WE NEED TO TALK – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 25 Jul 2018 12:02:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 BEST OF WE NEED TO TALK SEASON 2 & 3 https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk46/ Wed, 25 Jul 2018 04:12:16 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=109728

We Need To Talk Podcast เอพิโสดนี้ โบ สาวิตรี มาขอ […]

The post BEST OF WE NEED TO TALK SEASON 2 & 3 appeared first on THE STANDARD.

]]>

We Need To Talk Podcast เอพิโสดนี้ โบ สาวิตรี มาขอลาคุณผู้ฟังไปทำหน้าที่คุณแม่ชั่วคราว แต่ก่อนจะเบรกไปเลี้ยงลูกสาว เธอรวบรวมไฮไลต์จากเกสต์ทั้งหมด 20 คนที่มาเยี่ยมรายการตลอดซีซัน 2 และ 3 โดยคัดมาเฉพาะตอนเด็ดๆ แถมด้วยบางบทสนทนาที่คุณยังไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเราจำเป็นต้องตัดออกเนื่องจากเวลาที่มีจำกัดในแต่ละเอพิโสด

 


 

สำหรับคนที่ถนัด YouTube ฟังเอพิโสดเต็มได้ที่นี่เลย


Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post BEST OF WE NEED TO TALK SEASON 2 & 3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิโอเลต วอเทียร์ กับสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเบลเยียม https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk45/ Wed, 18 Jul 2018 11:18:33 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=108522

วิโอเลต วอเทียร์ กลับมาที่ We Need To Talk Podcast อีกค […]

The post วิโอเลต วอเทียร์ กับสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเบลเยียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วิโอเลต วอเทียร์ กลับมาที่ We Need To Talk Podcast อีกครั้งกับช่วง We Need To Play! ที่เราจะทำให้เราได้รู้จักเธอมากขึ้นจากคำถามและเกมต่างๆ

ใครอยาก *ฟัง* เอพิโสดเต็มๆ ให้กด play podcast ด้านบนได้ทันที แต่ถ้าใครอยาก *ดู* วิดีโอเพลินๆ พร้อมซับภาษาอังกฤษเพื่อเช็กว่า ที่ฟังจากพอดแคสต์ด้วยหูและสกิลของตัวเองนั้นแม่นยำแค่ไหน ให้คลิกชมคลิปสั้นจาก YouTube ด้านล่างได้เลย ย้ำอีกครั้งว่า อย่าลืมกด CC มุมขวาล่างเพื่ออ่านซับไตเติ้ล

 


 

Finish The Sentences

คำในภาษาฝรั่งเศสที่ชอบที่สุดคือคำว่า…
วีไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มี…
ถ้าวีมีลูกสาว จะตั้งชื่อว่า…
แต่ถ้าเป็นลูกชาย จะให้ชื่อว่า…

 

 


 

Super Random Questions

ถ้าเราเปิดประตูห้องนอนของวีเข้าไป แล้วมองไปรอบๆ คำแรกที่จะผุดขึ้นมาในหัวของเราคือคำว่าอะไร | อะไรคือคุณสมบัติสำคัญที่สุดในตัวของคนที่วีจะคบเป็นแฟนด้วย | อะไรคือ 3 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศ/ชาวเบลเยี่ยม

 

 


 

20 Questions

นี่คือเกมที่ วิโอเลต ออกปากไว้อย่างถ่อมตัวสุดๆ ว่า “เกมนี้วีเก่งมากเลยแหละจะบอกให้” แต่เมื่อหนึ่งนาทีผ่านไปก็อุบอิบออกมาด้วยเสียงอ่อยๆ ว่า “ไม่น่าบอกออกไปก่อนเลยว่าเก่ง”

 


 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า We Need To Talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest วิโอเลต วอเทียร์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer วรรษมน ไตรยศักดา

Music Westonemusic

The post วิโอเลต วอเทียร์ กับสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเบลเยียม appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิโอเลต​ วอเทียร์ น่ารักอย่างที่คิด​ พูดภาษาอังกฤษเพราะอย่างที่คิด​ แต่ไม่ได้หวานและบอบบางอย่างที่คิด https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk44/ Wed, 11 Jul 2018 10:59:16 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=106453

วิโอเลต​ วอเทียร์ หันเก้าอี้ 4 ตัวรวดของโค้ชทั้งสี่บนเว […]

The post วิโอเลต​ วอเทียร์ น่ารักอย่างที่คิด​ พูดภาษาอังกฤษเพราะอย่างที่คิด​ แต่ไม่ได้หวานและบอบบางอย่างที่คิด appeared first on THE STANDARD.

]]>

วิโอเลต​ วอเทียร์ หันเก้าอี้ 4 ตัวรวดของโค้ชทั้งสี่บนเวที The Voice Thailand และหันหัวคนทั้งประเทศที่นั่งอยู่หน้าจอให้หันมาดูเธอพร้อมกัน แม้จะไปไม่ถึงฝันกับการคว้าตำแหน่งชนะเลิศ แต่เธอก็เป็นหนึ่งในนักร้องที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากเวทีนี้

 

อีกหลายเพลงที่เราได้ฟังและอีกหลายบทบาทการแสดงที่เราได้ดู มาสู่หนึ่งบทสนทนาภาษาอังกฤษด้วยเสียงรื่นหู เสียงหัวเราะที่ทำให้เราต้องป่องแก้มยิ้มตาม และบางบุคลิกภาพของ วิโอเลต วอเทียร์ ที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อนใน We Need To Talk Podcast กับโบ สาวิตรี 

 


“วีก็มีปัญหากับการออกเสียงชื่อตัวเองเหมือนกัน”

วิโอเลต วอเทียร์ เสียงแบบนี้ หน้าตาแบบนี้ เรารู้จักเป็นอย่างดี แต่หลายคนยังออกเสียงชื่อเธอผิดๆ ถูกๆ ซึ่ง ไม่เป็นไรๆ เพราะเจ้าตัวเองยังบอกเลยว่า การออกเสียงชื่อภาษาฝรั่งเศส Violette Wautier ในสำเนียงภาษาอังกฤษนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย

 


 

“วีกำลังพยายามหัดพูดอีสานค่ะ แต่คุณยายบอก พอเถอะลูก…”

น้องวีนั้นก็มีความสากลโลกในตัวอยู่ประมาณหนึ่ง ได้แก่ คุณพ่อเบลเยียม คุณแม่ไทย ไปเกิดที่ญี่ปุ่น พูดฝรั่งเศส ไปเรียนแคนาดา แล้วกลับมาดังที่ไทย

 


 

“หนึ่งปีในแคนาดา คือช่วงเวลาทองของชีวิต”

นี่คืออีกหนึ่งเกสต์ของรายการ We Need To Talk Podcast ที่เคยไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการ AFS วิโอเลต เล่าเรื่องหนึ่งปีในแคนาดากับ Host Familhy ที่คอนข้างจะแปลกๆ และเหตุการณ์ที่ต้องพยายามแก้ปัญหาด้วยความห้าวของตัวเอง (เห็นหวานๆ อย่างนี้เนี่ย…)

 


 

“ใช่ เราตัวเปี๊ยก แต่อย่ามาทำยังงี้ มันไม่ถูก ไม่ยอม แล้วก็ไม่กลัวด้วย!”

วิโอเลต เล่าเรื่องชีวิตมัธยมในแคนาดาก็จะประมาณว่า “…เพื่อนที่โรงเรียนก็ดี ไม่มีทะเลาะเบาะแว้งกัน เด็กคูล-เด็กไม่คูล เด็กป๊อป-เด็กไม่ป๊อป ก็เป็นเพื่อนกันหมด วีไม่โดนรังแกเลย อ้อ แต่เกือบมีเรื่องได้ตบเด็กรุ่นน้องกลางโรงอาหารอยู่ทีนึง ก็เท่านั้นเองค่ะ…” *ยิ้มหวาน*

 


 

“พวกเขาเป็นคนดี ถึงแม้พวกเขาจะแปลกและแตกต่าง”

อย่าให้ลุคหวานใสไร้เดียงสาลวงตาคุณ! วิโอเลต เล่าชีวิตนักเรียนแลกเปลี่ยนในโฮสต์แฟมิลี่แปลกๆ ที่สอนให้รู้จักเปิดใจและปรับตัว แล้วปีสุดท้ายของไฮสกูลที่แคนาดาก็จบลงด้วยงานพร็อมอันน่าประทับใจ วิโอเลตได้ไปออกเดตกับเขาหรือไม่ ถ้าได้ไป ใครชวนใคร เชิญชม

 


 

สำหรับผู้ที่สะดวกฟังพอดแคสต์บน YouTube สามารถฟังเอพิโสดเต็มของ วิโอเลต ได้ที่นี่

 

 


 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า We Need To Talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest วิโอเลต วอเทียร์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer วรรษมน ไตรยศักดา

Music Westonemusic

The post วิโอเลต​ วอเทียร์ น่ารักอย่างที่คิด​ พูดภาษาอังกฤษเพราะอย่างที่คิด​ แต่ไม่ได้หวานและบอบบางอย่างที่คิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูลูกกอล์ฟ กับพอล เล่าเรื่องรัก ทำอย่างไรให้ Lucky in Love ไปพร้อม Lucky In Game https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk43/ Wed, 04 Jul 2018 05:41:15 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=104148

ครูลูกกอล์ฟ ในรายการ We Need To Talk เอพิโสดที่แล้ […]

The post ครูลูกกอล์ฟ กับพอล เล่าเรื่องรัก ทำอย่างไรให้ Lucky in Love ไปพร้อม Lucky In Game appeared first on THE STANDARD.

]]>

ครูลูกกอล์ฟ ในรายการ We Need To Talk เอพิโสดที่แล้ว เล่าเรื่องชีวิตและการงาน มาเอพิโสดนี้ เล่าเรื่องชีวิตรัก ซึ่งเราอาจเคยฟังไปบ้างแล้วตามสื่อต่างๆ แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่จะได้ฟังในภาษาอังกฤษ และฟังแบบช่วยกันเล่าจากปากของทั้งสองเอง ครูลูกกอล์ฟ และ พอล เบอร์เจสส์

 

มีมาฝากทั้งความสนุกสนานและแรงบันดาลใจ ตามสไตล์ครูลูก และตามสไตล์ We Need To Talk Podcast ด้วยเช่นกัน ถ้าภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรงมาก เราขอแนะนำให้เริ่มจากอ่านโชว์โน้ตก่อนจะไปกดฟังพอดแคสต์ แต่ถ้าใครอยากท้าทายความสามารถในการฟังของตัวเองดู ก็ไปฟังก่อนเลยก็ได้ แล้วค่อยกลับมาอ่านว่าได้ใจความคล้ายกันหรือเปล่า

 


 

ครูลูกกอล์ฟ และพอล เล่าเรื่องชีวิตรักที่ We Need To Talk Podcast

 

01:11

เมื่อสองคนที่ไม่เคยศรัทธาในเรื่องความสัมพันธ์มาพบกัน

ลูกกอล์ฟ: เมื่อปี 2009 เราไปเรียนต่อที่อังกฤษด้าน Theatre Directing ที่ University of Sussex ประเทศอังกฤษ แล้ววันหนึ่งได้ไปดูละครของเขา คือพอลก็ทำงานในวงการละครเหมือนกัน สิ่งแรกที่คิดตอนได้เจอกันเป็นครั้งแรกเหรอคะ “ดี” (หัวเราะ)

 

เราไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็น relationship person คือไม่เคยคิดว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์กับใครได้ยาวๆ เลย และพอลก็เหมือนกันนะ

 

พอล: ตอนแรกผมไม่คิดเลยครับว่าจะคบกันรอด (หัวเราะ) อย่างที่ลูกกอล์ฟบอก ผมก็เป็นคนประเภทเดียวกัน ไม่คิดว่าจะคบใครได้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ผมว่านั่นกลายเป็นข้อดี เพราะมันเลยไม่มีความคาดหวังหรือความกดดันอะไร

 

03:27

คบฝรั่ง ภาษาอังกฤษต้องแข็งแรงแค่ไหน

ลูกกอล์ฟ: เราเคยพูดไว้ว่า “ถ้าอยากเข้าไปให้ถึงหัวใจใครสักคน ต้องทลายกำแพงภาษาลงเสียก่อน” แม้ว่าที่จริงแล้วเราจะเชื่อว่า คนที่เขาอยากเข้าใจเรา เขาก็จะพยายามเข้าใจเราจนได้แหละ ไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไร สายตา ภาษากาย มันมีหลายวิธี แต่ถ้าอยากเข้าใจกันจริงๆ อย่างลึกซึ้ง มันต้องเรียนรู้ “ภาษาของเขา” นะ เช่นถ้าอยากถกกันในเรื่องที่ลึกซึ้งหน่อย มองตามันไม่พอแล้วไง มันต้องใช้คำในการสื่อสารแล้ว หรือแม้แต่ตอนทะเลาะกัน ซึ่งที่จริงเราสองคนก็ไม่ค่อยทะเลาะกันเท่าไรเนอะ (หันไปถาม)

 

พอล: เรา “เห็นต่างกันอย่างสุภาพ” มากกว่าครับ ผมเห็นด้วยกับที่ลูกกอล์ฟพูดนะ แต่ทางฝั่งผมปัญหาคือ ตั้งแต่เราอยู่ด้วยกันมา ภาษาอังกฤษของเขาดีจนไม่มีเหตุผลที่ผมต้องพยายามศึกษาภาษาไทยเลย (หัวเราะ) การเรียนภาษาไทยของผมแย่มากครับ แต่เขาก็พยายามสอนนะ

 

ลูกกอล์ฟ: แต่เราเป็นครูสอนภาษาไทยที่ไม่ดีเลย เพราะไปๆ มาๆ ก็คือพูดภาษาอังกฤษกับเขาตลอดเวลา วันก่อนเพิ่งสอนนี่ไป “นอนกินบ้านกินเมือง”

 

พอล: ซึ่งเป็นการสอนสำนวนโดยยกตัวอย่างน้องชายของเขาเองครับ (หัวเราะ)

 

ลูกกอล์ฟ: ภาษาอังกฤษของเราก็ไม่ใช่จะดีที่สุด เพราะอย่างไรต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษของเรามันไม่มีทางจะดีไปกว่าภาษาไทยของเราอยู่แล้ว และเราก็บอกพอลให้ช่วยจับผิดไปเลย ตรงไหนเราพูดผิดให้แก้ทันที แล้วก็ทำให้หลายครั้งเวลาคุยกับพอลจะประหม่าเพราะสมองเราจะบอกว่า พอลฟังอยู่นะ พอลฟังอยู่ เขาได้ยินทุกคำพูด อย่าพูดผิดแม้แต่คำเดียวนะ แล้วพอเราพยายามจะไม่ผิด เราก็จะพูดผิด บ้าไหมล่ะ (หัวเราะ) ตอนนี้เลยกลับมาบอกตัวเองอีกรอบว่าอย่าคิดหรือกังวลมากเกินไป

 

พอล: แต่ผมไม่คิดว่าการพูดผิดเป็นเรื่องใหญ่เลยนะครับ มันเป็นเรื่องปกติมาก แม้แต่เจ้าของภาษาก็ตามที

 

ครูลูกกอล์ฟ และพอล เล่าเรื่องชีวิตรักที่ We Need To Talk Podcast

 

07:37

ทำอย่างไรรักทางไกลถึงจะรอด

พอล: ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่ามันต้องกลายเป็นการคบกันแบบทางไกลเพราะเขาต้องกลับเมืองไทย แต่พอเริ่มต้องซื้อตั๋วบินไปบินมาเราก็เริ่มเห็นภาพแล้ว แต่ที่จริงผมว่าเราไม่ได้คุยกันมากมายในเรื่องนี้นะครับ เพราะถ้าคิดเยอะเกินไปมันจะรู้สึกยากไปหมด

 

ลูกกอล์ฟ: สำหรับเรา มันคือคำเดียวเลยแหละ “ความเชื่อใจ”

 

พอล: ความเชื่อใจกันเป็นพื้นฐานที่สำคัญครับ แต่นอกจากนั้น ผมว่าเราสองคนยังโชคดีที่เราไม่ได้ทำงานแบบ 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น วันจันทร์-วันศุกร์ และมีวันหยุดแค่ไม่กี่วัน เราออกแบบเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ ตอนไม่ได้อยู่ด้วยกันเราก็ตั้งใจทำงานของเราให้เต็มที่และดีที่สุด เพื่อที่จะได้กลับมาใช้เวลาด้วยกันอย่างเต็มที่และมีคุณภาพเช่นเดียวกัน

 

13:55

ถ้าคุณหมดหวังในความรัก และคิดว่าชาตินี้คงต้องอยู่คนเดียว

พอล: สำหรับคนที่อยากมีความสัมพันธ์จริงๆ อย่าเพิ่งรีบหมดหวังครับ เพื่อนของพ่อแม่ผมเพิ่งแต่งงานเป็นครั้งแรกในชีวิตตอนอายุ 60 กว่า แต่ผมก็อยากบอกว่า การอยู่คนเดียวมันก็ไม่ได้ผิดอะไร อย่าให้ใครมาตัดสินเราแค่เพราะเราไม่มีใคร

 

ลูกกอล์ฟ: อยู่คนเดียวก็ได้นะ ไม่เห็นต้องรู้สึกแย่ แล้วก็ไม่ต้องรู้สึกผิดอะไรเลย และของอย่างนี้บางทีมันจะมาตอนเราไม่ได้มองหานั่นแหละ

 

พอล: และสำหรับ LGBTQ ทุกคน ผมอยากบอกว่า ความเป็นเพศหลากหลายไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความสามารถในการมีความรักความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ มันไม่เกี่ยวกัน และมันไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะสเตรทหรือเกย์

 

15:59

ทำอย่างไรให้ทั้ง lucky in game และ lucky in love เหมือนพี่ลูกกอล์ฟ

ลูกกอล์ฟ: เราไม่ต้องมีหมดก็ได้ และไม่ต้องมาเหมือนพี่ก็ได้ อย่าคิดว่า “อยากเป็นแบบพี่ลูกกอล์ฟ” หรือ “อยากมั่นใจในตัวเองแบบพี่ลูกกอล์ฟ” ไม่เอา มั่นใจในตัวเองแบบตัวของคุณเองสิ ถามตัวเองดีๆ ว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องดูจากคนอื่น ถ้าคุยกับตัวเองแล้วพบว่าเราชอบอยู่คนเดียว ได้เลย อยู่คนเดียวก็ดีและมีความสุขได้

 

พอล: ไม่ใช่ว่าห้ามอยากได้อยากมีนะครับ แต่หมายถึงว่า คุณไม่จำเป็นต้องอยากได้อยากมี “เหมือนคนอื่น” เท่านั้นเอง

 

ครูลูกกอล์ฟ และพอล เล่าเรื่องชีวิตรักที่ We Need To Talk Podcast

 

21:03

ถ้าให้เข้าห้างไปซื้ออะไรก็ได้ คิดว่าอีกคนจะซื้ออะไรบ้าง

พอล: ถ้าเป็นสักสองสามปีก่อนเขาจะซื้อกระเป๋าครับ แต่ถ้าตอนนี้น่าจะเป็นหมวก (หัวเราะ) อย่างที่สอง น่าจะเป็นซื้อของกินเลี้ยงนักเรียน และอย่างสุดท้าย อืม…

 

ลูกกอล์ฟ: ซื้อเสื้อผ้าให้พอล (หัวเราะ) แต่สำหรับพอล ง่ายมากเลย หนึ่ง หนังสือ สอง หนังสือ และสาม หนังสือ (หัวเราะ)

 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest คณาธิป สุนทรรักษ์, พอล เบอร์เจสส์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer สลัก แก้วเชื้อ

Music Westonemusic

The post ครูลูกกอล์ฟ กับพอล เล่าเรื่องรัก ทำอย่างไรให้ Lucky in Love ไปพร้อม Lucky In Game appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูลูกกอล์ฟ ผู้สอนทุกอย่างตั้งแต่ภาษาอังกฤษถึงวิธีคิด ช่วยเด็กไทยพัฒนาจิตใจไปถึงทัศนคติ https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk42/ Wed, 27 Jun 2018 11:26:46 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=101600

ครูลูกกอล์ฟ เป็นแขกรับเชิญในฝันคนหนึ่งของ We Need To Ta […]

The post ครูลูกกอล์ฟ ผู้สอนทุกอย่างตั้งแต่ภาษาอังกฤษถึงวิธีคิด ช่วยเด็กไทยพัฒนาจิตใจไปถึงทัศนคติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ครูลูกกอล์ฟ เป็นแขกรับเชิญในฝันคนหนึ่งของ We Need To Talk Podcast และหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าถ้าไม่มีครูลูกกอล์ฟ รายการนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้น แต่โฮสต์จะไม่ใช่ โบ สาวิตรี เนื่องจากทีมงาน THE STANDARD Podcast ได้เห็นความสามารถทางภาษาอังกฤษของโบจากรายการ Loukgolf’s English Room นั่นเอง จึงติดต่อไปชวนมาจัดพอดแคสต์

 

เราจึงดีใจมากที่ครูลูกกอล์ฟตอบรับคำเชิญ แต่เท่านั้นไม่พอ เขายังพาแฟนหนุ่มชาวอังกฤษ พอล เบอร์เจสส์ มาพูดคุยในรายการด้วย ซึ่งนี่น่าจะเป็นรายการแรกที่ทั้งคู่ได้ปรากฏตัวพร้อมกันแบบเต็มๆ ดังนั้นเชื่อว่าคุณผู้ฟังก็จะได้ทั้งความสนุกสนาน สาระ มุมมองแบบเต็มๆ ไปด้วยเช่นกัน

 

สำหรับผู้ที่อยากฟังเพลินๆ นั่งรถไป ออกกำลังกายไป ไม่ต้องรบกวนลูกตา ให้คลิกปุ่ม Play ด้านบน แต่สำหรับผู้ที่อยากรับรู้เรื่องราวผ่านตัวหนังสือมากกว่าก็เชิญกวาดตาลงไปอ่านด้านล่างได้เลย

 

และสำหรับผู้ที่อยากดูครูลูกกอล์ฟแอลจีในหมวกสีสันสดใสหลายใบของเธอ สามารถไป subscribe ยูทูบแชนแนลของ THE STANDARD หรือฟอลโลว์ทวิตเตอร์เอาไว้ที่ @TheStandardPod เพื่อไม่ให้พลาดชมคลิปหลากหลายแขกรับเชิญจากรายการ We Need To Talk ที่จะมาพร้อมซับไตเติลทั้งไทยและอังกฤษให้ได้ฝึกภาษากันด้วย

 


 

ครูลูกกอล์ฟ ที่รายการ We Need To Talk | The Standard Podcast

 

04:11

ความฝันคือสิ่งที่ต้องเพาะบ่ม และมันจะสุกงอมในเวลาที่เราพร้อม

เรื่องนี้อยากเล่า หลายคนเห็นเราในวันนี้จะคิดว่าครูลูกกอล์ฟทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ แต่เขาไม่รู้หรอกว่าก่อนจะได้เป็นหรือได้ทำในสิ่งที่เราเป็นหรือทำในวันนี้ เราก็เคยโดนปฏิเสธมาก่อนเหมือนกัน หลังจากเรียนจบกลับมาจากอังกฤษ เราอยากเป็นดีเจ EFM มาก เท่านั้นยังไม่พอ เรายังอยากเป็นพิธีกรรายการทีวี อยากเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ อยากมีชื่อเสียง อยากเป็นดารา อยากเป็นอะไรมากมายหลายอย่าง แล้วในที่สุดก็มีโอกาสได้ทำไพลอตกับพี่ต้นหอม (ศกุนตลา เทียนไพโรจน์) เราพยายามมาก เพราะอยากได้งานนั้นมาก อยากเป็นที่รัก อยากถูกเลือก เลือกฉันสิ เลือกฉัน ฉันดีพอ ฉันทำได้ แต่สุดท้ายเขาไม่เลือก โลกถล่มเลยนะ รู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยด้อยค่า ความมั่นใจทุกอย่างสูญสลายหายเกลี้ยง แต่เราไม่หยุด เราพยายามพัฒนาตัวเอง ไม่ถอดใจ ไม่เลิกล้ม 7 ปีผ่านไป โปรดิวเซอร์ติดต่อมาแล้วบอกว่า “พี่คิดว่าลูกกอล์ฟพร้อมแล้ว” ทุกวันนี้ทุกครั้งที่เข้าไปนั่งในห้องจัดรายการยังรู้สึกเหมือนฝันอยู่เลย แล้วเมื่อมองย้อนกลับไปก็เข้าใจแล้วว่า วันนั้นที่เขาไม่เลือกไม่ใช่เพราะเราไม่ดีหรือไม่เก่ง แต่เรายังไม่พร้อมต่างหาก เราจะเป็นดีเจที่ปากร้ายใจร้ายคนหนึ่ง ไม่กลมกล่อมเหมือนทุกวันนี้ (หัวเราะ) ขอบคุณที่วันนั้นเขายังไม่เลือก

 

สรุปคือตอนนี้ได้ทำทุกอย่างตามที่เคยฝันเอาไว้เลย วิทยุ (พุธทอล์คพุธโทร) ทีวี (Loukgolf’s English Room) โรงเรียนสอนภาษา (Angkriz) เขาพูดกันว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนคนหนึ่งจะได้ทุกอย่าง แต่เราได้มาแล้วทุกอย่าง และนั่นทำให้เรารู้ว่าสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการได้ทุกอย่างคือการรู้จักพอใจในทุกอย่างที่ได้มา และการตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราตลอดไป อย่าไปยึดถือมันมากจนเกินไป วันข้างหน้าเราก็จะไม่ดังเท่าวันนี้ แม้แต่คนรัก (หันไปมองพอลที่นั่งอยู่ข้างๆ กัน) การที่เราได้อยู่ด้วยกันมานานขนาดนี้เป็นเรื่องที่วิเศษก็จริง แต่เราต้องเข้าใจและคิดเอาไว้เสมอว่ามันไม่มีอะไรเลยในโลกนี้ที่จะคงอยู่ตลอดไป มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ

ในวันที่เราได้ทุกอย่างที่เคยฝันไว้ มันทำให้เรารู้ว่าสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการได้ทุกอย่างคือการรู้จักพอใจในทุกอย่างที่ได้มา และการตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราตลอดไป

วันนี้เราคิดว่าเราไม่ได้เป็นใครยิ่งใหญ่หรือสำคัญมาจากไหนเลย ครูลูกกอล์ฟก็เป็นนักเรียนคนหนึ่งที่วันนี้มาพูดคุยกับคุณโบเพื่อเรียนรู้อะไรสักอย่างเหมือนกัน

 

09:24

จากทุ่งลุงถึงลอนดอน

ครูลูกกอล์ฟนี่ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมาแต่เกิดนะ เรามาจากครอบครัวที่พูดภาษาไทย บ้านทุ่งลุง อำเภอหาดใหญ่ (หันไปหาคนรัก) ช่วยอธิบายทุ่งลุงให้คุณผู้ฟังเห็นภาพหน่อยสิคะพอล (“มีแต่ต้นไม้อะครับ”) (หัวเราะ) (“ผมชอบที่นี่นะ ชอบต้นไม้ ชอบความสงบของหมู่บ้านเล็กๆ”) เรารักทุ่งลุงนะ ตอนเด็กๆ เราอิจฉาคนที่ได้ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ แต่ในวันนี้เราดีใจที่มีทุ่งลุงให้ได้กลับมาอยู่กับธรรมชาติ

 

ตอนเด็กๆ ไม่อยากอยู่ที่นี่เลย อยากหนีไปไกลๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่รักต้นไม้และธรรมชาติ แต่เพราะผู้คน มันคือหมู่บ้านเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยผู้คนจิตใจคับแคบ เรารู้อยู่แก่ใจว่าต่อให้พยายามแค่ไหนเราก็เปลี่ยนความคิดใครไม่ได้หรอก วัยเด็กของเราคือช่วงเวลาและความทรงจำอันเลวร้าย เราเปิดเผยและเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่ยังเด็กมาก และนั่นคือการตัดสินใจที่ผิดพลาด คือตอนนั้นเรารู้แค่ว่าเราแตกต่าง แต่ไม่รู้หรอกว่าเราเป็นเกย์หรืออะไร พี่รู้แต่ว่าพี่เป็นเอลซ่า (หัวเราะ) คือมีความลับที่ต้องปิดบังไว้ แต่พอตัวตนของเราชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าฉันเป็นอะไร เท่านั้นทุกอย่างก็ระเบิดออกมา ความสาวสะพรั่งต่างๆ ที่เคยเก็บกดเอาไว้ ผลลัพธ์คือพินาศมาก ตกเป็นเหยื่อของโรคเกลียดกลัวเกย์อย่างสิ้นเชิง และด้วยความที่เราเป็นลูกชายคนโต ที่บ้านเรียกตั่วเฮีย (หัวเราะ) บนบ่าแบกความคาดหวังของทั้งตระกูล พ่อนี่คือตั้งแต่พยายามเปลี่ยนเรา จนเลิกพูดกับเรา จนถึงพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว คิดดู แล้วเราก็กลายเป็นเงียบงันกับที่บ้านไปเลย

 

และนั่นคือเหตุผลที่เรามุมานะกับภาษาอังกฤษมาก เพราะเราไม่อยากตายอยู่ที่นั่น เราไม่อยากมีชีวิตย่ำแย่อยู่ที่นั่น เราไม่อยากโดนรังแกและทำร้ายทางจิตใจอีกต่อไป ทุกคำพูดที่เคยได้ยิน คิดขึ้นมาทีไรน้ำตายังไหลได้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะคำอะไร เราโดนมาหมดแล้วทั้งนั้น ตุ๊ด เอดส์ เสียชาติเกิด สารพัด แต่ที่เรารอดมาได้เพราะแม่เลยนะ ต้องขอบคุณแม่จริงๆ (ก้อนสะอื้นจุกคอไปหนึ่งวินาที) คือแม่ไม่เข้าใจเราหรอกนะ แต่แม่ก็ยังรักและอยู่ข้างเราตลอด

 

แล้วเราก็บอกตัวเองว่าไปดีกว่า หนีเถอะ อยู่ไม่ได้แล้วล่ะ คนที่นี่เขาไม่เปลี่ยนหรอก การอยู่ทุ่งลุงต่อไปเหมือนว่ายน้ำวนอยู่ในสระเล็กๆ แต่เราเห็นว่ามันมีทะเลสาบและมหาสมุทรกว้างใหญ่อยู่ข้างนอกนั่น เราเลยพยายามใช้ภาษาเป็นตัวพาเราหนี เริ่มจากการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ เราอ่านเยอะมาก นั่นคือการเปิดโลกทางความคิดชั้นดี วีซ่าไม่ต้องขอ พาสปอร์ตไม่ต้องใช้ เปิดหนังสือคือโลกเปิด ใครกำลังรู้สึกอึดอัดกับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมของตัวเอง อ่านหนังสือเลย เชื่อพี่ มันคือการเดินทางที่ใช้สตางค์น้อยที่สุดแล้ว

 

เราฝึกทุกวัน อ่านหนังสือ ดูหนัง ดูทีวี จากไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไรก็เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการพูดนี่อีกเรื่องเลย ตอนแรกไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษาไม่ได้ เพราะครูที่สอนเราก็ออกเสียงผิด (หัวเราะ) เทมเปอเรเจ้อ ไง  (temperature) เวดเจ็ทเทเบิ้ล ไง (vegetable) วิสาร์ด ไง (wizard) ลีโอผาด (leopard) ยังงี้ นี่ถ้าไปออกเสียงเรียกเสือดาวแบบนี้เสือดาวไม่หันนะ (หัวเราะ) แต่พอเราไปฟังฝรั่งปุ๊บ อ้าว เขาไม่ได้ออกเสียงอย่างนี้นี่

 

ในที่สุดวันหนึ่งก็ได้หนีออกมาจากทุ่งลุงสมใจ เพราะสอบติดนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือ จากนั้นก็ไปเรียนต่อที่อังกฤษด้วยเหตุผลเดิม อยากออกจากสระเล็กๆ ไปแหวกว่ายในมหาสมุทรกว้างใหญ่อันเต็มไปด้วยโอกาสและฉลาม (หัวเราะ) ฉลามก็เยอะนะ

 

ครูลูกกอล์ฟ ที่รายการ We Need To Talk | The Standard Podcast

 

16:51

สำเนียงไม่ได้ส่อแค่ภาษา แต่สำเนียงส่อทุกอย่างที่เป็นตัวเรา

แอกเซนต์นี่ก็เป็นเรื่องใหญ่ของคนเรียนภาษาอังกฤษ แรกๆ แอกเซนต์เราก็งงๆ นะ ปะปนมาหลายชาติ แต่เราก็พอจะภูมิใจกับมันได้ เพราะอย่างน้อยพูดแล้วฝรั่งฟังรู้เรื่อง นั่นก็น่าจะพอแล้ว (หันไปหาคนรักอีกครั้ง) ไหนพอล รู้สึกอย่างไรกับแอกเซนต์ของลูกกอล์ฟ พูดซิ (“เป็นแอกเซนต์ที่ยอดเยี่ยมมากครับ”) (หัวเราะ) (“มันไม่มีแอกเซนต์ใดแอกเซนต์หนึ่งที่ถูกต้องและดีที่สุดหรอกครับ พูดอังกฤษสำเนียงไทยก็ไม่เสียหายอะไร ตราบใดที่คนฟังเข้าใจเรา”) ถูกต้อง ภาษาคือการสื่อสาร สื่อสารเข้าใจ ก็จบ

 

เมื่อก่อนเราอยากมีสำเนียงบริติชมาก อิทธิพลจากหนัง Harry Potter เต็มๆ ดูจบแล้วพยายามอย่างยิ่งที่จะพูดให้เหมือนเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ (หัวเราะ) ตอนนั้นยังไม่เจอพอลเลย แต่ชีวิตช่วงนั้นคือพึงใจกับสำเนียงบริติชของตนมาก แต่ในที่สุดก็เลิก เพราะตื่นเช้ามาวันหนึ่ง มองตัวเองในกระจกแล้วถามตัวเองว่า นี่เธอทำอะไรอยู่ เธอเป็นอะไรของเธอ แอลจี เธอมาจากทุ่งลุงนะ (หัวเราะ) คือมันไม่ใช่ตัวเรา ก็จบกับตัวเองได้ในวันนั้นว่าอย่าพยายามเป็นอะไรที่เธอไม่ใช่เลย เธอคือลูกกอล์ฟ (“เธอไม่ใช่เฮอร์ไมโอนี”) (พอลเสริมแล้วหัวเราะเบาๆ)

 

ดังนั้น ในวันนี้แอกเซนต์ของลูกกอล์ฟคือมี Britishness เบาๆ Americanness บางๆ Thainess ต้องมี Gayness ต้องมา และสุดท้าย Happiness ปิดจบ! นั่นล่ะสำเนียงของ ครูลูกกอล์ฟ ฟังที่ไหน ได้ยินเมื่อไร รู้ได้ทันทีว่านี่คือใคร

 

21:49

โรงเรียนนี้มีรันเวย์

เราเริ่มสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1 เริ่มจากสอนปีละ 14-15 คน จนถึงขั้นที่ได้เงินเป็นกอบเป็นกำพอช่วยที่บ้านได้ ทำไป 2-3 ปีก็เริ่มรู้สึกตกหลุมรักงานนี้จริงๆ และไม่อยากหยุดอยู่แค่การติวตามร้านกาแฟแล้ว ความฝันใหม่เริ่มเกิด คุยกับนักเรียนว่าถ้าจะเปิดโรงเรียนควรใช้ชื่ออะไรดี ช่วยคิดหน่อย ได้มาสองชื่อ นักเรียนตุ๊ดคิดให้ ชื่อแรก Angkriz ซึ่งก็คือคำว่า ‘อังกฤษ’ แบบใส่จริต ชื่อที่สอง เกสร เล่นคำนิดหนึ่ง ที่นี่ใครสอน เกย์สอน (หัวเราะ) เลือกชื่อแรกเลยค่ะ ชื่อที่สองกลัวกระทรวงฯ จะไม่อนุมัติ (หัวเราะ)

 

เราชอบชื่อ Angkriz เพราะเป็นชื่อที่ทำให้คนสงสัยจนต้องถามว่า ‘ทำไม’ ออกมา เราชอบอะไรแบบนี้ ชอบให้คนตั้งคำถามว่า ‘ทำไม’ ที่โรงเรียนเรามีโคมระย้าใหญ่ยักษ์ พอคนเห็นก็จะถามว่า ‘Why?!’ มีไปทำไมเนี่ย… ในห้องเรียนมีรันเวย์ผ่ากลางห้องเลย เด็กก็จะ ‘Why?!’ ห้องเรียนจะมีรันเวย์ไปทำไม!

 

งานสอนเป็นงานที่เรารักและเป็นรางวัลของชีวิตมากเลยนะ พอลคิดอย่างไรกับโรงเรียนของเราบ้าง (“ผมรู้สึกดีที่นักเรียนรักที่นี่นะครับ บางคนจบไปตั้งนานแล้วยังแวะมาเรื่อยๆ”) นักเรียนพี่ไม่กลับบ้านนะคะ เรียนเสร็จก็ยังแฮงเอาต์กันต่อ พี่ก็เลี้ยงข้าวเลี้ยงขนมไป (หัวเราะ)

 

ทำไม Angkriz ถึงดัง (คิดนาน) ไม่รู้เหมือนกัน เราก็ตั้งใจสอนไปเรื่อยๆ ทำหน้าที่ของเราไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุด แล้วคนก็ปากต่อปากกันไปเอง เหมือนเจ๊ไฝน่ะ (ยิ้ม) ถ้าคุณดีจริง คนจะตามหาคุณจนเจอเอง

 

แผนอนาคตของ Angkriz เหรอ (คิดนานอีก) ไม่มีนะ เราไม่รู้หรอกว่าอนาคตจะเป็นยังไง เราเลยไม่อยากจะแพลนอะไรมากมาย เราว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือปัจจุบันนี่แหละ สำหรับความตั้งใจในวันนี้ เราแค่คิดว่าอยากจะปลูกต้นไม้เอาไว้ให้มากที่สุด ปลูกความรักและหลงใหลในภาษาอังกฤษ ปลูกความมุ่งมั่นตั้งใจให้เด็กๆ นั่นแหละคือสิ่งที่จะเป็นอนาคต

ทุกวันนี้เราเลิกคิดถึงเรื่องเงินไปแล้ว ไม่ใช่เพราะรวยแล้วนะ ไม่เลย แต่เราพอใจมากกับทุกอย่างที่เรามีอยู่ และทุกครั้งที่มองตัวเองในกระจก เราจะยังเห็นเด็กที่เต็มไปด้วยความทุกข์คนนั้นอยู่เสมอ เขามาไกลมากนะ จากทุ่งลุงมากรุงเทพฯ แล้วยังได้ไปต่อถึงลอนดอน แล้วเราจะเอาอะไรอีก

ครูลูกกอล์ฟ ที่รายการ We Need To Talk | The Standard Podcast

 

28:09

ห้องเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหนึ่งล้านคน

รายการนี้เกิดจากการอยากสอนภาษาอังกฤษฟรีๆ 4 ปีผ่านมามันเติบโตขึ้นมาเยอะ รายการนี้เหมือนลูกชายของเรา ลูกเกย์น้อยของเรา (หัวเราะ) และเราก็มีความสุขที่เห็น มีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อคนมากมาย

 

สิ่งที่เราอยากให้คนดูได้จากรายการนี้คือความรู้ ความสุข การเป็นคนมีจิตใจดี และการรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่น นอกจากคุณจะเป็นคนเก่งแล้ว เราอยากให้คุณเป็นคนที่รู้จักใจเขาใจเราด้วย เพราะหลายครั้งคนเก่งจะไม่อดทนหรือเห็นใจคนไม่เก่ง ภาษาอังกฤษสำหรับบางคนเหมือนภาษาฝรั่งเศสหรือเยอรมัน การเก่งอังกฤษไม่ได้ให้สิทธิ์คุณในการไปเรียกใครว่าโง่นะ คนเก่งต้องรู้จักใจเย็นๆ หน่อย ไม่ใช่ว่า แหม ศัพท์ง่ายจะตายไป ไม่รู้จักได้ยังไง เดี๋ยวสิ ภาษาญี่ปุ่นคุณพูดได้ไหม ภาษารัสเซียหรือเยอรมันล่ะรู้ไหม ต่อให้ศัพท์ง่ายแค่ไหนก็ไม่รู้ไง เราคิดว่าอย่างหนึ่งที่เป็นความสำเร็จของ Loukgolf’s English Room คือสิ่งนี้แหละ การปรับทัศนคติให้คนรู้จักเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น

 

อะไรทำให้รายการประสบความสำเร็จ อืม ยากจังคำถามนี้ (คิดนิดหนึ่ง) พี่ว่ามันคือความมุ่งมั่นทั้งของทีมงานและตัวเราเอง และที่สำคัญ แขกรับเชิญทุกคนที่มาออกรายการ ยิ่งได้รู้ว่าเขามาออกเพราะเขาอยากมาเจอเรา (หัวเราะ) เรายิ่งดีใจ

 

32:19

ครูลูกกอล์ฟ มีแค่สองคำที่อยากมอบให้วัยรุ่นทั่วไทย

วัยรุ่นที่ไหนในโลกก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน มันคือปัญหาที่เราผ่านและรอดมาแล้ว เราต้องการความรัก ต้องการการยอมรับ ต้องการชื่อเสียง ต้องการเงินทอง ทั้งหมดทั้งปวงน่าจะสำเร็จได้ด้วยสองคำนี้ หนึ่ง อดทน สอง ขยัน เท่านั้นเองนะ ถ้าเราตั้งใจ ขยัน และอดทน มันจะได้สักวันหนึ่ง อย่าเพิ่งใจร้อนและอย่าเอาแต่ฝัน ต้องลงมือทำด้วย

 

ครูลูกกอล์ฟ ที่รายการ We Need To Talk | The Standard Podcast

 


 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest คณาธิป สุนทรรักษ์, พอล เบอร์เจสส์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer สลัก แก้วเชื้อ

Music Westonemusic

The post ครูลูกกอล์ฟ ผู้สอนทุกอย่างตั้งแต่ภาษาอังกฤษถึงวิธีคิด ช่วยเด็กไทยพัฒนาจิตใจไปถึงทัศนคติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChef Thailand อีกครั้งกับ กล่องปริศนา และ การทดสอบความละเอียดและแม่นยำ https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk41/ Wed, 20 Jun 2018 07:28:51 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=99322

ฟีดแบ็กดีเหลือเกินสำหรับความหล่อในน้ำเสียงแถมสำเนียงเท่ […]

The post กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChef Thailand อีกครั้งกับ กล่องปริศนา และ การทดสอบความละเอียดและแม่นยำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ฟีดแบ็กดีเหลือเกินสำหรับความหล่อในน้ำเสียงแถมสำเนียงเท่ๆ ของแด๊ดดี้กอล์ฟ และรอยยิ้มตาหยีที่ทำให้อยากเอื้อมมือไปหยิกของน้องหมอตั้ม สัปดาห์นี้ที่ We Need To Talk พอดแคสต์ กับโบ สาวิตรี สองเชฟหนุ่มจาก MasterChef Thailand ถูกกล่องปริศนา #MysteryBox และบททดสอบความละเอียดและแม่นยำ #PressureTest ตามมาหลอกหลอนอีกครั้ง! เป็นการแข่งขันที่สูสีคู่คี่มากจริงๆ แล้วปวดสมองไม่พอ นี่ยังต้องตอบเป็นภาษาอังกฤษอีก! ให้ไปแล่เนื้อจระเข้ทำอาหารยังจะง่ายเสียกว่า

*กด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*

 

Mystery Box ในแบบของ We Need To Talk!


 

สำหรับผู้ที่ดูยูทู้บเป็นประจำอยู่แล้ว ลองเปิดพอดแคสต์ทิ้งไว้หนึ่งแท็บเพื่อฟังรายการไปเพลินๆ กรอกหูด้วยภาษาอังกฤษเอาไว้ตลอดเวลาก็ช่วยพัฒนาทักษะการฟังภาษาได้เยอะเลยนะ

*กด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*


 

สำหรับผู้ที่สะดวกฟังบน SoundCloud ขอแนะนำให้โหลดแอพมาไว้บนมือถือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก่อนแล้วกด Play On SoundCloud เมื่อเปิดเล่นจากแอพ (ไม่ใช่จากหน้า browser) จะสามารถปิดหน้าจอขณะฟังรายการได้ เหมาะกับคนที่อยากฟังเพลินๆ ตอนเดินทางหรือระหว่างออกกำลังกายต่างๆ


 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest สัญญา ธาดาธนวงศ์, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer วรรษมน ไตรยศักดา

Music Westonemusic

The post กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChef Thailand อีกครั้งกับ กล่องปริศนา และ การทดสอบความละเอียดและแม่นยำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChefThailand กับบทสนทนาภาษาอังกฤษที่เอร็ดอร่อย https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk40/ Wed, 13 Jun 2018 07:31:24 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=97400

สองหนุ่ม MasterChefThailand กอล์ฟ ช่างภาพหนุ่ม และหมอตั […]

The post กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChefThailand กับบทสนทนาภาษาอังกฤษที่เอร็ดอร่อย appeared first on THE STANDARD.

]]>

สองหนุ่ม MasterChefThailand กอล์ฟ ช่างภาพหนุ่ม และหมอตั้ม ชวนกันมาคุยเรื่องอาหารการกิน มิตรภาพเบื้องหลังการแข่งขัน และชีวิตที่ต้องเดินต่อไปหลังจากรายการเรียลิตี้อาหารชื่อดังปิดฉากลง

 


 

ความช็อกแห่ง Mystery Box! ฟิน หรือเฟล?

ความโหด (สำหรับผู้เข้าแข่งขัน) ปนหฤหรรษ์ (สำหรับคนดูอย่างเราๆ) ของรายการ MasterChef Thailand ก็คือ สัปดาห์นี้จะมีวัตถุดิบพิสดารอะไรโผล่มาเล่นงานเชฟที่เรากำลังตามเชียร์อยู่นะ! ซึ่งเอาจริงๆ ยิ่งประหลาดก็ยิ่งสนุกแหละ แม้ว่าเราจะแอบสงสารบรรดาเชฟๆ อยู่บ้างนิดหน่อยก็ตาม

ในรายการ We Need To Talk พอดแคสต์ เอพิโสดนี้ โบ สาวิตรี ถามทั้งพี่กอล์ฟและน้องหมอตั้มว่า การรับมือวัตถุดิบประหลาดล้ำโลกเหล่านี้ มันคือความฟิน หรือมันคือความเฟลกันแน่

*กด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ* 

 

พี่กอล์ฟ อยากเป็นช่างภาพเพราะอยากเจอผู้หญิงสวยๆ ทุกวัน!

นั่นคือจุดเริ่มต้นของอาชีพช่างภาพก็จริง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ได้ลองทำงานหลากหลาย กอล์ฟก็พบว่า ที่จริงยังมีอย่างอื่นที่น่าถ่ายมากกว่าผู้หญิงสวยๆ เยอะเลย…

*กด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*

 

หมอตั้ม กับชีวิตนักเรียนแพทย์ที่ยืนยันว่า ผมไม่เนิร์ด และในส่วนของปาร์ตี้ก็ เอ่อ มีบ้าง

ทำไมหมอตั้มตอบคำถามอึกๆ อักๆ …และทำไมพี่กอล์ฟหัวเราะมีเลศนัยอย่างนั้น…

*กด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*


 

สำหรับผู้ที่ดูยูทู้บเป็นประจำอยู่แล้ว ลองเปิดพอดแคสต์ทิ้งไว้หนึ่งแท็บเพื่อฟังรายการไปเพลินๆ กรอกหูด้วยภาษาอังกฤษเอาไว้ตลอดเวลาก็ช่วยพัฒนาทักษะการฟังภาษาได้เยอะเลยนะ

 

สำหรับผู้ที่สะดวกฟังบน SoundCloud ขอแนะนำให้โหลดแอพมาไว้บนมือถือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก่อนแล้วกด Play On SoundCloud เมื่อเปิดเล่นจากแอพ (ไม่ใช่จากหน้า browser) จะสามารถปิดหน้าจอขณะฟังรายการได้ เหมาะกับคนที่อยากฟังเพลินๆ ตอนเดินทางหรือระหว่างออกกำลังกายต่างๆ


 

อ่านบทสัมภาษณ์ของสองหนุ่มได้ที่ สืบเสาะรสชาติชีวิตของ กอล์ฟ สัญญา และหมอตั้ม ดิษกุล จากมาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซัน 2 

 


 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest สัญญา ธาดาธนวงศ์, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer วรรษมน ไตรศักดา

Music Westonemusic

The post กอล์ฟ & หมอตั้ม MasterChefThailand กับบทสนทนาภาษาอังกฤษที่เอร็ดอร่อย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ กับครั้งหนึ่งที่ตาแทบบอดเพราะฟุตบอล และแทบทุกวันกับชีวิตเร่งรีบบนเบาะมอเตอร์ไซค์วิน https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk39/ Fri, 08 Jun 2018 09:55:48 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=96217

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ยังคงอยู่ที่ We Need To Talk Pod […]

The post ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ กับครั้งหนึ่งที่ตาแทบบอดเพราะฟุตบอล และแทบทุกวันกับชีวิตเร่งรีบบนเบาะมอเตอร์ไซค์วิน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ยังคงอยู่ที่ We Need To Talk Podcast กับ 24 คำถามที่ดูเขาจะสนุกสนานกับการตั้งอกตั้งใจตอบอย่างยิ่ง

 

สำหรับผู้ที่อยากฟังเพลินๆ นั่งรถไป ออกกำลังกายไป ไม่ต้องรบกวนลูกตา ให้คลิกปุ่ม Play ด้านบน แต่สำหรับผู้ที่อยากดูวิดีโอคลิปสั้นเป็นต่อนๆ คอนเทนต์พอดีคำ ก็เชิญกดเพื่อชมได้บนยูทูบที่เรานำมาแปะไว้ให้ในโชว์โน้ตนี้ได้เลย

 

*กด CC บนเพลเยอร์ของยูทู้บเพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*

 

Would You Rather & Finish The Sentence

เริ่มจากเกมแรก ให้เลือกระหว่าง 2 ตัวเลือกที่ทำใจลำบากเหลือเกิน

  • ถ้าต้องเลือก อยากให้ชีวิตมีปุ่ม Pause หรือปุ่ม Rewind?
  • ถ้าต้องเลือก อยากเป็นนักฟุตบอลที่เก่งที่สุดในโลกเดี๋ยวนี้ หรืออยากเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเดี๋ยวนี้?
  • ถ้าต้องเลือก อยากเป็นอัจฉริยะผู้ขมขื่น หรืออยากเป็นคนโง่เง่าที่มีความสุข?
  • ถ้าต้องเลือก อยากใช้ชีวิตกับผู้เป็นรักแท้ แต่เพื่อนฝูงครอบครัวเกลียดเธอ (หรือเขา) หรือยอมที่จะเป็นโสด แต่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับเพื่อนฝูงครอบครัว?เกมถัดมา เติมคำในช่องว่างให้ประโยคสมบูรณ์ในแบบของตัวเอง
  • ผมว่าสิ่งที่ผมมีไม่เพียงพอคือ _____
  • เมื่อมีคนมาร้องไห้ต้อหน้า ผมจะ _____
  • สิ่งที่ผมอยากให้ผู้คนเลือกทำเสียที คือ _____
  • ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเสียเวลากับมันมากเกินไปคือ _____
  • ปีนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมไม่น่าจะได้ทำ คือ _____

และนี่คือส่วนหนึ่งของการตอบคำถามจาก 2 เกมนี้

 

Have I Ever

โบ สาวิตรี เปลี่ยนมาเป็นคนทายว่า ไอติม พริษฐ์ เคยทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่

  • ไอติม เคยบาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอลจนต้องถูกหามเข้าโรงพยาบาลหรือไม่?
  • ไอติม เคยต้องทำอะไรน่าอับอายในที่สาธารณะเพราะแพ้พนันเพื่อนหรือไม่?
  • ไอติม เคยถูกลงโทษเพราะตั้งใจแหกกฎโรงเรียนหรือไม่?
  • คนอย่างไอติม พริษฐ์ เคยขี้เกียจถึงขนาดนอนกลิ้งไปมาทั้งวันบนเตียงจนไม่ทำอะไรทั้งวันหรือไม่?
  • แล้วไอติม เคยร้องและเต้นบนเวทีมาก่อนหรือไม่?

 


สำหรับคนที่ชอบฟังพอดแคสต์บนยูทูบ ฟังฉบับเต็มของเอพิโสดนี้ได้ที่นี่ 

 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer สลัก แก้วเชื้อ

Music Westonemusic

The post ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ กับครั้งหนึ่งที่ตาแทบบอดเพราะฟุตบอล และแทบทุกวันกับชีวิตเร่งรีบบนเบาะมอเตอร์ไซค์วิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เล่าเรื่องชีวิตนักเรียน Eton และ Oxford ในอังกฤษ ด้วย สำเนียงบริติช https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk38/ Wed, 30 May 2018 12:09:38 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=94158

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เราเห็นหน้าหนุ่มวัย 25 ผู้นี้ในแ […]

The post ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เล่าเรื่องชีวิตนักเรียน Eton และ Oxford ในอังกฤษ ด้วย สำเนียงบริติช appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เราเห็นหน้าหนุ่มวัย 25 ผู้นี้ในแทบทุกสื่อในช่วงที่ผ่านมา จากข่าวการสมัครเป็นทหารโดยไม่ลุ้นใบดำใบแดง เส้นทางของการเข้าสู่การเมืองของเขาชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จากทุกการสัมภาษณ์ที่เขาไปออก

 

รายการ We Need To Talk พอดแคสต์ ชวนไอติมมาพูดคุยภาษาอังกฤษ ใครชอบฟังสำเนียงบริติชน่าจะถูกใจเป็นพิเศษ

 

*กด CC บนเพลเยอร์ของยูทู้บเพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ*

 

ทุกครั้งที่มีคนเรียกชื่อไอติม พริษฐ์ จะต้องมีคำว่า ‘หลานคุณอภิสิทธิ์’ ตามมาแทบจะทุกครั้ง เจ้าตัวคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ 

 

 

 

Eton College ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดของโลก และลือกันว่าสอบเข้ายากที่สุดด้วย จริงหรือไม่

 

หนึ่งในหน้าที่สำคัญของประธาน Oxford Union คือต้องเป็นผู้สัมภาษณ์แขกรับเชิญของมหาวิทยาลัยและทางชมรม

ซึ่งประกอบด้วยคนดังระดับโลกจากหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นอดีตประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ฮามิด การ์ไซ, มาลาลา ยูซาฟไซ #nobelprizewinner , นักมวยปล้ำคนดัง จอห์น ซีน่า #WWE หรือแม้แต่บอยแบนด์เกาหลีระดับโลก #SUPERJUNIOR ซึ่งไอติมมีเรื่องขำๆ มาเล่าให้ฟัง (สามารถกด CC เพื่ออ่านซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษได้)

 

 


สำหรับคนที่ชอบฟังพอดแคสต์บนยูทูบ ฟังฉบับเต็มของเอพิโสดนี้ได้ที่นี่

 

 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 


 

Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Photographer สลัก แก้วเชื้อ

Music Westonemusic

The post ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ เล่าเรื่องชีวิตนักเรียน Eton และ Oxford ในอังกฤษ ด้วย สำเนียงบริติช appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุณใหม่ เจนเซน “ความยากของการเล่าประวัติศาสตร์คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว” https://thestandard.co/podcast/weneedtotalk37/ Tue, 22 May 2018 17:01:53 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=87414

คุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซน เป็นแขกผู้มีเกียรติที่พวกเราท […]

The post คุณใหม่ เจนเซน “ความยากของการเล่าประวัติศาสตร์คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว” appeared first on THE STANDARD.

]]>

คุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซน เป็นแขกผู้มีเกียรติที่พวกเราทีมงาน THE STANDARD และ THE STANDARD Podcast ปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ อีกทั้งยังมีโอกาสได้ร่วมงานในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการดีๆ ที่เธอกำลังดูแลและผลักดัน นั่นคือโครงการวังหน้านั่นเอง โดยปัจจุบันเธอทำงานในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ทำงานช่วยราชการที่สำนักสถาปัตยกรรม

 

คุณใหม่ นั้นนับว่าเป็นแขกรับเชิญในฝันของรายการ We Need To Talk ก็ว่าได้ กล่าวคือเป็นผู้มีความชำนาญในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ และยังเป็นบุคคลที่ประชาชนให้ความสนใจ แต่กระนั้นที่ผ่านมาเราก็ได้รับรู้เรื่องราวของเธอไม่มากนัก เนื่องจากคุณใหม่ไม่ค่อยออกสื่อ ครั้งนี้เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ คุณใหม่ กรุณาตอบรับคำเชื้อเชิญและมานั่งพูดคุยในรายการอย่างเป็นกันเอง

 

อีกเรื่องที่ทำให้เราตื่นเต้นยินดีคือการที่ได้รู้ว่า คุณใหม่ เป็นแฟนตัวยงของการฟังพอดแคสต์ด้วย

 


 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

02:46

ชีวิตของเด็กหญิงผู้เติบโตใกล้ทะเลในซานดิเอโก

ที่จริงใหม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนนิวยอร์กมากกว่าเป็นคนซานดิเอโก เพราะอยู่ที่นั่นมาตลอดช่วงวัย 20 ไม่แน่ใจว่าความจำสั้นหรือความจำไม่ค่อยดี (ยิ้มขำตัวเอง) แต่ภาพของชีวิตสมัยอยู่ซานดิเอโกไม่แจ่มชัดเท่าภาพของชีวิตในนิวยอร์ก สิ่งที่พอจะจำได้คือห้วงเวลาเล็กๆ น้อยๆ เช่น ด้วยความที่บ้านอยู่ใกล้ทะเล ภาพหนึ่งที่จำได้คือตอนไปใช้เวลาที่ชายหาดแล้วนึกได้ว่าลืมของสักอย่างเลยวิ่งกลับไปเอาที่บ้าน คือมันใกล้นิดเดียว ไปกลับสัก 20 นาทีเท่านั้น

 

อีกภาพที่จำได้คือตอนเดินไปตามทางรถไฟบนหน้าผาที่มองออกไปเห็นทะเล แล้วก็ตอนใหม่กับเพื่อนสนิทวิ่งเล่นกันบนชายหาดแล้วกระโดดลงน้ำ นี่คือวันธรรมดาด้วยนะคะ ไม่ใช่วันหยุด อาจจะเป็นวันพฤหัสบดีตอนบ่าย 3 โมง อะไรอย่างนี้

 

ในวัยเยาว์ เราไม่รู้สึกหรอกว่าวันเวลาอันแสนธรรมดาเหล่านั้นมันพิเศษอะไร ตอนเด็กๆ เราอยากได้ความตื่นเต้น ความซับซ้อนของชีวิต เราอยากเดินทาง อยากพบปะผู้คนใหม่ๆ อยากประสบความสำเร็จ แต่มาถึงตอนนี้เมื่อมองย้อนกลับไป ใหม่รู้สึกว่านั่นเป็นช่วงเวลาที่ดีงามมากเลยนะ ความเรียบง่ายของการได้เอกเขนกอยู่บนหาดทราย และไม่ต้องกังวลว่าจะทำงานส่งทันเดดไลน์หรือเปล่า ไม่ต้องวิตกว่าการจราจรติดขัดจะทำให้ไปถึงที่หมายทันเวลาไหม ช่วงเวลาริมทะเลตอนนั้นมันช่างสบายใจ ผ่อนคลาย เรียบง่ายอย่างแท้จริง

 

04:57

ก้าวข้ามความกลัวจนสามารถสนุกกับสิ่งที่กลัว

คุณพ่อของใหม่เป็นสุดยอด surfer เป็นนักเล่นกระดานโต้คลื่นตัวยง เป็นคุณพ่อห้าวๆ แกร่งๆ ที่เชื่อว่าหากอยากเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างแข็งแรงต้องกล้าที่จะโยนลูกลงน้ำ หนึ่งในความทรงจำที่แจ่มชัดของใหม่คือคำพูดว่า “You can’t be scared of everything your whole life.” พ่อบอกว่าจะมัวกลัวทุกอย่างไปทั้งชีวิตไม่ได้หรอกนะ แล้วพ่อก็จะจับใหม่เล่นเซิร์ฟบอร์ด แม้ว่าเราจะไม่อยากเล่นก็ตาม

 

จนมาถึงทุกวันนี้ ใหม่ทำมาหมดแล้ว สกายไดฟ์ แฮงไกลเดอร์ หรือวิ่งฮาล์ฟมาราธอน แต่ละอย่างก็กลัวจะแย่ แต่ก็ยังทำ และใหม่เชื่อว่ามันเป็นเพราะประสบการณ์สมัยยังเด็กที่โดนบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำนี่แหละ surfing มันน่ากลัวนะคะ หลายครั้งเราจะโดนคลื่นดูดให้จมลงไป แต่สิ่งที่เราควรทำคือมองขึ้นไปบนผิวน้ำ นิ่ง รอ และสงบสติอารมณ์เอาไว้ เพราะสิ่งที่เลวร้ายและอันตรายที่สุดคือการควบคุมสติไม่อยู่

 

ครั้งหนึ่งที่ฮาวาย ตอนนั้นไม่เด็กแล้วด้วยนะคะ อายุ 15 แล้ว ใหม่จำได้ว่าเห็นคลื่นยักษ์กำลังใกล้เข้ามาและเรากลัวมาก ตอนนั้นความคิดที่อยู่ในหัวคือ “This is not happening. I like my life! I don’t want my life to end now!” ไม่นะ เรารักชีวิต เรายังไม่อยากตาย (หัวเราะ) ใหม่ก็เลยพยายามจะว่ายหนี แต่ปรากฏว่าพ่อดึงเอาไว้แล้วบอกว่า “Don’t be a wimp!” อย่าขี้ขลาดไปหน่อยเลย ลุยสิลูก

นั่นคือตอนที่ใหม่เริ่มเรียนรู้ว่าความกลัวนี่แหละตัวร้าย หลายครั้งที่พัง หลายครั้งที่ชีวิตเราไม่ก้าวไปไหนก็เพราะความกลัวนี่เอง ไม่ใช่อะไรอย่างอื่นเลย

ใหม่ดีใจที่ได้เอาชนะความกลัวของตัวเองในวันนั้น อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าผ่านมันมาแล้ว (ยิ้ม) ชอบนะ สนุกดี สนุกทั้งที่กลัวนี่แหละ

 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

07:41

เรื่องที่จะทำให้โดนดุ

ใหม่ซนนะ ไม่ใช่เด็กเรียบร้อย เดี๋ยวนี้ก็ยังแอบร้าย (หัวเราะ) ไม่หรอกค่ะ เราเป็นเด็กดีนั่นแหละ แต่จะเสียตรงที่ว่าพูดอะไรตรงเกินไป ไม่ทันได้กลั่นกรองก็หลุดออกมาจากปากเสียแล้ว เช่น วันก่อนมีคนเข้ามาทักว่า จำได้ไหมคะ เราเพิ่งเจอกันไม่นานนี้ แทนที่จะบอกเขาว่า อ๋อ ค่ะ จำได้ค่ะ ใหม่บอก จำไม่ได้ค่ะ ขอโทษนะคะ (หัวเราะ) ใหม่เป็นคนคิดอย่างไรพูดอย่างนั้น ไม่เสแสร้ง ตั้งแต่เด็กแล้ว จำได้ว่าที่บ้านจะพูดกันว่าเราน่าจะจดทุกอย่างที่ใหม่เคยพูดเอาไว้รวมเล่มนะ (หัวเราะ) แล้วใหม่ก็จะชอบพูดเล่นกับใครไปเรื่อย แซวเขาไปเรื่อยน่ะค่ะ จนมาถึงวันนี้โตขึ้นแล้ว รู้จักสำรวม รู้ว่าอะไรควรไม่ควรมากขึ้น ใหม่ก็ยังมีปัญหาเพราะนิสัยแบบนี้อยู่ในบางที (หัวเราะ)

 

เพราะฉะนั้นเรื่องที่โดนคุณพ่อคุณแม่อบรมมาตลอดคือต้องรู้จักระวังคำพูดของตัวเอง บางอย่างที่เราพูดออกไปสนุกๆ แล้วลืมไปภายใน 5 นาที คนอื่นอาจเก็บไปคิดหรือกังวลได้เป็นวันๆ และนั่นอาจมีผลไปถึงความรู้สึกของเขาที่มีต่อตนเองได้ ทุกวันนี้ใหม่ดีขึ้นมากแล้วค่ะ (ยิ้ม) แต่ยังชอบแซวคนอยู่นะ อันนี้ไม่หายเสียที

 

จะว่าไปนิสัยส่วนใหญ่ของใหม่แทบไม่เปลี่ยนเลยนะ เด็กๆ เป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น แต่บางอย่างก็เปลี่ยน คนเราต้องมีวิวัฒนาการกันบ้าง (หัวเราะ) ถ้าวันนี้ไปเจอเพื่อนใหม่สมัยเรียน เขาคงเล่าว่าสมัยก่อนใหม่เป็นคนขี้เล่น ไม่ค่อยจะมานั่งเครียดกับอะไร จะเรื่องไหนก็มองด้วยอารมณ์ขันได้หมด ทุกวันนี้เราก็ยังเป็นอย่างนั้น ซึ่งหลายครั้งน่าจะทำคนสับสน เพราะเขาจะชอบคิดว่าเราจริงจัง ทั้งที่เรากำลังตลกหน้าตาย (ยิ้ม) ใหม่เป็นคนตลก ตอนเรียนการละครจะได้รับบทตลกตลอดเลย แต่เพื่อนใหม่จะรู้ว่าเราเป็นอย่างนี้เฉพาะกับคนที่เราสนิทด้วยเท่านั้น กับคนที่ไม่คุ้นเคยเราจะขี้อายมากกว่า แม้ว่าทุกวันนี้จะเขินน้อยลงมากแล้ว เพราะต้องอยู่ต่อหน้าผู้คนบ่อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่ใหม่ก็จะเป็นคนเงียบๆ หรือค่อนข้างสงวนท่าทีอยู่ดี

 

11:11

เพื่อนที่หัวเราะในเรื่องเดียวกันได้

เพื่อนสนิทที่เรียนมหาวิทยาลัยที่ปารีสและนิวยอร์กมาด้วยกัน ทุกวันนี้ก็ยังสนิทกันอยู่ค่ะ เราสองคนสามารถพูดคุยกันได้ตรงๆ อย่างเปิดอกในทุกเรื่อง ใหม่ว่ามิตรภาพที่แท้จริงควรเป็นอย่างนี้ ที่สนิทกันแต่แรกน่าจะเป็นเพราะเรานิสัยคล้ายกันคือตลก บ๊องๆ และไม่เหมือนชาวบ้าน เราเคยเรียกตัวเองว่า The Goof Troupe เวลาถูกใจเพื่อนคนไหนเราจะบอกเขาว่า “ขอต้อนรับเข้าสู่ Goof Troupe นะ” แล้วเคยมีคนบอกว่า “ไม่ดีกว่า” อันนี้ใหม่จะเคืองนะคะ (ยิ้ม) แก๊งเราไม่ดีตรงไหน ทำไมไม่อยากเข้าร่วม

 

อารมณ์ขันที่สอดคล้องกันนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความเป็นเพื่อนนะ เราสองคนชอบ Daddy Jokes เหมือนกัน พวกมุกเล่นคำ มุกที่เหมือนจะไม่ขำ-แต่ขำ หรือมุกที่ขำตรงที่มันไม่ขำนี่แหละ (ยิ้มภูมิใจ) ใหม่มีเก็บไว้เป็นคอลเล็กชันเลย เวลาไปออกงานที่ไหนก็เอาไว้ปล่อยมุกสร้างความประทับใจ ตัวอย่างเช่น “What do you call a wave that a tiny surfer rides?” เฉลย “A microwave” อันนี้ชอบมาก ใช้ไปสัก 5 ครั้งแล้ว (หัวเราะ) แต่ไม่ใช่ทุกคนจะตลกกับมุกแบบนี้ นึกออกไหมคะ ในขณะที่เพื่อนเราขำแทบตาย บางคนจะมองหน้าเหมือนเราเป็นตัวประหลาด ทั้งที่เราก็คิดว่าเราปกตินะ

 

เพื่อนสนิทที่รู้ใจกันจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่หาง่ายเลย ใหม่ว่าไม่ต่างจากหาแฟน เผลอๆ ยากกว่าด้วยซ้ำ

 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

14:46

เสน่ห์ของอดีตคือการเป็นกุญแจสู่อนาคต

มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้เราเป็นเราอย่างทุกวันนี้ และทำให้โลกในปัจจุบันเป็นอย่างทุกวันนี้ ใหม่จึงสนใจประวัติศาสตร์และชอบศึกษาอะไรก็ตามที่เป็นรากเหง้าของทุกสิ่ง ความเป็นมาของทุกอย่างมันเริ่มต้นตรงไหน เปลี่ยนแปลงพัฒนามาอย่างไร และส่งอิทธิพลไปถึงอะไรบ้าง อย่างเรื่องของศิลปะและวรรณกรรม มันก็เกิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคนคนหนึ่งนั่นเอง ใหม่ชอบติดตามดูว่าศิลปะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองหรือโลกทั้งใบเปลี่ยน

 

ยกตัวอย่างสมัยอยุธยา พอชาวโปรตุเกสเริ่มเข้ามา อาหารและขนมของเราก็เปลี่ยน ทองหยิบทองหยอดนี่เราได้มาจากโปรตุเกสเลย ที่จริงใหม่เรียนรู้เรื่องนี้จากนิตยสารบางกอกแอร์เวย์สนะ เอ๊ะ นี่ไปโฆษณาให้เขาหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่ใหม่เชื่อจริงๆ ค่ะว่าถ้าเราอยากมองไปข้างหน้าและอยากทำให้โลกนี้ดีขึ้น เราควรต้องมองย้อนกลับไปถึงที่มาของตัวเองอย่างเข้าใจด้วย เพราะกุญแจสำคัญของหลายอย่างก็อยู่ในอดีตและประวัติศาสตร์ของเรานี่เอง

 

16:43

ประสบการณ์ที่ได้จากโลกของแฟชั่น

แฟชั่นคือศิลปะและความสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน ที่จริงตอนไปฝึกงานที่ Yohji Yamamoto กับ Hermès ใหม่กำลังสนใจงานภัณฑารักษ์ (Costume Curator) ที่ The Met (The Metropolitan Museum of Art of New York) และนั่นคือจุดที่ทำให้ใหม่มาลงเอยที่งานอนุรักษ์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม (Heritage Preservation) อย่างทุกวันนี้ เพราะหัวหน้าของใหม่ตอนนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สื่อสารและประชาสัมพันธ์ (Press Officer) ของสถาบันเครื่องแต่งกาย หรือ The Costume Institute ท่านมีประสบการณ์และความรู้เยอะมาก และท่านมักส่งใหม่มาดูงานที่ The Met เสมอ เราเลยสนใจและเริ่มคิดว่าอยากทำเป็นอาชีพ เพราะสิ่งที่เราเรียนมา พูดตรงๆ คือยังมองไม่เห็นว่าสามารถทำเป็นอาชีพได้ในเวลานั้น เลยคิดว่างั้นลองดู อายุเรายังน้อย ที่จริงการลองทำงานเพื่อเก็บประสบการณ์ให้หลากหลายเป็นสิ่งที่ควรทำด้วยซ้ำเพื่อให้รู้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ก่อนที่จะลงหลักปักฐานกับงานที่เราเลือกจริงๆ แล้วอยู่กับมันยาวๆ ตอนนั้นเลยคิดแค่ว่าอยากเข้าไปอยู่ในวงการของงานสร้างสรรค์ ได้พบปะร่วมงานกับคนสายครีเอทีฟมากๆ หน่อย เพราะยังไม่ค่อยอยากเจอกฎเกณฑ์หรือข้อจำกัด เลยเลือกไปฝึกงานในวงการแฟชั่นเพื่อลองทำอะไรใหม่ๆ ลองทำอะไรแตกต่างจากสิ่งที่คุ้นเคยดูก่อน ถ้าชอบก็ดี ถ้าไม่ชอบก็ไม่เป็นไร เรายังกลับมาทำงานในสาขาที่เรียนมาได้

 

งานแฟชั่นอาจดูเหมือนอยู่คนละโลกกับสิ่งที่ใหม่ทำในวันนี้ก็จริง แต่มันก็มีอะไรบางอย่างคล้ายกันอยู่ อย่างงานที่สถาบันเครื่องแต่งกายของ The Met ก็คืองานแฟชั่นดีๆ นี่เอง แต่เพิ่มเรื่องราวความเป็นมาเข้าไปว่าแต่ละยุคสมัยเครื่องแต่งกายพัฒนามาอย่างไร มันสะท้อนอะไรไปถึงความคิดของผู้คนสมัยนั้น และมันเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมขณะนั้นบ้าง เพราะแฟชั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์นั่นเอง

 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

19:21

ชีวิตข้าราชการประจำกรมศิลปากร

งานที่ใหม่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างต่างจากความรับผิดชอบมาตรฐานตามตำแหน่งตัวงานจริงๆ มากทีเดียว โดยปกติแล้วเราจะเน้นการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่สำคัญมาก โดยเฉพาะบ้านเราที่มีปัจจัยเรื่องสภาพอากาศ ความชื้น หรือความเป็นเมืองที่ขยับขยายเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดล้วนมีผลต่อสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เราอยากอนุรักษ์เอาไว้ให้ดำรงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่นอกจากนั้น ใหม่ยังสนใจเป็นพิเศษในเรื่องที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ นั่นคือจะทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่อยู่ในสิ่งเหล่านี้ ใหม่จึงเน้นเป็นพิเศษในเรื่องประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ตัวอาคารเหล่านี้ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้าง แต่มันมีความเชื่อและประเพณีที่อยู่เบื้องหลัง และทั้งหมดนี้ก็เป็นที่มาของโครงการ ‘วังหน้า’ ที่กำลังทำอยู่ในเวลานี้

 

21:43

ความสนใจใคร่รู้นำไปสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ

คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าวังหน้าคืออะไร ใหม่เองเมื่อก่อนก็ไม่รู้ (หัวเราะ) เรารู้ว่าวังหน้าคืออะไร แต่ไม่เคยรู้ถึงรายละเอียดและความสำคัญของมันอย่างแท้จริง แล้วตอนนี้ก็เหมือนใหม่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญไปแล้ว แต่นั่นเป็นเพราะเราสนใจและศึกษาค้นคว้า

 

คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าตรงที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบันนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังหน้ามาก่อน ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ วังหน้ามีที่มาจากแนวคิดเรื่องอุปราชาของอินเดีย และคำว่า ‘วังหน้า’ ก็บอกถึงตำแหน่งหน้าที่และลักษณะที่ตั้งในตัวอยู่แล้ว นั่นคือเป็นวังที่อยู่ด้านหน้าของวังหลวง ดังนั้นวังหน้าก็เป็นเหมือนผู้พิทักษ์พระเจ้าแผ่นดินนั่นเอง เพราะเวลาเกิดศึกสงคราม วังหน้าจะออกรบก่อน เพราะฉะนั้นวังหน้าก็จะประกอบด้วยกำลังทหารที่นำทัพโดยพระญาติ โดยมากเป็นพระอนุชา พระเชษฐา พระปิตุลา หรือพระมาตุลา กล่าวคือผู้อยู่ในฐานะที่สามารถสืบพระราชบัลลังก์

 

แรกเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานคร พระราชอนุชาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังหน้าขึ้น และวังหน้าก็ได้กลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทมากในยุครัตนโกสินทร์

 

ใหม่อยากทำให้ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ เราไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ดำรงอยู่แค่ในตำราหรือพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ทุกวันนี้ผู้คนใช้เครื่องมือใหม่ๆ มากมายในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ และเด็กสมัยนี้ก็ไม่ได้อ่านหนังสือกันตลอดเวลา ประวัติศาสตร์จึงไม่สามารถเข้าถึงทุกคนได้ จุดที่ใหม่ครุ่นคิดกับมันมากที่สุดคือเรื่องของการเข้าถึง ความรู้สึกเชื่อมโยง ไปจนเรื่องของการสืบสาน

 

กรมศิลปากรมีข้อมูล ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญมากมาย เราจะทำอย่างไรจึงจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ออกไปสู่ผู้คนได้ในแบบที่ทุกคนจะเข้าใจ โดยอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือมากมายที่มีให้ใช้ในสมัยนี้ ก็มาคิดว่าอยากใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ อย่างพอดแคสต์นี่ก็ใช่ ใหม่เองทุกวันนี้ก็ฟังพอดแคสต์มากกว่าดูทีวี แพลตฟอร์มใหม่ๆ มีบทบาทและอิทธิพลกับผู้คนมาก เช่น มีคนเยอะมากที่เรียนทำอาหารบนยูทูบ

 

ความยากของโจทย์นี้คือทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นแล้ว

 

เป้าหมายของใหม่คืออยากทำโครงการนี้ให้สำเร็จในแบบที่เราจะรู้สึกภูมิใจกับมัน ใหม่อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในแบบที่ใหม่ได้เห็นและสัมผัส นั่นคือมันเป็นเรื่องสนุก ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสนุกมากเลยนะ ใหม่อยากให้คนเริ่มเห็นความน่าสนใจของประวัติศาสตร์และเริ่มพูดคุยเรื่องนี้กันมากขึ้น

 

ใหม่ตั้งหน้าตั้งตารอผลตอบรับจากโปรเจกต์นี้นะคะ เพราะเสียงสะท้อนของประชาชนจะช่วยให้รู้ว่าเราต้องพาโครงการนี้ไปทางไหน และใหม่ควรจะทำอะไรต่อไปดี

 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

29:43

สิ่งที่ไม่เคยหยุดทำ แม้จะไม่อยากทำเพียงใดก็ตาม

ใหม่น่าจะแอ็กทีฟกับเรื่องกีฬามาตั้งแต่เด็กกว่านี้ ไหนๆ ก็เป็นชาวซานดิเอโกทั้งที แต่ไม่เลย กว่าจะมาเล่นกีฬาจริงจังก็ช่วงอายุ 20 แล้ว ที่เริ่มไม่ใช่เพราะอยากลดน้ำหนักหรืออะไรอย่างนั้น แต่เพราะรู้สึกว่าสุขภาพไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จึงอยากออกกำลังกายเพื่อให้รู้สึกดี เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง คิดได้ดังนั้นใหม่ก็ไปลงสมัครไตรกีฬาเลยค่ะ (หัวเราะ) นี่แหละปัญหาของใหม่ ไม่คิดอะไรเยอะ ถ้าอยากทำก็ทำทันที ที่จริงตอนนั้นลงสมัครไปสองอย่าง อีกอย่างหนึ่งคือวิ่ง 15K ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยวิ่งมากที่สุดคือน้อยกว่า 5 กิโลเมตรด้วยซ้ำ แต่ด้วยความเป็นคนทะเยอทะยาน ใหม่คิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้นถ้าเรามุ่งมั่นมากพอ แล้วในที่สุดก็ผ่านมันมาได้ และใหม่ชอบความรู้สึกหลังจากนั้นมากๆ ไม่ใช่เพราะผลลัพธ์ของมัน แต่ความพยายามระหว่างทางต่างหาก

ในการจะไปให้ถึงเป้าหมาย เราต้องฝ่าฟันหลายด่านเพื่อเอาชนะตัวเอง กีฬาสอนเราว่าไม่มีเป้าหมายไหนไปถึงง่ายๆ และถ้าวันนี้เราเลิกล้ม ในวันข้างหน้าเราก็จะกลายเป็นคนที่เลิกล้มเรื่อยไป

ใหม่ว่าความคิดแบบนี้เองที่ทำให้ใหม่แข่งไตรกีฬาจนจบได้ เพราะใหม่ไม่ยอมเลิกล้ม และพอเราผ่านมันมาได้ก็จะเริ่มติดใจ ตอนนี้วิ่งฮาล์ฟมาราธอนมาประมาณ 5 ครั้งแล้วมังคะ ใหม่ไม่ใช่นักวิ่งด้วยนะ เราว่ายน้ำมากกว่าวิ่งเยอะเลย และเคยวิ่งช้ามาก แต่ตอนนี้เร็วขึ้นแล้ว นี่ไง กีฬามันดีตรงที่ทำให้เราได้พยายาม และพอพยายามแล้วสำเร็จ เราจะรู้สึกดีกับตัวเอง นอกจากนั้นยังทำให้เราได้เจอเพื่อนนักกีฬาดีๆ มากมายอีกด้วย

 

อีกอย่างคือตั้งแต่มาเล่นกีฬาแล้วนิสัยเปลี่ยน จากที่เคยออกไปเที่ยวดึกดื่นเหมือนสมัยยังอายุ 20 กว่า มาตอนนี้เข้านอน 4 หรือ 5 ทุ่ม ตื่นตี 5 ทุกเช้าแล้วว่ายน้ำ ไม่ก็วิ่ง ช่วงวันธรรมดาจะวิ่งราว 5 กิโลเมตรสัก 2-3 ครั้ง แต่สุดสัปดาห์จะวิ่งให้ได้อย่างน้อย 10 ไปจนถึง 21 กิโลเมตร ทำอย่างนี้ประจำ ไม่เคยหยุด ต่อให้ไม่อยากทำแค่ไหนก็ไม่หยุด ใหม่ชอบกีฬาตรงที่มันทำให้เรามีไลฟ์สไตล์ที่ดี ได้เจอเพื่อนดีๆ และได้มุมมองที่ดีเกี่ยวกับชีวิต

 

33:01

ความบันเทิงบนท้องถนนในย่านเมืองเก่า

ใหม่ชอบเดินทาง เมื่อไรมีเวลาต้องออกเดินทาง โดยเฉพาะในบ้านเรา ตอนอยู่เมืองนอกได้กลับมาทุกปี ปีละ 1-2 เดือนก็จริง แต่ใหม่ยังอยากรู้จักเมืองไทยมากกว่านี้ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ถ้ามีโอกาสใหม่จะชวนเพื่อนไปเดินชมกรุงเก่า หรือ Historical Walk เดี๋ยวนี้เขามีทัวร์ชุมชนตลาดน้อยใช่ไหม ใหม่นี่เดินมาก่อนเขาฮิตกันนะคะ (หัวเราะ) ครั้งหนึ่งไปเดินแถวสวนสมเด็จย่า พบบ้านจีนที่อยู่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 สวยงามมากจนต้องไปเคาะประตูเพื่อขอเข้าไปชม แล้วเราก็นั่งคุยกัน นี่คือวิธีเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนอย่างแท้จริง และนอกจากนั้นโดยส่วนตัวยังได้เรียนรู้ว่าสมาชิกคนหนึ่งของบ้าน ซึ่งตอนนี้เสียไปแล้ว เคยเป็นพี่เลี้ยงใหม่ตอนเด็กๆ เหมือนโชคชะตาพาให้ไปเคาะประตูบ้านเขา เราจึงได้พบกันอีกครั้งในเวลาหลายปีต่อมา

 

วัดก็ชอบไปดูนะคะ ทางฝั่งธนฯ มีวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาที่น่าสนใจเยอะมาก ประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาอยู่บนจิตรกรรมฝาผนังวัดนี่แหละ นอกจากนั้นความเป็นข้าราชการกรมศิลปากรยังเปิดโอกาสให้เราได้เข้าถึงสถานที่หรือสิ่งต่างๆ ที่โดยปกติแล้วจะเข้าถึงยาก นี่นับเป็นความโชคดี ใหม่ได้ข้อความที่ประทับใจบนอินสตาแกรมบอกว่า เป็นเพราะเรา เขาถึงได้ชมอะไรที่ปกติคงไม่มีทางได้เห็นกันง่ายๆ พวกนี้แหละค่ะคือความบันเทิงของใหม่ กรุงเทพฯ สนุกกว่าที่คิดนะคะ ไม่ต้องไปไหนไกลเลย มีอะไรให้เราค้นหาอีกมากมายที่นี่

 

36:12

ความบันเทิงบนหน้าจอและหน้ากระดาษ

เราไม่ค่อยได้ติดตามเทรนด์อะไรเป็นพิเศษ ยกเว้นเทรนด์เรื่องอาหาร (ยิ้ม) พอกลับมาอยู่เมืองไทยก็ไม่ค่อยได้ดูทีวี จึงคิดว่าเราน่าจะรู้เรื่องราวในกระแสน้อยมาก แต่ก็ดูบ้าง เช่น ซีรีส์ Game of Thrones นี่ใหม่ชอบมาก ติดตามเหนียวแน่น ตามไปดูกระทั่งวิดีโอบนยูทูบที่เขาวิเคราะห์ตอนล่าสุด หรือทำนายว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในซีซันต่อไป ฉบับหนังสือก็ได้อ่านบ้าง ที่ติดตามขนาดนี้น่าจะเป็นมาตั้งแต่สมัยได้เรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การเมือง (Political Strategy)

 

ส่วนเรื่องหนังสือ ส่วนใหญ่เวลาที่ได้อ่านจะเป็นก่อนนอน ซึ่งก็เหนื่อยและง่วง จึงอ่านพวกเรื่องสั้นเสียมาก เพราะไม่ต้องทุ่มเทเวลาให้ยาวเกินไป แป๊บเดียวก็จบ ใหม่ชอบ The Shell Collector ของแอนโทนี โดเออร์ นักเขียนเจ้าของนิยายรางวัลพูลิตเซอร์ชื่อ All The Light We Cannot See เป็นนักเขียนที่ตัวหนังสือสวยงามมากจริงๆ

 

อีกเล่มที่เพิ่งได้อ่านเมื่อไม่นานมานี้เองคือ East of Eden ของจอห์น สไตน์เบค ที่พูดถึงความดีและความเลวในตัวมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันและขัดแย้งกันอยู่ภายใน และเราไม่ผิดอะไรที่มีความเลวร้ายแบบนั้นอยู่ในตัว มันเป็นธรรมชาติ

 

38:48

หากย้อนเวลากลับไปได้ อยากเลือกกลับไปมีชีวิตอยู่ในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยา

เรามีข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตในสมัยสุโขทัยน้อยมาก ถ้าให้เลือก ใหม่คงเลือกเหมือนหลายคน นั่นคือสมัยอยุธยา โดยเฉพาะราชวงศ์ปราสาททอง เพราะนั่นคือยุคที่เปิดการค้าขายกับต่างประเทศมากมาย เป็นสมัยที่รุ่งเรืองมาก บันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อยุธยาสมัยนั้นบอกว่ามองไปทางไหนก็เห็นแต่ทอง เลยอยากลองไปเห็นกับตาตัวเองสักที

 

41:51

เป็นคุณใหม่ยากไหม

ไม่นะคะ ใหม่ว่าชีวิตของเราจะยากหรือไม่มันก็อยู่ที่วิธีการมองโลกของเรานั่นแหละ ยกตัวอย่างใหม่เองที่ใช้ชีวิตในอเมริกามา 30 ปี พอกลับมาเมืองไทย แน่นอนว่าเราต้องปรับตัว เพราะทุกอย่างต่างไปจากที่เราคุ้นเคยมาก โดยเฉพาะเมื่อความสนใจของทุกคนพุ่งตรงมาที่คนขี้อายอย่างเรา ทุกวันนี้บางทีก็รู้สึกฝืนเวลาต้องออกไปพบปะผู้คนมากมาย ทั้งที่ข้างในอาจรู้สึกตึงเครียด แต่เรายังต้องยิ้มอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้ามันจะยากก็ยากตรงที่ต้องปรับตัว เราต้องคอยบอกตัวเองว่าไม่แปลกหรอกที่จะประหม่าหรือเคอะเขินบ้าง แต่ลองพยายามดูแล้วกัน ลองผลักตัวเองออกจากความเคยชินโดยการพูดคุยกับผู้คนมากขึ้น หรือทำในสิ่งที่ไม่ถนัด

 

มันเป็นความยากที่ไม่แย่จนเกินไปนัก ความเปลี่ยนแปลงก็น่าตื่นเต้นดี ความท้าทายก็น่าสนุกดี เพราะฉะนั้นคำตอบต่อคำถาม “เป็นใหม่ยากไหม” ก็คือ ยากเหมือนกัน แต่มันก็ดี

 

แต่ที่สุดแล้วใหม่ก็ยังเป็นตัวของตัวเอง และการเป็นตัวของตัวเองนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากสำหรับเราเลย

 

คุณใหม่ เจนเซน ในรายการ We Need To Talk ที่ The Standard Podcast

 

ติดตาม We Need To Talk Podcast ได้ทางหน้าเว็บไซต์ที่ TheStandard.Co/Podcast หรือถ้าคุณฟังพอดแคสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วย iOS หรือ Android ไม่ว่าจะใช้แอปฯ อะไรฟังอยู่ ใช้แอปฯ นั้นๆ เสิร์ชได้เลยว่า we need to talk หรือเสิร์ช THE STANDARD ก่อน แล้วดูลิสต์รายการพอดแคสต์ทั้งหมดในเครือ เมื่อเจอแล้วก็ Follow หรือ Subscribe เอาไว้ได้เลย

 



Credits

 

The Host สาวิตรี สุทธิชานนท์

The Guest คุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซน

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post คุณใหม่ เจนเซน “ความยากของการเล่าประวัติศาสตร์คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว” appeared first on THE STANDARD.

]]>