Lifestyle & Passion – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 23 Nov 2024 09:52:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Ferrari บุกไทย! จัด UNIVERSO FERRARI ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการรถม้าลำพองที่ยกทัพมาจากมาราเนลโล https://thestandard.co/universo-ferrari-thailand-2024/ Sat, 23 Nov 2024 09:52:57 +0000 https://thestandard.co/?p=1012057

บริษัท คาวาลลิโน มอเตอร์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายและศูนย์บริ […]

The post Ferrari บุกไทย! จัด UNIVERSO FERRARI ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการรถม้าลำพองที่ยกทัพมาจากมาราเนลโล appeared first on THE STANDARD.

]]>

บริษัท คาวาลลิโน มอเตอร์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายและศูนย์บริการ Ferrari แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ จัดงาน UNIVERSO FERRARI ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมนำทัพรถ Ferrari กว่า 20 คัน ทั้งรุ่นลิมิเต็ด รุ่นคลาสสิก และรุ่นใหม่ล่าสุดมาจัดแสดง

 

ไฮไลต์สำคัญของงานคือการเปิดตัวครั้งแรกในไทยของ Ferrari F80 ซูเปอร์คาร์ที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสนามแข่ง Le Mans ซึ่งถูกยกให้เป็นตำนานรุ่นใหม่ต่อจาก Ferrari GTO, F40 และ LaFerrari พร้อมด้วย Ferrari 12Cilindri รถสปอร์ตสายพันธุ์ใหม่ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Grand Tourers ในยุค 1950 และ 1960

 

นอกจากนี้แฟนม้าลำพองจะได้ชื่นชมรถในตำนานอย่าง F1-2000 คันที่พา Michael Schumacher คว้าแชมป์โลก Formula 1 สมัยที่ 3 และ Ferrari 499P Le Mans Hypercar ที่พาทีมคว้าชัยในการแข่งขัน 24 Hours of Le Mans ปี 2023-2024 หลังจากห่างหายไปถึง 58 ปี

 

พลาดไม่ได้กับรถรุ่นคลาสสิกอย่าง Ferrari 308 GTB และ Ferrari F50 รถฉลองครบรอบ 50 ปีที่ผลิตเพียง 349 คันทั่วโลก รวมถึงรุ่นพิเศษอื่นๆ อย่าง Daytona SP3, SF90 XX Stradale, Purosangue และ Roma Spider

 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ยานยนต์ครั้งสำคัญได้ที่ UOB LIVE, Emsphere ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2567 ซื้อบัตรได้ที่ Thaiticketmajor และช่องทางออนไลน์ www.thaiticketmajor.com/universo-ferrari/ 

 

 

The post Ferrari บุกไทย! จัด UNIVERSO FERRARI ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการรถม้าลำพองที่ยกทัพมาจากมาราเนลโล appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักสะสมไม่ซื้อของแพง สาเหตุใหญ่ทำให้การใช้จ่ายในตลาดงานศิลปะลดลง 32% https://thestandard.co/art-market-spending-down-report/ Sun, 17 Nov 2024 05:58:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1009632 นักสะสม

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดของสะสมค่อนข้างซบเซา ไม่เว้นตลาดง […]

The post นักสะสมไม่ซื้อของแพง สาเหตุใหญ่ทำให้การใช้จ่ายในตลาดงานศิลปะลดลง 32% appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักสะสม

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดของสะสมค่อนข้างซบเซา ไม่เว้นตลาดงานศิลปะที่เคยทำกำไรได้สูงที่สุดในหมวดหมู่ของสะสมเมื่อปีที่แล้วก็ทำท่าไม่ค่อยดี ตามรายงานของ Art Basel และ UBS Survey of Global Collecting ซึ่งเจาะลึกพฤติกรรมการซื้อของเหล่าผู้มีรายได้สูง (HNWIs) มากกว่า 3,600 รายในตลาดหลัก 14 แห่ง เผยว่า ช่วงปี 2023 ถึงครึ่งแรกของปี 2024 มีการลดการใช้จ่ายลดลง ซึ่งสวนทางกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

 

จากรายงานมีการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยลดลง 32% เหลือเพียง 363,905 ดอลลาร์ หรือราว 12.6 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการซื้อที่ลดลงของเหล่าอภิมหาเศรษฐีที่ลงทุนในงานศิลปะระดับท็อป โดยคาดว่าผลงานศิลปะร่วมสมัยที่เคยได้รับความนิยมช่วงก่อนหน้านี้กำลังจะมีราคาลดลงและยากจะฟื้นตัว

 

เมื่อมองที่ยอดขายในช่วง 6 เดือนแรกในปีนี้ของบริษัทการประมูลยักษ์ใหญ่ทั้ง Christie’s, Sotheby’s, Phillips และ Bonhams ก็ลดลง 26%จากปี 2023 และลดลงถึง 36% จากจุดสูงสุดในปี 2021 ส่วนนักสะสมที่วางแผนจะซื้องานศิลปะในปีหน้าก็ลดลงเหลือ 43% จาก 50% จากปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมีผู้วางแผนจะขายเพิ่มขึ้นเป็น 55% ซึ่งหมายความว่าจะมีแนวโน้มมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อในตลาด

 

ปัจจัยหลักของความผันผวนครั้งนี้มาจากความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในตะวันออกกลางและยูเครน รวมถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยุโรปและจีนที่เข้ามาบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้ซื้อ

 

ก่อนหน้านี้กลุ่มนักสะสมยุคมิลเลนเนียลคือกำลังสำคัญของตลาดซื้อขายงานศิลปะ โดยเฉพาะในกลุ่มบนสุดของตลาด แต่เมื่อปีที่แล้วคนกลุ่มนี้ลดการใช้จ่ายลงกว่า 50 % จึงทำให้ตลาดโดยรวมในปี 2023 ดูเหมือนจะลดลงอย่างมาก ในทางกลับกันกลุ่มนักสะสม Gen X มีการเติบโตต่ำกว่าที่ 3% แต่มั่นคงกว่าเมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดในปีเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 578,000 ดอลลาร์ หรือราว 20 ล้านบาท อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าเหล่าคนรวยจะซื้องานศิลปะน้อยลง แต่พวกเขาแค่ซื้องานศิลปะที่มีราคาถูกลงเท่านั้น

 

จากการสำรวจพบว่า การใช้จ่ายด้านศิลปะของนักสะสมยังคงทรงตัวที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์ต่อปี และกว่า 3ใน 4 ซื้อภาพวาดทั้งในปี 2023 และครึ่งแรกของปี 2024

 

ตลาดงานศิลปะกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อนักสะสมรุ่นเก่ากำลังลดขนาดคอลเล็กชันของตัวเองลง โดยเลือกขายผลงานจากคอลเล็กชันล่างสุด หมายถึงผลงานชิ้นไม่เด่นหรือไม่มีนัยสำคัญออกไป และเก็บแค่ชิ้นเด็ดๆ ไว้แทนที่จะรอเก็งกำไรเหมือนในอดีต

 

ขณะที่นักสะสมรุ่นใหม่ในกลุ่ม Gen X และมิลเลนเนียลก็กำลังกว้านซื้อผลงานที่ทันสมัยและราคาไม่แพงจากแกลเลอรีและงานแสดงศิลปะต่างๆ ด้วยมุมมองที่ว่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องซื้องานที่แพงที่สุดด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งตอนนี้ผลงานแนวอิมเพรสชันนิสม์ระดับไฮเอนด์หรือผลงานที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปซึ่งเคยเป็นที่ต้องการมากที่สุดก่อนปี 2022 กลายเป็นตลาดที่อ่อนแอที่สุด แต่ผลงานราคาต่ำกว่า 7 แสนดอลลาร์ หรือแม้แต่ต่ำกว่า 1 หมื่นดอลลาร์กลับเป็นที่ต้องการมากขึ้น

 

ส่วนใหญ่นักสะสมที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 20 ปีจะมีผลงานเฉลี่ย 110 ชิ้น โดยมักขาย ส่งต่อให้กับครอบครัว หรือมอบให้กับพิพิธภัณฑ์หรือองค์กรไม่แสวงผลกำไร ขณะที่นักสะสม Gen Z อยู่ที่ 33 ชิ้นและค่าเฉลี่ยของนักสะสมทั่วไปที่ประมาณ 44 ชิ้น

 

สำหรับบทบาทของศิลปะในฐานะ ‘สินทรัพย์’ รายงานระบุว่า พอร์ตงานศิลปะโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15% ในปีนี้ลดลงจาก 22% จากเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในทุกกลุ่มของนักสะสมที่ร่ำรวยทั้งในกลุ่มมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สิน 50 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปลดลงจาก 29% เหลือ 25% ในปีนี้ ส่วนนักสะสมที่มีทรัพย์สินต่ำกว่า 5 ล้านดอลลาร์ก็อยู่ที่ประมาณ 12% ส่วนหนึ่งมาจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ จึงโยกเงินไปลงทุนและชะลอการซื้องานศิลปะลง

 

อย่างไรก็ตาม นักสะสมส่วนใหญ่ถึง 91% ยังมองว่าตลาดศิลปะในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะยังคงไปได้ดีซึ่งมากกว่าตลาดหุ้นที่ 88%

 

อ้างอิง:

The post นักสะสมไม่ซื้อของแพง สาเหตุใหญ่ทำให้การใช้จ่ายในตลาดงานศิลปะลดลง 32% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เรียนรู้ความต่างระหว่าง Collector และ Trader ในวงการนาฬิกา | Passion Investment EP.3 https://thestandard.co/passion-investment-ep-3/ Mon, 11 Nov 2024 10:23:12 +0000 https://thestandard.co/?p=1007318

ดร.ณัฐเศรษฐ์ พูนทรัพย์มณี เกิดในครอบครัวที่คลุกคลีในแวด […]

The post ชมคลิป: เรียนรู้ความต่างระหว่าง Collector และ Trader ในวงการนาฬิกา | Passion Investment EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดร.ณัฐเศรษฐ์ พูนทรัพย์มณี เกิดในครอบครัวที่คลุกคลีในแวดวงนาฬิกา ปัจจุบันเขาคือนักสะสมนาฬิกา Vintage Rolex เรือนเด่นๆ จากหลายยุคสมัย จนกลายเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุนที่น่าสนใจ ร่วมกันค้นหาความหมายของคำว่า Passion Investment ที่ใช้ใจนำจนให้ผลกำไรทั้งความสุขและมูลค่า

 

[ADVERTORIAL]

The post ชมคลิป: เรียนรู้ความต่างระหว่าง Collector และ Trader ในวงการนาฬิกา | Passion Investment EP.3 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘กล้วยหอมติดเทปกาว’ งานศิลปะสุดปั่น กำลังจะถูกนำออกประมูลด้วยราคาประเมินที่สูงลิ่วถึง 33.7-50.5 ล้านบาท https://thestandard.co/maurizio-cattelan-s-duct-taped-banana-could-sell/ Sun, 27 Oct 2024 09:02:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1000669 กล้วยหอมติดเทปกาว

กล้วยหอมธรรมดาๆ ที่ติดด้วยเทปกาวสีเงินบนผนังขาว กลายเป็ […]

The post ‘กล้วยหอมติดเทปกาว’ งานศิลปะสุดปั่น กำลังจะถูกนำออกประมูลด้วยราคาประเมินที่สูงลิ่วถึง 33.7-50.5 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
กล้วยหอมติดเทปกาว

กล้วยหอมธรรมดาๆ ที่ติดด้วยเทปกาวสีเงินบนผนังขาว กลายเป็นงานศิลปะที่สร้างปรากฏการณ์ระดับโลกในงาน Art Basel Miami Beach เมื่อปี 2019 โดยศิลปินชื่อดัง Maurizio Cattelan 

 

ผลงานชิ้นนี้สร้างความฮือฮาจนแกลเลอรีต้องนำออกเพราะคนแห่ชมจนล้นทะลัก กลายเป็นกระแสไวรัลและมีคนทำเลียนแบบมากมาย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ทั้งเหล่าคนดังโพสต์ถึง นักวิจารณ์ศิลปะชั้นนำวิพากษ์วิจารณ์ และมีคนถึงขั้นกินกล้วยลูกนั้นไปด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดคือนักสะสมงานศิลปะต่างแย่งกันซื้อผลงานชิ้นนี้

 

ผลงานที่มีชื่อว่า ‘Comedian’ สร้างขึ้นเพียง 3 ชิ้น มีราคาขายอยู่ที่ชิ้นละ 1.2-1.5 แสนดอลลาร์ (ประมาณ 4.04-5.04 ล้านบาท) โดย 1 ชิ้นบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ Guggenheim ส่วนอีก 2 ชิ้นอยู่ในมือนักสะสมส่วนตัว และล่าสุด 1 ใน 2 ชิ้นนั้นกำลังจะถูกนำออกประมูลด้วยราคาประเมินที่สูงลิ่วถึง 1-1.5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 33.7-50.5 ล้านบาท)

 

David Galperin หัวหน้าฝ่ายศิลปะร่วมสมัยแห่งอเมริกาของ Sotheby’s กล่าวว่า “เรากำลังจัดการกับหนึ่งในผลงานที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดที่ Cattelan เคยสร้างมา และยังเป็นหนึ่งในผลงานที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแห่งศตวรรษนี้ ราคาประเมินอาจไม่ได้มาจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ราคาอาจพุ่งสูงกว่านั้นได้อีก”

 

ในวงการศิลปะ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุเพียงอย่างเดียว ภาพวาดของ Picasso ก็เป็นเพียงสีบนผ้าใบ รูปปั้น ‘David’ ของ Michelangelo ก็เป็นเพียงก้อนหิน และเมื่อร้อยปีก่อน Marcel Duchamp ก็เคยนำโถปัสสาวะมาวางตะแคงจนกลายเป็นผลงาน ‘Fountain’ ที่ล้มล้างแนวคิดเรื่องฝีมือของศิลปินในการสร้างงานศิลปะ โดยเฉพาะผลงาน ‘Comedian’ ถูกตีความว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความไร้เหตุผลของตลาดงานศิลปะอีกด้วย

 

สำหรับผู้ที่จะชนะการประมูลในครั้งนี้ นอกจากจะได้รับใบรับรองความเป็นเจ้าของผลงานแล้ว ยังได้รับสิทธิ์ในการจัดแสดงผลงานพร้อมคู่มือการติดตั้งอย่างละเอียด รวมถึงม้วนเทปกาวและกล้วย 1 ลูก ซึ่ง Galperin เผยว่า “กล้วยและเทปกาวสามารถเปลี่ยนใหม่ได้ตามต้องการ ไม่จำเป็นต้องเป็นชิ้นเดิม”

 

ก่อนการประมูลในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ผลงานชิ้นนี้จะถูกนำไปจัดแสดงทั่วโลก ทั้งที่นิวยอร์ก, ลอนดอน, ปารีส, มิลาน, ฮ่องกง, ดูไบ, ไทเป, โตเกียว และลอสแอนเจลิส 

 

Galperin มั่นใจว่าจะไม่ใช่แค่นักสะสมงานศิลปะเท่านั้นที่สนใจ แต่ด้วยชื่อเสียงระดับโลกของผลงานชิ้นนี้ “อาจทำให้มีผู้สนใจจากทุกวงการเข้าร่วมประมูล” เขากล่าวทิ้งท้าย

 

ภาพ: Eva Marie Uzcategui / Reuters

อ้างอิง:

 

The post ‘กล้วยหอมติดเทปกาว’ งานศิลปะสุดปั่น กำลังจะถูกนำออกประมูลด้วยราคาประเมินที่สูงลิ่วถึง 33.7-50.5 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดำเงา (หรือดำด้าน?) Apple Watch Series 10 บางขึ้น สวยขึ้น ตอบโจทย์กว่าเดิม https://thestandard.co/apple-watch-series-10/ Tue, 15 Oct 2024 12:37:27 +0000 https://thestandard.co/?p=996243

เวลาผ่านไปไวอย่างไม่น่าเชื่อ จากวันเปิดตัว Apple Watch […]

The post ดำเงา (หรือดำด้าน?) Apple Watch Series 10 บางขึ้น สวยขึ้น ตอบโจทย์กว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>

เวลาผ่านไปไวอย่างไม่น่าเชื่อ จากวันเปิดตัว Apple Watch ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2014 วันนี้นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะที่ขายดีที่สุดในโลก เปลี่ยนชีวิตของใครหลายคนมานานถึง 10 ปีแล้ว และแน่นอนว่าด้วยความเป็น ‘รุ่นที่ 10’ เราย่อมอยากเห็นอะไรพิเศษๆ บ้าง

 

ปรากฏว่าไม่มี! เพราะการเปิดตัว Apple Watch Series 10 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไรมากมายนัก (และเป็นเรื่องที่เราควรชินได้แล้วสำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ Apple ในยุคหลัง) ในการฟังข้อมูลทางเทคนิคและฟีเจอร์ต่างๆ แล้ว ในความรู้สึกคิดว่าน่าจะไม่มีอะไรแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้า (Series 9) มากเท่าไรนัก

 

แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น และสิบตาเห็นก็ไม่เท่าการสัมผัสจริง ซึ่งต้องบอกว่า Apple Watch Series 10 ทำให้ประหลาดใจได้อยู่พอสมควรเลยทีเดียว

 

ความเปลี่ยนแปลงที่รู้สึกชัดเจนที่สุดคือ ตัวเรือนบางลงแบบรู้สึกได้ โดย Apple บอกว่าตัวเรือนบางลง 10% จากเดิม ทำให้ไม่นูนเหมือนซีรีส์ก่อนๆ ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ใช้งาน Apple Watch อยู่แล้วจะรู้สึกถึงความแตกต่าง

 

และแน่นอน บางขึ้นก็ทำให้ตัวเรือนดูสวยและลงตัวมากขึ้นด้วย ยิ่งตัวเรือนสีใหม่ (แต่เป็นสีเก่าอันลือลั่นของ iPhone 7) อย่างสี Jet Black ที่เป็นสีดำเงาก็ทำให้รู้สึกถึงความหรูเล็กๆ

 

Apple Watch Series 10 ไม่ได้มีดีแค่ความบาง แต่ความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่มีผลไม่น้อยคือขนาดจอที่ใหญ่ขึ้น 1 มิลลิเมตร จากรุ่นเดิม 41 มิลลิเมตร และ 45 มิลลิเมตร เป็น 42 มิลลิเมตร และ 46 มิลลิเมตร (ยังใช้สายของรุ่นก่อนได้ไม่มีปัญหา) ทำให้จอใหญ่ขึ้น (30% เมื่อเทียบกับ Series 4-6 และ 9% สำหรับ Series 7-9) สวยขึ้นและดูง่ายขึ้นมาก

 

ให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้เลย เพราะมองเห็นชัดทุกมุมมอง โดยเฉพาะขนาด 46 มิลลิเมตร เมื่อทดลองใช้ดูจะรู้สึกได้ว่ามีผลต่อหัวใจ ชวนอยากให้อัปเกรดมากจริงๆ

 

แต่การอัปเกรดของรุ่นที่ 10 ไม่ได้จบแค่ตัวเรือนและขนาดหน้าจอเท่านั้น สิ่งที่ Apple ใส่เข้ามายังมีเรื่องของลำโพงที่ทำให้เราฟังเพลง ฟังรายการ Podcasts หรือกระทั่งการอ่านหนังสือก็ทำได้ ซึ่งจริงๆ ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักกับลำโพงเล็กๆ ที่ติดมากับนาฬิกา

 

แต่เท่าที่ลองใช้ดูก็ถือว่าใช้ได้อยู่ วิ่งไปฟังเพลงคลอไปเบาๆ โดยไม่ต้องใส่หูฟังก็ใช้ได้เหมือนกัน และแน่นอนว่าใช้คุยโทรศัพท์ได้ดีขึ้นด้วยระบบแยกเสียงสนทนา ที่แยกระหว่างเสียงพูดและเสียงพื้นหลังได้ อันนี้อยากบอกว่าฉลาดมาก

 

และที่ชอบอีกอย่างคือ สายแบบ Link Bracelet สายแบบใหม่ที่ให้ความหรูหรา ใส่ออกงานทางการได้เลย (แต่คุณต้องจ่ายเพิ่มอีก 14,500 บาท) ซึ่ง Apple บอกว่ามีชิ้นส่วนมากกว่า 100 ชิ้นที่ผลิตจากโลหะผสมสเตนเลสสตีล 316L ใช้เวลาเกือบ 9 ชั่วโมงในการตัดข้อต่างๆ สำหรับสายนาฬิกาเพียงเส้นเดียว โดยมีตัวล็อกแบบปีกผีเสื้อที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะพับติดอยู่กับตัวสาย

 

นอกจากนี้ตรงข้อหลายข้อยังมีปุ่มปลดล็อกที่กดง่าย ให้ใส่ข้อเพิ่มหรือถอดออกได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษให้ยุ่งยาก ซึ่งเราลองแล้วปรากฏว่าจริงแม้จะขลุกขลักไปบ้างในตอนแรก แต่ในที่สุดก็เรียนรู้เรื่องการถอดและใส่ได้แล้วในเวลาสั้นๆ

 

สิ่งที่น่าติงสำหรับ Apple Watch Series 10 ยังเป็นเรื่องของแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ชดเชยด้วยระบบการชาร์จใหม่ ที่ชาร์จเร็วจาก 0-80% ได้ในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง

 

สำหรับคนที่ชอบลืมชาร์จตอนกลางคืน (เช่น ผู้เขียน) การชาร์จไวแบบนี้ช่วยประหยัดเวลาและลดความตึงเครียดในยามเช้าที่เร่งรีบได้มาก และน่าจะดีสำหรับผู้ที่ใช้งานหนักจนอาจทำให้แบตเตอรี่หมดไวก่อนครบวัน (ชาร์จ 15 นาทีใช้ได้ 8 ชั่วโมง)

 

ยังมีฟีเจอร์ด้านสุขภาพที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน Depth และ Tides สำหรับผู้ที่ชอบกิจกรรมทางน้ำ แอป Vitals ที่เป็นเหมือนตัวสรุปข้อมูลด้านสุขภาพประจำตัวของเรา ไปจนถึงการเพิ่มประเภทกีฬาใน Workout (มีฟุตบอลด้วย!) และ Sleep Apnea ฟีเจอร์ที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งสามารถตรวจจับภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

 

รวมๆ แล้ว Apple Watch Series 10 เป็นการอัปเกรดที่ดีกว่าความคาดหวังพอสมควร อย่างน้อยแค่เรื่องขนาดตัวเรือนที่บางลง และหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น ก็มีผลต่อหัวใจแล้ว เพียงแต่แนะนำให้ไปลองจับของจริงก่อน จะช่วยตอบความรู้สึกได้ดีที่สุด

 

โดย Apple Watch Series 10 มี 2 รุ่นหลักคือ รุ่น Aluminum ราคาเริ่มต้น 14,900 บาท (สำหรับ GPS) มี 3 สีด้วยกันคือ Jet Black, Rose Gold และ Silver ขณะที่รุ่น Titanium (ที่สวยและหรูขึ้นไปอีก) ราคา 25,900 บาท มี 3 สีคือ Natural, Gold และ Silver โดยทุกรุ่นมี 2 ขนาดคือ 42 มิลลิเมตร และ 46 มิลลิเมตร

 

ทีนี้จะดำเงาหรือดำด้าน ก็ลองถามใจตัวเองกันดู!

 

เมธา พันธุ์วราทร

The post ดำเงา (หรือดำด้าน?) Apple Watch Series 10 บางขึ้น สวยขึ้น ตอบโจทย์กว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เทรนด์ทำบุญเปลี่ยน! Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย ผันตัวเป็นจิตอาสาแทนบริจาคเงิน https://thestandard.co/wealthy-millennials-gen-z-are-redefining-philanthropy/ Sat, 12 Oct 2024 03:38:54 +0000 https://thestandard.co/?p=995178 ทำบุญ

คนรุ่นใหม่ใจบุญมากขึ้น Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย เปลี่ […]

The post เทรนด์ทำบุญเปลี่ยน! Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย ผันตัวเป็นจิตอาสาแทนบริจาคเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำบุญ

คนรุ่นใหม่ใจบุญมากขึ้น Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย เปลี่ยนวิธีทำบุญแบบใหม่ ไม่เน้นบริจาคเงิน แต่ผันตัวทำจิตอาสา-ช่วยองค์กรการกุศล ส่วนคนอายุมากกว่า 44 ปียังเน้นบริจาคเงินเป็นหลัก 

 

จากผลสำรวจของ Bank of America Private Bank ที่ปรึกษาทางการเงิน พบว่า ความแตกต่างระหว่างรุ่นมีผลมาจากวิถีชีวิตและฐานะทางการเงินที่ต่างกัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ที่ได้รับมรดกจากครอบครัวและมีเวลาสร้างเนื้อสร้างตัวจนประสบความสำเร็จในด้านหน้าที่การงาน จากนั้นเมื่อมีทุนทรัพย์มากพอก็เริ่มแบ่งไปบริจาคหรือทำบุญ เพราะมีความเชื่อว่าทำแล้วจะมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

โดยเฉพาะ Gen Y และ Gen Z  เด็กรุ่นใหม่ที่มีฐานะร่ำรวย เปลี่ยนแนวทางการทำบุญ จากเดิมจะเน้นบริจาคเงิน แต่ตอนนี้พวกเขามองว่าบทบาทที่ควรเป็นคือการเป็นนักเคลื่อนไหวช่วยสังคมมากกว่า

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ทำให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Gen Y ที่มีอายุน้อยกว่า 43 ปีผันตัวไปเป็นจิตอาสาช่วยหน่วยงานต่างๆ ระดมทุน และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ถือว่ามากกว่าคน Gen X และ Baby Boomer เสียอีก ขณะที่กลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 44 ปียังเน้นบริจาคเงินเป็นหลัก

 

จริงๆ แล้วภาพลักษณ์ที่คน Gen Y และ Gen Z พยายามสร้างขึ้นมา คือตัวเขาต้องการเป็นตัวแทนสร้างการเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาให้สังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างอิทธิพลในการกระตุ้นให้คนรอบข้างเข้ามาช่วยขับเคลื่อนไปด้วยกัน 

 

Dianne Chipps Bailey ผู้จัดการฝ่ายบริหารของ Bank of America Private Bank กล่าวว่า ปัจจุบันการให้เพื่อการกุศลนั้นประกอบไปด้วย 5 เรื่องคือ เวลา, ทักษะ, ทรัพย์สิน, ประสบการณ์ และความสัมพันธ์  

 

คนรุ่นเก่าจะเน้นให้เงิน ส่วนคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Y และ Gen Z เน้นเข้าไปสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้สังคมได้โดยตรง พวกเขาจะไม่ทำแค่ผิวเผิน เพราะต้องการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างยั่งยืน 

 

นอกจากนี้คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มสนับสนุนและช่วยเหลือต่อยอดไปยังโครงการช่วยคนไร้บ้าน ตามด้วยความยุติธรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสร้างโอกาสให้กับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมากขึ้น สวนทางกับผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 44 ปีที่จะเน้นสนับสนุนองค์กรทางศาสนา ศิลปะ และองค์กรการกุศลด้านการทหาร

 

Bailey ย้ำอีกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางกิจกรรมการกุศลถูกผู้บริจาคที่มีฐานะร่ำรวยครอบงำ แต่วันนี้เริ่มไม่เป็นแบบนั้นแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่ศึกษาข้อมูลและเข้ามาเปลี่ยนแปลงกันมากขึ้น และจากการสำรวจยังพบว่า หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมพวกเขาจะประเมินความสำเร็จในสิ่งที่ทำเพื่อนำมาต่อยอดในการทำกิจกรรมครั้งถัดไป

 

สุดท้ายนี้คนกลุ่มนี้ไม่ชอบให้คนเรียกพวกเขาว่า นักการกุศล เห็นได้จากรายงานของ Foundation Source ที่พบว่า ผู้บริจาค Gen Y และ Gen Z กว่า 80% ต้องการให้มองพวกเขาว่าเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่า โดยมีแค่ 27% เท่านั้นที่ยอมให้เรียกว่านักการกุศล

 

อ้างอิง:

 

 

The post เทรนด์ทำบุญเปลี่ยน! Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย ผันตัวเป็นจิตอาสาแทนบริจาคเงิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สถิติราคาและความร้อนแรงของตลาดสะสมรองเท้าสนีกเกอร์ https://thestandard.co/sneaker-collection-market-trends/ Sun, 06 Oct 2024 02:50:28 +0000 https://thestandard.co/?p=992170 สนีกเกอร์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รองเท้าผ้าใบกลายเป็นของสะสมมูลค่า […]

The post สถิติราคาและความร้อนแรงของตลาดสะสมรองเท้าสนีกเกอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สนีกเกอร์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รองเท้าผ้าใบกลายเป็นของสะสมมูลค่าสูง แม้กระทั่งบริษัทการประมูลยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Sotheby’s ก็เริ่มเปิดประมูลรองเท้าผ้าใบในปี 2019 หรือ Christie’s เปิดแผนก Department X ในปี 2022 เน้นขายของสะสมหายากจากแวดวงดนตรี, แฟชั่น, ศิลปะ และประวัติศาสตร์กีฬา ซึ่งมีรองเท้าผ้าใบและเสื้อผ้าแนวสตรีทเป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุด 

 

โดยในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน Christie’s จัดงานประมูล Six Rings – Legacy of the GOAT ให้กับ Michael Jordan ทำยอดขายไปได้เกือบ 1.5 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่ Sotheby’s คอลเล็กชันรองเท้าผ้าใบ Louis Vuitton และ Nike Air Force 1 จำนวน 200 คู่ ออกแบบโดย Virgil Abloh ทำยอดขายไป 25 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าราคาประเมินถึง 8 เท่า โดยมีคู่หนึ่งขายได้ในราคาถึง 350,000 ดอลลาร์ หรือราว 11 ล้านบาท นี่เป็นแค่ความฮอตฮิตบางส่วนของแวดวงรองเท้าผ้าใบสะสม 

 

Market Decipher บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดเคยประเมินว่า ในปี 2022 ตลาดรองเท้าผ้าใบทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และภายในปี 2032 มูลค่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ถ้าเทียบกับตลาดศิลปะที่ Art Basel และ UBS เคยประเมินมูลค่าไว้ในปี 2023 อยู่ที่ราว 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ 

 

สำหรับสถิติการขายที่น่าสนใจก็อย่างเช่น Nike Moon Shoes ที่ได้รับการประมูลไปในราคา 437,000 ดอลลาร์ หรือราว 14.3 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของราคาขายที่ 150,000 ดอลลาร์ หรือราว 4.9 ล้านบาท ความพิเศษของรองเท้ารุ่นนี้คือ เป็นผลงานการออกแบบของ Bill Bowerman ผู้ร่วมก่อตั้ง Nike สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1972 ซึ่งทำออกมาเพียง 12 คู่ และคู่นี้เป็นเพียงคู่เดียวที่ยังไม่เคยถูกสวมใส่เลย 

 

ส่วนขาประจำเจ้าของสถิติราคาสูงที่สุดในโลก 4 ใน 5 คู่ก็ต้องยกให้กับความร่วมมือระหว่าง Michael Jordan และ Nike โดยเฉพาะรองเท้าที่เขาเคยใส่ลงแข่งขัน โดย Air Jordan 13 ที่เขาใส่ในเกมรอบชิงชนะเลิศ NBA ปี 1998 ขายที่ Sotheby’s ด้วยราคาสูงถึง 2.2 ล้านดอลลาร์ หรือราว 77.6 ล้านบาท ส่วนการประมูล The Dynasty Collection รวบรวม Air Jordan 6 คู่ที่เขาสวมใส่ระหว่างการแข่งขันชิงแชมป์ Chicago Bulls 6 สมัย ก็มียอดขายรวมถึง 8 ล้านดอลลาร์ หรือราว 260 ล้านบาท ในปี 2023

 

และแม้ชื่อเสียงของ Kanye West จะถดถอยลงไป และเลิกทำงานกับ adidas ไปแล้ว แต่ผลงานของเขาที่ Nike ก็ยังเป็นของหายากสำหรับนักสะสม อย่างเช่นรองเท้า Nike Donda West Air Jordan VI ออกแบบเพื่อรำลึกถึง Dr.Donda West มารดาผู้ล่วงลับของเขา ที่ผลิตออกมาเพียง 4-6 คู่ และ Nike Air Yeezy 1 Prototype รองเท้าผ้าใบรุ่นแรกที่ออกแบบร่วมกับแบรนด์นี้ โดยคู่ที่เขาสวมใส่ในการแสดงที่งาน Grammy Awards เมื่อปี 2008 ขายไปในราคาสูงถึง 1.8 ล้านดอลลาร์ หรือราว 58.6 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรองเท้าผ้าใบคู่แรกที่ทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์ 

 

ไม่เพียงแต่นักสะสมระดับไฮเอนด์ แต่ยังมีกลุ่มผู้รักรองเท้าผ้าใบสะสมไว้เป็นงานอดิเรก และเพื่อการลงทุนผ่านทางเว็บซื้อขายยอดนิยมอย่าง eBay แม้ราคารองเท้าแต่ละคู่จะไม่ถึงหลักล้านดอลลาร์ แต่เมื่อรวมยอดการประมูล 3 อันดับสูงสุดก็มีมูลค่ามากกว่า 100,000 ดอลลาร์ หรือราว 3.3 ล้านบาท โดยในปี 2023 รองเท้า Nike Air Force 1 Low x Louis Vuitton University Blue ขายในราคา 60,000 ดอลลาร์ หรือราว 1.96 ล้านบาท, Nike SB Charity Dunk ขายได้ในราคา 31,300 ดอลลาร์ หรือราว 1 ล้านบาท และ Nike Air Jordan IV 4 Manila ขายไปในราคา 26,715 ดอลลาร์ หรือราว 870,000 บาท 

 

ส่วน adidas มียอดขายเติบโตขึ้นถึง 15.8% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ดีกว่าคู่แข่งอย่าง Nike ซึ่งมียอดขายแบบทรงๆ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการตีความใหม่ให้กับรองเท้ารุ่น Samba และรุ่นคลาสสิกอื่นๆ เช่น Gazelle และ Spezial ซึ่ง Morgan Stanley คาดการณ์ว่ายอดขายโมเดลนี้อาจเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคู่ภายในสิ้นปี ซึ่งคิดเป็น 40% ของการเติบโตพื้นฐานของบริษัทเลยทีเดียว

สำหรับรองเท้ารุ่นที่น่าจับตามองคือผลงานของแรปเปอร์และโปรดิวเซอร์ Travis Scott ที่ราคายังพอสัมผัสได้และสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ได้ดีกว่ารุ่นของ Michael Jordan ก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะคงความคลาสสิกและสร้างมูลค่าได้เหมือนของตำนานบาสเกตบอลหรือเปล่า 

 

The Dynasty Collection ราคาประมาณ 260 ล้านบาท 

 

 

นี่คือของที่ระลึกจากตำนานบาสเกตบอล Michael Jordan ด้วยสถิติที่ยากจะมีใครโค่นลงได้ ด้วยการเป็นแชมป์ NBA 6 สมัย, MVP รอบไฟนอล 6 สมัย, MVP ลีก 5 สมัย และเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย โดย The Dynasty Collection คือชุดรองเท้า Air Jordan 6 คู่ แต่ละคู่เป็นรองเท้าที่เขาสวมใส่ในการคว้าแชมป์ NBA 6 สมัย ทั้ง Air Jordan VI (1991), Air Jordan VII (1992), Air Jordan VIII (1993), Air Jordan XI (1996), Air Jordan XII (1997) และ Air Jordan XIV (1998)

 

Nike Moon Shoes ราคาประมาณ 14.3 ล้านบาท

 

สนีกเกอร์

 

 

ผลงานการออกแบบของผู้ร่วมก่อตั้ง Nike สำหรับนักกีฬาโอลิมปิกปี 1972 ซึ่งผลิตมาเพียง 12 คู่เท่านั้น รองเท้าคู่นี้ถูกนำขึ้นประมูลในปี 2019 ซึ่งผู้ชนะคือมหาเศรษฐีชาวแคนาดา และเคยครองตำแหน่งรองเท้าผ้าใบที่แพงที่สุดในโลก 

 

Nike Air Yeezy 1 Prototype ราคาประมาณ 58.6 ล้านบาท

 

 

รองเท้าที่เหมือนเป็นการเปิดตัวอาณาจักร Nike Yeezy ก่อนหน้านั้นประมาณ 1 ปี มีข่าวความร่วมมือระหว่าง Kanye West และ Nike ออกมาหนาหู แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด จนกระทั่งเขาขึ้นแสดงที่งานประกาศรางวัล Grammy Awards ครั้งที่ 50 ในปี 2008 ก็ถือว่าเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่น่าเสียดายที่ Nike Yeezy มีอายุอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนกระทั่ง Kanye West หันไปซบอก adidas แทน จึงทำให้ผลงานของเขาที่ Nike กลายเป็นของน่าสะสมขึ้นมาทันที 

 

Nike Donda West Air Jordan VI ไม่เปิดเผยราคา

 

sneaker-collection-market-trends

 

รองเท้าที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึง Dr.Donda West แม่ของ Kanye West ที่ผลิตออกมาเพียง 4-6 คู่ให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนๆ รองเท้ารุ่นนี้ไม่เคยวางจำหน่าย จนกระทั่งในปี 2022 ก็ถูกนำขึ้นประมูลที่ Christie’s 

 

อ้างอิง: 

The post สถิติราคาและความร้อนแรงของตลาดสะสมรองเท้าสนีกเกอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ใช้แพสชันนำการลงทุนในแบบ พิริยะ วัชจิตพันธ์ นักสะสมศิลปะด้วยใจ | Passion Investment EP.2 https://thestandard.co/passion-investment-ep-2/ Sat, 05 Oct 2024 08:05:34 +0000 https://thestandard.co/?p=992028

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทยไปกับคอลเล็กชันส่วนตัวของ […]

The post ชมคลิป: ใช้แพสชันนำการลงทุนในแบบ พิริยะ วัชจิตพันธ์ นักสะสมศิลปะด้วยใจ | Passion Investment EP.2 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทยไปกับคอลเล็กชันส่วนตัวของ พิริยะ วัชจิตพันธ์ นักสะสมที่เริ่มต้นจากภาพตกแต่งกำแพงเพียงภาพเดียว สู่เจ้าของผลงานศิลปินไทยทุกสมัย จนได้แสดงในนิทรรศการ 200 YEARS JOURNEY THROUGH THAI MODERN ART HISTORY ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ทำความรู้จักการสะสมจากความรักที่ใช้แพสชันนำการลงทุน จนได้กำไรทางใจและมูลค่าทางธุรกิจ

 

[ADVERTORIAL]

The post ชมคลิป: ใช้แพสชันนำการลงทุนในแบบ พิริยะ วัชจิตพันธ์ นักสะสมศิลปะด้วยใจ | Passion Investment EP.2 appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนรุ่นใหม่กำลังกลายเป็นลูกค้าหลักตลาดนาฬิกาหรู แล้วแบรนด์ไหนที่พวกเขาตัดสินใจเลือก https://thestandard.co/young-buyers-luxury-watch/ Sat, 28 Sep 2024 02:00:17 +0000 https://thestandard.co/?p=988338

เป็นเวลาหลายสิบปีที่ผู้ผลิตนาฬิกาหรูมักจะทำการตลาดกับลู […]

The post คนรุ่นใหม่กำลังกลายเป็นลูกค้าหลักตลาดนาฬิกาหรู แล้วแบรนด์ไหนที่พวกเขาตัดสินใจเลือก appeared first on THE STANDARD.

]]>

เป็นเวลาหลายสิบปีที่ผู้ผลิตนาฬิกาหรูมักจะทำการตลาดกับลูกค้า ‘รุ่นใหญ่’ ที่เชื่อว่ามีรายได้และฐานะมั่นคง แต่ผลการสำรวจล่าสุดของ Chrono24 พบว่า ปัจจุบันกลุ่ม ‘คนรุ่นใหม่’ กลับมีแนวโน้มที่จะซื้อนาฬิกาหรูมากกว่า

 

จากการสำรวจความตั้งใจในการซื้อนาฬิกาหรูในกลุ่มตัวอย่าง 2,123 คน ดำเนินการโดย YouGov ในนามของ Chrono24 ที่เยอรมนี พบว่าลูกค้าอายุน้อยระหว่าง 18-44 ปี ถึง 1 ใน 3 เป็นเจ้าของนาฬิกาหรูอยู่แล้ว และมีความคิดว่าจะซื้อเทียบกับ 26% ของคนในช่วงอายุ 45-55 ปี และเพียง 17% ของคนที่มีอายุมากกว่า 55 ปี

 

โดยกลุ่ม Gen Z อายุระหว่าง 18-24 ปี คือกลุ่มที่มีแนวโน้มสูงสุดถึง 20% ที่จะซื้อนาฬิกาหรูในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทุกกลุ่มอยู่ที่ 11% เท่านั้น

 

โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อครั้งแรกมากที่สุดคือเรื่องการออกแบบที่ 50% ในขณะที่ 48% ให้ความสำคัญกับคุณภาพของกลไกและแบรนด์ ส่วนเรื่องราคามีความสำคัญน้อยกว่าที่ 36% ประวัติศาสตร์ของแบรนด์ 21% และความพิเศษ 21% ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่เริ่มสะสมให้ความสำคัญกับความสวยงามมากกว่าราคาและความคุ้มค่า

 

เมื่อแยกตามเพศ ผู้ชายถึง 33% เป็นเจ้าของหรือต้องการเป็นเจ้าของนาฬิกาสุดหรู ส่วนผู้หญิงมีเพียง 19% เท่านั้น โดยการรักษาราคาและมูลค่ามีความสำคัญต่อผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 

 

ขณะที่แบรนด์ที่ครองใจนักสะสมหน้าใหม่ยังคงเป็นแบรนด์ยอดนิยมอย่าง Rolex (ผู้ชาย 16.2% และผู้หญิง 27.7%) OMEGA (ผู้ชาย 13.7% และผู้หญิง 9.6%) และ Seiko (ผู้ชาย 11.0% และผู้หญิง 4.3%) ตามมาด้วย Breitling, TAG Heuer และ Cartier 

 

ที่น่าสนใจคือ Cartier ครองใจนักสะสมผู้หญิงมือใหม่เป็นส่วนใหญ่ถึง 11.6% หากวัดตามเพศแล้วก็จะเป็นรองแค่ Rolex เพียงแบรนด์เดียว 

 

แม้ค่าครองชีพจะสูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูงจะส่งผลกระทบกับกลุ่มคนหนุ่มสาวมากกว่ากลุ่มคนรุ่นเก่า แต่กลับแทบไม่มีผลกับการตัดสินใจซื้อนาฬิกาหรูเลย อย่างที่สหรัฐอเมริกาในช่วงปีที่แล้ว 41% ของกลุ่ม Gen Z ซื้อนาฬิกาสุดหรูโดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 10,870 ดอลลาร์ หรือราว 360,000 บาท โดยคนรุ่น Millennials ใช้จ่ายเฉลี่ยที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เท่านั้น 

 

ส่วนในตลาดนาฬิกามือสอง Gen Z ใช้จ่ายระหว่าง 7,500-10,000 ดอลลาร์ หรือราว 250,000-330,000 บาท ซึ่ง Gen Z จะซื้อนาฬิกาใหม่เฉลี่ย 2.4 เรือนต่อปี และนาฬิกามือสอง 1.43 เรือนต่อปี 

 

ส่วนคำถามที่ว่า คนรุ่นใหม่เอาเงินมาจากไหน ส่วนใหญ่ 21% ใช้วิธีผ่อนชำระ หรือไม่ก็ขายทรัพย์สินอย่างอื่นเพื่อหวังสร้างกำไรจากนาฬิกาหรู พูดง่ายๆ ก็คือพวกเขามองเรื่องการลงทุนมากกว่า 

 

Balazs Ferenczi ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฬิกาของ Chrono24 ระบุว่า ความต้องการแบรนด์นาฬิกาชั้นนำกำลังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมป๊อปมากขึ้น ผ่านเหล่าผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงต่างๆ ทั้งนักร้องฮิปฮอป เช่น Drake หรือ Cardi B รวมถึงนักแสดง นักกีฬา และนักดนตรี ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แบรนด์นาฬิกาใหญ่ๆ เริ่มหาความร่วมมือกับศิลปินเพื่อดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ เช่น Audemars Piguet x Cactus Jack แบรนด์และค่ายเพลงของ Travis Scott ออกมาเป็นนาฬิกา Royal Oak Perpetual Calendar สีน้ำตาลลิมิเต็ดเอดิชัน เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ เขายังให้ความเห็นว่า แม้ว่าการรักษามูลค่าของนาฬิกาจะไม่ใช่ประเด็นหลักในการตัดสินใจซื้อ แต่การที่ Rolex ซึ่งมีคุณสมบัติเรื่องมูลค่าค่อนข้างคงที่ เป็นแบรนด์ที่ได้รับเลือกมากที่สุด เหตุผลนี้ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจของนักสะสมหน้าใหม่เช่นเดียวกัน 

 

อย่างไรก็ตาม ยิ่งนักสะสมมีประสบการณ์มากขึ้นเท่าไร รสนิยมของแต่ละคนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เลือกซื้อแบรนด์และรุ่นที่มีความหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย 

 


 

Rolex

 

 

ผู้ชาย 16.2%

ผู้หญิง 27.7%

เฉลี่ย 16.8%

 

ครองแชมป์นาฬิกาที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับผู้ที่จะซื้อนาฬิกาหรูเป็นเรือนแรก ด้วยชื่อเสียงและประวัติอันยาวนานของแบรนด์ รวมถึงความนิยมในวงกว้าง จนทำให้ Rolex เป็นนาฬิกาที่รักษามูลค่าได้คงที่ที่สุด

 


 

OMEGA

 

 

ผู้ชาย 13.7%

ผู้หญิง 9.6%

เฉลี่ย 12.7%

 

นาฬิกาเรือนเท่ โดยเฉพาะรุ่นยอดนิยมอย่าง Speedmaster ซึ่งเป็นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกที่สวมใส่บนดวงจันทร์ นอกจากนี้ ยังถือเป็นบิดาแห่งนาฬิกาจับเวลาสมัยใหม่อีกด้วย 

 


 

Seiko

 

 

ผู้ชาย 11.0%

ผู้หญิง 4.3%

เฉลี่ย 10.5%

 

นาฬิกาสัญชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะการเป็นผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือควอตซ์เชิงพาณิชย์เรือนแรกของโลกในปี 1969 ซึ่งในปี 1960 แบรนด์เปิดตัวนาฬิกา Grand Seiko เน้นดีไซน์เรียบง่าย  แต่ใส่ใจเรื่องวัสดุ รายละเอียด และความเที่ยงตรง 

 


 

Breitling

 

 

ผู้ชาย 6.6%

ผู้หญิง 5.2%

เฉลี่ย 6.2%

 

ผู้ผลิตนาฬิกาหรูสัญชาติสวิส ก่อตั้งในปี 1884 บริษัทนี้มีชื่อเสียงด้านการผลิตนาฬิกาโครโนมิเตอร์สำหรับนักบิน ซึ่งมีรุ่นยอดนิยมอย่างนาฬิการุ่น Navitimer และ Superocean 

 


 

TAG Heuer

 

 

ผู้ชาย 6.3%

ผู้หญิง 4.7%

เฉลี่ย 6.0%

 

นาฬิกาสปอร์ตที่มีความเชื่อมโยงกับความเร็ว และขยันสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยมีรุ่นยอดนิยมอย่างเช่น TAG Heuer Carrera และ TAG Heuer Formula 1

 


 

Cartier

 

 

ผู้ชาย 2.7%

ผู้หญิง 11.6%

เฉลี่ย 3.9%

 

แบรนด์นาฬิกาหรูที่ครองใจนักสะสมรุ่นใหม่กลุ่มผู้หญิง นอกจากนี้ ผู้ชายรุ่นใหม่ก็เริ่มหันมานิยมนาฬิกาโมเดลเล็กกันมากขึ้น อย่างเช่นรุ่น Crash และ Tank ที่มีทั้งความเรียบหรูและดูสุขุม 

 

อ้างอิง: 

The post คนรุ่นใหม่กำลังกลายเป็นลูกค้าหลักตลาดนาฬิกาหรู แล้วแบรนด์ไหนที่พวกเขาตัดสินใจเลือก appeared first on THE STANDARD.

]]>
สื่อเกาหลีใต้ยกให้แฟนคลับไทยพลังแรง! เข้ามาดัน K-Pop สู่เวทีโลก โดยมี TikTok และ Instagram เป็นสมรภูมิสำคัญ https://thestandard.co/growing-influence-of-thailand-in-k-pop-industry/ Sun, 22 Sep 2024 10:55:54 +0000 https://thestandard.co/?p=986662 K-Pop

K-Pop ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์ทางดนตรีอีกต่อไป แต่ก […]

The post สื่อเกาหลีใต้ยกให้แฟนคลับไทยพลังแรง! เข้ามาดัน K-Pop สู่เวทีโลก โดยมี TikTok และ Instagram เป็นสมรภูมิสำคัญ appeared first on THE STANDARD.

]]>
K-Pop

K-Pop ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์ทางดนตรีอีกต่อไป แต่กลายเป็นวัฒนธรรมระดับโลกที่มีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก และเบื้องหลังความสำเร็จนี้ แฟนคลับทั่วโลกมีบทบาทสำคัญในการผลักดันศิลปิน K-Pop ให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

 

แม้ว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร จะยังคงเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับ K-Pop แต่การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง TikTok และ Instagram ได้เปิดโอกาสให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรม K-Pop มากขึ้น

 

ประเทศไทยมีฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นและมีอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย จึงกลายเป็นผู้เล่นรายสำคัญในการขยายตัวของ K-Pop ในระดับโลก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณีของ Alice Ratchadawan อินฟลูเอ็นเซอร์ชาวไทยที่ใช้เพลง Bad ของวงอินดี้เกาหลีใต้ wave to earth ในวิดีโอขอแต่งงานของเธอ จนทำให้เพลงนี้กลายเป็นไวรัลไปทั่วโลก และส่งผลให้ยอดผู้ฟังรายเดือนของ wave to earth บน Spotify พุ่งสูงขึ้นแซงหน้าศิลปินชื่อดังของเกาหลีใต้อย่าง IU เสียอีก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

Hong Jong Hee หัวหน้าฝ่ายสื่อสารของ TikTok Korea ยืนยันว่า ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซียและไทย มีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่ K-Pop ไปทั่วโลก เนื่องจากครีเอเตอร์ในภูมิภาคนี้มักจะนำคอนเทนต์จากเกาหลีใต้มาสร้างสรรค์ใหม่ในสไตล์ของตัวเอง และสร้างกระแสไวรัลได้อย่างรวดเร็ว

 

แม้ว่าอินโดนีเซียจะมีตลาดเพลงที่ใหญ่กว่า เนื่องจากมีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก แต่ไทยกลับมีอิทธิพลต่อ K-Pop มากกว่า เนื่องจากมีศิลปิน K-Pop ชาวไทยที่โด่งดังหลายคน เช่น TEN วง NCT, BamBam วง GOT7 และ LISA วง BLACKPINK

 

Suwat Wuthichairattanaporn ผู้คร่ำหวอดในวงการบันเทิงไทยมากว่า 20 ปี กล่าวว่า “ค่ายเพลงเกาหลีใต้มักจะรับสมัครสมาชิกชาวไทยเพื่อดึงดูดแฟนๆ ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ยังรวมถึงในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และเวียดนามด้วย ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวล่าสุดของ YG Entertainment กับเกิร์ลกรุ๊ป K-Pop วง BABYMONSTER เป็นความพยายามเชิงกลยุทธ์ที่จะครองตลาดไทยและขยายไปยังภูมิภาค CLMV”

 

ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเหนือประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและเมียนมา เนื่องจากมีประชากรที่รวมศูนย์และโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเอื้อต่อการผลิตคอนเทนต์รองและสร้างวิดีโอสั้นๆ บนโซเชียลมีเดียที่สามารถกลายเป็นไวรัลได้อย่างรวดเร็ว

 

Lim Hee Yun นักวิจารณ์เพลง กล่าวว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ LISA วง BLACKPINK ได้ถ่ายทำมิวสิกวิดีโอในประเทศไทย ซึ่งน่าจะไม่ได้เกิดจากความรักชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลอีกด้วย” นั่นสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรมในเอเชีย

 

ภาพ: สลัก แก้วเชื้อ / THE STANDARD POP

อ้างอิง:

 

The post สื่อเกาหลีใต้ยกให้แฟนคลับไทยพลังแรง! เข้ามาดัน K-Pop สู่เวทีโลก โดยมี TikTok และ Instagram เป็นสมรภูมิสำคัญ appeared first on THE STANDARD.

]]>