นักเรียนนอก – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 10 May 2021 10:44:08 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เรียนต่อ เรียนภาษาที่พม่า ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย #ทีมเอเชีย https://thestandard.co/podcast/nukreannok-medley2/ Mon, 10 May 2021 10:44:08 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=487049 นักเรียนนอก

หาประเทศเรียนต่อ เรียนภาษา บางทีอาจไม่ต้องไปถึงยุโรป หร […]

The post เรียนต่อ เรียนภาษาที่พม่า ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย #ทีมเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักเรียนนอก

หาประเทศเรียนต่อ เรียนภาษา บางทีอาจไม่ต้องไปถึงยุโรป หรืออเมริกา โซนเอเชียแถวๆ บ้านเราก็น่าสนใจไม่น้อย ลองฟังประสบการณ์ชีวิตจาก 4 ตอนของพอดแคสต์ นักเรียนนอก  

 

00:00 ไปเรียนปริญญาโทและเอก การบริหารจัดการมรดกโลก ที่โตเกียว ญี่ปุ่น

55:00 ไปเรียนแลกเปลี่ยนภาษาจีนที่เมืองไถจง ไต้หวัน

01:41:03 ไปเรียนอินเดียจนได้เรื่องมาเล่าเป็นเพจฮิต ‘ตามติดชีวิตอินเดีย’

02:18:22 ถูกพ่อส่งไปเรียนที่พม่าจนได้เรื่องมาเขียนเป็นหนังสือ ‘โยดายาบอย’

 

The post เรียนต่อ เรียนภาษาที่พม่า ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย #ทีมเอเชีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา https://thestandard.co/podcast/nukreannok-medley1/ Thu, 06 May 2021 12:15:10 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=485071 รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา

รวม 5 ตอนฟังต่อกันยาวๆ จากพอดแคสต์ ‘นักเรียนนอก’ หลากหล […]

The post รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา

รวม 5 ตอนฟังต่อกันยาวๆ จากพอดแคสต์ ‘นักเรียนนอก’ หลากหลายทั้งสาขาวิชาและประสบการณ์ชีวิตจากดินแดนอเมริกา

 

00:00 ไปเรียนร้องเพลงที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

40:31 ไปเรียนปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่เคมบริดจ์และลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

01:09:48 ไปเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ไวต์วอเตอร์ สหรัฐอเมริกา

01:29:51 ไปเรียนและเข้าสมาคมนักเรียนหญิงที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

02:16:28 ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple

 

The post รวมฮิตชีวิตและประสบการณ์จากนักเรียนนอก #ทีมอเมริกา appeared first on THE STANDARD.

]]>
นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ กับการเรียนสื่อสารมวลชนที่อังกฤษในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสิ่งพิมพ์และออนไลน์ https://thestandard.co/podcast/nukreannok17/ Thu, 28 Dec 2017 17:01:53 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=58654

เอม-นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ เป็นหน้าที่หลายคนอาจจะคุ้นตาก […]

The post นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ กับการเรียนสื่อสารมวลชนที่อังกฤษในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสิ่งพิมพ์และออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เอม-นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ เป็นหน้าที่หลายคนอาจจะคุ้นตากันดีในวงการสื่อโทรทัศน์บ้านเรา เอมเคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าวภาคสนามของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจไปเรียนต่อด้านการทำข่าวโดยตรงที่ประเทศอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัย City, University of London ที่นั่นเอมได้ลงพื้นที่ทำข่าวจริงในสังคมยุโรป ได้ฝึกงานกับสำนักข่าวระดับบิ๊กทั้ง The Independent และ BBC ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์


ไปฟังประสบการณ์ที่เอมได้รับจากการฝึกงานที่นั่น ในยุคนี้ที่เขาบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่เฟื่องฟูที่สุดของวงการสื่อมวลชน

 

 

ตัดสินใจจะเป็นนักเรียนนอก

ช่วงนั้นทำงานด้านสื่อสารมวลชนมาสักระยะแล้ว เอมก็รู้สึกว่าชีวิตเริ่มดรอปๆ รู้สึกไม่ได้ทำข่าวอย่างที่ชอบทำ ถนัดทำข่าวการเมือง ข่าวสิทธิมนุษยชน ข่าวภาคสนาม ข่าวสถานการณ์ น้ำท่วม เอมเริ่มทำงานตอน 23 และตัดสินใจไปเรียนต่อตอน 31 มันก็ทำงานมา 7-8 ปีแล้ว รู้สึกว่าไปช้าไปด้วยซ้ำ รู้สึกไม่มีอะไรใหม่ๆ ทำ ไม่มีอะไรใหม่ๆ มานำเสนอแล้ว มันเหมือนหมดของ


คนเราถ้ามีของมากขึ้นแล้วเจอสถานการณ์เดิมๆ มันก็จะรีแอ็กได้สนุกขึ้น มีอะไรใหม่ๆ มากขึ้น ถ้าเจอข่าวเดียวกัน ก่อนเรียนกับหลังเรียนเอมก็มองข่าวต่างกันแล้ว


ก็เลยสอบชิงทุน Chevening ไปเรียนคณะ International Journalism (สื่อสารมวลชนนานาชาติ) ไปเรียนทำข่าวที่มหาวิทยาลัย City, University of London เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งด้านสื่อ ดังมาก หรือที่อื่นๆ ถ้าใครสนใจเรียนที่เน้นด้านปฏิบัตินอกจากที่ซิตี้ก็จะเป็น Goldsmiths, University of London ถ้าเป็นสาย Policy ก็จะมี University ot Westminster หรือว่า University of Sheffield แล้วแต่จะเลือก

 

การขอทุน Chevening

ยุคนี้ปีหนึ่งจะขอทุนได้ประมาณ 30 คน ก็เป็นจำนวนที่ได้ลุ้นอยู่ ต้องส่งพอร์ตโฟลิโอด้านการทำงาน คีย์เวิร์ดของเขาคือ Leadership และ Networking เป็นสองสิ่งสำคัญ เกรดเฉลี่ยก็ไม่ได้เป็นปัจจัยใหญ่สุด เอมเองก็เป็นคนเรียนไม่เก่ง เกรดไม่ได้ดีมาก ก็มีทุนนี้แหละที่เป็นทุนระดับท็อปแล้วได้ลุ้น


เกณฑ์ของทุนคือต้องมีคะแนน IELTS 6.5 ต้องมี unconditional offer จากมหาวิทยาลัยใดก็ได้ในอังกฤษ ซึ่งยื่นขอทุนและยื่นสมัครเข้าเรียนพร้อมๆ กันได้ แต่วันที่เดินทางไปเราต้องมีที่เรียนเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้สอบ IELTS ก่อน เพราะใช้สมัครได้ทั้งทุนและมหาวิทยาลัย อีกอย่างที่ต้องใช้คือ Statement of Purpose เป็นเอกสารที่แสดงตนว่าทำไมเราถึงควรได้ทุนไปเรียน


Chevening เป็นทุนของรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการให้ทุนกับคนที่ทำงานภาคสังคมอยู่แล้ว คือถ้าใครทำงานกิจการส่วนตัวหรือกิจการที่บ้านมาตลอดก็ยากหน่อย เอมก็ขายตัวเองไปว่าทำงานด้านสื่อ และจะไปเรียนด้านสื่อ กลับมาก็มาทำงานด้านสื่อ เอมก็เดาว่าทางทุนคงเห็นภาพชัดว่าถ้าให้ทุนไปแล้วจะไปทำอะไรต่อ

 

เริ่มไปเรียนที่ลอนดอน

ที่นั่นเป็นเมืองที่แพงที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ยกตัวอย่าง เรื่องการกิน ถ้าเราหิวแล้วอยู่นอกบ้านก็ต้องซื้อแซนด์วิชกินราคา 5 ปอนด์ เท่ากับราว 250 บาท นี่คือถูกสุดแล้ว เป็นโมเมนต์ที่กินกันตาย เป็นเมืองที่ต้องมีสัก 2,000 บาทต่อวัน รวมค่าที่พัก 1,000 บาท ซึ่งน่าจะได้ที่พักแบบรูหนู ต้องไปแชร์แฟลตรวมกับคนอื่น


เอมไปเรียนอยู่ 1 ปี และฝึกงานอีกครึ่งปี รวมแล้วปีครึ่ง


สิ่งที่ได้มาสูงสุดจากการไปเรียนยิ่งกว่าวิชาชีพคือการทำกับข้าว


การเรียนที่นี่ไม่ได้เรียนหนักมาก แต่เน้นภาคปฏิบัติมากกว่า มันเลยพอมีเวลาให้บริหารได้ ทำกับข้าวได้ ทำงานพาร์ตไทม์ส่งให้ที่เมืองไทยบ้าง

 

การเรียนที่ City University

ลอนดอนเป็นเมืองใหญ่ที่แบ่งออกเป็นหลายส่วน มหาวิทยาลัยนี้จะอยู่ในส่วน Borough of City เป็นเหมือนเทศบาล เป็นเขตหัวใจของลอนดอน เทียบกับเมืองไทยก็เป็นแถวสนามหลวง เป็นกรุงเก่า City University ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ประจำอยู่ตรงนั้น แถวสถานีรถใต้ดิน Angel สถานี Barbican เดินทางสะดวก อยู่แถบกลางค่อนไปทางเหนือ บรรยากาศไม่ค่อยขลัง เพราะอยู่กลางเมืองเลย เดินเข้าไปก็จะเหมือนออฟฟิศ


วิชาเรียนก็มีเรื่องกฎหมายสื่อ เรื่องการทำสื่อ เรื่องการทำสื่อสมัยใหม่ ดิจิทัลมีเดีย แต่ที่หนักคือการปฏิบัติ เข้าไปเทอมแรกอาจารย์ให้ทำข่าวสัปดาห์ละชิ้น ข่าวแรกที่ทำคือมหาวิทยาลัยซ่อมแล้วเสียงดัง คือก็บ่นกัน ก็ทำจากทำข่าวใกล้ๆ ตัวก่อน ซึ่งเพื่อนแต่ละคนที่มาจากหลากหลายประเทศก็จะสนใจต่างกันไป อย่างมีวันหนึ่งที่อาจารย์ให้ออกไปใช้ชีวิตในเมืองแล้วหาข่าวมาทำ เอมเป็นสายการเมืองก็ดิ่งไปที่เวสต์มินสเตอร์ ซึ่งเป็นรัฐสภา ก็ไปเจอผู้ชุมนุมมาประท้วงเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ถ่ายภาพมาเขียนข่าว ส่วนเพื่อนชาวอิตาลีซึ่งเป็นประเทศรุ่มรวยด้านวัฒนธรรมกว่าก็ไปอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งเป็นย่านศิลปะ เพราะช่วงนั้นมี London Fashion Week ก็ไปทำข่าวที่เซ็กซ์ช็อปว่าชอบลอนดอนแฟชั่นวีกไหม ปรากฏเจ้าของร้านบอกไม่ชอบ เพราะพอมีกิจกรรมใหญ่ นักข่าวก็มาเยอะ คนเยอะ ลูกค้าก็หาย คนไม่เข้าเซ็กซ์ช็อปอะไรอย่างนี้

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนมหาวิทยาลัย

ได้วิธีการทำงาน การลงมือทำจริงๆ หลายอย่างเคยเห็นมาจากอินเทอร์เน็ตก็สงสัยว่าเขาทำกันยังไง อาจารย์ก็บอกให้ลองทำเลย ไม่เคยใช้โฟโต้ช็อปก็ต้องลองใช้ ตัดต่อไม่เก่งก็ต้องลองทำ ก่อนหน้าไปเรียนเอมเป็นผู้ประกาศข่าว เป็นสาย announcer ทำเป็นแต่การพูด สกิลอื่นๆ ไม่ค่อยเป็นเท่าไร ตอนเรียนก็ได้ลองทำเลย แม้ตอนนี้ไม่ได้ตัดต่อเก่งหรือทำโฟโต้ช็อปเก่งเท่าสายกราฟิก แต่ก็ทำได้แล้ว

 

บรรยากาศของวงการสื่ออังกฤษ

สื่อส่วนมากของอังกฤษจะมีคาแรกเตอร์ที่ชัดเจน ถ้าติดตามก็จะรู้ว่าที่นี่เป็นลิเบอรัล ที่นี่คอนเซอร์เวทีฟ ที่นี่เลเบอร์ ฯลฯ ถ้าสมมติเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมา สื่อที่เลเบอร์ก็จะเรียกร้องเรื่องสิทธิ์คนจนว่าทำไมชีวิตแย่ ถ้าเป็นสื่อเอียงขวาหน่อยก็จะไปหากล้องวงจรปิดว่าคนวางเพลิงเป็นคนดำหรือเปล่า สร้างบรรยากาศให้เกิดการถกเถียงกันในเรื่องเชื้อชาติ


เรื่องการเลือกข้างมันเป็นเรื่องธรรมดาของคนอังกฤษอยู่แล้ว เพราะนโยบายของนักการเมืองแต่ละพรรคจะส่งผลกับคนต่างชาติอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะอินกัน อย่างเอมเข้าไปทำข่าวก็ทำในมุมคนไทย อย่างเช่นช่วงนโยบายรถไฟใต้ดินวิ่ง 24 ชม. ​ก็ไปสัมภาษณ์นักศึกษาไทยที่ต้องอ่านหนังสือดึก ก็สะท้อนให้เห็นคุณภาพชีวิตคนไทยที่นั่นว่าเป็นยังไง

 

 

ได้ไปฝึกงานที่ The Independent และ BBC

ทางโรงเรียนไม่ได้บังคับให้ฝึก แค่เชียร์ให้ไปฝึก แต่เอมก็อยากไปฝึกเอง ที่แรกคือที่ The Independent เป็นช่วงเวลาที่รู้สึกว่ากลับมาเป็นโนบอดี้มากๆ อีกครั้ง เป็นเหมือนไอ้หัวดำผิวเหลืองคนหนึ่งที่เดินเข้ามาฝึกงาน รอคำสั่ง สิ่งที่ได้ทำ เช่น กองเขาทำข่าวช่วงสิ้นปี แนะนำ Travel list ก็เอาฐานข้อมูลปีที่แล้วมาดู แล้วเขาก็ให้เอมโทรเช็กแต่ละที่หน่อย อัพเดตข้อมูลหน่อย ก็รู้สึกว่างานเรามันช่างเป็นฟันเฟืองที่เล็กที่สุดในองค์กรดี ทำให้เราเข้าใจว่าคนทำงานจริงๆ มันเป็นยังไง


นอกนั้นก็คือได้เขียนข่าว แต่ก็ยังไม่ดีพอที่จะได้ลงในหนังสือพิมพ์ เสียดายเหมือนกัน แต่ก็รู้ตัวว่าตัวเองมาทางทีวี มาทางสื่อบรอดแคสต์มากกว่า


แล้วก็ได้เห็นการทำงานที่นั่น บางทีหนังสือพิมพ์ 40 หน้าทำกันอยู่ 8 คน บางคนเขียนไป 7 ข่าว ก็เป็นประเด็นเรื่องวิกฤตสื่อสิ่งพิมพ์ คนทำงานก็น้อยลง ต้อง downsize สุดท้ายก็ไม่รอด เขาก็ผันตัวไปเป็นออนไลน์อย่างเดียว


ต่อมาก็ไปฝึกงานที่ BBC เป็นนักข่าวฟรีแลนซ์ โชคดีมากที่เอมได้เจอ พี่กิ๋ง-อิสสริยา พรายทองแย้ม ที่ให้โอกาสได้ไปทำงานด้วย ก็ต้องมีผลงานออกเลย เอมไม่ได้เป็นช่างภาพ ไม่ได้เป็นผู้ประกาศข่าว แต่ทำงานด้วยตัวเองเลย จะทำยังไงก็ได้ให้มีหน้าโผล่ หรือมีแค่เสียง หรือมีแค่ภาพก็ได้ แต่ต้องมีข่าวออกให้ได้


ตอนนั้นก็ได้ทำข่าวหลากหลาย เช่น งานลอยกระทงที่อังกฤษ หรือข่าวหนักๆ อย่างช่วงรับร่างรัฐธรรมนูญก็ไปสัมภาษณ์คนไทยที่นั่น หรือตอนวันที่ 13 ตุลาคมที่ชาวไทยพบกับข่าวร้ายเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เราก็ live คนไทยที่ออกมาจุดเทียน หรือได้นั่งอ่านข่าวในสตูดิโอก็มี ก็ได้ทำหลายอย่างครับ


สิ่งที่ได้เพิ่มจากที่นี่คือการทำคลิปข่าวออนไลน์ การนำเสนอว่าควรตัดยังไงให้เหมาะกับออนไลน์มากกว่าทีวี ช่วงนั้นที่เอมไปเรียนเป็นช่วงที่เปลี่ยนผ่านจากทีวีมาออนไลน์อย่างชัดเจน

 

กับทัศนคติที่คนคิดว่าสำนักข่าวต่างประเทศซื้อได้

มันไม่น่าจะซื้อได้หรอก มันไม่เมกเซนส์ แต่ต้องบอกว่ามันมีสองส่วนใหญ่ๆ คือต้องยอมรับว่าคนไทยมีมุมมองต่อสิ่งต่างๆ ไม่ได้กว้างมาก มันก็เป็นบทสนทนาเดิมๆ หรือสิ่งที่เราเห็นจนคุ้นชิน เลยไม่ทราบมุมมองจากภายนอก ซึ่งเป็นมุมมองที่เราต้องยอมรับว่าคนคิดกันได้ ก็ต้องเลือกเสพสื่อดีๆ เพื่อปรับทัศนวิสัย มุมมองของเรา


อีกมุมคือบางสื่อที่เสนอข่าวในทางลบ ไม่ใช่ว่าเขาถูกซื้อ แต่เป็นเรื่องตลาดของคนที่เสพเขามากกว่า มันเหมือนเป็นดราม่า เป็นพล็อตเรื่องที่เขารู้และเสพมาตลอด คือคนแต่ละเชื้อชาติจะมีการสเตอริโอไทป์ที่ต่างกันไป คนไทยก็เป็น เราก็จะรู้สึกว่าคนจีนเสียงดัง คนญี่ปุ่นมีระเบียบ ฉะนั้นถ้าเอาข่าวที่เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นมีระเบียบมาขาย คนก็จะรับง่าย แต่ถ้าเป็นข่าวคนญี่ปุ่นไม่มีระเบียบ คนก็จะ ‘ใช่เหรอวะ?’


คือเราก็ต้องเลือกเสพสื่อ บางข่าวเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีก็รับฟังไว้เพื่อพัฒนาประเทศ แต่บางข่าวมันเกินไปก็ไม่ต้องไปฟัง

 

มุมมองของนักข่าวต่างชาติต่อคนไทย

เขามองดีนะ ไม่ใช่แค่นักข่าว แต่เป็นคนส่วนมากที่ใช้ชีวิตตามท้องถนน ไปถามเขาเรื่องเมืองไทยก็จะนึกถึงอาหารไทย ทะเล การท่องเที่ยว คนไทยจิตใจดี ซึ่งก็จะมีเรื่องที่เอมมองว่าไม่ใช่เรื่องแย่นะ อย่างเช่น เรื่องโสเภณี เรื่องเลดี้บอย เอมก็ไม่ได้มองว่ามันแย่ เป็นเรื่องปกติ ในเมื่อเมืองไทยมีเสน่ห์ตรงนี้ เราก็อาจมองเป็นจุดขายก็ได้ ก็เหมือนกัน เรามองอังกฤษก็สงสัยว่าทำไมมึงระเบิดทุกวันเลยวะ เขาก็รับได้ มันเป็นเรื่องจริง ก็เป็นปัญหาของเขาที่ต้องแก้ไข ต้องพัฒนา

 

ประสบการณ์ทำข่าวที่ชอบ

ได้ไปฟินแลนด์ ทำข่าวเรื่องการศึกษา ไปเดนมาร์ก ทำข่าวเรื่องรัฐสวัสดิการ ก็ดี แต่ถ้าบอกว่าชอบที่ไหนสุดคือชอบที่ไปทำข่าวที่อัมสเตอร์ดัม ไปทำข่าวเรื่องการค้าบริการทางเพศแบบถูกกฎหมายที่นั่น เอมชอบข่าวชิ้นนี้ที่สุด มันเชื่อมโยงกับคนไทยได้ชัด อย่างเรื่องการศึกษาหรือรัฐสวัสดิการมันเป็นโครงสร้างใหญ่ กว่าจะปรับได้ก็ยาก แต่เรื่องการค้าบริการทางเพศแบบถูกกฎหมายมันใกล้กับไทยมาก ที่นั่นคือเขาทำให้ถูกกฎหมาย เม็ดเงินก็เข้ารัฐบาล แล้วก็เอาเงินมาดูแลผู้ค้าอีกด้วย แต่ที่เมืองไทยคือผิดกฎหมายนะ แต่คนก็ยังไปเที่ยวกันอยู่ เงินก็เข้ากระเป๋าตำรวจ ผู้มีอิทธิพล เราทำแล้วก็เห็นภาพว่าประเทศที่กล้ายอมรับความจริงแล้วทำให้มันเป็นระบบระเบียบ จัดการให้ถูกต้อง มันก็ที่มาที่ไป

 

“ที่ลอนดอนจะมีอีเวนต์ระดับโลกทุกวันแน่นอน ไม่ว่าจะของเอกชนหรือรัฐบาล อยู่แล้วจะรู้สึกว่าเราได้อะไรทุกวัน นั่นคือส่วนที่ชอบ”

 

 

มีคนบอกว่าทุกวันนี้มีโซเชียลมีเดียแล้วทุกคนก็เป็นนักข่าวได้

เรียกว่าทุกคนมีสื่อในมือดีกว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นนักข่าวได้ แต่ไม่ได้แปลว่านักข่าวศักดิ์สิทธิ์กว่าคนทั่วไปนะ การที่ทุกคนมีสื่อในมือข้อดีก็คือหูตาเราเยอะขึ้น ทุกคนมีกล้องถ่ายคลิปเหตุการณ์ที่ถ้าเมื่อก่อนเราคงไม่อาจเห็นได้เลย เรามีกระบอกเสียงของคนมากขึ้น ตอนเอมทำข่าวใหม่ๆ ก็จะมีแหล่งข่าวไม่กี่แหล่ง ถ้าเป็นข่าวเศรษฐกิจก็จะมีอยู่ 3-4 คน ซ้ำหน้าไปมา ทุกวันนี้เราก็จะเห็นตามโซเชียลบ้างว่าคนนี้พูดเรื่องนี้ดี ก็จะมีหน้าใหม่ๆ บ้าง

 

บางคนถึงขั้นบอกว่าสำนักข่าวก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

อืม… มันยังมีความจำเป็นอยู่นะ ถ้านักข่าวและสื่อยังทำงานได้ดี ยังทำหน้าที่ในการบันทึกเหตุการณ์เรื่องราวในสังคมได้ดี ถ้าเป็นอย่างนั้นยังจำเป็น ในวงการนี้คือถ้าสำนักข่าวยังทำฟังก์ชันเหล่านี้ได้ดี มันก็ยังจำเป็นอยู่ เรายังต้องการการ verify ข่าวในโซเชียลมีเดีย


แต่ถ้าจะถามว่าแนะนำให้ไปเรียนวารสารศาสตร์หรือเปล่า ถ้าเอมมีลูก เอมก็คงคิดหนักเหมือนกัน เพราะเอมคิดว่ามันเป็นศาสตร์ที่อาจไม่ต้องเรียนถึง 4 ปี เรียนแค่ 1-2 ปีก็อาจจะพอแล้ว


หรือถ้าลูกอยากจะเรียนวารสารจริงๆ ก็ได้แหละ แต่ระหว่างเรียนก็ต้องฝึกถ่ายภาพให้เก่ง ตัดต่อให้ได้ ต้องมีสกิลเพิ่มเติม แต่เราไม่เห็นด้วยกับคำที่ว่าวงการสื่อมันซบเซา เพราะจริงๆ วงการสื่อเฟื่องฟูที่สุดแล้วในยุคนี้ ที่คนเปลี่ยนจากมีจอทีวีบ้านละ 1 จอ ตอนนี้มีจอส่วนตัวคนละจอ บางคนมีหลายจอ ดูบอลไปด้วย เสพคอนเสิร์ตไปด้วย ช่องทางมันเยอะขึ้นมาก ถ้าคุณทำงานในวงการสื่อแล้วมีความสามารถ คุณก็ไม่ตาย

 

“จะขอปิดท้ายว่าทักษะมันสำคัญกว่าใบปริญญา”

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Music Westonemusic.com

The post นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ กับการเรียนสื่อสารมวลชนที่อังกฤษในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสิ่งพิมพ์และออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรียน (ไม่) จบแฟชั่นดีไซน์ที่เนเธอร์แลนด์ แต่ก็กลับมาเปิดแบรนด์ของตัวเองได้ https://thestandard.co/podcast/nukreannok16/ Fri, 22 Dec 2017 07:18:31 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=57250

ป่าน-นวพรรณ เกตุมณี ตัดสินใจทิ้งการเรียนปริญญาตรีด้านมน […]

The post เรียน (ไม่) จบแฟชั่นดีไซน์ที่เนเธอร์แลนด์ แต่ก็กลับมาเปิดแบรนด์ของตัวเองได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ป่าน-นวพรรณ เกตุมณี ตัดสินใจทิ้งการเรียนปริญญาตรีด้านมนุษยศาสตร์ที่เรียนมา เพื่อตามความฝันไปเรียนแฟชั่นที่ต่างประเทศ ไกลถึงเมืองอาร์เนม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่นั่นป่านพบกับเรื่องไม่คาดฝันมากมาย ทั้งการเรียนการสอนที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ อาจารย์ที่เหมือนจะไม่ชอบหน้าป่าน และการคบหากับแฟนหนุ่มชาวดัตช์

 

หลังจากทนเรียนกับภาษาที่ไม่คุ้นอยู่ 1 ปี ป่านตัดสินใจลาออกกลับบ้าน และใช้ความรู้เท่าที่ร่ำเรียนมา เปิดแบรนด์ส่วนตัวชื่อว่า MUETTA ทำเสื้อผ้าคอลเล็กชันคอนเซปต์จัดได้น่าสนใจ ถึงแม้จะไม่ได้เรียนจนจบ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าแรงบันดาลใจทางศิลปะอาจไม่ได้มาจากใบปริญญา

 

เหตุผลที่ชอบแฟชั่น

ตั้งแต่เด็กจะมีสมุดกับดินสอติดตัวอยู่เลย มีตุ๊กตาบาร์บี้ ตัดผ้า เย็บมือเอง ใส่ได้ไม่ได้ก็แล้วแต่ แม่จะมีจักรเย็บผ้าอยู่ที่บ้าน มีผ้า ก็ขโมยเศษผ้าแม่มาตัดเสื้อผ้าให้บาร์บี้ใส่

 

ตัดสินใจจะเป็นนักเรียนนอก

ไปเรียนที่เมืองอาร์เนม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการไปเรียนที่คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นด้วยสักเท่าไร เพราะป่านดรอปเรียนปริญญาตรีเลย ตอนนั้นเป็นช่วงหลังจากที่ป่านเรียนจบจากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ แล้วป่านก็ส่งพอร์ตโฟลิโอไปที่เมืองอาร์เนมนี้ แม่ก็มาบอกว่าอยากให้เรียนปริญญาที่ไทยจบก่อน แต่ป่านคิดว่าถ้าเรียนจบไปก็เหมือนเรียนให้พ่อแม่ แค่ได้ปริญญา เพราะไม่ใช่สิ่งที่อยากทำจริงๆ ก็เลยไปเรียนที่นู่น เรียนปริญญาตรีใหม่ ก็เหมือนจะโลกสวยนะ ความมั่นใจมันเยอะมาก

 

เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัย ArtEZ

ที่เลือกที่นี่เพราะใช้วิธีดูว่าเราชอบงานของดีไซเนอร์คนไหน ก็มาจบที่ Viktor & Rolf เป็นแนวคอนเซปต์จัดมาก ซึ่งพวกเขาจบจากที่ Arnhem Academy of Art and Design (ซึ่งเป็นแคมปัสหนึ่งของ ArtEZ ในปัจจุบัน) ก็เลยมาเรียนที่นี่

 

เราด้วยความที่เป็นนักเรียนจากต่างประเทศก็เลยใช้วิธีส่งพอร์ตไปสมัครเรียน โดยไม่ต้องสอบ ก็รอประมาณ 2 อาทิตย์ ก็ได้รับเอกสารว่าติดมหาวิทยาลัย ได้เรียน

 

ก็บอกคุณพ่อคุณแม่พี่สาว พี่สาวก็สนับสนุนป่านอยู่แล้ว ส่วนคุณพ่อคุณแม่ก็ซัพพอร์ตเรื่องค่าเล่าเรียนเต็มที่

 

 

บรรยากาศมหาวิทยาลัยศิลปะที่เนเธอร์แลนด์

ตอนไปถึงที่นั่นเป็นช่วงซัมเมอร์ 1 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน ก็เพิ่งรู้ว่าที่นั่นเรียนเป็นภาษาดัตช์ สอบเป็นภาษาดัตช์ ทางโรงเรียนไม่ได้แจ้ง ก็เลยต้องไปเรียนภาษาดัตช์ก่อนเปิดเทอม ก็รู้สึกตัวแล้วว่ายาก

 

คอร์สเรียนจริงๆ ต้องใช้เวลา 4 ปี แต่ป่านไปเรียนได้แค่ 1 ปี ตอนเรียนที่นั่นก็มีอาจารย์พูดภาษาอังกฤษด้วยเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นอาจารย์อายุมากหน่อยก็จะพูดแต่ภาษาดัตช์

 

จริงๆ คนดัตช์พูดภาษาอังกฤษเก่งนะ คนส่วนมากเห็นเราเป็นคนเอเชียก็พูดอังกฤษใส่เลย แต่อาจารย์ดูไม่ค่อยชอบป่าน ไม่รู้เพราะอะไร พูดแต่ดัตช์ ทั้งที่บอกว่ารับเด็กอินเตอร์ สุดท้ายคลาสก็ต้องยอมให้เราพรีเซนต์เป็นภาษาอังกฤษ

 

มีเพื่อนต่างชาติมาเรียนที่นี่เหมือนกัน หลายคนก็ไม่รอด ต้องออกไปกลางคัน สรุปว่ามีเพื่อนคนบราซิลรอดคนเดียว

 

 

การเรียนแบบคนดัตช์

การเรียนแฟชั่นที่นี่จะเรียนเป็นเทคนิค ไม่สอนเป็นแพตเทิร์นเหมือนที่ประเทศไทย ค่อนข้างฟรีสไตล์ เน้นปฏิบัติมากๆ ตั้งแต่ปี 1 ก็มีเรียนทฤษฎีเหมือนกัน แค่วิชาประวัติศาสตร์แฟชั่นเท่านั้น

 

แต่ป่านไม่ชอบเวลาสอบ เพราะไม่มีข้อสอบภาษาอังกฤษให้ มีแต่ภาษาดัตช์

 

ส่วนที่ชอบคือเพื่อนๆ เพราะป่านเจอข้อสอบ เจอการสอนเป็นภาษาดัตช์ทำให้ความมั่นใจหดหาย ก็คิดว่าคงต่อไปถึงปี 4 ไม่ไหว ก็ต้องสู้ปีนี้ให้ได้อะไรกลับมามากที่สุด เพื่อนในแก๊งกับแฟนชาวดัตช์ของป่านก็ฟังเลกเชอร์มาแล้วแปลให้เป็นภาษาอังกฤษ เวลาสอบก็ต้องพกดิกชันนารีภาษาอังกฤษ-ดัตช์เข้าห้องสอบไป

 

การเป็นอยู่ในเมืองอาร์เนม

ต่างกับกรุงเทพฯ มาก กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองไนต์ไลฟ์หน่อยๆ แต่ที่นั่น 6 โมงเย็นทุกอย่างปิดหมด จะมีวันเดียวที่ร้านค้าเปิดถึงสามทุ่มคือวันจันทร์ ป่านเลิกเรียน 4 โมงก็ต้องบึ่งไปตลาดเพื่อซื้อของกินมาตุนไว้

 

อาร์เนมเป็นเมืองเล็กๆ ที่ความปลอดภัยดีมาก ที่พักของป่านเดินแค่ 3 นาทีก็ถึงมหาวิทยาลัย

 

อยู่ที่นั่นก็มีปาร์ตี้เหมือนกัน แต่เป็นปาร์ตี้ตามบ้านเพื่อน ไม่ใช่ตามร้าน มีช่วงที่กำลังจะเรียนจบก็เวียนไปปาร์ตี้บ้านเพื่อนหลายคนจนถึงเช้าเลย เพื่อนก็ขี่จักรยานส่งเราไปต่อบ้านเพื่อนอีกคนหนึ่ง

 

มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เข้าไปในปาร์ตี้ที่มีคนพกยาเสพติดมาด้วย ปรากฏว่าแฟนรู้ก็เลยลากป่านกลับบ้านทันทีเลย

 

แฟนชาวดัตช์ที่เมืองดัตช์

ป่านเจอกับแฟนคนนี้เพราะอาศัยอยู่บ้านแฝดติดกัน เป็นวันที่ไปปาร์ตี้กลับมาแล้วลืมกุญแจ เข้าบ้านไม่ได้ ก็โทรหาคนดูแลบ้านก็ปรากฏว่าเขาอยู่โปแลนด์ เขาเลยโทรให้แฟนป่านที่ตอนนั้นยังไม่เป็นแฟนกัน เดินไปเปิดประตูให้ ก็เลยรู้จักกัน

 

พอเป็นแฟนกัน แฟนก็ช่วยดูแลเรื่องในบ้าน เพราะป่านมีงานต้องส่งอาจารย์เยอะมาก บางทีต้องทำงานที่มหาวิทยาลัยถึง 3 ทุ่ม แฟนก็ดูแลบ้านให้ ทำกับข้าวให้

 

แฟนเรียนวารสารศาสตร์ในอีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง ก็มีไปทำธีสิสเรื่องคอร์รัปชันที่กานา ช่วงนั้นก็ต้องดูแลตัวเองมากกว่าเดิม

 

ช่วงที่คิดว่าจะเลิกเรียน กลับบ้าน ก็ปรึกษาที่บ้าน ปรึกษาแฟน ตอนแรกคิดว่าจะเปลี่ยนไปเรียนต่อที่แอนต์เวิร์ปเบลเยียม พอไปสอบก็ไม่ติด ก็ไม่ได้เรียนต่อ

 

 

ถ้าย้อนกลับไปได้จะบอกตัวเองว่าอะไร

ป่านจะบอกว่าเลิกเรียนกลับมาน่ะดีแล้ว เพราะค่าเรียนมันแพง จริงๆ ที่ดัตช์มีทุนการศึกษานะ แต่ส่วนมากเป็นสายวิทยาศาสตร์ สายอาร์ตไม่มีเลย ป่านเป็นนักเรียนต่างชาติมาก็จ่ายค่าเทอมแพงกว่า 8,500 ยูโร ส่วนเพื่อนคนดัตช์จ่ายแค่ 1,000 ยูโร นี่ยังไม่รวมค่ากินอยู่เลย

 

สรุปว่าทั้งปีที่ป่านไป ทั้งเรียน ทั้งกินอยู่ ทั้งไปเที่ยวแบ็กแพ็ก หมดไปล้านสอง

 

จะไปทำงานนอกเวลาเรียนก็ไม่คุ้ม เพราะในสัญญามีบอกว่านักศึกษาทำงานได้แค่ 10 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ เท่ากับได้ประมาณ 100 ยูโรต่อสัปดาห์ ซึ่งค่ารถไฟจากอาร์เนมไปอัมสเตอร์ดัมเพื่อทำงานก็ 70 ยูโรแล้ว ฉะนั้นถ้าทำงานแล้วได้กำไรแค่นี้ สู้เอาเวลาไปทำการบ้านดีกว่า เพราะการบ้านเยอะมาก

 

ช่วงที่ทำธีสิสจบและแฟชั่นโชว์ช่วงท้ายเทอม ป่านนอนแค่อาทิตย์ละ 27 ชั่วโมง ตกวันละ 3 ชั่วโมงกว่า นอนตี 5 ตื่น 8 โมง

 

มีเพื่อนชาวดัตช์คนหนึ่งทำงานคราฟต์สวยมาก แต่ก็ quit ตั้งแต่เทอมแรก เพราะซึมเศร้ารุนแรง อาจารย์เดินมาตรวจงานก็ร้องไห้ เพราะกลัวอาจารย์ว่าว่างานไม่สวย ตอนนี้ก็ไปเรียนต่อทางรัฐศาสตร์ ด้วยความที่รับแรงกดดันจากตัวเองไม่ไหว มันกดดันด้วยตัวงาน ด้วยอาจารย์ หลายอย่าง

 

เรื่องความรัก

หลังจากกลับมาก็ไม่ได้สานต่อ เลิกกันหลังจากนั้น 6 เดือน

 

ตอนจากกันเขาก็ยื่นจดหมายให้ฉบับหนึ่งที่สนามบิน บอกว่าขึ้นเครื่องค่อยเปิดอ่าน ป่านก็เปิดอ่านที่สนามบิน ก็ร้องไห้กลางสนามบิน ขึ้นเครื่องก็ร้องไห้จนแอร์โฮสเตสต้องหยิบทิชชู่มาให้ ก็รู้สึกแย่ที่ต้องจากกัน

 

แต่หลังจากนั้นทางแฟนก็เริ่มมีคนอื่น เริ่มอยากเปิดใจรับคนใหม่ ก็ Skype มาเลิก ก็เฮิร์ตเหมือนกัน

 

ก็ได้เอาเรื่องความรักของตัวเองไปใช้ในชิ้นงานเหมือนกัน ในคอลเล็กชันที่ 3 ชื่อว่า Have Faith in Me Romeo คอนเซปต์คือป่านแทนความรักด้วยเรื่องราวของโรมิโอกับจูเลียต แต่จูเลียตของป่านอยู่ที่ปารีส ที่เลือกที่นี่เพราะเป็นที่สุดท้ายที่ป่านไปเที่ยวกับแฟน เป็นที่ที่ดีมาก เลยรู้สึกว่าอยากเอาความรักตอนนั้นมาใส่ไว้ตรงนี้ จูเลียตของป่านไม่ใช่ผู้หญิงหวาน อ่อนแอ แต่เป็นผู้หญิงมั่นใจในตัวเอง เหมือนมาการอง ที่ข้างในนิ่มหวาน แต่ข้างนอกแข็งเป็นเกราะ

 

ฝากถึงคนที่อยากไปเรียนเป็นดีไซเนอร์ที่เนเธอร์แลนด์

ต้องลองไปเสิร์ชดูในเว็บสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ในนั้นจะมีคำแนะนำให้ ว่าคอร์สเรียนเป็นอย่างไร ต้องเรียนเป็นภาษาดัตช์ไหม หรือถ้ามีคำถามเรื่องการเรียนต่อด้านแฟชั่นก็ติดต่อที่ป่านโดยตรงก็ได้ที่เพจ MUETTA

 

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest นวพรรณ เกตุมณี

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Music Westonemusic.com

The post เรียน (ไม่) จบแฟชั่นดีไซน์ที่เนเธอร์แลนด์ แต่ก็กลับมาเปิดแบรนด์ของตัวเองได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ถูกพ่อส่งไปเรียนที่พม่าจนได้เรื่องมาเขียนเป็นหนังสือ ‘โยดายาบอย’ https://thestandard.co/podcast/nukreannok15/ Thu, 14 Dec 2017 17:01:52 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=55431

วิชัย มาตกุล คือนักเขียนสำนวนยียวน และครีเอทีฟไดเรกเตอร […]

The post ถูกพ่อส่งไปเรียนที่พม่าจนได้เรื่องมาเขียนเป็นหนังสือ ‘โยดายาบอย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วิชัย มาตกุล คือนักเขียนสำนวนยียวน และครีเอทีฟไดเรกเตอร์ของแซลมอนเฮาส์ โปรดักชันเฮาส์ที่ยียวนไม่ต่างจากตัววิชัยเอง ก่อนหน้านี้วิชัยออกพ็อกเก็ตบุ๊กเล่มหนึ่งชื่อว่า โยดายาบอย  ที่เล่าเรื่องชีวิตตัวเองในสมัยที่ถูกพ่อส่งไปเรียนภาษาอังกฤษที่พม่าหลังจบ ม.6 (ใช่ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่พม่า พ่อมีเหตุผลของพ่อ – วิชัยบอกอย่างนั้น) นั่นทำให้วิชัยต้องใช้เวลาวัยรุ่นเพียงครั้งเดียวในประเทศที่ไม่เคยคิดอยากไป แต่มันกลับเป็นวันเวลาที่หล่อหลอมเขาขึ้นมาเป็นคนใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

เหตุผลที่ทำให้ไปเรียนต่อที่พม่า

ตอนนั้นเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ช่วงปี 1999 วิชัยไปเรียนภาษาที่พม่า เพราะพ่อส่งไป เหตุผลของพ่อคือเด็กที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องใช้เวลา 4 ปีในการเรียน พอจบมาก็ไม่รู้ว่าจะได้ทำงานที่ชอบหรือเปล่า อาจต้องเปลี่ยนงานอีกสัก 2 ปี แปลว่าต้องเสียเวลาอย่างน้อย 5-6 ปีถึงจะได้งานที่อยากทำจริงๆ อยู่ตัวจริงๆ


แต่ถ้าไปพม่า เรียนแค่ 2 ปี แล้วก็กลับมาหางานทำอีกสัก 2 ปี ก็แปลว่าเราจะเร็วกว่าคนในรุ่นเดียวกันอยู่ 2 ปี ส่วนที่ต้องส่งไปพม่าเพราะไม่มีสตางค์ ส่งไปได้แค่นี้


ซึ่งจริงๆ วิชัยก็ไม่อยากไป ทะเลาะกัน ไม่คุยกันอยู่เป็นปีเลย แต่สรุปว่าก็ต้องไป


ยุคนั้นพม่าดูน่ากลัวมาก ไม่รู้อะไรในพม่าเลย ไม่รู้ว่าสภาพสังคมเป็นยังไง ได้แต่อนุมานจากคนพม่าที่แม่สอด วิชัยเป็นคนแม่สอด ก็รู้สึกว่าคนพม่าดูเถื่อนมาก ที่ย่างกุ้งจะเป็นยังไง


สรุปว่าก็ไปเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า และภาษาจีนที่ย่างกุ้ง พ่อส่งไปอยู่กับญาติที่นั่น

 

“แม่บอกว่าเมื่อเราเดินทางออกนอกประเทศไปเรียน ภาษาไทยที่เรารู้สึกภูมิใจ มันจะไม่มีประโยชน์เลย ซึ่งเป็นอย่างนั้นจริงๆ แค่เราบินไปย่างกุ้งก็ไม่มีใครพูดไทยแล้ว”

 

เริ่มชีวิตในย่างกุ้ง

การไปย่างกุ้งเป็นการเดินทางครั้งแรกในชีวิต พอไปถึงก็เหวอมากเลย จำความรู้สึกได้แม่นเลยว่าทำไมทุกคนใส่กระโปรงกันหมดเลย ดูวุ่นวายไปหมด คนเยอะเหมือนอินเดียตอนนี้ รถเยอะ บีบแตร โฆษณาบุหรี่เยอะมาก


ช่วงแรกก็ต้องไปอยู่ห้องเช่าของอาคนเดียว เพราะอาทำบ้านอยู่ ก็ต้องไปอยู่ที่อื่น ก็เหวอมาก ซึมมาก เหงามาก ปกติเป็นคนติดเพื่อนมาก แต่พอมาอยู่ที่นี่ต้องอยู่คนเดียว โทรศัพท์ก็ไม่มี เขียนจดหมายก็ไม่ได้ งงไปหมด


ไปได้วันสองวันก็มีครูสอนพิเศษชาวพม่ามาเคาะห้อง มาสอนภาษาอังกฤษ ที่นั่นใช้วิธีการสอนตามบ้านกัน ต่างจากเมืองไทยที่มีสถานที่สอนพิเศษที่นักเรียนต้องไปรวมตัวกัน


ชีวิตช่วงนั้นคือต้องตื่นเช้ามาเรียนภาษาอังกฤษกับครูที่บ้าน แล้วก็เดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง แล้วตอนเย็นๆ ก็กลับไปที่บ้านอาเพื่อเรียนภาษาจีน มีคนมาสอนภาษาพม่าเหมือนกัน แต่ตอนนั้นวิชัยต่อต้านมาก งอแง รู้สึกว่ามันอ่านยากไป ก็เลยให้สอนแค่เลขหนึ่งถึงสิบ เอาไว้ขึ้นรถเมล์ก็พอแล้ว


ตอนหลังก็ไปเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์จะมีอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะสามารถติดต่อกับเพื่อนที่ไทยได้ทางเน็ต แต่ปรากฏว่าคอมที่โรงเรียนไม่มีเน็ต ก็เสียเงินฟรี แพงมาก

 

บรรยากาศการเรียนที่พม่า

เป็นการเรียนตัวต่อตัว สอนดีมาก ไม่ได้เน้นท่องจำแบบที่ไทย ที่พม่าสอนเป็นโครงสร้างประโยค โครงสร้างแกรมมาร์มากกว่ามาท่องจำเทนส์ว่ามีอะไรบ้าง ทำให้คนพม่าเก่งแกรมมาร์มาก สอบ TOEIC ได้ 750-800 กันเต็มไปหมด 900 นี่เป็นเรื่องธรรมดา แต่กลับพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง แต่แกรมมาร์เก่งมาก


วิธีการสอนภาษาอังกฤษที่นั่นสนุกมาก คลาสที่ชอบมากคือครูไม่สอนอะไรเลย แต่ให้เด็กออกไปหน้าห้อง ไปพูดอะไรก็ได้ครึ่งชั่วโมง แล้วต้องเอาตัวรอดให้ได้ พอพูดจบ ครูก็จะมาคอมเมนต์ว่าที่พูดเมื่อกี๊ ประโยคที่อธิบายยาวมากเนี่ย อธิบายได้ด้วยคำนี้คำเดียวนะ เด็กก็จะจำคำได้เลย จากนั้นก็จะให้เพื่อนถามภาษาอังกฤษต่อ สนุกมาก


ที่พม่ามีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเยอะมาก บางคลาสก็มีคนต่างชาติมาเรียนด้วย มีฝรั่ง มีญี่ปุ่น เกาหลีมาเรียนเหมือนกัน วิชัยก็เป็นนักเรียนฟรีแลนซ์ เดินเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ไปเรื่อยๆ


คนพม่าไว้ตัวมาก ในคลาสก็พูดกันดี แต่พอจบคลาสก็จะ “อะไรแก อย่ามาพูดกับชั้น” ซึ่งทุกคนใช้วิธีเดินเรียนกันหมดเลย เป็นนักเรียนฟรีแลนซ์ ที่นั่นมหาวิทยาลัยโดนปิดอยู่ ไม่มีปริญญาในพม่าเลย


ส่วนใหญ่คนที่มาเรียนภาษาด้วยกันจะเป็นคนมีฐานะหน่อย เพราะคลาสเรียนค่อนข้างแพง มีที่โรงเรียน WCA ที่คลาสถูกหน่อย หลัก 100 บาทไทย มีข้อสอบ TOEFL มาให้ลองทำในคลาส เสียอย่างเดียวเดินไกลหน่อย นั่งรถเมล์ไป ก็นั่งเลยป้ายประจำ เพราะอ่านภาษาพม่าไม่ค่อยออก

 

 

เพื่อนในพม่า

ตอนนั้นเรียนค่อนข้างไร้จุดหมาย ไม่มีสัญญาณอะไรจากพ่อแม่เลยว่าจะให้เรียนไปถึงเมื่อไร จนกระทั่งวิชัยรู้สึกว่าเรียนเลยอาจารย์ที่มาสอนที่บ้านไปแล้ว ก็เลยบอกเขาว่าไม่ต้องมาสอนแล้วนะ อารมณ์ว่าไล่อาจารย์ออก


แต่ที่ช่วยเรื่องภาษามากๆ คือเพื่อน เป็นเพื่อนต่างชาติและคนไทยที่ได้มาจากการไปเล่นบาส ก็รู้สึกว่าคุยกันรู้เรื่องนะ


อีกอย่างคือร้านหนังที่พม่าเยอะมาก เป็นหนังซาวด์แทร็กซับอังกฤษทั้งหมด เราก็ดูหนังจนวันหนึ่งรู้สึกตัวว่าไม่ต้องดูซับแล้ว ฟังได้เลย ดูได้เลย ซึ่งได้เยอะกว่าโรงเรียนอีก เพราะโรงเรียนไม่สอนคำหยาบ คำสแลง ก็เอาคำที่ได้จากหนังมาใช้กับเพื่อน เริ่มเห็นความสนุกของการเรียนภาษาอังกฤษ


พอมีเพื่อนก็เริ่มงอแงว่าไม่อยากเรียนแล้ว อยากทำงาน อาก็ให้ไปทำงานโรงงาน งาน QC เสื้อผ้าก็ยอม เพราะตอนนั้นคิดว่าทำอะไรก็ได้ให้ผู้ใหญ่ไม่มาอะไรกับเรา ตอนเย็นก็ไปเล่นบาส ช่วงหลังๆ ก็ไม่เบื่อการใช้ชีวิตในพม่าแล้ว


เพื่อนต่างชาติก็พาไปเจอเพื่อนต่างชาติเยอะขึ้นเรื่อยๆ เอ็นจอย สนุก

 

 

ชีวิตในพม่าขั้นแอดวานซ์

ก็เริ่มไปเที่ยวไกลขึ้นเรื่อยๆ มีเงินอยู่ 500 จ๊าด ก็นั่งรถเมล์ไปมั่วๆ หลงก็นั่งแท็กซี่กลับ เริ่มไปหาอะไรกินแปลกๆ ไปถนนที่ไม่เคยไป

 

“พอกลับมาประเทศไทย เรารู้สึกว่าเราโตกว่าคนในวัยเดียวกันนะ เรารู้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่แล้ว”

 

ยุคนั้นที่พม่าเริ่มมีวัฒนธรรมกางเกงยีนส์เข้าไปแล้ว เสื้อยืดลายเจ เจตริน อัลบั้ม 108-1009 ฮิตมาก ผู้หญิงก็เริ่มใส่กางเกงกัน เคยจีบผู้หญิงพม่า จีบยากมาก เพื่อนสนิทชาวพม่าก็มีแค่เฉพาะก๊วนที่เล่นบาสกัน เขาก็จะรู้ว่าคำบางคำที่วิชัยพูดผิด จริงๆ แล้วมันแปลว่าอะไร


อย่างในหนังสือ โยดายาบอย ก็มีเขียนไว้ว่าวิชัยพูดคำเรียกผู้หญิงผิดมาตลอด เพราะใช้คำว่า มะ ซึ่งแปลว่าเมีย ตอนที่มีคนมาบอกก็รู้สึก “เชี่ย ทำไมไม่มีใครเตือนกูเลยวะ!”


ตอนนั้นติดเพื่อนพม่ามาก ไปเที่ยวด้วยกัน แฮงเอาต์ด้วยกัน แต่ 30% ของเพื่อนพม่าติดยาหมดเลย แต่เขาก็ดีนะที่ไม่เคยชวนเล่นยาเลย


หลังจากอยู่ไป 2 ปี แม่ก็เรียกกลับบ้าน เป็นจุดที่วิชัยรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องกลับบ้านแล้วก็ได้ เดี๋ยวหางานที่พูดภาษาไทยทำ แล้วอยู่ที่นี่ไปเลยก็ได้นะ แต่แม่ก็เรียกกลับ

 

กลับมาเมืองไทย

กลับมาได้ 2 เดือนก็หาอะไรที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเรียน ก็ไปเจอหลักสูตรการโรงแรม ก็รู้สึกว่าเราโตกว่าเพื่อน เราจะไม่ทำผิดพลาดอะไรที่เราเคยทำมาก่อน


หลังจากนั้นก็ได้กลับไปพม่าอีกครั้ง ก็เสียดายเหมือนกันนะ เมืองดูโทรมลงมาก เหมือนเดิมแต่โทรมลง แต่มือถือบูมมาก มีระบบเอทีเอ็มแล้ว เหมือนเมืองไทยเมื่อก่อน แต่ว่าซิมการ์ดราคา 20 เหรียญต่อ 1 ใบ ถ้าเงินหมดก็ต้องเปลี่ยนเบอร์ แปลว่าต้องเปลี่ยนเบอร์ทุกๆ 3-4 เดือน ปีต่อมาที่วิชัยกลับไปก็เปลี่ยนอีกที ไม่มีแล้ว

 

 

แนะนำรุ่นน้องที่จะไปเรียนพม่า

โห ไปเรียนที่อื่นเถอะ มันฮาร์ดคอร์ไป ถ้ามีเงินเราสามารถไปเรียนที่อื่นที่ฮาร์ดคอร์น้อยกว่านี้ได้ ไม่ต้องไปลำบากขนาดนี้หรอก


แต่ถ้าชอบแบบนี้ ไปอินเดียดีกว่า น่าจะมันกว่า พม่าตอนนี้มีความครึ่งๆ กลางๆ เจริญก็ใช่ ไม่เจริญก็ได้ แต่ถ้าไปทำกินก็อีกเรื่องหนึ่ง ตอนนี้เอเจนซีก็ไปเปิดสาขาที่พม่าเยอะ

 

สิ่งที่ได้กลับมาจากพม่า

พูดแบบเท่ๆ คือได้ไปเรียนรู้ตัวเอง คลิเช่นะ แต่มันจริง ทำให้รู้ว่าอะไรที่เราชอบ อะไรที่เราไม่ชอบ กลับมาเราก็แน่วแน่กลับสิ่งนี้มาก มันทำให้เรารู้จักคน รู้จักตัวเอง แล้วที่ดีที่สุดคือเราเขียนไดอะรี ซึ่งมันต่อยอดมาให้เรียนเขียนหนังสือได้


ทำให้เรามาคิดว่าที่พ่อพูดน่ะ มันจริง

 

แนะนำคนที่จะไปพม่า

ก็เรียนภาษาพม่าหน่อยก็ดี แล้วก็ไปย่างกุ้ง ไปกินชเวบาสุ่ง แล้วก็ไปเที่ยวชเวดากอง แค่นี้แหละครับ

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest วิชัย มาตกุล

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photos วิชัย มาตกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Music Westonemusic.com

The post ถูกพ่อส่งไปเรียนที่พม่าจนได้เรื่องมาเขียนเป็นหนังสือ ‘โยดายาบอย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำความเข้าใจสิ่งที่เหลืออยู่ของความขัดแย้ง จากหญิงสาวผู้ไปเรียน Heritage Management ที่เนเธอร์แลนด์ https://thestandard.co/podcast/nukreannok14/ Fri, 08 Dec 2017 09:02:18 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=53837

มนสิชา รุ่งชวาลนนท์ สนใจในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก หล […]

The post ทำความเข้าใจสิ่งที่เหลืออยู่ของความขัดแย้ง จากหญิงสาวผู้ไปเรียน Heritage Management ที่เนเธอร์แลนด์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

มนสิชา รุ่งชวาลนนท์ สนใจในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก หลังจบปริญญาตรีด้านโบราณคดีที่ประเทศไทย เธอก็ตัดสินใจไปเรียนต่อด้าน Heritage Management ที่มหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ตอกย้ำว่าเธอสนใจศาสตร์แห่งการจัดการความทรงจำเหล่านี้ โดยเฉพาะความทรงจำจากความขัดแย้ง หรือ conflict heritage ที่เธอสนใจเป็นพิเศษ จนจับทางรถไฟสายมรณะ conflict heritage ชื่อดังของไทยมาทำธีสิสจบที่นั่น

 

ไปฟังว่าสำหรับคนเรียนโบราณคดีเฮอริเทจคืออะไร ควรบริหารจัดการอย่างไร และมันให้อะไรกับคนเสพและบริหารความทรงจำเช่นเธอ

 


 

ไปเรียนโบราณคดีที่เนเธอร์แลนด์

หลังจากเตย-มนสิชา รุ่งชวาลนนท์ จบจากโบราณคดีที่ ม.ศิลปากร ตอนที่เรียนอยู่ก็พบว่าอาจารย์ที่เรียนด้วยมักจะจบจากมหาวิทยาลัยในอเมริกาหรืออังกฤษซะเยอะ การเรียนโบราณคดีทางฝั่งยุโรปเมนแลนด์ไม่ค่อยโด่งดังในไทยเท่าไร รวมกับที่เคยไปอ่านรีเสิร์ชของไลเดนก็ดูน่าสนใจ เลยว่าจะไป

 

ไลเดนเป็นชื่อเมืองและเป็นชื่อมหาวิทยาลัยประจำเมือง มีอายุยาวนานเป็นร้อยปี สมาชิกราชวงศ์ออเรนจ์ของดัตช์ก็มักจะจบจากที่นี่กันทั้งนั้น เด่นเรื่องวิทยาศาสตร์ สายสังคมเหมือนกัน

 

เคยชอบประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก แต่ก็คิดว่าประวัติศาสตร์มันตัน มันมีแค่เท่าที่เราอ่าน แต่โบราณคดีมันมีเพิ่มมาเรื่อยๆ ตามที่เราขุดค้น เหมือนถ้าเป็นตำรวจ เรียนประวัติศาสตร์ก็เหมือนอ่านรีพอร์ต ก็รู้เท่านั้น แต่โบราณคดีเหมือนเราได้ลงไซต์ ได้สืบสวน สืบค้น ก็เลยอยากเรียนโบราณคดี ซึ่งพอได้เรียนก็แฮปปี้มาก ไม่เคยไม่อยากไปเรียนเลย พอจบมาเลยคิดว่าอยากเรียนสิ่งที่เราชอบอีกสักปีหนึ่ง เพราะรู้ว่าเราอาจไม่ได้ทำงานทางนี้ก็ได้ เพราะประเทศไทยก็ไม่ได้มีพื้นที่ให้กับงานประเภทนี้เท่าไร

 

History มันไม่ใช่การเล่าความจริงทั้งหมด แต่คือการเลือกความจริงมาเล่าเพียงส่วนหนึ่ง

 

 

 

ตัดสินใจไปเรียนที่มหาวิทยาลัยไลเดน

ไปเรียนด้าน Heritage Management เอก Conflicted Heritage เพราะสนใจพวก difficult heritage ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสงคราม ความขัดแย้งในสังคม เพราะเฮอริเทจก็มีหลายแบบ วัดพระแก้ว วัดอรุณฯ ก็ใช่ แต่อย่างทางรถไฟสายมรณะก็เป็นเหมือนกัน แต่เน้นไปที่ความตาย ความเศร้า ซึ่งเป็นฟีลที่ niche เพราะไม่ค่อยทำเงิน ขายยาก

 

พอได้ไปเรียนที่นั่นรู้สึกโลกทลายมาก เพราะอยู่มหาวิทยาลัยที่เมืองไทยเราก็เรียนเก่ง แต่พอไปที่นั่นมีแต่คนยุโรป แล้วก็เรียนคนละแบบกับเรา จะมีการให้เราไปอ่านบทความล่วงหน้าสัก 50-100 หน้า แล้วแต่ พออ่านแล้วมาในห้องเรียนก็จะหยิบเคสมาพูด โยงไปถึงเรื่องที่เราอ่านมาแล้ว ทำให้เราต้องคิด ต้องอ่านมาก่อน คะแนนจะเป็นการดิสคัสในห้องเรียน เรียนจบแล้วก็ต้องเขียนรายงานส่งอีก

 

คอร์สมันแน่นมาก แม้ว่าเขาจะเขียนไว้ว่าจบได้ใน 1 ปี แต่ก็ไม่ค่อยมีคนจบ 1 ปีหรอก เพื่อนหลายคนก็ต้องยืดเวลาจบไปเป็น 2 ปีบ้าง 1 ปีครึ่งบ้าง เตยก็พยายามจนจบได้ในปีเดียว เพราะจ่ายค่าเรียนเองด้วย อยากทำงานแล้วด้วย ไม่อยากรบกวนเงินที่บ้านมากแล้ว

 

“เราต้องพยายามมากกว่าเขา เพราะเราไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษขนาดนั้น

ต้องอ่านก่อนเขา ทำงานก่อนเขา ไม่อยากให้เขารู้สึกว่าเราเป็นตัวถ่วง”

 

บรรยากาศในมหาวิทยาลัยและเมืองไลเดน

หลักสูตรปริญญาโทของเนเธอร์แลนด์บังคับสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพราะเขาคิดว่าข้อมูลทางวิชาการส่วนมากก็เป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องให้คนดัตช์ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีด้วย

 

เมืองไลเดนชิลล์กว่าอัมสเตอร์ดัมเยอะ มีคาเฟ่ มีร้านคอฟฟี่ช็อปที่ขายกัญชาถูกกฎหมาย เพราะถือว่าเป็น soft drug เขามองว่าถ้าห้าม สุดท้ายคนก็กินอยู่ดี แต่ถ้าทำให้ถูกกฎหมายแล้วเก็บภาษีซะ มันก็จะควบคุมได้ อีกอย่างคือมันก็ไม่ได้อันตราย

 

หรือการค้าประเวณีก็จะมีรัฐเข้าไปดูแล มีการตรวจสุขภาพ ไม่มีแมงดา ไม่มีผู้มีอิทธิพล เพราะมันถูกควบคุมดูแลหมด

 

ไลเดนเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ไม่มีการล้อมรั้ว แคมปัสกระจายไปทั้งเมือง เราก็ปั่นจักรยานไปเรียน ทุกคนต้องปั่นจักรยานเป็น ไม่งั้นจะเป็นปัญหาชีวิตมาก ลำบากกว่านี้เยอะ ค่ารถบัสก็ไม่ได้ถูก

 

และด้วยความที่เมืองต่ำกว่าน้ำทะเล ทำให้มีคลองเยอะมาก วิวก็จะเป็นคลองกับตึกสองฝั่ง บ้านเรือนก็จะหน้าตาแคบๆ แต่สูง เพราะการเก็บภาษีหน้าบ้าน ช่วงวันหยุดเมืองก็เงียบ เพราะนักศึกษาก็กลับประเทศกันหมด เป็นเมืองที่มีแต่คนมาเรียนเป็นส่วนมาก มีร้านขายของที่มีผงเครื่องเทศเอเชีย อาหารไทย ก็แก้คิดถึงบ้านได้เหมือนกัน

 

อีกอย่างที่แปลกมากคือเนเธอร์แลนด์ไม่มีอาหารประจำชาติ ถามเพื่อนชาวดัตช์ก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็จะบอกว่ามีปลาแฮร์ริ่งที่เป็นปลาดองแค่นั้น

 

ส่วนที่พักก็จะมีโควต้าของสถาบันที่ให้สิทธิ์นักศึกษาต่างประเทศก่อน ตอนนั้นก็ได้แชร์บ้านกับนักศึกษาไต้หวัน

 

 

การเรียนแบบดัตช์

ไลเดนเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องรีเสิร์ชมากๆ ทุกคนต้องหาข้อมูลตัวเองเป็น เราต้องไปขวนขวายมาเสนออาจารย์เอง ไม่ใช่อาจารย์ที่ต้องป้อนความรู้ให้เรา การเข้าห้องเรียนคือเราต้องมีอะไรมาแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ด้วย รวมถึงอาจารย์

 

มีวิชาปรัชญาโบราณคดีที่โหดมากๆ สอบครั้งเดียวเต็ม 100 คะแนน ผิดสองข้อก็ตกแล้ว เลยต้องตั้งกรุ๊ปขึ้นมาเก็งข้อสอบ

 

รูมเมตก็มีผลกับการเรียนเหมือนกัน ตอนแรกไม่อยากได้รูมเมตเอเชียนะ เพราะไหนๆ มาต่างประเทศแล้วก็อยากได้รูมเมตต่างวัฒนธรรมกับเรามากๆ แต่ปรากฏว่าเป็นเพื่อนที่เราสบายใจด้วยมาก

 

“รู้สึกว่ารูมเมตไต้หวันเป็นเหมือนบ้านให้เราได้กลับไปหา

กลับมาก็ได้กินอาหารเอเชีย ดูซีรีส์เกาหลีด้วยกัน ผลัดกันทำอาหารให้กันกิน

เราคุยกับเขาได้เปิดกว่า วัฒนธรรมมันใกล้กัน ไปข้างนอกมันฝ่าฟันแล้ว

กลับมาก็อยากสบายๆ”

 

มีคนไทยที่ไลเดนเหมือนกัน เจอคนไทยที่มาเรียนกฎหมายที่นี่ ซึ่งเป็นสายวิชาที่ฮิต

 

โบราณสถานแบบ Conflicted heritage

เคยไปโปแลนด์ ไปดูค่ายเอาชวิตซ์ (Auschwitz concentration camp) เป็นค่ายที่นาซีจับคนยิวมารมแก๊สแล้วเผา คนที่ถูกส่งมาที่นี่คือตายแน่ๆ เข้าเตาเผาแน่นอน ตอนไปถึงคือรู้สึกว่าแค่เข้าไปก็เศร้าแล้ว ความตายมันมีกลิ่น มีบรรยากาศ มีดิสเพลย์เส้นผมของคนตาย ที่เกิดจากการกล้อนผมชาวยิวมาทำถุงเท้า หรือฟันทองก็แงะออกมา หมด เราเห็นความเป็นอัตลักษณ์ของคนจากการฆ่าหมู่ตรงนี้ เห็นผมเป็นกองๆ เห็นกระเป๋ามีชื่อ ก็เป็นที่ที่เศร้ามาก

 

โปแลนด์ค่อนข้างขายความเศร้าอยู่แล้ว เพราะช่วงสงครามโลกโปแลนด์โดนแรงกว่าที่อื่น เพราะเขามองว่าโปแลนด์ไม่ใช่ยุโรปแท้ เป็นยิว เลยมีหลายไซต์ที่พูดถึงความรุนแรงช่วงสงคราม อย่างในวอร์ซอว์ ก่อนสงครามคนอยู่เป็นแสน แต่พอสงครามจบเหลือคนหลักพัน คนตายเยอะมาก โดนจับเข้าค่ายบ้าง โดนยิงทิ้งบ้าง

 

ธีสิสของเตยก็ทำเรื่อง Dark heritage ที่ไทย ตอนสมัย ป.ตรีก็ทำเรื่องสถานีรถไฟธนบุรี ที่เขามาตั้งฐานเป็น junction ไปที่พม่า เชื่อมกับทางรถไฟสายมรณะ พอ ป.โท ก็ทำเรื่องรถไฟสายมรณะทั้งสายเลย เราก็คิดว่าถ้าไม่ใช่คนไทยก็คงทำไม่ได้ แล้วก็คิดว่าไลเดนก็จะได้มีข้อมูลเรื่องนี้ไปด้วย นักโทษสงครามที่นี่ก็มีคนดัตช์ด้วย อยากให้เขารู้ว่าเกิดอะไรขึ้นตรงนี้ด้วย

 

 

คิดยังไงกับประโยคว่า ‘ผู้ชนะเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์’

ก็คิดว่าจริงค่ะ ปกติเราแบ่งเป็นคนชนะกับคนแพ้อยู่แล้ว คนชนะได้บริหารทรัพยากร และได้รับความเชื่อมั่นมากกว่า เสียงดังกว่าคนแพ้ สังคมตอบรับมากกว่า ทำให้คนชนะสามารถเขียนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งเราต้องเข้าใจว่ามันอาจจะไม่ใช่ความจริงก็ได้ แต่เป็นความจริงของเขาที่อยากให้เราเห็นอย่างนั้น ประวัติศาสตร์มันเลย crack ได้ตลอดเวลา เพราะมันไม่ใช่ความจริงทั้งหมด

 

มันมีคำที่บอกว่า ‘ถ้าคุณไม่รู้ประวัติศาสตร์เหมือนคุณตาบอดข้างหนึ่ง แต่ถ้าคุณเชื่อประวัติศาสตร์คุณตาบอดสองข้าง’ สุดท้ายทุกวันนี้ก็ไม่เชื่ออะไรเลย เหมือนเรารู้เยอะเข้าแล้วเรารู้สึกว่ามันไม่จริงเท่าไรแล้ว เราไม่ค่อยอินแล้ว

 

นักโบราณคดีต้องเป็นคนไม่เชื่อ ต้องพร้อมจะเปลี่ยนความคิด เพราะทุกอย่างมีข้อถกเถียงได้ตลอด ถ้าเชื่อมากเราจะเหมือนปิดตาตัวเอง เหมือนการถกเถียงในสังคมมันไม่เหมือนวิทยาศาสตร์ที่มีข้อสรุป เพราะสังคมมันเปลี่ยนตลอด แล้วเราไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่นกับมันมาก ไลเดนจะสอนไม่เหมือนอังกฤษ อังกฤษเหมือนเป็นคนโรแมนติก ทุกอย่างต้องรักษาไว้ แต่ไลเดนมองว่า ถ้าเฮอริเทจหนึ่งชิ้นไม่สามารถหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ ต้องพึ่งพาเงินรัฐบาลตลอด ก็อาจจะไม่ควรอยู่ก็ได้ เพราะเมืองที่โตขึ้น คนก็ต้องการใช้สถานที่ เราไม่สามารถเก็บทุกอย่างในอดีตไว้ได้ตลอดไป เราต้องเลือกสิ่งที่รีพรีเซนต์ตรงนั้น และอยู่ได้ด้วยตัวเองจริงๆ

 

“เพราะว่าเงินต้องเอาไปช่วยคนจน ช่วยคนเจ็บ ไหนจะ refugee อีก

ฉะนั้นประวัติศาสตร์มันเก็บไว้ทุกอย่างไม่ได้

แค่จดจำ บันทึกไว้ มันก็ทำหน้าที่ของมันแล้ว”

 

ไซต์ประวัติศาสตร์ไม่ควรรู้สึกแย่ที่ต้องเข้าหาสปอนเซอร์ เราควรวิ่งเข้าไปหาด้วยซ้ำ เพื่อหางบประมาณให้เราอยู่ได้ เพราะบางทีเราอนุรักษ์ไว้แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันจริงๆ ก็ไม่ควรอยู่ บางคนบอกว่าเสียดาย มันเป็นประวัติศาสตร์​ เป็นของเก่า แต่คุณไปดูมันจริงๆ หรือเปล่า การมีอยู่ของมันคุ้มกับค่าดูแลมั้ย ทำอย่างอื่นมีประโยชน์กว่ามั้ย ดัตช์ก็จะมองแบบนี้ เป็นมุมมองที่เรียลิสติกดี

 

Heritage ต่างชาติ vs Heritage ไทย

เตยเคยไปเป็นอาสาสมัครที่มิวเซียมแอนน์ แฟรงค์ กลับมาที่ไทยก็ยังทำอยู่ เพราะทางนั้นก็อยากโปรโมตเรื่องสิทธิเด็ก เรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ไทยไม่ค่อยรู้จักแอนน์ แฟรงค์ เท่าไร รู้สึกได้ว่าโรงเรียนที่ไทยก็ไม่ค่อยตอบรับ ทั้งที่เรามาจัดให้ฟรี เพราะอาจารย์ก็ไม่อยากเพิ่มงานให้ตัวเอง งานอาจารย์ก็มีเยอะแล้ว สุดท้ายก็ได้โรงเรียนนานาชาติหลายแห่ง เสียดายแทนเด็กไทยเหมือนกัน เพราะงานนี้มันฟรี

 

เฮอริเทจของไทย เตยรู้สึกว่าการไม่จำกัดคนนี่น่าเสียดาย อย่างวัดพระแก้วก็แน่นเกินไป คนเข้าไปไม่ได้เสพศิลป์แล้ว ไม่ได้เสพบรรยากาศ อย่างที่ยุโรปพวกแวร์ซายส์เขาจำกัดคนเข้า ต้องต่อคิวยาวมาก เพราะต้องการให้คนได้ดู ไม่ใช่ถ่ายมาติดแต่คน ไทยก็ไม่ได้จัดการแบบนี้ ที่ไม่ดังก็ไม่โปรโมต คนก็กระจุก ไม่ค่อยกระจายรายได้

 

หรืออย่างรถไฟมรณะที่เตยทำธีสิส เราก็รู้สึกว่ามันทำอะไรได้เยอะกว่านี้ เรื่องก็เล่าได้ แต่เขาไม่ได้สนใจจะทำให้มันดีขึ้น ตอนนี้มันเหมือน touristic railway ไปน้ำตกแล้วกลับบ้าน หรือไปขี่ช้าง ทั้งที่มันมีเลเยอร์ของสงครามโลกที่มันพูดได้ เหมือนเขาไม่ค่อยอยากพูด

 

แต่ไม่ค่อยโทษหน่วยงานนะ เพราะสงครามมันขายยาก แล้วคนก็ไม่ค่อยอยากไปเศร้า ตอนที่ทำรีเสิร์ช ก็เจอคนออสเตรเลีย ที่ไม่มีความเศร้าในประเทศเท่าไร ก็ต้องมาเศร้าที่อื่น เป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจจะมา grieve แต่คนไทยก็มาเที่ยวน้ำตก ไม่รู้ว่าคืออะไร เหมือนเป็นสายรถไฟที่พาคนที่มีความสนใจต่างกันมากๆ มาด้วยกัน แล้วมันก็ไม่ได้ถูกเล่าเท่าที่มันเล่าได้

 

 

แนะนำคนที่อยากไปเรียนต่อโบราณคดีที่เนเธอร์แลนด์

ควรดูคอร์สให้ละเอียด อย่าดูแต่ชื่อกับ ranking ดูให้หมดเลยว่าใครสอน ให้คำแนนเป็นยังไง อ่านหลักสูตรว่าใช่ที่เราอยากเรียนหรือเปล่า และควรจะมีไอเดียของธีสิสไปแล้ว เพราะเวลาปีเดียวมันเร็วมาก

 

อาจารย์ที่ปรึกษาก็ควรดูไว้ก่อนไป เพราะเราอยู่กับเขาทั้งปี ต้องศึกษาไปก่อน ให้หาคนที่เป็นที่ปรึกษาให้เราได้จริงๆ อยากให้เลือกอาจารย์ที่ปรึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ เพราะมันสำคัญมาก

 

“ลองไปประเทศที่ไม่ค่อยมีคนไปบ้างก็ได้ ลองกล้าไปที่แปลกๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ เพราะมันไม่ได้แค่เรียน เราใช้ชีวิตมีประสบการณ์ เป็นหนึ่งปีที่เราเรียกกลับมาไม่ได้ เราก็ต้องเต็มที่กับมัน”

 


Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest มนสิชา รุ่งชวาลนนท์

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

The post ทำความเข้าใจสิ่งที่เหลืออยู่ของความขัดแย้ง จากหญิงสาวผู้ไปเรียน Heritage Management ที่เนเธอร์แลนด์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนวิชาช่างแว่นถึงต้นตำรับที่ฝรั่งเศส แล้วกลับมาเปิดร้านแว่น Arty&Fern https://thestandard.co/podcast/nukreannok13/ Fri, 01 Dec 2017 07:53:12 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=52153

  เฟิร์น-อานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง มีครอบครัวทำกิจการร […]

The post ไปเรียนวิชาช่างแว่นถึงต้นตำรับที่ฝรั่งเศส แล้วกลับมาเปิดร้านแว่น Arty&Fern appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

เฟิร์น-อานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง มีครอบครัวทำกิจการร้านแว่นมานานหลายรุ่น แต่ตัวเธอเองกลับไม่รู้ว่าแว่นทำขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อคิดดังนี้ เธอจึงไปสมัครเรียนคอร์สการทำแว่นที่ M.O.F. (Meilleurs Ouvriers de France Lunetiers) โรงเรียนช่างฝีมือทำแว่นตาที่เมืองมอเรซ เมืองเล็กๆ แสนสงบในประเทศฝรั่งเศส และกลับมาเปิดร้านแว่น custom-made ชื่อ Arty&Fern

 

ต้นเหตุที่ทำให้ไปเรียนทำแว่น

เกิดจากตอนที่อาร์ต (ผู้ร่วมก่อตั้งร้าน Arty&Fern) ถามเฟิร์นซึ่งมีครอบครัวทำกิจการร้านขายแว่นมาหลายรุ่น ว่าแว่นทำขึ้นมาอย่างไร แต่เฟิร์นกลับตอบไม่ได้ ก็เลยคิดว่าอยากทำแว่นดู

 

เริ่มจากการลองทำเลนส์แว่น แต่ก็รู้สึกว่ายังไม่สามารถสร้างแว่นตั้งแต่ต้นของกระบวนการได้ เลยตัดสินใจไปเรียน

 

 

เลือกโรงเรียน

เสิร์ชกูเกิลง่ายๆ เลยว่า eyewear school ก็ไปเจอโรงเรียนชื่อ M.O.F.  ที่เมืองมอเรซ ซึ่งในกูเกิลบอกเลยว่าเมืองนี้มีชื่อเสียงเรื่องแว่นตา

 

ที่นี่เป็นโรงเรียนช่าง ซึ่งครูที่มาสอนเป็นครูช่างทำแว่นหมดเลย เคยทำงานโปรโตไทป์แว่นของแบรนด์ดังๆ หลายแห่ง

 

โรงเรียนนี้ก็เป็นโรงเรียนเล็กๆ มีคอร์สเรียนสั้นๆ 3-4 เดือน หรือบางคอร์สสั้นระดับชั่วโมงก็มี คอร์สที่เฟิร์นกับอาร์ตไปเรียนก็มีนักเรียน 4-6 คน ครูอีกประมาณ 6 คน ในห้องก็จะมีโต๊ะช่างสำหรับประกอบแว่น

 

“เราพบว่าการทำแว่นตาคู่หนึ่งมันใช้อะไรมากกว่าแค่ความสวยงาม

มันมีเรื่องเทคนิคเข้ามาด้วย”

 

นักเรียนที่นี่ส่วนมากเป็นออปติเชียน เจ้าของร้านแว่นที่ต้องการมาเพิ่มพูนความรู้ ปีนั้นเป็นปีแรกเลยที่มีนักศึกษาต่างทวีปไปเรียน ยิ่งเป็นเอเชีย โรงเรียนยิ่งแปลกใจ

 

 

บรรยากาศการเรียน

วันแรกที่ไปเรียน ครึ่งเช้าเป็นการสเกตช์แบบแว่น ส่วนครึ่งบ่ายเป็นทฤษฎี พอดูสไลด์ที่อาจารย์เปิดก็เลยเข้าใจว่าความสวยงามในสเกตช์ของเรามันไม่ใช่ที่สุดของการออกแบบแว่น เพราะในสไลด์คือการออกแบบเพื่อช่วยคนที่ไม่สามารถสวมแว่นปกติได้ เป็นการแก้ปัญหา เช่น คนที่ตาสองข้างไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน หรือคนที่กะโหลกเล็กมาก หรือคนที่ไม่มีใบหู การดีไซน์ก็จะเข้ามาช่วยเขาให้สวมแว่นสายตาได้ เป็นงาน custom-made เลย

 

จากนั้นพอลงปฏิบัติก็ต้องเริ่มตั้งแต่เลื่อยฉลุเลย ตั้งแต่ตั้งต้นของการสร้างกรอบแว่นสักอันหนึ่ง

 

“แว่นอันแรกของทุกคนจะมีความเป็นตัวเองอย่างชัดเจนมาก”

 

ที่นี่ไม่มีการให้คะแนน เน้นการปฏิบัติ ทำตามสเตปไปตามอาจารย์ จะมีแต่การบอกว่าอันนี้ที่เราทำมันดีแล้วหรือเปล่า

 

ที่ตลกคือด้วยความที่เราเป็นคนต่างชาติ แล้วที่นี่สอนเป็นภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนก็เลยเตรียมนักแปลมาให้คนหนึ่ง มีหน้าที่แปลทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษให้เราแบบเรียลไทม์

 

 

การทำแว่นสักอันหนึ่ง

มันมีกระบวนการสัก 200 ขั้นตอนได้ และมีทั้งเครื่องมือที่เหมือนเครื่องจักร ฉะนั้นทุกวันทุกคนจะต้องได้แผลจากการทำแว่นกันหมด มือก็จะทั้งด้านด้วยเลือดออกด้วย มีอาจารย์คนหนึ่งมีซิกเนเจอร์เป็นการสลักลายลงบนส่วนประกอบแว่น เขามาสอนการสลัก แต่เครื่องมือวาดสลักก็ใช้ยาก มันสั่น บวกกับมือตัวเราก็ช้ำแล้ว เลยเจ็บมาก

 

“อาจารย์ก็ชูมือให้ดู แล้วบอกว่า experience is on your hands

ประสบการณ์จะอยู่บนมือเรา”

 

พอมองดูมืออาจารย์ก็พบว่าแผลเยอะมาก บางนิ้วไม่มีเล็บ มีแผลขีดข่วน โดนสารเคมี เยอะมาก ไม่มีจุดไหนบนมือที่ไม่มีรอยแผลเลย เราก็รู้สึกว่าเราเพิ่งทำแว่นไป 2 อันเอง ทำไมมันทรมานขนาดนี้

 

การไปเรียนทำให้จินตนาการในการทำแว่นของเรามันไปอีกไกลเลย มันมากกว่าแค่ความสวยงาม บางคนถ้าไม่ได้ช่างแว่นช่วยเขาก็ไม่สามารถใส่แว่นได้เลย คอร์สแค่สั้นๆ แต่ได้อะไรมากกว่าที่อยากรู้อีก

 

 

คิดจะเปิดร้าน

พอรู้เรื่องคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากช่างแว่น เราก็เสิร์ชว่าที่ไทยมีมูลนิธิที่รวบรวมคนที่ผิดปกติด้านกะโหลกหรือใบหน้าหรือเปล่า ก็พบว่ามี ก็เลยตั้งเป้าหมายว่านี่จะเป็นความตั้งใจของเรา คือช่วยคนเหล่านี้ให้มีแว่นที่ใส่ได้

 

“แว่นที่ดีคือแว่นที่เป็นหนึ่งเดียวกับคนใส่ ไม่ใช่แค่ชอบทรงไหนแล้วได้ทรงนั้น
หรือชอบสีไหนแล้วได้สีนั้น แต่มันคือความสบาย ใส่แล้วเหมือนไม่ได้ใส่
ใส่จนเหมือนตัวเราไปแล้ว”


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest อานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนวิชาช่างแว่นถึงต้นตำรับที่ฝรั่งเศส แล้วกลับมาเปิดร้านแว่น Arty&Fern appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียน อินเดีย จนได้เรื่องมาเล่าเป็นเพจฮิต ‘ตามติดชีวิตอินเดีย’ https://thestandard.co/podcast/nukreannok12/ Thu, 23 Nov 2017 17:01:57 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=49301

      ขิม-พัทธมญส์ กาญจนพันธุ์ ไปเรียนที […]

The post ไปเรียน อินเดีย จนได้เรื่องมาเล่าเป็นเพจฮิต ‘ตามติดชีวิตอินเดีย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     

ขิม-พัทธมญส์ กาญจนพันธุ์ ไปเรียนที่เมืองไมซอร์ ประเทศ อินเดีย แล้วนำเรื่องราวสุดเฮฮาป่าแตกของชีวิตที่ อินเดีย มาเล่าลงเพจ ‘ตามติดชีวิตอินเดีย’ จนเป็นที่พูดถึงและติดตามของคนไทยจำนวนมาก ยอดไลก์เพจของขิมสูงกว่า 200,000 ไลก์ พร้อมกับที่เธอมีผลงานหนังสือ ตามติดชีวิตอินเดีย ออกมาเล่าชีวิตในอินเดียอีกหนึ่งเล่ม

     

คราวนี้เธอจะมาเล่าด้วยเสียงบ้างว่า ระหว่างทางชีวิตใน อินเดีย ที่เขาว่าแสนจะไม่สะดวกสบายนั้นเป็นอย่างไร

 


 

ทำไมไป อินเดีย

ตอนแรกทำงานแล้วเบื่อ เลยอยากหาที่เรียนภาษา ที่อังกฤษ แคนาดา อเมริกาก็แพง แต่ก็ไปเจอว่างบที่มีสามารถเรียนที่ อินเดีย ได้ 3 เดือนเลย รวมค่าที่พัก ค่าเรียน ค่าน้ำ ค่าไฟ ถูกมาก แถมน่าจะสนุกด้วย เพราะเคยดูหนังเรื่อง The Office หนังอินเดีย ตลกมาก เลยคิดว่าคนอินเดียน่าจะตลกเหมือนในหนัง เลยไป อินเดีย

     

ตอนแรกก็ไปเรียนภาษาที่บังกาลอร์ เป็นเมืองใหญ่ เจริญ มีผับ มีห้าง ใหญ่กว่ากรุงเทพฯ อีก แต่ก็ไม่ได้เจริญอย่างทั่วถึงทุกส่วน เพราะมันก็มีย่านยากจนบ้างแถบริมเมือง

 

 

เรียนภาษาอังกฤษที่อินเดีย

ส่วนมากคนที่เรียนภาษาที่นี่จะเป็นพวกอาหรับตะวันออกกลาง ซาอุดีอาระเบีย เยเมน ซูดาน อิรัก อิหร่าน ซึ่งเคยไปถามเพื่อนว่าทำไมไม่ไปเรียนอเมริกาหรืออังกฤษ เขาก็บอกว่าแถวนั้นมีกฎเกณฑ์เยอะ ส่วนที่นี่จะฟรีๆ กฎหมายไม่เคร่งครัดมาก

     

ส่วนการเรียนภาษาอังกฤษที่บังกาลอร์ก็พอได้อยู่ ครูเป็นคนอินเดีย แกรมมาร์แน่นเลย แต่ก็ต้องปรับตัวกับสำเนียงอินเดียเหมือนกัน คำศัพท์ต่างๆ ก็จะสอนเป็นแบบบริติช เวลาจะขอยืมไม้บรรทัด ไปพูด ruler เขาไม่เข้าใจ ต้องเรียกว่า scale แว่นกันแดดเราเรียก sunglasses เขาจะเรียกว่า shade ก็งง แต่สักเดือนสองเดือนก็ปรับตัวได้ การเรียนเน้นที่คำศัพท์กับการเขียนเป็นหลัก

 

บรรยากาศการใช้ชีวิตในอินเดีย

ห้องน้ำหายากมาก ไม่ค่อยมีส้วมสาธารณะ เคยฉี่แตกกลางถนนระหว่างจะกลับบ้านไปเข้าห้องน้ำ ตอนนั้นขี่มอเตอร์ไซค์อยู่ก็ไม่ทัน

     

การคมนาคมที่นั่นมีรถออโต้ หน้าตาเหมือนตุ๊กตุ๊ก มีแท็กซี่ มีทุกอย่าง มีอูเบอร์ด้วย ถ้าไปอยู่แป๊บๆ ก็ไม่ต้องซื้อรถก็ได้ แต่ขิมซื้อมอเตอร์ไซค์ พอย้ายเมืองเรียนก็ไปซื้อรถยนต์

     

ย้ายจากบังกาลอร์ไปเรียนที่เมืองไมซอร์ เพราะเรียนไปสักพักแล้วไม่ชอบเท่าไร ตอนแรกไปเรียนคณะบริหาร พอหลังจากเปิดเพจเขียนหนังสือก็พบว่าอยากไปเรียนวิชาเกี่ยวกับการเขียนแทน เลยลาออกแล้วไปเรียนคณะวารสารศาสตร์ที่ไมซอร์ เพราะสอบติดที่นี่ เป็นเมืองเล็กๆ รถไม่ติดเท่าไร

     

พอย้ายไปก็ซื้อหมามาเลี้ยงตัวหนึ่ง เพราะเหงา

 

 

มหาวิทยาลัยไมซอร์

บรรยากาศเปลี่ยนไปเลย จากเมืองเก่าที่เคยเปิดประตูบ้านออกมามีแมคโดนัลด์ มีเคเอฟซี มีร้านอาหารแฟรนไชส์ ที่ไมซอร์ไม่มีเลย ซึ่งด้วยความที่มีร้านฟู้ดเชนเหล่านี้ก็เลยทำให้ช่วงแรกกินแต่เคเอฟซีจนเงินหมด เลยต้องเริ่มทำอาหารด้วยตัวเอง

     

ไมซอร์เป็นเมืองเล็กมาก ไม่มีอะไรเลย มีที่เที่ยวแค่พระราชวังไมซอร์ แต่ไม่มีปัญหาเรื่องรถติด ขับจากมุมเมืองหนึ่งไปอีกมุมหนึ่งก็แค่ 45 นาที ถนนที่ไมซอร์ช่วงในเมืองก็สะดวกสบาย เพราะถ้าออกนอกเมืองหน่อยก็เป็นดินฝุ่นๆ แดงๆ ที่ถ้าขี่มอเตอร์ไซค์ก็ตัวแดงทั้งตัว

     

มหาวิทยาลัยไมซอร์ก็ค่อนข้างใหญ่ มีหลายคณะ คณะที่ขิมไปเรียนมีนักเรียน 35 คน เป็นคนอินเดียเกือบหมดเลย มีแค่ขิมที่เป็นคนไทย และอีกคนเป็นอินโดนีเซีย เลยมักโดนเรียกไปตอบคำถามหน้าห้องบ่อย

     

ที่นี่เรียนยากเหมือนกัน เพราะต้องเขียนตามครูพูด ไม่มีสไลด์ ไม่มีจดขึ้นกระดาน แต่สาขาสื่อสารมวลชนไม่ค่อยมีคนเรียนเท่าไร ส่วนมากจะเรียนไปทางสาขาไอที เพราะได้เงินเดือนเยอะกว่า

     

เพื่อนๆ ก็ใจดี ด้วยความที่ขิมเป็นคนต่างชาติ บางคนก็ช่วยสอน บางคนก็เปิดข้อสอบให้ลอกเลยก็มี ซึ่งให้เขียนสอบเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ นอกนั้นเขียนภาษากันนาดา ซึ่งเป็นภาษาประจำรัฐ

 

 

ปฏิสัมพันธ์คนอินเดีย

คนที่นี่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ชอบโกง พอเห็นขิมเป็นชาวต่างชาติก็พยายามโกงเงินค่าซ่อมรถอะไรงี้ แต่เพื่อนอินเดียก็คอยช่วย คอยบอก สมมติเอาตู้เย็นไปซ่อม บอกว่าได้วันจันทร์ พอไปตรงวันก็เลื่อนไปอีกวัน พอไปรับอีกทีก็เลื่อนไปอีกวันจนต้องก้าวร้าวใส่ ขู่ว่าจะเรียกตำรวจ โวยวาย เคยมีน้องคนหนึ่งเป็นคนเรียบร้อยอ่อนหวาน แต่พอมาอินเดียปุ๊บกลายเป็นคนก้าวร้าวเลย ไม่งั้นจะโดนเอาเปรียบได้

 

“เราต้องแข็ง คนไทยน่ะหัวอ่อน ปกติหนูก็จะ ‘ค่ะ ได้ค่ะ’ แต่มาอยู่ที่นี่โดนเอาเปรียบตลอดเวลา”

 

เพื่อนๆ ชาวอินเดีย

มีเพื่อนสนิทชาวอินเดียเหมือนกัน ชวนไปเที่ยวกัน แต่ที่เมืองนี้ไม่มีผับเลย ก็ปาร์ตี้กันที่บ้าน เพราะเมืองนี้เงียบ เหมือนเป็นเมืองที่คนแก่เกษียณแล้วมาอยู่กัน ไม่ค่อยมีอาชญากรรมเท่าไร

     

เพื่อนกลุ่มนี้เป็นเพื่อนที่น่ารักมาก เป็นผู้ชาย แต่มักจะมาช่วยเหลือเวลาเราลำบาก เช่น รถยางรั่วก็โทรบอกให้มาช่วยเปลี่ยนล้อได้ เขาก็รู้สึกว่าการมีเราเป็นเพื่อนต่างชาติก็เท่ดี

     

มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นนักการเมืองชื่อเบเรตต้า เขาก็ชอบพูดไปเรื่อย ขี้โม้ ภาษาอังกฤษก็ไม่แข็งแรง แต่ก็พูด “ทูเดย์ ขิม คัมมิ่ง ทูอัส แฮปปี้”

 

“มาอยู่ที่นี่ทำให้เรากลายเป็นคนใจเย็นลงเหมือนกัน เพราะวีนไปก็เหมือนเดิม ถ้างั้นก็ยังไงก็ได้ เอาตามนั้นเลย”

 

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest พัทธมญส์ กาญจนพันธุ์

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
Music Westonemusic.com

The post ไปเรียน อินเดีย จนได้เรื่องมาเล่าเป็นเพจฮิต ‘ตามติดชีวิตอินเดีย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียน MBA ท่ามกลางเพื่อนจากประเทศกว่าค่อนโลกที่ INSEAD ฝรั่งเศส https://thestandard.co/podcast/nukreannok11/ Thu, 16 Nov 2017 17:01:17 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=46428

     เต่า ไชยณัฐ เป็นพนักงานออฟฟิศ และนั […]

The post ไปเรียน MBA ท่ามกลางเพื่อนจากประเทศกว่าค่อนโลกที่ INSEAD ฝรั่งเศส appeared first on THE STANDARD.

]]>

     เต่า ไชยณัฐ เป็นพนักงานออฟฟิศ และนักเขียนที่รู้จักในนามปากกาว่า บองเต่า หลังจากเขียนแชร์ประสบการณ์การเรียน ป.โท MBA ที่ INSEAD สถาบันระดับโลกที่เมืองฟงแตนโบล ประเทศฝรั่งเศส ไว้ในหนังสือ บอง ออง ฟรองซ์ คราวนี้นักเรียนนอกพอดแคสต์ ขอถามเจาะลึกไปถึงวิธีการเข้าเรียน บรรยากาศในคลาส และความเฮฮาปาจิงโกะทั้งในและนอกห้องเรียน ในแบบที่หนังสือยังไม่ได้เล่า

     “สวัสดีครับ ผมชื่อไชยณัฐ หรือจะเรียกผมว่าเต่าก็ได้ ผมเรียนจบ MBA จาก INSEAD ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองฟงแตนโบล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อคุณนึกถึง MBA คุณน่าจะนึกถึง business school ในสหรัฐอเมริกา แต่จริงๆ แล้วเรามีโรงเรียนดีๆ อีกเยอะในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น LBS (London Business School) ในอังกฤษ หรือ INSEAD ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็น business school อันดับหนึ่งของโลกอยู่ตอนนี้

     “เมื่อพูดถึงฝรั่งเศส คุณน่าจะนึกออกว่าจะเพลิดเพลินไปกับอะไรในฝรั่งเศสได้บ้าง เช่น อาหาร ไวน์ หรือชีส และแน่นอนว่าที่โรงเรียนเราด้วย เพราะ INSEAD คือโรงเรียนบิสิเนสที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก ที่นี่เราสามารถเป็นเพื่อนกับผู้คนจาก 70-80 ประเทศทั่วโลก

     “และชื่อของ ฟงแตนโบล น่าจะเป็นอะไรที่ไม่คุ้นเคยกับคนไทย แต่จริงๆ ที่นี่เป็นเมืองที่น่าสนใจมาก ด้วยความที่มีปราสาทฟงแตนโบลหลังใหญ่ และตัวเมืองเองก็มีระยะเดินทางจากปารีสแค่ 40 นาทีเท่านั้น นั่นแปลว่าคุณสามารถเดินทางมาที่โรงเรียนเราได้ในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงจากปารีส หรือคุณก็สามารถเดินทางจากโรงเรียนไปชิลล์ที่ปารีสในยามค่ำคืนได้ง่ายๆ ทุกวัน”

 

ทำไมเลือกไปเรียนที่ฝรั่งเศส

     ย้อนไปตั้งแต่วันที่เริ่มทำงานที่ SCG วันแรกๆ ช่วงนั้นที่บริษัทจะมี HR มาปฐมนิเทศ ก็จะมีแนะนำทุนไปเรียน MBA ซึ่งมีเกณฑ์ง่ายมากคือเลือกไปเรียนได้แค่เฉพาะโรงเรียน MBA ท็อปเท็นของโลกเท่านั้น โดยมีการอัพเดตตาม ranking ทุกปี ตอนนั้น 8 จาก 10 อันดับเป็นโรงเรียนที่อเมริกา อีกสองแห่งอยู่ที่ยุโรปคือ LBS (London Business School) ที่อังกฤษ​ และอีกแห่งอยู่ที่ฝรั่งเศส ซึ่งเต่าสนใจอยากไป เพราะฝรั่งเศสดูแรดดี แต่ก็ยังไม่ได้เกิดแรงบันดาลใจอยากจะไปเสียตั้งแต่วันนั้น

     พอทำงานไปสัก 3-4 ปี ก็มาคิดว่าคงต้องเรียนโทแล้วล่ะ แต่ตอนนั้นมีกติกากับตัวเองเอาไว้ว่าไม่อยากเรียนไปทำงานไป เพราะเห็นเพื่อนใช้ชีวิตแบบนี้แล้ว suffer มาก ทำงานเสร็จทุ่มนึง แล้วก็ไปเรียน กว่าจะได้กลับบ้านนอนตีหนึ่งตีสอง ก็ไม่อยากเอาแบบนั้น เลยหันมาหาทุน ก็เห็นว่า INSEAD ที่ฝรั่งเศสก็ยังอยู่ในลิสต์ท็อปเท็นอยู่ ก็เริ่มมาศึกษาว่าที่ไหนเหมาะกับเรา

 

คาแรกเตอร์ของโรงเรียน MBA ต่างๆ

     โรงเรียนแต่ละแห่งก็จะมีคาแรกเตอร์ต่างๆ กัน บางแห่งเครียดหน่อย บางแห่งเด่นเรื่องไฟแนนซ์ บางแห่งดังเรื่องมาร์เก็ตติ้ง

     อย่างที่อเมริกา โรงเรียน MBA ที่สนุกที่สุดคือ Kellogg ซึ่งเก่งเรื่องการตลาด แต่ว่าจะเป็น fun school มากๆ ส่วนฝั่งยุโรป INSEAD ก็จะอารมณ์เป็น party school มากๆ ซึ่งเค้าว่ามันสนุกจริงๆ จุดเด่นของ INSEAD ก็คือมันหลากหลายมาก โดยเฉพาะด้านเชื้อชาติ เพราะว่าอย่างโรงเรียนในอเมริกาก็จะมีนักเรียนประมาณ 60-70% เป็นคนอเมริกา แล้วก็จะมีชนชาติอื่นๆ มาเติมจนเต็ม

     แต่ของ INSEAD มีกฎอย่างหนึ่งคือจะไม่มีชนชาติไหนเกินกว่า 10% ของชั้นเลย นักเรียนแต่ละชั้นประมาณ 70-80 คน จนมีคนบอกว่าถ้าไม่ใช่ที่ INSEAD ก็ต้อง UN แล้วล่ะ ถึงจะมีคนหลากหลายเชื้อชาติได้ขนาดนี้

 

เหตุผลที่เลือกเรียนด้าน MBA

     ส่วนหนึ่งทำให้อยากเรียน MBA คือตอนที่เรียน ป.ตรี เรียนไฟแนนซ์ ทั้งๆ ที่ในใจอยากเรียนมาร์เก็ตติ้งมาก ชอบมาร์เก็ตติ้ง แต่ว่ายอมเลือกตามเพื่อน เพราะเพื่อนทั้งกลุ่มไม่มีใครเลือกเรียนมาร์เก็ตติ้งเลย เลยมาคิดว่าไฟแนนซ์ก็ไม่ได้แย่มั้ง ก็เลยเลือกเรียนไฟแนนซ์

     พอจะเลือกเรียน ป.โท ก็รู้สึกว่าการเรียน MBA น่าจะเติมเต็มความรู้สึกอยากเรียนในตอนนั้นได้

     ส่วนการเลือกเรียนที่ INSEAD ก็เพราะรู้สึกว่าที่นี่น่าสนใจ และสิ่งที่จะไม่ทำแน่ๆ คือเรียน ป.เอก เป็นด็อกเตอร์ เพราะฉะนั้นนี่คือการเรียนรอบสุดท้ายของชีวิตแล้ว ก็เลือกเรียนโรงเรียนที่อยากไปจริงๆ ดีกว่า

 

ยากแค่ไหนกับการเข้าโรงเรียนระดับท็อปเท็นของโลก

     ขออวดก่อนว่าตอนที่เรียนอยู่ INSEAD อยู่ประมาณอันดับ 4-5 ของโลก แต่พอเรียนจบขึ้นอันดับหนึ่งเลย ตอนนี้ก็เป็น business school อันดับหนึ่งของโลกมา 2 ปีแล้ว

     เอาจริงๆ การเข้า MBA ระดับท็อปเท็นของโลกเนี่ย มันยากหมดแหละ ไม่ว่าที่ไหน เพราะอัตราการแข่งขันมันสูง ถ้านั่งดูไทม์ไลน์ดีๆ คือต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีนับตั้งแต่วันที่เตรียมตัวจนถึงวันที่ INSEAD โทรมาบอกว่ายูได้ไปเรียนแล้ว เริ่มตั้งแต่การสอบ ซึ่งจะมีตั้งแต่สอบ TOEFL สอบ GMAT เพื่อเอาคะแนนไปยื่น ซึ่งแม้จะคิดว่าตัวเองก็เรียนใช้ได้อยู่ แต่ก็สอบ GMAT ไป 3 รอบ ค่าสอบครั้งละ 7,000 บาท ก็โดนไป

     สอบ GMAT ไป 3 รอบ TOEFL อีก 1 รอบ ก็ได้คะแนนมา แล้วก็เริ่มเขียนแอปพลิเคชัน เหมือนเขียนเรียงความ ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็เขียนเรียงความไม่เหมือนกัน แพตเทิร์นไม่เหมือนกัน ที่ INSEAD ถือว่าเรียงความไม่โหดร้ายซับซ้อนมากเท่าไร แต่เราก็ต้องขายตัวเองให้เป็นว่า ทำไมโรงเรียนต้องเลือกเรา ทางโรงเรียนก็จะมีคำถามให้กรอกอยู่ประมาณหนึ่ง ซึ่งถ้าเทียบกับโรงเรียนอย่าง Harvard นั่นยากมาก เพราะมีแค่คำถามเดียวทุกปี ไม่จำกัดจำนวนคำด้วย แต่อย่าง INSEAD จะมีจำกัดจำนวนคำ ข้อนี้ห้ามเกิน 200 คำ ข้อนี้ห้ามเกิน 500 คำ

     ช่วงนี้ก็กลับไปดูคำถามแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยต่างๆ ดูว่ามันอัพเดตไหมยังไง ก็พบว่าที่ฮาร์วาร์ดมีคำถามเดียวคือ “วันแรกที่คุณเข้าไปที่ฮาร์วาร์ด จงแนะนำตัว” จบ คือไม่มีไกด์ไลน์อะไรเลย แต่ที่ INSEAD เราก็พอรู้แล้วว่าเขาต้องการคนประมาณไหน เราก็ต้องขายตัวเองให้เป็น ซึ่งขั้นตอนนี้นานประมาณครึ่งปี จะมี consult ที่ปรึกษามาช่วย เป็นคนที่เรียน MBA มาก่อน ซึ่งก็จะรู้ว่าโรงเรียนต้องการคนแบบไหน การ consult เป็นธุรกิจใหญ่มาก อย่างในจีนหรืออินเดียที่บ้า MBA มากๆ ยิ่งต้องการ

 

แล้ว INSEAD ต้องการคนแบบไหน

     อย่างแรกเลยคือต้องการคนที่มี International Exposure คือถ้าเกิดคุณเคยอยู่แค่ประเทศไทยอย่างเดียว ไม่เคยไปเปิดหูเปิดตาประเทศอื่น ชนชาติอื่นเลย แบบนี้ก็ยากแล้ว เพราะทุกอย่างที่เรียนที่นี่จะมองในมุมของความหลากหลายทั่วโลกหมดเลย สมมติอาจารย์ยก case study มาเคสหนึ่ง ก็จะถามเลยว่าคนไทยคิดยังไง คนยุโรปคิดยังไง คนอเมริกาคิดยังไง มันก็จะได้คนละมุมกัน

     ถ้าพูดด้วยหลักการก็คือหนึ่ง คุณต้องเรียนดีประมาณหนึ่ง ดูจากพวกคะแนนที่ไปสอบมาเนี่ยแหละ สองคือคุณต้องมีประสบการณ์ด้วย ต้องทำงานมาประมาณหนึ่งแล้ว เพราะสุดท้ายคุณต้องเข้าไปพูดในคลาส มี contribute ให้คลาส สามคือเขาต้องมองในอนาคตว่าคุณเป็นผู้นำได้หรือเปล่า และสุดท้ายคือคุณมีความหลากหลายในชีวิตคุณหรือเปล่า เพราะว่าในโรงเรียนมันไม่ได้หลากหลายแค่ชนชาติอย่างเดียว แต่ว่าเบื้องหลังโปรไฟล์ชีวิตของเราเนี่ยสำคัญมาก

     นักเรียนบางคนโปรไฟล์มหัศจรรย์มาก ขนาดเราคิดว่าเราเคยไปทำงานที่กัมพูชามาแล้ว ก็เจ๋งแล้วนะ ไม่น่าจะมีใครเคยไปทำงานที่เขมรหรอก ปรากฏว่าพอเข้าไปที่โรงเรียนก็จะเจอนักเรียนฝรั่งคนเยอรมันซึ่งปั่นจักรยานจากเยอรมนีไปแอฟริกาใต้เพื่อระดมทุน หรือมีเคสหนึ่งที่สนุกมาก แต่สะท้อนคาแรกเตอร์ของ INSEAD ได้ดีมาก คือตอนนั้นนั่งเรียนกันอยู่ แล้วอาจารย์ยก case study ขึ้นมาอันหนึ่งเกี่ยวกับการปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ แล้วเคสนั้นที่ยกมาคือคนกลุ่มหนึ่งปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ไปถึงจุดหนึ่ง เกือบจะถึงแล้ว แต่ปรากฏว่าอากาศไม่ดี คำถามคือ คุณจะขึ้นไปต่อมั้ย เพราะถ้าขึ้นไปต่อ โอกาสที่คุณจะตายมีเยอะมาก ซึ่งเคสที่ยกมาเนี่ยคนที่ขึ้นไปก็ตายด้วย

     ปรากฏว่ามีเพื่อนคนหนึ่งในคลาสยกมือ แล้วบอกว่าผมเคยขึ้นไปยอดเขาเอเวอเรสต์มาแล้ว อาจารย์ก็เลยจัดเป็นอีกเซกชันหนึ่งแยกไปเลย เป็นคลาสพิเศษให้เพื่อนมารีวิวการขึ้นไปยอดเขาเอเวอเรสต์ การทำงานที่เขมรของเราเบๆ ไปเลย มันมีคนที่พิสดารกว่าเราเยอะมาก

     ตอนที่จะเข้าเรียนมันจะมีหมวดหนึ่งเรียกว่า Maturity เพราะคุณต้องไปเป็นผู้นำ มีวุฒิภาวะ แต่ปรากฏว่าพอเข้ามาเรียนทุกคนกลายเป็นเด็กบ้าไปหมดเลย วุฒิภาวะหายไป บ้ามาก

 

พูดถึงเมืองฟงแตนโบลและฝรั่งเศส

     ก่อนหน้าไปเรียนก็ได้ไปอยู่ที่ปารีสก่อน 3 เดือน แต่เป็นช่วงหน้าหนาวที่โคตรหนาวเลย ส่วนฟงแตนโบลเนี่ยเป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปารีส นั่งรถไฟไปแค่ 40 นาที ความพิเศษของที่นี่คือถ้าเราพูดถึงพระราชวังเราก็จะนึกถึงแวร์ซายส์ที่ปารีส อันนั้นเป็นวังใหญ่สุดของฝรั่งเศส แต่ที่ฟงแตนโบลมีวังที่ใหญ่เป็นอันดับสองอยู่ เป็นวังฤดูร้อน เพราะฟงแตนโบลเป็นป่า พอเข้าหน้าร้อนกษัตริย์ก็จะไปล่าสัตว์ที่นั่น บ้านที่ไปอยู่คือเปิดบ้านมาเจอปราสาทเลย

     ที่นี่เป็นเมืองเล็กๆ เรียกว่าแทบจะเป็นหมู่บ้านเลยก็ว่าได้ ไม่ได้ห่างจากปารีสมาก แต่ค่อนข้างเงียบ

 

บรรยากาศในโรงเรียน INSEAD

     การเรียนที่โรงเรียนแบ่งเป็น 5 เทอม เทอมละ 2 เดือน เรียกว่า P มาจาก Period ช่วง P1 จะเป็นอะไรที่นรกแตกมาก เพราะว่าทุกอย่างใหม่หมด ทุกคนตื่นเต้นกับทุกสิ่ง เพื่อนเยอะมาก มีสิ่งที่ต้องทำเยอะมาก เรียนก็เรียนเยอะมาก ดังนั้น P1 จะเป็น P ที่ไม่มีเวลาว่างเลย เรียนก็ต้องเรียน เลิกเรียนก็มีปาร์ตี้ ช่วงวีกเอนด์เพื่อนจัดทริปตลอดเวลา ทำให้เราได้นอนน้อยมาก การนอนตกไปอยู่เป็นความสำคัญอันดับท้ายๆ เลย แค่นี้ก็แทบไม่มีเวลาเรียนแล้ว

     ช่วง P1 กับ P2 จะยังไม่ได้เรียนวิชาเลือก จะต้องเรียนวิชาบังคับก่อน ซึ่งโรงเรียนจะมีการจับกลุ่มให้นักเรียนเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยเราไม่รู้เลยว่าต้องอยู่กับใคร แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าทฤษฎีในการจับกลุ่มคืออะไร ก็เคยมีคนถามอาจารย์เหมือนกันว่าเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคืออะไร อาจารย์ก็ตอบกลับมาว่า “To maximize your pain.” คือทำยังไงก็ได้ให้มึงดราม่าที่สุด ซึ่งมันก็เป็นความจริงในบางกรณี ก็มีบางกลุ่มที่เข้ากันได้ดีมาก แต่บางกลุ่มก็ด่ากันทะเลาะกันเกลียดกัน เวลานั่งก็ต้องนั่งด้วยกัน หรือบางทีต้องทำข้อสอบด้วยกัน

     ช่วง P1-2 ก็เป็นช่วงที่เราทำความรู้จักกับกลุ่มของเรา แล้วก็ขยายเน็ตเวิร์กไปรู้จักคนอื่นๆ ก็จะใช้เวลาไปกับการรู้จักเพื่อนใหม่เยอะ ยิ่งถ้าใครเป็นคนที่จำชื่อ จำหน้าคนไม่เก่งก็จะทรมานมาก เพราะว่านี่ต้องจำประเทศเพื่อนอีก รุ่นหนึ่งมีนักเรียน 500 คน มี 2 แคมปัสคือที่นี่แหละที่สิงคโปร์ ฉะนั้นครึ่งหนึ่งที่สิงคโปร์เราจะไม่รู้จักกันเลย

     อีกอย่างที่คนจะใช้เวลาไปมากคือการตั้งตัวกับการใช้ชีวิตในฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศที่บัดซบมากในแง่ของงานราชการ อย่างเช่นถ้าเราจะเปิดโทรศัพท์มือถือเบอร์หนึ่ง ก็จะไม่เหมือนที่เมืองไทยที่เดินไปที่ร้านของเครือข่ายมือถือ ยื่นตังค์เปิดซิม ซื้อโทรศัพท์หนึ่งเครื่อง ทุกอย่างจบใน 15 นาที แต่ที่ฝรั่งเศสคือถ้าเราจะใช้มือถือที่เป็นรายเดือน จะต้องมีหลักฐานที่อยู่อาศัยเช่นทะเบียนบ้าน ซึ่งพอเอาไปยื่นก็ไม่จบ เค้าก็จะมีคำถามอีก บ้านคุณจริงหรือเปล่า? ต้องมีถึงขนาดบิลค่าน้ำค่าไฟมายืนยันด้วย ระบบมันยังเก่ามากใช้เวลานานมากจนกว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยก็จบ P1 พอดี แต่เราโชคดีตรงที่อยู่ปารีสมาก่อน ก็ไปทำมาก่อนแล้ว

     หรือพวกบัญชีธนาคารก็ต้องเปิดกันล่วงหน้า 2 เดือน ให้มั่นใจว่าพอไปถึงปั๊บเราจะมีใช้งานได้เลย

 

ที่พักที่ฟงแตนโบล

     ที่ INSEAD ไม่มีหอพัก ก็ต้องหากันเอง ที่พักที่ฝรั่งเศสก็จะมีประมาณ 3-4 แบบ อย่างแรกก็บ้านที่อยู่ในฟงแตนโบลนั่นแหละ ก็จะมีเอเจนต์ช่วยจัดการให้ จะมีตั้งแต่ห้องสตูดิโอ อพาร์ตเมนต์ อยู่คนเดียวไปจนถึงไปเช่าวังอยู่

     แต่ของเราคือเลือกจากโลเคชันใกล้ๆ โรงเรียน เพราะว่าขี้เกียจขับรถ ก็ได้ที่พักที่เดินไปโรงเรียนได้ใช้เวลา 10 นาทีถึง ตอนแรกเกือบจะได้บ้านหลังหนึ่งที่เป็นบ้านของ patissier คนทำขนมที่ดังที่สุดของเมืองนั้น แต่สุดท้ายก็ได้บ้านอีกหลังหนึ่ง อยู่ไป 3 เดือน เจ้าของบ้านก็ชี้ให้ดูคานบ้านบอกว่าบ้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของวังมาก่อน เป็นบ้านของนางสนม ทำนองนั้น

     บ้านที่เลือกอยู่นี้มี 2 ห้องนอน ราคาเดือนหนึ่ง 2,250 ยูโร ก็ประมาณหนึ่งแสนบาท แต่ชอบมาก เพราะมีที่จอดจักรยาน มีห้องครัวใหญ่มาก มีตู้เย็นใหญ่มาก ห้องอาบน้ำ ทุกอย่างดีหมดเลย แต่ต้องหาคนมาแชร์ด้วยให้ได้ เพราะแพงมาก หารกันแล้วก็ยังแพง แต่สุดท้ายก็ได้เพื่อนผู้หญิงคนจีนมาหารบ้านกัน ข้อดีของที่นี่คือเปิดประตูออกมาแล้วเจอวังเลย

     แต่ก็จะมีบ้านอีกแบบหนึ่งที่อยู่ด้วยกันเยอะๆ เป็นปราสาทเก่า ก็คือชาโต (Chateau) ก็แบ่งเป็นห้องย่อยๆ 10 ห้องอะไรอย่างนี้

     ทีนี้ เผอิญว่าเราทำสัญญาเช่าบ้านไว้แค่ถึง P3 พอเข้า P4 ก็ไม่มีบ้าน เลยมีเพื่อนคนหนึ่งที่ปล่อยเช่าเพราะไปเรียน P4 ที่สิงคโปร์ ก็เลยไปเช่าต่อจากเขา บ้านนี้ชื่อ Maison Royale แปลประมาณว่าบ้านราชวงศ์ แต่ละห้องก็ตั้งตามชื่อราชวงศ์ฝรั่งเศส อันนี้ก็ได้อีกอารมณ์หนึ่ง เป็นเหมือนหอพักเล็กๆ อยู่กัน 10 คน มีพื้นที่ตรงกลางนิดนึง เช่น โต๊ะกินข้าว

     หรือบางคนถ้าไม่อยากอยู่ในเมือง อยากขับรถก็ไปอยู่ไกลๆ ได้ ก็จะเป็นชาโตที่ใหญ่ขึ้นไปอีก อาจจะอยู่ได้ 15 คน แต่ก็ไม่ได้ตกแต่งดูเป็นวังมาก แต่ด้วยความใหญ่ ด้วยลักษณะแล้ว เราก็พอนึกได้ว่าที่นี่มันเคยเป็นปราสาทมาก่อน

     มันจะมีปราสาทหนึ่งชื่อชาโต ดู วิวิเย่ ที่นั่นจะมีธรรมเนียมว่าลูกบ้านจะจัดดินเนอร์ทุกวันจันทร์ ลูกบ้านทั้ง 15 คนก็ต้องเชิญเพื่อนอีก 2 คนมาดินเนอร์ที่ชาโต ก็จะมีแขก 30 คน บวกเจ้าบ้านอีก 15 คน ที่นั่นก็จะมีโถงรับประทานอาหารเหมือนอยู่ในแฮร์รี พอตเตอร์ แต่ก็ไม่ได้ใหญ่เบอร์นั้น เป็นประสบการณ์ที่เราโดนเชิญไปแล้วรู้สึกว่าไม่เคยเจออะไรแบบนี้

 

บรรยากาศใน INSEAD

     ด้วยความหลากหลายในคลาสมันทำให้เปิดมุมมองในการเรียนมากขึ้น อย่างเช่นมี case study ที่พูดเรื่องคอร์รัปชัน ซึ่งตอนนั้นในเคสพูดถึงบริษัท Chiang Mai ซึ่งอยู่ในอินโดนีเซีย ก็อ่านไปก่อนแล้วมาถกกันในคลาส ปรากฏว่าคนเอเชียจะรู้สึกว่าการคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติมาก การจ่ายใต้โต๊ะเป็นเรื่องปกติ เลี่ยงไม่ได้ แต่คนฝั่งยุโรปจะยอมรับไม่ได้ ทุกคนก็จะทะเลาะกันอย่างสนุกสนาน คลาสส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้

     แต่คนจะไปสนิทกัน รู้จักกันมากขึ้นก็ในปาร์ตี้ ซึ่งจัดทุกอาทิตย์ มีตั้งแต่สเกลเล็กยันสเกลใหญ่ มีทั้งชาโตเป็นโฮสต์ โรงเรียนเป็นโฮสต์ นักเรียนทั้งโรงเรียนไป แต่ส่วนใหญ่ก็จะไปจัดที่ปราสาทกัน ต้องขับรถผ่านป่าไป

     ปาร์ตี้ก็จะทำให้เรารู้จักเพื่อนมากขึ้น แต่ก็ระดับหนึ่ง แต่สำหรับเราจะใช้อาหารไทยมาทำให้รู้จักกับเพื่อนมากขึ้นอีก เอาของกินมาล่อ เพราะที่พักมีครัวค่อนข้างพร้อม เราก็จะชวนเพื่อนมา 5 คน แล้วก็ให้เพื่อนชวนคนรู้จักมาอีก 1 คน แล้วก็ทำอย่างนี้ทุก 2 เดือนก็ทำให้ได้รู้จักคนใหม่ๆ บ้าง

 

เรื่องในคลาสเรียน

     อาจจะดูเหมือนไปเฮฮาปาจิงโกะกัน แต่ที่นี่ก็เรียนกันหนักอยู่ การเรียนทั้งหมดกินระยะเวลา 10 เดือน คลาสเรียนแต่ละคลาสจะไม่ใหญ่มาก คลาสหนึ่งประมาณ 70 คน เรียนด้วย case study ก่อนคลาสเรียนเขาก็จะให้เคสมาเป็นปึกเลย แล้วจะบอกเลยว่าวันนี้เรียนเคสไหน ฉะนั้นเราต้องเตรียมตัวก่อนเสมอ จะไม่มีการเข้าคลาสไปแล้ว อ้าว วันนี้มาเรียนเรื่องนี้กัน ไม่มี ทุกคนต้องรู้ว่าวันนี้ที่เรียนกันเป็นเคสอะไร เกี่ยวกับอะไร และเราคิดยังไงเกี่ยวกับเคสนั้น

     แต่ถ้าเป็นบางวิชา เช่น ไฟแนนซ์ ซึ่งไม่ค่อยมีเคสเท่าไร เน้นทฤษฎีเยอะ ก็ไม่ต้องอ่านไปก่อน

     การเรียนแบบ case study คือเราต้อง discuss กันว่าแต่ละเคสเราคิดยังไง ซึ่งโรงเรียนก็จะตลกมากตรงที่เรามีป้ายชื่อเสียบอยู่ ก็จะโดนเรียกตลอดเวลา เอ้ายู ไทยแลนด์ ก็เหมือนเราแบกชื่อเสียงประเทศอยู่ บางทีถ้าเพื่อนคนไหน discuss ได้ห่วยได้โง่มาก ก็จะมีการประณาม ก็ไม่ได้ขว้างหินอะไรนะ แต่จะหยิบป้ายชื่อมาสะบัดให้เป็นเสียงปึบปับๆๆ เป็นความโหดร้ายของการเรียนนิดนึง

     บางทีก็มีกรณีเถียงอาจารย์ แล้วเถียงไม่รู้จักจบ ก็จะมีคนหยิบป้ายขึ้นมาสะบัด ปับๆๆๆ ให้มึงหยุด

     บางวิชาก็สนุกมาก ตอนนั้นเรียนวิชา stat ซึ่งตอนเรียน ป.ตรี เนี่ยง่วงมาก เป็นอาจารย์ป้าๆ คนหนึ่งมาเขียนสไลด์ แล้วสิ่งที่เราต้องทำคือจำสูตร แล้วเราไม่เข้าใจ stat เลย เราเข้าใจว่าใครจำสูตรเก่ง apply สูตรได้คือได้ A แต่ว่าวิชา Stat ที่ INSEAD เขาเปลี่ยนชื่อใหม่เลย เป็นชื่อ UDJ ย่อมาจาก Uncertainty Decision and Judgment เพราะเค้าบอกว่า stat คือเรื่องของการตัดสินใจบนความไม่แน่นอน ซึ่งอาจารย์เก่งมาก วิธีที่ทำให้เห็นภาพคือ ทำให้ทุกอย่างเป็นการพนัน ทุกคลาสจะมีการพนันระหว่างอาจารย์และนักเรียน คืออาจารย์ก็จะรู้อยู่แล้วว่ากูชนะแน่ๆ การพนันครั้งแรกเนี่ย นักเรียนเสียเยอะมาก เพราะมันเหมือนจะได้แน่ๆ

     โจทย์คือมีนักเรียนอยู่ 70 คน คุณคิดว่าในห้องนี้มีนักเรียนที่เกิดวันเดียวกันเดือนเดียวกันอย่างน้อย 1 คู่หรือเปล่า เราก็คิดว่าวันมี 365 วัน นักเรียนมี 70 คน มันไม่น่าเจอกันอยู่แล้ว นักเรียนก็รู้สึกว่ากูชนะแน่ๆ ทุกคนก็ลงกันไปเลย 5 ยูโร 10 ยูโร รวมกันหลายร้อยยูโร

     อาจารย์ก็ถามไล่ไปเลย ใครเกิด 1 มกราคมยกมือ ไล่ไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็มีคนที่เกิดซ้ำกันจริงๆ อาจารย์ก็ชนะ ได้ตังค์ไป แล้วก็เฉลยวิธีคิดว่านักเรียนมีโอกาสชนะแค่ 3% ซึ่งนี่แหละ นี่คือ Stat ทำให้เราเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ stat ไปเลย สุดท้ายเงินก็เอาไปซื้อแชมเปญมาเปิดกินกัน

     อีกคลาสที่ชอบคือเศรษฐศาสตร์ ที่นี่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Price and Market เหมือนทุกอย่างจะปรับให้เข้าใจง่ายขึ้น เพราะด้วยความหลากหลายมันทำให้ไม่ใช่ทุกคนจะมีพื้นฐานเรื่องพวกนี้มาก่อน บางคนไม่เคยเรียนวิชาด้านธุรกิจ ด้านมาร์เก็ตติ้งมาก่อนเลย ก็จะมีคำที่ใช้เรียกคนพวกนี้ว่า Poets มีคนหนึ่งเป็นเพื่อนสนิทผม เป็นผู้กำกับหนังอยู่ที่ฮอลลีวูด หรือเพื่อนบางคนก็เคยเป็นนักกีฬามาก่อน เป็นนักบาส NBA อะไรอย่างนี้ ดังนั้นโรงเรียนก็จะมีวิธีการสอบและการให้คะแนนสอบที่แฟร์ และมั่นใจว่าแม้คุณจะได้คะแนนน้อยแต่จะไม่ตก

     การทำอย่างนี้ทำให้ทุกคนที่เข้ามาไม่ต้องเครียดกับการเรียนว่ากูจะรอดหรือเปล่า เพราะโอกาสสอบตกมันน้อยมากๆ

     จำได้ว่ามีอยู่คลาสหนึ่งที่เป็นไฟแนนซ์ตัวที่สอง ประมาณ Advance Finance อาจารย์บอกว่าข้อสอบที่คุณจะได้เจอในอาทิตย์หน้าเนี่ย เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในชีวิตคุณ จำได้เลยว่าข้อสอบมีอยู่ 4 ข้อ ทำไม่ได้สักข้อ มันยากจนถึงจุดที่ว่ามีทั้งคนทำได้เต็มและทำได้ศูนย์ ซึ่งวิธีการคำนวณคะแนนจะทำให้ค่าเฉลี่ยลดลง และไม่มีคนตกเลย

 

วิชาที่ชอบมากๆ

     มีวิชาหนึ่งที่ชอบมาก แต่จำชื่อวิชาไม่ได้นะ มันเกี่ยวกับการพัฒนาโปรดักต์ การออกแบบสินค้าใหม่ๆ เป็นวิชาที่เพื่อนสนิทไม่มีใครเรียนเลย ในคลาสไม่คุ้นหน้าเลย ช่วงแรกๆ อาจมีเรียนเกาะกลุ่มกัน มีวิชาบังคับ แต่ช่วงหลังเราอยากเรียนอะไรก็เรียนเลย ใครอยากเรียนมาร์เก็ตติ้งก็ลงวิชามาร์เก็ตติ้งเยอะๆ อยากเก่งไฟแนนซ์ก็ลงไฟแนนซ์เยอะๆ

     วิชาที่ไปเรียนเกี่ยวกับ product development ในกลุ่มเป็นเพื่อนที่ไม่สนิทกันสักคนเลย ข้อสอบก็คือโจทย์ให้พัฒนา ‘กระเป๋าช้อปปิ้งสำหรับแม่บ้านฝรั่งเศส’ ซึ่งเราต้องไปศึกษาจริงๆ

     ที่ฟงแตนโบลเนี่ย ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดเช้าอยู่กลางเมือง ก็ต้องไปยืนดูว่าคนฝรั่งเศสซื้ออะไรกัน ซื้อบาแก็ตจริงมั้ย ซื้อชีสแล้วห่อยังไง ซื้ออะไรก่อนหลัง โดยวิธีการคิดต้นทุนของการผลิตจริงเนี่ยเค้าติ๊งต่างว่าขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ถ้าสินค้าคุณหนัก ต้นทุนก็ยิ่งแพง คุณต้องขายแพงด้วย จะขายได้มั้ย เค้าก็มีวัสดุมาให้เลือกเยอะเลย แล้วเราก็สรุปจากการสังเกตว่าคนซื้อบาแก็ตเยอะจริงๆ มันต้องมีช่องสำหรับใส่บาแก็ต ก็ไปเอาถุงน่องมาใส่ แล้วสุดท้ายก็มาพิตช์ขายของกัน ซึ่งตลกมาก เพราะด้วยความที่ไม่สนิทกัน แล้วก็ไม่อายกันเลย กลายเป็นว่าทีมผมพิตช์แล้วได้เบอร์ 1 ไปเลย

     มันเป็นวิชาที่เราได้เรียนเรื่องคนด้วย เพราะเรามักรู้สึกว่าเราต้องทำงานกับเพื่อนสนิท แต่กลายเป็นว่าถ้าทำกับเพื่อนสนิทบางทีก็มีปัญหา บางทีขี้เกียจ แต่พออันนี้ทุกคนทุ่มกันเต็มที่มาก ก็ถือว่าเป็นคลาสที่เจ๋งมากๆ

     แล้วก็มีอีกคลาสหนึ่งที่เป็นตัวชูโรง คือ Your First Hundred Days คือถ้าคุณจะเป็นเจ้าของบริษัท ธุรกิจ หรือแบรนด์ นี่คือสิ่งที่คุณต้องเจอใน 100 วันแรก เค้าจะจำลองว่า 100 วันแรกของการก่อตั้งอะไรสักอย่างขึ้นมาคุณต้องเจออะไรบ้าง ซึ่งไม่ใช่การเรียนในคลาสอย่างเดียว แต่เป็นตลอด 24 ชม. เลย

     อย่างเช่น อยู่ดีๆ วันหนึ่งอาจารย์อาจจะส่งอีเมลมาตอนตีสอง บอกว่าโรงงานคุณไฟไหม้ พรุ่งนี้เจอกัน 6 โมงเช้าที่คลาส จงคิดมาด้วยว่าวิธีการแก้ไขต่อไปของคุณคืออะไร คลาสนี้เป็นคลาสที่ต้องแย่งกันเรียน bidding ที่นั่ง เป็นวิชาที่คะแนนที่ใช้ประมูลแพงที่สุด แต่ตอนนั้นจะเหมาะกับคนที่อยากเปิดธุรกิจตัวเอง แต่ตอนนี้ได้ยินมาว่าวิชานี้กลายเป็นวิชาหลักที่ทุกคนจะได้เรียน น่าอิจฉามาก

 

ได้เพื่อนสนิทกลับมาจากโรงเรียนด้วยหรือเปล่า

     ทั้งคลาส 500 คนเนี่ย เราก็จะเจออยู่จริงๆ แค่ 200-300 คน แต่สุดท้ายเพื่อนที่ทุกวันนี้ยังไปมาหาสู่กันอยู่ก็ถือว่าหลากหลายมากและยังเยอะมากอยู่ อย่างเช่น เพื่อนสนิทที่เป็นคนอเมริกันลูกครึ่งพม่า ก็แต่งงานกับเพื่อนที่ INSEAD ด้วยกัน ซึ่งเจ้าบ่าวเป็นคนอินเดีย ซึ่งฟังดูไม่น่าไปด้วยกันได้เลย แล้วก็ไปแต่งกันที่แอลเอ เราก็บินไปร่วมงานแต่ง

     กลายเป็นว่าถึงเพื่อนจะอยู่คนละประเทศกัน แต่มันกลับทำให้โลกแคบขึ้น เราก็ยังติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ มีเพื่อนเป็นคนมาเลย์ทำสตาร์ทอัพ อยากจะขยายธุรกิจเข้ามาในไทย เราก็ช่วยคอนเน็กต์ให้ มีเพื่อนสนิทแต่งงานที่ลิทัวเนีย เพื่อนจากญี่ปุ่นก็บินไป กลายเป็นว่าโรงเรียนนี้ทำให้รู้สึกว่าโลกมันไม่ได้ใหญ่อย่างที่เราคิด มันเชื่อมกันทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานเรื่องส่วนตัว แล้ววิธีการคิดของเรามันเปิดกว้างขึ้นเยอะ เมื่อก่อนเราจะคิดว่า เอ้อ ก็คนไทยมันเป็นอย่างนี้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเยอะ

     กลายเป็นว่าการไปเรียนไม่ได้ทำให้เราได้ทฤษฎีอะไรเท่าไร แต่สิ่งที่ได้เรียนคือทัศนคติ การมองคน มันเปิดกว้างขึ้นอีกเยอะ

     สโลแกนของ INSEAD คือ Business School for the World คือทุกอย่างมองในมุมของทั้งโลกจริงๆ

 

ได้อะไรมาบ้างจากการจบการศึกษาที่นี่

     สำคัญสุดคือเรื่องคน มันคือการเรียนว่าทุกคนแตกต่าง ตอนเด็กๆ เราจะมองว่าคนที่ต่างคือคนที่แปลก แต่การไปเรียนที่ INSEAD ความต่างคือเรื่องปกติ ทุกคนต่างหมด ดังนั้น ถ้าคุณสามารถยอมรับความแตกต่างแล้วเข้าใจเขาได้เ มันมีประโยชน์กับทุกอย่างเลย ตั้งแต่การบริหารคนในงาน ในทีม ในชีวิตประจำวัน การเที่ยว ทุกอย่าง นี่แหละคือส่วนที่ความหลากหลายของ INSEAD ช่วยเราจริงๆ

 

ฝากผลงาน

     มีหนังสือจากสำนักพิมพ์อะบุ๊ก หลักๆ เป็นเรื่องท่องเที่ยวตั้งแต่ บอง ออง ฟรองซ์ เป็นเรื่องชีวิตใน INSEAD นี่แหละ มี บอง ออง แขมร์ อันนี้ที่ไปทำงานที่กัมพูชา และ บอง ออง โวยาจ แรดรอบโลก เป็นเรื่องราวการท่องเที่ยวที่เคยไปมา ช่องทางติดต่อที่ง่ายที่สุดก็เป็นทวิตเตอร์ @bongtao

 

ทิ้งท้ายแนะนำคนที่อยากไปเรียนที่ INSEAD

     อย่างแรกคือ ถ้าจะให้ง่ายตั้งแต่สอบเข้าก็ต้องเริ่มตั้งแต่ปริญญาตรี มันไม่มีกำหนดว่าคุณเรียนอะไรมา แต่เค้าจะดูผลการเรียน ป.ตรี

     เรื่องการงาน พยายามทำให้หลากหลายที่สุด คุณจะเป็น Specialist ก็ได้เก่งด้านใดด้านหนึ่งไปเลย แต่ประสบการณ์การทำงานต้องชัดเจน แสดงให้เห็นว่าเราไม่ธรรมดา เพื่อให้เราเป็นส่วนหนึ่งของคลาสได้

     อีกเรื่องคือเดี๋ยวนี้โลกไปไกลมากแล้ว พยายามให้ตัวเองเปิดกว้าง ไปเที่ยวก็ได้ ไม่ใช่ทุกคนจะได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ แค่ไปเที่ยว ได้ไปเห็นอะไรมากๆ มันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราขายตัวเองได้ในช่วง application

     ถ้าเราค่อยๆ ปั้นตั้งแต่ ป.ตรี มันก็จะง่ายขึ้นเยอะ แต่สุดท้ายก็จะเป็นขั้นที่เหนื่อยหน่อย 1-2 ปี แต่ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน หรือค่าเทอมแพงขึ้นแค่ไหน มันก็ยังคุ้มอยู่

 

“จริงๆ INSEAD มันคือสปริงบอร์ด เค้าบอกว่าประมาณ 80% ของคนที่จบ INSEAD มีการเปลี่ยนอย่างน้อย 1 เรื่อง เช่นคุณเคยทำธนาคารแล้วอยู่ดีๆ คุณอาจไปทำ Entrepreneur เลยก็ได้ หรือจากเดิมเคยอยู่ลอนดอน ตอนนี้คุณมาอยู่เอเชีย ดังนั้นถ้าคิดว่าอยากขยับขยาย เปลี่ยนจากที่ใดไปที่หนึ่ง อยากลองสิ่งใหม่ๆ INSEAD ถือว่าเป็นที่ที่ช่วยเรื่องนี้ได้เยอะมาก”


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest ไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ์

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียน MBA ท่ามกลางเพื่อนจากประเทศกว่าค่อนโลกที่ INSEAD ฝรั่งเศส appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple https://thestandard.co/podcast/nukreannok10/ Wed, 08 Nov 2017 10:29:24 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=41739

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง เป็นดีไซเนอร […]

The post ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple appeared first on THE STANDARD.

]]>

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง เป็นดีไซเนอร์ชาวไทยที่ได้รับเทียบเชิญจากบริษัทนวัตกรรมระดับโลกอย่าง Apple ให้เข้าทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Apple Park ออฟฟิศแห่งใหม่ของบริษัท ที่คูเปอร์ติโน แคลิฟอร์เนีย

     ชวนฟังเส้นทางการเรียนของนักเรียนดีไซน์แบบปรารี กับการปรับตัวเข้ากับการเรียนดีไซน์แบบตะวันตก การทำงานในสหรัฐอเมริกา และบรรยากาศการทำงานในบริษัท Apple ที่ลึกลับอย่างกับอยู่ในซีไอเอ!

 


 

ชีวิตกราฟิกดีไซเนอร์ไทยก่อนจะเป็นนักเรียนนอก

     แป๋ม-ปรารี กิตติดำเกิง จบจากคณะมัณฑนศิลป์ สาขาออกแบบนิเทศน์ศิลป์ เอกโฆษณา มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เมื่อจบมากลับไม่ได้ทำงานสายโฆษณาอย่างที่เรียนมา จริงๆ แล้วอยากเรียนเอกภาพประกอบ แต่ไม่ใช่คนวาดรูปเก่ง เลยผันตัวมาทำงานด้านดีไซน์แบรนดิ้ง โปรดักต์ หรือ Corporate Identity มากกว่า

     หลังจากจบมหาวิทยาลัย แป๋มไปทำงานด้านโปรดักต์ดีไซน์อยู่สักพักก็รู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเท่าไร ด้วยความที่ไม่ได้จบมาสายนี้ จึงไปทำแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ที่ S&P ได้ทำร้าน Vanilla ที่สยามพารากอน ทำกราฟิก ทำลายโต๊ะ ทำโลโก้

     หลังจากนั้นก็ไปทำงานดีไซน์แฟชั่นอยู่พักหนึ่ง เพราะชอบงานเท็กซ์ไทล์ เลยไปทำที่ Shaka (ในตอนนั้นคือ Shaka London) ก็ทำอยู่สักพักเช่นกัน

 

แรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจไปเรียนต่อ

     หลังจากผ่านมาหลายงาน แป๋มก็ได้โอกาสไปเป็นอาจารย์ช่วยสอนแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ที่ ม.กรุงเทพ อยู่ 1 เทอม

     แต่งานสอนไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลย ด้วยความที่แป๋มดูเด็ก นักเรียนก็ไม่รู้ว่าเป็นอาจารย์ สอนก็ไม่เคยสอน บุคลิกก็ไม่ได้ดูเป็นครูมาก ทำให้นักเรียนไม่ฟัง ไม่สนใจ ไม่มีวินัยในห้อง จนแป๋มเกิดความรู้สึกว่าตัวเองอยากสอน แต่กลับไม่สามารถควบคุมคลาสได้ เป็นจุดที่ทำให้แป๋มอยากเก่งกว่านี้ อยากมีภูมิมากกว่านี้ ไปมีประสบการณ์ในสายงานมากกว่านี้ เลยทำให้อยากไปเรียนต่อ อย่างน้อยก็สามารถ inspire เด็กได้

     ปัญหาหลักคือการที่ทำงานดีไซน์ได้ไม่ได้แปลว่าจะวิจารณ์งานได้ จะแนะนำนักเรียนไปทางไหน ถ้าความรู้ของผู้สอนไม่มากพอ ไม่กว้างพอ ก็จะเอาความชอบในแนวทางของตัวเองไปให้นักเรียนแทนที่จะเป็นสิ่งที่เหมาะกับความสนใจของนักเรียนเอง

 

ปัจจัยที่ทำให้เลือกเรียนที่สหรัฐอเมริกา
     จริงๆ แล้วสนใจงานดีไซน์ยุโรปมากกว่า แต่คอร์สปริญญาโทที่ยุโรปมีแต่แบบ 1 ปี ไปถึงก็ทำธีสิสเลย ซึ่งแป๋มรู้สึกว่าเร็วไป จึงเบนเข็มมาหาคอร์สเรียน ป.โท 2 ปี ซึ่งมีที่สหรัฐอเมริกา พอปรึกษาจากเพื่อนที่เติบโตที่ต่างประเทศ ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปเรียนที่ SVA

     และด้วยความที่การเรียน ป.โท ที่ SVA ต้องการคะแนน TOEFL สูงมาก แป๋มจึงตัดสินใจออกจากงานไปทุ่มเทเรียนภาษาที่นิวยอร์ก เพื่อจะสมัครเรียนที่ SVA ให้ได้

     พอถึงช่วงที่สมัครเข้าเรียน ปรากฏว่าคะแนน TOEFL ของแป๋มไม่ถึงเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย (80 คะแนน) ขาดไปแค่ 2 คะแนนเท่านั้น จึงยังสมัครเรียนไม่ได้ เลยไปเดินดูบูธของ SVA ที่งาน Portfolio Day ที่จะให้คนที่อยากสมัครเรียนมาส่งพอร์ตให้มหาวิทยาลัยที่สนใจ

     ที่งาน แป๋มพบว่า SVA ไม่ได้เปิดบูธที่งาน แต่ด้วยความที่มาแล้วก็เลยเอาพอร์ตไปคุยกับหลายสถาบัน จนไปที่บูธของ CCA (California College of Arts) ทางหัวหน้าสาขาที่บูธก็สนใจพอร์ตของแป๋มมาก แต่ที่นี่ต้องการคะแนน TOEFL 100 คะแนน มากกว่าที่ SVA เสียอีก

     แป๋มก็พูดไปตามตรงว่าไม่น่าจะได้ 100 คะแนนแน่ๆ ทางอาจารย์ที่บูธก็แนะนำให้เขียนชื่อเขาเป็น Statement of Purpose ไปกับใบสมัครดู แป๋มก็เขียนไป ก็เลยได้อีเมลรับเชิญไปดูโรงเรียนที่ซานฟรานซิสโก

     แป๋มจึงเดินทางไปดูโรงเรียนที่ซานฟรานซิสโก

 

การเรียนดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก

     แป๋มไม่เคยไปซานฟรานซิสโกเลย โรงเรียนที่นั่นก็จะต่างจากที่นิวยอร์ก ที่จะเป็นสไตล์เหมือนกรุงเทพฯ คือแบ่งเป็นตึกๆ ตามสาขา แต่ที่ซานฟรานซิสโกโรงเรียนสภาพเหมือนโกดังร้าง ก็ตกใจ ดูเท่มาก อินดัสเทรียลสไตล์ มีทั้งเครื่องเลเซอร์คัต 3D Printer แป๋มจึงตัดสินใจไปเรียนที่ซานฟรานซิสโก สาขา MFA Design

     ที่นั่นแบ่งสาขาเป็น Graphic, Industrial, Interaction คลาส MFA รวมทุกสิ่งอยู่ในนั้น ซึ่งการเรียนรวมๆ กันทำให้แป๋มได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้เยอะมาก

     ซานฟรานฯ เป็นเมืองเทคโนโลยี ทำให้สาขา Interaction ค่อนข้างฮิต เป็นเรื่องโรบอต เรื่องแอปฯ แต่แป๋มเป็นสายคราฟต์ ทำมือ กราฟิกมือ เสียมากกว่า แต่สุดท้ายก็ได้ซึมซับความรู้เหล่านั้นมา

 

“การเรียนรวมกันมันทำให้เรา absorb ความรู้เหล่านั้นมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมันดีมาก”

 

     มีวิชาหนึ่งที่แป๋มชอบมาก คือ Media Matters เป็นคลาส 2 วัน อาจารย์ 2 คน วันหนึ่งเป็นคลาสอ่าน อีกวันเป็นคลาสปฏิบัติ ซึ่งสิ่งที่ต้องเรียนคือปรัชญา ซึ่งต้องอ่านมาถกกันในคลาส พอเป็นคลาสปฏิบัติ อาจารย์อีกคนก็ให้นำแก่นที่เรียนจากวันก่อนมาทำเป็นงาน

     ซึ่งแป๋มไม่เข้าใจเลย เพราะอ่านช้า ด้วยความที่ไม่ได้เรียนเรื่องปรัชญาและ critical thinking มาสักเท่าไร ทำให้ไม่รู้จักแนวคิดแบบเพลโต แบบนักปรัชญาอื่นๆ เคยแต่ได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าแก่นคืออะไร

     ที่น่าน้อยใจคือเพื่อนต่างชาติคนอื่นๆ ในคลาสที่เป็นคนจีน คนเกาหลี มีตำราเวอร์ชันแปลเป็นภาษาเหล่านั้น แต่คนไทยอย่างแป๋มกลับไม่มีตำราแปลไทย ทำให้การเรียนของแป๋มไปช้ากว่าที่ควร แต่สิ่งนี้ก็ทำให้แป๋มพัฒนาภาษาอังกฤษได้เก่งขึ้นไปอีก

     อีกปัญหาที่พบในคลาสคือแป๋มไม่ค่อยพูดในคลาส เพราะพูดไม่ทัน คิดไม่ทัน แป๋มพูดได้ ฟังได้ แต่เขียนไม่เก่ง ทำให้มีปัญหาเวลาเขียนงานส่ง ตารางเรียนก็แปลก บางวิชาเรียน 2 ทุ่ม ด้วยความที่อาจารย์ที่มาสอนสะดวกเวลานั้น ทำให้เลิกเรียนดึกมาก ไปยืนรอรถเมล์กลับบ้านก็ร้องไห้ เรียนไม่รู้เรื่อง

 

ปรัชญาเป็นสิ่งสำคัญของงานดีไซน์?

     ก่อนหน้าไปเรียนก็ไม่คิดว่าสำคัญ แต่พอไปเรียนแล้วพบว่าทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกันหมด การรู้ปรัชญาทำให้คิดงานได้ลึกขึ้น

 

“ทั้งปรัชญา การเมือง ศิลปะ ล้วนเกี่ยวข้องกันหมด มันทำให้เราคิดอะไรไกลขึ้น ก่อนนี้เราก็ดีไซน์เพราะอยากให้มันสวย แต่พอรู้เรื่องพวกนี้มันก็ทำให้เราได้วิธีคิด โปรเซสมันเปลี่ยนไป”

 

     อาจารย์เคยอีเมลมาว่า ทำไมแป๋มไม่เคยพูดในคลาสเลย ก็ตอบไปตามตรงว่าเรียนไม่เข้าใจ ไม่รู้จะพูดอะไร เพราะอย่างเพื่อนในคลาสที่เป็นคนอินเดียก็มักจะตอบคำถามแล้วลิงก์ไปที่เรื่องการเมืองหรือหลักการอะไรของบ้านเขา

     อาจารย์เฮ้วมาก บอกแป๋มว่า ถ้าไม่รู้เรื่องก็พูดมาตามตรงได้เลยให้พูดใหม่ ให้ shut up นะ อาจารย์ก็เริ่มบังคับให้พูด ชี้ให้แป๋มพูด ให้พยายาม

 

“สิ่งที่ประทับใจมากคืออาจารย์บอกว่า ยูไม่ต้องเข้าใจเนื้อหาที่ไอพูดทั้งหมดหรอก แต่จับเอาสิ่งที่ชอบในนั้นมาพัฒนางานสิ”

 

     พอภายหลังแป๋มก็เหมือนปลดแอก ไม่กลัวโชว์โง่แล้ว เพราะกลัวไปก็ไม่ฉลาดขึ้น สุดท้ายก็จบมาด้วยเกรดเฉลี่ย 3.8

 

เพื่อนๆ ร่วมคลาสโรงเรียนกราฟิกดีไซน์

     แป๋มไม่เคยคิดเลยว่าจะได้เพื่อนที่นี่ แต่ปรากฏว่ามันมีการพัฒนาความสัมพันธ์ขึ้นมาจากการที่แป๋มฟังอาจารย์สอนไม่รู้เรื่องแล้วไปถามเพื่อนบ่อยๆ จนต่อมาเพื่อนคนนั้นถึงกับจดเลกเชอร์มาให้ ภายหลังก็ช่วยกันฟังช่วยกันจดคอมเมนต์ให้กันเวลาอาจารย์วิจารณ์งาน จนกลายมาเป็นเพื่อนกัน และกลายเป็นคอมมูนิตี้ของนักออกแบบในคลาสเรียนเล็กๆ

 

“มันจะมีคำติดปากเราว่า ‘เห้ย กู๊ดอะ’ เพื่อนฟังแล้วก็ชอบ ก็เอาไปใช้ กู๊ดอะๆ”

 

เริ่มชีวิตการทำงานที่สหรัฐอเมริกา

     พอเรียนจบแล้วแป๋มก็ไม่ได้กลับมาทำงานที่เมืองไทย เพราะเมื่อจบปริญญาที่อเมริกาก็ได้จะ OPT คือสามารถทำงานที่นั่นได้ 1 ปี

     พอเห็นว่า 1 ปี แป๋มก็ชิลล์ แต่ค้นพบภายหลังว่าแม้จะทำงานได้ 1 ปี แต่ต้องหางานให้ได้ภายใน 3 เดือน หลังจากเรียนจบ ไม่งั้นต้องออกนอกประเทศ เลยรีบทำพอร์ต รีบหางาน ซึ่งก็ยาก เพราะแทบไม่มีคอนเน็กชันที่นั่นเลย บวกกับการที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานในอเมริกา ซึ่งทำให้หลายบริษัทที่สนใจไม่รับเข้าทำงาน แม้จะมีประสบการณ์ทำงานในไทยมาแล้วก็ตาม

     จึงทำให้แป๋มตัดสินใจเริ่มฝึกงานที่สหรัฐอเมริกา จนเริ่มมีประสบการณ์ทำงานที่นี่

     ช่วงที่หางานแป๋มก็ได้มีโอกาสส่งประกวดงานดีไซน์ของ The Society of Typographic Arts ซึ่งแป๋มก็ได้ลองเอางานพอร์ตที่เคยทำไว้ส่งไป จนได้ตำแหน่งชนะเลิศในสาขา Experimental Design จากงานอักษรเบรลล์

 

ได้รับเทียบเชิญไปทำงานที่ Apple

     วันหนึ่งทางหน่วย Creative Recruiter ของ Apple Team ก็ส่งอีเมลมา

 

“เขาส่งอีเมลมาว่า เราคือ Apple Team เราสนใจงานของคุณ ว่างคุยไหม เราก็บอกไปว่าว่าง”

 

     แป๋มก็ถามว่าจะให้ไปทำงานส่วนไหน ทางทีมงานก็ไม่บอก พอบอกว่าถ้าไม่รู้เนื้องานแล้วจะตอบรับงานได้ไง ทางทีมงาน Apple ก็หัวเราะ บอกว่าทางเราเห็นงานคุณแล้ว เรารู้ว่าคุณทำอะไรได้ นั่นแปลว่าทาง Apple รับแป๋มเข้าทำงานแล้ว

     สรุปก็ได้ไปร่วมงานในส่วนการทำ Apple Park ซึ่งคือ Main Campus แห่งใหม่ของ Apple เป็นเหมือนอาณาจักรยิ่งใหญ่ แป๋มไปทำเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ส่วนที่แป๋มทำคือโปรดักต์ที่จะมีวางขายแค่ที่ Apple Park เท่านั้น ไม่มีขายที่อื่นเลย

 

บรรยากาศการทำงานในฐานะ Apple Team

     วันแรกที่ไปทำงานแป๋มตื่นเต้นมาก เพราะมันลึกลับมาก ต้องไปรอรถ Apple Bus ตามเวลานัดหมาย ซึ่งสิ่งที่ทีมงานบอกมาคือให้ไปยืนรอตรงริมถนนแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีป้ายบอกอะไรว่าจะมีรถมารับ ตอนขึ้นรถก็ต้องมีพาสเวิร์ดที่ต้องปรินต์ไปยื่นให้คนขับ ไม่งั้นไม่ได้ขึ้นรถ

     สิ่งที่ประทับใจคือตอนไปปฐมนิเทศ เขาบอกว่าที่ Apple มาถึงจุดนี้ได้เพราะพนักงานทุกคนเก็บความลับ ที่ออฟฟิศห้ามถ่ายรูปในโซนที่ทำงาน แล้วก็ไม่มีหน้าต่างเลย แต่ก็มีโซนรีแล็กซ์อยู่

     บรรยากาศการทำงาน คือ ก่อนจะได้งานแต่ละชิ้นมาทำ เจ้านายต้องเข้าไปคุยงานเพื่อนำมาแจกจ่าย จากนั้นก็ต้องรอ 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ access สำหรับเข้าไปดูไฟล์งานที่ได้รับมอบหมายนั้น ซึ่งทำให้แป๋มรำคาญอยู่เหมือนกัน เพราะรอนานมาก

     วันแรกที่เข้าไปทำงานคือรู้สึกผิดมาก เพราะนั่งเฉยๆ อยู่ครึ่งวันจนต้องเดินไปถามเจ้านายว่ามีอะไรให้ทำไหม เจ้านายบอกว่ารอก่อน เพราะ request ไปแล้ว รอดำเนินการก่อน

 

“การทำงานที่นี่ทำให้เราภูมิใจนะ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ยิ่งใหญ่มาก มันเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้ แม้เราจะไม่ได้ทำอะไรยิ่งใหญ่มากก็ตาม”

 

     แนวคิดที่ดีมากๆ ของที่นี่คือเรื่องแบรนดิ้งที่แข็งแรง และแป๋มชอบที่ Apple เป็นบริษัทที่เน้นดีไซเนอร์เป็นหลัก การตลาดเป็นรอง เขาเห็นความสำคัญของงานดีไซน์ เนี้ยบมาก เขาทำให้คนทำงานรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่

 

ทิ้งท้ายให้คนที่อยากไปเรียนต่อทางด้านดีไซน์

     เราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร เพราะอย่างโรงเรียนของแป๋มเน้นด้าน experimental design ดังนั้นก็จะไม่เน้นด้าน commercial การที่เรารู้ว่าเราต้องการอะไรจึงสำคัญมาก หรือถ้าไม่รู้แต่ชอบลองก็มาลองดู ตั้งใจทำให้ดี

 

“มันมีหลายคนที่เป็นเพื่อนที่เรียนเพราะต้องเรียนโท แล้วเรารู้สึกว่าเขาไม่มีแพสชันในการเรียน ซึ่งมันสำคัญมากกับงานดีไซน์ มันต้องมีอินสไปเรชันอะ”


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest ปรารี กิตติดำเกิง

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

นทธัญ แสงไชย

อธิษฐาน กาญจนพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

The post ไปเรียนกราฟิกดีไซน์ที่ซานฟรานซิสโก จนได้รับเชิญเข้าทำงานที่ Apple appeared first on THE STANDARD.

]]>