เดฟ อีวานส์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 02 Apr 2019 09:03:24 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่รู้จะเอาอย่างไรต่อกับชีวิต หาคำตอบได้ด้วยแผนโอดิสซีย์ https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce97/ Tue, 02 Apr 2019 08:58:13 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=231363

ต่อเนื่องจาก The Secret Sauce EP.96 รู้จักตัวเอง ค้นหาค […]

The post ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่รู้จะเอาอย่างไรต่อกับชีวิต หาคำตอบได้ด้วยแผนโอดิสซีย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ต่อเนื่องจาก The Secret Sauce EP.96 รู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายในงานและความสุขในชีวิตให้เจอด้วย Design Thinking

เคน นครินทร์ ชวนค้นหาตัวเองและวางแผนชีวิตผ่าน Odyssey Plan หรือ แผนโอดิสซีย์ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Design Thinking

 



คนจำนวนไม่น้อยมักมีความเชื่อเกี่ยวกับการค้นหาตัวเองว่า ‘ชีวิตคือการเสาะหาแผนการใช้ชีวิตให้ดีที่สุดและลงมือทำตามแผนนั้น’ หรือ ‘คนเราสามารถเจอสิ่งที่รักและมีความหมายกับชีวิตโดยการลงมือทำเพียงไม่กี่ครั้ง หลังจากนั้นต้องทำให้ดีที่สุด’

 

และเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเมื่อไรที่คาดหวัง ก็อาจพบเจอความผิดหวังอยู่ปลายทางเช่นกัน

Design Thinking นำเสนอแนวคิดที่แตกต่างออกไป เพราะผู้เขียนหนังสือ Designing Your Life เชื่อว่าชีวิตและแผนการที่ดีไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว ทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะก้าวไปข้างหน้าด้วยเส้นทางแบบไหน ยิ่งมีแผนการมากเท่าไร คุณอาจเจอสิ่งที่ชอบเร็วมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นอย่ากังวลถ้าคุณยังค้นหาตัวเองไม่เจอ ไม่รู้ว่าแพสชันคืออะไร อนาคตจะไปในเส้นทางไหน การวางแผนชีวิตด้วยเครื่องมือจาก Design Thinking อาจเป็นเครื่องมือช่วยคุณได้


Step 1: Odyssey Plan

แนวคิดในการวางแผนชีวิตที่เชื่อว่าคนเรามีได้ 3 ชีวิต เป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาตัวเองโดยไม่ต้องตั้งต้นจากแพสชันมากเกินไป โดยแต่ละชีวิตคุณต้องวางแผนภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

  • ชีวิตที่ 1 คุณต้องวางแผนเกี่ยวกับชีวิตปัจจุบันที่เป็นอยู่ คุณเป็นใคร กำลังทำอะไร และจะทำให้สิ่งเหล่านั้นดีขึ้นได้อย่างไร
  • ชีวิตที่ 2 คุณต้องวางแผนภายใต้ข้อกำหนดว่า หากไม่มีชีวิตที่ 1 คุณจะเลือกทำอะไรแทน เช่น ถ้าอาชีพปัจจุบันของคุณคือนักเขียน แต่คุณไม่สามารถทำมันได้อีกต่อไปด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ คุณจะเลือกเส้นทางต่อไปอย่างไร บางคนอาจเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเจ้าของร้านอาหาร หรือกลายเป็นนักตัดต่อวิดีโอ แล้วแต่ว่าคุณมีเส้นทางแบบไหนที่อยากไปต่อ
  • ชีวิตที่ 3 คุณต้องวางแผนชีวิตโดยตัดเรื่องของเงินทอง ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ทิ้งไปให้หมด คุณอยากทำอะไร อยากมีชีวิตแบบไหน เขียนออกมาให้หมด

 


หลังจากที่คุณเขียนภาพชีวิตตัวเองเป็น 3 แผนเรียบร้อยแล้ว สเตปต่อมา คุณต้องสร้างตาราง 5 ช่อง แต่ละช่องแทนจำนวนปีที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เช่น ช่องแรกแทนปีที่ 1 ช่องต่อมาแทนปีที่ 2 ไล่ไปเรื่อยๆ ถึงปีที่ 5 พร้อมเขียนด้วยว่าในทุกปี อยากพัฒนาตนเองด้านไหนและอย่างไร เขียนเป็นเหตุการณ์ที่อยากให้เกิดขึ้น

Alternative Plan
ใส่ลูกศรชี้ในมาตรวัดพลังดูว่าสิ่งที่คิดเป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน

  • Resources ความเป็นไปได้ของทรัพยากร
  • I like it ชอบมากแค่ไหน
  • Confidence มั่นใจแค่ไหนว่าแผนนี้จะประสบความสำเร็จ
  • Coherence สอดคล้องกับชีวิตและเป้าหมายของคุณมากน้อยแค่ไหน


Step 2: How many ways I can prototype the experiences of…?

เลือก 1 ใน 3 แผนการที่อยากเป็นที่สุด ส่งต่อให้คนรอบตัวช่วยคิดว่า ถ้าคุณอยากไปให้ถึงเป้าหมายของแผนนั้น ควรมีวิธีการหรือขั้นตอนอะไรในการพัฒนาตัวเองระหว่างทาง เช่น ถ้าคุณอยากเป็นนักเดินทาง อยากทำสารคดีในแบบฉบับของตัวเอง คนอื่นอาจช่วยเสนอว่าคุณควรฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้น ฝึกตัดต่อคลิปวิดีโอ จดบันทึกไดอะรีประจำวัน หาทีมงานที่ไปด้วยกัน เหมือนการช่วยกันระดมความคิดเพื่อต่อยอดไอเดียที่จะทำให้คุณสามารถไปให้ถึงเป้าหมายได้มากที่สุด



Step 3: How have you been?

การค้นหาตัวเองไม่ใช่ ‘สูตรสำเร็จ’ ที่ทำเพียงครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
เครื่องมือที่ 3 ช่วยให้คุณรู้คำตอบมากขึ้นว่า แผนที่เขียนไว้ใช่สิ่งที่คุณอยากทำจริงๆ หรือเปล่า ลองเลือกขึ้นมาสัก 1 แผน จินตนาการว่าหลังจากผ่านไป 5 ปี คุณจะตอบคำถามเหล่านี้ว่าอย่างไร

  • What you daily routine like? (ชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร)
  • What time you wake up? (ตื่นนอนกี่โมง)
  • How is your working hours? (คุณทำงานกี่ชั่วโมงต่อวัน)
  • Who do you meet at work? (คุณเจอใครบ้างในที่ทำงาน)
  • How do you commute? (คุณสื่อสารกับคนที่ทำงานอย่างไร)
  • Who do you hang out with? (คุณแฮงเอาต์กับใครบ้าง)
  • What is your lifestyle? (ไลฟ์สไตล์คุณเป็นอย่างไร)
  • What do you do after work? (คุณทำอะไรหลังจากเลิกงาน)
  • What do you do on weekend? (คุณทำอะไรในวันหยุดสุดสัปดาห์)
  • What problems/challenges you face in everyday life? (มีปัญหาหรือความท้าทายอะไรที่คุณต้องเจอในชีวิตประจำวันบ้าง)
  • What are the things that worried you? (มีอะไรที่คุณกังวลมากที่สุดบ้างไหม)
  • What is the best part of each week? (อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของคุณในแต่ละสัปดาห์)
  • How are you doing financially? (การเงินของคุณเป็นอย่างไร)
  • What is your relationship like? (ความสัมพันธ์ของคุณเป็นอย่างไร) 

เครื่องมือนี้จะเป็นเครื่องสะท้อนให้คุณรู้ว่า แม้ในสิ่งที่คุณอยากทำมากที่สุด ก็ยังมีทั้งแง่ดีและแง่เสียที่คุณต้องยอมรับให้ได้ ไม่มีอะไรสวยงามหรือโหดร้ายไปเสียทั้งหมด อยู่ที่คุณจะเลือกทางเดินด้วยตัวของคุณเอง

ดาวน์โหลดแผนโอดิสซีย์ไปลองทำได้ที่ designingyour.life/wp-content/uploads/2016/08/DYL-Odyssey-Planning-Worksheet-v21.pdf

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์

The post ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่รู้จะเอาอย่างไรต่อกับชีวิต หาคำตอบได้ด้วยแผนโอดิสซีย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายในงานและความสุขในชีวิตให้เจอ ด้วย Design Thinking https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce96/ Fri, 29 Mar 2019 12:03:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=230554

คุณรู้จักตัวเองมากแค่ไหน ปัจจุบันมีความสุขกับชีวิตไหม ก […]

The post รู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายในงานและความสุขในชีวิตให้เจอ ด้วย Design Thinking appeared first on THE STANDARD.

]]>

คุณรู้จักตัวเองมากแค่ไหน
ปัจจุบันมีความสุขกับชีวิตไหม
การทำงานมีความหมายกับคุณอย่างไร
ถ้าไม่ต้องใช้เงิน ยังอยากทำงานที่ทำอยู่หรือเปล่า

การรู้จักตัวเองและรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มีความหมายอย่างไรกับชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันทำให้เราเข้าใจว่าบนแผนที่ที่เรายืนอยู่ หมุดหมายต่อไปคืออะไร และต้องทำเช่นไรเพื่อไปให้ถึงปลายทางที่ตั้งใจไว้

The Secret Sauce เอพิโสดนี้ เคน นครินทร์ เล่าถึงการใช้ Design Thinking เพื่อออกแบบชีวิตตัวคุณเอง

 



Design Thinking คือเครื่องมือค้นหาความต้องการของลูกค้าเพื่อนำไปออกแบบสินค้าหรือบริการให้ตรงความต้องการเหล่านั้นมากที่สุด แต่เมื่อย้อนกลับมาที่เรื่องตัวเอง หลายคนพยายามค้นหาความต้องการของคนอื่นโดยไม่เคยคิดเลยว่าจริงๆ แล้วคุณรู้จักตัวเองดีพอหรือยัง ต้องการมีชีวิตแบบไหน และจะทำอย่างไรให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น

บิล เบอร์เนตต์ (Bill Burnett) และเดฟ อีวานส์ (Dave Evans) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชั้นนำผู้ประยุกต์ใช้ Design Thinking เข้ากับการออกแบบชีวิต พวกเขาพยายามตั้งคำถามข้างต้นกับนักศึกษาระดับหัวกะทิของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพราะไม่ว่านักเรียนกลุ่มนี้จะเก่งแค่ไหน แต่กลับไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งที่เรียนเท่าไร แถมยังไม่รู้เป้าหมายชีวิตของตนเอง





หลักสูตร Designing Your Life จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นคอร์สสำหรับนักศึกษาที่ต้องการค้นหาตัวเอง และกลายเป็นคอร์สยอดฮิตที่มีนักศึกษาต่อแถวรอเรียนเป็นจำนวนมากจนกลายมาเป็นหนังสือขายดีในชื่อเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษาไทย



5 ทัศนคติสำคัญที่ควรมีก่อนค้นหาตัวเอง

1. จงสงสัยใคร่รู้ สนุกกับการตั้งคำถามและหาคำตอบเรื่องนั้น
2. ทดลองทำ กระตือรือร้นตลอดเวลา เชื่อไว้เสมอว่ากระบวนการสำคัญกว่าผลลัพธ์
3. ปรับมุมมองต่อปัญหา ก่อนลงมือหาทางแก้ไข ควรเข้าใจว่าปัญหาคืออะไร
4. ชีวิตคือกระบวนการ ชีวิตไม่ใช่เส้นตรง อย่ากลัวอุปสรรค เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา
5. ขอความช่วยเหลือ แม้ชีวิตจะเป็นของเรา แต่อย่าลืมขอความคิดเห็นจากคนใกล้ตัว เพราะอาจมีบางมุมที่คุณนึกไม่ถึง

หากคุณเข้าใจภาพรวมเบื้องต้นแล้ว ลองมาสำรวจจุดยืนของตัวเองไปพร้อมกันผ่านคำถามเหล่านี้



Part 1: My Workview

 

1.Who are you?

(คุณคือใคร)

 

2. What are you doing?
(คุณกำลังทำอะไร)

 

3. What does work mean & Why do you work?  
(การทำงานของคุณมีความหมายอะไร และทำไมคุณถึงทำงานนี้)

 

4. Do you like your work? Why/Why not?
(คุณชอบงานที่ทำอยู่หรือไม่ เพราะอะไร)

 

5. What defines good or worthwhile work?
(ลองนิยามความหมายของ ‘งานที่ดีและมีคุณค่า’ ในมุมมองของคุณ)

 

6.  How does money, experience, growth, and success have to do with it?
(คุณพอใจกับเงิน ประสบการณ์ การเติบโต และความสำเร็จในตอนนี้มากแค่ไหน)

Part 2: My Lifeview

 

1. What is your purpose in life?
(อะไรคือเป้าหมายสูงสุดในชีวิตของคุณ)

 

2. What do you value most?
(คุณให้ความหมายกับอะไรมากที่สุด)

 

3. How is the relationship between you and others?
(ความสัมพันธ์ของคุณกับคนอื่นเป็นอย่างไร)

 

4. Do you like your life? Why/Why not?
(คุณชอบชีวิตตัวเองตอนนี้ไหม)

 

5. Is there a higher power, God, or something? And how does it impact your life?
(คุณเชื่อในพลังของโชคลาภหรือไม่ ถ้าเชื่อ คิดว่าสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลกับชีวิตมากแค่ไหน)

การตอบคำถาม 2 เรื่องนี้จะทำให้คุณเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าตัวเองเป็นใคร กำลังทำอะไร อยู่ตรงไหนในแผนที่ชีวิต ดังนั้นเครื่องมือต่อมาในการค้นหาจุดยืนของตัวเองคือ Current Life’s Dashboard แดชบอร์ดที่แสดงให้เห็นถึง 4 เรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน งานอดิเรก ความรัก และสุขภาพ



Credit: writings.john-ellison.com

 

 

ถ้าคะแนนทุกช่องเต็ม 100 คุณอยากให้คะแนนตัวเองในแต่ละเรื่องเท่าไร
เช่น ให้งานสัก 70 งานอดิเรกสัก 60 ความรัก 75 และสุขภาพอีก 30 พร้อมเขียนอธิบายเหตุผล

หลังจากให้คะแนนตัวเองเสร็จเรียบร้อย ลองคิดดูว่าในช่วง 2 สัปดาห์ต่อจากนี้คุณอยากเพิ่มคะแนนส่วนไหน จำนวนเท่าไร ฝนดินสอลงไปในช่องว่าง พร้อมเริ่มวางแผนลงมือทำได้เลย!

คอร์สนี้ไม่เชื่อเรื่อง Work-Life Balance เพราะเป็นธรรมดาเมื่อคุณให้น้ำหนักกับฝั่งใด อีกฝั่งก็อาจน้อยลงมาบ้าง แต่ทุกเรื่องสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นอย่ากังวลกับมันมากนัก ลงมือทำให้ดีที่สุดก็พอ

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmasterรพีพรรณ เกตุสมพงษ์

The post รู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายในงานและความสุขในชีวิตให้เจอ ด้วย Design Thinking appeared first on THE STANDARD.

]]>