THE MONEY GROWTH – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 28 Feb 2021 14:44:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 การลงทุน ความหวังของคนรุ่นใหม่ Feat. NamFinance https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth24/ Sun, 28 Feb 2021 14:24:44 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=459247 การลงทุน ความหวังของคนรุ่นใหม่ Feat. NamFinance

คนรุ่นใหม่วัย 20 กำลังสนใจและลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นจริง […]

The post การลงทุน ความหวังของคนรุ่นใหม่ Feat. NamFinance appeared first on THE STANDARD.

]]>
การลงทุน ความหวังของคนรุ่นใหม่ Feat. NamFinance

คนรุ่นใหม่วัย 20 กำลังสนใจและลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นจริงหรือ


โค้ชหนุ่ม และโอมศิริ คุยกับ น้ำ-ธนธร กาญจนิศากร เจ้าของเพจ NamFinance ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะรอบด้าน ทั้งพิธีกร คนทำคอนเทนต์ เป็นนักวางแผนการเงินที่ให้ความรู้เรื่องการเงินการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

 

รู้จักตัวตน แนวคิด มุมมอง ผ่านเส้นทางการทำงาน รวมถึงวิธีคิดเรื่องเงินและการลงทุนใน The Money Growth เอพิโสดส่งท้ายซีซัน 2 นี้

 


 

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาโซลูชันที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน ไปที่เมนูเปิดบัญชี คลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ เลยที่ www.setinvestnow.com/openacc

 


 

ก้าวแรกสู่วงการการเงินการลงทุน

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่มีพ่อแม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านการเงินอยู่แล้ว จากนั้นก็ได้มีโอกาสไปเป็นนักเรียนทุนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยที่ทุนนั้นเป็นทุนแบบให้เปล่า ไม่ต้องใช้คืน ช่วงระหว่างเรียนเราก็ทำงานหลายอย่าง เช่น เป็นพิธีกร ทำงานเบื้องหลังต่างๆ ในช่วงที่เรียนเอกการเงินการลงทุนมีความรู้สึกว่าเรื่องการเงินมันฟังแล้วดูเครียดสำหรับทั้งตัวเองและคนทั่วไป จึงมีไอเดียอยากที่จะทำรายการเกี่ยวกับการเงินที่มันดูน่าอ่านและเข้าใจง่าย หลังจากที่เรียนจบมาก็ได้เป็นที่ปรึกษาการเงิน และมีพี่เฟิร์น ศิรัถยา เป็นไอดอลในเรื่องการเงินการลงทุนของตนเอง ตอนนั้นตัดสินใจทักไปหาพี่เฟิร์นในปี 2015 พอผ่านมา 2 ปี ก็ได้มีโอกาสไปร่วมงานกับพี่เฟิร์นตามที่ฝันจริงๆ ด้วยการไปเป็นพิธีกรรายการการเงินของ Wealth Me Up จุดนั้นทำให้เราเชื่อเสมอว่า แม้ว่าเราจะโฟกัสอะไรที่มันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ดูเหมือนยังห่างไกลเหลือเกิน แต่ถ้าเรายังโฟกัสมันอยู่เสมอ วันหนึ่งมันจะเป็นจริงได้แน่นอน ตั้งแต่นั้นมาเราก็ได้รับโอกาสอีกหลายอย่างตามมา และเริ่มเข้ามาทำงานด้านสื่อมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจทำเพจ NamFinance ขึ้นมา และวาดรูปตัวการ์ตูนน้องเหรียญมาประกอบการเล่าเรื่องการเงินให้ดูน่าสนุกและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

แม้ว่าเราจะโฟกัสอะไรที่มันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ดูเหมือนยังห่างไกลเหลือเกิน แต่ถ้าเรายังโฟกัสมันอยู่เสมอ วันหนึ่งมันจะเป็นจริงได้แน่นอน 

 

เรื่องการเงินของคนรุ่นเก่า vs. คนรุ่นใหม่

ต้องบอกเลยว่าคนยุคนี้โชคดีมากที่มีโอกาสเข้าถึงสื่อและความรู้ต่างๆ จากหลายแหล่ง ดังนั้นความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเงินจึงเปลี่ยนไปแน่นอน คนรุ่นเก่าอยากจะรู้เรื่องการเงินการลงทุนส่วนใหญ่ก็ไปตลาดหลักทรัพย์กัน แต่คนรุ่นใหม่อยากรู้เรื่องอะไรก็หาได้สะดวกและง่ายมากๆ นั่นทำให้เขาเริ่มอยากรู้มากขึ้นว่าการเก็บเงินแต่ละแบบเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

 

อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าเราควรนำข้อมูลที่ได้มาคิดวิเคราะห์ต่อด้วยว่ามันเกิดประโยชน์กับตัวเราอย่างไรบ้าง และต้องระมัดระวังในการลงทุนตามคนอื่น เพราะวิธีการลงทุนของคนอื่นแม้มันอาจจะทำให้คนๆ นั้นประสบความสำเร็จในเรื่องการเงินการลงทุน แต่มันอาจจะไม่ได้เหมาะกับเราก็ได้ ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างที่แตกต่างกัน

 

คำถามเกี่ยวกับเรื่องการเงินที่คนถามบ่อยที่สุด

คำถามแรกที่ไม่อยากให้มาถามเลยก็คือจัดการหนี้สินตัวเองอย่างไรดี สิ่งที่น่ากลัวสำหรับยุคนี้คือคนใช้บัตรเครดิตกันค่อนข้างเยอะ และบางคนมองว่าการเป็นหนี้เป็นเรื่องปกติ ที่บอกแบบนี้ไม่ใช่ว่าหนี้เป็นอะไรที่จะทำให้คนเราล้มเหลวในชีวิตขนาดนั้น เพราะทุกอย่างมีทางออกเสมอ เพียงแต่เราต้องรู้จักตัวเองและค่อยๆ หาทางแก้ไขจนสำเร็จ อีกคำถามหนึ่งที่คนวัยเริ่มทำงานมาถามเยอะคือลงทุนอะไรดี ต้องบอกตรงๆ ว่าคำถามนี้เราไม่สามารถตอบได้ทันที เพราะมันแคบเกินไป จำเป็นต้องถามกลับไปว่าตอนนี้เป้าหมายด้านการเงินของเขามีอะไรบ้าง แล้วมีการวางแผนเกษียณไว้แล้วหรือยัง เพราะบางทีเราไปคิดกันแต่เรื่องการลงทุนให้เงินเติบโตเร็วๆ แต่ดันลืมคิดไปว่าเราจะให้เงินเติบโตเร็วๆ ไปเพื่ออะไร รวมถึงสถานการณ์ในชีวิตของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องนี้ต้องพูดคุยกันก่อนระดับหนึ่ง จึงจะแนะนำได้ว่าควรเลือกวิธีไหน ที่สำคัญเราต้องดูด้วยว่ากระแสรายรับรายจ่ายของเขาเป็นอย่างไร มีเงินเก็บสภาพคล่องหรือเปล่า ยิ่งในช่วงโควิด-19 เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าเงินสดสำคัญมาก และเมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายการลงทุนของเขาคืออะไร เราก็จะแบ่งเป้าหมายเป็นระยะสั้นกับระยะยาว จากนั้นค่อยไปวิเคราะห์ต่อว่าเป้าหมายนั้นน่าจะเหมาะสมกับสินค้าการเงินอะไร และเขาสามารถรับความเสี่ยงกับสินค้าการเงินนั้นๆ ได้หรือไม่

 

ส่วนใหญ่คนรุ่นใหม่คิดอย่างไรเกี่ยวกับชีวิตตนเอง

ส่วนใหญ่ที่เห็นคือเด็กรุ่นใหม่ต้องการเกษียณตั้งแต่อายุ 40-45 ปี ซึ่งเราก็ไม่ไปขัดเขา แต่จะใช้วิธีถามกลับไปว่าน้องเก็บเงินเดือนละแสนได้ไหม พอเขาตอบตัวเองได้เขาจะรู้ว่าบางครั้งความฝันกับความเป็นจริงมันไม่ได้สอดคล้องกัน หรือถ้าเป็นไปได้ก็มีอยู่ 3 อย่าง คือ 

 

1. เงินต้นของเราต้องมีเยอะมากพอ 

 

2. ระยะเวลาต้องมากพอที่เราจะเก็บเงินก้อนเพื่อเกษียณได้เร็วตามที่ต้องการ

 

3. เรื่องผลตอบแทน เราต้องวิเคราะห์นิสัยตัวเองก่อนว่าเราเป็นคนรับความเสี่ยงได้แค่ไหน บางคนอยากมีเงินก้อน 10-20 ล้าน แต่รับความเสี่ยงได้แค่เงินฝาก มันก็เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง

 

คิดว่าตลาดหุ้นเป็นความหวังของคนรุ่นใหม่หรือเปล่า

สถานการณ์ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมคนถึงคิดว่าตลาดหุ้นเป็นหนทางที่จะทำให้เงินเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถ้าสังเกตดูจะพบว่าคนที่เข้าไปในตลาดหุ้นช่วงนี้จะเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่าการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐาน เพราะคนมองเรื่องการเก็งกำไรมากกว่าที่จะดูว่าบริษัทนั้นๆ ลงทุนกับอะไรและผลประกอบการเป็นอย่างไร แม้มันจะเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ต้องดูด้วยว่าเงินที่เราเอาไปลงทุนตรงนั้นมันปกติสุขของเราหรือเปล่า เข้าใจว่าทุกคนอยากเห็นเงินของตัวเองเติบโตด้วยกันทั้งนั้น แต่การที่เราจะไปลงทุนตรงนั้นเราต้องรู้ตัวด้วยว่าเรามีความเสี่ยง การที่เราเห็นหุ้นตัวหนึ่งติดบวก 20 เราต้องรู้ตัวด้วยว่าหุ้นตัวนั้นก็มีโอกาสติดลบ 20 ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราต้องคิดทั้งกรณีที่ได้และเสีย ถ้าเงินที่เรานำไปลงทุนตรงนั้นมันไม่นิ่งพอ ใจของเรามันก็จะไม่นิ่งแน่นอน ซึ่งถ้าเราไม่อยากเสี่ยงแบบนั้น และอยากให้มีคนมาช่วยดูแลเรื่องการเงิน กองทุนรวมอาจจะตอบโจทย์และง่ายกับเรามากกว่า 

 

แบ่งสัดส่วนการลงทุนของตนเองอย่างไรบ้าง

ตัวเราเองไม่ได้มีเวลาที่จะมาอยู่หน้าจอตลอดเวลา ดังนั้นเงินส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่กองทุนรวม เพราะว่ามีผู้จัดการกองทุนมาช่วยดูแล แล้วก็มีเงินส่วนหนึ่งที่ลงทุนในหุ้นด้วย เราก็แบ่งออกเป็น 2 พอร์ต คือ พอร์ตที่เก็บยาวและพอร์ตที่เก็บเพื่อการเก็งกำไร ส่วนกองทุนรวมเราก็จะแบ่งไปตามเป้าหมายการเงินของตนเอง เช่น พอร์ตสำหรับเกษียณ พอร์ตสำหรับผ่อนคอนโด พอร์ตสำหรับซื้อของที่อยากได้ ซึ่งในแต่ละพอร์ตก็จะลงทุนต่างกัน จริงๆ แล้วมันก็มีหลายหลักในการแบ่ง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นเราต้องกระจายความเสี่ยงไว้ด้วย สิ่งที่จะช่วยเราได้มากก็คือการประเมินความเสี่ยงก่อนการลงทุน ซึ่งในสมัยนี้สะดวกมากๆ เพราะมีสรุปให้ด้วย หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ เอา 100 ตั้งลบด้วยอายุของเราตอนนี้ เช่น อายุ 20 ปี ลบออกมาก็จะเหลือ 80 นั่นแปลว่าเราสามารถลงทุนความเสี่ยงสูงได้เพราะเรายังอายุน้อยอยู่ ส่วนอีก 20% ก็อาจจะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยง เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ หรือตราสารหนี้ต่างๆ เป็นต้น

 

บริหารการทำงานสไตล์ NamFinance

โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ชอบทำอะไรหลายอย่าง จึงต้องบริหารเวลาให้ดี ซึ่งจะมีหลักอยู่ 2 ข้อด้วยกัน คือ งานไหนที่จำเป็น และงานไหนที่เร่งด่วน ก่อนอื่นเราก็ต้องถามตัวเองว่างานไหนเราควรทำอะไร เพราะบางงานเราอาจจะมอบหมายให้คนอื่นทำแทนเราก็ได้ จากนั้นก็แบ่งเวลาให้ชัดเจน ในยุคนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่กับโซเชียลตลอดเวลา มันไม่ผิดที่เราเล่น แต่เราต้องคิดว่าเราปล่อยให้เวลาไหลไปเรื่อยๆ หรือเปล่า ที่สำคัญเราต้องพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เราเป็นคนที่เราต้องการ เพราะมันจะทำให้เราไม่ต้องแบ่งเวลาไปพักผ่อน เพราะเราพักผ่อนไปพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เรื่องแบบนี้ต้องค่อยๆ ฝึกไปแล้วจะทำได้เอง

 

วิธีหางานที่ใช่สำหรับคนรุ่นใหม่

อาจจะลองสังเกตง่ายๆ ว่าตัวเราใช้เวลาอยู่กับอะไรมากที่สุด ต้องลองเอาตัวเองไปอยู่ในหลายๆ ที่แล้วทดลองทำ ถามตัวเองว่าเราอยู่แล้วมีความสุขและเพลิดเพลินกับมัน เราสนุกหรือปล่อยเวลาให้ไหลไปได้เรื่อยๆ ไหม อย่างน้ำเองเวลาวาดรูป น้ำจะไม่เล่นมือถือเลย เราโฟกัสมาก เราจะรู้ตัวเองว่าเราหลงใหลกับเรื่องนี้ ก็ค่อยๆ ศึกษาไป ถ้ารู้แล้วแต่ด้วยชีวิตประจำวันเรายังทำงานแบบนั้นไม่ได้ เราต้องเข้าใจก่อนว่าบางอย่างมันยังไม่ถึงเวลา มันต้องสะสมและยอมเหนื่อยก่อน เราอาจจะลองแบ่งเวลาดูว่าอะไรที่ทำให้เรามีความสุขที่นอกเหนือจากเรื่องงานไหม

 

สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เราเป็นคนที่เราต้องการ 

 

นิยามความสำเร็จในด้านการเงิน

พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ทำให้ใครเป็นห่วงหรือเดือดร้อนเพราะเรา การพึ่งพาตัวเองได้ไม่จำเป็นต้องวัดที่ตัวเงินว่าเยอะขนาดไหน เพราะสิ่งสำคัญของชีวิตคือมีเงิน มีความสำเร็จ และต้องมีความสุขด้วย เราควรมีทุกด้านไปพร้อมๆ กัน อยากฝากถึงคนรุ่นใหม่ว่าลองค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองทำแล้วได้ช่วยเหลือผู้คนและมีความสุขไปด้วย แล้วเรื่องอื่นจะตามมาเอง เพราะตัวเราเองที่มาถึงจุดนี้ได้เพราะอยากเห็นคนไทยมีการวางแผนเรื่องการเงินจริงๆ ถ้าเราทำเรื่องนี้ได้ ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอน

 

พึ่งพาตัวเองได้ ไม่ทำให้ใครเป็นห่วงหรือเดือดร้อนเพราะเรา เพราะสิ่งสำคัญของชีวิตคือมีเงิน มีความสำเร็จ และต้องมีความสุขด้วย

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

Show Creators จักรพงษ์ เมษพันธุ์, ภูมิชาย บุญสินสุข, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Show Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Episode Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศักดิภัท ประพันธ์วรคุณ
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster ณฐพร  โรจน์อนุสรณ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

The post การลงทุน ความหวังของคนรุ่นใหม่ Feat. NamFinance appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปรับไลฟ์สไตล์ก่อนลงทุน สำคัญอย่างไร Feat. กวี ชูกิจเกษม https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth23/ Sun, 21 Feb 2021 11:35:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=456155 ปรับไลฟ์สไตล์ก่อนลงทุน สำคัญอย่างไร Feat. กวี ชูกิจเกษม

“การใช้ชีวิตของคุณจะนำไปสู่ ‘อิสรภาพทางการเงิน’ ได้มากก […]

The post ปรับไลฟ์สไตล์ก่อนลงทุน สำคัญอย่างไร Feat. กวี ชูกิจเกษม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปรับไลฟ์สไตล์ก่อนลงทุน สำคัญอย่างไร Feat. กวี ชูกิจเกษม

“การใช้ชีวิตของคุณจะนำไปสู่ ‘อิสรภาพทางการเงิน’ ได้มากกว่าการลงทุน”  


โค้ชหนุ่ม และโอมศิริ คุยกับ กวี ชูกิจเกษม นักวิเคราะห์หุ้นและนักลงทุนสาย VI ว่าด้วยเรื่องอิสรภาพทางการเงินแบบเรียลๆ เข้มๆ รวมถึงประเด็นสำคัญอย่างไลฟ์สไตล์หรือการใช้ชีวิตที่ควรฉุกคิดและปรับเปลี่ยนก่อนลงทุน เพื่อความสำเร็จทั้งเรื่องการลงทุนและชีวิต  

 


 

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาโซลูชันที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน ไปที่เมนูเปิดบัญชี คลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ เลยที่ www.setinvestnow.com/openacc

 


 

อิสรภาพทางการเงินไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีเท่าไร แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เท่าไร 

 

การเงินการลงทุนเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน

ทุกวันนี้เราคงเห็นกันอยู่แล้วว่าเรื่องการเงินการลงทุนมันใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ เด็กรุ่นใหม่มีความเข้าใจเรื่องการเงินการลงทุนมากขึ้นเพราะมันอยู่บนมือถือ ต่างจากสมัยก่อนที่เราจัดการเรื่องพวกนี้ได้ค่อนข้างยาก แม้ว่าในสมัยนี้คนเริ่มพูดคุยกันเรื่องการเงินการลงทุนมากขึ้น แต่สังเกตได้ว่าจะมีความโลภเข้าไปเกี่ยวข้อง หลายคนอยากรวยเร็ว อยากมีอิสรภาพทางการเงินเร็ว ทุกครั้งที่ผมได้ยินคนมาปรึกษาเรื่องนี้ ผมก็จะบอกว่าถ้าอยากมีอิสรภาพทางการเงิน ก็สามารถมีได้ตั้งแต่วันนี้เลย เริ่มต้นจากการสำรวจตัวเองก่อน เพราะการมีอิสรภาพทางการเงินไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีเท่าไร แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้เท่าไร สิ่งที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน แค่ลดลงไปบางส่วนที่ไม่จำเป็น ก็สามารถช่วยให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้เร็วขึ้นแล้ว แต่ที่คนส่วนใหญ่ไม่คิดแบบนี้เพราะคนเรามักจะไม่เริ่มต้นจากจุดที่ง่ายๆ แต่ดันไปเริ่มต้นจากการคุยกันว่าจะสร้างรายได้อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริง คนเราเมื่อมีรายได้มากขึ้นก็มักจะเอาไปใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ดี ทางที่ดีหยุดใช้ก่อนดีไหม เพราะบางครั้งเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังสร้างค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระในอนาคต ผมอยากแนะนำให้มีการคุยเรื่องการเงินการลงทุนในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่ความโลภ อย่าลืมว่าในโลกนี้บางคนมีหมื่นล้านก็ยังไม่มีอิสรภาพทางการเงิน เพราะเขาไม่หยุด หรือค่าใช้จ่ายมันมากจนเขาหยุดไม่ได้ มันไม่มีทางลัดสำหรับเรื่องการเงินการลงทุน คนที่มีทางลัดแล้วเอามาเขียนหนังสือก็เปรียบเสมือนคนที่ถูกหวยแล้วเอามาเขียนหนังสือ ซึ่งมีแค่บางคนเท่านั้นที่จะเป็นแบบนั้นได้ ผมจึงอยากชวนทุกคนมาพูดคุยกันในเชิงของความจริงและความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง

 

คนเราเมื่อมีรายได้มากขึ้นก็มักจะเอาไปใช้จ่ายมากขึ้นอยู่ดี ทางที่ดีหยุดใช้ก่อนดีไหม เพราะบางครั้งเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังสร้างค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระในอนาคต 

 

ทุกวันนี้มีอิสรภาพทางการเงินแล้ว แต่ทำไมยังทำงานอยู่ 

การทำงานสำหรับเรามันเป็นความสนุกและทำให้เรามีความสุข เพราะการมีอิสรภาพทางการเงินไม่ได้แปลว่าเราต้องเลิกทำงาน เพียงแต่มันทำให้เราทำงานแบบสบายใจและสนุกมากขึ้น ผมเคยลองหยุดงานโดยไม่ทำอะไรเลยเดือนหนึ่งเต็มๆ แล้วพบว่ามันไม่โอเค เรามีความสุขกับการได้ไปทำงานมากกว่า ที่สำคัญคนที่มีอิสรภาพทางการเงินมักจะประสบความสำเร็จในการทำงาน และกล้าทำงานที่เสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ลองสังเกตซีอีโอก็ได้ คนที่จะมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้จะต้องมีอิสรภาพทางการเงินก่อน เพราะคนเรายิ่งแก่ลง อำนาจและความสามารถในการตัดสินใจยิ่งน้อยลง พูดง่ายๆ คือความกล้าจะน้อยลง ดังนั้นการมีอิสรภาพทางการเงินจะช่วยให้เขากล้าตัดสินใจมากขึ้น เพราะผลกระทบต่อรากฐานของเขามันไม่ได้เยอะ แม้จะตัดสินใจพลาดแล้วล้ม เขาก็ยังมีอิสรภาพทางการเงินและสามารถไปทำอะไรต่อได้

 

ดังนั้นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินจะเป็นคนกล้าตัดสินใจและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า และการมีอิสรภาพทางการเงินควรมีก่อนอายุ 60 ปี เพราะไม่อย่างนั้นก็ยากที่จะมีได้ เพราะมันต้องอาศัยการสร้างและสะสม แนะนำให้มองในจุดที่เราเป็นไปได้ก่อน อย่าเพิ่งตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป แล้วเราจะเครียดน้อยลง 

 

คนที่มีอิสรภาพทางการเงินจะเป็นคนกล้าตัดสินใจและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า

 

การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของกวี

สมัยที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ผมใช้เงินอย่างเห็นคุณค่าจริงๆ อะไรที่ไม่ได้จำเป็นมากผมจะไม่ใช้เลย ผมเชื่อว่าทุกคนมีลิมิตของการประหยัด อย่างโทรศัพท์มือถือถ้าไม่พังจริงๆ ผมก็จะไม่เปลี่ยน เพราะการที่เรามีเงิน เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาไปซื้อสินทรัพย์ไร้สาระหรือสินทรัพย์จำเป็น การประหยัดไม่ได้ทำให้มีอิสรภาพทางการเงิน แต่การประหยัดทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้เร็วขึ้น นอกจากนี้สินทรัพย์บางอย่าง เช่น นาฬิกา พระเครื่อง ไวน์ เป็นต้น ถึงมันจะไม่มีเงินปันผลหรือมีมูลค่าด้วยตัวมันเอง แต่ถ้าเรารู้จริงในสิ่งนั้น เราจะสามารถทำเงินกับมันได้ ส่วนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าด้วยตัวมันเองอย่าง หุ้น ตราสารหนี้ กองทุน แนะนำให้ใช้วิธีเก็บสะสมไปเรื่อยๆ อย่าไปซีเรียสว่าลงทุนไปแล้วต้องโตทันที เพราะกว่ามันจะโตต้องใช้เวลา มันเป็นการสะสมประสบการณ์จากเงินของเราเองที่นำไปลงทุน ที่สำคัญผมจะใช้เงินที่ได้จากดอกเบี้ยหรือเงินปันผลเท่านั้น เป็นการเน้นการนำรายได้ที่เป็น Passive Income มาใช้ ไม่ใช่รายได้ที่ได้จากการทำงาน

 

ในยุคนี้ไม่ว่าเราจะใฝ่ฝันในเรื่องอะไรหรือเก่งในเรื่องไหน ให้เราโฟกัสและเรียนรู้กับมันจริงๆ และถึงแม้เราจะไม่เก่งอะไรเลย ก็ยังสามารถฝากกองทุนแล้วจัดพอร์ตให้มันนิ่งได้ ในชีวิตประจำวันเราควรพูดคุยกันเรื่องการเงินการลงทุน และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้ โดยมีพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเงินที่ถูกต้อง เรื่องเงินไม่ใช่สิ่งชั่วร้าย คนเรามีพื้นฐานชีวิตมาไม่เท่ากัน ดังนั้นเปลี่ยนชีวิตให้เป็นไปตามที่ต้องเป็นก่อน แล้วค่อยศึกษาเพิ่มเติมแบบค่อยเป็นค่อยไป ความใฝ่ฝันของผมคือการได้เห็นคนไทยมีอิสรภาพทางการเงินจริงๆ สักครึ่งหนึ่งของประเทศก็ยังดี

 

การที่เรามีเงิน เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาไปซื้อสินทรัพย์ไร้สาระหรือสินทรัพย์จำเป็น การประหยัดไม่ได้ทำให้มีอิสรภาพทางการเงิน แต่การประหยัดทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้เร็วขึ้น 

 

การบริหารเงินในสไตล์กวีโมเดล 

โดยธรรมชาติของคนส่วนใหญ่ เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของเรา และบางคนอาจจะใช้จ่ายเกินฐานะไปด้วยซ้ำ รายได้ที่เพิ่มขึ้นในลักษณะนี้กลับไปสร้างหนี้ให้เพิ่มขึ้นด้วย ผมจึงอยากแนะนำว่าให้ทุกคนพยายามคงไลฟ์สไตล์เดิมของตัวเองไว้ แล้วเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นไปลงทุน เพราะเงินก้อนนี้จะทำงานให้เราตอนเราหลับ แล้วคนที่บอกว่าไม่มีเวลาไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุน คุณต้องกลับมาคิดก่อนว่าเอาเวลาไปทำอะไรหมด เพราะคนที่ประสบความสำเร็จและมีงานหลายอย่างก็ยังมีเวลาศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา เราต้องใช้เวลาให้คุ้มค่า เช่น ในเวลาขับรถก็สามารถเปิดฟังอะไรที่มีสาระได้ มันอยู่ที่คุณจะจัดการกับชีวิตอย่างไรมากกว่า คนจะประสบความสำเร็จหรือไม่ตัดกันที่เรื่องความรู้ เพราะโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม คนที่ใช้เวลาเรียนรู้และลงทุนลงแรง คนที่มีวินัยและขยันมากกว่าเขาก็ควรได้รับความสำเร็จที่มากกว่า แท้จริงแล้วความเรียบง่ายในชีวิตและความเข้าใจตัวเองจะช่วยส่งเสริมการมีอิสรภาพทางการเงิน บางคนมัวแต่มองหางานที่รัก แต่ลืมว่าตัวเองรักอะไร ถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่เรารักจริงๆ เราจะหารายได้จากสิ่งนั้นได้

 

พยายามคงไลฟ์สไตล์เดิมของตัวเองไว้ แล้วเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นไปลงทุน เพราะเงินก้อนนี้จะทำงานให้เราตอนเราหลับ 

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

Show Creators จักรพงษ์ เมษพันธุ์, ภูมิชาย บุญสินสุข, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Show Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Episode Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster ณฐพร  โรจน์อนุสรณ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

The post ปรับไลฟ์สไตล์ก่อนลงทุน สำคัญอย่างไร Feat. กวี ชูกิจเกษม appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยกับ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น สูงวัยใกล้เกษียณก็เริ่มลงทุนหุ้นได้ https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth22/ Sun, 14 Feb 2021 08:06:06 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=453665 คุยกับ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น สูงวัยใกล้เกษียณก็เริ่มลงทุนหุ้นได้

วัยใกล้เลข 5 ลาออกมาลงทุนหุ้น ความรู้จากศูนย์สู่พอร์ตหล […]

The post คุยกับ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น สูงวัยใกล้เกษียณก็เริ่มลงทุนหุ้นได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุยกับ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น สูงวัยใกล้เกษียณก็เริ่มลงทุนหุ้นได้

วัยใกล้เลข 5 ลาออกมาลงทุนหุ้น ความรู้จากศูนย์สู่พอร์ตหลักสิบล้าน และตอนนี้กำลังเป็น YouTuber ให้ความรู้เรื่องลงทุนด้วย! 


โค้ชหนุ่ม และ โอมศิริ ชวน คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น นักลงทุนหุ้นประสบการณ์สิบปี มาย้อนเส้นทางชีวิต เปิดมุมมองและแนวทางที่ไม่เหมือนใคร ทำให้เห็นว่าไม่มีคำว่าสายไปที่จะเริ่มลงทุนในหุ้น   

 


 

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาโซลูชันที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน ไปที่เมนูเปิดบัญชี คลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ เลยที่ www.setinvestnow.com/openacc

 


 

ความเป็นมาของ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น

 

เราเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 17 ปี ตำแหน่งเลขานุการในบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง ช่วงนั้นไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องหุ้นเลย แต่โชคดีมีเจ้านายที่เก่งมากเรื่องการลงทุนในหุ้น แล้วเราก็มีหน้าที่อ่านรายงานหุ้นและกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของนายด้วย

 

พอเราทำงานมาได้ประมาณ 40 ปี ช่วงนั้นเกิดวิกฤตซัพไพรม์พอดี บริษัทมีการปรับโครงสร้าง เป็นเหตุให้เราตัดสินใจลาออกมา แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อ วันหนึ่งน้องสาวก็แนะนำว่าให้ลองไปลงทุนตลาดหุ้น ด้วยความที่บ้านเป็นครอบครัวแบบกงสี ทำให้เราไม่ต้องใช้จ่ายอะไรมาก จึงสามารถเก็บเงินไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงินออมได้

 

ส่วนการทำช่อง YouTube ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาทำอะไรแบบนี้ จู่ๆ วันหนึ่งหมอดูก็ทักว่าเราเหมาะที่จะเป็นคนทำประโยชน์ให้กับสาธารณะ เช่น การทำออนไลน์ ทำช่อง YouTube อะไรแบบนี้ แต่เราก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพูดไม่เก่ง พูดช้า แถมยังเป็นป้าอีก ใครจะฟัง สุดท้ายก็ตัดสินใจว่าจะลองดู เพราะคิดว่าถึงแม้ไม่มีใครดู ก็ทำเก็บไว้ให้ลูกดูก็ได้

 

ช่วงแรกที่ทำคลิปออกมาก็ทำตามทฤษฎีที่บอกว่าคลิปที่ดีต้องยาวประมาณ 10 นาที แต่พอทำไปทำมาเราก็รู้สึกว่านั่นไม่ใช่ตัวเรา คลิปของป้าเม่าทุกวันนี้จึงยาวเป็นชั่วโมงอย่างที่เห็น เพราะมันคือสไตล์ของเรา หลังจากที่ทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ก็เริ่มมีแฟนคลับจำนวนหนึ่งเข้ามาติดตาม จนถึงตอนนี้กลายเป็นว่าผลตอบรับเกินกว่าที่เราคาดเอาไว้มาก

 

การซื้อหุ้นช่วงที่ราคาลงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้พื้นฐานและกราฟเทคนิคด้วย จึงจะมีโอกาสได้มากกว่าเสีย

 

เงินทุนก้อนแรก

 

ก้อนทุนก้อนแรก 50,000 บาท นำไปลงทุนในหุ้นก่อนเลย แต่แม้ช่วงนั้นจะเป็นช่วงหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ประมาณ 2 ปี เราก็ยังคงขาดทุน ดังนั้นอยากบอกทุกคนว่าการซื้อหุ้นช่วงที่ราคาลงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้พื้นฐานและกราฟเทคนิคด้วย จึงจะมีโอกาสได้มากกว่าเสีย

 

หลังจากนั้นเราก็ศึกษาเรื่องหุ้นไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีกำไร ทำให้เรามีเงินเท่าไรก็นำไปใส่พอร์ตไว้ก่อน เพราะปี 2553 เป็นช่วงที่ขาขึ้นมาก แต่พอถึงปี 2554 ซึ่งมีเหตุการณ์น้ำท่วม หุ้นที่เราลงทุนไปก็เริ่มขาดทุน เราหาหนทางที่จะพลิกสถานการณ์กลับมา ตอนนั้นซื้อสลากออมทรัพย์ไว้ แต่ก็ยังขายไม่ได้ สุดท้ายจึงใช้วิธีไปกู้เงินและนำมาใส่พอร์ตเพิ่มเข้าไป แม้จะยังขาดทุนอยู่แต่ก็ขาดทุนน้อยลง

 

ช่วงนั้นหุ้นสวิงขึ้นลงไปเรื่อยๆ เราจึงตัดสินใจที่จะรอถึง 1 ปี 7 เดือนโดยไม่ทำอะไรกับพอร์ตเลย ปรากฏว่าหุ้นที่เราลงทุนไว้โตขึ้นถึง 141% ทำให้เงินจาก 50,000 บาท กลายเป็น 12 ล้านบาททันที นับว่าเป็นการรอคอยที่คุ้มค่า จึงอยากเป็นกำลังใจให้กับคนที่ติดดอยอยู่ตอนนี้ ประสบการณ์นั้นทำให้ป้าเม่าทำคลิปที่ชื่อว่า ‘เม่าติดดอย’ ออกมา

 

ชอบลงทุนในอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ

 

ส่วนตัวชอบลงทุนในกลุ่มไอที รวมถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะเคยลงทุนในหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่ง เกือบจะโยนเข้ากรุไปแล้ว แต่ปรากฏว่าราคามันกลับเด้งขึ้นมา

 

ที่สำคัญเรามองว่าพฤติกรรมมนุษย์ทุกวันนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ไอที เราทุกคนต่างใช้มันทั้งตอนตื่นเช้าและก่อนนอน ดังนั้นชีวิตเราผูกกับเรื่องของไอทีตลอดเวลา และไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทย แต่พฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก เราจึงมองว่ามันเป็นเทรนด์ที่ไปได้อีกไกล

 

ทนดอยมาตั้งนาน ทนรวยไม่ได้หรืออย่างไร

 

อะไรคือจุดมุ่งหมายของการลงทุน

 

จากที่เราแค่ต้องการหาค่ากับข้าวรายวัน เพราะเราลาออกจากงานประจำมา ช่วงแรกเราลงทุนในหุ้นแบบซื้อมาขายไปเพราะต้องการเก็งกำไร แต่เมื่อได้ศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มถือหุ้นยาวขึ้น ทำให้ได้เงินปันผลมาจำนวนหนึ่ง จำได้ว่าปีแรกได้เงินปันผลมา 9,000 บาท สำหรับเราตอนนั้นรู้สึกว่าเยอะมาก ซึ่งเงินปันผลตรงนี้ก็สามารถนำไปขอคืนภาษีได้อีก จนทุกวันนี้กลายมาเป็นรายได้ที่เลี้ยงชีพเราได้จริงๆ 

 

ตั้งเป้าหมายในการทำช่อง YouTube ไว้อย่างไรบ้าง แล้วจะทำไปอีกนานแค่ไหน

 

ช่วงแรกที่เปิดช่องมา เราทำคลิปหลากหลายแนวมาก เช่น การลงทุนในหุ้น, กองทุน, สลากออมสิน, สลาก ธกส., ประกันสังคม ทำแบบครอบจักรวาล อะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุนก็ทำหมด แต่ปรากฏว่ามีแฟนคลับเข้ามาติดตามเราในเรื่องหุ้นเยอะ พอเราแซมเรื่องอื่นเข้าไปเขาก็ไม่ชอบ ตอนนี้จึงเน้นแต่เรื่องหุ้นเป็นหลัก ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดว่าจะทำถึงเมื่อไร เพราะเราทำแล้วมีความสุข อยากจะให้ความรู้คนอื่นไปจนกว่าร่างกายของเราจะไม่อำนวยแล้ว

 

ไม่มีเศรษฐีคนไหนในโลกนี้ที่รวยจากการนำเงินไปฝาก

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นใครและอายุเท่าไรก็ตาม

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าไม่มีเศรษฐีคนไหนในโลกนี้ที่รวยจากการนำเงินไปฝาก ส่วนใหญ่จะรวยจากการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์

 

ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 2-3 ล้านบัญชี หลังจากมีวิกฤตโควิด-19 ปรากฏว่าคนหันมาเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 5 แสนกว่าบัญชี ซึ่งถือว่าเยอะมาก สาเหตุที่คนเข้ามาสนใจตลาดหุ้นอาจจะเพราะอยากเข้ามาขุดทองในตลาดหุ้น แต่ความเป็นจริงแล้วตลาดหุ้นเต็มไปด้วยเสือสิงห์กระทิงแรด ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่ยิ่งต้องระวัง เพราะโอกาสที่เราจะเข้าไปเอาเงินจากตลาดหุ้นนั้นไม่มีทาง อย่างน้อยเราต้องศึกษาหาความรู้ ใช้เวลาเป็นปี รวมถึงต้องผ่านช่วงเวลาหรือวิกฤตต่างๆ เพื่อที่จะเข้าใจมันอย่างแท้จริง

 

ใครที่เข้ามาช่วงนี้โชคดี เพราะเป็นช่วงวิกฤต เราจะได้เรียนรู้ว่าตลาดหุ้นได้รับผลกระทบอย่างมาก ป้าเม่าได้ทำคลิปที่ชื่อว่า ‘มือใหม่เล่นหุ้นต้องรู้อะไรบ้าง’ ทั้งหมด 10 ตอน เชื่อว่ามือใหม่ที่อยากเล่นหุ้นได้ฟังแล้วจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ในเรื่องการลงทุนในหุ้นมากพอสมควร นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องกราฟเทคนิคด้วยอีก 4 ตอน

 

สำหรับผู้สูงวัย แนะนำว่าควรใช้วิธีลดความเสี่ยงด้วยการทำ DCA เช่น สมมติมีเงิน 5 ล้านบาท ก็ให้ทยอยลงทุนเดือนละ 50,000 บาท ค่อยๆ ออมไป เพราะจะทำให้ต้นทุนหุ้นของเราอยู่ในราคาเฉลี่ยและไม่เสียหาย ที่สำคัญต้องคัดเลือกหุ้นที่ดีด้วย หากลุ่มที่มีขนาดใหญ่ เช่น SET50, SET100 แต่ต้องรู้ก่อนว่าไม่ใช่หุ้นทุกตัวจะดีเสมอ ดังนั้นการทำ DCA จะทำให้เราได้ค่าเฉลี่ย และเรื่องกราฟเทคนิคจะช่วยเราได้ว่า เราควรซื้อหุ้นจังหวะไหน

 

ป้าเม่ามีคลิปเกี่ยวกับ DCA ประมาณ 4-5 คลิป คิดว่าเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการเลือกหุ้นเพื่อการลงทุน นอกจากนี้ยังมีคลิปเกี่ยวกับประสบการณ์และการวิเคราะห์หุ้นต่างๆ ของป้าเม่าเอง รวมไปถึงข้อคิดเกี่ยวกับการลงทุนด้วยเช่นกัน

 

ติดตามช่องYouTube คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 



Credits

 

Show Creators จักรพงษ์ เมษพันธุ์, ภูมิชาย บุญสินสุข, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ Show Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Episode Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Webmaster ณฐพร  โรจน์อนุสรณ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

The post คุยกับ คุณป้าเม่า-เล่าเรื่องหุ้น สูงวัยใกล้เกษียณก็เริ่มลงทุนหุ้นได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กองทุนรวม บาทเดียวก็ลงทุนได้ เลือกซื้ออย่างไรให้พอร์ตโต https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth21/ Mon, 08 Feb 2021 01:46:06 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=451721

‘กองทุนรวม’ ยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2021 โค้ชหนุ่ม และ โ […]

The post กองทุนรวม บาทเดียวก็ลงทุนได้ เลือกซื้ออย่างไรให้พอร์ตโต appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘กองทุนรวม’ ยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2021


โค้ชหนุ่ม และ โอมศิริ ชวน หมอนัท-ธนัฐ ศิริวรางกูร เจ้าของเพจ คลินิกกองทุน มาตอบทุกคำถามที่สนใจ ธีมการลงทุนปีนี้ไปทางไหน ควรซื้อกี่กอง สัดส่วนในการจัดพอร์ตควรเป็นอย่างไร เพื่อให้โจทย์ที่วางไว้สำเร็จตามแผน  

 


 

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาโซลูชันที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน ไปที่เมนูเปิดบัญชี คลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ เลยที่ www.setinvestnow.com/openacc

 


 

การก้าวเข้าสู่สายอาชีพด้านการเงินการลงทุน

อดีตผมเป็นสัตวแพทย์ จากนั้นได้ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านการเงิน จบออกมาทำงานเป็นนักวิเคราะห์กองทุนรวมในบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง กองทุนรวมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่มีเวลาจัดการด้านการลงทุนของตนเอง รวมถึงไม่มีความรู้ที่มากพอ ที่สำคัญกองทุนรวมเริ่มต้นง่าย ใช้เงินน้อย เป็นการฝึกวินัยในการออมไปในตัว

 

ทุกคนสามารถเปิดกองทุนรวมได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี หรือถ้าเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็กก็สามารถเปิดบัญชีเพื่อลูกได้ เพื่อส่งเสริมการออมให้ลูกตั้งแต่เด็กๆ เมื่อเด็กอายุถึง 20 ปี ก็ค่อยโอนมาเป็นชื่อของลูก ผมเองก็ใช้วิธีนี้กับลูกเหมือนกัน โดยส่วนตัวพอร์ตที่ผมเลือกจะเน้นไปที่กองทุนปันผล โดยประเมินกองทุนจากผลตอบแทนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการได้

 

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำงานและเงินเดือนยังไม่เยอะ เริ่มต้นง่ายๆ ได้ด้วยการแบ่งสัดส่วนประมาณ 10% ของรายได้มาลงทุนในกองทุนรวม โดยอาจจะเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ หรือถ้ากลัวเรื่องความเสี่ยงมากก็ให้ลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำๆ เพื่อเป็นเงินเก็บสำรองฉุกเฉินก็ได้

 

กองทุนรวมเริ่มต้นง่าย ใช้เงินน้อย เป็นการฝึกวินัยในการออมไปในตัว 

 

ธีมการลงทุนในกองทุนรวมปี 2021

ตอนนี้โลกของเราเข้าถึงการลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น มีการเชื่อมโยงถึงกัน ทุกคนจึงสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นโอกาสในการลงทุนได้ทั่วโลก เทรนด์ที่มาแรงในตอนนี้คือคนอยากนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโตได้ เช่น หุ้นของบริษัทใหญ่ๆ แตกต่างจากสมัยก่อนที่คนนิยมลงทุนในหุ้นไทย

 

ในปีนี้เศรษฐกิจบ้านเราอาจจะเติบโตไม่ค่อยดีนัก แต่ก็มีโอกาสเติบโตได้ ดังนั้นคนยุคนี้จึงนิยมกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว ได้แก่ กลุ่ม เฮลท์แคร์ เพราะอะไรที่เกี่ยวกับสุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงวัคซีน ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเสมอ รวมถึงในโลกอนาคตจะก้าวหน้าไปถึงการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้นอีกด้วย

 

อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือด้านเทคโนโลยี อย่างที่เราเห็นกันว่าตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเสาสัญญาณโทรศัพท์ หรืออสังหาริมทรัพย์ที่คนยังต้องการเช่าอยู่ สังเกตง่ายๆ ว่าอะไรที่จำเป็นและต้องอยู่กับชีวิตเราไปนานๆ นั่นคือสิ่งที่น่าสนใจในการลงทุน 

 

แนวทางการเลือกกองทุนรวม

แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องลงทุนเยอะก็ได้ แต่ให้เน้นลงทุนแบบกระจายในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการดูผลตอบแทนหรือกำไรย้อนหลังที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เพราะการเลือกกองทุนรวมจะต่างจากการเลือกหุ้น หุ้นจะดูผลตอบแทนย้อนหลังไม่ได้ เพราะว่าหุ้นขึ้นอยู่กับอนาคตมากกว่า ที่สำคัญให้คอยมอนิเตอร์ผู้จัดการกองทุนด้วยว่าย้ายที่ไปหรือยัง

 

ส่วนใครที่เน้นการลงทุนระยะยาว แนะนำว่าให้เลือกกองทุนที่ไม่มีสตาร์อยู่ หรืออาจจะเลือกลงทุนใน SET50 ก็ได้ เพราะเราจะได้ 50 ตัวแรกที่ดีอยู่ตลอดเวลา เป็นการใช้ระบบมาช่วยในการจัดพอร์ตไปในตัว

 

สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำให้ลงทุนในกองทุนรวมที่เป็นบริษัทในเทรนด์ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านเทคโนโลยี หรือด้านอสังหาริมทรัพย์ ประมาณ 10-30% ส่วนใครที่รับความเสี่ยงได้กลางๆ ก็สามารถลงทุนได้ประมาณ 30-60% ส่วนใครที่รับความเสี่ยงได้สูงมากก็สามารถลงทุนในกองทุนได้ถึง 70-80% โดยเน้นไปที่หุ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เยอะกว่า ปีที่ผ่านมาหุ้นและกองทุนตกก็จริง แต่สำหรับผมมองว่ามันเป็นการทำให้นักลงทุนมือใหม่ได้รับบทเรียนและได้เรียนรู้สำหรับการวางแผนในปีนี้

 

กองทุนรวมกับการวางแผนระยะยาวในชีวิต

กองทุนรวมสามารถนำมาใช้ในการวางแผนระยะยาวในชีวิตได้ และผมมองว่าค่อนข้างเหมาะสมด้วย เพราะการลงทุนในหุ้นมีโอกาสที่เราจะหลุดโฟกัสได้ง่ายกว่า กองทุนรวมจึงถือเป็นตัวช่วยในการวางแผนที่ดี ทำให้เราสามารถวางแผนเกษียณระยะยาวได้โดยที่เราไม่ต้องพะวงระหว่างทางมากนัก ไม่ต้องติดตามทุกวันหรือทุกไตรมาสเหมือนหุ้น แต่สำหรับใครที่อยากมั่งคั่งเร็วหน่อยก็ใช้หุ้นเป็นส่วนเสริมเข้าไปได้

 

สำหรับคนที่มีเงินก้อนอยู่ อาจจะใช้การลงทุนแบบใส่เข้าไปเป็นก้อนหรือซื้อทุกเดือนแบบสม่ำเสมอที่เรียกกันว่า DCA ก็ได้ เป็นการสะสมไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างตัวผมเองที่เป็นฟรีแลนซ์ จะมีเงินก้อนหนึ่งที่ผมต้องบริหารจัดการไว้สำหรับครอบครัว ผมจึงเลือกการบริหารแบบกระแสเงินสด แต่สำหรับของลูก ผมจะเน้นให้ลงทุนแบบ DCA คือเน้นความสม่ำเสมอ ก่อนอื่นให้ดูที่เป้าหมายของตัวเองก่อนว่าต้องการอะไร จากนั้นก็เลือกกองทุนที่มีผลตอบแทนย้อนหลังสม่ำเสมอ เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม แต่ผมแนะนำว่าถ้าบางตัวค่าธรรมเนียมแพงกว่าแต่ผลตอบแทนดี เราก็ควรลงทุน เพราะมันตอบโจทย์ที่เราต้องการ

 

หัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งเงินไว้สำหรับใช้และลงทุนเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ ถ้าเราสม่ำเสมอเรื่องการลงทุน ผลตอบแทนก็จะสม่ำเสมอกับเราด้วยเช่นกัน 

 

แง่คิดเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม

การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีที่ทำให้เราได้ผลตอบแทนที่คาดการณ์ได้ เราสามารถคำนวณกลับมาได้ว่าเราจะต้องนำเงินใส่เข้าไปในพอร์ตเท่าไรจึงจะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กองทุนรวมเน้นความมีวินัย แต่ในสถานการณ์วิกฤตแบบนี้ แต่ละคนก็ควรประเมินสภาพคล่องของตนเองก่อน ถ้ายังมีรายได้เข้ามาเพียงพออยู่ แนะนำว่าให้ลงทุนต่อไปเหมือนก่อนหน้านี้ที่ทำมา เพราะมันคือการสร้างวินัย และในวิกฤตเรายิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนดีกว่าช่วงอื่นๆ อยู่แล้ว

 

หรืออีกแนวทางคือ เราอาจจะไปลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำก็ได้ หัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งเงินไว้สำหรับใช้และลงทุนเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้

 

กองทุนรวม ถ้าเราลงทุนอย่างมีวินัย และเลือกลงทุนในกองทุนที่ได้ผลตอบแทนดี ระยะยาวก็ดีอยู่แล้ว รวมถึงช่วยประหยัดภาษีด้วย แล้วเราก็สามารถนำเงินที่ประหยัดได้มาเก็บเป็นเงินออมอีกที ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในการลงทุนระยะยาวเลยทีเดียว

 

สิ่งสำคัญ เราต้องประเมินรายจ่ายในแต่ละเดือนด้วย ถ้ารายได้ไม่พอก็ต้องหางานทำเพิ่ม ถ้าใครยังมีแรงลงทุนก็ให้ลงทุนต่อเนื่องไป ถ้าเราสม่ำเสมอเรื่องการลงทุน ผลตอบแทนก็จะสม่ำเสมอกับเราด้วยเช่นกัน

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Webmaster ไชยพร ศิริกลการ
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

The post กองทุนรวม บาทเดียวก็ลงทุนได้ เลือกซื้ออย่างไรให้พอร์ตโต appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมดยุครายได้ทางเดียว วิธีคิดหาเงินลงทุนเพิ่ม https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth20/ Sun, 31 Jan 2021 16:27:09 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=448486 The Money Growth EP.20 หมดยุครายได้ทางเดียว วิธีคิดหาเงินลงทุนเพิ่ม

การมีรายได้หลายทางนำมาซึ่งแหล่งเงินที่มากขึ้นในการลงทุน […]

The post หมดยุครายได้ทางเดียว วิธีคิดหาเงินลงทุนเพิ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Money Growth EP.20 หมดยุครายได้ทางเดียว วิธีคิดหาเงินลงทุนเพิ่ม

การมีรายได้หลายทางนำมาซึ่งแหล่งเงินที่มากขึ้นในการลงทุน เราจะมีวิธีคิดเพิ่มรายได้และจัดการเงินให้ดีที่สุดได้อย่างไร

 

โอมศิริ ชวน โค้ชหนุ่ม แชร์แนวคิดและประสบการณ์จริง การหา Passive Income คอนเซปต์ Gig Economy สกิลที่คนทำงานควรมี รวมถึงวิธีจัดสรรเงินแบบหลายกระปุก

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่า ‘หมดยุครายได้ทางเดียว’

คีย์เวิร์ดสำคัญอยู่ที่คำว่าความมั่นคง ซึ่งเป็นคำที่อยู่คู่กับคนทำงานมาตลอด เมื่อก่อนเราพูดถึงการจ้างงานตลอดชีวิต พูดถึงการเกษียณแล้วได้เงินบำนาญสำหรับใช้ไปตลอดชีวิต

แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน จากความมั่นคงระยะยาวได้กลายมาเป็นแม้แต่ในระยะสั้นก็ยังไม่มั่นคง บริษัทที่ดูเหมือนจะมั่นคงเพราะมีอายุมาหลายร้อยปีก็อาจจะอยู่ไม่รอด ดังนั้นความมั่นคงทางรายได้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คนเราต้องหันกลับมาคิดถึงการหารายได้ในช่องทางที่ 2, 3 หรือ 4 ซึ่งเป็นรายได้ช่องทางใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

 

 

ตั้งคำถามกับตัวเองให้ถูก

เมื่อก่อนไม่ได้อยากรวย แต่ก็ไม่ได้อยากจน การที่บ้านพี่เป็นหนี้ทำให้พี่รู้สึกว่ารายได้ทางเดียวไม่พอใช้ พี่ก็เลยต้องหารายได้ทางที่ 2, 3, 4 เพิ่มเติม พี่มองว่าคนที่ต้องการหารายได้เสริมต้องตั้งคำถามกับตัวเองให้ถูกก่อน

หลายคนชอบถามว่าเราจะทำอะไรดี หรือมักจะไปปรึกษาคนรอบข้างว่าถ้าอยากมีอาชีพเสริมจะต้องทำอะไร ทั้งที่จริงแล้วรายได้ทางที่ 2 ส่วนใหญ่ล้วนมาจากทักษะส่วนตัวของเราเป็นหลัก ดังนั้นควรถามตัวเองว่าเราทำอะไรได้บ้าง จึงจะได้คำตอบที่แท้จริง 

 

พี่เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเริ่มทำงานเป็นวิศวกรฝ่ายวางแผนให้กับโรงงาน ทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษากับหน่วยงานต่างๆ ในบริษัท จากจุดนั้นพี่ก็คิดว่าในเมื่อเราให้คำปรึกษากับหน่วยงานได้ เราก็น่าจะให้คำปรึกษากับบริษัทอื่นได้เหมือนกัน

จึงเป็นที่มาของงานที่ 2 นั่นก็คือการเป็นที่ปรึกษาโรงงานอุตสาหกรรม วิธีการหาลูกค้าของพี่ในสมัยที่ยังไม่มีโซเชียลจะใช้การติดต่อกับบริษัทที่รู้จักกัน ช่วงแรกยอมทำฟรีก่อน เพราะพี่เชื่อว่าการที่เราจะได้เงินจากใคร เราต้องมีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ และช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้จริงๆ

ในช่วงแรกที่ยังไม่ได้มั่นใจตัวเองขนาดนั้น พี่มองว่าเป็นการหาโอกาส โอกาสเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อลูกค้าเห็นเราตั้งใจ เขาก็ให้ค่าตอบแทนเราเอง พี่เชื่อว่าถ้าผลลัพธ์ของงานที่เราทำสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการและให้ประโยชน์กับเขาได้ อย่าไปกังวลเรื่องผลตอบแทน เพราะสุดท้ายมันจะสะท้อนกลับมาหาเราอยู่ดี

งานที่ทำต่อมาคือติวเตอร์สอนพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่เราเคยทำสมัยเรียนมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็เคยไปทำงานเป็นตัวแทนประกัน ซึ่งเป็นงานที่ต้องเรียนรู้ใหม่ เพราะเราไม่ได้อยู่ในสายการเงินมาก่อน ดังนั้นจุดเริ่มต้นของคนที่อยากหารายได้เสริมควรอยู่ที่การมองตัวเองแบบไม่ดูถูกตัวเองจนเกินไป มองให้ออกว่าเรามีความรู้ความสามารถอะไรที่สามารถนำออกมาสร้างรายได้ เราไม่ต้องเก่งที่สุดในเรื่องนั้นก็ได้ แค่เก่งกว่าคนบางกลุ่มก็เพียงพอแล้ว

ตอนนั้นพี่ทำงาน 3-4 อย่างพร้อมกันโดยที่ยังทำงานประจำไปด้วย พี่ก็สามารถจัดการเวลาได้ มนุษย์มักจะบอกว่าไม่มีเวลา แต่จริงๆ แล้วเรายังไม่เห็นความสำคัญของสิ่งที่เราจะทำมากกว่า

จุดเริ่มต้นของคนที่อยากหารายได้เสริมควรอยู่ที่การมองตัวเองแบบไม่ดูถูกตัวเองจนเกินไป มองให้ออกว่าเรามีความรู้ความสามารถอะไรที่สามารถนำออกมาสร้างรายได้ 

ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ทำงานมากกว่า 1 อย่าง

พี่มองว่ามันอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่มันทำให้เรามีกระแสเงินสดเข้ามาในชีวิตตลอด และทำให้เรามีเงินเหลือในแต่ละเดือนจนเกิดเป็นความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อเรามีเงินเก็บมากพอแล้ว เราก็สามารถคิดต่อยอดไปได้ว่าเราจะเอาเงินเก็บไปทำอะไร

 

ชีวิตแบบ Active สู่ Passive

พี่มีรายได้แบบ Passive Income ที่เสริมเข้ามาหลายช่องทาง ช่วงที่พี่ทำงานหลายอย่างแล้วมีเงินเหลือ พี่ก็เริ่มลงทุนในหุ้นก่อน จากนั้นก็หันมาศึกษากองทุนรวม พี่พบว่ามันเหมือนการต่อท่อให้ตัวเองมีรายได้หลายทางเข้ามา งานที่เป็น Passive Income อีกอย่างหนึ่งนอกจากการลงทุนในหุ้นก็คืองานฟรีแลนซ์ที่พี่ทำ เมื่อทำไปถึงจุดหนึ่ง พี่ก็ถอยตัวเองออกมาเป็นเจ้าของ และให้น้องๆ รุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาแทน

การจะดูว่ารายได้ของเราเป็น Passive หรือไม่ ให้ดูว่าเราเอาเวลาไปอยู่กับการเติบโตของมันมากน้อยแค่ไหน ช่วงหลังๆ พี่เริ่มมาทำงานเกี่ยวกับเรื่องการเงินมากขึ้น พี่ก็ผันตัวมาสอนเกี่ยวกับด้านการเงิน เขียนบทความและหนังสือต่างๆ จนพี่ได้ค่าลิขสิทธิ์จากสิ่งที่ทำเพิ่มเติม ทีนี้รายได้ที่เข้ามามันเริ่มเยอะ พอหนี้หมด ชีวิตก็เหลือแค่ค่าใช้จ่ายที่ต้องกินใช้ประจำวัน

ถ้าเรามีเงินมากพอจนสามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้ เราจะมีเสถียรภาพทางการเงินทันที พี่ยอมขยันหรือเหนื่อยหน่อยในช่วงที่ยังมีแรงดีกว่ามาทำตอนอายุมากแล้ว

 

สร้างโอกาสด้วยการลองทำไปก่อน

พี่เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาทำได้ทุกอย่าง อยู่ที่ว่ามันใช่เรื่องที่เราสนใจหรือเปล่า เวลาที่เราทำอะไรเพิ่มหรือทำงานเสริมขึ้นมา อย่าเพิ่งคิดว่าเราทำไม่กี่วันแล้วมันจะพลิกชีวิตทันที ใช้ระบบวิธีคิดแบบไฟส่องเท้า ถ้าทำไปแล้วไม่ได้เสียหายอะไรมากมาย ก้าวต่อไปแล้วไม่ได้ทำให้ชีวิตเราคว่ำ ให้ลองทำดู เพราะสิ่งแรกที่จะปลดล็อกคือความเชื่อของเราเอง เราจะเชื่อว่ามันเป็นไปได้ อย่าเสียเวลาเล็งนาน

ยิ่งเราทำอะไรผิดพลาดแล้วได้ผลตอบรับกลับมาจะยิ่งทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น งานที่ว่าเล็กๆ พอเราทำไปเรื่อยๆ มันจะพาเราไปเจอผู้คน โอกาสจะมาพร้อมกับผู้คนเสมอ พี่ก็เติบโตจากการที่คนแนะนำแบบปากต่อปากไปเรื่อยๆ จนมาถึงวันนี้

มนุษย์เกิดมาทำได้ทุกอย่าง อยู่ที่ว่ามันใช่เรื่องที่เราสนใจหรือเปล่า เวลาที่เราทำอะไรเพิ่มหรือทำงานเสริมขึ้นมา อย่าเพิ่งคิดว่าเราทำไม่กี่วันแล้วมันจะพลิกชีวิตทันที 

มนุษย์เป็ดจะอยู่รอดในยุคที่กำลังก้าวเข้าสู่ Gig Economy เต็มตัวหรือไม่

พี่คิดว่าคนที่เป็นเป็ดจะอยู่รอดมากกว่าคนที่เก่งแค่เรื่องเดียว เพราะบางคนเก่งมาก แต่ยึดติดอยู่กับทางเดียว ซึ่งมันไปไม่รอดแล้ว ต่างจากมนุษย์เป็ดที่ทำอะไรได้หลายอย่าง อย่างที่บอกว่าในปัจจุบันเราไม่ต้องเก่งที่สุดก็ได้ เพียงแค่เราเก่งกว่าคนกลุ่มหนึ่งก็พอแล้ว และนำเรื่องที่เราเก่งออกมาถ่ายทอดคุณค่าให้ได้ แล้วคุณค่านั้นมันจะตีเป็นมูลค่ากลับมาให้เราเอง

ในโลกของการทำงานมีโอกาสอยู่เสมอ ถ้าจะเป็นเป็ดก็ขอให้เป็นเป็ดที่เอาจริง ตัวเรามีอะไรไม่เท่ากับเราโชว์อะไรออกมาได้บ้าง ดังนั้นต้องเป็นเป็ดที่โชว์ผลงานเป็น เปิดเผยฝีมือแม้จะมีเล็กน้อยก็ตาม เมื่อคนเห็นผลงานเราบ่อยๆ ก็จะเกิดการจ้างงานในที่สุด

ในปัจจุบันเราไม่ต้องเก่งที่สุดก็ได้ เพียงแค่เราเก่งกว่าคนกลุ่มหนึ่งก็พอแล้ว และนำเรื่องที่เราเก่งออกมาถ่ายทอดคุณค่าให้ได้ แล้วคุณค่านั้นมันจะตีเป็นมูลค่ากลับมาให้เราเอง 

แนวทางการจัดการรายได้สไตล์โค้ชหนุ่ม

เงินสำรองเป็นกระปุกแรกที่พี่จะกันเอาไว้เสมอ เพราะถ้าเกิดวิกฤตอะไรขึ้นมา ครอบครัวจะต้องไม่ล้ม ส่วนรายได้ที่เหลือก็นำมาลงทุน สำหรับพี่จะนำมาลงทุนในกองทุนรวมเป็นหลัก มีตราสารหนี้และอสังหาริมทรัพย์บางส่วน และถ้าได้กำไรมาจากการลงทุนก็จะนำมาลงทุนต่ออีก วิธีการนี้จะทำให้เงินเราเติบโตไปได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ และย้อนกลับมาเป็นความมั่นคงในใจเรา ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

 

ฝากถึงน้องๆ รุ่นใหม่ว่าในระหว่างที่เราทำงานประจำอยู่ ให้ลองหาสกิลใหม่ๆ ของตนเองไปด้วย เพราะงานเสริมที่เกิดจากความชอบอาจจะกลายมาเป็นธุรกิจของเราในอนาคตก็ได้ แนะนำว่าให้ใช้จ่ายในเงินเดือน แล้วทำอาชีพเสริมสำหรับนำเงินไปต่อยอดในการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงให้ตนเอง

 


 

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาโซลูชันที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน ไปที่เมนูเปิดบัญชี คลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ เลยที่ www.setinvestnow.com/openacc 

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย


 


Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreade ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster ณฐพร  โรจน์อนุสรณ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

 

The post หมดยุครายได้ทางเดียว วิธีคิดหาเงินลงทุนเพิ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลงทุนสูตรถนน 5 สาย เกษียณไวทำได้จริง Feat. นิ้วโป้ง Fundamental VI https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth19/ Mon, 25 Jan 2021 00:53:09 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=446831

มนุษย์ทุกคนมีวันที่ต้องตกงาน เราจะออมและลงทุนอย่างไรให้ […]

The post ลงทุนสูตรถนน 5 สาย เกษียณไวทำได้จริง Feat. นิ้วโป้ง Fundamental VI appeared first on THE STANDARD.

]]>

มนุษย์ทุกคนมีวันที่ต้องตกงาน เราจะออมและลงทุนอย่างไรให้มีเงินใช้เมื่อถึงวันนั้น

 

โค้ชหนุ่ม และ โอมศิริ ชวน นิ้วโป้ง-อธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนมากประสบการณ์ เจ้าของเพจ นิ้วโป้ง Fundamental VI มาย้อนเส้นทางชีวิตมนุษย์เงินเดือน จุดเปลี่ยนกระตุกใจ และสูตรลงทุนแบบถนน 5 สายที่จะทำให้คุณเกษียณได้ไว มีเงินใช้ตามที่ต้องการ กลายเป็นคนส่วนยอดพีระมิดที่มีเงินเก็บได้จริง

 


 

อยากได้ความรู้เพิ่มเติมที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อมก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ https://www.setinvestnow.com/th/home ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน www.setinvestnow.com/openacc คลิกไปที่เมนูเปิดบัญชี และคลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ

 


 

 

ชีวิตวัยทำงานกับการออม

ผมเรียนจบ พ.ศ. 2539 จนถึงตอนนี้ทำงานมาได้ 24 ปีแล้ว อาชีพแรกเป็นวิศวกรทำโทรศัพท์บ้าน ช่วงนั้นรายได้ดีมาก แต่เรากลับไม่มีเงินเก็บเลย เพราะใช้ชีวิตเที่ยวเล่นสนุกสนานกับเพื่อนๆ เป็นหลัก จนมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งแรกในชีวิต ผมประสบอุบัติเหตุขณะขับรถไปทำงานที่นครปฐม ตอนนั้นเพื่อนถามว่ามีประกันไหม ผมตอบว่าไม่มี

 

โชคดีที่ตอนนั้นบริษัทดูแลรักษาให้ เหตุการณ์นั้นมันทำให้ผมฉุกคิดได้ว่า ถ้าเราเป็นอะไรไป เราจะไม่มีเงินเก็บไว้ให้พ่อแม่เลย ผมจึงตัดสินใจซื้อประกันชีวิต โดยที่ผมไม่รู้ว่ามันคือแผนเกษียณ และไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันใช้ลดหย่อนภาษีได้ จากนั้นก็รู้จักกับกองทุนประกันสังคม บริษัทจะหักจากเงินเดือนของเราไปส่วนหนึ่ง ซึ่งก็มีกองทุนชราภาพอยู่ในนั้นด้วย แต่รุ่นพี่บอกผมว่า อย่าไปคาดหวังกับเงินส่วนนี้มาก มันไม่ได้เยอะขนาดนั้น 

 

จากนั้นก็ได้รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทมีให้ พอทำงานมาได้ 24 ปีก็พบว่า กองทุนนี้มันใหญ่อยู่เหมือนกันถ้าเรารู้จักเก็บออมดีๆ ต่อมาผมก็ได้รู้จักกับ LTF RMF ซึ่งนำมาหักภาษีได้ จากนั้นก็มาลงทุนในภาคความสมัครใจ เช่น ซื้อหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งหมดนี้คือการลงทุน 5 อย่าง ผมเชื่อว่า ถ้าเราทุกคนทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง แผนเกษียณสำเร็จได้แน่นอน 

 

เริ่มต้นแผนเกษียณครั้งแรกในชีวิต

แผนเกษียณสำหรับผมคือ แผนรองรับในวันที่เรามีแรงและเวลาเหลือเฟือ แต่ไม่มีรายได้ มนุษย์ทุกคนต้องมีวันตกงาน ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรก็ตาม วันตกงานของคุณคือวันเกษียณ ดังนั้นแผนเกษียณคือแผนที่เตรียมพร้อมสำหรับวันนั้น ซึ่งวันนั้นจะยาวนานอย่างน้อย 20 ปี นั่นคือช่วงอายุประมาณ 60-80 ปี สำหรับตัวผมไม่ได้มีการวางแผนเกษียณไว้ชัดเจน แต่ถ้าเราลงทุนครบ 5 อย่างตามที่กล่าวมาอย่างสม่ำเสมอ เราก็สามารถวางแผนเกษียณสำเร็จได้ ยิ่งกว่านั้นสิ่งที่เราลงทุนยังสามารถนำมาหักภาษีได้ด้วย อะไรที่หักภาษีได้แสดงว่าคุณทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ และคุณกำลังรับผิดชอบชีวิตตัวเอง ถ้ายังไม่พอก็ออมภาคสมัครใจเพิ่ม อย่างหุ้นหรือที่ดิน สิ่งที่ผมทำทั้งหมดนี้เป็นการตั้งหลักด้วยกระบวนการ ซึ่งแตกต่างจากการตั้งเป้าด้วยตัวเลข

 

แผนเกษียณสำหรับผมคือ แผนรองรับในวันที่เรามีแรงและเวลาเหลือเฟือ แต่ไม่มีรายได้ มนุษย์ทุกคนต้องมีวันตกงาน ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรก็ตาม วันตกงานของคุณคือวันเกษียณ

 

สัดส่วนในการออมช่วงแรก 

เรื่องของสัดส่วนในการออมอยู่ที่แต่ละบุคคล เพราะบางคนที่บ้านมีภาระ บางคนต้องดูแลพ่อแม่ ผมอยากบอกว่าให้เราทำตามที่เราไหว 

 

ผมเชื่อว่า ถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้องอย่างไม่หักโหมและทำไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วมันจะสำเร็จในปลายทาง 

 

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจากเริ่มวางแผนเกษียณ 

ต้องยอมรับว่าเปลี่ยน หลังจากที่เกิดจุดเปลี่ยนในชีวิตคือการประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่ในวัยเริ่มทำงาน ผมก็ขอย้ายกลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ มาใช้ชีวิตกับพ่อแม่ พอมีเวลาว่างเราก็ใฝ่หาความก้าวหน้าด้วยการไปเรียนปริญญาโท ทำให้เวลาเริ่มไม่มี ชีวิตจึงเข้าสู่ลู่ของการพัฒนาตัวเอง เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน เราก็ได้เจอเพื่อนๆ ที่พัฒนาตัวเองเหมือนกัน หลังจากนั้นผมก็เริ่มศึกษาเรื่องการออมมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วพอได้มาเจอผู้หญิงที่เราอยากจะแต่งงานด้วย ชีวิตเราก็เริ่มเปลี่ยนอีกครั้ง เรื่องนี้ผมเชื่อว่าเกิดขึ้นกับผู้ชายทุกคน เพราะมันทำให้เราอยากมีอนาคตและความมั่นคงมากขึ้น

 

ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ คิดว่ามาเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ไหม 

ต้องเรียกว่าเกินมาเยอะมาก รุ่นพี่คนหนึ่งเคยบอกผมว่า อย่าหยุดคิด อย่าหยุดฝัน เพราะระหว่างทางเราอาจจะมีเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นก็ได้ ทุกวันนี้ผมเน้นกระบวนการ ไม่ได้ตั้งเป้าที่ตัวเลข มันจึงทำให้ผมมาไกลเกินที่ตั้งเป้าไว้แต่แรกแล้ว ผมมองว่ามันเป็นกิจกรรมที่ผมทำไปเรื่อยๆ และผมเลือกที่จะคิดว่าตัวเองไม่มีเวลาและไม่มีเงิน ดังนั้นการใช้ชีวิตของผมจึงเน้นกระบวนการที่สม่ำเสมอมากกว่า

 

อย่าหยุดคิด อย่าหยุดฝัน เพราะระหว่างทางเราอาจจะมีเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นก็ได้

 

ตัวอย่างเคสที่ 1 น้องนาวทำงานมาได้ 2 ปี ปัจจุบันอายุ 25 ปี เงินเดือน 25,000 บาท เคยฟังพี่โป้งจากรายการ The Money Growth ซีซัน 1 จึงเริ่มหัดออมด้วยการตัดเงินเดือน 15% ตอนแรกตัดมาเพื่อเป็นเงินฉุกเฉิน 6 เดือน และอยากมีแผนเกษียณเพราะอยากมีเงินใช้หลังอายุ 55 ปี เดือนละประมาณ 30,000 บาท ปัจจุบันไม่มีหนี้สินเลย มีเพียงค่าเช่าคอนโดเดือนละ 4,500 บาท และมีแผนจะแต่งงานกับแฟนอีกประมาณ 6 ปี ส่วนพ่อแม่ก็มีรายได้ดูแลตัวเองอยู่แล้ว อยากให้พี่โป้งช่วยแนะแนวเกี่ยวกับเป้าหมายและแผนการเกษียณ

คีย์เวิร์ดสำคัญคือ อายุ 25 ปี เงินเดือน 25,000 บาท คำว่าเกษียณอายุ 55 ปี และอยากมีเงินใช้หลังเกษียณ 30,000 บาท อย่างแรกคือน้องอายุยังน้อยอยู่ เพิ่งจะทำงานได้ประมาณ 3 ปี เพราะฉะนั้นยังอยู่ในช่วงออมเงินได้ ใช้เงินเป็น หาเงินเก่ง ต่อเงินงอกเงย จริงๆ แล้วออมเงินได้ ใช้เงินเป็น ต้องทำให้ได้ก่อนจบมหาวิทยาลัย และตั้งแต่อายุ 22 ปีเป็นต้นไป เราจะเข้าสู่กระบวนการหาเงิน

 

ดังนั้นพอถึงอายุ 25 ปี ให้ตั้งเป้าเลยว่าต้องพัฒนาตนเอง และทำให้ตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพนั้นๆ เพื่อทำให้เงินเดือนเพิ่มพูนมากที่สุด หาเงินเก่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสร้างรายได้จะเป็นต้นน้ำของการออมทั้งหมด และการหาเงินเก่งจะทำให้แผนเกษียณมาเร็วขึ้น สำหรับในยุคนี้การเพิ่มเงินเดือนอาจจะเป็นเรื่องยาก ให้มองหาการมีรายได้หลายทาง เพราะต่อไปจะเป็นยุคสมัยของสิ่งเหล่านี้ คำแนะนำต่อไปคือ เงินหลังเกษียณ 30,000 บาท น้องอยากใช้เงินตั้งแต่อายุ 55-80 ปี คือใช้เงินโดยที่ไม่มีรายได้เลย 25 ปี กับการที่ทำงานมา 30 ปี ตอนนี้เงินเดือนอยู่ที่ 25,000 บาท แสดงว่าการเพิ่มรายได้สำคัญมากอย่างที่บอกไป ส่วนการออม 15% ดีอยู่แล้ว แค่ต้องเร่งสร้างรายได้จากการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะลงทุนใน 5 อย่างแบบเน้นกระบวนการ ถ้าทำแบบนี้ได้ก็สำเร็จได้

 

หาเงินเก่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสร้างรายได้จะเป็นต้นน้ำของการออมทั้งหมด และการหาเงินเก่งจะทำให้แผนเกษียณมาเร็วขึ้น

 

ตัวอย่างเคสที่ 2 นายจอม ปัจจุบันอายุ 35 ปี มีรายได้เฉลี่ย 40,000 บาทต่อเดือน อยากเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีเงินใช้ประมาณ 50,000 บาท ตอนนี้มีเงินสำรองแล้ว 6 เดือน ภาระอื่นๆ ไม่มีนอกจากผ่อนคอนโดเดือนละ 8,000 บาทต่อเดือน และส่งเงินให้ที่บ้านเดือนละ 5,000 บาท ด้วยความที่บริษัทไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เขาจึงรับผิดชอบชีวิตตนเองด้วยการซื้อ RMF ในช่วงหลัง ตอนนี้รับความเสี่ยงได้ไม่สูงมาก อยากทราบว่าจะออกแบบเป้าหมายแผนการเกษียณได้อย่างไรบ้าง 

คีย์เวิร์ดสำคัญคือ อายุ 35 ปี รายได้ 40,000 บาทต่อเดือน ต้องการเกษียณ 60 ปี มีเงินใช้ 50,000 บาท เส้นทางการทำงานจากอายุ 35-60 ปี เป็นเวลา 25 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน จุดเริ่มต้นคือรายได้ 40,000 บาท แต่อยากมีเงินใช้หลังเกษียณ 50,000 บาท ดังนั้นระบบการออมต้องดี และที่สำคัญต้องเพิ่มรายได้ ปัจจุบันเป็นยุคสมัยของการอัปสกิล รีสกิล และการสร้างรายได้หลายทาง ถ้าเราทำตรงนี้ได้แล้ว สุดท้ายมันสำคัญที่กระบวนการ ให้มามองเรื่องการออมในกองทุนประหยัดภาษี เพราะรายได้เท่านี้ต้องเสียภาษี อะไรที่ออมแล้วหักภาษีได้ สิ่งนั้นดีเสมอ การออมไปก่อนและใช้เท่าที่มีในปัจจุบันเป็นการสร้างฐานความมั่นคงในชีวิตให้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำยิ่งดีกับตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้แนะนำให้ลงทุนในประกันชีวิตและลงทุนในภาคสมัครใจต่อไป

 

การออมไปก่อนและใช้เท่าที่มีในปัจจุบันเป็นการสร้างฐานความมั่นคงในชีวิตให้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำยิ่งดีกับตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

ข้อดีของการเป็นมนุษย์เงินเดือน 

ข้อดีของมนุษย์เงินเดือนมีเยอะ อย่างแรกคือมีรายได้ที่แน่นอน สิ่งนี้คนที่ทำธุรกิจหรือฟรีแลนซ์ไม่มี เพราะเขาต้องบริหารจัดการเองทั้งหมด มนุษย์เงินเดือนจะรู้ล่วงหน้าว่าจะออมได้เท่าไร แล้วยุคหลังโควิด-19 เทรนด์ Work from Home และ Work from Anywhere จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องการมองหาอาชีพที่ 2 จากการใช้สกิลของตนเอง ทำอะไรได้ให้ทำ แต่อย่าลืมว่าเราต้องเป็นมนุษย์ 200% คือต้องขยันและทำงานได้มีประสิทธิภาพด้วย 

 

ดังนั้นผมแนะนำว่า มนุษย์เงินเดือนให้วางแผนเกษียณจากฐานเงินเดือนของตนเอง และหารายได้ทางอื่นไปด้วย เพื่อที่จะออมในช่องทางต่างๆ ต่อไป ถ้าทำสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้องและไม่หักโหม ทำไปให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ คุณจะประสบความสำเร็จในแผนเกษียณอย่างแน่นอน

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader วรรษมล สิงหโกมล, ภาวิกา ขันติศรีสกุล
Webmaster ไชยพร ศิริกลการ
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

 

The post ลงทุนสูตรถนน 5 สาย เกษียณไวทำได้จริง Feat. นิ้วโป้ง Fundamental VI appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำงานและลงทุนแบบมนุษย์เงินเดือนสายพันธุ์ใหม่ Feat. นานิ นิธินวกร https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth18/ Sun, 17 Jan 2021 15:49:51 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=444025

ทำงานเก่งแล้วอยากลงทุนให้เก่งด้วย เป็นไปได้ไหม   โ […]

The post ทำงานและลงทุนแบบมนุษย์เงินเดือนสายพันธุ์ใหม่ Feat. นานิ นิธินวกร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทำงานเก่งแล้วอยากลงทุนให้เก่งด้วย เป็นไปได้ไหม

 

โค้ชหนุ่ม และ โอมศิริ ชวน นานิ นิธินวกร เจ้าของหนังสือ สร้างเงินล้านก่อนเรียนจบ และ สร้างเงินล้านด้วยงานออฟฟิศ มาพูดคุยถอดวิธีคิด ทำอย่างไรถึงมีเงินล้านตั้งแต่อายุ 20 บทเรียนการทำงานทั้งจาก Grab, Agoda และปัจจุบันคือ Senior Product Owner ของ Revolut ดิจิทัลแบงกิ้งสัญชาติอังกฤษ 

 

รวมทั้งแง่มุมด้านการลงทุนที่เรียนรู้จากความผิดพลาด และแนวคิดใหม่อย่างการ ‘ลงทุนในบริษัทที่ทำงาน’ จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร

 


 

อยากได้ความรู้เพิ่มเติมที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อม ก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ https://www.setinvestnow.com/th/home   ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อยากเปิดบัญชีลงทุน www.setinvestnow.com/openacc คลิกไปที่เมนูเปิดบัญชี และคลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ

 


 

การเรียนรู้ของเราเริ่มต้นจากความผิดพลาด

 

ก้าวเข้าสู่โลกการเงินการลงทุนได้อย่างไร 

เริ่มมาจากการที่คุณพ่อของเราเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเงินการลงทุนด้วยตัวเองก่อน เวลาที่เขาอ่านหนังสืออะไร ได้ยินได้ฟังอะไรมา เขาก็จะมาเล่าให้เราฟังอยู่ตลอด ตั้งแต่เราเรียนอยู่ช่วงประถมปลาย รวมถึงในวันเกิดเรา คุณพ่อก็มักจะให้หนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุน ทำให้เราสนใจและศึกษาตามคุณพ่อมาเรื่อยๆ พอถึงจุดหนึ่งเราก็เริ่มอยากลองลงทุนเอง เราก็เริ่มลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์จากเงินแต๊ะเอียของตัวเองก่อน ซึ่งช่วงนั้นก็ได้ผลตอบแทนกลับมาค่อนข้างดี จากนั้นก็ลงทุนเองมาเรื่อยๆ ระหว่างช่วงก่อนไปเรียนที่สิงคโปร์จากการสอบชิงทุนได้ เราก็ไปหารายได้ด้วยการสอนพิเศษ เพื่อที่จะนำเงินที่ได้มาลงทุนในพอร์ตเพิ่มขึ้น โชคดีมากที่ช่วงนั้นตลาดเป็นขาขึ้น ทำให้ก่อนอายุ 20 ปีเราก็สามารถมีเงินล้านได้ เราจึงเริ่มเขียนหนังสือ สร้างเงินล้านก่อนเรียนจบ แต่ผ่านมาสักระยะหนึ่ง เราก็เริ่มเจ็บตัวกับการลงทุน จุดนั้นเองเป็นจุดที่เราได้เริ่มเรียนรู้จริงๆ 

 

เป้าหมายหลังจากที่ได้จับเงินล้านแล้วคืออะไร 

โดยส่วนตัวเราเป็นคนอยากมีอิสรภาพทางการเงินอยู่แล้ว และอยากมีก่อนอายุ 35 ปีด้วย อิสรภาพในความหมายของเราคือ การที่ตัวเราเองสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานประจำหรือไม่ หรือพูดง่ายๆ ว่าการมีอิสระที่จะเลือกได้ แต่เราก็ยังมีภาระที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับครอบครัว ทำให้ต้องค่อยๆ สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป

 

อะไรคือเป้าหมายในการทำงาน

เรามองว่าการทำงานประจำจะทำให้พอร์ตการลงทุนของเราโตขึ้นได้มากกว่าการที่เราออกมาเป็นนักลงทุนเต็มเวลา แต่ช่วงแรกที่ทำงานประจำ เราก็แทบไม่มีเงินเก็บเลย เพราะเราทำงานที่ไทย และเรตเงินเดือนของไทยก็ไม่ได้สูงเท่าในต่างประเทศ เราจึงเริ่มคิดที่จะพัฒนาตัวเองเป็นมนุษย์เงินเดือนสายพันธุ์ใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขียนหนังสือเล่มที่ 2 ที่ชื่อว่า สร้างเงินล้านด้วยงานออฟฟิศ ในจุดนั้นเราได้เรียนรู้ว่าเราต้องพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถแบ่งเงินมาลงทุนต่อเนื่องได้ตามที่ตั้งใจไว้ โชคดีที่เรามีโอกาสในงานใหม่ๆ ด้วย เราก็พยายามผลักตัวเองไปทำงานในบริษัทที่เป็นสายเทคสตาร์ทอัพ จนวันหนึ่งก็สามารถเข้าทำงานที่บริษัทในสิงคโปร์ได้จริงๆ เราจึงเริ่มเก็บเงินได้ตั้งแต่ตอนนั้น แล้วก็เริ่มสนุกกับการลงทุน ไม่ได้เคร่งเครียดเท่ากับช่วงแรก เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าเราใฝ่ดี เราจะได้รับโอกาสที่เข้ามาในชีวิตเสมอ

 

เราต้องมองหาบริษัทที่เติบโตไปกับเขาได้ เพราะการทำงานถือเป็นการลงทุนกับบริษัทนั้นๆ ด้วยเช่นกัน

 

ชื่นชอบการลงทุนในอุตสาหกรรมกลุ่มไหนเป็นพิเศษ

ตั้งแต่แรกที่เริ่มลงทุน เราก็เลือกหุ้นกลุ่มที่เราคิดว่าตัวเองรู้จริงมาตลอด หุ้นที่เราศึกษามันอย่างจริงจัง ช่วงที่ทำงานอยู่ที่สิงคโปร์ เราก็ทำมากกว่าคนอื่น เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเราฉลาดให้เท่าคนอื่น แต่ขยันกว่าคนอื่นสองเท่า เราก็ได้สองเท่า จึงได้โปรโมตค่อนข้างเร็ว ตอนโปรโมตทางบริษัทก็ขึ้นเงินเดือนให้ และได้ถือหุ้นบริษัทด้วย เพราะเขาต้องการให้เราอยู่กับเขานานๆ เราก็รู้สึกตื่นเต้นมาก แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมาย พอย้ายที่ทำงาน เขาก็ให้หุ้นเราอีก แต่ก็ต้องอยู่ให้ครบปีตามเงื่อนไขของบริษัท ช่วงนั้นเราก็เริ่มศึกษาการเติบโตของหุ้นแต่ละตัวแบบจริงจัง ก็ทำให้รู้ว่าเราต้องมองหาบริษัทที่เราเติบโตไปกับเขาได้ เพราะการทำงานถือเป็นการลงทุนกับบริษัทนั้นๆ ด้วยเช่นกัน ต่อมาเราก็ได้เข้าทำงานในบริษัทฟินเทคตามที่ตั้งใจไว้ แนะนำน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มทำงานว่า ในชีวิตช่วงแรกของการทำงานประจำ ให้โฟกัสการมีหัวหน้าที่ดีก่อนการมีเงินเดือนเยอะ เพราะมันมีผลกับโอกาสที่เราจะได้รับด้วย และโดยส่วนตัวมองว่าเรื่องการเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อยากให้ประเทศไทยปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เด็กๆ เพราะมันจะเป็นประโยชน์กับเด็กไทยอย่างมาก 

 

ฉลาดให้เท่าคนอื่น แต่ขยันมากกว่าคนอื่นสองเท่า

 

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการทำงานและการลงทุนมากน้อยแค่ไหน

ตัวเราเองก็เจอผลกระทบอยู่เหมือนกัน แต่มองว่ามันเป็นการตอกย้ำให้เรารู้ว่า การวางแผนล่วงหน้าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ให้สังเกตว่ามันจะมีเรื่องอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น หุ้นก็จะลง หรือบางคนอาจจะถูกให้ออกจากงาน ดังนั้นถ้าเราไม่มีเงินสดอยู่กับตัวเลยจะลำบากมาก สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เรารู้ตัวว่าต้องเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ เพราะไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นกับเราในอนาคต 

 

อยากฝากอะไรถึงนักลงทุนรุ่นใหม่

แนะนำว่าให้มองตัวเองเป็นหุ้นตัวหนึ่งในบริษัท แล้วถ้าเราเป็นบริษัทนี้ เราจะลงทุนอย่างไรให้บริษัทเติบโต ก่อนอื่นต้องวางกลยุทธ์ของตัวเองให้ได้ว่าจะให้บริษัทนี้ขยายไปในทิศทางไหนบ้าง เพื่อให้มันเติบโตได้ในระยะยาวและยั่งยืน ได้ผลกำไรมาก็นำไปลงทุนต่อ พูดง่ายๆ คือให้มองตัวเองเป็นบริษัท และทำตัวเองให้เป็นบริษัทที่น่าลงทุน นอกจากนี้สิ่งสำคัญในชีวิตนอกจากเรื่องเงินและการลงทุนของตัวเราเอง เราต้องไม่ลืมครอบครัวและเพื่อน เพราะไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พวกเขาคือคนที่คอยเติมเต็มและสนับสนุนเราจริงๆ

 

มองตัวเองเป็นบริษัท และทำตัวเองให้เป็นบริษัทที่น่าลงทุน

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Video Editor เสาวภา โตสวาท

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Webmaster ไชยพร ศิริกลการ
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

 

The post ทำงานและลงทุนแบบมนุษย์เงินเดือนสายพันธุ์ใหม่ Feat. นานิ นิธินวกร appeared first on THE STANDARD.

]]>
เป็นฟรีแลนซ์ก็วางแผนการเงินการลงทุนให้ชีวิตมั่นคงได้ https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth17/ Sun, 10 Jan 2021 11:22:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=440868 The Money Growth EP.17 เป็นฟรีแลนซ์ก็วางแผนการเงินการลงทุนให้ชีวิตมั่นคงได้

ฟรีแลนซ์กับความมั่นคงดูเป็นเรื่องที่สวนทางกัน เราจะวางแ […]

The post เป็นฟรีแลนซ์ก็วางแผนการเงินการลงทุนให้ชีวิตมั่นคงได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Money Growth EP.17 เป็นฟรีแลนซ์ก็วางแผนการเงินการลงทุนให้ชีวิตมั่นคงได้

ฟรีแลนซ์กับความมั่นคงดูเป็นเรื่องที่สวนทางกัน เราจะวางแผนและตั้งเป้าหมายให้เกิดสิ่งนั้นได้อย่างไร

 

โค้ชหนุ่มและโอมศิริ ชวน ปั้น-จิตรกร แสงวิสุทธิ์ เจ้าของเพจ นายปั้นเงิน ฟรีแลนซ์ผู้ให้ความรู้เรื่องวางแผนการเงินการลงทุน มาแชร์วิธีตั้งเป้าหมาย การสร้างพอร์ตสำคัญอย่างการเกษียณ และการจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมในทุกช่วงวัยของชีวิตฟรีแลนซ์  

 


 

อะไรคือข้อดีของฟรีแลนซ์หรือคนที่ทำงานอิสระ

ตามชื่อเลยก็คือมีอิสระ อยากจะทำอะไรเมื่อไรก็ได้ อยากจะรับงานเมื่อไรก็ได้ ในความเป็นจริง ช่วงแรกของชีวิตฟรีแลนซ์อาจจะได้อิสระในแง่ของเวลา เลือกที่จะไปเที่ยวหรือทำงานวันไหนก็ได้ แต่ในวันที่มีงานเข้ามาเยอะๆ ฟรีแลนซ์บางคนอาจจะทำงานหนักกว่าคนที่ทำงานประจำด้วยซ้ำ สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การจัดการเวลาของตัวเอง ข้อดีอีกเรื่องของฟรีแลนซ์หรืออาชีพอิสระก็คือไม่มีเพดานรายได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับงานของเราว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน

 

ทำไมมีความคิดเรื่องการวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุ 29 ปี

เมื่อก่อนเคยคิดว่าการวางแผนเกษียณเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่พอมาคิดดูแล้วถ้าเราวางแผนเร็วกว่าคนทั่วไป 20 ปี ผลตอบแทนที่ได้จะต่างกันมหาศาลเลย สมมติถ้าเราวางแผนเกษียณตั้งแต่เรียนจบ ช่วงที่อายุ 20 กว่าๆ ในประเทศไทยคนเกษียณอายุ 60 ปี ความต่างจะอยู่ที่ประมาณ 35 ปี ถ้าเราเริ่มเร็ว เราก็จะมีโอกาสมากกว่าคนอื่น เราจะสามารถออกแบบชีวิตที่ต้องการได้หลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น ต่างจากคนที่อายุมากแล้วเพิ่งมาวางแผนเกษียณ เพราะถ้าถึงตอนนั้น สถานะทางครอบครัว สถานะทางการเงิน หรือเรื่องต่างๆ จะยิ่งกำหนดกรอบให้เราต้องมีชีวิตแบบนั้น เราไม่สามารถฝันอะไรได้เยอะ ผมเรียนจบบัญชีมาและอยู่กับตัวเลขมาตั้งแต่ตอนนั้น เราก็เลยเข้ามาศึกษาเรื่องการเงินด้วย พอได้มาศึกษาจริงๆ ก็ทำให้เรารู้ว่าการเงินเป็นคนละเรื่องกับบัญชี งานที่ผมทำช่วงแรกดูเหมือนจะอิสระ แต่ในวันที่เราเริ่มรับงานแบบเดิมเข้ามาเรื่อยๆ มันก็ดูคล้ายกับงานประจำเหมือนกัน แค่เราไม่ได้สวัสดิการเหมือนงานประจำเท่านั้นเอง เราก็ยังคงต้องทำงานในช่วงเวลาเดิมของเราอยู่ เพียงแต่ว่าในช่วงที่เราอยากมีรายได้หรือเวลาเพิ่มขึ้น เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับงานที่เข้ามา

 

ถ้าเราเริ่มเร็ว เราก็จะมีโอกาสมากกว่าคนอื่น

 

มีวิธีการออมหรือการลงทุนอย่างไรหลังจากที่มาเป็นฟรีแลนซ์

ด้วยความที่ผมเคยทำงานประจำมาก่อน ก็จะพอรู้ว่าเราต้องแบ่งสัดส่วนการใช้และเก็บเงินอย่างไร แต่ช่วงแรกที่มาเป็นฟรีแลนซ์อึดอัดมาก เพราะรายได้ไม่มั่นคงหรือเข้ามาเหมือนเดิม เงินก็ยังน้อย ไม่รู้จะเอาที่ไหนไปเก็บ เราก็เก็บเท่าที่เก็บได้มาเรื่อยๆ ในวันที่เรามีรายได้เพิ่มขึ้น เราก็วางแผนเงินออมล่วงหน้าไว้ ส่วนใหญ่ฟรีแลนซ์จะรู้ว่ารายได้ในอนาคตของเราจะเข้ามาเมื่อไร เราก็สามารถกำหนดได้ว่าเราจะเก็บเท่าไรจากรายได้ที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า อีกวิธีคือการจัดสัดส่วนเงินเก็บไว้ 1 ปีล่วงหน้า เช่น ปีนี้เราตั้งใจจะเก็บเงิน 100,000 บาท เราก็ควรเก็บมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น คนที่เป็นฟรีแลนซ์ต้องมองให้ไกลกว่าคนทำงานประจำ ในอีก 3 เดือน 6 เดือนข้างหน้าเราต้องเก็บเงินไว้เท่าไร เพราะความเสี่ยงมันเยอะกว่างานประจำอยู่แล้ว

 

คนที่เป็นฟรีแลนซ์ต้องมองให้ไกลกว่าคนทำงานประจำ

 

การลงทุนในชีวิตครั้งแรกของนายปั้นเงิน

จริงๆ ผมลงทุนมาตั้งแต่ตอนเรียนแล้ว ขอเงินพ่อมาลงทุนในหุ้น 30,000 บาท ตอนนั้นเราเรียนบัญชีก็มีความรู้เกี่ยวกับการอ่านงบการเงิน ร้อนวิชามาก เราเริ่มที่หุ้นเพราะกองทุนหรืออย่างอื่นไม่ได้มีงบการเงินให้ดู ช่วงแรกหุ้นตัวไหนงบการเงินดีเราก็ซื้อทันที ตอนนั้นยังไม่รู้จักการกระจายพอร์ตหรือการสังเกตธุรกิจ หุ้นตัวแรกที่ซื้อเป็นหุ้นเกี่ยวกับธุรกิจเหล็ก แช่ไว้ 1 ปี ด้วยความที่ธุรกิจเหล็กเป็นอะไรที่ตลาดไม่ค่อยสนใจ งบการเงินจึงไม่ได้โตอะไรมากมาย พอถือไปเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่าทำไมราคานิ่ง ได้แค่เงินปันผลมานิดหน่อย เพื่อนที่ซื้อหุ้นพร้อมกันแต่ลงตัวอื่นราคากลับขึ้นไปเรื่อยๆ ตอนนั้นก็เป็นบทเรียนให้เราว่า ควรจะมีมุมมองที่หลากหลายมากกว่านี้ หลังจากนั้นมาก็ไปลงทุนแบบเทรดเดอร์ ช่วงแรกก็ยังไปได้อยู่ แต่ช่วงหลังเราอยากได้มากขึ้นก็เลยไปเชื่อคนอื่น หุ้นตัวนั้นตัวนี้ดีก็ซื้อตาม ตอนนั้นเริ่มทำงานแล้วก็เอาเงินตัวเองใส่เข้าไปเรื่อยๆ จนผลตอบแทนเริ่มขาดทุนหนักมาก ขาดทุนหลักแสน เริ่มรู้สึกว่าเทรดเดอร์อาจจะไม่ใช่ทางของเรา ตัดสินใจนำเงินออกมาจากพอร์ตไปลงทุนในหุ้นใหญ่ๆ กระจายสัดส่วนมาในสินทรัพย์อื่นบ้าง เพราะตอนแรกไม่เคยสนใจกองทุนเลย เพราะคิดว่ามันช้า แต่พอศึกษาก็พบว่ากองทุนบางประเภทก็ช่วยให้เราเร็วได้ จากเดิมที่เราสนใจแต่เรื่องผลตอบแทน เราก็มาสนใจเรื่องความเสี่ยงมากขึ้น เพราะการลงทุนมีสองด้านเสมอ พอเรากระจายสัดส่วนพอร์ตได้ดีแล้ว เราก็มาศึกษาเรื่องการวางแผนการเงิน การวางแผนการเกษียณ และเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม 

 

คำแนะนำสำหรับฟรีแลนซ์ที่อยากเริ่มลงทุน

ไม่ว่าอาชีพอะไรหลักการลงทุนก็เหมือนกัน เพียงแต่เครื่องมืออาจจะต่างกัน มนุษย์เงินเดือนอาจจะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการ ดังนั้นคนที่เป็นฟรีแลนซ์ควรจะเริ่มลงทุนให้ไว เพราะเรามีข้อดีตรงที่เพดานรายได้เราไม่จํากัด ถ้าเราหาได้มากก็สามารถนำเงินมาทบได้มากขึ้น แต่สำหรับฟรีแลนซ์ที่ต้องการลงทุนระยะยาว แนะนำว่าให้ประเมินตัวเองก่อน ผมเชื่อว่าคนที่เป็นฟรีแลนซ์จะวางแผนชีวิตได้ค่อนข้างดี ก่อนจะเริ่มลงทุน เราต้องวางแผนให้ดีว่าชีวิตของเรามีเป้าหมายอะไรบ้าง โดยอาจจะทำประกันคุ้มครองความเสี่ยงที่จำเป็นไว้ด้วย ฟรีแลนซ์ควรจะเก็บเงินสำรองให้มากกว่ามนุษย์เงินเดือน เพราะถ้างานไม่เข้าเงินจะกลายเป็นศูนย์ทันที อย่างน้อยควรจะมีเงินสำรองไว้ประมาณ 1 ปี แต่ช่วงที่มีโควิดแบบนี้ ผมคิดว่าอาจจะไม่พอ ควรจะต้องสำรองไว้ 18-24 เดือนด้วยซ้ำ เพราะหลายๆ อย่างมันไม่แน่นอน

 

ไม่ว่าอาชีพอะไรหลักการลงทุนก็เหมือนกัน เพียงแต่เครื่องมืออาจจะต่างกัน คนที่เป็นฟรีแลนซ์ควรจะเริ่มลงทุนให้ไว เพราะเรามีข้อดีตรงที่เพดานรายได้เราไม่จํากัด และก่อนจะเริ่มลงทุน เราต้องวางแผนให้ดีว่าชีวิตของเรามีเป้าหมายอะไรบ้าง 

 

สำหรับตัวผมเอง พอร์ตที่สำคัญที่สุดคือพอร์ตการเกษียณ ผมวางแผนไว้ว่าอายุ 55-60 ปีจะเลิกทำงาน ผมก็จะต้องคิดแล้วว่าช่วงเวลานั้นจะต้องมีเงินเท่าไร และเราอยากจะใช้เงินเดือนละเท่าไร จากวันนี้ไปถึงตอนนั้นเป็นระยะเวลากี่ปี ต้องการผลตอบแทนเท่าไร แล้วก็มาดูว่าระหว่างทางก่อนเกษียณเรามีเรื่องอะไรที่อยากจะได้บ้าง ผมเป็นคนชอบการท่องเที่ยว เราอาจจะต้องเก็บเงินไว้เพื่อไปเที่ยวทุกปี ถ้าในช่วงเหตุการณ์ปกติ ผมจะไปเที่ยวต่างประเทศปีละ 1-2 ครั้ง ใช้งบประมาณครั้งละประมาณ 50,000 บาท ผมก็จะคิดแล้วว่าต้องเก็บเงินเท่าไร อาจจะลงทุนในพอร์ตที่ใช้เงินไม่มากแต่เก็บไปเรื่อยๆ ก็หารออกมาว่าต้องเก็บเดือนละเท่าไร แผนตรงนี้เป็นแผนระยะสั้นที่สามารถยืดหยุ่นได้ แต่เงินที่เราต้องใช้แน่ๆ ก็ควรจะเก็บไว้ในออมทรัพย์หรือในตราสารหนี้ระยะยาวก็ได้ สำหรับคนที่อยากจะแต่งงานในอีก 3-5 ปีข้างหน้าถือว่าเป็นแผนระยะกลาง ให้คิดตั้งแต่ตอนนี้เลย หรือบางคนต้องเก็บเงินไว้สำหรับการศึกษาของลูก ก็ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะขนาดของเงินในแต่ละเวลากับเป้าหมายมันไม่เท่ากัน ระยะสั้นเราอาจจะเสี่ยงได้น้อย ระยะกลางเราอาจจะเสี่ยงได้มากหน่อย ต้องรู้จักตัวเองว่าสามารถยืดหยุ่นอย่างไรได้บ้าง แล้วก็จัดพอร์ตให้เหมาะสมกับเป้าหมายของเรา 

 

ช่วยแนะนำเกี่ยวกับการจัดพอร์ตสำหรับคนแต่ละช่วงอายุ

คนแต่ละช่วงอายุมีความต้องการไม่เหมือนกัน ตอนนี้ผมอาจจะมีหลายพอร์ตเพราะมีหลายเป้าหมาย แต่ในวันที่ผมอายุมากขึ้น เรารู้แล้วว่าชีวิตต้องการอะไร เราจะเริ่มจัดพอร์ตรวมกันและเริ่มเน้นความต้องการใดความต้องการหนึ่งมากขึ้น ช่วงอายุ 25-30 ปี เราจะฝันเยอะและกล้าเสี่ยง ถ้าเราเริ่มวางแผนตั้งแต่อายุน้อย เราจะมองเห็น Career Path ของเรา คนที่เป็นฟรีแลนซ์จะมองออกว่าตัวเองมีโอกาสเติบโตอย่างไรได้บ้าง ในช่วงที่เราโฟกัสกับการทำงาน ขณะเดียวกันก็โฟกัสกับแผนการเกษียณไปด้วย การที่เราวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุน้อย เราจะมีโอกาสและมีความยืดหยุ่นมากกว่าคนอื่น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขชีวิตของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ต้องมีเงินสำรองของตัวเองไว้ด้วย ส่วนคนอายุ 35-45 ปี ฟรีแลนซ์อายุเท่านี้จะมีประสบการณ์และเริ่มมั่นคงมากขึ้น มีการวางแผนมากขึ้น ช่วงอายุเท่านี้ยังสามารถรับความเสี่ยงได้อยู่ แต่อาจจะไม่ได้มากเท่าคนอายุ 25-30 ปี คนที่มีเวลามากพออาจจะไปศึกษาและลงทุนในหุ้น คนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจจะลงทุนในหุ้นสัก 70% และ 30% ลงทุนในตราสารหนี้หรือสินทรัพย์ประเภทอื่น ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในหุ้น แนะนำให้ไปลงทุนในกองทุนรวม โดยจัดสัดส่วนให้เหมาะสมกับรูปแบบชีวิตที่ต้องการ ส่วนคนที่อายุ 45-55 ปี ฟรีแลนซ์ส่วนใหญ่ในอายุเท่านี้จะมั่นคงแล้ว หรือบางคนอาจจะเปิดกิจการ มีบริษัทเป็นของตัวเอง แต่สิ่งที่ต้องมองคืออีกไม่กี่ปีก็ต้องหยุดทำงาน เพราะร่างกายไม่ได้แข็งแรงเหมือนเดิมแล้ว อาจจะแบ่งเงินไปอยู่ในกลุ่มออมทรัพย์หรือสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ หรือบางคนที่รู้สึกว่าทั้งหมดที่เก็บมาปลอดภัยแล้ว ก็สามารถยกเงินทั้งหมดไปไว้ในออมทรัพย์ก็ได้ รายได้ที่เข้ามาก็เป็นโบนัสที่เอาไปใช้จ่ายแทน อยากบอกว่าเครื่องมือเป็นเรื่องสำคัญ คนที่มีเวลามากหน่อยอาจจะไปศึกษาหุ้นรายตัว แต่คนที่มีเวลาน้อยก็ควรไปลงทุนในกองทุนรวม หรือบางคนอยากได้เงินบำนาญเหมือนเพื่อนที่ทำงานประจำ ก็อาจจะไปทำประกันบำนาญไว้ เพื่อที่อนาคตจะได้มีเงินเข้ามาสม่ำเสมอ 

 

อยากฝากอะไรกับชาวฟรีแลนซ์

เรื่องการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน แม้ว่าฟรีแลนซ์จะเป็นอาชีพที่หาเงินได้ค่อนข้างเก่ง แต่อย่าลืมว่าอาชีพนี้ก็ค่อนข้างเสี่ยง เพราะมันไม่มั่นคงเหมือนงานประจำ แนะนำว่าควรแบ่งเงินบางส่วนมาทำให้ชีวิตมั่นคงด้วย ในวันที่เราอายุมากขึ้นความสามารถของเราจะยิ่งถดถอยลงไป ในวันนั้นถ้าเราไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม และไม่มีเงินสำรอง มันอาจจะทำให้เราหาทางไปต่อไม่ถูก 

 

ในวันที่เรามีความสามารถในการทำงานอยู่ ก็ควรจะแบ่งเงินไปวางแผนสำรองให้ตัวเอง เพื่อที่เราจะได้เดินไปข้างหน้าแบบไม่ต้องพะวงข้างหลัง


 

หากหารายได้มากมายแล้ว ก็อย่าลืมนำเงินไปต่อเงินด้วยการลงทุน และหากอยากได้ความรู้เพิ่มเติมที่ตอบโจทย์การลงทุน เหมาะกับผู้ที่อยากเตรียมพร้อม ก่อนเริ่มลงมือ เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่นี่ https://www.setinvestnow.com/th/home ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อยากเปิดบัญชีลงทุน www.setinvestnow.com/openacc คลิกไปที่เมนูเปิดบัญชี และคลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ

 


 

Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer อนุรักษ์ นนทจิตต์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster ณฐพร  โรจน์อนุสรณ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

The post เป็นฟรีแลนซ์ก็วางแผนการเงินการลงทุนให้ชีวิตมั่นคงได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พรการเงิน-การลงทุน 6 ข้อ ต้อนรับปี 2564 https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth16/ Sun, 03 Jan 2021 13:04:50 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=438746

โค้ชหนุ่มและโอมศิริขอมอบ ‘พรปีใหม่’ เวอร์ชันการเงิน-การ […]

The post พรการเงิน-การลงทุน 6 ข้อ ต้อนรับปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>

โค้ชหนุ่มและโอมศิริขอมอบ ‘พรปีใหม่’ เวอร์ชันการเงิน-การลงทุน ที่กลั่นกรองมาจากบทเรียนช่วงฝ่าวิกฤตอันหนักหน่วงในปีที่ผ่านมา ถือเป็น Mindset เพื่อริเริ่มหรือต่อยอดทางการเงินและการลงทุนให้ราบรื่นลุล่วงตลอดทั้งปี

  

  1. แผนการเงินสำคัญเสมอ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตหรือไม่ก็ตาม

ปีนี้ทำให้เราทุกคนเห็นความสำคัญของแผนการเงินที่มารองรับความไม่แน่นอนในสภาพเศรษฐกิจ ยังทำให้เรามองเห็นภาพรวมในอนาคตหลังวิกฤตครั้งนี้ว่าแผนการเงินสำคัญกับตัวเรามากแค่ไหน

 

  1. เงินสำรองฉุกเฉินยังคงสำคัญเสมอ 

วิกฤตครั้งนี้ฉีกตำราเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เดือน เพราะอย่างน้อยเราควรจะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน 10-12 เดือน เพราะก่อนหน้านี้คงไม่มีใครคาดคิดว่าวิกฤตครั้งนี้จะยาวนานข้ามปี

 

  1. การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ท้าทายความแน่วแน่ในการลงทุน

หลายคนเข้ามาในตลาดหุ้นก็เพื่อผลกำไร แต่ผลกำไรจะยั่งยืนได้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนที่แน่นอน

 

  1. หมดยุคการหารายได้ทางเดียว 

สถานการณ์ที่ผ่านมาตอกย้ำเราว่า ยุคนี้ใครมีรายได้เพียงหนึ่งทางย่อมมีความเสี่ยงสูงต่อการใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ทางที่ดีหัดหารายได้หลายๆ ทาง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสภาพคล่องทางการเงินในโลกที่ไม่มีการงานอะไรแน่นอนจะดีกว่า

 

  1. เข้าสู่ยุคการบริหารหนี้สินให้เป็น 

ช่วงวิกฤตโควิด-19 เป็นช่วงที่เราเห็นปริมาณของคนเป็นหนี้จำนวนมากที่หัดมาใช้บริการพักชำระหนี้สินกันเยอะมาก แต่การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด หากหนี้สินที่เกิดขึ้นเป็นหนี้จำเป็น เช่น หนี้ที่อยู่อาศัย หรือหนี้ดีเพื่อต่อยอดให้เงินทำงาน สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ เราต้องมีทักษะบริหารหนี้ เพื่อสร้างให้เกิดโอกาสในการต่อยอดในการลงทุนมากกว่า

 

  1. แผนเกษียณ คือพื้นฐานที่ทุกคนควรออกแบบ 

แผนเกษียณกลายเป็นคำที่หลายคนเริ่มใหม่ความสนใจมากขึ้นหลังเผชิญหน้ากับวิกฤตครั้งนี้ และการมีแผนเกษียณนั่นย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด พฤติกรรมการใช้เงิน การหาความรู้เพื่อการลงทุนที่เหมาะสมทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยง ต่ออนาคตข้างหน้าที่จะได้เกษียณอย่างมีความสุขโดยปราศจากความกังวลเรื่องเงินในบั้นปลายของชีวิต

 


คำอวยพรใดไม่สำคัญเท่าเราลงมือทำ ความสำเร็จทุกประการเราสร้างได้ด้วยตัวเอง เริ่มตั้งแต่วันนี้ สานต่อพรทางการเงินให้เป็นจริง คุณสามารถหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การลงทุนในแบบคุณ ศึกษาข้อมูล ก่อนเริ่มต้นลงมือได้ที่เว็บไซต์ใหม่ที่เหมาะกับผู้อยากเริ่มต้นลงทุน www.setinvestnow.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

หากอยากเปิดบัญชีลงทุนก็มีเมนูเปิดบัญชีที่คุณสามารถคลิกต่อไปยังโบรกเกอร์ที่พร้อมให้บริการได้ง่ายๆ www.setinvestnow.com/openacc


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

 

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล
Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

 

 

 

 

The post พรการเงิน-การลงทุน 6 ข้อ ต้อนรับปี 2564 appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาชีพหมอที่ว่ายุ่ง แบ่งเวลามาลงทุนเองอย่างไร Feat. หมอยุ่งอยากมีเวลา https://thestandard.co/podcast/themoneygrowth15/ Sun, 27 Dec 2020 14:13:29 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=436290

อยากลงทุน…แต่ไม่มีเวลาศึกษา ต้องฟัง! เพราะนักลงทุ […]

The post อาชีพหมอที่ว่ายุ่ง แบ่งเวลามาลงทุนเองอย่างไร Feat. หมอยุ่งอยากมีเวลา appeared first on THE STANDARD.

]]>

อยากลงทุน…แต่ไม่มีเวลาศึกษา ต้องฟัง! เพราะนักลงทุนรายนี้ประกอบอาชีพ ‘หมอ’ ที่ขึ้นชื่อว่ายุ่งสุดๆ แต่ยังมีเวลาศึกษา ลงทุน แถมยังให้ความรู้เรื่องลงทุนผ่านเพจ หมอยุ่งอยากมีเวลา

 

โค้ชหนุ่มและโอมศิริ ชวน หมอตุ้ย-พญ.อรพรรณ คงพันธุ์วิจิตร มาแชร์ประสบการณ์และวิธีคิดเรื่องการลงทุน จุดที่เอะใจ ความเละในช่วงเริ่ม การแบ่งเวลาศึกษา รวมถึงวิธีคัดกรองหุ้น 


ติดตามได้ใน The Money Growth by The Money Coach เอพิโสดนี้

 

สำหรับท่านที่สนใจและกำลังมองหากวิธีการวางแผนภาษี หรือสนใจกองทุนรวม สามารถติดตามข้อมูลทาง Facebook: Thai Mutualfund ให้เงินทำงาน ผ่านกองทุนรวม

 


 

อะไรทำให้หันมาสนใจด้านการเงินการลงทุน 

โดยส่วนตัวไม่เคยสนใจด้านการเงินการลงทุนมาก่อน ช่วงที่เรียนแพทย์ก็ขอเงินคุณพ่อคุณแม่ใช้มาตลอด พอจบมาก็ไปใช้ทุนต่างจังหวัด 3 ปี ช่วงนั้นมีรายได้เข้ามาบ้าง แต่เรายังไม่รู้จักเรื่องการเงินการลงทุน รวมถึงเรื่องวางแผนภาษีด้วย เราก็ใช้เงินไปวันๆ เหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ต่อมาเราเรียนแพทย์เฉพาะทางอีก 3 ปี เรียนจบอายุก็ 30 นิดๆ แล้ว ประจวบกับชีวิตในตอนนั้นเกิดสะดุดลง ทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนตัวเองว่าด้านไหนที่เราควรจะปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น หนึ่งในนั้นก็เป็นเรื่องการเงิน เพราะเรารู้สึกว่าเราทำงานเยอะ แต่ทำไมเงินออมในบัญชีมีน้อยมาก ตอนนั้นก็เริ่มต้นจากการซื้อหนังสือเกี่ยวกับการเงินการลงทุนมาอ่านเอง ทำให้เริ่มรู้ว่าเราต้องมีรายได้ที่เป็น Passive Income รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านภาษีก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การลงทุนแรกจึงเป็นการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี LTF ก่อน สักพักก็มีคนชวนเข้ามาเล่นหุ้น เราก็คิดง่ายๆ ว่าแค่ซื้อถูกขายแพงก็ได้กำไร หุ้นตัวแรกที่ซื้อเป็นกลุ่มอสังหาฯ รับเหมา ด้วยความที่ไม่มีความรู้ ทำให้ช่วงแรกที่ลงทุนไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้ เราก็ไปซื้อหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นมาศึกษาเอง แล้วค่อยๆ วิเคราะห์ตัวเองว่าชอบแบบไหน ทำให้ค้นพบว่าเราชอบการลงทุนตามแนวพื้นฐาน เป็นการลงทุนหุ้นเหมือนการลงทุนในกิจการนั้นๆ อีกอย่างเราไม่มีเวลามานั่งมอนิเตอร์ราคาหุ้น พอมั่นใจแล้วก็ศึกษาการลงทุนตามแนวพื้นฐานมากขึ้นและลงทุนต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จากวันนั้นถึงวันนี้ที่ศึกษาการเงินการลงทุนอย่างจริงจังก็ประมาณ 6 ปีแล้ว 

 

บริหารเวลาในการทำงานกับการศึกษาด้านการเงินการลงทุนอย่างไรบ้าง

เวลาทำงานเราก็ทำงานตามปกติ ในช่วงแรกๆ เราก็จะแบ่งเวลาที่เราว่างสักครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงต่อวัน หรือในช่วงก่อนนอน เพื่อมาอ่านหนังสือด้านการเงินการลงทุน ถ้าเราอ่านมาเรื่อยๆ จนมีพื้นฐานแล้ว การอ่านครั้งต่อไปมันก็จะเร็วขึ้นเอง เราจะเริ่มจับประเด็นได้ จากการลงทุนตอนแรกที่มันเละ มันก็ค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งมันก็ต้องอาศัยระยะเวลาเป็นปี ความรู้เป็นอะไรที่สั่งสมได้ 

 

ปัจจุบันชอบลงทุนในหุ้นกลุ่มไหนเป็นพิเศษ

ด้วยความที่เราเป็นแพทย์ เราจึงชอบศึกษาหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เพราะเราจะรู้ว่าตรงไหนที่จะมากระทบกับธุรกิจนี้ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบคือหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว นอกนั้นก็จะมีหุ้นค้าปลีกบ้าง 

 

วิธีการลงทุนสไตล์หมอยุ่ง

ใช้ทั้ง 2 วิธี สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษี จะใช้การลงทุนแบบ DCA ส่วนหนึ่ง และลงทุนแบบเป็นก้อนส่วนหนึ่ง เพราะเราจะรู้อยู่แล้วตั้งแต่ต้นปีว่าเราต้องเสียภาษีประมาณเท่าไร และต้องซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีประมาณเท่าไร 70% เราจะนำไปลงทุนแบบ DCA ส่วนอีก 30% เราก็แบ่งไว้เพื่อติดตามทิศทางของตลาด ดูจังหวะที่เหมาะสมเพื่อเข้าไปลงทุนเพิ่ม ส่วนหุ้นที่เราลงทุนเองก็จะดูหุ้นตัวที่เราสนใจ แล้วก็รอราคาที่เหมาะสม 

 

ทิศทางในปีหน้า

ปีหน้าต้องดีกว่าปีนี้อยู่แล้ว หุ้นหลายตัวอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวขึ้นมา ส่วนวัคซีนก็น่าจะมาช่วงกลางปีหน้า และกว่าจะกระจายวัคซีนออกไปให้ทั่วถึงก็อาจต้องใช้เวลาอีกสักพัก 

 

มีแนวทางการคัดเลือกหุ้นและการลงทุนอย่างไรบ้าง

โดยส่วนตัวลงทุนตามแนวพื้นฐาน อย่างแรกเราก็คัดเลือกหุ้นมาเบื้องต้นก่อน ส่วนนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการคัดเลือกอย่างไร ส่วนตัวจะชอบหุ้นในอุตสาหกรรมที่คิดว่าจะเติบโตในอนาคต พอเราคัดหุ้นมาได้สักชุดหนึ่ง เราก็ค่อยมาศึกษาว่ากิจการของหุ้นตัวนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ต้องเข้าใจกิจการก่อน จากนั้นก็มาดูงบการเงิน กิจการไหนที่ดูโดดเด่นเป็นผู้นำในตลาด ให้เราเข้าไปศึกษารายละเอียดของบริษัทนั้นๆ ในเว็บไซต์ของ SET ก็ได้ แล้วไปดูงบการเงินที่เขียนใน 56-1 รายได้และกำไรของเขาเป็นอย่างไร แนวโน้มที่ผ่านมาในอดีตเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้คาดการณ์ในอนาคตได้ถูกว่ามันน่าจะไปในทิศทางไหน รวมถึงก่อนจะซื้อ เราต้องประเมินมูลค่าหุ้นได้ อย่างน้อยเราต้องรู้ว่าหุ้นที่เราจะซื้อ ราคาตอนนั้นมันถูกหรือแพง 

 

วางเป้าหมายการลงทุนของตัวเองไว้อย่างไรบ้าง 

ด้วยความที่ทำงานโรงพยาบาลรัฐ เราก็จะมีเรื่องสวัสดิการต่างๆ และประกันชีวิตอยู่แล้ว เป้าหมายการลงทุนตอนนี้จึงเน้นเพื่อการเกษียณเป็นหลัก และการบริหารพอร์ตเพื่อความมั่งคั่ง เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่ตัวเองต้องการ นั่นคือการมีเวลา

 

ใน 1 วัน บริหารจัดการเวลาของตัวเองอย่างไรบ้าง

ตื่นนอนประมาณ 6 โมงเช้า เวลา 6-7 โมงเช้าก็จะเขียนเพจ ช่วงเวลาที่เขียนก็จะได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเงินการลงทุนไปในตัวอยู่แล้ว พอถึงช่วง 7-8 โมงก็เตรียมตัวไปทำงาน พอดีคอนโดฯ อยู่ใกล้ที่ทำงาน เราก็ใช้เวลาขับรถไปที่ทำงานไม่นาน ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น เราก็ทำงานประจำที่เราทำอยู่ปกติ ดูแลคนไข้ มีประชุมบ้าง มีสอนบ้าง หลัง 4 โมงเย็นก็กลับคอนโดฯ มาออกกำลังกายสักครึ่งชั่วโมง จากนั้นก็รับประทานอาหาร ดูโทรทัศน์ ถึงช่วงทุ่มหนึ่งเราก็ไปอาบน้ำ หลังจากนั้นก็มาอ่านหนังสือ เราก็จะดูว่าช่วงนั้นเราต้องอ่านหนังสือเพิ่มเติมในเรื่องอะไร ช่วงที่โควิด-19 ระบาด เราก็ต้องอ่านหนังสือและงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19 มากพอสมควร พอถึงช่วงประมาณ 3 ทุ่ม เราก็เริ่มคิดเนื้อหาเกี่ยวกับเพจของเราว่าเราจะเขียนอะไรบ้าง และหุ้นที่เราศึกษาอยู่ไปถึงไหนแล้ว พอประมาณ 4-5 ทุ่มเราก็เข้านอน 

 

ผลลัพธ์การลงทุนตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้

ตอนนี้เริ่มดีขึ้นและเป็นเชิงบวก เพราะเราถือหุ้นมาสักพักหนึ่งแล้ว ถามว่าการลงทุนตอนนี้ตอบโจทย์การมีเวลาของเราได้ไหม มันก็ตอบโจทย์พอสมควรแล้ว แต่เราก็ยังอยากทำงานประจำของเราอยู่ เราอยากเห็นพอร์ตของเราโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันก็เป็นความสุขของเรา สิ่งที่แตกต่างจากเมื่อก่อนอย่างชัดเจนคือเรื่องของเป้าหมาย เมื่อก่อนเราใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่ได้วางแผนเรื่องการเงินการลงทุนอะไรเลย แต่พอถึงวันนี้เรารู้สึกเลยว่าชีวิตการเงินของเรามันคล่องตัวขึ้นและมีอิสระมากขึ้น งานไหนที่ไม่อยากทำก็ปฏิเสธได้ ต่างจากเมื่อก่อนที่เราต้องทำงานพาร์ตไทม์ ต้องไปอยู่เวรตอนกลางคืน และยังเลือกอะไรไม่ได้มากนัก

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Money Growth by The Money Coach
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Hosts จักรพงษ์ เมษพันธุ์, โอมศิริ วีระกุล

Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Executive Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Project Manager ณปภัช ฤทธิอัครกุล

Show Producer โอมศิริ วีระกุล

Sound Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Videographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์
Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย
Shownote หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Webmaster ไชยพร ศิริกลการ
Channel Admin เอกราช มอเซอร์

Social Media Admin สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล 
Archive Officer ชริน จำปาวัน

 

The post อาชีพหมอที่ว่ายุ่ง แบ่งเวลามาลงทุนเองอย่างไร Feat. หมอยุ่งอยากมีเวลา appeared first on THE STANDARD.

]]>