เรียนต่ออเมริกา – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 09 Feb 2023 01:40:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok-medley1/ Thu, 06 May 2021 12:15:10 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=485071 รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา

รวม 5 ตอนฟังต่อกันยาวๆ จากพอดแคสต์ ‘นักเรียนนอก’ หลากหล […]

The post รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา

รวม 5 ตอนฟังต่อกันยาวๆ จากพอดแคสต์ ‘นักเรียนนอก’ หลากหลายทั้งสาขาวิชาและประสบการณ์ชีวิตจากดินแดนอเมริกา

 

00:00 ไปเรียนร้องเพลงที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

40:31 ไปเรียนปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่เคมบริดจ์และลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

01:09:48 ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวต์วอเตอร์ สหรัฐอเมริกา

01:29:51 ไปเรียนและเข้าสมาคมนักเรียนหญิงที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

02:16:28 ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple

 

The post รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต้น ธนษิต คุยภาษาอังกฤษ เรื่องเบื้องหลังการประกวด AF และ ชีวิตนักเรียนนอกที่ไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk12/ Tue, 21 Nov 2017 17:01:14 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=48525

     ต้น ธนษิต พยายามออดิชันอยู่ถึง 3 ปี […]

The post ต้น ธนษิต คุยภาษาอังกฤษ เรื่องเบื้องหลังการประกวด AF และ ชีวิตนักเรียนนอกที่ไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ต้น ธนษิต พยายามออดิชันอยู่ถึง 3 ปีกว่าจะได้เข้าบ้าน AF และก่อนจะได้ตำแหน่งสุดยอดนักล่าฝันในซีซันที่ 8 แทบทุกการสัมภาษณ์ เรามักได้รับรู้แต่เรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีและการร้องเพลงที่เขาหลงใหล แต่ในวันนี้ โบ สาวิตรี จะชวนคุยลึกลงไปในหลายๆ เรื่องที่ยังไม่เคยคุยที่ไหนเพื่อให้คุณได้รู้จักหนุ่มคนนี้มากขึ้น

 


 

02.18

การประกวด AF ผ่านไป 6 ปีแล้ว อะไรคือความทรงจำที่ ต้น ธนษิต โปรดปรานที่สุด

     แค่การมีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในบ้านนี่คือสิ่งที่เจ๋งมากแล้วนะ เพราะความจริงไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะได้ เราเป็นแฟนรายการนี้มานาน และคิดมาตลอดว่าขอแค่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ AF ก็ดีใจมากแล้ว ต้นเคยมาสมัครซีซัน 6 กับ 7 ด้วยนะ แต่ไม่ติด

 

03.23

เคยมาออดิชัน 2 ปี 2 ครั้ง แต่ไม่ติด หลายคนอาจถอดใจไปแล้ว อะไรทำให้ต้นยังพยายามอีกเป็นครั้งที่ 3

     ก็เกือบเลิกล้มความตั้งใจไปแล้วนะครับ สมัยสมัครซีซัน 6 กับ 7 เราพยายามมากนะ ถึงกับเดินทางไปสมัครตามจังหวัดต่างๆ คือบินไปออดิชันที่ขอนแก่นก่อน พอไม่ได้ก็กลับมาสมัครที่กรุงเทพฯ อีกรอบอะไรอย่างนี้ เหนื่อยนะ แต่สุดท้ายก็เลิก บอกพ่อแม่ว่าสงสัยไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้แล้วล่ะ เดี๋ยวไปลองอย่างอื่นดีกว่า

     แต่ทีนี้คือแม่เราไปเห็นเขารับสมัครซีซัน 8 ในทีวี แล้วเป็นคนมาบอกเราว่า AF มาอีกแล้ว แม่ว่าต้นน่าจะไปลองอีกทีนะ ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่อยากแล้วล่ะ อยากไปเที่ยวทะเลกับเพื่อนแล้ว เพราะช่วงนั้นเพิ่งสอบเสร็จพอดี แต่ทีนี้น้องสาวต้นที่เป็นนักร้องเหมือนกันเนี่ยเขาอยากไป เราก็เลยไปกับน้อง แล้วคราวนี้น้องสาวไม่ติด แต่เราติด เราได้เข้าบ้าน

     และคราวนี้ต้องบอกว่าเป็นเพราะพี่ทาทา ยัง ที่เป็นหนึ่งในกรรมการ พอได้ฟังต้นร้องแล้วเขาบอกว่าชอบเรา ทั้งๆ ที่กรรมการคนอื่นไม่มีใครแน่ใจในตัวเราเลย แต่พี่ทาทาเห็นอะไรบางอย่างแล้วบอกให้ร้องต่อ ร้องอีก พี่ทาทาเลยแหละที่เป็นคนเปลี่ยนชีวิตเรา

 

06.33

ครั้งที่ 3 ทำอะไรที่ต่างไปจาก 2 ปีแรกหรือเปล่า ไปเรียนร้องเพลงเพิ่มไหม หรือเตรียมตัวแตกต่างจาก 2 ครั้งแรกอย่างไร

     น่าจะเป็นเพราะต้นเข้าชมรมดนตรีที่ธรรมศาสตร์ เลยได้ประสบการณ์ในการร้องและแสดงสด

 

07.19

ถ้าครั้งที่ 3 ยังไม่ได้ จะกลับมาเป็นครั้งที่ 4 หรือเปล่า

     น่าจะพอแล้วล่ะครับสำหรับ AF น่าจะไปลองรายการอื่น

 

08.49

อะไรคือสิ่งที่ ต้น ธนษิต ได้ต้นพบเกี่ยวกับตัวเองตอนอยู่ในบ้าน AF

     ต้นว่าคือการที่เราได้เอาชนะความกลัว ตอนนั้นจุดแข็งของเราคือเพลงสากล เพลงไทยนี่ไม่ค่อยถนัดเท่าไร แต่ทีนี้มีสัปดาห์หนึ่งที่เราต้องร้องเพลงในแนวที่เป็นจุดอ่อนของเรา เขาก็ให้หมอลำมาเป็นโจทย์เลยครับ เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ เลยครับ คือยากมาก ต้นก็ ตายแน่เรา คือมันยังงี้เลย (09.54 ร้องเป็นตัวอย่างหนึ่งท่อน) ยากมาก แต่พอได้ร้องจริงแล้วมันก็ออกมาดีอย่างนึกไม่ถึงนะ มันทำให้เราคิดได้ว่าเมื่อก่อนเราปิดกั้นตัวเองเกินไป เพราะเรามัวบอกตัวเองว่ามันยากมาก เราทำไม่ได้หรอก มีเวลาแค่สัปดาห์เดียวเนี่ยนะ ไม่มีทางเลย

     แต่พอเราบอกตัวเองว่า เอาวะ ก็ทำเต็มที่แล้วกัน กำแพงบางอย่างมันก็พังลงนะ นี่ไง เราต้องเปิดตัวเองและเราต้องสนุกกับมันให้ได้ เพราะที่สุดแล้วการร้องเพลงคือความบันเทิง เราให้ความสุขกับคนฟัง เราเองก็ต้องมีความสุขและสนุกกับมันด้วย มามัวเครียดทำไม เสียเวลา พอออกมาเราก็ว่ามันดีนะ เราทำได้ไม่เลวเลย

 

11.26

เคล็ดลับเกี่ยวกับการร้องเพลงหรือเกี่ยวกับการทำงานในวงการบันเทิงที่ได้มาจากบ้าน AF คืออะไร

     คือการพยายามเรียนรู้ความหมายของแต่ละเพลงที่เราร้อง เมื่อก่อนต้นเป็นนักร้องประเภทเน้นเทคนิคจนบางครั้งเราลืมพื้นฐานของเพลง นั่นคือการสื่อสารกับคนฟัง ลืมที่จะเข้าให้ถึงความหมายของเพลง แล้วไปตั้งใจกับเทคนิคการใช้เสียงมากกว่า ต้นได้เรียนรู้จากในบ้านนี่แหละว่าเราควรเข้าใจและพยายามสื่อความหมายของเพลงก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยเติมเรื่องเทคนิคหรือลูกเล่นทีหลัง ซึ่งมันควรจะมาอย่างเป็นธรรมชาติขณะที่เราร้องแล้วรู้สึกกับมันจริงๆ มากกว่า

 

ต้น ธนษิต ที่ The Standard

 

13.22

ตอนนี้มีการประกวดร้องเพลงในบ้านเราเยอะมาก ต้นมีคำแนะนำอะไรให้หลายคนที่กำลังคิดจะสมัครแข่งขันบ้าง

     ต้นอยากพูดรวมๆ ว่าสมัยนี้การจะกลายเป็นนักร้องเป็นเรื่องไม่ยากแล้ว แต่สิ่งที่ยังคงยากอยู่ทุกยุคทุกสมัยน่าจะเป็นการอยู่อย่างไรให้ได้นานต่างหาก

     สมัยก่อนการจะได้เป็นนักร้องมันดูห่างไกลจากตัวเรามาก แต่ยุคนี้วิธีเข้าไปในวงการมันเยอะมาก แต่ต้นอยากบอกว่าพอได้เป็นแล้วเราจะยืนอย่างไรให้ยาว ทุกวันนี้ต้นยังเรียนร้องเพลงอยู่เลยนะ เราอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ และเรื่องวินัยก็ต้องรักษาให้ดี ไม่ไปทำงานสาย อย่าให้คนอื่นต้องมารอเรา

     บางครั้งเวลาได้โจทย์ยากๆ มา เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ ต้องทำการบ้านหนักๆ หรือล่าสุดต้องไปร้องเพลงภาษามาเลย์คู่กับนักร้องมาเลย์ ความรู้สึกคือถ้าเราพลาด มันไม่ได้อายแค่เรา แต่อายมาถึงประเทศไทยด้วย ยอมไม่ได้นะ ฟังและท่องเนื้ออยู่ 3 อาทิตย์

 

16.37

ยุคนี้มีหลายวิธีที่จะได้เป็นนักร้อง บางทีไม่จำเป็นต้องผ่านเวทีประกวดหรือเรียลิตี้โชว์เลยด้วยซ้ำ บางคนร้องเพลงลงยูทูบหรือโซเชียลมีเดียแล้วทั้งร้องดีและโปรโมตตัวเองเก่งก็ดังได้ ต้นคิดว่าวิธีเข้ามาเป็นนักร้องแบบนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง เทียบกับวิธีแบบที่พวกเราผ่านกันมา

     ต้นรู้จักนักร้องที่เป็นยูทูเบอร์นะครับ อย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาสำหรับพวกเขาคือการสื่อสารและเชื่อมต่อกับคนฟัง โดยเฉพาะเวลาเล่นสด อย่างพวกเราชาว AF นี่ได้ขึ้นเวทีแสดงสดกันทุกสัปดาห์ใช่ไหม นักร้องยูทูเบอร์จะขาดประสบการณ์แบบนั้นเพราะเขาจะชินกับการร้องเพลงหน้ากล้อง ในห้อง หรือสตูดิโอมากกว่า พอได้เจอคนฟังสดๆ อาจจะมีประดักประเดิดบ้าง แต่เรื่องนี้ก็เรียนรู้และแก้ไขกันได้ครับ

 

ต้น ธนษิต ที่ The Standard

ต้น ธนษิต ที่ The Standard

 

18.34

ต้น ธนษิต เคยไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอยู่ 1 ปีที่สหรัฐอเมริกา

     ที่จริงไม่ได้อยากไปอเมริกาด้วยซ้ำครับ อยากไปญี่ปุ่นมากกว่า อากาศก็ดี อาหารก็อร่อย วัฒนธรรมก็น่าสนใจ อเมริกาไม่ได้อยู่ในความคิดเลย ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะคิดว่าเราพอพูดภาษาอังกฤษได้บ้างแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไปญี่ปุ่นก็จะได้ภาษาที่สาม แต่ปรากฏว่าการแข่งขันมันสูงมาก เขาเอาปีละแค่ 4 คนจากเท่าไรไม่รู้ ซึ่งไม่น่าจะน้อยๆ แต่เราติด waiting list ที่จะได้ไปอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ แม่ต้นอยากให้ไปอียิปต์! ซึ่งเราต้องบอกแม่ว่า แม่ๆ แม่ต้องแยกแยะระหว่างการไป ‘เที่ยวอียิปต์’ กับการไป ‘อาศัยอยู่ที่อียิปต์’ นะ เราไม่น่าจะอยากไปดูพีระมิดตลอดเวลา 1 ปีหรือเปล่า (หัวเราะ)

     และแล้วก็ถูกส่งไปอยู่ที่ บอยซี รัฐไอดาโฮ (Boise, Idaho) AFS เขาเลือกให้ เราเลือกเองไม่ได้นะครับ ซึ่งตอนนั้นก็ไม่รู้เลยว่าบอยซีคืออะไร ไอดาโฮอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ อย่างเดียวที่เคยได้ยินเกี่ยวกับไอดาโฮคือเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องมันฝรั่ง (หัวเราะ) จบ เราก็ไปทำการบ้านซะหน่อย โอ โชคยังดี บอยซีเป็นเมืองหลวงของไอดาโฮก็น่าจะมีความเจริญอย่างเมืองใช่ไหม ไม่ต้องเป็นชาวไร่ปลูกมัน (หัวเราะ) แต่เพื่อนต้นคนหนึ่งนี่ต้องออกล่าสัตว์เลยนะ (หัวเราะ) เราเนี่ยโชคดีแล้ว

 

22.07

ชีวิตประจำวันเป็นอย่างไรบ้างในบอยซี รัฐไอดาโฮ

     สนุกมากครับ หนึ่งปีกับ AFS เป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ดีที่สุดในชีวิต กิจวัตรประจำวันคือไปโรงเรียนนี่แหละ และวันแรกสุดความรู้สึกคือตื่นเต้นมาก และสิ่งที่กลัวที่สุดคือวิธีการเปิด-ปิดล็อกเกอร์ (หัวเราะ) เราคือเด็กไทยเนิร์ดๆ อ้วนๆ ที่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองคนหนึ่ง แล้วมาเจอโรงเรียนใหญ่ยักษ์นักเรียน 3,000 คน ที่มีเด็กเอเชียน่าจะแค่ 3 คน และเราก็เป็นหนึ่งในนั้น เดินไปไหนใครก็มองเหมือนเป็นตัวประหลาด แล้วยังต้องมาเจอล็อกเกอร์ที่แบบ เปิดยังไงวะ… เปิดยังไงวะ! คือมีคนเคยสอนแล้วล่ะครับ แต่เราลืม แล้วก็ยืนอึ้งอยู่อย่างนั้นสัก 5 นาทีได้มั้ง จนมีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งมาถามว่า ให้ฉันช่วยไหมเธอ เราก็ได้โปรดเถอะ ช่วยเราด้วย (หัวเราะ)

     เพื่อนที่นั่นดีนะครับ ไม่มีใครแกล้งเรา โชคดีมาก ตอนนั้นเราเตี้ยมาก เพื่อนๆ ก็จะแบบ เธอนี่ตัวเล็กน่าเอ็นดูดีนะ

 

24.19

ได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างที่โรงเรียน

     เข้าวงประสานเสียงครับ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนเลยนะ เพราะทำให้เราค้นพบตัวเองและได้รู้ตัวว่าเราอยากร้องเพลง ก่อนหน้านั้นความอยากเป็นนักร้องไม่ได้อยู่ในหัวเลย อยากเป็นหมอ… นี่ถ้าเพื่อนได้ฟังอยู่คงขำกลิ้ง (หัวเราะ) ตอนนั้นคือต้องลงวิชาเลือกไง เหลือว่างอยู่หนึ่งวิชา อ๊ะ มีร้องประสานเสียงด้วย เลยเลือก

 

25.54

ตลอดหนึ่งปีในไอดาโฮ อะไรคือประสบการณ์ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด

     เริ่มจากที่แย่ที่สุดก่อนนะครับ นั่นคือการต้องเปลี่ยนโฮสต์แฟมิลี่ เหตุผลคือเพราะบ้านนี้เขาสูบบุหรี่และสูบตลอดเวลา คือตื่นมาก็จุดบุหรี่สูบเลย แล้วก็สูบในบ้านด้วย ไอ้จะไปบอกให้เขาออกไปสูบนอกบ้านก็ไม่ใช่ที่ เพราะนี่มันบ้านเขาไง (หัวเราะ) แต่นอกจากนี้เขาก็ดีทุกอย่างนะครับ แต่เราก็ไม่ไหวจริงๆ เลยตัดสินใจขอเปลี่ยนบ้าน ซึ่งเสียดายนะ เอาจริงๆ บ้านหลังเบ้อเริ่มเลย มีสระว่ายน้ำด้วย (หัวเราะ) แต่ต้องแลกเพื่อสุขภาพ

     ส่วนความทรงจำที่ดีที่สุด โดยรวมๆ แล้วคงเป็นทุกอย่างที่มีส่วนสร้างให้เรากลายเป็นคนแบบทุกวันนี้ เป็นคนมั่นใจ เป็นคนเข้มแข็ง ก่อนไปอเมริกาเราเป็นเด็กเงียบๆ ที่ไม่ทำอะไรเลย แต่พอไปอยู่ที่โน่นเราต้องปรับ เด็กอเมริกันเนี่ยรู้สึกอะไรเขาจะกล้าแสดงออก คิดอะไรเขาจะกล้าพูดออกมา ต้นว่าต้นได้อะไรพวกนี้กลับมาหมดเลยนะ และมันเปลี่ยนเราไปเลยอย่างสิ้นเชิง

 

ต้น ธนษิต ที่ The Standard

 

30.52

ถ้าในชีวิตนี้ได้ทุกอย่างที่เคยอยากได้แล้ว ได้ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของอาชีพนักร้องแล้ว อะไรจะเป็นความฝันถัดไปของ ต้น ธนษิต

     เดินทางรอบโลกครับ มีที่ที่อยากไปเยอะมาก อยากไปดูแสงเหนือ

 

31.27

ถ้าชีวิตนี้ไม่ต้องการเงินอีกต่อไปแล้ว นอกจากร้องเพลง แต่ละวันของ ต้น ธนษิต น่าจะยุ่งอยู่กับการทำอะไรบ้าง

     ต้นเป็นแฟนตัวยงของแฮร์รี พอตเตอร์ ก็คงอยากไปเดินทางตามรอยหนัง Harry Potter นะ หรือ Game of Thrones ด้วยก็ได้ คืออยากเดินทางไปตามโลเคชันที่เขาถ่ายทำหนังหรือซีรีส์ที่เราชอบอะไรแบบนี้ ถ้ามีเงินจะเดินทางแหลกเลย

 

32.09

มีงานอดิเรกอะไรที่เคยเลิกไปแล้วอยากเอากลับมาทำใหม่บ้างไหม

     ก็ไม่เชิงว่าเลิกไปแล้วนะครับ แต่ไม่มีเวลาให้กับมัน นั่นคือการเล่นสกี เรื่องนี้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ต้นว่าต้นเล่นสกีเก่งทีเดียวนะ แล้วนี่ก็เป็นกีฬาประเภทเดียวที่เล่นเป็นด้วย ตอนอยู่ไอดาโฮคือไปเล่นสกีทุกอาทิตย์เลย

 

34.40

ต้นคิดว่าตัวเองน่าจะทำอาชีพอะไรได้ดีอีกบ้างนอกจากอาชีพในวงการบันเทิง ถ้าพิจารณาจากความสามารถพิเศษของตัวเอง

     ต้นว่าตัวเองน่าจะเป็นประชาสัมพันธ์ที่ดีได้นะครับ เราเพื่อนเยอะ รู้จักคนเยอะ

 

35.13

อะไรบ้างที่คนทั่วไปมักเข้าใจต้นผิด

     คือด้วยความที่เราเป็นคนหน้าเหวี่ยงโดยธรรมชาติ (Resting bitch face) คนทั่วไปจะไม่รู้ว่าต้นเป็นคนเฟรนด์ลี่นะครับ

 

37.27

Doing impressions!

     (ฟัง ต้น ธนษิต เลียนแบบ บริตนีย์ สเปียร์ส, ไมเคิล แจ็กสัน และเซลีน ดิออน ตามลำดับ)

 

ต้น ธนษิต ที่ The Standard

 

 

38.45

This or That: จะเลือกอะไรระหว่าง Netflix ฟรีตลอดชีวิต กับ Spotify ฟรีตลอดชีวิต

     Spotify ครับ ชีวิตนี้ขาดเพลงไม่ได้… แต่ความจริงเราก็ติดซีรีส์นะ เลือกยากแฮะ

 

39.27

This or That: จะเลือกอะไรระหว่างไม่แปรงฟัน 7 วัน กับไม่ล้างหน้า 7 วัน

     แหยะทั้งคู่ แต่ถ้าต้องเลือก เลือกไม่ล้างหน้าแล้วกันครับ ไม่แปรงฟันนี่ไม่ไหวนะ จะไปคุยกับใครยังไง

 

40.21

This or That: จะเลือกอะไรระหว่างถูกปล่อยทิ้งอยู่คนเดียวในป่าแอมะซอน หรือถูกปล่อยทิ้งอยู่คนเดียวในเมืองที่กำลังทำสงคราม

     เลือกยากอะ แอมะซอนนี่เกิดไปเจออนาคอนด้าหรือจระเข้นี่ทำยังไงดี แต่ในป่าก็จะมีอาหารใช่ไหม แต่เมืองสงครามนี่ก็กักตุนอาหารแล้วหลบอยู่ใต้ดินก็ได้นี่ เอางี้ ต้นเลือกเมือง พี่โบเลือกป่า แล้วมาดูซิว่าใครจะรอด (หัวเราะ)

 

41.30

This or That: จะเลือกอะไรระหว่างแมวที่ร้องทั้งคืน กับหมาที่เห่าทั้งคืน

     แมวแน่นอนครับ ต้นชอบแมว

 

41.50

This or That: จะเลือกอะไรระหว่างร้องเพลงคู่กับคนเมาเหล้า หรือร้องเพลงคู่กับคนเมากัญชา

     เคยผ่านมาแล้วทั้งสองอย่างนะ สนุกดี (หัวเราะ) แต่คนเมาปุ๊นนี่จะสนุกกว่า เพราะคนเมาเหล้าจะร้องเพี้ยน อันนี้พูดจากประสบการณ์เลยครับ (หัวเราะ)

 

43.08

สมมติให้เลือกอย่างเดียวระหว่างบริการฟรีสองอย่างนี้ที่จะมอบให้คุณทันทีเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม จะเลือกอะไรระหว่างพ่อครัวประจำตัว หรือหมอนวดประจำตัว เลเวลคือ มือเทวดาทั้งคู่!

     เลือกพ่อครัวครับ คือหมอนวดก็ดีนะ แต่ต้นมีวิธีลดความเครียดอีกหลายวิธี ฟังเพลง หรือออกไปเที่ยวกับเพื่อน ไม่ต้องนวดก็ได้ พ่อครัวเด็ดกว่านะ อยากกินอะไรเมื่อไรก็บอกให้เขาทำให้กินทันที จะขออาหารดาวมิชลินทุกวันเลย

 


 

 


Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest ธนษิต จตุรภุช

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
Photo นวลตา วงศ์เจริญ

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Music Westonemusic.com

The post ต้น ธนษิต คุยภาษาอังกฤษ เรื่องเบื้องหลังการประกวด AF และ ชีวิตนักเรียนนอกที่ไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok06/ Tue, 12 Sep 2017 23:00:15 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=26442

     หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นเสียงของห […]

The post ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นเสียงของหนุ่มน้อย เค เลิศสิทธิชัย หรือ Kayavine Vlogger หนุ่มหน้ามนที่มาตั้งกล้องเล่าเรื่องราวที่ได้ประสบพบเจอระหว่างเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา

     นอกจากรอยยิ้มพิมพ์ใจกับกล้ามสวยๆ ที่แม่ยกมองเป็นต้องละลายแล้ว ชีวิตการเรียนไฮสคูลและมหาวิทยาลัยในอเมริกาของหนุ่มเคก็ยังน่าสนใจไม่แพ้กัน

 


 

01.30

“สวัสดีครับ ชื่อเคนะครับ ชื่อจริงชื่อว่า เค เลิศสิทธิชัย หลายคนถามว่าผมเป็นใคร? เออ ผมเป็นใครวะ? เป็นคนไทยธรรมดานะครับ ไม่ได้เป็นอะไร แต่ว่าอยู่อเมริกามาได้ 4 ปีแล้วครับ มาอเมริกาตั้งแต่ไฮสคูลละครับ”

 

ขอบคุณ Youtube Channel: Kayavine

 


 

02.02

“เราจำเป็นต้องไปเรียนเมืองนอกจริงๆ เหรอ”

  • ความคิดแรกของเคที่ทำให้ตัดสินใจไปเรียนเมืองนอก คือ ความท้าทาย การเรียนอยู่ในเมืองไทยอย่างเดียวอาจทำให้ไม่ได้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่ต่างประเทศมันต่างจากไทยขนาดไหน
  • เคมีตัวเลือกอยู่ 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน
  • สุดท้ายเลือกไปสหรัฐอเมริกา ไปเรียนชั้น ม.5 ที่เมืองร็อกฟอร์ด รัฐอิลลินอยส์
  • ช่วงแรกที่ไปแลกเปลี่ยนพบว่าฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องเลย เรื่องพูดนี่ยิ่งแล้วใหญ่ สั่งอาหารก็ไม่กล้าพูดชื่อเมนู ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่หลายเดือน
  • นั่นทำให้ช่วงแรกที่ไปแลกเปลี่ยน เครู้สึกอยากกลับบ้านอยู่บ้าง เพราะสื่อสารกับคนที่นี่ไม่รู้เรื่อง แต่พอผ่านไปหลายเดือนก็เริ่มสนุก จนตอนนี้ยังอยู่ที่อเมริกาอยู่เลย
  • ไม่เคยโฮมซิกจนโทรกลับบ้านมาร้องไห้เลย

 

03.55

“แล้วเคก็พบว่าบรรยากาศการเรียนไฮสคูลที่อเมริกานั้นแตกต่างจากการเรียนที่ประเทศไทยอยู่มากจริงๆ”

  • เพราะตารางเรียนที่อเมริกาต่างกับไทย
  • ที่ไทยจะเรียนวิชาต่างกันไปทุกวัน แต่ที่อเมริกาจะเรียนเหมือนกันทุกวัน ช่วงเช้าเรียนวิชาอะไร ช่วงบ่ายเรียนวิชาอะไร ก็เหมือนกันไป 5 วัน
  • การเรียนแบบนี้อาจทำให้ไม่ต้องเรียนพิเศษ เพราะเรียนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องทุกวัน
  • ตอน ม.6 ก็เรียนต่อที่ร็อกฟอร์ดเหมือนตอน ม.5 เพราะถ้ากลับมาเรียนเมืองไทยก็ต้องซ้ำชั้น
  • บรรยากาศการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องสอบ ACT หรือ SAT คือสอบพื้นฐานเพื่อเอาคะแนนไปสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนต่างชาติต้องมีคะแนน TOEFL ด้วย
  • คะแนนสองตัวนี้ รวมกับคะแนนทรานสคริปต์ เอาไปสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่อได้
  • พอยื่นแล้วก็ต้องเขียน essay ถ้าเขียนได้ตรงใจคณะกรรมการก็เข้าเรียนได้เลย
  • ตอนมหาวิทยาลัยย้ายไปเรียนที่รัฐวิสคอนซิน ได้ทุนเรียนด้วย
  • ซึ่งถ้ามีเกรด 3.4-3.5 ก็มีสิทธิ์ได้ทุนแล้ว แต่เกรดที่อเมริกาจะยากหน่อย คือคะแนนต้องมากกว่า 90% ถึงจะได้ A
  • ไปเรียนสาขา Actuarial Science หรือคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งเป็นสาขาวิชาชีพที่ทำเงินสูงสุดในอเมริกา
  • เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง ในธุรกิจประกันและธุรกิจการเงิน
  • ในเมืองไทยมีสอนที่มหิดล และจุฬาฯ
  • ซึ่งเป็นสาขาที่คนเรียนยังน้อย และเป็นมาตรฐานการสอบเดียวกันทั่วโลก จบแล้วทำงานที่ประเทศไหนก็ได้
  • เรียนค่อนข้างยาก เพราะมีสูตรคณิตศาสตร์ให้จำเยอะ จะต้องพกเครื่องคิดเลขเฉพาะตัว ที่ใช้คำนวณการลงทุนต่างๆ

 

08.04

 

“เอาจริงๆ มันก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราคิดไว้”

 

08.19

“บรรยากาศการเรียนมหาวิทยาลัยต่างจากไฮสคูลไหม”

  • ต่าง ในไฮสคูลมีเวลาเรียนชัดเจนทุกวัน เหมือนกัน แต่ที่มหาวิทยาลัยตารางเรียนจะไม่แน่นเหมือนไฮสคูล ทำให้ต้องมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง อาจารย์ก็ไม่สนใจ ต้องปลุกตัวเองไปเรียน
  • ในสาขามีคนเรียนอยู่ 30-40 คน ไม่เยอะเท่าไร
  • ไม่มีบรรยากาศติวกันเหมือนเมืองไทย
  • ระบบอเมริกาไม่ได้แบ่งเป็นคณะเท่าไร เพื่อนๆ เลยมักอยู่ในคณะบริหารมากกว่า
  • ถึงจะเป็นคนเอเชียแต่ก็ไม่ได้จ๋อง
  • แพลนว่าจะเข้าทีมอเมริกันฟุตบอลที่นั่น เพราะเห็นจากในหนังมันเท่ดี
  • เลยไปขอโค้ชเข้าทีม ไปฝึกซ้อมกับเขา ไปเล่นเวตกับเขา

 

10.42

 

“เคสนิทกับกัปตันทีมด้วย เขาบอกว่าถ้าโดนแกล้งเนี่ย Just let me know”

 

  • ตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็เริ่มถ่าย Vlog ไปด้วยกัน
  • เริ่มจากที่พ่อแม่บอกให้หางานพิเศษทำ แต่หาไม่ได้ เลยทำคลิปลงยูทูบแทน คนก็ให้ความสนใจเยอะ
  • ยามว่างก็เล่นฟิตเนสบ้าง เล่นกีฬาบ้าง

 

11.58

 

“แต่ทุกอย่างอยู่ที่การบริหารเวลา ทั้งเวลาเรียน เวลานอน เวลากิน เวลาเที่ยว ถ้าคิดแต่จะไปเที่ยวอย่างเดียวก็ไม่ได้”

 

13.12

“เมืองที่ไปอยู่เป็นอย่างไรบ้าง”

  • ชื่อเมืองไวท์วอเตอร์ ธรรมชาติเยอะมาก ฤดูหนาวทีหนึ่งก็ลบสี่สิบองศา คนมักชอบมาเล่นสโนว์บอร์ด
  • แต่ชอบเมืองใหญ่มากกว่า เพราะเติบโตจากเมืองใหญ่มา
  • ไม่มีแฟนที่นั่น เพราะโฮสต์แฟมิลีเคยเตือนว่าชีวิตมหาวิทยาลัยมีได้แค่ครั้งเดียว ไม่ควรใช้ไปกับการอยู่กับคนแค่คนเดียว ใช้เวลากับเพื่อนดีกว่า
  • แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับโฮสต์แฟมิลีแล้ว อยู่หอพักแทน
  • เป็นหอพักรวม ไม่แบ่งชายหญิง ไม่มีอาจารย์ดูแล แต่มี RA (Resident Assistant) ดูแล
  • ซึ่งต่างกับในหนังที่มักมีเพื่อนเฮ้วๆ มาก่อกวน ในหอพักจริงๆ นั้น RA จะออกกฎรักษาความสงบในหอพัก เช่น Quiet hour ที่ห้ามส่งเสียงดังเกินกำหนดในชั่วโมงนั้นๆ ถ้าไม่เชื่อฟังจะเรียกตำรวจ
  • ในหน้าเทศกาลก็จะมีจัดกิจกรรม ตกแต่งห้อง เชื้อเชิญให้คนเข้าไปดูเล่น แต่งตัวสนุกๆ กัน
  • “เกรดเป็นอย่างไรบ้าง”
  • ตอนนี้ 3.74 ตั้งใจว่าจะเรียนให้ได้เกียรตินิยม ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 3.4-3.5
  • ถ้าได้เกียรตินิยม ตอนขึ้นไปรับปริญญาน่าจะเท่ดี
  • แถมเวลาไปสมัครงานก็บอกได้ว่าเราเป็นเด็ก honor

 

16.00

“มองไปที่ปริญญาโท-เอก หรือยัง”

  • คิดถึงปริญญาโทไว้บ้าง แต่เอกยังห่างเกินไป
  • ตอนนี้วางตัวเองไว้อย่างไรบ้าง หลังจากมีงานในวงการสื่อมากขึ้น?
  • ชื่อเสียงมาจากที่ชอบทำคลิป เราคิดว่าคลิปเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
  • เรื่องมันเริ่มจากตอนที่แม่บอกว่าให้ทำคลิปเล่าประสบการณ์การไปเรียนต่อต่างประเทศ ประกอบกับมีคนถามเข้ามามากว่าไปเรียนอเมริกาต้องทำอย่างไร
  • เลยคิดว่าคลิปน่าจะตอบคำถามแทนการพูดคุยทีละคนได้
  • ปรากฏว่าคนดูเป็นแสนเลย
  • ตอนนี้มี 30 กว่าคลิป

 

17.18

คลิปที่พีกคือเรื่องคัลเจอร์ช็อก

  • เป็นเรื่องห้องน้ำที่มีช่องระบายอากาศเยอะมาก จนสามารถเห็นคนข้างนอกได้เลย ก็ตกใจ เพราะไม่ชิน

 

17.53

  • เรื่องที่ประทับใจที่นั่นคือกฎหมายที่เคร่งครัดมาก
  • ถ้าขับรถตอนกลางคืน แม้จะไม่มีคนก็ตาม แต่ถ้ามีไฟแดง รถทุกคันจะหยุดรอที่ไฟจราจรกันหมด
  • กฎหมายที่นี่แรงมาก ใบสั่งแพง ในใบขับขี่ก็มีแต้มอยู่ 12 แต้ม ถ้าโดนหักหมดก็จะทำให้ค่าประกันรถสูงขึ้น ทุกคนเลยเคารพกฎหมาย

 

18.59

“หลังจากที่ไปเป็นนักเรียนนอกมา อะไรที่เปลี่ยนไปเยอะสุด”

  • หลักๆ คือความคิด เมื่อก่อนติดเพื่อน ติดเที่ยว ติดเล่น แต่พอไปอยู่คนเดียวที่ต่างประเทศก็ต้องมีวินัยมากขึ้น คนที่นั่นตรงต่อเวลามาก ก็ต้องพัฒนาตัวเองตาม
  • ตอนกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ที่ไทยก็โดนทักว่าเปลี่ยนไป
  • คือหุ่นล่ำขึ้น แล้วก็มีวินัยมากขึ้น เช่นเรื่องการกิน เพราะออกกำลังกาย ทำให้ต้องเลือกกินมากขึ้น
  • พ่อแม่ไม่ห่วงเท่าไรแล้ว
  • “สุดท้ายแล้วมองว่าทำงานต่อที่นั่นเลยหรือเปล่า?”
  • อาจหาที่ฝึกงานที่นี่สักปีสองปี แล้วก็กลับมาเมืองไทย เพราะอยากมีครอบครัวหรือการงานอยู่ที่ไทย ไม่ได้อยากไปประเทศอื่น

 

20.38

“สำหรับคนไทยที่อยากมาเรียนอเมริกา อย่าให้การกลัวกังวลมาหยุดความฝันเราที่จะมาอเมริกา ใครคิดว่าจะมีเพื่อนไหม อยู่ได้ไหม พ่อแม่ไม่อยู่แล้ว ใครจะซักผ้า ใครจะส่งเงินให้ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กมากๆ เลยครับ อย่าให้มันมาดึงเราจากความฝันในการมาเรียนเมืองนอกครับ เคเป็นกำลังใจให้นะครับ มันไม่ได้ยากมากอย่างที่คนเคยเล่ามาครับ”

 


 

Credits

 

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest เค เลิศสิทธิชัย

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, นทธัญ แสงไชย, อธิษฐาน กาญจนพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่เคมบริดจ์และแอลเอ, สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok04/ Mon, 21 Aug 2017 08:46:42 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=21497

นอกจาก 12 ปีจะเป็นเวลาที่วนครบ 1 รอบนักษัตร จากปีชวดไปจ […]

The post ไปเรียนปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่เคมบริดจ์และแอลเอ, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

นอกจาก 12 ปีจะเป็นเวลาที่วนครบ 1 รอบนักษัตร จากปีชวดไปจบที่ปีกุนแล้ว 12 ปียังเป็นเวลาที่ ไปป์-รัฐภูมิ ตู้จินดา ได้รับทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่มัธยมหกจนจบปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือ ComSci ซึ่งเขาได้ทำธีสิสวิจัยนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์หลายชิ้นจนต่อยอดเป็นสตาร์ทอัพ และถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อไปในราคาแสนแพง!

ทุกวันนี้ไปป์ทำงานเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของรัฐบาล ได้นำความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดที่ได้จากการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถ

 


 

02:00

“Hi, this is Rattapoom Tuchinda here for the นักเรียนนอก podcast. Back in the days I went to MIT for Undergrad and Master Degree and USC for PhD. MIT is in Cambridge and USC is in Los Angeles. Cambridge is about history, romantic Victorian buildings and cold weather while Los Angeles is about sea, sun, sand. Each has its own uniqueness and I wholly recommend you visit both places if you have a chance. I hope you enjoy my stories in both places in the podcast and feel free to connect to me via Facebook if you have any question, cheers.”

สวัสดีครับ นี่คือรัฐภูมิ ตู้จินดา และนี่คือรายการ นักเรียนนอก พอดแคสต์ ก่อนนี้ผมได้ไปเรียนระดับปริญญาตรีกับโทที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมลรัฐแมสซาชูเซตต์ หรือ MIT และเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย หรือ USC มหาวิทยาลัย MIT อยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ ส่วน USC อยู่ที่ลอสแองเจลิส เมืองเคมบริดจ์นั้นโดดเด่นด้านประวัติศาสตร์ อาคารสไตล์วิคตอเรียที่ดูโรแมนติก และอากาศอันหนาวเย็น ส่วนจุดเด่นของเมืองลอสแองเจลิสคือทะเล แสงอาทิตย์ และหาดทราย ทั้งสองแห่งต่างก็มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณลองไปเที่ยวที่เมืองทั้งสองดูสักครั้งถ้ามีโอกาส หวังว่าคุณจะสนุกไปกับเรื่องราวของผมในพอดแคสต์รายการนี้ และถ้าใครมีคำถามก็ติดต่อผมมาได้ทางเฟซบุ๊กครับ

 

02.30

“มันเหมือนต้องทิ้งชีวิต ทิ้งเพื่อนไปเลยนะ”

“ก็ไม่ขนาดนั้นครับ พี่สาวผมก็ได้ทุนเหมือนกัน”

  • เด็กอายุ 17 ก็ไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งนัก ไปป์เห็นว่าพี่สาวได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศก็แฮปปี้ดี จึงตัดสินใจไป เพราะคิดว่าน่าจะสนุกกว่าอยู่เมืองไทย
  • แต่ด้วยความที่มหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกาไม่เชื่อมั่นในระบบการศึกษาของไทย ทำให้ไปป์ต้องไปเรียนซ้ำชั้นที่นู่น 1 ปี เพื่อวัดระดับการศึกษา
  • MIT ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกด้านวิศวกรรม
  • เป็นแหล่งรวมคนเก่งของโลกไว้ คนที่สอบเข้าไปต่างก็เป็นที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมของตัวเอง
  • มีการจำกัดปริมาณนักเรียนของแต่ละทวีป
  • ด้วยความที่เด็กเก่งมาสอบเยอะ ทำให้ MIT ไม่ได้ดูแค่เกรด แต่ดูมิติอื่นๆ ของชีวิตนักเรียนประกอบการรับสมัครด้วย ว่ามีคุณสมบัติอื่นๆ นอกจากเรียนเก่งหรือเปล่า
  • รับนักเรียนจากศักยภาพที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต
  • ทำให้มีธุรกิจเลี้ยงดูเด็กให้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้
  • ที่ MIT มีสาขาที่ฮอตฮิตมากคือ Course Six ที่ประกอบด้วย Computer Science และ Electrical Engineering
  • ไปป์เข้าไปเรียนสาขา Electrical Engineering ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนไปเรียน Computer Science

 

05:45

“สาขา ComSci คือเรียนวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์คิด หรือที่เรารู้จักกันในนาม AI ไม่ใช่เรียนประกอบคอม”

 

  • คนที่นั่นก็มีช่วยเหลือเรื่องการเรียนกันดี โดยเฉพาะกับผู้หญิง ที่จะมีผู้ชายไปช่วยทำงานเยอะ
  • แต่มันจะมีพวกเหนือมนุษย์ ก็ต้องปล่อยเค้าไป

 

06:42

“ตอนเรียนจบไปป์สอบได้คะแนนระดับท็อป 15”

  • ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนเก่ง อัจฉริยะ แต่เป็นคนขยันมากกว่า
  • เข้ามาเรียนที่นี่ต้องเลือก เรียน นอน หรือเพื่อน 2 จาก 3 อย่างนี้ ก็เลือกเรียนกับนอน เพราะต้องนอน 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่งั้นจะไม่ฟังก์ชั่น
  • แบ่งเวลาด้วยการเน้นนอนกับเรียน แต่ก็มีไปกินข้าวกับเพื่อนบ้าง แต่เรียนกับนอนเป็นหลัก
  • เป็นคนนิสัยการเรียนไม่ดี
  • ครูสอนไม่ดีก็ไม่ไปเรียน อ่านหนังสืออยู่หอแทน
  • ซึ่งก็ลำบาก เพราะสมัยนั้นข้อมูลหายาก ไม่มีอินเทอร์เน็ตแพร่หลายเหมือนปัจจุบัน

 

08:27

“แล้วบรรยากาศการเรียนการสอนที่ MIT เป็นยังไงบ้าง”

  • วิชานึงมี 12 หน่วยกิต แปลว่าต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมง เป็นเล็กเชอร์ 4 ชั่วโมง ทำการบ้าน 8 ชั่วโมง
  • การบ้านเลยออกแบบให้ต้องทำตามเวลาที่กะเกณฑ์ไว้

 

09:00

“มีคนบอกว่าการเรียนการสอนที่นี่เหมือนเปิดวาล์วก๊อกดับเพลิงกรอกปากน่ะ มีปัญญาเอาไปเท่าไหร่ก็เท่านั้น”

 

  • มีเรียนๆ ไปแล้วสติแตกเหมือนกัน
  • ช่วงปี 2-3 จะซึมๆ เศร้าๆ เพราะสู้พวกเหนือมนุษย์ไม่ได้ แต่พอทำใจได้ ก็หาย
  • เป้าหมายในการเรียนคือต้องเรียนให้จบปริญญาเอก ตามทุนที่ได้มา ก็ต้องประคองเกรดให้ดีพอจะเข้าเรียน ป.เอก
  • พอเข้าปริญญาเอก ก็ย้ายมหาวิทยาลัยไปเรียนที่ USC (University of Southern California) เมืองลอสแองเจลิส
  • เรียน ComSci เหมือนเดิม

 

10:34

“การเรียนปริญญาเอกต่างกับการเรียนปริญญาตรีและโทยังไงบ้าง”

  • การเรียน ป.เอกคือการผลักดันมนุษยชาติไปข้างหน้า
  • ต้องล้มเหลวบ่อยมาก
  • เรียน ป.เอกมันคือการเรียนรู้การแก้ปัญหา ซึ่งถ้าเจอทางแก้ก็จบ ไม่เจอทางแก้ก็ไม่จบ

 

11:25

“ที่ไปทำคือโปรแกรมทำนายราคาตั๋วเครื่องบินที่อเมริกา ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ จน Microsoft ซื้อไปในราคาหลายล้านเหรียญ”

 

  • แต่ตัวที่ทำเป็นปริญญาเอกจริงๆ คือ การทำ Big data โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อเชื่อมข้อมูล
  • งานนี้ทำเสร็จก็มีคนมาซื้อไปอีกเหมือนกัน
  • จบปริญญาเอกก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรเหมือนกัน
  • แต่ต้องกลับไทย ด้วยเงื่อนไขทุน
  • ซึ่งก็เลือกเรียนอะไรที่ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือ แต่พึ่งพาสมอง ทำให้ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่อิงเครื่องมือ
  • Big data ในไทยทำได้ยาก เพราะทั้งภาครัฐเอกชนต่างก็เก็บข้อมูลเงียบ ไม่แบ่งเป็นสาธารณะ

 

13:53

“มีคนบอกว่าจะจบเอกต้องเอาใจ advisor บอกเลยว่าไม่จริง”

 

  • Advisor มีทั้งดีและไม่ดี สิ่งที่เราควรทำคือสืบข้อมูล
  • พอรู้ว่าอาจารย์คนไหนโหดก็ไปบอกทางมหาวิทยาลัย ขอไม่เรียนกับคนนี้
  • แต่ละคนต้องมีกลยุทธในการเรียน เราก็ต้องหากลยุทธของเรา

 

16:07

“ประสบการณ์ชีวิตระหว่างการเรียนมีอะไรบ้างรึเปล่า”

  • ก็มีเรื่องความรัก
  • ก่อนไปเรียนมีแฟนอยู่แล้ว ตอนแรกก็คิดว่าน่าจะคบกันได้ สิบกว่าปี
  • ปรากฏว่า 4 ปีก็เลิก
  • จากนั้นคนที่คบกันก็ไปเจอในห้องแชตทุกคน
  • แฟนคนต่อมาเป็นลูกครึ่งไทย-เวียดนาม อาศัยอยู่ที่แอลเอ
  • เป็นเหตุผลที่ทำให้ย้ายมาเรียนแอลเอ
  • ความรักในระหว่างเรียนมันทั้งช่วยและทั้งฉุด
  • เรื่องบวกคือมันดีกับใจ
  • เรื่องลบคือมันอาจกระทบการเรียนได้
  • โดนอาจารย์ด่าว่าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
  • แต่ตอนเรียนปริญญาเอกไม่ต้องเข้าเรียนอยู่แล้ว มันไม่ต้องเก่ง แต่ต้องอึด
  • มองย้อนกลับไปก็ยังอยากมีแฟนเหมือนเดิม มีก็ดีแล้ว จะได้ไม่ต้องเฉา

 

18:25

“ให้แนะนำคนที่ต้องจากแฟนไปเรียนต่างประเทศหน่อย – ‘เลิกเหอะ’ (หัวเราะ)”

 

  • คือถ้าช่วงสั้นแค่ 1-2 ปีก็พอคบกันได้
  • แต่ถ้าช่วงยาวเราต้องการคนแชร์ประสบการณ์ในปัจจุบันร่วมกันมากกว่า

 

19:40

“มันจะเป็นเรื่องวิเศษถ้าคนที่เราคบอยู่เค้ายังเป็นที่ต้องการของเราอยู่”

 

19:58

“ขอถามถึงเมืองที่ไปเรียนหน่อย”

  • เคมบริดจ์เป็นเมืองเก่า ดูเก๋า หนาว โรแมนติก เหมาะกับคนมีแฟน
  • ส่วนลอสแองเจลิสจะร้อนกว่า แต่ไม่เหนียวตัวเหมือนเมืองไทย
  • เป็นเมืองที่เหมาะจะมีครอบครัว เพราะอาหารอร่อย ใกล้ทะเล กิจกรรมเยอะ
  • เคยไปกระโดดร่ม ทั้งที่กลัวความสูง เพราะเครียดกลัวไม่จบ
  • ก็ช็อกตัวเองไป หายกลัวไปเลย
  • แต่แอลเอก็เป็นเมืองใหญ่ มหาวิทยาลัย USC ก็เป็นจุดตัดของสองแก๊ง มีคนตายทุกปี
  • จบเอกก็กลับบ้าน อยากกลับมาหาพ่อแม่
  • ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเมืองไทยเป็นระยะ
  • คัลเจอร์ช็อกตอนไปเมืองนอกเนี่ยไม่เท่าไหร่ แต่ตอนกลับไทยเนี่ย ช็อก
  • เพราะคิดแบบคนอเมริกันไปเยอะ คือให้น้ำหนักความถูกต้องมากกว่าความเกรงใจ มองว่าทุกคนมีเกียรติเท่ากัน

 

24:55

“ถ้าย้อนกลับไปได้จะบอกน้องไปป์อายุ 17 ว่ายังไง”

  • ตอบเล่นๆ คืออยากให้ซื้อ Bitcoin
  • ตอบซีเรียสคือเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เลยอยากบอกเด็ก 17 ทุกวันนี้มากกว่า
  • สมัยก่อนไม่มีข้อมูลอะไรเท่าทุกวันนี้ แต่กลับเป็นว่าทุกวันนี้เราไม่อาจรู้ได้ว่าข้อมูลที่เห็นเนี่ยจริงหรือเปล่า
  • ฉะนั้น เด็กทุกวันนี้ควรวางกลยุทธชีวิต ขอคำปรึกษาคนมีประสบการณ์
  • หลักคือต้องฟังคำปรึกษาจากคนที่เราอยากเป็น
  • คนไทยพัฒนาช้ากว่าโลก แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาส คนเรามีศักยภาพพอกัน
  • วิธีนึงคือเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอื่นๆ
  • เด็กไทยถ้าเห็นแต่ของเดิมๆ ก็จะคิดแต่อะไรเดิมๆ น่าเสียดาย

 

28:18

“ชีวิตคนมันมีอุปสรรค แต่เราต้องมีวิธีปลุกปลอบใจตัวเอง”

“แล้ววิธีของไปป์คืออะไร”

“ไม่บอก (หัวเราะ)”

 


 

Credits

 

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest รัฐภูมิ ตู้จินดา

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่เคมบริดจ์และแอลเอ, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนร้องเพลงที่ลอสแองเจลิส, สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok02/ Sat, 05 Aug 2017 18:53:56 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=18802

นก-พริมาภา หรือ นก KPN เป็นนักร้องสาวที่เวลาร้องเพลงแต่ […]

The post ไปเรียนร้องเพลงที่ลอสแองเจลิส, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

นก-พริมาภา หรือ นก KPN เป็นนักร้องสาวที่เวลาร้องเพลงแต่ละทีนี่คือทุกคนต้องก้มกราบ ล่าสุดไปได้ที่สองของเวทีระดับโลกที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก คนรัสเซียก็ก้มกราบ คือเสียงทรงพลังระดับตัวแม่อย่างนี้หาไม่ได้ง่ายๆ

แต่แล้วทำไมยังต้องยอมเสียเงิน เสียเวลาทำมาหากิน เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนร้องเพลงเพิ่มเติมถึงแอลเออีก

เราพบว่าเรื่องราวของพี่นกสนุกมาก และทำให้เห็นเลยว่า คนที่แน่วแน่กับแพสชั่นของตน จะพยายามทำทุกอย่างให้มันออกมาดีที่สุดแบบนี้นี่แหละ

 


 

01:54

“ดิฉัน พริมาภา กรโรจนชวิน นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทยประจำปี 2552 ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว KPN Awards Thailand Singing Contest 2009”

 

02:22

“คุณเก่งแล้วคุณไปเรียนทำไม?”

  • คือจริงๆ แล้วรู้สึกว่ายังไม่เก่ง โดยเฉพาะสไตล์ที่ชอบคือโซลอาร์แอนด์บี
  • เลยตัดสินใจไปเรียนเพิ่มเติมที่เมืองต้นกำเนิดดนตรีแนวโซลอาร์แอนด์บี นั่นคือแอลเอ
  • โปรแกรมที่ไปเรียนต่อคือเรียกว่า Certificate of Performing เป็นโปรแกรม 1 ปี
  • ก็ได้ทุนไป เพราะหมดสัญญากับเคพีเอ็น ก็เข้าไปบอกเจ้านายว่าอยากไปเรียนต่อ ปรากฏว่าเค้าออกค่าเรียนให้เลย
  • แม้จะชนะเลิศด้านร้องเพลงมา แต่ก็ไม่ได้เหลิงอะไร ค่อนข้างอ่อนน้อมตามสไตล์คนเอเชีย เพราะรู้ว่าภาษาอังกฤษของตัวเองง่อยมาก
  • ก่อนจะเข้าโปรแกรมก็ต้องเรียนภาษาก่อน 2 เดือน ซึ่งไม่ได้อะไรเลย เพราะโง่ภาษาจริงๆ
  • ซึ่งความอ่อนภาษานี่เองที่ทำให้เรียนร้องเพลงแทบไม่รู้เรื่องเลย เทอมแรกที่ไปเรียนคือไม่มีเพื่อน เพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง หนักเข้าคือสั่งกาแฟได้ชาเขียวแทน
  • เพื่อนคนไทยที่ไปเรียนด้วยกันก็เรียนคนละสาขา ทำให้ต้องเริ่มพูดภาษาอังกฤษ เริ่มมั่นใจขึ้น
  • ซึ่งโรงเรียนนี้มีนักเรียนจากทั่วโลกมาเรียน ทำให้ไม่เกร็ง เพราะหลายคนภาษาแย่กว่าเราก็มี
  • ฝรั่งแอฟริกัน-อเมริกันที่ติดตากันว่าร้องเพลงเก่ง ก็กลับไม่เก่งซะงั้นก็มี
  • เพื่อนๆ เรียกว่า ‘พีเค’ เพราะออกเสียงง่ายกว่าชื่อนก

 

08:19

“พีเคเคยทำครูร้องไห้ ไม่ใช่ซาบซึ้ง แต่เห็นว่าเป็นชะนีเอเชียที่พูดอังกฤษไม่ได้เลย แต่ร้องเพลงดีมาก”

 

  • ตอนเรียนจบก็ได้รางวัล Outstanding ที่เทอมนึงจะมีคนได้ตำแหน่งนี้แค่คนเดียว
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมคลาส ก็มีโดนข่มเหมือนกัน เพราะเรามักจะจ๋องๆ ในห้อง แต่บนเวทีเราฟาดเอาตายนะ
  • ซึ่งก็ไม่ได้คิดจะแข่งอะไร เพราะว่าตั้งใจจะมาเพื่อเรียน
  • ช่วงหลังเพื่อนที่เคยเหยียด เคยหยาม ก็มาขอให้ช่วยสอนเหมือนกัน
  • คติประจำใจที่ได้มาคือเวลาขึ้นเวทีต้องเต็มที่ทุกครั้ง เพราะคนที่มาฟังเราอาจเป็นโปรดิวเซอร์ หรือคนที่มีหน้ามีตาในวงการเพลงก็ได้
  • คำว่า ออดิชั่น เป็นคำติดปากของที่นั่น เพราะการจะแคสต์งานต้องออดิชั่นทุกครั้งไป

11:26

“มันต้องแข่งกับตัวเอง เพราะทุกคนเก่งหมด ทุกคนมีสิทธิ์ได้งานเท่าเทียมกันหมด ไม่มีลูกรัก ได้งานแล้วไม่ใช่ว่าจะได้ไปตลอด”

 

  • เวลาได้ออดิชั่นต้องตอบ yes ไว้ก่อน เพราะตอบ no ครั้งนึง อาจทำให้ชวดงานทั้งหมดได้เลย
  • ก่อนไปคิดว่าอาจได้เที่ยวบ้าง แต่ปรากฏว่าไม่มีเวลาเลย ทำการบ้านก็หมดเวลาแล้ว
  • การฟังเพลงเพื่อทำการบ้านเป็นการฟังเพลงที่เครียดมาก ไม่มีความสุนทรีย์อีกต่อไป
  • วิชา Vocal Performance เรียนวันจันทร์ สอบวันพุธ แปลว่ามีเวลาท่องเนื้อเพลงแค่วันอังคารวันเดียว แทบไม่ได้เงยหน้าออกจากห้องเลย
  • “พาไปเที่ยวหน่อยสิ”

14:15

“ในแอลเอบอกเลยว่าไม่มีที่เที่ยวอะไรเลย”

  • โรงเรียนอยู่ตรงสถานที่ประกาศรางวัลออสการ์ มีนักท่องเที่ยวเยอะมาก
  • ที่นั่นไม่มีไนท์มาร์เก็ต ไม่มีที่แฮงเอาต์เลย จะไปห้างก็ต้องขับรถ 20 นาที
  • คนที่นั่นใช้อูเบอร์เป็นปกติ เพราะที่จอดรถน้อยมาก
  • รถเมล์ก็มีแต่ไม่สะดวกเท่าที่เมืองไทย
  • ที่นั่นมีคนไทยเยอะ แต่ก็ไม่ควรไว้ใจคนไทยขนาดนั้น
  • มันมีความจุกจิก ขี้อิจฉา ขี้เม้าท์
  • “เล่ามาเลยค่ะ!”

 

17:19

“มีคนพูดให้ฟังว่าคนไทยในแอลเอเนี่ย เห็นคนได้ดีไม่ได้”

  • มีการกลั่นแกล้งกัน เช่น แอบแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐให้มาตรวจสอบร้านอาหารที่หมั่นไส้ ถ้าตรวจพบว่าจ้างแรงงานผิดกฎหมาย ร้านก็จะโดนฟ้อง
  • การไปเรียนก็ไม่สนับสนุนให้ไปทำงานพิเศษ เพราะไม่ถูกกฎหมาย เซฟตัวเองไว้ก่อน
  • ตอนแรกก็ไปอยู่กับเพื่อนคนไทยที่นั่น แต่อยู่ไกลโรงเรียนมาก เลยไปอยู่แค่ช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษ พอหลังจากนั้นก็ย้ายไปอยู่โซนไทยทาวน์แทน
  • ที่นั่นมีเหยียดกันเหมือนกันเช่น โฮมเลส เพราะเค้ารู้สึกว่ามีเงินรัฐบาลช่วยเลี้ยงดู ก็ไม่ต้องทำงานก็ได้ แต่เราทำแบบเค้าไม่ได้เพราะเอาทุนเค้ามา เรียนไม่จบอายตายเลย

 

22:26

“เห็นบอกว่ามีออดิชั่นเยอะ ต้องมีได้งานแน่เลย”

  • ไม่ได้เลย เพราะภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
  • บรอดเวย์ก็ไม่ได้ไปออดิชั่น เพราะเต้นไม่เป็น
  • วงการออดิชั่นศิลปินที่อเมริกาแข่งกันสูงมาก เก่งอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องเฮงด้วย จังหวะต้องได้
  • เคยมีโปรดิวเซอร์มาจีบๆ เหมือนกัน แต่ปรากฏว่าจีบแบบหน้าหม้อซะงั้น
  • ส่วนเรื่องความรักก็เคยมีคนดำมาจีบ แต่อายุห่างกันมาก คือผู้ชายเด็กกว่า
  • ตอนเช็กบัตรประชาชนกันก็ตกใจมาก

 

25:26

“ไม่มีความรักเลยตลอด 1 ปีที่ไปเรียนนี่เครียดมั้ย”

  • ไม่เครียด เพราะตั้งใจไปเรียนจริงๆ วิชาที่เลือกก็ยากมาก เครียดมาก สอบเสร็จก็ไปเที่ยวเลย ไปลาสเวกัส ไปดูโชว์ซิลีน ดิออน

 

26:13

“ที่นั่นมีสิ่งยั่วยุเยอะมาก คุณต้องจิตแข็ง… คุณต้องรู้ว่าจุดประสงค์ของเราในการมาที่นี่คืออะไร”

 

  • เรียนตกไม่ได้ เพราะเอาทุนเค้ามา คนรู้จักก็เยอะ ถ้าเรียนไม่จบก็อาย
  • ตั้งใจเรียนมาก แต่ก็ตกวิชาที่ต้องสอบข้อเขียน
  • ฉะนั้น เลยต้องสื่อสารกับครูว่าภาษาอังกฤษเราอ่อนมาก
  • ที่จำได้แม่นคือวิชา Vocal Technique ที่เรียนเกี่ยวกับสรีระการร้องเพลง เรียนเหมือนหมอเลย ระบบหายใจ ระบบร่างกาย
  • ตอนนั้นสอบข้อเขียน ก็ต้องรอเพื่อนส่งข้อสอบออกจากห้องไปหมดก่อน ค่อยเดินไปถามอาจารย์ว่าคำนั้นคำนี้เขียนยังไง

29:36

“ภาษาอังกฤษเราโง่มาก แต่เราฉลาดในการเอาตัวรอดมาก”

30:07

“แฮปปี้มั้ยที่เลือกไปเรียนที่แอลเอ”

  • เคยไปเล่นฟิตเนสที่นั่น คนที่มาหล่อมาก หล่อทุกคน เพื่อนที่ไปด้วยกันเคยไปเจอพระเอกหนังโป๊ที่นั่น เป็นสังคมของคนเอ็นเทอร์เทนเมนต์จริงๆ
  • ก็เจียดค่าขนมมาเก็บไว้ดูโชว์เหมือนกัน
  • รู้สึกว่าเรียน 1 ปี น้อยไป เริ่มจะชินกับสถานที่กับผู้คนก็จบแล้ว เลยรู้สึกไม่ได้เก่งขึ้นเท่าไหร่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือทัศนคติ
  • ที่นี่สอนให้เราเป็น Musician ไม่ใช่ Singer ก็จะมีความรู้ด้านดนตรีมากขึ้น
  • และได้ประสบการณ์ชีวิต เพราะได้เห็นวัฒนธรรม ความคิดต่างๆ ที่ไม่เหมือนที่เคยเห็นเคยเจอ
  • อย่างนึงคือคนที่นั่นไม่ยุ่งเรื่องของคนอื่น
  • ไม่มีใครว่อกแว่กขณะทำงาน แม้แต่ยาม หรือแม่บ้าน ที่สื่อสารรู้เรื่อง ไม่มีเล่นมือถือระหว่างเวลางาน
  • การมาเรียนตอนอายุเริ่มเยอะแล้ว ทำให้เครียดเหมือนกัน ต้องโฟกัส
  • สังคมที่นี่ไม่มีการแบ่งวรรณะชนชั้น ทุกคนเท่ากัน
  • ทำให้เรารู้สึกว่าเราใช้ชีวิตเป็นคนปกติ ไม่เหมือนกับชีวิตที่ไทยที่รู้สึกว่าตัวเองเป็น someone มีรถส่วนตัว มีห้างให้เดิน
  • ที่นี่ ทุกคนเท่ากัน ใช้รถซับเวย์ กินข้าวข้างทาง ทุกคนใช้ชีวิตปกติมาก
  • ทำให้เกิดความคิดว่าชีวิตก็มีแค่นี้เอง
  • เราเลยเกิดความคิดว่าอยากเป็นแบบอย่างให้คนที่เดินตามเส้นทางเดียวกับเรามา

37:38

“เราอยากเป็น someone ที่สร้างตัวจากความมุมานะ ไม่ใช่ทางลัด เพราะมันไม่ใช่วิถีของเรา”

38:55

“แนะนำน้องๆ ที่จะไปเรียนที่แอลเอหน่อย”

  • หนึ่ง ภาษาเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าภาษาอังกฤษดี คุณจะหมดความกังวลข้อใหญ่ๆ ไปเลย
  • สอง การพรีเซนต์ตัวเองเป็นเรื่องปกติของคนที่นั่น ต้องสร้างคอนเน็กชั่น ต้องไนซ์ เพราะเราไม่อาจรู้เลยว่าคนที่เราคุยด้วยเป็นใคร
  • สาม ต้องง่ายๆ เข้าไว้ อย่าไปคาดหวังว่าต้องเจออะไร เจอแฟน เจองาน ของเหล่านี้ถ้าจะมามันมาเอง

 

41:03

“เราต้องรู้ให้แน่ชัดว่าจุดประสงค์ของการมาที่เนี่ย ของเราอะ คืออะไร”

 


 

Credits

 

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest พริมาภา กรโรจนชวิน

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนร้องเพลงที่ลอสแองเจลิส, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ณัฐ ศักดาทร คุยเรื่องฮาร์วาร์ด ซิกซ์แพ็ก และแฟนคลับ https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk01/ Sat, 05 Aug 2017 18:21:35 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=18792

รู้ไหมว่า มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันนั้นไม่ใช […]

The post ณัฐ ศักดาทร คุยเรื่องฮาร์วาร์ด ซิกซ์แพ็ก และแฟนคลับ appeared first on THE STANDARD.

]]>

รู้ไหมว่า มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันนั้นไม่ใช่ตัวเลือกแรกของณัฐศักฯ… รู้ไหมว่าแรงบันดาลใจในการสร้างซิกซ์แพ็กของณัฐศักฯ คืออะไร…แล้วรู้ไหมว่า แฟนคลับของณัฐศักฯ น่ารักแค่ไหน…

 


 

00:10

สวัสดีค่ะ โบสาวิตรีนะคะ This is WE NEED TO TALK Podcast พอดแคสต์ทอล์กโชว์ภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษค่ะ

 

Hi, you guys. Welcome to our show! Thank you so much for listening.

 

ตามธรรมเนียมของ WE NEED TO TALK  โบจะชวนเกสต์ของเราคุย 3 ประเด็น ถ้าเป็นพี่นัท โบว่า เรื่องที่ต้องชวนคุยอย่างแรง พลาดไม่ได้ เรื่องแรก ชีวิตในฮาร์วาร์ดหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่โด่งดังที่สุดในโลก อยากรู้มากๆ ว่าจะมีแต่เด็กเนิร์ดๆ หรือเปล่า เดี๋ยวมาฟังกันค่ะ

 

สอง คุณผู้ฟังได้ติดตามไอจีพี่นัทไหมคะ อื้อหือ แซ่บเวอร์ โบไม่แน่ใจว่ามันเป็น 6-pack หรือว่ามากกว่านั้น นับไปนับมาอาจจะซัก 8 หรือ 10 ศิลปินหนุ่มคนนี้ดูแลตัวเองยังไง เดี๋ยวโบจะถามให้นะคะ

 

และสาม เราต้องคุยเรื่องแฟนคลับของพี่นัทค่ะ ทำไมน่ะเหรอ จะบอกว่า โบเจอมาด้วยตัวเอง แฟนคลับพี่นัทนี่ อาหารการกินสมบูรณ์มาก อร่อยๆ ทั้งนั้น ตัวโบและพี่ๆ น้องๆ ที่ AF นี่ได้อานิสงส์ไปด้วยตลอด คือพวกเขาน่ารักกันจริงๆ และติดตามพี่นัทด้วยความรักและจริงใจจริงๆ เดี๋ยวรอฟังพี่นัทเล่าให้ฟังเองดีกว่าค่ะ

 

เอาละค่ะ ตอนนี้ได้เวลาเปลี่ยนโหมดเป็นภาษาอังกฤษกันแล้ว พร้อมหรือยังคะ

 

Ladies and gentlemen, it would be my pleasure to introduce our guest for the premiere episode of WE NEED TO TALK PODCAST. He’s the winner of AF4, a singer, an actor, a model, and honestly, one of the most charming and intelligent guys I’ve known.

 

ณัฐ ศักดาทร


 

02:41

  • ตอนจะต่อมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดเป็นตัวเลือกแรกหรือเปล่าคะ

สมัยก่อนไม่รู้จักเลยว่าฮาร์วาร์ดคืออะไร พี่เป็นแค่เด็กเชียงใหม่คนหนึ่ง และทุกอย่างก็เริ่มต้นตรงที่ ญาติพี่ไปเรียนเมืองนอก จำได้ว่าที่อังกฤษมั้ง แล้วเขากลับมาในลุคแบบ ไว้ผมยาวหล่อเหลามาก กลับมามองตัวเรา เป็นเด็กนักเรียนหัวเกรียนคนหนึ่ง นั่นแหละครับ เลยอยากไปบ้าง เพราะอยากหล่อบ้าง เลยขอพ่อแม่ไปเรียนต่ออเมริกา อยากให้ภาษาดีขึ้น แต่ที่จริงก็แค่อยากหล่อ จบ

ก็เลยได้ไปเรียน high school ที่อเมริกา แล้วพอใกล้จบ น่าจะสักเกรด 11 ก็เริ่มได้ยินชื่อฮาร์วาร์ด พร้อมกับ Ivy leagues ซึ่งคือมหาวิทยาลัยแนวหน้าของสหรัฐ ที่สุดแล้วก็สมัคร ฮาร์วาร์ด บราวน์ โคลัมเบีย ยูเพนน์ (มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และสแตนฟอร์ด ผลออกมาคือติด 3 ที่ ฮาร์วาร์ด บราวน์ และโคลัมเบีย ที่จริงอยากได้สแตนฟอร์ดนะครับ เพราะตอนนั้นอยู่นิวเจอร์ซีย์ เลยอยากเปลี่ยนไปอยู่ฝั่งตะวันตกที่อากาศดีกว่าบ้าง แต่ไม่ได้ มาได้ฮาร์วาร์ดแทน

สรุปว่า ฮาร์วาร์ดไม่ใช่ตัวเลือกแรกก็จริง แต่ผมดีใจมากนะที่ตัดสินใจเลือกเรียนที่นี่

 

05:21

“In the end I think things always happen the way they’re supposed to happen. In the end I was really glad I didn’t get accepted to Stanford because I really appreciated my experience at Harvard…”

  • ฮาร์วาร์ดเป็นอย่างที่คิดไว้ไหม

ก่อนนี้ยอมรับเหมือนกันนะครับว่าเรามีภาพบางอย่างของฮาร์วาร์ดที่เกิดจากสิ่งที่เราได้ยินมา เช่น เด็กฮาร์วาร์ดนี่หัวสูง หรือหยิ่ง แต่พอได้เข้าไปแล้ว มันคนละเรื่องกับที่เราคิดไว้เลย เราเจอแต่คนดีๆ เป็นมิตร และที่ดีมากๆ อีกอย่างคือสังคมที่นั่นหลากหลายมาก เพราะเป็นที่รวมคนจากทั่วโลกจริงๆ แต่ละคนก็หัวกะทิทั้งนั้น คือเก่งในที่เรื่องที่ตัวเองถนัดมากๆ บางทีเราจะเจอคนประเภทที่ถูกเรียกว่า ‘jock’ ซึ่งตามสเตริโอไทป์คือเป็นนักกีฬาที่ดีแต่หล่อล่ำ แต่ไม่ฉลาด แต่นี่คือเป็น jock ประเภทที่เก่งเปียโนในระดับลงแข่งขัน เป็นต้น

 

 

  • อะไรเป็นประสบการณ์น่าสนใจที่สุดที่ฮาร์วาร์ด

คือการที่ได้เรียนรู้ว่า เราไม่สามารถตัดสินใครได้แค่จากภาพที่เราเห็นจริงๆ คนที่ฮาร์วาร์ดจะทำให้คุณประหลาดใจได้เสมอ และผมว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนอกฮาร์วาร์ดก็ไม่ต่างกันนะ เราไม่สามารถตัดสินใครได้เลยจนกว่าเราจะได้ทำความรู้จักเขาจริงๆ

07:13

“The most interesting experience at Harvard for me is that, meeting all these people and realizing that you can’t just look at somebody and stereotype them… like, he’s a jock or he’s a nerd. At Harvard people surprise you all the time. And I think that’s the same with the real world. You go out. You meet people. And you can’t just assume that they’re this certain type until you really get to know them…”

08:00

  • วินาทีที่ได้รับจดหมายตอบรับจากฮาร์วาร์ด รู้สึกอย่างไร

ช่วงที่รอผมนี่คือไปเช็กเมลบ็อกซ์ที่โรงเรียนทุกวัน แล้ววันหนึ่งจดหมายจากฮาร์วาร์ดก็มาถึง แต่ด้วยความที่ซองมันมาบางๆ  หรืออย่างน้อยคือไม่หนา เราเลยคิดว่าเราไม่ได้แหง เพราะถ้าเป็นจดหมายปฏิเสธมันจะบางแบบนี้แหละ ในขณะที่ถ้าเป็นจดหมายตอบเรา เขาจะส่งพวกข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนหรืออะไรต่างๆ มาด้วย ซองมันจะหนามาเลย แต่ปรากพอเปิดออกมาก็เจอข้อความว่า “Congratulations! You got accepted to Harvard.” ผมก็ “Yesss!” รู้สึกเหมือนถูกเลือกเข้าชั้นเรียนของซูเปอร์ฮีโร่ รู้สึกไฮโซขึ้นมาทันที

 

  • เล่าเรื่องเพื่อนสนิทให้ฟังหน่อย

เพื่อนสนิทก็เป็นคนเอเชียด้วยกัน หรือไม่ก็คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียนี่แหละครับ ซึ่งดีนะ มี mindset เหมือนกัน มีทัศนคติเรื่องครอบครัวคล้ายกัน แล้วก็จะเข้าใจว่าทำไมเข้าห้องต้องถอดรองเท้า อะไรเงี้ย ไม่ต้องอธิบายกันยาว ส่วนเพื่อนที่ไม่ใช่เอเชียก็จะเป็นคนใน acapella group เดียวกัน (Harvard Opportunes) นั่นเป็นประสบการณ์ที่ทั้งสำคัญและสนุกมาก นอกจากร้องเพลงยังได้ฝึกฝนตัวเองหลายอย่าง เช่น ต้องโปรดิวซ์อัลบั้มของตัวเอง เวลามีงาน จัดคอนเสิร์ต ก็ออกไปแปะโปสเตอร์โปรโมตเองรอบโรงเรียน อะไรแบบนี้

เราช่วยเหลือกันในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องเลือกเมเจอร์ คือที่อเมริกาเราสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปก่อนแบบ undecided/undeclared ได้ แล้วค่อยไปเลือกเอกทีหลัง ตอนแรกผมเลือก Applied Math แต่เริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่ และชีวิตจริงคงไม่ได้ใช้ พอหันไปปรึกษาเพื่อนก็พบว่า ส่วนใหญ่เรียน Economics เริ่มสนใจ จนในที่สุดก็เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ตามเพื่อน

 

  • ความยากเย็นหรืออุปสรรคที่เจอในช่วงแรก มีอะไรอีกบ้าง

ไม่ค่อยมีนะครับ สบายๆ ไม่เครียดอะไร ซึ่งน่าแปลกใจเหมือนกันว่า มันไม่มีความกดดันประเภทที่ว่า ต้องได้คะแนนดีๆ และดีกว่าคนอื่นด้วยนะ อะไรอย่างนั้น แต่คงเพราะความคิดว่า ที่ฮาร์วาร์ดทุกคนเก่งและฉลาดหมดอยู่แล้ว ต่อให้เราได้เกรดอะไรมา เราก็ยังคงถือว่าเก่งและฉลาดอยู่แหละ

ฮาร์วาร์ดมีระบบ study group ทุกคนจะช่วยกัน แบ่งบทไปสรุปกันมา แล้วเอามาแชร์มาติวกัน แบบนี้จะทำให้การเรียนง่ายขึ้นเยอะเลย

 

14:49

  • อาจารย์ล่ะคะ มีใครน่าประทับใจบ้างไหม

จำชื่อเขาไม่ได้แล้วล่ะ แต่เป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์จีนคนหนึ่ง เมื่อก่อนเราเกลียดวิชาประวัติศาสตร์ แต่อาจารย์คนนี้ passionate กับวิชาที่สอนมาก และสอนสนุก สอนจนเราอยากรู้มากขึ้น เลยได้บทเรียนมาจากอาจารย์ท่านนี้ว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ถ้าเราทำด้วยความรักและหลงใหลกับสิ่งนั้นจริงๆ คนจะหันมามอง และเราจะทำให้เขาสนใจในส่ิงที่เราสนใจได้

15:38

“No matter what you do, as long as you’re passionate about it, you’ll get people to look at you, and become interested in what you’re interested in as well”

 

  • เพราะบางทีคนไทยจะไปเน้นตรงที่ว่า ให้ทำในสิ่งที่เงินดีที่สุดไว้ก่อน หรือถ้าจะเรียน ให้เลือกเรียนสิ่งที่จบมาแล้วได้งานแน่ๆ แต่โบเชื่อว่าถ้าเราเลือกในสิ่งที่เราชอบจริงๆ เราจะเก่ง แล้วเดี๋ยวเงินมันจะตามมาเอง

 

16:18
จำได้ว่าตอนปฐมนิเทศเขาจะแจกคู่มือมาเล่มหนึ่ง ในนั้นมีประโยคเขียนไว้ว่า “Follow your passion not your calculation.” ประทับใจมาก จำฝังใจ ก็ทำตามด้วยนะ เช่น ไปลงเรียนอะไรที่ไม่รู้หรอกว่าต่อไปจะได้ใช้หรือเปล่า แต่อยากรู้ก็ไปเรียน ภาษาญี่ปุ่น การแสดง ยังงี้

 

“Follow your passion not your calculation.”

 

  • บทเรียนอะไรมีค่าที่สุดจากฮาร์วาร์ด
  • มีเยอะเลย แต่ถ้าให้เลือก น่าจะเป็นความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และทุกช่วงของชีวิต ที่ฮาร์วาร์ดเขาไม่เชื่อกันว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นที่นี่เท่านั้น ถ้าไม่ได้มาฮาร์วาร์ดคือไม่เก่ง อะไรพวกนั้น ไม่เลย เขากลับบอกว่า การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าจะจบออกไปจากฮาร์วาร์ดแล้ว ที่จริงคือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากจบออกไปจากฮาร์วาร์ดแล้วด้วยซ้ำ ยิ่งไม่ควรหยุดที่จะเรียนรู้


17:27

“The learning could happen wherever you’re willing to learn. Even after Harvard, actually, especially after Harvard. So don’t cease the learning…”

 


 

17:50

  • เราต้องคุยกันเรื่องรูปร่างอันสุดฮอต ซิกซ์แพคต่างๆ ที่พี่นัทโพสต์แจกความสดชื่นบนอินสตาแกรม อยากรู้ว่า นี่คือร่างเต็มหรือยัง เป็นเวอร์ชั่นสูงสุดหรือยัง หรือคิดว่าจะมีอะไรตรงไหนดีได้กว่านี้อีกคะ

ผมคิดว่าคนเราดีขึ้นได้อีกเสมอนะ ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่าง แต่ทุกแง่มุมของชีวิตแหละ ผมเองก็คิดว่าผมน่าจะพัฒนาได้อีก ถึงจะค่อนข้างพอใจกับสิ่งที่มีอยู่ในตอนนี้แล้วก็ตาม เช่น อยากให้ขาใหญ่กว่านี้ ชอบมีสาวๆ มาทักว่า พี่ ขาพี่เล็กกว่าขาหนูอีก

 

19:20

“I think people can always get better, not only physically stuff but every aspect of life.”

เอาจริงๆ การดูแลรูปร่างอย่างที่ทำทุกวันนี้มันมาจากความไม่มั่นใจในหุ่นตัวเองมาก่อนนะ คือตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ไปชอบใครก็ผิดหวัง เลยรู้สึกอยากหล่อ เริ่มเปิดดู Men’s Health แล้วเข้ายิม เพาะกล้าม แล้วก็เริ่มจริงจังขึ้นตอนมาเป็นนักร้องนี่แหละครับ การรักษารูปร่างก็จะเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานไปแล้ว

และพอเข้าวงการ ก็เกิดความไม่มั่นใจในตัวเองขึ้นมาอีกแล้ว เพราะคนอื่นเขาสูงร้อยแปดสิบกว่า เราแค่ร้อยเจ็ดสิบกว่า ก็เลย เอาล่ะ ถ้าหน้าเราจะหล่อไม่เท่าคนอื่น ส่วนสูงเราจะไม่เท่าคนอื่น ก็ขอหุ่นดีกว่าคนอื่นแล้วกัน จะได้ยังพอมีอะไรสู้เขาได้บ้าง

 

  • ส่วนไหนยากกว่า ระหว่างการเพาะสร้างหุ่นแบบนี้ กับการที่จะมีวินัยในการลงมือทำมันจริงๆ

ยากทั้งสองส่วน โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้น เพราะคนไม่อดทนพอ พอไม่เห็นผลดั่งใจในเวลารวดเร็วก็ถอดใจแล้ว

ช่วงต้นเราต้องการความอดทน แต่ในระยะยาวเราต้องการวินัย

 

22:00

“Getting started is hard. People lose patience very easily because they don’t see the result as fast as they wanted to… In the beginning it requires a lot of patience, but then maintaining it requires a lot of discipline.”

 

  • นิสัยในการกินของพี่ณัฐเป็นยังไง

ผมไม่กินอาหารคลีนนะ เป็นคนชอบกินมาก นั่นคือหนึ่งในความสุขสูงสุดของชีวิต ก็เลยจะพยายามออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อที่จะกินได้มากขึ้น

ส่วนการออกกำลังกายทุกวันนี้คือ เข้ายิมสัปดาห์ละสามวัน และออกไปวิ่งสัปดาห์ละสองวันครับ

 

22:19

“I don’t do clean diets. I really enjoy eating. I think that’s one of my biggest happiness in life. So I just exercise more to eat more…”

 

  • อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้วิ่งมาราธอน พี่ณัฐเป็นนักวิ่งมาโดยตลอดหรือเปล่า

ไม่เลย แต่ไหนแต่ไรมาคือจะห่วยเรื่องกีฬามาก สมัยเรียนไฮสคูลจะได้เป็นตัวสำรองตลอด และโค้ชก็อาจจะปล่อยให้ลงไปเล่นซักห้านาทีสุดท้าย ด้วยความสงสาร

จนมาทำงานในวงการ เทรนเนอร์แนะนำให้เราวิ่ง ในขณะเดียวกัน กระแสวิ่งก้เริ่มมา เริ่มเห็นคนถ่ายรูปวิ่งลงอินสตาแกรม อืม น่าสนใจแฮะ ก็เลยเริ่มลอง

อีเวนต์แรกจำได้ว่าเป็นมินิมาราธอน วันนั้นออกวิ่งตั้งแต่เช้ามืด ใส่หูฟังเพลงไปวิ่งไป มีจังหวะนึงที่พระอาทิตย์ขึ้น เสียงดนตรีไวโอลินดังขึ้นในหู ความคิดตอนนั้นคือ นี่เป็นโมเมนต์ที่เพอร์เฟกต์มากในชีวิต

อีกโมเมนต์หนึ่งที่ประทับใจยิ่งกว่า คือตอนเข้าเส้นชัย รู้สึกเหมือนเรากลายเป็นอีกคนหนึ่ง เราเอาชนะตัวเราคนเก่าได้สำเร็จ ความรู้สึกนี้มันดีมากนะ และมันก็เริ่มลามไปยังเรื่องอื่นๆ ในชีวิตด้วย ผมเริ่มมองทุกอย่างในชีวิตว่ามันคือความเป็นไปได้

 

24:06

“On that day, I remember so clearly, I was running at 6am in the morning. I had my music in my ears. There’s one moment when I was running and people running alongside me, and then I saw the sun rising, and there’s like a violin sound in my ears. And I was like, oh my god, this is such a perfect moment in life. And I feel like, if I didn’t come out running I wouldn’t have experienced this…
“And then there’s the other moment I liked more. That is when I entered the finish line. That was when you realized that you sort of overcome the old you. You’ve become a new version of yourself. It’s not completely new, but you’ve stepped beyond what you thought you could overcome.
“Then it got spread into other things in life as well, not just running. I started viewing everything as more possible than before.”

 

  • อะไรคือคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับคนที่อยากออกกำลังกายให้แข็งแรงและมีรูปร่างที่ดี

ตั้งภารกิจให้ตัวเอง อันนี้สังเกตจากตัวเองนะครับ เมื่อไรที่เรามีเป้าหมาย เราจะมีแรงขับ เข่นเวลารู้ว่าต้องถ่ายแบบ ก็จะเข้ายิมอย่างบ้าคลั่ง เพราะเราก็ไม่อยากดูแย่ไง หรือรู้แล้วว่าเดี๋ยวต้องลงมาราธอน ก้ต้องเตรียมตัว เพราะเราไม่อยากวิ่งไปครึ่งทางแล้วทรุด ไม่รอด อะไรแบบนี้ การตั้งเป้าหมายจะทำให้เราออกแบบและวางแผนแต่ละย่างก้าวจนไปถึงเป้าที่ว่านั่นได้

 

25:19

“Set a mission for yourself. From my own observation, whenever I have a mission, I have more drive to do it. Like when I have a photo shoot coming up I’ll go to the gym madly because I don’t wanna look bad in that photo shoot. Or when I had a mini-marathon coming, I knew I had to be ready because I don’t wanna fall apart in the middle of the course. You know what you have to do by when. If you plan it out, you’ll see the steps towards that goal.”

 


 

27:11

  • ตั้งแต่เป็นผู้ชนะเอเอฟ 4 เป็นต้นมา แฟนคลับพี่ณัฐมากมายก็ยังติดตามมาจนทุกวันนี้ ซึ่งโบขอพูดจากประสบการณ์ตรง โบรู้จักพี่ณัฐมาสิบปี โบเห็นกับตามาสิบปี  แฟนคลับพี่นัทนี่สุดยอด อาหารที่เอามาฝากคืออร่อยเลิศ และพวกเขาสนับสนุนเราด้วยใจจริงๆ

ทุกสิ่งที่เราทำ มันจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนเหล่านี้คอยตามสนับสนุนเป็นกำลังใจ งานเราทำคนเดียวไม่ได้จริงๆ การร้องเพลงจะไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มีผู้ชมผู้ฟัง

 

28:31

“Everything I’m doing now wouldn’t be possible without these people who are supporting me and always waiting for my new projects. This is not something you can do alone. Singing means nothing without the audience.”

 

แฟนๆ ชอบทำในสิ่งที่เราคาดไม่ถึง เช่น ช่วงปีใหม่ ผมไม่ได้เป็นคนประเภทออกเดินสายไหว้ผู้ใหญ่ แต่แฟนคลับเขาจะทำให้ คือส่งของไปสวัสดีปีใหม่ ในนามของเรา หรือเวลาไปเล่นคอนเสิร์ตต่างจังหวัด แฟนคลับเราจะพยายามไปยืนไกลๆ เพราะพวกเขาอยากให้คนอื่นๆ ท่ีปกติไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอได้ดูเรา ได้ใกล้ชิดเรามากขึ้น มันน่ารักมากเลยนะ คือเมื่อได้เห็นว่ามีคนมาชอบเรามากขึ้น เขาจะมีความสุข เหมือนเป็นความรักในแบบที่ครอบครัวของเรามีให้กับเรา

 

29:40

“When I go play concert in other provinces, they would actually stand faraway so people who don’t usually get to see me could be in the front and be close to me. I think that’s really cute. That’s really nice of them. It’s like everytime they see that more people come to like me, that’s what makes them happy…… It’s almost like a family. They’ve seen you grow over the years, and to have more people feel the way they feel about you, it’s almost fulfilling…”

 

ผมไม่ได้ดูแลแฟนๆ โดยการออกไปกินข้าวด้วย หรือคุยกันทางอีเมล อะไรพวกนั้น วิธีการของผมคือ ผมว่าผมคิดแแบบนักเศรษฐศาสตร์นะ ผมรู้สึกว่า เมื่อแฟนๆ เขาติดตามเรา นั่นคือเขาลงทุนกับเรา ด้วยความรู้สึกของเขา ผมเลยคิดว่าว่า งั้นเราต้องทำให้ความรู้สึกของเขางอกงาม เป็นผลตอบแทนทางอารมณ์ที่เขาสมควรได้รับกลับไป และหนทางที่ดีที่สุดคือ ผมต้องเก่งขึ้นเรื่อยๆ ทำผลงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ มันถึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนของเขาที่อุตส่าห์ติดตาม

 

31:15

“I think like an economist. I feel like when the fan come to me it’s like they’re investing in me, with their feelings. So I feel like I have to grow and give some emotional profits back to them. And in order to do that I have to be better at what I’m doing. I feel that that’s the best way to give back what they’ve invested in me.”

 

 

  • สิบปีที่ผ่านมานี้ พี่ณัฐเติบโตขึ้นแน่นอน แฟนๆ ก็คงเติบโตขึ้นด้วย เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวพวกเขาบ้างไหมคะ

บางคนก็จากไปนะครับ เมื่อไม่ได้ความใกล้ชิดบางอย่างในแบบที่เขาต้องการ เขาก็ไม่อยู่ เราเข้าใจนะ เราไม่ให้ เขาก็ไป ก็แฟร์ๆ ผมว่ามาถึงจุดหนึ่งเราจะเริ่มเจอจุดสมดุลระหว่างเราและแฟนๆ ว่าตรงไหนเรียกว่าพอดี แค่ไหนกำลังดี

สมัยแรกๆ เวลามีคอมเมนต์แรงๆ เกี่ยวกับผมออกมา แฟนบางกลุ่มจะเครียดแทน จะซีเรียสมาก เราก็ด้วยแหละ แต่พอเวลาผ่านไปเราก็ตระหนักว่า มันไม่มีความหมายอะไรเลย เราไปตั้งใจทำสิ่งที่มีความหมายดีกว่า หรือไปดูคอมเมนต์ที่สร้างสรรค์ดีกว่าไปมัวเสียเวลากับคอมเมนต์ที่ไม่ช่วยให้เราพัฒนาอะไรได้เลย

เราจะเริ่มมีภูมิต้านทาน และเริ่มมีระบบกลั่นกรองที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เราต้องการในชีวิต และไม่ใช่เฉพาะกับงานอย่างผม แต่ทุกอาชีพก็ด้วย

 

33:11

“After all this time you started to realize that all those negativities don’t mean anything. You should keep focusing on what’s important, like the constructive comments. And just leave all the negative and destructive comments that don’t help you advance or anything aside. I think both me and my fans learned that over the years…  

“You sort of develop some filtering system for yourself. That’s what you need in life, not just for my profession, but any profession…”


34:02

  • ช่วงนี้ชื่อ ‘What’s Your Take on’ โบจะเสนอสามประเด็น ให้พี่ณัฐเลือกแค่หนึ่งเพื่อแสดงความเห็น
  • Life coaching
  • Homeschooling
  • “Print is dead!”

 

ขอเลือกพูดเรื่องไลฟ์โค้ชก็แล้วกันครับ

ก่อนอื่น ผมไม่คิดว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ดีเลยนะ ไลฟ์โค้ชจำนวนมากมากมีเจตนาที่ดี รู้จัก TED Talk ใช่ไหมครับ ผมมองว่านั่นเป็นรูปแบบหนึ่งของไลฟ์โค้ช ตรงที่เราสามารถเลือกฟังสิ่งที่เราอยากฟังได้ แล้วจากนั้นเราก็ตัดสินใจเอาเองว่าเห็นด้วยกับเรื่องไหน จะเชื่อเรื่องไหน นั่นคือสิ่งสำคัญ

แต่ไลฟ์โค้ชหลายคนเหมือนจะมีความเชื่อว่า ชีวิตมีสูตรสำเร็จเดียว คือสูตรของเขา อันนี้ผมไม่เห็นด้วย ในความเป็นจริง คนเราต้องการสิ่งที่ต่างกันไป และต้องการความสำเร็จในแบบที่ต่างกันไป แล้วมันจะมีสูตรสำเร็จเพียงอย่างเดียวกับทุกคำตอบของชีวิตได้ยังไง ถูกไหม

 

35:34

“What I don’t agree with is that some of them seem to think that there’s only one type of formula for success in life. When in reality people want different things in life. And if you want different things in life, there’s not gonna be just one formula that’s applicable to every single person, you know what I mean?”

ผมเคยเจอไลฟ์โค้ชประเภทที่ล่อให้เราอยากสำเร็จทางการเงินตลอดเวลา โดยยกตัวอย่างลูกศิษย์ลูกหารวยๆ ของเขา คนนั้นมีกี่ล้าน คนนี้มีกี่ร้อยล้าน ผมว่าเงินไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องวัด และไม่ควรเป็นสิ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังความตั้งใจในการทำอะไรก็ตามของคนเรา

เช่น ไม่ผิดที่คุณอยากได้บ้านหรูหลังใหญ่บนเนินเขา ซึ่งแน่นอนว่าอยากทำตามความฝันได้มันต้องใช้เงินจำนวนมากนั่นแหละ แต่ผมว่าตัวเงินไม่น่าจะมาก่อนภาพของชีวิตในแบบที่เราต้องการจริงๆ

 

36:40

“I think it’s okay for people to say I want a nice house on a hill, if that’s your goal. Then of course a lot of money is gonna be needed to achieve that goal. But the money shouldn’t come before the image of the life you wanna have…”

เราน่าจะตัดสินใจด้วยตัวเองก่อนว่า เป้าหมายของชีวิตเราคืออะไร

เรื่องพวกนี้มันต้องปรับให้เข้ากับแต่ละคน สมมติคุณอยากกินปลา ก็ต้องออกไปหาในทะเล แต่ถ้าอยากกินหมู ก็ต้องเข้าไปหาในฟาร์ม และเราก็ต้องการทักษะที่ต่างกันไปในจุดหมายที่แตกต่างกัน และนั่นล่ะครับ ก่อนอื่นเราต้องตัดสินใจก่อนว่าอยากได้อะไรกันแน่ หมูหรือปลา

 

38:22

“I think life-coaching is good but you have to decide what your goals in life are first.”

“I think the thing is it has to be personalized. Let’s say if you wanna eat fish you have to go into the sea, but if you wanna eat pork, you have to go into a farm. And you need different skills for that. You yourself have to decide first what you want.”

 


 

38:53

  • ช่วงสุดท้ายของรายการชื่อว่า ‘What If’ เป็นคำถามสมมติค่ะ

“ถ้าพี่ณัฐได้เป็นนายกของประเทศไทย จะออกกฎหมายอะไรเป็นอย่างแรก”

คงไม่เรียกว่าเป็นการออกกฎหมายนะ แต่อย่างแรกที่จะลงมือทำคือปฏิรูปการศึกษา นี่เป็นสิ่งที่น่าหงุดหงิดใจมาก เด็กไทยไม่ควรถูกสอนว่าคำตอบที่ถูกต้องมีเพียงข้อเดียว ผิดจากนั้นคือผิด อันนี้ไม่ถูกต้อง

โรงเรียนไทยเราสอบแบบปรนัย มีคำตอบถูกข้อเดียว แต่ในอเมริกา เขานิยมให้เขียนตอบแสดงความเห็น โดยใช้ข้อมูลมาสนับสนุน

นี่คือสิ่งสำคัญในโลกยุคนี้ โลกในยุคที่ข้อมูลเยอะเหลือเกิน สิ่งที่เราต้องการคือความสามารถในการวิเคราะห์ และแยกแยะว่าอะไรเชื่อได้เชื่อไม่ได้ หรืออะไรบ้างที่ต้องเอาไปคิดต่อ

 


 

Credits

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest ณัฐ ศักดาทร

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

 

The post ณัฐ ศักดาทร คุยเรื่องฮาร์วาร์ด ซิกซ์แพ็ก และแฟนคลับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนะนำ ‘นักเรียนนอก’ https://thestandard.co/podcast/nukreannok00/ Sat, 05 Aug 2017 17:16:45 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=18774

ถ้าไม่ได้คิดจะไปเรียนเมืองนอก ทำไมเราต้องฟังเรื่องราวชี […]

The post แนะนำ ‘นักเรียนนอก’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถ้าไม่ได้คิดจะไปเรียนเมืองนอก ทำไมเราต้องฟังเรื่องราวชีวิตนักเรียนนอก?

เฟี้ยต-ธัชนนท์ ยืนยันว่า รายการนี้เหมาะกับวัยค้นหาอย่างแท้จริง เพราะพูดถึง 2 สิ่งสำคัญ ได้แก่ ‘สิ่งที่เราต้องทำ’-ซึ่งคือการเรียน และ ‘สิ่งที่เราอยากทำ’-นั่นคือการเดินทางท่องเที่ยว และสองอย่างนี้ก็ถูกรวมไว้ในรายการนี้แล้ว

ไม่เชื่อลองฟังตัวอย่างรายการบางส่วน แล้วถามตัวเองว่า มันน่าจะสามารถ inspire ให้เราออกเดินทางและเรียนรู้โลกได้บ้างไหม

 


 

สวัสดีครับ เฟี้ยต-ธัชนนท์ ครับ

 

เฟี้ยตว่า ซักครั้งนึงในชีวิต ถ้าคนเรามีโอกาสเดินทางไปลองใช้ชีวิต และสัมผัสวัฒนธรรมที่ต่างไปจากของเรา มันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ เลยนะ อย่างน้อยเราจะเห็นโลกกว้างขึ้น ได้รู้ว่าในโลกนี้มันมีคนที่แตกต่างจากเรายังไงบ้าง และที่สำคัญ ได้เพื่อนใหม่ๆ เยอะแยะมากมายเลยด้วย

 

เฟี้ยตรู้จักนักเรียนนอกหลายคน เลยอยากชวนพวกเค้ามาคุยให้ฟัง เพราะชีวิตแต่ละคนนี่คือ สุดๆ

 

และสำหรับหลายคน ตัวตนในวันแรกที่ไปอยู่เมืองนอก กับตัวตนในวันสุดท้ายก่อนกลับเมืองไทยเนี่ย แตกต่างกันสุดๆ เหมือนเป็นคนละคน

 

นอกจากจะเล่าเรื่องหลักสูตรการเรียนที่น่าสนใจ จากหลายประเทศทั่วโลกแล้ว มันก็เหมือนจะเป็นเรื่องราวของการเดินทางด้วยนะครับ มันคือเรื่องของคนที่เอาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย และต้องหาวิธีอยู่ตรงนั้นให้ได้ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องพยายามเก็บเกี่ยว กอบโกยกลับมาให้มากที่สุด ทั้งวิชาความรู้ และประสบการณ์

 

ใครกำลังคิดจะไปเรียนต่อเมืองนอก หรืออดีตนักเรียนนอกที่อยากรู้ว่า คนอื่นเขาเจอเหมือนกับที่เราเจอมาหรือเปล่า ติดตามฟัง นักเรียนนอกพอดแคสต์ กับเฟี้ยต-ธัชนนท์ ได้ที่นี่ The Standard Podcast

 

เอพิโสดใหม่ publish ทุกวันพุธนะครับ

 

ถ้าคุณรู้จักใคร -หรือจะเป็นตัวคุณเองก็ได้- ที่เคยไปเรียนวิชาน่าสนใจ จากประเทศที่น่าสนใจ และอยากมาแชร์เรื่องราวให้ทุกคนฟัง ทวีตบอกเฟี้ยตมาได้ ที่ @DjFiat  พร้อมติดแฮชแท็ก #นักเรียนนอก ด้วยนะครับ

 

ผม เฟี้ยต ธัชนนท์ จารุพัชนี แล้วเราจะกลับมาเจอกันใหม่ กับเรื่องของนักเรียนไทย ที่จะพาเราไปทั่วโลก สวัสดีครับ

The post แนะนำ ‘นักเรียนนอก’ appeared first on THE STANDARD.

]]>