แก้หนี้ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 25 Nov 2018 11:11:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 วางแผนเรียนต่อแบบมีสเตป ชีวิตจะได้ไม่เจ็บจากการเป็นหนี้ https://thestandard.co/podcast/themoneycase60/ Sun, 18 Nov 2018 17:01:35 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=149041

มันนี่โค้ชหยิบเรื่องการเรียนต่อมาคุย เพราะมีหลายเคสที่เ […]

The post วางแผนเรียนต่อแบบมีสเตป ชีวิตจะได้ไม่เจ็บจากการเป็นหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

มันนี่โค้ชหยิบเรื่องการเรียนต่อมาคุย เพราะมีหลายเคสที่เข้ามาปรึกษาแล้วพบว่ามีปัญหาเกี่ยวพันกับการเงิน ไปเรียนอยู่เมืองนอก แต่ตัวเองเป็นหนี้บานปลายถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล ต้องตามเคลียร์กันอย่างยาวนาน

 

เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ทำนองนี้ มันนี่โค้ชขอแนะนำการวางแผนเรียนต่อแบบเป็นขั้นเป็นตอน ไล่ตั้งแต่คำถามที่ว่าเรียนต่อไปทำไม สิ่งที่จะเรียนตอบโจทย์ไหม การหาข้อมูลในสิ่งที่จะเรียนจำเป็นอย่างไร และขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการตรวจสอบแผนการเงิน รวมถึงการกำหนดและประเมินเรื่องเงินได้อย่างถูกวิธี

 



 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Case by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์


Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Show Producer & Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

The post วางแผนเรียนต่อแบบมีสเตป ชีวิตจะได้ไม่เจ็บจากการเป็นหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รวมเคสแก้หนี้และมีรายได้เพิ่ม จากโครงการอภินิหารความรู้การเงิน https://thestandard.co/podcast/themoneycase59/ Sun, 11 Nov 2018 17:01:25 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=144828

มันนี่โค้ช หยิบเรื่องราวจากโครงการ ‘อภินิหารความรู้การเ […]

The post รวมเคสแก้หนี้และมีรายได้เพิ่ม จากโครงการอภินิหารความรู้การเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>

มันนี่โค้ช หยิบเรื่องราวจากโครงการ ‘อภินิหารความรู้การเงิน’ ที่ทำร่วมกับมูลนิธิคนไทยฉลาดการเงิน โครงการที่ตั้งใจเข้าไปให้ความรู้เรื่องเงินแก่คนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะเรื่องของการแก้หนี้

 

จากระยะเวลา 6 เดือน ในการลงพื้นที่กับโรงพยาบาล 3 แห่ง มีเรื่องเล่า ประสบการณ์ และเคสทางการเงินของคนที่กำลังแก้หนี้ได้สำเร็จ มีชีวิตที่คล่องตัวขึ้น ทั้งจากการได้รีไฟแนนซ์บ้าน และการหารายได้เสริม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการแก้หนี้

 

สำหรับองค์กรไหนที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการ สามารถส่งเรื่องและติดต่อได้ที่ [email protected]

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Case by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 



Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์


Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Show Producer & Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล
Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์

The post รวมเคสแก้หนี้และมีรายได้เพิ่ม จากโครงการอภินิหารความรู้การเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยาแรงแก้หนี้: จมอยู่ในหนี้ลึกแค่ไหนก็ลอยกลับขึ้นมาได้ ถ้าใช้วิธีที่ถูกต้อง https://thestandard.co/podcast/themoneycase34/ Sun, 22 Apr 2018 17:01:18 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=85122

เอพิโสดที่แล้ว เราได้เช็กความหนักหนาของหนี้ว่าแบบไหนคือ […]

The post ยาแรงแก้หนี้: จมอยู่ในหนี้ลึกแค่ไหนก็ลอยกลับขึ้นมาได้ ถ้าใช้วิธีที่ถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เอพิโสดที่แล้ว เราได้เช็กความหนักหนาของหนี้ว่าแบบไหนคือโคม่า สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นอย่างไร และวิธีแก้หนี้แบบที่ผิดมหันต์แต่กลับถูกแนะนำกันจนฮิตมีอะไรบ้าง      

 

เอพิโสดนี้ มันนี่โค้ช มาพร้อมสเตปการใช้ยาแรงแก้หนี้แบบถูกต้อง ซึ่งบางวิธีอาจเจ็บปวด เสียเครดิต ไปจนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล แต่ถ้าแก้ตามสเตปอย่างมีสติและมีหลักการ ก็จะทำให้หนี้มหาศาลกลายเป็นศูนย์ และค่อยๆ บวกขึ้นมาได้   

 


สเตปการใช้ยาแรงที่เป็นวิธีแก้หนี้ที่ถูกต้อง มีอะไรบ้าง

1. เข้าไปคุยกับธนาคาร

สำหรับคนที่มีปัญหาให้เริ่มต้นที่โทรติดต่อและพูดคุยกับธนาคารโดยตรง เพราะทางตรงคือทางลัดที่ดีที่สุด บอกไปเลยว่าสถานะทางการเงินมีปัญหา มีทางไหนที่ธนาคารจะช่วยได้บ้าง อาจจะเป็นตั้งแต่ขอลดดอกเบี้ยชั่วคราว หรือขอจ่ายแค่ดอกเบี้ยชั่วคราว เพื่อให้เรามีสภาพคล่องขึ้นและตั้งหลักได้ หรือจนถึงการขอหยุดชำระชั่วคราว แล้วค่อยมาทำเรื่องผ่อนตามรายละเอียดกันไป

 

วิธีข้างต้นอาจจะรู้สึกว่าทำให้เครดิตเสีย แต่ขอแนะนำว่าให้ลืมเรื่องเครดิตแล้วเอาชีวิตให้รอดก่อน หลายคนที่ทำตามวิธีนี้ มีบางธนาคารยอมเจรจา และช่วยเหลือผ่อนหนักให้เป็นเบาขึ้น ถ้าเริ่มเบาลงเราก็จะสบายใจและคล่องขึ้น ตัวอย่างเช่น เราค้างค่าบัตรเครดิต 50,000 บาท ธนาคารเก็บขั้นต่ำ 10% คือ 5,000 บาท ถ้าเราไม่ไหว อาจจะขอจ่ายเดือนละ 1,500 บาท เครดิตเราอาจพังไปช่วงหนึ่ง แต่อย่างที่บอกไปเมื่อเอพิโสดที่แล้ว ถ้าหนี้ต่อเดือนเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ โอกาสที่รอดจากการเสียเครดิต หรือไม่ใช้ยาแรงมันจะรอดยากมาก เราต้องมีเงินก้อนใหญ่มาปิดหนี้เท่านั้น ฉะนั้นเมื่อเราเห็นว่าปลายทางมันพังแน่ เราชิงพังก่อน ดีกว่าไม่ยอมพังแล้วไปกู้มาผ่อน อย่างนี้เงินต้นไม่ได้ลด แค่ทำให้แต่ละเดือนมันรอดแบบขายผ้าเอาหน้ารอด แต่มันไม่ทำให้จบ

 

การเข้าไปคุยกับธนาคารจะทำให้เราเริ่มจัดสรรตัวเองได้ง่ายขึ้น เรามีหน้าที่เจรจา ธนาคารเองก็มีสิทธิ์ที่จะให้หรือไม่ให้ แต่การได้เริ่มเจรจาถือเป็นการสร้างโอกาส ดีกว่าไม่พูดอะไรเลย อยากฝากไปถึงธนาคารว่า ถ้ามีลูกค้าเจรจากับธนาคารแบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะมีตัวเลข KPI ชี้วัด แต่ถ้าธนาคารใจดีรับเจรจาและช่วยกันแก้ปัญหา หนี้เสียเหล่านี้ก็จะไม่ลุกลามใหญ่โต

 

2. ดูว่าหนี้สินตัวไหนที่สามารถตัดจ่ายตัดขายได้บ้าง

ข้อนี้อาจจะทำหลังจากธนาคารไม่ยอมเจรจาด้วย ซึ่งสิ่งที่สามารถตัดขายได้หลักๆ คือ บ้านและรถ เมื่อตัดขายสองอย่างนี้พลังในการแก้หนี้ไม่เท่ากัน แต่ที่แน่ๆ จะสะเทือนความรู้สึกมาก เพราะเราจะรู้สึกว่าเป็นทรัพย์สินของชีวิต การมีบ้านมีรถเป็นของตัวเองจะทำให้รู้สึกดีและภาคภูมิใจ แต่เมื่อชีวิตลงมาถึงจุดที่ต้องตัดใจขายอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะรู้สึกไม่มั่นคงเป็นธรรมดา แต่อยากให้มองว่า ถ้าวันนี้เราเป็นหนี้รถ ประมาณ 500,000 บาท หนี้บ้าน 2,000,000 บาท การที่เราตัดขายทันที หนี้ 2,500,000 บาท จะหายไปจากพอร์ตหนี้ของเรา มันจะทำให้สภาพคล่องเรากลับมา

 

เรามีบ้านเพื่ออยู่อาศัย อาจไม่ต้องซื้อเป็นของตัวเองเสมอไป ในวันที่เราไม่ไหว เราต้องยอมขายมันไปก่อน แล้วไปหาเช่าอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

ในช่วงชีวิตที่กำลังจมลงเรื่อยๆ ถ้าเรายังไปกอดของหนักอยู่ มันก็จะยิ่งทำให้ตัวเราจมลงไปเรื่อยๆ แต่หากเมื่อไรที่เราปล่อยไปบ้าง เราก็มีโอกาสลอยขึ้นมาบนน้ำได้

และการขายบ้านไปไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อกลับมาไม่ได้ วันหนึ่งเราอาจมีบ้านที่ใหญ่และสวยงามกว่าเดิมก็ได้ โค้ชเองก็เคยผ่านประสบการณ์นี้ ตอนนั้นธนาคารแนะนำให้ขายบ้านทิ้ง เพราะส่งมาเกือบ 8 ปีแล้ว เงินต้นลดลงไปพอสมควร แถมทุกวันนี้บ้านที่เคยซื้อมาราคาก็สูงขึ้น เพราะรอบบ้านเจริญเติบโตหมด โค้ชตัดสินใจกันอยู่นานว่าจะขายแล้วเอาเงินส่วนต่างมาใช้หนี้ดีไหม จนสุดท้ายต้องมาตั้งคำถามกันว่า บ้านคืออะไร จนแม่ของโค้ชพูดขึ้นมาว่า “บ้านคือที่ที่เราอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัว” เพราะฉะนั้นมันอาจจะไม่ใช่บ้านหลังนี้ ไม่ใช่หลังที่เรากู้ซื้อ แต่อาจเป็นหลังที่เช่าอยู่ก็ได้ แต่ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้า นั่นต่างหากที่เป็นบ้านของเรา พอคิดได้อย่างนี้ทุกอย่างก็จบ เพราะแค่พ่อ แม่ ลูก อยู่ด้วยกัน ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็คือบ้าน สุดท้ายก็ตัดสินใจขายบ้านมาเคลียร์หนี้

 

ส่วนรถจะต่างจากบ้านตรงที่มูลค่าจะลดลงเรื่อยๆ ไม่เหมือนบ้านที่ขายแล้วจะมีส่วนต่างที่ทั้งปลดหนี้ตัวบ้านและส่วนต่างที่ปลดหนี้อื่นๆ ได้ แต่การขายรถจะปลดเปลื้องได้แค่หนี้รถที่ไม่ต้องผ่อน วิธีมองก็คล้ายกันคือ ใจความของรถคือพาหนะในการเดินทาง เราขายมันไปช่วงเดียว สุดท้ายเราก็กลับมาใช้ขนส่งสาธารณะ รถเมล์ รถไฟฟ้า แท็กซี่ แต่เทียบกันแล้วระหว่างบ้านกับรถ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าขายบ้านยากกว่า เพราะเป็นของใหญ่ แต่ที่โค้ชพบคือรถขายยากกว่า เพราะหลายคนไม่ได้คิดว่ามันเป็นแค่ยานพาหนะ แต่เป็นหน้าเป็นตา เวลาขายจึงตัดใจขายกันลำบากพอสมควร และด้วยมูลค่าของรถที่เวลาผ่านไปยิ่งตกลง หลายคนเลยไม่อยากขาย

 

หลายครั้งที่โค้ชพบว่า คนปลดหนี้ด้วยการขายบ้านหรือขายรถออกไป จะช่วยให้ปลดหนี้ได้เร็วขึ้นจริง โดยเฉพาะบ้าน อยากให้ทุกคนลองตัดสินใจดู

 

3. หยุดชำระ (ชั่วคราว)

ถ้าเป็นหนี้ในระบบ หากหยุดชำระจะมีกระบวนการชัดเจน แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบ จะมีกระบวนการวุ่นวาย เพราะคนปล่อยหนี้นอกระบบมีอยู่หลักๆ 2 กลุ่มคือ กลุ่มเพื่อนสนิท และผู้มีอิทธิพล สำหรับกลุ่มแรกเราอาจเสียเพื่อน ส่วนกลุ่มหลังเราอาจเดือดร้อนจากผู้มีอิทธิพล โค้ชจึงเตือนเสมอว่าอย่าเป็นหนี้นอกระบบเด็ดขาด เพราะอันตราย การเป็นหนี้ในระบบถึงล้มก็จะล้มเป็นขั้นเป็นตอนกว่า

 

การหยุดชำระในระบบ ถ้าธนาคารไม่ยอมเจรจาช่วยเหลือลูกหนี้ตั้งแต่ต้น จุดนี้จะมาถึงแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราะคนเป็นหนี้อาการหนักจะไม่ได้เป็นหนี้ที่ใดที่เดียว แต่ส่วนใหญ่จะเปิดบัตรวนไปเรื่อยๆ และถามตัวเองว่าที่ไหนยังเปิดบัตรและสร้างเครดิตได้ หนี้จะพอกไปเรื่อยๆ รายรับของเขาจะห่างจากรายจ่ายเยอะมาก และจะไปถึงจุดที่หยุดชำระอยู่ดี

 

ในมุมของเราพอหยุดจ่าย จะไม่มีภาระที่ต้องจ่ายเป็นรายเดือน แต่ต้องเน้นว่า หยุดจ่ายตรงนี้เป็นการหยุดชั่วคราว ไม่ว่าอย่างไร เราเป็นหนี้เขา เราต้องคืนเงินเขาทุกบาททุกสตางค์ การหยุดจ่ายชั่วคราวคือการหยุดเพื่อมองตัวเอง เรามีรายรับเท่าไร ค่ากินอยู่ใช้จ่ายที่จำเป็นเท่าไร เราจะมีเงินเหลือก้อนหนึ่งที่ไม่พอใช้หนี้ทุกรายการ เราเลยต้องหยุดชำระเพื่อเก็บเงินก้อนนี้ แล้วรอคอยการเจรจา เรายังต้องหาทางเจรจากับธนาคารตลอดเวลา เช่น เคสหนึ่งมีเงินเดือน 45,000 บาท หักค่าใช้จ่ายรวมหนี้ติดลบ 20,000 บาท โค้ชแนะนำให้หยุดและจัดการเงินของตัวเอง พบว่าพอหยุดจ่ายมีเงินเหลือ 15,000 บาท สิ่งที่ควรทำคือเก็บ 15,000 บาทนั้นทุกเดือน หากธนาคารโทรมาก็ยอมรับความจริงไปว่าสถานการณ์ทางการเงินไม่ดี และบอกว่ามีความตั้งใจจะจ่าย สามารถจ่ายได้เดือนละเท่านี้บาท ธนาคารยอมรับได้ไหม ถ้าธนาคารไม่ตกลงก็ไม่เป็นไร เราเก็บเงินต่อไป สุดท้ายจะไปจบกันที่ศาล วันนั้นเราก็สามารถเจรจาได้อีก แต่ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ธนาคารจะไม่ให้ไปถึงจุดนั้น แต่จะติดต่อมาหาเราก่อน

 

คำถามคือถ้าเราหยุดจ่ายหนี้ แต่เรายังกินอยู่ใช้จ่ายแบบปกติ สุดท้ายพอถึงกระบวนการศาลที่ใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี แล้วเราไม่มีเงินไปจ่ายเขาเลยก็ไม่โอเค แต่ถ้าเราหยุดแล้วมีเงินเก็บมากขึ้น พอถึงวันหนึ่งเราจะมีเงินเพื่อไปชำระหนี้มากขึ้น พอเจ้าหนี้ติดต่อมาก็ลองเจรจาดูว่าต้องจ่ายเท่าไร ขอลดได้ไหม โดยดูกำลังของเราด้วย

 

คนที่เป็นหนี้หนักๆ โค้ชแนะนำว่า เราต้องมีเงินสดเผื่อบริหารจัดการในการใช้คืนเสมอ บางคนมีเงินติดตัว 2,000-3,000 บาทก็ให้เขาหมด เราก็ไม่เหลือกินเหลือใช้ เริ่มเป็นทุกข์ เป็นกังวล เราควรถือเงินติดตัวไว้บ้าง และควรจัดสรรขอลดหนี้เท่าที่เราทำได้ ค่อยๆ ทำแบบนี้ไป แต่ถ้าคิดว่าการเก็บเงินช้าเกินไป ก็ถึงเวลาที่เราต้องหารายได้เพิ่ม ไม่อย่างนั้นแล้วเงินมันก็ไม่พอจ่ายหนี้

 

ระหว่างนั้นถ้าเราถูกทวงหนี้บ้างเป็นเรื่องปกติ เราต้องตั้งสติในการรับมือ ถ้าเขาโทรมาเราก็รับโทรศัพท์และบอกไปตามความจริง อาจถามถึงช่องทางในการช่วยเหลืออย่างตรงไปตรงมา อาจขอลดดอกเบี้ยหรือลดหนี้ให้ทั้งก้อนแล้วทยอยจ่าย การเจรจาถ้าเราไม่พูดหรือมีข้อเสนออะไรที่เป็นประโยชน์กับตัวเราบ้างมันก็ไม่เกิด เพราะเรารู้เงื่อนไขของตัวเอง เราต้องเจรจาว่าเราไหวที่เท่าไร

หัวใจสำคัญของการเจรจาคือ อย่ารับปากในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้

ตัวอย่างเช่น เราเป็นหนี้ต้องส่งเดือนละ 10,000 บาท เราเบี้ยวมาหลายครั้งแล้ว เขาเสนอให้เราจ่ายเดือนละ 7,500 บาท ถ้ายังสูงเกินไป เราไม่ไหว เราก็ควรเจรจาในสิ่งที่เราทำไหว ไม่ใช่รับปากเพื่อให้เรื่องผ่านไป วิธีการแบบนี้ไม่รับผิดชอบและใช้ไม่ได้ อาจบอกว่า 5,000-7,000 บาทไม่ไหวจริงๆ ขอเป็น 3,500 บาท และขอยืดเวลาเป็น 18 เดือน สุดท้ายมันก็จะปรับไปปรับมาจนพอใจกันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้ายังหาข้อตกลงกันไม่ได้ เจ้าหนี้อาจโทรมาติดตามหนี้อยู่เรื่อยๆ เราควรรับโทรศัพท์ทุกครั้งและบอกไปตามตรง อย่าเลี่ยง เพราะหนี้เป็นปัญหาที่แก้ได้หากมีสติ วันนี้เรามีภาระคือหนี้ในอดีต แต่ถ้าอยากมีอนาคตด้วยการเดินไปข้างหน้า เราก็ต้องสร้างรายได้ อาจหารายได้จากความสามารถพิเศษส่วนตัว เพราะต้นทุนไม่ได้เยอะมาก


สุดท้ายหากทำตามวิธีที่โค้ชบอกแล้วตกลงกับเจ้าหนี้ไม่ได้ ทุกอย่างจะไปจบกันที่ศาล ซึ่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะคดีหนี้หลักแสนไม่ได้ร้ายแรง มันจะมีการเจรจากันอีกรอบ ที่สำคัญที่สุดคืออย่าหนี เพราะถ้าหนีแล้วเขายึดทรัพย์เราก็ทำอะไรไม่ได้ ผู้พิพากษาก็พิจารณาตามรูปคดี เราก็แพ้อยู่แล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเราควรไปเผชิญหน้าและแก้ปัญหา

 

สร้างโอกาสหลังเคลียร์หนี้

หลังจากเคลียร์หนี้หมด จะมีใบแจ้งหนี้สรุปยอดสุดท้ายส่งมาให้เรา เราต้องเก็บเอกสารนี้ไว้ เพราะต่อให้เราจ่ายหนี้หมด กว่าที่ข้อมูลจะถูกอัปเดตในระบบคืออีก 3 ปี อย่างกรณีโค้ชเองพอแก้หนี้หมด ผ่านไป 1 ปีก็อยากยื่นกู้ซื้อบ้าน ก็ต้องแนบเอกสารเหล่านี้ไปด้วย แม้ว่าธนาคารจะไม่ได้ขอ เพราะสุดท้ายเขาจะไปตรวจข้อมูลเราที่ เครดิตบูโร เราก็จะได้ใช้เอกสารตรงนี้ยืนยันว่าเคลียร์หนี้หมดแล้ว และนอกจากนั้นโค้ชไม่ได้ยื่นกู้เจ้าเดียว แต่ยื่นถึง 3 เจ้า เพราะรู้ว่าเครดิตบูโรเราไม่ได้สวยงามเท่าไร ปรากฏว่ามีธนาคาร 2 เจ้าให้กู้

 

โค้ชรับประกันว่า ถ้ายังไม่ครบ 3 ปีที่ข้อมูลเครดิตบูโรจะอัปเดต แต่เราแก้หนี้ได้ก่อน เราก็มีโอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตการเงินเป็นปกติ และมีความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องในที่สุด นอกจากนั้นแล้วคนที่แก้หนี้อย่างถูกวิธี พยายามลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ หาทางเพิ่มทรัพย์สิน คนที่ทำตามวิธีนี้

 

1) ชีวิตเจริญเติบโตขึ้น เพราะเปลี่ยนจากติดลบเป็นศูนย์ และขึ้นมาเป็นบวก

 

2) มีภูมิปัญญาทางการเงินที่สูงขึ้น เพราะคนเราจะเก่งเรื่องอะไรก็แล้วแต่ มาจากการที่เราผ่านปัญหาเรื่องนั้นและกัดฟันสู้จนผ่านมาได้ ทำให้เรามีความสามารถขึ้นอีกระดับ เหมือนการเล่นเกมผ่านหลายด่าน ลุยไปเรื่อยๆ จนเจอบอส พอเราผ่านด่านที่ 1 ไปสู่ด่านที่ 2 เราก็จะไม่เสียเวลากับด่านที่ 1 มากแล้ว เราเก่งขึ้น รู้ว่าตรงไหนมีกับดัก และเมื่อเราเก่งมากขึ้นเราก็จะไม่กลับไปผิดพลาดเรื่องเดิมๆ อีก

 

การเงินเป็นสิ่งที่พลิกผันเสมอ เมื่อติดลบได้วันหนึ่งเราก็กลับมาบวกได้ สิ่งสำคัญคือเราต้องเชื่อมั่นในตัวเอง และเรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่รอที่จะให้ใครมาช่วย ขอเป็นกำลังใจให้สู้ปัญหาทางการเงินด้วยภูมิปัญญาทางการเงิน และเราจะมีชีวิตที่มีความสุขที่สุด


ฟังรายการ The Money Case by The Money Coach พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน

 




Credits

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์


Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Shownote อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post ยาแรงแก้หนี้: จมอยู่ในหนี้ลึกแค่ไหนก็ลอยกลับขึ้นมาได้ ถ้าใช้วิธีที่ถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยาแรงแก้หนี้: ใช้ยาแรงผิดเหมือนเอายาพิษมารักษาหนี้ https://thestandard.co/podcast/themoneycase33/ Sun, 15 Apr 2018 17:01:53 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83080

มันนี่โค้ชมาพร้อมปัญหาการเงินที่ฮิตที่สุดตลอดกาล นั่นคื […]

The post ยาแรงแก้หนี้: ใช้ยาแรงผิดเหมือนเอายาพิษมารักษาหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

มันนี่โค้ชมาพร้อมปัญหาการเงินที่ฮิตที่สุดตลอดกาล นั่นคือเรื่องหนี้ พร้อมวิธีเช็กว่าภาวะหนี้ของเราตอนนี้เข้าขั้น ‘โคม่า’ แล้วหรือยัง ควรเยียวยาอย่างไรในเบื้องต้น และถ้าวิธีการเดิมๆ ไม่ได้ผลอาจต้องพึ่ง ‘ยาแรง’ ในการแก้หนี้ 

 

แต่ยาแรงที่ไม่ดี ผิดหลัก ผิดวิธี วันนี้กลับมีคนออกโรงมาแนะนำกันมากมาย มันนี่โค้ชเลยอาสาหยิบจับมาอธิบายให้ได้รู้เท่าทัน ก่อนจะพลาดท่าแก้หนี้แบบผิดๆ จนชีวิตพังกว่าเดิม

 


ดูอย่างไรว่าตัวเองกำลังเป็นหนี้ขั้นโคม่า

ดูจากตัวเลขรายรับ-รายจ่ายแต่ละเดือน ถ้าเงินคงเหลือเป็นบวกก็เก็บเป็นเงินออมไป แต่ถ้าคำนวณแล้วติดลบ 1 ใน 3 ของรายได้ แบบนี้ถือว่าเข้าขั้นโคม่า เช่น เราได้เงินเดือน 20,000 บาท แล้วหักค่าบ้าน ค่ารถ ค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่าย ค่าส่งคืนบัตรเครดิต ฯลฯ เสร็จปุ๊บ เราติดลบเท่าไร ถ้า 1 ใน 3 หรือ 30% ถือว่าเริ่มเข้าขั้นโคม่าแล้ว พูดง่ายๆ เหมือนเราได้เงินเดือนมา 20,000 บาท แต่ใช้จ่าย 26,000 บาท ถ้าเป็นแบบนี้เราไม่สามารถแก้ได้ด้วยการแก้หนี้ทั่วไป เช่น รีไฟแนนซ์ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว หรือการเอาเงินส่วนต่างมาโปะเพิ่ม ต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ‘ยาแรง’ เท่านั้น

 

รักษาภาวะโคม่าเบื้องต้น

ก่อนอื่นหลายคนที่สภาวะการเงินอยู่ในขั้นโคม่าแบบตัวอย่างข้างต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือคนกลุ่มนี้มักจะทำตัวเองให้จมลงและหนักลงไปกว่าเดิม ฉะนั้นถ้าใครลองทำตัวเลขแล้วติดลบ 30% และไม่มีมีเงินก้อนใหญ่เข้ามาช่วยเคลียร์ในเร็วๆ นี้ เพื่อช่วยแก้ปัญหา โค้ชมีคำเตือนดังนี้

 

1. หยุดก่อหนี้เพิ่มเด็ดขาด

เป็นเรื่องที่บ้ามาก ถ้ามนุษย์คนหนึ่งรู้ว่าตัวเองตกอยู่ในหลุมแล้วยังจะขุดหลุมให้ตัวเองตกลึกลงไปอีก ฉะนั้นอย่าทำให้ตัวเองแย่ลง ข้อนี้แยกกันกับการรีไฟแนนซ์ (รีไฟแนนซ์ คือการกู้เงินก้อนใหม่มาโปะเงินก้อนเก่า แล้วเงินก้อนใหม่ดอกเบี้ยต่ำกว่า อันนี้ทำได้ แต่ไม่ได้เรียกว่าการลดหนี้ คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้เพื่อให้เรามีสภาวะทางการเงินที่ดีขึ้น) การกู้เพิ่มเพื่อเอามากินมาใช้ อย่าทำเด็ดขาด

 

2. อย่ายุ่งกับหนี้นอกระบบเด็ดขาด

ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มโคม่าและกำลังจะไปกู้เงินนอกระบบ อย่าไปใช้วงจรนี้เด็ดขาด เพราะมันคือการรีไฟแนนซ์เงินผิดวิธี เรากู้เงินที่มีต้นทุนหรือดอกเบี้ยทางการเงินที่สูงกว่าแล้วมาโปะ หรือมากินอยู่ใช้จ่ายกับดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ไม่มีทางเวิร์กแน่ๆ

 

กระบวนการจัดการของหนี้นอกระบบจะยากขึ้นมากเมื่อเทียบกับหนี้ในระบบ หนี้ในระบบคือหนี้กับสถาบันการเงินทั้ง Bank และ Non-Bank ที่จะปกป้องคุ้มครองเราได้มากกว่าหนี้นอกระบบ กระบวนการทวงหนี้ก็ไม่น่ากลัวเท่า สำคัญที่สุดคือดอกเบี้ยจะทำให้ยิ่งเหนื่อย ดอกเบี้ยในระบบประมาณ 28% ต่อปี เป็นตัวเลขที่สูงแล้วสำหรับสินเชื่อกลุ่ม Non-Bank แต่สำหรับกลุ่ม Bank ดอกเบี้ยจะต่ำลงกว่านี้ แต่ถ้าเกิดเป็นหนี้นอกระบบแล้ว ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ต่อเดือน หรือเท่ากับ 120% ต่อปีโดยประมาณ บางครั้งยังสามารถสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 5% ต่อวันเลยก็มี

เวลาการเงินเราโคม่าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเวลาโดนทวงหนี้ เรามักจะสติหลุดแล้วยอมรับเงื่อนไขอะไรก็ได้ที่ทำให้ได้เงินมาชำระแต่ละงวด อย่าทำแบบนั้น

3. ยอมรับความจริง

คนเป็นหนี้ส่วนใหญ่กลัวคนรอบตัวจะรู้ว่าเป็นหนี้ อย่างวันเงินเดือนออก เพื่อนๆ ไปเลี้ยงฉลองกัน เราเจ็บปวดอยู่ แต่บอกใครไม่ได้ว่าเป็นหนี้ เลยต้องไปสนุกสนานเฮฮากับเขา แล้วก็มีรายจ่ายทางการเงินจนเจ็บหนักเหมือนเดิม บางคนเศร้าหนักถึงขนาดบอกคนในครอบครัวไม่ได้ เก็บความลับไว้อยู่คนเดียว บางคนเลี้ยงคนในครอบครัวอย่างสมบูรณ์พูนสุขมาตลอด แล้วกลัวว่าคนในครอบครัวต้องลดระดับคุณภาพชีวิตก็รู้สึกผิดกับตัวเอง เลยพยายามจะไม่บอกคนอื่น บอกได้เลยว่ามีแต่เจ็บกับเจ็บอย่างเดียว บางคนไม่กล้าพูดกับสถาบันการเงินโดยตรง รู้สึกว่าการยอมรับว่าไม่ไหวถึงขั้นต้องเจรจากับธนาคารเป็นความพ่ายแพ้ เป็นคนใช้ไม่ได้ ดูแลตัวเองและคนอื่นไม่ได้

 

การเงินเป็นส่วนหนึ่งของมิติชีวิต เวลาเราทำงานแล้วไม่เจริญก้าวหน้าก็มีความทุกข์ในใจประมาณหนึ่ง เงินก็สร้างความทุกข์ให้กับคนในแบบเดียวกัน พอการเงินมีปัญหา หลายคนก็จะรู้สึกว่าตัวเองแย่ ไม่ภูมิใจในตัวเอง แต่อยากบอกว่าวิธีการยอมรับความจริงและเดินเข้าไปพูดคุยกับธนาคารอาจจะเป็นความพ่ายแพ้ แต่มันอาจจะเป็นเหมือนคำพูดที่ว่า ‘เราอาจแพ้ศึก แต่เราชนะสงครามได้’

 

ถ้าวันนี้เราตกอยู่ในหลุมของหนี้ เราอาจต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาตั้งแต่ยอมรับความจริง ค่อยๆ ปิดหนี้ไปทีละเล็กละน้อยจนหนี้หมด เราก็สามารถกลับมามีชีวิตทางการเงินที่ดีได้ และคนที่ผ่านการแก้หนี้มาอย่างถูกต้อง ไม่มีใครกลับไปเป็นหนี้เหมือนเดิม ฉะนั้นโจทย์ใหญ่ใจความอันดับแรกคือเราต้องยอมความจริง คนอื่นเขารู้แล้วจะมองว่าเราเป็นคนไม่น่าคบ กลัวเราจะยืมเงินก็ต้องปล่อยไป ถ้าเราผ่านไปได้ก็จะแกร่งขึ้นและไม่กลับมาผิดพลาดทางการเงินเหมือนเดิม

 

ใช้ยาแรงที่ผิดเหมือนเอายาพิษมารักษาหนี้

โค้ชไปสำรวจเจอวิธีแก้หนี้ของหลายๆ กูรูที่ชอบแนะนำกันในยุคนี้ มีทั้งถูกและผิด เราจะมาว่าถึงวิธีที่ผิดก่อน เป็นวิธีที่ไม่แนะนำให้ไปยุ่งกับมันเลย ได้แก่

 

1. ถอนเงินเกษียณออกมาใช้หนี้

เงินเก็บ หรือเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จุดประสงค์ไว้กินใช้ตอนเกษียณ บางคนแนะนำให้เอาเงินส่วนนี้มาใช้ก่อน โค้ชเองก็เคยใช้วิธีนี้ แต่อยากบอกว่าอย่าทำ เพราะถ้าเราเป็นหนี้ในระบบ ไม่ได้หมายความว่าเราจะโดนยึดทรัพย์ได้ง่ายๆ มันมีขั้นตอนของมัน กระบวนการจะเริ่มจากเราไม่จ่ายเงินเขา พอเราผิดนัด ธนาคารก็มาติดตามทวงถาม เราไม่มีก็ไม่จ่ายเขา เขาก็จะตีว่าเราเป็นหนี้เสีย มีระยะดำเนินการของเขา สุดท้ายปลายทางเขาก็ต้องยื่นฟ้องถ้าเราหาเงินมาให้เขาไม่ได้จริงๆ ตอนฟ้องเขาก็จะส่งหมายศาลมาที่บ้านหรือสถานที่ตามในบัตรประชาชน จากนั้นเราก็มีหน้าที่ไปศาล คนที่โดนยึดทรัพย์มักจะเป็นกลุ่มที่เพิกเฉย หรือเลี่ยงไม่ไปตามนัด เราเบี้ยวเงินคือการผิดสัญญาอยู่แล้ว เราไม่ไปศาลก็ไม่ได้มีการเจรจาตกลงอะไร เวลาโจทก์ยื่นขออะไร ศาลก็ให้ตามนั้น

 

จริงๆ เราสามารถเจรจาได้ถึงนาทีสุดท้าย ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ แล้วเขาจะมายึด อยากให้ใจเย็นๆ ลองนึกภาพดีๆ ว่าเงินสำรองตรงนั้นมีอยู่ไม่มาก เหมือนกับการขายผ้าเอาหน้ารอด กระบวนการแก้หนี้จริงๆ ยังไม่เกิด ที่แย่ที่สุดคือการที่เราเป็นหนี้หนัก ถูกติดตามทวงถามแล้วก็ไม่เหลือเงินเก็บไว้เลย สุดท้ายมันกระทบกับความภูมิใจในชีวิต

 

2. เอาบ้านปลอดภาระของพ่อแม่เข้าธนาคารอีกครั้ง

พอได้เงินก้อนมาก็ใช้โปะหนี้ เขาจะบอกว่าดอกเบี้ยบ้านไม่สูง แค่ 5-7% เมื่อเทียบกับบัตรเครดิตที่สูงก็คุ้มค่ากว่า คิดว่าเป็นการรีไฟแนนซ์ เหมือนจะดูดี โค้ชขอเล่าผ่านเรื่องราวของเคสนี้ น้องคนหนึ่งอายุ 20 กว่าปี เป็นหนี้หลักล้าน โค้ชก็แนะนำเขาเป็นขั้นตอน แต่เขารู้สึกว่าวิธีนี้ช้า ต้องการวิธีแก้ที่เร็วกว่านี้ อยู่ๆ เขาก็หายตัวไปแล้วกลับมาเล่าให้ฟังว่าพ่อแม่ทนดูไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรก็ยอมเอาบ้านไปเข้าธนาคารอีกครั้งแล้วเอาเงินมาโปะหนี้ให้ การรีไฟแนนซ์แบบนี้ไม่ได้ทำให้หนี้ลด แต่แค่เปลี่ยนเจ้าหนี้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำลง ทำให้สภาพคล่องดีขึ้น แต่ไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด ที่แย่ที่สุดคือน้องคนนี้ไม่ได้พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และนั่นคือจุดสำคัญ เพราะเขาไม่ได้เรียนรู้ความผิดพลาดทางการเงินของตัวเองเลย เปรียบเหมือนคนที่น้ำหนักเยอะๆ แล้วไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เขาก็จะบอกขั้นตอนพื้นฐาน นั่นคือการจัดการการกิน การออกกำลังกาย แล้วค่อยๆ ทำควบคู่กันไปเพื่อให้น้ำหนักตัวค่อยๆ ลดลง การลดน้ำหนักแบบนี้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง แต่ใช้เวลา คนส่วนใหญ่มักไม่ชอบ จนเป็นที่มาของการขายยาลดความอ้วน ทำให้ไม่ได้ทบทวนตัวเองว่าที่ผ่านมาดูแลสุขภาพไม่ดี จนทำให้วันนี้น้ำหนักเยอะ แต่การกินยาลดความอ้วนแวบเดียวน้ำหนักก็ลด แต่สุดท้ายก็จะโยโย่เอฟเฟกต์กลับมาอ้วนเหมือนเดิม เพราะยาเม็ดนั้นไม่ได้เปลี่ยนนิสัยคนคนนั้นเลย

 

ไม่ต่างอะไรกับเคสที่โค้ชเล่าไป การที่พ่อเอาบ้านมาช่วยโปะหนี้ไม่ได้เปลี่ยนนิสัยน้องคนนี้ หนี้เท่าเดิม แต่ผ่อนน้อยลง เพราะดอกเบี้ยต่ำ แล้วเขาก็กลับมาใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยแบบเดิม จุดจบที่เศร้าคือน้องคนนี้กลับไปสร้างหนี้อีกก้อนที่ใหญ่พอๆ กับก้อนแรก และสุดท้ายบ้านของพ่อแม่ที่ท่านผ่อนมาตลอดชีวิตก็หลุดลอยไป เพราะมันเต็มวงไปหมดแล้ว

 

3. ใช้เงินกู้จากทรัพย์มาโปะหรือเคลียร์หนี้

เคสนี้เป็นหนี้อยู่ 300,000-400,000 บาทจากบัตรเครดิต แล้วจ่ายขั้นต่ำอยู่ เพราะชีวิตประจำวันมีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว มีบางเพจเฟซบุ๊กแนะนำว่าถ้าเป็นหนี้ให้กู้บ้าน แล้วเอาเงินส่วนเกินมาโปะ ลองนึกภาพว่าเราค้างเขาอยู่ 300,000 บาท แล้วรู้สึกว่ามันตึงมาก เพราะขั้นต่ำ 10% คือ 30,000 บาท มีเงินเดือน 20,000 บาทก็เริ่มเดือดร้อน เพจเฟซบุ๊กเหล่านั้นก็จะชวนมาซื้ออสังหาริมทรัพย์ 2,000,000 บาท และรับประกันว่าห้องตรงนี้ปล่อยเช่าได้แน่นอน การันตีค่าเช่าด้วย กระบวนการนี้อาจมีคนในธนาคารหรือฝ่ายสินเชื่อมีส่วนร่วม เพราะว่าถ้าเราซื้อทรัพย์ 2,000,000 บาท เรากู้ปุ๊บ ทีมงานตรงนี้จะทำให้เรากู้เกินได้ ส่วนต่างตรงนั้นเขาก็แนะนำให้ไปโปะหนี้ ย้ายจากหนี้บัตรเครดิต 18-28% แต่ฝั่งนี้ดอกเบี้ยประมาณ 5% แถมยังมีเงินเหลือ ฟังแล้วดูดี เพราะบ้านหลังนั้นก็ปล่อยเช่าไป แถมได้เงินส่วนต่างอีก

 

คนก็จะเข้าไปในเพจลักษณะนี้กันเยอะมาก เพราะดูเป็นไปได้และน่าเชื่อถือ แต่คิดดีๆ มันคือการที่เราเป็นหนี้จาก 300,000 บาท เป็น 2,500,000 บาท และไม่มีอะไรมาการันตีด้วยซ้ำ สุดท้ายถ้าไม่มีใครซื้อ เราก็ต้องผ่อน แล้วส่วนต่างที่คิดว่าได้มาฟรี จริงๆ แล้วมีดอกเบี้ย คนส่วนใหญ่เข้าตาจน หาทางรอดแบบตื่นเต้นไปหมด คนแก้หนี้พยายามใช้วิธีนี้กันเยอะมาก เพราะทำให้เครดิตยังไม่เสีย ยังกัดฟันส่งขั้นต่ำไปแล้วเอานอกระบบมาช่วยโปะ

 

ปกติคนที่กู้ซื้อบ้านจะได้ประมาณ 90-95% ของราคาบ้าน แต่การกู้ที่มีส่วนเกิน มีบางเคสที่ทำได้ แต่ไม่บ่อย เคสแบบนี้เรียกว่า Over Finance ไม่แน่ใจว่าเอาสินเชื่อบ้านมาบวกกับสินเชื่อตกแต่งด้วยหรือเปล่า ทำให้ได้ส่วนต่างตรงนี้มา หรือไม่ก็ต้องทุจริต

 

เพจพวกนี้มาช่วยเพราะว่า หนึ่ง ทรัพย์เป็นของเขา เขาอาจจะซื้อมาราคาเท่าไรไม่รู้ แต่คุณซื้อไปในราคาที่หนักหน่วงกว่าเยอะ อาจจะเป็นนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เขาได้ประโยชน์ตรงนี้ สอง บางกลุ่มได้ประโยชน์จากเงินส่วนเกินด้วย เมื่อคุณเดือดร้อนมาก เวลาเขานัดไปทำสัญญาอะไร เขาบอกให้เซ็นอะไรคุณก็เซ็นหมด เป็นไปได้ว่าเขากู้มาเกินกว่านั้น แล้วเขาได้ค่าน้ำจิ้มต่อเคสตั้งแต่แรกแล้ว

 

ส่วนใหญ่เราจะพบเคสการกู้บ้านลักษณะนี้ด้วยการบอกว่า กู้บ้าน 0 บาท กู้บ้านเคลียร์หนี้ อยากฝากให้ทุกคนระมัดระวัง ทุกครั้งถ้าเจออะไรแบบนี้ ลองใช้สามัญสำนึกที่ไม่ค่อยทำงานตอนเรางง ลองนึกดูว่าทำไมมีคนใจดีแบบนี้บนโลก แล้วเขาได้อะไรกับการทำแบบนี้

ทุกคนอยากให้หนี้หมดเร็ว โค้ชถามกลับไปทุกครั้งว่าก่อนที่การเงินจะเละขนาดนี้ใช้เวลานานไหม ส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า 2-3 ปี เช่นกัน การแก้หนี้ก็ใช้เวลาไม่ต่างกัน


ฟังรายการ The Money Case by The Money Coach พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน



Credits


The Host
จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Shownote อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post ยาแรงแก้หนี้: ใช้ยาแรงผิดเหมือนเอายาพิษมารักษาหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
5 บทเรียน เปลี่ยนชีวิต จากติดลบเป็นมั่งคั่ง จากแค่อยากมีตังค์เป็นรู้จักตัวเอง https://thestandard.co/podcast/themoneycase30/ Sun, 25 Mar 2018 17:01:21 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=79473

5 บทเรียนสำคัญเรื่องเงิน จากชีวิตและประสบการณ์จริงของมั […]

The post 5 บทเรียน เปลี่ยนชีวิต จากติดลบเป็นมั่งคั่ง จากแค่อยากมีตังค์เป็นรู้จักตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

5 บทเรียนสำคัญเรื่องเงิน จากชีวิตและประสบการณ์จริงของมันนี่โค้ช ที่จะช่วยเปลี่ยนวิธีคิด มุมมอง ให้ไอเดีย เพื่อให้คุณอยู่กับเงินได้อย่างมีความสุข (สามารถติดตาม บทเรียน 5 ข้อแรกจากเอพิโสดที่แล้ว ได้ที่ ความรู้ สู่การปลดหนี้ ลงทุน สร้างคุณค่า ให้เงินวิ่งเข้าหาเรา)


ทรัพยากรทั้งโลกเป็นของเรา

ทรัพยากรทั้งโลกเอื้อให้เราเข้าถึง และสร้างประโยชน์แบบที่พอเหมาะพอสมได้ ทรัพยากรในที่นี้หมายถึงเงินด้วย แม้เราจะไม่มีเงิน แต่สามารถหาเงินจากช่องทางต่างๆ ได้ เช่น เงินกู้ โดยการเขียนแผนธุรกิจไปหาธนาคารแล้วขอเงินกู้ หลังๆ ยังมีทั้งการระดมทุน หุ้นส่วน ฯลฯ  

 

บางครั้งทรัพยากรก็ไม่ใช่เงิน แต่เป็นข้าวของเครื่องใช้ เช่น ถ้าเราจะเปิดธุรกิจทำเครื่องสำอาง เราไม่ต้องเปิดโรงงานเอง แต่ใช้เอาต์ซอร์สอาศัยคนเก่งๆ มาช่วยผลิตให้งานของเราก็ไปได้เร็วขึ้น

 

นอกเหนือจากเงินทุน ทรัพยากรเครื่องจักรต่างๆ แล้ว ความรู้ความสามารถก็ถือเป็นทรัพยากรหนึ่งที่นำมาใช้ได้ แทนที่เราจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง อยากจะทำอะไรสักเรื่องต้องไปศึกษาตั้งแต่ต้น ลองคิดใหม่ว่า เราสามารถขอความร่วมมือ ว่าจ้าง หรือเอาเขามาเป็นหุ้นส่วน เพื่อทำในสิ่งที่เราต้องการให้เร็วขึ้นได้หรือไม่

 

ในยุคก่อนที่โค้ชทำธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา ยังเชื่ออยู่ว่าจะต้องทำอะไรเองทุกอย่าง อย่างการทำเว็บไซต์ซึ่งตอนนั้นเป็นสิ่งใหม่มาก ก็ถึงกับเรียนการสร้างเว็บไซต์ เรียนเขียนโค้ด แล้ววุ่นวายมาก แล้วก็คิดได้ว่า ทำไมเราไม่ใช้ความรู้ความสามารถคนอื่น สุดท้ายก็เลยจ้าง แป๊บเดียวงานเสร็จ และเดินหน้าต่อไปได้ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะเรามักใช้เรื่องทรัพยากรที่ขาดแคลนเป็นข้ออ้าง เราไม่มีเงิน ไม่มีเครื่องจักร ก็ลงทุนอะไรไม่ได้ ไม่มีความรู้ก็ทำกิจการนั้นไม่ได้ ไม่มีคอนเน็กชันก็ทำในสิ่งที่คิดฝันไม่ได้

 

เราต้องคิดใหม่ด้วยการมองสิ่งที่ขาดให้เป็นโจทย์ เราจะหาความร่วมมือทางการเงินได้จากที่ไหน เราจะหาเครื่องจักรอุปกรณ์มาซัพพอร์ตเราได้อย่างไร เราขาดความรู้ ประสบการณ์ เราจะถามหรือเรียนรู้จากใคร ที่ไหน อย่างไร ถ้าเราเริ่มปรับความคิดได้แบบนี้

คนที่มีไอเดียแล้วไม่ได้ทำอะไร มีชีวิตที่จมอยู่ ไม่ได้เดินไปข้างหน้า สิ่งที่เขาโฟกัสคือสิ่งที่เขาขาด ต้องเปลี่ยนวิธีใหม่มาเป็นว่า เมื่อไรไม่มี เราก็ต้องมองหา และทำในแบบที่เราทำได้

CASE: ลูกศิษย์คนหนึ่งที่สนิทกัน เห็นกันมาตั้งแต่เริ่มปรึกษาที่บ้าน เขามีความฝันว่า อยากจะทำธุรกิจฟิตเนสและสุขภาพ ลองนึกภาพว่าเด็กคนหนึ่งที่บ้านไม่มีเงิน ไม่ได้เรียนดีมาก แต่มีความฝัน โค้ชบอกเขาว่า ถ้าเกิดเรามีทรัพยากรมาทำความฝันให้เป็นจริงไม่พอ เราก็ต้องหยิบยืมคนอื่น ลูกศิษย์คนนี้อยากทำธุรกิจอาหารเสริม สิ่งที่เขาทำคือ เขาไปตามฟิตเนสต่างๆ เห็นคนไหนนั่งพักก็เข้าไปคุย ว่าอยากจะทำธุรกิจอาหารเสริม เล่าไอเดียให้ฟัง เหมือนเอาแผนธุรกิจไปคุยกับคนที่เราไม่รู้จักเลย เขาไม่รู้เลยว่าจะมีคนร่วมมือไหม แค่รู้ว่าถ้าไม่พูดก็ไม่ได้ พูดไปอย่างมากก็โดนปฏิเสธ สุดท้ายเขาเจอเทรนเนอร์คนหนึ่งที่ยินดีมาร่วมงานด้วยเพราะฟังไอเดียแล้วชอบ พร้อมด้วยคุณหมออีกท่านที่เก่งด้านโภชนาการก็มาร่วมงานกัน สุดท้ายได้ทั้งเงินทุนและทีมงาน จนทุกวันนี้เป็นธุรกิจ Plan For Fit ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

 

นี่คือการมองว่าทรัพยากรทั้งโลกเป็นของเรา เราเข้าไปถึงได้ นี่คือโอกาสที่เราจะเปลี่ยน ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไอเดียให้เป็นความจริง หรือเปลี่ยนแปลงสถานะทางการเงินให้เติบโตขึ้น

 

กติกาพิเศษมีไว้สำหรับคนพิเศษ

โลกใบนี้มีกติกาทั่วไปซึ่งทุกคนที่อยากประสบความสำเร็จก็ต้องทำตามกติกานี้ แต่บางทีมันก็มีกติกาพิเศษที่มีไว้สำหรับคนพิเศษ โค้ชเคยคุยกับรอง MD ธนาคารใหญ่ในประเทศธนาคารหนึ่ง เขาเล่าว่า รู้ไหม คนเราฝากเงินได้ดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ต่อให้จะฝากเงินเท่ากันก็ตาม มันอยู่ที่ว่าคนคนนั้นพึงพอใจกับดอกเบี้ยที่เขาได้หรือเปล่า บางคนไม่พอใจก็เดินเข้ามาขอเพิ่มตรงๆ ที่น่าสงสัยก็คือทำไมธนาคารไม่เพิ่มให้กับทุกคน MD คนนั้นตอบว่า ธนาคารมีเงินฝากกว่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มแค่ 25 สตางค์ให้กับทุกคน ก็มีต้นทุนเพิ่ม 2,500 ล้านบาท เพราะฉะนั้นคนที่ไม่พอใจแล้วเข้ามาเจรจาถึงจะได้สิ่งที่พิเศษกลับไป

 

ในโลกใบหนี้มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่คิดเจรจาอะไรเลย ซึ่งเสียประโยชน์ เสียโอกาสพอสมควร อย่าลืมว่า กติกาพิเศษมีไว้สำหรับคนพิเศษ เรามีสิทธิจะเลือกลองเจรจาดูได้

ในชีวิตจริงเราซื้อกางเกงตัวหนึ่งยังต่อเลย แต่บางสิ่งบางอย่างที่มีผลกับการจัดการชีวิตเรากลับไม่พูดคุยเจรจา

CASE: ลูกศิษย์คนหนึ่งขี้กังวลมาก โค้ชบอกเขาทุกครั้งว่า ถ้าไปเจรจาเรื่องหนี้ มีอะไรที่เราอยากพูดหรือสื่อสาร อะไรที่เราทำได้ หรือไม่ไหว บอกไปตรงๆ แต่พอไปถึงเจอธนาคารบอกว่าเบี้ยวบ่อยมาก ต้องจ่ายเท่านั้นเท่านี้ ปรากฏว่าเขากลัว เซ็นรับทราบ สุดท้ายก็ส่งไม่ไหวแล้วมีปัญหาภายหลัง โค้ชเองก็เคยมีประสบการณ์เจรจาแบบนี้ในศาล นายธนาคารให้ส่งเดือนละ 5,000 บาท โค้ชบอกว่าไหวแค่ 2,000 บาท ถ้าเกินจากนี้ก็ผิดสัญญาหนี้อยู่ดี ฉะนั้นเอาตามจริงที่ไหวคือ 2,000 บาท ถ้าช่วยยืดเวลาและเปิดโอกาสว่าถ้ามีมากก็จะโปะมาก แต่ถ้าไม่ไหวขั้นต่ำอยู่ที่ 2,000 บาท แทนที่จะ 5,000 บาทเท่ากันทุกเดือน และสุดท้ายก็เจรจาประสบผลสำเร็จ

 

CASE: ในบางเรื่องเราอาจใช้ในทางบวกบ้างก็ได้ เช่น ลูกศิษย์คนหนึ่งทำโรงเรียนสอนฟุตบอลให้เด็ก เงินก็ไม่ค่อยมี แต่ปัจจุบันมีสนามฝึกให้เด็ก 4 สาขา เริ่มต้นง่ายๆ ว่าเขาเดินไปยกมือไหว้เจ้าของ บอกว่ารักฟุตบอล อยากสอนฟุตบอลให้เด็ก ปัญหามีอยู่นิดเดียวคือไม่มีเงิน ถ้าขอว่าจองสถานที่ไว้ และขอลองทำช่วงหนึ่ง และถ้ามีเงินจะใช้คืน คนส่วนใหญ่อยู่เฉยๆ ไม่กล้าไปขอแบบนี้ ปรากฏว่าเจ้าของใจดีให้โอกาส เขาเริ่มทำโฆษณาบนเฟซบุ๊ก เริ่มมีลูกศิษย์มาเรียน และมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ใหญ่ใจดีหลายคนเขาเองก็ได้รับโอกาสจากบางคนมา และทำให้เขาสร้างเนื้อสร้างตัวจนเขามีชีวิตที่ดีในวันนี้ วันหนึ่งถ้าเขาเจอเด็กสักคนที่มีความมุ่งมั่นและอยากได้โอกาส ถ้าเขาจะหยิบยื่นให้โดยไม่เสียอะไรมากมาย เขาก็พร้อมจะหยิบยื่นให้

 

ยิ่งแชร์ยิ่งมั่งคั่ง

จากเคยเชื่อว่า ทำอะไรควรทำคนเดียว จะได้กินคนเดียว รวยคนเดียว แต่สุดท้ายคือเหนื่อยมาก และหลายเรื่องมันไปไม่ได้ไกลเท่าที่คิด เลยคิดใหม่ว่า ถ้าเราเหนื่อยหนักเต็มที่ มียอดขาย 1 ล้านบาท เราอาจจะได้กำไร 1 ล้านบาท แต่ถ้าเราแชร์ความร่วมมือ อาจจะมียอดขายเพิ่มเป็น 10 ล้านบาท แล้วแบ่งกัน 4-5 คน อาจจะมีรายได้มากกว่าการทำคนเดียวด้วยซ้ำไป เวลาจะทำอะไรให้คิดเลยว่า ต้องมีความรู้ความสามารถ ทรัพยากรอะไรบ้าง เราขาดอะไร จะดึงใครเข้ามาร่วมในฐานะหุ้นส่วน Supplier หรือ Outsource

 

ถ้าจำได้ว่า ทรัพยากรทั้งโลกเป็นของเรา แล้วผนวกกับความคิดและหัวใจ แชร์ให้ทุกคนมาเข้าร่วม สิ่งที่เราคิดจะไปได้ไวขึ้น เราจะพบว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยโอกาส นี่คือสิ่งสำคัญมากของการดำรงชีวิตคนคนหนึ่ง บางคนเจออะไรขัดขวางก็คิดว่าเป็นอุปสรรค แต่บางคนเรียกสิ่งที่เขาไม่มีว่าโจทย์ แล้วหาจิ๊กซอว์มาเติมเป็นภาพใหญ่ คนแบบนี้ก็จะมีแต่โอกาส และเมื่อมีชีวิตอยู่ท่ามกลางโอกาส ความมั่งคั่งของเราก็เป็นไปได้ง่ายและเร็วขึ้น

 

อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง คือสิทธิในการเลือก

ตอนที่เริ่มศึกษาเรื่องการเงินเพราะอยากรวย และอยากมีเงินให้ได้มากที่สุด ตั้งโจทย์ว่าถ้ามีเงินเยอะ เราก็จะมีชีวิตที่มีอิสรภาพทางด้านการเงิน และเราจะหยิบใช้อะไรก็ใช้ได้ เมื่อมีเงิน เราก็ไม่ต้องทำงาน พอไม่ต้องทำงานเราก็มีเวลาไปใช้กับสิ่งที่รักที่ชอบ แต่เวลาผ่านไปนานเข้า เริ่มเรียนรู้อะไรหลายอย่าง ก็พบความจริงว่า นิยามของอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริงแล้ว คือสิทธิในการเลือก ไม่จำเป็นต้องมาพร้อมเงินที่มากมาย เรามีเงินแค่เลี้ยงดูชีวิต เก็บออม ต่อยอดได้อย่างพอเหมาะพอสม เหมาะกับชีวิตที่เราอยากได้อยากเป็น และทุกสิ่งทุกอย่างในการดำรงชีวิต ถ้าเราเป็นคนเลือกเองทั้งหมด มันก็จะเป็นรูปแบบที่เรามีความสุขได้ง่ายขึ้น

 

ความรู้ด้านการเงินสูงสุด คือการรู้จักและเข้าใจตัวเราเอง

เราต้องรู้ว่าอะไรคือความสุขของเรา ตอนที่เจ็บป่วยโค้ชรู้ตัวเองเลยว่า ชีวิตคนเราอาจเกิดมาครั้งเดียว ถ้าตลอดชีวิตเราไม่มีความสุข ต้องแลกหรือเสียอะไรบางอย่าง เพื่อแลกกับระยะยาว ทำไมถึงไม่มีความสุขทุกชั่วขณะไปเลย ลองมาคุยกับตัวเองว่า ต้องการบ้านหลังใหญ่เหมือนคนอื่นไหม ก็ไม่ รถคันใหญ่ไหม ก็ไม่ ต้องการกินอะไรหรูหรา ก็ไม่ แล้วอะไรที่อยากได้เป็นพิเศษ พบว่าตัวเองอยากมีเวลาอ่านหนังสือ ฉะนั้นถ้าเราได้ทำงานที่จัดสรรเวลาได้ เราก็จะมีความสุข อยากมีช่วงหนึ่งของทุกๆ ปีที่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ก็จะพยายามเก็บเงินเพื่อให้ไป

 

โค้ชมองว่าชีวิตที่เอาเงินตั้งนั้นผิด แต่ชีวิตที่เอาชีวิตเราตั้งคือสิ่งที่ถูกต้อง เราค่อยๆ ถ่ายจากไลฟ์สไตล์เราเป็นเงิน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า สุดท้ายเงินคือสิ่งที่สนับสนุนให้ชีวิตมีความสุข ดูค่าใช้จ่ายตัวเองทั้งหมดแล้ววางแผน รู้ว่าแบบไหนคือชีวิตที่อยากใช้ ความสุขแบบไหนที่อยากจะมี เมื่อรู้จักและเข้าใจตัวเองก็จะจัดสรรเรื่องเงินได้ง่ายขึ้น

 


ฟังรายการ The Money Case by The Money Coach พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน

 



 

Credits

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์


Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Shownote อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post 5 บทเรียน เปลี่ยนชีวิต จากติดลบเป็นมั่งคั่ง จากแค่อยากมีตังค์เป็นรู้จักตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความรู้ สู่การปลดหนี้ ลงทุน สร้างคุณค่า ให้เงินวิ่งเข้าหาเรา https://thestandard.co/podcast/themoneycase29/ Sun, 18 Mar 2018 17:01:37 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=77781

มันนี่โค้ช สรุปบทเรียนที่ตกผลึกเป็นความรู้ทางการเงิน จา […]

The post ความรู้ สู่การปลดหนี้ ลงทุน สร้างคุณค่า ให้เงินวิ่งเข้าหาเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>

มันนี่โค้ช สรุปบทเรียนที่ตกผลึกเป็นความรู้ทางการเงิน จากตลอดระยะเวลา 10 ปี ของคนที่เคยเป็นหนี้หลายสิบล้าน แต่วันนี้มีชีวิตทางด้านการเงินที่ดีขึ้น เหมาะสำหรับคนที่อยากสร้างเนื้อสร้างตัว แก้หนี้ ลงทุน หรือปรับใช้ให้เหมาะสมได้ตามสถานะทางการเงินของคุณเอง

 

วิธีการปลดหนี้ที่ดีที่สุด คือการสร้างทรัพย์สิน

ตั้งแต่เรียนจบ โค้ชใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการมุ่งมั่นปลดหนี้ พยายามทำตามตำราทุกอย่างที่ว่า ถ้าอยากปลดหนี้ ต้องลดรายจ่าย แต่ในชีวิตจริงทำได้ยาก โดยเฉพาะกับคนที่มีภาระหนี้เกินตัวไปมาก

 

โค้ชมีหนี้ของครอบครัวเยอะ การลดรายจ่ายไม่ช่วยอะไร จึงพยายามเพิ่มรายได้ ตอนนั้นเรามีเวลา เลิกงานตอนเย็น หรือวันเสาร์-อาทิตย์ ก็อุทิศกับการหาเงินทั้งหมด ทั้งสอนพิเศษ ขายประกัน เอาสินค้านำเข้ามาขาย เป็นที่ปรึกษาโรงงาน ทำให้มีเงินพอที่จะหมุนและเลี้ยงหนี้ของเราไปได้

 

สิ่งที่พบในตอนนั้นก็คือ เราทำงานหนักทุกเดือน เราได้เงินมาพอที่จะจ่ายหนี้ได้ แต่พอจบเดือนก็ต้องทำงานหางานใหม่ๆ เพื่อที่จะได้เงินเข้ามาแก้หนี้ในเดือนถัดไป ตอนนั้นตั้งคำถามกับตัวเองว่า มีวิธีอะไรไหมที่ทำงานไม่ต้องบ่อยมาก หรือทำน้อยครั้งลง แต่ตัวงานยังมีประโยชน์หรือมีเงินเพิ่มเข้ามาทุกเดือน สุดท้ายก็พบความจริงว่า ขณะที่ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เราควรสร้างทรัพย์สินประกอบไปด้วย

 

หลายคนอาจสงสัยว่า คนที่เป็นหนี้เยอะ แค่รายได้เลี้ยงตัวก็ยากแล้ว จะสร้างทรัพย์สินได้อย่างไร ยกตัวอย่างของโค้ชเอง ตอนที่เป็นหนี้ มีบ้านอยู่ 2 หลังตั้งติดกัน หลังหนึ่งเรากู้มาให้ครอบครัวอยู่อาศัยร่วมกัน ทุกเดือนก็ต้องผ่อนส่งบ้านเป็นประจำ ส่วนอีกหลัง มาจากพี่ข้างบ้านถามว่าจะซื้อบ้านของเขาไหม เขาจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ตอนนั้นไม่ได้เอะใจอะไร แต่คุณพ่อแนะนำว่า ถ้าซื้อเอามาปล่อยเช่าน่าจะได้ค่าเช่าเยอะพอสมควร สุดท้ายก็ซื้อบ้านจากพี่คนนี้ และปล่อยเช่าได้เงินมาเดือนละประมาณ 22,000 บาท ตอนนั้นใช้แค่สลิปเงินเดือนไปกู้ธนาคาร เราผ่อนบ้านต่อเดือนประมาณ 9,500 บาท ทำให้มีส่วนต่างประจำทุกเดือนหมื่นกว่าบาท แต่ละเดือนที่ผ่านไป เราจะเห็นบ้าน 2 หลังนี้ทำงานต่างกัน หลังหนึ่งต้องหาเงินมาจ่ายเพิ่มทุกเดือน แต่อีกหลังมันมีค่าเช่าที่ไปเลี้ยงเงินผ่อนได้ และมีเงินส่วนเพิ่มเอามาให้เราใช้จ่ายด้วย

 

ตัวอย่างแบบนี้คือการเปรียบเทียบ 2 สิ่งที่อยู่ติดกัน บ้านที่โค้ชอยู่อาศัย ถ้ามองในเชิงการเงินก็คือหนี้สิน ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋าทุกเดือน ขณะที่อีกหลังเป็นบ้านเช่า เป็นทรัพย์สิน ทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋าเรา ที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่จะเป็นทรัพย์สิน เราทำงานเพียงหนึ่งครั้ง แล้วใช้ผลการทำงานนั้น สร้างรายได้ให้กับเราไปตลอด มันจะช่วยผ่อนแรงในแต่ละเดือนให้เหนื่อยน้อยลงได้

 

ความสามารถด้านการถ่ายภาพ ก็สามารถสร้างเป็นทรัพย์สินได้ ถ้าเรารับงานถ่ายภาพรับปริญญา งานแต่งงาน ก็จะได้งานเป็นครั้งๆ ไป เพราะภาพงานรับปริญญาหรืองานแต่งงานมีเจ้าของงาน ซึ่งเอาไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้มากนัก แต่ถ้าเราถ่ายภาพวิวสวยๆ แล้วเอาไปขายผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ ก็ถือเป็นการสร้างรายได้จากงานที่ทำเพียงครั้งเดียว ได้เป็นค่าลิขสิทธิ์ที่ถือเป็นการสร้างทรัพย์สินเหมือนกัน หรือใครที่เก่งเรื่องการสอนพิเศษ แต่ก่อนเราสอนหนึ่งครั้งก็ได้รับค่าจ้างหนึ่งครั้ง แต่ถ้าเราสอนแล้วอัดคลิปไว้ ก็สามารถหารายได้เพิ่ม อาจขายเป็นคอร์สออนไลน์ หรืออัปลงยูทูบได้สปอนเซอร์ได้ค่าโฆษณา ก็เป็นการสร้างทรัพย์สินเช่นกัน

หัวใจคือว่า เวลาที่เรามีหนี้สิน ทรัพย์สินจะสร้างเงินสดหรือสร้างรายได้ให้เราไปใช้จ่ายหนี้ได้ และในวันที่หนี้หมด ทรัพย์สินก็จะสร้างเงินสดหรือรายได้มาให้เราจัดการกับรายจ่าย ถึงวันนั้นเราก็จะผ่อนแรงทางการเงินได้มากขึ้น

กระแสเงินสดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในโลกการเงิน

ถ้าเราทำงานประจำ เงินที่เหลือทุกเดือนนั่นแหละคือ กระแสเงินสด คนที่มีเงินเหลือก็สามารถต่อยอดไปยังสิ่งอื่นได้ สังเกตดูถ้าเราชวนใครสักคนที่ไม่มีเงินเหลือเก็บเลย ชวนเขาทำประกัน เรียนเรื่องลงทุน เขาก็จะไม่สนใจ หรือถ้าเราทำธุรกิจ ทุกเดือนได้เงินมา ตัดหักค่าใช้จ่ายต้นทุนต่างๆ แล้วมีเงินเหลือ นั่นแหละคือกระแสเงินสด ชีวิตคนเราจะต้องมองเสมอว่า จบเดือนเราต้องมีกระแสเงินสดคงเหลือ ทำงานประจำก็คือเงินออม ทำธุรกิจคือกำไร ถ้าลงทุนคือเงินปันผล หรือดอกเบี้ยต่างๆ

 

ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งทำงานประจำพร้อมรับงานฟรีแลนซ์ และมีร้านค้าเป็นของตัวเอง งานประจำก็มีเงินเหลือมากน้อยไม่ว่ากัน ฟรีแลนซ์ทุกจ๊อบที่ทำก็มีกำไรเอาไปบริหารจัดการต่อได้ ร้านค้าที่ทำก็มีกำไรเล็กน้อย ถ้าทุกหน่วยของการสร้างรายได้ของเรามีเงินคงเหลือ หรือมีกระแสเงินสด รับประกันว่าชีวิตทางด้านการเงินของเราจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ฉะนั้นในทุกกิจกรรมในทุกจังหวะการดำรงชีวิตถามตัวเองเสมอว่ามีเงินเหลือหรือเปล่า

 

ความรู้ ต่อการลงทุน คือสิ่งที่ต้องมี

มีคนถามโค้ชทุกวันว่า มีเงินเท่านี้ลงทุนอะไรดี ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะคำว่าลงทุนอะไรดี มันมีมิติในการมองเยอะมาก

 

1. ไม่รู้ว่าคุณจะเอาเงินไปทำอะไร หวังผลจากเงินก้อนนี้เท่าไร ถ้าอยากเก็บเป็นเงินสำรอง ก็จะไม่ชวนลงทุนโหดร้ายมาก แต่ถ้าหวังผลถึงเกษียณ เราก็อาจจะให้ลงทุนที่เสี่ยงขึ้นมาหน่อยได้แต่ต้องลงทุนยาว

 

2. คุณรู้จักการลงทุนอะไรบ้าง และคุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นโค้ชตีความได้มั่นใจเลยว่า ถ้าใครถามคำถามนี้ แสดงว่ายังไม่รู้จักเรื่องการลงทุนดีพอ หลังจากศึกษามากขึ้นแล้ว โค้ชพบว่า โลกของเรามันไม่มีอะไรเสี่ยงมากหรือน้อย มันมีแต่รู้มากหรือน้อยเท่านั้นเอง คนที่มี ความรู้ ในทรัพย์สินใดๆ ก็จะสามารถจำกัดความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นๆ ได้

 

อยากจะบอกว่าโลกนี้ไม่มี High Risk, High Return มีแต่ High Understanding, High Return ไม่ว่าจะลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง โค้ชเชื่อว่า ความรู้ เป็นเรื่องสำคัญมาก คนที่ไม่รู้ ลงทุนพลาด เพราะร้อนใจตั้งแรก ได้ยินอะไรที่ไม่ชอบมาพากล ก็กังวลว่าอันนี้จะกระทบกับการลงทุนของเราหรือเปล่า เช่น ช่วงนี้มีประกาศเรื่องการจัดการห้องเช่า คอนโดให้เช่า บางคนก็ตื่นเต้นไปก่อน พอเห็นว่าบ้านเช่ามีปัญหากลัวเดือดร้อนไปด้วย ไม่ได้รู้จริงๆ ว่าเขาโฟกัสไปที่ทรัพย์สินที่แบ่งยูนิต คอนโดห้องเดียวไม่เกี่ยวตั้งแต่แรก

ไม่มีใครสามารถทำเงินจากทรัพย์สินใดๆ ได้เกินไปกว่าขอบเขตทางความรู้ของคนคนนั้น รู้น้อยก็สมควรจะได้น้อย คนที่เขารู้มาก ลงทุนเก่ง เขาอุทิศเวลา ก็สมควรได้มาก โลกค่อนข้างจะตอบแทนทุกอย่างสมเหตุสมผล

บางคนไม่เข้าใจคิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องง่าย แค่มีเงินสักก้อน เอาไปวางไว้ในสินทรัพย์สักอย่าง เช่น อยากลงทุนคอนโดก็ไปซื้อใบจองมา ช่วงนี้ที่ดัง เช่น Cryptocurrency แทบเอาทุกอย่างไปลง ถามว่ารู้จักไหมก็ไม่รู้ คนที่เขารู้ เขายังจำกัดความเสี่ยงของตัวเองเลย ใส่ลงไปแค่ 5% ของพอร์ต คนที่ไม่รู้ก็มาเต็มเหนี่ยว เพราะหวังว่าจะช่วยให้รวยเร็วขึ้น คนที่ลงทุนเขารู้อยู่แล้วว่า ของสิ่งนั้นจะขึ้นได้แค่ไหน ลงได้แค่ไหน เพียงแต่เขายังไม่รู้จังหวะเวลาที่แน่นอน แต่ทุกคนมีการป้องกันความเสี่ยงไว้แล้วว่าถ้าเกิดเรื่องขึ้นจะจัดการกับมันอย่างไร

 

การลงทุนคือแผนการ

เวลาใครมาปรึกษาเรื่องการลงทุน เช่น มีเงิน 200,000 บาท แล้วถามว่าจะลงทุนอะไรดี โค้ชจะถามกลับไปว่า

 

1. เงินก้อนนี้ตั้งใจให้เติบโตไปเป็นอะไร เป็นเงินสำรองไว้ใช้จ่าย เป็นเงินเกษียณ เป็นทุนการศึกษาให้ลูก หรือเก็บไว้กรณีเจ็บป่วย หรือไว้ท่องเที่ยว แต่งงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ คนส่วนใหญ่มาถึงก็แค่อยากให้เงิน 200,000 บาทโต ซึ่งจริงๆ ทำอะไรก็โตได้หากเข้าใจ วัตถุประสงค์ของแต่ละเป้าหมายมีเครื่องมือที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน หลายคนอาจตอบว่าเก็บเพื่อเกษียณ โค้ชเลยถามต่อว่า พร้อมใช่ไหมสำหรับการลงทุนยาวๆ เช่น วันนี้คุณอายุ 30 ปี อีก 30 ปีเกษียณ แสดงว่าจะไม่ใช้เงินนี้ 30 ปีเลยใช่ไหม

 

2. วันนี้คุณมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินหรือยัง คุณควรมีเงินก้อนนี้ไว้ก่อน เพราะถ้าเอาเงินทั้งหมดที่มีไว้ลงทุน เกิดมีความจำเป็นใช้เงินฉุกเฉินขึ้นมา เราไม่ควรเอาเงินจากพอร์ตลงทุนมาใช้ เช่น ตกงาน ต้องใช้เงินเลี้ยงดูตัวเองช่วงหนึ่ง จะได้ไม่ต้องขายหรือเทพอร์ตทิ้งเพื่อกินอยู่ใช้จ่าย

 

3. คุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหนอย่างไร คุณรู้จักหุ้นไหม หุ้นคืออะไร มันไม่ใช่เอาเงินไปวาง แล้วผู้จัดการกองทุนทำให้โตอย่างเดียว มันสามารถติดลบได้ และถ้าเข้าใจมากพอว่า การลงทุนระยะสั้นมีความเสี่ยง ระยะยาวหน่อย ความเสี่ยงก็จะลดลง นอกจากนั้นระหว่างทางยังมีอีกเยอะ เช่น หุ้นโต ต้องมีการปรับพอร์ตหรือเปล่า ตรงนี้เรียกว่าแผนการ คือการกำหนดแนวทางการจัดการกับการเงินการลงทุนให้ชัดเจน เพื่อว่าเมื่อเกิดเหตุต่างๆ ขึ้น เราจะตัดสินใจได้อย่างชัดเจน เช่น หุ้นตก 10-20% จะทำอย่างไร คนที่ไม่มีแผนการจะตกใจอย่างเดียว ซึ่งอาจเกิดจากการไม่เข้าใจด้วย ไม่มีแผนการด้วย หุ้นตกเลยเทขาย ปรากฏว่าหุ้นก็กลับมา เราก็ขาดทุน เลยแหยงและไม่อยากลงทุนในหุ้น ซึ่งความจริงแล้วมาจากการที่เราไม่พยายามที่จะเรียนรู้ให้เข้าใจและวางแผนการลงทุนให้ชัดเจน

 

ส่วนอสังหาริมทรัพย์ คนชอบถามว่า ตั้งใจะซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า เลยถามกลับไปว่า รู้ไหมว่าการประเมินราคาเป็นอย่างไร ซื้อมาแล้วเราจะจัดสรรเรื่องเงินกู้กับเงินส่วนตัวอย่างไร มีวิธีบริหารหนี้ให้ลดลงเร็วขึ้นไหม ปรับแต่งอย่างไรระหว่างถือครอง เงินค่าเช่าแต่ละเดือนบริหารอย่างไร เงินเกินต่างๆ เก็บสะสมไว้หรือเปล่า เผื่อผู้เช่าไม่มี เราก็สามารถผ่อนได้ในระยะเวลาสั้นๆ จนถึงเมื่อมีคนซื้อ ควรขายไหม ทั้งหมดเป็นคำถามล้วนๆ ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้จะทำให้การลงทุนชัดเจน และจัดการปัญหาที่เข้ามาได้ดีขึ้น

 

ลูกศิษย์โค้ชคนหนึ่งไปซื้อบ้านราคา 700,000 บาท แล้วปล่อยเช่า หักค่าเช่าจากเงินผ่อนธนาคารแล้วได้ 1,500 บาททุกเดือน ถัดมาปีเศษ รถไฟฟ้าแบริ่งผ่านตรงนั้น รอบบริเวณขายกัน 1,200,000 บาท เขาถามว่าควรจะขายดีไหม นี่คือลักษณะของการไม่มีแผนการ โค้ชตอบเขาไปว่า ถ้าเกิดขายวันนี้ 1,200,000 บาท เราได้กำไร 500,000 บาท แต่ถ้าเราเก็บเดือนละ 1,500 บาทไปทุกเดือน นานไหมกว่าจะได้หลักแสน เขาก็ตัดสินใจขายเลย อันนี้ยังเป็นสถานการณ์ด้านบวก เพราะมีกำไรรออยู่ตรงหน้า ถึงแม้ไม่มีแผนก็ยังพอปรึกษากับใครได้ทัน

 

แต่ถ้าเป็นด้านลบราคาทรัพย์สินตก หุ้นตก แล้วไม่ได้เตรียมการมาก่อน จะสร้างความเจ็บปวดและผลกระทบเชิงลบทางการลงทุนได้มากทีเดียว จำไว้ว่าการลงทุนคือแผนการ ทุกครั้งที่จะลงเงินไปใส่ทรัพย์สินอะไรก็ตาม เรารู้วิธีการจัดการกับมันหรือเปล่า ถ้ารู้และมีแผนการก็ลงทุนได้เลย

 

เงินวิ่งตามคุณค่า

ตอนที่ทำงานมากๆ การช่วยเหลือคนได้มากน้อย มีผลพอสมควรกับเรื่องมูลค่าของงานหรือความมั่งคั่งที่จะตามมา ถ้าเราทำงานแล้วเราช่วยคนได้ 1-2 คน เราก็จะได้เงินประมาณหนึ่ง แต่พอเราทำงานที่ช่วยคนกลุ่มใหญ่ขึ้น แม้ว่าเงินที่ได้รับอาจจะไม่ได้เยอะมาก แต่ก็ทำให้เรามั่งคั่งและมีเงินเข้ามามากได้ในภายหลัง

 

คนที่สร้างคุณค่าได้มากก็จะสร้างเงินได้มาก คุณค่าที่โค้ชหมายถึงคือความสามารถที่เรามีและไปทำให้มันเป็นประโยชน์กับคนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้าทำให้เกิดประโยชน์ให้กับคนได้มาก เราก็มีคุณค่ามาก เมื่อมีคุณค่ามาก ความมั่งคั่งก็จะวิ่งตามมา เหมือนคนที่ทำก๋วยเตี๋ยวอร่อยแล้วอยู่ในซอยก็จะมีแค่คนในซอยเท่านั้นที่ได้กินก๋วยเตี๋ยวเรา แต่ถ้าเจ้าของร้านเริ่มคิดขยายสาขา มีคนได้กินก๋วยเตี๋ยวมากขึ้น เขาก็มีโอกาสได้เงินมากขึ้น งานอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เช่น เป็นครูกวดวิชาที่เก่งมากคนหนึ่ง ทุกวันนี้สามารถ Broadcast ความรู้ ความสามารถไปได้มาก แถมยูทูบ เฟซบุ๊กก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะทำให้คนเห็นมากขึ้น หรือแม้แต่เป็นนักแสดงแล้วมีคนชื่นชอบเยอะ ก็สามารถสร้างความสุขให้กับคนหมู่มาก ความมั่งคั่งจะวิ่งไปหาเขา

 


 

 


Credits

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Shownote อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post ความรู้ สู่การปลดหนี้ ลงทุน สร้างคุณค่า ให้เงินวิ่งเข้าหาเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชาตินี้ไม่มีวันจน: โปรเจกต์แก้จนของคนตำน้ำพริกที่พลิกชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง https://thestandard.co/podcast/themoneycase04/ Sun, 27 Aug 2017 14:24:59 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=22769

เรื่องเล่าจากโปรเจกต์ ‘ชาตินี้ไม่มีวันจน’ ที่เดอะมันนี่ […]

The post ชาตินี้ไม่มีวันจน: โปรเจกต์แก้จนของคนตำน้ำพริกที่พลิกชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรื่องเล่าจากโปรเจกต์ ‘ชาตินี้ไม่มีวันจน’ ที่เดอะมันนี่โค้ชเข้าไปให้ความรู้และให้สินเชื่อแก่ชาวบ้านตัวเล็กๆ ตามหมู่บ้านต่างๆ

ฟังเรื่องราวของคนตำน้ำพริก หรือแม้แต่ช่างเย็บผ้า ที่หาทางแก้หนี้และมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อเปลี่ยนมุมมองและลดข้ออ้างในการแก้ปัญหาเรื่องเงิน


 

00:58

 

  • ในสมัยปี 2553 มันนี่โค้ชเริ่มศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับคนที่มาขอคำปรึกษา ตอนนั้นชื่นชอบไอเดียเกี่ยวกับธนาคารคนจน ที่ชื่อว่า ธนาคารกรามีน (Grameen Bank)

 

  • แนวคิดของกรามีนจะให้ไฟแนนซ์แบบที่เรียกว่า ไมโครไฟแนนซ์  พัฒนาขึ้นโดย ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนูส เพื่อจะให้สินเชื่อกับคนที่เข้าถึงสินเชื่อได้ยาก อาจจะด้วยรายได้หรือฐานะ หลักการของแนวคิดนี้จะเชื่อว่า ทุกคนมีสัจจะ มีศักดิ์ศรี เชื่อถือได้ เพียงแต่บางครั้งขาดโอกาส การให้สินเชื่อคือการหยิบยื่นโอกาสให้เขา

 

  • กรามีนพัฒนาการให้สินเชื่อ ระบบการคัดกรอง การติดตามกับชาวบ้านที่ไม่มีหลักทรัพย์อะไรมาค้ำประกัน แต่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างรายได้ เลี้ยงดูตัวเอง และขาดเงินทุนเล็กน้อย

 

02:35

 

  • ด้วยความคิดอุตริเล็กน้อย และอยากจะรู้ว่ามันใช้กับบ้านเราได้รึเปล่า มันนี่โค้ชเลยตั้งโปรเจกต์ชื่อว่า ‘ชาตินี้ไม่มีวันจน’ ไฟแนนช์เริ่มต้นด้วยเงินตัวเอง 200,000 บาท

 

  • ช่วงนั้นได้ไปช่วยพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในการแก้ปัญหาหนี้สินให้ชาวบ้าน เลยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่ อย่าง สุโขทัย อุทัยธานี และอุบลราชธานี

 

  • เริ่มจากลงพื้นที่ไปพูดคุย ในแต่ละจังหวัดจะใช้เวลา 2 วัน วันแรกอบรมให้ความรู้ วันที่สองให้คำปรึกษา ใครมีโปรเจกต์อะไร มันนี่โค้ชมีสินเชื่อให้กู้ในอัตรา 15% ต่อปี ไม่แพงเมื่อเทียบกับในตลาดตอนนั้น แต่รูปแบบเก็บตังค์คืนจะประหลาดหน่อยคือเป็นรายสัปดาห์ เพราะศึกษามาจากกรามีนที่ต้องติดตามด้วยความต่อเนื่อง  

 

  • ที่น่าสนุกคือใน 3 จังหวัด 3 หมู่บ้านเหมือนกันเป๊ะ คือชาวบ้านที่มาฟังหน้าตาจะหงุดหงิด ดูเบื่อๆ เพราะชาวบ้านคิดว่ามันนี่โค้ชจะมาแจกเงิน เอาเงินมาให้ชาวบ้านแก้หนี้ แต่พอรู้ว่ามีเพียงสินเชื่อให้เพียงไม่มาก และไม่สามารถเอาเงินมาแก้หนี้ให้ได้ทุกคน ต้องหาทางแก้ปัญหาทางการเงินด้วยตัวเราเอง พูดแบบนี้ปุ๊บ จบวันจาก 100 คน วันต่อมา เหลือเพียง 4 คน

 

“เวลาทำงานเกี่ยวกับการเงิน ผมไม่ค่อยสนใจคนที่ไม่มา ไม่ใช่ เฮ้ย ทำไมคนมาน้อย ก็เอาใจไปผูกกับเค้า แต่เราเอาใจไปผูกกับคนที่มา”

 

  • มันนี่โค้ชก็นึกสนุกอยากรู้ว่า สี่คนนี้คิดอะไร ทำไมถึงยังมา พี่ๆ เขาก็บอกว่า “มันน่าจะพอได้แล้วอาจารย์ จนมาจะตลอดชีวิตแล้ว มันต้องหยุดได้แล้ว เดี๋ยวอีกหน่อยก็ตายแล้ว อยากมีความสุขเหมือนกับคนอื่นเขาเหมือนกัน”

 

  • มันสะท้อนอะไรหลายๆ อย่าง บางกลุ่มรอให้คนอื่นมาช่วยเหลือ แต่กลุ่มนี้แสวงหา โดยที่พวกเขายังไม่รู้เลยว่าโปรเจกต์นี้จะพาไปถึงไหน แต่รู้ว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ใช่

 

10:20

 

  • คนเราจะแก้ปัญหาเรื่องหนี้ได้ ลดรายจ่ายไม่มีประโยชน์แล้ว ต้องสร้างรายได้เพิ่ม พอตั้งคำถามว่า ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องทุนเลยนะ อยากทำอะไร หรือมีความสามารถพิเศษอะไรที่ทำเพื่อหารายได้ได้บ้าง พอถามเรื่องหารายได้ เขาคิดกันไม่ออก

 

  • พอเปลี่ยนคำถามใหม่ มีอะไรไหมที่ทำแล้วคนชอบคนชื่นชม หรือทำให้คนมีความสุข พอเปลี่ยนคำถามเขาก็คิดกันง่ายขึ้น ง่ายแบบมีคนหนึ่งในกลุ่มคิดได้ว่า เขาเคยชนะเลิศประกวดตำน้ำพริกด้วย แต่ไม่รู้จะทำธุรกิจจากตรงนี้ยังไง เขาเคยทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ

 

  • เขาบอกว่า ถ้ามีทุนซัก 5,000 บาท ซื้อพวกพริก หอม กระเทียม มาโขลกมาตำ ใส่กระปุกขาย สามารถทำมาขายได้ 10,000 บาท นี่เป็นสินค้าที่กำไรขั้นต้น 100% แต่ตอนนี้ไม่มีทุน 5,000 และอยากได้เครื่องบดมาทุ่นแรง

 

“บางครั้งคนเราเวลาถามว่า ทำไมไม่ทำธุรกิจ ทำไมไม่หาวิธีสร้างรายได้ เขาก็จะบอกอย่างเดียวว่าไม่มีทุน แต่พอมานั่งไล่คุยจริงๆ ของบางอย่างมันไม่ต้องใช้เงินมากมายอะไรก็ได้ บางทีโจทย์ตรงนั้นมันเป็นโจทย์ที่ตั้งมาเพื่อไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม แล้วก็รอคอยความช่วยเหลือ”

 

  • มันนี่โค้ชก็จัดสรรทุนให้ และถามหาเครื่องบดจากเพื่อนๆ มาให้ พอได้เครื่องบด สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจคือการหาตลาด เขาก็ไปติดต่อตลาดวโรรสที่เชียงใหม่ เพราะพี่เค้าไปชนะประกวดที่นั่น ก็มีคนรับเอาไปขาย

 

  • ไอเดียตอนนั้นคือมันนี่โค้ชจัดสรรเงินให้ 10,000 บาท เพื่อเป็นทุน 5,000 บาท และอีก 5,000 เพื่อใช้จ่ายหมุนเวียน แต่ขอว่าห้ามเอาไปชำระหนี้เก่า ให้เอาเงินไปทำกิน

 

15:26

 

  • ปัญหาหนึ่งของรัฐบาล เวลาส่งเงินไปให้คน นึกภาพว่าคนที่มีหนี้สามสี่แสน สมมติให้เขากู้ 50,000 แล้วไม่บอกวิธีจัดการกับเงิน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เจ้าหนี้สามสี่แสนก็มาทวง คนที่กู้ก็ต้องเอาเงินไปจ่ายหนี้ซะ ซึ่งก็จ่ายไม่หมดอยู่ดี แล้วก็ยังเป็นหนี้จากที่กู้มาใหม่อยู่ดี ชีวิตก็ไม่ได้ทำอะไรเพิ่ม มองหาอีกว่าจะมีใครมาหยิบยื่น

 

  • คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวขนาดย่อมๆ หรือพนักงานประจำที่เอาเวลาว่างมาทำงานพิเศษ จะมีปัญหาเรื่องการบริหารเงิน เรื่องแรกคือเขาแยกไม่ออกระหว่างเงินกิจการกับเงินส่วนตัว เวลาไปลงทุนขายของ ได้เงินมาก็เอาเงินที่ขายได้มากิน มันผิด ต้องจัดสรรเหลือกำไรเท่าไหร่ค่อยมากินมาใช้

 

  • ถ้า 5,000 เอาไปทำได้ 10,000 เราต้องกัน 5,000 ออกมาทุกครั้ง เพื่อไปลงทุนต่อ กำไร 5,000 อาจจะดูน้อย แต่สุดท้ายเราควรจัดสรรให้ได้ 3 ก้อน คือกินใช้ ใช้หนี้ และออม ถ้าทำอย่างนี้ชีวิตจะไปได้

 

  • เขาก็ลองทำจริง แล้วก็ขายได้จริงๆ เพราะฝีมือดี พอมีกำไร มีออเดอร์เข้ามามาก มันนี่โค้ชก็จัดหาเครื่องอบมาให้ จากนั้นก็ทำสเกลใหญ่ขึ้น มียอดขาย 2-3 หมื่นบาทต่อเดือนในที่สุด เขาก็บริหารจัดการเงินได้ถูกต้อง และคืนเงินได้ตรงเวลา

 

  • สุดท้ายเคสคนตำน้ำพริก เขาก็ไม่ได้รวยขึ้น มั่งคั่ง แต่เริ่มหายใจหายคอคล่องขึ้น หนี้ลดลง ลองเจรจาหนี้เพื่อลดดอกเบี้ย แล้วรีไฟแนนช์ พอ 2-3 ปีก็เคลียร์หนี้ได้

 

19:25

 

  • อีกเคสหนึ่งจากโครงการนี้ เป็นพี่ผู้หญิงที่ตัดเย็บเสื้อผ้า พี่เค้ามีจักรเก่าๆ อยู่หนึ่งตัว มันนี่โค้ชเลยลองคำนวณว่าถ้ามีจักรเพิ่มอีกหนึ่งตัว จะมีรายได้เพิ่มเท่าไหร่

 

  • โครงการนี้พิเศษตรงไม่ได้จ่ายเงินเลย ก็หาจักรให้เขาตัวนึง เป็นจักรถีบธรรมดา เขาก็จ้างคน อุปกรณ์ก็ซื้อจัดการเอง ทำๆ ไป สามปีเจอกันอีกที ปรากฏว่าเขามีจักรอยู่สี่ตัว แล้วก็มีคนมาช่วยทำงาน การบริหารเงินก็ตามที่มันนี่โค้ชบอกทุกอย่าง ชำระเงินคืนตรงตามกำหนดทุกอย่าง  

 

21:12

 

  • เคสเหล่านี้ทำให้มุมมองของโค้ชเปลี่ยนไป จากปกติที่ทำงานกับคนในเมือง คนที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาสูงกว่า นึกง่ายๆ ว่า แค่มีสลิปเงินเดือนถ้ามีหนี้หนักหนาสาหัสอยู่ พวกเขาก็สามารถกู้เงินดอกเบี้ยต่ำมารีไฟแนนซ์ได้ แต่คนกลุ่มนี้แทบไม่มีโอกาสอย่างนั้นเลย พอมีโอกาสหยิบยื่นมาให้เค้าก็ทำได้ และทำได้ดี

 

22:36

เคสนี้สอนให้รู้ว่า

  1. ถ้าจริงจังตั้งใจกับชีวิต ความทุกข์ทางการเงินโดยเฉพาะเรื่องหนี้ คนที่จะพาเราออกมาได้คือตัวเราเอง และความคิดของตัวเอง
  2. เชื่อมั่นในเรื่องความรู้ทางการเงิน ความพยามยามหยิบยื่นให้กับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ถ้าเราหยิบยื่นเงิน โดยไม่ให้ความรู้ทางการเงินกับเขา สุดท้ายเค้าก็ออกจากวังวนนี้ไม่ได้

 

“เงินที่คุณหามาได้ต้องบริหารให้เป็น ทุกครั้งที่คุณออกแรงเพิ่ม เหนื่อยเพิ่ม ต้องไม่ให้มันสูญเปล่า เงินที่ได้มาเอาไปใช้หนี้ทั้งหมดก็ทำให้เราหมดแรง …ทำงานมาทั้งเดือน หาเงินมาแทบตาย สุดท้ายอย่าให้คนอื่นหมด”

 

  • สุดท้ายนี้คนที่อดทนแก้ปัญหาหนี้ด้วยตัวเอง คนกลุ่มนี้จะไม่กลับมาจนอีก แล้วเขาจะมีชีวิตชาตินี้ เป็นชาติเดียวที่ไม่มีวันจน

 


Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic

The post ชาตินี้ไม่มีวันจน: โปรเจกต์แก้จนของคนตำน้ำพริกที่พลิกชีวิตได้ด้วยมือตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทีเด็ดลูกหนี้: ใช้เงินเกินตัว ช่วยเหลือคนแบบประหลาด ลงทุนพลาดจนพัง https://thestandard.co/podcast/themoneycase01/ Sat, 05 Aug 2017 17:32:11 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=18780

  กู้ซื้อรถให้พี่สาว แต่ปรากฏว่า… เปิดบัตรเค […]

The post ทีเด็ดลูกหนี้: ใช้เงินเกินตัว ช่วยเหลือคนแบบประหลาด ลงทุนพลาดจนพัง appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

กู้ซื้อรถให้พี่สาว แต่ปรากฏว่า…

เปิดบัตรเครดิต 4 ใบ ตั้งใจลงทุนซื้อทอง แต่สุดท้าย…

เงินเดือนสองหมื่น แต่สร้างหนี้ถึงสองล้านได้ยังไง ทั้งๆ ที่…

เคสแปลกประหลาดและแสนสาหัสเกี่ยวกับหนี้ที่ The Money Coach รวบรวมมาเล่า

เพื่อให้เรารู้เท่าทันหนี้ พร้อมบอกวิธีแก้ไขที่ใช้ได้จริง

 


01:00

จากประสบการณ์ 10 ปีของ Money Coach เรื่องที่ฮิตที่สุดคือหนี้ เวลาคนหลังไมค์มาปรึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นเคสไม่ธรรมดา หนักจนไม่รู้จะคุยกับใครแล้ว เลยต้องพึ่ง Money Coach ถ้าเป็นกูรูคนอื่นจะบอกว่าเป็นหนี้เหรอ ลดรายจ่ายสิ แต่ Money Coach เข้าใจว่าคงลดจนไม่รู้จะลดยังไงแล้ว

 

เวลาคุยเรื่องหนี้ อยากให้ยอมรับตัวเองก่อน ทำความรู้จักตัวเอง รู้ที่มาที่ไปของหนี้ Money Coach เลยต้องถามว่า “ไปทำอะไรมาถึงเป็นหนี้?”

 

04:15

3 สาเหตุหลักในการเป็นหนี้

  • ใช้จ่ายเกินตัว
  • หนี้จากภาระครอบครัว
  • หนี้ลงทุน

 

 08:03

เคสพลาดการจากลงทุน

  • เคสหญิงสาวอายุ 25 ปี ทำงานสักระยะก็อยากลงทุนทองคำ แต่ไม่มีเงินเก็บ เลยเปิดบัตรเครดิต 4 ใบ รูดเต็มวงเงิน สุดท้ายผ่อนส่งไม่ไหวจนต้องเอาทองไปจำนำแล้วเอาเงินมาใช้หนี้ กลายเป็นวงจรกู้มาผ่อนที่หาทางคลี่คลายได้ยาก

 

12:49

เคสกู้ซื้อรถให้พี่สาว

  • เพราะพี่สาวไม่ได้ทำงานประจำ แต่อยากจะได้รถกระบะเอาไว้ทำมาหากิน ทั้งสองอยู่คนละจังหวัด จนถึงวันหนึ่งมีสำนักงานกฎหมายโทรมาให้ไปจ่ายหนี้ 3-4 งวด สุดท้ายพบว่าพี่สาวเอารถไปขาย โอนลอยเรียบร้อย แล้วกำลังจะหนีไปทำงานเมืองนอก

 

“เรื่องเงินเป็นเรื่องส่วนตัว แม้กระทั่งพี่น้องกันก็อย่าค้ำให้กัน ถ้าคุณไม่พร้อมจะรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น”

 

15:14

เคสช่วยเหลือคนแบบประหลาด

  • สองสามีภรรยาไปดูโครงการพร้อมกัน ไปเห็นใจสงสารผู้ชายคนหนึ่งที่กู้ไม่ผ่าน เลยกู้ให้แล้วบอกว่ามาผ่อนที่พวกเขาแทน เขาก็ผ่อนอยู่สักระยะแล้วเอาบ้านไปให้คนอื่นเช่า แต่ไม่ส่งเงินผ่อน จนสุดท้ายก็หายตัวไป

 

17:34

เคสหนี้ซ้ำหนี้ซ้อน

  • เงินเดือน 22,000 บาท มีหนี้ต้องจ่ายเดือนละ 70,000 บาท พอสอบถามก็พบว่ามีวงเงินหนี้รวมเกือบ 2 ล้านบาท ในหนี้นั้นไม่มีรถ ไม่มีบ้าน เป็นสินเชื่อล้วน มีตั้งแต่หนี้บัตรเครดิต 500,000 แล้วก็มีหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ย 20% ต่อเดือน สาเหตุก็คือตั้งใจกู้มาทำธุรกิจ เพราะเป็นหนี้อยู่แล้วเลยอยากหาธุรกิจมาทำแก้หนี้ สรุปเลยเป็นหนี้ซ้ำหนี้ซ้อน หนี้ตั้งต้นมาจากการใช้ของเกินตัวจนกลายเป็นลูกโซ่ที่ต้องใช้บัตรเครดิต แล้วยังลามไปเปิดวงแชร์ในเฟซบุ๊ก ไม่พอ ยังต่อไปกู้หนี้นอกระบบซ้ำที่ดอกเบี้ย 5% ต่อวัน

 

22:50

และนั่นจึงมาถึงคำถามสุดท้ายครับ… “โค้ชคะ ทำยังไงดีคะ…”

  • เคสนี้ยากมากที่จะปลดออก เพราะลดรายจ่ายเต็มเหนี่ยวแล้ว ต้องมาไล่เจรจาเรื่องหนี้ หนี้ในระบบก็ต้องยอมเสียเครดิต ถ้าหยุดชำระแล้วโดนตั้งฟ้อง ต้องทยอยเก็บสตางค์สะสมไว้ เจ้าหนี้นอกระบบถ้าเจรจาบางราย ขอหยุดจ่ายดอกได้ไหม แล้วผ่อนตัดแต่ต้น สุดท้ายเจรจาแล้วก็ต้องหารายได้เพิ่ม เคทเริ่มจากขายเสื้อผ้าออนไลน์ แล้วชีวิตมาพลิกตรงขายครีมแว็กซ์ขน ใช้เวลา 3 ปี เคลียร์ทุกอย่างได้หมด

 

 27:25

เคสนี้สอนให้รู้ว่า

  • คนเป็นหนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม หนึ่ง กลุ่มที่ยอมไปแล้ว เชื่อว่าชีวิตตกต่ำดำดิ่ง คงกลับมาไม่ได้ กับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่าชีวิตเขายังมีหวัง ยังกลับมาได้
  • 3-5 ปี ถ้าตั้งใจแก้ปัญหามันคุ้ม ถ้าผ่านตรงนี้ได้ สิ่งที่คุณจะได้คือ หนึ่ง หนี้หมด ชีวิตการเงินดีขึ้น สอง ได้ธุรกิจหรืองานพิเศษ สาม ได้ความฉลาดทางด้านการเงิน ได้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ว่าอย่าทำแบบนี้อีก

“คนที่มีปัญหาแล้วแก้ได้ด้วยตัวเองมันก็จะแกร่งขึ้น เก่งขึ้น แล้วก็ไม่มีทางพลาดเรื่องเดิมอีก”   


Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์


Show Creator
จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic.com

The post ทีเด็ดลูกหนี้: ใช้เงินเกินตัว ช่วยเหลือคนแบบประหลาด ลงทุนพลาดจนพัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนะนำ ‘The Money Case’ https://thestandard.co/podcast/themoneycase00/ Sat, 05 Aug 2017 14:54:04 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=18753

  “สวัสดีครับ ผม หนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ The Mone […]

The post แนะนำ ‘The Money Case’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

“สวัสดีครับ ผม หนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ The Money Coach
กลับมาอีกครั้งนะครับ คราวนี้เราเจอกันที่ THE STANDARD Podcast
กับซีรีส์ที่ชื่อว่า The Money Case”

 

“ซีรีส์นี้เป็นเรื่องราวทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์การเป็นโค้ชการเงิน
นำมาบอกเล่ากับคุณผู้ฟัง เพื่อให้คุณผู้ฟังสามารถนำไปออกแบบชีวิต
วางแผนทางการเงิน เพื่อไปสู่เป้าหมายในรูปแบบที่คุณต้องการได้…”

 

“ติดตามฟัง The Money Case by The Money Coach ได้ทุกวันจันทร์
จะได้เริ่มต้นสัปดาห์กันด้วยข้อคิดและทัศนคติดีๆ เกี่ยวกับเงิน
ที่นี่ THE STANDARD Podcast ครับ”

 

“และติดตามกันได้ด้วยเช่นกันที่แฟนเพจ Money Coach บนเฟซบุ๊ก
หรือทางเว็บไซต์ moneycoach.co.th ด้วยนะครับ”

 


Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Music Westonemusic.com

The post แนะนำ ‘The Money Case’ appeared first on THE STANDARD.

]]>