Opinion – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 29 Jun 2025 05:29:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Perfect Corner-Perfect Storm https://thestandard.co/opinion-perfect-corner-perfect-storm/ Sun, 29 Jun 2025 05:29:52 +0000 https://thestandard.co/?p=1090658

ก่อนที่จะเข้าบทความนี้ ผมมีเรื่องที่จะบอกกับทุกคนที่ติด […]

The post Perfect Corner-Perfect Storm appeared first on THE STANDARD.

]]>

ก่อนที่จะเข้าบทความนี้ ผมมีเรื่องที่จะบอกกับทุกคนที่ติดตามข้อเขียนและผลงานการลงทุนของผมว่า ผมถูกมิจฉาชีพจำนวนมากแอบอ้างชื่อว่าจะให้คำแนะนำการลงทุนหรือเปิดการฝึกอบรมแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายและกระทำการอื่นๆ อีกมากผ่านสื่อสังคมทุกรูปแบบ เมื่อเหยื่อเข้าไปติดต่อก็จะถูกหลอกให้หลงเชื่อว่าเป็นตัวผมจริงและก็จะถูกโกงจนเกิดความเสียหาย

 

และในช่วงเร็วๆ นี้ ก็มีการเขียนบทความและการกล่าวอ้างว่าเป็นข้อเขียนและคำพูดของผมทั้งๆ ที่เป็นเรื่องไม่จริง คนที่ทำอาจจะมีแรงจูงใจอะไรต่างๆ รวมถึงเรื่องการเมือง ที่เป็นประโยชน์กับตนเองแต่ทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวผม

 

ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนรับทราบและไม่ตกเป็นเหยื่อหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวผม ผมขอเรียนว่า ผมไม่มีหรือไม่เคยใช้สื่อสังคมของตนเองเพื่อติดต่อกับสาธารณชน เพราะผมไม่มีสื่อสังคมสาธารณะอะไรทั้งสิ้น ผมเป็นคน ‘โลว์เทค’ และไม่สามารถทำเครื่องมือดิจิทัลที่เป็นสื่อสังคมสมัยใหม่และไม่สามารถโพสต์ข้อมูลหรือข้อความอะไรทั้งนั้น

 

บทความและรายการสัมภาษณ์ของผมนั้น จะสื่อถึงสาธารณชนผ่านสื่ออื่นๆ ที่เป็นสถาบันหรือหน่วยงานที่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณสูงเท่านั้น ดังนั้น ถ้าพบข้อมูลหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์อะไรที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวข้างต้น ก็ต้องสรุปว่ามันเป็น ‘ของปลอม’ อย่างแน่นอน ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องหรือสนใจครับ

 

บทความสำหรับวันนี้ของผมเป็นเรื่องที่เกิดเมื่อ 4-5 วันที่ผ่านมา คือเรื่องที่หุ้น KTC หรือบริษัทบัตรกรุงไทย ตกลงมาแรงมาก รวมแล้วประมาณ 30% ภายในเวลา 5 วัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นกับการดำเนินงานของบริษัท และบริษัทก็ได้ออกมาประกาศด้วยว่าพื้นฐานและการประกอบการของบริษัทก็ปกติทุกอย่าง ซึ่งโดยนัยก็คือ ผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2568 ที่กำลังจะจบลงในไม่กี่วันก็น่าจะ ‘ปกติ’

 

การที่หุ้นตกลงมาแรงถึง ‘พื้น’ ติดต่อกัน 2 วัน พร้อมๆ กับปริมาณเสนอขายจำนวนหลายร้อยล้านหุ้น คิดเป็นเงินหลายพันล้านบาท โดยที่ไม่มีผู้เสนอซื้อเลยนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหุ้นถูก ‘Forced Sale’ หรือถูกบังคับขายเนื่องจากคนที่ซื้อหุ้นด้วยมาร์จินจำนวนมากและมีหนี้กับโบรกเกอร์หลักพันล้านบาทขึ้นไป ไม่มีเงินมาเติมเมื่อราคาหุ้นตกลงมาถึงจุดที่จะต้องถูกบังคับขายแล้ว

 

สำหรับผม ปรากฏการณ์หุ้น KTC นั้น เป็นกรณีของหุ้นที่ผมเรียกว่าเป็น หุ้นที่ ‘ถูก Corner’ ที่ทำได้อย่าง ‘สมบูรณ์แบบ’ ไม่ใช่ว่าราคาขึ้นไปแบบ ‘สุดโต่ง’ จนเห็นได้ชัดแบบหุ้นที่ถูกคอร์เนอร์หลายๆ ตัวที่มีค่า PE สูงเป็น 100 หรือ 50 เท่าในเวลาอันสั้น ว่าที่จริง คนส่วนใหญ่รวมถึงนักวิเคราะห์หุ้นแทบทั้งหมดต่างมองว่าหุ้น KTC มีพื้นฐานที่ดีเยี่ยมและราคาก็ ‘ไม่แพง’ และน่าจะโตไปได้อีกมาก

 

เหตุผลส่วนหนึ่งอาจจะมาจากราคาหุ้น KTC ที่ไม่เคยตกลงมาแรงเป็นเวลายาวนานหลายปีในขณะที่แม้แต่หุ้นที่ยอดเยี่ยมระดับ ‘ซูเปอร์สต็อก’ หลายๆ ตัวต่างก็ทยอยตกลงมาอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผลประกอบการก็ยังดีหรือดีกว่า KTC ด้วยซ้ำ

 

แต่ภายใต้การคอร์เนอร์หุ้นที่สมบูรณ์แบบของ KTC นั้น มีจุดอ่อนที่การรองรับการซื้อและถือหุ้น KTC ด้วย ‘หนี้’ มาร์จินและการจำนำหุ้นจำนวนมหาศาล คร่าวๆ น่าจะประมาณ 1 ใน 3 ของมูลค่าหุ้นที่เป็น ‘Free Float’ ทั้งหมด

 

หนี้จำนวนนี้ถูกแช่แข็งไว้ยาวนานมาก น่าจะหลายปี เพราะสถานการณ์ตลาดและตัวหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวย ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดที่ลดลงอย่างมาก และปริมาณการซื้อขายหุ้น KTC ที่ลดลงมากยิ่งกว่า คือลดลงเหลือแค่วันละหลักไม่เกิน 100 ล้านบาทนั้น ทำให้การ ‘ออกของ’ หรือขายหุ้น KTC จำนวนหลายพันหรือหมื่นล้านแทบเป็นไปไม่ได้ และนี่ก็คือปัญหาของการคอร์เนอร์หุ้น KTC ที่ต้อง ‘แตก’ ลง เพราะการถูก ‘Force Sale’ แบบมโหฬารในวันที่เลวร้ายที่สุดของหุ้น

 

มาดูสตอรี่หรือเรื่องราวของหุ้น KTC กัน

 

เริ่มตั้งแต่ฉากสุดท้ายก่อนที่คอร์เนอร์จะแตก ตรวจดูก็จะพบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น ชัดเจนว่าเป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในคอร์เนอร์ กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดหรือเรียกว่า ‘เจ้าของ’ ที่จะไม่ขายหุ้นเลยไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปแค่ไหนก็คือ ธนาคารกรุงไทย ถือหุ้นเกือบ 50%

 

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นกลุ่มที่เข้ามาถือหุ้นนานแล้ว และน่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้มาร์จินหรือกู้เงินมาซื้อจำนวนมาก จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม บางทีอาจจะเห็นว่านี่คือ ‘หุ้นสุดยอด’ ที่กำลังจะโตมหาศาลในราคาที่ ‘ไม่แพง’ ก็เลยทำแบบ ‘All In’ ซื้อหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดและยังกู้หนี้เต็มอัตราเพื่อที่จะเร่งพอร์ตให้เติบโตขึ้นแบบทวีคูณโดยอาจจะคิดว่า ‘ความเสี่ยงต่ำ’ กลุ่มนี้น่าจะถือหุ้นอยู่ประมาณ 20%

 

กลุ่มที่ 3 ที่ถือหุ้นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญก็คือ กลุ่มสถาบันและนักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะที่เป็นกองทุน ถือหุ้นรวมๆ กันประมาณน่าจะสัก 20% ซึ่งการถือหุ้นของกลุ่มนี้ บางทีอาจจะเป็นส่วนมากด้วย เป็นคนที่ ‘ถูกบังคับให้ซื้อและถือลงทุน’ เพราะเป็นกองทุนที่อิงดัชนี เช่น ดัชนีหุ้น SET50 หรือดัชนี MSCI Small Cap Index เป็นต้น

 

รวมแล้วผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 กลุ่มข้างต้น ที่มีแนวโน้มจะไม่ขายหุ้นแม้ว่าราคาหุ้นอาจจะขึ้นไปสูงเกินพื้นฐานมาก รวมกันแล้วถือหุ้นถึงเกือบ 90% เหลือหุ้นที่ถือโดยนักลงทุนรายย่อยแค่ประมาณ 10% ซึ่งอาจจะซื้อๆ ขายๆ แนว ‘เล่นหุ้น’ ระยะสั้น ซึ่งก็ทำให้ปริมาณการซื้อขายต่อวันของหุ้นลดน้อยลงเหลือไม่กี่สิบล้านบาทต่อวันทั้งๆ ที่ Market Cap หรือมูลค่าตลาดของหุ้นนั้นอยู่ในระดับแสนล้านบาทมานาน ซึ่งในทางวิชาการก็ถือว่าเป็นหุ้นที่ ‘สภาพคล่องต่ำ’

 

คอร์เนอร์หุ้น KTC นั้น น่าจะเกิดขึ้นมานานหลายๆ ปีแล้ว จากข้อมูลผลประกอบการย้อนหลังไปยาวๆ นั้นก็พบว่าบริษัทเคยมีปัญหาขาดทุนต่อเนื่องหลังวิกฤตซับไพรม์ในปี 2009 จนถึงปี 2012 ก็เริ่มฟื้นตัวมีกำไรเล็กน้อย และหลังจากนั้นบริษัทก็กำไรมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องจนถึงปี 2019 บริษัทก็ทำกำไรถึง 5,500 ล้านบาท และ Market Cap แตะ 100,000 ล้านบาท จากปี 2012 ที่มูลค่าของหุ้นอยู่ที่ประมาณ 8,000 ล้านบาท หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 13 เท่าในเวลา 7 ปี

 

การเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น คงทำให้นักลงทุน ‘แห่’ กันเข้าไปซื้อหุ้นจนทำให้ค่า PE ของหุ้น KTC สูงถึง 18.4 เท่าในปี ก่อน ‘โควิด 19’ ระบาด แต่ในช่วงเวลานั้น ดูเหมือนว่าหุ้นกำลังถูกคอร์เนอร์แล้ว เพราะหุ้นสถาบันการเงินขนาดใหญ่เช่น หุ้นธนาคารพาณิชย์นั้น ต่างก็มักมีค่า PE ไม่เกิน 10 เท่า แต่หุ้น KTC และหุ้นไฟแนนซ์ที่เน้นการปล่อยกู้ให้รายย่อยหลายแห่งที่ ‘โตเร็ว’ กลับมีค่า PE สูงกว่ามาก ‘กว่าเท่าตัว’ คือมีค่า PE ระดับ 20 เท่าขึ้นไป

 

และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่า เมื่อโควิด 19 ระบาดในปี 2020 และตลาดหุ้นตกลงมาแรง หุ้น KTC กลับปรับตัวขึ้นไป 50% จาก Market Cap แสนล้านบาทเป็น หนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท ใหญ่กว่าแบงก์พาณิชย์หลายๆ แห่ง ทั้งๆ ที่กำไรลดลงและต่ำกว่ากำไรของแบงก์ที่เปรียบเทียบกัน ค่า PE ของ KTC พุ่งขึ้นเป็น 29 เท่า คอร์เนอร์หุ้น KTC สมบูรณ์แล้ว ราคาหุ้นอาจจะสูงเกิน ‘พื้นฐาน’ ที่ควรเป็นได้ถึง 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจเดียวกันที่ไม่ได้มีการคอร์เนอร์เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่ก็ทำธุรกิจบัตรเครดิตด้วยเช่นกัน

 

ผลประกอบการของ KTC ตั้งแต่ปี 2021 จนถึงสิ้นปี 2024 ยังเติบโตขึ้นบ้างแต่ก็ไม่ได้เร็วหรือสูงไปกว่าแบงก์คือเฉลี่ยปีละประมาณ 8-9% และมีแนวโน้มถดถอยลงเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนี่ก็เป็นอาการแบบเดียวกับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งเป็นผลจากปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยที่ถดถอยลงในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ซึ่งก็ส่งผลให้หุ้นหลายๆ ตัว รวมถึงหุ้นไฟแนนซ์ที่ถูกคอร์เนอร์มานาน ‘แตก’ ราคาหุ้นตกลงมามาก บางครั้งแทบ ‘หายนะ’

 

หุ้น KTC เองนั้นต้องถือว่าสามารถประคองตัวไม่ให้คอร์เนอร์แตกได้นานมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นว่า ราคาของหุ้นนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้แพงมากเหมือนหุ้นคอร์เนอร์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น และอาจจะเป็นเพราะว่าคนไม่เข้าใจว่า ค่า PE จะสูงหรือไม่สูงนั้น จะต้องเปรียบเทียบกับหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

 

ฉากสุดท้าย คอร์เนอร์หุ้น KTC ก็แตก ผมเองคิดว่าเหตุผลใหญ่เรื่องหนึ่งก็คือ การที่ KTC ถูกถอดออกจากดัชนีอ้างอิง MSCI Global Standard Index เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้กองทุนต่างประเทศบางแห่งต้องขายหุ้นทิ้ง และจำนวนที่ขายอาจจะมากเกินกว่าที่ตลาดจะรับได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เม็ดเงินที่จะมารับหุ้น KTC ในภาวะตลาดแบบนี้คงไม่มีแล้ว พูดง่ายๆ ไม่มีโบรกเกอร์หรือสถาบันการเงินไหนจะให้กู้อีกแล้ว

 

ดังนั้น หุ้นจึงถล่ม ราคาหุ้น KTC ตกลงไปจนมีค่า PE ต่ำกว่า 10 เท่า ปันผลตอบแทนก็น่าจะเกิน 5% ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับหุ้นอื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน สำหรับผมแล้ว หุ้น KTC หลุดออกจากคอร์เนอร์แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นหุ้นที่ถูกกว่าปกติ

 

ว่าที่จริง หุ้น KTC ก็ยังแพงกว่าหุ้นแบงก์ทั้งหลายโดยเฉพาะ KTB ซึ่งเป็นหุ้นแม่ที่มีค่า PE ไม่ถึง 7 เท่าและปันผลถึงกว่า 7% ต่อปี ดังนั้น ก่อนที่จะรีบเข้าไปเล่นเพราะคิดว่าหุ้นมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก ก็จะต้องระวังว่า หุ้นที่คอร์เนอร์แตกแล้วจะกลับสู่การคอร์เนอร์อีกครั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย

The post Perfect Corner-Perfect Storm appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบริโภคไม่ฟื้น…ไทยจะติดกับดักเศรษฐกิจซึมยาวหรือไม่? https://thestandard.co/thai-economy-slowdown-2025-consumption-debt/ Wed, 25 Jun 2025 10:41:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1089067 ดัชนีรายได้เกษตรกรไทยชะลอตัวในปี 2568

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2565-2567) การบริโภคภาคเอกชนภา […]

The post การบริโภคไม่ฟื้น…ไทยจะติดกับดักเศรษฐกิจซึมยาวหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดัชนีรายได้เกษตรกรไทยชะลอตัวในปี 2568

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2565-2567) การบริโภคภาคเอกชนภายในประเทศเติบโตชะลอตัว โดยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2568 การบริโภคภาคเอกชนไทยขยายตัวได้เพียง 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าการขยายตัวของ GDP ไทยที่ 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ถึงกำลังซื้อของครัวเรือนภายในประเทศที่ยังคงอ่อนแอ หรือยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ และเมื่อภาคเศรษฐกิจจริงไม่มีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคขั้นสุดท้ายของครัวเรือน จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะซึม บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยไม่คึกคักเท่าที่ควร

 

รายงาน Wealth Insight ของทีม Wealth Research หลักทรัพย์บัวหลวง ระบุว่า ในส่วนของหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ถือเป็นแรงกดดันหลักต่อการบริโภคภาคเอกชนไทย แม้ในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จะลดลงต่อเนื่อง จากระดับ 91.3% ในไตรมาส 4 ปี 2566 สู่ระดับ 88.4% ในไตรมาส 4 ปี 2567 แต่กลับไม่ได้ทำให้การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเร่งตัวขึ้น นั่นเป็นเพราะธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังและเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ จากภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ขณะเดียวกันลูกหนี้ก็มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น โดยมีข้อสังเกตจากกลุ่มลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special mention loan) ซึ่งเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่มียอดค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและจำเป็นต้องเฝ้าระวังติดตามเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสตกชั้นเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs สูง โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อรายย่อยอย่างสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล

 

นอกเหนือจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นแรงกดดันการบริโภคภายในประเทศ หากวิเคราะห์เจาะลึกไปถึงกำลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคตามระดับรายได้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ถึงกำลังซื้อที่อ่อนแรงลงในทุกกลุ่ม ดังนี้

 

  • รายได้เกษตรกรเติบโตชะลอลง สาเหตุหลักมาจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรพืชผลสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2567 ที่เจอภาวะภัยแล้ง เช่น ข้าว มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น ปัจจุบันครัวเรือนเกษตรในไทยมีอยู่ราว 7.7 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนราว 32.1% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2568) หรือครอบคลุมจำนวนประชากรไทยราว 23 ล้านคน นับว่ายังคงเป็นเศรษฐกิจฐานรากสำคัญของไทย

 

  • ยอดจำหน่ายสินค้าคงทนอย่างรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังไม่ฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 ยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวมากถึง 15.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (รวมรถ SUV) และรถจักรยานยนต์ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมยังคงหดตัวราว 4.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมที่อ่อนแอ โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้ระดับล่างถึงระดับกลาง อาทิ เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงกลุ่มเจ้าของกิจการขนาด Micro SMEs

 

  • การปล่อยสินเชื่อบ้านใหม่เข้าสู่โซนหดตัว สินเชื่อบ้านในชั้นที่ถูกกล่าวถึงเป็นพิเศษยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยไตรมาส 1 ปี 2568 เพิ่มขึ้นราว 19.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวด้วยเลข 2 หลักเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน สะท้อนถึงกำลังซื้อของกลุ่มรายได้ระดับกลางถึงบนที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด

 

  • กลุ่มธุรกิจเผชิญแรงกดดันสูง เมื่อกำลังซื้อของผู้บริโภคทุกกลุ่มส่งสัญญาณอ่อนแรงลง ย่อมส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับแรงกดดันสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จำเป็นต้องพึ่งพิงกำลังซื้อภายในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคธุรกิจอย่างทั่วถึงในระยะข้างหน้าจึงเป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างมาก

 

ดัชนีรายได้เกษตรกรไทยชะลอตัวในปี 2568

ดัชนีรายได้เกษตรกร

ที่มา: OAE, CEIC, Bualuang Research

 

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงการบริโภคภาคเอกชนเป็นรายสินค้าและบริการ จะพบว่า ท่ามกลางกำลังซื้อที่อ่อนแอ กลุ่มอาหารยังสามารถเติบโตได้ค่อนข้างคงที่ ขณะที่กลุ่มอื่นๆ มีแนวโน้มเติบโตชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าอุปโภคอย่างเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ของตกแต่งภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงการบริการร้านอาหารและโรงแรม เป็นต้น

 

และหากพิจารณาถึงข้อมูลการบริโภคภาคเอกชนเป็นรายสินค้า ร่วมกับการพิจารณาข้อมูลด้านการผลิตและการนำเข้า จะพบว่าผู้ผลิตไทยในสินค้าบางกลุ่มกำลังเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้นจากสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทย อาทิ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ด สะท้อนจากข้อมูลการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศของกลุ่มสินค้าดังกล่าวไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับภาคการผลิต ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าสินค้าในกลุ่มดังกล่าวจากจีนกลับขยายตัวได้ค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญ

 

นั่นหมายความว่า ผู้ผลิตคนไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน อาจเผชิญกับแรงกดดันในการแย่งชิงกำลังซื้อที่เติบโตได้อย่างจำกัดและมีทิศทางชะลอตัวกับกลุ่มทุนจีนที่มีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนจากการผลิตที่ล้นตลาด (Over supply) ส่งผลให้ภาคธุรกิจ SMEs ไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ฟื้นตัวและมีแนวโน้มต้องปิดกิจการมากขึ้น และย่อมจะสะท้อนกลับมาสู่การจ้างงานที่ลดลง อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการสร้างรายได้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ

 

สรุป หากการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มอ่อนแรงลง โดยเฉพาะในบริบทที่ภาคครัวเรือนมีภาระหนี้สูง ซึ่งกระทบต่อรายได้คงเหลือ รวมไปถึงในบริบทของภาพเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะลอตัว ก็จะยิ่งบั่นทอนศักยภาพการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระดับฐานราก ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งพึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก และท้ายที่สุดอาจเป็นแรงกดดันต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ

 

ภาพ: Shutterstock AI Generator

The post การบริโภคไม่ฟื้น…ไทยจะติดกับดักเศรษฐกิจซึมยาวหรือไม่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘โปรไฟไหม้’ https://thestandard.co/jumpplus-stock-campaign/ Sun, 22 Jun 2025 09:15:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1087733 jumpplus-stock-campaign

ตลาดหลักทรัพย์มีโครงการ ‘Jump+’ ที่จะช่วยสน […]

The post ‘โปรไฟไหม้’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
jumpplus-stock-campaign

ตลาดหลักทรัพย์มีโครงการ ‘Jump+’ ที่จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนสร้างการเติบโตและสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนแบบ ‘ก้าวกระโดด’ โดยที่โครงการนี้จะให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและการให้คำแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียนในหลายๆ เรื่องที่จะทำให้กิจการเติบโต มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น ทั้งจากการเติบโตจากภายในและการควบรวมกิจการที่เป็นประโยชน์กับบริษัท นอกจากนั้น ก็ยังช่วยให้กิจการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้กับทั่วโลก

 

ผลที่คาดหวังก็คือ มูลค่าของกิจการของบริษัทที่คาดว่าจะเข้าร่วมในโครงการ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างถาวรในช่วงเวลา 2-3 ปีของโครงการ พูดง่ายๆ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจะเห็น ‘หุ้นขึ้น’ แบบ ‘ก้าวกระโดด’

 

ผมเองเห็นด้วยทุกประการ โดยเฉพาะในยามที่หุ้นโดยรวมมีราคาตกลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ผลประกอบการก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร หุ้นจำนวนมากมีผลประกอบการที่ดีใช้ได้ มีความแข็งแกร่ง มีธุรกิจที่มั่นคงมาก และที่สำคัญ จ่ายปันผลได้งดงามสูงที่สุดเป็น ‘ประวัติการณ์’ เมื่อเทียบกับราคาหุ้น และแทบจะสูงที่สุดในโลกที่ประมาณเกือบ 5% ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด

 

ผมคิดว่าสถานการณ์ในยามนี้ของประเทศไทยนั้น มีแต่เรื่องเลวร้ายที่ประดังเข้ามาซึ่งทำให้คนขาดความมั่นใจที่จะลงทุนในตลาดหุ้นทั้งๆ ที่หุ้นจำนวนมากมีราคาต่ำกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด

 

ดังนั้น มีความจำเป็นที่เราจะต้องมีมาตรการกระตุ้นความต้องการซื้อหุ้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบบ ‘เห็นผลทันที’ โดยเฉพาะจากนักลงทุนชาวไทยที่รู้จักและเข้าใจบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นว่าอย่างไรเสียบริษัทก็ยังอยู่กับเราไปเรื่อยๆ เรายังต้องใช้สินค้าหรือบริการทุกวัน เราเชื่อมั่นว่าเป็นบริษัทที่ดีและมีบรรษัทภิบาลที่น่าเชื่อถือ และที่สำคัญ บริษัททำกำไรได้ดีต่อเนื่องไปอีกยาวนานและสามารถที่จะจ่ายปันผลงดงามให้ผู้ถือหุ้นแทบจะตลอดไป

 

วิธีที่บริษัทจะทำนั้น เพื่อที่จะมีประสิทธิผล จะต้องทำแบบเดียวกับแคมเปญขายสินค้าที่มักจะออกแนว ‘ลด แลก แจกแถม’ แต่ในกรณีนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ ‘ขายหุ้น’ ของบริษัท ถ้าจะเปรียบเทียบในช่วงนี้ก็จะเป็นคล้ายๆ ‘โปรโมชั่นไฟไหม้’ ของร้านสุกี้ที่มีการลดราคาอาหารลงหนักมากระดับที่นักกิน ‘พลาดไม่ได้’ ซึ่งน่าจะส่งผลให้ยอดขายสุกี้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับอาหารแบบอื่น ร้านสุกี้ที่เคยดูเหงาๆ อาจจะเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีหรือคนกินสุกี้น้อยลงก็กลับคึกคักขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

 

แคมเปญ ‘ขายหุ้น’ ในความหมายของผมก็คือ แนะนำให้บริษัทจดทะเบียนคิดว่าอะไรจะทำให้คนอยากเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของตนเองในตลาด และเก็บไว้ยาวนาน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละบริษัทก็อาจจะมีประเด็นที่แตกต่างออกไป แน่นอนว่าการเข้าร่วมโครงการ Jump+ ก็เป็นทางหนึ่งที่จะดึงดูดคนที่ชอบหุ้นเติบโตเร็วเข้ามาซื้อหุ้นลงทุน ทำให้หุ้นขึ้นได้ในระยะยาว หรือขึ้นได้ทันทีถ้าเริ่มเห็นว่าบริษัทสามารถขับเคลื่อนโครงการได้แน่นอน

 

ส่วนตัวผมเองนั้น คิดว่าในยามนี้ สิ่งที่นักลงทุนสนใจเพิ่มขึ้นมากก็คือ ‘เงินปันผล’ แต่นี่ก็มีประเด็นว่าเงินปันผลนั้น บ่อยครั้งจ่ายแค่ครั้งเดียวตอนสิ้นปี วิธีที่อาจจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการอยากซื้อหุ้นก็คือ แคมเปญจ่ายปันผลปีละ 2 ครั้ง หรือถ้าจะให้ ‘เปรี้ยง’ ก็คือ จ่ายทุก 3 เดือน ครั้งละ 2% ของราคาหุ้นที่ลงทุน และคนที่จ่ายในอัตรานี้ได้ก็คือหุ้นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่ล่าสุดนั้นจ่ายปันผลได้ปีละ 8% จากราคาหุ้นแล้ว

 

แน่นอนว่านี่คือ ‘แคมเปญ’ หรือ ‘โปรโมชั่น’ ที่มีอายุหรือมีเวลา อาจจะแค่ปีหรือสองปีเพื่อที่จะทำให้คนซื้อหุ้น ‘ตัดสินใจทันที’ ซึ่งถ้าคนจำนวนมากเข้ามาซื้อหุ้นลงทุน ราคาหุ้นก็ควรจะวิ่งขึ้นไปได้

 

ถ้าบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากต่างก็ออก ‘โปรโมชั่น’ ของตนเอง ซึ่งก็ทำได้หลากหลาย แต่ที่สำคัญก็คือ ต้องตรงกับความต้องการของผู้ถือหุ้นหรือคนที่จะซื้อหุ้นลงทุนที่เป็น ‘ลูกค้า’ ตัวอย่างเช่น บริษัทออกมารับรองว่างวดหน้าและงวดต่อไปอีก 2-3 งวด จะเพิ่มอัตราส่วนปันผลที่เคยจ่ายในระดับ 50% ของกำไร เป็น 60% และ 70% ตามลำดับ หรือถ้าจะให้ ‘เปรี้ยง’ ก็อาจจะบอกว่าจะจ่าย 100% เลย นักลงทุนก็อาจจะสนใจเข้ามาลงทุนในหุ้นและทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปได้

 

ผมเองเคยสนใจ และ/หรือ ลงทุนกับบริษัทที่ดีจำนวนไม่น้อย แต่บางครั้งก็ต้องถอยหรือลงทุนน้อยกว่าที่ควรเพราะเหตุที่ว่าบริษัททำอะไรบางอย่างไม่ถูกใจ เช่นบริษัทชอบไปลงทุนในบริษัทหรือธุรกิจอื่นที่ผมคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าบริษัทนั้นเสนอแคมเปญว่า บริษัทจะเลิกทำเรื่องแบบนี้ภายในช่วง เช่น 3 ปีข้างหน้า และบอกว่าจะนำเงินจำนวนนั้นมาซื้อหุ้นคืนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของบริษัท ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและสามารถจ่ายปันผลมากขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ นี่ก็จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนที่คิดแบบเดียวกับผมเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นเพิ่ม หุ้นก็จะมีราคาหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทันที

 

เรื่องที่จะทำอะไรหรือสัญญาอะไรที่จะทำให้นักลงทุนตื่นเต้นและสนใจเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทนั้น สิ่งที่ทำหรือคำมั่นสัญญานั้นจะต้องมี ‘คุณค่า’ ในสายตาของนักลงทุน การเปิดรับฟังความคิดเห็นหรือการติดตามคอมเมนต์ในสื่อสังคมต่างๆ จะทำให้บริษัทรู้ว่าบริษัทควรจะทำอะไรหรือควรจะมีแคมเปญอะไรที่จะทำให้นักลงทุนสนใจมาซื้อหุ้นลงทุน ซึ่งจะทำให้หุ้นมีมูลค่ามากขึ้น นอกจากนั้น บริษัทก็จะใกล้ชิดกับนักลงทุนมากขึ้นและความไว้วางใจในตัวบริษัทก็จะมีมากขึ้น นี่จะเป็น ‘คุณค่า’ ให้กับตัวหุ้นและบริษัทในทุกด้านซึ่งรวมถึงการที่นักลงทุนจะซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทมากขึ้นด้วยหากว่ากิจการของบริษัทนั้นขายสินค้าผู้บริโภค

 

พูดถึงเรื่องนี้ ผมเองชอบใจบริษัทจดทะเบียนของเวียดนามที่เขาประกาศผลประกอบการ ‘ทุกเดือน’ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีงบบัญชีละเอียดหรือมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน แต่ที่เห็นคือมีตัวเลขยอดขายและกำไรทุกเดือนซึ่งทำให้ผมสามารถติดตามได้และรู้ถึงสถานการณ์ของบริษัทอย่างรวดเร็วแทนที่จะต้องลุ้นถึง 3 เดือนแบบของเรา

 

การรู้ถึงความเป็นไปของบริษัทอย่างรวดเร็วนั้น ช่วยลดความเสี่ยงของนักลงทุนได้ เพราะถ้าประกาศงบออกมาไม่ดี เขาก็จะได้ตัดสินใจได้ทันทีว่าจะทำอะไรกับหุ้น แทนที่จะต้องรอ 3 เดือนในสถานการณ์ที่หุ้นทยอยตกลงมาโดยที่เขาไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งนี่ก็จะช่วยเพิ่ม ‘คุณค่า’ ให้กับหุ้นได้

 

นี่ก็เช่นเดียวกับ ‘โปร’ อื่น ไม่ใช่เรื่องของข้อบังคับของตลาด แต่เป็นเรื่องที่บริษัททำด้วยความสมัครใจและดูแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน นักลงทุนชอบซื้อ-ขายหุ้นที่ทำ ‘โปร’ แบบนี้และเขาก็เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นมากขึ้น สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ข้อมูลรายเดือนที่เป็นเรื่องรายได้และกำไรของบริษัทจะต้องเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ก่อนสื่ออื่น เช่นเดียวกับรายงานงบรายไตรมาสตามปกติ และก็ต้องเป็นรายงานที่ถูกต้องแต่ไม่ต้องสอบทานแบบสมบูรณ์เหมือนรายงานที่เป็นทางการอื่น

 

ทั้งหมดที่เสนอมานั้น ผมเองก็ต้องออกตัวว่าคงมีคนเห็นด้วยไม่มากโดยเฉพาะคนที่อยู่ในแวดวงที่เรียกว่า ‘Establishment’ หรือองค์กรที่เป็นสถาบันจัดตั้งที่เป็นทางการรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ เพราะมันคงดู ‘แหวกแนว’ เกินไป อาจจะเพราะว่า ‘หุ้นไม่ใช่สินค้า’ ถ้าให้มีการทำ ‘โปรโมชั่น’ จะกลายเป็นการ ‘ปั่นหุ้น’ แล้วคนที่เข้ามาซื้อจะเจ็บตัวหนักแล้วใครจะรับผิดชอบ

 

ข้อถกเถียงของผมก็ตอบว่า เราก็ต้องดูว่าสิ่งที่บริษัททำนั้นจะเป็นการ ‘ปั่นหุ้น’ หรือไม่ เราต้องมั่นใจว่าสิ่งที่บริษัทเสนอนั้น อยู่ในกรอบของกฎข้อบังคับของการเป็น ‘Good Governance’ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ต้องไม่อนุญาตให้ทำ

 

แต่ผมคิดว่าอย่างการจ่ายปันผลทุก 3 เดือนไม่น่าจะมีปัญหา เช่นเดียวกับการเปิดเผยข้อมูลผลประกอบการเร็วขึ้นอย่างสมัครใจก็ไม่น่าจะมีปัญหา หรือแม้แต่การประกาศว่าจะมีนโยบายซื้อหุ้นคืนอย่างต่อเนื่องผมก็คิดว่าเป็นผลดีต่อหลายๆ บริษัทที่ไม่สามารถเติบโตทางธุรกิจได้แล้วจึงตัดสินใจคืนเงินให้เจ้าของก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและแน่นอนว่าไม่ใช่การปั่นหุ้น แม้ว่าหุ้นอาจจะขึ้นทันทีที่ประกาศ

 

ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผม ในฐานะ ‘ลูกค้า’ ขาประจำที่ซื้อหุ้นในตลาดมานานอยากจะเห็น อยากได้ ‘โปรโมชั่น’ หุ้น ที่จะให้ ‘คุณค่า’ แบบชนิดที่ยอดเยี่ยมถูกใจใช่เลย โดยเฉพาะกับลูกค้าหุ้นแนว ‘VI’ ที่ชอบถือหุ้นพื้นฐานดีๆ และถือยาวนาน ส่วนบริษัทที่ทำ ‘โปร’ ที่ขายหุ้นแย่ๆ ซื้อแล้วมีแต่เสียหาย หลอกนักลงทุนด้วย ‘โปร’ ที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าของหุ้นจริงๆ นั้น เราก็ต้องจับตาและต่อต้าน เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐและองค์กรของตลาดทุนที่จะต้องควบคุมและจัดการ

 

ภาพ: wutwhanfoto / Shutterstock 

 

อ้างอิง:

The post ‘โปรไฟไหม้’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตอนที่ 1 – ประกันภัยส่วนบุคคล เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม https://thestandard.co/personal-insurance-financial/ Sat, 21 Jun 2025 06:56:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1087524 personal-insurance-financial

หลายคนมองข้าม ‘ประกันภัยส่วนบุคคล’ ทั้งที่จ […]

The post ตอนที่ 1 – ประกันภัยส่วนบุคคล เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม appeared first on THE STANDARD.

]]>
personal-insurance-financial

หลายคนมองข้าม ‘ประกันภัยส่วนบุคคล’ ทั้งที่จริงแล้วเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว เพราะชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมีประกันจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปกป้องรายได้ ทรัพย์สิน และอนาคตของครอบครัว แม้หลายคนจะมองว่าการทำประกันเป็นภาระที่ไม่จำเป็นในช่วงที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่มีภาระผูกพันใดๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแผนไว้ล่วงหน้ากลับเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบและการใส่ใจในอนาคตของตนเองและคนที่เรารักอย่างแท้จริง 

 

ลองทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ก่อนว่า ประกันภัยส่วนบุคคลคืออะไร?

 

ถ้าแปลแบบตรงๆ ตัวเลย ประกันภัยส่วนบุคคล (Personal Insurance) ก็คือ ประกันที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของบุคคล เช่น 

  • ประกันชีวิต ให้เงินชดเชยแก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อเราเสียชีวิต
  • ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพราะการเจ็บป่วยและการเสื่อมสภาพของสังขารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตของทุกคน
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองกรณีบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
  • ประกันโรคร้ายแรง จ่ายเงินก้อนเมื่อพบโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หัวใจวาย 
  • ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากความประมาทของเรา

 

ทำไมประกันภัยจึงเป็นรากฐานของแผนการเงิน

 

หลายคนอาจมองว่า ประกันเป็น ‘ค่าใช้จ่าย’ เพราะคิดว่าไม่น่าจะได้ใช้ แต่ในความจริงเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในมุมของนักวางแผนการเงิน การประกันภัยคือ ‘เครื่องมือบริหารความเสี่ยง’ ที่ขาดไม่ได้ในแผนการเงินที่ยั่งยืน การเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น 

 

ประกันจึงเปรียบเสมือน ‘กันชนทางการเงิน’ ที่ช่วยปกป้องจากเหตุไม่คาดฝัน เพราะชีวิตคนเรามีความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สิ่งเหล่านี้สามารถทำลายแผนการเงินที่วางเอาไว้ได้ในพริบตา บางครั้งแค่เหตุการณ์เพียงครั้งเดียว อาจทำให้เงินออมที่คนคนหนึ่งเก็บสะสมมาตลอดชีวิตหมดลงได้ 

 

ดังนั้น การมีประกันจึงช่วยรักษาเงินทุนสำหรับเป้าหมายสำคัญในชีวิต เช่น การเกษียณ การศึกษาบุตร หรือการส่งต่อทรัพย์สินให้ครอบครัว อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม คือ ‘ความสามารถในการหาเงิน’ เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของเรา หากวันหนึ่งเราป่วยจนทำงานไม่ได้ ประกันจะเข้ามาช่วยทดแทนรายได้ที่หายไป ให้เรายังมีเงินใช้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

 

ความเสี่ยงของการมีประกันไม่เพียงพอ

 

ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ การมีความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอ (Underinsured) เช่น การพึ่งพาแต่สวัสดิการบริษัท ซึ่งความคุ้มครองมักมีวงเงินไม่สูง และจะสิ้นสุดทันทีเมื่อออกจากงาน หรือกรณีที่ซื้อประกันวงเงินต่ำเกินไป เช่น หญิงสาวอายุ 35 ปี มีรายได้ปีละ 1 ล้านบาท แต่มีประกันชีวิตเพียง 2 แสนบาท หากเสียชีวิต แทบไม่พอแม้แต่ค่าจัดงานศพ ยังไม่รวมถึงรายจ่ายในครอบครัวหรือภาระหนี้สินที่มีอยู่ 

 

นอกจากนี้ ความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอยังอาจทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับความลำบากทางการเงินในช่วงเวลาที่ยากที่สุด เช่น ต้องขายทรัพย์สิน ใช้เงินเก็บฉุกเฉิน หรือกู้หนี้เพื่อดำรงชีวิต หากผู้เสียชีวิตเป็นเสาหลักของครอบครัว ภาระทั้งหมดอาจตกไปอยู่กับคู่สมรสหรือญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอนาคตของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะลูกหลานที่ยังอยู่ในวัยเรียน

 

เมื่อเข้าใจแล้วว่าความไม่แน่นอนของชีวิตสามารถส่งผลกระทบทางการเงินได้มากเพียงใด ขั้นตอนถัดไปคือการวางแผนและเลือกประกันให้เหมาะกับตัวคุณ อ่านต่อได้ในบทความถัดไป

 

ภาพ: Andrey_Popov / Shutterstock

The post ตอนที่ 1 – ประกันภัยส่วนบุคคล เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูมัท: ถึงเวลาคืน (เวลา) ครูให้เด็กไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย https://thestandard.co/its-time-to-return-teachers-to-thai-children/ Sat, 21 Jun 2025 05:06:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1087489 ครูมัท

จากข่าวการเสียชีวิตของ ‘ครูมัท’ ครูสอนภาษาอ […]

The post ครูมัท: ถึงเวลาคืน (เวลา) ครูให้เด็กไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูมัท

จากข่าวการเสียชีวิตของ ‘ครูมัท’ ครูสอนภาษาอังกฤษ และดูแลงานการเงินของโรงเรียนบ้านบุหนองเทา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ของครู ซึ่งเป็นผู้ที่ส่วนสำคัญในการสร้างอนาคตของชาติ 

 

‘ครู’ คือผู้สอน ไม่ใช่แค่สอนหนังสือแต่รวมถึงสอนการใช้ชีวิต แต่ปรากฏว่าหน้าที่ของครูไม่ได้มีแค่นั้น นอกจากสอนหนังสือ (ที่บางครั้งก็ไม่ได้สอนในวิชาการที่ตนเองถนัดหรือจบเอกมา) ครูยังต้องทำหน้าที่อื่นอีก อย่างครูมัทต้องดูแลเรื่องการเงิน แต่ยังมีครูแมว ครูเอิร์น ครูแบงค์ หรือครูตั้ม ที่ต้องทำอาหารกลางวัน ดูแลร้านสหกรณ์ของโรงเรียน พานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นนโยบายมาจากข้างต้น (เช่น ปลูกต้นไม้และต่อต้านยาเสพติด) เป็นผู้บริหาร หรือดูแลงานวิชาการของโรงเรียน สิ่งที่ผมอยากรู้คือเวลาของครูในแต่ละวันถูกแย่งไปโดย ‘งานนอก’ พวกนี้เท่าไร และมีเกิดประโยชน์จริงๆ หรือไม่กับเด็กไทย 

 

ทุกคนคงเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมและมัธยม คือหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ไม่มีประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศใดที่มีระบบการศึกษาที่ล้มเหลว แต่คำว่าล้มเหลวนี้ แม้จะดูน่ากลัวแต่มันก็ขึ้นอยู่กับมาตรวัดที่ผู้บริหารเลือกใช้ หลายสิบปีที่ผ่านมา ไทยมีสัดส่วนของประชากรที่รู้หนังสือมากขึ้น อ่านออกเขียนได้มากขึ้น เด็กออกกลางคันลดลง เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เกิดจากการเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา สะท้อนจากการอัดฉีดงบประมาณเข้าไปในกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความพยายามในการปฏิรูปการศึกษา การคิดค้นหลักสูตรใหม่ๆ การนำปรัชญาการศึกษาใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาใช้ ทั้งการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบแอ็กทีฟเลิร์นนิ่ง การส่งเสริมให้ครูไทยไปดูงานที่ฟินแลนด์ (ผมเพิ่งกลับจาก Helsinki ก็แอบงงว่า เราจะเอาโมเดลจาก Helsinki มาใช้ที่ไทยได้มากน้อยแค่ไหน) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดโรงเรียนด้วยการมีอยู่ของโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติ เด็กไทยในปี พ.ศ. 2568 มีทางเลือกในการเรียนมากขึ้น แตกตามกันไปตามความยากดีมีจนของผู้ปกครอง และที่อยู่อาศัย 

 

ท่ามกลางความก้าวหน้าของ ‘ปริมาณ’ การศึกษา ไทยก็มีปัญหาเรื่อง ‘คุณภาพ’ สะท้อนจากคะแนน PISA ก็ดี หรือปัญหา Skill Mismatch จบมาแล้ว ทักษะไม่ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ รวมถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Inequality in Education) ที่มีรากปัญหามาจากความเหลื่อมล้ำทางรายได้ (การเข้าถึงทรัพยากรที่ต่างกัน) คำถามสำคัญคือเราจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างไร แน่นอนว่าครูคือหัวใจของคำตอบนี้ การเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ของครู จึงเป็นทางออกที่ผมเชื่ออย่างสุดใจว่าจะช่วยพลิกฟื้นคุณภาพการศึกษาของไทยได้ 

 

โจทย์ก็คือ แล้ว Productivity นี้จะเพิ่มกันได้อย่างไร ซึ่งมันหมายถึงการทำงานที่ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ใช้แรงน้อยลงแต่ผลลัพธ์เท่าเดิม หรือ ได้ผลลัพธ์มากขึ้น) ซึ่งในเรื่องของการเป็นครูนั้น ผมเชื่อว่าทุกคนที่เป็นครูต่างรักในการสอน มาเป็นครูเพราะอยากสอนเด็ก เห็นเด็กได้ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง เป็นสมาชิกของสังคมคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้ ทักษะ และความภาคภูมิใจ

 

Productivity ของครูจะไม่มีทางเกิดขึ้น หากครู ‘ไม่มีเวลา’ ครูไทยจึงต้องการเวลามากขึ้นหรือพูดง่ายๆ คือมีอิสระจาก ‘งานนอก’ มากขึ้น เวลาที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้ครูได้เอาเวลาไปเตรียมสอนหรืออัปเดตความรู้ หรือแม้แต่พักผ่อน การสอนหนังสือเป็นงานที่ต้องแสวงหาความรู้ตลอดเวลา การนั่งนิ่งๆ อ่านข่าว อ่านหนังสือ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อเด็ก

 

ว่ากันว่า ครูก็เหมือนเรือจ้าง แต่ผู้ว่าจ้างไม่ใช่นักเรียนในห้อง แต่เป็น ‘ผู้ใหญ่’ ที่ต้องการดูหลักฐานการทำงาน ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง (แม้ทุกคนจะรู้ดีว่าการเปลี่ยนแปลงมันใช้เวลา ใช่เกิดขึ้นเพียง 1-2 เทอม) และเชื่ออย่างสนิทใจว่างานของตัวเองนั้นสำเร็จ เมื่อรู้ว่าครูจิ๊บ ครูเหมี่ยว หรือครูบอม สามารถส่งมอบ ‘หลักฐาน’ ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของครู การไม่มีเด็กซ้ำชั้น การเข้าร่วมกิจกรรมแบบ 100% การไม่มียอดเงินคงค้างบัญชี แน่นอนมันเป็นเรื่องดี แต่มีคนสนใจบ้างหรือเปล่าว่า หลักฐานพวกนี้ใช้เวลาเท่าไร และมันจะเกิดอะไรขึ้นหากครูได้เอาเวลาพวกนี้ไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนจริงๆ 

 

ผมได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับเพื่อนและรุ่นน้องที่เป็นผู้บริหารและเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่มีขนาดที่ต่างกัน ทั้งคู่สะท้อนเรื่อง ‘งานนอก’ ที่ฟังแล้วไม่รู้จะสงสารใครก่อนระหว่างครูกับเด็ก ในกรณีของครูการเงิน ว่ากันว่า ไม่มีใครอยากทำ เพราะทำแล้วต้องทำตลอด ใครเก่งเลขมาทำ มีเซนส์เรื่องบวกลบคูณหารทางบัญชีก็ดีไป ใครสายอาร์ตก็อาจจะขมขื่น มีกรณีหนึ่ง เพิ่งเข้ามาทำเรื่องเงินทองๆ มี ‘ครูรุ่นพี่’ สอน แต่ดันสอนในสิ่งที่ผิด ทำไปแล้วผิดระเบียบ ก่อนวางสาย รุ่นน้องบอกกับผมว่า ‘สอนเด็กโง่ไม่ติดคุก แต่ทำบัญชีผิดติดคุกได้’ ฟังแล้วก็ไม่รู้จะต้องรู้สึกยังไงกับมัน 

 

ผมมีไอเดียหนึ่งที่ลองถามพวกเขาว่า แล้วถ้าให้ ‘คนนอก’ เข้ามาทำเรื่องการเงินละ จะได้ไหม ข้อดีก็มันก็คือการคืนเวลาและความสุขให้ครู ความท้าทายคือโรงเรียนขนาดเล็กอาจไม่มีงบประมาณ (แล้วเพิ่มไม่ได้?) และ ‘คนนอก’ อาจไม่รู้ ‘บริบท’ ของโรงเรียน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า คนนอกจำเป็นต้องรู้บริบทของโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน แต่การ Streamline หรือทำให้ง่าย ชัด เป็นระบบ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็อาจเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องเริ่มมองหาแนวทางแก้ไข

 

การถกเถียงลอยๆ มันก็คงไม่สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษา ภาครัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการ อาจเริ่มทำ Sandbox หรือทำการทดลองขึ้นมา ศึกษาดูว่า ระหว่างโรงเรียนที่ใช้ Innovation อะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ครูมีเวลาเพิ่มขึ้น กับโรงเรียนที่เป็นอย่างในปัจจุบัน ที่ครูใช้เวลาไปกับงานนอก ผลกระทบต่อเด็กและครูจะเป็นอย่างไร ผลกระทบที่ว่าคงไม่ใช่แค่เรื่องของคะแนนสอบในกรณีของเด็กหรือคุณภาพการสอนในกรณีของครู แต่รวมถึงความสุข ความสบายใจ การรับรู้ถึงคุณภาพ และทัศนคติที่มีต่อการเรียนในชั้นเรียน 

 

หากเราไม่สามารถ ‘คืนเวลา’ ให้กับครู โดยเฉพาะครูในระดับประถมและมัธยม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูที่ทำงานอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กในต่างจังหวัด การศึกษาไทยก็ยังจะหยุดอยู่กับที่ ไม่ไปไหน ไม่ว่าจะปฏิรูป ปรับปรุง หลักสูตร อีกกี่ร้อยกี่พันครั้ง ไม่ว่าจะเพิ่มงบต่อหัวให้เด็กอีกกี่บาท ก็คงจะไม่ช่วยอะไร การศึกษาไทยก็จะไม่สามารถผลิตและป้อนคนที่มีคุณภาพได้ และเศรษฐกิจไทยก็คงจะไม่ได้ไปไกลอย่างที่ฝัน

ภาพ: smolaw / Shutterstock

The post ครูมัท: ถึงเวลาคืน (เวลา) ครูให้เด็กไทย เพื่อเศรษฐกิจไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
การลงทุนครึ่งปีหลัง 2025 ความมั่นใจบนความไม่แน่นอน https://thestandard.co/market-outlook-h2/ Thu, 19 Jun 2025 08:41:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1086787

ขณะที่โลกการเงินกำลังสับสนกับทิศทางเศรษฐกิจ นโยบายการค้ […]

The post การลงทุนครึ่งปีหลัง 2025 ความมั่นใจบนความไม่แน่นอน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ขณะที่โลกการเงินกำลังสับสนกับทิศทางเศรษฐกิจ นโยบายการค้า การเงิน และการคลังสหรัฐฯ พร้อมกัน ล่าสุดก็มีประเด็นสงครามตะวันออกกลางเข้ามาสร้างความปั่นป่วนเพิ่มเข้าไปอีก จนความไม่แน่นอนพุ่งทะยานขึ้นถึงขีดสุด

 

แต่แทนที่นักลงทุนทั่วโลกจะกลัวการลงทุน มุมมองของเหล่านักบริหารเงินล่าสุดจากรายงาน Fund Manager Survey (FMS) ของ Bank of America กลับพบว่าความกังวลลดลง เนื่องจากตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น 

 

นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าทุกอย่างจะคลี่คลายในทางบวก และความผันผวนจะไม่จบด้วยกรณีเลวร้ายต่อเศรษฐกิจ และตลาดการเงินโลกต้องสงบสุขในที่สุด

 

คำถามสำคัญในช่วงครึ่งหลังปี 2025 คือความมั่นใจบนความไม่แน่นอนนี้ จะนำพานักลงทุนไปสู่จุดหมายปลายทางแบบไหนกันแน่

 

ความไม่แน่นอนแรก คือสงครามการค้าที่คาดว่าจะนำเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ยุค Multipolar World ในที่สุด 

 

ความมั่นใจเกินไปว่าการเจรจาการค้าจะต้องเกิดขึ้นแน่อาจเป็นความเสี่ยง 

 

เพราะอย่างน้อยที่สุดสหรัฐฯ และจีนจะกลายเป็นสองกลุ่มการค้าที่จะแข่งขันกันต่อเนื่อง โอกาสกลับไปสู่โลกเสรี หรือ Globalization มีไม่มาก

 

สำหรับผลกระทบกับตลาด เหตุการณ์เปรียบเทียบในอดีตที่ใกล้เคียงที่สุด คือช่วงสงครามการค้ารอบแรก ปี 2018 หนึ่งปีให้หลังจากการตั้งกำแพงภาษีใส่กัน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทองคำบวกต่อเนื่องจากการเป็น Safe Haven ขณะที่ราคาน้ำมันร่วงตามเศรษฐกิจ และหุ้นโลกปรับตัวลงเล็กน้อย 

 

ผมประเมินว่าความเหมือนในครั้งนี้คือนักลงทุนอาจเลือกถือสินทรัพย์ทางเลือกมากกว่าหุ้นหรือบอนด์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่ความแตกต่างคาดว่าจะเป็นผลกระทบของกำแพงภาษีต่อ Margin ของภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีการเก็บภาษีการค้าสูงสุด

 

กลยุทธ์รับมือกับความมั่นใจเกินไปในประเด็นการค้าช่วงครึ่งปีหลัง ผมมองไปที่การปรับพอร์ตออกจากธุรกิจที่ต้องพึ่งนโยบายการค้า ไปสู่กลุ่มการผลิตในประเทศ ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนใหม่ในแต่ละทวีป

 

ความไม่แน่นอนที่สอง คือสงครามตะวันออกกลาง แทบทุกครั้งเป็นความเสี่ยงระยะสั้น แต่จะกลับตัวมาเร็วแค่ไหนอยู่ที่ภาวะเศรษฐกิจหลังจากนั้น

 

ภาพสงครามกับตลาดการเงินที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ปัจจุบันมีด้วยกัน 4 ครั้งเช่นวิกฤติ Yom Kippur ปี 1973 สงครามอ่าวปี 1991 สงครามอิรักปี 2003 และความขัดแย้งระหว่าง Hamas–Israel ในปี 2023

 

ในอดีต ราคาน้ำมันที่เป็นตัวแปรหลักของความผันผวนมักปรับตัวขึ้นก่อนสงคราม และร่วงลงในช่วงหกเดือนหลังจุดเริ่มต้น

 

ครั้งนี้คล้ายกับปี 1991 มากที่สุด คือตลาดรับข่าวไปก่อนและนักลงทุนหวังให้สงครามจบเร็ว ตลาดดีดตัวกลับ 

 

อย่างไรก็ดี ความแตกต่างสำคัญอยู่ที่ความไม่แน่นอนของประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องเข้าร่วมเพื่อจบสงคราม ขณะที่พื้นฐานเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังสั่นคลอน  

 

อาจต้องเผื่อใจว่าสงครามมีแนวโน้มยืดเยื้อ และความผันผวนสามารถปะทุขึ้นอีกได้ทุกเมื่อ กลยุทธ์รับมือความไม่แน่นอนจากสงครามในรอบนี้ สำหรับผมจึงเป็นการกระจายการลงทุนมากขึ้น และแบ่งส่วนหนึ่งไปที่สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงสงครามอย่างน้ำมันดิบและทองคำ

 

ความไม่แน่นอนที่สามคือจุดจบของดอลลาร์ แทบทั้งตลาดมองไปทางเดียวกันว่าดอลลาร์ต้องอ่อนค่าในช่วงครึ่งหลังปี 2025 แน่

 

ผลสำรวจ FMS ชี้ว่าตลาดลดน้ำหนักดอลลาร์มากที่สุดในรอบ 20ปี 

 

ครั้งสุดท้ายที่ตลาดเคยมีมุมมองเชิงลบกับดอลลาร์เท่านี้ ในอดีตคือช่วงปี 2005 ที่สหรัฐฯ ขาดดุลบัญชีการคลังจากการทำสงครามอิรัก นโยบายลดภาษีของ Bush และการกระจายทุนสำรองเข้าสู่สกุลเงินยูโรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

 

ในมุมมองของผม แม้ดอลลาร์อาจอ่อนค่าตามที่ตลาดมั่นใจ แต่ความไม่แน่นอนอยู่ที่ระดับของการอ่อนค่าต่อจากนี้

 

เพราะถ้ามองจากพื้นฐานและความเสี่ยง ดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าได้อีกราว 5-10% จากระดับปัจจุบัน แต่ถ้ามองจาก Position ที่ต่ำสุด โอกาสที่ดอลลาร์จะอ่อนไปกว่านี้คาดว่าจะมีไม่มาก หรือครึ่งหลังอาจเป็นจังหวะกลับตัวของดอลลาร์ด้วยซ้ำ 

 

ผมเชื่อว่าประเด็นที่จะกำหนดทิศทางของดอลลาร์ อยู่ที่อัตราดอกเบี้ยเทียบกับความคาดหวัง และความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจสหรัฐฯ 

 

ถ้า Fed สามารถรักษาดอกเบี้ยระดับสูงไว้ได้ ขณะที่กำไรของบริษัทสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอตัวลงเร็ว ดอลลาร์อาจเซอร์ไพรส์ไม่อ่อนค่าในช่วงครึ่งหลังของปีได้เช่นกัน

 

โดยสรุป ความไม่แน่นอนคือธีมหลักของปี 2025 อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ความมั่นใจว่าตลาดจะกลับมาได้เสมออาจพบกับบททดสอบในช่วงครึ่งปีหลัง

 

จากประสบการณ์การวิเคราะห์เศรษฐกิจและตลาดการเงินของผม จุดอ่อนสำคัญของการวิเคราะห์บนความไม่แน่นอนสูง คือท้ายที่สุดมักมีเหตุการณ์ใหม่นอกสมการเกิดขึ้นได้อีก

 

สุดท้าย ตลาดจะกลับสู่ขาขึ้นได้เสมอ แต่จะเกิดขึ้นทันทีในครึ่งหลังของปี 2025 หรือไม่ อีกไม่นานเราจะได้รู้กันครับ

 

ภาพ: สัดส่วนผู้จัดการการลงทุนโลกต่อมุมมองการถือครองดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง: BofA Global Fund Manager Survey

ภาพ: Lane Oatey / Blue Jean Images / Shutterstock

The post การลงทุนครึ่งปีหลัง 2025 ความมั่นใจบนความไม่แน่นอน appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับสัญญาณเศรษฐกิจญี่ปุ่น ชนวนป่วนตลาดลงทุนโลก​จริงหรือ https://thestandard.co/japan-economy-2025-market-volatility/ Thu, 19 Jun 2025 01:30:38 +0000 https://thestandard.co/?p=1086542 กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่น JGB ปี 2568 แสดงแนวโน้มขาขึ้น

ผ่านพ้นไปหมาดๆ สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน […]

The post จับสัญญาณเศรษฐกิจญี่ปุ่น ชนวนป่วนตลาดลงทุนโลก​จริงหรือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่น JGB ปี 2568 แสดงแนวโน้มขาขึ้น

ผ่านพ้นไปหมาดๆ สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินใน ของธนาคารกลาง 2 ประเทศใหญ่ “สหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น” ในรอบเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งทั้ง 2 ธนาคารกลางโลกประกาศ “คงอัตราดอกเบี้ย” ไว้ที่ระดับเดิมตามที่ตลาดคาดการณ์ 

 

โดยผลประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายนที่ผ่านมา ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยหลักไว้ที่ 0.5% เนื่องจากกังวลต่อมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ จะกระทบภาคส่งออก และการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น หลังจากที่ไตรมาสแรก GDP หดตัว 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 

 

สำหรับผลประชุม Fed เมื่อวันที่ 17-18 มิถุนายนที่ผ่านมา ตลาดคาด “คงอัตราดอกเบี้ย” ที่ระดับ 4.25-4.50% เนื่องจากรอดูข้อมูลจากผลกระทบของมาตรการภาษีฯต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม FedWatch Tool บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.00-4.25% ในการประชุมเดือน ก.ย. และปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมเดือน ธ.ค.

 

ทำไมทั่วโลกจึงเฝ้าติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางทั้ง 2 ประเทศนี้ 

 

เนื่องมาจากแบงก์ชาติทั้ง 2 แห่งใช้นโยบายการเงินที่สวนทางกัน ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐฯ และยังเป็นนักลงทุนโดยตรง (FDI) รายใหญ่ของอเมริกา ขณะเดียวกัน นักลงทุนทั่วโลกได้มีการกู้ยืมเงินเยน (ดอกเบี้ยต่ำ) จากญี่ปุ่น ด้วยการทำ Yen Carry Trade เพื่อมาลงทุนในตลาดสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก โดยเม็ดเงินที่สะพัดส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ดังนั้น หากญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ย่อมส่งผลกระทบไปถึง “สหรัฐฯ” ที่เป็นตลาดลงทุนใหญ่ของโลก 

 

ปัจจุบัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed กำลังอยู่ระหว่างรอการปรับโหมดเข้าสู่ทิศทางดอกเบี้ยขาลง หลังจากที่ดอกเบี้ยทรงตัวระดับสูงมาข้ามปีแล้วด้วยปัญหาเงินเฟ้อสูงช่วงหลายปีที่ผ่านมา 

 

ฝั่งธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJ กำลังค่อยๆ ปรับโหมดปรับขึ้นดอกเบี้ย ทั้งจากปัญหาเงินเฟ้อสูง 3% และถอนคันเร่งหลังจากที่ใช้นโยบายผ่อนคลายทั้งดอกเบี้ยติดลบและการทำ Yield Curve Control ด้วยการแทรกแซงซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) มาเป็นทศวรรษจนเกิดภาวะเงินฝืดยาวนาน

 

ขณะที่ทั้งสองประเทศต่างก็มีปัญหาที่เหมือนๆ กัน นั่นก็คือ หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ระดับสูง และยังจำเป็นต้องกู้เงินผ่านการออกพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ล้วนเป็นโจทย์ใหญ่ที่กดดันการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั้ง 2 ประเทศมากขึ้น 

 

ปัจจัยสงครามภาษีฯของประธานาธิบดีสหรัฐฯ “โดนัลด์ ทรัมป์” เข้ามาเป็นปัญหาใหม่ในปีนี้และสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2025 ลงมาเหลือ 2.8% และปี 2026 อยู่ที่ 3% และจากผลกระทบภาษีฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อโลกจะไปอยู่ที่ 4.3% และ 3.6% และยังเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญด้วย 

 

สถานการณ์โลกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกลดลง สะท้อนผ่านการเทขายสินทรัพย์สกุลดอลลาร์กันอย่างหนักจนตลาดเรียก Sell America ไม่ว่าจะเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นสหรัฐฯ ออกมา และยังมีการเทขาย “พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ” จนราคาร่วงหนัก กระทบบอนด์ยีลด์ดีดขึ้นด้วย ทั้งที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำที่สุดของโลก ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

 

Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตร คือผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือพันธบัตร หาก Yield ขึ้น แสดงว่า “ราคาพันธบัตรลดลง” สะท้อนตลาดมีความเชื่อมั่นต่อพันธบัตรลดลง หรือกังวลต่อความเสี่ยงของประเทศผู้ออกพันธบัตรนั้นๆ

 

ตลอดช่วงเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ผันผวนสูง โดยเฉพาะบอนด์ยีลด์ระยะยาวที่พุ่งขึ้นแรงทำนิวไฮใหม่ บอนด์ยีลด์ อายุ 30 ปี พุ่งขึ้นทะลุกว่า 5.15% และบอนด์ยีลด์ อายุ 10 ปี ดีดขึ้นไปสูงสุดที่ 4.5% เมื่อกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามภาษีตอบโต้รุนแรง โดยแรงเทขายหลักๆ มาจากนักลงทุนต่างชาติ และช่วงที่ “มูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลงจาก Aaa เป็น Aa1” เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม บอนด์ยีลด์ อายุ 10 ปี ดีดขึ้นไป 4.548% และอายุ 30 ปี พุ่งทะลุ 5.014% สูงสุดในรอบหลายปี แม้ปัจจุบัน บอนด์ยีลด์จะปรับลดลงแต่คงทรงตัวระดับสูงกว่า 4% 

 

ความเชื่อมั่นต่อการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ ยังคงลดลง หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ออกพันธบัตรใหม่อายุ 20 ปี ประมูลขายเมื่อเร็วๆ นี้ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทำให้ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อดึงดูดนักลงทุนกลับมา และในช่วงที่เหลือปีนี้ พันธบัตรสหรัฐฯ จะครบกำหนดอีกกว่า 9.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตลาดคาดว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะต้อง roll over และอาจต้องให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพื่อจูงใจนักลงทุนอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นต้นทุนทางการเงินที่สูงของรัฐบาลสหรัฐฯ 

 

ปัจจุบันประเทศที่ถือพันธบัตรสหรัฐฯ มากที่สุด ได้แก่ เยอรมัน ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร 

 

สำหรับตลาดบอนด์ญี่ปุ่นที่เกิดความผันผวนในช่วงเวลาใกล้เคียงกับสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจัยแรก ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่เริ่มเร่งตัว ทำให้เงินทุนไหลออก และปัจจัยที่สอง คือ BOJ เริ่มลดการซื้อพันธบัตรในตลาด ตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการดึงสภาพคล่องกลับ และเป็นการถอนคันเร่งจากที่เคยใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control) ผ่านการซื้อพันธบัตร มาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งใน BOJ เคยซื้อพันธบัตรญี่ปุ่นมากถึง 52% ของตลาดทำให้ราคาไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของตลาด ถือเป็นตลาดที่บิดเบี้ยวจากนโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษ 

 

เพราะฉะนั้นเมื่อ BOJ ตัดสินใจจะปรับโหมดดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อกลับเข้าสู่โหมดปกติ โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้วทั้งการเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 0.25% จากที่เคยติดลบ และลดวงเงินซื้อพันธบัตรในตลาด และปีนี้ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเป็น 0.50% และลดการซื้อพันธบัตรอีก ซึ่งเป็นการปล่อยให้ บอนด์ยีลด์ญี่ปุ่น ปรับตัวสะท้อนสภาพตลาดที่แท้จริง 

 

สถานการณ์ที่ซับซ้อนของญี่ปุ่นจากสองปัจจัยดังกล่าว กดดันให้ BOJ ต้องเดินไปสู่ “การยอมขึ้นดอกเบี้ย” ในระยะข้างหน้า 

 

ซึ่งตลาดบอนด์ญี่ปุ่นได้สะท้อนความวิตกกังวลล่วงหน้ามาตั้งแต่ต้นปีนี้ โดย บอนด์ยีลด์ญี่ปุ่นพุ่งไม่หยุด โดยเฉพาะกลุ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวพิเศษได้พุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุหลักมาจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น และปัญหาฐานะการคลังของประเทศที่ดูไม่สู้ดีนัก ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจและลดความต้องการซื้อพันธบัตรเหล่านี้ลง

 

ในช่วงปีนี้ บอนด์ยีลด์ JGB อายุ 20 ปี 30 ปี และ 40 ปี ต่างปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย JGB อายุ 30 ปี อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.185% เมื่อวันที่ 21 พ.ค. ส่วน JGB อายุ 40 ปี ทำสถิติสูงสุดที่ 3.675% เมื่อวันที่ 22 พ.ค. อย่างไรก็ตาม JGB อายุ 10 ปี (ซึ่งเป็นรุ่นอ้างอิงของตลาด) อัตราผลตอบแทนลดลงอยู่ที่ราว 1.555%

 

อีกประเด็นที่นักลงทุนทั่วโลกกังวล คือ ญี่ปุ่นถือพันธบัตรสหรัฐฯ มากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา หากต้นทุนทางการเงินของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นอาจต้องดึงเงินลงทุนกลับจากต่างประเทศ เพื่อบริหารหนี้ภายในประเทศที่สูงถึง 260% ของ GDP 

 

ทำให้โลกเกิดความกังวลว่า วิกฤติที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับความผันผวนของสงครามการค้าจากภาษีทรัมป์ยังไม่พอ อาจจะเจอซ้อนวิกฤติจากประเด็นเรื่องบอนด์ยีลด์ผันผวนด้วยหรือไม่? และจะจุดชนวนให้เกิด “โดมิโนทางการเงินล้มครืน” หรือไม่? 

 

นี่คือสถานการณ์บอนด์ยีลด์โลกผันผวนที่มาจากแรงเทขายของบอนด์สหรัฐฯ และญี่ปุ่นครับ 

 

หากปีนี้ GDP ของญี่ปุ่นยังคงหดตัวต่อเนื่องเหมือนในไตรมาสแรกที่ผ่านมา แต่ต้นทุนการเงินในระบบกลับสูงขึ้นจาก Yield ที่เพิ่มขึ้น นั่นอาจหมายถึง “เศรษฐกิจถดถอยและดอกเบี้ยสูง” อาจกระทบทั้งประเทศและลุกลามสู่ระบบการเงินโลก

 

ทั่วโลกจึงจับตาการประชุม BOJ ในการถอนคันเร่งว่า จะทำอย่างไรต่อไป? จะมีจุดเปลี่ยนสำคัญอะไรเกิดขึ้น? จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรือไม่? จะปรับลดการซื้อพันธบัตรหรือหยุดแทรกแซง? จะสามารถสื่อสารนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดได้หรือไม่? 

 

ทั้งนี้ ผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายนที่ผ่านมา ประกาศยืดเวลาแผนลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือการทำ QT โดยลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 4 แสนล้านเยนต่อไตรมาส ซึ่งจะทำให้ปริมาณการซื้อเหลือ 3 ล้านล้านเยนต่อเดือน ไปจนถึงเดือนมีนาคม และหลังจากนั้น BOJ จะชะลอการลดการซื้อพันธบัตรลงเหลือ 2 แสนล้านเยนต่อไตรมาส ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2569 จนถึงเดือนมีนาคม 2570 

 

การพุ่งขึ้นของยีลด์พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น ถูกตั้งคำถามว่า กำลังจุดชนวนความกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมาหรือไม่

 

นักวิเคราะห์จาก Macquarie เตือนว่า อาจถึงจุดเปลี่ยนที่นักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่อันดับสองของโลก โดยมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 533.05 ล้านล้านเยน หรือ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2024 จะตัดสินใจดึงเงินทุนจำนวนมหาศาลกลับจากสหรัฐฯ และตลาดอื่นๆ เข้ามาลงทุนในพันธบัตรญี่ปุ่นที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น

 

ด้าน อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ นักกลยุทธ์ระดับโลกของ Societe Generale เตือนว่า หากยีลด์ JGB ยังคงไต่ระดับสูงขึ้น อาจจุดชนวนหายนะของตลาดการเงินโลก (Global Financial Market Armageddon) โดยยีลด์ที่สูงขึ้นและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นกว่า 8% ตั้งแต่ต้นปี จะลดความน่าสนใจในการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนญี่ปุ่น โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่เคยมีเม็ดเงินจากญี่ปุ่นไหลเข้าไปจำนวนมาก

 

ส่วน “David Roche” นักกลยุทธ์ของ Quantum Strategy กล่าวว่า การไหลกลับของเงินทุนสู่ญี่ปุ่นเป็นสัญญาณของ ‘การสิ้นสุดความโดดเด่นของสหรัฐฯ’ และจะส่งผลให้สภาพคล่องทั่วโลกตึงตัวขึ้น ลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเหลือเพียง 1% และขยายเวลาของตลาดหมีในสินทรัพย์ส่วนใหญ่ออกไป

 

มุมมองของนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าผลกระทบของตลาดบอนด์ อาจไม่รุนแรงเท่าที่กังวล แต่จะเป็นการซึมยาวมากกว่าที่จะพังทลายอย่างรวดเร็ว

 

นักวิเคราะห์จาก Mizuho วิเคราะห์ว่า “มีแรงจูงใจค่อนข้างมากที่รัฐบาลจะลดการออกพันธบัตรระยะยาวพิเศษเหล่านี้ลงเพื่อทำให้อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (duration) สั้นลง”

 

ล่าสุดในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 40 ปีในเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าอุปสงค์อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 ส่งผลให้ยีลด์พันธบัตรอายุ 40 ปี ดีดตัวขึ้น 0.05% แตะระดับ 3.335% หลังจากพุ่งทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 3.689% เมื่อสัปดาห์ก่อน สำหรับตลาดพันธบัตรญี่ปุ่น มีมูลค่ากว่า 7.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

 

สถานการณ์ในครึ่งปีหลัง ตลาดยังวิตกกังวล Sell America ไม่จบง่ายๆ ด้วยความต่างของดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จุดชนวนความกังวลระลอกใหม่เกี่ยวกับการไหลออกของเงินทุนจากตลาดสหรัฐฯ และการล่มสลายของ Yen Carry Trade หรือกลยุทธ์การกู้เงินสกุลเยนที่มีดอกเบี้ยต่ำมาก ไปลงทุนต่อในสินทรัพย์สกุลเงินอื่นที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย และความปั่นป่วนที่อาจลุกลามไปทั่วตลาดการเงินโลก 

 

ขณะที่โลกยังมีอีกหลายวิกฤติที่รออยู่ในปีนี้ นั่นก็คือ 

 

  • สงครามใหญ่ “อิสราเอล-อิหร่าน” ที่ตอนนี้ยังคงทวีความรุนแรงขึ้น
  • วิกฤติกำแพงภาษีการค้าทั่วโลก สูงที่สุดในรอบ 100 ปีที่กดดันเงินเฟ้อและเศรษฐกิจทั่วโลก 
  • สงครามการค้า สหรัฐฯ-จีน-ญี่ปุ่น-ยุโรป และทั่วโลกยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งใกล้ครบกำหนดเลื่อนการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯ ในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้แล้ว ขณะเดียวกันรอฟังผลพิจารณาของศาลสหรัฐฯ ว่า ประธานาธิบดีใช้อำนาจเกินขอบเขตในการออกมาตรการภาษีฯ หรือไม่ 
  • วิกฤติหนี้สหรัฐฯ รุนแรง จน Bond Yield สหรัฐฯ ดีดสูงที่สุดในรอบ 20 ปี
  • ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้น +30% ภายในเวลา 2 เดือน 

 

แนวโน้มตลาดการลงทุนสินทรัพย์ไหนจะมีปั่นป่วนกว่าครึ่งปีแรกหรือไม่ คงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาล่วงหน้าได้ครับ แต่เราสามารถจัดพอร์ตให้มีแบบแผนรับมือพายุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ 

 

ในเวลาที่ตลาดจะพัง มันไม่เคยส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าเลยจริงไหมครับ ถ้าใครที่รู้สึกท้อกับกราฟแดงที่เต็มหน้าจอ คิดวนเวียนกับคำถามที่ว่า “เราควรลงทุนยังไงให้รอด? หรือ จะรักษาพอร์ตที่ติดลบอย่างไรดี?

ผมมีแนวคิดมาแชร์ที่จะช่วยให้คุณ “ไม่ต้องหนี” แต่จะ “อยู่รอด” อย่างมีสติและรอดอย่างมีแบบแผนครับ เรามาดูกัน

 

ในช่วงเวลาที่ตลาดการลงทุนทั่วโลกเต็มไปด้วยความผันผวน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยสูง เงินเฟ้อที่ยังควบคุมไม่ได้ รวมถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์หรือสงครามต่างๆ ที่ผมฉายภาพข้างต้นให้เห็นกันแล้ว

 

ในเมื่อเราต้องอยู่กับโลกแบบนี้ไปอีกหลายๆ ปีข้างหน้า สิ่งสำคัญที่สุดในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ คือ เราต้องสร้าง “Mindset” ที่แข็งแรงและแนวคิดระยะยาวที่จะพาเราให้รอด ไม่ใช่เพียงแค่เอาตัวรอดวันนี้แต่เพื่อให้พอร์ตของคุณสามารถเติบโตได้ในอนาคต

ความจริงที่เกิดขึ้นทุกครั้ง คือ วิกฤติมีอยู่จริง แต่ตลาดฟื้นตัวเสมอ 

หากเราย้อนดูประวัติศาสตร์การลงทุนในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า จะเกิดวิกฤติร้ายแรงขนาดไหน ตลาดหุ้นก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เสมอ เช่น

  • วิกฤติ Dot-Com ตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวใน 13 ปี ผลตอบแทน +24%
  • วิกฤติ Subprime ตลาดกลับมาได้ใช้เวลา 5 ปี
  • สงครามการค้า สมัยทรัมป์ยุคแรก ตลาดหุ้นฟื้นตัวใน 7 เดือน
  • โควิด-19 พบว่า ตลาดกลับมาบวกใน 8 เดือน
  • วิกฤติเงินเฟ้อสหรัฐฯ ตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวใน 2 ปี

จุดร่วมของทุกวิกฤติคือ “อารมณ์ความกลัว” ที่ทำให้นักลงทุนรีบเทขายสินทรัพย์ทิ้ง ทั้งที่ในระยะยาวแล้วตลาดจะปรับตัวขึ้นมาใหม่เสมอ

 

ผมอยากชี้ให้คุณเห็นว่า “Mindset” ที่แข็งแรงจะนำพาเราให้รอดทุกพายุที่ถาโถม เหมือนภาพใหญ่ที่ผมวาดให้เห็นกันไปแล้วข้างต้น มุมมองในช่วงครึ่งปีหลังของคุณอาจจะยังเหมือนมีหมอกปกคลุม แต่หากพิจารณาจากข้อมูลประวัติศาสตร์การลงทุนทั้ง 5 วิกฤติที่ผ่านมา ผมว่าทุกท่านจะเห็นแล้วว่าทุกวิกฤติมีจุดสิ้นสุด และฟื้นตัวได้หลังจากนั้นจริงๆ ดังนั้นคุณน่าจะพอมีคำตอบให้ตัวเองได้แล้วล่ะครับว่าจะรับมือกับพายุนี้อย่างไร ล่าถอยหรือตั้งมั่นด้วยสติ 

 

สุดท้ายนี้ผมขอให้คุณหมั่นฝึกฝนและสร้าง “Mindset” การลงทุนระยะยาวเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีความผันผวนในโลกลงทุนขึ้นมาจนกระตุ้นให้คุณเกิดอารมณ์ในการลงทุนขึ้นมาเมื่อใด พอร์ตของคุณจะไม่พังและกลับมาเป็นผู้ชนะในทุกสงครามการลงทุนด้วย Mindset ที่แข็งแรงครับ

The post จับสัญญาณเศรษฐกิจญี่ปุ่น ชนวนป่วนตลาดลงทุนโลก​จริงหรือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ตั้งแถวใหม่’ ในตลาดหุ้นไทย ท่ามกลาง ‘สงครามสภาพคล่อง’ https://thestandard.co/thai-stock-market-2025-liquidity-crisis/ Wed, 18 Jun 2025 01:06:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1086119 ภาพแสดงแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าในปี 2568 ขณะที่เงินไหลเข้าตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น

ช่วงนี้ซีรีส์ สงคราม ส่งด่วน หรือ Mad Unicorn (2025) ซึ […]

The post ‘ตั้งแถวใหม่’ ในตลาดหุ้นไทย ท่ามกลาง ‘สงครามสภาพคล่อง’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาพแสดงแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าในปี 2568 ขณะที่เงินไหลเข้าตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น

ช่วงนี้ซีรีส์ สงคราม ส่งด่วน หรือ Mad Unicorn (2025) ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวของนักธุรกิจหนุ่มที่ก่อร่างสร้างตัวจากศูนย์ ต่อสู้ในสงครามล้มยักษ์ จนกลายเป็นสตาร์ทอัพธุรกิจขนส่งด่วนยูนิคอร์นตัวแรกของไทย กำลังเป็นที่ฮือฮาและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย

 

สามประโยคของตัวละครที่ผมชอบมากจากเจ้าสัวคณินคือ

 

  1. ผมเป็นคนชอบยืนหัวแถว
  2. เวลาผมเห็นโอกาสทางธุรกิจอะไร ผมจะไปตั้งแถวใหม่ทันที
  3. ตรงไหนมีปัญหาตรงนั้นมีเงิน

 

สามประโยคนี้ตรงกับตลาดหุ้นไทยถึงสองในสามข้อ เพราะ

 

  • ใครซื้อตอนนี้เหมือนกับได้ยืนที่หัวแถว เพราะดัชนีปรับตัวลงมากว่า 20%YTD
  • ใครๆ ก็ทราบกันดีถึงสภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันซึ่งสะท้อนมายัง SET Index

 

คำถามคือ ตลาดหุ้นไทยตอนนี้เป็นโอกาสที่จะไปตั้งแถวใหม่รึยัง?

ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจไทยและการเมืองไทย ผมคิดว่าเราคงไม่ต้องคุยกันถึงสองประเด็นดังกล่าวกันแล้ว เพราะ ทุกคนต่างทราบกันดีว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยในความรู้สึกของใครหลายๆคนอาจจะแย่กว่าช่วงโควิดเสียด้วยซ้ำ

 

มากไปกว่านั้นประเด็นการเมืองไทย ตอนนี้หนักหน่วง ทั้งศึกใน (ประเด็นการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ประเด็นการยกเลิกแจกเงินหมื่นไปกระตุ้นเศรษฐกิจ) และ ศึกนอก (ประเด็นทรัมป์ และ ประเด็นไทย-กัมพูชา)

 

ในบทความนี้ ผมอยากชวนคุยถึงประเด็นที่สาม หรือ ประเด็นสภาพคล่อง ในตลาดหุ้นไทยมากกว่า ว่า ภาพปัจจุบันมีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

 

หนึ่ง สภาพคล่อง ‘หด’ หากมองย้อนดูตามสถิติ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในตลาดหุ้นไทย SET Index เคยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ณ ระดับ 5-6 หมื่นล้านบาท (ณ ปี 2020)

 

ในขณะที่ปัจจุบันหรือเดือนล่าสุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ตกลงมาเกือบครึ่งหนึ่ง! ใช่ครับ เหลือเพียง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อวันเท่านั้นเอง

 

สอง สภาพคล่อง ‘เปลี่ยน’ เมื่อมองในรายละเอียดของมูลค่าการซื้อขายต่อวันที่ลดลงหรือหายไป ผมพบว่ามูลค่าการซื้อขายต่อวันที่เกิดจากคนนั้นได้แปรเปลี่ยนกลายไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า Program Trading หรือที่หลายคนเรียกว่า High Frequency Trade ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นกว่า 45% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวันเรียบร้อยแล้ว

 

หรือพูดง่ายๆ ในหนึ่งวันของมูลค่าการซื้อขายของ SET Index ครึ่งหนึ่งคือมนุษย์ และอีกกว่าครึ่งหนึ่งคือ Program Trading

 

และสาม สภาพคล่อง ‘หนี’ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนและผู้อ่านคงจะคุ้นกันตลอดๆ ว่า ‘ฝรั่งขายหุ้นไทย’ หรือนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทย

 

และด้วย ณ ปัจจุบัน ที่กระแส Sell America รุนแรงมาก ทำให้ภาพของดอลลาร์อ่อนค่า (บาทแข็ง)

 

เงินบาทที่แข็งจึงเท่ากับเม็ดเงินที่ไหลเข้า ซึ่งก็ควรจะเข้ามาในหุ้นไทยด้วย อย่างไรก็ดี ฟ้าอาจจะยังไม่เปิด เพราะเงินที่ไหลเข้ามาก็ยังเลือกที่จะเข้ามาในพันธบัตรไทย (ตราสารหนี้) ไม่ใช่หุ้นไทย (ตราสารทุน)

 

ดังนั้นผมคิดว่าจะ ‘ตั้งแถวใหม่’ ในตลาดหุ้นไทยตอนนี้ต้องคิดให้ดี ต้องคิดให้รอบ จะอิงแค่ ‘เศรษฐกิจ’ หรือ ‘การเมือง’ เห็นทีคงไม่ได้เสียแล้ว เพราะ ‘สภาพคล่อง’ เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลมากต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

 

ณ ปัจจุบัน สิ่งที่เรารู้แน่นอนและควบคุมได้ในรอบนี้มีอยู่สามอย่างในความเห็นของผม

 

  1. ซื้อหุ้นไทยตอนนี้ได้ยืน ‘หัวแถว’ แน่ๆ เพราะตอนนี้นักลงทุนไม่ Cut Loss ก็ติดดอยอยู่
  2. ของ ‘ถูก’ หรือ Valuation ที่ ‘ถูก’ มีที่มาที่ไป และไม่ได้แปลว่าต้องขึ้นหรือปลอดภัย
  3. ตลาดหุ้นคือ ‘กระจกหน้า’ ที่มองไปข้างหน้าหรือ ‘อนาคต’

 

ดังนั้นไม่ว่าจะ ‘เศรษฐกิจ’ ‘การเมือง’ หรือ ‘สภาพคล่อง’ หากฟื้นตัวแม้จะเพียงเล็กน้อย ตลาดหุ้นที่เปรียบเสมือนกระจกหน้าจะวิ่งก่อนแน่นอน และวิ่งก่อนที่ตัวเลขจะรายงานออกมาด้วยซ้ำ

 

คนยืน ‘หัวแถว’ อาจหนาวๆ ตอนนี้ แต่ถ้ากำไร ‘หัวแถว’ ก็กินก่อนครับ 

 

ทบทวนกันให้ดี เพราะไม่ว่าจะยูนิคอร์นหรือคนประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการลงทุนหรือการทำธุรกิจต้อง ‘กล้าเสี่ยง’ ‘รอบคอบ’ เพราะเล่ห์เหลี่ยมเต็มไปหมดทั้งในเชิงธุรกิจและการลงทุน และคนที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าคนไม่สำเร็จเสมอ

 

เงินบาทที่แข็งจึงเท่ากับเม็ดเงินที่ไหลเข้า ซึ่งก็ควรจะเข้ามาในหุ้นไทยด้วย อย่างไรก็ดี ฟ้าอาจจะยังไม่เปิด เพราะเงินที่ไหลเข้ามาก็ยังเลือกที่จะเข้ามาในพันธบัตรไทย (ตราสารหนี้) ไม่ใช่หุ้นไทย (ตราสารทุน)

 

Program Trading หรือที่หลายคนเรียกว่า High Frequency Trade ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นกว่า 45% ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

 

หมายเหตุ:

  • การแสดงความเห็นให้คำแนะนำดังกล่าว ข้าพเจ้าขอเรียนว่าเป็นการกระทำในนามส่วนตัวของข้าพเจ้าเท่านั้น บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น

ภาพ: Dilok Klaisataporn / Shutterstock

The post ‘ตั้งแถวใหม่’ ในตลาดหุ้นไทย ท่ามกลาง ‘สงครามสภาพคล่อง’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ https://thestandard.co/trade-to-war-economy-crisis-analysis/ Sun, 15 Jun 2025 05:19:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1085245 ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจในยุคสงครามการค้า สะท้อนความเสี่ยงของนโยบาย

ในเดือนสิงหาคมปี 2531 อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเ […]

The post เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจในยุคสงครามการค้า สะท้อนความเสี่ยงของนโยบาย

ในเดือนสิงหาคมปี 2531 อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ‘อย่างแท้จริง’ คือ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศนโยบาย ‘เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า’ ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศกัมพูชาและส่งเสริมการทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศในกลุ่มอินโดจีน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านที่มักมีเหตุกระทบกระทั่งและรบกันที่เขตชายแดนมาตลอด

 

พล.อ. ชาติชาย ดำรงตำแหน่งนายกฯ ประมาณ 2 ปีครึ่ง และเศรษฐกิจในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2531 เติบโตเกิน 10% ต่อปี ถึง 3 ปีติดต่อกัน กลายเป็นประเทศที่เติบโต ‘สูงที่สุดในโลก’

 

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสะท้อนการเติบโตของ GDP และการเปลี่ยนแปลงนโยบายและการเมืองของประเทศไทย โดยการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงจากประมาณ 450 จุดในช่วงที่มีการประกาศนโยบายเป็นกว่า 1,700 จุด ในช่วงปี 2537 หรือเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4 เท่าในเวลา 5 ปีครึ่งเท่ากับผลตอบแทนทบต้นประมาณ 28% ต่อปี และกลายเป็น ‘ยุคทอง’ ของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย ที่ร้อนแรงเกินไปจนต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2540

 

เวลาผ่านมา 37 ปีแล้ว ขณะนี้ทุกอย่างในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถดถอยลงโดยเฉพาะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ – และความคิดหรือนโยบายเกี่ยวกับการเมืองการค้าและความสัมพันธ์กับนานาชาติรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งทางทหารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา และดูเหมือนว่าเราไม่ได้มีความคิดที่จะแก้ไขให้สงบลง คนหลายกลุ่มเรียกร้องให้ไทย ‘รบ’

 

ถ้าจะเปรียบไปก็คล้ายๆ กับว่าเรากำลัง ‘เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ’ ในยามที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นกำลังถดถอยลงอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน

 

บางทีผมก็คิดว่าโลกนี้ก็มี ‘วัฏจักร’ ของตัวเอง ช่วงที่ พล.อ. ชาติชาย ประกาศนโยบายของประเทศไทยนั้น โลกเองก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สงบสุขขึ้น สงครามกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ประเทศหลักๆ ส่วนใหญ่กำลังเปิดประเทศทำการค้าขายกันอย่างกว้างขวาง อุดมการณ์ทางการเมืองเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความคิด ‘ชาตินิยม’ หรือ ‘สังคมนิยม’ ที่พูดว่าเป็น ‘ซ้าย’ หรือ ‘ขวา’ เริ่ม ‘ตกยุค’ มีแต่การพัฒนาการทางเศรษฐกิจให้เติบโตโดยอาศัยระบบทุนนิยมและการเปิดประเทศค้าขายกันอย่างเสรีทั่วโลกเท่านั้นที่เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จและสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับมวลมนุษยชาติ

 

แต่แล้ว ‘วัฏจักร’ แห่งความรุ่งเรือง ก็เริ่มเปลี่ยนไป ย้อนหลังไปหลายปี โลกก็เริ่มมีสงครามใหญ่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่สงครามยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งดำเนินต่อมาถึงวันนี้ก็กว่า 3 ปีแล้วที่ยังหาจุดจบไม่ได้ ต่อมาก็เกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส และล่าสุดก็คือ สงครามระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่เพิ่งโจมตีทางอากาศต่อกันเมื่อ 2-3 วันมานี้เอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร

 

นอกจากสงครามจริงๆ แบบใช้อาวุธห้ำหั่นกันแล้ว โลกยังเริ่มเห็น ‘สงครามยุคใหม่’ ที่รัฐชาติต่อสู้กันด้วยการค้าและการแข่งขันกันทางด้านเทคโนโลยี เพราะการบอกว่าใครหรือชาติไหนจะเป็นผู้ชนะและมีอำนาจในโลกยุคใหม่นั้น ระดับของความสามารถทางเศรษฐกิจหรือ GDP และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คือสิ่งที่จะตัดสิน และนี่ก็คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น มันคือ ‘สงครามการค้า’ ที่อาศัยการตั้งหรือกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะทำให้ประเทศได้เปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่จะทำให้ได้ชัยชนะและเป็นมหาอำนาจของโลกต่อไปในอนาคต

 

สงครามการค้าระหว่างประเทศนั้น สุดท้ายก็ต้องสะท้อนไปยังเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ว่าที่จริง ช่วงที่ ‘เริ่มประกาศสงคราม’ โดยประธานาธิบดีทรัมป์ ดัชนีหุ้นหลักๆ ของอเมริกาก็ตกลงมาอย่างแรง ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า สงครามนั้น มีแต่จะทำลายล้าง เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจรุนแรง โอกาสที่ทำสงครามแล้วชนะและทำให้ประเทศร่ำรวยขึ้นซึ่งส่งผลให้ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้นไปนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยใน ‘โลกยุคใหม่’ พูดง่ายๆ สงครามในโลกยุคใหม่นั้น มีแต่ผู้เสียหายทั้งฝ่ายผู้แพ้และผู้ชนะ ไม่เหมือนในอดีตที่ผู้ชนะมักจะร่ำรวยจากการได้ครอบครองทรัพยากรและความมั่งคั่งจากผู้แพ้

 

อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ หลังจากการประกาศสงครามการค้า ดัชนีหุ้นของอเมริกาเริ่มจะปรับตัวกลับขึ้นมาบ้าง หุ้นหลักๆ บางตัวกลับขึ้นมาเกือบเท่าเดิมก่อนที่จะตก แต่หลายตัวก็ยังแย่อยู่มาก อาทิเช่นหุ้นอย่างเทสลาที่ประสบกับการตกต่ำลงของยอดขายและกำไรที่เป็นผลส่วนหนึ่งจากเรื่องของสงครามการค้า 

 

เราคงต้องดูกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้ว เศรษฐกิจและตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรเมื่อสงครามการค้าดำเนินต่อไปยาวนานพอและเริ่มเห็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นของคู่สงครามแต่ละฝ่าย

 

มองในภาพที่เล็กลงมาในระดับอุตสาหกรรมและตัวหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เราก็เริ่มเห็น ‘สงคราม’ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมาย เริ่มตั้งแต่ ‘สงครามรถไฟฟ้า’ ที่มีการประกาศลดราคาขายลงแบบ ‘บ้าคลั่ง’ คืออาจจะต่ำกว่าต้นทุนโดยเฉพาะในรถจากจีน ซึ่งมองดูแล้ว การลดราคาแบบนั้นก็จะต้องโดนคู่แข่งประกาศลดราคาตามเพื่อรักษาตลาด สุดท้าย ทุกคนก็เสียหายกันหมดโดยไม่มีใครชนะ และสุดท้ายก็จะมีบริษัทหรือยี่ห้อที่ต้อง ‘เจ๊ง’ เพราะอ่อนแอกว่า

 

ในประเทศไทยเองนั้น เราก็มี ‘สงครามส่งด่วน’ ซึ่งก็เป็นสงครามระหว่างผู้ให้บริการส่งพัสดุหรือสินค้าซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตสูงมาก และแทบทุกบริษัทต่างก็พยายามแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดเพื่อที่จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการ ‘ลดราคาค่าส่งอย่างบ้าระห่ำ’ ผลก็คือ ทุกคนเจ็บหนัก ขาดทุนกันมากมายและบางรายก็ ‘เจ๊ง’ ไปเลย

 

ในภาพยนตร์ซีรีส์ที่กำลังดังมากในเน็ตฟลิกซ์เรื่อง ‘สงครามส่งด่วน’ นั้น อาจจะเห็นว่ามี ‘ผู้ชนะ’ ที่จะเจริญรุ่งเรืองต่อไป แต่ในชีวิตจริงผมคิดว่าทุกคนต่างก็เจ็บ ‘ปางตาย’ และอนาคตผมก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ผมคิดแต่ว่า สงครามนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ทุกคนเจ็บและยากลำบาก ซึ่งในที่สุดก็มักจะสะท้อนลงมาที่หุ้น

 

เช่นเดียวกัน สงครามล่าสุดอีกกรณีหนึ่งที่ประกาศออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือสิ่งที่สื่อพาดหัวกันว่าเป็น ‘สงครามสุกี้’ ซึ่งก็เป็นการประกาศลดราคาอาหารโดยการทำโปรโมชั่นขายสุกี้แบบบุฟเฟต์ที่ราคาต่ำมากของหลายบริษัท ซึ่งส่งผลให้ร้านอาหารแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ปรับลดราคาต่างก็เหนื่อยกันไปหมด เพราะขายอาหารได้น้อยลงมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ อาหารภัตตาคารนั้น เป็นคู่แข่งกันทั้งนั้น แม้ว่าจะไม่ได้ขายสุกี้ก็ถูกกระทบไปด้วย และหลายร้านก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องทำโปรโมชั่น สุดท้ายก็อาจจะกลายเป็นสงครามอาหารภัตตาคาร ที่อาจจะทำให้บริษัทที่อ่อนแอต้อง ‘เจ๊ง’ และออกจากตลาดไป

 

ข้อสรุปของผมโดยรวมก็คือ ในช่วงนี้ดูเหมือนว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะของความปั่นป่วน โลกมุ่งเข้าสู่การสู้รบแข่งขันกันรุนแรงขึ้นในทุกด้าน ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหรือเป็นหายนะทั้งฝ่ายที่แพ้หรือชนะ มีโอกาสน้อยมากที่ผู้ชนะจะ ‘กินรวบ’ หรือได้ประโยชน์จากสงคราม ในขณะที่ผู้แพ้นั้นมักจะเจ็บหนัก บางทีถึงตาย ดังนั้น หากมองในสายตาของนักลงทุนแล้ว การลงทุนในสถานการณ์ของสงครามจึงเป็นความเสี่ยงที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรเป็นและมีโอกาสเสียหายหนัก ถ้าไม่จำเป็นก็ควรจะหลีกเลี่ยงหรือรอ

 

ภาพ: Douglas Rissing / Getty Images 

อ้างอิง:

The post เปลี่ยนสนามการค้าให้เป็นสนามรบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจไทย OK // Not OK: จากความสิ้นหวังสู่หนทางแห่งการปฏิรูป https://thestandard.co/thai-economy-reform-hope-pathway/ Sun, 15 Jun 2025 04:14:45 +0000 https://thestandard.co/?p=1085232 แผนภาพ เศรษฐกิจไทย กับแนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความหวังและอนาคตที่ยั่งยืน

เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับภาวะที่หลายคนมองว่า ‘ […]

The post เศรษฐกิจไทย OK // Not OK: จากความสิ้นหวังสู่หนทางแห่งการปฏิรูป appeared first on THE STANDARD.

]]>
แผนภาพ เศรษฐกิจไทย กับแนวทางการปฏิรูปเพื่อสร้างความหวังและอนาคตที่ยั่งยืน

เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับภาวะที่หลายคนมองว่า ‘สิ้นหวัง’ ความสิ้นหวังนี้ไม่ได้เกิดจากความไม่รู้ปัญหาหรือไร้หนทางแก้ไข แต่มาจากองค์ประกอบพื้นฐานของ ‘ความหวัง’ ที่เปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทอดผ่านความมืดเผยให้เห็นทาง และสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าการเริ่มออกเดิน แม้จะต้องผ่านความยากลำบาก แต่จะพาเราไปถึงแสงนั้นได้ในที่สุด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจไทย องค์ประกอบทั้งสามนี้กลับพร่าเลือน จึงเป็นที่มาของความรู้สึกสิ้นหวังของผู้คนจำนวนมาก

 

รากเหง้าของความสิ้นหวัง: สามองค์ประกอบที่ขาดหายไป

แนวคิดทางจิตวิทยาระบุว่าความหวังประกอบด้วย 3 สิ่งสำคัญ ได้แก่ ‘เป้าหมาย x หนทาง x การขับเคลื่อน’ ที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีโอกาสที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ ในบริบทเศรษฐกิจไทย องค์ประกอบเหล่านี้กลับไม่ชัดเจน:

 

  1. เป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ชัดเจน (Unclear Shared Goals): ผู้คนในสังคมต่างมีเป้าหมายของ ‘แต่ละคน’ ไม่ใช่ ‘เป้าหมายร่วม’ สิ่งนี้ทำให้การออกแบบนโยบายสาธารณะเป็นไปได้ยากมาก ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบกฎจราจรที่มุ่งตอบสนองเป้าหมายส่วนตัวของแต่ละคนจะนำไปสู่ความวุ่นวาย แต่หากออกแบบกฎเพื่อเป้าหมายของการใช้ถนนร่วมกันจะสามารถทำได้ หากประเทศขาดเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน ปัจจัยในการสร้างความหวังก็จะถูกลดทอนลง เหมือนไม่มีจุดรวมใจรวมพลังให้ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน

 

เราเห็นตัวอย่างประเทศอื่นที่มีเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน เช่น จีนมีเป้าหมาย ‘Common Prosperity’ ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างชาติ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเทศและอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แม้แต่ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ Lost Decades ก็มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะต้องหลุดพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวให้ได้ (และพวกเขาก็ทำได้แล้ว) หรือแม้แต่สหรัฐฯ เองภายใต้การนำของทรัมป์ก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ ‘Make America Great Again’ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการมีเป้าหมายร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

 

  1. หนทางไม่ชัดเจน (Lack of Clear Pathways): เมื่อไม่มีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน ผู้คนก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน คำแนะนำที่มีต่อทางออกของเศรษฐกิจไทยที่มีอยู่มักจะมาจากจุดตั้งต้นที่แตกต่างกัน หรือเพื่อเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ไม่รู้ว่าจะเลือกหนทางใด สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเรายังไม่เห็น ‘หนทาง’ ที่จะไปร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะไม่มีหนทาง หรือมีหนทางมากเกินไปจนไม่รู้ว่าหนทางใดตอบโจทย์

 

  1. กระบวนการไม่มีพลัง (Lack of Powerful Processes): เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจน และหนทางหลากหลาย กระบวนการต่างๆ ก็ต่างคนต่างทำ การกระทำเหล่านี้อาจสวนทางกัน หรือไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้กระบวนการโดยรวม ‘ไม่มีพลัง’ ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ประเทศไม่มีเป้าหมายร่วมกันที่ใหญ่พอ ที่จะบอกได้ว่าผู้ดำเนินนโยบายสาธารณะและคนไทยทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการช่วยกันพาประเทศออกจากสถานการณ์ที่เปรียบเหมือนอยู่ในถ้ำ

 

หนทางสู่การปฏิรูปและสร้างเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์ความอยู่ดีกินดี มีสมดุล

การปฏิรูปเป็นเรื่องที่ยากกว่าการพัฒนา เพราะการพัฒนาคือการที่ทุกคนได้ไปพร้อมกับสังคมโดยรวม แต่การปฏิรูปหมายถึงการที่มีคนได้และคนเสีย แม้โดยรวมแล้วจะได้รับประโยชน์ ที่ผ่านมาเราเสียเวลาไปกับการคิดถึง ‘การจัดการองค์ความรู้’ ในการปฏิรูป แต่กลับไม่ได้ใช้เวลาไปกับ ‘การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย’ ในกระบวนการปฏิรูป โจทย์ในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องของความไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร แต่คือ ‘รู้แล้วทำไมทำไม่ได้’

 

โครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจ (ซึ่งหมายถึงแรงจูงใจ กฎระเบียบ และกลไก) มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันกำหนดพฤติกรรมและทิศทางวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ หากเราต้องการให้คนไทยมีนวัตกรรม แต่กลับส่งเสริมการผูกขาด คนในระบบเศรษฐกิจก็จะไม่จำเป็นต้องคิดค้นสิ่งใหม่ เพียงแค่แสวงหาความสัมพันธ์เพื่ออำนาจเหนือตลาดเท่านั้น หรือหากต้องการให้แรงงานไทยเพิ่มผลิตภาพ แต่สุดท้ายแล้วคนที่มีความก้าวหน้าคือคนที่มีเส้นสาย สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ‘โครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจ’ หรือ ‘แรงจูงใจ’ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้คนในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่คน แต่เป็นระบบกลไกที่วางแรงจูงใจให้คนไทยมีพฤติกรรมแบบนี้

 

การปฏิรูปทางเศรษฐกิจคือการปรับโครงสร้างเชิงสถาบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง การปฏิรูปคือ ‘Collective Action’ ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของคนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ความท้าทายของการปฏิรูปคือความไม่เสมอกันสองประการ 1) ความไม่เสมอกันระหว่างผู้ได้และผู้เสียประโยชน์: การปฏิรูปมักมีผู้เสียประโยชน์ในระยะสั้น ทั้งกลุ่มผลประโยชน์เดิมที่กลัวสูญเสียสถานะและอิทธิพล และผู้ที่ขาดความสามารถในการปรับตัว 2) ความไม่เสมอกันระหว่างเงื่อนเวลาในการจ่ายต้นทุนกับการรับประโยชน์: ต้นทุนมักจะต้องจ่ายทันที แต่ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นในอนาคตและมีความไม่แน่นอน ซึ่งทำให้คนสนับสนุนการปฏิรูปน้อยลง แม้กระทั่งคนที่น่าจะได้รับประโยชน์ก็ตาม นอกจากนี้ วัฏจักรทางการเมืองมักสั้นกว่าระยะเวลาที่การปฏิรูปจะเห็นผล ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายมีแรงจูงใจเน้นนโยบายระยะสั้นมากกว่าการปฏิรูปที่ต่อเนื่องยาวนาน

 

ดังนั้น การปฏิรูปที่สัมฤทธิผลได้จึงควรมีคุณลักษณะ 3 ประการเพื่อเอาชนะความไม่เสมอกันเหล่านี้ 1) การปฏิรูปต้องมาจากการยินยอมและการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง: ต้องมีกลไกสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างผู้ปฏิรูปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสื่อสารที่ดีช่วยปรับแรงจูงใจและสร้างการสนับสนุน 2) ผู้ปฏิรูปมีแรงจูงใจและอำนาจในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง แรงจูงใจควรอยู่เหนืองานวัฏจักรเศรษฐกิจและการเมือง และผู้ขับเคลื่อนต้องมีอำนาจในการประสานงาน คานอำนาจกลุ่มผลประโยชน์ และมีความน่าเชื่อถือ 3) มีเครื่องมือปฏิรูปที่หลากหลาย ทรัพยากรเพียงพอ และหน่วยปฏิบัติการที่มีกำลังขับเคลื่อน ต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบท มีเงินทุนสนับสนุนที่ไม่กระทบฐานะการคลัง และหน่วยงานระดับปฏิบัติการที่มีแรงจูงใจและศักยภาพ

 

จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผมเชื่อว่าสังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ภาวะที่มี ‘ความเข้าใจร่วมกัน’ ว่าการยอมสละผลประโยชน์ระยะสั้นเพื่อกระจายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจให้คนส่วนใหญ่ จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและยั่งยืนกว่าในระยะยาว การยอมให้เกิดการปฏิรูปจะเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจเติบโตและกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง เป็นการสร้าง ‘เค้กก้อนที่ใหญ่ขึ้น’ แทนที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งจากก้อนเค้กที่ขนาดเท่าเดิม

 

หนทางข้างหน้า: ความหวังที่จับต้องได้

หนทางสู่การสร้างความหวังเริ่มต้นจาก ‘สมการความหวัง’ ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น นั่นคือ การตั้งเป้าหมายร่วม ว่าพวกเราทุกคนอยากเห็นเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือต้องเกิดจากกลไกการมีส่วนร่วม และทุกคนต้องวาดฝัน ‘หน้าตาของเศรษฐกิจไทยของทุกคนร่วมกัน’

 

ท่ามกลางความท้าทายและความสิ้นหวังที่เกิดขึ้น ส่วนตัวแล้วผมยังคงมีความหวัง หวังว่าจะได้เห็นระบบเศรษฐกิจไทยกลายเป็นประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงในช่วงชีวิตนี้ จากการคำนวณโดยคร่าว เศรษฐกิจไทยจะต้องเติบโตได้เฉลี่ย 3.6% ต่อปี ในช่วง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นไปได้ การเพิ่มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอีก 1% ยังอยู่ในวิสัยที่ทำได้ แต่ต้อง ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ นั่นคือต้องมีแบบจำลองในการพัฒนาประเทศใหม่

 

การจะไปถึงจุดนั้นได้ ผมเชื่อว่าประเทศไทยจะต้องสร้างระบบเศรษฐกิจที่ ‘สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน’ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยการสร้าง ‘3 ความเท่าเทียม’ ให้กับคนไทยทุกคน ได้แก่ 1) สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการ ‘เข้าถึงทรัพยากร’ 2) สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการ ‘เข้าสู่ตลาด’ และ 3) สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันใน ‘การแข่งขัน’

 

ความเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกัน: จากปัญหาไปสู่การลงมือทำ

ปัญหาปัจจุบันของเราไม่ใช่ไม่รู้ปัญหาและไม่ใช่ไม่รู้ทางออก แต่ปัญหาคือ ‘แล้วเราจะลงมือทำกันได้หรือยัง’ ด้วยความเข้าใจในปัญหา โอกาสในการปฏิรูปที่เปิดกว้าง และความตระหนักร่วมกันว่าการเสียสละระยะสั้นเพื่อประโยชน์ระยะยาวคือหนทางสู่ ‘เค้กก้อนที่ใหญ่ขึ้น’ ทำให้เรามีเหตุผลเพียงพอที่จะมีความหวังและลงมือทำร่วมกันเพื่ออนาคตของเศรษฐกิจไทยที่สมดุลและยั่งยืน

 

ความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญมีลักษณะเป็นปัญหาเชิงระบบที่เชื่อมโยงหลายมิติ และไม่สามารถจัดการได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยลำพัง การสอดประสานบทบาท นโยบาย และกลไกของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายโดยรวม ปัญหาปัจจุบันคือ ‘ปัญหาร่วม’ ที่มีความท้าทายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ ดังนั้น ทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันที่จะทำให้เศรษฐกิจรอดพ้นปัญหาที่กำลังเป็นอยู่ไปได้ เรามักคิดว่านี่เป็นงานสาธารณะ เป็นหน้าที่ของคนอื่น แต่คำว่า ‘สาธารณะ’ หมายถึง ‘พวกเราทุกคน’ 

 

สุดท้ายนี้ ผมขอทิ้งคำถามชวนผู้อ่านหาคำตอบว่า ในบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่นั้น ท่านจะเริ่ม ‘ลงมือทำ’ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายร่วมของประเทศไทยให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร เพื่อเราจะได้ร่วมกันเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยจาก Not OK // OK.

The post เศรษฐกิจไทย OK // Not OK: จากความสิ้นหวังสู่หนทางแห่งการปฏิรูป appeared first on THE STANDARD.

]]>