กลไก – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 16 Nov 2017 10:19:14 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง https://thestandard.co/podcast/themoneycase05/ Sun, 03 Sep 2017 15:30:18 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=23979

     อะไรทำให้ ‘แชร์ลูกโซ่’ ไม่เคยหายไปจ […]

The post แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง appeared first on THE STANDARD.

]]>

     อะไรทำให้ ‘แชร์ลูกโซ่’ ไม่เคยหายไปจากเมืองไทย ฟังกลไกแบบละเอียด จนเห็นถึงกระบวนการ พร้อมเคสตัวอย่างที่โดนทิ้งไว้กลางทาง และเรื่องราวอีกหลายคดีที่กูรูมาเป็นคนทำแชร์ลูกโซ่เสียเอง  

 


 

01.00

  • มันนี่โค้ชได้ยินคำว่า ‘แชร์ลูกโซ่’ ครั้งแรกในปี 2520 แชร์ที่ดังที่สุดในตอนนั้นคือ แชร์แม่ชม้อย
  • กลไกของแชร์คือ คนที่ทำแชร์จะนำเสนอการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และมีการรับประกันผลตอบแทน
  • แต่ถ้าเราลงทุนในตลาดที่มีการรับรองจริงๆ เช่นตลาดหุ้น ผลตอบแทนที่เป็นไปได้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี แต่ตลาดหุ้นก็ไม่กล้าออกมารับประกันอยู่ดี เพราะมีความผันผวน เนื่องจากบางปีหุ้นก็ขึ้นไป 30-40% บางปีก็ตก 20-30% เพราะฉะนั้นการลงทุนจริงๆ จะไม่ค่อยมีการรับประกัน
  • ‘การลงทุนมีความเสี่ยง’ คำว่า ความเสี่ยง ในทางการเงิน หมายความว่า โอกาสในการได้รับผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ดังนั้น ได้น้อยไปหรือมากไปก็เรียกว่า เสี่ยง เช่น เราคาดหวัง 10% แต่กลับได้ออกมา 15% ก็คือเสี่ยง เพราะว่ามันมีความผันผวน

 

02.50

  • ลักษณะของการลงทุนที่เป็นแชร์ลูกโซ่จะไม่มีตัวการลงทุนจริงๆ อยู่ เป็นการระดมทุนที่ไม่ได้เอาเงินไปใส่ในสินทรัพย์ แต่มีการจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อน ซึ่งนำไปสู่การบอกต่อ จนได้มวลเงินใหญ่ประมาณหนึ่ง ก็จะจ่ายเงินคืนให้กับคนที่เข้ามาก่อนไม่ไหว  ก็จะทำการปิดกองรวบเงินหายไป
  • ในปี 2560 รูปแบบก็ยังเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเดียวคือ หน้ากาก นั่นคือรูปแบบการลงทุนที่เอามาใช้โฆษณามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้คนที่ลงทุนในเรื่องนั้นจริงๆ เกิดปัญหา อย่างเช่น เรื่องของค่าเงิน กลุ่มแชร์ลูกโซ่เอาค่าเงินมาผูกว่า ระดมทุนกันเพื่อไปลงทุนค่าเงินในหุ้นต่างประเทศ หรือ ร่วมทุนกันเพื่อลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เรียกว่าเป็น Venture Capital ซึ่งกลุ่ม VC มีการลงทุนแบบนี้จริงๆ แต่กลุ่มของการแชร์ลูกโซ่รู้ว่า อะไรกำลังนิยม ก็จะหาของใหม่ๆ มาแทนได้เสมอ

 

04.37

  • ในปี 2548 มันนี่โค้ชก่อตั้งชมรมเพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเงิน ชื่อว่า ‘ชมรมพ่อรวยสอนลูกแห่งประเทศไทย’ ซึ่งมีสมาชิกเป็นหมื่นคนในเว็บบอร์ด ก็มีสมาชิกบางคนซึ่งเป็นคนดังของกลุ่มตั้งกระบวนการแชร์ลูกโซ่เพื่อระดมทุนกัน
  • ในยุคนั้นรูปแบบเครื่องมือยังไม่เยอะ ก็จะใช้การลงทุนที่เรียกว่า ‘หุ้น’ ประมาณว่า มีคนติดตามหลายๆ คนก็เลยเริ่มตั้งตัวเป็นกูรู คนพวกนี้จะพูดเก่ง พูดคล่อง จากนั้นก็จะเริ่มมีการส่งสัญญาณกันหลังไมค์ว่า ใครอยากให้เขาลงทุนให้ ก็เอาเงินมาลงทุนกัน
  • แชร์ลูกโซ่ ไม่สามารถเกิดจากฝั่งที่นำเสนอฝั่งเดียวได้ ผู้ที่ลงเงินต้องมีความโลภและความมักง่ายประกอบกันด้วย

 

“มนุษย์เราเมื่อมีความไม่รู้ + ความโลภ + ความมักง่าย = หายนะทางการเงิน”

 

06.38

  • คนที่เข้ามาศึกษาเรื่องการเงินแล้วไม่อดทน เมื่อมีคนมานำเสนอว่า “เอาไหม เขาลงทุนให้ และจะให้ผลตอบแทน 10% ต่อเดือน” คนฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้น ลองคิดว่าถ้าเราเป็นคนที่ทำงานมาสักระยะ มีเงินเก็บ 200,000 บาท เราเอาเงินไปฝากเขาได้เดือนละ 20,000 บาท 10 เดือนก็เท่าทุน และคิดว่าถ้าลงทุนต่อก็จะได้มากขึ้นอีก

 

07.27

  • วิธีการของกลุ่มแชร์ลูกโซ่ คือ พอประกาศไปก็จะมีคนที่ขี้เกียจ โลภและมักง่าย ส่งเงินเข้าไป ในเคสปี 2548 บางคนเอาเงินเกษียณที่เป็นเงินบำเหน็จทั้งก้อนโยนใส่ลงไป 2 ล้านบ้าง 3 ล้านบ้าง จากกลุ่มคนหนึ่งหมื่นกว่าคน แค่มีคนเข้ามาลงทุนเพียงหลักร้อย แต่ร้อยคนนั้นลงทุนกัน สองสามแสน ล้านสองล้าน วงนั้นแป๊บเดียวก็ขึ้นมาเป็นหลัก 30 ล้านได้

 

08.09

  • การบริหารจัดการแชร์ลูกโซ่ ก็คือ เมื่อได้เงินตรงกลางมา 30 ล้าน เขาก็จะเริ่มจ่ายให้พวกเราเพื่อหลอกล่อให้ลงทุนต่อ สมมติมีคนมาลงทุน 200,000 บาท ได้เงินเดือนละ 20,000 บาท ถ้าตั้งโจทย์ระดมทุนสัก 6 เดือน ก็จ่ายเดือนที่ 1 ให้น้องคนแรก 20,000 บาท เขาก็จะรู้สึกตื่นเต้นดีใจว่าการลงทุนแบบนี้มีจริง
  • เวลาที่มีคนสงสัยว่าการลงทุนนี้มีจริงหรือไม่ ก็จะเกิดเป็นมีวิวาทะเถียงกันว่า การลงทุนนี้เป็นลูกโซ่หรือเปล่า แต่คนที่ลงเงินไปแล้วจะบอกว่าไม่ใช่ เถียงกันไปก็เสียเวลาไร้ประโยชน์ เพราะคนที่ลงทุนไปแล้วได้เงินจริงๆ เขาจะไม่ฟัง นี่คือกลไก

 

09.29

  • มีอยู่เคสหนึ่งเป็นคุณครู ไปกู้ออมสินดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 6 ต่อปี มาเอาร้อยละ 10 ต่อเดือน (จากแชร์ลูกโซ่) เท่ากับจะได้ร้อยละ 120 ต่อปี คิดยังไงก็คุ้ม เลยไปกู้หมดวงเงิน เพราะครูจะมี ‘เงินตาย’ หรือเงิน ‘ฌาปนกิจ’ ซึ่งจะได้เมื่อเสียชีวิต ก็เลยเอาเงินตรงนี้ไปเป็นหลักทรัพย์แล้วกู้เงินออกมาลงทุน
  • คนเราตื่นเต้นจะเกิดอาการ 2 อย่าง หนึ่ง ลงเพิ่ม สอง จะเก็บข่าวดีไว้ไม่ไหว เริ่มบอกเพื่อนและคนใกล้ชิด ว่าฝากเงินธนาคาร 1% ต่อปี น้อย อันนี้ดีกว่าเยอะ ชักชวนเพื่อนเข้ามา และเพื่อนก็ได้เงินนั้นจนวงเงินมันใหญ่พอ คนที่ทำแชร์ลูกโซ่ก็พร้อมจะล่อด้วยเงินประมาณหนึ่ง ภาษาในวงการเรียกว่า ‘เงินทอน’ สมมติเราจ่ายไป 200,000 คนทำแชร์ลูกโซ่ก็กัดฟันจ่ายไป 5 เดือน แล้วเขาก็ปิดตัวไป ได้เงินแสนของเราไป โดยที่เราหาเขาไม่เจอแล้ว
  • เรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2520 ก็แบบหนึ่ง 2548 ก็อีกแบบหนึ่ง แต่โครงสร้างเหมือนกันทุกอย่าง หลักคิดก็เหมือนกัน คือการระดมทุนที่ไม่ได้มีการลงทุนจริงๆ จากนั้นก็กินเงินเข้าไป

 

11.46

  • อีกเคสหนึ่งเป็นกูรูที่เริ่มดัง เขาบอกว่าไม่ได้ตั้งใจโกง แต่ตั้งใจอยากจะช่วยลงทุนให้จริงๆ คนเราพอเริ่มลงทุนไปสักพักหนึ่งจะเริ่มมั่นใจในฝีมือ แล้วคิดว่าเราไปรับผิดชอบชีวิตคนอื่นเค้าได้ ก็เลยเริ่มเปิดลงทุนให้คนอื่นด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่าจะทำได้
  • กูรูบางคนเกิดขึ้นมาในช่วงที่ตลาดหุ้นเติบโต ตอนนั้นจะซื้อหุ้นอะไรก็โต เพียงแต่โตมากโตน้อยเท่านั้นเอง เวลาที่หุ้นเฟื่องฟูมันน่ากลัว เพราะจะทำให้คนเรารู้สึกว่าเป็นคนเก่งและมั่นใจเกินจนรับเงินคนอื่นมาลงทุน แล้วทำไม่ได้แก้ไม่ได้ สุดท้ายก็เกิดเป็นปัญหา

 

13.34

  • ยุคนี้จะมีการใช้เครื่องมือทางการเงินที่คนไม่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น Forex ทั้งๆ ที่ในตลาดเป็นการลงทุนจริงๆ แต่คนที่ทำกำไรได้ต้องเป็นคนมีฝีมือ และมีความเสี่ยงมากขนาดที่ว่าต่อให้ได้กำไรมาหลายครั้ง แต่ถ้าพลาดครั้งเดียวก็คือหมดตัว

 

14.12

  • Venture Capital คือการร่วมลงทุนกัน จนเป็นกองทุน กองทุนนี้จะมองหาการลงทุนดีๆ ในธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะฉะนั้นเวลาจะลงทุนใน VC เค้าจะระดมทุนจากนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องมีเงินพอสมควรและพร้อมจะเสีย
  • แต่แชร์ลูกโซ่ไม่ใช่แบบ VC ซึ่งจะรวมเงินกัน ทำเสมือนว่าจะไปลงทุนแล้วมีโฆษณามาให้ดู ว่าเงินที่ระดมทุนมาจะเอาไปลงทุนในบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา มีภาพโชว์ตัวเลขผลประกอบการ ซึ่งคนไม่รู้เรื่องก็ไม่เข้าใจ แต่โลภ อยากได้ จึงยอมเสียเงินเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ
  • คนที่ไม่รู้เรื่องก็จะเข้า process แบบเดิมคือ เอาภาพการลงทุนใหญ่ๆ มาบังหน้า ล่อลวงด้วยผลตอบแทนสูงๆ จูงคนเข้ามา เริ่มจ่ายตังทอนเพื่อให้คนเข้ามาตอนแรกๆ ไปชวนต่อ พอคนเข้ามาเยอะมากพอก็ปิด แล้วก็ยกเงินหนีไป

 

15.57

  • เดี๋ยวนี้ระบบทำได้สวยงามมาก ทำเป็นเว็บไซต์ มีแอ็กเคานต์ส่วนบุคคล ตั้งชื่อโปรเจกต์เร้าใจ เช่น แบงก์ 50 แลกแบงก์ 1,000 คนก็จะตื่นเต้นแล้วฝากเงินเข้าไป ถามว่าถอนได้เมื่อไหร่ ก็บอกถอนไม่ได้จนกว่าจะครบ 3 ปี
  • ใจความหลักก็คือถ้าคุณเจอการลงทุนในประเภทนี้ให้ถามเขาเลยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้การคุ้มครองหรือเปล่า ถ้าอยู่นอกเหนือก็อย่าไปยุ่งเด็ดขาด

 

18.39

  • กูรูบางคนจะเปิดคอร์สสัมมนา แล้วตอนจบก็จะนำไปสู่การลงทุน เริ่มจากเปิดภาพโชว์ความสำเร็จตัวเอง ให้คนเข้ามาติดตาม เราก็จะอยากได้เงินอย่างที่เขาบอก แต่เราฟังแล้วมันยาก เราไม่น่าจะทำได้เหมือนเขา กูรูก็จะรู้ใจและจะเริ่มขายโปรแกรมการลงทุน “ถ้าคุณคิดว่าสิ่งที่เราทำมันเป็นไปได้ น่าสนใจ แต่ทำเองไม่ได้เพราะความรู้คุณยังไม่พอ เรามีโปรแกรมให้คุณมาร่วมลงทุนกับเรา พร้อมดูแลบริหารงานโดยปรมาจารย์”
  • เมื่อเรานั่งฟังเราก็เชื่อเขา ก็ต่อแถวซื้อโปรแกรม จากนั้นจะมีเพจลับ กลุ่มลับเพื่อสื่อสารกับพวกคุณ แล้วเขาก็จะเลี้ยงไข้ บางที่ใครที่เข้ามาก่อน ครบ 1 เดือนจ่ายเลย บางที่มีข้อผูกมัดต่อว่าต้องอยู่ครบ 6 เดือนถึงจะเริ่มทยอยจ่ายคืน บางที่ล็อกไว้ 3 ปีเต็มๆ แล้วพอคนได้เงินทอน บางคนจะเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ จากนั้นพอระดมทุนได้สักพักหนึ่งพวกนี้ก็จะเริ่มปิดบัญชีหายไป

 

21.16

  • คำถามคือถ้ามันมีคนโดนเยอะแล้ว ทำไมเรื่องแบบนี้ยังเกิดขึ้นได้? เพราะ 1) เหยื่อรายใหม่ยังเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เปลี่ยนเครื่องมือไปเรื่อยๆ มีตลาดใหม่เสมอ 2) เรื่องนี้ไม่ค่อยถูกเผยแพร่ เพราะกลุ่มที่โดนหลอกเขาอายไม่กล้าเปิดตัว ทุกอย่างก็จมหายไป
  • ในปัจจุบันรูปแบบพวกนี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะไม่ใช่การหลอกเงินโดยตรง แต่เป็นการหลอกให้ไปติดกับดักเยอะแยะเลย

 

23.00

  • อีกกลุ่มหนึ่งคือ กูรูอสังหาริมทรัพย์ กูรูกลุ่มนี้จะทำการติดต่อกับคอนโดฯ ต่างๆ ไว้ ว่าถ้าเกิดพาคนไปซื้อเยอะๆ จะต้องได้ค่านายหน้าพิเศษ และวงจรก็เหมือนเดิมคือจะเปิดเพจสอน แล้วก็เปิดคอร์สพิเศษพาไปลงพื้นที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าสมมติโค้ชสอนและพาทุกคนไปดูพื้นที่ แล้วบอกแค่ว่าที่นี่โค้ชก็ซื้อ และอยากให้ทุกคนมีไว้คนละหลัง เท่านั้นแหละ จบ ยอดจองระเนระนาด เขาได้คอมมิชชันก้อนโต คุณได้ทรัพย์ที่มันลงทุนไม่ได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้คุณติดกับดักไปอีกนาน เพราะอสังหาริมทรัพย์มันใหญ่ คุณต้องกู้ซื้อและผ่อนไปอีกนาน

 

“นี่คือเรื่องราวที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนที่เข้ามานำเสนอ คนเราก็จะรู้สึกว่ามันใหม่อยู่ตลอด”

 

25.17

วิธีดูว่าอะไรที่มีความเสี่ยงและต้องสงสัยว่าจะเป็นการแชร์ลูกโซ่

  1. เป็นการลงทุนที่ง่าย และได้ผลตอบแทนที่สูงเกินจริง เช่น ถ้าได้สูงระดับ 5-10% ต่อเดือนโดยที่ไม่ต้องทำอะไร
  2. เป็นการลงทุนประเภทที่ถ้าเราไปชักชวนเพื่อนเข้ามาลงทุนเพิ่ม เราจะได้ผลประโยชน์ผลตอบแทนเพิ่มด้วย
  3. มีการรับประกันผลตอบแทนว่าได้เงินเท่าไหร่ เพราะการลงทุนทุกอันมีความเสี่ยง ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะไม่ทำ

 

27.38

  • สุดท้ายจะฝากพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือลงทุนอะไรก็ควรพอประมาณ มีเหตุผล สอบถามว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นเอาไปทำอะไร มันจริงหรือไม่อย่างไร หัดค้นหาข้อมูล และมีภูมิคุ้มกัน ต้องหัดคิด เอะใจ หัดสงสัย
  • การลงทุนนั้นไม่ได้มีแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว มีอีกด้านคือความเสี่ยงอยู่ด้วย ให้ถามตัวเองทุกครั้งว่าถ้าลงทุนไปสิ่งที่ลงทุนมันไม่ใช่ มันจะส่งผลเสียกับการเงินในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และจะทำให้สถานะทางการเงินของเรานั้นมีปัญหาหรือไม่
  • ถ้าเรารู้จักมันมากขึ้น มีความรู้ และไม่โลภจนเกินไป เข้าใจว่าการลงทุนที่ดีต้องให้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอกับเครื่องมือ และสุดท้ายไม่มักง่าย

 

“รวยเร็วเป็นไปได้ รวยง่ายๆ ไม่มีจริง”


 

Credits

 

The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Episode Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post แชร์ลูกโซ่ไม่มีวันตาย: แฉวงจรที่หลอกล่อคนโลภมาแล้วกว่า 40 ปี และอีกหลายคดีที่กูรูผันตัวมาเป็นคนโกง appeared first on THE STANDARD.

]]>