ยูเครน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 28 Apr 2022 09:03:20 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สรุป Executive Espresso EP.336 ระเบียบโลกหลังสงครามยูเครน หมดยุคสันติภาพ https://thestandard.co/podcast/world-order-after-ukraine-war-summary/ Thu, 28 Apr 2022 09:03:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=622571

สงครามยูเครนไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงอยู่ในยูเครน แต่อาจเป็ […]

The post สรุป Executive Espresso EP.336 ระเบียบโลกหลังสงครามยูเครน หมดยุคสันติภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สงครามยูเครนไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงอยู่ในยูเครน แต่อาจเป็นสัญญาณของการจัดระเบียบโลกครั้งใหญ่ และยังเป็นการปอกเปลือกความคิดของสังคมไทยไปพร้อมกัน

 

24 กุมภาพันธ์ 2022 คือวันแรกที่ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียได้เริ่มเปิดฉากสงครามกับยูเครน ประเทศที่เปรียบเสมือนปากประตูระหว่างรัสเซียกับกลุ่มประเทศ NATO

 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนกองไฟที่มาเจอกับเชื้อเพลิง จนในวันนี้ได้ลุกลามกลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ ราวกับว่ามันเป็น ‘จุดเปลี่ยนสำคัญ’ ของระเบียบโลก และดูเหมือนว่า ‘ยุคแห่งสันติภาพ’ ได้สิ้นสุดลงเสียแล้ว 

 


 

บทความเกี่ยวข้อง

 


 

 

‘การสิ้นสุดของการปันผลสันติภาพ’ ถึงเวลาที่โลกต้องปรับนิยาม ‘ความมั่นคง’ อีกครั้ง

 

เอียน เบรมเมอร์ นักรัฐศาสตร์และนักเขียนของนิตยสาร TIME ชาวสหรัฐฯ กล่าวว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน เปรียบเสมือนการสิ้นสุดของการปันผลสันติภาพ (Peace Dividend) ที่โลกเคยได้รับหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็นเมื่อปลายปี 1991

 

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นับตั้งสงครามเย็นได้สิ้นสุด ระเบียบโลก (World Order) ก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นโลก 2 ขั้ว (Bipolar World) ของมหาอำนาจ ก็ได้เข้าสู่ระเบียบใหม่ (New World Order) หรือบางคนใช้คำว่าโลกอันไร้ระเบียบ (New World Disorder) 

 

นอกจากระเบียบโลกที่เปลี่ยนไปแล้ว นิยามความมั่นคงก็ถูกปรับเช่นกัน จากเดิมที่ ‘ความมั่นคง’ หมายถึงความมั่นคงทางการทหาร กำลังรบ แสนยานุภาพ ก็ได้กลายเป็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากไร้ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (Non-Traditional Security)  

 

จากวันนั้นมนุษย์ก็เชื่อว่า ความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในโลกจะเคลื่อนสู่ภาวะ ‘สันติภาพอันแสนสุข’ แต่เหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกกลับบ่งบอกว่า มันไม่ได้ดำเนินไปเช่นนั้น 

 

“หลังสงครามเย็นจบลง เราก็เชื่อว่าชีวิตบนโลกมันน่าจะเป็นช่วงของการมีสันติภาพอันแสนสุข แต่คนที่เรียนการเมืองระหว่างประเทศอย่างพวกผมมันถูกสอนอย่างหนึ่ง คำว่าสันติภาพอันแสนสุขในเวทีโลก เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยยั่งยืน” ศ.ดร.สุรชาติกล่าว 

ฉากทัศน์โลกที่เปลี่ยนไปหลัง 24 กุมภาพันธ์ 2022 ‘วันแรกที่รัสเซียบุกยูเครน’

 

ก่อนที่จะกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 ศ.ดร.สุรชาติได้กล่าวถึงสัญญาณของการสิ้นสุดยุคแห่งสันติภาพว่าได้เริ่มส่อเค้ามาหลายครั้งแล้ว อย่างเช่น การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 9/11 

 

เหตุการณ์ 9/11 คือเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 และนั่นทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับสันติภาพชั่วนิรันดร์ (Permanent Peace) เริ่มสั่นคลอน

 

หลังจากวันนั้น ลักษณะของสงครามก็เปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของสงครามอสมมาตร  (Asymmetric Warfare) คือสงครามที่คู่ต่อสู้สองฝั่งมีกำลังไม่เท่ากัน เช่น สงครามระหว่างสหรัฐฯ กับกลุ่มอัลกออิดะห์ และถึงแม้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นจะยังไม่มีความรุนแรงระดับรัฐต่อรัฐ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็เป็นเหมือนการจุดไฟบนกองเพลิงที่ได้มอดไปแล้วให้ลุกโชนกลับขึ้นมาอีกครั้ง 

 

ช่วงกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหญ่ของโลก ท่ามกลางคำถามที่ว่ารัสเซียจะฟื้นขึ้นมาอีกเมื่อไร หรือการเติบโตของจีนจะพาโลกกลับสู่ยุคของการแข่งขันระหว่างรัฐมหาอำนาจใหญ่อีกหรือไม่ 

 

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ความเชื่อที่ว่าการแข่งขันระหว่างรัฐมหาอำนาจไม่เคยหายไป ก็ได้ถูกตอกย้ำครั้งใหญ่ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 วันแรกที่วลาดิเมียร์ ปูติน ตัดสินใจสั่งปฏิบัติการพิเศษให้กองทัพรัสเซียเริ่มบุกยูเครน 

 

 

ระเบียบโลกกำลังถูกจัดวางใหม่ ใครกันแน่ที่เป็นคู่ขัดแย้ง 

 

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กล่าวได้ว่าวันนี้โลกของเราอยู่ในยุคของการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ (The Great Power Competition) โดยสามารถมองได้ว่าโลกกำลังถูกแบ่งเป็น 3 ขั้ว (Tripolar) คือ สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย

 

อย่างไรก็ดี จากสภาวะโลก 3 ขั้วในวันนี้ ใครจะรู้ว่าวันข้างหน้าก็มีสิทธิ์ที่จะขยับตัวเป็นโลก 2 ขั้ว (Bipolar) ถ้ารัสเซียกับจีนจับมือกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งอาจเปรียบเหมือนว่าโลกได้กลับสู่ยุคสงครามเย็นเฉกเช่นที่เคยเป็นมา

 

โดยหากเราตั้งใจฟังเสียงกระซิบจากอดีตให้ดี เหตุการณ์ปัจจุบันก็อาจเปรียบได้ว่า โลกกำลังเดินเข้าสู่ยุคของสงครามเย็น 2.0 (Cold War 2.0) ซึ่งการเกิดขึ้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครน คล้ายคลึงกับการเกิดของสงครามเกาหลี ที่เป็นปฐมบทความขัดแย้งในสงครามเย็น และทำให้โลกต้องอยู่ท่ามกลางความตึงเครียดกว่า 40 ปี  

 

“เพราะฉะนั้นในบริบทแบบนี้ ผมว่าเราเพิ่งอยู่ในช่วงต้นของความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นเอง” ศ.ดร.สุรชาติกล่าว

 

ฉากทัศน์ใหม่ทางเศรษฐกิจ สิ้นสุดยุคโลกาภิวัตน์?

 

ถึงแม้ว่าระเบียบโลกจะถูกแบ่งเป็น 3 ขั้วหรือ 2 ขั้วมหาอำนาจก็ตาม แต่ในเชิงของระบบเศรษฐกิจ ศ.ดร.สุรชาติมองว่าโลกาภิวัตน์ (Globalization) จะยังไม่ถึงคราวสิ้นสุด เพียงแต่กระแสที่เกิดขึ้นอาจมีแรงขับเคลื่อนที่เร็วหรือช้าบ้าง เนื่องจากระบบเศรษฐกิจอื่นของโลกนั้นไม่ได้สูญสลายไป

 

อย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตร (Sanction) ที่กระทำกับรัสเซีย ก็รุนแรงราวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางเศรษฐกิจ 

 

เนื่องจากรัสเซียถือเป็นแหล่งผลิตพลังงานของโลกราว 10% ของทั้งหมด รวมไปถึงข้าวสาลีที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 และอันดับ 5 ของโลกตามลำดับ เพราะฉะนั้นแปลว่าวิกฤตสงครามครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำสอง โดย ศ.ดร.สุรชาติเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น Double Crisis of Global Economy 

 

นอกจากนี้ ศ.ดร.สุรชาติยังกล่าวเพิ่มเติมว่า 

 

“แปลว่าวันนี้ วิกฤตสงครามมาพร้อมกับวิกฤตเศรษฐกิจ มาพร้อมกับวิกฤตพลังงาน มาพร้อมกับวิกฤตอาหาร มาพร้อมกับวิกฤตความมั่นคงของมนุษย์ และปัญหาผู้ลี้ภัย ปี 2022 สงครามยูเครนทำให้เราได้เห็นวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุด และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดของโลก”

 

การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อไร

 

ศ.ดร.สุรชาติให้ความเห็นว่า มิติการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจอาจขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสงครามในพื้นที่ยูเครน อย่างเช่นกรณีข่าวการสังหารหมู่ที่บูชา (Battle of Bucha) หลังจากที่ข่าวสารถูกเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้กลุ่มประเทศฝั่งตะวันตกเริ่มยกระดับการคว่ำบาตรให้รุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนในอนาคต

 

หนึ่งในกรณีที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจระหว่างเยอรมนีกับรัสเซีย ซึ่งเยอรมนีมีการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียจำนวนมาก และในช่วงที่ผ่านมาเยอรมนีก็ได้พยายามสานสันพันธ์ที่ดีเรื่อยมา แต่หลังจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นล่าสุด ก็อาจทำให้สะพานที่เคยเชื่อมระหว่าง 2 ประเทศนั้นเริ่มพังทลายลง 

 

ศ.ดร.สุรชาติยังกล่าวเพิ่มอีกว่า ในอนาคตเราอาจได้เห็นเยอรมนีประกาศลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย รวมไปถึงกลุ่มประเทศยุโรปที่อาจลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียเหลือเพียง 1 ใน 3 จากทั้งหมด

 

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตาคือท่าทีของสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีนกับวลาดิเมียร์ ปูติน ที่มีความสนิทชิดเชื้อเป็นพิเศษ ถึงขนาดที่ปูตินกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียนั้นไร้ขอบเขต (No Limits Friendship) ซึ่งนั่นอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศตะวันตกนั้นบั่นทอนลง และฉากทัศน์การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจก็จะเริ่มเห็นชัดเจนได้มากขึ้นเช่นกัน

ยุทธศาสตร์ข่าวสารในศตวรรษที่ 21 เราเรียนรู้อะไรจากสงคราม

 

มิติของสงครามที่เกิดขึ้นนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่น่าจับตาคือมิติของ ‘การสงครามผสมผสาน’ ซึ่งเป็นการใช้กำลังรบตามแบบร่วมกับกำลังรบนอกแบบ เช่น การใช้กองกำลังไม่ระบุสัญชาติ หรือการสงครามผ่านข้อมูล (Information Warfare) และในครั้งนี้การสงครามก็ได้พัฒนาตามเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้น ศ.ดร.สุรชาติจึงกล่าวว่ายุทธศาสตร์สงครามครั้งนี้ อาจเรียกว่าเป็น Social Media Warfare ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีการรบผ่านโลกออนไลน์อย่างไม่ลดละ

 

ตัวอย่างที่เราสามารถเรียนรู้ได้ อาจเป็นการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของ โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดีของยูเครน โดย ศ.ดร.สุรชาติกล่าวว่า 

 

“เซเลนสกีแสดงบทเป็นผู้นำได้อย่างถูกต้องตามเวลาและเงื่อนไขของสถานการณ์ ภาษาที่ใช้เป็นการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) ที่น่าสนใจและผู้นำไทยต้องเรียนรู้”

 

“คนอย่างนี้แหละที่คนยูเครนตัดสินใจเลือกแล้ววันนี้ และตัดสินใจสู้ไปกับเขา ในวันที่สหรัฐฯ เสนอว่าจะส่งเครื่องบินมารับที่ยูเครน เซเลนสกีบอกว่าเขาไม่ต้องการพาหนะ แต่เขาต้องการกระสุน (I need ammunition, not a ride.)” 

 

และอีกมุมหนึ่งที่ ศ.ดร.สุรชาติได้ให้ข้อคิดเห็นท่ามกลางการสงครามข้อมูลที่เกิดขึ้น คือการเสนอขายวาทกรรมชวนเชื่อผ่านโลกโซเชียล เช่น การบุกของรัสเซียครั้งนี้มีเพื่อล้มล้างรัฐบาลระบอบนาซี (Denazification) ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว โวโลดิเมียร์ เซเลนสกีเป็นชาวยิว หรือเป็นการกล่าวอ้างถึงสัญลักษณ์บนเสื้อของเซเลนสกีว่าเป็นเครื่องหมายนาซี แต่แท้ที่จริงแล้วสัญลักษณ์ดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ และสัญลักษณ์กองทัพของยูเครนเองก็มีลักษณะของกางเขนที่คล้ายกับเครื่องหมายนาซี แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวโยงใดๆ เช่นกัน

สงครามยูเครน ปอกเปลือกสังคมไทย

 

ช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ ทางรายการได้พูดคุยถึงการแสดงออกของคนไทยในมุมต่างๆ ต่อสงคราม ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มที่สนับสนุนการยืนหยัดของประชาชนยูเครน และกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดของวลาดิเมียร์ ปูติน

 

ศ.ดร.สุรชาติกล่าวว่า ในวันนี้สังคมไทยส่วนใหญ่ใช้การเมืองในประเทศมาตัดสินการเมืองโลกที่เกิดขึ้น และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า

 

“สงครามชุดนี้ ผมอยากจะใช้คำว่า ปอกเปลือกสังคมไทยในทางความคิดทางการเมือง”

 

หลังจากที่มิติความคิดทางการเมืองของสังคมไทยได้ถูกแยกหลังเหตุการณ์รัฐประหารปี 2006 และแยกซ้ำอย่างหนักหลังรัฐประหารปี 2014 ผสมรวมกับการเติบโตของโซเชียลมีเดีย นั่นทำให้วันนี้เราเห็นว่าความแตกแยกที่เกิดขึ้นเป็นแผลลึกกว่าเดิมมาก 

 

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สุรชาติคิดเห็นว่า แม้ความแตกแยกจะเกิดขึ้นเพียงใด สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักคือ เราไม่ควรเห็นด้วยกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในยูเครน

 

โดยสรุปจึงกล่าวได้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนกำลังแบ่งสังคมไทยออกอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการแบ่งอย่างรุนแรงจนอาจทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในอุดมคติของแต่ละคนจะยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น

การเสพข่าวรัสเซีย-ยูเครน

 

ในส่วนสุดท้าย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ได้กล่าวถึงการเสพข่าวท่ามกลางสงครามที่เกิดขึ้น ที่มีองค์ประกอบของการสงครามผ่านข้อมูลที่อาจทำให้เราได้รับข่าวสารที่ถูกบิดเบือนไปจากเดิม

 

สิ่งที่เราควรทำคือต้องหมั่นตรวจสอบกับสื่ออื่นๆ และเสพข่าวอย่างมีสติ รวมไปถึงการมีความเห็นอกเห็นใจแก่ประชาชนที่ต้องอยู่ท่ามกลางสงครามที่เกิดขึ้น

 

ศ.ดร.สุรชาติกล่าวถึงข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ต่อสังคมไทย

 

  1. ให้ความเห็นใจแก่ประชาชนที่ต้องเผชิญสงคราม
  2. แยกแยะนัยสำคัญของเหตุการณ์ให้ออก

 

“ผมคิดว่าวันนี้ อำนาจในการกำหนดใจตนเองของพี่น้องยูเครนชัดเจน พวกเขาอยากเห็นยูเครนที่เป็นรัฐเอกราช และอยากมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับโลกตะวันตก” ศ.ดร.สุรชาติกล่าว

 

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุการณ์สำคัญที่คนไทยสามารถนำไปเรียนรู้ได้ ผ่านเรื่องราวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ยูเครน สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเสพข่าวอย่างมีสติ การนำความคิดทางการเมืองมาร่วมพิจารณา หรือการปรับตัวตามระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป คือการมีความเห็นอกเห็นใจแก่เหล่าผู้คนที่อยู่ท่ามกลางสงคราม

 

เพราะสงครามที่เกิดขึ้น มิใช่ภาพยนตร์ที่ถูกฉายในโรงหนัง เหล่าประชาชนมิใช่นักแสดงฝีมือดี ซากปรักหักพังมิใช่การจัดฉากสถานที่ แต่ล้วนเป็นความสูญเสียที่มีต่อมนุษย์อย่างแท้จริง

 

The post สรุป Executive Espresso EP.336 ระเบียบโลกหลังสงครามยูเครน หมดยุคสันติภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จาก ‘รัสเซีย’ บุก ‘ยูเครน’ ถึง ‘เรือดำน้ำจีน’ https://thestandard.co/podcast/thepowergame99/ Mon, 28 Feb 2022 13:21:55 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=600082

รัสเซียบุกยูเครนเป็นสงครามที่สะเทือนไปทั้งโลก ทำให้เราเ […]

The post จาก ‘รัสเซีย’ บุก ‘ยูเครน’ ถึง ‘เรือดำน้ำจีน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

รัสเซียบุกยูเครนเป็นสงครามที่สะเทือนไปทั้งโลก ทำให้เราเรียนรู้ว่าการเมืองระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องไกลตัว และมหาอำนาจไม่ได้ใช้ตรรกะและเหตุผล แต่พวกเขา ‘ทำสิ่งที่อยากทำ’ บนผลประโยชน์ของชาติเขาก่อนเสมอ

 

ส่วนเหตุผลค่อยหาเอาภายหลัง

 

สงครามครั้งนี้ถอดบทเรียนให้เห็นได้หลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องภาษามหาอำนาจ การสื่อสารของผู้นำ และพลังของคนตัวเล็ก 

 

‘ยูเครน’ นั้นอาจห่างไกลจากเมืองไทย แต่ความสัมพันธ์กับไทยนั้นแน่นแฟ้นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะเรื่องการซื้ออาวุธ

 

กองทัพไทยซื้ออาวุธจาก ‘ยูเครน’ มากกว่าหมื่นล้านบาท เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ ‘ยูเครน’

 

ทั้งรถหุ้มเกราะ สมัย พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา และรถถังในสมัย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา  

 

ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน ถึงขั้นบ่นว่ารถถังที่ผลิตให้กองทัพยูเครนยังน้อยกว่ากองทัพไทย

 

ทุกครั้งที่ซื้อ การส่งมอบสินค้าจะช้ามาก 

 

แต่ช้าเท่าไรไทยก็จะซื้อ

 

และเหตุผลหนึ่งที่ส่งมอบล่าช้าก็คือ เยอรมนีไม่ยอมส่งเครื่องยนต์ให้

 

เป็นเหตุผลเดียวกับ ‘เรือดำน้ำ’ ของจีนในวันนี้

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ THE POWER GAME
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 
 

 

Credits

 

The Host สรกล อดุลยานนท์
Co-hosts พลวุฒิ สงสกุล, ธนกร วงษ์ปัญญา

Show Creator สรกล อดุลยานนท์, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Creative นัทธมน หัวใจ

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineers ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต

Proofreaders ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, วรรษมล สิงหโกมล, ภาวิกา ขันติศรีสกุล, นัฐฐา สอนกลิ่น, ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmasters ไชยพร ศิริกลการ, รพีพรรณ เกตุสมพงษ์, อารยา ปานศรี

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, วนัชพร ดวงนิล   

Archive Officer ชริน จำปาวัน 

The post จาก ‘รัสเซีย’ บุก ‘ยูเครน’ ถึง ‘เรือดำน้ำจีน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มา ผลกระทบ เสี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3? https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce-executive-espresso322/ Wed, 09 Feb 2022 03:04:08 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=592000

ความขัดแย้งยูเครนกลายเป็นประเด็นที่ต้องจับตา เมื่อข้อพิ […]

The post สรุปความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มา ผลกระทบ เสี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3? appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความขัดแย้งยูเครนกลายเป็นประเด็นที่ต้องจับตา เมื่อข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีวี่แววจะจบลงเสียที ปัญหาร้อนระอุระหว่าง ‘รัสเซีย’ หนึ่งในมหาอำนาจจากฝั่งสหภาพโซเวียต กับ ‘สหรัฐฯ และประเทศฝั่งตะวันตก’ ยืดเยื้อบานปลายตั้งแต่ในอดีตจวบจนวันนี้ คำถามสำคัญก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ทำไมถึงมีอิทธิพลต่อมูลค่าพลังงานโลก และเพราะเหตุใดถึงไม่มีท่าทีที่จะสิ้นสุดลง

 

เคน นครินทร์ คุยกับ วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้จัดพอดแคสต์รายการประวัติศาสตร์ 8 Minutes History ถึงที่มาที่ไปของความขัดแย้งครั้งนี้ มีตัวละครใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ชนวนความขัดแย้งในปี 2014 คืออะไร และนักลงทุน ผู้บริหาร ควรติดตามข่าวสารนี้อย่างไรเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Head of The Secret Sauce ปณชัย อารีเพิ่มพร

Content Creator ชาคร ฉายเพชร

Video Editor วุฒิชัย ถิระบัญชาศักดิ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Assistant อสุมิ สุกี้คาวะ

Graphic Designer ธนิดา โตวิวัฒน์ 

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Social Media Editor ทศพล เพิ่มพูล

THE STANDARD Proofreader team

Webmaster ไชยพร ศิริกลการ

Social Media Admins วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive Officer ชริน จำปาวัน 

The post สรุปความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มา ผลกระทบ เสี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3? appeared first on THE STANDARD.

]]>