เมื่อยสครับบ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 01 Jun 2018 08:14:35 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เบื้องหลังสีสันของ Scrubb กับฤดูกาลรอบที่ 18 ของวง https://thestandard.co/podcast/eargasmdeeptalk13/ Fri, 01 Jun 2018 07:55:26 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=94584

ตลอด 18 ปี กับ 7 อัลบั้มที่ผ่านมา วง Scrubb มีผลงานเพลง […]

The post เบื้องหลังสีสันของ Scrubb กับฤดูกาลรอบที่ 18 ของวง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลอด 18 ปี กับ 7 อัลบั้มที่ผ่านมา วง Scrubb มีผลงานเพลงฮิตมาไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเพลงทุกอย่าง ใกล้, คู่กัน, คำตอบ และอีกมาก วันนี้บอลและเมื่อยกลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มใหม่ Season ที่พกพาสีสันใหม่ๆ ด้วยการทำงานกับทีมงานใหม่ๆ และเพลงแบบใหม่ๆ ที่ทั้งสองอยากลองทำ

 

 

วงที่มีงานต่อเนื่องมาถึง 18 ปี

ตอนนี้เราทำงานกันมาทั้งหมด 18 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่เราเอาซีดีไปวางที่ร้านโดเรมีสยาม ตอนเดือนพฤศจิกายน

 

อัลบั้มล่าสุดเป็นอัลบั้มที่ 7 ชื่อว่า Season ซึ่งตั้งใจให้พ้องเสียงกับคำว่าสีสัน เมื่อยเป็นคนที่ชอบคิดคำที่อ่านเป็นไทยก็ได้อังกฤษก็ได้ไว้ในหัว คำนี้ก็เอามาเสนอแล้วก็สะดุดพอดี

 

เมื่อยเป็นคนที่มีคลังคำแบบนี้ในหัวเยอะมาก เช่น Club-ครับ, Kid-คิด หรืองาน Dude-ดูด ก็ตาม

 

พูดถึงอัลบั้มใหม่ Season

ปล่อยซิงเกิลออกมาทีเดียวติดกันคือเพลง ฤดู และ ดวงตะวัน ซึ่งทางวงรู้สึกว่าศิลปินต่างชาติก็ไม่ได้ซีเรียสกับการปล่อยซิงเกิลแล้วว่าต้องมีระยะเวลาการปล่อยเป็นมาตรฐาน อย่างวง Muse ก็ปล่อยซิงเกิลออกมาติดๆ กัน แล้วก็ประกาศเวิลด์ทัวร์เลย

 

หลายๆ วงเริ่มทำแบบนี้เยอะขึ้นแล้ว ให้เห็นความแตกต่างระหว่างวงที่ปล่อยซิงเกิลกับวงที่จะปล่อยอัลบั้ม

 

 

อะไรที่วงอายุ 18 ปีรู้สึกว่ายังไม่เคยทำ

ถ้าส่วนตัวเมื่อยทำมาหมดแล้ว และยังมีโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่คิดอยากทำอีกมาก ก็มีงานอีเวนต์ที่ให้ศิลปินหน้าใหม่ๆ มาเล่นเพลงตัวเอง

 

ส่วนทางบอล มีงานบริหารค่ายเพลง What The Duck อยู่ด้วย แต่ในนาม Scrubb นั้น ก็ยังดีใจที่วงยังอยู่ถึงทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่ไม่กล้าคิดด้วยซ้ำว่าจะได้เล่นดนตรีเป็นอาชีพ และยังได้ทำอยู่จนปัจจุบัน

 

ให้มันเป็นหน้าบ้านของสองคน ว่าถ้าเห็นหน้าบอลกับเมื่อยรวมกับฟั่น-โกมล บุญเพียรผล (โปรดิวเซอร์คู่ใจของวง) ก็แปลว่ามันเป็นงานของ Scrubb

 

ตอนนี้มันเหมือนเป็นเฟสที่ 3 ของ แล้ว ซึ่งแม้แต่ละคนก็มีงานส่วนตัวของตัวเองแยกกันไป แต่ก็ยังว่าด้วยเรื่องของเพลงอยู่

 

การต่อยอด หรือส่งไม้ต่อให้น้องๆ ก็ยังสำคัญ

 

เฟสที่ 3

คิดว่าเฟสที่ 1 คือการเริ่มต้น ซึ่งก็ยังงงๆ อยู่ แต่ก็สนุกดี เฟสที่ 2 เป็นยุคที่เรามีตัวตนแล้วแล้วจะทำยังไงต่อ เริ่มมีคนรู้จักแล้ว วงไม่ใช่หน้าใหม่ที่คนกรี๊ดกร๊าดแล้ว ก็ต้องคิดว่าต้องสร้างงานแบบไหน พอตอนนี้เกือบจะ 20 ปีแล้ว ก็มาคิดว่านี่น่าจะเป็นก้าวต่อไปแล้วนะ

 

เฟสสามก็เป็นเรื่องของการที่วงเห็นแล้วว่าเหลี่ยมมุมของวงการ หรืองานที่ทำอยู่นี่มันเป็นประมาณไหน ต่อไปก็ไปดูเรื่องความสนใจของแต่ละคนที่ต่อยอดออกไปอีกนั้นเป็นอะไร ทำให้เห็นงานในพาร์ตอื่นๆ ของเมื่อย บอล หรือฟั่นอีก

 

และเมื่อถึงเวลาที่สมควรก็จะได้เห็นทุกคนในฐานะ Scrubb อีก

 

 

Scrubb เหมือนงานกลุ่ม

แม้ว่าจะโปรโมตว่ามีสมาชิก 2 คน แต่ฟั่น โกมล ก็เป็นคนที่เมื่อยและบอลยกให้เป็น Scrubb คนที่สาม ซึ่งร่วมทำงานด้วยกันมานาน เหมือนงานกลุ่มที่ทำกัน 3 คน แบ่งเครดิตกัน 33.33% จังหวะที่คิดได้แบบนี้ทุกอย่างก็สว่างเลย

 

เชื่อว่าทุกวันนี้คนฟังไม่ได้ต้องการวงที่เล่นดีแล้ว เขาต้องการคนที่เล่นได้อารมณ์มากกว่า

 

ซึ่งเมื่อก่อนเมื่อยไม่เคยบิลด์อารมณ์ก่อนเล่นเลยนะ แต่ตอนนี้อายุมากแล้ว เมื่อยก็เริ่มเซฟคลิปวอร์มเสียงในยูทูบมาวอร์มก่อนขึ้นเล่นแล้ว

 

ตอนเมื่อยจัดงาน ‘ดูด’ ครั้งแรก ก็เหมือนโดนรุ่นน้องตบหน้าด้วยการที่วง Monomania ส่งไรเดอร์ ลิสต์อุปกรณ์มาเหมือนวงต่างประเทศเลย นั่นคือตอนที่ทำวงเป็นปีที่ 16 แต่วงไม่เคยทำแบบนี้เลย

 

ทำให้เมื่อยเกร็งไปเลย ซึ่งมันดี วงเดี๋ยวนี้รู้อะไรเยอะมาก

 

18 ปี เปลี่ยนไปหรือคงไว้ซึ่งสไตล์เดิม

เหมือนที่เคยตอบไปว่า คืองานกลุ่มที่เมื่อยมีหน้าที่ทำเดโมไปเรื่อยๆ จนบอลมาสะดุดเพลงไหน แล้วก็เอาไปทำต่อ จนไปลุยกับพี่ฟั่นอีกที

 

เนื้อเพลงน่าจะคงไว้เป็นสไตล์ของเมื่อย ซึ่งทำให้ส่วนดนตรีเนี่ยแหละที่มีความเป็นยุคสมัย

 

บอลจะชอบมีการบ้านส่วนตัวในการทำงานเสมอ อะไรที่ชอบก็คงไว้ แต่อะไรที่เป็นสิ่งใหม่ เป็น innovation ในยุคนั้นๆ ที่เราสนใจก็พยายามเอามาผสมด้วย แต่ก็ยอมรับว่าไม่ได้สำเร็จไปเสียทุกครั้ง

 

บางครั้งใส่เข้าไปก็ได้ผลลัพธ์เหมือนเพลงเดิมๆ แต่บางครั้งใส่เข้าไปก็รู้สึกเหมือนไม่ใช่เพลง Scrubb เลยถ้าไม่มีเสียงเมื่อย

 

อัลบั้ม Season กับทีมงานใหม่

อัลบั้มนี้มีการทำงานกับทีมงานใหม่ๆ ด้วยเช่น ปกป้อง Plastic Plastic ที่มาช่วยทำซาวด์

 

คือก่อนหน้านี้วงมักจะขึ้นงานที่ห้องพี่ฟั่น ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ทำแบบนั้นแหละ แต่ด้วยภาระหน้าที่ที่มากขึ้นทำให้รวมตัวกันยากขึ้นมาก เลยไปหาพื้นที่อีกที่ที่เอาไว้ขึ้นงาน

 

โชคดีที่น้องเพลง (วง Plastic Plastic) เล่นแบ็กอัพให้วงมานานแล้ว เลยพลอยรู้จักกับปกป้องไปด้วย ซึ่งบอลก็จับตามองปกป้องมานานแล้วว่าเด็กคนนี้มีของมากๆ ฟีลเหมือนตอนที่เจอกับกิจแจ๊ซ (โปรดิวเซอร์ สิงโต นำโชค, Hers และอีกหลายวง) บอลบอกเลยว่าให้จับตามองอีก 5 ปี ปกป้องจะเป็นปีศาจ

 

ซึ่งที่น่ากลัวมากคือช่วงขั้นตอนการอัดเพลง ขึ้นเพลง นั่งฟังเรฟเฟอเรนซ์กัน ปกป้องไม่เคยเปิดเพลงซ้ำเลย มันเป็นคนที่มีคลังเพลงในหัวเยอะมาก บางทีบรีฟกันว่าอยากได้เพลงประมาณนี้แล้วอธิบายภาพไม่ถูก มันก็เปิดเพลงเลย ซึ่งไม่เคยซ้ำเลยสักเพลง

 

อีกอย่างคือปกป้องไม่มีลูกเกรงใจเลย เป็นเด็กกวนตีนคนหนึ่ง ซึ่งเก่ง กวนตีนเท่าที่มันเก่ง มันจะคอยตั้งคำถามกับวงว่าทำไมต้องเล่นแบบนั้นแบบนี้ ไม่เล่นแบบนี้ได้ไหม ทำไมไม่ทำแบบนี้ แล้วก็เปิดเรฟเฟอเรนซ์ให้ฟัง แรกๆ ก็ขัดใจนะ แต่สุดท้ายก็สนุกดี

 


ฟังรายการ Eargasm Deep talk พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน

 


 

Credits


The Host
แพท บุญสินสุข

The Guest ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ, ต่อพงศ์ จันทบุบผา

 

Show Creator แพท บุญสินสุข

Show Producer นทธัญ แสงไชย

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Music Westonemusic

The post เบื้องหลังสีสันของ Scrubb กับฤดูกาลรอบที่ 18 ของวง appeared first on THE STANDARD.

]]>