Wealth Management – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 16 Jun 2025 00:11:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 KKP จับมือ GSAM สู้ศึก Wealth Management หวังโตเฉลี่ย 16% ไปอีก 5 ปี ดัน AUM ปีนี้ทะลุ 1 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/kkp-gsam-wealth-management-aum-1-trillion-baht/ Mon, 16 Jun 2025 00:11:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1085344 ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ จาก KKP จับมือ GSAM ขยายบริการบริหารความมั่งคั่งระดับโลก

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตในระดับต่ำเพียง 2-3% ธุ […]

The post KKP จับมือ GSAM สู้ศึก Wealth Management หวังโตเฉลี่ย 16% ไปอีก 5 ปี ดัน AUM ปีนี้ทะลุ 1 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ จาก KKP จับมือ GSAM ขยายบริการบริหารความมั่งคั่งระดับโลก

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตในระดับต่ำเพียง 2-3% ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง หรือ Wealth Management กลายเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่แข่งขันดุเดือดที่สุด ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่า 10% ต่อปี สวนทางกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินแทบทุกแห่งต่างกระโดดเข้ามาเพื่อชิงส่วนแบ่งจากเค้กก้อนนี้

 

ล่าสุด กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP ได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับ Goldman Sachs Asset Management (GSAM) ผู้จัดการกองทุนระดับโลก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและหวังจะรักษาอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่สูงถึง 16% ต่อปีไว้ให้ได้

 

ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนลูกค้าบุคคล บล.เกียรตินาคินภัทร (มหาชน) ยอมรับว่าการประกาศความร่วมมือครั้งนี้อาจจะดูเหมือนเป็นผู้เล่นรายท้ายๆ ในตลาด แต่สำหรับ KKP ที่เชื่อมั่นในโลกาภิวัตน์และตลาดทุนที่เปิดกว้าง การเลือกพันธมิตรที่ใช่และมีความร่วมมือในเชิงลึกคือสิ่งสำคัญที่สุด

 

“ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย การเติบโต 16% ต่อปีที่ทำมาตลอดคงเป็นเรื่องยากในอนาคต ความจำเป็นของการมีพันธมิตรจึงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ” ณฤทธิ์กล่าว

 

รักษาการเติบโต 16% ต่อปี สู่ AUM 1 ล้านล้านบาท

 

ปัจจุบันธุรกิจ Asset Management ของ KKP มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) เกือบ 9 แสนล้านบาท แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะเผชิญภาวะ K-Shape Recovery ที่ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ด้านบน แต่สำหรับธุรกิจ Wealth Management ที่โฟกัสลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ ยังคงเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่ง ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่โตราว 4-6%

 

“เราคาดหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้การเติบโตของ AUM ที่ 16% ต่อปี สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนในอีก 5 ปีข้างหน้า และน่าจะทำให้เราเห็น AUM แตะระดับ 1 ล้านล้านบาทได้ภายในปีนี้”

 

ปัจจุบันพอร์ตของลูกค้า KKP มีการลงทุนในต่างประเทศ (Global Exposure) เพียง 20% ซึ่งณฤทธิ์มองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะนักลงทุนไทยไม่ควรมี Home Bias ที่สูงเกินไป

 

“คำแนะนำการลงทุนที่สำคัญที่สุดคือ Diversify, Discipline, Systematic หรือการกระจายความเสี่ยงอย่างมีวินัยและเป็นระบบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกผสมผสานอยู่ในบริการ DPM (Discretionary Portfolio Management) ของเรา”

 

การจับมือกันระหว่าง KKP และ GSAM ในครั้งนี้ จึงไม่ใช่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันที่ดุเดือด แต่คือการยกระดับการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนของนักลงทุนไทยในยุคโลกาภิวัตน์ 

 

5 เทรนด์เปลี่ยนโลกบริหารความมั่งคั่งไทย

 

การตัดสินใจครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นท่ามกลาง 5 เทรนด์ใหญ่ที่กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์การลงทุนของคนไทยอย่างสิ้นเชิง

 

  1. ลดการยึดติดกับตลาดในประเทศ (Reduced Home Bias) ในอดีตคนไทยอาจลงทุนกระจุกตัวในประเทศ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนเริ่มตระหนักว่าตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนเพียง 0.3% ของตลาดโลก การกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  2. การส่งต่อความมั่งคั่งระหว่างรุ่น (Generational Wealth Transfer) ระบบครอบครัวและธุรกิจแบบ ‘กงสี’ ของไทยกำลังเผชิญความท้าทาย เมื่อความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นและต้องมีการส่งต่อภายใต้บริบทของภาษีมรดก
  3. ความไม่แน่นอนของภาษีนอกประเทศ (Offshore Tax Uncertainty) เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต้องวางแผนอย่างรัดกุมมากขึ้น เพราะภาษีเป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่สำคัญ
  4. ทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย นอกเหนือจากหุ้นและตราสารหนี้ ปัจจุบันนักลงทุนเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) ที่ซับซ้อนขึ้น เช่น Hedge Fund และ Private Market ทำให้ธุรกิจครอบครัวเริ่มปรับโมเดลการลงทุนคล้าย Endowment Fund ของมหาวิทยาลัยชั้นนำ
  5. การเข้ามาของผู้เล่นระดับโลก (Coming of International Players) ธนาคารระดับโลกต่างเข้ามาเปิดสำนักงานในไทยมากขึ้น ทำให้การแข่งขันเพื่อให้บริการลูกค้ากลุ่มความมั่งคั่งสูงยิ่งทวีความรุนแรง

 

“วันนี้แทบไม่เหลือข้อแตกต่างระหว่างการใช้บริการสถาบันการเงินในประเทศอย่างเรากับธนาคารต่างชาติ ทั้งในแง่ทางเลือกสินทรัพย์และการลงทุนตรงในต่างประเทศ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงต้องมีพันธมิตรระดับโลก” ณฤทธิ์กล่าวเสริม

 

ความร่วมมือระหว่าง KKP และ GSAM

 

ความร่วมมือระหว่าง KKP และ GSAM ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การนำผลิตภัณฑ์มาขาย (Product Partnership) แต่เป็นการทำงานร่วมกันในแนวคิด ‘The Power of Two, One Philosophy of Wealth’ โดยมี 3 เสาหลักสำคัญคือ

 

  1. ที่ปรึกษาการลงทุน (Advisory) ในยุคที่ตลาดไทยถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยระดับโลกเป็นหลัก การมีมุมมองเชิงลึกจากทีมของ GSAM จะช่วยให้คำแนะนำการลงทุนของ KKP เฉียบคมและทันท่วงทียิ่งขึ้น
  2. กลยุทธ์การลงทุนหลายสินทรัพย์ (Multi-Asset Strategy) KKP จะนำเสนอบริการบริหารพอร์ตการลงทุนแบบดุลยพินิจ (DPM) ที่ไม่ได้มองแค่การเลือกสินทรัพย์เป็นชิ้นๆ แต่เป็นการจัดสรรการลงทุนในทุกประเภทสินทรัพย์อย่างเป็นระบบเพื่อบริหารความเสี่ยง โดยสำหรับลูกค้ากลุ่มความมั่งคั่งสูง (HNW/UHNW) จะเป็นรูปแบบพอร์ตการลงทุนที่ปรับตามคำแนะนำของ GSAM ส่วนลูกค้ากลุ่ม Mass Affluent จะอยู่ในรูปแบบกองทุนรวมตามระดับความเสี่ยง
  3. ธุรกิจสถาบัน (Institutional Business) ต่อยอดความร่วมมือไปยังกลุ่มลูกค้าสถาบัน

 

ด้าน ซาบรีนา แกน Managing Director, Goldman Sachs Asset Management กล่าวว่า “เรามองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจด้านความมั่งคั่งในประเทศไทย ซึ่งนักลงทุนกำลังมองหาโอกาสการลงทุนในระดับโลกมากขึ้น ความร่วมมือนี้ซึ่งผสานศักยภาพด้านการลงทุนระดับโลกของ Goldman Sachs Asset Management เข้ากับความเชี่ยวชาญในตลาดท้องถิ่นของ KKP จะเปิดโอกาสให้เราร่วมกันนำเสนอทางเลือกการลงทุนที่แตกต่างให้แก่นักลงทุนในประเทศไทย”

 

Goldman Sachs Asset Management จะทำหน้าที่ให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนด้านกลยุทธ์การลงทุนแบบหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-Asset Strategy) ให้แก่ KKP เพียงรายเดียวเท่านั้นในประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายยังอยู่ระหว่างการหารือถึงความร่วมมือในด้านอื่นเพิ่มเติม รวมถึงการที่ KKP อาจจะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์การลงทุนอื่นที่บริหารจัดการโดย Goldman Sachs Asset Management ด้วย

 

ปัจจุบันภูมิทัศน์ของธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนให้ความสำคัญกับการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น คนรุ่นใหม่เริ่มมีบทบาทในการบริหารความมั่งคั่งของครอบครัว และความสนใจในสินทรัพย์ทางเลือกกำลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ประเด็นด้านภาษีของเงินลงทุนในต่างประเทศและการแข่งขันจากผู้เล่นต่างชาติก็ส่งผลต่อแนวทางการจัดพอร์ตของนักลงทุนไทย 

The post KKP จับมือ GSAM สู้ศึก Wealth Management หวังโตเฉลี่ย 16% ไปอีก 5 ปี ดัน AUM ปีนี้ทะลุ 1 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ญี่ปุ่นปลูกฝังค่านิยมใหม่ วางแผนการเงินตั้งแต่อายุ 19 ปี เมื่อสังคมสูงวัยกดดันคนหนุ่มสาว และคนรุ่นใหม่คืออนาคตของตลาดหุ้นญี่ปุ่น https://thestandard.co/japan-financial-planning/ Sat, 24 May 2025 08:11:04 +0000 https://thestandard.co/?p=1078021 japan-financial-planning

เมื่อพูดถึงการลงทุน ทัศนคติของคนญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลง […]

The post ญี่ปุ่นปลูกฝังค่านิยมใหม่ วางแผนการเงินตั้งแต่อายุ 19 ปี เมื่อสังคมสูงวัยกดดันคนหนุ่มสาว และคนรุ่นใหม่คืออนาคตของตลาดหุ้นญี่ปุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
japan-financial-planning

เมื่อพูดถึงการลงทุน ทัศนคติของคนญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเกิดจากการที่เงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง นำมาสู่นโยบายที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่ปลูกฝังให้หนุ่มสาววางแผนทางการเงินและลงทุนตั้งแต่อายุ 19 ปี

 

ปัจจุบันหนุ่มสาวญี่ปุ่นนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งถือว่าเปลี่ยนจากแนวคิดอนุรักษ์นิยมเดิมๆ จากรุ่นพ่อแม่และปู่ย่าตายายที่มักนิยมออมเงินสด 

 

รัฐบาลญี่ปุ่นมองว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลงทุนนี้จะช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้ฟื้นตัว 

 

“ฉันเริ่มลงทุนเพราะสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่น ทำให้ฉันกังวลจริงๆ ว่าเงินบำนาญของเราจะเพียงพอเมื่อแก่ตัวลงไปหรือไม่” อาสึกะ โคอิเซกิ นักศึกษาอายุ 19 ปีจากมหาวิทยาลัยเคโอในโตเกียว กล่าว 

 

“แม้เงินออมไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้น แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไปในแง่ที่ว่ามูลค่าของเงินออมอาจจะผันผวนได้ ”

 

โคอิเซกิกล่าวว่า ความปั่นป่วนของตลาดเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้มาตรการภาษี ทำให้เธอตระหนักถึงความเสี่ยงโดยธรรมชาติของการลงทุนมากขึ้น

 

“ภาษีสหรัฐฯ ที่ออกมา เพิ่มแรงกดดันทั้งเชิงจิตวิทยา ทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง แต่ฉันจะลงทุนต่อไปแทนที่จะฝากเงินไว้ในบัญชีธนาคาร”

 

มีชุดข้อมูลของ Investment Trusts Association น่าสนใจ ระบุว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนรวม หุ้น และตราสารหนี้ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าหรือมากกว่า 36% เมื่อปีที่แล้ว 2024 จากในปี 2016 ที่มีเพียง 13% สำหรับผู้ลงทุนในวัย 30 ปี เองก็เพิ่มขึ้นเป็น 42.5% จาก 24%

 

แรงผลักดันในการลงทุนมาจากความกังวลว่าเงินบำนาญที่ดำเนินการโดยรัฐอาจไม่เพียงพอ สังคมญี่ปุ่นก็สะท้อนถึงสังคมจีนเช่นกัน ซึ่งคนหนุ่มสาวหลายสิบล้านคนเลือกที่จะไม่รับเงินบำนาญจากรัฐบาล  เนื่องจากพวกเขาคาดว่าเงินจะหมดลง

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นในแวดวงการลงทุนของญี่ปุ่นเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลผลักดันให้ปรับปรุงความรู้ทางการเงินในโรงเรียน และความพยายามที่จะนำเงินประมาณ 1 ล้านล้านเยนที่อยู่ในบัญชีธนาคารไปลงทุนในตลาดหุ้น 

 

โดยหนึ่งในความคิดริเริ่มที่สำคัญคือการขยายโครงการออมเพื่อการลงทุนที่ได้รับการยกเว้นภาษีที่เรียกว่าโครงการ Nippon Individual Savings Account (NISA) ซึ่งเป็นโครงการยกเว้นภาษีสำหรับการลงทุนขนาดเล็กเริ่มตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อสร้างวัฏจักรการเติบโตทางเศรษฐกิจ 

 

แรงผลักดันดังกล่าวส่งผลให้จำนวนบัญชี NISA ของผู้คนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 7.4 ล้านบัญชี ณ เดือนกันยายน 2024 จาก 5.8 ล้านบัญชีเมื่อปีก่อน ตามข้อมูลของสำนักงานบริการทางการเงิน บัญชีเหล่านี้ช่วยให้สามารถลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และหลักทรัพย์อื่นๆ ได้

 

มาซาฮิโระ ยามากูจิ นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ SMBC Trust Bank Ltd. กล่าวว่า “คนรุ่นใหม่จะเป็นฐานการลงทุนของอนาคต และคาดว่าจะเป็นผู้ซื้อที่แข็งแกร่งในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรุ่นในหมู่นักลงทุนรายย่อย โดยมีแรงหนุนจากโครงการลงทุนปลอดภาษี

 

“คนรุ่นใหม่ไม่สนใจความกังวลแบบคนรุ่นเก่า ซึ่งเคยได้รับบาดแผลครั้งฟองสบู่แตกในช่วงต้นทศวรรษ 1990 และเลือกที่จะเก็บเงินสดไว้ในธนาคาร หรือเก็บเงินสดไว้กับตัว”

 

แม้ว่าคนรุ่นเก่าจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นนี้เห็นได้ชัดเจนกว่ามากในกลุ่มคนรุ่นเจน Z

 

ยามากูชิกล่าวว่า การปลูกฝังการศึกษาด้านการวางแผนการเงินสร้างความแตกต่างเจเนอเรชันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคนรุ่นใหม่มักจะมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาด ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่เคยเผชิญกับภาวะตกต่ำที่ยาวนาน และประสบกับภาวะครั้งตลาดตกต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 1987 กระทั่งล่าสุด เกิดความปั่นป่วนจากภาษีศุลกากรสหรัฐ

 

“นักลงทุนรุ่นใหม่ดูเหมือนจะไม่สะทกสะท้านกับความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันมากนัก ส่วนใหญ่มักลงทุนเป็นระยะๆ ดังนั้นแม้ว่าตลาดจะตกต่ำ พวกเขาก็ไม่น่าจะหยุดลงทุน และบางคนอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินลงทุนด้วยซ้ำไป”

 

ทั้งนี้ ก่อนการเปิดตัวโครงการการศึกษาด้านการเงินแห่งชาติในปี 2022 มีเพียง 7% ของประชากรเท่านั้นที่ได้รับคำแนะนำอย่างเป็นทางการดังกล่าว เมื่อเทียบกับ 20% ในสหรัฐฯ

 

ตามการสำรวจของ Central Council for Financial Services Information ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น พบว่า “การศึกษาดังกล่าวกระตุ้นให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามในการมุ่งเน้นแผนการเรียนการสอนเพื่อวางแผนการเงิน”

จะเห็นได้จากเริ่มมีการจัดตั้งสโมสรการลงทุนขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งมีวิทยาเขตหลักอยู่ในจังหวัดโอกินาวา  ซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมากกว่า 100 คนใช้การวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อจัดการการลงทุนในหุ้นจริงมูลค่า 200,000 เยน (1,396 ดอลลาร์) พบว่า หลังจากซื้อขายได้ 1 ปี นักศึกษาเหล่านี้ก็จะคืนเงินต้นแต่ยังคงเก็บผลตอบแทนส่วนเกินเอาไว้

 

“ความท้าทายวันข้างหน้าคือการปลูกฝังความสำคัญของการลงทุนในวันนี้เพื่อสร้างสินทรัพย์ระยะยาว แม้ว่าตลาดจะผันผวนก็ตาม” 

 

คานาโกะ อุจิมูระ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยญี่ปุ่นกล่าว เธอเสริมว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ครอบงำญี่ปุ่นทำให้คนรุ่นใหม่สะสมสินทรัพย์ได้ง่ายขึ้นด้วย

 

นาโอะ โอทามะ อายุ 19 ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคโอ กำลังคิดที่จะเริ่มลงทุนในหุ้น เธอบอกว่า แรงจูงใจสำคัญ คือ การมีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในเหตุการณ์สำคัญของชีวิตในอนาคต เช่น การแต่งงาน การซื้อบ้าน และการมีลูก

 

ภาพ: kogome / Getty Images,nisi / Getty Images

 

อ้างอิง: 

The post ญี่ปุ่นปลูกฝังค่านิยมใหม่ วางแผนการเงินตั้งแต่อายุ 19 ปี เมื่อสังคมสูงวัยกดดันคนหนุ่มสาว และคนรุ่นใหม่คืออนาคตของตลาดหุ้นญี่ปุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐีไทยอาจเพิ่มขึ้น 24% ในอีก 5 ปี แต่การ ‘ส่งต่อมรดก’ ยังเป็นโจทย์ใหญ่ https://thestandard.co/thai-wealthy-growth-legacy-planning/ Wed, 21 May 2025 06:33:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1076685 บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ CEO พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนส่งต่อมรดกสำหรับกลุ่มเศรษฐีไทย

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่ […]

The post เศรษฐีไทยอาจเพิ่มขึ้น 24% ในอีก 5 ปี แต่การ ‘ส่งต่อมรดก’ ยังเป็นโจทย์ใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ CEO พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนส่งต่อมรดกสำหรับกลุ่มเศรษฐีไทย

ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth: HNW) ในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 24% ในอีก 5 ปีข้างหน้า แตะระดับ 124,000 คน และมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารในธุรกิจ Wealth Management ที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 6% และมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารอาจทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2571

 

อย่างไรก็ตาม การวางแผนส่งต่อความมั่งคั่ง (Legacy Planning) ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกมองข้ามโดยคนไทยจำนวนมาก สร้างความท้าทายและโอกาสใหม่ให้กับอุตสาหกรรมการเงินและประกันชีวิต

 

บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ภาพรวมทักษะทางการเงินของคนไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ข้อมูลสำรวจยังชี้ให้เห็นความเปราะบาง โดยเฉพาะการขาดการวางแผนการเงินระยะยาว 

 

“หลายครั้งที่ผู้คนอาจประเมินความสำคัญของการจัดการทรัพย์สินมรดกต่ำเกินไป อย่างน้อยที่สุดคือไม่ควรปล่อยให้ทรัพย์สินกลายเป็นปัญหาในภายหลังสำหรับคนข้างหลัง”

 

ช่องว่างการวางแผนมรดกในกลุ่ม HNW ไทย

 

ข้อมูลชี้ว่า ปัจจุบันคนไทยทำพินัยกรรมเพียง 13% เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 30-40% การขาดพินัยกรรมมักนำไปสู่ปัญหาการแบ่งมรดกที่ซับซ้อนและใช้เวลานานในกระบวนการทางศาล นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องภาษีมรดกที่ผู้รับมรดกต้องพิจารณา

 

ปัจจัยหนุนการเติบโตของ HNW ในไทยส่วนหนึ่งมาจาก ช่องว่างรายได้ (Income Gap) ที่ค่อนข้างสูง และ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว ที่ขนาดเล็กลง มีบุตรน้อยลง (1-2 คน) ทำให้ทรัพย์สินที่คนรุ่นพ่อแม่หามาได้ถูกส่งต่อและกระจุกตัวมากขึ้นในคนรุ่นต่อไป (Next Gen) ซึ่งปัจจุบันคือกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่งผลให้ความมั่งคั่งต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น

 

‘ประกันชีวิต’ เครื่องมือบริหารมรดกยุคใหม่

 

ในอดีต HNW ไทยจำนวนไม่น้อยเลือกใช้บริการวางแผนมรดกผ่านผลิตภัณฑ์ประกันในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือฮ่องกง เนื่องจากข้อเสนอและราคาที่น่าสนใจกว่า อย่างไรก็ตาม บัณฑิตชี้ว่าอุตสาหกรรมประกันชีวิตกำลังปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนของกลุ่ม HNW มากขึ้น โดยนำเสนอ “บริการ” ที่เป็นมากกว่าแค่ “กรมธรรม์” ประกันชีวิตถูกมองเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยให้การส่งต่อความมั่งคั่งมีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

จุดเด่นสำคัญคือความสามารถในการระบุผู้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง ทำให้เมื่อถึงเวลา ทรัพย์สินที่เป็นทุนประกันสามารถส่งต่อไปยังทายาทได้ทันที โดยข้ามขั้นตอนการจัดการมรดกที่อาจยุ่งยากและใช้เวลานานของศาล นอกจากนี้ โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ประกันบางประเภทยังเอื้อต่อการบริหารจัดการภาระภาษีมรดก เมื่อเทียบเบี้ยประกันที่ชำระกับทุนประกันที่จะได้รับ

 

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนของกลุ่ม HNW พรูเด็นเชียลได้นำเสนอ PRULegacy ซึ่งบัณฑิตเน้นย้ำว่า “เป็นบริการ ไม่ใช่แค่สินค้า” ที่ใช้ประกันชีวิตเป็นแกนหลักในการวางแผนส่งต่อมรดก

 

“เราต้องการเข้ามาตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ในการส่งต่อ Legacy อย่างราบรื่น” บัณฑิตกล่าว “ที่ผ่านมา HNW ไทยจำนวนไม่น้อยเลือกไปซื้อผลิตภัณฑ์ประกันเพื่อวางแผนมรดกในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะมีราคาที่ถูกกว่า แต่ปัจจุบัน คปภ. ได้อนุญาตให้บริษัทประกันในไทยสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งช่วยลดการไหลออกของเงินทุน”

 

ธุรกิจประกันลุ้นผ่านกฎหมายจ่ายผลประโยชน์เป็นสกุลเงินต่างประเทศ

 

เพื่อขยายการเข้าถึงบริการวางแผนมรดกสำหรับกลุ่ม HNW อุตสาหกรรมประกันมีแนวโน้มที่จะขยายช่องทางจัดจำหน่าย โดยเฉพาะช่องทางตัวแทน ซึ่งพรูเด็นเชียลเองก็ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนตัวแทนขึ้น 10 เท่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 1,200 คน 

 

ประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของบริการนี้ คือความเป็นไปได้ที่กฎหมายในไทยจะอนุญาตให้บริษัทประกันสามารถเสนอขายกรมธรรม์และจ่ายผลประโยชน์เป็นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Policies) ได้ 

 

“เราคาดว่ามีกลุ่ม HNW ประมาณ 30% ที่มีความต้องการรับผลประโยชน์กรมธรรม์เป็นสกุลเงินดอลลาร์” บัณฑิตกล่าว

 

การเปลี่ยนแปลงนี้จะตอบโจทย์ความต้องการกระจายความเสี่ยงด้านสกุลเงินของลูกค้า และสอดรับกับแนวโน้มที่ HNW ไทยมีการลงทุนและใช้ชีวิตในต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงอาจดึงดูดลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะสนับสนุนนโยบาย Financial Hub ของประเทศ

 

การออกกรมธรรม์ในสกุลเงินต่างประเทศยังมีข้อดีคือ ลูกค้าอาจมีโอกาสจ่ายเบี้ยประกันที่ถูกลงได้ หากบริษัทประกันสามารถนำเบี้ยที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ที่เป็นดอลลาร์ และจ่ายผลประโยชน์เป็นดอลลาร์โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และเพิ่มโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้า อย่างการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรในไทย

The post เศรษฐีไทยอาจเพิ่มขึ้น 24% ในอีก 5 ปี แต่การ ‘ส่งต่อมรดก’ ยังเป็นโจทย์ใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟินนิกซ์เผยยอดผู้เรียนคอร์สความรู้การเงิน 62,000 ราย 68% เป็น Gen Y อยากเก่งจัดการเงิน-บริหารหนี้ https://thestandard.co/finnix-gen-y-financial-skills-debt-management/ Tue, 13 May 2025 12:14:34 +0000 https://thestandard.co/?p=1073863 ฟินนิกซ์ Gen Y

ฟินนิกซ์ (FINNIX) แพลตฟอร์มสินเชื่อนาโนในเครือบริษัท มั […]

The post ฟินนิกซ์เผยยอดผู้เรียนคอร์สความรู้การเงิน 62,000 ราย 68% เป็น Gen Y อยากเก่งจัดการเงิน-บริหารหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟินนิกซ์ Gen Y

ฟินนิกซ์ (FINNIX) แพลตฟอร์มสินเชื่อนาโนในเครือบริษัท มันนิกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นฟินเทคสตาร์ทอัพร่วมทุนระหว่างกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCB X Group) และกลุ่มอบาคัส (Abakus Group) ฟินเทคยูนิคอร์นจากประเทศจีน เผยอินไซต์ผู้เรียนคอร์ส “เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์” กว่า 62,000 คน เป็นกลุ่ม Gen Y 68% และ Gen X 32%

 

ถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด (MONIX) กล่าวว่า ด้วยเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะและพฤติกรรมทางการเงินที่สอดรับกับความเป็นจริงของสังคมไทย ผ่าน 7 คอร์สออนไลน์ ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนการเงิน การบริหารหนี้ การจัดการรายรับ-รายจ่าย-การออม-การลงทุน ไปจนถึงการเลือกใช้สินเชื่ออย่างเหมาะสม พร้อมแบบทดสอบท้ายบทเรียน ผู้สนใจสามารถเรียนฟรีได้ทุกที่ทุกเวลาที่ https://www.finnix.co/e-learning

 

จากอินไซต์ของโครงการระบุว่า ผู้เรียนเป็นเพศชาย 60% และเพศหญิง 40% โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน แบ่งเป็น Gen Y 68% และ Gen X 31% ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่ชี้ว่า Gen Y คือกลุ่ม ‘แซนด์วิชเจเนอเรชัน’ หรือกลุ่ม ‘เดอะแบก’ ของครอบครัว ที่ต้องดูแลทั้งพ่อแม่และลูก จึงมีภาระหนี้สูง

 

“เราตั้งใจให้ฟินนิกซ์เป็นมากกว่าแอปเงินกู้ โดยเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยคนไทยสร้างรากฐานทางการเงินที่มั่นคง เราเชื่อว่าการส่งเสริมทักษะการเงินในทุกมิติของโครงการ ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตั้งแต่การจัดการหนี้ไปจนถึงการวางแผนการเงินระยะยาว จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและทำให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ ‘มีสุข’ สมกับแนวคิดของเรา”

 

ปัจจุบันเราช่วยให้คนไทยมีทักษะการเงินที่ดีขึ้นแล้วกว่า 62,000 ราย สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้กว่า 6 เท่า อีกทั้งอินไซต์ที่ได้จากโครงการนี้ยังช่วยสะท้อนความต้องการเรียนรู้ทักษะการเงินของคนไทย และจะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคอร์สและเนื้อหาใหม่ๆ ของเราที่ตอบโจทย์ผู้เรียนต่อไป”

 

แม้ภาพรวมทักษะทางการเงินของคนไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่จากผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังชี้ให้เห็นความเปราะบางด้านการเงินที่น่ากังวล

 

คนไทยยังมีทัศนคติและพฤติกรรมในด้านการเงินที่น่าเป็นห่วง โดยกว่า 70% ไม่ได้วางแผนการเงินล่วงหน้า และมีเพียง 22.4% เท่านั้นที่มีเงินออมเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉิน 6 เดือนขึ้นไป

 

ขณะที่ข้อมูลหนี้สินภาคครัวเรือนจากเครดิตบูโร ณ ไตรมาสสาม ปี 2566 ชี้ว่า คน Gen Y (25-43 ปี) เป็นกลุ่มที่มีหนี้ครัวเรือนและหนี้เสียในสัดส่วนที่สูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนว่าปัญหาทางการเงินของคนไทยไม่ได้เกิดจาก “ไม่มีเงิน” เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจาก “ไม่รู้ ไม่เข้าใจ” ในการบริหารจัดการเงิน ซึ่งจะกลายเป็นต้นตอของภาระหนี้ในระยะยาวอีกด้วย

 

ปัญหานี้เองที่ทำให้ “ความรู้ทางการเงิน” กลายเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตทางการเงินของคนไทย และเป็นเหตุผลที่ฟินนิกซ์เร่งขับเคลื่อนโครงการ “เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์” ตั้งแต่เดือนเมษายนในปีที่ผ่านมา

 

ภาพ: Kmatta / Getty Images

The post ฟินนิกซ์เผยยอดผู้เรียนคอร์สความรู้การเงิน 62,000 ราย 68% เป็น Gen Y อยากเก่งจัดการเงิน-บริหารหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เงินสด’ ไม่ใช่ ‘หลุมหลบภัย’ ที่ดีที่สุดเสมอไป อย่าเลียนแบบปู่ Buffett กูรูชี้ หุ้น-พันธบัตร ชนะเงินสดระยะยาว แม้ตลาดผันผวนก็ต้องลงทุน https://thestandard.co/stocks-bonds-cash-long-term/ Tue, 29 Apr 2025 03:23:20 +0000 https://thestandard.co/?p=1069307

เงินสดมหาศาลถึง 334,000 ล้านดอลลาร์ที่ Warren Buffett ส […]

The post ‘เงินสด’ ไม่ใช่ ‘หลุมหลบภัย’ ที่ดีที่สุดเสมอไป อย่าเลียนแบบปู่ Buffett กูรูชี้ หุ้น-พันธบัตร ชนะเงินสดระยะยาว แม้ตลาดผันผวนก็ต้องลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

เงินสดมหาศาลถึง 334,000 ล้านดอลลาร์ที่ Warren Buffett สำรองไว้ในบริษัท Berkshire Hathaway กำลังสร้างความฮือฮาในวงการการเงิน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่านักลงทุนทั่วไปควรเลียนแบบกลยุทธ์นี้โดยไม่ไตร่ตรอง

 

ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มหาเศรษฐีผู้มีสมญาว่า ‘เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา’ ยังคงยืนยันว่า “แม้บางคนจะมองว่าเรามีเงินสดมากผิดปกติ” แต่ความจริงแล้วสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ Berkshire ยังคงอยู่ในรูปของหุ้น และ Berkshire จะ “ไม่มีวัน” เลือกถือเงินสดแทนการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

 

ย้อนดูแล้ว กลยุทธ์การถือเงินสดก้อนใหญ่ของ Buffett ดูชาญฉลาด โดยเฉพาะในช่วงที่นโยบายภาษีนำเข้าของรัฐบาล Trump ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในตลาด แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไป การมีเงินสดมากเกินไปอาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดในระยะยาว

 

นักลงทุนทั่วโลกกำลังกักตุนเงินสดมหาศาลถึง 6.88 ล้านล้านดอลลาร์ในกองทุนตลาดเงิน (ข้อมูล ณ 16 เมษายน) แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการถือเงินสดมากเกินไปอาจทำให้พลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า

 

Jack Manley นักกลยุทธ์จาก JPMorgan ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแบบผสมผสานระหว่างหุ้น 60% และพันธบัตร 40% ให้ผลตอบแทนดีกว่าการถือเงินสดในระยะยาวอย่างชัดเจน จากการศึกษาย้อนหลังตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2024 พบว่ายิ่งระยะเวลาลงทุนนานขึ้น โอกาสที่พอร์ตแบบนี้จะชนะเงินสดยิ่งสูงขึ้น

 

ตัวเลขน่าสนใจคือ ในระยะสั้นแค่หนึ่งเดือน พอร์ตแบบนี้ชนะเงินสด 65% แต่เมื่อขยายเวลาลงทุนเป็น 12 ปี พอร์ตแบบ 60/40 ชนะเงินสด 100% โดยไม่มีข้อยกเว้น นั่นหมายความว่า หากใครอดทนลงทุนยาวนานพอ การถือหุ้นและพันธบัตรจะให้ผลดีกว่าการถือเงินสดเสมอ

 

“เวลาที่นักลงทุนใช้อารมณ์นำเหตุผล มักตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อตื่นตระหนก พวกเขามักจะวิ่งไปหาเงินสดเป็นที่พึ่ง” Manley อธิบาย

 

ปี 2024 เป็นปีทองของพอร์ตแบบ 60/40 ที่ทำผลตอบแทนได้ถึง 15% ตามข้อมูลจาก Morningstar ซึ่งดีกว่าพอร์ตที่กระจายลงทุนใน 11 สินทรัพย์ต่างๆ ที่ทำได้เพียง 10%

 

แต่ภาพนี้เริ่มเปลี่ยนในปี 2025 เมื่อนโยบายภาษีใหม่ของสหรัฐฯ เข้ามามีบทบาท Amy Arnott จาก Morningstar ชี้ว่า พอร์ตที่กระจายการลงทุนกลับมาแซงหน้า โดยทองคำพุ่งสูงถึง 32% ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ พันธบัตรทั่วโลก และอสังหาริมทรัพย์ ก็เอาชนะหุ้นสหรัฐฯ ได้อย่างชัดเจน

 

สำหรับเงินสด Morningstar พบว่า ในช่วงดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ เงินสดกลายเป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล แต่มีข้อแนะนำว่า ควรแยกเงินสดไว้นอกพอร์ตการลงทุนหลัก ใช้เป็นเงินฉุกเฉินหรือรองรับค่าใช้จ่ายใหญ่ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะผู้เกษียณควรสำรองเงินสดไว้สำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 1-2 ปี

 

“แม้ตลาดจะผันผวนในตอนนี้ แต่อย่าเพิ่งรีบปรับเปลี่ยนการลงทุนแบบหักด้ามพร้า เพราะการตัดสินใจแบบเร่งรีบมักให้ผลลัพธ์แย่กว่าเดิม” Arnott กล่าว “หากคุณมีการจัดสรรสินทรัพย์ที่เหมาะกับกรอบเวลาและเป้าหมายการลงทุนของคุณก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเพียงเพราะความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในตอนนี้อาจไม่ใช่ความคิดที่ดี” Arnott กล่าว

 

Adrianna Adams ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินจาก Domain Money สังเกตว่า คนที่มีเงินสำรองพอดีมักรู้สึกสบายใจในช่วงตลาดผันผวน แต่เธอเตือนว่า หากคุณมีเงินฉุกเฉินเพียงพอแล้ว เงินส่วนที่เหลือควรนำไปลงทุนในตลาดจะดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ

 

“เงินที่ตั้งใจเก็บไว้ใช้ระยะยาว ไม่ควรปล่อยให้เป็นเงินสด” Adams ให้คำแนะนำ “แต่ถ้าเป็นเงินที่ต้องใช้ภายในสองปีนี้ ควรเก็บเป็นเงินสดไว้จะดีกว่า”

 

“คนส่วนใหญ่นิยมเก็บเงินฉุกเฉินในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง” Adams กล่าว “แต่สำหรับคนที่เสียภาษีในอัตราสูง ควรพิจารณาลงทุนในกองทุนพันธบัตรท้องถิ่นแทน เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจะได้รับการยกเว้นภาษี”

 

ในขณะที่ Buffett อาจมีเหตุผลเฉพาะในการถือเงินสดมหาศาล นักลงทุนทั่วไปควรระมัดระวังในการหาความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความปลอดภัยของเงินสดและโอกาสในการเติบโตจากการลงทุนในตลาด 

 

เพราะในท้ายที่สุด ศิลปะของการลงทุนไม่ได้อยู่ที่การเลียนแบบกลยุทธ์ของผู้เชี่ยวชาญอย่างไม่ไตร่ตรอง แต่อยู่ที่การปรับใช้หลักการให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะของตัวเอง

 

ภาพ: Roman Samborskyi / Shutterstock

อ้างอิง:

The post ‘เงินสด’ ไม่ใช่ ‘หลุมหลบภัย’ ที่ดีที่สุดเสมอไป อย่าเลียนแบบปู่ Buffett กูรูชี้ หุ้น-พันธบัตร ชนะเงินสดระยะยาว แม้ตลาดผันผวนก็ต้องลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘คนจนรุ่นเก่า’ สอน ‘คนจนรุ่นใหม่’ หลังชาวอเมริกันผวาเศรษฐกิจถดถอย! Gen Z-Millennial แห่เรียนเคล็ดลับประหยัดยุค 2008 บน TikTok! https://thestandard.co/gen-z-millennials-saving-tips/ Mon, 28 Apr 2025 05:58:36 +0000 https://thestandard.co/?p=1068999 gen-z-millennials-saving-tips

ความหวาดวิตกเรื่องเศรษฐกิจกำลังแผ่ซ่านไปทั่วสหรัฐอเมริก […]

The post ‘คนจนรุ่นเก่า’ สอน ‘คนจนรุ่นใหม่’ หลังชาวอเมริกันผวาเศรษฐกิจถดถอย! Gen Z-Millennial แห่เรียนเคล็ดลับประหยัดยุค 2008 บน TikTok! appeared first on THE STANDARD.

]]>
gen-z-millennials-saving-tips

ความหวาดวิตกเรื่องเศรษฐกิจกำลังแผ่ซ่านไปทั่วสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะหลังประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ของประธานาธิบดี Donald Trump เมื่อต้นเดือนเมษายน ทำให้หลายคนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจกำลังจะถดถอยอีกครั้ง 

 

Google เผยว่าการค้นหาคำว่า Global Financial Crisis และ Great Recession พุ่งสูงขึ้นจนเกือบถึงระดับที่ไม่เคยเห็นมานับสิบปี สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นของชาวอเมริกัน

 

ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ Kiki Rough สาววัย 28 ปี เริ่มนึกถึงทักษะการประหยัดที่เธอเคยใช้ในยามยาก และตัดสินใจสร้างวิดีโอสอนทำอาหารจากตำราที่ตีพิมพ์ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำและสงคราม 

 

เธอสอนเทคนิคทำอาหารราคาถูกและวิธีทดแทนของแพงด้วยสิ่งที่มีอยู่แล้วในครัว วิดีโอของเธอดังเปรี้ยงปร้างบนโซเชียลมีเดีย ดึงดูดผู้ชม 21 ล้านวิวในเวลาเพียงเดือนเดียว 

 

“ฉันเห็นคอมเมนต์ตลกๆ ซ้ำๆ ว่า คนจนรุ่นเก่ากำลังสอนคนจนรุ่นใหม่” Rough เล่า “ทุกคนกำลังหวาดกลัว การแบ่งปันความรู้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้คนรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น”

 

ปรากฏการณ์นี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบน TikTok เมื่อกลุ่ม Millennial และ Gen X เข้ามารับบทเป็นพี่เลี้ยง แบ่งปันเคล็ดลับประหยัดเงินให้คนรุ่นใหม่ “นี่อาจเป็นครั้งแรกที่พวก Millennial ได้เป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ในบางเรื่อง” Scott Sills นักการตลาดวัย 33 ปีกล่าว “เราเชี่ยวชาญในการรับมือเมื่อชีวิตพลิกผันกะทันหัน และทุกอย่างที่เคยมั่นคงถูกกระชากออกไป”

 

คำแนะนำเหล่านี้ย้อนกลับไปสู่ช่วงวิกฤตปี 2008 ทั้งการท่องเที่ยวประหยัดแทนทริปหรูต่างประเทศ การเก็บใบเสร็จเพื่อรอลดราคา การใช้ชุดทำงานในงานสังคมเพราะไม่มีเงินซื้อเสื้อผ้าหลายแบบ และอาหารยอดนิยมอย่าง ‘เนื้อหมู’ ที่มีราคาไม่แพงเกินไป 

 

คนถึงกับติดปากว่าเนื้อหมูมี ‘รสชาติเหมือน Great Recession’ เลยทีเดียว ส่วนการสังสรรค์ก็ย้ายจากบาร์มาจัดที่บ้านแทน พร้อมเครื่องดื่มยอดนิยมที่เรียกว่า ‘jungle juice’ ซึ่งเป็นการผสมเหล้าราคาถูกหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน

 

“สมัยก่อนฉันไม่รู้หรอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็น ‘สัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจถดถอย’ คิดว่าเป็นแค่เทรนด์ธรรมดา” M.A. Lakewood นักเขียนจากนิวยอร์กเล่า “แต่ตอนนี้สัญญาณเห็นชัดเจนมาแต่ไกลเลย”

 

อย่างไรก็ตาม คนจนรุ่นเก่ากำลังพบว่าเคล็ดลับประหยัดสมัยก่อนบางอย่างใช้ไม่ได้ผลแล้วในยุคเงินเฟ้อพุ่งสูง Kimberly Casamento ที่ทำซีรีส์สอนทำอาหารจากตำราปี 2009 พบว่าค่าใช้จ่ายของเมนูประหยัดเหล่านั้นพุ่งสูงขึ้น 100-150% ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำยังคงอยู่ที่ 7.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงเหมือนเมื่อ 16 ปีที่แล้ว

 

“ทุกอย่างในชีวิตแพงจนแทบไม่มีใครอยู่รอด” Casamento บอก “แค่ประหยัดค่าอาหารได้ 5 ดอลลาร์สหรัฐก็นับเป็นชัยชนะแล้ว”

 

Megan Way รองศาสตราจารย์ที่ Babson College ผู้ศึกษาเศรษฐศาสตร์ครอบครัว อธิบายว่านี่เป็นพฤติกรรมปกติของมนุษย์ที่จะแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากผู้อื่นในช่วงไม่มั่นคง 

 

“การแบ่งปันความรู้อาจสร้างความแตกต่างในความรู้สึกว่าคุณกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างเตรียมพร้อม สิ่งที่แย่ที่สุดสำหรับเศรษฐกิจคือความหวาดกลัวแบบไร้ทิศทาง”

 

แม้จะมีความคล้ายคลึงกัน Way ระบุว่าวิกฤตในปัจจุบันแตกต่างจากปี 2008 ตรงที่ไม่มีปัญหาหนี้เสียที่จุดประกายวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ แต่ความไม่แน่นอนกลับมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ หรือนโยบายภายในประเทศ

 

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนต่ำที่สุดในรอบกว่า 70 ปี บ่งชี้ว่าความวิตกกังวลกำลังพุ่งสูง Lukas Battle ผู้สร้างวิดีโอล้อเลียนเรื่องการหย่าร้างช่วง Great Recession พบว่าคอมเมนต์เต็มไปด้วยคนที่พ่อแม่เพิ่งแยกทาง “กำลังเกิดคลื่นลูกที่สองของการหย่าร้างในขณะนี้” เขากล่าวอย่างตรงไปตรงมา

 

แม้กระทั่งวงการบันเทิงก็สะท้อนความคล้ายคลึงกับยุค 2008 การเต้น flashmob กลับมาฮิตอีกครั้ง Disney รีบูตการ์ตูน Phineas and Ferb ที่ดังในช่วงนั้น และศิลปินยุค 2008 อย่าง Miley Cyrus, Lady Gaga และ Katy Perry ก็กลับมาปล่อยเพลงและทัวร์คอนเสิร์ตในปี 2025

 

“เพลงเหล่านี้เหมือนเป็นใบอนุญาตที่ทำให้เราหลุดพ้นและได้รู้สึกดีสักพัก” Sills อธิบาย “ไม่ใช่ว่าเราหนีปัญหา แต่เป็นการหาช่วงเวลาแห่งความสุขเล็กๆ ให้ตัวเองท่ามกลางความยากลำบาก”

 

ในขณะที่ประเทศเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ การถ่ายทอดบทเรียนจาก ‘คนจนรุ่นเก่า’ ไปสู่ ‘คนจนรุ่นใหม่’ จึงกลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างรุ่นที่มีค่าในการรับมือกับพายุเศรษฐกิจที่กำลังก่อตัว



ภาพ: Dilok Klaisataporn / Shutterstock

 

อ้างอิง:

The post ‘คนจนรุ่นเก่า’ สอน ‘คนจนรุ่นใหม่’ หลังชาวอเมริกันผวาเศรษฐกิจถดถอย! Gen Z-Millennial แห่เรียนเคล็ดลับประหยัดยุค 2008 บน TikTok! appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความกลัวอันดับ 1 ของชาวอเมริกันไม่ใช่ความตาย แต่คือ ‘เงินหมด’ หลังเกษียณ ชี้ทางรอด ‘ชะลอรับประกันสังคม-ซื้อประกันบำนาญ’ https://thestandard.co/americans-fear-retirement-money/ Mon, 28 Apr 2025 01:31:36 +0000 https://thestandard.co/?p=1068826

ความกังวลใจอันดับหนึ่งของชาวอเมริกันในปัจจุบันไม่ใช่เรื […]

The post ความกลัวอันดับ 1 ของชาวอเมริกันไม่ใช่ความตาย แต่คือ ‘เงินหมด’ หลังเกษียณ ชี้ทางรอด ‘ชะลอรับประกันสังคม-ซื้อประกันบำนาญ’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความกังวลใจอันดับหนึ่งของชาวอเมริกันในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องสุขภาพหรือความตาย แต่เป็นเรื่อง ‘เงินหมด’ ในวัยเกษียณ ผลสำรวจล่าสุดจาก Allianz Life ชี้ชัดว่า 64% ของชาวอเมริกันกลัวเงินหมดก่อนตายมากกว่ากลัวความตายเสียอีก โดยเฉพาะกลุ่ม Gen X ที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยเกษียณมีความกังวลสูงสุด รองลงมาคือ Millennials และ Baby Boomers



ในขณะเดียวกัน รายงานจาก Employee Benefit Research Institute พบว่าผู้เกษียณส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขากำลังใช้ชีวิตตามที่วางแผนไว้และสามารถใช้จ่ายเงินได้ตามสมควร แต่มากกว่าครึ่งยอมรับว่าพวกเขาใช้จ่ายน้อยลงเพราะกลัวเงินหมด ตามผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2,700 คน

 

ขณะที่ผลสำรวจจาก Northwestern Mutual รายงานว่า 51% ของชาวอเมริกันคิดว่า ‘มีโอกาสพอสมควรหรือมีโอกาสสูง’ ที่พวกเขาจะมีชีวิตยืนยาวกว่าเงินออมที่มี จากการสำรวจชาวอเมริกันอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 4,626 คนในเดือนมกราคม

 

สาเหตุหลักของความกลัวนี้มีหลายประการ ทั้งเงินเฟ้อที่พุ่งสูง สวัสดิการ Social Security ที่ไม่เพียงพอ และภาระภาษีที่หนักอึ้ง นอกจากนี้นโยบายภาษีนำเข้าใหม่ยังสร้างความปั่นป่วนในตลาดหุ้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน Social Security Administration ก็ทำให้หลายคนเริ่มกังวลว่าสวัสดิการที่เคยได้รับจะยังคงอยู่หรือไม่

 

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ ระบบบำนาญแบบเก่าที่นายจ้างจ่ายให้ตลอดชีวิตหลังเกษียณกำลังหายไป แทนที่ด้วยแผนออมเงิน 401(k) และแผนออมอื่นๆ ที่พนักงานต้องบริหารจัดการเอง ทำให้ภาระและความเสี่ยงตกอยู่กับตัวผู้เกษียณเองทั้งหมด

 

แม้ Northwestern Mutual จะสำรวจพบว่าคนอเมริกันคิดว่าต้องมีเงิน 1.26 ล้านดอลลาร์หรือราว 42 ล้านบาทเพื่อเกษียณอย่างสบาย 

 

แต่ Kyle Menke ผู้ก่อตั้ง Menke Financial ยืนยันว่าตัวเลขที่แท้จริงนั้นแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ส่วนบุคคล โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน ทั้งผลตอบแทนจากการลงทุน ภาษี เงินเฟ้อ และค่ารักษาพยาบาลที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

David Blanchett หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านการเกษียณที่ PGIM DC Solutions แนะนำทางออกว่า “การสร้างกระแสรายได้ตลอดชีพที่มั่นคงซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น จะช่วยลดผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ที่อาจทำให้ผู้เกษียณต้องลดการใช้จ่าย” โดยวิธีที่ดีที่สุดคือเริ่มจากการชะลอการรับสิทธิประโยชน์ Social Security ไปจนถึงอายุ 70 ปี เพื่อให้ได้รับเงินรายเดือนสูงสุด

 

นอกจากนี้การซื้อประกันบำนาญแบบ Lifetime Income Annuity ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แม้ว่าจะต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ล่วงหน้าก็ตาม โดย Blanchett แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่เข้าใจง่ายก่อน เช่น single premium immediate annuities

 

“หากไม่ทำสิ่งเหล่านี้ คุณจะไม่สามารถกำจัดความกลัวเรื่องเงินหมดได้” Blanchett กล่าวทิ้งท้าย “การเกษียณอาจกินเวลา 10 ปี หรือนานถึง 40 ปี คุณไม่มีทางรู้ว่ามันจะยาวนานแค่ไหน”

 

Kelly LaVigne รองประธานฝ่ายข้อมูลเชิงลึกผู้บริโภคที่ Allianz Life เตือนว่า “นี่เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรวางแผนด้วยตัวเอง” เนื่องจากมีปัจจัยซับซ้อนมากมายที่ต้องพิจารณา 

 

ดังนั้นการปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการวางแผนเกษียณที่มั่นคง เพราะพวกเขาสามารถจำลองสถานการณ์และทดสอบแผนภายใต้ความกดดันต่างๆ ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่บั้นปลายชีวิตได้อย่างไร้กังวล

 

ภาพ: sebra / Shutterstock

อ้างอิง:

The post ความกลัวอันดับ 1 ของชาวอเมริกันไม่ใช่ความตาย แต่คือ ‘เงินหมด’ หลังเกษียณ ชี้ทางรอด ‘ชะลอรับประกันสังคม-ซื้อประกันบำนาญ’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตือน! จ่ายขั้นต่ำ ‘ยิ่งจ่าย หนี้ยิ่งเพิ่ม’ ผู้เชี่ยวชาญแนะ 2 วิธีสร้างวินัยและแรงจูงใจในการชำระหนี้ระยะยาว https://thestandard.co/minimum-payment-debt-trap/ Sun, 20 Apr 2025 11:44:00 +0000 https://thestandard.co/?p=1066299

4 ใน 10 ชาวอเมริกันมีหนี้บัตรเครดิตผิดชำระ! ผู้เชี่ยวชา […]

The post เตือน! จ่ายขั้นต่ำ ‘ยิ่งจ่าย หนี้ยิ่งเพิ่ม’ ผู้เชี่ยวชาญแนะ 2 วิธีสร้างวินัยและแรงจูงใจในการชำระหนี้ระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>

4 ใน 10 ชาวอเมริกันมีหนี้บัตรเครดิตผิดชำระ! ผู้เชี่ยวชาญเตือน ยิ่ง ‘จ่ายขั้นต่ำ’ ไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นหนี้นานขึ้น

 

ตามรายงานล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐในนิวยอร์ก ระบุ ขณะนี้ชาวอเมริกันเผชิญหนี้บัตรเครดิตพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ 

 

แต่ที่น่าสนใจก็คือ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่หนี้บัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจไม่ได้เกี่ยวกับการใช้จ่ายมากนัก แต่เกี่ยวกับ ‘ความสับสน’ มากกว่า 

 

โดยการสำรวจล่าสุดจาก Experian พบว่าชาวอเมริกัน 2 ใน 5 ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต “เชื่อว่าการชำระเงินขั้นต่ำก็เพียงพอที่จะจัดการกับหนี้ได้”

 

Melissa Lambarena นักเขียนอาวุโสของทีมบัตรเครดิตที่ NerdWallet กล่าวว่า การคาดเดานั้นทำได้ง่าย เนื่องจากจำนวนเงินขั้นต่ำคือจำนวนเงินที่พิมพ์อยู่บนใบแจ้งยอด ดังนั้น การชำระยอดขั้นต่ำจึงอาจดูเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

อย่างไรก็ตาม “การชำระหนี้ขั้นต่ำไปเรื่อยๆ จะทำให้คุณเป็นหนี้นานขึ้นมาก” เธอกล่าว

 

หากต้องการปลดหนี้ ต้องจ่ายเงินมากกว่าขั้นต่ำในแต่ละเดือน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวอีกว่า ประเด็นนี้จำเป็นอย่างมาก และเป็นกลยุทธ์ที่สามารถจัดการหนี้ได้

 

โดยทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้วิธีแบบ “ก้อนหิมะกลิ้งลงเขา” หรือ “ทลายหิมะให้ถล่ม” เพื่อสร้างวินัยและแรงจูงใจในการชำระหนี้บัตรเครดิต 

 

Lambarena กล่าวว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน แต่กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ “วิธีที่สมเหตุสมผลที่สุดสำหรับคุณซึ่งจะทำให้คุณมีแรงจูงใจในการชำระหนี้ระยะยาว”

 

1. กลิ้งก้อนหิมะลงจากเขา (The snowball method) 

 

วิธีกลิ้งก้อนหิมะลงเขาเป็นแนวทางให้คุณชำระหนี้ตามลำดับจากยอดหนี้ที่น้อยที่สุดไปยังยอดหนี้ที่มากที่สุด คุณชำระหนี้ขั้นต่ำทั้งหมด จากนั้นนำเงินที่เหลือไปชำระบัตรเครดิตที่มียอดหนี้น้อยที่สุดก่อน

 

เมื่อชำระยอดหนี้ในบัตรเครดิตที่น้อยที่สุดแล้ว คุณก็นำเงินที่คุณจะใช้ในการชำระบัตรใบนั้นไปชำระหนี้ที่น้อยที่สุดใบถัดไป วิธีนี้จะสร้างเอฟเฟกต์ก้อนหิมะที่เพิ่มแรงผลักดันเมื่อคุณชำระบัตรเครดิตแต่ละใบได้

 

ข้อดีของวิธีนี้คือแรงผลักดันที่คุณค่อยๆ สร้างขึ้นวินัย เมื่อคุณชำระหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะ “เหมือนก้อนหิมะที่กลิ้งลงเนินเขา จะทำให้คุณมีแรงผลักดันและรู้สึกมีแรงจูงใจมากขึ้น”

 

วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการเห็นผลลัพธ์เพื่อก้าวต่อไปในเส้นทางการจัดการหนี้ อาจเหมาะกับคุณหากคุณต้องการ “แรงจูงใจเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้รู้สึกว่าคุณกำลังก้าวหน้าเดินหน้าต่อไป” เขากล่าว

 

2. หิมะถล่ม (The Avalanche Method)

 

วิธีหิมะถล่ม จะเน้นไปที่หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน หลังจากชำระเงินขั้นต่ำสำหรับหนี้ทั้งหมดแล้ว ให้นำเงินส่วนเกินไปชำระยอดคงเหลือที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด

 

วิธีนี้มีประสิทธิภาพทางคณิตศาสตร์มากกว่า เนื่องจากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงจะมีต้นทุนในการชำระสูงกว่า การกำจัดหนี้เหล่านี้ออกไปก่อนจะช่วยลดดอกเบี้ยรวมที่ต้องจ่ายและลดระยะเวลาในการปลดหนี้

 

Lambarena แนะนำว่า ตราบใดที่คุณยึดมั่นกับวิธีนี้ เมื่อพิจารณาว่า “อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงสุดตลอดกาล นี่จะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุด แต่กลยุทธ์นี้จะไม่มีความหมายเลยหากไม่สามารถกระตุ้นคุณได้”

 

Rod Griffin ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการศึกษาสาธารณะและการสนับสนุนที่ Experian เห็นด้วยว่า “ความคืบหน้าของวิธีที่ 2 อาจดูช้ามาก โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น  อย่างไรก็ตาม วิธีถล่มหิมะให้ทลาย จะให้ประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเพื่อการชำระหนี้ระยะยาว”

 

ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีใด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการวางแผนและมุ่งมั่นกับแผนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่มีเคล็ดลับเดียวที่ใช้ได้กับทุกคนในการชำระหนี้ แต่การหลีกเลี่ยง นั้นก็ไม่ได้ช่วยให้หนี้หมดไป เขากล่าว

 

“หนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดสำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ หนี้ประเภทนี้ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเพื่อความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีของคุณ”

 

ภาพ: pixdeluxe / Getty images 

อ้างอิง: 

The post เตือน! จ่ายขั้นต่ำ ‘ยิ่งจ่าย หนี้ยิ่งเพิ่ม’ ผู้เชี่ยวชาญแนะ 2 วิธีสร้างวินัยและแรงจูงใจในการชำระหนี้ระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
วางแผนการเงิน สร้างเงิน 1 ล้านแรกว่าต้องออมเดือนละเท่าไร ลงทุนให้ได้ผลตอบแทนอย่างไร https://thestandard.co/financial-planning-save-invest-1-million/ Thu, 17 Apr 2025 10:11:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1065370 1 ล้านแรก

‘1 ล้านแรก’ คงเป็นหมุดหมายแรกๆ ที่สำคัญของคนวัยทำงานหลา […]

The post วางแผนการเงิน สร้างเงิน 1 ล้านแรกว่าต้องออมเดือนละเท่าไร ลงทุนให้ได้ผลตอบแทนอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
1 ล้านแรก

‘1 ล้านแรก’ คงเป็นหมุดหมายแรกๆ ที่สำคัญของคนวัยทำงานหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือเจ้าของกิจการ เพราะหากใครก็ตามสามารถไปแตะที่ตัวเลขดังกล่าวได้แล้ว การจะสร้างเงินล้านถัดไปก็ดูเหมือนจะง่ายขึ้นอย่างที่ใครหลายๆ คนกล่าวไว้

 

การจะสร้างเงินล้านแรกได้นั้นก็คงมีหลายวิธี และหากตอบแบบกำปั้นทุบดินก็จะบอกได้ว่า ก็เก็บเงิน 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน ก็สามารถแตะ 1 ล้านบาทได้แล้วภายในเวลาไม่ถึงปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะมีคนสักกี่เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทยที่สามารถออมเงินด้วยสัดส่วนดังกล่าวได้ 

 

ดังนั้นแล้วการออมเงินและวางแผนเพื่อการลงทุน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่หากเริ่มต้นได้ไว เดินไปอย่างมีวินัย และมีความแน่วแน่ ใครๆ ก็สามารถไปถึงได้อย่างแน่นอน

 

ทั้งนี้ ผลตอบแทนที่จะทำได้ขึ้นกับปัจจัยหลักๆ 3 ส่วน ดังที่ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนผู้บุกเบิกแนว VI (Value Investor) ของประเทศไทย ได้แก่ เงินต้น (เงินลงทุนต่อเดือน), ผลตอบแทนที่ทำได้ (% ต่อปี) และระยะเวลา (ปี)

 

ในบทความนี้ทีมงาน THE STANDARD WEALTH จะพาไปสำรวจ ‘วิธีการวางแผนสู่เงิน 1 ล้านแรกกัน’ ว่าต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไร จะสามารถมีเงิน 1 ล้านบาทได้ภายใน 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี

 

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

The post วางแผนการเงิน สร้างเงิน 1 ล้านแรกว่าต้องออมเดือนละเท่าไร ลงทุนให้ได้ผลตอบแทนอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก FIRE 5 แบบ ปูทางสู่ ‘อิสรภาพทางการเงิน’ https://thestandard.co/financial-freedom-fire-types/ Fri, 11 Apr 2025 00:00:04 +0000 https://thestandard.co/?p=1062692 financial-freedom-fire-types

Financial Independence, Retire Early หรือ FIRE คือแนวคิ […]

The post รู้จัก FIRE 5 แบบ ปูทางสู่ ‘อิสรภาพทางการเงิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
financial-freedom-fire-types

Financial Independence, Retire Early หรือ FIRE คือแนวคิดการเกษียณให้เร็วผ่านการวางแผนการเก็บเงินอย่างเข้มข้นในสัดส่วนถึง 50-70% ของเงินเก็บ แล้วนำไปบริหารจัดการให้เติบโต เพื่อให้สามารถเข้าถึงอิสรภาพทางการเงินให้เร็วที่สุด บ้างก็ตั้งเป้าอายุ 40 ปี บ้างก็ตั้งเป้าตั้งแต่อายุ 30 ปี เพื่อให้สามารถมีเวลาไปทำสิ่งที่ต้องการและออกแบบชีวิตของตนเองได้

 

ซึ่งในยุคปัจจุบันแนวคิดแบบ FIRE ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลังแนวคิดทางการเงินเริ่มเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น เด็กยุคใหม่มองหาวิธีให้ตัวเองสามารถออกจากวงจรงานประจำได้เร็วที่สุด แต่ยังมีเงินมากพอให้สามารถไปใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการได้

 

ในบทความนี้ ทีมงาน THE STANDARD WEALTH จะพาไปศึกษาแนวคิดแบบ FIRE หรือ Financial Independence, Retire Early ว่ามีหลักคิดแบบใดและมีรูปแบบอย่างไรบ้าง

 


 

รู้จัก FIRE 5 แบบ

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

The post รู้จัก FIRE 5 แบบ ปูทางสู่ ‘อิสรภาพทางการเงิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>