยเงียบลงเยอะ ถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่มีทั้งร็อกผับ มีทั้งอีเวนต์ คนฟังเมื่อก่อนก็หลักพันคนได้ ไปจัดที่มูนสตาร์ แต่เดี๋ยวนี้คนฟังก็หายไป น่าจะด้วยการวนไปของวัฏจักรดนตรีก็เป็นได้ บางคนที่เคยฟังเมทัลเมื่อก่อนก็อาจวนไปฟังอย่างอื่น หลายคนมีครอบครัว มีลูก ก็ไม่ได้มาตามเพลงเมทัลแล้ว ไม่สะดวก


เมทัลคอร์มีความเป็นแฟชั่นนะ มาช่วงเดียวกันกับช่วงดนตรีอีโม เป็นยุคเดียวกับ myspace ที่ดนตรีเมทัลคอร์รุ่งเรืองมาก ทั้งเสื้อสีๆ กางเกงขาเดฟ ใส่เครื่องประดับหนาม เป็นสัญลักษณ์เลยว่าชาวร็อกจะแต่งตัวแบบนี้ แต่บ้านเราเรื่องการแต่งกายมาก่อนการฟังดนตรีร็อก

 

 

ผลงานเพลงของ Annalynn

ถ้ารวมมินิอัลบั้มล่าสุดที่ออกกับค่าย Wayfer Records ชื่อว่า Deceiver / Believer ทางวงก็มีผลงานมาแล้ว 2 มินิอัลบั้ม กับ 1 อัลบั้มเต็ม ความแตกต่างของอัลบั้มล่าสุดกับอัลบั้มที่ผ่านๆ มาคือนอกจากมีมือกีตาร์ใหม่แล้วก็ยังตั้งใจทำเพลงให้ลงตัวมากขึ้น มีทั้งความหนักของเมทัลคอร์แบบเก่าๆ และแนวทางใหม่ๆ โดยมีเพลงแรกที่ปล่อยเอ็มวีคือ Fear

 

ได้ไปเล่นต่างประเทศอย่างโชกโชน

ซีนดนตรีเมทัลต่างประเทศก็ต่างจากไทยเหมือนกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือพฤติกรรมของคนที่ไปดูวงดนตรีแสดงสด อย่างที่สิงคโปร์ แม้คนดูจะปริมาณพอๆ กับที่ไทย แต่จะไม่ไว้ท่าเหมือนคนไทย จะเห็นชัดว่ามาเพื่อฟังเพลง มาปลดปล่อย มามันไปกับดนตรี


ส่วนมากในประเทศไทยจะมาดูวงดนตรีของคนรู้จักมากกว่า มาเชียร์เพื่อน เคยมีวงต่างประเทศที่ค่อนข้างดังได้รับเชิญมาเล่นในไทย เป็นวงจากสิงคโปร์ชื่อ A Town In Fear ทั้งที่คนฟังก็ชอบเพลงเขาเยอะ เคยดูวงนี้เล่นมาแล้ว แต่ก็เอาแต่ยืนดูกันเฉยๆ เหมือนคนไทยไม่ค่อยปลดปล่อย มันแปลกๆ ไม่ค่อยจอยกันเท่าไร


ไม่แน่ใจว่าปัญหาคือคนมักไปฟังวงที่รู้จักอยู่แล้วมากกว่าไปค้นหาวงดนตรีเจ๋งๆ ใหม่ๆ มากกว่าหรือเปล่า ทำให้วัฒนธรรมไลฟ์เฮาส์บ้านเราไม่ค่อยเติบโต ต่างกับต่างประเทศ


วงเคยไปเล่นที่จีน เป็นงานเฟสติวัลใหญ่มาก มี 3 เวที แต่พื้นที่ประมาณ 20 สนามฟุตบอลได้ เวทีที่ไปเล่นก็เป็นวงเมทัลเยอะมาก แต่คนดูก็เป็นอาม่าอาแปะเข็นจักรยานอะไรอย่างนี้ เยอะมาก เขาก็เอ็นจอย มันไม่เกี่ยวกับวัยจริงๆ


จะว่าไป ประเทศไทยเราเสพศิลปะน้อยกว่าประเทศเอเชียด้วยกันมากจริงๆ อย่างตอนไปเล่นที่ญี่ปุ่น วงก็เห็นเลยว่าคนญี่ปุ่นเต็มที่กับการเสพดนตรีแค่ไหน งานเริ่มบ่ายโมง เวลา 11 โมงครึ่งคนก็รอที่หน้าประตูแล้ว พอเปิดประตูทุกคนก็กรูเข้ามาในงาน ไม่มีการรอว่าต้องถึงวงที่รอดูค่อยมานะ

 

 

ประสบการณ์การเล่นสดที่ญี่ปุ่น

เคยได้ไปญี่ปุ่น 1 ครั้ง แต่ไปเล่น 2 งาน งานแรกคือเฟสติวัลดนตรีของวง Crystal Lake ซึ่ง Annalynn เคยได้ฟีเจอริงกับเขามาเมื่อหลายปีที่แล้ว ก็จัดที่ Studio Coast ส่วนงานที่ 2 เล่นไลฟ์เฮาส์ที่ชินจูกุ เห็นเลยว่าที่ญี่ปุ่นมีไลฟ์เฮาส์เยอะมากจริงๆ


ระบบไลฟ์เฮาส์ที่นั่นดีมาก จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น ถ้าสถานที่นั้นมีความจุ 100 คน หากมีคนมาดูวงเรา 40 คนขึ้นไปจะแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ เป็นต้น ซึ่งจะให้เท่าๆ กันทุกวงที่เล่นในวันนั้น นอกจากนี้ยังเอาสินค้าไปขายที่นั่นได้ด้วย ไลฟ์เฮาส์ก็อาจได้ค่าดริงก์ ค่าอาหารไป


วัฒนธรรมนี้ไม่ค่อยเติบโตในไทยเท่าไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าโมเดลบ้านเราเป็นการเล่นเพลงคัฟเวอร์ เพลงที่เล่นก็จะไม่มาก ไม่หลากหลายเท่าไร แต่ถ้าที่ญี่ปุ่น เวลาเราผ่านไลฟ์เฮาส์ก็จะพบว่าเขาเล่นเพลงตัวเองให้คนอื่นฟัง แถมมีจัดคอนเสิร์ตทุกๆ สัปดาห์ วิธีคิดของวงคือขายเพลงของตัวเองมาตั้งแต่แรก

 

 

Eargasm Session

  1. I Am Unbroken (Acoustic Version) – Annalynn

 


 

Credits
The Host
แพท บุญสินสุข

The Guest ณัฐพล จุฑาทวีวรรณ

เอกราช แก้วสมเด็จ

ณัฏฐภพ ชื่นสุขธนานันท์

สุพัชยะ สมพงษ์

ณัฐพล ลาภอาภารัตน์

Show Creator แพท บุญสินสุข

Show Producer นทธัญ แสงไชย

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วัวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธ์ุพงศ์

Music Westonemusic.com

The post Annalynn วงเมทัลคอร์รุ่นเก๋าที่อาจไม่คุ้นชื่อในหมู่เรา แต่พวกเขาไปทัวร์มาแล้วทั่วเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
“อย่าทำวงดนตรีให้เป็นพี่น้อง” กับการสร้างงานเพลงในแบบ Lomosonic https://thestandard.co/podcast/multipleeargasms17-lomosonic/ Sat, 06 Jan 2018 17:01:13 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=60502

Lomosonic น่าจะเป็นวงที่มีระบบงานน่าสนใจมากที่สุดวงหนึ่ […]

The post “อย่าทำวงดนตรีให้เป็นพี่น้อง” กับการสร้างงานเพลงในแบบ Lomosonic appeared first on THE STANDARD.

]]>

Lomosonic น่าจะเป็นวงที่มีระบบงานน่าสนใจมากที่สุดวงหนึ่งเลยก็ว่าได้ หลังจากเปลี่ยนบ้านมาอยู่ค่ายสนามหลวงในอัลบั้มที่ 3 Anti-Gravity นี้ ระบบโปรดักชันของวงก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป เราจะมาพูดคุยในเรื่องอัลบั้ม การวางระบบงานของสมาชิกในวง และแนวทางการทำงานที่พวกเขาบอกว่า “อย่าทำวงดนตรีให้เป็นพี่น้องกัน”

 


 

 

พูดถึงอัลบั้มล่าสุด Anti-Gravity

เป็นอัลบั้มที่ 3 ของวงแล้ว ชื่ออัลบั้มทั้งหมดที่ทำมาจะเป็นคอนเซปต์คร่าวๆ ถึงบรรยากาศของวงในช่วงเวลานั้นๆ อย่างเช่นอัลบั้ม Fireworks พลังก็จะพลุ่งพล่าน ระเบิด วัยรุ่น ต่อมาเป็นอัลบั้ม Echo & Silence ก็เหมือนต่อจากดอกไม้ไฟมันระเบิด เสียงก็ตูมตามแล้วก็เงียบลง เป็นช่วงเวลาที่สงบลงมาของวง ถัดมาก็เป็น Anti-Gravity หน้าปกอัลบั้มเป็นเหมือนรูปเด็กในครรภ์ เปรียบเหมือนวงก่อกำเนิดขึ้นมาใหม่ ซีนอินดี้ได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้เข้าสู่ฝั่งแมสแล้ว

 

เหมือนความกดดันเหล่านี้มันเป็นแรงดึงแรงผลัก เป็น gravity ชนิดหนึ่ง ทางวงก็รู้สึกถึงแรงเหล่านี้ เราก็แอนตี้มัน ต่อต้านมัน เลือกทำสิ่งที่ตัวเองต้องการ แล้วสื่อสารกับแฟนเพลง

 

ส่วนเนื้อเพลง หลักสำคัญของบอยคือเขียนเรื่องจริง ตอนแรกอาจจะรับไม่ได้กับการเอาเรื่องส่วนตัวมาเล่า แต่ประเด็นคือการจะร้องเพลงนั้นเราต้องเชื่อก่อน คนฟังเขารู้ว่าเราเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่เราร้อง

 

Lomosonic เหมือนคนคนหนึ่งที่มีการเติบโตไปตามวัย อย่างเพลง น้อง…น้อง ก็เกิดจากวัยวุฒินี้ นึกถึงวง BLACKHEAD ช่วงอัลบั้ม Full Flavor ซึ่งบอยไปฟังก็รู้สึกว่า เฮ้ย ทำไมเขาดูเป็นผู้ชายมีเสน่ห์ จากนั้นก็มีการเติบโตระหว่างชุด พูดเรื่องผู้หญิงแล้วบรรยายยังไง

 

อย่าง Lomosonic เอง เพลงซิงเกิล ส่งมือ เนี่ย ฟังตอนแรกก็หยึยมาก มันโลลิป๊อปมาก ถ้าอยู่ในอัลบั้มแรกคงไม่ได้ออก เพราะไม่เข้ากับคาแรกเตอร์ตอนนั้น แต่พอมาตอนนี้ เราก็รู้สึกว่าเพลงนี้คงเป็นเพลงหลักของโชว์ได้เลย

 

การเติบโตทางดนตรีของวง

ป้อมเป็นคนเตรียมวัตถุดิบ สมาชิกคนอื่นก็ไปปรุงเพิ่ม อย่างชุดแรกกลองจะตีให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่ความสามารถจะมีได้ ชุด 1 คือความถึก ทน และเร็ว จะไม่มีความละเมียด เทคนิค เป็นวัยรุ่นที่ใช้กำลัง ตอนอัดชุดแรกไม่ใช้เมโทรนอม คนอื่นต้องอัดตามที่ออตโต้ตีไว้ ซึ่งเป็นเพลงเร็วแทบทั้งหมด

 

พอชุด 2 ก็เริ่มมีเพลงช้า เพลงมีเดียม ตั้งใจทำให้คนฟังได้ง่ายขึ้น มีกิมมิกนิดหน่อย ถ้าจะเทียบการเติบโตก็เหมือนอัลบั้มแรกบอกว่า Lomosonic คืออะไร อัลบั้ม 2 คือ Lomosonic มันเป็นอะไรได้อีก ส่วนอัลบั้มถัดมาก็คือนอกจากที่เคยทำไปแล้วเนี่ย สุดขอบของวงไปได้แค่ไหน แต่สุดท้ายขอบของ Lomosonic ก็คือเพลงร็อก

 

ส่วนเรื่องโปรดักชันของอัลบั้มนี้ก็แตกต่างจากที่เคยทำมามาก เพราะช่วงที่ทำ 2 อัลบั้มแรกเป็นการใช้งานคน in house ของค่ายเพลงทั้งหมด แต่พอมีการย้ายค่าย การทำอัลบั้มนี้เลยมีการสื่อสารกับโปรดิวเซอร์จริงๆ อย่างเพลง คำตัดสิน กับ เพราะความรักไม่เลือกเวลาเกิด ได้พี่ต้น Silly Fools มาโปรดิวซ์ให้ เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่านี่เป็นมิวสิกโปรดักชันจริงๆ ทำให้วงรู้เบื้องหลังของงานซาวด์เอ็นจิเนียร์มากขึ้น ส่วนเพลงหลังจากนั้นก็ได้ร่วมงานกับพี่ต้า Cyndi Seui ก็ได้ความรู้เรื่องซาวด์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นมากๆ และการทำซาวด์มันมีมากกว่าแค่การอัดแล้วมาโพสต์โปรดักชันทีหลัง ซึ่งทางวงน่าจะได้เอาความรู้นี้มาใช้ต่อไปแน่ๆ

 

 

 

Track by Track: Anti-Gravity

เพชฌฆาตพายุนางฟ้า (Anti-Gravity) – เพลงนี้ขึ้นด้วยกีตาร์ริฟฟ์ของป้อม บอยก็ไปคิดอยู่นานว่าจะทำเป็นเพลงยังไง ก็ปรากฏว่าเปิดหัวด้วยเสียงร้อง เป็น Axl Rose มาเลย เป็นหนึ่งสัญลักษณ์ที่เราต้องการบอกว่า Anti-Gravity จริงๆ เราจะทำอะไรเราก็ทำ เราโชคดีที่เราได้โอกาสจากผู้ใหญ่ เขาตามใจเรา

 

เพลงนี้เป็น 2 เพลงสุดท้ายในอัลบั้มที่แต่งขึ้นมา ปกติเวลาทำเพลงเสร็จกลับบ้าน บอยมักเปิดหาเสียงอะไรในกูเกิลมาใส่ ก็ดันไปเจอคลิปเครื่องบิน ก็คิดอยู่ว่าจะตัดเสียง announcer ตอนท้ายออกดีไหม แต่สุดท้ายก็ใส่ไว้

 

น้อง…น้อง (Spicy Beef Nacho) – เพลงนี้ก็ได้ริฟฟ์มาก่อน ออตโต้เอาไปใส่กลองที่บ้าน ก็มีการใส่บองโก้เข้ามาให้ดูเม็กซิกัน บอยก็บอกว่าอยากแร็ป ก็ไปทำมาใส่ หลังจากไปฟัง Mr. Brownstone ของ Guns N’ Roses

 

อาจจะต่อยอดจากตอนทำเพลง หากโลกนี้ไม่มีความรัก ที่เขียนเนื้อแร็ปให้พี่ป๊อดก็ได้ แถมให้พี่ป๊อดว้ากด้วยนะ

 

ทางที่ลมผ่าน (Veranda) – ตรงแบ็กกราวด์เพลงนี้จะได้ยินเสียงสไลด์ คือเสียงไฟแช็ก เป็นการทำเพลงนอกสถานที่ ทำกันระหว่างทัวร์ ปิติก็พกเอาอินเทอร์เฟซตัวเล็กไป เก็บไอเดีย เก็บริฟฟ์ที่คิดกันระหว่างเดินทางขึ้นมา ตั้งใจให้เป็นเพลงที่เปลี่ยนตรงระหว่างเพลง แอดลิปตอนท้ายก็เอาจากเดโม หลายอย่างมันอัดใหม่ไม่ได้ มันสดสุดแล้ว เป็นเพลงที่มีส่วนผสมนานาชาติ มีเมโลดี้แบบจีนๆ ยำมั่วมาก

 

ความอ่อนแอ (Feeling) – เป็นเพลงที่ตั้งใจให้เป็นซิงเกิล มันง่าย คิดให้เป็นเพลงฮิต แต่ตอนนี้มันฮิตไหมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

 

ส่งมือ (Trust) – เป็นเพลงโดด ตั้งใจว่าอยากได้ริฟฟ์แบบวง Muse ยุคแรกๆ มันไม่ต้องหวือหวาแต่รวมคนได้ เหมือนคนรู้ว่ากลองอย่างนี้ต้องกระโดดยังไง

 

หลอก (Naive) – อยากดึงบีตฮิปฮอปมาผสมกับวงร็อก พร้อมๆ กับซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ที่มินิมัลแต่ซับซ้อนในเชิงโครงสร้าง คือทำเป็น Triplet พี่ต้าช่วยเรื่องนี้เยอะมาก ส่วนเดโมต้องให้เครดิตออตโต้กับการวาง samp สร้างบรรยากาศเพลงได้ดี

 

ปล่อย (Noise) – เป็นซิงเกิลแรกของอัลบั้มนี้ เป็นการทดลองร่วมงานกับพี่ต้า Cyndi Seui ซึ่งพี่ต้าก็ได้สำแดงเดชร่ายมนตร์อิเล็กทรอนิกส์ ตอนแรกเพลงนี้ป้อมทำเองที่บ้าน ก็ได้งานที่ค่อนข้างพอใจแล้วล่ะ แต่จัดการกับซาวด์ไม่ได้ เลเยอร์มันเยอะเป็นร้อย ยอมรับเลยว่าประสบการณ์ไม่ถึง แต่พี่ต้าจัดการได้อย่างกับเวทมนตร์เลย

 

กอด (Airport) – Airport เป็นชื่อเล่นของเพลงตั้งแต่ช่วงขึ้นเพลงแรกๆ วงดนตรีเป็นอาชีพที่อยู่สนามบินบ่อย หลายครั้งก็เจอคนที่สนามบิน ร้องไห้บ้าง ดีใจบ้าง แล้วความรู้สึกนี้มันสะสมอยู่ในตัวเรา ป้อมก็แต่งกีตาร์มาให้บอยเอาไปใส่เนื้อเพลง

 

มีแค่เราสองคน (Trip) – บอยขึ้นเพลงจากคีย์บอร์ดในเครื่อง Mac พี่ฟองเบียร์ก็บอกว่าเพลงนี้มีหน่วยก้านดี แล้วจากนั้นก็ขับรถไปเที่ยวกาญจนบุรีแล้วหลงทาง ก็เลยได้ข้อสรุปว่า หลงมันก็เป็นการเที่ยวอยู่ดี บางคนหลงทางแล้วทะเลาะจะเป็นจะตาย แต่ถ้าเพิ่งคบกันหลงยังไงก็ไม่โกรธกัน ฟีลนั้นมันน่ารักนะ ฟังเพลงนี้แล้วก็อยากให้รู้สึกอย่างนั้น อยากให้เก็บฟีลนั้นไว้

 

เพลงกลับบ้าน (Lullaby) – อยากทำเพลงที่ช้าที่สุดที่ Lomosonic เคยทำมา กลองก็ตียาก คุมบีตยาก ซึ่งป้อมมักจะให้โจทย์ยากกับสมาชิกวงอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้ว อัลบั้มนี้ลองแหกเพดานของวงดูว่าช้าสุดได้แค่ไหน เร็วสุดแค่ไหน หนักสุดได้แค่ไหน เบาสุดแค่ไหน

 

 

หากโลกนี้ไม่มีความรัก (Everyday Occurrence) – เพลงนี้ได้พี่ป๊อดมาร้อง ซึ่งมาจากคำติดปากเวลาเล่นสดของบอยที่ว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีความรักก็คงไม่มีความคิดถึง โชคดีมากที่ได้พี่ป๊อดมาร้อง เพราะวุฒิภาวะของพี่ป๊อดมันเข้ากับเพลงนี้มาก แล้วเพลงที่แกร้องก็จะออกมาเป็นฟีลเหมือนเบเกอรี่ยุคแรกๆ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เราชอบ

 

Bloodpump! – ป้อมตั้งโจทย์ว่าอยากได้ฟีล spanish ออตโต้ก็ไปขึ้นมา แล้วก็เป็นเพลงที่กลองเหนื่อยมาก ตอนเขียนกลองก็ไม่รู้สึกเหนื่อยนะ แต่พอไปเล่นจริง ออตโต้ก็คิดเลยว่าจะเป็นเพลงที่เล่นครั้งเดียวในชีวิตที่คอนเสิร์ตใหญ่ หลังจากนั้นไม่นาน ที่เชียงใหม่ บอยบอกว่าเล่นเลย

 

แสงไฟไม่จำเป็นในความมืดมิด (No Wish) – ถ้าชอบเพลง Lomosonic ยุคแรก ก็หวังว่าจะชอบเพลงนี้

 

เพลงนี้อยากบอกว่าที่เราชอบบอกว่า อยากตามความฝัน หลายๆ ครั้งมันเป็นความฝันของคนอื่นนะ มันไม่มี manual ที่จะบอกว่าทำแบบนี้แล้วจะสำเร็จ บางทีชีวิตมันก็เหมือนป่านะ ถ้าเดินทางไม่ดีก็หลงป่าได้ บอยเคยพูดในโชว์ว่า ถ้าชีวิตวันนี้มันแย่ ทำไมเราถึงเชื่อว่าพรุ่งนี้มันจะดี มันอาจจะแย่ลงก็ได้ แต่ที่เรายังอยู่ได้เพราะเราแข็งแกร่งไง แล้วทำไมต้องไปทำตามฝันของคนอื่น ทำไมต้องมาบอกเราว่าผมจะเป็นอย่างพี่ ซึ่งมันก็ต้องทำงานหนักไง

 

แต่ทำงานแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จนะ ทำงานหนักมากแล้วงานไม่ดีก็ไม่ดีนะ หรือบางทีทำงานเบามากแต่ดันได้งานดี ผีจับยัด สำเร็จขึ้นมา ก็มี

 

ความฝันมันเหมือนเปิดประตูนรก เข้าป่าดงดิบ สู่ความมืดดำ แล้วคุณเชื่อได้แค่คนเดียวคือตัวคุณเอง นี่คือแสงสว่างไม่จำเป็นในความมืด

 

แค้นรักอสรพิษ (Rainbow Boa) – ก็ได้จากคำพูดประมาณว่า ตีงูต้องตีให้ตาย คือถ้าจะทำกูต้องทำให้ตายนะ ไม่งั้นกูเอาคืนนะ ช่วงนั้น เลมมี วง Motorhead เสียชีวิตพอดี ป้อมก็ฟังเพลงเขา เลยมีอิทธิพลกับเพลงนี้พอสมควรเลย เป็น speed matal ที่เร็วที่สุดในอัลบั้มนี้ ก็ลองท้าทายตัวเองดู เพราะถ้าท้าทายแล้วไม่สำเร็จ ก็ยังมีเพลงสูตรให้กลับไปทำได้เสมอ

 

Sorry (Zero Gravity) – เนื้อทำนองมาก่อนเลย ก็มีความหยึยตรงเมโลดี้เหมือนกัน พี่อ๋า สตาฟฟ์ของค่ายก็บอกว่ามันเหมือนเพลง RS ตอนทำงานเพลงนี้มันดีในแง่ที่ว่าพี่ต้าช่วยเข้ามาทำให้ซาวด์มันอยู่เวิ้งว้างในอวกาศ ด้วยความที่อยากได้เพลงแบบวง 10cc เพลง I’m Not in Love ที่อยู่ในซาวด์แทร็ก Guardians of the Galaxy ซินธ์นี่ฟูมาก เป็นเพลงที่ป้อมกับออตโต้ไม่ได้เล่นเลย มีแค่ปิติกับบอย ซึ่งทุกอัลบั้มจะมีเพลงหนึ่งให้ 2 คนนี้จัดการกันเองเลย

 

 

การแบ่งหน้าที่ของสมาชิกในวงอย่างเป็นระบบ

วง Lomosonic จะแบ่งหน้าที่กันในวงอย่างชัดเจนมากๆ อย่างบอยก็จะเป็นโชว์ไดเรกเตอร์ มีหน้าที่จัดเพลย์ลิสต์ ทำโชว์ สมาชิกวงคนอื่นจะไม่มีปากเสียงเรื่องนี้เลย เพราะฟรอนต์แมนจะรู้ดีที่สุด เป็นคนควบคุมเวที มีช่วงหนึ่งที่บอยดูเล่นสดมากกว่าฟังอัลบั้มอีก เลยซึมซับมา ถ้าจะขอเพลงก็ต้องมาขอที่บอยนะครับ

 

ป้อมเป็นโปรดักชันเมเนเจอร์ ทำส่วนของเพลงและตัวภาพของวง แต่เพลงจะมีปิติมาช่วยในส่วนโปรดักชัน ส่วนภาพก็เริ่มวางทีมเล็กๆ ของตัวเองมาช่วยเหลือกัน เพราะคนเดียวดู 2 เรื่องไม่ไหว เอ็มวีเพลง ส่งมือ ป้อมก็เป็นคนกำกับเอง

 

ออตโต้เป็นฝ่ายบุคคล เป็นทีมหลังบ้านแท้ๆ เลย ต้องคุยกับคนทั้งหลาย ทั้ง technician เป็นเรื่องอ่อนโยน เรื่องเชิงจิตใจ ถ้าป้อมเป็นภาพและเสียง บอยเป็นงานคนหน้าบ้าน ออตโต้จะเป็นงานคนหลังบ้านทั้งหลาย ส่วนมากพวกศิลปินจัดๆ ที่ประนีประนอมไม่เก่งจะหนีจากเรื่องนี้ แต่ออตโต้ทำได้ดี

 

ปิติเป็นฝ่ายหลังบ้าน เป็นคนมีความรับผิดชอบ เชื่อถือได้มากในเรื่องเงิน เรื่องระบบ เรื่องตัวเลข และระเบียบวินัย พูดยังไงได้อย่างนั้น เป็นคนรับผิดชอบเงินทั้งหมดของวง คนที่มี trust สูงสุดในวงคือปิติ

 

เวลาระดมความคิดกันก็มีแต่คนที่ดูแลด้านนั้นโดยตรงจะมีเสียงมากกว่าคนอื่น อย่างถ้าคุยกันเรื่องโชว์ บอยก็จะมี 2 เสียง คนอื่นมี 1 เสียง หัวหน้ามีเสียงใหญ่หน่อย เพราะรู้เรื่องนั้นดีที่สุด

 

อะไรที่ทำให้วงอยู่มาได้ถึงตอนนี้

หัวใจของมันเลยคือสู้ไม่ถอยและอึด สมาชิกวงบางคนเคยมีทางเลือกอื่นนอกจากการเป็นนักดนตรี ในช่วงแรก เพราะการทำเพลงช่วงแรกนอกจากไม่ทำเงินแล้วยังดูดเงินอีกด้วย ส่วนบอยไม่มีทางเลือกอื่นเลย แต่ก็ยอมไปเล่นดนตรีกลางคืนเหมือนกัน แต่ก็ยังสนุก รู้สึกว่านี่คือสิ่งที่อยากเป็น

 

ช่วงแรกๆ บอยก็มีปัญหาเรื่องอารมณ์เหมือนกัน แต่สุดท้ายแล้ว สรุปได้อย่างเดียวว่ามองมันเป็นเรื่องงาน ทุกคนก็อยากให้งานมันดี วงตอนนี้ไม่มีเรื่องส่วนตัว บางวงมันมีปัญหาว่าความมุ่งหวังของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ซึ่งสุดท้ายทำให้วงแตก แต่ถ้าเราอยากสร้างงานที่ดี เราเคยไปเจอนักดนตรีระดับตำนาน เจอ Silly Fools ทุกวันนี้เขาก็ยังทำงานหนักอยู่

 

ในการปล่อยเพลงมันไม่ใช่แค่นักดนตรี มันคือทุกอย่างทั้งหมด ทั้งค่าย ทั้งทีมงานเบื้องหลัง มันโชคดีที่ปิติมาดูตรงนี้ เพราะพอคนดูระบบมันเป็นนักดนตรี ก็ทำให้การทำงานมันลื่นไหล ทำให้เราได้อัดเพลงเร็วขึ้น วงดนตรีวงหนึ่งมันไม่ได้มีแค่งานดนตรี มันยังมีงานบัญชี งานธุรการ ถ้าเราเจอความสามารถแบบนี้ในตัวสมาชิกวงก็คือดีเลยครับ

 

หลักสำคัญอีกข้อคืออย่าทำวงดนตรีให้เป็นครอบครัวมากเกินไป อย่าทำให้เราต้องใช้ใจในการคุยทุกเรื่อง คิดว่าเรามาทำงานกัน เพราะพอเริ่มมีเรื่องส่วนตัวมันจะมีเรื่องอารมณ์ มันจะไม่ใช่แล้ว วง Lomosonic จะดูแลกันแบบญาติมิตร ไม่เสือกเรื่องส่วนตัว อย่าไปสนิทกันจนพูดอะไรกันไม่ได้ อย่างเวลาคุยกับ technician เราก็จะไม่สนิทกับเขามาก เพราะไม่งั้นเราจะคอมเมนต์งานเขายังไง เราจะเกรงใจ

 

แต่การอ่อนน้อมถ่อมตนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ เราอยู่ในสังคมไทย เรารู้สึกว่าแรกๆ เราก็คงน่ารังเกียจเหมือนกัน แต่พออยู่ไปนานๆ ก็รู้สึกว่าคนมันอยากมีความสุขมากที่สุด การเล่นแล้วลงมาได้เจอเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้แลกเปลี่ยนคุยกัน มันก็สนุก เพราะชีวิตมันไม่ได้มีแค่บนเวที

 

มันก็ย้อนกลับมาไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติต่อคนดู คนดูปฏิบัติต่อเรา คนดูปฏิบัติต่อกัน หรือกับทีมงานต่างๆ คือ respect ความเคารพซึ่งกันและกัน เราเชื่อว่าความเคารพจะทำให้เราเดินงานกันได้เร็วยิ่งกว่าความสนิทอีกนะ เพราะมันไม่ใช่ความเคารพแบบที่ต้องก้มหัวบูชา แต่เป็นความเคารพว่าความเห็นเขามีค่าเท่ากับความเห็นเรา

 

 


 

Credits

The Host แพท บุญสินสุข

The Guest อริย์ธัช พลตาล

ฉัตรชัย งามสิริมงคลชัย

ปิติ เอสตราลาโด สหพงศ์ เดน โดมินิค

ชาญเดช จันทร์จำเริญ

Show Creator แพท บุญสินสุข

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริน ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Music Westonemusic.com

The post “อย่าทำวงดนตรีให้เป็นพี่น้อง” กับการสร้างงานเพลงในแบบ Lomosonic appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง https://thestandard.co/podcast/toeytey08/ Wed, 27 Sep 2017 23:00:26 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=30845

     พัด-ชนุดม ก็เหมือนเทยทั่วไปที่เริ่ม […]

The post เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

     พัด-ชนุดม ก็เหมือนเทยทั่วไปที่เริ่มฟังเพลงจากแนวลูกทุ่ง ป๊อป อาร์แอนด์บี จนมีโอกาสได้เล่นละครเวทีมิวสิคัลที่เล่าเรื่องด้วยเพลงร็อก หลังจากนั้นพัดก็ถอนตัวจากเพลงร็อกไม่ขึ้น จนกระทั่งได้มีวงดนตรีเป็นของตัวเอง ก็ยังเป็นแนวร็อก มีเพลงและการแสดงที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้

     แม้ว่าการแสดงบนเวทีของพัด จะจัดจ้านด้วยเสื้อผ้าและถุงน่องตาข่าย แต่มันก็ยังเป็นเรื่องภายนอก เพราะสุดท้ายแล้วพัดยังเชื่อว่า คนจะสนใจสารที่ต้องการสื่อในเพลงร็อกจนลืมไปเลยว่าเธอเป็นเทยหรือเป็นเพศอะไรก็ตาม

 

01.32

     “ตอนเด็กๆ พ่อกับแม่เขาจะชอบมีปาร์ตี้สังสรรค์กัน แล้วเขาก็จะเรียกเราขึ้นไปร้องเพลง เต้น แล้วเราก็ทำได้ดีมากมาตลอดตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ‘พัด ขึ้นมาร้องเพลงพุ่มพวงเร็ว’ เราก็ ‘ตั้งแต่…’  อย่างนี้ไปเลย ส่วนใหญ่เพลงที่ร้องเป็นเพลงผู้หญิง แล้วเต้นแรงมากด้วย ก็เลยรู้ทันทีว่าฉันคือเพศนี้ พ่อกับแม่ก็สนับสนุน”

 

02.13

     “วันเกิดตอนอายุ 9 ขวบ สิ่งที่พ่อซื้อให้คือชุดผู้หญิงที่กระโปรงเป็นลูกไม้ ส่วนแม่ซื้อลูกบอลให้ แม่ก็สนับสนุนเหมือนกันแต่อยากให้ลูกเล่นกีฬาด้วย อยากให้ลูกรักสวยรักงามด้วย”

 

02.48

     “พัดเป็นเด็กต่างจังหวัด มาจากจังหวัดตราด บ้านติดทะเล ใต้ถุนบ้านก็จะเป็นทะเล แล้วจะมีปลาดุกตัวเล็กๆ ปู เราก็จะชอบลงไปจับหรือแม้กระทั่งต้นมะพร้าวเราก็ปีนเป็นลิง”

 

03.24

     “เรื่องปีนป่ายผาดโผน มันช่วยเราอย่างหนึ่งคือเราได้ทั้งความเป็นหญิง ในเรื่องของการแสดง และเรื่องความเป็นชายได้จากการที่เรามาจากต่างจังหวัด แล้วได้เล่นอะไรที่เป็นธรรมชาติ มันจะมีสองด้าน เวลาเราไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่เป็นทั้งผู้ชายหรือผู้หญิงเราก็สามารถปรับตัวได้ เวลาไปอยู่กับผู้ชายเขาจะไม่ค่อยกล้าล้อพัด เพราะสิ่งหนึ่งที่เด็กผู้ชายจะยอมรับในเวลานั้นคือความสามารถ กีฬาเราก็ได้ ฟุตบอลเราก็เล่นได้ วอลเลย์บอลเราก็เล่นได้ แล้วเราเล่นได้ดีผู้ชายก็จะเฮ้ย เพราะฉะนั้นมันจะไม่กล้ามาแกล้งเรา เราก็อยู่ในที่ที่เขายอมรับได้ทั้งสองฝั่ง กับผู้หญิงฉันก็กระโดดยางได้ ทำกิจกรรมก็ได้ มันก็เลยกลายเป็นมิกซ์กัน แต่ก็ชัดเจนทั้งสองด้าน เราทำเพราะไม่ใช่อยากเข้าสังคมหรืออะไร แต่ทำเพราะมันชอบมาตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว”

 

05.26

     “พอมาอยู่ในกรุงเทพฯ โฟกัสมันเปลี่ยนไปเรื่องวิชาการ เลยรู้สึกว่าต้องเก่งเรื่องวิชาการด้วยเพื่อจะได้ไม่มาว่าเราได้ว่าเราเป็นตุ๊ดอย่างเดียว เราต้องเรียนรู้ให้ไวขึ้น”

 

07.14

ตอนนั้นที่เลือกเรียนการแสดง มันต่อยอดสิ่งที่เราเป็นมาบ้างหรือเปล่า

     “มันต่อยอดดีมากเพราะว่าการเรียนพวกนี้ทำให้เรารู้ว่าเวลาแสดงต้องใช้พลังงานอย่างไรให้ถูกหลัก และมันจะอิมแพกต์คนอย่างไรโดยไม่พร่ำเพรื่อ แรกๆ เราจะบ้าบอเกินไป แต่พอเราเข้าใจหลักการและทฤษฎีอะไรบางอย่าง แล้วมาปรับเปลี่ยนอะไรกับตัวเอง และการที่เอ็นเตอร์เทนมันไม่ต้องทำให้เขาสนุกอย่างเดียว มันมีหลายมุมที่เราจะดึงเขาไปอยู่ในโหมดเศร้า โหมดบ้า โหมดตลก หรืออะไรก็ได้ ฉะนั้นการเรียนการแสดงมันทำให้เราเข้าใจว่า เราสามารถชักจูงให้คนเกิดหลากหลายความรู้สึกมากกว่าเดิม”

 

08.30

     “จริงๆ แล้วการเรียนศิลปะการแสดง พอเราเก็ตประเด็นตรงนี้มันสามารถทำอาชีพอื่นได้หมดเลย เรารู้สึกว่าที่เราเรียนแล้วสิ่งที่เราได้กลับมาไม่ใช่แค่แอ็กติ้งต้องทำอย่างไร เต้น ร้อง โปรเจกต์เสียงอย่างไร สิ่งที่มันได้มากกว่านั้นคือเราได้ศึกษาตัวละครเยอะมากระหว่างที่เราเรียน ได้ศึกษาบท วิเคราะห์ตัวละคร และสิ่งที่มันสะท้อนกลับมาหาเราในฐานะนักแสดง คือเราต้องเอาตัวเองไปเทียบกับตัวละคร เราจะได้เจอเราในตัวตนใหม่ๆ เต็มไปหมดเลย บางครั้งคนเราต้องเจ็บปวดมันถึงเรียนรู้ อันนี้เราเรียนรู้จากบทละคร มันทำให้เราโตขึ้น เข้าใจโลกขึ้น จะทำอะไรก็จะรู้สึกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเราได้เอง ฉะนั้นเวลาไปอยู่ข้างนอกหรือไปทำงานอย่างอื่น มันเป็นกลไกเดียวกันที่ทุกคนต้องมี ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็ตาม เลยคิดว่าการเรียนละครมันสอนเราให้เป็นคนมากขึ้น สอนเราให้มีจิตวิญญาณและรู้จักตัวเอง”

 

10.00

     “ล่าสุดพัดมีโอกาสได้ไปออกแบบระบำใต้น้ำของโอเชี่ยนเวิร์ล ซึ่งเราเคยทำมา 3-4 โชว์แล้ว ในตู้ที่โอเชี่ยนเวิร์ลจะมีโซนสำหรับโชว์ เป็นกระจกยาว ใส ให้คนเห็น แล้วมันจะมีแต่ละซีซันว่าจะมีพระอภัยมณี มีผีเสื้อสมุทร สิ่งที่เขาต้องการคือระบำใต้น้ำ มาจากคนทำท่าทางต่างๆ ใต้น้ำ สิ่งที่พิเศษคือเราได้ทำงานร่วมกับนักว่ายน้ำทีมชาติ ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ซึ่งเขาเต้นกันไม่เป็น เขาว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว การบ้านของเราคือทำอย่างไรให้รูปร่างต่างๆ ที่สื่อความหมายกับดนตรี ให้เขาทำได้อย่างไม่ขวยเขิน เพราะผู้ชายว่ายน้ำก็จะแข็งๆ คือนอกจากเราจะเพ้อฝันว่าภาพจะสวยอย่างนั้นอย่างนี้ เราต้องคิดถึงความจริง เพราะเขาจะดำลงมา 8 เมตรซึ่งลึกมาก โดยที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจอะไรเลย และต้องคิดว่าภายใน 8 เมตร ประมาณ 10-20 วินาทีเพื่อมาทำท่า ไม่อย่างนั้นเขาตาย พอขึ้นมาปุ๊บก็ต้องลงมาอีกแล้วเพื่อทำการแสดงให้ต่อเนื่องกับเพลง 3 นาที มันก็จะมีกลไก ไดนามิกอะไรบางอย่างที่เราต้องคิดมากขึ้น”

 

12.41

     “พัดต่อยมวย ปีนเขา เวคบอร์ด แต่ที่ชอบที่สุดคือต่อยมวย มันเริ่มมาจากเราเป็นคนชอบใช้พลัง พลังเราเยอะ แรกๆ เราต่อยเต็มที่ เตะให้แรง แต่ต่อมาเรากะพลังตัวเองได้เก่งขึ้น นิ่งขึ้น คือเราไม่ต่อยมั่วซั่วแล้ว มีสมาธิมากขึ้น มันได้ใช้ทั้งความรุนแรงที่ปล่อยออกไป แต่เป็นการปล่อยที่ดี ส่วนปีนเขามันต่อเนื่องมาจากตอนเด็กๆ ที่ชอบปีนต้นไม้ และเรารู้สึกชอบมากเวลาลงเนินแล้วมีหินเยอะๆ ซึ่งมันไม่สามารถเดินปกติได้”

 

16.09

พัดเริ่มชอบเพลงร็อกได้อย่างไร

     “พัดเริ่มจากลูกทุ่ง อาร์แอนด์บี ป๊อป ตามปกติของตุ๊ดนั่นแหละ จนได้มาเล่นละครเวทีเรื่องหนึ่งชื่อ Hedwig And The Angry Inch เป็นมิวสิคัลร็อก ใช้เวลาอยู่กับบทนี้นานมาก จริงๆ ครูเสนอมาแล้วเราก็อี๋ตั้งแต่แรก เพราะตอนนั้นฟังเพลงร็อกแล้วน่ารำคาญ มันเอาตรงไหนมาเพราะ เลยไม่อยากทำ แต่ครูบอกว่ามันคือธีสิสเรา เราต้องท้าทายตัวเอง พอได้บทเลยมานั่งศึกษา ตัวละคร Hedwig ตัวนี้มันเกิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เบอร์ลิน เพลงร็อกยุคนั้นจะเป็น David Bowie, Patti Smith, Tina Turner, Iggy Pop, Queen ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตัวละครตัวนี้ และเราต้องค้นคว้าต่อว่าทำไมคนเหล่านี้ ถึงต้องแต่งเพลงร็อก คือนอกจากจะศึกษาตัว Hedwig เองแล้ว เราต้องศึกษาศิลปินในยุคนั้นด้วย ต้องศึกษาต่อไปว่าทำไมคนแต่งเรื่องนี้ถึงใช้เพลงร็อกมานำเสนอ ทั้งหมดมันทำให้เราเข้าใจว่าเพลงร็อกมีที่มาที่ไปอย่างไร

 

18.10

     “จริงๆ ที่มาของเพลงร็อกมันมาจากที่เดียวกันก็คือ เพลงต้องการสื่อความรู้สึก แต่ด้วยความที่มันเป็นเพลงร็อก ร็อกมันจะมีความหยาบและความลึกบางอย่าง หยาบคือทื่อ ตรง ใส บริสุทธิ์ในการออกเสียง ไม่มีการเอื้อนอะไรทั้งนั้น พลังหรือความเกรี้ยวกราดให้รู้สึกร็อกไม่ได้หมายความว่าเราต้องใส่มันเสมอไป เพราะจริงๆ แล้วเพลงร็อกคือการบ่น ก่นด่าสังคมในช่วงนั้น มันคือการพูดถึงตัวตนว่าทำไมเราไม่เข้าใจโลก ทำไมพระเจ้าถึงให้เรามาอย่างนี้ เพลงส่วนใหญ่ยุคนั้นจะพูดเรื่องนี้ อย่าง เดวิด โบวี่ ก็จะพูดเรื่องชีวิต ตัวตนเป็นหลัก”

 

20.30

     “เพลงร็อกจริงๆ สำหรับเรามันจะไม่ถูกจำกัดว่าเป็นอย่างไร คนที่ร้องแจ๊ซ คลาสสิคัล ป๊อป เขาก็ร้องร็อกได้ แต่สิ่งที่เรารู้สึกมากที่สุดคือ เพลงร็อกคือเพลงที่ทำให้เราพูดออกมาได้อย่างจริงใจ ไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่สนใจว่าใครจะมองว่าเราเป็นอย่างไร ไม่รู้หรอก ฉันจะด่าฉันก็จะด่า ฉันใส่อารมณ์ฉันก็จะใส่อารมณ์ หรือฉันจะบ่นกับตัวเองฉันก็จะบ่น มันเป็นแนวทางหนึ่งของเพลงที่มันเป็นศิลปะ ทำให้เรารู้สึกได้ปลดปล่อยออกมาได้อย่างจริงใจมากที่สุด เราไม่ต้องประดิษฐ์ เราไม่ต้องแคร์ตัวโน้ตว่าต้องร้องให้ถูกโน้ต แต่เราได้ร้องออกมาและรู้สึกว่ามันมีพลังมากกว่าการที่เราต้องมาซีเรียสว่าเพลงมันต้องเพราะ เลยติดใจ ชอบ และคิดว่าคือเสน่ห์ของมัน”

 

21.45

เลยเกิดเป็นวง Chanudom ขึ้นมา

     “ใช่ คือ Chanudom มันเริ่มมาจาก Hedwig นั่นแหละ คือมันเป็นมิวสิคัลร็อกก็จะมีกลุ่มหนึ่งที่เล่นแบ็กอัพ Chanudom ก็มาจากตรงนั้นหมด มีพี่ต๊อบกับพี่แพท ทุกคนอินหมดเลย มันเหมือนเป็นโชคชะตาที่ทุกคนอินและอยากทำเพลงร็อกต่อ เขาก็เห็นความสามารถของเราที่ร้องร็อกและสื่อสารได้ เขาสนใจในคาแรกเตอร์ที่เราเป็นตุ๊ดร้องเพลงร็อก มันน่าจะมันดี”

 

22.32

รู้สึกขัดไหมเวลาเราขึ้นไปร้องเพลงร็อกดุดัน

     “ไม่เลย เรารู้ว่าจะสื่ออะไรเพราะเพลงเราก็แต่งเอง มันเรียนรู้จากที่เราแสดงเรื่อง Hedwig นี่แหละว่าจะต้องค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างไร และตอนหลังค่อยๆ หนักขึ้นพร้อมกับดนตรี เราว่ามันง่ายขึ้นด้วยซ้ำ พัดไม่ซีเรียสเวลาขึ้นเวทีไม่เคยตื่นเต้นเลย สมัยก่อนตอนเล่นละครเวทีตื่นเต้นเพราะมีอะไรให้จำเยอะ ทั้งบล็อกกิ้ง แพตเทิร์น ฟีลลิ่ง ทุกอย่างมันถูกวางไว้หมดแล้ว แต่คอนเสิร์ตแค่ฉันขึ้นไปและจริงใจกับมัน บริสุทธิ์ใจที่จะขึ้นไปเล่น ไม่คิดอะไรทั้งนั้น ไม่คิดว่าจะต้องออกมาดูดี”

 

23.25

แรกๆ กระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ที่คนเห็นรูปลักษณ์อย่างเรา

     “แต่งตัวขนาดนี้แต่ออกมาร้องเพลงร็อกหนักเลย คนเซอร์ไพรส์เยอะนะ เพราะว่าเพลงเราทำให้เขาเชื่อได้ว่ามันโอเคอยู่นะ เราเป็นตุ๊ดที่อยู่ในโหมดร็อกได้อยู่นะ ซึ่งเซอร์ไพรส์คนที่เขาเห็นเรา แม้แต่มิวสิกวิดีโอ หรือการแสดง พอเราเรียนการแสดงเราจะเนิร์ดมากเรื่องการแสดง เราจะเอาการแสดงผสมกับเพลงของเรามาทำเป็นโชว์ เราไม่ได้ขึ้นมาร้องเพลงเฉยๆ จะมีการเล่าเรื่อง สมมติว่าร้องเพลงนี้จบปุ๊บ ก็จะมีดนตรีคลอ ทุกอย่างจะถูกเซตมาเหมือนละครเวที มันมีมู้ดแอนด์โทน ตอนจบคนดูจะต้องอิมแพกต์ ดูแล้วจะต้องได้อะไรกลับไป”

 

24.48

     “สำหรับเพลงที่อยู่ใน Audio CD มันก็คือร็อกปกติที่คนสามารถบอกได้ว่าคือร็อกประเภทไหน แต่ตัวการแสดงคือ Theatrical Rock เหมือนการดูโชว์หนึ่งที่มีการวางมา ไม่ใช่แค่ร้องปกติ”

 

27.00

ถ้าคนทั่วไปอยากฟังเพลงร็อกเหมือนพัดบ้าง ควรเริ่มต้นจากตรงไหน

     “จริงๆ แล้วถ้าคุณชอบฟังดนตรี เพลงไหนมันก็สื่อสาร อยู่ที่ว่าเราชอบความรู้สึกอย่างไร เพลงป๊อปก็พูดความรู้สึกเหมือนกันแต่ไม่ได้เน้นย้ำความรู้สึกเหมือนร็อก หรือลูกทุ่งก็จะมีความบริสุทธิ์อย่างเดียว แต่ร็อกมันจะมีทั้งความบริสุทธิ์ ความจริงใจที่จะเล่า และมีดราม่าในเพลง ใครชอบที่จะปลดปล่อยไปกับเพลง เราว่าเพลงร็อกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าฟังทุกครั้งแล้วมันฟิน”

 

28.14

     “เราชอบ Arctic Monkey มาตั้งแต่อัลบั้มแรกจนถึงปัจจุบัน ให้แรงบันดาลใจเรามาก เรารู้สึกว่าเขาเป็นวงร็อกที่ไม่จำเป็นจะต้องตะโกนว่าฉันเป็นชาวร็อก แต่เขาเป็นร็อกที่นุ่ม สุขุม ดูเท่ ดนตรีก็เป็นการทดลองมาตลอด ลองสังเกตแต่ละอัลบั้มจะไม่ค่อยซ้ำกัน นี่คือวงร็อกที่กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยน กล้าพัฒนาตัวเองตลอดเวลา กล้าที่จะไม่ย่ำอยู่กับที่ ต่อให้ฉันรู้แล้วว่าฉันฮอตในเวลาร้องเพลงแบบนี้ แต่ถ้าไม่กล้าเสี่ยงก็จะไม่เจอตัวตนของตัวเองใหม่ๆ มากขึ้น”

 

29.54

     “ต่อไปหนูอาจจะถอดเสื้อขึ้นเวที เพราะคิดอยู่เหมือนกันว่าเราไม่ได้ตุ๊ดขนาดนั้น เวลาเราขึ้นเวทีบางครั้งเราใช้เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่มมาคลุมตัวเองเยอะเกินไป แล้วเวลาร้องบางเพลงเราแมนมาก เราไม่ได้ตั้งใจเลยมันออกมาเอง เรารู้สึกว่าทำไมต้องประดิดประดอยให้มันเยอะ ก็เราเพียวบนเวทีอยู่แล้ว สุดท้ายเพียวจริงๆ เพราะเต้นไปเต้นมาหลุดหมด เหลือถุงน่องตาข่ายอย่างเดียว เราก็หาตัวเองไปเรื่อยๆ อยู่เหมือนกัน”

 

30.57

มีชุดไหนที่ใส่แล้วคนฮือฮาบ้างมั้ย

     “มันจะมีชุดตาข่ายอันหนึ่งที่เราชอบใส่มาก แล้วก็แปะหัวนมเป็นกากบาท เราไม่ได้ใส่เพราะสวยหรือเซ็กซี่ เราใส่มันเพราะครั้งแรกคนเห็นแล้วอาจจะรู้สึกว่าทำไมเราแต่งตัวอย่างนี้ แต่คนดูจบเขาจะลืมเรื่องนี้ไปเลย เขาจะมองอย่างอื่นที่เราเป็นมากกว่า เรารู้สึกว่าอันนี้มันท้าทายเราอย่างหนึ่ง คือพอดูจบโชว์ปุ๊บคนจะได้อะไรมากกว่าตุ๊ดคนนี้ใส่ตาข่ายปิดหัวนมน่าเกลียด แต่เราคิดว่าเดี๋ยวคุณก็รู้เองว่าคุณไม่ได้มองเราเรื่องนี้หรอก คุณไม่ได้มองว่าเราเป็นเพศอะไรด้วยซ้ำ คุณจะมองมาเองว่าเรากำลังบอกอะไรอยู่”

 

32.15

ถ้าเพลงร็อกคือการสื่อสาร มีเพลงร็อกที่พัดแต่งแล้วสื่อสารอะไรถึงใครไหม

     “มีเพลงช้าที่สุดและเป็นเพลงรักของวง Chanudom ชื่อเพลง ชนุดม เหมือนกัน เราแต่งให้แม่ แม่เราเสียไป สิ่งหนึ่งของคนเราคือการจากลา แน่นอนว่ามันต้องเจ็บปวด แต่ถ้าเราไปจมอยู่ตรงนั้นนานๆ มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เขาไม่ได้ฟื้นขึ้นมาฮัลโหล เราเลยกลับมามองแง่ดีของมัน คือฉันเรียนรู้แล้วว่าเวลา 20 กว่าปีที่เรารู้จักคุณบนโลกใบนี้มันโคตรดีเลย โลกใบนี้เขามอบคนที่รักเราคนหนึ่ง พอมาเขียนเป็นเพลงเราเลยใส่ไปเยอะมากในการเล่าเรื่อง ‘ความผูกพันที่มันเคยเกิดขึ้นกับฉัน เหตุการณ์และความทรงจำที่มันคอยตอกและย้ำ ผ่านมาให้รู้ว่ามันยังมีความหมาย’ เป็นเพลงหนึ่งที่รู้สึกว่าเราได้ใช้สิ่งที่เรารักมากที่สุดที่เขามอบให้เรา มาตอบแทนเขาตรงนี้ เราเคยเชื่อเหมือนกันนะว่าอยากมีเงินตอบแทนเขา แต่ในฐานะที่เวลาเขาให้เรามาเท่านี้ เจอกันเท่านี้ ฉะนั้นเราไม่ผิดหรอกที่เราทำไม่ได้ หมายความว่าเราหาเงินทองตอบแทนเขาไม่ได้ตอนนั้น แต่สิ่งที่ทำได้คือเราเอาสิ่งที่คุณส่งให้เราเรียนแล้วเป็นประโยชน์ เราจะเขียนมัน มันสอนคนได้ด้วย พัดไม่ได้พูดในเพลงว่าสูญเสียแม่ แต่เพลงมันพูดว่า มนุษย์เราเจอกันแล้วมันต้องจากกัน สิ่งที่สวยงามที่สุดคือจำไว้เถอะว่าอย่างน้อยมีคนที่เรารักเหมือนกัน”

 

36.00

ตอนนี้รู้สึกอย่างไรบ้างที่เหมือนคนยอมรับเรามากขึ้น มีซีนอย่างนี้เกิดขึ้นในวงการเพลงบ้านเรา

     “มันดีนะ แต่สำหรับพัดยังอยากทำอะไรอีก คือเราอยากให้มีอะไรเกิดขึ้นอีก เราไม่รู้หรอกว่าเราไปสุดได้แค่ไหน แต่เคยคุยกับพี่จีน-กษิดิศ เขาพูดว่า ‘รู้ไหมว่าฉันเห็นแก ฉันดีใจมากเลย อย่างหนึ่งที่ฉันเคยทำมาก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการไปเล่นตามคอนเสิร์ตแล้วโดนปารองเท้าหรือโดนโห่ ฉันรู้สึกว่าฉันกรุยทางให้น้อง’ พอเขาพูดเท่านั้นแหละ นี่คือคนที่ทำงานเพื่ออะไรอยู่ เขาทำงานในสิ่งที่รักแต่มันมีเพศที่วางไว้ให้ต้องฝ่าฟัน เราทำมาได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้ามีแรงเราอยากให้มันกว้างขึ้น อยากให้คนลืมไปว่าสิ่งนี้คือกำแพง เราอยากทำให้มันสุดที่สุดเท่าที่แรงจะมี แล้วต่อไปน้องขึ้นมาน้องจะได้ง่าย”

 

37.55

     “ตอบแบบมั่นใจเลยนะคะว่าไม่เปลี่ยนค่ะ แม้ชาติหน้าก็ยังรู้สึกชอบตรงนี้ เรารู้สึกว่าเราทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีแล้ว ที่ไม่อยากเปลี่ยนเพราะว่าเพศนี้มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราเข้าใจมากกว่าคนอื่น จนเรารู้สึกว่าถ้าเป็นผู้หญิงอย่างเดียวเราจะคิด จะเข้าใจอะไรอย่างนี้ เราจะทำงานอย่างนี้ออกมาได้ไหม สิ่งที่เราเป็นอยู่ตอนนี้คือโคตรเหนื่อยแต่โคตรมีความสุขอยู่ด้วยกัน โคตรเหนื่อยตรงที่ทำไมเราต้องพิสูจน์คนอื่นตลอดเวลาว่าเรามีความสามารถ เราจะให้คนอื่นมาตัดสินเราทำไม แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราทำได้ มันจะท้าทายมาก เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรียนรู้เหมือนกัน”

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest พัด-ชนุดม สุขสถิตย์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic.com

The post เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>