Katto Panarat – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 30 Sep 2020 03:46:23 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หมดยุคโตเกียวชิดซ้าย โอซาก้าชิดขวา การใช้บันไดเลื่อนในญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป https://thestandard.co/japanese-escalator-etiquette-left-or-right/ https://thestandard.co/japanese-escalator-etiquette-left-or-right/#respond Tue, 08 Jan 2019 10:46:37 +0000 https://thestandard.co/?p=176562

เราอาจจะเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า การยืนกีดขวางบนบันไดเ […]

The post หมดยุคโตเกียวชิดซ้าย โอซาก้าชิดขวา การใช้บันไดเลื่อนในญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

เราอาจจะเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า การยืนกีดขวางบนบันไดเลื่อนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ ควรยืนชิดฝั่งใดฝั่งหนึ่งของบันไดเลื่อน เพื่อเว้นเป็นทางเดินให้สำหรับคนรีบได้เดินขึ้นไปก่อน มีการรณรงค์กันอยู่หลายแห่ง แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม

 

‘โตเกียวมักนิยมยืนชิดซ้าย ส่วนโอซาก้ามักยืนชิดขวา’ มาได้อย่างไร

 

 

การยืนชิดฝั่งซ้ายหรือขวาของคนญี่ปุ่นนั้นมีหลายคนให้ความเห็นไว้ว่า น่าจะเริ่มมาจากปี 1970 ที่โอซาก้าเป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Expo ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นของคนญี่ปุ่น มีต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมาก จึงรับเอาวัฒนธรรมจากต่างประเทศ (คาดว่าเป็นจากลอนดอน) ที่ยืนชิดขวามาใช้ในโอซาก้า และขยายไปยังเมืองใกล้เคียง ทำให้ภูมิภาคคันไซส่วนมากจะยืนชิดขวา

 

ส่วนคนโตเกียวที่นิยมยืนชิดซ้าย เพราะใช้หลักความคิดเดียวกับคนขับรถ พวงมาลัยขวา ชิดซ้ายไปนิ่งๆ ใครอยากแซงให้ขึ้นทางขวาล่วงหน้าไปเลย

 

แต่วันนี้โตเกียวเปลี่ยนแปลงแล้วค่ะ เพราะมีการเริ่มรณรงค์งดเดินบนบันไดเลื่อนอย่างจริงจัง ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะเห็นห้างสรรพสินค้าหลายแห่งติดป้ายขอความกรุณาไม่เดินและหยุดยืนบนบันไดเลื่อน

 

 

แต่ตอนนี้บริษัทใหญ่อย่าง JR-East Railway Company เริ่มรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจังที่สถานีรถไฟโตเกียวก่อนเป็นที่แรก ด้วยการจัดให้เจ้าหน้าที่ยืนประกาศ ขอความกรุณางดเดินบนบันไดเลื่อน ถ้าท่านใดรีบก็ให้ใช้บันได รวมไปถึงติดป้ายงดเดินบนบันไดเลื่อนตัวใหญ่ๆ ในสถานีรถไฟ และเปลี่ยนสีราวจับของบันไดเลื่อนเป็นสีชมพูเพื่อให้สังเกตได้ชัด

 

การรณรงค์ครั้งนี้เริ่มจริงจังเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งผ่านไปเพียง 2-3 วัน จำนวนคนที่หยุดยืนบนบันไดเลื่อนมีมากขึ้น แม้จะมีเสียงคนเดินตามหลังมาต่อว่าว่าให้รีบขยับเดินขึ้นไป เกะกะ กีดขวาง ซึ่งเป็นเสียงของความเคยชินยังคงมีอยู่บ้างก็ตาม

 

การรณรงค์เน้นไปที่สามอย่างหลักๆ คือ ยืนสองด้านซ้ายขวา มือจับราวบันไดเลื่อน ใครจะเดินให้ใช้บันได

 

รายงานตัวเลขจากหน่วยงานดับเพลิงญี่ปุ่น (Fire and Disaster Management Agency) ระบุว่า ทุกปีมีคนได้รับบาดเจ็บและต้องหามส่งโรงพยาบาลจากการเดินบนบันไดเลื่อนไม่ต่ำกว่าพันคน สถิติตัวเลขย้อนหลังไป 5 ปีมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการใช้บันไดเลื่อนราว 7,000 คน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนการใช้บันไดเลื่อนเพื่อให้ทุกคนได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

การรณรงค์อย่างจริงจังลักษณะนี้จะมีไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ซึ่งคาดว่าคนใช้บันไดเลื่อนในโตเกียวและขยายไปทั่วประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มคุ้นเคยและกลายเป็นความเคยชินโดยไม่รู้สึกผิดว่า ‘การยืนบนบันไดเลื่อนเป็นการกีดขวางผู้อื่น’ อีกต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post หมดยุคโตเกียวชิดซ้าย โอซาก้าชิดขวา การใช้บันไดเลื่อนในญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/japanese-escalator-etiquette-left-or-right/feed/ 0
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่ต่อคิวซื้อ iPhone รุ่นใหม่ในปีนี้ https://thestandard.co/why-japanese-do-not-queuing-new-iphones-2018/ https://thestandard.co/why-japanese-do-not-queuing-new-iphones-2018/#respond Mon, 24 Sep 2018 00:50:04 +0000 https://thestandard.co/?p=123321

หลังจาก Apple เปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดไปเมื่อวันที่ 13 กั […]

The post ทำไมคนญี่ปุ่นไม่ต่อคิวซื้อ iPhone รุ่นใหม่ในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจาก Apple เปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2018 ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ iPhone XS, iPhone XS Max และ Apple Watch Series 4    

 

ผ่านมาราวหนึ่งสัปดาห์ สินค้าก็ได้ออกวางขายในญี่ปุ่นวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมาเป็นวันแรกพร้อมกับอีกหลายประเทศ เช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ ทว่าบรรยากาศที่เคยมีคนไปต่อคิวหน้า Apple Store ทุกสาขาทั่วประเทศจนกลายเป็นข่าวที่ต้องติดตามกันทุกปีในปีนี้กลับหายไป โดย Apple Store หลายๆ สาขาของญี่ปุ่นกลับไม่ค่อยมีคนไปยืนรอ ทำให้บรรยากาศเงียบเหงาต่างจากหลายปีที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ยังไม่มีสื่อหลักไปทำข่าวเรื่องการต่อคิวล่วงหน้ารอซื้อ iPhone รุ่นใหม่ในปีนี้เลย

 

บางคนให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นเพราะความที่ตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ไม่มี ‘ลูกเล่นใหม่’ หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ ‘ไมเนอร์ เชนจ์’ ซึ่งมักจะเกิดกับ iPhone รุ่นที่ตามด้วย s คนญี่ปุ่นจึงไม่รู้สึกหวือหวาอะไร

 

ยกตัวอย่างในปี 2013 ซึ่งเป็นปีที่ iPhone 5s เปิดตัวและวางขายในญี่ปุ่นในวันที่ 20 กันยายนเป็นวันแรก ปรากฏว่าบรรยากาศก่อนถึงวันขายจริงมีคนเอาเก้าอี้ไปนั่งและปูผ้าห่มนอนรอกันหน้า Apple Store เป็นจำนวนมาก เฉพาะที่สาขากินซ่า คืนก่อนหน้าวันขายจริงมีคนมารอคิวมากถึง 200 คน ยังไม่นับคนต่อคิวรอที่ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Yodobashi ที่เปิดให้จอง รวมทั้ง Apple Store สาขาอื่นๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น

 

คนแรกของคิวที่สาขากินซ่าปักหลักรอล่วงหน้านานถึง 10 วัน คนที่มาต่อคิวบางคนบอกกันว่าค่าที่จอดรถสำหรับสลับกันไปนอนนั้นแพงกว่าค่า iPhone หนึ่งเครื่องเสียอีก แต่ด้วยความที่เป็นแฟนของ Apple การได้มานั่งรอและได้เข้าไปซื้อในร้านเป็นคนแรกๆ ทำให้พวกเขารู้สึกสนุก ทั้งยังได้เพื่อนระหว่างการรอคิว ดังนั้นเหตุผลที่บอกว่าเพราะเป็น ‘ไมเนอร์ เชนจ์’ หรือรุ่นที่ลงท้ายด้วย s ทำให้คนญี่ปุ่นไม่สนใจจึงไม่น่าจะใช่สาเหตุหลัก

 

อย่างเมื่อปีที่แล้ว iPhone X เปิดตัวและวางขายในวันที่ 3 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่หน้า Apple Store สาขาโอโมเตะซันโดะสาขาเดียวมีคนไปต่อคิวรอซื้อ iPhone X มากถึง 550 คน โดยคนแรกมาต่อคิวรอล่วงหน้านานถึง 6 วัน

 

จึงต้องค้นหาสาเหตุกันต่อไปว่าเพราะอะไรกันแน่คนญี่ปุ่นจึงไม่ไปต่อคิวซื้อ iPhone รุ่นใหม่เหมือนปีก่อนๆ

 

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 850 คน โดยเว็บไซต์ Mynavi พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 40.6% บอกว่าจะไม่ซื้อ iPhone รุ่นใหม่ ส่วนที่เหลือบอกว่าจะซื้อ โดยระบุรุ่นที่หมายตาไว้ดังนี้

  1. iPhone XS Max ​18.8%
  2. iPhone XS ​23.1%
  3. iPhone XR ​17.5%

 

ในส่วนของคนที่บอกว่าจะไม่ซื้อ พวกเขาให้เหตุผลต่างๆ ดังนี้ เหตุผลแรกคือราคาแพง ตามมาด้วยเครื่องใหญ่เกินไป และสามารถซื้อตรงกับบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์โดยทำสัญญา 2 ปี* โดยมีความเห็นอื่นๆ บ้างประปราย เช่น จะรอ iPhone รุ่นถัดไป หรือจะซื้อ iPhone รุ่นก่อนหน้า

 

การไม่ไปต่อคิวซื้อ iPhone รุ่นใหม่ที่วางขายในปีนี้จึงไม่น่าจะเป็นเพราะความนิยมลดลง เพราะในช่วงเช้าหลังจาก Apple Store เปิดให้บริการยังคงมีภาพคนเข้าคิวจนแถวยาวออกมานอกร้านเกือบทุกสาขา บางคนไปรับเครื่องใหม่ที่สั่งจองไว้ โดยเฉพาะ Apple Watch Series 4 ที่ดูจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในรอบนี้

 

สรุปแล้วสาเหตุหลักน่าจะมาจากการที่บริษัทเปิดให้จองออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ Apple Store และส่งถึงบ้านในวันเดียวกันกับวันที่วางขายจริง ทำให้ไม่ต้องไปต่อคิวรอเหมือนปีก่อนๆ ขณะที่คนทำงานที่ไม่มีเวลาไปต่อคิวซื้อก็สามารถสั่งจองได้จากเว็บไซต์ของ Apple โดยตรง โดยสามารถเลือกรับที่ Apple Store ใกล้บ้านหรือจะให้ส่งมาที่บ้านก็ได้เช่นกัน

 

ภาพ: @ani_9_

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ทำไมคนญี่ปุ่นไม่ต่อคิวซื้อ iPhone รุ่นใหม่ในปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/why-japanese-do-not-queuing-new-iphones-2018/feed/ 0
อย่าให้เป็นแค่ครั้งหนึ่งที่คนไทยไปญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ข้อมูลเผยคนไทยโดดวีซ่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก! https://thestandard.co/thai-overstayed-in-japan-3th-in-ranking/ https://thestandard.co/thai-overstayed-in-japan-3th-in-ranking/#respond Mon, 03 Sep 2018 11:47:46 +0000 https://thestandard.co/?p=118289

ปัญหา Overstayed ที่กำลังเกิดในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ […]

The post อย่าให้เป็นแค่ครั้งหนึ่งที่คนไทยไปญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ข้อมูลเผยคนไทยโดดวีซ่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก! appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปัญหา Overstayed ที่กำลังเกิดในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่นนั้น มีผลทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศกลับมาคิดทบทวนเรื่องมาตรการยกเว้นวีซ่าให้กับชาวไทย เนื่องจากจำนวนคนไทยที่อยู่เกินวีซ่าตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น คนไทยได้รับการยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มีระยะเวลาจำกัดในการพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ไม่เกิน 15 วัน

 

หลังจากที่คนไทยได้รับการยกเว้นวีซ่าได้ไม่นาน ในปีถัดมาจำนวนคนไทยที่อยู่เกินกำหนดระยะเวลามีจำนวนมากถึง 5,277 ราย นับเป็นสถิติสูงสุดที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20.2% (*จำนวนตัวเลข ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) จนถึงปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่อยู่เกินระยะเวลาที่กำหนดมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและกำลังกลายเป็นอันดับ 3 ของโลก

 

ตัวเลขของปีนี้ (รายงานตัวเลขจากกระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561)

 

จำนวนรวมชาวต่างชาติที่อยู่เกินวีซ่าตามระยะเวลาที่กำหนดในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 66,498 ราย (เรียงลำดับจำนวนมากสุด 5 ประเทศ)

  1. ประเทศเกาหลี จำนวน 12,876 ราย
  2. ประเทศจีน จำนวน 9,390 ราย
  3. ประเทศไทย จำนวน 6,768 ราย
  4. ประเทศเวียดนาม จำนวน 6,760 ราย
  5. ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 4,933 ราย

 

ประเภทวีซ่าของชาวต่างชาติที่ใช้เข้าประเทศญี่ปุ่นแล้วอยู่เกินกำหนดมีมากสุดจำนวน 44,592 ราย คือใช้ ‘วีซ่าระยะสั้น’ หรือ Short-Term Stay เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 67.1% กล่าวได้ว่าคนที่หลบหนีแล้วอาศัยอยู่ต่อในประเทศญี่ปุ่นเกินครึ่งหนึ่งใช้วีซ่าประเภทนี้

 

สาเหตุที่คนไทยหนีวีซ่าหรืออยู่เกินกำหนดคือต้องการทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพียงเพราะคิดว่าได้เงินมาก จะได้ส่งกลับไปประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือครอบครัว หลายคนยอมกู้หนี้ยืมสินเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินมายังประเทศญี่ปุ่นและมาหางานทำ บางคนมีนายหน้าค้าแรงงานส่งมาหรือถูกหลอกมาค้าแรงงานก็มีมาก ในประเทศญี่ปุ่นมีข่าวจับกุมคนไทยที่ไม่มีวีซ่าอยู่บ่อยครั้ง อาชีพที่มักจะพบคนเหล่านี้คือพนักงานในร้านนวดไทย (ซึ่งอาจจะมีแอบแฝงการค้าบริการทางเพศ) ทำสวน ทำไร่ หรืองานใช้แรงงานด้านการเกษตร สุดท้ายหลังจากโดนจับกุมก็จะถูกส่งกลับประเทศไทย

 

ในปีที่ผ่านมาคนไทยที่ถูกส่งกลับประเทศไทยตามมาตรการคำสั่งให้ออกจากประเทศญี่ปุ่นมีเพียง 89 รายเท่านั้น

 

หลังจากถูกส่งกลับประเทศตามมาตรการคำสั่งให้ออกจากประเทศญี่ปุ่น จะไม่สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 5-10 ปี (แล้วแต่กรณี)

 

แต่ถ้ามอบตัวด้วยตัวเองและขอกลับประเทศ จะไม่สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี

 

ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นยังต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากกว่านี้เป็น 40 ล้านคนในปี พ.ศ. 2563 แต่ถ้ามีคนฉวยโอกาสตรงนี้โดดวีซ่า อยู่เกินระยะเวลาที่กำหนด แล้วหลบหนีมาทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่นแบบผิดกฎหมายด้วยจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จะมีผลกระทบกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวจริงๆ ต่อไปในอนาคตแน่นอน การคัดกรองนักท่องเที่ยวอาจต้องเพิ่มขั้นตอนในการตรวจตรา

 

หรือเราอาจจะต้องกลับไปใช้มาตรการเดิมทั้งหมดที่ต้องขอวีซ่าด้วยการตรวจเอกสารอย่างเข้มงวดก่อนเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น

 

ภาพประกอบ: dreaminem

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post อย่าให้เป็นแค่ครั้งหนึ่งที่คนไทยไปญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ข้อมูลเผยคนไทยโดดวีซ่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก! appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thai-overstayed-in-japan-3th-in-ranking/feed/ 0
ที่นั่งสำรองพิเศษ เราควรนั่งหรือปล่อยให้ว่าง: กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น https://thestandard.co/priority-seat/ https://thestandard.co/priority-seat/#respond Wed, 06 Jun 2018 10:03:26 +0000 https://thestandard.co/?p=95634

เมื่อมีผู้สูงอายุท่านหนึ่งต้องยืนบนรถไฟต่อหน้าชายหนุ่มท […]

The post ที่นั่งสำรองพิเศษ เราควรนั่งหรือปล่อยให้ว่าง: กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อมีผู้สูงอายุท่านหนึ่งต้องยืนบนรถไฟต่อหน้าชายหนุ่มที่กำลังนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือโดยไม่สนใจที่จะลุกให้กับผู้สูงอายุคนนั้นทำให้เกิดเป็นบทสนทนาระหว่างผู้สูงอายุกับชายหนุ่มในคลิปที่ถูกแชร์กันอย่างแพร่หลาย และมีการแสดงความคิดเห็นกันไปต่างๆ นานา

 

ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมืองไทย จะต้องมีคำถามมากมายว่าทำไมชายหนุ่มผู้นั้นไม่ลุกให้ผู้สูงอายุนั่ง

 

แต่ว่าเรื่องนี้เกิดที่ญี่ปุ่น

 

วัฒนธรรมการ ‘ลุกให้นั่ง’ ของคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ อย่างโตเกียวนั้น การจะลุกให้นั่งเพราะเห็นควรและสมยอมจะเกิดขึ้นเมื่อคุณไปนั่งในที่ Priority seat ซึ่งเป็นที่สงวนไว้ให้สำหรับบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ

 

ที่นั่งสำรองพิเศษ (Priority seat) จะถูกจัดที่นั่งไว้ให้โดยเฉพาะ โดยในหนึ่งตู้รถไฟของญี่ปุ่นจะมีสองจุดอยู่ที่หัวและท้ายตู้ แต่ละจุดจะมี 3-6 ที่นั่ง ซึ่งถ้าเป็นรถไฟในโตเกียวจะแบ่งแยกสีอย่างชัดเจน สีที่พื้นจะต่างกับส่วนอื่น รวมทั้งสีของเบาะที่นั่ง สีของห่วงจับ และที่ประตูจะมีติดสติกเกอร์ให้เห็นชัดเจนว่าตู้นี้มีที่นั่ง Priority seat (ซึ่ง Priortity seat นั้นห้ามใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อป้องกันคลื่นมือถือรบกวนคลื่นไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ)

 

โดยทั่วไปแล้วที่นั่งตรงนี้จะถูกปล่อยว่าง ยกเว้นชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งที่นั่งตรงนี้จำเป็นต้องถูกใช้ หรือในบางเวลาที่ไม่มีผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการมาใช้บริการ บุคคลทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ และจะลุกให้เมื่อมีผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการมาบริเวณที่ตรงนั้น

 

บรรดาบุคคลพิเศษที่ต้องการที่นั่งเหล่านี้ก็จะไปยังที่ที่จัด Priority seat ไว้ให้ หรือมีการแสดงตัวที่ชัดเจน เช่น สตรีมีครรภ์จะมีการติดป้ายหรือห้อยพวงกุญแจเพื่อแสดงว่ากำลังตั้งครรภ์ ซึ่งจะได้รับการเอื้อเฟื้อดูแลและระวังจากคนรอบข้างทั้งบนรถไฟฟ้าและทุกสถานที่

 

เป็นวัฒนธรรมที่ค่อนข้างเป็นสากลที่คนต้องการการดูแลจะพาตัวเองไปอยู่ในที่พิเศษที่จัดเตรียมไว้ให้ นอกเหนือจากนั้นถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเพศไหนหรือวัยใดก็ตาม

 

ประเทศญี่ปุ่นเองก็พยายามที่จะหาทางลดข้อถกเถียงตรงนี้อยู่เช่นกัน เพราะเรื่องนี้ไม่มีกฎหรือข้อบังคับว่าต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องของความรู้สึกและวิจารณญาณของการอยู่ร่วมกันในสังคม

 

มีความพยายามในการหาวิธีแก้ไขปัญหาที่จะทำให้สามารถลดความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ได้ เช่น สร้างแอปพลิเคชันจับคู่ให้คนที่อยากนั่งกับคนที่พร้อมจะสละที่นั่งได้รู้กันเมื่อเปิดแอปพลิเคชันนี้ หรือสำหรับผู้สูงอายุที่บางคนดูอ่อนกว่าวัย ขึ้นรถไฟแล้วไม่เคยมีใครลุกให้นั่ง ทางเขตก็พร้อมจะออก ‘Silver pass’ สำหรับผู้ที่มีอายุมากว่า 70 ปีพกติดตัว

 

แม้แต่การทำสีเบาะที่นั่ง สีที่พื้น และห่วงจับให้ต่างจากพื้นที่อื่นในรถไฟฟ้าก็ทำให้หลายคนฉุกคิดขึ้นได้เหมือนกันว่า

 

“ตอนนี้เราอยู่ในโซนที่นั่งสำรองพิเศษ เราควรเอื้อเฟื้อที่นั่งให้กับคนอื่นด้วย”

The post ที่นั่งสำรองพิเศษ เราควรนั่งหรือปล่อยให้ว่าง: กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/priority-seat/feed/ 0
คนญี่ปุ่นฟันไม่สวยแล้วทำไมไม่จัดฟัน ค่านิยมทางแฟชั่นหรือเพราะไม่มั่นใจ https://thestandard.co/japanese-braces/ https://thestandard.co/japanese-braces/#respond Fri, 01 Jun 2018 14:07:31 +0000 https://thestandard.co/?p=94751

เป็นคำถามตลอดกาลว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นไม่จัดฟันกันล่ะ” “ฟัน […]

The post คนญี่ปุ่นฟันไม่สวยแล้วทำไมไม่จัดฟัน ค่านิยมทางแฟชั่นหรือเพราะไม่มั่นใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เป็นคำถามตลอดกาลว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นไม่จัดฟันกันล่ะ” “ฟันไม่สวย ฟันเหลือง ปากเหม็น เป็นผลมาจากเพราะดูแลฟันไม่ดีหรือขี้เกียจ”

 

เหตุผลที่คนญี่ปุ่นฟันไม่สวย มีหลายคนให้ความเห็นว่า “โครงสร้างใบหน้าคนญี่ปุ่น ส่วนคางและขากรรไกรนั้นต่างไปจากคนชาติอื่น” โยงไปถึงวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่นที่นิยมทานแต่อาหารอ่อนๆ ไม่ค่อยมีอาหารที่ต้องใช้ฟันกัดแทะหรือเคี้ยวหนักๆ คางและขากรรไกรจึงไม่ค่อยได้ใช้งาน การมีจำนวนฟันที่เท่าเดิมและมีขนาดใหญ่ จึงทำให้ฟันนั้นไม่สามารถขึ้นเรียงกันได้ เพราะพื้นที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นฟันซ้อนหรือฟันเกนั่นเอง แต่ในความคิดของชาวญี่ปุ่นนั้นไม่คิดว่านั่นเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ถึงกับเคยมีกระแสนิยมฟันเกและไปศัลยกรรมทำเขี้ยวฟันในประเทศญี่ปุ่นอยู่พักหนึ่งด้วย

 

ลักษณะพิเศษของคนญี่ปุ่นที่มีผลทำให้ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องของสุขภาพปากคือ ลักษณะการพูดและการกินของคนญี่ปุ่นที่พูดเบาๆ ไม่ค่อยอ้าปากส่งเสียงดังทำให้ไม่ค่อยเห็นฟัน หลายคนจึงคิดว่าไม่ค่อยให้ใครได้เห็นฟันอยู่แล้วจะเสียเงินจัดฟันไปเพื่ออะไร ทั้งยังเป็นสาเหตุทำให้มองข้ามการดูแลความสะอาดในช่องปาก เกิดกลิ่นปากและฟันเหลืองนั่นเอง

 

คนญี่ปุ่นนั้นจะไปหาหมอฟันและเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับฟัน เฉพาะส่วนที่จัดว่าเป็นการรักษาโรค เช่น ฟันผุ ต้องอุดฟันหรือถอนฟัน แต่การจัดฟันถือว่าเป็นการศัลยกรรมตกแต่งไม่ครอบคลุมอยู่ในการจ่ายของประกันสุขภาพของรัฐ ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่การทำฟันไม่รวมอยู่ในระบบค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกได้ ทำให้เราต้องจ่ายค่าทำฟันเอง จึงอยากดูแลรักษาฟันให้ดี ไม่ต้องหาหมอฟันกันบ่อยๆ

 

ค่าใช้จ่ายของการจัดฟันในประเทศญี่ปุ่นมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศไทย ราคาโดยประมาณของจัดฟันชนิดติดแน่นด้านนอกแบบโลหะ (Metal Braces) อยู่ที่ เจ็ดแสนเยนถึงหนึ่งล้านเยน

 

ถ้าเป็นการจัดแบบใสหรือแบบดิจิทัล ราคาประมาณหนึ่งล้านเยนขึ้นไป ซึ่งยังไม่รวมค่าตรวจ เอกซ์เรย์ และวินิจฉัยก่อนการเริ่มใส่เครื่องมือ * ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของผู้เข้ารักษา *

 

เนื่องจากราคาที่สูงมากทำให้คนญี่ปุ่นมองข้ามการจัดฟัน โดยคิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ หลายคนอาจให้เหตุผลว่าถ้าจัดฟันจะทำให้ฟันเรียงสวยงาม รักษาสุขภาพฟันและช่องปากได้ดีกว่า คนญี่ปุ่นก็มักจะตอบกลับมาว่า “เมื่อฟันผุก็ไปหาหมอ จะถอนหรืออุด ยังไงราคาก็ไม่สูงเท่ากับการจัดฟันแน่นอน” และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงไม่นิยมจัดฟัน

 

ส่วนเหตุผลอื่นๆ คือ กลัวเจ็บ หรือกลัวเป็นที่สะดุดตาของคนรอบข้าง เพราะคนส่วนมากไม่นิยมจัดฟัน ถ้าตัวเองจัดฟันแล้วทำให้ตัวเองแตกต่างไปจากคนอื่น ทำให้รู้สึกอายและไม่มั่นใจ

 

แต่สมัยนี้สำหรับคนที่พอมีฐานะและมีกำลังจ่าย การจัดฟันแบบใสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น หรือวัยรุ่นญี่ปุ่นหลายคนที่เริ่มหันมาใส่เหล็กจัดฟัน แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการจัดฟันน่าจะมีราคาที่ต่ำลง และมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดฟันเพิ่มมากขึ้น

 

คนญี่ปุ่นเริ่มทำลายกำแพงความน่าอาย ภาพความแปลกประหลาดของคนใส่เหล็กจัดฟันในสังคมให้ค่อยๆ หายไป และหันมาใส่ใจเรื่องสุขอนามัยในช่องปากมากกว่าเดิม

The post คนญี่ปุ่นฟันไม่สวยแล้วทำไมไม่จัดฟัน ค่านิยมทางแฟชั่นหรือเพราะไม่มั่นใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/japanese-braces/feed/ 0
อ่านก่อนคลิกจอง! เปิดกฎหมายปล่อยเช่าห้องพักระยะสั้นในญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่นักท่องเที่ยวต้องรู้ https://thestandard.co/law-minpaku-domitary-japan/ https://thestandard.co/law-minpaku-domitary-japan/#respond Fri, 04 May 2018 09:12:12 +0000 https://thestandard.co/?p=88422

หลังจากที่เป็นปัญหาเรื้อรังกันมาหลายปี มีทั้งคนคัดค้านแ […]

The post อ่านก่อนคลิกจอง! เปิดกฎหมายปล่อยเช่าห้องพักระยะสั้นในญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่นักท่องเที่ยวต้องรู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่เป็นปัญหาเรื้อรังกันมาหลายปี มีทั้งคนคัดค้านและสนับสนุน สำหรับการเปลี่ยนห้องพักที่ว่างอยู่ให้เป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น

ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ถูกหลอกลวงจากการโฆษณาว่าห้องที่กำลังจะเข้าพักได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าเจ้าของห้องพักนั้นจดทะเบียนที่พักแห่งอื่นเป็นโฮสเทลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงแห่งเดียว แต่นำห้องพักอื่นๆ อีกหลายห้องมาปล่อยเช่า ซึ่งเป็นการสวมใบอนุญาตแบบผิดกฎหมายโดยจงใจ

 

 

ในปี 2016 มีเขตที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้เปิดเป็น Minpaku (การปล่อยเช่าระยะสั้น) ได้ถูกต้องตามกฎหมายคือ เขตโอตะ ในกรุงโตเกียว, เขตโอซาก้า ในจังหวัดโอซาก้า และธุรกิจโฮสเทลต่างๆ แต่ทั้งหมดนี้คิดเป็นเพียง 5% ของธุรกิจที่พักที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เพราะในปีหลังๆ มีการเปิดห้องให้เช่าพักมากกว่า 95% ไม่ได้รับอนุญาต

ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบกับชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงอย่างมากมาย ทั้งปัญหาขยะ การส่งเสียงดัง การล่วงละเมิดทางเพศที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และเรื่องของความปลอดภัยด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดกล้องวงจรปิดภายในห้องพักและห้องน้ำ การเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมหลังจากเข้าพักจึงเป็นที่มาของการจัดทำให้ Minpaku เป็นระบบระเบียบถูกต้องตามกฎหมาย

 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Minpaku คือการปล่อยห้องเช่าระยะสั้นให้กับผู้เช่าพัก มีทั้งแบบเป็นโฮมสเตย์ (อยู่รวมกับเจ้าของบ้าน) แบบเช่าห้องเดี่ยวซึ่งจะมีแต่ผู้เช่าพัก และแบบหอรวม (Dormitary) ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น แบบเช่าห้องเดี่ยวซึ่งมีแต่ผู้เช่าพักนั้นได้รับความนิยมราวๆ 80%

 

 

กฎหมายใหม่ระบุไว้ว่าการปล่อยเช่าห้องพักระยะสั้นจะสามารถให้เช่าได้สูงสุดไม่เกิน 180 วันต่อปี มีการระบุช่วงเวลาของการปล่อยห้องพักตามเขตที่ขึ้นทะเบียน โดยแบ่งเป็นโซนสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

กฎหมายนี้จะเริ่มบังคับใช้กับห้องพักที่จะปล่อยเป็นห้องเช่า Minpaku/Airbnb ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป เจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้องพักต้องนำเอกสารไปจดทะเบียนที่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวด ต้องผ่านการตรวจสอบหลายขั้นตอน และต้องตรงกับข้อกำหนดกฎระเบียบที่ระบุไว้ดังนี้



1. โซนสีแดง  
เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว
อยู่ในเขตสถานการศึกษา ห้ามดำเนินธุรกิจห้องเช่าพักระยะสั้นตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์ถึงบ่ายวันศุกร์ (ให้เข้าพักได้เฉพาะช่วงเย็นวันศุกร์ถึงเย็นวันจันทร์เท่านั้น)

เขตชินจูกุ กรุงโตเกียว
เป็นเขตที่อยู่อาศัยของคนทั่วไป ห้ามดำเนินธุรกิจห้องเช่าพักระยะสั้นตั้งแต่เช้าวันจันทร์ถึงบ่ายวันศุกร์ (ให้เข้าพักได้เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น)



2. โซนสีเหลือง
เขตนากาโนะ กรุงโตเกียว
เป็นเขตที่อยู่อาศัยของคนทั่วไป ห้ามดำเนินธุรกิจห้องเช่าพักระยะสั้นตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์ถึงบ่ายวันศุกร์ ยกเว้นห้องเช่าพักนั้นมีเจ้าของบ้านอาศัยอยู่ด้วยก็สามารถเปิดให้เช่าพักได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพร้อมหนังสือรับรอง



3. โซนสีน้ำเงิน
เช่น เขตสุมิดะ เขตคิตะ เขตมาจิดะ กรุงโตเกียว

โซนสีน้ำเงินทั้งหมดสามารถเปิดให้เป็นห้องเช่าพักได้ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่ระบุไว้ เช่น หากห้องพักมีขนาดเกินกว่า 50 ตารางเมตรต้องทำการติดตั้งป้ายหนีไฟ ไฟสำรอง สปริงเกอร์ และอื่นๆ ต้องยื่นเรื่องจดทะเบียนกับหน่วยงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ทั่วประเทศญี่ปุ่น จังหวัดเกียวโตดูจะเป็นพื้นที่ที่เข้มงวดที่สุด เช่น เปิดให้เป็นห้องเช่าพักได้แค่ 2 เดือนตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 15 มีนาคมเท่านั้น หรืออย่างที่ซับโปโร ฮอกไกโด หรือโยโกฮามา ถือเป็นเมืองที่ค่อนข้างถูกจัดระเบียบอย่างเข้มงวดเช่นกัน

ถ้ากฎหมายใหม่ประกาศใช้แล้วจะมีเจ้าของห้องพักเข้าจดทะเบียนทุกห้องหรือไม่

 

 

การคาดการณ์คือจำนวนห้องพักแบบ Minpaku/Airbnb จะลดน้อยลงถึง 70-80% เนื่องจากกระบวนการที่ยุ่งยากมากขึ้น เพราะเจ้าของห้องต้องส่งรายงานทุก 2 เดือนต่อหน่วยงานรัฐ ต้องใช้เอกสารหลายอย่างที่ต้องยื่นขอจดทะเบียน และจำนวนวันที่จำกัดตามกฎหมายอาจไม่คุ้มต่อการเปิดเป็นธุรกิจอีกต่อไป โดยเฉพาะนายหน้าค้าห้องที่เช่าห้องมาแล้วทำเป็นห้องพักอีกต่อหนึ่ง

คุณ MI ชาวญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลพร้อมเอกสารรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับกฎหมายนี้ ให้คำแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาห้องพักแบบ Minpaku/Airbnb ว่า

 

 

ถ้าต้องการจองห้องพักแบบ Minpaku ผ่านเว็บไซต์รับจองห้อง ควรเลือกโฮสต์ที่ได้รับการยอมรับระดับซูเปอร์โฮสต์ ซึ่งจะมีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง (การเป็นซูเปอร์โฮสต์ นอกจากรีวิวของผู้เคยเข้าพักโหวตให้เป็น 5 ดาวเกิน 80% แล้ว ถ้าเจ้าของบ้านทำการยกเลิกเพียงครั้งเดียวก็จะตกอันดับจากซูเปอร์โฮสต์ทันที)

 

 

นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังระบุว่า หลังจากลงทะเบียนกับทางหน่วยงานของรัฐแล้วจะทำให้เราทราบว่าเจ้าของบ้านและเจ้าของห้องตัวจริงคือใคร หากเกิดอะไรขึ้น ทางตำรวจก็จะสามารถหาตัวคนมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ซึ่งบทลงโทษทางกฎหมายจะเพิ่มโทษที่หนักกว่าเดิมเป็นทั้งจำทั้งปรับ

ถ้ากฎหมายที่จะเริ่มใช้วันที่ 15 มิถุนายนนี้ยังไม่สามารถผ่อนคลายปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะระงับการให้บริการจองห้องพักผ่านทางเว็บไซต์ตัวกลางทั้งหมด ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จึงต้องตื่นตัวและคัดกรองเจ้าของห้องให้เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน

 

แม้ภาพรวมของกฎหมายนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจให้เช่าห้องพักระยะสั้นโดยตรง แต่ในอีกทางก็ถือเป็นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวให้อุ่นใจมากขึ้น

The post อ่านก่อนคลิกจอง! เปิดกฎหมายปล่อยเช่าห้องพักระยะสั้นในญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่นักท่องเที่ยวต้องรู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/law-minpaku-domitary-japan/feed/ 0
Jimbocho ตลาดหนังสือเก่าที่ยังมีชีวิต https://thestandard.co/jimbocho/ https://thestandard.co/jimbocho/#respond Tue, 09 Jan 2018 04:40:43 +0000 https://thestandard.co/?p=61099

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หนังสือหรือนิตสารหลายหัวต้องปิดตำนา […]

The post Jimbocho ตลาดหนังสือเก่าที่ยังมีชีวิต appeared first on THE STANDARD.

]]>

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หนังสือหรือนิตสารหลายหัวต้องปิดตำนานลง ซึ่งวิกฤตของสิ่งพิมพ์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แม้แต่ประเทศญี่ปุ่น ประเทศซึ่งคนมีนิสัยรักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจก็ได้รับผลจากวิกฤตนี้เช่นกัน

 

จากผลการสำรวจเมื่อปี 2016 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศญี่ปุ่น พบว่า ใน 1 ปี คนญี่ปุ่น 1 คนอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 12-13 เล่ม

 

พูดง่ายๆ คือเดือนละ 1 เล่มเป็นอย่างต่ำ แต่มีคนอีกจำนวนมากที่ 1 เดือนอ่านหนังสือมากกว่า 3 เล่ม เท่ากับว่าใน 1 ปีอ่านหนังสือมากถึง 36 เล่ม

 

 

ปัจจุบันนี้จำนวนคนอ่านหนังสือลดน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมาจากหลายๆ สาเหตุ อาทิ หนังสือกระดาษถูกตีพิมพ์น้อยลง คนหันไปอ่านบทความหรือเรื่องสั้นทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น หรือแม้แต่วิถีชีวิตของคนเมืองที่ยุ่งเหยิงจนหาเวลาอ่านหนังสือให้จบเล่มเหมือนสมัยก่อนไม่ได้

 

จากการสำรวจ หลายคนเมื่อมีเวลาจากการเรียนหรือทำงาน จะใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่นมากกว่าการอ่านหนังสือเพื่อผ่อนคลาย

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหนังสือในประเทศญี่ปุ่นยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่เกือบเป็นปกติ เพราะคนรักการอ่านยังให้เหตุผลเหมือนๆ กันว่า หนังสือกระดาษมีชีวิต น่าจับต้องกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และที่น่าสนใจคือ ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงช้าและไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตง่ายๆ หนังสือกระดาษจึงน่าจะสูญพันธุ์ช้าที่สุดในโลก

 

ร้านหนังสือเก่ามีอยู่มากมายในประเทศญี่ปุ่น อยู่ในรูปแบบร้านค้ารับซื้อขายหนังสือเก่า แผ่นซีดีเก่า หรือแผ่นเกมมือสอง แต่มีตลาดหนังสือมือสองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในโตเกียว ว่ากันว่ามีมนต์ขลังและคลาสสิกที่สุด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นถนนหนังสือที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก นั่นคือ จิมโบโช (Jimbocho) หรือ Jimbocho Book Town

 

ที่ย่านจิมโบโช มีร้านหนังสือเก่าอยู่เรียงรายทั่วไป ข้อมูลล่าสุดคือมีจำนวน 176 ร้าน เป็นร้านขายหนังสือเก่าแก่ดั้งเดิมราวๆ 52 ร้าน ร้านหนังสือที่จิมโบโชมีมากจนถึงกับต้องทำเป็นแผนที่แจกฟรีเพื่อให้คนตามหาร้านหนังสือที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

 

 

ในเมื่อคนอ่านหนังสือลดน้อยลง ทำไมตลาดหนังสือถึงยังอยู่ได้?

 

เหตุผลของคนที่ยังตามหาหนังสือเก่า (หรือหนังสือใหม่ก็ตาม) คือต้องการเก็บสะสมเป็นของที่ระลึก เป็นสมบัติส่วนตัวที่สามารถจับต้องได้ เราจึงไม่แปลกใจว่าทั้งๆ ที่ในยุคสมัยนี้คนฟังเพลงผ่านทางออนไลน์ หรือด้วยการดาวน์โหลดกันหมดแล้ว ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงยังขายแผ่นซีดีได้อยู่ นั่นก็มาจากเหตุผลเดียวกัน

 

ตลาดหนังสือเก่าสุดคลาสสิกจิมโบโช ยังมีกลิ่นอายวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นหลงเหลือผ่านตึกอาคารเก่าที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ เช่น ร้าน Yaguchi ที่อยู่หัวมุม เปิดบริการขายหนังสือมาครบ 100 ปีพอดีในปีนี้ ตัวอาคารเก่าแก่ตั้งอยู่โดดเด่น นอกจากจะแวะหาหนังสือแล้ว หลายคนต้องถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ร้านนี้มีหนังสือเก่าเก็บมากมายที่หายากและหนังสือการ์ตูนสมัยวัยเด็ก หนังสือเก่าบางเล่มขายราคา 1 เยนก็มีให้เลือกซื้อ

 

 

นอกจากนี้ยังมีร้านหนังสือชื่อดังที่มีมาแต่อดีตอีกหลายร้าน จำหน่ายทั้งหนังสือเก่า หนังสือภาพ หนังสือต่างประเทศ หนังสืออาร์ต และภาพวาดเก่าที่นักสะสมหลายอาชีพต่างพากันตามหา ราคาบางชิ้นพุ่งสูงถึงหลักล้านเลยก็มี

 

ร้านขายเครื่องเขียน พู่กันเขียนหนังสือ กระดาษ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ก็มีให้หาซื้อด้วยเช่นกัน

 

‘ตลาดหนังสือเก่าจิมโบโช’ ยังคงมีลูกค้าแวะเวียนไปหาหนังสือคู่ใจไม่ขาดสาย ถึงแม้ว่าวันนี้หนังสือกระดาษจะล้มหายตายจากกันไปมากมายแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่หนังสือกระดาษยังเหลือทิ้งไว้คือความทรงจำที่จับต้องได้ เมื่อไรที่หยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาอีกครั้ง ความทรงจำ ณ ห้วงเวลานั้นจะกลับหวนคืนมาให้เราสัมผัสอีกครา

The post Jimbocho ตลาดหนังสือเก่าที่ยังมีชีวิต appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/jimbocho/feed/ 0
เจาะลึกชีวิต ‘มนุษย์กล่อง’ คนไร้บ้านญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้ต่อเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป https://thestandard.co/tokyo-homeless-man-living-in-a-cardboard-box/ https://thestandard.co/tokyo-homeless-man-living-in-a-cardboard-box/#respond Mon, 13 Nov 2017 01:21:54 +0000 https://thestandard.co/?p=44587

     ประเทศญี่ปุ่นใช้ศัพท์เรียก ‘คนไร้บ้ […]

The post เจาะลึกชีวิต ‘มนุษย์กล่อง’ คนไร้บ้านญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้ต่อเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ประเทศญี่ปุ่นใช้ศัพท์เรียก ‘คนไร้บ้าน’ ตามภาษาอังกฤษว่า Homeless (ホームレス)หรือบางครั้งคนไทยก็มักจะเรียกคนไร้บ้านของญี่ปุ่นว่า ‘มนุษย์กล่อง’

     ‘มนุษย์กล่อง’ เป็นการคำเรียกที่เกิดจากการพบเห็นสภาพที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้านในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากที่พักอาศัยมักจะใช้ ‘ลัง’ หรือ ‘กล่องกระดาษ’ มาประกอบเป็นบ้านหลังเล็กๆ ที่พอจะเบียดตัวเข้าไปนอนได้

     โฮมเลสในประเทศญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากโฮมเลสในหลายๆประเทศ เช่น ไม่ค่อยมีคนติดยาหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เนื่องจากยาเสพติดหาซื้อยาก จึงแทบไม่มีโอกาสตกถึงมือโฮมเลส

     และที่น่าแปลกใจคือเราไม่ค่อยเห็นโฮมเลสญี่ปุ่นเป็นขอทานอาชีพ เพราะโฮมเลสญี่ปุ่นหลายคนมีรายได้จากการเก็บกระป๋องอะลูมิเนียม เก็บหนังสือ-นิตยสารเก่านำไปขายต่อ หรือการรับจ้างเข้าคิว (แต่ปัจจุบันนี้มีเสียงจากนักท่องเที่ยวกล่าวถึงอยู่บ้างว่าเคยเจอโฮมเลสมาขอเงินระหว่างท่องเที่ยวในประเทศด้วย) และโอกาสที่จะเดินเจอกับโฮมเลสญี่ปุ่นนั้นมีน้อยกว่าประเทศอื่นที่มักจะเดินปะปนอยู่กับประชาชนทั่วไป

 

 

โฮมเลสญี่ปุ่นอาศัยอยู่ที่ไหน

     ส่วนมากโฮมเลสอาศัยอยู่ที่สวนสาธารณะ ริมแม่น้ำ หรือสถานีรถไฟ

     จากการสำรวจเมื่อปี 2016 มีจำนวนโฮมเลสกางเต็นท์อาศัยอยู่ริมแม่น้ำมากที่สุด ตามมาด้วยสวนสาธารณะ เพราะอาศัยใช้ห้องน้ำสาธารณะเป็นหลัก

     ปัจจุบันนี้ที่สวนสาธารณะมีจำนวนของคนไร้บ้านลดน้อยลง เนื่องจากมีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่ เช่น สวนสาธารณะที่อยู่ใกล้โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่งบริเวณนี้มีผลด้านความปลอดภัย ทำให้ต้องปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ หรือการเพิ่มสายรถไฟและสถานีรถไฟใหม่ ทำให้มีการเวนคืนที่ดินสำหรับก่อสร้าง คนไร้บ้านที่อาศัยตามสถานที่เหล่านี้จึงต้องย้ายไปอยู่ตามริมแม่น้ำแทน

 

โฮมเลสใช้ชีวิตอย่างไร มีรายได้จากที่ไหน

     แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

      1. กลุ่มคนทำงานอิสระ รับเงินว่าจ้างรายวัน เก็บกระป๋องอะลูมิเนียมหรือหนังสือ-นิตยสารเก่าแล้วนำไปขาย กลุ่มนี้จะมีรายได้เฉลี่ยอย่างมากเดือนละ 10,000-30,000 เยน

     2. ได้รับอาหารจากมูลนิธิช่วยเหลือตามเขตต่างๆ หรืออาหารเหลือจากร้านอาหาร การเก็บเศษเหรียญตกหล่นตามตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตค่อนข้างยากลำบาก

     โฮมเลสเหล่านี้ ตอนกลางวันอาจจะอยู่ไม่เป็นที่ ออกไปทำงานบ้าง หรือออกไปรับอาหารตามจุดต่างๆ พอถึงช่วงกลางคืนก็จะกลับมาบริเวณที่อยู่อาศัยโดยใช้ลังหรือกล่องกระดาษมาประกอบเป็นบ้านหรือที่นอนให้พออาศัยอยู่ได้

     แต่ถ้าอยากมีชีวิตรอดในฤดูหนาว โฮมเลสต้องเปลี่ยนมาตื่นกลางคืนและนอนกลางวันแทน เพราะมีโฮมเลสจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตเนื่องจากทนอากาศหนาวไม่ไหว

 

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโฮมเลสในประเทศญี่ปุ่น

     การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น จากการสอบถามคนญี่ปุ่นและประสบการณ์ตรงที่เคยแนะนำงานให้โฮมเลสมาช่วยงานในบริษัท คนแรกชื่อ ยามากุจิ เพศชาย อายุราวๆ 40 ปี บ้านเกิดอยู่ที่โอซาก้า ยามากุจิเคยเล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า

     “ผมหนีออกจากบ้านมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น เพราะครอบครัวมีปัญหาและเรียนไม่จบมัธยมปลาย ผมคิดว่ามาโตเกียวน่าจะดีกว่าอยู่โอซาก้า เพราะเป็นเมืองใหญ่ แต่ผมหางานทำไม่ได้ ไม่มีที่อยู่ เลยอาศัยนอนที่สวนแถวสถานีคินชิโจ รับจ้างเข้าคิวได้ค่าแรงครั้งละ 5,000-10,000 เยน”

     ตอนนี้เราไม่ทราบแน่ชัดว่ายามากุจิยังคงเป็นโฮมเลสหรือสามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว เพราะยามากุจิไม่ได้อาศัยอยู่ในสวนสาธารณะที่เดิมแล้ว

 

     ส่วนคนอื่นๆ ที่ต้องกลายมาเป็นโฮมเลส เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

      1. บริษัทเลิกจ้างงาน จากเดิมที่เคยทำงานอยู่บริษัทชั้นนำ หลังจากนั้นหางานใหม่ไม่ได้ ช่วงแรกๆ จะอาศัยพักพิงตามร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ แต่พอเงินหมดก็ต้องออกมาเป็นคนไร้บ้านอย่างทุกวันนี้

      2. เคยทำงานที่ร้านอาหารเป็นเวลานานกว่า 10 ปี และคิดว่าจะทำงานนี้ไปเรื่อยๆ แต่เศรษฐกิจไม่ดี ร้านปิดกิจการ ทำให้ตกงาน ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน

      3. ทำงานเกี่ยวกับก่อสร้าง แต่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานจนต้องลาออกจากงานนั้น และไม่สามารถหางานใหม่ได้อีก

 

     สาเหตุหลักของการเป็นโฮมเลสของคนญี่ปุ่นคือการสูญเสียงานแล้วไม่สามารถหางานใหม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงในชีวิตของคนญี่ปุ่นที่เปลี่ยนไป เริ่มจากมีการเลิกจ้างงาน ต่างกับอดีตที่มีการจ้างงานไปตลอดชีวิต โครงสร้างของบริษัทที่เปลี่ยนจากการจ้างพนักงานประจำเป็นจ้างพนักงานชั่วคราว ทำให้คนญี่ปุ่นมีรายได้ไม่แน่นอน ส่งผลไปถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เกินกำลัง เช่น ค่าเช่าบ้าน หรือค่าประกันสังคม

     เรามักจะพบเห็นโฮมเลสในญี่ปุ่นตามเมืองใหญ่ๆ โดย 3 เมืองใหญ่ที่มีจำนวนโฮมเลสมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ปี 2017 คือโตเกียว 1,397 ราย โอซาก้า 1,303 ราย และคานากาวะ 1,061ราย ตามลำดับ (จากจำนวนรวมของโฮมเลสทั่วประเทศญี่ปุ่น 5,534 ราย)

     ถ้าย้อนหลังดูจากตัวเลขที่เก็บสถิติตลอดมา จำนวนโฮมเลสลดลงมากจากจำนวนหลักหมื่นในปี 2011 และโอซาก้าเคยเป็นอันดับหนึ่งของเมืองที่มีจำนวนโฮมเลสมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นจนถึงปี 2016

     การช่วยเหลือจากหน่วยงานท้องถิ่นและองค์กรไม่แสวงหากำไรทำให้จำนวนของโฮมเลสลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากการให้ความช่วยเหลือเรื่องการแจกจ่ายอาหารแล้ว ยังมีการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำการหางาน ให้ที่พักชั่วคราว และให้บริการตรวจสุขภาพ

     ส่วนคนไร้บ้านที่พอมีรายได้จากการทำงาน มีการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และเสื้อผ้า การให้ยืมที่อยู่เพื่อใช้สมัครงาน ให้คำปรึกษาเรื่องการหาอาชีพทำงาน และสามารถเปลี่ยนสถานะให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถสอบใบขับขี่ หรือใบประกอบอาชีพต่างๆ ได้

     เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถลดจำนวนของโฮมเลสได้ และเป้าหมายคือการลดจำนวนโฮมเลสให้กลายเป็น ‘ศูนย์’

 

Photo: AFP

The post เจาะลึกชีวิต ‘มนุษย์กล่อง’ คนไร้บ้านญี่ปุ่นผู้พ่ายแพ้ต่อเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/tokyo-homeless-man-living-in-a-cardboard-box/feed/ 0