Invest in Style by Maybank Kim Eng – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 09 Mar 2022 08:47:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เข้าใจงบการเงินแบบอ่านง่าย ใช้ได้จริง ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นลงทุน https://thestandard.co/how-to-read-financial-statements/ Mon, 16 Nov 2020 03:45:35 +0000 https://thestandard.co/?p=420936

หนึ่งในเรื่องที่นักลงทุนควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นของบร […]

The post เข้าใจงบการเงินแบบอ่านง่าย ใช้ได้จริง ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนึ่งในเรื่องที่นักลงทุนควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นของบริษัทที่กำลังสนใจคือ การอ่านงบการเงินให้เป็น เพื่อจะได้เห็นผลประกอบการ ทิศทาง และแนวโน้มที่บริษัทเหล่านั้นกำลังจะเดินไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

โดยบทความนี้จะชวนคุณมาเจาะงบการเงิน โดยการวิเคราะห์ทางการเงินมี 2 แนวทาง คือ

 

  1. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative) คือการวิเคราะห์ที่จะทำให้เราเห็นภาพของธุรกิจหรือบริษัทที่เราสนใจมากขึ้น เช่น ขนาดของธุรกิจ ความหลากหลายของสินค้า วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร กลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของบริษัท ซึ่งจะทำให้คุณได้ความรู้สึกเชิงบวกหรือลบต่อบริษัท 

 

  1. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) คือการวิเคราะห์ทางการเงินที่เอาไว้วัดค่าตัวเลขทางการเงิน ทำให้เราเห็นภาพลึกเข้าไปอีกของบริษัทที่เราสนใจที่จะลงทุน เช่น ปีนี้มีรายได้เท่าไร เติบโตจากปีที่แล้วเท่าไร เมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่งแล้วบริษัทนั้นดีกว่าหรือแย่กว่ามากน้อยแค่ไหน โดยสะท้อนผ่านตัวเลข ทำให้เราวัดค่าได้ง่าย สะท้อนผ่านงบการเงิน (Financial Statement)

 

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับการเลือกกินอาหารบุฟเฟต์ 2 ร้านที่เสิร์ฟอาหารประเภทเดียวกัน ระยะเวลาการกินเท่ากัน อยู่ในห้างเหมือนกัน ซึ่งคงยากจะตัดสินใจว่าจะเลือกกินร้านไหน แต่ถ้ามีราคามาช่วยตัดสิน ก็คงจะทำให้เราเลือกได้ง่ายขึ้นว่าจะอิ่มอร่อยกับร้านไหนดี

 

นอกจากแนวทางของการวิเคราะห์แล้ว ยังมีเรื่องประเภทของงบการเงินที่นักลงทุนควรรู้อีกด้วย โดยงบการเงินที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้จะมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

 

  1. งบแสดงฐานะทางการเงิน หรืองบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินส่วนที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของบริษัท โดยจะกล่าวถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เราจะได้เรียนรู้ว่าโครงสร้างทางการเงินของบริษัทนั้นมาจากไหน บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนดีแค่ไหน มีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน

 

  1. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรืองบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบการเงินที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าไร มีกำไรเหลือเท่าไร เป็นงบที่ช่วยชี้วัดว่าบริษัทที่เราสนใจจะได้ไปต่อหรือไม่

 

  1. งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) เป็นงบการเงินที่แสดงถึงการรับมาและจ่ายไปของเงินสด (Cash in Flow และ Cash Out Flow) โดยงบกระแสเงินสด เกิดขึ้นจาก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cashflow) กิจกรรมลงทุน (Investing Cashflow) และกิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Cashflow)

 

แล้วงบการเงินทั้ง 3 ประเภทนี้ เราจะประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

 

อย่างแรกที่เราควรรู้คือ ฟังก์ชันของงบการเงินแต่ละประเภท ที่จะทำให้เรารู้ว่าจุดแข็งของบริษัทนั้นๆ คืออะไร ใช้วิเคราะห์ในเรื่องไหนเป็นหลัก และเคล็ดลับการเลือกหุ้นผ่านงบการเงินแต่ละส่วน

 

  1. งบแสดงฐานะทางการเงิน ช่วยให้เห็นปัจจุบันของบริษัท ความมั่นคง โครงสร้างทางการเงินว่าเงินที่ใช้ดำเนินกิจการมาจากไหน กู้มาเยอะ หรือใช้เงินของบริษัท ถ้าเทียบกับมนุษย์เราก็คือ ฐานะทางบ้านว่ามีทรัพย์สินเท่าไร มีเงินสดเท่าไร มีหนี้สินเยอะไหม ต้องผ่อนอะไรบ้าง

 

เคล็ดลับ: ให้เน้นไปที่การดูโครงสร้างทางการเงินของบริษัทว่ามีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน มั่นคงแค่ไหน อาทิ ค่า D/E Ratio บ่งบอกว่าบริษัทมีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน ยิ่งค่าน้อยแสดงว่าบริษัทมีหนี้สินน้อยและปลอดภัยที่จะลงทุน

 

  1. งบกำไรขาดทุน: ช่วยให้เห็นผลการดำเนินงานของบริษัทว่าปีนี้หรือปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง มีรายได้ และรายจ่ายเยอะแค่ไหน ต้นทุนมากไปไหม อัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับที่ดีไหม สุดท้ายคือได้กำไรสุทธิเท่าไร ถ้าเทียบกับคนทั่วไปก็เหมือนเงินเดือนหรือรายได้ที่เราหาได้ในแต่ละปี หักลบค่าใช้จ่ายทั้งปี เหลือเงินเก็บเท่าไร ทำให้ฐานะที่บ้านดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน

 

เคล็ดลับ: ให้เน้นไปที่การดูรายได้ที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น (เน้นคำว่า เพิ่มขึ้น) ซึ่งจะสะท้อนออกมาในค่าอัตราส่วนทางการเงินจำพวก Gross Profit Margin (อัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี) และ Net Profit Margin (ถ้าพูดง่ายๆ คืออัตรากำไรที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างในบริษัทแล้วเหลือเท่าไร) เพื่อดูถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมว่าเป็นอย่างไร ค่ายิ่งเพิ่มยิ่งดี สะท้อนว่ากำไรดี

 

  1. งบกระแสเงินสด: จะช่วยให้เห็นเฉพาะกระแสเงินสดว่าเงินไหลเข้าไหลออกมากน้อยแค่ไหน เพราะทางการเงินจะมีตัวเลขค่าเสื่อมที่บางครั้งเงินอาจจะไม่เข้าออกจริงๆ เลยต้องมีงบกระแสเงินสดมาช่วยให้เห็น

 

เคล็ดลับ: เน้นไปที่ Operating Cashflow ว่าธุรกิจดำเนินกิจการแล้ว หลังหักค่าใช้จ่ายมีเงินสดเหลือไหม มากน้อยแค่ไหน ซึ่งทางที่ดีควรเป็นบวกหรือเพิ่มมากขึ้น 

 

พูดถึงหลักการในการวิเคราะห์กันบ้างว่าจะเปรียบเทียบงบการเงินหรืออัตราส่วนทางการเงินอย่างไร โดยการเปรียบเทียบมี 2 วิธี ดังนี้

 

  1. เปรียบเทียบกับผลงานในอดีตของกิจการของตัวเองว่ามีผลงานดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยแค่ไหน ค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

 

  1. เปรียบกับคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน (ย้ำว่าในอุตสาหกรรมเดียวกัน) เช่น ธุรกิจที่เราสนใจอยู่ในกลุ่มค้าปลีก เราก็ต้องเอาค่าอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกเหมือนกัน จะนำไปเทียบกับกลุ่มพลังงานหรือธนาคารไม่ได้เด็ดขาด

 

หวังว่านักลงทุนทุกท่านจะได้ความรู้ในการแกะงบการเงิน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้

 

สำหรับท่านนักลงทุนที่มีความสนใจหรือต้องการคำแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนเพิ่มเติมจากทีมผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพ สามารถติดต่อมาได้ที่ทีม Investment Management ของ Maybank Kim Eng Thailand โทรศัพท์ 0 2658 5050 หรือ Email: [email protected]

 

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น มิได้มีเจตนาชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post เข้าใจงบการเงินแบบอ่านง่าย ใช้ได้จริง ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ทองคำ’ อีกการลงทุนที่เลือกได้ในสไตล์ที่เป็นคุณ https://thestandard.co/gold-investing/ Mon, 19 Oct 2020 03:40:18 +0000 https://thestandard.co/?p=408843 ทองคำ ภาพประกอบ

หนึ่งในเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจอย่างมากในช่วงเวลาหลายเด […]

The post ‘ทองคำ’ อีกการลงทุนที่เลือกได้ในสไตล์ที่เป็นคุณ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทองคำ ภาพประกอบ

หนึ่งในเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจอย่างมากในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา เรียกได้ว่า (เกือบ) ชนะทุกสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในตอนนี้ก็คือ ‘ทองคำ’ ที่นักวิเคราะห์ได้อธิบายที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ จนทำให้นักลงทุนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ชนิดนี้มากขึ้น 

 

แต่นอกจากมุมมองว่า ทองคำน่าลงทุนแค่ไหนแล้ว ยังมีคำถามที่ตามมาอีกมากมายที่ควรหาคำตอบให้ได้ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน เช่น ระหว่าง ‘ทองรูปพรรณ’ กับ ‘ทองคำแท่ง’ จะเลือกลงทุนแบบไหนดี หรือทองคำในประเทศกับทองคำต่างประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเหล่านี้จะทำให้นักลงทุนรู้จักสินทรัพย์ชนิดนี้มากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจอย่างเหมาะสมก่อนการลงทุน 

 

ทองคำไทยกับทองคำโลกต่างกันอย่างไร

ทองคำในโลกมีการถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น เครื่องมือ, อุปกรณ์ทางการแพทย์, เครื่องประดับ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทองคำเป็นที่นิยมในตลาดการลงทุน เป็นแหล่งลงทุนได้อีกประเภทหนึ่ง 

 

เราสามารถแบ่งความแตกต่างของการลงทุนในทองคำไทยและทองคำโลกได้เป็น 3 ประเด็น คือ

 

  1. ทองคำในตลาดโลกที่ใช้ลงทุนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์ในการซื้อขาย อ้างอิงที่ 99.5% เช่น ที่ CME Group, LBMA เป็นต้น 

 

ขณะที่ทองคำที่ลงทุนในไทยจะมีความบริสุทธิ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ทองคำอยู่ที่ 96.5% ทั้งทองรูปพรรณและทองคำแท่ง นี่จึงเป็นความแตกต่างแรกของทองคำไทยกับทองคำในตลาดโลก

 

  1. ประเด็นแตกต่างลำดับถัดมาคือ ‘น้ำหนักทองคำ’ โดยการกำหนดหน่วยทองคำของทองคำโลกใช้ปริมาตร ‘ออนซ์’ ซึ่งเป็นการย่อคำจาก Troy Ounce (ทรอยเอาซ์) ส่วนเมืองไทยจะเรียกหน่วยทองคำไทยว่า ‘บาท’ 

 

และทองคำ 1 ออนซ์ จะเท่ากับทองคำกี่บาท

 

ดังนั้น เรามาเริ่มหาจุดร่วมเพื่อให้ทราบน้ำหนักที่แตกต่างกันนี้ดีกว่า โดยน้ำหนักออนซ์ (หรือ TOz.) เท่ากับ 31.1035 กรัม, บาททองคำไทย เท่ากับ 15.16 กรัม (ทองรูปพรรณ) / 15.244 กรัม (ทองคำแท่ง) 

 

ทำให้ส่วนใหญ่ร้านขายทองคำจึงสรุปเป็นตัวเลขให้เราพอประเมินได้ว่าทอง 1 ออนซ์ จะเท่ากับทองคำประมาณ 2 บาททองคำไทย ซึ่งจุดนี้นักลงทุนจะทราบดีว่านี่คือตัวเลขในเชิงประมาณการ

 

  1. ประเด็นข้อแตกต่างที่ 3 คือ หน่วยเงินซื้อขาย ราคาที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดต่างประเทศนิยมใช้ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในขณะที่บ้านเราจะใช้ค่าเงินบาท (THB) 

 

ดังนั้น ปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลต่อการซื้อขายราคาทองคำในประเทศ 

 

บางครั้งปัจจัยนี้ทำให้การลงทุนซื้อขายทองคำทำอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอาจกำไรมากขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าราคาทองในตลาดโลกจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สามารถคำนวณตารางอัตราเปรียบเทียบได้ตามอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน

 

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อผลตอบแทนราคาทองคำในประเทศเป็นอย่างมาก เช่น ผลตอบแทนประมาณช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้น ราคาทองคำในต่างประเทศทั้ง Gold Spot และ LBMA นั้นต่างปรับตัวลดลงมากกว่าผลตอบแทนการลงทุนทองคำในประเทศไทย หากเราพิจารณาข้อมูลอย่างง่ายจะพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนั้นคือการอ่อนค่าของค่าเงินบาท จึงทำให้การแลกเปลี่ยน (คำนวณราคาจากหน่วย USD เป็น THB นั้น) ได้รับผลตอบแทนดีกว่า จึงมาชดเชยการขาดทุนได้บางส่วน (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการลงทุนยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่ต้องพิจารณา) 

 

ข้อมูลนี้สามารถมองเห็นทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกว่าจะยังคงไปต่อ

 

แม้จะย่อลงในช่วงที่ผ่านมา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่า (ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ) การเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนทองคำในประเทศไทยน่าจะทำให้ผลตอบแทนดีกว่า (ขึ้นได้มากกว่า / ลงได้น้อยกว่า เพราะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาช่วยพยุงราคาไว้) 

 

แต่นี่เป็นเพียงสมมติฐานที่คาดการณ์เท่านั้น ซึ่งถ้าหากคาดการณ์ผิดจากตัวอย่างข้างต้น เช่น ผลตอบแทนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่า เนื่องจากเงินบาทแข็งค่า จึงทำให้มุมมองผลตอบแทนการลงทุนทองคำในประเทศไทยได้รับน้อยกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนของทองคำแท่ง (GTAGB) กับทองรูปพรรณ (GTAGO) ในประเทศแล้วจะพบว่า ในช่วงที่ผ่านมาทองคำแท่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในหลายช่วงเวลา (บวกมากกว่า แต่ก็ลบมากกว่าในบางช่วงเช่นกัน) ซึ่งกรอบของราคาที่เคลื่อนไหวนี้อาจเป็นเพราะความนิยมหรือราคาที่เหวี่ยงได้มากกว่าเมื่อมีนักลงทุนสนใจมากกว่าก็เป็นได้ 

 

ทางเลือกการลงทุนทองคำในประเทศไทยไม่ใช่มีเพียงทองคำแท่ง / ทองคำรูปพรรณ ที่ต้องซื้อหาจากร้านค้าทองคำเท่านั้น ในปัจจุบันตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทย หรือ TFEX ที่เป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็มีสินค้าทองคำให้นักลงทุนที่สนใจเลือกซื้อขายอย่างมากมาย หากสนใจทองคำราคาแบบไทย มีคุณสมบัติแบบไทย ความบริสุทธิ์ 96.5% น้ำหนักที่ตกลงซื้อขาย บาททองคำไทย และซื้อขายเป็นเงินบาท ก็มีตัวเลือกอย่างสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) อ้างอิงราคาทองคำแท่งที่ LBMA แต่แปลงค่าความบริสุทธิ์/ราคา เป็นแบบไทย อย่าง GF10 (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อ้างอิงทองคำแท่งที่ความบริสุทธิ์ 96.5% ขนาดน้ำหนักทองคำ 10 บาทต่อสัญญา) ซึ่งจะพบว่า ผลตอบแทนใกล้เคียงกับทองคำแท่งในประเทศ (GTAGB) และมีข้อดีคือ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และ/หรือ ขนย้าย ทั้งยังใช้กระบวนการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือการใช้เงินลงทุนที่จำกัด จากที่ผ่านๆ มาอัตราหลักประกันเพื่อใช้ในการลงทุน ต่อ 1 สัญญา (10 บาททองคำไทย) นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของมูลค่าทองคำแท่งที่ซื้อขายแบบ Physical ทั้งนี้ ยังสามารถตกลงซื้อหรือขายก่อนก็ได้แม้ไม่มีสินค้าในมือ

 

นั่นคือ หากเรามองว่าราคาทองคำในอนาคตจะลดลง (ซึ่งราคาปัจจุบันค่อนข้างสูง) ถ้ามีสินทรัพย์ทองคำอยู่เยอะ อาจจะขายตั้งแต่ตอนนี้ แล้วเมื่อราคาลงค่อยซื้อกลับคืนมา ถ้าเราไม่มีทองคำในมือคงทำได้ยาก แต่ด้วยกลไกการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าฯ นั้นทำให้นักลงทุนจะตกลงซื้อก่อนหรือขายก่อนก็ได้ หากมีมุมมองต่อทิศทางราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง (ตามลำดับ)

 

ไม่ใช่เพียงแต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นราคาทองคำแบบไทยเท่านั้น ใน TFEX เองยังมีทองคำที่อ้างอิงจากต่างประเทศ (อ้างอิงจาก LBMA) ที่เรียกว่า Gold Online Futures (GO) รูปแบบการซื้อขายคล้ายแบบแรกคือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการวางหลักประกัน (แทนการชำระเงินเต็มจำนวน / รับสินค้า) และสามารถตกลงราคาซื้อหรือขายก่อนก็ได้เช่นกัน โดยราคาที่ใช้อ้างอิงและความบริสุทธิ์ที่ตกลงราคากันนั้นจะเป็นแบบมาตรฐานของ LBMA คือ ความบริสุทธิ์ที่ 99.5% มีหน่วยตกลงเป็นรูปแบบดอลลาร์สหรัฐ (ตามรูปแบบที่อ้างอิงจาก LBMA)

 

ทั้งนี้ รายละเอียดการลงทุนในทองคำยังมีอีกมาก ทั้งจากกองทุนทองคำและกระบวนการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าใน TFEX ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน และหากนักลงทุนท่านใดสนใจข้อมูลการลงทุนในทองคำเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือติดตามข้อมูลต่างๆ ของบริษัทได้ทาง Facebook.com/maybankke

 

maybank the standard real estate investment

 

The post ‘ทองคำ’ อีกการลงทุนที่เลือกได้ในสไตล์ที่เป็นคุณ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นวัตกรรมการลงทุนในยุคดิจิทัล เมื่อ Data และ AI เริ่มรุกคืบ บทบาทของนักลงทุนจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป https://thestandard.co/investment-innovation-in-the-digital-age/ Mon, 12 Oct 2020 03:40:23 +0000 https://thestandard.co/?p=405757

ในบทความก่อนหน้านี้เราเคยพูดคุยกันในประเด็นว่า ‘มีเงินแ […]

The post นวัตกรรมการลงทุนในยุคดิจิทัล เมื่อ Data และ AI เริ่มรุกคืบ บทบาทของนักลงทุนจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในบทความก่อนหน้านี้เราเคยพูดคุยกันในประเด็นว่า ‘มีเงินแล้วเอาไปทำอะไรดีในยุคดิจิทัล’ นำมาสู่คำถามถัดไปว่า ‘แล้วจะใช้เครื่องมือลงทุนอะไรดีในโลกยุคดิจิทัล’ รวมไปถึง ‘บทบาทของนักลงทุนในโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร’ ซึ่งถ้าตอบทั้ง 2 คำถามนี้ได้ ก็จะทำให้คุณมีความได้เปรียบในการลงทุน และก้าวสู่โลกอนาคตในโลกการลงทุนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

 

ถ้าย้อนกลับไป 30 ปีก่อน งบการเงิน รายงานประจำปี บทวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร ข่าวรายวัน การเยี่ยมชมกิจการ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนเครื่องมือการลงทุน ซึ่งอาจเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนของคุณ แต่ ณ วันนี้คงต้องมาชวนคิดกันว่า แล้วสิ่งเหล่านี้ยังสำคัญอยู่หรือเปล่า เพราะในโลกทุกวันนี้มีหลายนวัตกรรมที่เข้ามามีผลกระทบกับกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งที่น่าจับตามองก็คงไม่พ้นเรื่อง Data และ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์การลงทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลก

 

ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) สำหรับการตัดสินใจลงทุน

ในอดีต เราคงคุ้นชินกับการใช้ข้อมูลพื้นฐาน เช่น งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน หรือตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ในการวิเคราะห์การลงทุน แต่ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) เป็นข้อมูลรูปแบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์การลงทุนเช่นกัน ซึ่งข้อมูลทางเลือกนั้นสามารถหาได้ทั่วไปและมีความหลากหลาย 

 

ในปัจจุบัน Hedge Fund หรือกองทุนต่างๆ ได้ทำการใช้ข้อมูลทางเลือกในการวิเคราะห์การลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าเดิม ภายใต้สมมติฐานว่าข้อมูลพื้นฐานอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ซึ่งชุดข้อมูลของข้อมูลทางเลือกที่นำมาใช้นั้น สามารถมาจากแหล่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกออนไลน์ได้ เช่น Social Media, Web Traffic, App Installs, IoT, Sentiment, Transactional Data ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างทันต่อเหตุการณ์ จนถึงขนาดมีหลายบริษัทริเริ่มทำธุรกิจเป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูล (Data Provider) ซึ่งเกิดขึ้นใหม่เยอะมากเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ

 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ธุรกิจการร่วมลงทุน (Venture Capital) ใช้ข้อมูลทางเลือกเหล่านี้ในการพิจารณาการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่น บริษัท Facebook, Zoom, Netflix ทั้งๆ ที่ข้อมูลพื้นฐานอาจไม่ได้ชี้วัดว่าบริษัทเหล่านั้นมีกำไรในช่วงเริ่มแรก และอัตราส่วนทางการเงินก็อาจจะไม่ได้ดีเลิศมากนัก แต่จะดูข้อมูลทางเลือก เช่น มีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่เท่าไร, ค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้า (Acquisition Cost), ค่าใช้จ่ายในการรักษาลูกค้าปัจจุบัน (Retention Cost) หรือมูลค่าเพิ่มของลูกค้าหนึ่งรายที่เกิดกับบริษัทตลอดช่วงระยะเวลาที่เป็นลูกค้า (Customer Life Time Value) เป็นอย่างไร ในการประเมินศักยภาพการเติบโตรวมถึงความยั่งยืนในอนาคต

 

อย่างไรก็ดี การนำข้อมูลทางเลือกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ยังคงต้องใช้ความสามารถของ Data Scientist จนถึงวิทยาการใหม่ๆ ที่ต้องใช้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติที่ซับซ้อน โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจจะยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนทั่วไป จนถึงประเด็นความเสี่ยงด้านข้อมูล เช่น Data Risk, Model Risk, Regulatory Risk หรือค่าตัวคนทำงานในสาขานี้ที่อาจมีค่าตัวที่ต้นทุนสูงกว่าตลาดโดยทั่วไป 

 

แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความได้เปรียบด้านข้อมูลจะทำให้เราพิจารณาการลงทุนได้ดีขึ้น ดังนั้นพอพูดถึงบทบาทของนักลงทุนคงไม่ได้จบเพียงแค่การศึกษาวิชาด้านการเงิน แต่สำคัญว่าต้องมีความเข้าใจด้านเทคโนโลยี สถิติ และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artifact Intelligence)

เวลาได้ยินคำนี้ คุณอาจคิดเตลิดไปไกลว่า AI จะมาแทนที่คุณในชีวิตประจำวัน รวมถึงการลงทุนด้วยเช่นกัน แต่อันที่จริงแล้ว AI ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือใหม่มากนัก เวลาที่คุณหยิบกล้องมือถือถ่ายรูป ตัวอุปกรณ์จะมี AI ที่อยู่ภายในกล้องทำงานในการตั้งค่าโฟกัสใบหน้าคนอยู่ทุกวินาที คำถามคือแล้วมันมาแทนที่คุณหรือไม่ 

 

ซึ่งคำตอบก็คือทั้งใช่และไม่ใช่ โดยสิ่งที่ใช่คือ งานที่ทำซ้ำๆ กัน (Repetitive Task) ที่ไม่ต้องใช้ความสามารถเยอะ เช่น ตัวอย่างของโฟกัสกล้องที่ได้กล่าวไป หรือการปรับ Exposure ระหว่างการถ่ายภาพแบบเรียลไทม์ ซึ่ง AI ก็มักจะทำงานแทนคนได้อย่างดี และสเกลได้โดยไม่เหนื่อย แต่สิ่งที่ยังไม่สามารถแทนที่ได้คือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดองค์ประกอบภาพ หรือการคุมโทนสีภาพในการแสดงความรู้สึกในงานศิลป์ต่างๆ ซึ่งคนก็ยังทำได้ดีกว่า AI (ณ ตอนนี้)

 

เช่นเดียวกับการลงทุน ซึ่ง AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ มันคงไม่ใช่การที่นักลงทุนกดปุ่มเดียวแล้วจะมี AI อัจฉริยะเข้ามาจัดพอร์ตให้คุณแล้วสามารถชนะตลาดโดยพลัน (ณ ตอนนี้) แต่ที่จริงแล้วจะเป็นการที่คนเอา AI มาสนับสนุนการทำงานมากกว่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว AI ในเชิงการลงทุนสามารถแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

 

  1. AI-NLP (Natural Language Processing คือการประมวลผลภาษาธรรมชาติ อธิบายง่ายๆ คือ ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์นั่นเอง), Computer Vision และ Voice Recognition สำหรับใช้ในการประมวลผลข้อความ รูปภาพ และเสียง
  2. AI-Machine Learning สำหรับใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพของ Algorithms (ขั้นตอนการประมวลผลในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาโปรแกรมเห็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายขึ้น) ที่ใช้ในกระบวนการลงทุนต่างๆ

 

ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นการที่นักลงทุนใช้นวัตกรรม AI ดังกล่าวในการช่วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การประมวลผลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางทั้งข่าว Twitter Facebook อื่นๆ ในการประเมินสัญญาณซื้อขายอย่างรวดเร็ว ประเมินกลยุทธ์การลงทุนต่างๆ

 

โดยประเด็นสำคัญคงไม่ได้อยู่แค่ ‘ความฉลาด’ ของ AI แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าที่ AI ทำได้ดีกว่าคน คือ ‘จำนวน (Scale)’ เพราะสามารถทำได้ทีละมหาศาล ในขณะที่ถ้าให้คนมานั่งทำกระบวนการทางสถิติเหล่านี้ จะทำได้ปริมาณที่น้อยกว่ามาก และอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น 

 

กระนั้นก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มนุษย์ก็ยังต้องเป็นคนที่จัดการและตัดสินใจในกระบวนการเหล่านี้ ที่ต้องมีการพิจารณาความซับซ้อนทั้งในมุมบริบทและเชิงนัยต่างๆ ของข้อมูลสูง (Human Intelligence) โดยเพียงใช้ AI เป็นตัวช่วย ดังนั้น สิ่งผู้เชี่ยวชาญจากหลายองค์กรให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า การใช้ปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับการตัดสินใจของมนุษย์ยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ณ ตอนนี้

 

กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าคุณจะเป็น นักริเริ่ม (Innovator), คนหัวก้าวหน้า (Early Adopter) หรือ ผู้ที่ตามหลัง (Laggard) ต่อความคิดหรือวิทยาการใหม่ๆ สิ่งที่เราคาดการณ์ได้ลำบากคือการเดาว่าอะไรคือสูตรสำเร็จของการเลือกใช้นวัตกรรมด้านการลงทุน 

 

ดังนั้นสิ่งที่เราควรตอบสนองต่อสิ่งใหม่ๆ คงไม่ใช่การรีบใช้มัน หรือต่อต้านมัน แต่คือการไม่ปฏิเสธ และศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งสิ่งที่เราเรียนรู้จากอดีตและเห็นพ้องต้องกันคือ ผู้ชนะในสมรภูมิคือผู้ที่เข้าใจในนวัตกรรม บริหารและเลือกใช้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือการเข้าใจและต่อยอดสิ่งใหม่ๆ จากหลักการที่พิสูจน์มาแล้วในอดีต ผสมผสานกับศักยภาพแห่งโลกอนาคตอย่างลงตัว

 

สำหรับในเมืองไทยแม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจยังไม่ใช่กระแสหลัก แต่เมื่อใดคนเริ่มตระหนักและตื่นตัวมากขึ้นแล้ว คงเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด (เช่นเดียวกับการเข้ามาของ E-Commerce) และหากเราไม่เตรียมพร้อมก็อาจตามไม่ทันและสูญเสียความได้เปรียบในที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

_________________________________

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษฟรีจาก Maybank Kim Eng

____________________________________________________________

maybank the standard real estate investment

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

 

 

The post นวัตกรรมการลงทุนในยุคดิจิทัล เมื่อ Data และ AI เริ่มรุกคืบ บทบาทของนักลงทุนจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
กอง REIT คืออะไร น่าลงทุนจริงไหม และจะเริ่มลงทุนอย่างไรดี https://thestandard.co/what-is-reit-investment-real-estate/ Mon, 05 Oct 2020 03:40:57 +0000 https://thestandard.co/?p=403255 การลงทุน maybank REIT kim eng

หลายๆ คนคงมีความฝันที่อยากจะให้เงินทำงานแทนเราเพื่อสร้า […]

The post กอง REIT คืออะไร น่าลงทุนจริงไหม และจะเริ่มลงทุนอย่างไรดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
การลงทุน maybank REIT kim eng

หลายๆ คนคงมีความฝันที่อยากจะให้เงินทำงานแทนเราเพื่อสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องและมั่นคงในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกในการลงทุนหลากหลายประเภทที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเราโดยที่ไม่ต้องทำงานเอง ทางเลือกที่นักลงทุนคุ้นเคยกันดีมีทั้งเงินฝากธนาคาร การลงทุนในหุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ กองทุนรวม ทองคำรวม รวมไปถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

 

ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ การลงทุนมีความผันผวนสูงทั้งตลาดทุนและตลาดเงิน สำหรับนักลงทุนที่มองหาทางเลือกการลงทุนที่มีความผันผวนไม่มากนักและสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ทางเลือกสำหรับการลงทุนอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและตอบโจทย์ดังกล่าวคือการลงทุนใน ‘ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์’ (Real Estate Investment Trust) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘กองรีท’ (REIT)

 

การลงทุนในกองรีทถือได้ว่าเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทางอ้อมผ่านการลงทุนในกองรีท โดยกองรีทจะถูกจัดตั้งขึ้นและบริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทรัสต์ (REIT Manager) ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. 

 

โดยผู้จัดการกองทรัสต์จะจัดตั้งกองรีทและดำเนินการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่นักลงทุนทั่วไป เพื่อนำเงินที่ระดมทุนได้นี้ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพ เช่น ศูนย์การค้า อาคารคลังสินค้า โรงงาน โรงแรม สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และศูนย์แสดงสินค้า เป็นต้น ก่อนจะนำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปหาประโยชน์โดยการปล่อยเช่าให้แก่ผู้เช่ารายต่างๆ ซึ่งค่าเช่าดังกล่าวถือเป็นรายได้หลักของกองรีท และผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผลที่มาจากผลกำไรของกองรีทที่จ่ายออกมา

 

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองรีทนี้ยังตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยใครๆ ก็เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านการลงทุนในกองรีท แถมยังไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมีสภาพคล่องมากกว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เนื่องจากหน่วยทรัสต์ของกองรีทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้เราสามารถซื้อขายหน่วยทรัสต์ได้เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้นสามัญที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

 

นอกจากนี้การลงทุนในกองรีทยังทำให้เรามีทางเลือกในการลงทุน และสามารถกระจายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้หลากหลายประเภท ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย

 

ข้อดีของการลงทุนในกองรีทนั้นคือเราไม่ต้องเข้ามาบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนด้วยตัวเอง โดยที่เราจะมีผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการตั้งแต่การเลือกสรรอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพและศักยภาพดี การดำเนินการระดมทุนทั้งโดยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้เงิน แล้วนำเงินที่ระดมทุนได้ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การจัดการให้มีการบำรุงซ่อมแซมและดูแลทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี รวมถึงการนำทรัพย์สินที่ได้ลงทุนนี้ไปจัดหาประโยชน์โดยการปล่อยเช่าให้แก่ผู้เช่าที่เหมาะสม 

 

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังสงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์จะบริหารจัดการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์เป็นหลักหรือไม่ เราจะเชื่อถือผู้จัดการกองทรัสต์ได้อย่างไร 

 

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทรัสต์เองจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่เชื่อถือได้และต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ในขณะเดียวกันกองรีทจะมีทรัสตี (Trustee) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและกำกับดูแลการทำงานของผู้จัดการกองทรัสต์ ตลอดจนดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ทำให้นักลงทุนสามารถมั่นใจและเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทรัสต์ได้

 

โดยทั่วไป จากลักษณะการลงทุนและการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินที่เข้าลงทุนของกองรีท รายได้ของกองรีทจะค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมาจากรายได้ค่าเช่าเป็นรายได้หลัก โดยที่รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายของกองรีทจะถูกนำมาจ่ายเป็นประโยชน์ตอบแทนให้แก่นักลงทุนในรูปของปันผลอย่างน้อย 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว ดังนั้นโดยทั่วไปการลงทุนในกองรีทจึงให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่สม่ำเสมอ และจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก 

 

อย่างไรก็ตาม ราคาของหน่วยทรัสต์ซึ่งจะสะท้อนการคาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอในระยะยาว ซึ่งถือว่าค่อนข้างมีความผันผวนน้อย และจะไม่ได้มีการปรับตัวขึ้นสูงในลักษณะเดียวกับหุ้นสามัญประเภทที่มีการเติบโตสูง (Growth Stock) ดังนั้นการลงทุนในกองรีทจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอจากเงินปันผลในระยะยาวมากกว่าความคาดหวังกำไรจากการขายหน่วยทรัสต์ (Capital Gain) หรือการลงทุนที่เป็นการเก็งกำไรในระยะสั้น

 

ถึงตรงนี้นักลงทุนอาจเริ่มมีคำถามแล้วว่าหากสนใจจะลงทุนในกองรีทแล้ว มีทางเลือกการลงทุนในกองรีทอะไรบ้าง

 

ในปัจจุบันกองรีทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวน 24 กอง โดยแบ่งเป็นกองรีทที่มีการลงทุนหลักในอสังหาริมทรัพย์ 4 ประเภท ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า อาคารสำนักงาน อาคารศูนย์การค้าและพื้นที่ค้าปลีก โรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ทั้งนี้กองรีทบางกองมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท ในการจะเลือกเข้าลงทุนในกองรีทให้เหมาะกับความต้องการหรือเป้าหมายการลงทุนนั้น นักลงทุนควรจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดและศักยภาพของทรัพย์สินหลักที่กองรีทเข้าลงทุน โดยลักษณะการเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองรีทจะเป็นรูปแบบเป็นเจ้าของถือครองกรรมสิทธิ์ (Freehold) หรือลงทุนในสิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold)โดยทรัพย์สินของกองรีทจะบริหารจัดการโดยผู้บริหารทรัพย์สินที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองรีทและการจ่ายผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วย ตลอดจนสภาพคล่องการซื้อขายของหน่วยทรัสต์ของกองรีทนั้นๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนทั้งในด้านผลตอบแทนที่ต้องการและความเสี่ยงการลงทุน

 

ดังนั้น กล่าวได้ว่าการลงทุนในกองรีทถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาวและมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นโดยทั่วไป อีกทั้งยังสามารถกระจายความเสี่ยงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้หลายประเภทตามประเภทการลงทุนของกองรีท 

 

สำหรับผู้สนใจอยากลงทุนในกองรีท สามารถซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองรีทผ่านบัญชีหุ้นคล้ายกับการซื้อขายหุ้น โดยหากท่านได้เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์อยู่แล้วก็สามารถใช้บัญชีหุ้นซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองรีทได้เลย 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

 


 

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษฟรีจาก Maybank Kim Eng

 


maybank the standard real estate investment

The post กอง REIT คืออะไร น่าลงทุนจริงไหม และจะเริ่มลงทุนอย่างไรดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
คน Gen Z จะลงทุนอะไรดีในยุคดิจิทัล? รวมทางเลือกหลากหลายที่จะทำให้การลงทุนเป็นเรื่องสนุกขึ้น https://thestandard.co/gen-z-digital-investment/ Mon, 28 Sep 2020 03:40:00 +0000 https://thestandard.co/?p=401323

“มีเงินก้อนเหลือ จะเอาไปทำอะไรดีในยุคดิจิทัล”   เช […]

The post คน Gen Z จะลงทุนอะไรดีในยุคดิจิทัล? รวมทางเลือกหลากหลายที่จะทำให้การลงทุนเป็นเรื่องสนุกขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

“มีเงินก้อนเหลือ จะเอาไปทำอะไรดีในยุคดิจิทัล”

 

เชื่อว่าคำถามนี้คงผุดขึ้นมาในใจหลายๆ คน ท่ามกลางกระแสโลกนิยม (Hype) ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ที่มีทางเลือกในการลงทุนหลากหลาย ทั้งลงทุนทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เปิดร้านขายของออนไลน์ หรือลงทุนทางเลือกใหม่อย่าง Cryptocurrency (สินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกแบบให้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อรับประกันธุรกรรม ควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์ เช่น บิตคอยน์ ที่อาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ) 

 

คนรุ่นใหม่อาจเห็นภาพคนรุ่นก่อนๆ ประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจ เช่น อากงเป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ รุ่นพ่อเป็นผู้บริหารในบริษัท ส่วนรุ่นพี่เป็นเจ้าของสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คำถามก็คือแล้ว Gen Z จะมีทางเลือกในการลงทุนทางไหนบ้าง

 

แน่นอนว่าการเล่นหุ้นหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ก็ยังเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปเพียงใด แต่ก็อาจจะมีคำถามตามมาว่าการลงทุนในเส้นทางนี้ยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่อยู่หรือไม่ 

 

หากพิจารณาแค่ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ค่าดัชนี (Index) แล้วก็อาจจะตีความได้ว่ามันขึ้นๆ ลงๆ ดูไม่ค่อยน่าสนใจ ซึ่งถ้าเทียบกับคนที่ทำธุรกิจตามกระแสโลกนิยมต่างๆ แล้วดูจะน่าสนใจมากกว่า อย่างไรก็ดี การลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะ ‘ในยุคดิจิทัล’ นั้นยังมีหลายเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยปรากฏตามสื่อในวงกว้างมากเท่าไร ทั้งๆ ที่การลงทุนในยุคดิจิทัลนั้นมีความก้าวหน้าและนวัตกรรมไม่แพ้การเติบโตในวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว และนี่คือตัวอย่าง

 

บริการทางการเงินที่เข้าถึงนักลงทุนได้มากขึ้น (Consumerization of Financial Services)

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้อุปสรรคในการเข้าถึงบริการต่ำลง แม้ว่าคุณจะเป็นลูกค้ารายย่อย แต่ก็สามารถเข้าถึงบริการการลงทุนได้เสมือนเป็นลูกค้าชั้นดีในสมัยก่อนเลยทีเดียว ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ด้านการเงิน (และจะยิ่งดียิ่งขึ้นโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเองมากนัก ซึ่งในเชิงเทคนิคแล้วก็สามารถอัปเกรดไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI, Robo-advisor, Algorithm ต่างๆ เป็นต้น) ดังนั้นนี่คือยุคที่การลงทุนน่าสนใจมากสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ ซึ่งสามารถใช้บริการเหล่านี้เป็นตัวช่วยได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อจำกัดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แถมเปิดบัญชีหุ้นก็ทำได้ง่ายขึ้นมาก โดยทำผ่านระบบ e-Open Account ได้เลย

 

การเคลื่อนที่ของธุรกิจ (Momentum)

ในกรณีทั่วไป หากเปิดธุรกิจของตัวเอง คุณอาจต้องใช้เงินทุน (Capital) ในก้อนที่ ‘ใหญ่’ ระดับหนึ่ง และอาจต้องใช้เวลา ‘รอ’ ระยะหนึ่งกว่าที่จะผลตอบแทนกลับมา 

 

แตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่คุณสามารถเลือกหุ้นที่มีเงื่อนไขหรือผ่านเหตุการณ์ทางธุรกิจต่างๆ มาแล้ว เช่น ผ่านจุดคุ้มทุน (Break Even) มาแล้ว และสามารถได้ยอดผู้เข้ามาใช้บริการ (Traction) ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง เสมือนว่าคุณเป็นเจ้าของกิจการคนหนึ่งได้เลยโดยที่ไม่ต้องลงเงินหมดหน้าตัก หรือหยิบยืมเงินของครอบครัวมาเยอะๆ เพื่อลงทุนในธุรกิจที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร 

 

พลังของผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่หลากหลาย (Financial Instruments)

ในสมัยก่อน หากนักลงทุนทั่วไปต้องการจะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ทำได้ยาก และไม่สะดวกนัก แต่ในยุคปัจจุบันปัญหาเหล่านี้กลายเป็นเรื่องในอดีตไปแล้ว เพราะนอกจากจะเข้าถึงได้อย่างสะดวกและง่ายดายแล้ว นักลงทุนยังสามารถใช้เทคนิคขั้นสูงเพื่อขยายผลตอบแทนได้มากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเทรดตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หรือซื้อขายหุ้นโดยวางหลักประกัน (Margin) ดังนั้นผลตอบแทนของคุณจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินทุนหรือแค่รอให้หุ้นขึ้นเพียงอย่างเดียว พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ลงเงิน 100 แล้วได้เพิ่มแค่ 10 บาทอีกต่อไป ที่สำคัญยังสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมการลงทุนได้ตลอดผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ จากอุปกรณ์มือถือในมือได้ทันที 

 

ตัวเลือกการลงทุนอันมหาศาล (Multi-Asset Investment)

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน คุณอาจจะมีความคิดที่ว่า Google หรือ Amazon ต้องเป็นบริษัทที่เติบโตและได้กำไรดีอย่างแน่นอน แต่ข่าวร้ายคือในเวลานั้นไม่ได้มีช่องทางที่สะดวกนักในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ 

 

แตกต่างจากตอนนี้ที่คุณสามารถเลือกลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย โดยตัวเลือกมีทั้งบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หรือสตาร์ทอัพมาแรงที่เข้าตลาดหุ้น นี่คือโอกาสของคุณแล้ว

 

มิติของการพิจารณาการลงทุน (Consideration)

โดยพื้นฐานแล้ว มิติหลักที่ใช้พิจารณาในการลงทุนคือผลตอบแทน แต่ถึงอย่างนั้นในเชิงธุรกิจแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น ความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ทั้งค่าเงิน ความผันผวนต่างๆ แต่อีกหนึ่งมิติที่น่าสนใจมากในยุคนี้ก็คือ ‘Purpose’ หรือวัตถุประสงค์การลงทุน เช่น การเลือกลงทุนบริษัทที่มีเป้าหมายเฉพาะทาง เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การรับผิดชอบต่อสังคม  

 

ซึ่งการลงทุนในยุคดิจิทัลนี้มีตัวเลือกที่คุณสามารถทำตามความต้องการของคุณ (Customize) ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การลงทุนแบบ Thematic Investing ก็ยังเป็นอีกมิติในการพิจารณาการลงทุน โดยคาดการณ์แนวโน้มตลาดว่าจะไปในทิศทางไหน และเลือกการลงทุนในกลุ่มดังกล่าว เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากการลงทุนในหุ้นแล้ว คุณก็สามารถลงทุนในกองทุนต่างๆ ได้เช่นกัน

 

ทุกๆ การลงทุนมีความเสี่ยง แต่อาจไม่ใช่ทุกการลงทุนที่คุณรับรู้ข้อมูลครบทุกด้าน (Filter Bubble)

บางคนอาจคิดว่าการลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์เป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะเวลาหุ้นตัวไหนขึ้นหรือลง (โดยเฉพาะขาลง) มักเป็นข่าวอยู่เสมอ แต่ที่จริงแล้วการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความโปร่งใสมากที่สุดทางเลือกหนึ่ง เพราะว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และอยู่ในการกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งหากคุณมีโปรแกรมเทรดหุ้นบนมือถือ แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณก็จะสามารถเห็นข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย 

 

ตรงข้ามกับการลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่คุณอาจจะไม่เห็นข้อมูลบางอย่าง และอาจตกอยู่ในภาวะ Filter Bubble ซึ่งหมายถึงการที่คนเราใช้โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter, Instagram หรือ YouTube แล้วอยู่ในโลกของตนเอง โดยมี Filter Algorithm ของโซเชียลมีเดียที่พยายามกรองแต่สิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจเท่านั้น ในขณะที่เรื่องที่ไม่เคยสนใจทั้งที่อาจมีประโยชน์กลับไม่แสดงขึ้นมาให้เราเห็นเลย เราจึงเหมือนติดอยู่ในโลกของ Filter Bubble และอาจจะทำให้พลาดโอกาสรับรู้ข่าวสารการลงทุนดีๆ ไปก็ได้

 

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเพื่อการลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์ต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้การลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์ต่างๆ มีความน่าสนใจ ไม่ใช่สำหรับคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงคนทุกรุ่น ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนยุคใหม่ที่มีธุรกิจสตาร์ทอัพหรือร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง หรือนักลงทุนยุคก่อนมีกิจการที่ใหญ่โต คุณก็ยังสามารถลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์เสริมจากธุรกิจที่คุณมีอยู่แล้วได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

 

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

 


 

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษฟรีจาก Maybank Kim Eng

 


 

The post คน Gen Z จะลงทุนอะไรดีในยุคดิจิทัล? รวมทางเลือกหลากหลายที่จะทำให้การลงทุนเป็นเรื่องสนุกขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เคล็ด (ไม่) ลับการเทรดเอาตัวรอดในตลาดหุ้น https://thestandard.co/learn-how-to-invest-in-stocks/ Mon, 21 Sep 2020 03:00:44 +0000 https://thestandard.co/?p=398188 การเทรด

กว่านักลงทุนจะมีความเชี่ยวชาญในการลงทุนก็ต้องเรียนรู้เท […]

The post เคล็ด (ไม่) ลับการเทรดเอาตัวรอดในตลาดหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
การเทรด

กว่านักลงทุนจะมีความเชี่ยวชาญในการลงทุนก็ต้องเรียนรู้เทคนิคต่างๆ มาประกอบกับข้อคิดเพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งบทความนี้เราจะนำข้อคิดดีๆ มาฝากกันครับ



1. เลือกทองคำแท้​ เลี่ยงทองเก๊​หรือทองคำเปลว
นักวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์จะ​เป็นตะแกรงร่อนชั้นเยี่ยมที่​ช่วยประหยัดเวลาของนักลงทุน แต่ที่สำคัญคือวิธีการเลือกหุ้น ควรจะเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี มีแนวโน้มที่ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต มีราคาที่เหมาะสม (Target Price) ที่สูงกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันมากๆ



อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมจากหลายๆ บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูล และทำให้การลงทุนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น



เคล็ดลับที่เราอยากแนะนำก็คือ​ การเลือกหุ้นต้องเลือกหุ้นที่กำไรดีทุกสถานการณ์และดีต่อเนื่องในอนาคต​ และอย่าเลือกลงทุนในหุ้นหลายตัวมากเกินไปเพราะอาจไม่มีโฟกัส​ตามข่าวไม่ทัน​ สุดท้ายควรเลือกหุ้นในหลายๆอุตสาหกรรมกระจายความเสี่ยงด้วย



2. เลือกหุ้นที่ราคาอยู่ในช่วงขาขึ้น (Sideway Up)
ในตลาดหุ้นจะมีรูปแบบของราคาหุ้นหลายแบบ เช่น Sideway Down (ราคาซึมลงเรื่อยๆ), Sideway (ราคาเพิ่มขึ้นลดลงอยู่ในกรอบ) และ Sideway Up (ราคาจะอยู่ในช่วงขาขึ้นที่พยายามประคองตัวขึ้นต่อเนื่อง) ถ้าเลือกได้ แนะนำให้เลือกหุ้นที่อยู่ในแนว Sideway Up ที่ราคาจะไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ (New Low) และราคาจะพยายามทำจุดสูงสุดใหม่ (New High) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ได้ง่ายขึ้น สบายใจ ไม่ต้องอดทนรอนาน ที่สำคัญคือทำกำไรได้ง่ายขึ้น



3. ใช้เครื่องมือทางเทคนิคเข้ามาช่วยจับ
หลังจากที่เลือกหุ้นจากพื้นฐานแล้ว แนะให้ใช้เครื่องมือทางเทคนิค (Technical) เข้ามาช่วยดูเพื่อหาจังหวะซื้อขายหุ้น เริ่มต้นง่ายๆ จากการดูปริมาณการซื้อขายหุ้น (Volume) ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งสัญญาณในการลงทุนว่ามีนักลงทุนหลายประเภทสนใจหุ้นตัวนี้มาก ส่งผลให้ลงทุนได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ



4. ซื้อหุ้นเฉลี่ยขาขึ้นง่ายกว่าเฉลี่ยขาลง
หลังจากได้หุ้นพื้นฐานดีและมีแนวโน้มสดใสแล้ว แนะนำให้ใช้เทคนิคการซื้อหุ้นเฉลี่ยขาขึ้น คือแบ่งการซื้อออกเป็นหลายๆ ครั้งในราคาที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการทดสอบระดับราคา ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นในราคาเดียว ถ้าหุ้นดี ราคาจะไปต่อ เราจะได้เหลือกำลังในการซื้ออีกได้



ไม่แนะให้ซื้อหุ้นเฉลี่ยขาลง เพราะไม่รู้ว่าจะลงไปถึงเมื่อไร ยากต่อการคาดคะเน ตอนขายทำกำไรก็เช่นกัน ควรแบ่งการขายเป็นหลายๆ ครั้งในหลายระดับราคา



5. หุ้นที่มีกำไรดี มีเรื่องราวสนับสนุน จะวิ่งเหมือนคลื่น
หุ้นจำพวกนี้ที่อนาคตยังสดใส มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในอีกหลายๆ ปี ราคามักจะไม่วิ่งขึ้นแรงๆ ในครั้งเดียว แต่มักจะมีระดับราคาวิ่งขึ้นลงเป็นรอบๆ มีจังหวะย่อตัว เทขายทำกำไรบ้างเป็นระยะ และสุดท้ายราคาก็จะกลับขึ้นมาใหม่



6. เล่นที่หุ้น…ไม่ใช่ตลาดรวม (SET)
ส่วนใหญ่แล้วเม็ดเงินจะวิ่งเข้าหาหุ้นที่มีพื้นฐานดี กำไรเติบโตต่อเนื่องไม่ว่าตลาดรวมจะเป็นอย่างไร หุ้นจำพวกนี้ก็ยังคงมีราคาที่ดีกว่าตลาด แม้ว่าบางครั้งตลาดรวมไม่ดีหรือปรับลงมามาก หุ้นจำพวกนี้จะลงไม่มาก ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสเลยทีเดียว



7. เฝ้ามองตลาดต่างประเทศ
เลือกใช้ข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นปัจจุบันเพื่อคาดการณ์ถึงอนาคต เพราะการลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต



จากเคล็ด (ไม่) ลับทั้งหมดนี้ ถ้ายังยากไปสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เราค่อยๆ เริ่มเรียนรู้กันไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มจากการศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ จนเรามั่นใจและพร้อม แล้วค่อยลงในสนามการลงทุน



ซึ่งเมย์แบงก์ กิมเอ็ง ก็มีทีมวิจัยที่คัดสรรหุ้นเด่นๆ ซึ่งเราเรียกว่าพอร์ตใจ ‘JAI’ พอร์ตหุ้นเด่นที่คัดสรรโดยทีมวิจัย เมย์แบงก์ กิมเอ็ง แนะนำซื้อหรือขายรายวันให้คุณได้เลือกลงทุนง่ายๆ เพียงคุณลงทุนตามพอร์ตใจของเราก็จะช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างมั่นใจมากขึ้น



คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

 


 

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษฟรีจาก Maybank Kim Eng

 


 

The post เคล็ด (ไม่) ลับการเทรดเอาตัวรอดในตลาดหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
การลงทุนในโลกมายา: ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนมาเรียนรู้เรื่องการลงทุน https://thestandard.co/maybank-kim-eng-investment/ Mon, 14 Sep 2020 03:40:19 +0000 https://thestandard.co/?p=396217

ในโลกมายาที่เต็มไปด้วยความบันเทิงน่าตื่นตาตื่นใจ ใครจะร […]

The post การลงทุนในโลกมายา: ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนมาเรียนรู้เรื่องการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในโลกมายาที่เต็มไปด้วยความบันเทิงน่าตื่นตาตื่นใจ ใครจะรู้ว่าบางครั้งกลับทำให้เราสามารถเรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุนได้เช่นกัน และทำให้เราได้รู้ว่า ‘การลงทุนไม่เคยเป็นเรื่องไกลตัว’ 

 

ในบทความนี้เราจึงอยากพาผู้อ่านไปเรียนรู้บทเรียนการลงทุนที่สอดแทรกอยู่ในภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Mission: Impossible ที่นำแสดงโดย ทอม ครูซ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงมีโอกาสได้ดูกันไปบ้างแล้ว

 

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นภาพยนตร์แอ็กชัน บู๊ล้างผลาญ ที่ว่าด้วยเรื่องราวของการจารกรรมข้อมูล การสืบเสาะหาตัวผู้ก่อการร้ายของหน่วยข่าวกรอง และหลายครั้งก็เป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญในการยับยั้งวินาศภัยที่ส่งผลกระทบต่อโลก แต่ในภาค 2 ของแฟรนไชส์ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมีแง่มุมการเงินและการลงทุนซุกซ่อนอยู่

 

เรื่องย่อของ Mission: Impossible 2 ว่าด้วยเรื่องราวของ อีธาน ฮันต์ พระเอกของเรื่อง ที่ต้องแทรกซึมเพื่อสืบหาต้นตอของไวรัสชนิดหนึ่งที่รุนแรงมาก เพื่อยับยั้งผู้ก่อการร้ายที่ต้องการจะสร้างให้เกิดโรคระบาดไปทั่วโลก โดยมีบริษัทยายักษ์ใหญ่อยู่เบื้องหลัง เพราะต้องการผลิตวัคซีนขึ้นมาเป็นรายแรก และทำกำไรมหาศาลจากวิกฤตการณ์ของโลกครั้งนี้

 

ไฮไลต์ของภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลกการลงทุนคือ บริษัทยายักษ์ใหญ่นี้ตกลงกับผู้ก่อการร้ายว่าจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ผู้ก่อการร้ายกลับปฏิเสธ และนี่คือบทสนทนาระหว่างหัวหน้าผู้ก่อการร้ายกับบอสใหญ่ของบริษัทยาที่เกิดขึ้นในเรื่อง

 

  • This is how it’s going to work, Shares outstanding are…?: 93.4 million shares. (นี่คือวิธีการ ตอนนี้มีหุ้นเท่าไรนะ?: 93.4 ล้านหุ้นใช่ไหม)
  • Which mean, Mr.McCloy, we need 480,000 options. (ซึ่งหมายความแบบนี้นะ คุณแม็คคลอย, เราต้องการ 480,000 ใบสำคัญแสดงสิทธิ)

  • We’ll borrow your 30 million to buy those options. (เราจะยืมเงินคุณ 30 ล้าน เพื่อซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิเหล่านั้น)

  • Your stock has never sold above $31 a share. (ราคาหุ้นของคุณไม่เคยขายได้สูงกว่าหุ้นละ 31 ดอลลาร์สหรัฐเลย)

  • When your stock goes north of 200, Which… it will (เมื่อหุ้นของคุณขึ้นสูงกว่า 200, ซึ่งมันจะถึงแน่นอน)

  • Those options will be worth billions and I will own 51% of Biocyte. (ใบสำคัญแสดงสิทธิเหล่านั้นจะมีมูลค่าหลายพันล้าน และฉันจะเป็นผู้ถือหุ้น 51% ของ Biocyte)

 

ถ้าเราเป็นผู้ชมก็คงปล่อยผ่านกับประโยคทั้งหมดนี้ เพราะต้องการติดตามความสนุกของภาพยนตร์เท่านั้น ไม่ได้สนใจบริบทของไฮไลต์ตรงนี้

 

แต่ถ้าลองคิดตามบทสนทนาดังกล่าวจะพบว่า มีเรื่องน่าขบคิดซุกซ่อนอยู่ นั่นก็คือเรื่องของการประเมินมูลค่าบริษัทและการใช้เงินของผู้ว่าจ้างมาทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในท้ายที่สุด ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จต้องใช้เครื่องมือการลงทุนที่เรียกว่า ‘Warrant’ หรือตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ ในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ ตามราคาที่ใช้สิทธิ จำนวนที่ใช้สิทธิ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นใบจองเพื่อซื้อหุ้น ไม่ต่างกับใบจองคอนโด โดยมี ‘Options’ หรือตราสารสิทธิ / สัญญาสิทธิ เป็นการให้สิทธิ เพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ในอนาคตเป็นเครื่องการันตี 

 

ซึ่งการลงทุนในประเทศไทยเราสามารถเก็งกำไร บริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนเอง ได้จากสัญญาสิทธิประเภทนี้ อีกทั้งยังสามารถทำกำไรได้หลายเท่าตัว (ถ้าถูกทาง) และยังจำกัดความเสี่ยง (ผลการขาดทุน) ที่ต้องการได้เองอีกด้วย

 

จากตัวอย่างบทสนทนาในภาพยนตร์นั้น หากพิจารณาง่ายๆ ให้เห็นภาพชัดขึ้น ถ้าราคามีการเปลี่ยนแปลงจาก 31 ดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 200 ดอลลาร์สหรัฐ หากลงทุนธรรมดาตรงๆ แล้วราคาหุ้นขึ้นจริงก็คงได้กำไรประมาณ 5.45 เท่า (ประมาณ 545%) 

 

แต่การลงทุนในรูปแบบที่ใช้เครื่องมือทางการเงินมาช่วยด้วยจะสามารถเพิ่มอำนาจเงินลงทุน (Gearing / Leverage) จาก 30 ล้าน กลายเป็นหลายพันล้านได้ โดยประเมินคร่าวๆ ก็จะกำไรหลายร้อยเท่า (มากกว่าการลงทุนโดยตรงประมาณ 40-50 เท่า) ซึ่งเป็นจริงได้ในโลกการลงทุน แต่นักลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะการลงทุนใดๆ ย่อมมีความเสี่ยง และคงไม่สามารถสรุปจบได้เพียงในบทความนี้เท่านั้น

 

และนี่คือตัวอย่างของการลงทุนที่แฝงในโลกมายา เพียงแค่เราสนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ก็จะเข้าใจวิธีการคิดและการลงทุนที่เราอาจจะไม่เคยสัมผัสหรือเข้าใจมาก่อน และคาดไม่ถึงว่าอาจจะสามารถสร้างกำไรให้เราได้

 

หมายเหตุ: ขอขอบคุณแหล่งที่มาจากภาพยนตร์เรื่อง Mission Impossible บทความนี้เป็นการยกตัวอย่างเนื้อหาในภาพยนตร์มาประกอบในบทความ เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น

 


 

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษ ฟรี จาก Maybank Kim Eng

 


 

 

The post การลงทุนในโลกมายา: ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนมาเรียนรู้เรื่องการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สไตล์การลงทุนของคุณเป็นแบบไหน? เช็กลิสต์ชวนค้นหา ‘สไตล์การลงทุน’ ที่ใช่ในแบบของคุณเอง https://thestandard.co/what-is-your-style-of-investment/ Mon, 07 Sep 2020 03:40:05 +0000 https://thestandard.co/?p=394514

ใครๆ ก็มีสไตล์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม […]

The post สไตล์การลงทุนของคุณเป็นแบบไหน? เช็กลิสต์ชวนค้นหา ‘สไตล์การลงทุน’ ที่ใช่ในแบบของคุณเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครๆ ก็มีสไตล์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน แนวเพลง ประเภทหนังที่ชอบ เสื้อผ้าการแต่งตัว การเดินทางท่องเที่ยว การทำงาน และอีกหลากหลายเรื่องในชีวิตประจำวันที่ต่างคนต่างสไตล์ และสไตล์ก็ไม่ใช่เรื่องถูกผิดแต่อย่างใด

 

เช่นเดียวกับโลกของการเงิน การลงทุน ที่นักลงทุนต่างก็มีสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่สามารถตอบได้ว่าการลงทุนแบบไหนดีที่สุด แต่สไตล์การลงทุนจะเป็นภาพสะท้อนตัวตนของคุณว่าคุณเป็นคนแบบไหน บทความนี้เราจะมาชวนค้นหา ‘สไตล์การลงทุน’ ที่เป็นตัวตนของคุณกันครับ 

 

ถ้าจะแบ่งคร่าวๆ ตามรูปแบบของการลงทุนที่มีความหลากหลาย เราอาจจะสามารถแบ่งสไตล์ของนักลงทุนแบบต่างๆ ได้ 5 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีเช็กลิสต์และเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกัน เราลองมาดูกันว่าคุณเป็นนักลงทุนสไตล์ไหนกันแน่ 

 

  1. นักลงทุนสไตล์ลุยลูกเดียว (Fighting)
  • มีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก
  • ใช้เวลาในการตัดสินใจไม่นาน
  • ชอบความท้าทายอะไรใหม่ๆ
  • ซื้อ-ขายเร็ว กล้าได้กล้าเสีย
  • ยอมรับความเสี่ยงได้สูงมาก

 

  1. นักลงทุนสไตล์เฉพาะตัว มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง (Individualist)
  • มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง 
  • ชอบศึกษาหาข้อมูล
  • ใช้เวลาในการตัดสินใจนานกว่าแบบแรก 
  • ยอมรับความเสี่ยงได้สูง

 

  1. นักลงทุนสไตล์พวกมากลากไป (Celebrity)
  • ตัดสินใจโดยไม่ระมัดระวัง 
  • ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาหาข้อมูล
  • ชอบลงทุนตามกระแส 
  • ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง 
  • แต่ก็กลัวขาดทุนด้วยนะ 
  1. นักลงทุนสไตล์ช้าแต่ชัวร์ ค่อยๆ ดู (Guardian)
  • มีความระมัดระวัง รอบคอบ 
  • ไม่ชอบเห็นผลขาดทุน
  • ไม่ชอบความผันผวน
  • ชอบเงินปันผลเป็นที่พักใจ
  • รับความเสี่ยงได้ต่ำมาก 
  1. นักลงทุนสไตล์ยืดหยุ่น (Flexibility)
  • พร้อมเข้า-ออกตลาดได้ตลอดเวลา 
  • รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
  • ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง 
  • พร้อมเล่นเกมบู๊และเกมบุ๋น

 

สไตล์ของนักลงทุนมักจะมาพร้อมกับความรู้การลงทุนเสมอ ถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเลย ก็ไม่มีทางที่คุณจะเลือกสไตล์การลงทุนเองได้ ซึ่งความรู้ด้านการลงทุนที่นักลงทุนทุกสไตล์ควรมีติดตัวไว้สามารถแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ด้าน ดังนี้ 

 

  1. เรื่องราวพื้นฐานของบริษัทที่เราจะลงทุน (Fundamental)
  • รู้จักธุรกิจของบริษัท (ขายของอะไรบ้าง) 
  • แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • รู้จักนิสัยใจคอของผู้บริหาร 
  • อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
  • การเติบโตและความเสี่ยงของธุรกิจในอนาคต 
  • ประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ 
  1. เรื่องของจังหวะการลงทุน (Technical)
  • หาจังหวะซื้อ-ขายหุ้น 
  • รู้จักจังหวะตัดขาดทุนหรือปล่อยกำไร
  • รู้จักแนวโน้มของราคาหุ้น (Uptrend, Downtrend, Sideway) 
  • เข้าใจพฤติกรรมของราคาหุ้น

 

ความรู้ที่คุณมีจะเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงได้ดีระดับหนึ่ง ทำให้ไม่หลงทาง เห็นเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น ที่เหลือก็แค่นำความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดและค้นหาสไตล์การลงทุนที่ใช่ในแบบของคุณเอง รับรองว่าจะประสบความสำเร็จในการลงทุนตามเป้าหมายที่ต้องการได้แน่นอนครับ

 

แต่หากคุณสนใจในเรื่องการลงทุน แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนดี แนะนำให้เริ่มต้นโดยการหาความรู้เพิ่มเติมด้านการลงทุนมากๆ เริ่มจากการเข้ามาติดตามฟังวิเคราะห์การลงทุนทุกเช้ากับเราได้ที่รายการ ATO โรงเรียนนักลงทุน ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08.30-10.00 น. ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/MaybankKE ฟังทุกวันค่อยๆ ซึมซับเรื่องการลงทุนเรื่อยๆ แล้วค้นหาสไตล์การลงทุนในแบบฉบับของคุณเอง เริ่มตั้งแต่วันนี้ เส้นทางสู่นักลงทุนมืออาชีพย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม ขอให้นักลงทุนมือใหม่โชคดี ที่สำคัญหากคิดเรื่องการลงทุน ปรึกษา Maybank Kim Eng ได้เสมอ

 

Disclaimer: 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดทุนเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนหรือชักชวนให้ผู้อ่านลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ตามที่ปรากฏในบทความ

____________________________________________________________

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษ ฟรี จาก Maybank Kim Eng

 

Maybank Kim Eng

The post สไตล์การลงทุนของคุณเป็นแบบไหน? เช็กลิสต์ชวนค้นหา ‘สไตล์การลงทุน’ ที่ใช่ในแบบของคุณเอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
อยากมีรายได้มากกว่า 1 ทาง จะเลือกทางไหน และเริ่มต้นอย่างไรดี https://thestandard.co/how-to-make-more-money/ Mon, 31 Aug 2020 03:00:59 +0000 https://thestandard.co/?p=392233 งานที่สอง

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ความแน่นอนกลายเป็นความไม่แน่นอน […]

The post อยากมีรายได้มากกว่า 1 ทาง จะเลือกทางไหน และเริ่มต้นอย่างไรดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
งานที่สอง

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ความแน่นอนกลายเป็นความไม่แน่นอน สามารถตอกย้ำได้เป็นอย่างดีว่าการมีรายได้ทางเดียวเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะโรคระบาดคราวนี้สร้างผลกระทบในวงกว้าง ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ หรือเป็นเจ้าของกิจการ ทุกคนต่างได้รับแรงสั่นสะเทือนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

 

เรื่องเล่าสู่กันฟังที่หลายคนมักจะได้ยินกันในช่วงวิกฤตแบบนี้ คือคนทำงานหลายคนที่เคยมีรายได้หลายหมื่นต่อเดือนกลับกลายเป็น ‘0’ ภายในชั่วข้ามคืน ความแน่นอน มั่นคงหายวับไปกับตา หลายคนต้องออกจากงานโดยไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะคนทำงานในธุรกิจท่องเที่ยว การบิน โรงแรม ที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าใคร

 

เรื่องเล่าแบบนี้เป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า เราควรจะมีรายได้มากกว่า 1 ทาง จากก่อนหน้านี้ที่ไม่เคยลงมือทำ คราวนี้ต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ที่จะมองหาช่องทางเพิ่มรายได้ เพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตมากขึ้น 

 

แม้จะมองเห็นเป้าหมายแล้ว แต่การมีรายได้มากกว่าทางเดียวก็มีหลายเส้นทางให้เลือกเดิน แล้วจะเลือกทางไหนดี เมื่อวันปกติก็ยังต้องตื่นแต่เช้าไปทำงานประจำทุกวัน กลับถึงบ้านก็หมดแรง หมดเวลาที่จะทำอย่างอื่นต่อ หรือบางคนอยากเป็นเจ้าของกิจการ ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ กลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น แทนที่จะเป็นความมั่นคงแบบที่ต้องการ 

 

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการเพิ่มช่องทางหารายได้ไม่ได้มีอยู่ทางเดียว การลงทุนในหุ้นก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะไม่ต้องใช้เวลาเพิ่มจากงานที่ทำอยู่มากมายนัก เพียงแต่ต้องอาศัยความเข้าใจในกิจการที่เราเลือกลงทุน ซึ่งมาพร้อมกับตัวเลขที่เข้าใจยาก ความเสี่ยงที่ดูซับซ้อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนในหุ้นอาจไม่ใช่เรื่องยากขนาดนั้น แค่ต้องรู้ก่อนว่ารายได้จากการลงทุนในหุ้นมาจาก 2 ช่องทางดังนี้

  1. รายได้จากการซื้อหุ้นในราคาถูกและขายในราคาที่สูงกว่า (Capital Gain หรือ กำไรส่วนต่าง)
  2. รายได้จากเงินปันผล ที่มาจากกำไรจากหุ้นที่เราลงทุนไป (Dividend)

 

คุณสามารถเลือกกิจการที่คุณฝันอยากทำในชีวิตจริงได้จากการลงทุนในหุ้น โดยไม่ต้องลงมือทำเอง อาทิ เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของโรงแรม เจ้าของปั๊มน้ำมัน หรือจะเป็นเจ้าของธนาคารก็ทำได้ อีกทั้งยังสามารถเลือกระยะเวลาลงทุนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นสั้น กลาง ยาว เหมือนๆ กับที่เราทำธุรกิจที่จะต้องวางแผนและลงมือทำเอง ต่างแค่ในการลงทุนหุ้นคุณไม่ต้องทำเอง แค่คอยติดตามผลประกอบการ การบริหารงาน และแผนงานต่างๆ ของบริษัทที่คุณลงทุนอยู่

 

สิ่งสำคัญของการลงทุนในหุ้นอีกหนึ่งอย่างคือ สภาพคล่อง ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนเงินที่ลงทุนในหุ้นมาเป็นเงินสดได้เร็วกว่าการทำกิจการจริงๆ อันนี้คือข้อดีสุดๆ ของการลงทุนในหุ้นเลยก็ว่าได้ 

 

สำหรับคนที่กังวลเรื่องการขาดทุนนั้นก็อาจจะมีความเป็นไปได้อยู่บ้าง หากไม่ได้ศึกษาความเสี่ยงและปัจจัยพื้นฐานต่างๆ อย่างจริงจังก่อนตัดสินใจลงทุน อีกทั้งยังขึ้นกับความผันผวนของตลาดอีกด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะแม้จะลงทุนทำธุรกิจเองก็มีสิทธิ์ขาดทุนได้เช่นกัน และมีความเสี่ยงไม่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือเราสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจที่เราลงทุนไว้ได้ตลอดเวลา เมื่อรู้สึกว่าหุ้นที่ซื้ออยู่มีแนวโน้มที่จะแย่ลง หรือมองเห็นอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีแนวโน้มที่สดใสกว่า ก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุน หรือใส่เงินเพิ่มได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว แค่คลิกไม่กี่ครั้งผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ ก็สามารถส่งคำสั่งซื้อ-ขายหุ้นได้แล้ว 

 

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะสนใจลงทุนในหุ้นหรือไม่ เรายังคงสนับสนุน 100% ที่อยากให้ทุกคนมีรายได้มากกว่า 1 ทาง อย่างน้อยก็เผื่อไว้ยามฉุกเฉิน การกระจายความเสี่ยงโดยการมีรายได้หลายๆ ทางจะช่วยให้คุณผ่านวิกฤตที่ยากลำบากไปได้ 

 

อย่าลืมนะครับว่าหากเริ่มสนใจที่จะลงทุนในหุ้น เริ่มต้นเสียแต่วันนี้ ไม่มีคำว่าสาย แต่ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ของบริษัทที่เราอยากจะไปลงทุนก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นให้ดี เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง และขอเอาใจช่วยมือใหม่หัดลงทุนทุกๆ คน หวังว่าโลกใบที่สองของคุณจะสวยสมบูรณ์แบบครับ

 

Disclaimer: บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดทุนเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนหรือชักชวนให้ผู้อ่านลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ตามที่ปรากฏในบทความ

____________________________________________________________

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษ ฟรี จากเมย์แบงก์ กิมเอ็ง

 

The post อยากมีรายได้มากกว่า 1 ทาง จะเลือกทางไหน และเริ่มต้นอย่างไรดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัก (อย่างเดียว) ไม่ช่วยอะไร เช็กลิสต์เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องตรวจสอบก่อนตัดสินใจแต่งงาน https://thestandard.co/financial-checking-before-marriage/ Sun, 23 Aug 2020 03:00:57 +0000 https://thestandard.co/?p=390452 รัก (อย่างเดียว) ไม่ช่วยอะไร เช็กลิสต์เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องตรวจสอบก่อนตัดสินใจแต่งงาน

‘รู้งี้’ เป็นคำพูดที่พบได้บ่อยในหลายๆ เรื่องของชีวิต เช […]

The post รัก (อย่างเดียว) ไม่ช่วยอะไร เช็กลิสต์เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องตรวจสอบก่อนตัดสินใจแต่งงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัก (อย่างเดียว) ไม่ช่วยอะไร เช็กลิสต์เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องตรวจสอบก่อนตัดสินใจแต่งงาน

‘รู้งี้’ เป็นคำพูดที่พบได้บ่อยในหลายๆ เรื่องของชีวิต เช่น วงการหุ้น “รู้งี้ซื้อหุ้น ก. ไว้ ป่านนี้เกษียณไปนานแล้ว เป็นมหาเศรษฐีไปเรียบร้อย” หรือ “รู้งี้ Cut Loss (ตัดขาดทุน) หุ้น ข. ตั้งแต่วันนั้นก็คงมีเงินเพียบเลย ไว้ซื้อหุ้นดีๆ ตอน SET Index อยู่ที่ 969 จุด”

 

เช่นเดียวกับเรื่องรักๆ และชีวิตคู่ที่หลายคนอาจเคยคิดว่า ‘รู้งี้’ เพราะการเลือกคู่ครอง นอกจากความรักแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องครอบครัวของแต่ละฝั่ง ไหนจะเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่กลายเป็นปัญหากวนใจของคู่รักหลายคู่เมื่อตัดสินใจแต่งงานกัน

 

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าฐานะทางการเงินตอนคบหาดูใจกันกับชีวิตหลังแต่งงานมักจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง จากว่าที่สามีสายเปย์ ทุกเทศกาลต้องมีเซอร์ไพรส์ แต่พอจบงานอาฟเตอร์ปาร์ตี้แล้ว สิ่งที่ถาโถมเข้ามาอาจกลายเป็นใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต หนี้รถยนต์ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้บ้าน เผลอๆ เจอหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เข้าไปอีก ทำให้แทนที่จะร่วมสร้างครอบครัวกลับกลายเป็นต้อง ‘ร่วมกันใช้หนี้’ จนปัญหากัดกร่อนชีวิตรัก ทำให้คู่รักบางคู่ต้องวางแผนการมีบุตรไว้ลำดับท้ายๆ เนื่องจากภาระหนี้ที่เหนือความคาดหมาย

 

ดังนั้นก่อนจะจดทะเบียนสมรสกับใคร สิ่งที่ว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวควรทำคือการตรวจสอบสถานะทางการเงินของคู่สมรส (ภาษาการเงินธุรกิจคือ Due Diligence) นั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่ถามว่าเธอมีหนี้อะไรบ้าง ฉันจะได้เตรียมใจช่วยผ่อน แต่เราแนะให้นำหลักการเงินง่ายๆ 2 ข้อนี้มาใช้กันดู

 

เงื่อนไขแรกจะคล้ายกับสมการพื้นฐานทางบัญชี 101 ที่ว่า ‘สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน’

 

ตัวอย่างง่ายๆ คือบ้านที่เราอยู่ถือเป็น ‘สินทรัพย์’ เงินกู้ธนาคารเพื่อซื้อบ้านถือเป็น ‘หนี้สิน’ เงินออมเพื่อเกษียณหรือสะสมในเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือว่าเป็น ‘ทุน’

 

โดยหากมูลค่าสินทรัพย์รวมของว่าที่สามีภรรยา เช่น บ้าน รถ หุ้น นาฬิกา ที่ดินเปล่า คอนโดฯ รวมกันแล้วมีมูลค่ามากกว่าภาระหนี้สินโดยรวม อันนี้ถือว่า ‘ผ่าน’ เพราะถ้าหากว่าสินทรัพย์มีมูลค่าน้อยกว่าหนี้รวม แถมเงินเก็บก็คงไม่มี คงหนีไม่พ้นคำว่าหนี้สินล้นพ้นตัว (หนี้มากกว่าสินทรัพย์) แปลว่าคุณว่าที่สามีภรรยากำลังเข้าสู่โหมด ‘ล้มละลาย’ แล้ว กล่าวคือหากนำสินทรัพย์มาขายจนหมดแล้วก็ยังไม่พอใช้หนี้นั่นเอง

 

ยังไม่จบ เพราะแค่ข้อแรกไม่ได้แปลว่าว่าที่คู่ชีวิตของคุณจะมั่นคง เงื่อนไขสำคัญถัดมาของการมีหนี้คือมีกำลังจ่ายแค่ไหน กลายเป็นเงื่อนไขที่สองที่จะต้องพิจารณา

 

โดยอัตราส่วนทางการเงินพื้นฐานที่ใช้วัดคือ Debt Service Coverage (DSCR) ซึ่งเราสามารถนำมาดัดแปลงใช้ได้คือ ‘รายรับประจำต่อเดือนจะต้องมากกว่าภาระหนี้และดอกเบี้ยต่อเดือน’

 

ถ้าในเชิงบริษัท DSCR ต้องมากกว่า 1 เท่าเพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจให้หมุนไปได้ แต่ในเชิงครัวเรือน เรามองว่าอย่างน้อยต้องมากกว่า 2.5 เท่าขึ้นไป เพื่อให้เหลือเงินไปออม เที่ยวพักผ่อน เผื่อไว้เจ็บป่วย และใช้จ่ายทั่วไป

 

เช่น หากมีภาระหนี้และดอกเบี้ยเดือนละ 30,000 บาท ก็ควรมีรายได้อย่างน้อย 75,000 บาท แปลว่าหลังชำระหนี้แล้ว คู่รักของคุณจะต้องเหลือเงิน 45,000 บาทเพื่อแบ่งเอาไปออม 20% ของเงินเดือน (15,000 บาท) และยังเหลืออีก 40% (30,000 บาท) สำหรับไปใช้ชีวิตกันสองคน แต่ถ้าหากคุณเจอว่าที่สามีภรรยาที่มี DSCR ระดับ 5-10 เท่าขึ้นไปก็เตรียมตัวสบายได้เลย

 

แต่ขอย้ำว่าอัตราส่วนสำคัญกว่าขนาด เพราะต่อให้ว่าที่สามีภรรยามีเงินเดือน 200,000 บาท แต่ DSCR เท่ากับ 0.7 เท่า อันนี้แปลว่าเขาหรือเธอเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง อาจต้องใช้ตัวช่วยมาอุดรูรั่ว เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล แต่ต้องแบกอัตราดอกเบี้ยมหาโหด 25% จนการเงินของครอบครัวก็อาจพังได้

 

สุดท้ายอยากบอกว่าการใช้ชีวิตคู่ไม่ใช่การที่เราจะไปเกาะหรือพึ่งพาใคร แต่คือการใช้ชีวิตร่วมกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมสร้างไปด้วยกัน ดังนั้นการเปิดใจ เปิดเผยสถานะการเงินซึ่งกันและกันก่อนแต่งงานถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อให้กระดุมเม็ดแรกถูกกลัดในจุดเริ่มต้นเดียวกัน แม้ผลลัพธ์ออกมาเป็น ‘ลบ’ ก็ไม่เสียหายอะไร หากจะถอยกลับมาแก้ไขให้พร้อมก่อนจะก้าวเดินเคียงคู่ต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ที่สำคัญต้องดูให้ดี หากเจอแจ็กพ็อต ก้าวผิดไปนิดเดียวก็อาจนำหายนะมาสู่ชีวิตได้ ไม่อยากได้ยินว่า “รู้งี้อยู่เป็นโสดคนเดียว สบายกว่ากันเยอะเลย”

 

คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดทุนเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนหรือชักชวนให้ผู้อ่านลงทุนในหลักทรัพย์ใดๆ ตามที่ปรากฏในบทความ

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

 


 

พิเศษ! เพื่อผู้อ่าน THE STANDARD คลิก https://bit.ly/3gWgAgp รับของที่ระลึก โปรโมชันพิเศษฟรีจากเมย์แบงก์ กิมเอ็ง

The post รัก (อย่างเดียว) ไม่ช่วยอะไร เช็กลิสต์เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องตรวจสอบก่อนตัดสินใจแต่งงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>