เกย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 18 Jan 2018 09:22:44 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 รวมไฮไลต์เทยเท่ Season 1 ซาบซึ้งถึงแก่นเซี้ยว EP เดียวครบ https://thestandard.co/podcast/toeytey-special-episode/ Wed, 27 Dec 2017 17:01:50 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=58609

เรื่องที่ไม่เคยรู้ หลังจากทำพอดแคสต์เทยเท่มาทั้ง 16 เอพ […]

The post รวมไฮไลต์เทยเท่ Season 1 ซาบซึ้งถึงแก่นเซี้ยว EP เดียวครบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรื่องที่ไม่เคยรู้

หลังจากทำพอดแคสต์เทยเท่มาทั้ง 16 เอพิโสด มีเรื่องที่เราไม่เคยรู้มากมาย บางเรื่องคือการเปิดหู เปิดตา เปิดใจ เปิดโลกเลยทีเดียว

 

  1. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทยใช้ชีวิตกันอย่างไร (จากตอน เทยแท่นขุดเจาะน้ำมัน)
  2. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ากองถ่ายหนังอินดี้ยากลำบากขนาดไหน (จากตอน เทยผู้กำกับภาพยนตร์)
  3. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าตำรวจมีการเวียนงานก่อนรับตำแหน่งประจำ (จากตอน เทยตำรวจ)
  4. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าเวทีประกวดนางงามท้องถิ่นเป็นอย่างไร (จากตอน เทยเกษตรตำบล)
  5. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าโชว์ระบำใต้น้ำที่สยามโอเชียนเวิลด์แสดงโดยนักกีฬาอาชีพ (จากตอน เทยร็อกเกอร์)
  6. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าทหารซ้อมรบกันอย่างไรบ้าง (จากตอน เทยนักข่าวสายทหาร)
  7. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าการรับปริญญาของคนข้ามเพศมีรายละเอียดอย่างไร (จากตอน เทยนักสิทธิมนุษยชน)
  8. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่างาช้างคือแร่ชนิดหนึ่ง (จากตอน เทยธรณีวิทยา)
  9. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าศัพท์แต่งรถของเด็กแว้นมีอะไรบ้าง (จากตอน เทยยานยนต์)
  10. เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าเกษตรกรไทยใช้แอปพลิเคชันในการเก็บข้อมูลทางการเกษตร (จากตอน เทยเกษตรตำบล)

 

ความเทย

เทยเท่ทั้ง 16 คนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศสภาวะของตนเอาไว้อย่างหลากหลาย เราคัดความเห็นที่น่าสนใจไว้ดังนี้

 

“แต่สำหรับเรา เราคิดว่าเกย์มีดี มีชั่ว เราไม่ได้ทำหนังมาเพื่อบอกว่าเกย์ต้องดี ต้องเลิศ ต้องเป็นคนที่คนอื่นต้องยอมรับ เราคิดแค่ว่าตัวละครแบบนี้คือตัวละครปกติ เพียงแต่เขามีเพศสภาพเป็นเกย์บ้าง กะเทยบ้าง เท่านั้นเอง” (จากตอน เทยผู้กำกับภาพยนตร์)

 

“อย่ามาตีกรอบกันเลยว่าใครต้องชอบอะไร แต่ก็ต้องขอบคุณที่บางคนมองว่าเราเด่น มองว่าเราเป็นตุ๊ดเล่นรถ แต่อย่างที่บอกว่าตอนเด็กๆ ไม่คิดว่าจะเป็นตุ๊ดอยู่แล้ว เราก็เป็นเราอย่างนี้ปกติแหละ” (จากตอน เทยยานยนต์)

 

“เคยคุยกับพี่จีน กษิดิศ เขาพูดว่า ‘รู้ไหมว่าฉันเห็นแก ฉันดีใจมากเลย อย่างหนึ่งที่ฉันเคยทำมาก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการไปเล่นตามคอนเสิร์ตแล้วโดนปารองเท้าหรือโดนโห่ ฉันรู้สึกว่าฉันกรุยทางให้น้อง’ พอเขาพูดเท่านั้นแหละ นี่คือคนที่ทำงานเพื่ออะไรอยู่ เขาทำงานในสิ่งที่รัก แต่มันมีเพศที่วางไว้ให้ต้องฝ่าฟัน เราทำมาได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้ามีแรง เราอยากให้มันกว้างขึ้น อยากให้คนลืมไปว่าสิ่งนี้คือกำแพง เราอยากทำให้มันสุดที่สุดเท่าที่แรงจะมี แล้วต่อไปน้องขึ้นมาน้องจะได้ง่าย” (จากตอน เทยร็อกเกอร์)

 

“สมมติเราไม่ใช่คนแล้วมองมาจากนอกโลก ทำไมคนผิวขาวต้องอยู่ด้วยกัน ทำไมคนผิวดำต้องแยกออกมา แล้วทำไมคนเอเชียต้องแยกออกมา ทำไมทุกคนไม่เป็นเพื่อนกัน ทำไมต้องแบ่งแยกกันด้วย” (จากตอน เทยนายแบบ Unisex)

 

“เติร์ทไม่ได้อยากเป็นตัวแทนจะพูดว่าคุณต้องเปลี่ยนโลกนี้ เติร์ทไม่ได้อยากให้คนที่ Straight people หันมามองว่า Gay people ปกติ เติร์ทอยากให้ Gay people stand up for themself. Just do what ever you wanna do. คุณเปลี่ยนตัวเองได้ แต่คุณเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราเปลี่ยนตัวเองให้มาทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ other people doesn’t matter คนอื่นไม่สำคัญเลย เสียงของคนอื่นมันเป็นแค่เสียงน่ะ แต่เสียงของเรามันอยู่ข้างใน มันสามารถผลักดันตัวเองได้” (จากตอน เทยนายแบบ Unisex)

 

“อยากจะบอกว่าความเท่าเทียมมันเริ่มจากตัวเราเป็นลำดับแรก ตระหนักกับตัวเองก่อนว่าเรายอมรับความเป็นตัวตนของเราได้หรือยัง มองเห็นว่าเราเป็นคนที่เท่าเทียมกับคนอื่นหรือยัง เช่น เราเห็นความเป็นกะเทยของตัวเองในความเป็นคนของเราหรือยัง เราไม่ชอบคำพูดหนึ่งที่พูดกันว่า ไม่ต้องพูดถึงความเป็นกะเทยหรอก ก็เป็นคนเหมือนกัน เราอยากจะบอกว่าไม่ใช่ คุณต้องบอกให้ได้ว่ากะเทยคือส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ อย่าบอกว่าห้ามพูดถึง แต่ให้มองที่ความเป็นมนุษย์ เราอยากจะเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้ พยายามจะก้าวข้ามปัญหาคือการบอกว่าเป็นคนเหมือนกัน ใช่ แต่ความเป็นคนของฉันคือความเป็นกะเทย” (จากตอน เทยนักสิทธิมนุษยชน)

 

เทยเท่

นอกจากจะแสดงความคิดเรื่องเพศสภาพแล้ว เหล่าเทยที่มาเป็นแขกรับเชิญยังแสดงความเนิร์ด หรือความถนัดในอาชีพที่เราคิดไม่ถึง เพราะมันไม่ใช่แค่ความชำนาญ แต่คือทัศนคติที่ดีที่มีต่อตนเอง สังคม หรือบางคนก็กว้างไกลไปถึงส่วนรวม

 

  1. ความทุ่มเทในการเย็บตาหมาและรักษาให้หายที่ประเทศเนปาล (จากตอน เทยสัตวแพทย์)
  2. เคส CPR ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์กลางแท่นขุดเจาะน้ำมัน (จากตอน เทยแท่นขุดเจาะน้ำมัน)
  3. ความอดทนในการวิ่งเทรลขึ้นภูเขา (จากตอน เทยมาราธอน)
  4. ความตั้งใจให้อาชีพตำรวจดีขึ้นในสายตาประชาชน (จากตอน เทยตำรวจ)
  5. การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานในฐานะ IT Support (จากตอน ตุ๊ดซ่อมคอม)
  6. อยากให้คนไทยหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ (จากตอน เทยเกษตรตำบล)
  7. ความพยายามในการสื่อสารแทนสัตว์และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ (จากตอน เทยช่างภาพนักอนุรักษ์)
  8. การยืนหยัดในหน้าที่ของตนเอง แม้จะโดนแรงกระแทกมากมายขนาดไหนก็ตาม (จากตอน เทยนักข่าวสายทหาร)
  9. การรณรงค์เรื่องความเหลื่อมล้ำของ Sex Worker, กลุ่มชาติพันธุ์, ผู้ใช้แรงงาน  (จากตอน เทยนักสิทธิมนุษยชน)
  10. การส่งต่อองค์ความรู้แหล่งแร่เศรษฐกิจให้รัฐและเยาวชน (จากตอน เทยธรณีวิทยา)

 

คำถามประจำรายการ

หากฟังพอดแคสต์เทยเท่ถึงช่วงท้าย ผู้ฟังจะได้เจอกับคำถามประจำรายการที่ถามแขกรับเชิญเหมือนกันทุกคน นั่นคือ “หากเปลี่ยนเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายแท้ได้ จะเปลี่ยนไหม” ซึ่งเราได้คำตอบที่แตกต่างและน่าสนใจ

 

“พี่พอใจในความเป็นกะเทยชาตินี้มาก แต่ถ้ามีพรชาตินี้ให้เปลี่ยนได้ พี่อยากเปลี่ยนเป็นผู้ชายจริงๆ พี่ก็ย้อนกลับไปที่ความรักน่ะค่ะ เพราะพี่รู้สึกว่าพี่โหยหาและต้องการมันมาตลอดชีวิต แล้วปัจจัยที่ทำให้พี่ไม่ได้มันมา มันไม่ใช่พี่แล้ว มันกลับกลายเป็นผู้ชายคนนั้นที่ไม่รักพี่มากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าพี่จะเปลี่ยนแล้วเลือกเกิดใหม่ได้ พี่จะยังคงมีความรักต่อ แต่พี่จะขอเป็นผู้ชายที่จะมอบความรักนี้แล้วไม่ทำให้คนที่มารักพี่ต้องรู้สึกเสียใจ” (จากตอน เทยสัตวแพทย์)

 

“ถ้าอยากให้เปลี่ยนจริงๆ ก็อยากเปลี่ยนเป็นผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงคนนั้นอยากเปลี่ยนเป็นแม่ ไม่ต้องแม่เราก็ได้ เป็นแม่คนน่ะ คือถ้าอยากให้ท้องเราจะท้อง เราอยากรู้ว่าความรู้สึกของคนเป็นแม่ เคยบอกกับแม่ว่าหนูรักแม่ แต่ไม่เท่ากับที่แม่รักหนูหรอก เพราะอย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถสัมผัสถึงความเป็นแม่ ไม่สามารถรู้หรอกว่าที่แม่รักมันขนาดไหน” (จากตอน เทยกู้ภัย)

 

“มนุษย์ทุกคนมันมีความเลื่อนไหลทางเพศได้น่ะ เราเชื่ออย่างนั้นนะ เราเลยไม่รู้สึกว่าคำว่าชายจริง หญิงแท้ เกย์ กะเทยจะสำคัญ มันเป็นเหมือนนิยามที่ให้คนพูดได้ง่ายสำหรับบางบริบทเท่านั้นเอง ทีนี้ถามว่าเราจะกลับไปเป็นชายจริงหญิงแท้ไหม เราก็ตอบไม่ได้อยู่ดี ในอนาคตอาจจะมีผู้หญิงที่ฉันชอบแล้วมาเลสเบี้ยนกันก็ได้” (จากตอน เทยผู้กำกับภาพยนตร์)

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์ 

Music Westonemusic.com

The post รวมไฮไลต์เทยเท่ Season 1 ซาบซึ้งถึงแก่นเซี้ยว EP เดียวครบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยกู้ภัย: จากเด็กแว้นสู้ชีวิตที่ออกไปเก็บศพ ตีต่อ ล่องู จนรู้จักตัวเอง https://thestandard.co/podcast/toeytey16/ Thu, 21 Dec 2017 06:54:43 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=56939

แม้จะเป็นคนใกล้ตัว แต่เราเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าแฟชั่นเ […]

The post เทยกู้ภัย: จากเด็กแว้นสู้ชีวิตที่ออกไปเก็บศพ ตีต่อ ล่องู จนรู้จักตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้จะเป็นคนใกล้ตัว แต่เราเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าแฟชั่นเอดิเตอร์ประจำ THE STANDARD ของเราจะผ่านอาชีพและวีรกรรมที่โลดโผนโจนทะยานขนาดนี้ ทั้งเป็นเด็กแว้นโมรถมอเตอร์ไซค์แถมขี่หวาดเสียว เป็น รปภ. กะกลางคืน ติดใบปลิวตามตู้โทรศัพท์ ทุบตึกย่อยชิ้นส่วน และที่สำคัญเป็นกู้ภัย ที่ทำมาแล้วทั้งเก็บศพ ตีรังต่อ ล่องู

 

ทราบมาว่าก่อนหน้านี้คุณเป็นผู้ชายมาก่อน

จริงๆ ต้องบอกก่อนว่าที่บ้าน คุณแม่เองแอนตี้ตุ๊ด ซึ่งเราเองเราไม่ได้รู้สึกเหมือนเด็กๆ เราก็แอนตี้ตุ๊ดไปกับแม่ รู้สึกว่าเราไม่ได้อยากเป็นตุ๊ด เราเป็นผู้ชายตั้งแต่เกิดจนถึงปี 2 ในสมัยเด็กๆ ถ้าเกิดช่วงที่แก๊งเป็นผู้ชายทั้งหมดคือช่วง ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย ส่วนตอนอยู่อนุบาลกับประถม​ฯ เราจำความไม่ค่อยได้ แต่จำได้ลางๆ ว่ามีเพื่อนทั้งหญิงชายสลับกันไป แต่ไม่มีเพื่อนตุ๊ดเลย สมัยเรียนเราจะมีแฟนมาตลอดเป็นผู้หญิง นับแล้วร่วม 7 คน

 

เบื้องหลังในช่วงวัยรุ่นเคยเป็นเด็กแว้นมาก่อน

ไม่ได้ประกอบมอเตอร์ไซค์เอง แต่แต่งมอเตอร์ไซค์เอง หรือเรียกว่าโมมอเตอร์ไซค์เอง การเดินตลาดออเงินเป็นเรื่องธรรมดาของเรามาก มันเป็นเวิ้งเหมือนอเวนิว คอมมูนิตี้อะไหล่รถยนต์ น็อตพอช ซี่ลวด ปาดเบาะ สามารถทำได้ง่ายๆ ที่นั่นเลย

 

จะตีท่อลอดหรือเปลือยกรองเราได้หมด คือจริงๆ เปลือยกรองที่บ้านได้ไม่ยาก

เปลือยกรองคือตัวที่หุ้มคาบูเรเตอร์ข้างล่าง แต่จริงๆ แล้วทำไปโดยมีเหตุผลอย่างเดียวคือเท่ ไม่รู้เลยว่าทำเพื่ออะไร

 

ยุคนั้นแม่ซื้อมอเตอร์ไซค์มาให้เราเลยหรือเปล่า

แม่ซื้อมาให้ที่บริษัท แม่จ๊ะ ลูกอยากได้มอเตอร์ไซค์ไปขับหน่อย จากนั้นพอกลับมามอเตอร์ไซค์ก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว ก็ถูกมีการปรับเปลี่ยน อย่างเช่นการเปลี่ยนน็อตพอชทุกตัวในรถ ด้วยสมัยก่อนบ้านเราพอมีฐานะแต่ไม่ได้รวยนะ เราก็จะสามารถเปลี่ยนก่อนคนอื่นได้ เราเปลี่ยนน็อตพอช ซี่ลวด เปลี่ยนล้อใหม่ให้เข้ากับสีล้อใหม่ ปาดเบาะให้เบาะมันแอ่นขึ้น มันบาง ปาดเบาจะมีอีกเหตุผลหนึ่งนอกจากเท่คือให้ผู้หญิงสไลด์ลงมาหาเราได้ นี่คือที่เพื่อนบอกแต่เราไม่ได้รู้สึกพิสมัยวิไลลาศกับการที่มันสามารถเอานมมาโดนหลังเรา เราไม่ได้รู้สึกอะไร

 

ขี่ผาดโผนด้วยไหม

โดดนอนได้ ยกล้อได้ไม่ติด ปล่อยมือแล้วยืน แต่ แด แด แด๊ด แด แด่ มีเพลงขึ้นได้ ถ้าเกิดมีวิดีโอแฟลชแบ็กกลับไปนั่งมองตัวเองก็ทำทำไมเหมือนกัน

 

ทราบมาว่าเคยเป็น รปภ. ด้วย

จริงๆ แล้วเป็นทั้ง รปภ. เด็กแจกใบปลิวตามตู้โทรศัพท์ รื้อถอนทุบตึก ทุกอย่างคือธุรกิจที่บ้านหมด มันเริ่มมาจากบ้านเคยเปิดบริษัทจัดหางานสมัยก่อน ตอนที่ยังไม่โกงกันเยอะขนาดนี้ เริ่มจากการแจกใบปลิวของบริษัทจัดหางานของแม่ก่อน สมัยเด็กๆ เราจะอยากได้เงินไปซื้อนู่นนี่ เราก็ต้องทำงาน แม่เป็นคนชอบให้ทำงาน ซึ่งต้องขอบคุณแม่ แม่บอกว่าต้องทำงาน แม่ไม่ให้มาฟรีๆ ซึ่งเราก็ได้ไปแจกใบปลิว แม่จะให้เงินน้อยมาก 100 เดียวต่อวัน เราก็จะไปแจกที่ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ที่มันมีสะพานตัดกันไปมา เราจะไปแจกตรงนั้น ร้อนมาก เลยไม่ขาวสักทีตั้งแต่เด็ก ซึ่งแม่ก็จะรู้สึกดีเพราะเราเป็นลูกแม่ เราจะไม่มีทางทิ้งป้ายของแม่แน่นอน นึกออกไหม เราก็จะทำงานอย่างนั้นแลกเงินด้วยการไปแจกตรงนี้ หรือตามตู้โทรศัพท์ที่มันสกปรก เราเป็นคนไปติดเอง ถ้าเกิดอยากได้เงินก็จะไม่ไปแว้นแล้ว เหมือนเอาใบปลิวมาติดกาว 2 หน้าไปติดตามตู้โทรศัพท์ แป้งเปียกก็มีแต่เป็นอีกวันหนึ่ง ถ้าเกิดเป็นติดกาว 2 หน้านี่คือตอนเช้า เราต้องนั่งแปะเทปกาว 2 หน้า ประมาณ 500-1,000 แผ่น แล้วตอนกลางคืนเราก็เอาป้ายไปติดตามตู้โทรศัพท์

 

เดินมากสุดตั้งแต่ตลาดยิ่งเจริญ จนถึงเซ็นทรัล ลาดพร้าว เดินไปเลยค่ะ เดินไปแล้วนั่งรถเมล์กลับ เพราะว่าแบ่งทีมเป็นเรากับญาติอยู่ฝั่งนี้ น้องสาวอยู่กับญาติอีกคนฝั่งโน้นแล้วเดินขนานกันไปเรื่อยๆ แล้วก็ข้ามกลับไปฝั่งเซ็นทรัล ลาดพร้าว แล้วเดินกลับมากับน้อง ทำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งบอกกับแม่ว่าขอเป็น รปภ. ได้ไหม แม่จะเปิดบริษัท รปภ. กับแม่บ้าน ซึ่งแต่ก่อนจะมี รปภ. 200-300 คน แล้วมันจะมีจุดนี้ รปภ. ขาด ไม่สบาย บอกแม่ว่าไปเป็นให้ไหมแต่ขอค่าแรงขั้นต่ำ แม่บอกว่าได้

 

เราไปเป็นกะกลางคืนที่ขนส่ง จำได้เลย ดูรถเมล์ไม่หยุด รถทัวร์วิ่งกันไปมา

แต่คิดว่าพวกนั้นจะทำให้เราหายง่วงหรือ เปล่า ฟังเดอะช็อกก็ไม่หาย

ไม่มีอะไรทำให้เราหายง่วงได้เลย

 

ลิโพ กระทิงแดง กินครั้งแรกเลยตอนนั้นก็ไม่หาย เป็นการง่วงแต่หัวใจเต้นตุบๆ มันเป็นแค่ตาแข็งเฉยๆ เอาจริงๆ ยาไม่มีประสิทธิภาพ จะให้ไปวิ่งจับโจรตอนนั้นคือหัวใจวาย ถ้าออกกำลังมากกว่านี้ก็หัวใจวายแล้ว เราง่วงมาก กลับมาเราบอกแม่ เฮ้ย แม่ไม่ทำแล้ว พี่ รปภ. ทุกคนเราต้องให้เขา ยอม เขาเก่ง เราเลยไม่ค่อยวีนเขาเท่าไร เราเข้าใจเพราะเราเคยผ่านมาก่อน

 

บริษัททุบตึกจะเป็นช่วงหลังๆ แล้ว จัดหางานกับ รปภ. เริ่มซาเพราะอยู่ยากขึ้น แม่เลยปรับมาเป็นทุบตึก ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่เราออกจากงานแล้วเรามาช่วยแม่ดู แต่ว่าตอนทุบตึกนี่เป็นตุ๊ดแล้วนะ แต่ว่าตอนที่ไปดูคนงานที่บ้านไม่รู้ว่าเราเป็นตุ๊ด รู้แค่ว่าเรามีเพื่อนชายมาหาที่บ้านบ่อย เรื่องทุบตึกเราจะ in detail พอสมควรเรื่องโครงสร้างว่าควรทุบรื้อตรงไหนก่อน รื้อหน้าต่าง ประตู ของภายในก่อน แล้วค่อยทุบย่อยกำแพงในบ้าน แล้วค่อยใช้แบ็กโฮดึงลงแยกพื้นออกอะไรอย่างนี้ เหล็กชิ้นไหนควรเก็บ ชิ้นไหนไม่ควรเก็บ เหล็กเส้น เหล็กนิ้ว เหล็กกล่องเราจะรู้ว่าอันไหนควรเก็บบ้าง คือทุกอย่างที่ทำเรารู้เลยว่าแม่เก่งมาก เพราะแม่จะรู้ว่าอะไรขายได้ อะไรขายไม่ได้ แม่บอกว่าแค่เศษดินที่อยู่ที่พื้นแม่ยังขายได้เลย ก็คือเอารถบรรทุกมาเหมาไปถมที่ต่อ รถคันหนึ่งก็จะได้ 2,000 บาท ขน 10 เที่ยว ก็ได้ 20,000 บาท รวมกับค่าทุบมันก็เป็นเงินเพิ่มเติมเข้ามาอีก แม่จะเป็นคนสอนเรา แม่บอกว่าคนหนึ่งไม่ควรมีอาชีพอย่างเดียว เพราะต่อไปจะอยู่กันไม่รอดแล้ว

 

แล้วมาเป็นหน่วยกู้ภัยได้อย่างไร

เราเคยเป็นกู้ภัย อปพร. อยู่ 2 ปี ตอนนั้นที่เป็นเพราะว่าพ่อเป็นนักการเมืองท้องถิ่น เขาเลยต้องจัดหน่วยเพื่อดูแลประชาชนบริเวณนั้น เขาเลยจัดหน่วยกู้ภัยขึ้นมา ในช่วงนั้นไม่ได้คิดว่าจะต้องออกไปพบเจอเรื่องราวที่น่ากลัว สิ่งที่คิดอย่างเดียวคือการได้ออกนอกบ้าน ตอนนั้นอายุประมาณ 14-15 ปี แล้วเพื่อนที่เป็นกู้ภัยก็เป็นเด็กแว้นเหมือนกัน

 

งานกู้ภัยที่บอกว่าท้าทายเขาทำอะไรกันบ้าง

คือในหนังอาจจะเล่าไม่หมด แต่จริงๆ แล้วก่อนหน้านั้นจะมีการนั่งรถเหตุว่าวันนี้จะมีเหตุอะไรบ้าง กู้ภัยแต่ละที่จะต่างกัน เช่น พื้นที่ที่เรารับผิดชอบจะมี 2-3 หน่วยงานที่เป็นกู้ภัย จะมีการแก่งแย่งกันในการไปถึงที่เกิดเหตุ ฉันจะต้องได้จัดการก่อน แต่จริงๆ แล้วคนที่สามารถจัดการได้ดีที่สุดคือป่อเต็กตึ๊ง หรือร่วมกตัญญู 2 หน่วยนี้ มันก็มีเหมือนกันที่กระโดดขึ้นรถแบบในหนัง แต่สิ่งที่เราตื่นเต้นคือมีอุบัติเหตุ คนตาย หรือมีอะไรที่ระทึกขวัญ อันนั้นจะเป็นเรื่องราวที่ทุกคนอยากเจอ แต่ถ้าเป็นเรื่องตีต่อจับงู ทุกคนจะรู้สึกว่าเดี๋ยวค่อยไปก็ได้ เพราะต่อมันก็อยู่ข้างในรังมัน เราไม่จำเป็นต้องตีต่อให้มันฟุ้งออกมาก่อน จริงๆ ชอบตีต่อเหมือนกันเพราะนางเป็นอาหารของแม่เรา คือมันเป็นตัวอ่อนต่อ สมมติว่าไปเสร็จปุ๊บ เราจะเอาไฟเผารัง คือตอนแรกจะมีการใช้ควันรมให้ตัวต่อออกมา แล้วให้น้องหมดสติ น้องจะมึนงง แต่ถ้าคิดว่าออกมาไม่หมด เราต้องเผา พอเผาเสร็จน้องก็จะร่วงหล่นลงมา เราก็จะบิๆ น้องแล้วเอาตัวอ่อนให้แม่ พอถึงบ้านเราก็เอาตัวอ่อนต่อมาคั่วเกลือแซ่บ

 

จริงๆ ทีมเราเป็นทีมที่ไม่ใหญ่มาก ประมาณ 7-8 คน แต่ไม่ได้ออกงานพร้อมกัน แต่จะแบ่งกันไปวันนี้ 5 คน อีกวัน 4 คนพอ ส่วนใหญ่การแบ่งงานจะให้ผู้อาวุโสเป็นหลัก เพราะเราไม่อยากให้เขาเหนื่อย อะไรที่เราทำแทนได้ก็จะทำ อย่างเช่น ตีต่อ จับงู แต่ผู้อาวุโสเขาจะตีต่อเก่ง รมควันเท่าไร เผาเท่าไร อีกน้ำอีกเท่าไร จนจบขั้นตอนการตีต่อจนถึงคั่วเกลือ ส่วนถ้าจับงู เขาจะมีเทคนิคว่าตัวนี้ต้องจับอย่างไร หัวงูต้องจับอย่างไร

 

มีการสอนก่อนใช่ไหม

ใช่ เขาจะมีอุปกรณ์และฝึกให้ ได้ใบประกาศมาด้วย เขาจะให้เราเทรนจริงจังมาก ดับไฟอะไรมีหมด

 

แล้วในส่วนของผู้เสียชีวิตละคะ

เราจะยุ่งไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเคลียร์สถานการณ์ กันคน เอาคนขึ้นรถ เคลียร์ทางให้ ซึ่งมันต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยพยาบาลมากกว่าในการมาดูแล แต่ถ้าเกิดเจ็บเล็กน้อยอย่างรถล้มเราจะช่วยได้ แต่ถ้ามีการตายหรือบาดเจ็บหนัก มันจะต้องมีการพยุง ดาม ใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง เราก็จะต้องเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วถามอาการผู้ป่วยเพื่อส่งต่อเขา

 

จำสถานการณ์การเห็นคนบาดเจ็บครั้งแรกได้ไหม

จำไม่ได้ว่าสถานการณ์อะไร แต่จำได้ว่าเจออะไรบ้าง อย่างแรกที่เจอเลยคืออุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ชนเกาะกลางถนน ที่มันเป็นแท่งปูน ตรงนั้นมันจะเป็นสะพานข้ามแยก แล้วจะมีทางซ้ายเพื่อกลับรถ แต่คนนั้นเขาไม่ข้ามแยก ไม่กลับรถ แต่เขาไปตรงกลาง พอเขาเข้าไปที่ตรงกลางเขาก็กระเด็น แล้วเขานอนคว่ำหน้าอยู่ เราก็เดินเข้าไป ส่วนตัวเป็นคนไม่กลัวศพอยู่แล้ว เพราะเป็นคนชอบดูหนังฆาตกรรม เพราะถึงจริงๆ แล้วมันไม่น่ากลัวเหมือนไม่หนัง มันไม่ได้มีอะไรแหยะมาก เราก็เห็นว่ามันมีเลือด เลือดส่วนใหญ่ไม่ได้แดงขนาดนั้น มันจะมีแดงปนดำ แล้วมีความมันจากไขมันและสมอง แต่เราจะดูไม่ค่อยออกหรอกว่าสิ่งไหนคือสมอง เพราะมันไม่ได้ออกมาเป็นก้อน คือเขาไม่ได้โดนฟันหัว สิ่งที่เราเจอคือคนนั้นนอนคว่ำหน้าอยู่ รู้สึกว่าเขาเด็กมาก ไม่น่าเลยยังเด็กอยู่ เราคุยกับเพื่อนว่าเขาเด็กมากเลย เพื่อนบอกว่าเขาไม่ได้เด็กแล้ว อายุ 40 ปีแล้ว แต่พอเขาพลิกศพมาอีกทีเพื่อจะยกขึ้นรถ คือกระดูกด้านหน้าย้ายไปอยู่อีกด้านหนึ่งมันเลยทำให้ผิวหน้ามีความตึงบวมนิดหนึ่ง เราก็เลยดูว่าเขาเด็ก แต่เราเห็นไกลๆ อยู่แล้ว เราเลยรู้สึกว่าเขาคงเจ็บเหมือนกัน แต่เขาคงคาที่

 

เหตุการณ์ที่ 2 เราเคยเจอคนผูกคอตายที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งมีคนแจ้งเหตุตอนตี 4 ให้มาเก็บศพคนผูกคอตายที่ป้ายรถเมล์ เราก็ออกไป เหมือนเขากำลังเก็บอยู่ เพราะเราไปช้ากว่าป่อเต็กตึ๊ง คนที่แจ้งมาเขาน่าสงสารมากเพราะเขากำลังจะออกไปทำงาน แล้วเขาก็เจอภาพนั้น เขาบอกว่ายืนอยู่ พอหันไปเขาก็เห็นคนลอยอยู่ที่ป้ายรถเมล์ ก็กลายเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ผูกคอตาย นั่นคืออีกศพหนึ่ง แต่เหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกว่าอยากเลิกแว้นเลย

 

เป็นจุดเปลี่ยนเลยหรือเปล่าคะ

ใช่ เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกสงสารเขามาก คือพอเราไปถึงก็มีชายหญิงคู่หนึ่งที่เสียชีวิต ผู้หญิงกระเด็นไปทางด้านหลังของมอเตอร์ไซค์ ผู้ชายกระเด็นไปด้านหน้า แยกออกจากกัน เหมือนมอเตอร์ไซค์คันนี้แซงขวาออกมา แต่รถกระบะขับมาเลนปกติแล้วชน ทำให้กระเด็นออกจากกัน แล้วสภาพที่เราเห็นคือผู้ชายนอนเสียชีวิตอยู่ไกลๆ ส่วนผู้หญิงไม่ไกลเรามาก ผู้หญิงฉีกขาแล้วหัวไปลงที่หัวเข่าคล้ายๆ กับเล่นโยคะ เราคิดในใจว่าหนักว่ะ โหดมากเลย แล้วเพื่อนแว้นของสองคนนี้จะมาต่อยรถกระบะ พวกเราก็พยายามแยกกัน รถกระบะบอกว่าผมไม่รู้ ไม่ผิดเพราะขับมาตามเลนปกติ ขณะที่เขากำลังทะเลาะกันมีรถเบนซ์คนหนึ่งขับมาจอด แล้วเราคิดในใจว่าจะจอดทำไมตอนนี้เพราะเรากำลังเคลียร์ทางอยู่ ปรากฏว่ามีคุณผู้หญิงตีโป่งคนหนึ่งลงมาจากรถ แล้วมาอุ้มเด็กผู้หญิงคนนั้น แล้วก็บอกว่า แม่บอกแล้วว่าอย่าทำแบบนี้

 

เราเห็นแล้วรู้สึกว่าถ้าเรานอนตายอยู่ตรงนั้น แล้วแม่วิ่งเข้ามา แม่คงใจสลาย

เราไม่อยากทำให้แม่เสียใจ เลยรู้สึกว่าเราต้องเซฟตัวเอง เราเลยเลิกแว้น

 

จุดเปลี่ยนที่ทำให้รู้สึกว่าเราอาจจะไม่ใช่ผู้ชายแล้ว

ตอนที่ไปอเมริกาเราก็ไม่ได้คิดหรอกว่าเราเป็นตุ๊ด เรายังทำตัวสนุกสนานร่าเริงกับเพื่อนของเรา เราทำเป็น Housekeeping คือแค่เก็บห้องไม่ได้คุยกับใคร ประเด็นสำคัญคือมีผู้ชายคนหนึ่งมาหาเรา มาดื่มกับเรา เหมือนเขาเองเขาก็อยากเจอ ติดเรา รับส่งเรา จนมีวันหนึ่งที่เราทำตัวตลกเพราะเราเมามาก อยู่ดีๆ เราก็รายงานข่าวขึ้นมา เหมือนคุมตัวเองไม่ได้ เขาบอกว่าชอบเราแต่เราก็ไร้สาระของเราไป ถึงจุดหนึ่งที่เขาต้องย้ายงานไปทำอีกโรงแรมหนึ่ง เขามาบอกเรื่องนี้กับเราแล้วอยู่ดีๆ เขาก็หนีไปเลย พอเขาไปเรากลับรู้สึกคิดถึงเขามาก ทำไมคิดถึงเขาแปลกๆ หรือว่าเราเป็นเกย์เราเลยไปบอกเพื่อน

 

มันเหมือนจุดเปลี่ยนที่ไม่แรงขนาดนั้น

ใช่ ใจเราไม่ได้แค่คิดถึงแต่ขอใช้คำว่าถวิลหา อยากเจอเขาอีกจังเลย อยู่ๆ ก็เหม่อ จนกลับมาจากอเมริกาก็มาที่คณะ เราก็มาบอกเพื่อนคนหนึ่งว่าเราน่าจะเป็นเกย์ เพื่อนตกใจทำหน้าสั่นนิดหนึ่ง บอกว่าดีใจที่บอก อย่างน้อยก็ดีใจที่ได้รู้เป็นคนแรกๆ การเปิดตัวของเราเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัย เพื่อนทุกคนในกลุ่มจะมีผู้ชาย ผู้หญิง ตุ๊ดคละกันไป แล้วก็จะสนิทกับเพื่อนตุ๊ดคนหนึ่ง เขาเป็นเพื่อนตุ๊ดที่น่ารักมาก เราจะรู้สึกสนิทกับเขามาก จนรู้สึกว่าอยากจีบมันมากในสมัยนั้น แต่จริงๆ แล้วเปล่า เราอยากได้เป็นเพื่อนสาวมากกว่า เอาจริงๆ พอมองทุกอย่างแล้วเราแค่อยากมีเพื่อนสวยแค่นั้นเอง จากนั้นมีการปฐมนิเทศเด็กปี 1 เรานั่งอยู่ที่เก้าอี้มีเพลงขึ้นมา เพื่อนกะเทยเริ่มเดินแบบให้น้องดู แล้วมีคนมาฉุดมือเราแล้วบอกว่าให้เดินเลย เพื่อนทุกคนงงว่าทำไมต้องเดินเพราะเราไม่ใช่ตุ๊ด แต่เราไม่รอช้าหยิบใบไม้ใหญ่ๆ 2 อันทาบที่หลังแล้วเดินเป็น Victoria’s Secret ให้เพื่อนดู เพื่อนเงียบไปแป๊บหนึ่งแล้วถามว่าทำไมแรง เพื่อนคิดว่าเราจะเดินเฉยๆ แต่เรามีพร็อพด้วย

 

แล้ว Come Out กับครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง

ครอบครัวน่าจะรู้ช่วงหลังแล้ว แม่เริ่มจับได้เพราะว่าเรามีแฟน เราพาแฟนไปบ้าน ซึ่งก็ต้องไปนอนที่บ้านทุกอาทิตย์ เราจะนอนบ้านแฟนทุกอาทิตย์ แฟนก็มานอนบ้านเราทุกอาทิตย์ ตลอด 3 ปีที่คบกัน จนสุดท้ายแล้วเราเลิกกับเขาแล้วเสียใจมากเพราะคบกันมานาน ร้องไห้ ไม่กินข้าวจนวันหนึ่งไปนอนกับแม่ แม่ถามว่าเป็นอะไรเพื่อนไม่คุยด้วยหรือ เราก็ร้องไห้เลย แม่บอกว่าไม่เป็นไร ยังมีพ่อมีแม่ สมัยก่อนแม่ก็เป็น สมัยที่เลิกกับแฟนเก่าก่อนจะมาเจอพ่อ แค่ได้กลิ่นดิน กลิ่นรถบรรทุกแม่ก็ร้องไห้แล้ว แต่ก่อนแม่เคยขับรถบรรทุก แม่เหมือนรับไม่ได้แต่ก็ต้องรับแล้ว แต่หลังจากนั้นแม่ก็จะพูดว่าให้มีเมียพอกรุบ แต่สุดท้ายก็ยอมรับได้ในที่สุดในตอนที่แม่เป็นมะเร็งแล้ว แม่ดีใจมากกว่าที่ลูกเป็นแบบนี้ เพราะถ้าเกิดลูกไม่เป็นตุ๊ด แม่จะไม่รู้เลยว่าจะมีใครมาดูแล ถ้าเป็นผู้ชายคงติดเมีย ผู้หญิงคงมีครอบครัวที่ต้องดูแล มีเราคนเดียวที่ดูแลแม่ได้ แม่คงรู้สึกดีเหมือนกันที่ลูกเป็นแบบนี้ เราบอกแม่ว่าไม่ต้องกลัวเพราะเราก็ไม่มีใครนอกจากแม่เหมือนกัน

 

ทุกวันนี้เพศสภาพของเราส่งเสริมงานที่ทำอย่างไรบ้าง

เนื่องด้วยอะไรไม่รู้ เรารู้สึกว่าการเป็นเทยมีความกดดันจากสังคมสูง ต้องต่อสู้สูง ติช่าว่าเป็นไฟเตอร์แล้วเทยทุกคนเป็นไฟเตอร์กว่า เพราะว่าต้องโดนด่า กดดัน ล้อ เทยต้องสู้ผู้ชายไง เพราะเทยเองถ้าเกิดต่อยผู้ชายก็ต่อยเทย เพราะเทยก็คือผู้ชายเพราะมันไม่ได้เห็นเราเป็นเทยตัวเล็กๆ แต่เอาจริงๆ เทยมีพลังมากกว่าผู้ชายมาก เพราะเทยต้องทำได้ทั้ง 2 อย่าง ยิ่งเป็นเทยในวงการแฟชั่น แต่โชคดีที่เราไม่ค่อยสุงสิงกับคน ไม่ได้เป็นคนนิสัยไม่ดีนะ แต่ขี้อายที่จะต้องไปพบผู้คนใหม่ๆ เราจะเป็นคนที่สังเกตคนก่อนว่าใครเป็นอย่างไร แล้วเราค่อยเข้าไปหาบางคนที่เรารู้สึกว่าเราเข้ากับคนนี้ได้ เราก็จะรู้สึกค่อยๆ ซึมไปดีกว่า เพราะถ้าเราเข้าไปตรงๆ ด้วยความที่เราเป็นคนไม่ได้ดีมาก คำพูดคำจาก็ไม่ได้สุขุมเรียบร้อยมาก เราก็กลัวว่าจะมีความบ้าบอคอแตกออกไป เราต้องเซฟตัว ซึ่งพอไปอยู่ในวงการแฟชั่น เราเองอยู่ดีๆ มันจะมีความชอบความสวยงามอยู่แล้ว ซึ่งเป็นมาตั้งแต่เด็ก เสื้อผ้าเราตั้งแต่สมัยวัยรุ่นเราจะใส่สีน้ำเงินสีดำ คุมโทนตลอดไม่เคยมีสีที่หลุดออกมา กางเกง JJ Club แต่ก่อนก็จะเลือกดอกขาว กางเกงน้ำเงิน หรือสีดำตัดด้วยขอบขาวไป เราจะมีความเลือกเสื้อผ้าตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว คือเทรนด์แฟชั่นสมัยเด็กก็ไม่เคยพลาด เสื้อโปโลลายทางเราใส่ กางเกงยีนส์พับขาเราต้องใส่ เหมือนมีมาตลอดแต่แค่เราคุมโทน จนมาถึงตอนนี้เรารู้สึกว่า เราอาจจะมีเซนส์ที่เราว่าสไตล์ลิสต์ส่วนใหญ่มันต้องมีเซนส์ของตัวเองอยู่แล้ว มันไม่มีอะไรถูกหรือผิด มีแค่คำว่ารู้สึกชอบหรือไม่ชอบเท่านั้นเอง

 

แล้วในทางกลับกันประสบการณ์ความเป็นชายมันส่งเสริมงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ไหม

เรารู้สึกว่าเวลาออกไปข้างนอกหรือเวลาพบคนครั้งแรก เราจะไม่มีความสาวเลย เราจะเงียบ นิ่ง เราจะไม่เปิดเผยความเป็นตุ๊ดแรงๆ ต่อหน้าคนอื่นถ้าไม่สนิท แต่จริงๆ แล้วไม่เลย พอเรารู้จักกันสักพักก็อื้อหือ คิ้วโก่งมากเลย ทุกอย่างมันคงเป็นเกราะป้องกันมั้ง มันจะทำให้เรารู้ตัวเองว่าควรโพสิชันอย่างไร การเดินท่าผู้ชายมากๆ การวางตัว การทำทุกอย่างมันดูเป็นผู้ชายเอง นอกจากสนุกหรือสนิทกันมันก็จะมีท่าออกมา เราได้หมด แอ็กติ้งเราที่หนึ่งอยู่แล้ว

 

ถ้าเปลี่ยนได้กับผู้ชายหรือผู้หญิงสักอย่างอยากเปลี่ยนไหม

จริงๆ แล้วก็ไม่อยากเปลี่ยนนะ เป็นอย่างนี้สนุกเต็มที่แล้ว แต่ถ้าอยากให้เปลี่ยนจริงๆ ก็อยากเปลี่ยนเป็นผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงคนนั้นคือแม่ ไม่ต้องแม่เราก็ได้ เป็นแม่คนน่ะ เราอยากจะรู้ว่าความเป็นแม่คนมันเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้อยากมีลูกมาก เรามีความรู้สึกว่าถ้าเกิดให้ท้องเราอยากท้อง เราอยากรู้ความรู้สึกความเป็นแม่ เราเคยพูดกับแม่ว่าจริงๆ เรารักแม่ไม่เท่ากับแม่รักเราหรอก คืออย่างไรก็ตามเราไม่สามารถทัชความรู้สึกความเป็นแม่ว่าฉันคลอดเธอออกมา แต่เรารักแม่มากนะ แค่เราไม่รู้ว่าแม่รักเราคือขนาดไหน

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

The post เทยกู้ภัย: จากเด็กแว้นสู้ชีวิตที่ออกไปเก็บศพ ตีต่อ ล่องู จนรู้จักตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เบื้องหลังและชีวิตของผู้กำกับหนัง มะลิลา https://thestandard.co/podcast/toeytey15/ Thu, 14 Dec 2017 06:14:00 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=55275

ถ้าใครติดตามวงการหนังไทยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จะพบ […]

The post เบื้องหลังและชีวิตของผู้กำกับหนัง มะลิลา appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถ้าใครติดตามวงการหนังไทยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จะพบว่ามีหนังไทยเรื่องหนึ่งที่ตระเวนฉายตามเทศกาลหนังและกวาดรางวัลมากมาย ‘มะลิลา’ คือหนังเรื่องนั้น

 

นี่คือหนังยาวเรื่องที่ 2 ของ นุชี่-อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับ LGBT ไทยเพียงไม่กี่คนที่พาหนังตัวเองไปสู่สายตาชาวโลกและได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ ที่ทุกขั้นตอนของหนังเต็มไปด้วยความใส่ใจ ละเมียดละไม และมีสายตาที่มองเพศทางเลือกอย่างเข้าใจและเป็นจริง

 

คุณเติบโตมาในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบไหน

คุณพ่อคุณแม่เป็นหมอกับพยาบาลค่ะ ตอนเด็กๆ เราก็จะอยู่ในโรงพยาบาล จำได้ว่าเป็นเด็กค่อนข้างโลกส่วนตัวสูง เราก็จะชอบเล่นอะไรที่ไม่ค่อยเหมือนกับคนอื่นสักเท่าไร ไม่ได้เล่นตุ๊กตา แต่เราจะเล่นทำยาพิษ เป็นคนชอบดูสมุนไพรในสวนสมุนไพรค่ะ แล้วศึกษาว่าพืชชนิดนี้กินแล้วก็ตาย โอเคชอบมาก (หัวเราะ) จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก อุ๊ย ชอบ แล้วก็ชอบผสมยาพิษ อย่างกบต้องมีพิษแน่เลย ฉันต้องเอาเมือกลูกอ๊อดมาจัดการทำยาพิษดีกว่า แล้วก็ชอบทำเขื่อน สร้างเขื่อนใต้ถุนบ้าน เพราะสมัยก่อนมีน้ำไหลลงมาจากการล้างจานลงมาใต้ถุนบ้าน เราก็จะขุดเป็นเขื่อนว่าน้ำตรงนี้ไหลมา เราก็จะกั้นเขื่อนไว้ให้มันไหลลงมา ประหลาดมาก

 

แล้วเรารู้ตัวเรื่องเพศสภาพของเราเมื่อไร

ไม่รู้ เพราะสมัยเด็กเรายังขโมยหนังสือโป๊ของพ่อของอามาดู แล้วก็รู้สึกว่าเรามีอารมณ์กับผู้หญิง เรารู้สึกว่าชอบผู้หญิงได้ ตอนเด็กมีแฟนด้วย คนก็แซวกัน แต่อย่างหนึ่งก็คือชอบเล่นกับเด็กผู้ชาย หรือชอบจับเนื้อต้องตัวเด็กผู้ชาย ผู้หญิงเราจะไปแตะเนื้อต้องตัวไม่ได้ไง แต่ผู้ชายเราจะเล่น เราชอบจับพุง

 

แสดงว่าเราไม่มีชีวิตที่แตกต่าง หรือเพื่อนๆ ก็ไม่ได้เห็นว่าเราแตกต่างอะไร

เพื่อนก็จะรู้สึกว่าคนคนนี้เรียบร้อย และมีความเป็นผู้หญิง เพราะฉะนั้นผู้ชายจะรู้กันอย่างนั้น แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าถูกแกล้งอะไร เราเป็นเด็กนิ่งเงียบ แต่ไม่ได้นิ่งเงียบแล้วรู้สึกน่าแกล้งจัง แต่นิ่งเงียบแบบลึกลับ แกล้งอีนี่แล้วจะต้องถูกทำอะไรสักอย่างหนึ่ง

 

สนใจละครหรือภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็กเลยหรือเปล่า

ไม่เลย คือคุณพ่อก็ซื้อการ์ตูนมาให้ดู แต่ว่าไม่ได้อะไรมาก คุณพ่ออยากให้เรียนภาษาอังกฤษจากการ์ตูนมากกว่า คือสภาพแวดล้อมตอนนั้นมันไม่ได้มีอะไรที่จะทำให้เราไปนึกถึงเรื่องภาพยนตร์เลย โรงหนังประจำจังหวัดก็มีแค่โรงเดียว แล้วคุณพ่อก็ไม่ได้เป็นคนที่ชอบดูหนังมาก แล้วโรงหนังต่างจังหวัดก็ไม่ได้ฉายหนังโปรแกรมที่คุณพ่ออยากดู เพราะฉะนั้นการที่เราจะได้ไปดูหนังในโรงก็ไม่มีหรอก เพราะว่าเราอยู่นครพนม เราก็เล่นอะไรตามประสาเด็กทั่วไป

 

แล้วทำไมถึงมาเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ได้

คือก็เรียนสายวิทย์มาเพราะว่ามันเป็นธรรมดาของเด็กที่เรียนดี มีหัวไปได้ พ่อแม่เขาก็จะให้เลือกเรียนวิทย์ไปก่อน เพราะตอนนั้น ม.ต้น จะขึ้น ม.ปลาย ใครจะไปเลือกถูกว่าเราจะศิลป์หรือเราจะวิทย์ เราเลือกเท่าที่เราคิดว่าเหมาะและเพื่อนเราเลือกไปทางไหน

 

แล้วพอเข้ามาเรียนจริงๆ ชีวิตมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรบ้าง

ปี 1 เราเริ่มทำหนัง หลังจากนั้นเราเลยชอบ เรารู้สึกว่าดีที่สุดเท่าที่เลือกได้แล้ว มันต่างจากผู้กำกับหนังคนอื่นเนอะ เรารู้สึกว่าเราทำได้ในหลายๆ ส่วน

 

ได้ทำหนังเยอะไหมระหว่างที่เรียน

ประมาณ 3 เรื่อง เรื่องแรกตอน ปี 1 จริงๆ ไม่ได้มีอะไรมาก รู้สึกว่าชอบผู้ชายจังเลย ชอบคนนี้ คนนี้ก็น่ารักดี คนนี้อยู่คณะนี้ก็น่ารักดี ก็เลยคิดพล็อตมาว่าจะเอาผู้ชายทั้งหมดมาเล่น แล้วก็มามีอะไรกับฉัน ก็เลยเป็นพล็อตกะเทยร่วมกับผู้หญิงฆ่าโหดผู้ชาย 6 ศพ เอาแล้วก็ฆ่า เอาแล้วก็ฆ่า อุ๊ย มันมาก ประสาทเนอะ แต่ทำแล้วคนฮือฮาไง เพราะมันบ้าจังเลย แล้วสมัยนู้นเกือบจะ 20 ปีมาแล้ว พอทำหนังเกย์แล้วมีฉากเลิฟซีนนัวเนียกับผู้ชายมันไม่มี มันมีแค่หนังกะเทย สมัยนั้นยังไม่มีการรับรู้เรื่องเกย์แมนๆ

 

มีผลตอบรับอย่างไรบ้าง

บ้ามาก เพราะว่าโชว์ก้น จริงๆ คนฮือฮาเพราะว่าหนังได้รางวัลจากการฉายประกวดที่คณะ พี่ปื๊ด-ธนิตย์ จิตนุกูล ชอบมาก บอกว่าหนังเอาคนดูอยู่หมัดมาก เราเลยได้ผู้กำกับยอดเยี่ยม เราได้รางวัลตั้งแต่ปี 1 โอเค แปลว่าเราทำได้ดี

 

แล้วจริงๆ เหตุผลที่เราเลือกจะทำหนังเกย์ เพื่อจะสนองความต้องการของตัวเองเลยหรือเปล่า หรือมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องหลังด้วย

เราคิดว่าเราอยากทำผลงานอะไรสักอย่างออกมามากกว่า จริงๆ หนังเกย์เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังที่เราชอบ เราดูเรื่อง The Last Emperor แล้วพบว่าเราชอบภาพเขามาก การจัดแสง การให้สี เพราะฉะนั้นภายใต้หนังเกย์ฆ่า มันก็มีอาร์ตไดเรกชัน มีการคุมสี จัดแสง ตามแบบ The Last Emperor ส่วนโปรเจกต์จบเราชื่อ ตามสายน้ำ พอมีนักวิจารณ์ได้ดูหนังเรื่องนี้เขาก็บอกว่ามันจะเป็นตัวก่อกำเนิดสไตล์ของเรา

 

แล้วลายเซ็นของคุณจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร

เราต้องมานั่งมอง ยังบอกกับน้องเวลาเราไปพูดตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่า สิ่งที่เราจะศึกษาตัวตนของเราได้ดีที่สุดคือการศึกษาผลงานเก่าๆ ของเรา เป็นส่วนที่สำคัญมาก คือดูแล้วรู้ว่าเราชอบอะไร หรือเราทำตรงไหนได้ดี แล้วเราจะหยิบจับมาปั้นแต่งให้เป็นสไตล์เราได้ ซึ่งอย่าง ตามสายน้ำ มันเป็นเรื่องราวของผู้ชาย 2 คน ชื่อกฤติกับวิน กฤติเขาหลงรักวินมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น แล้วตอนท้ายก็เลิกกันเพราะว่าวินไม่ยอมรับตัวตนในความเป็นเกย์ของเขา เขาก็ไปมีผู้หญิงอื่นและดำเนินชีวิตไปจนมาเจอกัน กฤติพยายามพาวินไปน้ำตกชั้นที่เจ็ดเพื่อจะเป็นการพิสูจน์รักอะไรบางอย่าง ระหว่างนั้นจะแฟลชแบ็กความสัมพันธ์ในอดีตออกมา พอขึ้นไปตามน้ำตกก็เลยชื่อเรื่องว่า ตามสายน้ำ สไตล์จะมีความผสมผสานกันระหว่างตัวละครที่เป็นเพศทางเลือก เรื่องพระพุทธศาสนา ความละเมียดละไม และความอ่อนหวานบางอย่าง รวมทั้งหนังมันมีการใช้สัญญะต่างๆ ที่ค่อนข้างซับซ้อน และดำเนินเนื้อเรื่องไม่ตามลำดับเวลา นี่ก็เป็นตัวกำเนิดสไตล์ของเรา คือมันเป็นการมิกซ์ระหว่างองค์ประกอบที่ไม่ค่อยเข้ากันเท่าไร เช่น เกย์ ศาสนา ความดาร์กบางอย่าง แต่มันผสมออกมาแล้วมันจะดูอ่อนหวานนุ่มนวล

 

แล้วทำไมถึงจับเอาสิ่งที่แตกต่างกันมาอยู่ด้วยกัน

สำหรับเราเวลาทำหนังมันจะเป็นเหมือนคอลเล็กชันสิ่งที่เราชอบ เวลาเราเจออะไรที่ชอบก็จะพยายามหยิบมาใส่ในหนัง แต่เราก็ต้องจัดวางเพื่อไม่ให้มันสะเปะสะปะ ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งนี้ที่เราชอบอาจจะไม่ได้เหมาะกับการอยู่ในหนังเรื่องนี้ เราก็ตัดออก แต่ทุกสิ่งที่อยู่ในหนังมันก็จะเป็นสิ่งที่เราชอบทั้งสิ้น มันเลยเป็นอะไรที่มิกซ์ความคอนทราสต์แบบนี้

 

ในผลงานของคุณส่วนใหญ่จะวางที่ทางของเพศทางเลือกอย่างไรบ้าง

จริงๆ ที่เราเลือกทำหนังเพศทางเลือกเพราะว่าเราเข้าใจตัวละครนี้ได้ดี เป็นเหตุผลที่ทำให้เราทำได้ เวลาเราทำ ตัวละครหลักของเราบางส่วนคือตัวเราเอง เพราะฉะนั้นมันเลยเป็นเพศทางเลือก เราไม่ได้คิดว่าจะวางโพสิชันไหน แค่เป็นมนุษย์ปกติ อย่างหนังเรื่อง อนธการ ตอนไปฉายตามเทศกาลเมืองนอก มันก็แปลกนะ มันเป็นหนัง LGBT ก็จริง แต่หนังกลับไปฉายในเทศกาลทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นเทศกาลหนัง LGBT บางเทศกาลฉายในเทศกาลหนังผีด้วยซ้ำ เพราะมันมีความสยองขวัญปนกับโรแมนติก แต่ว่าไม่ค่อยได้ฉายในเทศกาล LGBT เท่าไร เหตุเพราะว่าตอนท้ายตัวละครเกย์มันฆ่าพ่อฆ่าแม่ ก่ออาชญากรรม เลยคิดว่าเทศกาลที่เป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนเขาอาจไม่ชอบหนังเรื่องนี้ เพราะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับเกย์หรือเปล่า

 

แต่สำหรับเราเราคิดว่าเกย์มีดี มีชั่ว เราไม่ได้ทำหนังมาเพื่อบอกว่าเกย์ต้องดี ต้องเลิศ ต้องเป็นคนที่คนอื่นต้องยอมรับ เราคิดแค่ว่าตัวละครแบบนี้คือตัวละครปกติ เพียงแต่เขามีเพศสภาพเป็นเกย์บ้าง กะเทยบ้าง เท่านั้นเอง

 

 

แล้วทำไมหนังที่คุณทำมักเริ่มต้นด้วยความละเมียดละไม แต่สุดท้ายจบด้วยความดาร์กหลอน

เป็นสไตล์เรามั้ง เราชอบทั้งคู่ เราชอบสิ่งที่ดูสวยงาม แต่ก็ชอบสิ่งที่ดูน่ากลัว มันเป็นรสนิยมแบบนี้ อย่าง อนธการ มันสตาร์ทมาด้วยความอ่อนหวานนุ่มนวล แล้วจบลงด้วยความตายและดาร์ก อย่าง มะลิลา นี่ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่หนังผีเหมือน อนธการ แต่มันเป็นหนังชีวิตดราม่า แต่มันก็ยังแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่สวยงามมากๆ อย่างเช่น ดอกไม้บายศรีต่างๆ แต่หนังก็มีอีกส่วนที่แสดงถึงความน่าเกลียดน่ากลัวมากๆ อยู่ ซึ่งต้องไปดูในโรง

 

แรงบันดาลใจในการทำหนังเรื่อง มะลิลา คืออะไร

เราสนใจศิลปะการทำบายศรีดอกไม้อยู่แล้ว เพราะเรามองว่าเป็นศิลปะที่ค่อนข้างถ่อมตน ถ้าคนไม่ได้สนใจมันจะมองเลยผ่านไป เช่น งานศิลปะพวกนี้ไปอยู่ในงานพระเมรุมาศ คนก็จะมองเห็นพระเมรุ รูปปั้นสัตว์ ภูมิสถาปัตย์ ราชรถลวดลายทอง แต่งานดอกไม้ ต่อให้วันงานจริงมองก็อาจผ่านเลยไป เรามองว่ามันเป็นศิลปะที่ humble คือคนทำทำแทบตายเลยนะ คิดดูสิว่ามันเป็นงานที่ยากมาก แล้วต้องระดมทำเท่าไร เพราะมันต้องทำเดี๋ยวนั้น มันทำเตรียมไว้เป็นเดือนไม่ได้ ต้องทำ ณ วันนั้น เพราะมันจะเหี่ยว และพอทำเสร็จมันสวยมากถ้าเราดูในรายละเอียด เราจะรู้สึกประณีตงดงามมาก แต่คนก็จะไม่ค่อยนึกถึง เรารู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ humble และอยากทำตรงนี้ออกมาให้เห็น เราเลยไปเรียน ซึ่งการแสวงหาการเรียนการทำดอกไม้แบบนี้มันยากเหมือนกัน เพราะว่าเขามีสอนอยู่ในวิทยาลัย ในวังหญิง ทีนี้วิทยาลัยในวังหญิงเขาไม่ให้ผู้ชายเข้า เพราะมันอยู่ในวัง หรือเขตพระราชฐานชั้นใน เลยมีแต่ผู้หญิงที่ไปเรียน เราเลยไปหาน้องผู้ชายคนหนึ่งที่เรียนอยู่ในวังชาย ซึ่งเขาสนใจงานทำดอกไม้และไปเรียนต่อจากวังหญิงอีกทีหนึ่ง ซึ่งวังชายเราเข้าได้ ศิลปะในวังชายจะมีการเรียนทำดอกไม้เครื่องสดเหมือนกัน แต่เป็นเรื่องการแทงหยวก เพราะผู้หญิงแทงหยวกไม่ได้ เราเรียนร้อยมาลัย ทำบายศรี ทุกสิ่งทุกอย่างกับน้องคนนี้ เราอยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรในแง่มุมที่นำเสนอคือมันสวยถูกแล้ว เราไปเรียนแล้วรู้สึกว่าบายศรีหรืองานเครื่องสดดอกไม้มันสวยแน่ล่ะ แต่สิ่งที่ประทับใจเรามากที่สุดไม่ใช่ความสวยหรอก แต่เป็นความ absurd ของมัน คือเดี๋ยวมันก็เหี่ยวแล้ว ทำทำไม มันเลยเกิดความรู้สึกว่ามันเป็นศิลปะที่ดูเหมือนไร้สาระหรือเปล่า หรืออีกแง่หนึ่งถ้าไร้สาระแล้วคุณค่ามันอยู่ที่ไหน มันทำให้เรานึกถึงชีวิต ความรัก และทุกๆ อย่างที่มันมีความย้อนแย้งบางอย่างอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ซึ่งงานศิลปะตัวนี้มันนำเสนอตรงนี้ออกมาได้

 

 

การเล่าเรื่องของ มะลิลา จะดูง่ายขึ้นไหม

อย่าง อนธการ คนบอกว่าดูยากมากเลย ดูไม่รู้เรื่อง ก็แน่ล่ะเพราะฉันตั้งใจให้มันงง ชั่วมาก ก็มันเป็นหนังอย่างนั้น มันพูดถึงความรุนแรงในครอบครัว เอาข่าวอาชญากรรมที่เด็กฆ่าพ่อแม่มาทำ แต่เราไม่ต้องการตัดสินกับเด็กเหล่านั้นว่าถูกหรือผิด หรือเหตุการณ์จริงๆ มันเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นห้วงความฝันผสมความจริง คือคนดูไปเรื่อยๆ จะเริ่มแยกไม่ออกว่าตรงไหนฝัน ตรงไหนจริง หรือในความฝันนั้นก็คงมีเรื่องจริง เหมือนเราฝันน่ะ ตอนเราฝัน เราเจอเหตุการณ์หนึ่งแล้วเก็บไปฝันมันก็สับสนปนเปมั่วซั่ว สลับหัวกลับหางกันบ้าง แต่มันก็มีความจริงบางอย่างที่อยู่ในนั้น ถ้าเราดูภาพความฝัน เราอาจแกะไปถึงความจริงหรือสภาพจิตใจของตัวละครได้ว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ อนธการ เป็นหนังลักษณะนั้น จึงไม่แปลกใจถ้าคนดูบอกว่าทำไมแบบนี้ ทำไมถึงงง

 

แต่สำหรับ มะลิลา ไม่ได้เป็นอย่างนั้น มะลิลา เป็นหนังชีวิต เอาเข้าจริงๆ เรียบง่ายมาก ทุกคนมีส่วนร่วมได้ สามารถเข้าใจได้ง่าย และมีประสบการณ์ร่วมกับมันได้อย่างไม่ยาก เพียงแต่ มะลิลา มีแนวคิดที่ลึกซึ้งในความเห็นของเรา เราคิดว่ามันนำเสนอเรื่องของชีวิต ปรัชญาต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าคนดูดูแล้วจะคิดไปในแง่มุมไหน ซึ่งจากคนที่ได้ดูหนังมา เขาบอกว่าเป็นหนังที่ดูแล้วถ้ามีปมอะไรบางอย่างในชีวิตก็จะหายไป

 

การถ่ายทำหนังที่นักแสดงมีความเป็นชายมากๆ แล้วมาแสดงหนัง LGBT มีความยากง่ายอย่างไรบ้าง

ในกองจะยอมรับในแสดงทั้งคู่มาก อย่าง เวียร์ (ศุกลวัฒน์ คณารศ) เราชื่นชมเขามากในหลายแง่มุม ในฐานะผู้กำกับ เราว่าเวียร์มีความจริงใจในการแสดงมาก เขาจะไม่แสดงในสิ่งที่เขาไม่ได้รู้สึก นั่นเป็นเพราะเราบอกเขาเองว่า ‘ถ้าเธอไม่รู้สึกเธอไม่ต้องแสดงออกมานะ ฉันไม่ต้องการให้ดูเฟก’ แต่เราว่าโดยเนื้อแท้ของเขาจากการแสดงที่เราดูผลงานก่อนหน้านี้ เขามีคุณสมบัติข้อนี้อยู่ คือมีความจริงใจต่อบทบาทการแสดงมาก เราชอบตรงนี้ แล้วเรารู้สึกว่าในบางอย่างตอนเราเขียนบท เราคิดว่าบางฉากความรู้สึกมันสับสนปนเปกันหลายอย่างมาก มันเป็นการแสดงที่ยาก แล้วเราก็ยังไม่รู้ว่าตัวละครจะเป็นอย่างไร แต่เวียร์ทำโมเมนต์นั้นได้ดีในฉากที่สำคัญ มันทำให้เรารู้สึกว่าอันนี้มันมากกว่าที่เราคิดไว้

 

ในมุมของการทำงาน คือปกติการทำหนังอินดี้เราจะเป็นหลัก ผู้กำกับต้องเป็นหลักให้กองอยู่ได้ ยิ่งกองอย่าง มะลิลา นี่ลำบากมาก เพราะมันถ่ายอยู่ในป่า แล้วเราก็ต้องการโลเคชันที่ไม่ใช่ป่าไว้ถ่ายหนังที่กองถ่ายทั่วไปเขาไปอยู่แล้ว มีห้องน้ำอะไรสบาย ไม่รก ไม่อันตรายอะไรมาก แต่อย่าง มะลิลา เราถ่ายในป่าที่คนยังไม่เคยถ่าย โลเคชันหนึ่งเป็นป่าที่คนนำศพมาทิ้ง มันน่ากลัว คือก่อนหน้านี้ประมาณ 1 อาทิตย์ มีข่าวว่ามีคนเอาเด็กขี้ยามัดใส่ถุงมาโยนทิ้งเหว ซึ่งเราต้องการโลเคชันตรงนั้น เพราะมันเป็นเหวลงไป แต่ทุกคนกลัว ที่พูดมาทั้งหมดเพื่อให้เห็นว่าผู้กำกับต้องเป็นคนที่เข้มแข็งพอสมควรที่จะทำให้กองไม่ระส่ำระสายกันไป ไม่ใช่เฉพาะเรื่องผีอย่างเดียว ทำกองถ่ายมันมีปัญหาหมด แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ทีมงานมีกำลังใจในการถ่าย สิ่งที่ยากลำบากสำเร็จลุล่วงไปได้คือนักแสดง โดยเฉพาะเวียร์คือคนที่เป็นหลักอีกคนหนึ่ง เราพูดกับเวียร์เลยว่า ‘ถ้าเกิดเธอมาเล่นหนังเรื่องนี้แล้ว เธอต้องเป็นหลักให้กับทีมงาน เพราะถ้าเกิดเธอทำไม่ professional ไม่ได้ให้ความสนใจทุ่มเทเท่ากับทีมงานที่ทุ่มให้ งานมันจะดรอปลง’ ซึ่งเราคิดว่าเวียร์เขาทุ่มมาก อย่างฉากที่ถ่ายอยู่ในเหวมันต้องเป็นฉากฝนตก ที่เราเลือกเหวเพราะเราต้องเอารถน้ำดับเพลิงไปไว้ข้างบนเราต้องการแรงดันน้ำมหาศาลเหมือนฝนตกหนัก

 

วันนั้นฟ้าฝนเป็นใจ ตกอยู่ 3-4 ชั่วโมงกลางป่า โดยมากนักแสดงคนอื่นเขาก็จะขึ้นไปพักหรือไปหลบในเต็นท์ แต่ขณะเดียวกันทีมไฟเขาจะทิ้งไฟหรืออุปกรณ์ไว้ไม่ได้ ตัวนักแสดงจริงๆ ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ตรงนั้นก็ได้ แต่เวียร์เขาก็นั่งอยู่ตรงนั้น

 

จริงๆ นักแสดงทั้งคู่เขาทุ่มหมด อย่างโอ (อนุชิต สพันธุ์พงษ์) เขามีสปิริตนักแสดงที่สูงมาก มันมีซีนที่โหดกับการถ่ายทำ ต้องคลุกกับของเหม็นเน่าหนอน ทรมานทรกรรมมาก แล้วโอเขาต้องลดน้ำหนักเกือบ 10 กิโลกรัม ซึ่งเขาเป็นคนน้ำหนักลงยากอยู่แล้ว แล้วเขาจะเอาลงให้ได้ ซึ่งเขาก็ทุ่มและทำให้คนนับถือในสปิริตของเขา ทำให้เวลาทีมงานทำอะไรหรือทุ่มเทลงไปในหนังมันไม่สูญเปล่า เพราะมันส่งให้นักแสดงได้ shine ส่งให้หนังได้มีพลัง

 

 

การที่เป็นคนไทยแล้วทำหนังสื่อสารให้คนต่างชาติเข้าใจและยอมรับ ยากง่ายขนาดไหน

โอย เป็นลม ฉันอยากจะกรี๊ดมากในข้อนี้ อย่างหนัง มะลิลา นี่ปวดตับมาก คือมันเป็นเรื่องวัฒนธรรมไทยมาก มันพูดเรื่องบายศรี ศาสนาพุทธ ไม่ใช่ต่างชาติมาดูแล้วดอกไม้นี้ก็ไม่เข้าใจ ศาสนาพุทธก็ไม่เข้าใจ ความสัมพันธ์เกย์นี่ก็งงๆ ยากจัง ก็ไม่รู้เรื่องกันไปใหญ่ พังกันไปให้หมด แต่ฝรั่งเขาบอกว่าไม่เข้าใจและไม่รู้เรื่องบายศรี ศาสนาพุทธมาก่อน แต่เขาเข้าใจหนังเรา มันก็โอเค ถือว่ารอดแล้ว คือตอนแรกคิดว่าถ้าเขาไม่เข้าใจเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเขาวอล์กเอาต์ ดอกไม้อะไรไม่รู้เรื่องไปดีกว่า

 

จริงๆ แล้วปัญหาที่หนังไทยก้าวไม่ถึงระดับต่างประเทศมากนักเป็นเพราะอะไร

มันพูดยาก เพราะมีปัจจัยที่ซับซ้อนหลายอย่างที่จะทำให้หนังก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์ได้หรือไม่มีในแง่มุมของคุณภาพหนังด้วยว่าเป็นอย่างไร ในเมืองไทยเองสเกลหนังก็เล็กมาก ในบางทีหนังบางเรื่องทำออกมาแล้วเป็นหนังที่ดีแต่ไม่มี production value เพราะการที่หนังจะไปขายได้ตามต่างประเทศ หนังต้องมี production value คือไม่ใช่ว่าคนดูดูแล้วเสียดายสตางค์จังเลย แต่บางครั้งหนังที่มี production value ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังดี หรือหนังที่ดีอาจไม่มี production value ก็ได้ มันมีข้อจำกัดข้อนี้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งสไตล์ของผู้กำกับบางคนก็พูดได้ยาก เพราะผู้กำกับที่เป็นอินดี้ทุกคนเขาต้องทำหนังที่เป็นสไตล์ของเขาเองอยู่แล้ว บางอันมันก็ไปในระดับสากลได้ บางเรื่องไปได้ประมาณหนึ่ง แต่ก็มีผู้กำกับไทยหลายคนที่ไปได้ รุ่นใหญ่อย่างเช่น พี่อุ๋ย (นนทรีย์ นิมิบุตร), พี่เป็นเอก (เป็นเอก รัตนเรือง), พี่เจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล), พี่วิศิษฐ์ (วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง) รุ่นต่อมาก็เช่นพี่จุ๊บ (อาทิตย์ อัสสรัตน์) พี่ใหม่ ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ไม่ใช่เฉพาะแค่เรา

 

หนังของคุณไปฉายกี่เทศกาลแล้ว

อย่าง อนธการ ไปหลายที่ทั่วโลก เพราะหนังเรื่องนี้ฉายรอบปฐมทัศน์ที่เทศกาลหนังเบอร์ลิน เริ่มที่ยุโรป มาเอเชีย แล้วค่อยมาอเมริกา แต่ มะลิลา จะเปิดที่เอเชียก่อนแล้วค่อยไปที่ยุโรป

 

ตอนไปเบอร์ลินครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง

จริงๆ เคยไปเบอร์ลินก่อนหน้านี้แล้ว เพราะหนังสั้นเรื่อง Erotic Fragments เคยไปประกวดที่เบอร์ลิน พอหนังยาวเรื่องแรกอย่าง อนธการ ก็ไปฉายที่เบอร์ลิน ตอนนั้นมันก็ดีใจมากนะ แต่มันก็วุ่นมากเป็นธรรมดาของการไปเทศกาลสำหรับเวิลด์พรีเมียร์ เราไม่มีเวลามาดีใจกันมากมายหรอกค่ะ ทุกอย่างมันจะยุ่งไปหมด เรามีเวลาดีใจแค่ชั่วโมงหนึ่ง หลังจากนั้นเทศกาลเขาจะตามแล้วว่า material ส่งอย่างไร คุณยังไม่ได้ DCP ที่จะฉายให้เสร็จ ก็ต้องไปดูสี แก้สี ดูเสียง แก้ทุกอย่าง ต้องมีโปสเตอร์ ก็ต้องออกแบบไป ต้องส่ง material อันนี้ ต้องตัด exserv เสียงยุ่งเยอะไปหมด เหมือน มะนิลา ไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานก็วุ่นมากเหมือนกัน ต้องเตรียมนู่นนี่ พอไปถึงเทศกาลปูซานฉันต้องไปเดินพรมแดงสวยๆ ไฮโซ มันไม่ใช่เลย มันเหมือนเราทำงานอยู่ตลอดเวลา ตายแล้วจะทำอย่างไร ต้องส่งข่าวให้สื่ออย่างไร ต้องสัมภาษณ์อันนี้ ต้องเตรียมรอบพรีเมียร์คนจะถามว่าอย่างไร มันจะยุ่งและมันจะเหนื่อย

 

ได้รางวัลจากเทศกาลหนังปูซานมาด้วย รู้สึกอย่างไร

วินาทีที่รู้ว่าได้รางวัลก็จะเป็นอย่างนี้ มันก็แบบ ได้เหรอ แต่ความรู้สึกจริงๆ พอเรามาลองพิจารณาดูแล้ว มันรู้สึกเป็นเกียรติมากนะ ตัวชื่อรางวัลคือรางวัล Kim Ji-Seok Awards เขาตั้งรางวัลนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่คุณ Kim Ji-Seok ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังปูซาน แล้วเขาเป็นคนที่ทุ่มเทที่จะสนับสนุนหนังเอเชีย ผู้กำกับเอเชียหน้าใหม่ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา อย่างเช่น หนังพี่อุ๋ย พี่เป็นเอก ฯลฯ เขานำหนังเหล่านี้ไปฉายที่ปูซานเพื่อออกสู่ตลาดโลก รวมทั้งผู้กำกับใหม่ๆ ทั้งของไทยและหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งเขาเป็นคนที่ได้รับการเคารพมากในวงการ แต่ก็เสียชีวิตไปเมื่อต้นปี เพราะฉะนั้นรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเขา และเราได้รางวัลนี้ในปีแรกมันก็รู้สึกว่าเป็นเกียรติมาก

 

แล้วรู้สึกอย่างไรที่หนังเป็นหนัง LGBT และได้รับรางวัลนี้ด้วย

เรารู้ว่ามันเป็นหนัง LGBT เรารู้สึกว่าตัวละครเหล่านี้คือมนุษย์ปุถุชนธรรมดา มันคือหนังเรื่องหนึ่งที่ได้รางวัล เรารู้สึกว่าเราดีใจกับทีมงาน นักแสดงมากกว่าที่เขาทุ่มเทขนาดนี้ อย่างน้อยก็มีอะไรให้เขาได้ชื่นใจ แล้วหนังมันก็สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ แล้วก็มีคนที่อยากดูหนังเรื่องนี้มากขึ้น ได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น มันเป็นเรื่องที่ดี

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest อนุชา บุญยวรรธนะ

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

​Photographer เตชนันท์ จิรโชติรวี

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Music Westonemusic.com

The post เบื้องหลังและชีวิตของผู้กำกับหนัง มะลิลา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยมาสคอต: ถอดตัวตนภายใต้หน้ากากผู้ให้ความสุขที่กลับถูกเติมเต็มเสียเอง https://thestandard.co/podcast/toeytey14/ Thu, 07 Dec 2017 05:29:27 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=53273

อีกหนึ่งอาชีพที่เทยก็สามารถทำได้โดยหลายคนอาจจะนึกไม่ถึง […]

The post เทยมาสคอต: ถอดตัวตนภายใต้หน้ากากผู้ให้ความสุขที่กลับถูกเติมเต็มเสียเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

อีกหนึ่งอาชีพที่เทยก็สามารถทำได้โดยหลายคนอาจจะนึกไม่ถึงคือการสวมมาสคอตเป็นตัวการ์ตูนให้ความสุขกับเด็กๆ อย่างมิกซ์ -เทยเท่ในเอพิโสดนี้ที่ว่างงานจนซึมเศร้าและคิดอยากหาอาชีพที่ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าตัวตนเขาคือใคร ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายที่จะทำอะไรก็ได้ภายใต้หน้ากาก แต่กลับไม่ใช่อย่างนั้น เพราะมีทั้งคาแรกเตอร์บังคับให้ต้องศึกษา ชุดที่หนัก และสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้


และในขณะที่มาสคอตดูเป็นอาชีพที่สร้างความสุขให้คนอื่น แต่เธอเองกลับบอกว่า แท้จริงแล้วความสุขนั้นก็ย้อนกลับมาเติมเต็มให้ตัวเธอด้วยเช่นกัน

 


 

ตั้งแต่เด็กเคยมีความฝันอยากจะทำอะไรบ้าง

ตั้งแต่เด็กเรามีความฝันหลายอย่าง ทั้งอยากเป็นแมสเซนเจอร์ คนขับแท็กซี่ และเป็นมาสคอต ก่อนหน้านี้ฝันกว้างไกลมากกว่านี้ เลยคิดว่าเอาใกล้ๆ ก่อน

 

ทำไมอยากเป็น 3 อย่างนั้น

อยากท่องเที่ยว เพราะเราเกิดปทุมธานี เป็นชานเมือง เราอยากอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้ชีวิตแบบคนกรุง เลยเริ่มที่อยากเป็นแมสเซนเจอร์ แต่พอได้เป็นจริงๆ ครั้งแรกคือเป็นงานส่งเอกสารตามมหาวิทยาลัย เราต้องไปรอผู้ใหญ่เซ็น สรุปว่าทั้งชีวิตเราต้องนั่งรอหน้าห้อง ไม่ได้ท่องเที่ยวขับมอเตอร์ไซค์อย่างที่คิดไว้

 

ประสบการณ์ระหว่างการเป็นแมสเซนเจอร์ต้องเจอกับอะไรบ้าง

จริงๆ เราเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์ไม่แข็ง เราเลยค่อยๆ ไต่ไปตามความสามารถที่มี ไม่ได้ฉวัดเฉวียนเป็นเทยแว้นอะไรเลย และด้วยความที่ต้องนั่งรอนานๆ เทคโนโลยีก็ยังไม่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้ที่นั่งเล่นมือถือรอได้ ตอนนั้นมันไม่มีอะไรทำเลย บางทีเราต้องรอถึงเย็น

 

เป็นแมสเซนเจอร์อยู่นานแค่ไหน

ประมาณ 2-3 เดือนแล้วตัดสินใจเลิกเลย แล้วหลังจากนั้นก็อยู่บ้านเฉยๆ จนพ่อมาบอกว่าไม่ไหวแล้ว ต้องหาอะไรทำ เรารู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างแล้วแหละ แล้วความฝันเราเพิ่งเก็บไปได้อย่างเดียวเอง เหลืออีก 2 อย่างยังไม่ได้ทำเลย ทีนี้จังหวะดีมาก เพราะมีมาสคอตมาให้ออดิชัน เราเลยไป แล้วได้ด้วย แต่ปรากฏว่าวันงานเราประสบอุบัติเหตุ ไปไม่ได้

 

ทำไมถึงอยากเป็นมาสคอต เราชอบตัวการ์ตูนตั้งแต่เด็กแล้วหรือเปล่า

เหมือนเด็กทั่วไปที่ชอบดู ชอบอ่าน แต่ไม่ได้คิดว่าเราจะต้องทำอะไร ไม่มีความรู้เลย นึกว่าแค่ใส่ชุดแล้วเล่นกับเด็กไป


ตอนนั้นพอเราเริ่มอยู่บนคนเดียว เราเริ่มหงอย ฝ่อ ไปเจอใครไม่ได้ พอเจอใครแล้วมันไม่มั่นใจ เจอที่กว้างแล้วเริ่มขาสั่น มันแย่มาก วันไหนแม่ไม่ส่งข้าวมาให้แล้วต้องออกไปซื้อข้าวเองจะถึงกับเครียด พอพ่อมาบอกให้เราทำอะไรสักอย่างเลยกลับมาคิดว่ามาสคอตมันเป็นอาชีพที่ไม่ต้องเจอใคร ไม่เห็นหน้าเราด้วย มันเป็นอาชีพที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นเรา นี่แหละ ตอนนี้เป็นจังหวะที่ดีที่สุดแล้ว

เลยกลับมาคิดว่ามาสคอตมันเป็นอาชีพที่ไม่ต้องเจอใคร ไม่เห็นหน้าเราด้วย มันเป็นอาชีพที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นเรา นี่แหละ ตอนนี้เป็นจังหวะที่ดีที่สุดแล้ว


แล้วก็ได้เข้ามาแคสต์อีกครั้งหลังจากประสบอุบัติเหตุ เจ้าเดิมเขาติดต่อกลับมาอีก เพราะอยากให้เรากลับไปใส่ เลยได้โอกาสใส่ทำงานจริงๆ ครั้งแรก

 

ครั้งแรกที่ใส่ชุดมาสคอตเป็นอย่างไรบ้าง

ครั้งแรกชุดมันใส่ยาก ขยับยาก ด้วยความที่มันเป็นหุ่นยนต์ เราจะพยายามอิงให้ได้ว่ามันคือหุ่นยนต์ที่มีบุคลิกลักษณะแบบนี้ พอเริ่มอยู่ได้สักรอบสองรอบ พอรอบ 3 เด็กๆ เริ่มมาเยอะ ชวนกันถ่ายรูป เราก็รู้สึกแฮปปี้ เพราะมีเด็กๆ รุมล้อม

 

เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะว่าคนที่จะใส่มาสคอตเขาต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ต้องมีใจ ใจต้องได้ก่อน มันพูดไม่ยาก จะเอาทีมงานมาใส่ก็ได้ จริงๆ มันต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเอาคนที่เป็นมาสคอตมาใส่มาสคอต แทนที่จะเอาทีมงานมาใส่ ค่าแรงก็ไม่เท่ากัน อย่างมาสคอตบางตัวคือการเล่นละคร ถ้าเป็นตัวนี้ต้องเป็นคนนี้เล่นเท่านั้น จะเอาใครๆ มาเล่นไม่ได้

 

มีการแคสติ้งไหม

มี ที่โดนแคสต์มาเขาจะถามว่า ถ้าเราใส่ตัวผู้หญิง เราจะทำอะไรบ้าง เราต้องทำท่าสดเลยโดยไม่ต้องใส่ชุด บางที่จะให้เต้น อาจจะเอาแค่เข้าจังหวะ

 

แล้วเราต้องทำการบ้านก่อนไปแคสต์ไหมว่าถ้าเป็นตัวนี้จะต้องทำอะไรบ้าง

ถ้าเป็นคาแรกเตอร์ที่มีอยู่แล้ว เราจะนั่งดูแต่ตัวนี้วนไปเรื่อยๆ จับท่าที่เขาทำบ่อยๆ ลักษณะนิสัย ถ้าเขาเจอเหตุการณ์แบบนี้จะทำแบบไหน พอแคสต์ผ่าน ถึงวันงานเขาจะบอกว่าให้เราแสดงรอบไหนบ้าง กี่โมงถึงกี่โมง เราก็รับผิดชอบตัวเอง ใส่แล้วก็ออกไป เราก็ทำท่าทำทางตามเพลง มีเพลงให้เต้นเราก็เต้นสุด เราเองไม่มีพื้นฐานการเต้นเลย แต่เก็บประสบการณ์กันไป ถ้ามีซ้อมเต้นเราก็เก็บการนับแปด เก็บท่าประยุกต์มาเป็นเรา

 

มีตัวไหนที่ใส่แล้วประทับใจที่สุด

ทุกตัวมันประทับใจหมด เหตุการณ์มันไม่เหมือนกัน แต่ถ้าตัวที่ชอบที่สุดน่าจะเป็นโพโรโระ เป็นเพนกวินที่เป็นการ์ตูนของเกาหลี เพราะตัวละครนี้ถอดแบบมาจากประธานาธิบดีของเขา พอได้ใส่เราก็รู้สึกเป็นเกียรติ ต้องทำให้ไม่เสียหน้าเมื่อมาอยู่ไทย

 

พอได้ใส่มาสคอตออกไป เรามั่นใจมากขึ้นไหม

ปัจจุบันนี้มันไม่ช่วยแล้ว (หัวเราะ) เหมือนตาชั่งมันเท่ากันแล้ว จะใส่หรือไม่ใส่เราก็ทำแบบนี้ได้ จะใส่หรือไม่ใส่เราก็โบกมือให้เด็กได้

 

มีเหตุการณ์อะไรบ้างไหมที่มาสคอตตลกไม่ออก

เราคบกับแฟนตั้งแต่อายุ 16-17 คบกับแฟนคนหนึ่ง 7 ปีแล้วเลิกกัน แต่ต้องอยู่ด้วยกัน เพราะไปไหนไม่รอด มันแยกกันอยู่ไม่ได้ บ้านก็ต้องเช่าด้วยกัน ของใช้ก็ซื้อมาใช้ด้วยกันตลอด 7 ปี มันแยกยาก เราไม่ได้มีสินสมรสแบ่งกันคนละครึ่งเหมือนชายหญิงทั่วไป เลยต้องทนอยู่กันไป แล้วเราคือคนบอกเลิกให้ต่างคนต่างไปลองคบคนอื่น ถ้ามันไม่ใช่ค่อยกลับมาคุยกันอีกที พอแยกกันจริงๆ เขาไปเจอคนที่ใช่ แต่เราแย่มาก ทุกวันต้องอยู่กับเขา ต้องเห็นหน้าเขา เลยตัดสินใจไปทำงานต่างจังหวัดด้วยการรับใส่มาสคอตผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่งแล้วไปโชว์เป็นละครเวที ใส่เป็นตัวหมี จากที่เลิกกันผ่านไป 3 ปี เขาก็ไปมีความสุขนานแล้ว ซึ่งการไปอยู่ต่างจังหวัดครั้งนั้นคือครั้งแรกที่แยกกันอยู่จริงๆ


ก่อนโชว์เราไปเปิดฟังเพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน เนื้อหาเพลงนี่มันเราชัดๆ ร้องไห้ใหญ่ ทีมงานมาถามว่าเราโอเคไหม เราบอกว่าโอเค เลยใส่ชุดออกไป แต่ข้างในยังร้องไม่หยุด พอเล่นเสร็จแล้วลงไปข้างล่างอยู่กับเด็กๆ เด็กคงน่าจะเห็นว่ามีน้ำอะไรซึมๆ ออกมา

 

น้องคนหนึ่งบอกว่า “เหนื่อยเหรอ ไม่เป็นไรนะ หนูอยู่ข้างๆ” ตอนนั้นเรารู้สึกดีมาก จากที่เราใส่ชุดให้ความสนุกเขามาตลอด มันได้รับกลับมา

 

จริงๆ ทุกครั้งที่ใส่ก็ได้รับกลับมาตลอด ทุกครั้งที่คนยิ้มกลับมาให้เรา เขาไม่รู้หรอกว่าเราเป็นใคร เพราะในชุดมันคืออีกคนหนึ่ง

 

มีรายละเอียดของชุดหรืออื่นๆ ที่คนทั่วไปไม่รู้ว่าจริงๆ คนใส่มาสคอตต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ไหม

คนส่วนใหญ่คิดว่าการใส่มาสคอตคือแค่ใส่ชุดแล้วออกมาเต้น มันมองได้หลายแบบ อยู่ที่ลูกค้าด้วย บางทีลูกค้าอยากจะได้แบบเรียกลูกค้านะ เต้นดึงความสนใจนะ อันนี้เป็นการแสดงละคร ต้องอินคาแรกเตอร์นะ อยู่ที่เขาสร้างโจทย์มา


ส่วนชุดจริงๆ คือร้อนมาก แล้วเราเป็นสายฮาร์ดคอร์ด้วย ทวีความโหดของชุดขึ้นเรื่อยๆ จากชุดเบาๆ 1-2 กิโลกรัม มาเป็น 10 กิโลกรัม แล้วไม่หยุดอยู่แค่นั้น ไปถึง 30-40 กิโลกรัมก็มี เช่น

 

ชุดไดโนเสาร์ของสวนสนุกที่เพิ่งเปิด อันนี้คือต้องเหมือนเลย ต้องไปนั่งดูสารคดีว่ามันเดินอย่างไร กินอย่างไร ขยับอย่างไร กะพริบตาอย่างไร

 

ยากไหม

แรกๆ ก็ยาก เหนื่อย ปกติใส่มาสคอตไม่เคยวอร์มเลย แต่ใส่ชุดนี้ต้องวอร์มก่อนใส่ตลอด เหมือนวอร์มก่อนแสดงกายกรรมเลย เราต้องวิ่งรอบสวนสาธารณะข้างๆ ก่อนเข้างานตลอด ไม่อย่างนั้นไม่ไหวจริงๆ ตอนนั้นเคยคิดด้วยซ้ำว่าจะเลิกดีไหม แก่แล้ว เราจะต้องใส่อย่างนี้เหรอ แต่หลังจากออกจากที่นั่นก็ไปใส่ชุดมาสคอตธรรมดา ปรากฏว่าชิลล์ไปเลย 20 กิโลกรัมนี่เบามาก เพราะเจอหนักกว่านี้มาแล้ว เลยกลายเป็นดีนะ เป็นบทเรียนบทหนึ่งให้เรารู้ว่าไม่มีอะไรที่หนักที่สุด มันต้องมีหนักกว่านี้


มันยังไม่จบที่ตรงนี้นะ ไดโนเสาร์ว่าหนักแล้ว ปัจจุบันเราใส่คิงคอง ยากยิ่งกว่า มันหนักแค่ 20 กิโลกรัม แต่ชุดไม่มีที่ให้หายใจเลย ใส่ไป 5 นาทีจะรู้สึกเหมือนคนจมน้ำ เราต้องฝึกระบบการหายใจใหม่ให้มันเป็นจังหวะ หายใจหอบๆ ไม่ได้เลย เราต้องไม่ลน ต้องมีสติ

 

มีชุดไหนที่เรายังไม่ได้ใส่แล้วอยากใส่

ที่อยากใส่เลยคือมิกกี้เมาส์ของดิสนีย์แลนด์ มันเหมือนจุดสูงสุดของอาชีพแล้ว เราเห็นในคลิป ในโชว์ เขาใส่เนียนมาก จังหวะการหายใจ การพูด การขยับตัวคือสุดยอดมาก

 

มีข้อจำกัดสำหรับคนที่ใส่มาสคอตบ้างไหม

ความเตี้ยไม่ใช่อุปสรรคเลย เพราะมาสคอตบางตัวต้องเล็ก ปิกาจู 155 เซนติเมตร หรือน้ำแข็งไสไอซ์มอนสเตอร์ 150 เซนติเมตร

 

แล้วความเป็นเพศทางเลือกของเรามันช่วยหรือมีอุปสรรคในการทำงานบ้างไหม

แรกๆ เหมือนเป็นอุปสรรค เพราะบางโชว์ที่มีแต่ผู้ชาย เขาก็จะมองว่าเราจะไหวไหม เราเลยต้องมีอะไรมากกว่าเขาอีกขั้นเพื่อให้เขายอมรับให้ได้ อย่างตอนที่นัดบรีฟแล้วเห็นชุดกัน ทุกคนก็โอ้โห จะใส่กันไหวเหรอ หน้าตาแตกตื่น เราเลยบอกว่า มา! ขอลองเลยคนแรก แล้วเราก็จะทำให้เห็นเลยว่ามันทำได้ พอคนที่ 2 ที่เขาเป็นผู้ชายแท้ๆ มาใส่ ปรากฏว่าเขาไม่ไหว เพราะมันหนักมาก แต่พอเขาเห็นว่าเราทำได้ เขาก็เลยรู้สึกว่าต้องทำให้ได้

 

คิดว่าจะยึดอาชีพมาสคอตไปอีกนานไหม เพราะยังมีความฝันอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำ

หลังจากเราใส่มาสคอตมาระยะหนึ่งก็ออกรถ เราเลยไปขับอูเบอร์เพื่อเติมเต็มความฝันการเป็นแท็กซี่ ใช่ เราต้องทำความฝันให้ครบ เราชอบนะ มันได้เจอคนเยอะ แล้วลูกค้าอูเบอร์หลายคนจะชวนเราคุย มีทัศนคติที่แตกต่างกัน บางคนเขาก็สอนเราเรื่องการใช้ชีวิต บางคนก็สอนเราเรื่องการใช้เงิน บางคนก็เมาท์ที่ทำงานให้ฟัง

 

นอกจากความฝันที่พูดมาแล้ว อยากทำอะไรอีกไหม

ไม่รู้สิ อยากจดทะเบียนสมรส มันควรต้องมี เพราะบางทีชีวิตคู่แบบเรามันเยอะ แล้วมันไม่มีอะไรรองรับ ด้วยความที่ผู้ใหญ่ เขามองว่าเราคบกันเล่นๆ เดี๋ยวก็เลิกกัน ก็เพราะมีความคิดแบบนี้ มันเลยไม่มีคู่ที่ถาวรให้เห็นจริงๆ สักที เพราะไม่มีอะไรมายืนยัน อย่างน้อยมันก็ยืนยันเราได้ระดับหนึ่ง

 

อยากเปลี่ยนเป็นชายจริงหญิงแท้ไหม

ไม่เลย ไม่อยากเป็นผู้หญิง เพราะถ้าท้องมันดูลำบากและเจ็บปวด แล้วเราก็ไม่อยากเป็นผู้ชาย เพราะเราไม่อยากแต่งงานกับผู้หญิงไง

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest สิทธิโชค กำจรพาณิชย์เจริญ

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Music Westonemusic.com

The post เทยมาสคอต: ถอดตัวตนภายใต้หน้ากากผู้ให้ความสุขที่กลับถูกเติมเต็มเสียเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยธรณีวิทยา: ขุดหิน ขุดทราย ยันวิจัยงาช้าง https://thestandard.co/podcast/toeytey13/ Wed, 29 Nov 2017 17:01:06 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=51609

  ภาพจำของเหล่าเทยกับความสวยๆ งามๆ แทบจะเป็นเรื่อง […]

The post เทยธรณีวิทยา: ขุดหิน ขุดทราย ยันวิจัยงาช้าง appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

ภาพจำของเหล่าเทยกับความสวยๆ งามๆ แทบจะเป็นเรื่องแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะของสวยงามอย่างเพชรนิลจินดา


จักรกริช บุญมี นักวิจัยด้านธรณีวิทยาและอัญมณีวิทยาก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอเรียนจบด้านวิทยาศาสตร์ภาคพื้นพิภพ แต่ที่มากไปกว่านั้น เมื่อเลือกหัวข้อวิจัยปริญญาโท เธอเลือกเก็บฐานข้อมูลด้านแร่ของงาช้างไทยเพื่อนำข้อมูลนี้ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ใช้เปรียบเทียบคืองาช้างไทยหรือไม่ ช่วยอนุรักษ์และลดการซื้อขายงาช้างไทย ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ใช่ ดูเหมือนเธอเป็นเทยโลกสวย แต่เพื่อให้แหล่งแร่และงาช้างไทยอยู่ไปชั่วลูกสืบหลาน เธอยอม

 

ก่อนจะเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ตั้งแต่เด็กคุณสนใจอะไร เล่นขุดดินขุดทรายมาตั้งแต่ตอนนั้นเลยหรือเปล่า

ตอนเด็กๆ ยังไม่มีความสนใจเรื่องหิน ดิน ทรายสักเท่าไร เพราะยังยึดความฝันเดิมคืออยากทำงานอะไรก็ได้เที่ยวกับภาษาอังกฤษ แต่พอดีดันเลือกไปเรียนสายวิทย์-คณิต ก็ต้องเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มันดันไปคลิกกับวิชาทางวิทยาศาสตร์ เราชอบฟิสิกส์ที่สุด เป็นวิชาที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด จริงๆ เคยคิดว่าอยากเป็นวิศวกร แต่วิศวะฯ ผู้ชายเยอะ เดี๋ยวใจแตกแล้วเรียนไม่จบ กลัวอย่างนี้แหละ พอดีเราเป็นตุ๊ดบอบบางตัวเล็กๆ เลยเรียนวิทยาศาสตร์ดีกว่าไหม แต่จะเรียนอะไรที่มันแมตช์กับตัวเรา ถ้าจะเรียนฟิสิกส์อย่างเดียวมันก็น่าจะไม่สนุก เพราะคงจบออกมาหัวฟูเหมือนไอน์สไตน์ นึกสภาพตุ๊ดหัวฟูเดินอยู่กลางถนน มันคงเป็นภาพที่ไม่น่าดู ถ้าจะเป็นนักเคมี ทำการทดลองแล้วสารเคมีระเบิดใส่ผม ผมหายหมดทำยังไง เรียนชีววิทยา ถ้าเกิดจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคเข้าร่างกาย เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมามันคงไม่โอเค เอาจริงๆ มโนมาก


ทีนี้ก็เลยมีความรู้สึกว่าสาขาธรณีวิทยามันน่าสนใจนะ ซึ่งสมัยนั้น พ.ศ. 2546 ธรณีวิทยามีแค่ไม่กี่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีจุฬาฯ เชียงใหม่ มหิดล แต่ทีนี้บังเอิญเพื่อนในกลุ่มไม่มีใครไปจุฬาฯ เลย ครั้นว่าเราจะไปจุฬาฯ คนเดียวฉายเดี่ยวก็ยังไงๆ อยู่ ก็เลยลองดูซิว่าเกษตรศาสตร์มีอะไรที่มันแมตช์กับเรา ก็เลยไปศึกษาสาขาหนึ่ง ชื่อสาขาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ หรือ Earth Science คล้ายกับธรณีวิทยา แต่แตกต่างกันนิดหนึ่ง เฮ้ย สาขานี้น่าสนใจว่ะ เลยยื่นคะแนนเอ็นทรานซ์อันดับ 1 ไปเลย ปรากฏว่าติดค่ะ ก็เลยเอาที่นี่ มุ่งมั่นสิ่งนี้แหละ

 

แล้วก็ชอบที่นี่เลยใช่ไหม

เข้ามาตอนแรกยังแอบกลัวเหมือนกัน เพราะว่าเราเป็นรุ่นที่ 3 ที่สาขานี้เปิดมา แล้วอาจารย์เขามาเห็นเราตอนวันรับน้อง ทีนี้เขาก็ไปพูดกับรุ่นพี่ว่าเด็กคนนี้เป็นตุ๊ด จะเรียนได้เหรอ เราต้องเข้าป่า ปีนเขา ออกภาคสนามอยู่ตลอด น้องเขาจะไหวเหรอ ลองไปถามซิ ลองไปสืบมาซิ เราก็แอบกังวล ด้วยความที่อาจารย์เขาก็เป็นห่วงเรา

 

คือเป็นตุ๊ดคนเดียวในรุ่นเหรอ

เรื่องจริงค่ะ เป็นคนแรกของสาขาด้วย เรียกว่าเป็นตุ๊ดบุกเบิกก็ว่าได้ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังภาคภูมิใจอยู่ เพราะทุกคนเรียกว่าคุณแม่หมดเลยค่ะ

 

เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะว่าวิทยาศาสตร์พื้นพิภพเรียนอะไรกันบ้าง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าหลักสูตร Earth Science มันจะคล้ายๆ กับธรณีวิทยา มันจะต่างกันตรงที่ธรณีวิทยาจะเรียนเฉพาะหมวดธรณีวิทยาอย่างเดียว พวกหิน ดิน ทราย แมกมา ลาวา รวมถึงแก่นโลกที่เราเรียกว่า Core แต่ทีนี้พอมาเป็น Earth Science เราจะเรียนเกี่ยวกับพวกน้ำทะเล น้ำจืด น้ำใต้ดิน น้ำบนอากาศ ไม่พอค่ะ เราเรียนเกี่ยวกับพวกอุตุนิยมวิทยาด้วย ก็จะเรียนตั้งแต่พื้นดินถึงชั้นบรรยากาศชั้นนอกสุดเลย มันก็เลยดูเหมือนสาขานี้น่าสนใจกว่าธรณีวิทยาเฉยๆ มันมีความหลากหลายมากกว่า

 

ไล่เรียงให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าแต่ละชั้นปีเรียนอะไรกันบ้าง

อย่างปี 1 เทอมแรก นิสิตจะยังไม่มีวิชาสาขา เป็นวิชาพื้นฐานไปก่อน แล้วจะมาเรียนวิชาในสาขาตอนปี 1 เทอม 2 เริ่มด้วยวิชาธรณีพลศาสตร์ หรือ Geodynamics ซึ่งวิชานี้เรียนเกี่ยวกับระบบต่างๆ ในโลก ก็จะอธิบายถึงว่าโลกกำเนิดมาอย่างไร ทฤษฎีการกำเนิดโลกที่เขาสันนิษฐานว่าน่าเชื่อถือหรือเป็นไปได้มีอะไรบ้าง เรียนเกี่ยวกับส่วนประกอบของโลก

 

แล้วต้องลงภาคสนามเมื่อไร

จริงๆ รุ่นเราออกภาคสนามตั้งแต่ปี 1 เทอม 2 เลย อาจารย์จะจัดทริป 2 วัน อาจารย์จะพาไปดูหินต่างๆ ครั้นที่เราเป็นตุ๊ด ออกภาคสนามครั้งแรกเราก็ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวเท่าไร เราก็จัดเต็ม นึกว่าไปเที่ยวภูทับเบิก ใส่เสื้อกันหนาวคลุมอย่างเดียว กางเกงฟิตเปรี๊ยะตึง หมวกชายหาดใบใหญ่ๆ ด้วยความที่เรากลัวดำก็ออกไปอย่างนั้น ก่อนจะขึ้นรถ อาจารย์บอกว่าแต่งอย่างนี้อย่าไปดีกว่าไหมคะ เราก็ตกใจ เราบอกว่าไม่ทราบค่ะ ก็เลยมาแนะนำให้ว่าควรจะแต่งตัวให้ถูกต้อง ให้สะดวกสบาย ทะมัดทะแมง


เราลงพื้นที่ดูชุดหินต่างๆ ตอนนั้นไปที่สระบุรี ดูหินปูน หินแกรนิต ให้เห็นความแตกต่างของหินก่อน ก่อนที่ขึ้นปี 2 จะเรียนวิชาหินอีกทีเพื่อทำความเข้าใจกับมัน เหมือนไปเซอร์เวย์ดูว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราจะได้พบเจอตลอดระยะเวลา 4 ปีที่เรียนมหาวิทยาลัย

 

พอลงพื้นที่แล้วชอบไหม

จริงๆ ตอนแรกก็ยังไม่ชอบเท่าไรนะ เอาจริงๆ เรามีความคิดว่าเราไม่เหมาะกับสาขานี้ด้วย เราเคยยื่นคะแนนจะไปเรียนเภสัชฯ อยากไปเป็นเภสัชตุ๊ด แต่โชคร้ายบังเกิดขึ้นคือคะแนนปีนั้นสูงเกินไป เลยไม่ติด โอเค ในเมื่อเรามาทางนี้แล้ว เราสามารถไปต่อได้ก็ได้

 

แล้วมีจุดเปลี่ยนอะไรไหมที่ทำให้เรารู้สึกว่าให้หันกลับมาชอบมัน

จุดเปลี่ยนสำหรับเราคือมีอาจารย์คนหนึ่ง ท่านชื่อ ผศ.ดร.พรสวาท วัฒนกูล ท่านเป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ท่านจุดประกายตอนเราเรียนปี 1 ท่านพูดอยู่ตลอดเวลาว่าเราเป็นแบบนี้ เราควรจะทำให้คนอื่นเห็นว่าเราทำได้ แล้วเราก็ต้องทำให้ได้ด้วย อย่าให้คนอื่นที่เขามาบอกว่าหนูเป็นตุ๊ด หนูทำไม่ได้แน่เลย อย่าเอาความคิดนี้มาฝังใส่ไว้ในหัวเรา ท่านคอยพูดทีเล่นทีจริงว่าหนูทำได้อยู่แล้ว

 

ต้องทำให้ทุกคนเห็นว่าเราไม่ได้เป็นตุ๊ดกะโหลกกะลาไก่กา สามารถทำอะไรที่ผู้หญิงผู้ชายปกติเขาทำได้ นี่เป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งที่ทำให้เรามองว่าเราสามารถทำอะไรเหมือนผู้หญิงผู้ชายได้นะ

 

ระหว่างการลงพื้นที่มีความประทับใจอะไรเป็นพิเศษไหม

เรื่องที่จำไม่เคยลืมคือตอนอยู่ปี 3 เราลงเรียนซัมเมอร์ก่อนปี 4 หลักสูตรของเรามีการบังคับให้ออกภาคสนามอย่างน้อย 1 ซัมเมอร์ รุ่นเราออกภาคสนามประมาณ 20 วัน แบ่งเป็นกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับผิดชอบพื้นที่ในการศึกษาภาคสนาม กลุ่มละ 20 ตารางกิโลเมตร กลุ่มหนึ่งมีแค่ 4 คน เราต้องเดินสำรวจลักษณะธรณีวิทยาพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบให้เสร็จภายใน 20 วัน พื้นที่ที่เราได้รับเลือกคืออำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ช่วงซัมเมอร์คือเดือนเมษายนถูกไหมคะ คิดดูสิคะ จังหวัดตากคือจังหวัดที่ร้อนที่สุดในประเทศไทย นึกสภาพสิคะ ตุ๊ดสวยๆ อย่างเราต้องตากแดดตัวดำ ยอมรับว่าตอนนั้นเราก็สลัดคราบรักสวยรักงามทิ้งทันที เราเป็นห่วงร่างกายเราไม่ได้แล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือเดินศึกษาภาคสนามให้ทันเวลา มันไม่ใช่การเดินแนวราบด้วยนะคะ จังหวัดตากภูเขาเยอะ เดินขึ้นเขาสูงมาก ไม่พอนะคะ ลงห้วยด้วยนะคะคุณขา

 

แล้วตอนนั้นใช้ชีวิตอย่างไร

เราโชคดีหน่อย ได้พักในอุทยาน เรื่องที่พักเลยไม่มีปัญหา ตอนเช้ามีรถตู้มารับไปส่งพื้นที่ ตอนเย็นมีรถตู้มารับอีกทีหนึ่ง ถ้าวันนี้เราวางแผนว่าจะเดินจากจุด A ไปจุด B รถตู้ก็จะไปรอที่จุด B ถ้าวันนี้เดินไม่ถึง รถตู้ก็ต้องรออยู่


มีอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจที่ไปลงพื้นที่ที่นี่ วันแรกคงคอนเซปต์เดิมคือกางเกงขาเดฟ หมวกใบใหญ่ เพราะเรายังกลัวดำอยู่ ห่วงสวยอยู่ ต้องปีนเขาค่ะ เกิดอะไรขึ้นทราบไหมคะ เป้าแตกค่ะ แตกตั้งแต่เป้ายันหัวเข่า เราต้องเดินตั้งแต่เช้ายันมืด แล้วคิดดู เสื้อผ้ามันอยู่ที่แคมป์ แปลว่าเราต้องเดินลมเย็น 1 วันเต็มๆ ให้กำไรชาวบ้านไป ชาวบ้านละแวกนั้นก็อากาศเย็นดี แต่ก็สู้ หลังจากนั้นขาเดฟไม่เอาอีกแล้ว เราก็ไม่คิดว่าการปีนเขามันจะทรหดขนาดนี้ คิดว่าน่าจะพอไหว เฮ้อ ชีวิตตุ๊ดอย่างฉันไม่น่าจะมาเจออะไรแบบนี้เลย


แล้วใน 20 วันนี้ เราจะต้องเอาข้อมูลหลังจากเดินสำรวจมาทำเป็นแผนที่ ซึ่งแผนที่ทั้ง 4 กลุ่มมันจะต่อกัน แล้วเราก็จะต้องเดินหาชุดหินแล้วมาวาดลงบนแผนที่ ลองจินตนาการตามนะคะ 4 กลุ่ม แผนที่ต่อกันทั้งหมด แต่ถูกซอยเป็นกลุ่มละ 20 ตารางกิโลเมตร สิ่งที่เราคิดไว้ก่อนที่จะเสร็จงาน เราคิดว่าต้องทำยังไงก็ได้ให้แผนที่ทั้ง 4 กลุ่มเอามาวางแล้วต่อกัน คือลักษณะชุดหินต้องเป็นชุดเดียวกันแล้วต่อให้สนิททั้ง 4 กลุ่ม มันคือความประทับใจชนิดหนึ่งค่ะที่ตุ๊ดตัวเล็กๆ อย่างดิฉันสามารถพาทีมไปทำได้สำเร็จ เราสามารถเดินสำรวจแล้วเอาชุดหินมาต่อกับชุดของเพื่อนกลุ่มถัดไปแล้วมันคือชุดเดียวกัน แปลว่าเราทำถูกต้อง น้ำตาไหลค่ะ

 

ยุคนั้นไม่ลำบากเหรอคะ เพราะไม่มี Google Maps รู้ได้อย่างไรว่ามันครบ 20 ตารางกิโลเมตรแล้ว

สมัยนั้นโทรศัพท์ยังจอเทาอยู่เลยค่ะ เราต้องใช้ความรู้ทั้งหมดที่เราเรียนมาตั้งแต่ปี 1 2 3 เราเรียนแล้วจะทำการสำรวจว่าหินแต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีการวางตัวอย่างไร แนวไหน เราก็ต้องวัดว่าทิศทางในการวางตัวของชั้นหินเป็นอย่างไร ต้องวัดให้เป๊ะด้วย เพราะว่าต้องไปแมตช์กับเพื่อนกลุ่มต่อไป ถ้าเราทำผิดกลุ่มเดียว มันก็จะทำให้งานของเราทั้งรุ่นผิดทั้งหมด

 

การเรียนปริญญาตรีกับปริญญาโทต่างกันมากไหม

ปริญญาโทมันจะเป็นการวิจัยเชิงลึกยิ่งขึ้น ก็ไม่เหมือนปริญญาตรี เราเลือกจะทำเรื่องตรวจวิเคราะห์งาช้างไทย เป็นหัวข้อธีสิสปริญญาของเรา

 

งาช้างมันเกี่ยวกับ Earth Science ด้วยเหรอคะ ถามตรงๆ เลย

ไม่แปลกเลยค่ะ หลายคนจะตกใจว่างาช้างเกี่ยวกับ Earth Science ยังไง เราต้องบอกก่อนว่าตอนปี 4 เรามีความสนใจเรื่องแร่ ซึ่งจริงๆ แล้วกระบวนการเกิดแร่มี 2 กระบวนการด้วยกัน อย่างแรกคือเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต คือพวกแร่ทั่วไปที่เราเห็น อย่างต่างหูสวยๆ ที่เราเห็น ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือแร่ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นคนสร้างแร่นั้นขึ้นมา ถ้ายกตัวอย่างให้ชัดเจนที่สุดและคนทั่วโลกเก็ตได้เร็วที่สุดคือไข่มุกที่มาจากหอยมุก หอยมุกเขาจะมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่คอยสร้างน้ำมุกเอามาเคลือบกันเป็นชั้นๆ แล้วก่อตัวกันเป็นก้อน เป็นเม็ดไข่มุกขึ้นมา ลักษณะจะคล้ายกันกับงาช้าง ซึ่งเกิดจากเซลล์ ร่างกายช้างจะมีเซลล์ตัวหนึ่งที่คอยสร้างงาช้าง ซึ่งงาช้างเองก็ถือว่าเป็น Bio-Hydroxyapatite ในร่างกายมนุษย์ก็มี เช่น ฟัน กระดูก หรือในสัตว์อย่างนอแรด เขากวางก็ใช่

 

งานวิจัยมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

งานวิจัยของเราจะศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของงาช้าง ซึ่งตัวเราเองมองว่าประเทศไทยหรือในโลกนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับงาช้างมีน้อยมาก ถ้ามองย้อนกลับไป 5-10 ปีที่ผ่านมา มีการรณรงค์เกี่ยวกับการต่อต้านการค้างาช้าง งานวิจัยเราสามารถซัพพอร์ตได้ไม่ใช่แค่ระดับประเทศ แต่คือระดับโลก เรามองว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับโลกเราอย่างมาก เราจึงทำการศึกษาทั้งลักษณะทางกายภาพ ดูว่างาช้างมีลักษณะอย่างไร และศึกษาเคมีองค์ประกอบของมัน ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงมาตรวจวิเคราะห์ จนตอนนี้เราสามารถสร้างฐานข้อมูลงาช้างไทยขึ้นมาได้ จริงๆ แล้วเราสามารถเผยแพร่ให้หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการใช้ข้อมูลตรงนี้ได้ด้วยเหมือนกัน เช่น เวลาตำรวจศุลกากรที่สนามบินเขาจับงาช้างได้ บางทีเขาอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่างาช้างนั้นเป็นงาช้างบ้านเรา หรือนำเข้ามาจากแอฟริกา หรืองาช้างที่ลักลอบมาจากอินเดีย เขาไม่มีทางทราบได้ แต่ถ้าเขาเอาตัวอย่างชิ้นเล็กๆ มาตรวจวิเคราะห์แล้วเทียบกับฐานข้อมูลที่เรามี เราก็จะสามารถบอกได้ว่างาช้างที่จับมาได้เป็นงาช้างไทยหรือไม่

 

ตอนที่ทำวิจัย มีวิธีการเก็บอย่างไรบ้าง

จริงๆ ตอนแรกสุดเรามองว่าเราควรจะมีตัวอย่างงาช้างที่หลากหลาย อาจารย์ที่ปรึกษาก็มองว่าคิดถูก แต่ในความเป็นจริงอาจทำได้ไม่เหมือน อาจทำได้เฉพาะส่วนที่เข้าถึง เราเลือกงาช้างจาก 2 แหล่ง คือจากสุรินทร์ และอีกที่คือลำปาง เราทำหนังสือเข้าไปขอความอนุเคราะห์ตัวอย่าง เราไม่ได้ยกงาช้างมาทั้งกิ่ง เราตัดมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร


การเก็บข้อมูลเราต้องลงพื้นที่ ที่สุรินทร์ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะค่อนข้างคุ้นชินอยู่แล้ว เข้าไปตามหมู่บ้านที่เลี้ยงช้าง ดูว่าสิ่งที่ช้างกินเป็นอย่างไรบ้าง พื้นที่เป็นอย่างไร ลักษณะดินและหินบริเวณนั้นเป็นอย่างไร มีการขอตัวอย่างเล็กๆ จากควาญช้าง ก็ได้มาจำนวนหนึ่ง แต่มีอีกที่คือที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง มีช้างอยู่หลายร้อยเชือก ตรงนั้นเราทำหนังสือเข้าไปขอความอนุเคราะห์ จริงๆ ตัวอย่างของเราจะเพียงพอแล้ว แต่ใจเราอยากจะได้อีกสัก 1 ตัวอย่าง แล้วบังเอิญเราเห็นช้างเชือกหนึ่ง ชื่อพลายพระเหม่ ชื่อดูพม่านิดหนึ่ง แต่เขามีความพิเศษคือเป็นช้างงาเดียวตั้งแต่เกิด เรามีความรู้สึกว่าช้างเชือกนี้มีความน่าสนใจและดูใจดี เลยลองคุยกับสัตวแพทย์และควาญช้างที่ดูแลเขาอยู่


เราถามว่าเป็นไปได้ไหมถ้าอยากจะได้ตัวอย่างงาช้างจากตัวที่ยังมีชีวิตอยู่จริงๆ เขาบอกว่าได้ เพราะปกติช้างทุกเชือกที่อยู่ในศูนย์อนุรักษ์ช้างจะมีการตัดงาอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่ตัดงาจะชนกัน แล้วโคนจะเน่า ทำให้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่เขาไปคุยกับควาญช้าง ควาญช้างเลยมาทำความเข้าใจกับเราว่าก่อนตัดต้องมีการทำพิธีกรรม เหมือนเป็นการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลช้างเชือกนั้นอยู่ เขาบอกให้เรานั่งรอเลย ตอนนั้นตื่นเต้นค่ะ ไม่เคยเห็นเหมือนกัน มีการสวด พรมน้ำมนต์ จุดธูปเทียนต่างๆ นานา สักพักหนึ่งเขาหันมาบอกว่าพิธีกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ต่อไปนี้เป็นการตัดแล้วนะ


ควาญช้างหยิบเลื่อย เราก็เดี๋ยวก่อน เลยบอกเขาว่าขอนิดเดียว ไม่เอาเยอะนะคะ พอเขาหยิบเลื่อยขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือช้างลุกฮือ แล้ววงนั้นแตกกระจาย วิ่งคนละทิศละทางแบบไม่สนชีวิต เราก็งงมาก เฮ้ย! ตายแล้ว ฉันจะเอาชีวิตมาทิ้งในปางช้างไม่ได้ ถ้าเปิดข่าวหน้าหนึ่งว่านักวิจัยตุ๊ดเสี่ยงชีวิตโดนช้างเหยียบตายทำยังไงคะ ทีนี้ควาญช้างก็รวบรวมสติ พยายามทำให้ช้างใจเย็นลง ช้างก็เริ่มเชื่อฟัง ก็ให้ตัด เลยได้มาประมาณ 1 เซนติเมตร ถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างประทับใจมาก คือช้างคงเสียวน่ะค่ะ เพราะงาช้างจริงๆ คือฟัน


เขาบอกว่าถ้าวิ่งหนีช้างให้วิ่งเป็นวงกลม แล้วช้างเขาก็บ้าคลั่งอยู่ เราวิ่งเป็นวงกลมแล้วกลับมาอีกที อ้าว! ช้างอยู่ข้างหน้าเราที่เดิม แล้วคนวิ่งเป็นวงกลม เฮ้ย เดี๋ยวก่อนทฤษฎีนี้ใช้ได้หรือเปล่า อันนี้เรื่องจริงนะคะ ถ้าเจอช้างป่าให้วิ่งเป็นวงกลม แต่ให้ดูก่อนว่าช้างนั้นอยู่หน้าหรืออยู่หลัง

 

 

อย่างนี้เราได้เห็นสถานการณ์ช้างไหมคะว่าเหลือเยอะน้อยแค่ไหน

เอาจริงๆ ช้างที่อยู่ที่อยู่ในประเทศไทยที่เป็นช้างเลี้ยงก็ยังมีอยู่จำนวนหนึ่ง จะเรียกว่ามากก็เรียกได้ เพราะมันมีการผสมพันธุ์อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นช้างป่า สถานการณ์ก็ค่อนข้างน่าสงสาร เพราะเหลือน้อย ตายบ้างจากกระบวนการทางธรรมชาติที่รบราฆ่าฟันกันเอง หรือการรบกวนชาวบ้าน ชาวสวน แล้วเกิดถูกยิงตายบ้างที่เราเห็นในข่าว

 

แล้วงาช้างเลี้ยงกับงาช้างป่ามีส่วนประกอบที่เหมือนกันไหม

จริงๆ เหมือนกัน เพราะมันคืองาช้างในประเทศไทยเหมือนกัน เขากินพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อยู่ในประเทศเรา พวกธาตุเคมีองค์ประกอบมันก็จะซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านพืชผักที่เขากินเข้าไป เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เคมีองค์ประกอบเขาคล้ายกัน

 

ตอนแรกที่บอกว่าสนใจเรื่องแร่ แล้วทำไมไม่ทำเรื่องเพชรพลอยหรืออัญมณีสวยงาม ทำไมถึงเลือกทำเรื่องงาช้างคะ

พอดีเราเป็นตุ๊ดโลกสวย เรามองการทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งว่าประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไรจากงานวิจัยชิ้นนั้น แต่จริงๆ แร่สวยงามก็มีประโยชน์ต่อประเทศชาตินะ แต่ที่เราทำเกี่ยวกับงาช้างมันมีประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมาก แล้วมากกว่านั้นก็คือมันมีประโยชน์กับทั้งโลกเลย อย่างน้อยมันทำให้ตำรวจเขาออกบทลงโทษให้กับผู้กระทำผิดในการค้างาช้างได้อย่างเต็มรูปแบบ ดีกว่าจับมาแล้วเป็นงาช้างแอฟริกาหรืองาช้างไทย เพราะอย่างงาช้างแอฟริกายังมีการซื้อขายได้บ้าง แต่งาช้างบ้านเราห้ามไม่ให้มีการซื้อขายเลย และครอบครองได้แค่ 2 ชิ้น แต่ถ้าเกินต้องไปดีแคลร์ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ

 

ปัจจุบันหน้าที่คือการดูแลแร่เศรษฐกิจ รายละเอียดงานเป็นอย่างไรบ้าง

ตอนนี้ที่เราทำอยู่เป็นนักธรณีวิทยาและนักอัญมณีวิทยา คือดูแลโครงการวิจัยในหน่วยวิจัย ซึ่งในงานที่เราดูแลหลักๆ คือเกี่ยวกับทรัพยากรอัญมณี เราไปสำรวจแหล่งแร่ เข้าป่าเข้าเขาอีกแล้ว ไปอยู่กับชาวไร่ ไปร่อนแร่กับเขาจริงๆ ตัวเลอะโคลนสีแดง ถึงจุดนั้นแล้วถ้าห่วงสวยคงไม่ได้พลอยออกมา


เราสำรวจดูลักษณะหิน ดูชุดหินต่างๆ ว่าหินลักษณะนี้จะมีพลอยหรือแร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไหม ถ้าศึกษาลักษณะทางหินเรียบร้อยแล้วสรุปว่ามี ต่อไปจะเป็นกระบวนการสำรวจตัวแร่ เช็กปริมาณแร่ดู หลักๆ เราไม่เน้นการขุดเพื่อที่จะทำลายระบบนิเวศ เราจะใช้การร่อนแร่ตามแม่น้ำ ซึ่งเราจะประเมินศักยภาพได้จากการร่อนเจอ อย่างพื้นที่หลักที่โครงการวิจัยรับผิดชอบอยู่ก็จะมีจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี อุบลราชธานี และแพร่ ซึ่งแพร่คือแหล่งอัญมณีแหล่งสุดท้ายของประเทศ

 

แล้วมีวิธีการดูอย่างไรว่าพื้นที่ตรงไหนน่าจะมี

พูดถึงไพลินสีน้ำเงินก่อน เพราะมันมีราคาสูง ก่อนอื่นเวลาเราสำรวจ เราพยายามหาหินบะซอลต์ให้ได้ ถ้าเราเจอหินบะซอลต์ สิ่งที่เราจะหาลำดับต่อไปคือเพื่อนแร่ หรือเพื่อนพลอย คือแร่ประกอบหิน สมมติว่าเราสำรวจแร่แล้วเจอนิลสีดำอยู่ในหิน เพราะฉะนั้นเราสามารถการันตีได้ 100% ว่าตรงนี้น่าจะมีไพลิน หรืออาจจะเป็นทับทิมก็ได้

 

 

ข้อมูลที่เราทำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง คืออยู่ๆ จะให้ชาวบ้านไปร่อนแล้วเก็บออกมาอย่างนั้นได้เลยหรือเปล่า

หลังจากที่ได้ข้อมูลครบหมดทั้งด้านธรณีวิทยาและทางด้านแร่ อัญมณี เราจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาเรียบเรียง จัดเรียง เสร็จแล้วจะทำการเผยแพร่ให้กับนักเรียนในจังหวัดนั้นๆ ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยราชการ เราก็เข้าไปให้ความรู้เขา เราไปบอกเขาว่าทรัพยากรหรือทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของคุณยังมีปริมาณมากนะ แต่เราก็พยายามปลูกฝังจิตสำนึกให้กับทุกคนที่เราไปอบรมมา ให้เขาเกิดความรู้สึกตระหนักว่าจะใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร นี่คือสิ่งสำคัญของการทำโครงการวิจัยนี้ ไม่ใช่เราบอกว่าพื้นที่ของคุณมีพลอยอยู่ เขาไปขุดกันหมดเลย ทีนี้อีก 20-30 ปีข้างหน้าเขาจะทำอะไรกัน

 

เพราะฉะนั้นเราต้องไปปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในพื้นที่มีความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติของตัวเองที่มี เขาสามารถใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

 

 

แล้วเป้าหมายที่บอกว่าจะไปเรียนต่อปริญญาเอกในสาขาเดิม คิดว่าเราจะกลับมาทำอะไรต่อไป

เป้าหมายหลังจากเรียนจบปริญญาเอก เราอยากกลับมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อยากจะใช้ความรู้ที่เราสั่งสม อยากถ่ายทอดประสบการณ์ที่เราได้ทำงานต่างๆ ให้กับเยาวชน นิสิต นักศึกษา ให้เขาได้ทราบว่าทรัพยากรธรรมชาติในโลกเราควรจะใช้อย่างไรให้ลูกหลานเรายังมีใช้อยู่ ไม่ใช่เราใช้แล้ว 10 ปีหมดไป เราอยากจะถ่ายความรู้เพื่อให้เขาได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้ต่อไปอีก

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest จักรกริช บุญมี

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Music Westonemusic.com

The post เทยธรณีวิทยา: ขุดหิน ขุดทราย ยันวิจัยงาช้าง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยนักสิทธิมนุษยชน: ต่อสู้เพื่อความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเป็นคนอย่างเท่าเทียม https://thestandard.co/podcast/toeytey12/ Wed, 22 Nov 2017 17:01:25 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=49413

  หากมองด้วยตาเปล่า ตรงหน้าเราคือผู้หญิงคนหนึ่ง จน […]

The post เทยนักสิทธิมนุษยชน: ต่อสู้เพื่อความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเป็นคนอย่างเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

หากมองด้วยตาเปล่า ตรงหน้าเราคือผู้หญิงคนหนึ่ง จนเมื่อเธอเริ่มเล่าเรื่องของตัวเองให้เราฟัง

 

นาดา ไชยจิตต์ คือผู้หญิงข้ามเพศ ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักกฎหมาย ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชน ที่สนใจเรื่องความเหลื่อมล้ำของชนชั้นแรงงาน Sex Worker กลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลายทางเพศ ที่กว่าจะเป็นนักสิทธิมนุษยชนอย่างในปัจจุบัน เธอได้ผ่านเรื่องราวการถูกเลือกปฏิบัติเพราะความไม่เข้าใจในเรื่องเพศสภาพตั้งแต่จำความได้ ทุกอย่างค่อยๆ หล่อหลอมให้เธอเข้มแข็งและเป็นปากเป็นเสียงเรียกร้องให้ความหลากหลายของมนุษย์อย่างทุกวันนี้

 

ก่อนที่จะมาเป็นนักสิทธิมนุษยชน เรียกร้องสิทธิ์ให้กลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม ย้อนกลับไปชีวิตในวัยเด็กเติบโตมาอย่างไร

เอาจริงๆ เลยคือไม่คิดว่าจะกลายมาเป็นนักสู้เรื่องสิทธิ์ นักปกป้องสิทธิ์ ไม่เคยคิดเลย เราเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัว พ่อแม่มีลูกทั้งหมด 4 คน เราเป็นคนสุดท้อง ทั้งบ้านเป็นผู้ชายหมดเลย แล้วมีเราเกิดมาเป็นกะเทยอยู่คนเดียว เรารู้ตัวเร็วกว่าคนอื่น เราจำความได้ตอนเกือบ 3 ขวบ ยังไม่เข้าอนุบาลเลย จำได้ว่าแม่มีกระบะผ้ากระบะหนึ่ง แล้วมีกางเกงในที่มีระบายบานออกมาเหมือนกระโปรงบัลเลต์ เราเห็นปุ๊บแล้วเรารู้สึกว่ามันคือของฉัน เลยหยิบมาใส่แล้วแม่มาเห็น เราก็บอกแม่ว่าไปเดินเล่นกันรอบหมู่บ้าน คนกรุงสมัย 30 กว่าปีที่แล้วตอนเย็นเขาจะชอบเดินเล่นรอบหมู่บ้านกัน นั่นคือครั้งแรกที่เรารู้ว่าโลกมีหลายเพศ มันเกิดจากการที่พอเราเดินออกจากบ้านก้าวแรก เพื่อนบ้านก็พูดว่า ‘เฮ้ย เป็นตุ๊ดเหรอ’ สมัยนั้นหนังเรื่อง Tootsie ดัง ตอนนั้นตุ๊ดซี่คือแย่ น่าเกลียด เรามองหน้าแม่แล้วแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร เลยรู้สึกว่ามันโอเค แต่ส่วนหนึ่งเราคิดว่าแม่คงคิดว่าเดี๋ยวเราก็หาย เด็กมันคงอยากเรียนรู้ แต่หารู้ไม่ว่าดิฉันได้ประทับร่างความเป็นหญิงของฉันเรียบร้อยแล้ว จากการใส่กางเกงในที่มีระบายเหมือนบัลเลต์ตัวนั้น

 

เรียกได้ว่าตั้งแต่โตมา ที่บ้านค่อนข้างเปิดให้ทำตามอย่างที่ต้องการหรือเปล่า

เอาจริงๆ แล้วไม่เลย พอครั้งนั้นก็ติด อยากจะใส่อีก แต่เราก็พบว่าครั้งต่อมามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น พอดีพ่อรับราชการ นานๆ ทีได้เจอกัน แล้ววันนั้นพ่อจะกลับมา แม่บอกเราว่าใส่ไม่ได้แล้วนะลูก พอพ่อกลับบ้านมาเราก็รู้สึกว่าทำไมต้องกลัวคนๆ นี้

 

โตมาเรื่อยๆ ถามว่าเป็นอย่างไร ความสัมพันธ์กับเพื่อนในแง่ของการยอมรับไม่ดีเลย ไม่มีความราบรื่น สมัยนั้นใครเห็นเราเป็นแบบนี้เขาก็เรียกอีตุ๊ด อีกะเทย อีขี้แย

 

ไม่มีเพื่อนจับแก๊งด้วยกันหรือคะ

ไม่มีค่ะ ยุคเราอย่าพยายามจับกลุ่มเข้าหากันเลย เราเรียนโรงเรียนสหศึกษามาตลอด เราไม่ได้อยู่ในยุคที่มาจับกลุ่มกันเถอะ ตอนนั้นยิ่งจับกลุ่มยิ่งเป็นเป้าสายตามาก

 

อย่างนี้ไม่เก็บกดหรือคะ

เอาตรงๆ เราเป็นคนเก็บกดมาก เพราะว่าพอเราเริ่มโต พ่อเราก็จะรู้สึกไม่ไหวกับเรา เด็กๆ ยังพอทำเนา มีบ้างที่โวยวาย เขาจะให้เราดูต่อยมวย เราไม่อยากดูเลย การ์ตูน Gundam สู้รบกันก็ไม่ให้เราดู เพราะเข้าใจว่าเราอยากจะไปดูตัวผู้หญิง

 

เป็นอย่างนี้จนถึงอายุเท่าไรถึงแสดงความคิดอิสระทางเพศของตัวเองได้คะ

จริงๆ ช่วง ม.ต้นก็เริ่มเก็บไม่ไหวแล้วค่ะ ทะเลาะกับที่บ้านทุกวันเรื่องพฤติกรรม ร่างกายเราเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งที่เราไม่เหมือนผู้ชายเลยเพราะว่าเราเกิดเหมือนเป็นกะเทยธรรมชาติ ฮอร์โมนเรามันไปหมดเลย แล้วเราเริ่มต่อสู้ทางความคิดกับพ่อแม่เยอะขึ้น เรารู้สึกว่าเต้านมโตข้างเดียว เกิดอะไรกับเรา เราไม่สามารถคุยกับใครได้เลยว่าเราเป็นใคร ซ้ำร้ายยังถูกเพื่อนที่เป็นกะเทยที่โรงเรียนไล่ตีอีก เพราะว่าทำไมมึงเหมือนผู้หญิง ทำไมมึงดูเนียน ทำไมมึงแอ๊บเรียบร้อย พอกลับมาที่บ้านก็เจอสถานการณ์ไม่แตกต่างกัน เขาคอยจับจ้องเรา ทุกคนในบ้านมาแอบขโมยไดอะรีเราไปถ่ายเอกสาร แล้วไดอะรีเป็นที่เดียวที่ใช้ระบายความรู้สึกว่าเราเป็นผู้หญิง

 

จนมาถึงจุดแตกหักตอนจบ ม.6 แล้วเราไม่สามารถทนอยู่ได้ในสภาพร่างกายนี้ เริ่มไว้ผมยาว เราเริ่มแต่งตัวยูนิเซ็กซ์ที่ค่อนไปทางผู้หญิงมากขึ้น ทะเลาะเบาะแว้งกันใหญ่โต เรายอมรับว่าเคยฆ่าตัวตาย แล้วผลจากการฆ่าตัวตายก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของครอบครัว

 

ตอนนั้นเป็นผลของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เพราะจากการเป็นกะเทยธรรมชาติ เราจะไม่สบาย ขี้โรคบ่อยๆ แล้วพอเราเอ็นทรานซ์ไม่ติด ความกดดันที่เราแบกมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งจบ ม.6 ปกติการเอ็นทรานซ์ติดคือได้ไปต่อ แต่พอเอ็นทรานซ์ไม่ติดก็ไม่มีอะไรมาปกป้องเราแล้ว มันดีเพรสจนเราฆ่าตัวตายเลยต้องถูกส่งไปพบจิตแพทย์ จริงๆ ถูกส่งไปพบจิตแพทย์ตั้งแต่ ม.ปลาย แล้วเพราะเราดูซึมเศร้าชัดเจนมาก และยาที่เขาให้เรามายิ่งทำให้ดูซึมทั้งวัน คิดอะไรไม่ได้ ช้าไปหมด วันนั้นจำได้ว่าไปรับยาแล้วทะเลาะกับพ่อ เขาเหมือนใช้ให้เราไปทำอะไรอย่างหนึ่งแล้วเราไม่พร้อมจะไปเพราะฤทธิ์ยาทำให้เรากลัว ไม่กล้าเผชิญโลกข้างนอก เราเมาๆ เบลอๆ แล้วเขาก็บอกว่าเราเป็นคนที่ไร้ประโยชน์มาก เป็นกะเทยแล้วยังไร้ประโยชน์อีก มันเหมือน พรึ่บ!  ขาดเลย เราแกะเม็ดยามานับ เขาบอกว่าฆ่าตัวตายให้นับ 1 ถึง 100 เมื่อคืนกินไปแล้วเม็ดหนึ่ง เลยแกะกินอีก 99 เม็ด เรารอดมาได้ แต่เราฆ่าตัวตายถึง 4 ครั้ง แต่ที่เล่าเพราะอยากจะบอกว่าเราเชื่อว่ามีชีวิตคนข้ามเพศในประเทศไทยที่ต้องเผชิญสถานการณ์แบบนี้ แล้วเราโชคดีที่เราไม่ตาย เหมือนมีเมสเสจบางอย่าง

 

เรารู้สึกว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างมาให้เราตายไปแน่ๆ มันต้องมีวัตถุประสงค์บางอย่างที่ทำให้เราเกิดมา เรารู้สึกว่าเอาละเว้ย 4 ครั้งไม่ตาย กูจะไม่ฆ่าตัวตายอีกทั้งชีวิตนี้ ไม่ว่าจะตกต่ำขนาดไหนก็ตาม นี่คือสิ่งที่บอกกับตัวเอง

 

แต่สุดท้ายก็ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยใช่ไหมคะ

ก็เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยหนึ่ง ตอนนั้นพยายามจะทำยังไงก็ได้ให้เราเข้มแข็งให้ได้ ปีแรกๆ ไม่ค่อยได้ไปเพราะกลัวคนรู้ ผมกำลังยาวแล้วเวลาไปสอบเราก็จะต้องปวดหัวกับกรรมการคุมสอบ เพราะเขาจะถามว่าเป็นผู้หญิงทำไมถึงไม่ใส่กระโปรงมาสอบ เราเลยบอกว่าในบัตรประชาชนเราเป็นผู้ชายครับเลยต้องใส่กางเกงมา เขาเลยถามว่า ‘เป็นกะเทยเหรอ’ แบบโหวกเหวกโวยวายทุกครั้งที่สอบ เทอมหนึ่งเรียน 7 ตัว ก็ต้องเจอแบบนี้ 7 ครั้งต่อเทอม เลยหาอะไรผ่อนคลายในมหาวิทยาลัย เลยพบว่ามีชมรมกีฬา เราชอบเทควันโดมากเลยไปเล่น เวลาเราไปเล่นเราก็ต้องแอบซ่อนเพราะกลัวคนรู้ เราต้องโกหกเขาว่าเราเป็นผู้หญิง แต่พอขึ้นปี 2 มันมีน้องรุ่นมาใหม่ ความเป็นกะเทยยิ่งชัด แล้วยิ่งบอกว่าเราเป็นผู้หญิง เราก็ไม่สุงสิงกับน้องกะเทยมากเกินไป เราเห็นว่าตอนรับน้อง น้องเขาถูกปฏิบัติอย่างไรบ้าง ยังจำภาพตอนที่เขาโดนรุ่นพี่เล่นงาน ลากไปอยู่ตรงลานหน้ามหาวิทยาลัยแล้วเอามือล้วงเข้าไป เราก็ฉิบหายแล้ว ถ้าเป็นเราแล้วเขารู้ความจริงเขาคงทำร้ายเรามากกว่านี้

 

แต่ก็รอดมาได้ใช่ไหม

รอดมาได้แต่ก็ไม่ราบเรียบ คือมีคนพยายามจะสร้างเรื่องว่าไปแอบดูเรามาแล้ว ‘มันยืนฉี่ ยาวมาก อุบาทว์จริงๆ’ ทั้งที่เราไม่ยืนฉี่มาตั้งแต่ ป.3 เพราะเรารู้สึกว่าการนั่งฉี่คือความเป็นผู้หญิง มันคือเรื่องโกหกเลยค่อยๆ ปลีกตัวเองออกมา ตอนนั้นมีเพื่อนมาช่วยเราให้เราไปทำงานกับแม่เขาให้เข้าไปทำงานที่โรงงานผลิตอาหารนมแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าทำโรงงานอยู่ประมาณปีหนึ่ง เราก็เริ่มเห็นช่องทางเพราะเขาประกาศรับสมัครตำแหน่งประจำ แต่พอไปสมัครเขาบอกว่าไม่ได้ เพราะเป็นตำแหน่งของผู้หญิง คำนำหน้านามต้องเป็นนางสาวถึงจะสมัครได้ แล้วอีกตำแหน่งหนึ่งเป็นคนดูแลแยม ในโยเกิร์ตต้องมีแยมใส่อยู่ก้นขวดใช่ไหม เขาก็บอกไม่ได้อีก ถามว่าทำไมไม่ได้ล่ะ ปรากฏว่าแยมถังหนึ่งมันหนักมาก ประมาณ 10 กิโลกรัม เวลาเอามาตรวจก็ต้องยกทั้งถัง คุณก็ไม่ใช่ผู้ชายแล้ว เราก็อ้าว แล้วฉันจะเป็นใครในพื้นที่ของที่นี่ ตกลงไม่มีทางให้เลือกเลยใช่ไหม เขาบอกว่าไม่มี แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน ตอนนั้นเราเริ่มมีอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน เราเริ่มเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการข้ามเพศ จนไปเจอเว็บบอร์ดที่เป็นศูนย์รวมคนข้ามเพศของคนในโลกออนไลน์ในยุคสมัยที่เว็บบอร์ดเหมือนพันทิปยังดังมาก ยังไม่มีเฟซบุ๊กในเมืองไทย

 

ยังไม่มี Palm-Plaza ใช่ไหม

ตอนนั้นมีปาล์ม อ่านเล้าเป็ด อ่านนิยายวาย แต่เราเข้าเว็บ Thai Ladyboys มีสมาชิกประมาณ 4,000-5,000 คน เราได้เจอเพื่อน 2-3 คน ที่ทำงานในสายงานองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO เราเข้าไปอยู่ในเว็บบอร์ด 3 วัน เขาเจอประสบการณ์การเลือกปฏิบัติเหมือนเราจากที่ทำงาน เขาถูกล้อ พ่อแม่เขาไม่ยอมรับ อ่านแต่ตัวอักษรไม่เห็นหน้าเขา เขาคือผู้หญิงคนหนึ่งในสายตาเราเลย เราไม่รู้สึกว่าเขาเป็นอื่นเลย เลยเริ่มเปิดใจสมัครเป็นสมาชิก และเริ่มทำงานจนตอนนั้นพอมาเจอกับคนที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน ตอนนั้นมีศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ศูนย์ซิสเตอร์พัทยา เราก็เลย เฮ้ย มีงานอย่างนี้ด้วย มีงานที่มีเกียรติภูมิ มีคนเคารพนับหน้าถือตาได้ช่วยเหลือสังคม เรารู้สึกว่ามันดีจัง ก็เลยเริ่มจากการเป็นอาสาสมัครก่อนที่สมาคมฟ้าสีรุ้ง จนเขาเห็นหน่วยก้านว่าโอเค เขาเลยชวนว่าสนใจจะมาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามไหม มาดูแลชุมชนคนข้ามเพศที่เราคุ้นเคยนี่แหละ

 

ตอนนั้นเป็นอาสามัครของฟ้าสีรุ้งเป็นอย่างไร มีประสบการณ์ประทับใจอะไรบ้าง

ตอนนั้นจำได้ว่าเริ่มเข้าไปอบรมศาสตร์เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ เรารู้ว่าเพศมันไม่ได้รวมเป็นก้อนเดียว แล้วมันเป็นการพูดถึงมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ตอนนี้เปลี่ยนเป็นมาตรา 27 เดิมคือมาตรา 30 พูดถึงเรื่องบุคคลย่อมเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย ห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ​ เชื้อชาติ​ ศาสนา การศึกษา ชาติพันธุ์ ความคิดทางการเมือง แล้วเพศเราได้มีโอกาสทำงานรณรงค์กับเขา ซึ่งเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นข่าวหน้าหนึ่ง คือมีกะเทยคนหนึ่งไปเที่ยวผับแล้วการ์ดบอกว่าไม่ให้เขา ที่นี่ห้ามกะเทยเข้า เขารู้สึกว่าถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากเลยมาเดินเรื่อง ในยุคนั้นเริ่มมีองค์กรรัฐที่ทำงานเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิคือสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เขาไปร้องเรียนเราก็เลยไปทำงานกับเขา เรื่องของเขาเป็นจุดเปลี่ยนเรื่องจนกระทั่งสมาชิกสภารัฐธรรมนูญประกาศเจตนารมณ์ของมาตรา 30 ออกมาว่า คำว่าเพศ หมายรวมถึงเพศสภาพ และอัตลักษณ์ทางเพศด้วย มันจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยปกป้องสิทธิ์ของเรามาตลอด เวลาเรามีเรื่องร้องเรียน

 

สุดท้ายแล้วคุณก็กลับไปเรียนอีกครั้งหนึ่ง แต่ทราบว่าก็เจอเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเลือกปฏิบัติเหมือนเดิม อยากให้เล่าให้ฟังหน่อย

ตอนไปเรียนเขาก็ไม่รู้ว่าเราเป็นอะไร แต่อาจารย์ที่สัมภาษณ์เขาจะรู้อยู่คนหนึ่ง ตอนนั้น คุณนก ยลดา ดังมากจากสมาคมสตรีข้ามเพศ​ เรารู้จักพี่นกมานาน เคยทำงานอยู่ด้วยกันมาก เรียนเป็นภาคพิเศษ แต่ว่าชั่วโมงการเรียนเรียนเหมือนภาคปกติ เพราะหลักการเรียนนิติศาสตร์ต้องผ่านสภาทนายความ ผ่านเนติบัณฑิตเป็นคนกำกับหลักสูตร เพราะฉะนั้นเป็นหลักสูตรมาตรฐานเดียว

     

เรียนภาคพิเศษต้องไปเรียนกับทหาร ตำรวจ ไม่ขอเล่าว่าเผชิญกับสถานการณ์อะไรบ้างในตอนเรียน แต่อยากจะบอกว่าเป้าหมายของการเรียนเพื่อที่จะต่อสู้เรื่องสิทธิ์ของตัวเองให้เกิดมาตรฐานใหม่ในแวดวงนิติศาสตร์ของประเทศว่าคนข้ามเพศก็สามารถเป็นทนายความได้ อาจจะเป็นอัยการ ผู้พิพากษาก็ได้ในอนาคต เราไม่รู้ แต่ตอนนี้ถามว่ามีคนข้ามเพศจบนิติศาสตร์ไหม มีเกย์ไหม มีเลสเบี้ยนไหม มี แต่คนข้ามเพศหรือกะเทยเขาไม่สามารถยืนอยู่วงการนี้ได้ เราบอกว่าเราไม่เชื่อว่าจะเป็นไปไม่ได้ในยุคของเรา เลยตัดสินใจมาเรียน

     

ปัญหามันมาเกิดขึ้นกับตัวเองตรงที่ว่าตอนเรียนจบ ยื่นรูปถ่ายพร้อมกับขอออกเอกสารใบรับรองคุณวุฒิ ซึ่งต้องติดรูปถ่ายเพื่อบอกว่าเอกสารฉบับนี้เป็นของคนที่อยู่ในรูป ตอนถ่ายรูปเขาก็ถามว่าจะเอายังไง ถ่ายเผื่อด้วยหญิงด้วยชายด้วย เราบอกว่าไม่เผื่อ ถ่ายหญิงเท่านั้น เราก็ไปยื่น จนกระทั่งผ่านไป 2 เดือน ทุกคนได้เอกสารหมดแล้ว ปรากฏมีผู้ประสานงานคณะโทรมาบอกว่าให้เราเข้าไปที่มหาวิทยาลัย มีปัญหานิดหน่อยเพราะงานทะเบียนบอกไม่สามารถออกเอกสารให้เราได้ เพราะรูปถ่ายไม่ตรง ‘ไม่ตรงอะไรคะพี่’ เราถามกลับไป เขาบอกว่ารูปถ่ายไม่ตรงคำนำหน้านาม เราก็เลย ‘อ้าว ทำไมหรือคะ’ เราพยายามจะไปต่อรองกับเขา ไปต่อรองจนเขาใจอ่อนมาก เขาพร้อมจะช่วยเรา แต่เขาไม่สามารถจะออกให้ได้ คือเขาพร้อมจะอำนวยความสะดวกเรื่องประสานงานให้ว่าเราต้องไปคุยกับใคร เขาช่วยเราติดต่อกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ทำเรื่องกับกองกิจการนิสิต ไปทำเรื่องมากมายก่ายกอง เราพยายามทำอย่างไรก็ได้ แล้วตอนนั้นมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนให้โอกาสเราไปเป็นเหมือนผู้ช่วยประจำตัว แต่เราขาดอยู่อย่างเดียวคือเอกสารใบรับรองคุณวุฒิว่าเราจบปริญญาตรีนิติศาสตร์มา มันไม่ได้ มันไม่มีอะไรไปยื่น แม้แต่ตั๋วทนาย ใบอนุญาตว่าความ เราก็สมัครไม่ได้เพราะใช้เอกสารหมดเลย แต่เอกสารไม่มี เราเคยคิดจะช่างมันค่อยไปสู้ตอนไปขอใบอนุญาตว่าความ อย่างไรก็ต้องไปไฟต์กับสภาทนายความ ปรากฏว่าเราคิดผิด เพราะว่าถ้าเรายอมพ่ายแพ้ตั้งแต่ตอนนั้น ไปที่ไกลกว่านี้เขาไม่ยอมเหมือนกัน เลยตัดสินใจว่าจะสู้

     

เราทำงานอยู่ 2 ส่วน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศออกมาแล้ว เราเลยไปคุยกับมหาวิทยาลัยก่อนว่ามหาวิทยาลัยจะช่วยเราอย่างไรได้บ้าง เราเลยไปเขียนคำร้อง

     

สังคมเราเวลาอยากได้อะไรคือมักจะทำอยู่ 2 อย่าง คือ Naming กับ Shaming บอกว่าไอ้นั่น ไอ้นี่ เลวอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ มันเลยทะเลาะกันไม่จบไม่สิ้น

     

เราแค่เห็นไม่ตรงกัน แต่ยุทธศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทำงานก็ดี เรามักจะเห็นคนที่อยู่ตรงข้ามเราเป็นศัตรู ซึ่งผิด เราต้องมองให้ออกว่าอะไรคือปัญหา ในกรณีนี้ปัญหาคือระเบียบไม่ใช่คน ระเบียบมาครอบให้คนทำ ในเมื่อระเบียบมันบอกว่าเราต้องแต่งกายตามเพศ คำนำหน้าเป็นอะไรต้องแต่งตามนั้น เราต้องระบุไปให้เห็นเลยว่าระเบียบผิด แต่คนที่จะมีอำนาจช่วยเหลือเราเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากงานนี้บ้าง เราเลยเขียนคำร้องลักษณะที่บอกว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน และถ้าเกิดแก้เขาจะได้รับข้อดีอย่างไรบ้าง มหาวิทยาลัยเรามีศูนย์นิสิตคนพิการ มหาวิทยาลัยเราดูแลผู้สูงอายุ คนชาติพันธุ์เพราะตั้งอยู่เขตภาคเหนือ นักเรียนที่เป็นชาติพันธุ์ไม่มีสัญชาติก็สามารถเข้ามาเรียนได้ มหาวิทยาลัยจะได้อะไรจากการคุ้มครองความเสมอภาคระหว่างเพศ ปรากฏมหาวิทยาลัยซื้อ ไม่มีอะไรจะเสียนอกจากได้ ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป กฎหมายมันไม่ทันสมัยต่อยุคที่เปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันถามว่าเรายอมอ่อนข้อให้ทันทีไหม ไม่ เราบอกว่าเรายื่นคำร้องตาม พ.ร.บ. ไปแล้วเพราะเราอยากช่วยมหาวิทยาลัย กลัวมหาวิทยาลัยทำไม่สำเร็จหรือมีอุปสรรค เรารู้ว่ามีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เราใช้คำร้องนี้เลย คำวินิจฉัยมีผลผูกพันตามกฎหมายเปรียบเสมือนคำพิพากษาของศาล ก็เลยได้วินิจฉัยออกมาเป็นกรณีแรกของประเทศจากการใช้ พ.ร.บ. นี้ เพื่อจะบอกว่าระเบียบทั้งบังคับให้คนข้ามเพศแต่งกายตามเพศกำเนิดนั้นละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และผิดต่อ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้น

 

 

ทีนี้เหล่าน้องๆ ของเราก็สามารถใส่กระโปรงรับปริญญาเรียบร้อยแล้วไม่ว่าอยู่มหาวิทยาลัยอะไรก็ตาม ถูกไหมคะ

ค่ะ เพียงแต่ว่ามันเริ่มจากมหาวิทยาลัยพะเยาก่อน เราก็จะเอาผลนี้ไปทำงานกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ยังไม่อนุญาต เดิมทีอย่างที่บอกไปตอนต้นว่าเมื่อก่อนจะต้องมาให้หมอ ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้เกิดมาไม่เคยเจอเลย มาบอกว่าคนนี้มีความผิดปกติในการรับรู้เพศของตัวเอง ไม่ รับรู้ดีมาตลอดเลยว่าเป็นเพศอะไร แล้วเอาใบรับรองแพทย์ไปยื่น ซึ่งมันไม่ใช่

     

มนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิ์จะบอกว่าเราเป็นใคร คนชาติพันธุ์ควรมีสิทธิ์จะบอกว่าตัวเองเป็นใคร เป็นคนกะเหรี่ยง ม้ง ไทใหญ่ คนไทย คนใต้ คนเหนือ เป็นชาย หญิง กะเทย ทอม เลสเบี้ยน ดี้ ทุกคนควรจะบอกได้หมด

 

มันเป็นหลักกฎหมายสากล ทุกคนยอมรับ เพราะฉะนั้นมันควรจะเริ่มจากการบอกตัวเองต่างหาก Self Determination คือการที่จะบอก กำหนดชะตาชีวิตตัวเอง ฉันเป็นผู้หญิงคุณก็ต้องเห็นฉันเป็นผู้หญิง กฎหมายบอกแล้วว่าคุ้มครองคนที่มีการแสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิด ฉันนี่แหละแสดงออกแตกต่างจากเพศกำเนิดชัดเจนมาก ไม่มีอะไรที่คุณจะไม่คุ้มครองและรับรองฉัน พอยต์มันคือเรื่องนี้

 

ปัจจุบันนี้หลักๆ ที่คุณดูแลให้เกิดความเสมอภาคกันคือเรื่องอะไรบ้าง

โดยภาระของงานที่รับผิดชอบอยู่ เราก็เป็นนักกฎหมาย เราก็จะช่วยดูประมาณ 3-4 งานที่เรารู้สึกว่าตรงที่สุด งานแรกคือเรื่องแรงงาน เรารู้ว่าประเทศนี้มีแรงงานทั้งในและนอกระบบประมาณ 38 ล้านคน เกินครึ่งหนึ่ง มีตั้งแต่แรงงานแรกรับ คือเข้ามาอยู่ในระบบแรงงานเลย ทำอะไรไม่เป็นเลย เขาให้ทำอะไรก็ทำ จนถึงแรงงานที่มีทักษะฝีมือ ถ้าอยู่ในระบบคือมีสังกัด มีประกันสังคม ตั้งแต่แรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์​ ยานยนต์ต่างๆ จนถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานธนาคาร ส่วนแรงงานนอกระบบอย่างเช่น แม่ค้าขายข้าวแกง ภาคเกษตร มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พวกนี้คือแรงงานทั้งหมดแต่เขายังไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมในเรื่องของค่าจ้างและค่าตอบแทนได้ เพราะเรารู้ว่าชีวิตของเขาไม่มีความมั่นคง ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความมั่นคง เราจะทำให้ชีวิตของคนเหล่านี้มีความมั่นคงได้อย่างไร ทุกวันนี้แรงงาน 38 ล้านคนทำให้ชีวิตเจ้านาย บริษัท นักลงทุนมีความมั่นคง แต่ชีวิตเขาไม่มีความมั่นคงเลย ถ้าบริษัทเจ๊งก็ไม่มีความมั่นคงไปอีก เรารู้สึกว่าทำไมมันเหลื่อมล้ำขนาดนี้ เราจะพูดว่าทำอย่างไรเขาจะเข้าถึงค่าจ้างและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คำว่าค่าจ้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมไม่ได้หมายความว่าอย่างที่เป็นข่าวล่าสุด เรียกร้อง 700 บาทต่อวัน อาจไม่ถึงขั้นนั้น แต่ทำอย่างไรให้ตามหลักแล้ว คน 1 คน หามาได้แล้วเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงคนข้างๆ และเลี้ยงลูกได้ มันถึงจะพอ ทุกวันนี้ BTS เที่ยวละ 42-44 บาท ไปกลับก็เกือบ 100 บาทแล้ว มันคืออะไร ทั้งๆ ที่เขาต้องยืนขาแข็งไปทำงานเพราะต้องนั่งรถเมล์ 2 ชั่วโมง บ้านอยู่ห่างจากที่ทำงาน บางคนไม่มีทางเลือก เรากำลังจะบอกว่าถ้าเราสามารถทำให้รัฐบาลเห็นได้ว่าตัวเองมีพันธกรณีอะไรที่สามารถจะช่วยเพื่อให้แรงงานเข้าถึงความเป็นธรรมตรงนี้ได้

     

อีกเรื่องหนึ่งที่สนใจส่วนตัวคืออาชีพพนักงานบริการทางเพศ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศนี้มีคนทำงานที่เรียกว่า Sex Worker อยู่ เรารู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน เรารู้ว่าเขาอยู่ในระบบบริการแบบไหน เรารู้ว่าเขาเป็นองคาพยพสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวยามค่ำคืน ไม่ต้องบอกหรอกว่าเม็ดเงินที่ดึงเข้ามามันมากมายขนาดไหน ที่สำคัญก็คือว่างานของเขาคนมักจะไปโฟกัสที่เขาไปมีเพศสัมพันธ์กับใคร แต่งานภาคบริการตั้งแต่เอ็นเตอร์เทนลูกค้า อาชีพนี้ไม่แตกต่างจากนักจิตวิทยาเลย ต้องผ่อนคลาย ต้องสร้างความสุขให้ลูกค้า ต้องทำหลายอย่างมาก บางครั้งเขาอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันก็ได้ เขาอาจต้องการใครสักคนที่เข้าใจและฟังเขา โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องจดจำ วันรุ่งขึ้นก็จะหายไปผ่านไป แต่เราไม่ยอมรับงานเหล่านี้ เรามองว่าเป็นงานที่ผิดศีลธรรม แต่ว่าคนเหล่านี้ถูกรีดไถ โดยอาศัยกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมตลอดเวลา เช่น พ.ร.บ. ปราบปรามการค้าประเวณี พัทยานี่กะเทยโดนทุบโดนตี แค่รู้ว่าเป็นกะเทยก็โดนแล้ว เวลาไปจ่ายค่าปรับจะมีเอกสารบอกว่าทำตัวไม่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว กีดขวางการจราจร เตร็ดเตร่ อะไรแบบนี้ ซึ่งเตร็ดเตร่ค้าประเวณีข้อหานี้มันไม่มีแล้ว แต่ยังถูกเอามาใช้อย่างสม่ำเสมอ มีการล่อซื้อและอีกหลายอย่างมากที่เรารู้สึกว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คนที่ทำอาชีพนี้จะต้องทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตอนนี้จริงๆ เอาแค่ทำให้กฎหมาย พ.ร.บ. ปราบปรามการค้าประเวณี มันบังคับใช้ผิดที่ผิดทาง ก็เพียงพอที่จะทำให้คนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นเรื่องที่จะต้องทำงานกันต่อไป

     

สุดท้ายเรื่องที่ไปทำคือเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าที่เป็นผู้หญิง เรามองว่าผู้หญิงในสังคมบ้านเรา สิทธิ์กับเสียงก็น้อยอยู่แล้ว พอมาบวกกับความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของเขาที่รัฐไม่ยอมรับ ทำให้เสียงของคนยิ่งน้อยลงไปใหญ่เลย และในวัฒนธรรมท้องถิ่นของเขาที่ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจสูงมาก แล้วผู้หญิงไม่มี เรารู้สึกว่าถ้ามีโอกาสได้ช่วยเหลือเขาให้เขาเข้าถึงศักยภาพที่เขามี ใช้กฎหมายที่รัฐบาลผูกพันมาเป็นตัวทำงาน น่าจะช่วยให้เขามีสิทธิ์มีเสียง กำหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ดีขึ้น เราเป็นกะเทยยังอยากกำหนดสิทธิ์ชีวิตตัวเอง เขาเป็นผู้หญิงชนเผ่าคนน่าจะมีสิทธิ์กำหนดชีวิตตัวเองได้เหมือนกัน

 

 

 

ทั้งหมดที่ทำหัวใจของมันคือการทำเรื่องความเหลื่อมล้ำหมดเลย มีอะไรอยากจะสื่อสารผ่านสื่อตรงนี้บ้างไหม

อยากจะบอกว่าความเท่าเทียมมันเริ่มจากตัวเราเป็นลำดับแรก ตระหนักกับตัวเองก่อนว่าเรายอมรับความเป็นตัวตนของเราได้หรือยัง มองเห็นว่าเราเป็นคนที่เท่าเทียมกับคนอื่นหรือยัง เช่น เราเห็นความเป็นกะเทยของตัวเองในความเป็นคนของเราหรือยัง เราไม่ชอบคำพูดหนึ่งที่พูดกันว่า ไม่ต้องพูดถึงความเป็นกะเทยหรอก ก็เป็นคนเหมือนกัน เราอยากจะบอกว่าไม่ใช่ คุณต้องบอกให้ได้ว่ากะเทยคือส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ อย่าบอกว่าห้ามพูดถึง แต่ให้มองที่ความเป็นมนุษย์ เราอยากจะเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้ พยายามจะก้าวข้ามปัญหาคือการบอกว่าเป็นคนเหมือนกัน ใช่ แต่ความเป็นคนของฉันคือความเป็นกะเทย

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest นาดา ไชยจิตต์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Music Westonemusic.com

The post เทยนักสิทธิมนุษยชน: ต่อสู้เพื่อความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเป็นคนอย่างเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยนักข่าวสายทหาร: ตามสัมภาษณ์ทหาร ลาดตระเวน ยันซ้อมรบ https://thestandard.co/podcast/toeytey11/ Wed, 15 Nov 2017 17:01:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=45985

     ภาพของ LGBT กับการเป็นนักข่าวบันเทิ […]

The post เทยนักข่าวสายทหาร: ตามสัมภาษณ์ทหาร ลาดตระเวน ยันซ้อมรบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ภาพของ LGBT กับการเป็นนักข่าวบันเทิงคงเป็นเรื่องคุ้นตาของใครหลายคน แต่ความเป็นจริงแล้ว LGBT ในวงการข่าวไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่นั้น แต่ยังอยู่ในสาขาอื่นๆ อย่างไอซ์-ปรัชญา นงนุช นักข่าวการเมืองสายทหารคนนี้

     จากความสนใจในการเมืองและอยากเป็นนายกรัฐมนตรีในวัยเด็ก ทำให้เธอพาตัวเองมาเกี่ยวข้องกับการเมืองในฐานะนักข่าวสายทหาร ที่ต้องติดตามทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ตั้งแต่ไปรอสัมภาษณ์จนถึงไปลาดตระเวน ซ้อมรบ จนเราแทบไม่คิดว่าเทยคนหนึ่งที่ดูจะห่างไกลเรื่องเหล่านี้ จะสู้ จะบู๊ บุกป่าฝ่าดงโดยที่ไม่สนใจว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตาม

 

ชีวิตในวัยเด็กเป็นอย่างไรบ้าง

     เรียกว่าซนมากค่ะ คือในบรรดาพี่น้องสามคนเราเป็นคนที่ซนที่สุด เราเป็นน้องสุดท้อง โดนคุณพ่อตีบ่อยๆ เพราะทำของในบ้านพัง หนักที่สุดเคยทำตู้กระจกพลิกลงมาทั้งใบแตก ดีที่ไม่เป็นอะไรเลย เพราะเราปีนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง เพื่อนบ้านต้องมากวาดกระจกให้ เป็นวีรกรรมที่เราจำมาจนถึงวันนี้

 

แล้วพ่อแม่มีกรอบอะไรให้หรือเปล่าเพราะซนมาก

     มีค่ะ ส่วนหนึ่งเราต้องมีระเบียบวินัย แต่พ่อแม่ไม่ถึงกับด่าหรือว่า แค่แยกเป็นเรื่องๆ ไป คือขออะไรไปก็ได้ แต่ก่อนจะได้ก็ต้องแลกมาด้วยเรื่องการเรียน ความมีวินัยและการใช้ชีวิตต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ทำมาตั้งแต่เด็กคือการทำงานบ้าน เราจะมีตารางเลย จำได้เลยว่าเริ่มช่วยงานบ้านตั้งแต่อนุบาล พอประถมฯ เริ่มมีหน้าที่ประจำคือต้องซักถุงเท้าเอง ต้องแบ่งเบาภาระที่บ้าน พอมัธยมฯ เริ่มรีดผ้า อะไรที่เป็นเรื่องส่วนตัวต้องทำเองทั้งหมด

 

ช่วงนั้นจำได้ไหมว่าเด็กชายปรัชญาอินกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ

     ตอนเด็กๆ มันอาจจะไม่ได้อินเฉพาะทาง เพราะว่าตอนนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่าไปทางไหน ไปอย่างไร แรงบันดาลใจเฉพาะตัวเพิ่งมาเกิดตอนมัธยมฯ เป็นช่วงที่เราเริ่มรู้ตัวเอง เริ่มมีไอดอล เริ่มรู้ว่าเราอยากจะเป็นอะไร

 

ไอดอลของเราตอนนั้นคือใคร

     ตอนเด็กไอดอลจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่นิ่งเลย มีไอดอลสูงสุดในชีวิตตอนเด็กๆ เคยฝันอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรี คิดอย่างนี้เลยนะ ตอนที่อยู่สวนกุหลาบฯ มีศิษย์เก่าที่เป็นนายกรัฐมนตรี 7-8 คน เลยคิดว่าฉันนี่แหละจะเป็นคนต่อไปของโรงเรียนให้ได้ นี่คิดขนาดนี้เลย นั่งคุยนโยบายกับเพื่อน เรียกได้ว่าสนใจเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก เป็นส่วนหนึ่งที่นำพาให้เรามาเรียนคณะรัฐศาสตร์ สมัยมหาวิทยาลัย

 

ช่วงมัธยมฯ เริ่มรู้ตัวว่าเราเป็นใคร แล้วเริ่มรู้ว่าตัวเองเป็นเพศอะไรด้วยใช่ไหม

     คือรู้ว่าเป็นประเภทไหนตอนมัธยมฯ แต่ถามถึงพฤติกรรม เราเริ่มมีลักษณะแบบนี้ตั้งแต่ประถมฯ

 

แล้วตอนนั้นเราเรียนมัธยมฯ โรงเรียนชายล้วน แล้วเป็นเทย โดนเพื่อนแซวหรือสับสนอะไรบ้างไหม

     ตอนอยู่ ม.1-2 แรกๆ เขาก็ไม่ชิน มันอาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่พอ ม.ปลาย ทุกคนก็เริ่มชินแล้ว และเราก็มีกลุ่มเพื่อนที่เป็นแบบเราก็อยู่ด้วยกัน พากันเรียน พากันเที่ยว โชคดีที่เราได้เพื่อนพากันเรียนหนังสือ ส่วนครอบครัวจริงๆ เขาน่าจะรู้เพราะพ่อแม่เขาอยู่กับเราทุกวัน ท่านรู้ในสิ่งที่เราเป็น แต่จริงๆ ท่านเป็นห่วงเพราะไม่อยากให้เราลำบาก อยากให้เราประสบความสำเร็จในชีวิต ท่านจะคอยเตือนคอยสอนตลอดเวลา ไม่ถึงกับห้ามอะไรใดๆ ไม่มีบรรยากาศมาคุ ไม่มีการมาคุยถกกันเครียดแบบนั้นเลย นี่คือความไว้ใจกับเกียรติที่เราได้รับจากพ่อแม่ ดังนั้นเราก็ต้องให้ที่บ้านกลับไปด้วยคือการทำให้เขาไม่เป็นห่วง และทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จในชีวิตเพื่อให้เขาไม่ต้องห่วงเรา

 

คุณบอกว่าชอบการเมือง อยากเป็นนายกรัฐมนตรี แรงบันดาลใจนี้มีมาตั้งแต่สมัยมัธยมฯ เลยหรือเปล่า

     สมัยเราอยู่มัธยมฯ มหาวิทยาลัย จนเรียนจบ เรามองภาพการเมืองไม่เหมือนกัน ด้วยการเติบโต องค์ความรู้ที่เราได้เห็น ประสบการณ์ที่เราได้รับ เรามองการเมืองแต่ละยุคเปลี่ยนไป แต่โดยองค์รวม จุดเปลี่ยนที่เรามองการเมืองมาเกิดตอนที่เรียนรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ด้วยการสอนของอาจารย์ทำให้เรามองโลกกว้างขึ้น ไม่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางแต่จะเอาตัวเองไปใส่ในตัวละครต่างๆ ว่าถ้าเป็นเขาจะตัดสินใจอย่างไรและทำอย่างไร คือไม่ให้โลกเข้าใจแต่เราไปเข้าใจโลก ว่าโลกเป็นแบบนี้แล้วเราจะมีความสุขและเมตตากับคนอื่นมากขึ้น

     คือบางคนเรียนรัฐศาสตร์แล้ววิจารณ์ทุกอย่าง จนเราหลงลืมไปแล้วที่เขาตัดสินใจอย่างนั้นมันมีปัจจัยอะไรหนุนอยู่บ้าง

 

พอมาเรียนรัฐศาสตร์จริงๆ มันสอดคล้องกับที่เราคิดไว้ไหม

     เด็กๆ เรามีความฝันว่าอยากเป็นโน่นเป็นนี่ และความฝันมันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะเรารู้ข้อจำกัดของเราว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีมันค่อนข้างจะยาก เราก็ปรับมาเป็นอย่างอื่น ส่วนหนึ่งเราเรียนรัฐศาสตร์ไม่ใช่เพราะอยากเป็นนายกฯ แล้ว แต่เราสนใจเรื่องเหล่านี้ ถ้าเรามาเรียนเรื่องที่เราชอบจะมีความสุขในการเรียน ส่วนปลายทางจะทำอาชีพไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ได้คิดว่าจะเป็นอะไรแล้ว แค่คิดว่ามาเรียนแล้วมีความสุข และความสุขจะทำให้เราไปสู่จุดที่ดีได้

 

ตอนนั้นเลือกเรียนเอกอะไร

     เอกการเมืองการปกครองเลย ได้เรียนสมใจอยาก จริงๆ ไม่ได้เรียนแค่ประวัติศาสตร์การเมือง แต่เรียนระบบการเลือกตั้งของไทยและต่างประเทศ ระบอบการเมือง เรียนทุกอย่างเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมด แม้กระทั่งเศรษฐศาสตร์การเมืองเราก็ต้องเรียน แล้วก็ไปต่อวิชาโทวิชาบริหารสื่อ คณะวารสารและสื่อสารมวลชน เราก็ต้องเอารัฐศาสตร์ไปเรียนด้วยอีก คือเราเรียนด้านการเมืองมาทั้งหมดจริงๆ

 

นอกจากเรียนยังมีทำกิจกรรมด้วย

     ค่ะ คือตอนสอบตรงติดก่อนประกาศผล จำได้ว่าไปที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เราตามไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาบอกว่าให้มาไหว้กันเราก็ไปไหว้ด้วยความเชื่อ แล้วเราก็ไปไหว้อนุสาวรีย์อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เราสัญญากับท่านว่าถ้าสอบตรงติดที่นี่หนูจะทำกิจกรรม เอาความรู้ที่มีมาทำเพื่อมหาวิทยาลัย บังเอิญเจอรุ่นพี่มาแนะนำว่า ‘ทำกิจกรรมมหาวิทยาลัยไหม’ เราตอบว่า ‘ได้ค่ะ ลองทำสภานักศึกษาดู’ เราเลยสมัครเป็นสมาชิกสภานักศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งมีผู้สมัคร 3 คน เอาแค่ 2 คน เราก็ได้กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง เป็นตัวแทนคณะไปนั่งในสภานักศึกษา ช่วยรุ่นพี่ตอนปี 1-2 พอปี 3 ตอนนั้นเราเริ่มเป็นรุ่นพี่แล้ว ตอนแรกเราก็คิดว่าจะทำต่อไปดีไหมหรือให้น้องทำ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจวินาทีนั้นว่า พี่ ‘เดี๋ยวหนูจะลงหัวหน้าพรรคนะ’ เราคุยทีเล่นทีจริงเลย พี่เขาก็บอกว่า ‘เอาสิ ลงเลยเดี๋ยวพี่ช่วย’ เราก็บอกว่า ‘ช่วยนะ’ เรื่องเรียนพี่เขาบอกว่า ‘เอาไว้ก่อนเดี๋ยวช่วยแน่ เดี๋ยวค่อยไปแก้ปัญหากัน คนอื่นยังเป็นกันได้เลยทำไมเธอจะเป็นไม่ได้’ เราเลยตกลง

     เริ่มจากการหาเสียง เราคิดยุทธศาสตร์ วางกลยุทธ์กันเยอะมาก ทำกันจริงจัง นั่งคิดนโยบายกัน เอาแผนของมหาวิทยาลัยมากางดูว่าจะทำอะไรในอนาคตบ้าง เพื่อเขียนนโยบายให้สอดรับกับแผนของมหาวิทยาลัย ซึ่งเราทำสภานักศึกษามาก่อน 2 ปี เราจะรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยว่าจะทำอะไร หรืออะไรที่คิดว่าทำได้จริง ตอนนั้นก็ให้เพื่อนคิดปณิธานของพรรคออกมาเป็น รู้งานในพื้นที่ รู้หน้าที่ในสภา เรารู้งานในพื้นที่เพราะเรามาก่อน รู้หน้าที่ในสภาเราก็รู้เพราะสภาต้องประชุม เราได้ทีมดีด้วยเพราะเพื่อนเก่ง รุ่นน้องขยัน รุ่นพี่เป็นที่ปรึกษาที่ดีมากเลยมาลุยกัน หาเสียงกันประมาณ 1-2 เดือน เราหาเสียง 2 ศูนย์ทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต จำได้ว่าไปหมด หาเสียงเราต้องล็อกเลยว่าวันนี้หาเสียงคณะไหน สายสุขศาสตร์ สายสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ หอพัก ตลาดนัด เช้า กลางวัน เย็น เราคิดไว้หมด กลางคืนก็ไม่ต้องนอนไปติดไวนิล ตื่นเช้ามาคนต้องเห็นพรึ่บ

     การลงพื้นที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งคือเราเห็นปัญหา ระหว่างหาเสียง คนเอาปัญหามาบอกเรา ซึ่งโชคดีอย่างหนึ่งคือผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเองก็ให้พื้นที่ให้เราได้นำเสนอสิ่งต่างๆ และมีงานที่เราจัดทุกครั้งคืองานนักศึกษาพบอธิการบดี ท่านจะมานั่งกับผู้บริหารคณะเพื่อมารับฟังนักศึกษาว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาจะส่งตรงถึงผู้บริหารและนำไปแก้ปัญหาต่างๆ นี่เป็นส่วนหนึ่ง และแต่ละรุ่นจะมีงานใหญ่ของตัวเองปีละชิ้น

 

ผลงานที่เราภูมิใจตอนเราเป็นประธานนักศึกษาคืออะไร

     เป็นงานใหญ่ที่สุดที่เราทำมาเลยคือการที่ไปร่วมเสนอเรื่อง พรบ.ของมหาวิทยาลัย ตอนนั้นเราจะได้ยินคำว่าออกนอกระบบ เราจะได้ยินกันมาตลอด ทุกมหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบอยู่แล้ว คือไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เขาเรียกกันเป็นภาษาราชการ เราไม่สามารถคัดค้านนโยบายนี้ว่าห้ามทำ เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายของประเทศ สิ่งที่สำคัญคือเมื่อเราต้องทำแล้วเราต้องฟังความคิดเห็นของทุกคน เราจะต้องร่วมมือกันทำเพื่อให้ผลออกมาดีที่สุดเพราะบางมหาวิทยาลัยก็ทำสำเร็จ บางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นก็มี เราก็เห็นตัวอย่างมาแล้ว ดังนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยของเราต้องก้าวไปตรงนั้นก็ต้องร่วมมือ ซึ่งผู้ใหญ่ก็รับฟังความเห็นเราพอสมควร แต่มันมีกระบวนการหลายอย่างที่เราต้องพิสูจน์ในส่วนของนักศึกษาเองว่าเราสามารถที่จะทำหน้าที่ได้อย่างไรบ้าง เช่น เราต้องไปยื่นหนังสือต่อสภาตอนนั้น ขอให้สภาชะลอร่างไว้ก่อน ยื่นหนังสือผู้นำฝ่ายค้าน ผู้นำฝ่ายรัฐบาล และประธานรัฐสภา

 

ตอนนั้นที่เป็นประธานนักศึกษาภาพลักษณ์เป็นอย่างนี้เลยไหม

     ตอนนั้นผมยังสั้น แต่ตอนหาเสียงเราก็แต่งเป็นผู้หญิงอยู่แล้ว ตอนคิดนโยบายเราก็คิดกันว่าเราจะ Represent ความเป็น LGBT เลยหรือเปล่า คำตอบที่เราคุยกันในวงประชุมคือห้าม คืออย่าเอาตรงนี้มาเป็นจุดขาย ควรเอาตรงนี้มาเป็นแรงขับในการทำงานมากกว่า เราเลยแสดงออกเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่จะมาทำงาน ตอนนั้นใส่กระโปรงผมไม่ยาวมาก เขาก็คิดว่าคงเป็นผู้หญิง แต่พอเราพูดว่าสวัสดีค่ะ คำเดียวเท่านั้นแหละทุกคนก็รู้ว่าเรามาแบบไหน

 

แล้วประสบการณ์ของการเป็นประธานนักศึกษามันปูเส้นทางการเป็นนักข่าวอย่างไรบ้าง

     เริ่มปูเลยค่ะ คือเราเจอผู้ใหญ่ของบ้านเมืองมากมายหลายท่าน เริ่มได้คุย และเริ่มเห็นการทำงานของสื่อมวลชน ส่วนหนึ่งก็คือเรามีรุ่นพี่ที่เป็นสื่อมวลชน นักข่าว หรือทำงานสื่อ เขามักจะมาเล่าเรื่องการทำข่าวให้เราฟังอยู่ตลอด ว่าวันนี้เขาไปเจอใครมาบ้าง รัฐมนตรีท่านไหน เราฟังแล้วน่าสนใจดี มันท้าทาย แล้วเราก็เป็นคนชอบอ่านข่าว อ่านหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว เราก็เลยคิดว่าหรือนี่จะเป็นทางของเรา

 

จุดเริ่มต้นของการเป็นนักข่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร

     มีการสมัครงานและจัดบูธที่มหาวิทยาลัย มีสำนักข่าวต่างๆ มาตั้งบูธ เราสมัครเป็นนักข่าวเลย เราทิ้งใบสมัครไว้สุดท้ายเขาก็เรียกตัวและรับเราเป็นนักข่าว

 

ตอนนั้นเลือกที่จะเป็นสายการเมืองเลยหรือเปล่า

     เลือกเลยค่ะ ตอนสมัครต้องเลือกเลยว่าต้องทำสายอะไร เราเลยว่าเป็นสายการเมืองแล้วค่อยเลือกย่อยลงมาอีกว่าเราอยากเป็นสายทหาร

 

เขาแบ่งกันอย่างไร

     แต่ละที่จะแบ่งไม่เหมือนกัน เพราะสำนักข่าวใหญ่ๆ จะมีหลายทีมเลยจะแบ่งย่อยเยอะ สำนักข่าวกลางถึงเล็กก็ตามจำนวนนักข่าวและตามหมายใหญ่ๆ มากกว่า ซึ่งเราเลือกดูสายทหารและปฏิเสธไม่ได้ว่าการเมืองปัจจุบันเกี่ยวข้องกับทหารโดยตรง เพราะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีจากทหาร และมีเหตุการณ์รัฐประหารมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเราปฏิเสธเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ ดังนั้นเราคิดว่าเป็นห้วงเวลาที่เป็นโอกาสที่จะได้มาทำข่าวในห้วงเวลาสำคัญของประเทศหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร

 

ครั้งแรกที่ลงพื้นที่ทำข่าวจริงๆ บรรยากาศเป็นอย่างไรบ้าง

     ครั้งแรกยังตามรุ่นพี่ไปอยู่ จำได้ว่าเป็นแถลงของพรรคเพื่อไทยแต่จำรายละเอียดไม่ได้ว่าแถลงเรื่องอะไร เราลนมาก ไม่รู้ว่าจะทำอะไรก่อนหลังดี เพราะนักข่าวสมัยนี้ต้องเขียนข่าว สรุปประเด็น ทวิตเตอร์ ส่งประเด็น คือต้องทำหลายอย่างมากเพราะโซเชียลมีเดียมาแรง เราลนมากตอนนั้นสุดท้ายก็ใช้เวลาปรับตัว 1-2 เดือน แล้วเราจะเร่ิมเข้าใจธรรมชาติของการทำงานมากขึ้น พอครั้งที่ 2-3 ไปที่ ปปช. บรรณาธิการข่าวให้ลุยเองไม่มีพี่เลี้ยง มีแค่ช่างภาพและผู้ช่วยช่างภาพ เราต้องจดประเด็นแต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่เราได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนที่มาทำงานก่อนเรา จากรุ่นพี่ในสนามที่อาวุโส เราไม่รู้อะไรเราก็ถาม พี่คะ ประเด็นนี้เป็นอย่างไรเราไม่ทราบ จนพี่ๆ เขาช่วยบอกเราจนเราส่งข่าวได้ทันเวลา เวลาบีบมาก เช่น ข่าวเที่ยง ข่าวค่ำ เราต้องเอาประเด็นสำคัญที่สุดมา จริงๆ นักข่าวเขาช่วยกันจำประเด็น จด ซักถามกันอยู่แล้ว เป็นการทำงานร่วมกัน

 

เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะว่านักข่าวมีกระบวนการการทำข่าวอย่างไรบ้าง

     แต่ก่อนเราจะมีช่องใหญ่ๆ หนังสือพิมพ์ แต่สมัยนี้มีช่องดิจิทัล ทีวี เว็บไซต์ สื่อเยอะมาก ทุกคนก็จะมีกลุ่มเพื่อนเอาไว้คุยข่าวกัน ตอนเช้าสิ่งที่นักข่าวถูกปลูกฝังมาตลอดคือต้องตามข่าว อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง ฟังวิทยุบ้าง อ่านออนไลน์ตั้งแต่เมื่อคืนบ้าง ส่วนตัวจะอ่านออนไลน์ตั้งแต่เมื่อคืน ตอนเช้าหนังสือพิมพ์อ่านแต่หน้าข่าวว่ามีประเด็นอะไรที่โดดออกมา อันไหนสนใจเราก็ลิสต์เอาไว้ไปอ่านเนื้อใน เก็บข้อมูลไปถามผู้ที่เกี่ยวข้องที่เราต้องเจอวันนั้น แต่ละวันเราจะไม่ได้เจอผู้ใหญ่ทั้งหมด เจอแค่บางท่าน เรื่องนี้ต้องท่านนี้เราก็เก็บประเด็นไปถาม เขาถึงบอกว่านักข่าวทำงาน 24 ชั่วโมงไม่มีวันพัก แม้แต่วันพักร้อนก็ยังตามข่าว ยกเว้นบางคนปิดสวิตช์จริงๆ ก็มี แต่กลับมาก็ต้องมาตามอ่านข่าวเก่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างไม่อย่างนั้นจะตามไม่ทัน แต่ละวันจะมีประเด็นหลากหลาย แล้วข่าวการเมืองเป็นข่าวที่ผ่านไปวันเดียวก็เก่าแล้วในบางประเด็น เช่น วันนี้เรื่องนี้ปุ๊บ พรุ่งนี้เป็นเรื่องใหม่แล้ว นี่เป็นธรรมชาติของข่าวการเมืองคือมาเร็วและไปเร็ว

 

ทหารมี 3 เหล่าทัพเราต้องตามทั้งหมดเลยหรือเปล่า

     ทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศ และกองทัพไทยเราต้องไปหมดเลย แต่เราต้องดูขอบเขตว่าวันไหนมีหมายข่าวชนกันเราก็ต้องเลือกว่าจะไปไหน แต่กองทัพที่นักข่าวสนใจและให้ความสำคัญมากที่สุดคือกองทัพบก แต่แล้วแต่กรณีด้วย บางช่วงก็เป็นเวลาของกองทัพเรืออย่างที่เราทราบว่าก่อนหน้านี้มีเรื่องเรือดำน้ำ กองทัพเรือก็จะเนื้อหอมมากเพราะเราต้องตามไปทำข่าว กองทัพอากาศก็จะมีเรื่อยๆ เรื่องประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อการอัพเกรดเครื่องบิน เราไม่ได้ตามทหารที่เป็นระดับผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่านั้น ทหารระดับ ผบ.หน่วย ผู้พัน ผู้การ กรม เราก็ต้องตาม เพราะแต่ละหน่วยจะมีการทำงานที่แตกต่างกันไปตาม 4 ภูมิภาค

     เราตามการทำงานในหลายมิติ การซ้อมรบเราก็ต้องไป

 

ทหารซ้อมรบกันบ่อยไหม

     มีซ้อมตลอดทั้งปีค่ะ แต่จะถี่หน่อยช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูฝน เพราะไม่มีมรสุม แต่ช่วงมรสุมก็ซ้อมนะคะ ดูเป็นเคสๆ ไป ดูประเด็นที่เราสนใจจะตาม

     เวลาซ้อมรบจะมีหลายแบบ ขออนุญาตแยกเป็นรายกองทัพ ถ้ากองทัพบกเขาจะมีเนินไม่สูงมาก ไว้สำหรับเป็นที่ดู ซึ่งการยิงกระสุน การยิงระเบิดก็ไม่ได้อยู่ไกลมาก อยู่ในระดับที่เราได้รับไอความร้อนกับกลิ่น เราได้เห็นการทำงานของอาวุธต่างๆ ทั้งรถถัง ยานเกราะ การยิงกระสุนปืน บางทีกระสุนปืนระยะใกล้ๆ ตัว เห็นเครื่องบิน

 

มีหลุดกรี๊ดหรือตกใจบ้างไหม

     แรกๆ เป็นค่ะ อุ๊ย อ๊าย แต่หลังๆ เรารู้จังหวะ ตู้มแล้วก็เกร็งไว้ เรารู้จังหวะแม้กระทั่งลำนี้จะยิง เครื่องบินจะโผล่มาอย่างนี้ คืออาจจะด้วยเซนส์และมีพิธีกรพากย์บอกก่อนเราเลยจับทางได้ พิธีกรจะบอกว่า 10 นาฬิกา 13 นาฬิกา อันนี้อยู่ตรงนี้ โผล่มาตรงนี้เขาจะพากย์ตลอด เราจะเกร็งได้ แต่บางจังหวะมาแบบไม่รู้ตัวเลยก็มี เราก็อุ๊ย บางทีผู้ชายร้องดังกว่าเราอีก เราก็หันไปดูผู้ชายว่าเป็นอะไรคะ นั่นก็เป็นสีสัน

 

กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ฝึกพร้อมรบเป็นหน่วยกองพัน ประจำปี 2560 ที่บ้านดีลัง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

 

แล้วกองทัพเรือละคะ

     เราไปล่องเรือจักรีฯ นะ ออกไปกลางทะเลเลย บางทีไปกลางสายฝนเลยก็มี ไปหมด เราเคยขึ้นเรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือตรวจการณ์ก็ได้ขึ้นหลายลำ แต่ละลำก็จะแตกต่างกัน แต่ยังไม่มีประสบการณ์ตอนยิงกระสุนเท่าไร แต่เห็นตอนที่เขาซ้อมรบร่วมกันหลายเหล่าทัพ บก เรือ อากาศ ตำรวจ มาร่วมกัน มีเครื่องบิน F-16 เครื่องบินกริพเพนเราก็ได้เห็น มีเรือลาดตระเวนของตำรวจ เรือยางก็จะได้เห็น

 

ได้ขึ้นเรือดำน้ำหรือยัง

     อุ๊ย รออีก 6 ปีนะคะอันนี้ แต่ว่าคงไม่ได้เข้า อย่างมากก็คงได้เห็นพิธีเปิด คุยกันนะคะว่าจะพยายามอยู่ให้ถึง เราอยู่ในวันที่เขาอนุมัติแล้วเราต้องอยู่ให้ถึงให้เห็นของ

 

แล้วที่สั่งมาคือยังไม่ได้ของ

     อีกประมาณ 6-7 ปี ถึงจะต่อเสร็จค่ะต้องรอ อยากจะเสริมนิดนึง คือเรือมีหลายอย่าง เรือตรวจการณ์ล่องน้ำโขงดูแลชายแดนไทย-ลาวก็มี แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่จำจนตายคือล่องกลางแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ เป็นเรือตรวจการณ์ลำเล็กๆ แล้ววิ่งเร็วมาก เกือบ 100  กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมุนทีเราก็กลิ้งอยู่ในเรือเป็นลูกขนุน ขาแพลงเดินกะเผลกๆ ก็เป็นประสบการณ์คือทหารไปไหนเราก็ไปด้วย

 

กองทัพเรือฝึกภาคทะเล ประจำปี 2560 ร่วมกับ 4 เหล่าทัพ นำโดยเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในอ่าวไทย

ฝึกผสม Blue Strike 2016 โดยหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินไทย-จีน ที่บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันบุรี

พิธีบรรจุเครื่องบิน Sukhoi Superjet 100LR จากประเทศรัสเซีย 2 ลำ ที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

 

กองทัพอากาศเป็นอย่างไรบ้างคะ

     กองทัพอากาศยังไม่มีโอกาสได้ไปเท่าไร ที่ได้ไป เช่น การฝึกบินของไทย-จีน มีเครื่องกริพเพน ได้คุยกับนักบินจีนโดยผ่านล่าม ได้ไปดูการทำฝนหลวง การโปรยเมฆ

 

เห็นว่ากองทัพบกมีไป 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยใช่ไหมคะ

     ช่วงที่เรามาทำข่าวมันไม่เท่ากับช่วงที่มีเหตุการณ์เกิดใหม่ๆ เพราะจะมีนักข่าวภูมิภาคดูแลอยู่ เราจะเห็นช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ ครั้งหนึ่งก่อนไปจำได้ว่ามีระเบิด 10 กว่าจุด ได้ไปเห็นร่องรอยมากกว่า คือถ้าไม่ได้คิดว่าเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ปกติ แต่อาจจะมีสิ่งที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นคือจะมีด่านตรวจเยอะ มีแท่งแบริเออร์หรือแท่งปูนหน้าบ้านคนเอาไว้กันระเบิด และจังหวัดชายแดนภาคใต้เขาจะจอดรถชิดเกาะกลางถนนเพื่อกันคาร์บอมบ์ เขาจะไม่ชิดบ้านคน แต่ว่าในพื้นที่ทุกคนก็ปรับตัว เราได้คุยกับประชาชนซึ่งเขากล้าเล่าบางอย่างให้เราฟัง เขาคุยกับเราแล้วเขาสบายใจ บางทีเราได้ข้อมูลมาเราสามารถสะท้อนให้สังคมเห็นว่าประชาชนในพื้นที่คิดแบบนี้ ซึ่งข้อมูลบางอย่างประชาชนไม่กล้าเล่าให้ฝ่ายรัฐฟัง แต่เขาสบายใจจะเล่าให้สื่อฟัง เราอาจจะมีศิลปะในการพูดคุย เป็นบทบาทของสื่ออีกบทบาทหนึ่ง

 

ปฏิบัติภารกิจพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ฝึกดำรงชีวิตในป่า ฝึกผสม Panther Gold 2017 กองทัพบกไทย-อังกฤษ เรียนรู้จับงูจงอางที่กองพลทหารราบที่ 9 จ.กาญจนบุรี

 

มีวันที่สถานการณ์ตึงเครียดบ้างไหม

     เราไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรตึงเครียดที่สุด แต่ถ้าทำมา 3-4 ปี บรรยากาศความตึงเครียดทางการเมืองก็มีอยู่เรื่อยๆ แต่ตึงเครียดที่สุดเราถือเรื่องชีวิตคน ตอนนั้นเราเพิ่งทำข่าวได้แค่เดือนเดียวก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร มีการชุมนุมกันที่แยกปทุมวัน และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตอนนั้นคนออกมาด้วยความไม่พอใจและไม่เห็นด้วย ตรงนี้คิดว่าจะมีการเผชิญหน้ากันหรือเปล่า ในห้วงเวลาแหลมคมแบบนี้จะประคองสถานการณ์กันไปอย่างไร และมือที่ 3 เราคิดไปเยอะ สิ่งที่เราเห็นและเรารู้สึกว่าพีกเลยคือภาพทหารกับประชาชนเผชิญหน้ากัน มีการต่อว่ากัน คือระยะห่างไม่มากในฐานะสื่อจะทำอย่างไรดี มันไม่ควรมีคนตายกับเรื่องแบบนี้ เราไม่อยากให้มีอะไรเกิดขึ้น แต่สุดท้ายการชุมนุมก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ที่อนุสาวรีย์ชัยก็เหมือนกัน วันนั้นมีชุมนุมกันช่วงเย็น ฟ้าเริ่มมืด เป็นที่โล่ง มีตึกสูงเยอะ เราก็กลัวว่าจะไม่ปลอดภัย นี่คือเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันตึงเครียดมาก พูดตรงๆ คือเรายังไม่ผ่านเท่ากับนักข่าวคนอื่น เพราะบางคนผ่านช่วงการสลายการชุมนุม เขาเจอแก๊สน้ำตาเพราะนักข่าวอยู่ทั้งฝั่งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐด้วย

     นักข่าวบางคนเคยเล่าเรื่องในอดีตให้ฟัง หลายคนอยู่ในเหตุการณ์เมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามีไฟ และยังมีใจที่อยากจะมีประสบการณ์ในวงการนี้ คิดว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เป็นข่าว ข่าวที่ไม่เป็นข่าวมันเป็นอะไรที่คลาสสิกมาก มันเป็นเรื่องเล่าปากต่อปาก บางเรื่องอาจเป็นความประทับใจ ความทรงจำ หรืออาจเป็นเรื่องที่บางคนไม่อยากจำแต่เขาก็ถ่ายทอดให้เราฟัง บางเรื่องถ้าบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ คนรุ่นหลังก็จะได้รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองของเรา

     เหตุการณ์ที่เราบันทึกเอาไว้เลยคือเมื่อ 13 ตุลาคมเมื่อปีที่แล้ว เรามีข่าวเศร้าของคนไทยทั้งประเทศ วันนั้นอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล เรารอประกาศอย่างเป็นทางการทางโทรทัศน์ ได้เห็นบรรยากาศในทำเนียบรัฐบาลวันนั้น รอนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เรารับรู้ข่าวพร้อมกัน บรรยากาศวันนั้นผู้สื่อข่าวร้องไห้ คิดว่าเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นความทรงจำในการทำข่าวของเรา เพราะทำเนียบรัฐบาลเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าไปได้ แต่เราได้เห็นบรรยากาศวันนั้น ถ้าเรามีลูกหลานเราก็อยากถ่ายทอดบรรยากาศวันนั้นให้เขาฟังว่าเป็นอย่างไรบ้าง

 

ช่วงเวลาที่คุณเข้ามาทำงานมันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนไม่ค่อยเห็นด้วยกับทางทหาร ในฐานะที่เราเป็นนักข่าวสายทหารคุณคิดเห็นอย่างไรบ้าง

     มันเป็นธรรมดา ไม่มีใครสามารถเห็นด้วยกับทุกเรื่อง คนรักกองทัพก็ต้องมีคนไม่ชอบกองทัพ คนรักก็ไม่ได้เห็นด้วยกับทหารทุกเรื่อง คนไม่รักก็ใช่ว่าจะไม่เห็นด้วยไปทุกเรื่อง มันเป็นพื้นที่สีเทาสลับกันไปกันมา แต่สิ่งที่เราต้องทำก็คืออะไรที่ประชาชนตั้งคำถามมากๆ หรือมีกระแสในโซเชียลมีเดียเราต้องเอาไปถามผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในยุคนี้คือเรื่องความจำเป็นในการจัดซื้ออาวุธ เป็นคำถามที่เราถามมาตลอดว่าซื้อมาแล้วจะใช้ในงานแบบไหน งบประมาณอย่างไร ผูกพันแบบไหน ใช้งบส่วนไหน ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เราทำมาตลอด และข้อมูลที่มีการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ก็มาจากนักข่าวสายทหารที่ได้ข้อมูลมาตีแผ่ ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ว่าคุ้มค่าหรือไม่ก็อยู่ที่สังคมด้วยว่าจะตีความแบบไหน ถ้าสังคมมองว่าไม่คุ้มค่าทางกองทัพและรัฐบาลต้องเอากลับไปตีโจทย์มองว่าจะทำอย่างไร ชี้แจงอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจหรือปรับแบบไหนให้ประชาชนรับได้ เขาถึงบอกว่าสื่อคือสื่อกลาง แต่สื่อก็มีสิทธิ์วิจารณ์นะคะ ถ้าเรามองว่าโครงการนี้ไม่คุ้มค่า เราก็เอาข้อเท็จจริงตรงนี้ไปถามผู้ใหญ่ของบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง คือเรามีโอกาสเจอผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ผู้นำกองทัพ เราก็จะเอาตรงนี้ไปถาม เพราะเราถือว่าเรามีโอกาสได้ถาม ไม่ใช่ทุกคนจะมีโอกาสทำหน้าที่นั้น ตรงนี้คิดว่าเป็นสิทธิพิเศษของสื่อแต่สื่อก็มีกรอบที่ต้องยึดมากกว่าคนอื่นคือเรื่องจรรยาบรรณ เรื่องวิชาชีพของสื่อ เรื่องการเสนอข้อเท็จจริง บางอย่างเราวิจารณ์มากแต่สุดท้ายมันก็ต้องอาศัยข้อมูล ข้อเท็จจริง ใช้อารมณ์ไม่ได้ เพราะไม่อย่างนั้นก็จะไม่น่าเชื่อถือ

 

ในฐานะสื่อที่เป็นคนต้องคอยซักถามกดดันบ้างไหม เพราะข่าวจากทหารคนน่าจะจับตามองและอยากจะรู้มากที่สุด

     ส่วนตัวเราโดนนะคะ คนบางคนเขาเชื่อแบบไหนเขาจะมองว่าเราตรงข้ามตลอด บางคนที่รักทหารก็จะมองว่าเราแอนตี้กองทัพ แต่บางคนไม่รักทหารก็จะมองว่าทำไมนักข่าวคนนี้ต้องไปซักไปถาม ซัพพอร์ตจังเลย แล้วแต่คนอ่านคนดู ซึ่งเราก็น้อมรับคำวิจารณ์อยู่แล้วเพราะเราเองก็เขียนงานวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ไว้เยอะอยู่ ในเมื่อเราเขียนวิเคราะห์วิจารณ์คนอื่นไว้ เราก็ต้องยอมรับการวิจารณ์กลับเหมือนกัน บางทีข่าวที่เราทำไปขึ้นเพจหรือมีคนแชร์ไป เราก็ไปตามอ่านว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อันไหนที่ดีเราก็เก็บเอาไว้ อันไหนที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าใจเราก็อ่านไว้เพื่อสะกิดตัวเอง อะไรที่อ่านไว้แล้วมีกำลังใจเราก็เก็บเอาไว้สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง เราต้องทำใจให้สตรองเอาไว้ คือแรกๆ ก็งงว่าทำไมต้องมาว่าเราแรงขนาดนี้ ตัดพ้อกับตัวเองเลยนะคะ แต่มันโดนบ่อยๆ เราก็รู้สึกว่าอีกแล้วเหรอ ไม่เป็นไร ชินแล้ว

 

ติดตามสถานการณ์ทำข่าว-สัมภาษณ์นายทหาร-คสช.

ทำข่าวนายกรัฐมนตรีก่อนเข้าประชุม

 

คิดว่าความเป็นเทยของเราพอเข้าไปทำงานกับทหาร เขาปฏิบัติกับเราอย่างไรบ้าง ให้ความอ่อนโยนไหม

     แล้วแต่คนนะคะอันนี้ บางคนมองเราเป็นผู้หญิงไปเลย บางทีเขายังแอบไปถามพี่ๆ นักข่าวอยู่เลยว่าน้องคนนี้เป็นผู้หญิงจริงหรือเปล่า บางคนมองไม่ออกก็มี เราที่เป็น LGBT อยู่ด้วยกันก็จะเปิดเผยกันอยู่แล้ว แต่บางทีเวลาทำงานก็จะเป็นอีกบุคลิกหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องของความสบายใจหรือภาพลักษณ์ของเขาแต่อยู่ด้วยกันเราก็คุยกันปกติ ทหารบางคนก็เอ็นดู เราเป็นจุดเด่น สามารถหาแหล่งข่าวหรือคุยกับแหล่งข่าวได้ง่ายขึ้นด้วย เราแต่งเป็นผู้หญิงที่อยากคุยกับเราก็มี บางทีก็แกล้งเราแซวเราแบบน่ารักๆ คือเขาให้เกียรติเราในฐานะที่เราเป็นนักข่าว ถึงเวลาทำงานเขาไม่ได้มองเราในฐานะที่เราเป็น LGBT โดยตรงเขาจะมองเราเป็นนักข่าว เขาก็จะปฏิบัติกับเราเหมือนปฏิบัติกับนักข่าวผู้หญิง แต่บางทีเราก็มีแซวทหารเหมือนกัน แซวมาก็แซวกลับคุยกันแบบขำๆ คุยในฐานะที่บางคนเจอหน้ากันทุกวัน แต่สิ่งที่เราต้องทำคือหน้าที่ เมื่อมีปัญหาเราก็ต้องไปถามเขา แม้จะรู้จักกันแบบไหน พอถึงเวลาจริงเราก็ต้องถามเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการรู้ และเขาก็ต้องชี้แจง มันเป็นส่วนของเขาแล้วว่าเขาจะชี้แจงอย่างไร ให้สังคมวิเคราะห์อย่างไร แต่เราก็มีหน้าที่ถามเหมือนเดิม

 

เป็นนักข่าวมาสักระยะแล้วความฝันที่อยากเป็นนายกรัฐมนตรียังอยู่ไหม

     ไม่อยู่แล้วค่ะ เพราะวันนี้เราไปสัมภาษณ์นายก เรารู้สึกว่าไม่เป็นดีกว่า เราก็จะเป็นนักข่าวต่อไปอยู่ ตอนนี้ไม่ได้คิดทำอะไรอย่างอื่นเลย เพราะไม่รู้จะทำอะไร ถ้าเราไปทำอย่างอื่นก็ยังไม่รู้ว่าจะใช่เราหรือเปล่า และเรายังสนุกกับตรงนี้อยู่เพราะเรายังไม่ได้ทำข่าวรัฐบาลพลเรือนอย่างเต็มรูปแบบ เรายังไม่ได้เจอสภาที่มีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ ยังมีเรื่องที่เรายังอยากทำ อยากเรียนรู้ คือตื่นมานี่เราคิดแล้วว่าเราจะทำอะไร สัมภาษณ์ใคร อยากคุยกับใครเรื่องไหนเราคิดไว้แล้ว คือเรายังมีไฟอยู่ อยากจะทำตรงนี้ให้ดีที่สุด

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest ปรัชญา นงนุช

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

The post เทยนักข่าวสายทหาร: ตามสัมภาษณ์ทหาร ลาดตระเวน ยันซ้อมรบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Unisex Model นายแบบและนางแบบในคนเดียวกัน https://thestandard.co/podcast/toeytey10/ Thu, 09 Nov 2017 06:09:30 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=42578

     ถ้าใครได้ดูรายการ The Face Men Thai […]

The post Unisex Model นายแบบและนางแบบในคนเดียวกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ถ้าใครได้ดูรายการ The Face Men Thailand ที่เพิ่งผ่านไป คงต้องจำผู้ชายผมยาวที่เป็นได้ทั้งนางแบบและนายแบบในคนเดียวกันอย่าง เติร์ท-ธนภพ อยู่วิจิตร ได้ อย่างที่เรารู้ เติร์ทคือ LGBT เพียงคนเดียวในรายการที่เต็มไปด้วยผู้ชายกล้ามใหญ่ ในขณะเดียวกันสิ่งที่เติร์ทเป็นกลับไม่ได้ถูกข่มหรือเป็นปมด้อยในรายการแต่อย่างใด แต่กลับสร้างความโดดเด่นและยอมรับจากคนทั่วไปว่าเติร์ทเป็นอย่างที่ตัวเองเป็น

     คราวนี้เราจะคุยกับเติร์ทแบบลงลึกในหลายด้าน ทั้งเรื่องราวในวัยเด็ก ชีวิตส่วนตัว ความชอบ รวมถึงทัศนคติที่ทำให้เรารู้ว่าเติร์ทไม่ได้มีดีแค่หมุนฟูลเทิร์น

 

รู้สึกอย่างไรกับรายการที่เพิ่งผ่านไปบ้าง

     ตอนอยู่ในรายการสนุกดี มันมีหลายความรู้สึก ทั้งเครียด ทั้งแฮปปี้ ทั้งสนุก มันได้เรียนรู้ทุก Episode ที่เราถ่าย เหมือนกับได้ความรู้เยอะมาก ได้ทำให้เราเติบโตขึ้นกว่าก่อนที่เราจะเข้าไป ไม่น่าเชื่อว่าภายใน 4 เดือนมันจะสามารถเรียนรู้อะไรได้เยอะขนาดนี้

 

ชีวิตในวัยเด็กเติร์ทเป็นเด็กอย่างไร

     เป็นเด็กแฮปปี้ แต่ก็โดนเพื่อนแกล้งบ้าง เรื่องเป็นตุ๊ด มันน่ารำคาญนิดหนึ่ง

 

คือเราแสดงออกตั้งแต่เด็กเลย

     ใช่ ตอนเด็กๆ ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงแสดงออกแบบนี้ คือเราเป็นแบบนี้ คือเรารู้สึกว่าทำไมเราเอาผ้าขนหนูมาทำเป็นผม แล้วเอาผ้ามาพันเป็นกระโปรงเดินอยู่ในบ้าน พอแม่มาก็รีบถอดแล้วโยนทิ้งแล้วปลดล็อกประตูเพราะล็อกบ้านไว้ แม่ก็จะไม่รู้ อยู่โรงเรียนก็แสดงออก แต่แรกๆ พ่อแม่ก็ไม่รู้ มารู้ทีหลังก็โอเค เขาชิลล์

 

เราสนใจเรื่องแฟชั่นมาตั้งแต่เด็กเลยหรือเปล่า

     ใช่ เพราะแม่ชอบดู Fashion TV มันมีรันเวย์ ก็หัดเดินอยู่ที่บ้าน ก็เดินเล่นเพราะมาจากอินเนอร์

 

พ่อกับแม่เขาเข้มงวดกับเรามากไหมหรือปล่อยไปเลย

     แรกๆ พ่อก็ส่งไปเตะบอลเหมือนกันนะ ตอนนั้นเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องส่งเราไปเตะบอลด้วย ไม่อยากเตะเลย พ่อเขาไม่เก็ต นึกว่าไปอยู่กับผู้ชายแล้วจะเป็นผู้ชาย แต่ความจริงมันไม่ใช่ Life doesn’t work that way

 

เติร์ทเป็นลูกครึ่งหรือเปล่าเห็นถนัดพูดทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

     ไม่ใช่ คือมันติด ปกติใช้ภาษาอังกฤษเยอะกว่า เรียนอินเตอร์ด้วย แล้วก็อยู่กับคนที่พูดภาษาอังกฤษเยอะกว่าภาษาไทย เด็กๆ เติร์ทเรียน 2 ภาษา แล้วไปอยู่สิงคโปร์แล้วถึงกลับมา

 

แล้วชีวิตที่สิงคโปร์เป็นอย่างไรบ้าง

     ก็ออกสาว คนจีนก็จิกสุด ด่าสุด โฮสต์ที่บ้านก็บอกว่าเติร์ททำแบบนี้ไม่ได้ ก็แต่งหน้าอยู่บ้านด้วยความสวย เติร์ทไปอยู่ปีหนึ่งแล้วเขาก็จะเรียนซ้ำชั้น เริ่มไม่อยากอยู่เลยกลับมาเมืองไทยและมาเรียนอินเตอร์ เรียนไปเรียนมาก็ไม่ชอบ ก็ดรอป ลาออกและสุดท้ายก็สอบเทียบเอา

 

อย่างนี้แสดงว่าที่บ้านให้อิสระพอสมควร

     มากเลยล่ะ ไม่น่ามีพ่อแม่คนไหนให้ทำกับการเรียนๆ ดรอปๆ แบบนี้

 

แล้วเติร์ทเข้ามาสู่การเป็นนายแบบได้อย่างไร

     นานแล้วนะ ตั้งแต่เติร์ทอายุ 15 ปี ตอนแรกเติร์ทถ่ายแค็ตตาล็อกเล่นๆ กับเพื่อน ทีนี้เพื่อนก็บอกว่ามีโมเดลลิ่งชื่อ Model 65 เขารับสมัครนายแบบ เติร์ทก็สมัครไป มีทั้งเรียนเดินแบบ ถ่ายแบบ พอทำงานมาสักพักหนึ่งเติร์ทก็ออกจาก Model 65 ผ่านไปไม่นานก็มีเอเจนซีอีกที่มาถามว่าอยากทำอยู่ไหม Why not? เติร์ทเลยไปอยู่กับที่ Magnet Model และก็มาสมัคร The Face

 

เรามาสนใจความเป็นนายแบบได้อย่างไร นับจากเดินแฟชั่นเล่นๆ ที่บ้านมา คือสิ่งที่เราอยากทำจริงๆ เลยหรือเปล่า

     It’s do it for fun at first. คือดูและทำเพราะชอบอย่างเดียวเลย ไม่ได้ทำเพราะอยากได้เงิน แล้วก็ทำมาเรื่อยๆ

 

คอนเซปต์ที่ได้ตั้งแต่เริ่มถ่ายมาใหม่ๆ เราได้ Unisex ตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่า

     เติร์ทถ่ายเป็นผู้ชายมาตลอด หลังๆ เพิ่งได้ถ่าย Unisex หลังจากถ่ายนิตยสาร LIPS มาครั้งหนึ่ง ตอนนั้นใส่กระโปรง Gucci ถ่าย I loved it! จริต อินเนอร์เข้ากว่า I’m sticking to this side.

 

แล้วทำไมถึงเลือกสมัคร The Face Men

     คือเกิดจากความจับพลัดจับผลู เพื่อนชวนว่าไปไหม เติร์ทก็เลยไปด้วย เติร์ทปรินต์รูปวันนั้นเลย เขาปิดแคสติ้งประมาณ 5 โมงเย็นเราไปก็บ่าย 3 บ่าย 4 แล้ว

 

ตอนสมัครกรรมการมีถามคำถามอะไรบ้าง

     มีคำถามหนึ่งเขาถามว่า เห็นคนอื่นกล้ามใหญ่มากในขณะที่เราไม่มี เรารู้สึกว่าเป็นจุดด้อยของเราหรือเปล่า เติร์ทตอบว่า ไม่ ทุกคนมีร่างกาย มีสรีระที่ไม่เหมือนกัน มันไม่ได้เป็น stereotype ที่นายแบบทุกคนต้องกล้ามใหญ่ No, there is another type of model too.

 

 

ตอนที่รู้ตัวว่าติดรอบสุดท้ายของ The Face Men Thailand รู้สึกอย่างไรบ้าง

     อย่างแรกคืองง Really I’m in. แต่ก็ตื่นเต้นและอยากรู้ว่ามันอย่างไร เพราะเติร์ทก็ไม่คิดว่าจะต้องเข้ารอบตั้งแต่แรกอยู่แล้ว คิดว่ามันเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้เรียนรู้และโตขึ้นในสิ่งที่เราอยากจะทำ

 

พอรู้ผลปุ๊บบอกใครก่อน

     เติร์ทไม่ได้บอกพ่อแม่เลยจนติดรอบสุดท้ายแล้ว จนพ่อแม่ต้องเซ็นรับรองเพราะว่าเติร์ทอายุไม่ถึง 20 ปี เติร์ทไม่อยากบอกใครเพราะอยากเก็บเป็นความลับ คือเราไม่รู้ว่าถ้าสุดท้ายเราไม่ติดเราก็จะได้ไม่ต้องบอกใครว่าไปสมัครมา ตอนแรกๆ เติร์ทไม่ค่อยดูเลย พอดูแล้วจะรู้สึกเขินตัวเองน่ะ

 

แล้วพออยู่ในบ้าน The Face Men มีเหตุการณ์หรือแคมเปญไหนที่รู้สึกว่า เราได้แสดงความเป็นตัวตนของเราออกมามากที่สุด

     น่าจะเป็นมาสเตอร์คลาสเดินแบบ นั่นคือสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด แต่ว่านี่คือ The Face Men ไง ส่วนแคมเปญ เติร์ทว่า Episode ที่ 3 ที่เดินกับม้า แต่ถ้าถามว่าฉายตัวเองไหม ก็คิดว่าไม่ขนาดนั้น แต่เติร์ทก็ทำได้ดีที่สุด คือให้ทำอะไรเราก็ทำได้

 

 

แล้วพอไปอยู่บ้านนั้นแล้วต้องไปอยู่กับเพื่อนผู้ชาย มันต้องปรับตัวมากไหม หรือว่าเขาคุยอะไรกันแต่แมนๆ

     ไม่ เติร์ทเข้าใจ เพราะว่าเพื่อนผู้ชายเยอะ จริงๆ เพื่อนผู้หญิงกับเพื่อนตุ๊ดก็เยอะเหมือนกัน เราค่อนข้าง Socialize พอสมควร เราเลยเข้าใจว่าคนอื่นคุยหรือทำอะไรกัน แล้วเราก็ปรับตัว อยู่กับใครก็ได้ เป็นคนอยู่ง่าย แล้วทีนี้ในบ้านทุกคนมีความสุขมาก ทั้งคุยกัน เล่นกัน อยู่ในสระน้ำ เราอยู่ในน้ำทั้งวัน พอถึงคิวถ่ายก็ขึ้นมาจากน้ำ เช็ดตัว ถ่ายเสร็จก็ลงไปใหม่

 

ไม่มีใครล้อใช่ไหมคะ

     ไม่มีเลย ข้อดีของเพื่อนทุกคน คือ ทุกคนทำให้เรารู้สึกปกติ ไม่ได้ปฏิบัติกับเราว่าแปลกประหลาดอะไร

 

มีเหตุการณ์อะไรที่ประทับใจจากมุมของคนที่อยู่ในบ้านบ้าง

     เติร์ทคิดว่าทุกความทรงจำ ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้าน มันคือเรื่องราวที่น่าจะจำหมดเลย เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ไม่มีอันไหนโดดออกมามากกว่ากันเพราะมันดีหมด

     มีอยู่ครั้งหนึ่ง คือ วันสุดท้ายของการอยู่ในบ้าน แล้วทีนี้เขาให้เขียนความในใจถึงใครก็ได้ในบ้าน เติร์ทก็เขียนถึงฟิลลิปส์ (ฟิลลิปส์ ทินโรจน์) ว่า ขอบคุณสำหรับทุกอย่าง ฟิลลิปส์เขาเป็นคนอัธยาศัยดีมาก แล้วเป็นคนที่คุยด้วยได้ตลอด มีอะไรก็ปรึกษากัน น่ารัก วันนั้นเราก็ไม่รู้ว่าใครจะเขียนถึงเรา ตอนแรกคิดว่าใครเขียนให้ก็ได้ หรือถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่พอเขามานั่งอ่านทีละคน แล้วเป็นฟิลลิปส์เขียนถึงเติร์ท Oh my god! I wrote for him and he wrote for me, It’s so cute. มันเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เราประทับใจเพื่อนคนหนึ่งว่าอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตเราเคยเขียนถึงคนนี้ และคนนั้นก็คิดถึงเราด้วย ตอนเด็กๆ ก็เคยมีอย่างนี้เหมือนกันนะที่โรงเรียนให้เขียนถึงเพื่อนคนหนึ่ง แล้วเติร์ทเขียนถึงเพื่อนคนไหนไม่มีใครเขียนถึงเติร์ทสักคน แล้วพอทีนี้ฟิลลิปส์เขียนถึงเติร์ท ว้าย Love you.

     ส่วนพี่หมู (พลพัฒน์ อัศวะประภา) คือเมนเทอร์ที่ดีที่สุด ดีมาก เป๊ะ เล่นใหญ่ ชอบ พี่หมูสอนทุกอย่าง คือเขาจะเน้นไปทางความรู้มากกว่ารูปร่างของเรา แต่เขาก็ไม่ได้ละเลย เขาจะอัดคลาสเดินแบบ ถ่ายแบบ การแสดง และเรียนกับตัวท็อปทุกคน เราไม่มีทางคิดถึงเลยว่าพี่หมูจะส่งไปเรียนกับคนนั้นคนนี้ พี่หมูทุ่มสุดตัว เติร์ทถึงบอกไงว่าชนะไม่ชนะไม่สำคัญ เพราะว่ามันได้อะไรมากกว่าที่เราจะมากังวลเรื่องชนะ

 

คือเราพัฒนาขึ้น

     ใช่ เพราะเติร์ทว่าตั้งแต่แข่งมา ไม่เคยแข่งกับเพื่อนเลยเราแข่งกับตัวเองตลอด เช่น คราวที่แล้วเราทำแบบนี้ไม่ได้คราวนี้เราต้องทำให้ได้ มันต้องพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่เห็นเพื่อนทำดีเราต้องทำดีกว่าเขามันไม่ใช่แบบนั้น เติร์ทเชื่อว่าเพื่อนทุกคนในบ้านก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นด้วย

 

Final Walk มีคนพูดกันไปหลากหลายความคิดเห็น สำหรับเติร์ทรู้สึกอย่างไรบ้าง

     เติร์ทแฮปปี้มากเลยนะ วันนั้นเป็นวันที่ดีเหมือนกับเป็น Last Reunion Day ที่เพื่อนๆ ทุกคนมาเจอกันในแคมเปญสุดท้าย เหมือนไม่ใช่แคมเปญด้วยซ้ำ แต่เหมือนเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้อยู่ด้วยกันครบๆ วันนั้นมันคือวันที่ดีมาก

 

 

มีปิ๊งใครในบ้านบ้างไหม

     No ทุกคนเป็นเหมือนพี่เติร์ทน่ะ อย่างอติลา (อาร์เธอร์ อภิชาติ กานโยซ์) เดินมาอย่างกับเป็นพ่อ ทุกคนคือพี่ชาย แล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งเติร์ทแขนเจ็บแล้วต้องใส่เฝือกอ่อน คือต้องถอดก่อนอาบน้ำ ซึ่งแขนมันใช้ได้ข้างเดียว พีเค (พัสกร วรรณศิริกุล) ก็มาช่วยเติร์ทถอดเสื้อ ใส่เฝือก Oh my god everyone is so nice ทุกคนเหมือนพี่น้องที่อยู่ด้วยกันจริงๆ อยู่กันเหมือนเพื่อนสนิทเลย

     ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากนะ ตอนนั้นเหมือนเราโฟกัสอยู่แค่เรื่องตรงหน้า พอเราจบแล้วออกมาแล้ว What is happened?

 

ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปบ้างไหม มีคนเข้ามาทักมากขึ้นไหม

     มีคนเข้ามาทักเยอะนะ แฮปปี้นะเวลามีคนเข้ามาทัก ไม่เคยหยิ่ง มาเลยมาทักเลย

 

ตอนนี้เติร์ทเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คน และเริ่มมีคำที่คนคุ้นเคยกันมากขึ้นอย่างนายแบบ unisex หรือ androgynous

     androgynous คือคนที่มีความเป็นผู้ชายและหญิงผสมอยู่ด้วยกัน และไม่กลัวที่จะแสดงออกด้านที่เป็นหญิงของตัวเอง นี่คือ definition ของ androgynous คือเราไม่ต้องจับคนใส่ประเภทใดประเภทหนึ่ง คือเราไม่ต้องจำแนกประเภทคนทุกคนบนโลก คุณเป็นผู้ชาย คุณเป็นผู้หญิง คนต้องอยู่ในเซกชันนี้ คุณเรียนเก่งคุณอยู่ห้องนี้ คุณเรียนอ่อนคุณอยู่ห้องนี้ จุดประสงค์ของการแบ่งคนแบบนี้คืออะไร

 

“สมมติเราไม่ใช่คนแล้วมองมาจากนอกโลก ทำไมคนผิวขาวต้องอยู่ด้วยกัน ทำไมคนผิวดำต้องแยกออกมา แล้วทำไมคนเอเชียต้องแยกออกมา ทำไมทุกคนไม่เป็นเพื่อนกัน ทำไมต้องแบ่งแยกกันด้วย”

 

แล้วในวงการแฟชั่นกระแสของ androgynous เป็นอย่างไรบ้าง

     จริงๆ มี androgynous model คนหนึ่งที่เติร์ทชอบมากชื่อ Andrej Pejic ผมบลอนด์ๆ เดินแบบให้ Jean-Paul Gaultier ใส่ชุดแต่งงานเดินออกมา แต่เป็นผู้ชาย ชอบมาก แต่ตอนนี้แปลงเพศไปแล้ว

     เติร์ทคิดว่าจริงๆ มันไม่ได้เปรียบและไม่ได้เสียเปรียบขนาดนั้น ปกตินะ เพราะสมมติมีแคมเปญที่เราต้องแมน เพื่อนก็ไม่ได้มานั่งล้อว่ามึงทำแมนจังเลย ไม่ได้เป็นแบบนั้น Doesn’t make any differents ที่บอกไปคือเติร์ทรู้สึกว่าเติร์ทคือคนปกติ แค่คนคนหนึ่งที่ไม่ได้โดน Categorize ว่าเป็นอย่างไร ทุกคนคุยกับเราปกติ มันไม่ได้เป็นข้อด้อยหรือข้อดี

     ถ้ามีแคมเปญแมนๆ เราก็เอาอินเนอร์เพื่อนๆ ดูว่ามันทำอย่างไร เราก็ทำเหมือนพวกมันนั่นแหละ คือสังเกตคนอื่น รีเสิร์ชจากเพื่อนตัวเอง มีหลายคนเลยในบ้าน จริงๆ แล้วแต่งานว่าเขาอยากให้เติร์ททำแบบไหน เรายืดหยุ่นพอตัว ถ้าโยนอะไรมาก็น่าจะทำได้ แต่จริงๆ อย่างใน The Face ความจริงเราถ่ายแบบ 1 ครั้ง ถ่ายวันหนึ่งกว่าจะได้หน้ากลางของแมกกาซีน หรือจะเป็น look book อันหนึ่งก็ตาม แต่ในรายการทีมหนึ่งมี 6 คน ให้เวลา 15 นาที Are you crazy? คนละ 3 นาที มันยากมากเลยนะพี่ ที่แน่ๆ เลยคือเราทำได้คนละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเวลามันเหลือ 2 คนแรกที่ทำก่อนก็จะได้ทำอีกครั้ง แต่การทำตามเวลาที่กำหนดมันก็ได้เรียนรู้ว่า เราจะรับมือกับความกดดันอย่างไร เพราะมันกดดันเยอะพอสมควร แล้วเราทำอย่างไรให้ 1 ช็อตที่เราถ่ายแล้วมันได้เลย

 

ถ้าเกิดไม่ได้เป็นนายแบบ คิดว่าตอนนี้ตัวเองจะทำอะไรต่อ

     ครูสอนโยคะ เติร์ทชอบเล่นโยคะอยู่แล้ว เพราะมันสบายๆ ช้าๆ สงบๆ แล้วรู้สึกว่ามันเป็นอาชีพที่ได้ให้คนอื่นด้วย ถ้าเราสอนคนอื่นก็เหมือนสอนคนอื่นให้มีสุขภาพที่ดีด้วย

     เติร์ทเล่นโยคะมาตั้งแต่เด็กแล้ว เพราะตอนเด็กๆ แม่ชอบไปเล่นโยคะ แล้วที่ๆ แม่ไปเป็นโยคะสตูดิโอที่มีสระว่ายน้ำข้างล่าง แล้วแม่จะเอาลูกไปโยนที่สระว่ายน้ำ แล้วแม่ก็ขึ้นไปเล่นโยคะ พี่ๆ เติร์ทก็เล่นน้ำไป เติร์ทไม่เล่นน้ำเลยขึ้นไปเล่นโยคะกับแม่ ตอนนั้นยังไม่ได้จริงจังอะไร ไปวิ่งเล่นแล้วก็กลับมาทำ จนผ่านไปประมาณจนเติร์ทอายุ 16-17 ปี ก็ได้เจอเพื่อนคนหนึ่งชื่อแอนนี่ เป็นคนอเมริกัน คุยกันไปมาปรากฏว่าเขาเป็นครูสอนโยคะ จนสนิทสนมกัน ทีนี้เขาก็เริ่มชวนไปคลาสกุณฑลินีโยคะ พาไปโยคะเพลงเรกเก้ So Cool! อันนี้คือเล่นโยคะกับเพลงเรกเก้ เท่มาก เป็นท่าปกติแบบ Flow Yoga เลย อยากเปิดโรงเรียนสอนโยคะแล้วทำอะไรแบบนี้

 

แสดงว่าฝึกโยคะมาเกือบ 10 ปีแล้ว

     มันไม่ต่อเนื่องนะ ทำแล้วก็หยุด เติร์ทแพลนว่าครึ่งเดือนหลังถ้าว่างจะไป Yoga Retreat

     เติร์ทไม่ได้ชอบเป็นโพสไหนของโยคะเป็นพิเศษ แต่ชอบภาพรวมของโยคะทั้งหมด ทำแล้วมันได้ทั้งตัว คือมันสบาย โดยเฉพาะกุณฑิลินีโยคะเพราะมันเกี่ยวกับพลังงานในร่างกาย แพลนว่าปีหน้าจะไปอินเดีย จะไปอบรมครูสอนโยคะที่นั่น

 

 

เติร์ทวางเป้าหมายในการเป็นนายแบบของตัวเองไว้อย่างไรบ้าง

     เรื่อยๆ ถ้ามีโอกาสไปเมืองนอกหรือมีอะไรเข้ามาก็ทำได้ ไม่ได้ซีเรียสว่ามันจะต้องเป็นอย่างไร เพราะเราไม่รู้อนาคต เติร์ท go with the flow ดีกว่า

 

อยากบอกกับคนอื่นอย่างไรบ้างว่าที่เราก้าวมาถึงจุดนี้ อาจจะเป็นแรงบันดาลใจของ LGBT หลายๆ คน

     เติร์ทอยากพูดว่า เติร์ทไม่ได้อยากเป็นตัวแทนจะพูดว่าคุณต้องเปลี่ยนโลกนี้ เติร์ทไม่ได้อยากให้คนที่ Straight people หันมามองว่า Gay people ปกติ เติร์ทอยากให้ Gay people stand up for themself. Just do what ever you wanna do คุณเปลี่ยนตัวเองได้ แต่คุณเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราเปลี่ยนตัวเองให้มาทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ other people doesn’t matter คนอื่นไม่สำคัญเลย

 

“เสียงของคนอื่นมันเป็นแค่เสียงน่ะ แต่เสียงของเรามันอยู่ข้างใน มันสามารถผลักดันตัวเองได้”

 

ตอนนี้เราได้โอกาสมาแล้ว เรารู้สึกอย่างไรกับมันบ้าง

     เติร์ทรู้สึกดีมาก เหมือนชีวิตมันถูกวางแผนไว้ทุกอย่างแล้ว แต่เราสามารถส่ง Guide energy ได้ว่าเราสามารถเลือกเดินไปในทางไหน เติร์ทพยายามคิดแต่เรื่องดีๆ คิดแต่ด้านบวกอยู่ตลอดเวลา ไม่คิดมาก อยากมาก็มา อยากทำก็ทำ สมมติว่าไม่ได้โอกาสนี้เติร์ทก็ยังมีความสุขกับชีวิตอยู่ดี

 

อยากให้กำลังใจคนอื่นอย่างไรบ้าง หากเขาอยากก้าวเข้ามาอยู่ในจุดนี้อย่างเรา

     Just try doing what you do best แค่นั้นแหละ แล้วทำให้ตัวเองเป็นคนหนึ่งคนนั้น ที่อยากจะเป็น เริ่มจากตัวเองก่อน

 

อยากเปลี่ยนเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายไหม

     เติร์ทรู้สึกว่าถ้าเปลี่ยนนะ เราก็ไม่รู้เหมือนกัน คือทุกคนน่าจะมีข้อดีข้อเสียของแต่ละเพศ เติร์ทไม่เปลี่ยน I’m already use to this body เติร์ทโอเคกับการที่เป็นแบบนี้แล้ว แล้วเติร์ทโอเคกับชีวิตนี้ โอเคที่จะอยู่ในร่างกายนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest ธนภพ อยู่วิจิตร

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic.com

The post Unisex Model นายแบบและนางแบบในคนเดียวกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยช่างภาพอนุรักษ์: จับแฟชั่นใส่ลงภาพถ่ายเพื่อช่วยเหลือสัตว์และสังคม https://thestandard.co/podcast/toeytey09/ Wed, 01 Nov 2017 17:01:44 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=39982

     หากใครที่อยากทำงานเพื่อสังคมแต่ยังน […]

The post เทยช่างภาพอนุรักษ์: จับแฟชั่นใส่ลงภาพถ่ายเพื่อช่วยเหลือสัตว์และสังคม appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หากใครที่อยากทำงานเพื่อสังคมแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน อยากให้ฟังพอดแคสต์เทยเท่ตอนนี้

     ทอม-ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์ คือเทยธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งสนใจเรื่องราวหลากหลาย และเปลี่ยนเอาความสนใจนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำเพื่อสังคม ทั้งการถ่ายภาพแฟชั่นอนุรักษ์สัตว์ การถ่ายภาพแฟชั่นเพื่อรณรงค์ให้คนบริจาคอวัยวะ รณรงค์เรื่องความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ

     นอกเหนือไปจากเรื่องอนุรักษ์แล้ว ครั้งหนึ่งยังเคยขับเครื่องบินเล็กรอบโลกกับอดีตคู่ชีวิต เพื่อเก็บโปสต์การ์ดจากคนไทยในต่างประเทศมาถวายพระพรในหลวงรัชกาลที่ 9

 

อยากให้แนะนำตัวหน่อยค่ะ

     สวัสดีครับ ทอม-ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์

 

ปัจจุบันเป็นช่างภาพแต่ไม่ใช่ช่างภาพธรรมดา แต่เป็นสายอนุรักษ์ ย้อนรอยไปก่อนว่าชีวิตตอนเด็กเป็นอย่างไรบ้าง

     ชีวิตตอนเด็กเป็นเด็กชอบค้นหา ทดลอง ชอบเล่นอะไรกับธรรมชาติ แต่ก่อนเราอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรที่อ่อนนุช ด้วยความเป็นหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สีเขียวมันจะน้อย และยิ่งเราเป็นลูกคนเดียวเลยไม่มีใครเล่นด้วย เพราะฉะนั้นเราจะเล่นกับผีเสื้อ หนอนบุ้ง ผักตบชวา เราเห็นว่าจริงๆ แล้วธรรมชาติกับคนมันค่อนข้างจะใกล้ชิดกัน แต่ด้วยความเจริญมันทำให้สองอย่างนี้ห่างกันไปเรื่อยๆ ธรรมชาติมันยังมีการปรับตัว และแทรกตัวอยู่ในความเจริญได้

     เราคิดได้อย่างนี้ตั้งแต่ช่วงเด็กๆ แต่เรายังไม่เข้าใจว่าจะต้องทำอะไรกับมัน โตมาเราก็ไม่รู้จะเรียนอะไร ถามที่บ้านเขาก็บอกว่าจะเรียนอะไรก็เรียนสิ ขอแค่ให้เป็นคนดีของสังคม คำว่าเป็นคนดีของสังคมคืออะไรก็ไม่เข้าใจอยู่ดี ชีวิตช่วงมัธยมฯ ค่อนข้างจะผาดโผน เพื่อนเยอะมาก ตอนนั้นเราเริ่มเล่นกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทำระเบิดเทียม เราทดลองเล่นอะไรที่เป็นผู้ชายมากๆ เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม เป็นโค้ชทีมชาติกีฬาเอ็กซ์เกม พอเรียนมหาวิทยาลัยเริ่มเป็นพวกคุณหนู เที่ยวกลางคืนเตลิดเปิดเปิง แต่ด้วยความโชคดีที่กลุ่มเพื่อนเราดี เพราะฉะนั้นก็เลยหลุดไม่ได้ไปไกลมาก

 

แต่ชีวิตยังผูกพันกับธรรมชาติมาตลอดใช่ไหม

     ใช่ ทุกคนถามว่าเราทำศิลปะถ่ายรูปมาตั้งแต่เด็กเหรอ เพราะค่อนข้างชัดเจนเรื่องแนวคิดและสไตล์ แต่จริงๆ แล้วเราเพิ่งมาจับงานศิลปะและภาพถ่ายอย่างจริงจังได้ประมาณ 3 ปี เพราะตอนช่วงมัธยมฯ เราค่อนข้างจะกลัวการทำศิลปะ สำหรับตอนนั้นศิลปะคือสิ่งที่แบบแผนชัดเจนแน่นอน จะต้องถูกต้องตามหลัก มันไม่สนุกเลยน่ะ กับวงกลมวิทยาศาสตร์ที่มีแดง เหลือง เขียว เราวาดสลับสีกัน อาจารย์ด่า บอกว่าอันนี้มันไม่ได้ มันผิด มันห่วย มันใช้ไม่ได้ เราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันใช้ไม่ได้ เพราะมันมี 3 สีเท่ากันเหมือนเดิม หลังจากนั้นก็ไม่เคยแตะศิลปะอีกเลย เกลียดมาก วาดรูปก็ไม่ได้ ถ่ายรูปก็ไม่เป็น กลัวการใช้อุปกรณ์

     พอจบมหาวิทยาลัยเราก็เดินทางท่องเที่ยวอยู่ประมาณปีกว่า พอกลับมาเรารู้สึกเริ่มจะชื่นชอบงานสถาปัตยกรรม งานดีไซน์ งานที่มีความเป็นกะเทยมากขึ้นแบบงานตกแต่งภายใน ตอนนั้นที่วัดธรรมมงคลเขาเปิดคอร์สของอคาเดมิกอินทีเรียนา จากประเทศอิตาลี เราก็รู้สึกว่าจริงๆ เราเรียนที่นี่ก็ได้ ไม่ต้องไปไกล ไปไกลที่บ้านก็ด่าอีก ด้วยความเป็นลูกคนเดียว

 

หลังจากนั้นก็มีความรัก ตอนนั้นอดีตคู่ชีวิตทำให้ชีวิตเราพลิกผันไปอย่างไรบ้าง

     เขาทำซอฟต์แวร์เอ็นจีเนียร์มาก่อน ตอนที่คบกันแรกๆ เขาบอกว่ามีเครื่องบินเล็ก เขาจะพาเราไปนั่งเครื่องบิน ฉันไม่เชื่อหรอกว่าเธอมีเครื่องบิน วันนั้นเขาก็ชวนไปเดตด้วยการนั่งเครื่องบินที่ดอนเมือง เป็นเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่ง เราคิดว่าเขาโม้เลยไม่ได้ไป จนเขาโทรมาตามเลยไป เราเป็นคนที่กลัวการนั่งเครื่องบินเล็กมาก เขาก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราสามารถเชื่อใจเขา ปกป้องเรา และทำให้เรารู้สึกปลอดภัย หลังจากนั้นเราก็เริ่มมาคุยกันว่าเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนเป็นอย่างไร ตอนนั้นเราค่อนข้างชัดเจนว่าเราไม่อยากอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะตอนนั้นเราผ่านจุดที่ดีและเลวที่สุดของชีวิตกรุงเทพฯ มาแล้ว เลยอยากไปค้นหาว่าตัวเองยังมีความสามารถอะไรซ่อนอยู่บ้าง และใช้ความสามารถตรงนี้ไปทำอะไรได้อีกบ้าง

     เราเลยมานั่งดูว่าจุดอ่อนชีวิตของเรามีอะไรอีก คำตอบคือศิลปะ เลยคิดว่าที่ไหนสามารถยัดเยียดศิลปะให้เราได้อีก คุณเอ็ด (คู่ชีวิต) บอกว่าเขาจะไปเรียนการขับเครื่องบินที่เชียงใหม่พอดี ก็เลยย้ายสำมะโนครัวจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เชียงใหม่ เขาไปเรียนการขับเครื่องบิน ส่วนเราจะไปอยู่เป็นมาดามเหรอ ก็เริ่มเบื่อ เพราะปกติเราเป็นคนแอ็กทีฟมาก แต่ก็ยังไม่ได้เรียนศิลปะ ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เรียน แต่เราเริ่มรู้จักคนในพื้นที่ รู้จักศิลปินคนต่างๆ มากมายแบบครูพักลักจำ ทำให้เราชื่นชอบศิลปะมากขึ้น และเราคิดว่านอกจากศิลปะจะทำให้เรารู้สึกในด้านสุนทรียภาพแล้ว มันน่าจะมีฟังก์ชันอื่นได้อีก เช่น การยกระดับความเป็นอยู่ของคน สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น หลังจากนั้นคุณเอ็ดเลยบอกว่าถึงเวลาที่ต้องไปอเมริกาแล้วเพื่อไปซื้อเครื่องบินลำหนึ่ง ตอนนั้นความกลัวเครื่องบินของเราถึงจุดพีกมาก เพราะต้องบินกลับจากอเมริกาด้วยเครื่องบินเล็ก 6 ที่นั่ง เรากลับกันมา 4 คนในหน้าหนาว มันต้องผ่านทั้งหมด 13 จุด ภายใน 11 วัน เลยมาคิดว่าทำอย่างไรถึงจะหายกลัวเครื่องบิน ทั้งเกม PSP ก็ลองมาแล้ว หนังสือก็ลองมาแล้ว ธรรมะก็ลองมาแล้ว เทปพระพยอมก็ลองมาแล้ว คือลองเกือบทั้งหมดที่จะทำให้เราสงบได้ มันไม่มีอะไรช่วยเราได้จริงๆ สุดท้ายมาจบที่กล้องถ่ายรูป กล้องคอมแพกต์เล็กๆ ที่วิวไฟน์เดอร์ทำอะไรไม่ได้ ตอนนั้นใช้กล้อง Canon G9 มันเริ่ดมาก เป็นกล้องที่ทำให้เรารู้สึกว่าการถ่ายรูปเป็นมิตรกับเรา แล้วตอนนั้นถ่ายภาพจากทางอากาศเพราะว่าตอนนั่งเครื่องบินมันไม่เห็นอะไรเลย มันจะเห็นแค่ช่วงเทกออฟกับแลนดิ้ง แต่ระหว่างบินเราก็จะเห็นภูมิประเทศของแต่ละประเทศ มันค่อนข้างจะสวย และมีอะไรให้บันทึกไว้ มันทำให้ความกลัวของเราน้อยลง

 

แทนที่เราจะโฟกัสว่าเราอยู่บนความสูง เราก็ไปรื่นรมย์กับทัศนียภาพที่อยู่ด้านล่างแทน

     ใช่ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเริ่มชอบถ่ายรูป แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรกับมัน แล้วหลังจากนั้นก็เดินทางจน ค.ศ. 2011 ได้เดินทางจากเชียงใหม่ไปสเปน และทริปนั้นแพลนทั้งหมด 46 ประเทศ ใช้เวลาเดินทาง 4 เดือน แม่บอกว่าเซ็นพินัยกรรมเอาไว้เลยนะลูก ทริปนั้นเราได้ทำโครงการอันหนึ่งให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ช่วงนั้นพระองค์เริ่มประชวรตั้งแต่ ค.ศ. 2008 ซึ่งปีนั้นเราบินกลับจากอเมริกา และได้เริ่มทดลองทำโครงการบินรอบโลกรวมใจเพื่อในหลวง

 

จุดเริ่มต้นโครงการนี้มาได้อย่างไรคะ

     ตอน ค.ศ. 2008 ที่เราเดินทาง เราเจอหลายคนที่ถามถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าพระพลานามัยของพระองค์เป็นอย่างไร เขาอยากทำเหมือนที่คนไทยได้ทำบ้างอย่างการถวายพระพร หรือเข้าเฝ้าฯ และเราในฐานะที่ได้เดินทาง เราสามารถเล่าเรื่อง เราสามารถส่งต่อและเชื่อมต่ออะไรบางอย่างได้ เลยคิดขึ้นมาได้ว่าทำไมทุกคนไม่เซ็นโปสต์การ์ดมาจากที่คุณอยู่ ทริป ค.ศ. 2008 เรารวบรวม 81 ใบ เพราะตรงกับ 81 พรรษา แต่ทริปของ ค.ศ. 2011 นี้ เราก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่ามันจะได้เท่าไร ปรากฏว่าได้ 1,200 กว่าใบ

 

ตอนนั้นคนเขารู้ข่าวจากที่ไหนว่าเราทำโครงการนี้

     เฟซบุ๊ก และวิธีการหาคนไทยของเรา ก็คือการเดินทางไปตามหาร้านอาหารไทยตามเมืองต่างๆ เลยมีอาหารไทยกินตลอดทาง พอกลับมาเมืองไทยจากทริปนั้น ทริปนั้นค่อนข้างอัศจรรย์เพราะเราไม่ได้แพลนว่าจะได้ไปเจอใครระหว่างทางแต่เราได้เจอคนมหัศจรรย์มาก เช่น นายกเทศมนตรีเมืองโลซานน์ นางก็พาไปฟาร์มของนาง พาไปกินไวน์อายุ 300 ปี

 

คือด้วยพระบารมีเลยทำให้เราได้รับความเกื้อกูลที่น่ารักๆ กลับมา

     ความเกื้อกูลคือส่วนหนึ่ง แต่เราคิดว่าความมหัศจรรย์ของคนที่ได้รับอิทธิพลในการใช้ชีวิตจากในหลวงค่อนข้างเจ๋ง เรื่องตลกจากทริปนี้คือ พอกลับมาเมืองไทยเราก็ไม่ได้กะว่าทำขนาดนี้แล้วจะต้องดัง หรือจะเป็นคนของประชาชน เราเบื่อความเป็นคนของประชาชนมาก เพราะว่าเวลาไปไหนทุกคนก็จะบอกว่าโปรเจกต์เราดีอย่างนั้น อย่างนี้ ชีวิตเราไม่ได้เป็นอย่างนั้นทุกวันไง

จนมีอยู่วันหนึ่ง เราได้รับจดหมายจากสำนักพระราชวัง ว่าให้ทีมที่ไปบินสำรวจเข้าเฝ้าฯ

 

วินาทีนั้นรู้สึกอย่างไรบ้าง

     โอ๊ย ทรุดตัวอยู่บนเตียงแล้วน้ำตาไหล รู้สึกว่าสิ่งที่พยายามทำให้คนอื่นค่อนข้างจะเห็นผลแล้ว คนที่อยู่ทั่วโลกคงจะดีใจ แต่พอใกล้ถึงวันพระองค์ประชวรหนัก สำนักพระราชวังให้เข้าเฝ้าฯ กับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทน

 

 

มาถึงอีกโปรเจกต์หนึ่งที่ทำให้หลายคนรู้จักทอมมากขึ้น คือเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ โปรเจกต์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

     ตอนนั้นเราคิดว่าจริงๆ แล้ว ความสามารถในการบินของคุณเอ็ด กับการถ่ายภาพของเรามันน่าจะทำอะไรได้อีก ก็เลยไปช่วยบินสำรวจพะยูนที่จังหวัดตรัง จริงๆ เราไม่ค่อยรู้จักสัตว์ชนิดนี้เท่าไร ไม่รู้จักสัตว์ป่าอะไรเลย รู้แค่ว่าสวนสัตว์เราจะถ่ายรูปกับตัวนั้นตัวนี้ เราไม่ได้เข้าใจความต้องการของสัตว์ ไม่ได้เข้าใจปัญหาของสัตว์ป่าในปัจจุบัน เราเข้าใจแค่ว่าเราอยากไปถ่ายรูปกับสัตว์ อยากมีรูปเก๋ๆ ไปโพสต์เฟซบุ๊กให้คนดู อันนี้ผิด หลังจากนั้นเราเลยเริ่มศึกษาว่าจริงๆ แล้วพะยูนมันเป็นอะไร เราเลือกช่วยเหลือพะยูนเพราะว่ามันเป็นสัตว์ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และน่าสงสาร มันจะอยู่ในพื้นที่จำกัดเพราะว่าอาหาร และด้วยความรุกรานของมนุษย์รวมถึงการท่องเที่ยว ทำให้มันตายเยอะ แล้วบ้านของมันในประเทศไทยค่อนข้างจะน้อย มีแค่ตรัง กระบี่ และจันทบุรี ก็เลยไปบินสำรวจกับทีมของกรมทรัพย์ฯ ปีนึงไป 10 วัน ไปช่วยเขา

     ภาพแรกที่เห็นตอนไปบินสำรวจก็คือพะยูนแม่ลูกว่ายน้ำคู่กัน เราร้องไห้ เรารู้สึกว่า โห มันได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ได้อยู่กับแม่มัน มันรู้สึกปลอดภัยแต่ไม่รู้เลยว่าห่างออกไปแค่ 500 เมตรอันตรายเยอะมาก ก็เลยอุทิศตัวว่าตราบใดที่ยังทำไหวก็จะทำ จะช่วย

     ในช่วงปีแรกเราทำการสำรวจได้ประมาณ 200-300 ตัว แล้วจำนวนมันก็ลดลงมาเรื่อยๆ ทุกปี ปีนี้ทำมาเป็นปีที่ 10 ปีนี้นับได้ 167 ตัว ช่วงระหว่างปีที่ 1-5 การทำแคมเปญหรือการให้ข้อมูลทางวิชาการ หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมันค่อนข้างจะสื่อสารยากกับคนทั่วไป ซึ่งใช้ชีวิตในเมืองและชีวิตทางทะเลและอนุรักษ์เป็นเรื่องไกลตัว

     พอมาปีที่ 3-4 เราได้เริ่มทำโครงการกับกรมทรัพย์ฯ ​อ่าวไทยตอนบน สำรวจวาฬบรูด้า เราก็ตายแล้ว ประเทศไทยมีวาฬบรูด้าด้วยเหรอ มันคืออะไร ก็เลยไปบินสำรวจช่วยเขาอีก พบว่าอ่าวไทยตอนบนมีวาฬอยู่ด้วย ประเทศไทยเก๋ มีทุกอย่างทั้งวาฬ พะยูน โลมา เต่า เรารู้ว่ามันมีแต่ไม่เคยได้สัมผัสหรือเห็นมันจริงๆ เลยไม่ได้ทำการอนุรักษ์จริงจังเหมือนประเทศอื่นที่เขารู้ว่าสัตว์พวกนี้มันมีคุณค่าทางธรรมชาติ มันเป็นตัววัดความอุดมสมบูรณ์ของทะเลขนาดไหน ก็เริ่มทำตรงนั้นมา

     จนมีอยู่วันหนึ่งเราอยู่ที่ภูเก็ต เราเห็นข่าวมีวาฬตายอยู่กลางทะเลอ่าวไทย เราก็เลยปิ๊งความคิดขึ้นมาว่า แคมเปญที่ควรจะเป็นและสื่อสารกับคนรุ่นใหม่

 

มันไม่อิมแพกต์พอ?

     มันไม่อิมแพกต์อยู่แล้ว เราไม่เคยเห็นแคมเปญทางวิชาการอันไหนมันอิมแพกต์เลย ตอนนั้นเริ่มทำงานแฟชั่น ถ้าเราเอาแฟชั่นที่มีอยู่ในตัวทุกคน ทุกคนสนใจในการแต่งตัวไม่ว่าคุณจะแต่งตัวดีหรือเลว อินหรือเอาต์ขนาดไหน ทุกอย่างที่คุณแต่งตัวมันคือการสื่อสารในรูปแบบหนึ่ง เลยตัดสินใจบินกลับมาที่สมุทรปราการเพื่อมาถ่ายแฟชั่นซากวาฬ ซึ่งลูกน้องเราบอกว่า คุณแม่ คุณแม่จะบ้าเหรอ ใครเขาจะไปถ่ายกับซากวาฬกลางทะเลอ่าวไทย เราเลยบอกว่าเพราะไม่มีคนถ่ายไง ฉันนี่แหละจะเป็นคนถ่ายคนแรก โชคดีว่าวาฬลอยเข้ามาติดป่าโกงกางเพราะน้ำขึ้น เราเลยไม่ต้องหอบไปกลางอ่าวไทย แต่มันก็ทุลักทุเลพอสมควร

     พอไปถึงจุดที่มีซากวาฬ เราเจออุปสรรคในการทำงานค่อนข้างเยอะ ทั้งเลน ซากเน่า กลิ่นเหม็น วาฬมันเริ่มบวมและพร้อมจะระเบิดเมื่อไหร่ก็ได้ จากเหตุการณ์วันนั้นมันทำให้เราเป็นเราทุกวันนี้ เพราะมีสื่อเจ้าหนึ่งไปถ่ายภาพเราตอนทำงาน และไปเขียนแคปชันว่า ช่างภาพสุดเพี้ยน พานางแบบอินเตอร์ลุยซากวาฬถ่ายแฟชั่น เราจะพูดเสมอว่าสิ่งที่ร้ายกาจกว่าอาวุธคือภาพถ่าย แต่สิ่งที่เลวกว่าภาพถ่ายคือแคปชันใต้ภาพถ่าย วันนั้นโทรศัพท์ดังไม่หยุดเลย และด้วยอานุภาพของซากวาฬที่ตายส่งผลต่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ได้ขึ้นหน้า 1 ทุกฉบับ

 

 

ตอนนั้นรู้สึกอย่างไรบ้าง

     เราน่ะรู้สึกเฉยๆ ในเรื่องของความคิดเห็นในด้านลบ เพราะเราให้ความสำคัญเรื่องของแนวคิดการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน หรือสิ่งที่เราตั้งใจทำงานมากกว่า ว่าทำไมเราถึงทำ ถ้าตราบใดมันเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ บวกกับการค้นคว้าที่สมบูรณ์ ฉันสวยแล้ว ไม่มีใครแย่งมงจากฉันไปได้

 

จากโมเมนต์นั้นมันทำให้เรื่องการอนุรักษ์สัตว์กับเรามันโดดเด่นขึ้นมาหรือเป็นที่ตระหนักมากขึ้นใช่ไหม

     ใช่ คือคนรุ่นใหม่เขาสนใจเรื่องพวกนี้ แต่ไม่มีสิ่งที่เชื่อมระหว่างโลกที่น่าเบื่อที่สุด กับโลกที่กำลังหมุนไปในสปีดที่รวดเร็วมาก ก็เลยคิดว่านี่แหละน่าจะเป็นทางของเราที่รวมหลายศาสตร์มาอยู่ด้วยกัน มันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนักรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้คนลุกขึ้นมาทำอะไรจากความสนใจของตัวเองได้

 

ตอนนั้นเริ่มอนุรักษ์ แล้วชุมชนความเป็นอยู่มาสนใจได้อย่างไร

     เริ่มจากปี ค.ศ. 2011 ที่เราเดินทาง แต่มันเปลี่ยนความคิดเราตอนที่เดินทางไปจิตตะกอง บังกลาเทศ เป็นประเทศที่น่าสงสารมาก เพราะทำการส่งออกผ้าให้เราแต่งตัวสวยๆ งามๆ แต่ความเป็นอยู่ของคนในบังกลาเทศค่อนข้างจะแย่ ที่จิตตะกองเราเดินทางไปจากเชียงใหม่ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง ไปถึงช็อตแรกที่เจอคือเด็กคุ้ยกินขยะกลางถนน แล้วเรารู้สึกว่า 2 ชั่วโมงจากสิ่งที่เราอยู่ท่ามกลางความเจริญ ความสวยงาม เรามาเจอสิ่งนี้เราช็อก เราไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องมาอยู่ในสภาพนี้ ห่างไปอีก 200 เมตรมีป้าคนหนึ่งตัวสูงยาว เดินโป๊ โผล่ขึ้นมาจากน้ำที่เต็มไปด้วยคราบน้ำมัน นางเป็นเหมือน X-Men เรารู้สึกว่าความเป็นอยู่ของคนพวกนี้ทำไมมันแย่ขนาดนี้ เราเดินทาง เราเห็นความเจริญ ความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่มันเริ่มหายไประหว่างตัวมนุษย์คือเกื้อกูลระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เริ่มรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มันหายไปเพราะความเจริญ เราเลยให้ความสำคัญกับชุมชนมาก

     ชุมชนที่เรารู้สึกกับมันมากๆ คือชุมชนราไวย์กับชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งมาจากคนละขั้วเลย ชุมชนราไวย์อยู่ที่ภูเก็ต ปกติเราชอบไปอยู่ภูเก็ตอยู่แล้ว ราไวย์เป็นหมู่บ้านชาวประมงชาวอูรักลาโว้ย ปกติจะอยู่ในทะเลแต่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ชายฝั่งทะเลตอนท้ายของเกาะภูเก็ต ตอนนั้นไปแล้วรู้สึกว่าเราต้องอยู่เฉยๆ เราจะมาพักและไม่ยุ่งกับอะไรทั้งนั้น เพราะวันนั้นมีการตีกัน มีนายทุนเอากลุ่มคนมาบุกปิดหมู่บ้าน แล้วตีคนในหมู่บ้าน แต่สุดท้ายก็อดรนทนไม่ได้ เลยได้งานออกมาชุดหนึ่งชื่อ The Boy Who Grows Up Among The Seashells ซึ่งเป็นการถ่ายภาพพอร์เทรตคนในหมู่บ้านในมุมมองที่เราเห็น คือความสวยงาม ความน่ารัก ความเป็นตัวตนของแต่ละคน ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ

     งานเซตนั้นมันค่อนข้างเป็นเซตที่ยากที่สุดสำหรับเรา เพราะเราทำไปครึ่งหนึ่งอดีตคู่ชีวิตที่คบกันมา 9 ปีบอกเลิกกันแบบฟ้าผ่า คือมันไม่มีสัญญาณมาก่อนเลย ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าเวลาคนเราสูญเสียอะไรไปจนไม่เหลืออะไรแล้ว หรือไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว การที่เขามีความหวังอะไรสักอย่างมันสำคัญสำหรับเขามาก เราเลยใช้ตรงนี้เป็นแรงผลักดันให้ทำงานภาพเซตนั้นจนเสร็จโดยที่ไม่บอกใคร ตอนนั้นภาพเสร็จประมาณ 80 ภาพ เรารู้สึกว่าภาพเซตนี้เราทำให้ชุมชน เราทำให้คนที่มาสัมผัสกับชุมชนได้เห็น ดังนั้นเราเลยไม่อยากให้ไปอยู่ในกาลาดินเนอร์หรือแกลเลอรีสวยๆ เราต้องการให้งานเราอิมแพกต์ มีคุณค่า และสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างอะไรบางอย่างในตัวคนที่ได้สัมผัส ให้มีความรู้สึกกลับมาเป็นคนอีกครั้ง แค่นี้พอแล้วสำหรับงานเรา

     ทีนี้ที่หน้าหมู่บ้านจะมีบอร์ดอันหนึ่งที่เอาไว้แปะภาพคนในหมู่บ้านโดนตี เลยรู้สึกว่าถ้าเราเป็นคนในหมู่บ้านเราคงหดหู่ หลังจากนั้นภาพคนตีกันที่บอร์ดหน้าหมู่บ้านเริ่มหลุด เลยคิดว่าจะบอมบ์งานซะเลยด้วยการเอาภาพเราไปแทรกๆ แล้วมันค่อนข้างจะน่ารัก คนในหมู่บ้านก็มามุงดู หมู่บ้านเปลี่ยนทันที ทุกวันเขาเดินผ่านไปด้วยความไม่มีหวังแล้วกับตรงนี้ เขากลับรู้สึกว่านี่มันฉันนี่ ฉันมีความสุขที่นี่ สิ่งที่มันเกิดขึ้นหลังจากนั้นคือนักท่องเที่ยวเร่ิมมาเห็นและสัมผัส มีคนเริ่มมาทำเรื่องราวคนในหมู่บ้านนี้มากขึ้น เราคิดว่าหน้าที่เรากับที่นี่จบแล้ว หน้าที่ของเราที่เหลือคือการเยียวยาตัวเอง

 

 

ตอนนี้มาถึงเรื่องชีวิตของเราแล้วคือเรื่องความเป็นอยู่ ทั้งโปรเจกต์ดินทรุดหรือการบริจาคอวัยวะ มันไปถึงตรงนั้นได้อย่างไร

     มันเริ่มจากความซนในวัยเด็กของเราด้วยว่าเรื่องบางอย่างถ้าเราคิดว่ามันน่าจะทำได้ มันน่าจะสร้างอิมแพกต์ หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เราควรจะทำ ถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีใครทำ เราก็จะคาใจ ลองทำดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น โครงการนี้ชื่อ Anatomy 101 ทำตอนที่เราผ่าตัดเอาไตออกไปข้างหนึ่ง

     เราเป็นมนุษย์ประหลาดที่มีเกิดมามี 3 ไต แต่แม่ลืมบอกลูกไปว่าลูกตัวเองมี 3 ไต จนกระทั่งอายุ 30 ปี เริ่มพบความผิดปกติและเริ่มใช้ชีวิตได้ยากลำบากมากขึ้น ตอนนั้นไปโรงพยาบาลเอกชน ค่าผ่าตัดประมาณ 600,000 บาท ฉันเอาไปทำอย่างอื่น ไปบินสำรวจได้อีกตั้งมากมาย ไม่ได้คิดว่ามันแพงแต่คิดว่ามันเอาไปทำอย่างอื่นได้อีก ก็เลยขอคุณหมอว่าออกไปตรวจที่โรงพยาบาลรัฐบาลไหนได้บ้าง เราจะไปรักษาที่นั่น แล้วส่วนต่างเราเอาไปสร้างประโยชน์ เราเลยได้ไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เราไปคลินิกตั้งแต่ตี 4 เห็นความลำบากของเพื่อนมนุษย์ ไปเจอป้าคนหนึ่งที่รอเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมา 4 ปีแล้ว นางบอกว่าชีวิตนางเหมือนศพที่เดินได้ เราเข้าใจเลยคำนี้ เพราะว่าก่อนที่จะมาผ่าตัดหลังก็ปวด เพราะไตมันบวมแล้วไปดันกระดูกสันหลัง นอนก็ไม่ได้ คลานก็ไม่ได้ กินก็ไม่ได้ ตอนนั้นคิดว่าชีวิตจะจบแล้ว คิดแค่ว่าเมื่อไหร่ไตจะระเบิดแล้วจะตายเสียที ตอนนั้นเลยขอคุณหมอที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ว่าถ้าเราผ่านการผ่าตัดได้ปลอดภัย เราจะทำโครงการอันหนึ่งในกับโรงพยาบาลจุฬาฯ จะเอาส่วนต่างที่เอาไปให้เอกชน เอาตรงนั้นมาบริจาคกับโรงพยาบาล แต่จะทำเป็นงานออกมาที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นได้ ก็เริ่มทำ reference ให้หมอดู ก็ไปเอามาจาก Vogue อิตาลี แล้วเอาให้คุณหมอดูตอนมาตรวจสุขภาพ คุณหมอก็ตกใจเพราะคิดว่าไม่ค่อยน่าจะเหมาะ เราเลยถามว่าอะไรคือความเหมาะสม เราก็เลยบอกว่าถ้าทำอันนี้คนรุ่นใหม่สนใจ และมันสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นไปทำตามความสามารถของเขา เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ได้อีกมากมาย ก็เลยออกมาเป็นโครงการ Anatomy 101 ไม่คิดว่ามันจะทำประโยชน์ได้มากขนาดนี้ ตอนแรกเราจะได้ไปแสดงตามพิพิธภัณฑ์ศิลปะ แต่เราไม่ไป ขอกลับมาแสดงงานในโรงพยาบาลจุฬาฯ ในหอรับผู้ป่วย ตึกจักรพงษ์ ซึ่งเราวางนิทรรศการไว้ให้คนมาดูงานแล้วเห็นความเจ็บป่วยของคนที่มารับการรักษา เป็นเหมือน Installation ของเราที่เปลี่ยนแปลงทุกวินาที แล้วคนที่มามันจะมาด้วยความต้องการต่างกัน แล้วตัวคนที่มาชมงาน เขาจะเห็นตัวเขาเป็นหนึ่งในผู้ป่วยนั้น

     ท้ายที่สุดของนิทรรศการเราวางโต๊ะรับบริจาคไว้ มีดวงตา ร่างกาย อวัยวะ ซึ่งก็ตลกเพราะต้องแยกกัน ในการแสดงงาน 8 วัน เราได้รับการบริจาค 500 กว่าคน คุณหมอบอกว่าถ้าเอามาแยกส่วนดีจริงๆ ร่างหนึ่งจะช่วยคนได้ 35 คน เราคิดว่าถ้าการทำแคมเปญที่มันมีความใหม่และสามารถสื่อสารกับคนได้ ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องการการทำแคมเปญเรื่องบริจาคอวัยวะอีกต่อไป เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าคือหน้าที่ คือสิ่งที่จะต้องทำ นี่คือเรื่องหนึ่งที่รู้สึกว่าสนุกดีและภูมิใจกับมัน

 

 

สิ่งหนึ่งที่ทอมเล่ามาทั้งหมด อาจมีบางคนที่อยากก้าวขึ้นมาทำเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าอยู่ๆ เราจะช่วย หรือเราจะลุกขึ้นมาทำได้อย่างไร ทอมอยากบอกคนอื่นๆ อย่างไรบ้างว่าจริงๆ การลุกขึ้นมาช่วยสังคมหรือทำอะไรสักอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มันไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลตัวเราเลย

     ต้องเริ่มจากแรงบันดาลใจก่อน หลายคนจะชอบถามว่าเราไปเอาแรงบันดาลใจจากไหนมากเยอะแยะ เราบอกว่ามันไม่ได้เยอะเลย แต่เราเป็นคนที่ใช้ชีวิตเต็มที่กับมัน แล้วคอนเทนต์ในชีวิตค่อนข้างเยอะ แต่เรื่องที่หยิบมาทำคือเรื่องที่เกิดขึ้นกับเรา หรือใกล้ตัวเรา แต่บางทีเราไม่เคยหยิบมันขึ้นมาพูดในลักษณะใหม่ คราวนี้คนจะถามอีกว่าเราไปเอาทุนมาจากไหน เราก็บอกว่างานส่วนใหญ่ถ้าเป็นงานเพื่อสังคมมันบอกอยู่แล้วว่าเพื่อสังคม ฉะนั้นเราจะใช้ทุนของตัวเอง หรือถ้ามีผู้ใหญ่ใจดีช่วยซัพพอร์ตก็จะทำ แต่เรื่องไหนถ้ามันสปาร์กขึ้นมาแล้วก็จะทำเลยเพราะมันรอไม่ได้ ถ้าให้แนะนำคือชอบเรื่องไหนให้ทำเรื่องนั้น เรื่องใกล้ตัว เรื่องภูมิลำเนา วัฒนธรรมของพื้นที่ตัวเอง ประสบการณ์ชีวิต แม้แต่อกหักกินยาฆ่าตัวตาย มันเอามาทำได้หมด หรือชอบองค์กรไหนหรือเห็นประเด็นไหนน่าทำก็ไปเสนอเขา ทำ Proposal ไปเสนอ ใช้เงินเท่าไรก็ลองขอเขาดู ถ้ามีไอเดียใหม่ๆ ลองทำดู

 

ในอนาคตเราจะได้เห็นโครงการอะไรจากทอมอีกบ้าง

     โครงการล่าสุดที่ทำคือโครงการ Art for the ocean เมื่อก่อนเราอยู่กับท้องฟ้าแต่นางฟ้าถูกถีบตกจากสวรรค์ต้องกลายมาเป็นศิลปินรับใช้ท้องทะเล โครงการ Art for the ocean คือโครงการที่ใช้ศิลปะเพื่อให้ความรู้ ให้แรงบันดาล และสร้างอะไรใหม่ๆ ให้กับท้องทะเล แต่ประเด็นคือเรื่องของการอนุรักษ์ แต่จะใช้แพลตฟอร์มของศิลปะ ทีนี้ปลาอาจจะได้ดูศิลปะ ศิลปินจะทำการซัพพอร์ตมากขึ้น แล้วเรามองเห็นว่าศิลปินไทยจริงๆ เก่งมากๆ แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรกับงานตัวเอง หรือยังไม่รู้ว่างานตัวเองจะไปอยู่จุดไหน เราเลยคิดว่าตรงนี้จะทำมันให้ดี

     เราเลยไปคุยกับกรมทรัพย์ฯ ว่า ท่านครับ วันนั้นไปดำน้ำมาและเห็นปะการังเทียมของท่านแล้ว ผมคิดว่าผมมีทางเลือกอีกทางให้ท่านพิจารณา บอกเขาว่าถ้าเราสามารถทำโครงการวิทยาศาสตร์ทางทะเลแล้วมันสร้างอิมแพกต์โดยที่ทุกคนวินหมด ท่านโอเคไหม ปลามีบ้านอยู่ใหม่ ปะการังมีที่อยู่ใหม่ มีการฟื้นฟู เป็นการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เขาเลยโอเค ตอนนั้นก็เริ่มเผยแพร่ที่ TEDXBangkok หลักๆ คือใช้ศิลปะเพื่อสื่อสาร เราทำเวิร์กช็อปเพื่อหาทุนไปสร้างประติมากรรมใต้ทะเล ทำงานร่วมกับชุมชนในฐานะศิลปิน

 

ในฐานะที่เพศสภาพของเราเป็นอย่างนี้ มันช่วยส่งเสริมการทำงานของเราอย่างไรบ้าง

     ความเป็นเทยของเราคือมีความอัธยาศัยดี ถ้าใครคุยจะได้รู้ว่าปากร้ายแต่ใจดี

 

แล้วถ้าเลือกได้อยากเปลี่ยนเป็นชายจริงหญิงแท้ไหม

     ไม่เปลี่ยนน่ะ มันเป็นส่วนผสมที่ลงตัวแล้วตอนนี้ เรารู้ว่าบางอย่างของเราน่าจะปรับปรุงได้ แต่เรื่องของเพศสภาพเราไม่ได้แย่หรือไม่ได้มีความทุกข์กับมัน

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest ทอม-ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic.com

The post เทยช่างภาพอนุรักษ์: จับแฟชั่นใส่ลงภาพถ่ายเพื่อช่วยเหลือสัตว์และสังคม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง https://thestandard.co/podcast/toeytey08/ Wed, 27 Sep 2017 23:00:26 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=30845

     พัด-ชนุดม ก็เหมือนเทยทั่วไปที่เริ่ม […]

The post เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

     พัด-ชนุดม ก็เหมือนเทยทั่วไปที่เริ่มฟังเพลงจากแนวลูกทุ่ง ป๊อป อาร์แอนด์บี จนมีโอกาสได้เล่นละครเวทีมิวสิคัลที่เล่าเรื่องด้วยเพลงร็อก หลังจากนั้นพัดก็ถอนตัวจากเพลงร็อกไม่ขึ้น จนกระทั่งได้มีวงดนตรีเป็นของตัวเอง ก็ยังเป็นแนวร็อก มีเพลงและการแสดงที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้

     แม้ว่าการแสดงบนเวทีของพัด จะจัดจ้านด้วยเสื้อผ้าและถุงน่องตาข่าย แต่มันก็ยังเป็นเรื่องภายนอก เพราะสุดท้ายแล้วพัดยังเชื่อว่า คนจะสนใจสารที่ต้องการสื่อในเพลงร็อกจนลืมไปเลยว่าเธอเป็นเทยหรือเป็นเพศอะไรก็ตาม

 

01.32

     “ตอนเด็กๆ พ่อกับแม่เขาจะชอบมีปาร์ตี้สังสรรค์กัน แล้วเขาก็จะเรียกเราขึ้นไปร้องเพลง เต้น แล้วเราก็ทำได้ดีมากมาตลอดตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ‘พัด ขึ้นมาร้องเพลงพุ่มพวงเร็ว’ เราก็ ‘ตั้งแต่…’  อย่างนี้ไปเลย ส่วนใหญ่เพลงที่ร้องเป็นเพลงผู้หญิง แล้วเต้นแรงมากด้วย ก็เลยรู้ทันทีว่าฉันคือเพศนี้ พ่อกับแม่ก็สนับสนุน”

 

02.13

     “วันเกิดตอนอายุ 9 ขวบ สิ่งที่พ่อซื้อให้คือชุดผู้หญิงที่กระโปรงเป็นลูกไม้ ส่วนแม่ซื้อลูกบอลให้ แม่ก็สนับสนุนเหมือนกันแต่อยากให้ลูกเล่นกีฬาด้วย อยากให้ลูกรักสวยรักงามด้วย”

 

02.48

     “พัดเป็นเด็กต่างจังหวัด มาจากจังหวัดตราด บ้านติดทะเล ใต้ถุนบ้านก็จะเป็นทะเล แล้วจะมีปลาดุกตัวเล็กๆ ปู เราก็จะชอบลงไปจับหรือแม้กระทั่งต้นมะพร้าวเราก็ปีนเป็นลิง”

 

03.24

     “เรื่องปีนป่ายผาดโผน มันช่วยเราอย่างหนึ่งคือเราได้ทั้งความเป็นหญิง ในเรื่องของการแสดง และเรื่องความเป็นชายได้จากการที่เรามาจากต่างจังหวัด แล้วได้เล่นอะไรที่เป็นธรรมชาติ มันจะมีสองด้าน เวลาเราไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่เป็นทั้งผู้ชายหรือผู้หญิงเราก็สามารถปรับตัวได้ เวลาไปอยู่กับผู้ชายเขาจะไม่ค่อยกล้าล้อพัด เพราะสิ่งหนึ่งที่เด็กผู้ชายจะยอมรับในเวลานั้นคือความสามารถ กีฬาเราก็ได้ ฟุตบอลเราก็เล่นได้ วอลเลย์บอลเราก็เล่นได้ แล้วเราเล่นได้ดีผู้ชายก็จะเฮ้ย เพราะฉะนั้นมันจะไม่กล้ามาแกล้งเรา เราก็อยู่ในที่ที่เขายอมรับได้ทั้งสองฝั่ง กับผู้หญิงฉันก็กระโดดยางได้ ทำกิจกรรมก็ได้ มันก็เลยกลายเป็นมิกซ์กัน แต่ก็ชัดเจนทั้งสองด้าน เราทำเพราะไม่ใช่อยากเข้าสังคมหรืออะไร แต่ทำเพราะมันชอบมาตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว”

 

05.26

     “พอมาอยู่ในกรุงเทพฯ โฟกัสมันเปลี่ยนไปเรื่องวิชาการ เลยรู้สึกว่าต้องเก่งเรื่องวิชาการด้วยเพื่อจะได้ไม่มาว่าเราได้ว่าเราเป็นตุ๊ดอย่างเดียว เราต้องเรียนรู้ให้ไวขึ้น”

 

07.14

ตอนนั้นที่เลือกเรียนการแสดง มันต่อยอดสิ่งที่เราเป็นมาบ้างหรือเปล่า

     “มันต่อยอดดีมากเพราะว่าการเรียนพวกนี้ทำให้เรารู้ว่าเวลาแสดงต้องใช้พลังงานอย่างไรให้ถูกหลัก และมันจะอิมแพกต์คนอย่างไรโดยไม่พร่ำเพรื่อ แรกๆ เราจะบ้าบอเกินไป แต่พอเราเข้าใจหลักการและทฤษฎีอะไรบางอย่าง แล้วมาปรับเปลี่ยนอะไรกับตัวเอง และการที่เอ็นเตอร์เทนมันไม่ต้องทำให้เขาสนุกอย่างเดียว มันมีหลายมุมที่เราจะดึงเขาไปอยู่ในโหมดเศร้า โหมดบ้า โหมดตลก หรืออะไรก็ได้ ฉะนั้นการเรียนการแสดงมันทำให้เราเข้าใจว่า เราสามารถชักจูงให้คนเกิดหลากหลายความรู้สึกมากกว่าเดิม”

 

08.30

     “จริงๆ แล้วการเรียนศิลปะการแสดง พอเราเก็ตประเด็นตรงนี้มันสามารถทำอาชีพอื่นได้หมดเลย เรารู้สึกว่าที่เราเรียนแล้วสิ่งที่เราได้กลับมาไม่ใช่แค่แอ็กติ้งต้องทำอย่างไร เต้น ร้อง โปรเจกต์เสียงอย่างไร สิ่งที่มันได้มากกว่านั้นคือเราได้ศึกษาตัวละครเยอะมากระหว่างที่เราเรียน ได้ศึกษาบท วิเคราะห์ตัวละคร และสิ่งที่มันสะท้อนกลับมาหาเราในฐานะนักแสดง คือเราต้องเอาตัวเองไปเทียบกับตัวละคร เราจะได้เจอเราในตัวตนใหม่ๆ เต็มไปหมดเลย บางครั้งคนเราต้องเจ็บปวดมันถึงเรียนรู้ อันนี้เราเรียนรู้จากบทละคร มันทำให้เราโตขึ้น เข้าใจโลกขึ้น จะทำอะไรก็จะรู้สึกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเราได้เอง ฉะนั้นเวลาไปอยู่ข้างนอกหรือไปทำงานอย่างอื่น มันเป็นกลไกเดียวกันที่ทุกคนต้องมี ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็ตาม เลยคิดว่าการเรียนละครมันสอนเราให้เป็นคนมากขึ้น สอนเราให้มีจิตวิญญาณและรู้จักตัวเอง”

 

10.00

     “ล่าสุดพัดมีโอกาสได้ไปออกแบบระบำใต้น้ำของโอเชี่ยนเวิร์ล ซึ่งเราเคยทำมา 3-4 โชว์แล้ว ในตู้ที่โอเชี่ยนเวิร์ลจะมีโซนสำหรับโชว์ เป็นกระจกยาว ใส ให้คนเห็น แล้วมันจะมีแต่ละซีซันว่าจะมีพระอภัยมณี มีผีเสื้อสมุทร สิ่งที่เขาต้องการคือระบำใต้น้ำ มาจากคนทำท่าทางต่างๆ ใต้น้ำ สิ่งที่พิเศษคือเราได้ทำงานร่วมกับนักว่ายน้ำทีมชาติ ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ซึ่งเขาเต้นกันไม่เป็น เขาว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว การบ้านของเราคือทำอย่างไรให้รูปร่างต่างๆ ที่สื่อความหมายกับดนตรี ให้เขาทำได้อย่างไม่ขวยเขิน เพราะผู้ชายว่ายน้ำก็จะแข็งๆ คือนอกจากเราจะเพ้อฝันว่าภาพจะสวยอย่างนั้นอย่างนี้ เราต้องคิดถึงความจริง เพราะเขาจะดำลงมา 8 เมตรซึ่งลึกมาก โดยที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจอะไรเลย และต้องคิดว่าภายใน 8 เมตร ประมาณ 10-20 วินาทีเพื่อมาทำท่า ไม่อย่างนั้นเขาตาย พอขึ้นมาปุ๊บก็ต้องลงมาอีกแล้วเพื่อทำการแสดงให้ต่อเนื่องกับเพลง 3 นาที มันก็จะมีกลไก ไดนามิกอะไรบางอย่างที่เราต้องคิดมากขึ้น”

 

12.41

     “พัดต่อยมวย ปีนเขา เวคบอร์ด แต่ที่ชอบที่สุดคือต่อยมวย มันเริ่มมาจากเราเป็นคนชอบใช้พลัง พลังเราเยอะ แรกๆ เราต่อยเต็มที่ เตะให้แรง แต่ต่อมาเรากะพลังตัวเองได้เก่งขึ้น นิ่งขึ้น คือเราไม่ต่อยมั่วซั่วแล้ว มีสมาธิมากขึ้น มันได้ใช้ทั้งความรุนแรงที่ปล่อยออกไป แต่เป็นการปล่อยที่ดี ส่วนปีนเขามันต่อเนื่องมาจากตอนเด็กๆ ที่ชอบปีนต้นไม้ และเรารู้สึกชอบมากเวลาลงเนินแล้วมีหินเยอะๆ ซึ่งมันไม่สามารถเดินปกติได้”

 

16.09

พัดเริ่มชอบเพลงร็อกได้อย่างไร

     “พัดเริ่มจากลูกทุ่ง อาร์แอนด์บี ป๊อป ตามปกติของตุ๊ดนั่นแหละ จนได้มาเล่นละครเวทีเรื่องหนึ่งชื่อ Hedwig And The Angry Inch เป็นมิวสิคัลร็อก ใช้เวลาอยู่กับบทนี้นานมาก จริงๆ ครูเสนอมาแล้วเราก็อี๋ตั้งแต่แรก เพราะตอนนั้นฟังเพลงร็อกแล้วน่ารำคาญ มันเอาตรงไหนมาเพราะ เลยไม่อยากทำ แต่ครูบอกว่ามันคือธีสิสเรา เราต้องท้าทายตัวเอง พอได้บทเลยมานั่งศึกษา ตัวละคร Hedwig ตัวนี้มันเกิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เบอร์ลิน เพลงร็อกยุคนั้นจะเป็น David Bowie, Patti Smith, Tina Turner, Iggy Pop, Queen ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตัวละครตัวนี้ และเราต้องค้นคว้าต่อว่าทำไมคนเหล่านี้ ถึงต้องแต่งเพลงร็อก คือนอกจากจะศึกษาตัว Hedwig เองแล้ว เราต้องศึกษาศิลปินในยุคนั้นด้วย ต้องศึกษาต่อไปว่าทำไมคนแต่งเรื่องนี้ถึงใช้เพลงร็อกมานำเสนอ ทั้งหมดมันทำให้เราเข้าใจว่าเพลงร็อกมีที่มาที่ไปอย่างไร

 

18.10

     “จริงๆ ที่มาของเพลงร็อกมันมาจากที่เดียวกันก็คือ เพลงต้องการสื่อความรู้สึก แต่ด้วยความที่มันเป็นเพลงร็อก ร็อกมันจะมีความหยาบและความลึกบางอย่าง หยาบคือทื่อ ตรง ใส บริสุทธิ์ในการออกเสียง ไม่มีการเอื้อนอะไรทั้งนั้น พลังหรือความเกรี้ยวกราดให้รู้สึกร็อกไม่ได้หมายความว่าเราต้องใส่มันเสมอไป เพราะจริงๆ แล้วเพลงร็อกคือการบ่น ก่นด่าสังคมในช่วงนั้น มันคือการพูดถึงตัวตนว่าทำไมเราไม่เข้าใจโลก ทำไมพระเจ้าถึงให้เรามาอย่างนี้ เพลงส่วนใหญ่ยุคนั้นจะพูดเรื่องนี้ อย่าง เดวิด โบวี่ ก็จะพูดเรื่องชีวิต ตัวตนเป็นหลัก”

 

20.30

     “เพลงร็อกจริงๆ สำหรับเรามันจะไม่ถูกจำกัดว่าเป็นอย่างไร คนที่ร้องแจ๊ซ คลาสสิคัล ป๊อป เขาก็ร้องร็อกได้ แต่สิ่งที่เรารู้สึกมากที่สุดคือ เพลงร็อกคือเพลงที่ทำให้เราพูดออกมาได้อย่างจริงใจ ไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่สนใจว่าใครจะมองว่าเราเป็นอย่างไร ไม่รู้หรอก ฉันจะด่าฉันก็จะด่า ฉันใส่อารมณ์ฉันก็จะใส่อารมณ์ หรือฉันจะบ่นกับตัวเองฉันก็จะบ่น มันเป็นแนวทางหนึ่งของเพลงที่มันเป็นศิลปะ ทำให้เรารู้สึกได้ปลดปล่อยออกมาได้อย่างจริงใจมากที่สุด เราไม่ต้องประดิษฐ์ เราไม่ต้องแคร์ตัวโน้ตว่าต้องร้องให้ถูกโน้ต แต่เราได้ร้องออกมาและรู้สึกว่ามันมีพลังมากกว่าการที่เราต้องมาซีเรียสว่าเพลงมันต้องเพราะ เลยติดใจ ชอบ และคิดว่าคือเสน่ห์ของมัน”

 

21.45

เลยเกิดเป็นวง Chanudom ขึ้นมา

     “ใช่ คือ Chanudom มันเริ่มมาจาก Hedwig นั่นแหละ คือมันเป็นมิวสิคัลร็อกก็จะมีกลุ่มหนึ่งที่เล่นแบ็กอัพ Chanudom ก็มาจากตรงนั้นหมด มีพี่ต๊อบกับพี่แพท ทุกคนอินหมดเลย มันเหมือนเป็นโชคชะตาที่ทุกคนอินและอยากทำเพลงร็อกต่อ เขาก็เห็นความสามารถของเราที่ร้องร็อกและสื่อสารได้ เขาสนใจในคาแรกเตอร์ที่เราเป็นตุ๊ดร้องเพลงร็อก มันน่าจะมันดี”

 

22.32

รู้สึกขัดไหมเวลาเราขึ้นไปร้องเพลงร็อกดุดัน

     “ไม่เลย เรารู้ว่าจะสื่ออะไรเพราะเพลงเราก็แต่งเอง มันเรียนรู้จากที่เราแสดงเรื่อง Hedwig นี่แหละว่าจะต้องค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างไร และตอนหลังค่อยๆ หนักขึ้นพร้อมกับดนตรี เราว่ามันง่ายขึ้นด้วยซ้ำ พัดไม่ซีเรียสเวลาขึ้นเวทีไม่เคยตื่นเต้นเลย สมัยก่อนตอนเล่นละครเวทีตื่นเต้นเพราะมีอะไรให้จำเยอะ ทั้งบล็อกกิ้ง แพตเทิร์น ฟีลลิ่ง ทุกอย่างมันถูกวางไว้หมดแล้ว แต่คอนเสิร์ตแค่ฉันขึ้นไปและจริงใจกับมัน บริสุทธิ์ใจที่จะขึ้นไปเล่น ไม่คิดอะไรทั้งนั้น ไม่คิดว่าจะต้องออกมาดูดี”

 

23.25

แรกๆ กระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ที่คนเห็นรูปลักษณ์อย่างเรา

     “แต่งตัวขนาดนี้แต่ออกมาร้องเพลงร็อกหนักเลย คนเซอร์ไพรส์เยอะนะ เพราะว่าเพลงเราทำให้เขาเชื่อได้ว่ามันโอเคอยู่นะ เราเป็นตุ๊ดที่อยู่ในโหมดร็อกได้อยู่นะ ซึ่งเซอร์ไพรส์คนที่เขาเห็นเรา แม้แต่มิวสิกวิดีโอ หรือการแสดง พอเราเรียนการแสดงเราจะเนิร์ดมากเรื่องการแสดง เราจะเอาการแสดงผสมกับเพลงของเรามาทำเป็นโชว์ เราไม่ได้ขึ้นมาร้องเพลงเฉยๆ จะมีการเล่าเรื่อง สมมติว่าร้องเพลงนี้จบปุ๊บ ก็จะมีดนตรีคลอ ทุกอย่างจะถูกเซตมาเหมือนละครเวที มันมีมู้ดแอนด์โทน ตอนจบคนดูจะต้องอิมแพกต์ ดูแล้วจะต้องได้อะไรกลับไป”

 

24.48

     “สำหรับเพลงที่อยู่ใน Audio CD มันก็คือร็อกปกติที่คนสามารถบอกได้ว่าคือร็อกประเภทไหน แต่ตัวการแสดงคือ Theatrical Rock เหมือนการดูโชว์หนึ่งที่มีการวางมา ไม่ใช่แค่ร้องปกติ”

 

27.00

ถ้าคนทั่วไปอยากฟังเพลงร็อกเหมือนพัดบ้าง ควรเริ่มต้นจากตรงไหน

     “จริงๆ แล้วถ้าคุณชอบฟังดนตรี เพลงไหนมันก็สื่อสาร อยู่ที่ว่าเราชอบความรู้สึกอย่างไร เพลงป๊อปก็พูดความรู้สึกเหมือนกันแต่ไม่ได้เน้นย้ำความรู้สึกเหมือนร็อก หรือลูกทุ่งก็จะมีความบริสุทธิ์อย่างเดียว แต่ร็อกมันจะมีทั้งความบริสุทธิ์ ความจริงใจที่จะเล่า และมีดราม่าในเพลง ใครชอบที่จะปลดปล่อยไปกับเพลง เราว่าเพลงร็อกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าฟังทุกครั้งแล้วมันฟิน”

 

28.14

     “เราชอบ Arctic Monkey มาตั้งแต่อัลบั้มแรกจนถึงปัจจุบัน ให้แรงบันดาลใจเรามาก เรารู้สึกว่าเขาเป็นวงร็อกที่ไม่จำเป็นจะต้องตะโกนว่าฉันเป็นชาวร็อก แต่เขาเป็นร็อกที่นุ่ม สุขุม ดูเท่ ดนตรีก็เป็นการทดลองมาตลอด ลองสังเกตแต่ละอัลบั้มจะไม่ค่อยซ้ำกัน นี่คือวงร็อกที่กล้าเสี่ยง กล้าเปลี่ยน กล้าพัฒนาตัวเองตลอดเวลา กล้าที่จะไม่ย่ำอยู่กับที่ ต่อให้ฉันรู้แล้วว่าฉันฮอตในเวลาร้องเพลงแบบนี้ แต่ถ้าไม่กล้าเสี่ยงก็จะไม่เจอตัวตนของตัวเองใหม่ๆ มากขึ้น”

 

29.54

     “ต่อไปหนูอาจจะถอดเสื้อขึ้นเวที เพราะคิดอยู่เหมือนกันว่าเราไม่ได้ตุ๊ดขนาดนั้น เวลาเราขึ้นเวทีบางครั้งเราใช้เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่มมาคลุมตัวเองเยอะเกินไป แล้วเวลาร้องบางเพลงเราแมนมาก เราไม่ได้ตั้งใจเลยมันออกมาเอง เรารู้สึกว่าทำไมต้องประดิดประดอยให้มันเยอะ ก็เราเพียวบนเวทีอยู่แล้ว สุดท้ายเพียวจริงๆ เพราะเต้นไปเต้นมาหลุดหมด เหลือถุงน่องตาข่ายอย่างเดียว เราก็หาตัวเองไปเรื่อยๆ อยู่เหมือนกัน”

 

30.57

มีชุดไหนที่ใส่แล้วคนฮือฮาบ้างมั้ย

     “มันจะมีชุดตาข่ายอันหนึ่งที่เราชอบใส่มาก แล้วก็แปะหัวนมเป็นกากบาท เราไม่ได้ใส่เพราะสวยหรือเซ็กซี่ เราใส่มันเพราะครั้งแรกคนเห็นแล้วอาจจะรู้สึกว่าทำไมเราแต่งตัวอย่างนี้ แต่คนดูจบเขาจะลืมเรื่องนี้ไปเลย เขาจะมองอย่างอื่นที่เราเป็นมากกว่า เรารู้สึกว่าอันนี้มันท้าทายเราอย่างหนึ่ง คือพอดูจบโชว์ปุ๊บคนจะได้อะไรมากกว่าตุ๊ดคนนี้ใส่ตาข่ายปิดหัวนมน่าเกลียด แต่เราคิดว่าเดี๋ยวคุณก็รู้เองว่าคุณไม่ได้มองเราเรื่องนี้หรอก คุณไม่ได้มองว่าเราเป็นเพศอะไรด้วยซ้ำ คุณจะมองมาเองว่าเรากำลังบอกอะไรอยู่”

 

32.15

ถ้าเพลงร็อกคือการสื่อสาร มีเพลงร็อกที่พัดแต่งแล้วสื่อสารอะไรถึงใครไหม

     “มีเพลงช้าที่สุดและเป็นเพลงรักของวง Chanudom ชื่อเพลง ชนุดม เหมือนกัน เราแต่งให้แม่ แม่เราเสียไป สิ่งหนึ่งของคนเราคือการจากลา แน่นอนว่ามันต้องเจ็บปวด แต่ถ้าเราไปจมอยู่ตรงนั้นนานๆ มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เขาไม่ได้ฟื้นขึ้นมาฮัลโหล เราเลยกลับมามองแง่ดีของมัน คือฉันเรียนรู้แล้วว่าเวลา 20 กว่าปีที่เรารู้จักคุณบนโลกใบนี้มันโคตรดีเลย โลกใบนี้เขามอบคนที่รักเราคนหนึ่ง พอมาเขียนเป็นเพลงเราเลยใส่ไปเยอะมากในการเล่าเรื่อง ‘ความผูกพันที่มันเคยเกิดขึ้นกับฉัน เหตุการณ์และความทรงจำที่มันคอยตอกและย้ำ ผ่านมาให้รู้ว่ามันยังมีความหมาย’ เป็นเพลงหนึ่งที่รู้สึกว่าเราได้ใช้สิ่งที่เรารักมากที่สุดที่เขามอบให้เรา มาตอบแทนเขาตรงนี้ เราเคยเชื่อเหมือนกันนะว่าอยากมีเงินตอบแทนเขา แต่ในฐานะที่เวลาเขาให้เรามาเท่านี้ เจอกันเท่านี้ ฉะนั้นเราไม่ผิดหรอกที่เราทำไม่ได้ หมายความว่าเราหาเงินทองตอบแทนเขาไม่ได้ตอนนั้น แต่สิ่งที่ทำได้คือเราเอาสิ่งที่คุณส่งให้เราเรียนแล้วเป็นประโยชน์ เราจะเขียนมัน มันสอนคนได้ด้วย พัดไม่ได้พูดในเพลงว่าสูญเสียแม่ แต่เพลงมันพูดว่า มนุษย์เราเจอกันแล้วมันต้องจากกัน สิ่งที่สวยงามที่สุดคือจำไว้เถอะว่าอย่างน้อยมีคนที่เรารักเหมือนกัน”

 

36.00

ตอนนี้รู้สึกอย่างไรบ้างที่เหมือนคนยอมรับเรามากขึ้น มีซีนอย่างนี้เกิดขึ้นในวงการเพลงบ้านเรา

     “มันดีนะ แต่สำหรับพัดยังอยากทำอะไรอีก คือเราอยากให้มีอะไรเกิดขึ้นอีก เราไม่รู้หรอกว่าเราไปสุดได้แค่ไหน แต่เคยคุยกับพี่จีน-กษิดิศ เขาพูดว่า ‘รู้ไหมว่าฉันเห็นแก ฉันดีใจมากเลย อย่างหนึ่งที่ฉันเคยทำมาก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการไปเล่นตามคอนเสิร์ตแล้วโดนปารองเท้าหรือโดนโห่ ฉันรู้สึกว่าฉันกรุยทางให้น้อง’ พอเขาพูดเท่านั้นแหละ นี่คือคนที่ทำงานเพื่ออะไรอยู่ เขาทำงานในสิ่งที่รักแต่มันมีเพศที่วางไว้ให้ต้องฝ่าฟัน เราทำมาได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้ามีแรงเราอยากให้มันกว้างขึ้น อยากให้คนลืมไปว่าสิ่งนี้คือกำแพง เราอยากทำให้มันสุดที่สุดเท่าที่แรงจะมี แล้วต่อไปน้องขึ้นมาน้องจะได้ง่าย”

 

37.55

     “ตอบแบบมั่นใจเลยนะคะว่าไม่เปลี่ยนค่ะ แม้ชาติหน้าก็ยังรู้สึกชอบตรงนี้ เรารู้สึกว่าเราทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีแล้ว ที่ไม่อยากเปลี่ยนเพราะว่าเพศนี้มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราเข้าใจมากกว่าคนอื่น จนเรารู้สึกว่าถ้าเป็นผู้หญิงอย่างเดียวเราจะคิด จะเข้าใจอะไรอย่างนี้ เราจะทำงานอย่างนี้ออกมาได้ไหม สิ่งที่เราเป็นอยู่ตอนนี้คือโคตรเหนื่อยแต่โคตรมีความสุขอยู่ด้วยกัน โคตรเหนื่อยตรงที่ทำไมเราต้องพิสูจน์คนอื่นตลอดเวลาว่าเรามีความสามารถ เราจะให้คนอื่นมาตัดสินเราทำไม แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราทำได้ มันจะท้าทายมาก เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรียนรู้เหมือนกัน”

 


 

Credits

The Host นันท์ณภัส ธิปธรารัตนศิริ

The Guest พัด-ชนุดม สุขสถิตย์

 

Show Creator อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Music Westonemusic.com

The post เทยร็อกเกอร์: จริงใจ ไม่เกรี้ยวกราด วาดลวดลายบนเวทีอย่างเป็นตัวเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>