อเมริกา – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 20 Aug 2023 03:40:18 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หุ้น Ford Motor: IPO ประวัติศาสตร์ ที่ Henry Ford ต่อต้าน | Wealth History EP.42 https://thestandard.co/podcast/wealth-history-ep42/ Sun, 20 Aug 2023 03:40:18 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=831237

ใครๆก็รู้จัก Henry Ford หนึ่งในบุคคลผู้สร้างสหรัฐอเมริก […]

The post หุ้น Ford Motor: IPO ประวัติศาสตร์ ที่ Henry Ford ต่อต้าน | Wealth History EP.42 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครๆก็รู้จัก Henry Ford หนึ่งในบุคคลผู้สร้างสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ให้กำเนิดอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ  แต่ใครจะรู้บ้างว่ากว่าที่ บริษัท Ford Motor จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้เวลายาวนานถึง 53 ปี Wealth History EP.42 นี้ (หลังจากห่างหายกันไปนาน) จะชวนพูดคุยถึง หุ้น IPO ของบริษัท Ford Mortor  หนึ่งใน IPO ประวัติศาตร์  ติดตามได้กับโฮสต์ประจำรายการ วิทย์ สิทธิเวคิน

 

Credits

 

The Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Show Creator ทิวาพร ปิ่นสุข
Episode Producer ทิวาพร ปิ่นสุข

Cameraman อรณิชา อภิวิศาลกิจ  

Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน

Coordinator & Admin ทิวาพร ปิ่นสุข

Graphic Designer ฉัตรชัย เฉยชิต, นันทิยา ฤทธาภัย

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน, พฤกษา แซ่เต็ง

Online Community Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, ภาวิกา ขันติศรีสกุล, วรรษมล สิงหโกมล, ชนเนตร ลอยครุฑ, ณัชชยา เมธากิตติพร

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์, ไชยพร ศิริกลการ

Social Media สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive ชริน ธนอุดมกรณ์, อาทิตยา อิสสรานุสรณ์

The post หุ้น Ford Motor: IPO ประวัติศาสตร์ ที่ Henry Ford ต่อต้าน | Wealth History EP.42 appeared first on THE STANDARD.

]]>
นโยบาย New Deal FDR | Wealth History EP.41 https://thestandard.co/podcast/wealth-history-ep41/ Sun, 02 Jul 2023 08:36:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=810727

หลังจาก The Great Recession ในปี 1929 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

The post นโยบาย New Deal FDR | Wealth History EP.41 appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจาก The Great Recession ในปี 1929 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก สหรัฐอเมริกาใช้วิธีการอะไรที่สามารถฟื้นตัวได้เร็วจนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ Wealth History EP.41 นี้จะชวนพูดคุยถึงนโยบาย New Deal ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Franklin Delano Roosevelt จะมีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามเรื่องราวนี้ได้กับโฮสต์ประจำรายการ วิทย์ สิทธิเวคิน

 


 

Credits

 

The Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Show Creator ทิวาพร ปิ่นสุข

Episode Producer ทิวาพร ปิ่นสุข

Cameraman ณัฐพงษ์ กุลพันธ์ 

Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer ธภัทร ตั้งวงษ์ไชย

Coordinator & Admin เตชนันต์ วิทยาสรรเพชร

Graphic Designer ฉัตรชัย เฉยชิต, นันทิยา ฤทธาภัย

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน, พฤกษา แซ่เต็ง

Online Community Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, ภาวิกา ขันติศรีสกุล, วรรษมล สิงหโกมล, นัฐฐา สอนกลิ่น, ชนเนตร ลอยครุฑ, ณัชชยา เมธากิตติพร, วรินทร สายอาริน

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์, ไชยพร ศิริกลการ, พงศกร เพ่งพิศ

Social Media สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive อาทิตยา อิสสรานุสรณ์

The post นโยบาย New Deal FDR | Wealth History EP.41 appeared first on THE STANDARD.

]]>
กำเนิดอินเทอร์เน็ต เส้นเลือดหลักของโลก อาวุธลับอเมริกา https://thestandard.co/podcast/tss-global-economic-background-ep15/ Sat, 27 Aug 2022 03:05:00 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=672678

ทำไมอเมริกาถึงเห็นความสำคัญในการเชื่อมต่อคนทั้งโลกผ่าน […]

The post กำเนิดอินเทอร์เน็ต เส้นเลือดหลักของโลก อาวุธลับอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทำไมอเมริกาถึงเห็นความสำคัญในการเชื่อมต่อคนทั้งโลกผ่าน WWW (World Wide Web) จนเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรก และอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 นำไปสู่พัฒนาการที่เสริมสร้างความยิ่งใหญ่ให้พญาอินทรี

 

เอพิโสดนี้ พาถอดบทเรียนความเป็นชาติมหาอำนาจของอเมริกา จากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ที่สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะไม่ได้มีทรัพยากรอยู่ในประเทศ แต่ด้วยวิสัยทัศน์ การคิดค้นและไม่หยุดพัฒนา จึงทำให้อเมริกายังคงเป็นผู้ควบคุมกติกาโลกในทุกมิติจนถึงปัจจุบัน

 

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 

 


Credits

 

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์, วิทธ์ สิทธิเวคิน

The Secret Sauce Manager ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Creative นัทธมน หัวใจ          

Video Editor / Motion Graphic Designer ชิษณุพงศ์ สุขสำอาง

Music / Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Camera ธนกร ศักดิ์มณีกุล, ธเนศ จึงสุขสันต์

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Assistant อสุมิ สุกี้คาวา

Graphic Designer ธนิดา โตวิวัฒน์ 

Motion Graphic Designer for Interlude & Outro นันทิยา ฤทธาภัย

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Social Media Editor ทศพล เพิ่มพูล

THE STANDARD Proofreader Team

THE STANDARD Webmaster Team

Social Media Admins วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive Officer ชริน จำปาวัน  

The post กำเนิดอินเทอร์เน็ต เส้นเลือดหลักของโลก อาวุธลับอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สยาม’ กับการรับแรงกระแทกกระแสจักรวรรดินิยม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น https://thestandard.co/podcast/8-minutes-history-ep135/ Wed, 27 Jul 2022 11:56:33 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=659783 สยาม

เอพิโสดนี้พาย้อนเวลากลับไปในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อ […]

The post ‘สยาม’ กับการรับแรงกระแทกกระแสจักรวรรดินิยม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
สยาม

เอพิโสดนี้พาย้อนเวลากลับไปในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อถอดเกร็ดประวัติศาสตร์จากภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส 2 เพราะเป็นกรอบเวลาที่มหาอำนาจชาติตะวันตกต่างก็เข้ามาขยายอำนาจในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของพ่อค้าชาวอังกฤษในไทย อันไปสู่จุดกำเนิดของสนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สยามได้เห็นวิทยาการและความก้าวหน้าของสินค้าจากตะวันตก รวมไปถึงการถูกกดทับจากสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยนั้นด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีการเข้ามาของมิชชันนารีตะวันตกที่เผยแพ่คริสต์ศาสนาในไทย รวมไปทั้งวิทยาการพิมพ์ การศึกษา การแพทย์ อันเป็นการเปิดหูเปิดตาให้ชาวสยามเป็นอย่างมาก และทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นประเทศอารยธรรม (Civilization) ทัดเทียมชาติตะวันตกในเวลาต่อมา

 


 

ติดตาม 8 Minutes History
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวก

 


 

Credits

 

The Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Project Manager ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Show Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

Creative นัทธมน หัวใจ, ภัควัตน์ ฟองดี                                                 

Sound Editor เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน, พฤกษา แซ่เต็ง

Proofreader วรรษมล สิงหโกมล

Webmaster อารยา ปานศรี

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์   

Archive Officer ชริน ธนอุดมกรณ์, อาทิตยา อิสสรานุสรณ์, ฉัฐนภา โพธิ์เงิน

The post ‘สยาม’ กับการรับแรงกระแทกกระแสจักรวรรดินิยม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชนวนเหตุสงครามกลางเมือง สู่อิสรภาพของรัฐทาสในอเมริกา https://thestandard.co/podcast/8-minutes-history-ep48/ Wed, 25 Aug 2021 13:34:05 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=529177 8 Minutes History EP48

ภายหลังการตรากฎหมาย Fugitive Slave Act ศาลภายในอเมริกาม […]

The post ชนวนเหตุสงครามกลางเมือง สู่อิสรภาพของรัฐทาสในอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
8 Minutes History EP48

ภายหลังการตรากฎหมาย Fugitive Slave Act ศาลภายในอเมริกามีการตีความกฎหมายดังกล่าวที่ขัดแย้งกันในแต่ละรัฐ อันเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้นในกลุ่ม ‘Abolitionist’ จนนำไปสู่ความแตกหักของรัฐอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และการก่อตั้งรัฐใหม่ สมาพันธรัฐอเมริกา (C.S.A.) 

 

ความวุ่นวายดังกล่าวขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเกิดสงครามกลางเมือง จนกระทั่งเกิดความสูญเสียกว่าสองแสนชีวิต ก่อนสงครามกลางเมืองได้จบลง เหล่าทาสในอเมริกาได้รับอิสรภาพกลายเป็นเสรีชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 


 

ติดตาม 8 Minutes History
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวก

 
 

 

Credits

 

The Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Creative Director ภูมิชาย บุญสินสุข

Project Manager ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Show Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Creative นัทธมน หัวใจ                                                

Sound Editor เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Proofreader ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmaster อารยา ปานศรี

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์   

Archive Officer ชริน จำปาวัน

Intern ภัควัฒน์ ฟองดี 

The post ชนวนเหตุสงครามกลางเมือง สู่อิสรภาพของรัฐทาสในอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ที่มาสงครามกลางเมืองอเมริกา เลิกทาสสู่ความเท่าเทียมทั้งสังคม https://thestandard.co/podcast/8-minutes-history-ep47/ Mon, 23 Aug 2021 10:17:02 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=528188 8 Minutes History EP47

หลังจากอเมริกาได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษไม่นาน ได้เ […]

The post ที่มาสงครามกลางเมืองอเมริกา เลิกทาสสู่ความเท่าเทียมทั้งสังคม appeared first on THE STANDARD.

]]>
8 Minutes History EP47

หลังจากอเมริกาได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษไม่นาน ได้เกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา จนกระทั่งมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ 

 

เนื่องจากรัฐทางตอนเหนือหรือกลุ่ม ‘Abolitionist’ ต้องการยกเลิกแรงงานทาสเพื่อสิทธิมนุษยชน ส่วนรัฐทางตอนใต้ต้องการให้มีทาสเพื่ออุตสาหกรรมฝ้าย ความขัดแย้งนี้พัฒนาเป็นสงครามยืดยาวกว่า 4 ปี ก่อนจะได้มาซึ่งอิสรภาพของแรงงานในอเมริกาและความเท่าเทียมของคนทั้งประเทศ

 


 

ติดตาม 8 Minutes History
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวก

 
 

 

Credits

 

The Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Creative Director ภูมิชาย บุญสินสุข

Project Manager ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Show Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Creative นัทธมน หัวใจ                                                

Sound Editor เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Proofreader ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmaster อารยา ปานศรี

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์   

Archive Officer ชริน จำปาวัน

Intern ภัควัฒน์ ฟองดี 

The post ที่มาสงครามกลางเมืองอเมริกา เลิกทาสสู่ความเท่าเทียมทั้งสังคม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple https://thestandard.co/podcast/nukreannok10/ Wed, 08 Nov 2017 10:29:24 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=41739

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง เป็นดีไซเนอร […]

The post ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple appeared first on THE STANDARD.

]]>

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง เป็นดีไซเนอร์ชาวไทยที่ได้รับเทียบเชิญจากบริษัทนวัตกรรมระดับโลกอย่าง Apple ให้เข้าทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Apple Park ออฟฟิศแห่งใหม่ของบริษัท ที่คูเปอร์ติโน แคลิฟอร์เนีย

     ชวนฟังเส้นทางการเรียนของนักเรียนดีไซน์แบบปรารี กับการปรับตัวเข้ากับการเรียนดีไซน์แบบตะวันตก การทำงานในสหรัฐอเมริกา และบรรยากาศการทำงานในบริษัท Apple ที่ลึกลับอย่างกับอยู่ในซีไอเอ!

 


 

ชีวิตกราฟิกดีไซเนอร์ไทยก่อนจะเป็นนักเรียนนอก

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง จบจากคณะมัณฑนศิลป์ สาขาออกแบบนิเทศน์ศิลป์ เอกโฆษณา มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เมื่อจบมากลับไม่ได้ทำงานสายโฆษณาอย่างที่เรียนมา จริงๆ แล้วอยากเรียนเอกภาพประกอบ แต่ไม่ใช่คนวาดรูปเก่ง เลยผันตัวมาทำงานด้านดีไซน์แบรนดิ้ง โปรดักต์ หรือ Corporate Identity มากกว่า

     หลังจากจบมหาวิทยาลัย แป๋มไปทำงานด้านโปรดักต์ดีไซน์อยู่สักพักก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเท่าไร ด้วยความที่ไม่ได้จบมาสายนี้ จึงไปทำแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ที่ S&P ได้ทำร้าน Vanilla ที่สยามพารากอน ทำกราฟิก ทำลายโต๊ะ ทำโลโก้

     หลังจากนั้นก็ไปทำงานดีไซน์แฟชั่นอยู่พักหนึ่ง เพราะชอบงานเท็กซ์ไทล์ เลยไปทำที่ Shaka (ในตอนนั้นคือ Shaka London) ก็ทำอยู่สักพักเช่นกัน

 

แรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจไปเรียนต่อ

     หลังจากผ่านมาหลายงาน แป๋มก็ได้โอกาสไปเป็นอาจารย์ช่วยสอนแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ที่ ม.กรุงเทพ อยู่ 1 เทอม

     แต่งานสอนไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลย ด้วยความที่แป๋มดูเด็ก นักเรียนก็ไม่รู้ว่าเป็นอาจารย์ สอนก็ไม่เคยสอน บุคลิกก็ไม่ได้ดูเป็นครูมาก ทำให้นักเรียนไม่ฟัง ไม่สนใจ ไม่มีวินัยในห้อง จนแป๋มเกิดความรู้สึกว่าตัวเองอยากสอน แต่กลับไม่สามารถควบคุมคลาสได้ เป็นจุดที่ทำให้แป๋มอยากเก่งกว่านี้ อยากมีภูมิมากกว่านี้ ไปมีประสบการณ์ในสายงานมากกว่านี้ เลยทำให้อยากไปเรียนต่อ อย่างน้อยก็สามารถ inspire เด็กได้

     ปัญหาหลักคือการที่ทำงานดีไซน์ได้ไม่ได้แปลว่าจะวิจารณ์งานได้ จะแนะนำนักเรียนไปทางไหน ถ้าความรู้ของผู้สอนไม่มากพอ ไม่กว้างพอ ก็จะเอาความชอบในแนวทางของตัวเองไปให้นักเรียนแทนที่จะเป็นสิ่งที่เหมาะกับความสนใจของนักเรียนเอง

 

ปัจจัยที่ทำให้เลือกเรียนที่สหรัฐอเมริกา
     จริงๆ แล้วสนใจงานดีไซน์ยุโรปมากกว่า แต่คอร์สปริญญาโทที่ยุโรปมีแต่แบบ 1 ปี ไปถึงก็ทำธีสิสเลย ซึ่งแป๋มรู้สึกว่าเร็วไป จึงเบนเข็มมาหาคอร์สเรียน ป.โท 2 ปี ซึ่งมีที่สหรัฐอเมริกา พอปรึกษาจากเพื่อนที่เติบโตที่ต่างประเทศ ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปเรียนที่ SVA

     และด้วยความที่การเรียน ป.โท ที่ SVA ต้องการคะแนน TOEFL สูงมาก แป๋มจึงตัดสินใจออกจากงานไปทุ่มเทเรียนภาษาที่นิวยอร์ก เพื่อจะสมัครเรียนที่ SVA ให้ได้

     พอถึงช่วงที่สมัครเข้าเรียน ปรากฏว่าคะแนน TOEFL ของแป๋มไม่ถึงเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย (80 คะแนน) ขาดไปแค่ 2 คะแนนเท่านั้น จึงยังสมัครเรียนไม่ได้ เลยไปเดินดูบูธของ SVA ที่งาน Portfolio Day ที่จะให้คนที่อยากสมัครเรียนมาส่งพอร์ตให้มหาวิทยาลัยที่สนใจ

     ที่งาน แป๋มพบว่า SVA ไม่ได้เปิดบูธที่งาน แต่ด้วยความที่มาแล้วก็เลยเอาพอร์ตไปคุยกับหลายสถาบัน จนไปที่บูธของ CCA (California College of Arts) ทางหัวหน้าสาขาที่บูธก็สนใจพอร์ตของแป๋มมาก แต่ที่นี่ต้องการคะแนน TOEFL 100 คะแนน มากกว่าที่ SVA เสียอีก

     แป๋มก็พูดไปตามตรงว่าไม่น่าจะได้ 100 คะแนนแน่ๆ ทางอาจารย์ที่บูธก็แนะนำให้เขียนชื่อเขาเป็น Statement of Purpose ไปกับใบสมัครดู แป๋มก็เขียนไป ก็เลยได้อีเมลรับเชิญไปดูโรงเรียนที่ซานฟรานซิสโก

     แป๋มจึงเดินทางไปดูโรงเรียนที่ซานฟรานซิสโก

 

การเรียนดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก

     แป๋มไม่เคยไปซานฟรานซิสโกเลย โรงเรียนที่นั่นก็จะต่างจากที่นิวยอร์ก ที่จะเป็นสไตล์เหมือนกรุงเทพฯ คือแบ่งเป็นตึกๆ ตามสาขา แต่ที่ซานฟรานซิสโกโรงเรียนสภาพเหมือนโกดังร้าง ก็ตกใจ ดูเท่มาก อินดัสเทรียลสไตล์ มีทั้งเครื่องเลเซอร์คัต 3D Printer แป๋มจึงตัดสินใจไปเรียนที่ซานฟรานซิสโก สาขา MFA Design

     ที่นั่นแบ่งสาขาเป็น Graphic, Industrial, Interaction คลาส MFA รวมทุกสิ่งอยู่ในนั้น ซึ่งการเรียนรวมๆ กันทำให้แป๋มได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้เยอะมาก

     ซานฟรานฯ เป็นเมืองเทคโนโลยี ทำให้สาขา Interaction ค่อนข้างฮิต เป็นเรื่องโรบอต เรื่องแอปฯ แต่แป๋มเป็นสายคราฟต์ ทำมือ กราฟิกมือ เสียมากกว่า แต่สุดท้ายก็ได้ซึมซับความรู้เหล่านั้นมา

 

“การเรียนรวมกันมันทำให้เรา absorb ความรู้เหล่านั้นมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมันดีมาก”

 

     มีวิชาหนึ่งที่แป๋มชอบมาก คือ Media Matters เป็นคลาส 2 วัน อาจารย์ 2 คน วันหนึ่งเป็นคลาสอ่าน อีกวันเป็นคลาสปฏิบัติ ซึ่งสิ่งที่ต้องเรียนคือปรัชญา ซึ่งต้องอ่านมาถกกันในคลาส พอเป็นคลาสปฏิบัติ อาจารย์อีกคนก็ให้นำแก่นที่เรียนจากวันก่อนมาทำเป็นงาน

     ซึ่งแป๋มไม่เข้าใจเลย เพราะอ่านช้า ด้วยความที่ไม่ได้เรียนเรื่องปรัชญาและ critical thinking มาสักเท่าไร ทำให้ไม่รู้จักแนวคิดแบบเพลโต แบบนักปรัชญาอื่นๆ เคยแต่ได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าแก่นคืออะไร

     ที่น่าน้อยใจคือเพื่อนต่างชาติคนอื่นๆ ในคลาสที่เป็นคนจีน คนเกาหลี มีตำราเวอร์ชันแปลเป็นภาษาเหล่านั้น แต่คนไทยอย่างแป๋มกลับไม่มีตำราแปลไทย ทำให้การเรียนของแป๋มไปช้ากว่าที่ควร แต่สิ่งนี้ก็ทำให้แป๋มพัฒนาภาษาอังกฤษได้เก่งขึ้นไปอีก

     อีกปัญหาที่พบในคลาสคือแป๋มไม่ค่อยพูดในคลาส เพราะพูดไม่ทัน คิดไม่ทัน แป๋มพูดได้ ฟังได้ แต่เขียนไม่เก่ง ทำให้มีปัญหาเวลาเขียนงานส่ง ตารางเรียนก็แปลก บางวิชาเรียน 2 ทุ่ม ด้วยความที่อาจารย์ที่มาสอนสะดวกเวลานั้น ทำให้เลิกเรียนดึกมาก ไปยืนรอรถเมล์กลับบ้านก็ร้องไห้ เรียนไม่รู้เรื่อง

 

ปรัชญาเป็นสิ่งสำคัญของงานดีไซน์?

     ก่อนหน้าไปเรียนก็ไม่คิดว่าสำคัญ แต่พอไปเรียนแล้วพบว่าทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกันหมด การรู้ปรัชญาทำให้คิดงานได้ลึกขึ้น

 

“ทั้งปรัชญา การเมือง ศิลปะ ล้วนเกี่ยวข้องกันหมด มันทำให้เราคิดอะไรไกลขึ้น ก่อนนี้เราก็ดีไซน์เพราะอยากให้มันสวย แต่พอรู้เรื่องพวกนี้มันก็ทำให้เราได้วิธีคิด โปรเซสมันเปลี่ยนไป”

 

     อาจารย์เคยอีเมลมาว่า ทำไมแป๋มไม่เคยพูดในคลาสเลย ก็ตอบไปตามตรงว่าเรียนไม่เข้าใจ ไม่รู้จะพูดอะไร เพราะอย่างเพื่อนในคลาสที่เป็นคนอินเดียก็มักจะตอบคำถามแล้วลิงก์ไปที่เรื่องการเมืองหรือหลักการอะไรของบ้านเขา

     อาจารย์เฮ้วมาก บอกแป๋มว่า ถ้าไม่รู้เรื่องก็พูดมาตามตรงได้เลยให้พูดใหม่ ให้ shut up นะ อาจารย์ก็เริ่มบังคับให้พูด ชี้ให้แป๋มพูด ให้พยายาม

 

“สิ่งที่ประทับใจมากคืออาจารย์บอกว่า ยูไม่ต้องเข้าใจเนื้อหาที่ไอพูดทั้งหมดหรอก แต่จับเอาสิ่งที่ชอบในนั้นมาพัฒนางานสิ”

 

     พอภายหลังแป๋มก็เหมือนปลดแอก ไม่กลัวโชว์โง่แล้ว เพราะกลัวไปก็ไม่ฉลาดขึ้น สุดท้ายก็จบมาด้วยเกรดเฉลี่ย 3.8

 

เพื่อนๆ ร่วมคลาสโรงเรียนกราฟิกดีไซน์

     แป๋มไม่เคยคิดเลยว่าจะได้เพื่อนที่นี่ แต่ปรากฏว่ามันมีการพัฒนาความสัมพันธ์ขึ้นมาจากการที่แป๋มฟังอาจารย์สอนไม่รู้เรื่องแล้วไปถามเพื่อนบ่อยๆ จนต่อมาเพื่อนคนนั้นถึงกับจดเลกเชอร์มาให้ ภายหลังก็ช่วยกันฟังช่วยกันจดคอมเมนต์ให้กันเวลาอาจารย์วิจารณ์งาน จนกลายมาเป็นเพื่อนกัน และกลายเป็นคอมมูนิตี้ของนักออกแบบในคลาสเรียนเล็กๆ

 

“มันจะมีคำติดปากเราว่า ‘เห้ย กู๊ดอะ’ เพื่อนฟังแล้วก็ชอบ ก็เอาไปใช้ กู๊ดอะๆ”

 

เริ่มชีวิตการทำงานที่สหรัฐอเมริกา

     พอเรียนจบแล้วแป๋มก็ไม่ได้กลับมาทำงานที่เมืองไทย เพราะเมื่อจบปริญญาที่อเมริกาก็ได้จะ OPT คือสามารถทำงานที่นั่นได้ 1 ปี

     พอเห็นว่า 1 ปี แป๋มก็ชิลล์ แต่ค้นพบภายหลังว่าแม้จะทำงานได้ 1 ปี แต่ต้องหางานให้ได้ภายใน 3 เดือน หลังจากเรียนจบ ไม่งั้นต้องออกนอกประเทศ เลยรีบทำพอร์ต รีบหางาน ซึ่งก็ยาก เพราะแทบไม่มีคอนเน็กชันที่นั่นเลย บวกกับการที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานในอเมริกา ซึ่งทำให้หลายบริษัทที่สนใจไม่รับเข้าทำงาน แม้จะมีประสบการณ์ทำงานในไทยมาแล้วก็ตาม

     จึงทำให้แป๋มตัดสินใจเริ่มฝึกงานที่สหรัฐอเมริกา จนเริ่มมีประสบการณ์ทำงานที่นี่

     ช่วงที่หางานแป๋มก็ได้มีโอกาสส่งประกวดงานดีไซน์ของ The Society of Typographic Arts ซึ่งแป๋มก็ได้ลองเอางานพอร์ตที่เคยทำไว้ส่งไป จนได้ตำแหน่งชนะเลิศในสาขา Experimental Design จากงานอักษรเบรลล์

 

ได้รับเทียบเชิญไปทำงานที่ Apple

     วันหนึ่งทางหน่วย Creative Recruiter ของ Apple Team ก็ส่งอีเมลมา

 

“เขาส่งอีเมลมาว่า เราคือ Apple Team เราสนใจงานของคุณ ว่างคุยไหม เราก็บอกไปว่าว่าง”

 

     แป๋มก็ถามว่าจะให้ไปทำงานส่วนไหน ทางทีมงานก็ไม่บอก พอบอกว่าถ้าไม่รู้เนื้องานแล้วจะตอบรับงานได้ไง ทางทีมงาน Apple ก็หัวเราะ บอกว่าทางเราเห็นงานคุณแล้ว เรารู้ว่าคุณทำอะไรได้ นั่นแปลว่าทาง Apple รับแป๋มเข้าทำงานแล้ว

     สรุปก็ได้ไปร่วมงานในส่วนการทำ Apple Park ซึ่งคือ Main Campus แห่งใหม่ของ Apple เป็นเหมือนอาณาจักรยิ่งใหญ่ แป๋มไปทำเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ส่วนที่แป๋มทำคือโปรดักต์ที่จะมีวางขายแค่ที่ Apple Park เท่านั้น ไม่มีขายที่อื่นเลย

 

บรรยากาศการทำงานในฐานะ Apple Team

     วันแรกที่ไปทำงานแป๋มตื่นเต้นมาก เพราะมันลึกลับมาก ต้องไปรอรถ Apple Bus ตามเวลานัดหมาย ซึ่งสิ่งที่ทีมงานบอกมาคือให้ไปยืนรอตรงริมถนนแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีป้ายบอกอะไรว่าจะมีรถมารับ ตอนขึ้นรถก็ต้องมีพาสเวิร์ดที่ต้องปรินต์ไปยื่นให้คนขับ ไม่งั้นไม่ได้ขึ้นรถ

     สิ่งที่ประทับใจคือตอนไปปฐมนิเทศ เขาบอกว่าที่ Apple มาถึงจุดนี้ได้เพราะพนักงานทุกคนเก็บความลับ ที่ออฟฟิศห้ามถ่ายรูปในโซนที่ทำงาน แล้วก็ไม่มีหน้าต่างเลย แต่ก็มีโซนรีแล็กซ์อยู่

     บรรยากาศการทำงาน คือ ก่อนจะได้งานแต่ละชิ้นมาทำ เจ้านายต้องเข้าไปคุยงานเพื่อนำมาแจกจ่าย จากนั้นก็ต้องรอ 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ access สำหรับเข้าไปดูไฟล์งานที่ได้รับมอบหมายนั้น ซึ่งทำให้แป๋มรำคาญอยู่เหมือนกัน เพราะรอนานมาก

     วันแรกที่เข้าไปทำงานคือรู้สึกผิดมาก เพราะนั่งเฉยๆ อยู่ครึ่งวันจนต้องเดินไปถามเจ้านายว่ามีอะไรให้ทำไหม เจ้านายบอกว่ารอก่อน เพราะ request ไปแล้ว รอดำเนินการก่อน

 

“การทำงานที่นี่ทำให้เราภูมิใจนะ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ยิ่งใหญ่มาก มันเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้ แม้เราจะไม่ได้ทำอะไรยิ่งใหญ่มากก็ตาม”

 

     แนวคิดที่ดีมากๆ ของที่นี่คือเรื่องแบรนดิ้งที่แข็งแรง และแป๋มชอบที่ Apple เป็นบริษัทที่เน้นดีไซเนอร์เป็นหลัก การตลาดเป็นรอง เขาเห็นความสำคัญของงานดีไซน์ เนี้ยบมาก เขาทำให้คนทำงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่

 

ทิ้งท้ายให้คนที่อยากไปเรียนต่อทางด้านดีไซน์

     เราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร เพราะอย่างโรงเรียนของแป๋มเน้นด้าน experimental design ดังนั้นก็จะไม่เน้นด้าน commercial การที่เรารู้ว่าเราต้องการอะไรจึงสำคัญมาก หรือถ้าไม่รู้แต่ชอบลองก็มาลองดู ตั้งใจทำให้ดี

 

“มันมีหลายคนที่เป็นเพื่อนที่เรียนเพราะต้องเรียนโท แล้วเรารู้สึกว่าเขาไม่มีแพสชันในการเรียน ซึ่งมันสำคัญมากกับงานดีไซน์ มันต้องมีอินสไปเรชันอะ”


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest ปรารี กิตติดำเกิง

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนและเข้าสมาคมนักเรียนหญิงที่แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok08/ Wed, 27 Sep 2017 05:59:27 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=30544

     จากชีวิตนักเรียนไทยที่ได้ไปใช้ชีวิต […]

The post ไปเรียนและเข้าสมาคมนักเรียนหญิงที่แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

     จากชีวิตนักเรียนไทยที่ได้ไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็กเป็นเวลาถึง 10 ปี โบ-สาวิตรี มาเล่าให้ฟังถึงชีวิตในมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย ที่ไม่ใช่แค่เรียน แต่ยังเล่นกันจริงจัง รวมถึงประสบการณ์การเข้าไปอยู่ในสมาคมนักเรียนหญิงหรือ Sorority ที่เราอาจคุ้นเคยจากหนังฮอลลีวูด

     ชีวิต Sorority ของจริงจะสวยเริ่ดเชิดหยิ่งเหมือนในหนังหรือเปล่า ไปติดตามฟังกันได้เลย

 


 

01.30

     “สวัสดีค่ะ โบ-สาวิตรี สุทธิชานนท์ ค่ะ โบเคยใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาอยู่ถึง 10 ปี และได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขต Irvine หรือ UCI ด้วยค่ะ ซึ่งมาสคอตของมหาวิทยาลัยโบคือ ตัวกินมด ค่ะ แผล่บๆๆ School prideee

     สิ่งที่โบชอบที่สุดของการใช้ชีวิตในโซน Orange County คือหนึ่ง เรามีห้างดีๆ เยอะมาก สอง เรามีชายหาดใกล้ๆ ดังนั้นเวลาหยุดเรียนเราก็แค่ไปชิลล์ที่ชายหาด และที่สำคัญที่สุดคือ เรามีดิสนีย์แลนด์~! เอาอะไรอีกไหมคะ?”

 

02.33

“ไปตั้งแต่อายุ 12 ค่ะ”

  • ก่อนหน้านี้ไปทุกซัมเมอร์ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะมีญาติอยู่ที่นั่น มีไปคอร์สซัมเมอร์ อยู่บ้านก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ
  • จำโมเมนต์ที่สนามบินที่หันมองคุณพ่อคุณแม่แล้วน้ำตาคลอได้ เป็นโมเมนต์ที่จำได้ว่าใจหาย แต่ก็คิดว่าไม่เป็นไรหรอก ไปเรียน ถ้าไม่ชอบก็กลับ
  • มันเริ่มจากความตั้งใจว่าจะไปแค่ปีสองปี แล้วก็ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งไฮสคูล ทั้งมหาวิทยาลัย
  • ช่วงแรกที่ไปมั่นใจมาก เพราะเรียนคอร์สซัมเมอร์มา แกรมมาร์แน่น vocab เป๊ะ แต่ไปถึงแล้วเอ๋อเลย ช่วงแรกที่ไปเรียนเนี่ย lost มาก เพราะจะเจอครูไม่ได้แคร์ว่าใครจะฟังทันไม่ทัน กับเพื่อนที่พูดเป็นแต่ภาษาอังกฤษอยู่ภาษาเดียว
  • สักสามเดือนถึงเริ่มคล่อง

 

06.00

“ตัดภาพไปช่วงมหาวิทยาลัย ขั้นตอนการเข้าเป็นอย่างไร”

  • สำหรับคนที่แพลนจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ต้องบอกว่าระบบการศึกษาเมืองนอกให้ความสำคัญกับเกรดและ involvement ของนักศึกษา ว่ามีส่วนร่วมกับกิจกรรมไหม อยู่กับคนอื่นได้หรือเปล่า มีความสามารถด้านอื่นไหม เล่นกีฬาไหม เป็นผู้นำหรือเปล่า
  • เพราะมหาวิทยาลัยก็อยากผลิตคนคุณภาพ ต้องทำเรซูเม่ ต้องมี personal statement ที่เขียนเกี่ยวกับตัวเรา
  • จริงๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาจะมีโควต้าเด็กต่างชาติ แต่ตัวโบเป็น resident เพราะอยู่ที่นี่มานาน ซึ่งจะไม่ได้โควต้านั้น
  • แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีโควต้าของเด็กแคลิฟอร์เนีย ที่การันตีเลยว่าถ้าเป็นท็อป 4% UC ต้องรับเข้าเรียนแน่นอน

 

08.11

“UC คือ?”

  • คือ University of California ที่อาจได้ยินกันบ่อยๆ ก็จะมี UC Berkeley, UCLA, UC Davis, UC Santa Barbara ส่วนโบไปเรียนที่ UC Irvine เป็นเหมือนโรงเรียนเครือเดียวกัน ของรัฐบาล

 

08.46

 

“ตอนแรกโบไปเรียนแบบ undecided undeclared คือไม่มีเอก ไม่มีคณะเรียน เพราะยังไม่รู้ตัวว่าเราจะทำอะไร”

 

  • เป็นข้อดีที่โบรู้สึกว่าทำไมเมืองไทยไม่ทำแบบนี้บ้าง โบไม่ชอบใจที่เมืองไทยบังคับว่านักเรียนต้องเลือกสายวิทย์หรือสายศิลป์ตั้งแต่ ม.4 เด็กอายุเท่านี้ไม่รู้ตัวหรอกว่าอยากจะทำอะไร หรืออยากเป็นอะไร
  • ปีแรกก็เป็นปีของการทดลอง โบเข้าเรียนเบสิกคลาสของทุกกรุ๊ป แล้วก็ดูว่าเราชอบอันไหน ก็เลยถูกดึงดูดเข้าไปทาง social science เอกแรกที่เลือกคือรัฐศาสตร์ แล้วโบก็โฟกัสไปที่เรื่องกฎหมาย
  • เพราะตอนนั้นอยากเรียนกฎหมายต่อ ที่อเมริกามันจะไม่มีตรีกฎหมายเลย ต้องโทเท่านั้น เราก็เลือกวิชาตรีที่สามารถเตรียมตัวไปเรียน Law School ต่อได้

 

10.43

“ผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง?”

  • ปีแรก culture shock มาก จากตอนที่อยู่ไฮสคูลได้ 4.0 ตลอด แต่พอเข้ามหาลัยเทอม 1 เป็นปีแรกที่อยู่หอด้วยตัวเอง จะนอนเมื่อไหร่ก็ได้ กินเมื่อไหร่ก็ได้ จะเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ ก็ได้เกรด 2.7
  • ร้องไห้เป็นบ้า โทรหาแม่ เพราะชีวิตนี้ไม่เคยได้คะแนนต่ำกว่า 3.9 ร้องไห้ว่าฉันโง่เหรอ มาดูตัวเองก็พบว่าไม่ได้โง่หรอก แค่ขี้เกียจแล้วก็เพลินไปหน่อย เหมือนปีแรกเราตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่รอบตัว
  • เพื่อนๆ ปีหนึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้กันหมด ที่นั่นมีผับอยู่ในแคมปัสเลยค่ะ แต่ถ้าอายุต่ำว่า 21 ก็ดื่มไม่ได้ แต่พอสักเทอม 2 เทอม 3 ก็เริ่มปรับตัวได้
  • พอปี 2 ก็ได้ประมาณ 3.7 สามปีหลังค่อยมาฉุดเกรดเฉลี่ยขึ้นไปหน่อย ปีแรกช็อกมาก

 

12.32

“เห็นว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยของโบสนุกมากเพราะได้เข้าสมาคม Sorority”

  • มันเหมือนในหนังเรื่อง Legally Blonde น่ะ เป็นแก๊งเด็กผู้หญิง เป็นสมาคมหญิงที่เต็มไปด้วยชะนีน้อยหอยสังข์ที่รับแต่ผู้หญิง
  • มันคือสมาคมหญิงที่ชื่อเป็นอักษรกรีก อย่างในหนังก็มีจะมี Delta Nu ซึ่งไม่มีจริง สมาคมของโบชื่อ Delta Delta Delta หรือ TriDelt
  • ของผู้ชายเรียกว่า Fraternity
  • คัลเจอร์นี้เริ่มมาจากยุคมีมหาวิทยาลัยแรกๆ
  • สมาคมของโบเริ่มตั้งแต่ที่ Boston University เป็นร้อยปีมาแล้ว จริงๆ Fraternity เริ่มมีมาก่อน แล้วผู้หญิงเริ่มก่อตั้งสมาคมของผู้หญิงบ้าง
  • เป้าหมายจริงๆ คือเพื่อสายสัมพันธ์ เน็ตเวิร์กกิ้ง เหมือนเป็นเน็ตเวิร์กทั่วประเทศ เพราะแต่ละสมาคมจะมีหลายที่ตามมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเรียกว่า chapter
  • สมมติเวลาสมัครงาน เจอรุ่นพี่สมาคมเดียวกัน แม้จะต่างมหาวิทยาลัยกัน เขาก็จะทักทาย ให้ความสนิทสนม เหมือนสมัยนี้ที่เป็นสิงห์ดำ สิงห์แดง คนก็จะคอนเน็กต์กันด้วยวิธีแบบนี้มากกว่า
  • กิจกรรมหลักๆ ในมหาวิทยาลัยคือการทำ Philanthropy หรือองค์กรสาธารณกุศลของสมาคมต่างๆ กันไป เช่นสมาคมโบจะทำให้โรงพยาบาลเด็กที่เกี่ยวกับมะเร็ง

 

15.30

“การอยู่ Sorority นี่ต้องอยู่ด้วยกันหรือเปล่า?”

  • มีบ้านให้สมาชิกมาอยู่ด้วยกัน แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ทุกคน เพราะจะมีห้องจำกัด อยู่ได้ห้องละ 2 คน ซึ่งถ้าใครมีตำแหน่งในสมาคมก็ต้องอยู่บ้านค่ะ
  • ซึ่งการอยู่สมาคมทำให้นอกจากการเรียนแล้ว ก็จะมี social event ด้วย เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับ Fraternity สมาคมผู้ชาย หรือไปร่วมกิจกรรมการกุศลกับบ้านอื่นๆ
  • การจะได้เข้ามาในบ้านก็มีระบบคัดตัว เรียกว่า recruitment ใช้เวลา 3-5 วัน แล้วแต่โรงเรียน
  • การคัดจะเป็นรอบๆ แต่ละวันคนจะเหลือน้อยลง คือนอกจากคนมาสมัครจะต้องเลือกบ้านแล้ว บ้านก็เลือกคุณ ต่างคนต่างเลือก ยิ่งกว่า The Face
  • สุดท้ายถ้าเข้าบ้านมาแล้วจะไม่สามารถย้ายได้ ออกแล้วออกเลย เพราะว่าเมื่อเข้ามาแล้วเราจะรู้ ritual พิธีกรรมที่เป็นความลับของบ้าน
  • ตอนแรกที่สมาชิกใหม่เข้ามาจะยังไม่ได้เป็นสมาชิก แต่จะเรียกว่า new member ซึ่งยังไม่รู้พิธีกรรมของบ้าน ช่วงแรกก็จะเป็นช่วงลองใจ ว่าเมมเบอร์คนนี้เหมาะกับบ้านไหม ส่วนสมาชิกใหม่ก็ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้านนี้ chapter นี้ มีหนังสือคู่มือมาให้ มีสอบด้วย
  • พอผ่านทุกอย่างก็จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า initiation แต่ละบ้านจะไม่เหมือนกัน บ้างบ้านเข้าไปทุกคนก็จะใส่ชุดดำ จุดเทียน บางบ้านก็ขาวหมด ก่อนเข้าห้องไป meeting ก็ต้องพูดพาสเวิร์ด มี secret hand shake

 

22.56

“แล้วอภิสิทธิ์ของการอยู่ TriDelt คืออะไร”

  • มันไม่มีอภิสิทธิ์อะไรเลย มีแต่กิจกรรม อย่างบ้านโบก็จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Apple Polishing ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องไปเลียคุณครู เป็นงานที่ทุกคนสามารถไปเชิญโปรเฟสเซอร์มาได้ ก็แล้วแต่ว่าครูจะมาไหม แต่ส่วนใหญ่เชิญใครก็มากันทั้งนั้นเลย อาจารย์บางคนภรรยาเคยอยู่ TriDelt ก็จะมาด้วยความภาคภูมิใจ
  • แต่สิทธิ์อื่นๆ ก็ไม่มีหรอก มีแต่เท่ๆ เวลาใส่เสื้อหนาวปักสัญลักษณ์ของบ้าน
  • ตอนแรกโบต่อต้านการเข้า Sorority เพราะรู้สึกมันเป็นการซื้อเพื่อน

 

24.05

 

“มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า Sorority Girl Effect ซึ่งเหมือนกับ Cheerleader Effect คือเวลาเห็นเชียร์ลีดเดอร์ยืนอยู่รวมๆ กันหลายๆ คนจะดูโคตรฮอต สวยมาก แต่พอแยกกันดูมันก็ไม่ได้สวยขนาดนั้น”

 

27.47

“โบเป็น officer ในนั้นด้วยใช่ไหม รู้เรื่อง Sorority เยอะมาก”

  • ไม่ได้เป็นตำแหน่งหลัก แต่มีรูมเมตเป็น President เป็น VP Admin
  • ส่วนโบได้เป็น Sunshine Chair เป็นคนเชียร์ พอถึงวันเกิดใครในบ้านก็ต้องทำโปสเตอร์ไป Happy Birthday สมัยนี้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้ แต่สมัยนั้นต้องทำโปสเตอร์ ซึ่งโบรู้สึกว่าทำหน้าที่ได้แย่มาก เพราะกิจกรรมเยอะ ไหนจะต้องเรียนอีก เลยไม่มีเวลาทำหน้าที่ Sunshine Chair
  • สมาชิกบ้านโบจะภูมิใจว่ามี GPA สูงที่สุด กีฬาก็เป็นแชมป์ ละครเวทีก็มีลำดับที่ดี
  • บางครอบครัวมาสมัครเข้าบ้านเป็น legacy คือแม่เป็น แล้วก็อยากให้ลูกเป็นบ้าง
  • มีกฎว่าถ้ามีคนเป็น legacy ทางบ้านต้องปฏิเสธเค้าตั้งแต่วันแรก ถ้ามาถึงวันที่ 3 ต้องรับแล้ว ห้ามปฏิเสธ
  • ส่วนมากบ้านจะอยากได้คนที่ well-rounded (รอบด้าน) คือลุคก็สำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะนิสัยก็มีส่วนเหมือนกัน
  • แต่ละบ้านจะมีเคมีของตัวเอง พอมีคนใหม่เข้ามาคนในบ้านก็จะเซนส์ได้ว่าคนนี้เข้ากับบ้านเราได้หรือไม่
  • แต่เรื่องดาร์กๆ มันก็มี บางบ้านมีทะเลาะแย่งแฟนกัน บ้านของโบก็มีทะเลาะกัน เป็นเรื่องจุกๆ จิกๆ ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน

 

34.00

“ประสบการณ์ประทับใจจากการอยู่ในบ้าน”

  • หนึ่งในสิ่งที่ประทับใจมากๆ เลย คือคนในบ้านจะเรียกกันว่า sisters
  • ผู้หญิงหลายๆ คนอยู่บ้านเดียวกันมันก็สนุกไปอีกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้หญิงที่มีเคมีตรงกันเรา มีบุคลิกใกล้เคียงกัน มีกิจกรรมร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน
  • คนจะติดภาพลักษณ์ Sorority มาจากในหนัง ซึ่งก็เว่อร์ไปนิดนึง ถ้าพูดภาษาอังกฤษก็คือ we’re not all that. คือเราก็ไม่ได้เป็นกันขนาดนั้น

 

34.56

 

“หนึ่งในโมเมนต์ที่โบประทับใจคือช่วงสอบไฟนอล ทุกคนลงมารวมตัวนั่งอ่านหนังสือกันในสภาพใส่กางเกงวอร์ม หน้าไม่แต่ง นั่งเยินๆ เน่าๆ กัน อ่านหนังสือเงียบๆ แต่แบ่งขนมกินกัน แค่นี้ก็รู้สึกประทับใจแล้ว เหมือนมีเพื่อนร่วมชะตากรรมในการสอบ”

 

36.48

“กิจกรรมระหว่าง Sorority กับ Fraternity”

  • จะมีกิจกรรมที่เรียกว่า Serenade ที่บ้านผู้ชายจะเอาสมาชิกใหม่มาเดินไปทั่วบ้านผู้หญิงทุกบ้านเลย แล้วร้องเพลง สร้างความประทับใจ เหมือนพรีเซนต์เด็กใหม่ ว่านี่คือหนุ่มๆ ใหม่ของบ้านเรา ร้องเพลง มีดอกกุหลาบมาให้
  • มีเพื่อนโบเป็นแฟนกับคนใน Fraternity ตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย ล่าสุดแต่งงานกันแล้ว ลูกสาม
  • อีกกิจกรรมที่บ้านโบทำคือ Spy VS Spy ระหว่างบ้านโบกับบ้าน Fraternity อีกบ้านหนึ่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โหดมาก
  • จะมีโจทย์มาเลยว่า ถ้าบีบครีมโกนหนวดใส่หัวฝั่งตรงข้ามได้ ได้กี่คะแนน ถ้าเกิดว่าทำอย่างนี้ให้กี่คะแนน เอาน้ำสาดได้กี่คะแนน แล้วเล่นกันกลางแคมปัส
  • สรุปว่าเละ! โบเคนกำลังเดินไปเรียนแล้วเพื่อนคนหนึ่งวิ่งมาจับล็อกเอว จับล็อกตัว อีกคนเอาครีมโกนหนวดใส่ทั่วตัว แล้วต้องไปเรียนต่อ แต่สนุก ตลกดี

 

41.15

“ถ้าเกิดว่ามีเด็กจะไปเรียนต่อ ป.ตรี ที่นั่น โบแนะนำไหมว่าไปเข้าบ้าน”

  • แนะนำ มันเป็นโลกหนึ่งที่คนไทยอาจจะอาย เขิน ไม่กล้าไปยุ่ง มันเยอะอะ
  • แต่ถ้าใครไปเรียนต่อแล้วมีโอกาสก็น่าจะลองดู ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้อง join ก็ได้แต่ลองไปดู ได้ประสบการณ์
  • โบคิดว่ามันเป็นการเตรียมตัวทำงาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน เพราะที่บ้านนี่มันจะมีวันที่เป็น Formal Meeting ต้องใส่ชุดสีขาว แล้วก็ Business Meeting คือต้องใส่ชุดเหมือนไปสัมภาษณ์งาน แล้วก็มีพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับการ recruitment
  • เหมือนเตรียมตัวให้เราไปพบปะกับคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน แล้วต้องเริ่มสนทนากับเค้า

 

43.32

“Sorority เปลี่ยนชีวิตโบอย่างไรบ้าง”

  • ทำให้มองโลกกว้างขึ้น ไม่ตัดสินคนแค่ลุค เพราะคนมักนึกว่าสาวๆ ใน Sorority ต้องเป็นผู้หญิงโง่ๆ งงๆ
  • แต่โบมีเพื่อนคนหนึ่งเหมือนตัวละคร Legally Blonde เลย ผมบลอนด์ ยาว สูง สวย มีหมาชิวาว่า ถือกระเป๋า แต่เรียนจบตรีในสามปีแล้วไปต่อ Law School ไม่ได้โง่เลย
  • ส่วนการไปอยู่อเมริกาถึง 10 ปี นอกจากจะทำให้โบโตขึ้นแล้ว ยังทำให้มีอิสระมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองขึ้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก กล้าพูดมากขึ้น
  • ประสบการณ์ 10 ปีนี้ทำให้โบเป็นคนที่มีหลายมุม well-rounded
  • แล้วสิ่งสำคัญที่อเมริกาสอนโบคือเรื่อง PC ยิ่งตอนกลับมาเมืองไทยเนี่ยเห็นชัดมากเลย คือคนไทยชอบเล่นมุกเหยียดด่า “อีอ้วน” หรือ “โอ๊ย อีดำ” หรือ “โอ๊ย ปัญญาอ่อนมากเลย” โรงเรียนโบบอกว่าเราไม่ควรเล่นมุกแบบนี้นะ เพราะเราไม่รู้หรอกว่าคนเนี้ย ที่เราพูดด้วยเค้าอาจจะเป็นโรคเหล่านั้นจริงๆ ก็ได้ ซึ่งมันอาจไปกระทบเค้า อาจไปโดนปมเค้าก็ได้ อย่าไปล้อเลียนเค้า

 

46.57

 

“มันไม่มีใครรู้หรอกว่าเราเป็นใคร ไม่รู้หรอกว่าเราเนิร์ดมาจากไหน ไปค้นหาอีกมุมหนึ่งของคนเราน่ะ แล้วพูดไปเหอะ เพราะว่าคนที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยก็ไม่รู้จักคนอื่นเหมือนกัน ฉะนั้นช่วงแรกเป็นช่วงที่เราจะสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ออกไปคุยกับคนเยอะๆ ไปเลย”

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest สาวิตรี สุทธิชานนท์

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนและเข้าสมาคมนักเรียนหญิงที่แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok06/ Tue, 12 Sep 2017 23:00:15 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=26442

     หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นเสียงของห […]

The post ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นเสียงของหนุ่มน้อย เค เลิศสิทธิชัย หรือ Kayavine Vlogger หนุ่มหน้ามนที่มาตั้งกล้องเล่าเรื่องราวที่ได้ประสบพบเจอระหว่างเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา

     นอกจากรอยยิ้มพิมพ์ใจกับกล้ามสวยๆ ที่แม่ยกมองเป็นต้องละลายแล้ว ชีวิตการเรียนไฮสคูลและมหาวิทยาลัยในอเมริกาของหนุ่มเคก็ยังน่าสนใจไม่แพ้กัน

 


 

01.30

“สวัสดีครับ ชื่อเคนะครับ ชื่อจริงชื่อว่า เค เลิศสิทธิชัย หลายคนถามว่าผมเป็นใคร? เออ ผมเป็นใครวะ? เป็นคนไทยธรรมดานะครับ ไม่ได้เป็นอะไร แต่ว่าอยู่อเมริกามาได้ 4 ปีแล้วครับ มาอเมริกาตั้งแต่ไฮสคูลละครับ”

 

ขอบคุณ Youtube Channel: Kayavine

 


 

02.02

“เราจำเป็นต้องไปเรียนเมืองนอกจริงๆ เหรอ”

  • ความคิดแรกของเคที่ทำให้ตัดสินใจไปเรียนเมืองนอก คือ ความท้าทาย การเรียนอยู่ในเมืองไทยอย่างเดียวอาจทำให้ไม่ได้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่ต่างประเทศมันต่างจากไทยขนาดไหน
  • เคมีตัวเลือกอยู่ 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน
  • สุดท้ายเลือกไปสหรัฐอเมริกา ไปเรียนชั้น ม.5 ที่เมืองร็อกฟอร์ด รัฐอิลลินอยส์
  • ช่วงแรกที่ไปแลกเปลี่ยนพบว่าฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องเลย เรื่องพูดนี่ยิ่งแล้วใหญ่ สั่งอาหารก็ไม่กล้าพูดชื่อเมนู ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่หลายเดือน
  • นั่นทำให้ช่วงแรกที่ไปแลกเปลี่ยน เครู้สึกอยากกลับบ้านอยู่บ้าง เพราะสื่อสารกับคนที่นี่ไม่รู้เรื่อง แต่พอผ่านไปหลายเดือนก็เริ่มสนุก จนตอนนี้ยังอยู่ที่อเมริกาอยู่เลย
  • ไม่เคยโฮมซิกจนโทรกลับบ้านมาร้องไห้เลย

 

03.55

“แล้วเคก็พบว่าบรรยากาศการเรียนไฮสคูลที่อเมริกานั้นแตกต่างจากการเรียนที่ประเทศไทยอยู่มากจริงๆ”

  • เพราะตารางเรียนที่อเมริกาต่างกับไทย
  • ที่ไทยจะเรียนวิชาต่างกันไปทุกวัน แต่ที่อเมริกาจะเรียนเหมือนกันทุกวัน ช่วงเช้าเรียนวิชาอะไร ช่วงบ่ายเรียนวิชาอะไร ก็เหมือนกันไป 5 วัน
  • การเรียนแบบนี้อาจทำให้ไม่ต้องเรียนพิเศษ เพราะเรียนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องทุกวัน
  • ตอน ม.6 ก็เรียนต่อที่ร็อกฟอร์ดเหมือนตอน ม.5 เพราะถ้ากลับมาเรียนเมืองไทยก็ต้องซ้ำชั้น
  • บรรยากาศการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องสอบ ACT หรือ SAT คือสอบพื้นฐานเพื่อเอาคะแนนไปสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนต่างชาติต้องมีคะแนน TOEFL ด้วย
  • คะแนนสองตัวนี้ รวมกับคะแนนทรานสคริปต์ เอาไปสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่อได้
  • พอยื่นแล้วก็ต้องเขียน essay ถ้าเขียนได้ตรงใจคณะกรรมการก็เข้าเรียนได้เลย
  • ตอนมหาวิทยาลัยย้ายไปเรียนที่รัฐวิสคอนซิน ได้ทุนเรียนด้วย
  • ซึ่งถ้ามีเกรด 3.4-3.5 ก็มีสิทธิ์ได้ทุนแล้ว แต่เกรดที่อเมริกาจะยากหน่อย คือคะแนนต้องมากกว่า 90% ถึงจะได้ A
  • ไปเรียนสาขา Actuarial Science หรือคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งเป็นสาขาวิชาชีพที่ทำเงินสูงสุดในอเมริกา
  • เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง ในธุรกิจประกันและธุรกิจการเงิน
  • ในเมืองไทยมีสอนที่มหิดล และจุฬาฯ
  • ซึ่งเป็นสาขาที่คนเรียนยังน้อย และเป็นมาตรฐานการสอบเดียวกันทั่วโลก จบแล้วทำงานที่ประเทศไหนก็ได้
  • เรียนค่อนข้างยาก เพราะมีสูตรคณิตศาสตร์ให้จำเยอะ จะต้องพกเครื่องคิดเลขเฉพาะตัว ที่ใช้คำนวณการลงทุนต่างๆ

 

08.04

 

“เอาจริงๆ มันก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราคิดไว้”

 

08.19

“บรรยากาศการเรียนมหาวิทยาลัยต่างจากไฮสคูลไหม”

  • ต่าง ในไฮสคูลมีเวลาเรียนชัดเจนทุกวัน เหมือนกัน แต่ที่มหาวิทยาลัยตารางเรียนจะไม่แน่นเหมือนไฮสคูล ทำให้ต้องมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง อาจารย์ก็ไม่สนใจ ต้องปลุกตัวเองไปเรียน
  • ในสาขามีคนเรียนอยู่ 30-40 คน ไม่เยอะเท่าไร
  • ไม่มีบรรยากาศติวกันเหมือนเมืองไทย
  • ระบบอเมริกาไม่ได้แบ่งเป็นคณะเท่าไร เพื่อนๆ เลยมักอยู่ในคณะบริหารมากกว่า
  • ถึงจะเป็นคนเอเชียแต่ก็ไม่ได้จ๋อง
  • แพลนว่าจะเข้าทีมอเมริกันฟุตบอลที่นั่น เพราะเห็นจากในหนังมันเท่ดี
  • เลยไปขอโค้ชเข้าทีม ไปฝึกซ้อมกับเขา ไปเล่นเวตกับเขา

 

10.42

 

“เคสนิทกับกัปตันทีมด้วย เขาบอกว่าถ้าโดนแกล้งเนี่ย Just let me know”

 

  • ตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็เริ่มถ่าย Vlog ไปด้วยกัน
  • เริ่มจากที่พ่อแม่บอกให้หางานพิเศษทำ แต่หาไม่ได้ เลยทำคลิปลงยูทูบแทน คนก็ให้ความสนใจเยอะ
  • ยามว่างก็เล่นฟิตเนสบ้าง เล่นกีฬาบ้าง

 

11.58

 

“แต่ทุกอย่างอยู่ที่การบริหารเวลา ทั้งเวลาเรียน เวลานอน เวลากิน เวลาเที่ยว ถ้าคิดแต่จะไปเที่ยวอย่างเดียวก็ไม่ได้”

 

13.12

“เมืองที่ไปอยู่เป็นอย่างไรบ้าง”

  • ชื่อเมืองไวท์วอเตอร์ ธรรมชาติเยอะมาก ฤดูหนาวทีหนึ่งก็ลบสี่สิบองศา คนมักชอบมาเล่นสโนว์บอร์ด
  • แต่ชอบเมืองใหญ่มากกว่า เพราะเติบโตจากเมืองใหญ่มา
  • ไม่มีแฟนที่นั่น เพราะโฮสต์แฟมิลีเคยเตือนว่าชีวิตมหาวิทยาลัยมีได้แค่ครั้งเดียว ไม่ควรใช้ไปกับการอยู่กับคนแค่คนเดียว ใช้เวลากับเพื่อนดีกว่า
  • แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับโฮสต์แฟมิลีแล้ว อยู่หอพักแทน
  • เป็นหอพักรวม ไม่แบ่งชายหญิง ไม่มีอาจารย์ดูแล แต่มี RA (Resident Assistant) ดูแล
  • ซึ่งต่างกับในหนังที่มักมีเพื่อนเฮ้วๆ มาก่อกวน ในหอพักจริงๆ นั้น RA จะออกกฎรักษาความสงบในหอพัก เช่น Quiet hour ที่ห้ามส่งเสียงดังเกินกำหนดในชั่วโมงนั้นๆ ถ้าไม่เชื่อฟังจะเรียกตำรวจ
  • ในหน้าเทศกาลก็จะมีจัดกิจกรรม ตกแต่งห้อง เชื้อเชิญให้คนเข้าไปดูเล่น แต่งตัวสนุกๆ กัน
  • “เกรดเป็นอย่างไรบ้าง”
  • ตอนนี้ 3.74 ตั้งใจว่าจะเรียนให้ได้เกียรตินิยม ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่า 3.4-3.5
  • ถ้าได้เกียรตินิยม ตอนขึ้นไปรับปริญญาน่าจะเท่ดี
  • แถมเวลาไปสมัครงานก็บอกได้ว่าเราเป็นเด็ก honor

 

16.00

“มองไปที่ปริญญาโท-เอก หรือยัง”

  • คิดถึงปริญญาโทไว้บ้าง แต่เอกยังห่างเกินไป
  • ตอนนี้วางตัวเองไว้อย่างไรบ้าง หลังจากมีงานในวงการสื่อมากขึ้น?
  • ชื่อเสียงมาจากที่ชอบทำคลิป เราคิดว่าคลิปเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
  • เรื่องมันเริ่มจากตอนที่แม่บอกว่าให้ทำคลิปเล่าประสบการณ์การไปเรียนต่อต่างประเทศ ประกอบกับมีคนถามเข้ามามากว่าไปเรียนอเมริกาต้องทำอย่างไร
  • เลยคิดว่าคลิปน่าจะตอบคำถามแทนการพูดคุยทีละคนได้
  • ปรากฏว่าคนดูเป็นแสนเลย
  • ตอนนี้มี 30 กว่าคลิป

 

17.18

คลิปที่พีกคือเรื่องคัลเจอร์ช็อก

  • เป็นเรื่องห้องน้ำที่มีช่องระบายอากาศเยอะมาก จนสามารถเห็นคนข้างนอกได้เลย ก็ตกใจ เพราะไม่ชิน

 

17.53

  • เรื่องที่ประทับใจที่นั่นคือกฎหมายที่เคร่งครัดมาก
  • ถ้าขับรถตอนกลางคืน แม้จะไม่มีคนก็ตาม แต่ถ้ามีไฟแดง รถทุกคันจะหยุดรอที่ไฟจราจรกันหมด
  • กฎหมายที่นี่แรงมาก ใบสั่งแพง ในใบขับขี่ก็มีแต้มอยู่ 12 แต้ม ถ้าโดนหักหมดก็จะทำให้ค่าประกันรถสูงขึ้น ทุกคนเลยเคารพกฎหมาย

 

18.59

“หลังจากที่ไปเป็นนักเรียนนอกมา อะไรที่เปลี่ยนไปเยอะสุด”

  • หลักๆ คือความคิด เมื่อก่อนติดเพื่อน ติดเที่ยว ติดเล่น แต่พอไปอยู่คนเดียวที่ต่างประเทศก็ต้องมีวินัยมากขึ้น คนที่นั่นตรงต่อเวลามาก ก็ต้องพัฒนาตัวเองตาม
  • ตอนกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ที่ไทยก็โดนทักว่าเปลี่ยนไป
  • คือหุ่นล่ำขึ้น แล้วก็มีวินัยมากขึ้น เช่นเรื่องการกิน เพราะออกกำลังกาย ทำให้ต้องเลือกกินมากขึ้น
  • พ่อแม่ไม่ห่วงเท่าไรแล้ว
  • “สุดท้ายแล้วมองว่าทำงานต่อที่นั่นเลยหรือเปล่า?”
  • อาจหาที่ฝึกงานที่นี่สักปีสองปี แล้วก็กลับมาเมืองไทย เพราะอยากมีครอบครัวหรือการงานอยู่ที่ไทย ไม่ได้อยากไปประเทศอื่น

 

20.38

“สำหรับคนไทยที่อยากมาเรียนอเมริกา อย่าให้การกลัวกังวลมาหยุดความฝันเราที่จะมาอเมริกา ใครคิดว่าจะมีเพื่อนไหม อยู่ได้ไหม พ่อแม่ไม่อยู่แล้ว ใครจะซักผ้า ใครจะส่งเงินให้ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กมากๆ เลยครับ อย่าให้มันมาดึงเราจากความฝันในการมาเรียนเมืองนอกครับ เคเป็นกำลังใจให้นะครับ มันไม่ได้ยากมากอย่างที่คนเคยเล่ามาครับ”

 


 

Credits

 

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest เค เลิศสิทธิชัย

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, นทธัญ แสงไชย, อธิษฐาน กาญจนพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวท์วอเตอร์, สหรัฐอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>