Economic – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 15 Nov 2024 14:57:37 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ผยงชี้ แก้เศรษฐกิจไทยโตต่ำต้องปฏิรูปโครงสร้าง แก้กับดักหนี้ครัวเรือน https://thestandard.co/payong-thai-economy-slow-growth/ Fri, 15 Nov 2024 14:57:37 +0000 https://thestandard.co/?p=1009236

ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 วันนี้ (15 พฤศจิ […]

The post ผยงชี้ แก้เศรษฐกิจไทยโตต่ำต้องปฏิรูปโครงสร้าง แก้กับดักหนี้ครัวเรือน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Unlocking Economic Capabilities for Future Growth พลิกขีดความสามารถเศรษฐกิจสู่การเติบโตใหม่ โดยชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเติบโตต่ำสุดในภูมิภาค อันเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งการลงทุนต่ำ การแข่งขันได้ยาก และภาวะเศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพ

 

ผยงกล่าวถึงปัญหาใหญ่ของไทย คือการมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ และครัวเรือนจำนวนมากพึ่งพาหนี้นอกระบบ โดย 34% ของครัวเรือนไทยมีหนี้นอกระบบ หนี้ครัวเรือนต่อ GDP 104%

 

โดยชี้ว่าการปฏิรูปเพื่อพลิกศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยจำเป็นที่จะต้องมีลูกธนู 3 ดอก ได้แก่

 

  1. นโยบายการคลัง
  2. นโยบายการเงิน
  3. นโยบายปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

 

ขณะที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการขับเคลื่อนด้วยลูกธนู 3 ดอกนี้ โดยการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตในอนาคต

 

เร่งแก้กับดักหนี้ครัวเรือน 

 

ผยงมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งแก้ไขโดยทันทีคือเรื่อง ‘กับดักหนี้ครัวเรือน’

 

“อนาคตของชาติวันนี้กำลังติดกับดักหนี้ครัวเรือน Gen Z หรือ Gen Y จะติดกับดักในเรื่องของสินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อรถยนต์ ผู้สูงอายุเริ่มต้องพึ่งหนี้ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) ไม่ว่าจะเป็นหนี้สหกรณ์หรือหนี้นอกระบบในการมีชีวิตในช่วงสูงวัย กลุ่ม Baby Boomer เริ่มมีขนาดของหนี้เสีย (NPL) สูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นแปลว่ามาตรการเร่งด่วนที่จะไปปรับแก้กับดักอนาคตของชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

 

โดยในส่วนของมาตรการทางการคลัง เขามองว่ารัฐบาลจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับสวัสดิการรัฐในรูปแบบต่างๆ ทั้งการอุดหนุนเงินช่วยเหลือสินค้าเกษตร การช่วยกับดักหนี้ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ การตรึงราคาค่าไฟ ตรึงราคาน้ำมัน ตลอดจนงบรักษาพยาบาล และการศึกษา

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า การขาดดุลงบประมาณนั้นยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นกว่า 116% และยังไม่มีแนวทางที่จะลดลงได้ในสภาวะที่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 

 

และสรุปสิ่งที่จำเป็นต้องเร่งประสานมี 5 เรื่อง คือ

 

  1. เร่งออกจากกับดักหนี้ครัวเรือน (มาตรการระยะสั้น)
  2. ผันเศรษฐกิจนอกระบบสู่ในระบบ
  3. เร่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
  4. เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ
  5. เติมเครื่องมือช่วย SMEs ให้ปรับตัว

 

“ทั้งหมดนี้เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในพลวัตของเศรษฐกิจภูมิภาค ในสภาวะที่โลกแปรปรวนให้ได้”

The post ผยงชี้ แก้เศรษฐกิจไทยโตต่ำต้องปฏิรูปโครงสร้าง แก้กับดักหนี้ครัวเรือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ขีดเส้นตายเศรษฐกิจไทย กล้าฝ่าพายุความท้าทาย บทสรุป THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 https://thestandard.co/economic-forum-2024-takeaways/ Fri, 15 Nov 2024 14:26:00 +0000 https://thestandard.co/?p=1009227

ปิดฉากลงแล้วสำหรับฟอรัมแห่งปีที่จัดขึ้นตลอด 3 วันที่ผ่า […]

The post ขีดเส้นตายเศรษฐกิจไทย กล้าฝ่าพายุความท้าทาย บทสรุป THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปิดฉากลงแล้วสำหรับฟอรัมแห่งปีที่จัดขึ้นตลอด 3 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 สำหรับงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ ที่อัดแน่นด้วยข้อมูลที่ตกผลึกกลายเป็นความรู้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนพาประเทศไทยไปสู่พรมแดนแห่งโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต 

 

ในเวทีสุดท้าย Closing Speech โดย นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบรรณาธิการบริหาร บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด กล่าวว่า

 

จากการพูดคุยตลอดทั้ง 3 วันของงาน มีข้อสรุปร่วมกันจากนักเศรษฐศาสตร์​และผู้กำหนดนโยบายว่า เศรษฐกิจประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะการเติบโตที่ต่ำทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียน หรือตลาดทุนที่ติดหล่มปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้เป็นที่ดึงดูดของนักลงทุนต่างประเทศทั่วโลกอีกต่อไป

 

ก่อนจะฉายภาพว่าเศรษฐกิจไทยดำเนินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? 

 

โดยเปรียบเทียบว่าประเทศไทยเปรียบได้กับเรือที่ลอยอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรที่ชื่อว่าโลก และเรือที่ชื่อว่าประเทศไทยเชื่อมต่อกับโลกมาอย่างเหนียวแน่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่การส่งออก การท่องเที่ยว การนำเข้าพลังงานและวัตถุดิบ การพึ่งพาการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) หรือแม้แต่ความเชื่อมโยงต่อตลาดเงินและตลาดทุน 

 

ในขณะเดียวกัน โลกปัจจุบันต้องเจอกับความผันผวนอย่างรุนแรงจากทุกทิศทาง จนทำให้ผลกระทบดังกล่าวลุกลามมายังประเทศไทยให้ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติที่กำลังกลายเป็นเมกะเทรนด์สำคัญ คือ

 

1. Information Technology 

 

ในอนาคตเทคโนโลยีจะมีบทบาทหลักในการสร้างผลิตภาพในการทำงานของผู้คน ซึ่งสะท้อนได้จากมูลค่าของหุ้นบริษัท NVIDIA ที่ใช้เวลาเพียง 25 ปี สร้างการเติบโตจากมูลค่าบริษัทที่น้อยกว่าประเทศไทย ปัจจุบันกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเท่ากับประเทศไทย 6 ประเทศรวมกัน 

 

หรือนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่มุ่งเน้นการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคด้วยเงินลงทุนมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท

 

2. Biotechnology 

 

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ฉายภาพถึงผลกระทบของสังคมสูงวัยที่มีการประเมินโดย World Bank และ IMF ไว้ว่า ประเทศไทยท่ามกลางการแก่ตัวลงของประชากรจะส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ไทย 1% ต่อปี 

 

ดังนั้น ท่ามกลางสังคมสูงวัย เอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ เผยว่า โจทย์ใหญ่ที่สุดคือการที่ประชากรวัยทำงานของประเทศไทยลดลงเรื่อยๆ กลับต้องมี ‘โรคอ้วน’ เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติที่กัดกร่อน Health Span ของประชากรไทยโดยที่คิดเป็นต้นทุนสูงถึง 1.3% ของ GDP 

 

ด้าน ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา ฉายภาพโอกาสให้เห็นว่าตลาดยาและอาหารเสริมเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดยามีมูลค่าอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดอาหารเสริมมีมูลค่าสูงถึง 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้าน Healthcare ในปัจจุบัน 

 

3. ESG 

 

อุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพด้านการเกษตร ฉายให้เห็นถึงภาพมาตรฐานโลกใหม่ของอุตสาหกรรมการเกษตรอย่าง EUDR ที่เตรียมแบนสินค้านำเข้าทำลายป่า 

 

ขณะที่ สราวุฒิ อยู่วิทยา เปิดเผยให้เห็นความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า รายงานจาก WMO ระบุว่า ในปี 2023 แหล่งน้ำในโลกเกิดความแห้งแล้งสูงที่สุดในรอบ 30 ปี ด้าน World Bank ระบุว่า หากธุรกิจยังทำแบบเดิม ภายในปี 2050 จะเกิดความตกต่ำของ GDP คิดเป็นความเสียหายกว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และต้นทุนของการปรับตัวในอนาคตก็อาจสูงขึ้นถึง 5 เท่าตัว 

 

ขณะที่อีกด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เปิดเผยข้อมูลว่า บริษัทชั้นนำกว่า 433 แห่งประกาศใช้พลังงานหมุนเวียน 100% จากต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง 90% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่วน ดร.วิรไท สันติประภพ ระบุว่า โลกรวนจะทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น และโจทย์ใหญ่ที่แต่ละประเทศต้องคิดคือเรื่อง Adaptation ที่ไม่มีมาตรฐานสากล และเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศต้องหาแผนรองรับในพื้นที่ของตนเอง 

 

นี่คือ 3 โลกที่เรากำลังมุ่งไป และใน 3 โลกนั้นก็มาพร้อมกับโจทย์ใหญ่ คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีความไม่ลงรอยกันระหว่างประเทศต่างๆ เมื่อภูมิรัฐศาสตร์โลกเกิดการแบ่งโลกออกเป็น 2 ขั้วจากประเด็นความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ Globalization ต้องเจอกับจุดสิ้นสุด ก่อกำเนิดเป็นกระแส Deglobalization ที่แบ่งห่วงโซ่อุปทานของโลกออกเป็น 2 ใบระหว่าง OECD และ BRICS 

 

ฝั่งของมหาอำนาจพญาอินทรีอย่างสหรัฐฯ การก้าวเข้าสู่อำนาจของผู้นำคนใหม่หน้าเดิมอย่าง โดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Disruptive Lighthouse หรือการเปลี่ยนสถานะของผู้นำโลกอย่างสหรัฐฯ จนเกิดนโยบายกีดกันทางการค้าอย่างการขึ้นกำแพงภาษี 

 

ในขณะเดียวกัน ฝั่งของประเทศจีนก็ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นสภาวะ 3 บีบต่อประเทศไทย จากการที่สินค้าไทยไม่สามารถทดแทนสินค้าจีนที่เคยส่งออกไปสหรัฐฯ ได้ หรือถ้าสินค้าไทยส่งออกไปประเทศจีนก็ต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจซบเซาของประเทศจีน หรือแม้แต่สินค้าไทยจะไปบุกตลาดโลกก็ต้องเจอกับตลาดโลกที่หดตัวเล็กลงกว่าเดิม 

 

แต่ท่ามกลางความปั่นป่วน ทุกประเทศก็กำลังไล่กวดแข่งขันเพื่อคว้าโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทั้งการเป็นคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมของประเทศไทย อย่างเช่นสิงคโปร์ในปัจจุบันที่ตั้งเป้าจะเป็น Aviation Hub ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ภายในปี 2030 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งเป้าให้ Dubai Mall กลายเป็น Global Destination หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่า 100 ล้านคน และดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก หรือเวียดนามที่เร่งวิจัย และพัฒนาการเร่งส่งออกข้าวพันธุ์คาร์บอนต่ำ เพื่อรับกระแส Green ที่เกิดขึ้น 

 

“แต่สิ่งที่น่ากลัวคือเวลาของประเทศไทยมีจำกัด” นครินทร์เน้นย้ำ ก่อนกล่าวต่อว่า 

 

ตลอด 5 ปีของการจัด ECONOMIC FORUM ปีนี้เป็นปีที่ผู้นำทุกท่านชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของ Sense of Urgency มากที่สุดในการคว้าโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลก 

 

จีนกำลังอยู่ในสถานะที่มีการลงทุนเชิงรุก และกฎระเบียบต่างๆ นั้นง่ายที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจากการที่ต้องการจะ Re-Allocate Supply Chain ของตัวเอง โดย โจ ฮอร์น พัธโนทัย บอกว่าประเทศไทยเหลือเวลาอีก 1-2 ปี หากนานไปกว่านั้น ห่วงโซ่อุปทานของจีนคงจะไม่สามารถโยกย้ายได้ง่ายอีกต่อไปแล้ว 

 

หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นกระดูกสันหลัง แม้ว่าจะมีหรือไม่มี EV สัญชาติจีน ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ฉายภาพว่าผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์มีเวลาเพียงแค่ 4 ปี หรือ 1 โมเดลที่จะลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของค่ายรถยนต์ 

 

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเฉพาะตัวที่นับถอยหลังดังระเบิดเวลามากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่หากรวมกับหนี้นอกระบบเข้าไป กลับกลายเป็นว่ามีปริมาณมากถึง 104% ของ GDP ไม่ใช่ 86% ดังที่เคยเข้าใจกัน 

 

หรือหลักนิติธรรมไทยที่จากการจัดอันดับโดยดัชนีหลักนิติธรรม ประเทศไทยอยู่ที่ 78 จาก 142 ประเทศทั่วโลก 

 

และสังคมสูงวัยก็เป็นสิ่งที่ประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และประชากรวัยทำงานจะเหลือเพียง 2 ใน 3 ภายใน 20 ปี 

 

เราจะอยู่ท่ามกลางพายุนี้ได้อย่างไร? 

 

1. ยอมรับ

 

กล้ายอมรับว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว ไทยอยู่ตรงไหน และสิ่งที่เคยทำมาไม่อาจทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้ เครื่องจักรเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมกำลังเก่า และการเปลี่ยนผ่านอำนาจเชิงการเมืองไม่ได้เปลี่ยนผ่านในชั่วข้ามคืน

 

2. เข้าใจ

 

ทำความเข้าใจบริบทของโลก เข้าใจประเทศไทยอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมกะเทรนด์ หรือกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

 

3. ตั้งเป้าอย่างมีกลยุทธ์ร่วมกัน

 

เมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วต้องมาตั้งเป้าหมายอย่างมีกลยุทธ์ร่วมกัน เนื่องจากทรัพยากรและเวลามีจำกัด ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเลือกและไม่เลือกจากการพูดคุยร่วมกัน เช่น ในเรื่องที่ไทยมีโอกาสอย่างมาก ทั้งด้าน Food, Agriculture, Health and Wellness ขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับ หรือ Go High Value และสร้าง Global Destination โดยคิดในบริบทของ Global Standard และ Best in Class 

 

ในฐานะผู้จัดงานภายใต้แนวคิด BRAVE NEW WORLD นครินทร์ได้ฝากข้อคิดไปถึง 2 ภาคส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนทุกอย่างให้เกิดขึ้น คือ ผู้มีอำนาจและประชาชน ต้องมีความกล้า 

 

สำหรับผู้มีอำนาจ ต้องมีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา กล้าเปิดเผยข้อมูล กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเอง กล้าฟังในเสียงที่แตกต่างทั้งจากคนที่ได้และเสียประโยชน์​ กล้าฟังเสียงใหม่ๆ กล้าลองทำสิ่งใหม่ และกล้าเสียสละ เพื่อผลลัพธ์ในระยะยาว 

 

สำหรับภาคประชาชน ต้องกล้าทำสิ่งใหม่ กล้าเปลี่ยนตัวเอง กล้าเดินออกจาก Comfort Zone กล้าสั่งสมความรู้เพื่อเริ่มต้นบทสนทนา และถกเถียงกันเพื่อนำไปสู่วิธีแก้ไขปัญหา พูดคุยเรื่องยากๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่กำลังขับเคลื่อน เพราะถ้ามีความรู้ไม่พอ ไม่เท่าทันผู้กำหนดนโยบาย สุดท้ายเราก็อาจถูกกดขี่จากความไม่รู้

 

“ความรู้คืออำนาจ และอำนาจสามารถสร้างได้ด้วยตัวของคุณเอง” นครินทร์กล่าวทิ้งท้าย

The post ขีดเส้นตายเศรษฐกิจไทย กล้าฝ่าพายุความท้าทาย บทสรุป THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทสรุปทิศทางเศรษฐกิจไทย ก้าวให้ทันโลกยุคใหม่ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 https://thestandard.co/economic-forum-2024-conclusion/ Fri, 15 Nov 2024 12:30:36 +0000 https://thestandard.co/?p=1009105 The Standard Economic Forum 2024

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ปิดฉากวันสุดท้ายอย่างย […]

The post บทสรุปทิศทางเศรษฐกิจไทย ก้าวให้ทันโลกยุคใหม่ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Standard Economic Forum 2024

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ปิดฉากวันสุดท้ายอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมย้ำแนวคิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ให้ก้าวไปด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากความ ‘กล้า’ ที่จะเปิดใจรับฟังและปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อตอบรับความท้าทายในอนาคต อีกทั้งยังเน้นความสำคัญของการร่วมมือกันจากทุกเจเนอเรชัน สำหรับงานในวันนี้มีไฮไลต์ที่โดดเด่น ดังนี้

 

🔴 เวที Main Stage

 

เปิดเวทีวันสุดท้ายด้วยการฉายภาพการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อปลดล็อกความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต โดยเน้นที่การแก้หนี้ครัวเรือน ผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบ เร่งดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ และการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ผู้ประกอบการก้าวทันกระแสโลก

 

ถัดมามีการพูดถึงวิวัฒนาการปัญญาประดิษฐ์ที่ก้าวล้ำและการนำ AI มาใช้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ พร้อมทั้งแนวทางพัฒนา AI ในอนาคตที่ต้องการเผชิญความเสี่ยง ใช้การทดลองและปรับเปลี่ยนตามเทรนด์อยู่เสมอ

 

ตามด้วยการเสวนาเกี่ยวกับฉากทัศน์ความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเฉพาะการผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และการคว้าโอกาสผู้ประกอบการไทยในวันที่ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศ

 

ภาคบ่ายเปิดเวทีด้วยการพูดคุยเรื่องทิศทางการลงทุนระดับโลก พร้อมเจาะลึกถึงความพร้อมของไทยในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากการลงทุนข้ามพรมแดน นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเกี่ยวกับความสำคัญของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และความท้าทายของไทยในการยกระดับอุตสาหกรรมใหม่ให้ก้าวสู่เวทีโลกอย่างแข็งแกร่ง

 

ในช่วงท้ายเป็นการถกประเด็นสำคัญว่าด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมของไทย ซึ่งเป็นหัวใจในการเตรียมความพร้อมของประเทศสู่การเผชิญความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ก่อนจะปิดฉากด้วยเซสชัน THE POWER GAME: Thai Political Landscape 2025 ที่ร่วมวิเคราะห์ภูมิทัศน์การเมืองไทย โจทย์ท้าทายของแต่ละพรรค และฉากทัศน์ความเป็นไปได้ในอนาคต

 

🔴 เวที Young Leaders Dialogue

 

มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความโปร่งใสและการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในภาครัฐ โดยชูประเด็นการเปิดเผยข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลในระบบให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นเป็นการแชร์วิธีคิดของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และปิดท้ายด้วยการพูดคุยเรื่องการใช้นวัตกรรมทางการเงินในการพลิกเกมเศรษฐกิจของประเทศไทย

 

ขอขอบคุณสปีกเกอร์กว่า 80 ท่านจากหลากหลายแวดวงและทุกเจเนอเรชันที่มาร่วมแบ่งปันมุมมองใน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 และขอบคุณผู้เข้าร่วมงานทุกท่านที่มาร่วมพาประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยกัน

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024

The post บทสรุปทิศทางเศรษฐกิจไทย ก้าวให้ทันโลกยุคใหม่ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
โชว์เคสนวัตกรรมมากมายกับวันสุดท้ายของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 https://thestandard.co/thestandardeconomicforum2024-last-day-innovation/ Fri, 15 Nov 2024 11:36:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1009126

ไล่กวดโลกใหม่ด้วยโชว์เคสนวัตกรรมมากมายกับวันสุดท้ายของ […]

The post โชว์เคสนวัตกรรมมากมายกับวันสุดท้ายของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไล่กวดโลกใหม่ด้วยโชว์เคสนวัตกรรมมากมายกับวันสุดท้ายของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ที่ปีนี้เติมความกล้าและความหวังไปกับเวทีคนรุ่นใหม่ ที่มาปลุกไฟให้ผู้เข้าร่วมทุกคน

 

โซน Networking Lounge

 

AP

 

AP x Young Leaders Dialogue

เวทีผู้นำรุ่นใหม่ครั้งแรกของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ที่คับคั่งไปด้วยผู้ที่สนใจ และเหล่าสปีกเกอร์ที่มาแลกเปลี่ยน ถกเถียง และพูดคุยประเด็นสำคัญในระดับประเทศและโลกใบนี้อย่างมีความหวัง

 

CPRAM

 

CPRAM

กองทัพแห่งความคิดต้องเดินด้วยท้อง กับอาหารปลอดภัยเพื่อโลกสดใสที่คอยบริการตลอดทั้งงาน

 

SCBX

 

SCBX

ดับกระหาย เติมพลังให้พร้อม ด้วยบาร์เครื่องดื่มแสนอร่อยที่ช่วยให้คุณสดชื่นพร้อมทุกเวที

 

โซน Exhibition

 

HomePro

 

HomePro

โชว์นวัตกรรม Closed Loop Circular ครั้งแรกของธุรกิจค้าปลีก กับการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนแบบครบกระบวนการ 

 

KTB

 

ธนาคารกรุงไทย (KTB)

ปรึกษาด้านการเงินกับผู้เชี่ยวชาญตัวจริง พร้อมแนะนำสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs และโซลูชันทางการเงินที่หลากหลาย

 

Oppo

 

OPPO

โชว์เคสนวัตกรรมสมาร์ทโฟนที่ผสมผสานดีไซน์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

 

PEA

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

ค้นพบนวัตกรรมโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องพลังงานสีเขียว

 

TCEB

 

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB)

แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดแสดงสินค้า ยกระดับธุรกิจของคุณไปสู่สายตานานาชาติ

 

แล้วพบกันใหม่ในปีหน้า 

The post โชว์เคสนวัตกรรมมากมายกับวันสุดท้ายของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
แผน 10 ปี กฟภ. ทุ่ม 2 แสนล้านบาท พัฒนา Smart Grid ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ AI-Data Center https://thestandard.co/pea-smart-grid-ai-data-center/ Fri, 15 Nov 2024 09:58:20 +0000 https://thestandard.co/?p=1009097

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM […]

The post แผน 10 ปี กฟภ. ทุ่ม 2 แสนล้านบาท พัฒนา Smart Grid ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ AI-Data Center appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ ภายใต้หัวข้อ Smart Grid: Enablers of the New Economy โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า ในปี 2556 กฟภ. ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์องค์กรใหม่เพื่อรองรับสถานการณ์ ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘ไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน’ โดยมีระบบการจำหน่ายไฟฟ้าที่มีความเป็นอัจฉริยะ หรือโครงข่าย Smart Grid มีโครงข่ายระบบไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศทั้งผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศและประชาชนในชนบท ซึ่งจะมีส่วนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

 

โดยโครงข่าย Smart Grid เตรียมความพร้อมไว้ภายใต้ 5 เสาหลัก ดังนี้

 

  1. Microgrid Energy Management System
  2. Energy Trading Platform
  3. Power Conversion System
  4. Microgrid Controller
  5. Utility Interconnection

 

โดยจะเข้ามาแก้ปัญหาระบบจำหน่ายไฟฟ้าและรองรับเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เข้ามาลงทุนในอนาคต ซึ่งมีความต้องการใช้พลังงานสะอาด โดยประเมินว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า กฟภ. จะใช้เงินลงทุนเพื่อพัฒนาระบบดังกล่าวรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท

 

ปัจจุบัน กฟภ. ดูแลพื้นที่ระบบจำหน่ายไฟฟ้าใน 74 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความหลากหลายมาก ที่ผ่านมา กฟภ. เตรียมความพร้อมโดยการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อรองรับเมกะเทรนด์โลกที่มีความต้องการใช้พลังงานสะอาด 

 

ทั้งประชาชนทั่วไปรวมถึงภาคธุรกิจ โดยเฉพาะจากกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายเชิญชวนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเริ่มทยอยลงทุนในไทยเพิ่มตั้งแต่ปี 2566 เช่น บริษัทกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Data Center รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น โดยมีความต้องการ EV ในประเทศที่เติบโตเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ (Exponential)

 

ทั้งนี้ มีบริษัทธุรกิจด้าน Data Center ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเข้ามาติดต่อให้ กฟภ. จัดหาพลังงานไฟฟ้าสะอาดขนาด 100 เมกะวัตต์ โดย กฟภ. ช่วยวางแผนแบบครบวงจร หรือให้บริการแบบ One Stop Service โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 

 

ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เป็นหน่วยการใช้ไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคมปีนี้ มียอดจำหน่ายไฟฟ้าให้กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 611.3 ล้านหน่วย เติบโต 19.96% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งประเมินว่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดรวมของอุตสาหกรรม Data Center แต่ละปีในอนาคตจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 เมกะวัตต์

 

นอกจากนี้ยังเตรียมพร้อมรองรับพลังงานสะอาด ซึ่ง กฟภ. มั่นใจว่าสามารถจัดหาได้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากแผนงานที่เตรียมความพร้อมไว้แล้ว พร้อมทั้งคาดว่าจากความร่วมมือของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลาดซื้อขายพลังงานสะอาดจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีนี้

 

“ลูกค้ากลุ่ม Data Center เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย มีความต้องการใช้พลังงานสะอาดเป็นจำนวนมาก มีความต้องการความเพียงพอและความน่าเชื่อถือ เพราะเทคโนโลยีของ Data Center ตอบสนองต่อไฟฟ้าได้เร็วมาก ต้องการใช้พลังงานสะอาดจำนวนมาก ซึ่งไฟฟ้าจะมาหยุดๆ ดับๆ ไม่ได้เลย โดยระบบ Smart Grid ของ กฟภ. จะช่วยวางแผนบริหารจัดการด้านพลังงานให้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้ได้แบบ One Stop Service”

 

นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนระบบจำหน่ายไฟฟ้าจาก One-Way ไปสู่แบบ Two-Way ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตไฟฟ้าสามารถขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรงได้แล้วในบางพื้นที่ 

 

อีกทั้งในอนาคตผู้ใช้ EV ที่ติดตั้งระบบโซลาร์เพื่อใช้เองยังสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือจากการผลิตเพื่อใช้เองให้กับ กฟภ. ได้อีกด้วย

 

ศุภชัยกล่าวต่อว่า กฟภ. กำลังจะเปลี่ยนแปลงระบบหม้อแปลงธรรมดามาเป็นหม้อแปลงอัจฉริยะ หรือหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ระบบ IIoT (Industrial Internet of Things) ซึ่งจะติดตั้งใช้งานในปี 2568 เพื่อเข้ามาช่วยบริหารจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบครบวงจร และช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ทราบถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถแก้ปัญหาความไม่สมดุลของการจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้าตกได้ด้วยระบบ Micro Grid หรือ Smart Grid ช่วยให้บริหารการจำหน่ายไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

 

“ตัวอย่างของระบบ Micro Grid เกิดขึ้นแล้วที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หลังนำมาใช้งานตอนนี้ไม่มีปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟกะพริบในพื้นที่แล้ว โดยระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ที่นำมาใช้คือ Smart Grid สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ไฟฟ้าตกหรือดับ ไฟฟ้าไม่พอใช้ เช่น พื้นที่เกาะ ได้แล้ว”

 

นอกจากนี้ ปัจจุบัน กฟภ. ยังติดตั้งสถานีชาร์จ EV บนเส้นทางหลักแล้วจำนวน 413 สถานี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ EV ว่าระหว่างการเดินทางจะมีจุดชาร์จไฟฟ้า

The post แผน 10 ปี กฟภ. ทุ่ม 2 แสนล้านบาท พัฒนา Smart Grid ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ AI-Data Center appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ https://thestandard.co/thai-industries-new-growth-engine/ Fri, 15 Nov 2024 09:48:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1009088 อุตสาหกรรมไทย

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM […]

The post เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรมไทย

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Boosting Investments, Bolstering Growth: BOI’s Strategic Blueprint ขับเคลื่อนการลงทุนไทย ให้เติบโตบนเวทีโลก ด้วยยุทธศาสตร์ BOI โดยย้ำว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนในระดับโลกได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อในทศวรรษข้างหน้า

 

นฤตม์กล่าวว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมเดิมมา 30 ปี และตอนนี้เป็นโอกาสทองของไทยที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่เป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อในทศวรรษข้างหน้า

 

ปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางลงทุนจากนี้อีก 5 ปี มี 5 ปัจจัย ดังนี้

 

  1. Geopolitics: หลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาจบลงและได้ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ทำให้ภาพ Trade War และ Tech War ชัดเจนมากขึ้น

 

  1. Green Transformation: จากภาวะโลกร้อนทำให้ทุกภาคส่วนมุ่งไปสู่การลดคาร์บอน ตั้งเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero

 

  1. Global Minimum Tax: OECD ออกกติกาภาษีใหม่ของโลก ที่บังคับให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 15% โดยประเทศส่วนใหญ่จะเริ่มใช้ในปีหน้า เช่นเดียวกับไทยซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมเก็บภาษีส่วนเพิ่มตั้งแต่ปีหน้า

 

เรื่องนี้จะกระทบต้นทุน มีผลต่อการวางแผนลงทุน ประเทศต่างๆ ต้องมีมาตรการในการดึงดูดการลงทุนแบบใหม่ รวมถึงเครื่องมือทางภาษีที่ต้องคิดเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อดึงการลงทุนให้ได้

 

  1. Technology Disruption: เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, IoT, EV Automation, Biotechnology เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม

 

  1. Talent: ทุกประเทศกำลังมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ องค์ความรู้และทักษะของบุคลากรใหม่เป็นที่ต้องการ ดังนั้นเราจะได้เห็น War for Talent เกิดขึ้นต่อเนื่อง

 

เมื่อฉายภาพมาที่ไทยพบว่ามีศักยภาพหลายๆ ด้านที่สามารถตอบโจทย์ 5 ปัจจัยดังกล่าวได้ โดยไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เช่น ท่าเรือน้ำลึก, สนามบินนานาชาติ, นิคมอุตสาหกรรม, โลจิสติกส์, บุคลากรที่มีคุณภาพ, ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีตลาดที่มีศักยภาพสูง

 

นฤตม์กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการลงทุนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าไทยต่อเนื่อง เฉพาะงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มูลค่ามากกว่า 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 40% สูงสุดในรอบ 10 ปี โดยประเทศและดินแดนที่เข้ามาลงทุนส่วนมาก ได้แก่ จีน, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และไต้หวัน

 

และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2565 – กันยายน 2567) การลงทุนที่มาขอรับการส่งเสริมจาก BOI มูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนโครงการกว่า 6,400 โครงการ โดยเซ็กเตอร์ที่เป็นผู้นำคือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 แสนล้านบาท ตามมาด้วยยานยนต์และชิ้นส่วน

 

และอีกสาขาที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากคือพลังงานหมุนเวียนและกลุ่ม Smart & Sustainable Industry

 

สำหรับความคืบหน้าในการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ของไทย โดยเฉพาะใน 5 สาขาหลักที่จะเป็น Game Changer ของประเทศ เรียกได้ว่าเป็น New Growth Engine ของไทยในอนาคต ประกอบด้วย

 

  1. Bio-based & Green Industries (BCG)
  2. EV+Battery and Key Parts
  3. International Business Center
  4. Digital
  5. Semiconductor and Advanced Electronics

 

ซึ่ง 5 สาขานี้มีความคืบหน้าด้านการลงทุน โดยขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่า 3,700 โครงการ เงินลงทุนรวมมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท

 

“สำหรับอุตสาหกรรม EV ขอยืนยันว่ารัฐบาลมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ EV แบบครบวงจรในทุกเซ็กเมนต์ ซึ่งตั้งแต่ต้นปี BOI สนับสนุนการลงทุนไปแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท” นฤตม์กล่าว

 

นฤตม์กล่าวอีกว่า ต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ก็คือแบตเตอรี่ ซึ่ง ณ ขณะนี้ไทยต้องการดึงดูดต้นน้ำของการผลิตแบตเตอรี่ คือ Battery Cell ให้มาตั้งในไทย ซึ่งค่อนข้างเชื่อมั่นว่าในต้นปีหน้าจะมีการประกาศการลงทุนของบริษัทรายใหญ่ชั้นนำในการผลิตแบตเตอรี่เซลล์ในไทยด้วย

 

อีกสาขาที่สำคัญคือ Semiconductor และ Advanced Electronics ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตด้านนี้มาอย่างยาวนาน แต่ตอนนี้รัฐบาลและ BOI ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ต้นน้ำโดยเฉพาะที่เป็น Semiconductor Front End

 

และความคืบหน้าล่าสุดด้าน Semiconductor คือเมื่อปลายเดือนที่แล้วมีการจัดตั้งบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ BOI เป็นเลขานุการ ซึ่งบอร์ดชุดนี้จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการสร้างฐานอุตสาหกรรม Semiconductor ในไทย

The post เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฝ่าวิกฤตหนี้ครัวเรือนไทย ด้วยเทคโนโลยีและจิตวิทยาเชิงบวก https://thestandard.co/thai-household-debt-tech-positive-psychology/ Fri, 15 Nov 2024 09:38:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1009082 หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย เป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงและร่วมแก้ไขกันมา […]

The post ฝ่าวิกฤตหนี้ครัวเรือนไทย ด้วยเทคโนโลยีและจิตวิทยาเชิงบวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย เป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงและร่วมแก้ไขกันมากว่าหลายสิบปี แต่ปัญหานี้ก็ไม่เคยหมดไป หลายคนแก้ไขหนี้ไม่สำเร็จ หลายคนแก้หนี้ได้แต่ก็กลับมาเป็นหนี้ซ้ำในระยะเวลาไม่นาน แต่วันนี้มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้ และทำให้วินัยการใช้เงินของคนไทยยั่งยืนขึ้น

 

เวที Young Leaders Dialogue ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 ร่วมพูดคุยกันภายใต้หัวข้อ Breaking Free: Overcoming the Cycle of Household Debt หัวข้อ นวัตกรรมการเงินพลิกเกมประเทศไทย หลุดกับดักหนี้ครัวเรือน โดย ธิษณา ธิติศักดิ์สกุล กรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โนบูโร แพลตฟอร์ม จำกัด และ พรณภัสร์ เฉลิมเตียรณ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อบาคัส ดิจิทัล จำกัด ดำเนินการเสวนาโดย ตรีชฎา โชคธนาเสริมสกุล 

 

ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยเกิดจากอะไร?

 

บริษัท โนบูโร แพลตฟอร์ม จำกัด ค้นพบว่า 90% ของพนักงานเป็นหนี้ และในจำนวนนี้มีเกือบ 30% เป็นหนี้นอกระบบ โดยสาเหตุหลัก 3 ปัจจัยคือ ‘ความรัก’ เช่น การใช้หนี้ให้พ่อแม่ที่กู้เงินมาและต้องใช้หนี้อย่างไม่รู้จบ ความสนิทสนมต่อเพื่อนที่ใช้ชื่อในการค้ำประกัน ‘ความโลภ’ เช่น การกู้เงินจากแอปพลิเคชันเถื่อน และ ‘ความไม่รู้’ คือการขาดแคลนความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการหนี้ 

 

ในขณะที่ บริษัท อบาคัส ดิจิทัล จำกัด พบปัจจัยเสริมอีกว่า การเป็นหนี้ครัวเรือนไทยอาจเกิดขึ้นได้จากความต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดในการสร้างรายได้ในอนาคต สถานการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นในชีวิต และบางครอบครัวเกิดขึ้นเพราะต้องการสร้างความมั่นคง และอยากสร้างความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ก็ทำให้วงจรหนี้เกิดขึ้นได้

 

นวัตกรรมการแก้หนี้ ผสมจิตวิทยาเชิงบวกและการสะกิดพฤติกรรม

 

บริษัท โนบูโร แพลตฟอร์ม จำกัด สร้างแพลตฟอร์ม Noburo Wealth-Being ที่นำองค์ความรู้ทั้งทักษะทางการเงิน ตั้งแต่ทักษะการเจรจาต่อรองหนี้ในครอบครัว, การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้, การหารายได้เสริม, ความรู้ทางกฎหมาย และกระบวนการศาล มาผนวกเข้ากับเงินทุนที่ร่วมมือกับ บริษัท เงินดีดี จำกัด อันเป็นบริษัทลูกของธนาคารออมสิน มาให้เงินทุนกับลูกหนี้ที่พร้อม

 

กลไกสำคัญคือการสร้างจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) และหลักการสะกิดพฤติกรรม (Nudge) โดยกระตุ้นให้ลูกหนี้ที่อยู่ในแพลตฟอร์มเห็นขั้นตอนในการวางแผนปลดหนี้อย่างเป็นรูปธรรมว่า สามารถจะหลุดจากการเป็นหนี้ได้เมื่อไร อย่างไร และถ้าจ่ายหนี้ตามแผนจะประหยัดเงินจากการเป็นหนี้นอกระบบได้อีกเท่าไร เหมือนกับมีแสงสว่างในปลายอุโมงค์ มีการจดบันทึกรายรับรายจ่าย และสนับสนุนให้มีการออม โดยระหว่างทางมีการสะกิดพฤติกรรมเล็กๆ ให้จ่ายหนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อหมดหนี้เร็วขึ้น และจ่ายดอกเบี้ยลดลง

 

ส่วนบริษัท อบาคัส ดิจิทัล จำกัด ออกแอปพลิเคชัน MoneyThunder สำหรับผู้ต้องการใช้สินเชื่อแต่ประสบปัญหาว่าไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ไม่มีเอกสารหลักฐานเพื่อขอยื่นกู้ MoneyThunder ใช้ AI เข้ามาช่วยตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การขอสินเชื่อที่ใช้ตัวแปรมากกว่าสลิปเงินเดือน แต่รวมไปถึงการซื้อของออนไลน์ การจ่ายบิลค่าน้ำ-ค่าไฟ พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันอื่นๆ ประกอบกับข้อมูลอื่นๆ ด้านการเงิน โดยมีตัวบ่งชี้มากกว่า 2,000 ตัวแปร ทำให้ผู้ที่เคยถูกธนาคารปฏิเสธ สามารถกลับมากู้เงินในระบบได้มากขึ้น

 

ระหว่างทางก็มีการใช้การสะกิดพฤติกรรมด้วยคะแนนรางวัลในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้กู้ค่อยๆ สร้างพฤติกรรมที่ดีทางการเงิน ประกอบความรู้ด้านการเงินจากแชตบอตที่สามารถพิมพ์ถามได้ตลอดเวลา สร้างความยั่งยืนทางการเงินได้อีกทาง

 

สิ่งที่ต้องเปลี่ยนเพื่อวิกฤตหนี้ครัวเรือนไทยหมดไป

 

ธิษณา ธิติศักดิ์สกุล และ พรณภัสร์ เฉลิมเตียรณ มองเห็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่มีมาหลายทศวรรษว่า 

 

  1. สถาบันการเงินต้องออกสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ปล่อยสินเชื่อง่ายเกินไป และให้ข้อมูลต่อผู้กู้อย่างเพียงพอให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง 
  2. ตัวลูกหนี้ต้องกล้าเปลี่ยนความคิดว่าหนี้เป็นสิ่งที่สามารถวางแผนและแก้ไขได้โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ 
  3. การแก้หนี้นอกระบบต้องทำพร้อมกับการแก้หนี้ครัวเรือนในระบบ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยสูง และการเข้าไม่ถึงหนี้ในระบบของหลายคนอาจกลายเป็นต้นทุนมหาศาลของประเทศ 
  4. ผู้ออกนโยบายหรือแม้แต่ผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญกับความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) อย่างจริงจัง จึงจะสามารถแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน ทำให้คนเป็นหนี้มีความแข็งแรง ไม่กลับมาเป็นหนี้ซ้ำ

The post ฝ่าวิกฤตหนี้ครัวเรือนไทย ด้วยเทคโนโลยีและจิตวิทยาเชิงบวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ถอดรหัสผู้ประกอบการไทย ทำอย่างไรให้ไปไกลระดับโลก https://thestandard.co/thai-entrepreneurs-global-success/ Fri, 15 Nov 2024 09:28:59 +0000 https://thestandard.co/?p=1009077 ไทยไประดับโลก

แม้ว่าการพาธุรกิจไประดับโลกอาจไม่ใช่เป้าหมายที่ทุกธุรกิ […]

The post ถอดรหัสผู้ประกอบการไทย ทำอย่างไรให้ไปไกลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยไประดับโลก

แม้ว่าการพาธุรกิจไประดับโลกอาจไม่ใช่เป้าหมายที่ทุกธุรกิจจำเป็นต้องไป แต่การขยายตลาดอาจนำพาไปสู่โอกาสใหม่ๆ ที่มากขึ้น ชินวิวัฒน์ เปี่ยมสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเลย และประธานคณะอนุกรรมการ YEC Health Care ร่วมกันถอดรหัสวิธีคิดผู้ประกอบการไทยอย่าง พชร อารยะการกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ ธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด ว่าการก้าวไปสู่ Global ต้องทำอย่างไร

 

เตรียมตัวอย่างไรในการสเกลอัพไประดับโลก

 

  1. รู้จุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเอง และหาจุดยืนของตัวเองให้เจอ การมองเห็นจุดแข็งที่แท้จริงของอุตสาหกรรมตัวเองทำให้รู้ว่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งคนอื่นๆ ในตลาดโลกได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาข้อได้เปรียบของผู้เล่นคนอื่นจากนานาประเทศ

 

  1. มีความรู้สึกอยากทำ เพราะบางครั้งการมองเห็นแต่ข้อจำกัดหรือปัญหาอาจทำให้ท้อถอยเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริง แต่การกล้า ‘ลุย’ จะทำให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง มองเห็นฟีดแบ็กของลูกค้า และทำให้กลับมาพัฒนาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

 

  1. มี Global Mindset ในการดำเนินงานทุกมิติ ทั้งเรื่องทุน ความเร็ว องค์ความรู้ ที่ต้องดีหรือเทียบเท่ากับต่างประเทศ เพราะจะนำมาสู่การสเกลอัพธุรกิจในตลาดที่ใหญ่ขึ้น รวมไปถึงการหา ‘คน’ ที่เหมาะกับการเติบโตในระดับโลก

 

  1. สื่อสารอย่างเข้มข้นกับพนักงานระดับ A-1 เพราะจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำวิสัยทัศน์ของธุรกิจไปถึงพนักงานระดับต่างๆ ที่แตกต่างกันทางเชื้อชาติและเจเนอเรชัน โดยทั้งหมดอาจไม่ได้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วันแรก แต่การเรียนรู้และปรับตัวจะทำให้พร้อมไปสู่การก้าวเป็นบริษัทที่แข่งขันระดับนานาชาติได้

 

ทักษะจำเป็นของผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสู่อนาคต

 

  1. Hard Skill ที่หลายคนมองข้ามคือเรื่องกฎหมาย แต่มีผลในการแข่งขันสูง เพราะในหลายประเทศไม่ได้มีกฎหมายแบบเดียวกับประเทศไทย มีข้อห้าม ข้อจำกัด ส่งผลกระทบกับต้นทุน เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องศึกษาและประยุกต์ใช้กับแต่ละประเทศที่แตกต่าง

 

  1. Soft Skill นอกจากเรื่องภาษาที่จำเป็นมากในการสื่อสารให้เข้าใจ ไม่ตกหล่น ช่วยให้การตัดสินใจถูกต้องแล้ว ทักษะการเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง (Cross-Cultural Setting) ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ จะทำให้ตั้งรับและแก้ไขปัญหาได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

 

ภาครัฐและภาคเอกชนเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร

 

  1. ภาครัฐต้องเข้าใจธรรมชาติของแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีจุดแข็งอย่างไรในระดับนานาชาติ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ และจะปลดล็อกอย่างไรทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการเมือง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ทำธุรกิจ

 

  1. นอกจากการอำนวยให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานแล้ว รัฐยังจำเป็นต้องสนับสนุน ‘ต้นน้ำ’ ของธุรกิจ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับต้นทุนการทำธุรกิจให้ต่ำลง

 

  1. ภาครัฐต้องมองให้เห็นข้อจำกัดว่าอะไรทำให้ทาเลนต์จากต่างชาติไม่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ขณะเดียวกันคนในประเทศก็ต้องไม่มีแนวคิดกีดกันต่างชาติด้วย ซึ่งจุดนี้ต้องสร้างสมดุลให้ดี ทั้งการรับคนนอก เสริมความแข็งแกร่งของคนในประเทศ จะนำไปสู่ความยั่งยืนและก้าวไปสู่ระดับโลกได้อย่างแท้จริง

The post ถอดรหัสผู้ประกอบการไทย ทำอย่างไรให้ไปไกลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Open Data แก้ปัญหาคอร์รัปชันได้? https://thestandard.co/open-data-anti-corruption/ Fri, 15 Nov 2024 06:52:41 +0000 https://thestandard.co/?p=1009040 Open data

“ตลกร้ายของเรื่องนี้คือภาครัฐอยากโปร่งใสแต่ไม่อยากเปิดเ […]

The post Open Data แก้ปัญหาคอร์รัปชันได้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
Open data

“ตลกร้ายของเรื่องนี้คือภาครัฐอยากโปร่งใสแต่ไม่อยากเปิดเผยอะไรเลย”

 

บทสรุปจากเวที Young Leaders Dialogue หัวข้อ ‘Transparency in Action: Can Open Data Defeat Corruption? Open Data แก้ปัญหาคอร์รัปชันได้จริงหรือ’

 

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ธนิสรา เรืองเดช ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Wevis, วรภพ วิริยะโรจน์ สส. พรรคประชาชน, ณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใสและสร้างการมีส่วนร่วม บริษัท HAND Social Enterprise ดำเนินการเสวนาโดย สันติชัย อาภรณ์ศรี บรรณาธิการ Rocket Media Lab

 

ปัญหาและความท้าทาย: อุปสรรคของการใช้ Open Data ในภาครัฐ

 

  1. ข้อมูลจากภาครัฐที่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะมีลักษณะที่เข้าถึงยาก กระจัดกระจาย และมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ล้าหลัง เช่น เป็นกระดาษหรือไฟล์ PDF ซึ่งสืบค้นและนำไปวิเคราะห์หรือประมวลผลต่อได้ยาก

 

  1. ยังไม่สามารถนำ AI มาใช้วิเคราะห์การคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนในต่างประเทศ ปัญหาหลักมาจากชื่อโครงการที่ใช้ภาษาไทยที่ซับซ้อน และรายละเอียดในโครงการที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้การวิเคราะห์และประมวลผลของ AI ไม่ตอบโจทย์นัก

 

  1. ประชาชนขาดความตื่นตัว ขณะเดียวกันภาครัฐก็ไม่มีช่องทางหรือระบบที่เปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและร่วมตรวจสอบ

 

  1. หน่วยงานรัฐยังมีความสับสนระหว่าง Information กับ Data

 

ทางออก ข้อเสนอแนะ และกรณีศึกษา

 

  1. ต้องพัฒนา Data ที่พร้อมใช้งาน เพื่อนำมาทำเป็น Red Flag Indicators สำหรับวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้างในโครงการที่ผิดปกติได้ โดยเป้าหมายในการใช้ Data ในการวิเคราะห์พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงคือเน้นการมีส่วนร่วม

 

  1. ในเกาหลีใต้มีแพลตฟอร์มที่สามารถให้ภาครัฐเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม และผ่านการตรวจสอบมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในโครงการต่างๆ ทำให้เกิดกลไกอย่างเป็นธรรมชาติที่สามารถตรวจสอบโครงการที่ผิดปกติได้ด้วยตัวมันเอง

 

  1. การเพิ่ม ‘ระเบียบและขั้นตอน’ ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าล้มเหลว สิ่งที่ควรทำคือเปลี่ยนวิธีคิดในการเปิดเผยข้อมูล จากเดิมที่เป็น ‘ข้อมูลราชการ’ ต้องเปลี่ยนเป็น ‘ข้อมูลสาธารณะ’

 

  1. กลไกรับเรื่องร้องเรียนและความตื่นตัวของประชาชนในกรุงเทพฯ เป็นตัวอย่างที่ดี เช่น แพลตฟอร์ม Traffy Fondue

 

  1. ลองใช้โมเดลใหม่ๆ เช่น Public-private Partnerships ที่เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในกิจการของรัฐ

 

สิ่งที่ภาครัฐต้อง ‘กล้า’ เปลี่ยน

 

  1. กล้า ‘เปิดเผยข้อมูล’ ข้อมูลของรัฐต้องเป็นข้อมูลสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้

 

  1. กล้า ‘แก้กฎหมาย’ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ล้าหลัง ไม่เท่าทันต่อเทคโนโลยีและบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป

 

  1. กล้า ‘เปลี่ยนระบบข้าราชการ’ ทำให้ทุกคนในหน่วยงานรัฐเข้าใจว่าต้องทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง และส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระงานที่ไม่จำเป็น

 

The post Open Data แก้ปัญหาคอร์รัปชันได้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเห็นผล เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน https://thestandard.co/gov-digital-wallet-consumer/ Fri, 15 Nov 2024 04:51:08 +0000 https://thestandard.co/?p=1008978

หอการค้าไทยเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนตุลาค […]

The post รัฐบาลแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเห็นผล เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>

หอการค้าไทยเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนตุลาคมอยู่ที่ 56.0 ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน หลังประชาชนคลายความกังวลจากสถานการณ์น้ำท่วมและรัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาท 

 

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนตุลาคม 2567 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 55.3 เป็น 56.0 เป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม และเริ่มเห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วยผ่อนคลายเศรษฐกิจ

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ระดับ 49.6, 53.5 และ 65.1 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกันยายนที่อยู่ในระดับ 48.8, 52.7 และ 64.4 ตามลำดับ 

 

การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) สะท้อนว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

 

อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีจะปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน แต่การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน, อิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซา ที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ, ภาคการท่องเที่ยว, ภาคการส่งออก, ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

 

ธนวรรธน์กล่าวอีกว่า สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 2567 ช่วงแรกมองว่าจะโตได้ 3.2% แต่ล่าสุดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมองในกรอบ 2.6-2.7% ซึ่งสอดคล้องกับหลายสำนักวิจัย เช่น กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีมุมมองใกล้เคียงกัน 

 

ขณะที่คาดกันว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวขึ้น แต่เจอสถานการณ์น้ำท่วม ดังนั้นความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ลดลงน่าจะมาจากผลพวงของน้ำท่วม แต่ยังมีปัจจัยบวกที่ผู้ประกอบการทุกภูมิภาคเห็นพ้องกันคือการแจกเงิน 10,000 บาทสำหรับกลุ่มเปราะบางที่เข้ามาสนับสนุน 

 

The post รัฐบาลแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเห็นผล เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>