Netflix ยอมจ่ายเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 5.1 พ […]
The post NFL Christmas Day การยืดเส้นของ Netflix ก่อนลงสนามกีฬาปี 2025 appeared first on THE STANDARD.
]]>Netflix ยอมจ่ายเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 5.1 พันล้านบาท เพียงเพื่อแลกกับการถ่ายทอดสดศึกอเมริกันฟุตบอล ‘NFL’ ในวันพิเศษ ‘Christmas Day’ แค่ 2 นัดเท่านั้น ในคู่ระหว่างพิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส พบแชมป์เก่า แคนซัส ซิตี้ ชีฟส์ (เวลา 01.00 น.) และอีกคู่คือ บัลติมอร์ เรฟเวนส์ ไปเยือนฮูสตัน เท็กซันส์ (เวลา 04.30 น.) ซึ่งใครเป็นสมาชิก Netflix สามารถรับชมกันได้ในคืนนี้
เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้น ในขณะที่ JAS จ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในประเทศไทย 6 ฤดูกาล ราว 1.9 หมื่นล้านบาท คิดเฉลี่ยต่อฤดูกาลแล้วประมาณฤดูกาลละ 3 พันล้านบาท แต่ได้จำนวนเกมถ่ายทอดสดทั้งพรีเมียร์ลีก 380 นัด โดยไม่นับฟุตบอลเอฟเอคัพและคอนเทนต์อื่นๆ
อย่างไรก็ดี สองดีลนี้ไม่สามารถนำมาเทียบกันได้โดยตรง เพราะเป็นแอปเปิ้ลกับส้ม คนละเรื่องเดียวกัน เพียงแต่หยิบยกมาเพราะอยากชวนให้คิดตามกันว่า ทำไม Neflix เจ้าแห่งวงการสตรีมมิ่งความบันเทิงของโลก จึงยอมควักเงินมากมายมหาศาลขนาดนี้กับศึกอเมริกันฟุตบอล NFL
นี่เป็นสัญญาณอะไรจาก Netflix ที่ส่งถึงโลกกีฬาในอนาคตหรือเปล่า?
ปกติแล้วในช่วงส่งท้ายปีแบบนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนจะได้ใช้จ่ายวันเวลาร่วมกัน โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่เป็นช่วงวันครอบครัว ที่สมาชิกทุกคนไม่ว่าจะไปอยู่แห่งหนตำบลไหนก็จะหาทางกลับมารวมตัวกันเหมือนเทศกาลสงกรานต์ของประเทศไทย
นักกีฬาเองก็ไม่ต่างกัน พวกเขาจะได้หยุดพักเพื่อใช้เวลาอยู่กับครอบครัวบ้าง หลังการทำงานหนักทั้งการฝึกซ้อมและการเดินทางไม่หยุดหย่อนเพื่อแข่งขัน ซึ่งช่วงปลายปีแบบนี้ยังเป็นช่วงที่อากาศหนาวเหน็บ ถ้าเลือกได้ใครก็อยากจะนอนขดตัวในบ้านอุ่นๆ มากกว่า
แต่จะมีกีฬาบางประเภทที่ไม่ได้หยุดตามไปด้วย ซึ่งคนไทยอาจจะคุ้นเคยกับฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในช่วงโปรแกรมส่งท้ายปี ที่ในปีนี้มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘The Festive Fixtures’ ที่จะมีเกมลงสนามมากถึง 17 นัดด้วยกันในช่วง Boxing Day ไปจนถึงช่วงปีใหม่
อย่างไรก็ดี อเมริกันเกมส์ก็มีการแข่งขันเหมือนกัน ซึ่งมีทั้งบาสเกตบอล NBA และอเมริกันฟุตบอล NFL ที่ไม่ได้แค่ลงแข่งกันใน Boxing Day เท่านั้น แต่ลงแข่งกันในวันคริสต์มาสเลยด้วย
โปรแกรมในวันคริสต์มาสนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ ‘วัฒนธรรม’ (Culture) ที่มีความสำคัญในอเมริกันเกมส์เท่านั้น แต่มีความสำคัญในเรื่องของธุรกิจ (Business) ด้วย
ในอดีตหากพูดถึงการแข่งในวันคริสต์มาสแล้ว อเมริกันชนจะคิดถึงการนั่งชมบาสเกตบอล NBA ซึ่งมีต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 50 ปี เพียงแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าอเมริกันฟุตบอล NFL กลายเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากกว่า
กระจกสะท้อนถึงความนิยมของกีฬาทั้งสองชนิดนี้ที่นับวันก็ยิ่งสวนทางกันคือตัวเลขที่ชัดเจน โดยในปีที่ผ่านมา NBA เรตติ้งตกลงมา 25 เปอร์เซ็นต์จากปีกลาย และหากเทียบกับปี 2012 แล้วตกลงอย่างน่าใจหายถึง 48 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ขณะที่ NFL ยิ่งโตเอาๆ และกำลังกลายเป็น Global Game กีฬาที่ได้รับความนิยมจากแฟนทั่วโลก
จำนวนผู้ชมเฉลี่ยของ NFL ในปีที่ผ่านมาสูงถึง 28.4 ล้านคนต่อการแข่งขัน 1 นัด มากกว่า NBA ที่มีจำนวนผู้ชมเฉลี่ย 2.85 ล้านคนต่อการแข่งขัน 1 นัดถึงเกือบ 10 เท่า
และที่น่าจับตามองมากๆ คือเกมวันคริสต์มาส (Christmas Day) ที่มีจำนวนผู้ชม 21.6 ล้านคนในปี 2022 ก่อนจะเพิ่มเป็น 28.4 ล้านคนในปี 2023
จำนวนผู้ชมขนาดนี้ทำให้ NFL ที่เคยออกตัวว่าจะไม่จัดโปรแกรมลงช่วงวันคริสต์มาสต้องกลืนน้ำลาย
นี่คือขุมทรัพย์ใหม่ของพวกเขา และมีคนที่มองออกเช่นกันว่านี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการกระโจนเข้าวงการกีฬา
คนที่มองออกนั้นมีชื่อว่า Netflix
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Netflix ประกาศว่าได้ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด NFL เกมวันคริสต์มาสเป็นระยะเวลา 3 ปีด้วยกัน
โดยในปี 2024 จะมีจำนวนเกมทั้งหมด 2 นัด
แคนซัส ซิตี้ ชีฟส์ vs. พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส
บัลติมอร์ เรฟเวนส์ vs. ฮูสตัน เท็กซันส์
หมายเหตุ: ผังโปรแกรมสไตล์อเมริกันเกมส์ ทีมหลังคือเจ้าบ้าน
ราคาที่ Netflix จ่ายเพื่อแลกกับการถ่ายทอดสด 2 นัดนี้อยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์ หรือหารแล้วตกนัดละ 75 ล้านดอลลาร์ด้วยกัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มหาศาลอย่างมาก มากพอสำหรับงบประมาณในการสร้างซีรีส์ดีๆ สักเรื่องได้เลยทีเดียว
โดยที่ยังไม่รวมคอนเทนต์แวดล้อมอื่นๆ เช่น วิดีโอการแสดงของ Mariah Carey กับเพลงฮิตอันดับหนึ่งตลอดกาลของเทศกาลคริสต์มาสอย่าง All I Want for Christmas Is You ที่เตรียมจะฉายก่อนเกมระหว่างชีฟส์กับสตีลเลอร์ส และการแสดงสด Halftime Show จาก Beyoncé ในเกมระหว่างเรฟเวนส์กับเท็กซันส์
อย่างไรก็ดี สำหรับ Netflix แล้วพวกเขามองว่านี่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า โดยมีเหตุผลดีๆ ประกอบ คือ
“เพราะ NFL คือ The Greatest Show ของอเมริกัน”
การคว้า 2 เกมในวันคริสต์มาส ซึ่งเป็นวันที่ชาวอเมริกันทุกคนจะได้ใช้เวลาร่วมกันนั่งชมเกมการถ่ายทอดสดไปด้วยกันโดยไม่มีใครมาแย่งซีน นี่เป็นโอกาสที่จะโกย Eyeball จำนวนมากมายมหาศาล โดยที่ Netflix สามารถจะเล่นอะไรก็ได้ในการทำการตลาดในวันแห่งความสุขนี้
โดยที่ประสบการณ์และความทรงจำคือสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้
และอย่าลืมว่าเพราะเป็นแพลตฟอร์ม Netflix นั่นหมายถึงผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสหรัฐอเมริกา แต่เป็นผู้ชมบนโลกทั้งใบ
จำนวนผู้ชมที่คาดหวังได้ในการถ่ายทอดสด 2 นัดนี้ย่อมมีโอกาสไปไกลกว่า 28.4 ล้านคนของเกม NFL วันคริสต์มาสที่แล้ว โดยจำนวนสมาชิกของ Netflix ในปัจจุบันอยู่ที่ 283 ล้านคน มากกว่า Disney+ (158 ล้านคน) และ HBO Max (99 ล้านคน) พอสมควร
ก่อนหน้านี้ไฟต์หยุดโลกประจำปี 2024 เมื่อ เจค พอล ยูทูเบอร์ที่หันมาเอาดีทางการชกมวย ท้าชกกับตำนานตลอดกาล ‘มฤตยูดำ’ ไมค์ ไทสัน มีผู้ชมมากถึง 60 ล้านครัวเรือน – ซึ่งในแต่ละครัวเรือนก็มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 1 คนอยู่แล้ว
จำนวนผู้ชมมหาศาลขนาดนี้คือ ‘นาทีทอง’ สำหรับแบรนด์ต่างๆ ที่อยากจะเกาะไปกับเกมการแข่งขัน 2 นัดนี้
ไม่นับแบรนด์ที่เป็นพาร์ตเนอร์ของ Netflix ซึ่งมีแพ็กเกจราคาถูกสำหรับสมาชิกที่แลกมากับการฉายโฆษณาด้วย
เป็นโมเดลธุรกิจที่ไม่เลวเลยสำหรับ Live Sport
การถ่ายทอดสด NFL ทั้งสองนัดในคืนนี้ยังเป็นเหมือนการ ‘ยืดเส้น’ ของ Netflix ที่เริ่มให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับคอนเทนต์กีฬามากขึ้นตามลำดับ
จากความสำเร็จของสารคดีชุด Formula 1: Drive to Survive (ปัจจุบันมี 6 ซีซัน และในปีหน้าซีซันที่ 7 คาดว่าจะเดือดจัดๆ จากหลายเหตุการณ์) จนถึง The Last Dance ที่ทำให้เกิดสารคดีกีฬาดีๆ อีกมากมายจนตามดูกันไม่หวาดไม่ไหว
Netflix ลองแหย่ขาในเรื่องของการถ่ายทอดสดกีฬามาบ้างในกีฬาเทนนิส The Netflix Slam ที่จับเอา คาร์ลอส อัลคาราซ มาดวลกับตำนานที่เป็นฮีโร่ของเขาอย่าง ราฟาเอล นาดาล และ The Netflix Cup การแข่งขันกอล์ฟที่รวบรวมเอาเหล่าโปรฝีมือดีมาแข่งขันกัน
จนถึงล่าสุดไฟต์ระหว่างพอลกับไทสันที่ถึงจะไม่ได้เป็นไฟต์ที่มันหยดแบบที่คุยโว – ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะสภาพของไทสันนั้นอายุ 58 ปีแล้ว ยืนครบยกก็เหลือเชื่อแล้ว
และ ‘Christmas Day’ ในวันนี้ที่ไม่ต่างอะไรจากการประกาศตัวอย่างเป็นทางการว่าต่อไป Netflix จะมี Live Sport ให้ดูด้วย
อย่างน้อยในปีหน้าเรารู้แล้วว่ามีศึกมวยปล้ำ WWE ที่เซ็นสัญญาซื้อลิขสิทธิ์มาด้วยราคากว่า 5 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะมีให้ชมกันต่อเนื่อง และก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน Netflix เพิ่งบรรลุข้อตกลงกับ FIFA ในการซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกหญิง 2027 และ 2031 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของวงการฟุตบอลหญิง
โดยที่หลังจากนี้อาจจะมีข่าวดีสำหรับชาวกีฬาออกมาอีก
เพราะในวงการกีฬายอมรับกันว่าการถ่ายทอดสดกีฬาได้เปลี่ยนผ่านมาสู่ยุคที่ 3 แล้ว
และนั่นคือยุคสมัยของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง Netflix
อ้างอิง:
The post NFL Christmas Day การยืดเส้นของ Netflix ก่อนลงสนามกีฬาปี 2025 appeared first on THE STANDARD.
]]>สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (1 […]
The post ถอดความในใจ มาร์คัส แรชฟอร์ด พร้อมจะไปจาก ‘แมนฯ ยูไนเต็ด’ แล้ว? appeared first on THE STANDARD.
]]>สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (15 ธันวาคม) เมื่อ รูเบน อโมริม ตัดสินใจไม่ใส่ชื่อของ มาร์คัส แรชฟอร์ด ไว้ในทีมของแมนฯ ยูไนเต็ด
ไม่ใช่แค่ใน 11 ผู้เล่นคนแรก แต่แม้แต่บนม้านั่งสำรองก็ไม่มีที่ว่างให้
เกมแมนเชสเตอร์ดาร์บี้นัดนี้จึงกลายเป็นเกมที่ไม่มี Local Lad Hero อยู่
เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจและเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ของอโมริม ที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทีม และสิ่งที่จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ได้ในความรู้สึกของหัวหน้าโรงละครคนใหม่ คือการตัดผู้เล่นที่ขาดแรงมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ในสนามออกไปจากทีม
แรชฟอร์ดไม่ได้เป็นคนเดียวที่ถูกตัดชื่อในวันนั้น อเลฮานโดร การ์นาโช ไอ้หนุ่มผู้เคยเป็นความหวังสูงสุดคนใหม่ก็ถูกตัดชื่อทิ้งด้วย ท่ามกลางข่าวอื้อฉาวว่าเขาเป็นหนึ่งใน ‘หนอนบ่อนไส้’ ที่แอบเอาข้อมูลเรื่องรายชื่อผู้เล่นไปเล่าต่อจนรายชื่อผู้เล่นของทีมหลุดไปก่อนถึงเวลาแข่งขัน แม้ว่าจะมีการยืนยันในเวลาต่อมาว่าเขาไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง
ขณะที่อโมริมบอกว่าทั้งคู่มีโอกาสจะเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว โอกาสมีให้สำหรับแค่คนเดียวเท่านั้น และคนที่จะได้โอกาสนั้นคือการ์นาโช
วันจันทร์ที่ผ่านมา (16 ธันวาคม) แรชฟอร์ดซึ่งลงฝึกซ้อมในวันอาทิตย์ ได้รับอนุญาตให้พักหนึ่งวันเช่นเดียวกันกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่นที่บุกไปคว้าชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนือแมนฯ ซิตี้ ได้แบบโกงความตายที่เอติฮัด สเตเดียม
กิจกรรมวันหยุดของเขาคือการเดินทางไปโรงเรียนประถมเก่า Button Lane ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองแมนเชสเตอร์ ผ่านการบอกเล่าของ Henry Winter อดีต Chief Football Writer แห่ง The Times ที่เป็นผู้ได้รับความไว้วางใจให้ร่วมเดินทางไปเก็บเกี่ยวเรื่องราวในช่วงเวลาที่อ่อนไหวสำหรับตัวเขา
แรชฟอร์ดไม่ได้ไปมือเปล่า แต่เอากล่องของขวัญไปฝากเด็กๆ มากถึง 420 กล่อง เพื่อเป็นของขวัญในวันคริสต์มาสล่วงหน้าสำหรับทุกคน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว และการทำเพื่อเด็กๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาที่มีความสำคัญ หรือหากจะพูดให้ถูกคือสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 เป็นต้นมา แรชฟอร์ดอุทิศกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์มากมายเพื่อให้ความช่วยเหลือประคับประคองแก่เด็กๆ และครอบครัวที่ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก
ความตั้งใจของเขาไม่มีอะไรซับซ้อน แค่ไม่อยากเห็นเด็กคนไหนต้อง ‘หิว’ เหมือนที่เขาเคยพบเจอช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิต
เหมือนวันนี้ที่หนึ่งในคำพูดที่ทำให้แรชฟอร์ดยิ้มออก นอกจากคำขอบคุณสำหรับของขวัญคริสต์มาส และสนามฟุตบอล 3G ขนาด Five-a-Side ที่เขาเป็นคนออกทุนค่าก่อสร้างให้เด็กๆ ทุกคนมีที่โลดแล่นเล่นฟุตบอลกัน ยังมีเรื่องอื่นด้วย
“ขอบคุณสำหรับอาหารด้วยเช่นกันนะครับมาร์คัส” ข้อความพิเศษที่เขียนจากใจของหนุ่มน้อยที่ดูแล้วอายุไม่น่าเกิน 4 ขวบ
คำขอบคุณเล็กๆ เหล่านี้เป็นหนึ่งในความสุขในช่วงชีวิตของเขา และเป็นสิ่งที่ทำให้เขาตั้งใจที่จะสานต่อโครงการนี้ต่อไปให้นานเท่านาน
บางทีโครงการนี้อาจจะยืนยาวกว่าช่วงเวลาของเขากับแมนฯ ยูไนเต็ด และเรื่องนี้คนที่รู้ดีที่สุดคือตัวของแรชฟอร์ดเอง
ในวัย 27 ปีที่ผ่านการรับใช้สโมสรมากว่า 426 เกม ทำไป 138 ประตู และเคยเป็นหนึ่งในความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคสมัย แรชฟอร์ดควรจะได้อยู่ในโอลด์แทรฟฟอร์ดไปตลอดช่วงชีวิตการเล่นที่เหลือ เหมือน ไรอัน กิกส์ หรือ แกรี เนวิลล์ ในฐานะ “One-Club-Man” ชายผู้ไม่เคยไปจากสโมสร
แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของผลงานในสนามที่ตกต่ำลงอย่างน่าใจหายในช่วง 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา ทำให้เขาถูกตั้งคำถาม
เจ็บที่สุดคือเรื่องของ ‘ความเป็นมืออาชีพ’ การถูกตัดชื่อจากเกมแมนเชสเตอร์ดาร์บี้โดยนายใหญ่คนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่ถึง 2 เดือน เหมือนเป็นการตอกย้ำสิ่งที่ผู้คนพูดกันมากมายว่าเขาสูญเสียความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะลงสนามไปแล้ว
เสียงสะท้อนยังถูกส่งผ่านกล่องข้อความของเขาในโซเชียลมีเดียที่ไม่น่าพิสมัยนัก
“ผมรู้สึกไม่ค่อยเข้าใจ (ในสิ่งที่คนกล่าวหา) แต่ผมก็รับไหว ผมเป็นคนง่ายๆ แบบนี้แหละ ผมรักฟุตบอล มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผมมาตั้งแต่เริ่ม” แรชฟอร์ดบอก
ก่อนจะยอมรับว่าการโดนตัดชื่อจากทีมในเกมดาร์บี้เป็นเรื่องที่ทำให้เขา ‘หัวใจสลาย’
แต่เมื่อมันผ่านไปแล้ว และทีมก็ชนะ ทุกอย่างก็ดำเนินต่อไป แรชฟอร์ดบอกว่าวันนี้เขาเป็นคนที่เติบโตขึ้นกว่าเก่า และรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ “จะให้ผมทำอะไร? นั่งตรงนี้แล้วร้องไห้ หรือพยายามให้ดีที่สุดในครั้งต่อไปเมื่อผมได้โอกาส”
พูดถึงการเริ่มต้นใหม่กับเจ้านายคนใหม่อย่างอโมริม ความจริงเขาก็เริ่มต้นได้ไม่เลวร้ายเลย
การเข้าฮอสจบสกอร์ในเกมที่แมนฯ ยูไนเต็ดพบกับอิปสวิช ทาวน์ ที่พอร์ตแมนโรดตั้งแต่นาทีที่ 2 เป็นการจุดประกายที่แวววาวไม่เบา เพียงแต่ในขณะที่ อาหมัด ดิยัลโล ปีกที่เคยถูกลืมซึ่งเป็นผู้กระชากบอลไปเปิดเข้ามาให้ในวันนั้นชีวิตกำลังรุ่งโรจน์เหมือนเปลวไฟ ล่าสุดกลายเป็นฮีโร่คนใหม่ทำประตูชัยในเกมแมนเชสเตอร์ดาร์บี้
ชีวิตของแรชฟอร์ดไม่ต่างอะไรจากแมนฯ ยูไนเต็ด ในวันนั้นที่โดนอิปสวิชของ คีแรน แมคเคนนา อดีตทีมงานยุคของ โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ ลูกหม้อของสโมสรตามตีเสมอจนทุกอย่างกลับมาหยุดชะงักอีกครั้ง
ไม่ต่างอะไรจากดอกไม้ไฟที่จุดขึ้นแล้วสว่างวาบเพียงแวบเดียว
แรชฟอร์ดทำได้ 3 ประตูนับตั้งแต่อโมริมเข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ยิ่งเวลาผ่านไปก็มองเห็นความยากลำบากกับระบบการเล่นใหม่ 3-4-2-1 ที่เจ้าตัวเองก็ยอมรับว่าไม่ใช่ระบบที่เข้ากับสไตล์การเล่นของเขามากนัก
“ผมสามารถเล่นได้ในทั้ง 3 ตำแหน่ง (ปีกซ้าย, หมายเลข 9, หมายเลข 10) บางตำแหน่งอาจจะเป็นธรรมชาติสำหรับผมมมากกว่า บางตำแหน่งผมอาจจะต้องซ้อมให้มากขึ้น และต้องปรับเรื่องแท็กติก แต่การยืนทางซ้ายเหมาะกับผมที่สุด “
แล้วการยืนเป็น The Left 10 หรือหมายเลข 10 ฝั่งซ้ายเป็นไปได้ไหมสำหรับเขา? แรชฟอร์ดย้ำว่าเขาเองก็มีสกิลเซ็ตในการปรับตัว (Adaptability) เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คนอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าเขาเล่นมาหลายตำแหน่ง และบทบาทใต้การคุมของผู้จัดการทีมทุกคน
ว่ากันว่านักฟุตบอลอาชีพ – ซึ่งเป็นอาชีพที่มีอายุการใช้งานสั้นแค่ราวสิบกว่าปี – จะถึงช่วงสูงสุดของชีวิตการเล่นในอายุราว 28-30 ปี
เช่นนั้นสำหรับแรชฟอร์ด เขาเชื่อว่าตัวเองยังไม่ถึงจุดพีคของชีวิตการเล่น และความจริงเขาเชื่อว่า 9 ปีกับพรีเมียร์ลีกเป็นแค่ ‘ครึ่งทาง’ เท่านั้น และนั่นนำไปสู่คำถามที่หลายคนอยากรู้
เขาอยากจะอยู่
หรือว่าจะไป
“สำหรับผม ผมคิดว่าพร้อมแล้วสำหรับความท้าทายใหม่และก้าวต่อไปในชีวิต”
ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสอนอะไรเขามากมายในชีวิต ไม่มีอะไรที่จะต้องเสียใจเมื่อมองย้อนกลับไป และจะไม่มีอะไรให้เสียใจเมื่อคิดถึงวันข้างหน้า “ผมใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน วันต่อวัน บางวันก็มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น บางวันก็มีเรื่องที่ดีเกิดขึ้น ผมก็แค่ต้องหาความสมดุล”
ดังนั้นต่อให้จะต้องไป ก็จะไม่มีความรู้สึกที่ไม่ดีเกิดขึ้นระหว่างกัน
“คุณไม่มีวันจะได้ยินผมพูดถึงแมนฯ ยูไนเต็ด ในแง่ลบจากผมแน่นอน”
Always a Red ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงไป นี่คือสิ่งเดียวที่แรชฟอร์ดจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
The post ถอดความในใจ มาร์คัส แรชฟอร์ด พร้อมจะไปจาก ‘แมนฯ ยูไนเต็ด’ แล้ว? appeared first on THE STANDARD.
]]>หลังความพ่ายแพ้สุดช็อกคารังโอลด์แทรฟฟอร์ดต่อน็อตติงแฮม […]
The post เบื้องหลังการปลด แดน แอชเวิร์ธ เกมอำนาจภายในแมนฯ ยูไนเต็ด appeared first on THE STANDARD.
]]>หลังความพ่ายแพ้สุดช็อกคารังโอลด์แทรฟฟอร์ดต่อน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการแพ้ 2 เกมติดต่อกัน แต่ยังเป็นการแพ้คาบ้านครั้งแรกของ รูเบน อโมริม บอสใหญ่คนใหม่ด้วย ได้มีข่าวใหญ่เกิดขึ้นใน ‘โรงละครแห่งความฝัน’
ข่าวนั้นถือว่าสั่นสะเทือนภายในองค์กรพอสมควร เมื่อ แดน แอชเวิร์ธ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของสโมสร ซึ่งเป็นหนึ่งใน ‘ผู้ถือกุญแจแห่งอนาคต’ ของแมนฯ ยูไนเต็ด ถูกปลดจากตำแหน่ง – แม้จะให้เหตุผลที่ไม่รุนแรงว่าเป็นการ ‘ตกลงเห็นชอบร่วมกัน’ – ทั้งๆ ที่เพิ่งจะมาทำงานได้เพียง 5 เดือนเท่านั้น
และทั้งๆ ที่พยายามแทบตายกว่าจะได้ตัวมาจากนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ซึ่งต้องอดทนรอช่วง Gardening Leave ใช้ความพยายามในการเจรจาที่ใช้เวลานานพอๆ กันถึง 4-5 เดือน ก่อนที่สุดท้ายจะยอมจ่ายเงินชดเชยให้สโมสรคู่แข่งร่วมพรีเมียร์ลีกถึง 2.5 ล้านปอนด์ ซึ่งไม่น้อยสำหรับผู้บริหารสโมสรคนหนึ่ง
การแยกทางกันครั้งนี้จึงถูกมองว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากจะเข้าใจ
รวมถึงเป็นการตัดสินใจที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาภายในแมนฯ ยูไนเต็ด ภายใต้การบริหารของ INEOS ที่น่ากังวล
ชื่อของ แดน แอชเวิร์ธ ในวงการฟุตบอลอังกฤษ ถือว่าเป็นหนึ่งในคนที่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมวงการอย่างมาก
ผลงานที่โดดเด่นที่หลายคนจดจำกันได้คือการวางรากฐานแนวทางในการบริหารจัดการทีมฟุตบอลของไบรท์ตันแอนด์โฮฟอัลเบียน สร้าง Business Model ที่ยั่งยืนด้วยการนำวิธีการสมัยใหม่มาใช้ เช่น การใช้ Data Analysis วิเคราะห์ข้อมูลนักฟุตบอลอย่างละเอียดว่าควรจะซื้อผู้เล่นแบบไหน คนไหน และทีมควรจะเล่นฟุตบอลในสไตล์ไหน
ถ้าเปรียบเป็นการปลูกต้นไม้ ไบรท์ตันก็เป็นต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรงยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงภายในทีมไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผู้จัดการทีม เปลี่ยนโค้ช ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงผู้เล่น เหมือนเป็นแค่การตัดกิ่ง ก้าน ใบ
ยิ่งตัดก็ยิ่งโต ยิ่งใหญ่ ให้ร่มเงาได้มากขึ้น
แต่ความจริงแอชเวิร์ธไม่ได้โดดเด่นแค่กับไบรท์ตัน เพราะก่อนหน้านั้นเคยผ่านการทำงานกับหลายที่ รวมถึงสมาคมฟุตบอล (FA) ซึ่งหนึ่งในผลงานที่สำคัญคือการวางรากฐานโครงสร้างฟุตบอลเยาวชนในอังกฤษภายใต้โครงการ ‘England DNA’ ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว และผลิดอกออกผลมากมายในปัจจุบัน
ชื่อเสียงเหล่านี้เองที่ทำให้นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ไปฉกผู้บริหารฝีมือดีมีวิสัยทัศน์มาจากไบรท์ตันในปี 2022
ก่อนที่จะโดนแมนฯ ยูไนเต็ด ทำแบบเดียวกันในปีนี้ ซึ่งกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเพราะแอชเวิร์ธดันเกิดลั่น ใช้อีเมลที่ทำงานส่งเรื่องการถูกทาบทามไปร่วมงานในสโมสรอื่น จนเป็นเหตุให้นิวคาสเซิลไม่พอใจอย่างมากและมีการคาดโทษ จนนำไปสู่การหยุดปฏิบัติหน้าที่ (แต่จะได้รับเงินเดือนตามปกติตามสัญญาที่เหลือ)
โดยที่เขาเป็นคนที่ INEOS ในฐานะเจ้าของร่วมของแมนฯ ยูไนเต็ด ซึ่งได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลเต็มระบบจากครอบครัวเกลเซอร์ เชื่อว่าจะสามารถวางรากฐานนำปีศาจแดงกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง
แต่แค่ 5 เดือนให้หลัง แอชเวิร์ธกลายเป็นผู้บริหารระดับสูงคนแรกที่ต้องกระเด็นจากตำแหน่ง
ข่าวเรื่องนี้สร้างความตื่นตะลึงอย่างมากภายในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะอย่างที่บอกว่าแอชเวิร์ธถือเป็นหนึ่งใน ‘ไดเรกเตอร์’ ที่เก่งที่สุดในประเทศ เป็นมือทำงานที่มีประสบการณ์สูง และแมนฯ ยูไนเต็ด ก็พยายามทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวมาให้ได้
สุดท้ายกลับเขี่ยทิ้งหน้าตาเฉย
โดยคนที่แจ้งข่าวเรื่องนี้ให้กับเขาคือ โอมาร์ เบอร์ราดา ซีอีโอของสโมสร – อีกหนึ่งคีย์แมนที่ INEOS ไปกระชากตัวมาจาก City Football Group ของแมนฯ ซิตี้ – ในช่วงหลังจบเกมที่แมนฯ ยูไนเต็ด แพ้ให้แก่ฟอเรสต์ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด
ตามรายงานจาก The Athletic ระบุว่า ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แอชเวิร์ธไปชมเกมของทีมชุดอายุต่ำกว่า 21 ปีก่อน และตามมาชมเกมกับฟอเรสต์ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด โดยอยู่ในชั้นผู้บริหารตามปกติ
แต่หลังจบเกมราว 20 นาที ผู้อำนวยการสโมสรปีศาจแดงเดินลัดใต้อัฒจันทร์ผ่านห้องแถลงข่าว โดยมี คอลเล็ตต์ โรช หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการสื่อ เดินไปด้วยกัน เพื่อไปยังห้องทำงานของเบอร์ราดา
ที่นั่นแอชเวิร์ธได้รู้ชะตากรรมของเขาว่าสโมสรตัดสินใจปลดเขาออกจากตำแหน่งแล้ว
เพียงแต่สำหรับเจ้าตัวเอง เรื่องนี้เป็นชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา เขาพบว่าการทำงานในโรงละครแห่งความฝันไม่ได้สวยงามเหมือนความฝัน
โดยเฉพาะกับ เซอร์จิม แรตคลิฟฟ์ เจ้าของ INEOS
เซอร์จิมไม่ได้เป็นแค่เจ้าของ INEOS แต่เป็นมหาเศรษฐีชาวอังกฤษผู้ที่ร่ำรวยที่สุด และที่สำคัญที่สุดคือเป็นแฟนบอลของแมนฯ ยูไนเต็ด ตัวยงด้วย แพสชันตรงนี้คือสิ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจกระโดดเข้ามาซื้อหุ้นของสโมสรเพื่อหวังจะกอบกู้ทีมที่ตกต่ำให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
ถึงขนาดที่ต่อให้เทกโอเวอร์กิจการทั้งหมดไม่สำเร็จก็ขอซื้อหุ้นบางส่วน (29%) เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการบริหารกิจการทั้งหมด โดยจะยกทีม INEOS Sport ฝ่ายบริหารกิจการทีมกีฬาที่อยู่ในเครือ ซึ่งครอบครองทีมกีฬาหลากหลาย ทั้งทีมจักรยาน ทีมเรือใบ ไปจนถึงทีมฟุตบอล เข้ามาดูแลต่อให้เอง
คนที่ได้รับมอบหมายจากเซอร์จิมให้เข้ามาดูแลในด้าน ‘งานกีฬา’ เป็นหลักคือ เซอร์เดฟ เบรลส์ฟอร์ด อดีตนักปั่นจักรยานระดับตำนานของอังกฤษ เจ้าของทฤษฎีกีฬาอันโด่งดัง ‘Marginal Gains’ หรือการทำให้ดีขึ้นวันละนิด ที่หากทำต่อเนื่องยาวนานก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งเป็นหลักทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องของโลก
เซอร์เดฟ เบรลส์ฟอร์ด, โอมาร์ เบอร์ราดา และแดน แอชเวิร์ธ จึงดูคล้ายการรวมตัวกันของเหล่าสุดยอดฝีมือของวงการที่เปรียบเหมือนเป็น ‘The Avengers’ ที่จะพาแมนฯ ยูไนเต็ด กลับมาผงาดอีกครั้ง
แต่ปัญหาคือการทำงานมันไม่ได้สวยงามแบบนั้น
ความแตกต่างทางความคิดระหว่างแอชเวิร์ธกับคนอื่นๆ มีให้เห็นตั้งแต่ช่วงแรกของการทำงาน โดยเฉพาะกับเซอร์จิม
และภาพสะท้อนของความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดคือการเลือกคนที่จะมาทำงานเป็นผู้จัดการทีม (aka โค้ช) ของสโมสรคนใหม่ ซึ่งมีการโยนคำถามนี้จากเซอร์จิมให้แอชเวิร์ธแสดงความเห็นว่า เขาคิดว่าใครคือคนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ หากจะต้องปลด เอริก เทน ฮาก จริงๆ ในช่วงฤดูร้อน
ตัวเลือกจากแอชเวิร์ธ – ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เริ่มงานอย่างเป็นทางการ – ประกอบไปด้วย เอ็ดดี ฮาว (นิวคาสเซิล), มาร์โก ซิลวา (ฟูแลม) และ โธมัส แฟรงก์ (เบรนท์ฟอร์ด) ซึ่งเป็น 3 ผู้จัดการทีมที่ทำผลงานโดดเด่นกับทีมที่มีขนาดเล็กถึงกลาง มี ‘ลายเซ็น’ ในการทำงานที่ชัดเจน
อีกคนคือ เกรแฮม พอตเตอร์ ที่มีส่วนช่วยปลูกปั้นจนได้ก้าวหน้าไปเป็นบอสใหญ่ของเชลซี แม้จะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
แต่ตัวเลือกเหล่านี้ไม่โดนใจสำหรับเซอร์จิมที่ต้องการคนที่โดดเด่นกว่านี้ ที่จะสามารถแบกรับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการกอบกู้สโมสรที่ใหญ่ที่สุดทีมหนึ่งของโลกอย่างแมนฯ ยูไนเต็ด เขาคาดหวังว่าแอชเวิร์ธจะมีอินไซต์มากกว่านี้ในการนำเสนอบุคคลที่โดดเด่นในวงการ ไม่ใช่แค่คนรู้จัก
ไม่นับเรื่องที่แอชเวิร์ธพยายามนำเสนอบริษัท Data Analytics เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นการทำงานในสไตล์ของเขา แต่เซอร์จิมไม่ปลื้มกับเรื่องนี้และปัดตกไอเดีย
เรื่องนี้ทำให้เราประกอบจิ๊กซอว์กันได้ว่า ทำไมแมนฯ ยูไนเต็ด ถึงลังเลที่จะปลดเทน ฮาก ในช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา แถมยังต่อสัญญาฉบับใหม่ให้เป็นรางวัล ก่อนจะตัดสินใจปลดเขาออกจากตำแหน่งในอีก 4 เดือนให้หลัง
ก่อนจะรีบร้อนแต่งตั้ง รูเบน อโมริม ด้วยการกระชากตัวมาจากสปอร์ติง ลิสบอน ตั้งแต่กลางฤดูกาล ทั้งๆ ที่อโมริมวิงวอนขอทำงานกับสโมสรก่อนจนจบฤดูกาลแล้วจะมาเต็มตัวในฤดูกาลหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่รักษาการผู้จัดการทีมอย่าง รุด ฟาน นิสเตลรอย ก็ทำผลงานได้ดีอย่างน้อยใน 4 เกมที่ทำงาน ชนะ 3 เสมอ 1 และทุกอย่างกำลังกลับมาดูลงตัวอีกครั้ง
แอชเวิร์ธ แม้จะมีชื่อเป็นผู้ที่ไปร่วมนำตัวอโมริมมา แต่คนตัดสินใจคือเซอร์จิม โดยที่มีเบอร์ราดาเป็นผู้ดำเนินการให้บินไปเจรจากับสปอร์ติง ลิสบอน ด้วยตัวเอง ซึ่งอดีตผู้บริหารจาก City Football Group ดูจะทำงานได้ประทับใจเจ้าของสโมสรมากกว่าในหลายเรื่อง
โดยที่เจ้าตัวก็ไม่ปลื้มกับสิ่งที่เกิดขึ้นนัก
เหมือนถูกชวนมาทำงานในแบบหนึ่ง แต่ได้ทำงานในอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนกับที่เคยคิดไว้เลย
ตรงนี้เป็นสัญญาณอันตรายที่หลายคนจับตามอง เพราะการที่เจ้าของสโมสรอย่างเซอร์จิมลงมา ‘ล้วงลูก’ บริหารเองในแบบ Micro Management เช่นนี้ ไม่เป็นผลดีกับองค์กรอย่างแน่นอน
โดยที่มีเพียงเซอร์เดฟคนเดียวที่กล้าจะพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาในฐานะคนที่ทำงานร่วมกันมานาน ขณะที่คนอื่นไม่มีใครกล้าขัดหรือแย้งมากนัก
เบอร์ราดาเองในบทบาทของซีอีโอสโมสรก็ทำงานคาบเส้นกันระหว่างการบริหารด้านตัวเลขการเงินกับงานด้านฟุตบอล ซึ่งทับทางกับแอชเวิร์ธ
โดยที่เรายังไม่ได้พูดถึงตัวละครอื่นๆ จาก INEOS Sport ที่ก็อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ภายในทีมแมนฯ ยูไนเต็ด ด้วย ซึ่งทำให้แมนฯ ยูไนเต็ด ในช่วงที่ผ่านมาเหมือนเป็น ‘หนึ่งสโมสร สองระบบ’
คือมีทั้งระบบของสโมสรเองและระบบของ INEOS ซึ่งสร้างความสับสนให้แก่คนทำงานภายในสโมสร และนำไปสู่การตัดสินใจที่ดูย้อนแย้งในหลายเรื่องที่ถูกตั้งคำถามจากแฟนบอล Red Army ไม่ว่าจะเป็น
อย่างไรก็ดี การตัดสินใจแยกทางกับแอชเวิร์ธครั้งนี้อาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะรั้งหรือยื้อกันไว้ ในเมื่อแนวทางการทำงานไม่เป็นไปแบบเดียวกันเลย
ฝ่ายหนึ่งถนัดการวางโครงสร้าง
อีกฝ่ายกลับดูต้องการเร่งรัดให้ทุกอย่างสำเร็จรวดเร็วที่สุด
คิดคนละทาง ทำคนละแบบ แยกทางกันก็น่าจะเป็นหนทางที่ถูก และเป็นบทเรียนให้ได้เรียนรู้ทั้งสองฝ่ายว่า ก่อนที่จะตกลงร่วมงานกัน ควรศึกษากันอย่างจริงจังก่อนว่าความคิด ความเชื่อ แนวทางในการทำงานนั้นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
เพราะไม่ใช่แค่เสียเงินทอง แต่เป็นการเสียเวลาสำหรับทั้งสองฝ่ายด้วย
สำหรับแมนฯ ยูไนเต็ด ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแต่งตั้งใครมาทำงานแทนหรือไม่ แต่ก็ยังมี เจสัน วิลค็อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายฟุตบอล และ คริสโตเฟอร์ วิเวลล์ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย Recruitment ที่ทำงานทดแทนได้ รวมถึงยังมีเบอร์ราดาและเซอร์เดฟที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ – หรือปฏิบัติตามการตัดสินใจของเซอร์จิมได้
ขณะที่แอชเวิร์ธ คาดว่ายังมีโอกาสกลับมาทำงานกับสโมสรอื่นต่อไป อาร์เซนอลเองก็มองหาคนทำงานแทนเอดูที่จะอำลาตำแหน่งหลังจบฤดูกาลด้วย
The post เบื้องหลังการปลด แดน แอชเวิร์ธ เกมอำนาจภายในแมนฯ ยูไนเต็ด appeared first on THE STANDARD.
]]>“การหลงใหลในความสมบูรณ์แบบ? มันเป็นส่วนหนึ่งในงานของผม” […]
The post เกมยากที่สุดในชีวิตของ เป๊ป กวาร์ดิโอลา appeared first on THE STANDARD.
]]>“การหลงใหลในความสมบูรณ์แบบ? มันเป็นส่วนหนึ่งในงานของผม”
นี่คือคำพูดเมื่อหลายปีก่อนของ เป๊ป กวาร์ดิโอลา ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกุนซืออัจฉริยะผู้เก่งกาจที่สุดในโลกของเกมลูกหนังยุคโมเดิร์น ซึ่งในเวลาต่อมาถึงขั้นมีการทำสารคดีพิเศษโดย BBC เรื่อง Pep Guardiola: Chasing Perfection
สารคดีนั้นบอกเล่าเรื่องราวของคนที่ไม่มีคำว่าลดหย่อนผ่อนปรนใดๆ ในการทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเนี้ยบเรียบร้อยในทุกขั้นตอน แม้ในรายละเอียดของจุดที่เล็กที่สุดที่คนอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทันสังเกตก็ตาม
รางวัลของความพยายามคือความสำเร็จมากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิตการทำงานของเขา
อย่างไรก็ดี เป๊ปกำลังเผชิญกับปัญหาใหม่และเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อทีมของเขาไม่ชนะ 6 นัดติดต่อกัน
รอยขีดข่วนบนใบหน้าทำให้หลายคนตกใจและเป็นห่วง
แต่อีกด้านของเรื่องราวนี่อาจเป็นความท้าทายครั้งใหม่ที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนที่ชอบทำเรื่องยากๆ อย่างเขา กับการไปเยือนแอนฟิลด์ของลิเวอร์พูลที่กำลังผงาด โดยหากพลาดพ่ายก็อาจหมายถึงการตัดใจจากการป้องกันแชมป์พรีเมียร์ลีกสมัยที่ 5 ติดต่อกันทันที
มีการสังเกตว่ารอยแผลที่เกิดขึ้นบนศีรษะของเป๊ปมีด้วยกันทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน พร้อมกับรอยแผลที่มีเลือดซิบเล็กๆ บริเวณจมูก
แต่นั่นไม่น่าตกใจเท่ากับคำพูดที่หลุดปากเขาออกมาว่า “ผมต้องการทำร้ายตัวเอง”
เรื่องนี้ทำให้หลายคนกังวลเรื่องสภาพจิตใจของกุนซือผู้ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะของโลกลูกหนังว่ากำลังตกอยู่ในสภาพที่ไม่สู้ดีหรือไม่ ภายหลังจากที่ผลงานของทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ตกอยู่ในวิกฤตซ้อนวิกฤตโดยนอกจากจะแพ้รวดมาถึง 5 นัดในทุกรายการก่อนหน้านี้ แต่ในเกมที่ควรกลับมาเก็บชัยชนะได้แล้วด้วยการออกนำฟายนอร์ดถึง 3-0 ในบ้านของตัวเอง กลับพลาดท่าถูกไล่ตามตีเสมอ 3-3 ในช่วง 14 นาทีสุดท้ายของเกม
ลักษณะอาการของเป๊ปดูคล้ายกับคนที่หงุดหงิดผิดหวัง และไม่รู้จะหาทางระบายความรู้สึกนั้นออกมาอย่างไรจนต้องทำกับตัวเอง อีกทั้งต้องมีการออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเรื่องเป็นราวอะไรในเวลาต่อมา
ถึงอย่างนั้นเราต่างก็รู้ดีว่า เป๊ปอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่กดดันอย่างยิ่ง
รอยแผลเหล่านั้นคือตัวแทนของความรู้สึกมากมายที่อัดแน่นจนเก็บไว้ไม่ไหว และถูกปลดปล่อยออกมาในรูปแบบที่ชวนตกใจ
ย้อนกลับไปในวันที่เป๊ปดู ‘จิตหลุด’ ในนัดกับฟายนอร์ดนั้น สิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของเรื่องราวอาจไม่ใช่ผลการแข่งขันที่จบลงด้วยการเสมอกัน 3-3 และการที่ไม่ชนะอีกแล้วทั้งๆ ที่มีโอกาสดีที่สุด รวมถึงทำทุกอย่างได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
แต่เป็นการที่ลูกทีมของเขาทิ้งทุกอย่างที่ทำมาโยนลงถังขยะไปหมดในช่วง 14 นาทีสุดท้ายของเกม
ถ้าเป็นเกมที่เผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่เก่งกาจในระดับไล่เลี่ยกัน การเสมอกันไม่ใช่เรื่องที่เกินใจจะรับไหว แต่การพลาดท่าโดนไล่ตาม 3 ประตูแบบนี้สำหรับเป๊ปเป็นเรื่องที่เกินใจจะอดทน
มันสะท้อนถึงความเปราะบางและความอ่อนแอของผู้เล่นแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ณ เข็มนาฬิกาเดินไป ซึ่งสะสมต่อเนื่องจากการแพ้ถึง 5 นัดรวดรวมทุกรายการก่อนหน้านี้
เป๊ปรู้สึกว่าเขาไม่สามารถทำอะไรเพื่อช่วยทีมได้ในวันนั้น
คำถามคือเขาไม่สามารถจะช่วยอะไรทีมได้อีกจริงๆ หรือ
คำตอบคือไม่น่าใช่
ในรายละเอียดของการพังทลายนั้น ปัญหาใหญ่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือการขาดหายของเสาหลัก 2 คนที่มีผลต่อเกมรับทั้ง โรดรี ผู้เล่นที่ทำหน้าที่เหมือนเฮอร์คิวลิสแบกทีมไว้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และ รูเบน ดิอาส ปราการหลังที่เป็นผู้นำของเกมรับซึ่งบาดเจ็บในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
ตลอดหลายนัดที่ผ่านมาเกมรับที่เปราะบางและโดนเจาะประตูตลอดเวลาสร้างปัญหาให้กับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ซึ่งค่อยๆ สูญเสียความเชื่อมั่นที่มีไป เพราะไม่ว่าทีมจะทำประตูได้หรือไม่ เกมจะจบลงด้วยความผิดหวังสำหรับพวกเขาเสมอ
ตรงนี้เองที่จะเป็นความท้าทายสำหรับเป๊ปในการพาทีมไปเยือนแอนฟิลด์
จริงอยู่ที่ลิเวอร์พูลภายใต้การนำของ อาร์เน สลอต กำลังทำผลงานได้อย่างร้อนแรงใน 12 นัดแรกของพรีเมียร์ลีก ซึ่งชนะถึง 10 นัด เสมอ 1 นัด และพลาดแพ้แค่ 1 นัด ไม่นับในลีกคัพและแชมเปียนส์ลีกที่ชนะรวดทุกนัด โดยเฉพาะรายการหลังที่เพิ่งจัดการถอนแค้นเรอัล มาดริด ได้สำเร็จในเกมเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา (ผลงานรวมแข่ง 19 นัด โดยชนะ 17 นัด เสมอ 1 นัด และแพ้ 1 นัด)
การหาทางหยุดพลังเกมรุกของ ‘Slot Machine’ (สีแดง) เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างสนุกว่า ใครจะหยุดเกมรุกที่มี โม ซาลาห์, หลุยส์ ดิอาซ, โคดี กักโป และ ดาร์วิน นูนเญซ ได้
เรื่องนี้จะเป็นปริศนาสนุกๆ ของเป๊ปให้ได้คิดหาทางแก้ไข
จัดกระบวนทัพอย่างไร, วางกลยุทธ์ในเกมอย่างไร, วางเกมแพลนอย่างไร และจะต้องเล่นแบบไหน ถึงจะไม่กลับมาจากแอนฟิลด์ด้วยความพ่ายแพ้
แดนกลางจะครองเกมสู้กับแผงมิดฟิลด์ของลิเวอร์พูลได้ไหม เพราะเป็นมิดฟิลด์ที่หากเป็นข้าวสวยก็ต้องบอกว่ากำลังหุงขึ้นหม้ออย่าง ไรอัน กราเฟนแบร์ก, อเล็กซิส แม็ค อัลลิสเตอร์ และ เคอร์ติส โจนส์
และเกมรุกจะเจาะทำลายปราการที่นำมาโดยหอบัญชาการอย่าง เวอร์จิล ฟาน ไดจ์ค ได้หรือไม่?
ที่สำคัญคือเขาจะหาทางเรียกขวัญและกำลังใจของทีมกลับมาได้อย่างไรในสภาพการณ์แบบนี้?
เรื่องพวกนี้ยากถึงโคตรยาก ลองจินตนาการว่าเราเป็นเป๊ป หรือเป็นผู้นำในองค์กรที่เจอวิกฤตขนาดนี้ดูนะครับ แต่ทั้งในฐานะผู้นำและในฐานะของคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอัจฉริยะ
ยากแค่ไหนก็คือความท้าทายมากขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ดียังมีสิ่งที่อาจเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายที่สุดมากกว่าการจัดการเกมการแข่งขัน (Game Management)
เรื่องนั้นคือเรื่องของการจัดการกับสภาพจิตใจของตัวเอง
อย่างที่บอกไปข้างต้นครับว่าเป๊ปเป็นคนที่รักในความสมบูรณ์แบบ เป็น ‘Perfectionist’ ผู้ไม่ยอมย่อหย่อนต่อความไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น
แต่ในบางครั้งการยอมรับต่อความไม่สมบูรณ์แบบบ้างก็อาจช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้
อาจไม่ต้องเล่นตามรูปแบบและแนวทางที่ตั้งใจไว้เสมอไป ปรับหรือเปลี่ยนให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์และขุมกำลังของทีมที่มีอยู่ เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดและเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเก็บผลการแข่งขันที่ต้องการกลับมาให้ได้
เช่นกันสำหรับเป๊ปคือการยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของผลงานหรือการทำงานบ้าง
จริงอยู่ที่ Passion ของความเป็น Perfectionist เป็นสิ่งที่ทำให้เขาพิชิตทุกอย่าง แต่มันอาจเหลืออีกอย่างที่เขายังไม่ได้ลองเอาชนะคือ เรื่องการยิ้มรับกับสิ่งที่ไม่เป็นใจที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิต
ถ้ายอมรับได้และไม่ยึดติดไว้กับหัวใจ บางทีเป๊ปอาจค้นพบเส้นทางใหม่ของชีวิตที่ทำให้เขาไปต่อได้บนถนนที่เคยคิดว่าอาจไม่มีหนทางไปต่อแล้ว
ถึงจะแอบเบื่อในความเก่งจนเกินไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในสิ่งที่เกิดขึ้นหลายคนก็แอบหวังว่าแววตาของเป๊ปจะกลับมาแจ่มใสอีกครั้ง
เกมที่ยากที่สุดในชีวิตของเขาเริ่มขึ้นแล้ว เสียงนกหวีดดังมาสักพักโดยที่เจ้าตัวก็อาจไม่ทันรู้ตัวว่า จริงๆ แล้วเกมนั้นไม่ใช่เกมที่แอนฟิลด์ ไม่ใช่คู่แข่งอย่างลิเวอร์พูล หรือ อาร์เน สลอต
แต่เป็น เป๊ป กวาร์ดิโอลา อีกคนที่ยืนอยู่ในกระจกเงาตรงหน้าผู้เผยรอยยิ้มชั่วร้ายให้เห็น
The post เกมยากที่สุดในชีวิตของ เป๊ป กวาร์ดิโอลา appeared first on THE STANDARD.
]]>ภาพของ จูด เบลลิงแฮม จับมือกับ โจนส์ เบลลิงแฮม เอ้ย เคอ […]
The post A Better Man: ถอดบทเรียนการเติบโตในชีวิตของ เคอร์ติส โจนส์ appeared first on THE STANDARD.
]]>ภาพของ จูด เบลลิงแฮม จับมือกับ โจนส์ เบลลิงแฮม เอ้ย เคอร์ติส โจนส์ เพื่อฉลองประตูปิดท้ายในเกมที่ทีมชาติอังกฤษบุกไปถล่มทีมชาติกรีซขาดลอยถึง 3-0 ในศึกฟุตบอลยูฟ่าเนชันส์ลีก เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (14 พฤศจิกายน) เป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะสำหรับคนที่เฝ้าติดตามพัฒนาการของโจนส์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา วันนี้นักเตะจากทีมลิเวอร์พูลก้าวมาถึงการเป็นผู้เล่นทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพียงแต่กว่าจะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ เส้นทางของกองกลางจอมม้วนต้องผ่านบททดสอบของชีวิตและต้องเรียนรู้อะไรมามากมายเลยทีเดียว ซึ่งบทเรียนชีวิตของโจนส์นั้นเป็นบทเรียนชีวิตที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
จากเด็กเทพในระดับอะคาเดมีสู่โลกของความจริงที่โหดร้าย ที่ทำให้รู้ว่าเขาไม่ได้เก่งมากไปกว่าคนอื่น
โจนส์ทำอย่างไรถึงพิสูจน์ตัวเองและอยู่ในจุดนี้ได้?
เคอร์ติส โจนส์ เป็นสายเลือดสเกาเซอร์แท้ๆ ที่ถูกต้องของชาวเมืองลิเวอร์พูลและเป็นสายเลือดเข้มข้นของสโมสรลิเวอร์พูลด้วย เพราะถูกคัดตัวเข้ามาอยู่ในอะคาเดมีของสโมสรตั้งแต่อายุแค่ 8 ขวบ
โจนส์เป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ในการเล่นสูงส่งในตัว เก่งในระดับเป็นที่อื้ออึงอยู่ในวงการฟุตบอลเยาวชนท้องถิ่น โดยหนึ่งในทัวร์นาเมนต์ที่ได้โอกาสลงเล่นช่วงแรกเป็นรายการชิงแชมป์สโมสรระดับทวีป ซึ่งเขาคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำรายการมาครองได้ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ (พร้อมกับความแสบด้วยการตัดผมทรงโรนัลโด R9)
หลังจากนั้นโจนส์ก็ก้าวกระโดดมาตลอด เรียกว่าเก่งเกินรุ่นเดียวกันไปเยอะ จนทำให้มีความมั่นใจในตัวเองพอสมควร
แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อกำลังก้าวมาใกล้ถึงทีมชุดใหญ่ คนที่ดึงโจนส์กลับสู่โลกของความจริงคือ สตีเวน เจอร์ราร์ด อดีตกัปตันทีมที่มีสถานะเป็นตำนานผู้ยิ่งใหญ่ของสโมสร และกลับมาเป็นโค้ชของทีมอะคาเดมีในเวลานั้น ที่แม้จะชื่นชอบฝีเท้าของเด็กคนนี้อยู่ลึกๆ แต่เพราะเห็นแก่อนาคตที่ควรจะไปได้ไกล
เจอร์ราร์ดเป็นคนแรกๆ ที่บอกโจนส์ในสิ่งที่เขาขาด เป็นความจริงที่โหดร้าย (Harsh Truth) ที่เจ้าตัวเองก็ยอมรับว่าฟังแล้วเจ็บปวด
แต่ถึงจะรู้สึกเสียใจ ความจริงใจของเจอร์ราร์ดทำให้โจนส์มองเห็นภาพของความเป็นจริง และยิ่งตระหนักในเรื่องนี้ว่าสิ่งที่ตำนานบอกเขาไม่ใช่เรื่องที่ผิดไปจากความเป็นจริง เพราะเมื่อขึ้นมาลองสัมผัสทีมชุดใหญ่ก็ได้เห็นเลยว่าในทีมนั้นเต็มไปด้วยคนที่เก่งกว่ามากมาย คนนั้นวิ่งไวกว่า คนนี้เลี้ยงบอลเก่งกว่า คนนั้นสมองดีในการเล่นบอลที่ฉลาดกว่า
ในเวลาแบบนี้มันมีทางเลือกไม่มากให้ตัดสินใจ
จะออกไปหาทีมใหม่ หรือออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์กับทีมอื่น หรือจะสู้ที่นี่?
โจนส์เลือกที่สู้ต่อที่นี่ เพราะมั่นใจในความสามารถของตัวเองแม้จะยอมรับความจริงว่าเขายังดีไม่พอก็ตาม และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมาที่แม้จะใช้เวลาอยู่พอสมควรจนเกือบจะถึงทางตันบ้าง แต่เขาก็หาหนทางไปต่อได้เสมอ
โดยที่เจ้าตัวขอบคุณเจอร์ราร์ดเสมอในฐานะคนที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ (Mentality) ให้เขาพร้อมสำหรับการก้าวขึ้นมาสู่ทีมชุดใหญ่ของลิเวอร์พูล
แต่ลึกๆ แล้วถ้าโจนส์เป็นคนที่ไม่พร้อมรับฟังและยอมรับความจริงได้ บางทีอนาคตของเขาอาจไม่ต่างจากดาวรุ่งหลายคนที่แจ้งเกิดเหมือนดอกไม้ไฟ ก่อนจะหายไปในอากาศอย่างรวดเร็ว
ในบทสัมภาษณ์รายการ We Are Liverpool นอกจากเรื่องของเจอร์ราร์ดแล้ว โจนส์ยังเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ เจอร์เกน คล็อปป์ อดีตเจ้านายในทีมชุดใหญ่ด้วย
โดยหากเจอร์ราร์ดคือคนที่ช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นมาในทีมชุดใหญ่
คล็อปป์ (และทีมงาน) ก็คือคนที่ช่วยให้เขาพร้อมสำหรับการได้อยู่และลงเล่นในทีมชุดใหญ่อย่างต่อเนื่อง
เพียงแต่มันมีของที่ต้องแลกเปลี่ยนกัน และสิ่งนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงการเล่นไปในแบบที่โจนส์ไม่เคยคิดที่จะทำมาก่อน
ย้อนกลับไปในวัยเด็ก โจนส์เป็นนักฟุตบอลในแบบ ‘เบอร์ 10’ เป็นตัวทำเกมอัจฉริยะที่สามารถสร้างสรรค์เกมได้อย่างลื่นไหลสวยงาม มีทักษะในการครองบอลเหนียวแน่น เลี้ยงบอลดี เล่นฉลาด จนถึงสามารถทำประตูได้ด้วย
โดยเฉพาะลูกทีเด็ดอย่างการปั่นไซด์โค้งนอกกรอบเขตโทษเพื่อให้เสียบสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นประตูเปิดตัวของเขาในทีมชุดใหญ่ที่เขี่ยเอฟเวอร์ตันตกรอบเอฟเอคัพในฤดูกาล 2018/19 เป็นเครื่องหมายการค้าประจำตัว
คล็อปป์เองมองเห็นสิ่งเหล่านี้ในตัวโจนส์เหมือนกัน แต่มันไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการจะเห็น
สิ่งที่บอสชาวเยอรมันอยากเห็นคือ การที่โจนส์ไปช่วยไล่บอลเพรสซิงตั้งแต่แดนบนจนถึงการลงมาช่วยทีมเล่นเกมรับ
ทำได้หรือเปล่า?
สถานการณ์แบบนี้วัดใจทุกคน เพราะเราต่างมีสิ่งที่ถนัด สิ่งที่ชอบ และสิ่งที่เชื่อว่าเราทำได้ดี เมื่อถูกขอร้องให้ทำในสิ่งที่ไม่ถนัด จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะยอมรับและปรับตัวได้
ถึงแม้ว่าโจนส์จะต่อต้านทางความคิด แต่ปากก็ตอบคล็อปป์ไปแล้วว่า “ได้ครับ” และเขาก็เรียนรู้วิธีการเล่นแบบใหม่ที่เจ้านายเตรียมการบ้านไว้ให้ ซึ่งก็สามารถทำการบ้านนี้ได้เป็นอย่างดี จนสุดท้ายชนะใจคล็อปป์ได้สำเร็จและกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่บอสพร้อมจะส่งลงสนามตามสถานการณ์ต่างๆ
เช่น เวลาตามหลังคู่แข่งก็รู้ว่าถ้าส่งโจนส์ลงไปเขาจะช่วยเก็บบอลได้และสร้างสรรค์เกมได้ด้วย หรือในสถานการณ์ที่นำอยู่แล้วต้องการความนิ่งในการครองจังหวะ เกมกองกลางรายนี้ก็พร้อมที่จะทำหน้าที่
โดยที่เจ้าตัวบอกว่าการที่คล็อปป์เอ่ยปากชมเขาในเรื่องการเพรสซิงและการช่วยเกมรับ ถือเป็นคำชมที่เป็นเครื่องสะท้อนว่าตัวเองเติบโตขึ้นจากในอดีตมามากแค่ไหน
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะเรียนรู้แบบไหนก็ต้องคงความเป็นตัวเองเอาไว้เสมอ ไม่จำเป็นต้องเล่นให้เหมือนคนอื่นทั้งหมด แค่เล่นตามโจทย์ของเจ้านายและรักษาสไตล์ในแบบของตัวเองไว้ แต่ต้องเล่นแบบคนที่เติบโตขึ้น รับผิดชอบต่อตัวเองและทีมได้ดีขึ้น
ถึงจะแจ้งเกิดตั้งแต่อายุน้อยแค่ 18 ปี แต่ชีวิตของโจนส์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ในทางตรงกันข้ามชีวิตของเขาเต็มไปด้วยขวากหนามที่ทิ่มแทงจนเสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา
หนึ่งในอุปสรรคของชีวิตคือ การที่เขามักจะถูกถอดออกจากทีมเสมอไม่ว่าจะเล่นดีแค่ไหนก็ตาม ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าคู่แข่งในแดนกลางของลิเวอร์พูลนั้นเต็มไปด้วยนักเตะระดับชั้นดี ไม่ว่าจะเป็น ฟาบินโญ, จินี ไวจ์นาลดุม, จอร์แดน เฮนเดอร์สัน, เจมส์ มิลเนอร์ หรือแม้แต่ อดัม ลัลลานา ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของคล็อปป์มากกว่า
หลายครั้งที่โจนส์อาจได้โอกาสลงเล่น 2-3 นัดติด แต่ก็จะโดนดรอปและหายไปจากทีมอีก 4-5 นัด ทำให้การเล่นไม่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของอาการบาดเจ็บหลายครั้งที่ทำให้ต้องหายหน้าไปจากทีม บางครั้งที่เขากำลังเล่นดีก็มีอันต้องไปพักรักษาตัวเสียอย่างนั้น ซึ่งสำหรับนักฟุตบอลแล้วไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยและชวนทดท้อใจเอาได้ง่ายๆ
ยังดีที่ไม่ว่าจะเป็นคล็อปป์หรือเพื่อนร่วมทีมต่างก็พูดคุยกันด้วยความเข้าใจและพยายามบอกให้รู้ว่าเขาอายุยังน้อย มีเวลาและโอกาสรอคอยอยู่อีกมาก สิ่งสำคัญจริงๆ คืออย่าหยุดที่จะพยายาม ซึ่งที่ผ่านมาก็นับว่าเป็นความสำเร็จแล้ว
ที่สำคัญโจนส์เองก็ไม่ยอมแพ้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับจากช่วงชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมาบนท้องถนนลิเวอร์พูล ในย่านที่ใช้ชีวิตเหมือนการต่อสู้ เติบโตมากับเด็กที่โตกว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เขามีความเป็นนักสู้และมีความ Resilient
แม้กระทั่งในฤดูกาลที่แล้วที่เหมือนเขาจะเริ่มยึดตำแหน่งในทีมได้ แต่ปรากฏว่าลิเวอร์พูลซื้อกองกลางเข้ามาใหม่ถึง 4 คนด้วยกัน ซึ่งเมื่อถูกถามถึงความรู้สึกหลังจากได้เห็นเพื่อนที่เป็นคู่แข่งใหม่ทั้ง 4 คนแล้ว ทำให้เขารู้สึกท้อและคิดว่า “นี่จะต้องเริ่มใหม่อีกแล้วเหรอ” บ้างไหม หรือ “คิดเอาไว้อยู่แล้วว่าต้องเป็นแบบนี้”
โจนส์บอกว่าเขาคิดทั้งสองอย่างคือ รู้ว่าสโมสรใหญ่อย่างลิเวอร์พูลการจะมีนักเตะใหม่ที่เป็นคู่แข่งเข้ามาย่อมเกิดขึ้นได้
แต่อีกใจหนึ่งก็แอบคิดเหมือนกันว่านี่จะต้องเริ่มพิสูจน์ตัวเองกันใหม่อีกแล้วเหรอ เมื่อไรถึงจะดีพอ?
อย่างไรก็ดี โจนส์ตกผลึกได้ว่า “ไม่เป็นไร ขอลุยสู้เพื่อชิงตำแหน่งกันหน่อย” ซึ่งที่สุดแล้วเขาก็พิสูจน์ตัวเองได้ว่ายังดีพอเสมอที่จะอยู่ในทีมชุดใหญ่ของลิเวอร์พูล
เช่นเดียวกับทีมชาติอังกฤษ ที่ถึงจะไม่มีชื่อไปยูโร 2024 แต่วันนี้โจนส์ก็พิสูจน์ตัวเองได้แล้วว่าเขาดีพอเสมอสำหรับทีมสิงโตคำรามที่จะเข้าสู่ยุคใหม่
โจนส์เปิดเผยว่ามี ‘พี่ใหญ่’ 3 คนด้วยกันที่มีส่วนสำคัญในชีวิตการเล่นของเขา
คนแรกคือ เจมส์ มิลเนอร์ คนที่สองคือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน และคนที่ 3 คือ อดัม ลัลลานา ซึ่งเป็น 3 นักเตะดีกรีทีมชาติอังกฤษที่ล้วนเป็น ‘มืออาชีพ’ ที่น่ายกย่อง
การดูแลจากรุ่นพี่เหล่านี้ซึ่งไม่ใช่แค่การกางปีกปกป้อง แต่ยังเป็นการคอยสั่งสอน ย้ำเตือน และดุด่า ในเวลาที่ทำไม่ดี ทำให้โจนส์ค่อยๆ เป็นผู้เป็นคนทางเกมลูกหนังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เขาไม่รู้ตัว (ในขณะที่ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ที่เป็นรุ่นพี่จากอะคาเดมีเหมือนกัน และ อลิสสัน เบคเกอร์ ประตูมือหนึ่งชาวบราซิลที่เป็นสายซัพพอร์ตและคอยทำความเข้าใจกัน)
ครั้งหนึ่งมิลเนอร์เคยเล่าในรายการ High Performance ถึง “เด็กคนหนึ่งในทีมลิเวอร์พูลที่มาพร้อมกับความสามารถที่มหัศจรรย์ เป็นเด็กที่ตลกและน่ารัก แต่อาจไม่ได้พยายามมากเท่าที่เขาควรจะเป็น”
สิ่งที่มิลเนอร์ทำคือการพยายามบอก บ่น ก่นด่า สั่งสอน ตำหนิ และจ้ำจี้จ้ำไชเด็กคนนั้น จนสุดท้ายเด็กคนที่เขาและทุกคนมองเห็นแววอยู่แล้วว่าเป็นนักเตะที่เก่งกาจมากๆ เริ่มเอาดีจนได้
ถึงจะไม่มีการเอ่ยชื่อ แต่เด็กคนนั้นของมิลเนอร์ก็เป็นที่เข้าใจว่าคือโจนส์นั่นเอง ซึ่งเป็นที่ชื่นชมในทีมลิเวอร์พูลถึงความตั้งใจ โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาฝึกในยิม การเตรียมความพร้อมก่อนลงสนาม และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่คนเคยหย่อนยานอย่างเขากลายเป็นคนที่มีวินัยได้
และเมื่อได้รับสิ่งที่ดีจากรุ่นพี่มา สิ่งที่โจนส์ต้องการทำคือการส่งต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้แก่รุ่นน้องที่ก้าวขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ตามหลังเขามา
เพราะโจนส์รู้ดีว่าสิ่งที่เด็กจากอะคาเดมีที่ก้าวขึ้นมาต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ความรู้สึกนั้นเป็นอย่างไร และเขาจะมีคำแนะนำอะไรที่ดีให้แก่น้องๆ เหล่านี้ได้บ้าง
เช่น ในรายของ คาลัม สแกนลอน ตัวริมเส้นดาวรุ่งที่มีฝีเท้าจัดจ้านโดดเด่น ชอบวิ่งขึ้นลงและพาบอลไปกับตัว โจนส์จะแนะนำแบบอ้อมๆ ว่า “แทนที่จะเลี้ยงบอลไป ลองดึงจังหวะเคาะบอลครองบอลก่อนให้คู่แข่งขยับมาไล่ เดี๋ยวพื้นที่ก็จะเปิดและมีช่องให้ทะลุขึ้นไปได้เอง”
View this post on Instagram
แต่ในความพยายามทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมา โจนส์เพิ่งจะค้นพบจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายของชีวิต
จิ๊กซอว์ชิ้นนั้นคือการได้เป็นพ่อคน ซึ่งดูเหมือนจะทำให้เขาค้นพบบางอย่างในจิตใจที่สะท้อนผ่านการเล่น และเราอาจเรียกสิ่งนั้นได้ว่า ‘ความสุข’
ความสุขจากการได้เป็นคุณพ่อของลูกสาวที่น่ารักเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
โจนส์ให้สัมภาษณ์หลังจากที่ทำประตูชัยให้ลิเวอร์พูลเอาชนะเชลซีได้ 2-1 ในเกมพรีเมียร์ลีกเมื่อเดือนที่แล้วว่า “การได้เป็นพ่อคนคือเรื่องที่ดีที่สุดในชีวิตของผม ผมลงเล่นโดยมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า มันเป็นความสุขในอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่าง ลูกสาวตัวน้อยๆ ของผมก็คงภูมิใจด้วยเหมือนกัน ดังนั้นผมหวังว่าแฟนสาวและลูกสาวของผมที่บ้านจะมีรอยยิ้มบนใบหน้าของพวกเธอด้วย”
เรื่องนี้แม้แต่ อาร์เน สลอต ก็แอบแซวเหมือนกันว่าตั้งแต่ได้เป็นพ่อคน ฟอร์มการเล่นของโจนส์ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง “ฟอร์มของโจนส์ผมไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยว เพราะตั้งแต่ที่เขาได้เป็นคุณพ่อเขาก็เล่นได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเราจะไม่สามารถบอกได้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องไหม เพราะเขาก็ทำได้ดีในช่วงพรีซีซัน แล้วฟอร์มก็ดรอปลงไป แต่พอได้เป็นคุณพ่อแล้วฟอร์มเขาก็กลับมาอีกครั้ง”
จริงอยู่ที่การที่ใครคนหนึ่งจะทำเรื่องอะไรได้ดีสักอย่าง มันมาจากการเก็บเกี่ยวของสิ่งที่ผ่านมาทั้งหมดของชีวิต
แต่สำหรับโจนส์ หลังชีวิตที่ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่เรื่องของการเล่นในสนาม แต่รวมถึงการต่อสู้อย่างหนักหน่วงทางจิตใจ การได้ค้นพบความสุขที่ยิ่งใหญ่จากการเป็นพ่อ ความรู้สึกของความรับผิดชอบในอีกด้าน ทำให้เขาอาจค้นพบคำตอบในจิตใจและกลายเป็น ‘คนที่ดีขึ้น’
วันนี้เขาดูพร้อมที่จะเฉิดฉาย เป็นเด็กในคำทำนายที่เจอร์ราร์ดเคยบอกกับคล็อปป์ไว้
“คุณดูแลเด็กคนนี้ให้ดีเถอะ ช่วยนำทางเขาให้ก้าวไปถูกทาง เด็กคนนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน”
โดยที่บางทีเราก็อาจลืมไปว่านี่เป็นแค่นักเตะดาวรุ่งวัย 23 ปี
ที่ไม่ได้เป็นเด็กน้อยอีกต่อไป
อ้างอิง:
The post A Better Man: ถอดบทเรียนการเติบโตในชีวิตของ เคอร์ติส โจนส์ appeared first on THE STANDARD.
]]>“มันไม่ใช่พรสวรรค์หรอก เขาก็แค่โชคดี” แลนโด นอร์ริส ให้ […]
The post ไม่ใช่แค่โชคหรือพรสวรรค์ เบื้องหลังเรซมหัศจรรย์ของ แม็กซ์ แวร์สแตพเพน appeared first on THE STANDARD.
]]>“มันไม่ใช่พรสวรรค์หรอก เขาก็แค่โชคดี” แลนโด นอร์ริส ให้ความเห็นถึงการเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกของ แม็กซ์ แวร์สแตพเพน ในรถแข่ง Formula One (F1) รายการเซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ไอร์ตัน เซนนา เป็นพยาน! หากใครที่ได้ชมการแข่งขันจริงๆ แล้วน่าจะมีจำนวนไม่น้อยที่คิดเห็นตรงกันว่า จริงอยู่ที่ ‘ดวง’ ของแชมป์โลก 3 สมัยชาวเนเธอร์แลนด์มีส่วนส่งเสริมอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและ ‘ธงแดง’ ที่กลายเป็นจุดพลิกผันสำคัญของการแข่งขันที่ไม่ได้สำคัญแค่กับเรซนี้ แต่หมายถึงการแข่งขันกันระหว่างแวร์สแตพเพนกับนอร์ริสในฤดูกาลนี้ด้วย
แต่การเริ่มต้นจาก P17 มาสู่การคว้าแชมป์รายการนี้ได้ คือความมหัศจรรย์ที่ปรากฏขึ้นต่อหน้าทุกคนที่ชวนให้คิดถึง ‘Lap of the Gods’ ในตำนานของเซนนาผู้ล่วงลับ และมีการ Tribute ให้เป็นพิเศษด้วยรถแม็คลาเรนคันที่เขาเคยควบคว้าแชมป์โลกเมื่อปี 1990
โดยที่ในความมหัศจรรย์ของแวร์สแตพเพนไม่ได้มีแค่เรื่องของดวงเท่านั้น แต่ประกอบไปด้วยเหตุผลหลายอย่างมากมายกว่านั้น
แต่ก่อนจะไปไกล ขอเท้าความเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นสำหรับคนที่อาจจะไม่ได้ติดตามการแข่งขัน Formula One หรือ F1 อย่างใกล้ชิดนัก
ขณะที่การแข่งขันเดินทางมาถึงช่วงของโค้งสุดท้ายของฤดูกาล 2024 แล้ว โดย 2 คนที่มีโอกาสจะลุ้นตำแหน่งแชมป์โลกในปีนี้แบบจริงจังคือ แม็กซ์ แวร์สแตพเพน แชมป์โลก 3 สมัยติดต่อกันจากทีมเรดบูล เรซซิง ซึ่งแม้ว่าจะประสบปัญหามากมาย แต่ก็ยังมีคะแนนนำ
คนที่พยายามไล่ตามมาอย่างเงียบๆ และเริ่มมีลุ้นจริงจังคือ แลนโด นอร์ริส นักขับอัจฉริยะชาวอังกฤษจากทีมแม็คลาเรน ผู้เป็นเพื่อนสนิทและเป็นมิตรที่ดีของแวร์สแตพเพนมาโดยตลอด โดยระยะห่างระหว่างทั้งสองคนก่อนลงสนามในรายการที่บราซิลเหลือแค่ 47 แต้มเท่านั้น (และเหลือแค่ 44 แต้มหลังรอบสปรินต์เรซ)
ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมองว่า สถานการณ์นั้นถึงแวร์สแตพเพนจะได้เปรียบ แต่ภาพรวมแล้วมีโอกาสไม่น้อยที่นอร์ริสจะแซงหน้าคว้าแชมป์โลกมาครองได้ เพราะฟอร์มการขับและรถของแม็คลาเรนนั้นร้อนแรงไม่ต่างจากสีรถที่เหมือนแสงสีส้มของดวงอาทิตย์เลยทีเดียว
ดังนั้นรายการเซาเปาโลกรังด์ปรีซ์จึงมีความหมายและความสำคัญอย่างมาก ไม่เฉพาะสำหรับนอร์ริสผู้ปรารถนาจะเป็นผู้ชนะให้ได้ แต่รวมถึงแวร์สแตพเพนที่รู้ตัวว่าหากเขาพลาดอีก ทุกอย่างอาจสายเกินไปสำหรับการกลับมา
แล้วเกิดอะไรขึ้นในสนามที่เป็นบ้านของ ไอร์ตัน เซนนา ตำนานยอดนักขับชาวบราซิลผู้ล่วงลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว?
แวร์สแตพเพนและทีมงานเบื้องหลังได้ดีใจด้วยกันอีกครั้ง
แม็กซ์ แวร์สแตพเพน ออกสตาร์ทในรายการเซาเปาโลจีพีด้วยตำแหน่งไกลลิบถึงกริดที่ 17
การออกสตาร์ทไกลขนาดนี้เป็นผลจากรอบควอลิฟายที่เข้าขั้นหายนะ รวมถึงการตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ทำให้เขาถูกลงโทษปรับ 5 กริดนั่นเอง
ในความรู้สึกของแชมป์โลกชาวเนเธอร์แลนด์ที่ไม่ได้แชมป์รายการใดเลยนับจากสแปนิชกรังด์ปรีซ์เมื่อ 11 สนามที่แล้ว เรื่องนี้สั่นคลอนความรู้สึกของเขาอย่างมาก เพราะนอร์ริสและแม็คลาเรนแรงไม่หยุดจริงๆ และดูมีโอกาสหากพวกเขาเข้าเส้นชัยได้ก่อนใครในรายการนี้ บางทีตำแหน่งแชมป์โลกคนใหม่อาจไปอยู่ในมือของเพื่อนแทน
อย่างไรก็ดี เมื่อถึงเวลาทำหน้าที่ในสนาม แวร์สแตพเพนระเบิดความรู้สึกผิดหวังจากอะไรก็ตามที่ไม่เป็นใจของตัวเองออกมา ด้วยการออกสตาร์ทอย่างร้อนแรงในการไล่แซงหน้ารถถึง 6 อันดับตั้งแต่รอบแรก รวมถึงการแซง ลูอิส แฮมิลตัน แห่งเมอร์เซเดส และไล่เบียด ชาร์ลส์ เลอแคลร์ ของทีมเฟอร์รารี ตั้งแต่รอบที่ 12
โดยที่ภายใต้การขับขี่ที่เร่าร้อนคล้ายคนบ้า เบื้องหลังคือการควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองที่ข่มทุกอย่างไว้ในใจ และลงไปทำงานของตัวเองในสนามแข่งพอ
เป็นทักษะการควบคุมอารมณ์ที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้พรสวรรค์ของ Mad Max ผู้ยอมรับว่าอารมณ์ของเขาแปรปรวนอย่างหนักก่อนการแข่ง ถึงขั้น ‘แทบจะพังโรงรถของทีม’ เลยทีเดียว
การตัดสินใจเข้าพิตเปลี่ยนยางของ แลนโด นอร์ริส กลายเป็นจังหวะนรกที่ทำให้ทุกอย่างพังหมด
อย่างไรก็ดี ลำพังเพียงฝีมือและพรสวรรค์ของแวร์สแตพเพนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากไม่น้อยไปกว่ากันคือการวางกลยุทธ์ในการแข่ง
โดยเฉพาะในช่วงสำคัญที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของการแข่งขัน เมื่อฝนเริ่มตกลงมาอย่างหนักอีกครั้ง ซึ่งทำให้กลุ่มผู้นำอย่าง จอร์จ รัสเซลล์ จากเมอร์เซเดส ที่ขึ้นนำอยู่ในขณะนั้น และนอร์ริสถูกเรียกตัวกลับเข้าพิตเพื่อเปลี่ยนยางชุดใหม่แทนในช่วงที่มี Virtual Safety Car ในรอบที่ 29
แต่แวร์สแตพเพนไม่ได้รับการเรียกจากทีมเรดบูลให้กลับเข้าพิตแต่อย่างใด ทำให้จากอันดับที่ 5 เขาสามารถแซงหน้ารถได้อีก 3 คัน ซึ่งรวมถึงนอร์ริสด้วย
เรื่องนี้มีความเสี่ยงในตัว เพราะขณะนั้นรถของแวร์สแตพเพนซึ่งใช้ยาง Intermediate วิ่งมาไกลเช่นกัน ซึ่งหากถึงจังหวะจะต้องเปลี่ยนยางก็หมายถึงอันดับที่แซงมาได้จะถูกแซงกลับคืนโดยทั้งรัสเซลล์และนอร์ริส และอาจหมายถึงความหวังหลุดลอยไปด้วย
แต่ลึกๆ ในใจของทีมเรดบูลคิดว่าสภาพสนามแบบนี้มีโอกาสที่จะเกิดอะไรขึ้นก็ได้ เช่นเดียวกับแวร์สแตพเพนที่ยอมรับในภายหลังว่าคิดอยู่ในใจลึกๆ เสมอว่า “ในสภาพสนามเปียก โอกาสจะเกิดเรื่องบ้าบอมีขึ้นได้เสมอ”
แล้วเรื่องบ้าบอก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อรถของ ฟรังโก โคลาปินโต เสียหลักและชนเข้าอย่างจัง ทำให้มี Red Flag ต้องหยุดการแข่งขันเป็นการชั่วคราว
นั่นหมายถึงแวร์สแตพเพน – และ เซบาสเตียน โอคอน จากอัลไพน์ ที่เป็นผู้นำในเวลานั้น – ได้โอกาสในการเปลี่ยนยางฟรีๆ โดยที่ไม่เสียทั้งเวลาและอันดับ
แม้นอร์ริสจะบอกว่าเป็นแค่เรื่องของดวง แต่มันเป็นการเดิมพันสุดคุ้มค่าที่ได้มาด้วยความใจใหญ่ของทีมเรดบูลโดยแท้
และนี่คือ ‘ทีมเวิร์ก’ ของทีมแชมป์โลกที่กลับมาได้ทันเวลาพอดี หลังจากที่ระส่ำระสายจากคดีอื้อฉาวของ คริสเตียน ฮอร์เนอร์ มาตลอดทั้งปี
จังหวะที่แวร์สแตพเพนแซงโอคอนเพื่อขึ้นเป็นผู้นำ
ความแตกต่างของคนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จ ไม่ได้อยู่แค่เรื่องของฝีไม้ลายมือหรือจังหวะชะตาชีวิต
สิ่งสำคัญที่มากกว่าคือ ‘ความพร้อม’ ที่จะกระชากโอกาสที่มองเห็นหรือไม่
และสำหรับแวร์สแตพเพน นี่เป็นครั้งที่ 2 ในชีวิตที่เหมือนบุญจะพาวาสนาจะส่งให้เขาโดยเฉพาะ (ครั้งแรกคือเรซอื้อฉาวที่ทำให้เขาได้เป็นแชมป์โลกสมัยแรกในการดวลกับ ลูอิส แฮมิลตัน เมื่อปี 2021) ซึ่งแชมป์โลกรู้ว่าตอนนี้คือโอกาสที่ไม่เพียงแค่จะจบด้วยการขึ้นโพเดียม
เขามีโอกาสจะเป็นแชมป์ด้วย ขอเพียงแค่การแซงโอคอนขึ้นหน้าให้ได้เท่านั้น
เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเลยสำหรับแวร์สแตพเพน ซึ่งฉวยจังหวะหลังจากที่กลับมาเริ่มแข่งขันใหม่ได้ไม่นาน เร่งเครื่องแซงโอคอนเพื่อกลายเป็นผู้นำคนใหม่ในการแข่งทันที โดยไม่ต้องอดทนรอคอยจังหวะอะไรให้เสียเวลา
นั่นหมายถึงแวร์สแตพเพนที่เริ่มจาก P17 ซิ่งมาถึง P1 ได้สำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ!
โดยที่เมื่อได้ขึ้นนำแล้ว เขาก็ไม่หันกลับไปมองข้างหลังอีกแล้ว
ลูอิส แฮมิลตัน กับรถแม็คลาเรน MP4/5B ที่เคยพา ไอร์ตัน เซนนา คว้าแชมป์โลกในปี 1990
องค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการแข่งในภาพรวมอย่างมากคือสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
แต่สำหรับแวร์สแตพเพนแล้ว สายฝนและถนนที่เปียกคือ ‘เพื่อนรัก’
“ผมมีความรู้สึกดีว่าผมน่าจะแซงขึ้นมาได้ ผมรู้สึกผ่อนคลาย ผมขับในสนามที่เปียกกับพ่อและเพื่อนๆ ของผมมาตั้งแต่เด็กแล้ว” แม็กซ์บอก
แต่ในเบื้องหลังแล้วคือการฝึกซ้อมอย่างหนักในการขับขี่ให้ได้ทุกสภาพแวดล้อมและทุกสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งรางวัลของการฝึกซ้อมรวมถึงประสบการณ์จากการแข่งขันที่ผ่านมา หลอมรวมทำให้แวร์สแตพเพนขับได้อย่างสมบูรณ์แบบที่เซาเปาโล
เป็นการขับขี่ระดับมาสเตอร์คลาสที่เข้าขั้นตำนานเรื่องหนึ่งได้เลย
เรื่องนี้ชวนให้คิดถึงตำนาน ‘Lap of the Gods’ ของ ไอร์ตัน เซนนา ในการแข่งขันรายการยูโรเปียนกรังด์ปรีซ์เมื่อปี 1993 ที่สนามโดนิงตันพาร์ก ในเมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ – ซึ่งจัดการแข่งขัน F1 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวด้วย
ในครั้งนั้นตำนานผู้เป็นแรงบันดาลใจของนักขับ F1 มากมายในยุคต่อมาโชว์ลีลามหัศจรรย์แซงสุดยอดนักขับอย่าง มิคาเอล ชูมัคเกอร์, เดมอน ฮิลล์ และ อาแล็ง พรอสต์ ได้ทั้งหมดในรอบแรกแค่รอบเดียวภายใต้สภาพอากาศที่เลวร้าย ฝนตกลงมาอย่างหนัก ก่อนที่จะซิ่งสายฟ้าเข้าเส้นชัยโดยทิ้งห่างอันดับ 2 อย่างพรอสต์ด้วยเวลารวมถึง 1 นาที 23 วินาที
แน่นอนว่าเซนนามีพรสวรรค์ แต่มันก็มีการฝึกฝนหนัก การตัดสินใจ และความกล้าหาญสุดระห่ำรวมอยู่ด้วยในนั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสุดยอดนักขับระดับตำนาน
ก่อนที่การแข่งจะเริ่ม มีการจัดพิธีรำลึกครบรอบ 30 ปีของการจากไปก่อนวัยอันควรของแรงบันดาลใจแห่ง F1 โดย ลูอิส แฮมิลตัน เป็นผู้ขับรถแม็คลาเรน MP4/5B ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ เอเดรียน นิวอี นักออกแบบรถระดับตำนาน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบรถ RB20 ของแวร์สแตพเพนด้วยเช่นกัน
การซิ่งมหัศจรรย์ของแวร์สแตพเพน – อีกหนึ่งนักขับพรสวรรค์ที่รอได้รับการยกย่องอย่างแท้จริง – ก็อาจนับเป็นหนึ่งในการ Tribute ให้แก่เซนนาในอีกทางด้วยเช่นกัน
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของหนึ่งในการแข่งที่น่าเหลือเชื่อ ไม่ใช่แค่ดวงหรือพรสวรรค์ที่ทำให้แวร์สแตพเพนกลับมามีความหวังเต็มเปี่ยมที่จะรักษาตำแหน่งแชมป์โลกของตัวเองให้ได้ เพราะมีคะแนนรวมทิ้งห่างนอร์ริสเป็น 62 แต้ม โดยที่เหลืออีก 86 แต้มให้เก็บเท่านั้นใน 3 สนามที่เหลือ
เรซนี้ยังเป็นการคว้าแชมป์รายการที่ 62 ของเขา – ตามหลังแค่ชูมัคเกอร์ (97) และแฮมิลตัน (105) เท่านั้น
สำหรับแวร์สแตพเพน เมื่อคิดถึงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบราซิลสัปดาห์นี้แล้ว นี่จึงแชมป์ที่มีความหมายที่สุดอย่างไม่มีอะไรต้องสงสัย
เช่นเดียวกับใครหลายคนที่ได้ดูการแข่งขัน นี่เป็นหนึ่งในเรซที่สุดยอดที่ควรค่าจะเก็บใส่กล่องความทรงจำไว้ให้คิดถึงในวันหน้า
บทความที่เกี่ยวข้อง:
The post ไม่ใช่แค่โชคหรือพรสวรรค์ เบื้องหลังเรซมหัศจรรย์ของ แม็กซ์ แวร์สแตพเพน appeared first on THE STANDARD.
]]>วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา คือวันครบรอบ 50 ปีของศึกมวยที […]
The post 50 ปีของไฟต์ในตำนาน ‘Rumble in the Jungle’ appeared first on THE STANDARD.
]]>วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา คือวันครบรอบ 50 ปีของศึกมวยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่โลกนี้เคยมีมา
มูฮัมหมัด อาลี ดวลพลังกำปั้นกับ จอร์จ โฟร์แมน ในศึกที่ได้รับการขนานนามว่า ‘Rumble in the Jungle’
เรื่องราวและความทรงจำมากมายจากวันนั้นยังคงทรงพลังในความทรงจำของผู้คนจำนวนไม่น้อยจนถึงวันนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยระยะเวลาที่ยาวนานผ่านมา มีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต่อให้อาจจะเคยได้ยินไฟต์ในตำนานนี้ แต่ก็ไม่อาจรู้ได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในวันนั้น
บนสังเวียนที่การชกมวยไม่ได้มีความหมายถึงเพียงแค่การชกมวยเท่านั้น แต่มีเรื่องของการเมือง การต่อสู้กับการเหยียดสีผิว และชัยชนะของทวีปแอฟริกา รวมอยู่ด้วย
ในความเป็นจริงแล้วการขึ้นสังเวียนระหว่าง มูฮัมหมัด อาลี เจ้าของวลีอมตะ “โบยบินดุจผีเสื้อ ต่อยเจ็บเหมือนผึ้ง” (Float like a butterfly, sting like a bee) กับ จอร์จ โฟร์แมน ควรจะเกิดขึ้นก่อนวันที่ 30 ตุลาคม ตั้งนานแล้ว
คำว่านานแล้วหมายถึงระยะเวลาร่วม 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาตามกำหนดการเดิมที่นักชกทั้งสองคนจะขึ้นประลองเชิงบนสังเวียนกัน
แต่หากจะถามถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด บางทีเราต้องย้อนเวลากลับไปไกลกว่านั้น
คำว่าไกลกว่านั้นหมายถึงระยะเวลาร่วม 10 ปีเต็มเลยทีเดียว
3 เดือนให้หลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี และ 3 สัปดาห์หลังจากที่วง The Beatles เดินทางมาถึงนิวยอร์กเป็นครั้งแรก คือช่วงเวลาที่ แคสเชียส เคลย์ สร้างชื่อให้กับตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการโค่น ซอนนี ลิสตัน คว้าเข็มขัดแชมป์โลกมาครองได้สำเร็จ
แต่ไม่กี่เดือนต่อมาเขาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มูฮัมหมัด อาลี เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนเข้าร่วมกับกลุ่มชาติอิสลาม ซึ่งเป็นชื่อที่เขาใช้ไปตลอดลมหายใจที่เหลือ
โชคชะตาของอาลีพลิกผัน เมื่อจุดยืนที่แข็งกร้าวของเขาในการต่อต้านสงครามเวียดนาม ด้วยการปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรบในนามกองทัพสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม
“ทำไมพวกเขาถึงขอให้ผมสวมชุดเครื่องแบบและเดินทางไปไกลนับหมื่นไมล์ เพื่อที่จะทิ้งระเบิดและยิงกระสุนใส่ผู้คนในเวียดนาม ในขณะที่คนที่ถูกเรียกว่านิโกรในหลุยส์วิลล์ยังถูกปฏิบัติเยี่ยงสุนัข และไม่มีแม้กระทั่งสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” อาลีฝากคำถามใหญ่ให้แก่โลก
เรื่องนี้ทำให้เขาถูกจับกุมตามกฎหมายและถูกริบเข็มขัดแชมป์โลก ไปจนถึงการจำกัดอิสรภาพด้วยการริบหนังสือเดินทางและสิทธิ์ในการขึ้นชก
นักชกผู้มีสไตล์การชกที่น่าตื่นเต้นที่สุดกลับไม่สามารถขึ้นชกได้ในเวลานั้น
กว่าที่อาลีจะได้รับอิสรภาพและสิทธิ์ในการขึ้นสังเวียนของเขากลับมาเวลาก็ผ่านไปแล้วถึง 3 ปี และกว่าที่เขาจะได้สิทธิ์ในการขึ้นชกเพื่อทวงเข็มขัดแชมป์โลกกลับคืนมาก็ต้องใช้เวลาอีกร่วม 7 ปีเลยทีเดียว
โดยที่การชกในครั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นดินอเมริกาด้วย
แต่เกิดขึ้นที่ซาอีร์ หรือสาธารณรัฐคองโกในปัจจุบัน
ซาอีร์ในวันนั้นยังมีกลิ่นเลือดและควันไฟของสงครามจากการปฏิวัติของประธานาธิบดีโมบูตู ผู้นำทางทหารที่ยึดอำนาจมาครองได้ในเวลานั้น
ในมุมมองของโมบูตู เขาต้องการจัดการแข่งขันมวยที่ยิ่งใหญ่ที่จะเป็นดังงานเฉลิมฉลองของประเทศและเป็นการโปรโมตตัวเอง ไม่เพียงแต่ชาวซาอีร์หรือชาวแอฟริกา แต่รวมถึงผู้คนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกให้รู้จักผู้นำของซาอีร์ด้วย
นั่นทำให้เขาต้องการนักชกที่มีชาติกำเนิดเป็นชาวแอฟริกันมาขึ้นชกโดยมีตำแหน่งแชมป์โลกเป็นเดิมพันบนแผ่นดินกาฬทวีป
จอร์จ โฟร์แมน คือผู้ครองเข็มขัดแชมป์โลกในเวลานั้น โดยที่ผู้ท้าชิงคือ อาลี นักชกที่มีจุดยืนชัดเจนในความภาคภูมิใจของสายเลือดชาวแอฟริกัน
ในใจของอาลี ต่อให้ไม่ใช่เขาที่จะได้โอกาสในการชกชิงแชมป์โลกกับโฟร์แมน หรือได้รับคำเชิญจากโมบูตูให้มาที่ประเทศซาอีร์ การขึ้นชกบนแผ่นดินของบรรพบุรุษคือสิ่งที่อยู่ในความฝันของเขามาโดยตลอดเช่นกัน
สองนักชกคนดำบนสังเวียนคนดำ ก็ต้องมีโปรโมเตอร์เป็นคนดำอย่าง ดอน คิง ผู้ยิ่งใหญ่ด้วย
อย่างไรก็ดี ชื่อของรายการที่เดิมถูกตั้งไว้ว่า ‘จากเรือทาสสู่แชมเปียน’ (From the Slave Ship to the Champion) ถูกโมบูตูสั่งให้เปลี่ยนทันที รวมถึงเผาทำลายโปสเตอร์การแข่งขันทุกอย่างทั้งหมด เพราะไม่อยากให้พูดถึงเรื่องของคำว่า ‘ทาส’ อีกต่อไป
ชื่อรายการจึงถูกเปลี่ยนใหม่เป็น ‘Rumble in the Jungle’ ในเวลาต่อมา
สำหรับอาลีแล้ว นี่คือไฟต์แห่งชีวิตที่เขารอคอย “ผมอยากที่จะสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างคนดำอเมริกันกับคนแอฟริกัน ไฟต์นี้คือไฟต์ที่มีความหมายถึงเรื่องของปัญหาการเหยียดสีผิวและปัญหาสงครามในเวียดนามทุกสิ่งทุกอย่าง
“Rumble in the Jungle คือไฟต์ที่จะทำให้คนทั้งประเทศได้ตระหนักถึงเรื่องนี้”
ความตั้งใจของอาลีสำเร็จด้วยดี
ไฟต์นี้มีผู้คนที่รอรับชมไม่เพียงเฉพาะในซาอีร์ แอฟริกา หรือสหรัฐอเมริกา แต่รวมทั่วโลกแล้วมีคนเฝ้าติดตามกันถึง 1 พันล้านคน
โดยที่ผู้คนในซาอีร์นั้นแทบทุกคนพูดในคำเดียวกัน
“Ali, bomaye”
ฆ่ามันเลยอาลี!
ถึงเสียงเชียร์จากชาวซาอีร์จะกระหึ่ม แต่ในมุมมองของผู้รู้แล้ว คนที่มีโอกาสจะกลายเป็นฆาตกรบนสังเวียนไม่ใช่อาลี แต่เป็นโฟร์แมน
ในขณะนั้นแชมป์โลกคนหนุ่มวัยเพียง 25 ปี พกสถิติชนะรวด 40 ไฟต์ โดยในจำนวนนั้นเป็นการชนะน็อกเอาต์ถึง 37 ไฟต์ เรียกว่ากำลังสด และได้รับการยกย่องจากคนในวงการว่านี่คือนักชกผู้มีพลังหมัดที่ร้ายกาจที่สุดในประวัติศาสตร์
ตรงข้ามกับอาลีที่เวลาทำให้วัยล่วงเลยมาถึง 32 ปีแล้ว ร่างกายของเขาเลยจุดสูงสุดของการเป็นนักชกไปเป็นที่เรียบร้อย และก่อนหน้าจะได้โอกาสในการท้าชิงแชมป์กับโฟร์แมน เขาแพ้ให้กับ โจ เฟรเซียร์ และ เคน นอร์ตัน ไปก่อนหน้านี้
โดยที่ทั้งเฟรเซียร์และนอร์ตันเป็นเหยื่อกำปั้นเหล็กของโฟร์แมนที่เอาชนะน็อกได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
กูรูมองว่าโอกาสที่โฟร์แมนจะชนะนั้นสูงถึง 3 ต่อ 1 ในการเดิมพัน และมีความกังวลว่าการขึ้นชกในไฟต์นี้ของอาลีอาจหมายถึงการบาดเจ็บรุนแรง หรืออาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้
“สำหรับผมไฟต์นี้ก็เหมือนไฟต์การกุศลแค่นั้น” โฟร์แมนบอกกับ BBC ในเวลานั้น “ผมได้ยินว่าอาลีกำลังลำบากมาก ผมเลยคิดว่าผมอยากจะช่วยเขาสักหน่อย ผมจะได้เงิน 5 ล้านดอลลาร์จากการชกครั้งนี้ และผมก็จะแบ่งให้เขา 5 ล้านดอลลาร์ด้วย”
การชกครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของมวยอย่างเดียว แต่เป็นการเฉลิมฉลองใหญ่ของชาวซาอีร์ โดยที่ประธานาธิบดีโมบูตูเล่นใหญ่เชิญนักดนตรีระดับโลกมาร่วมแสดงด้วยมากมายในงานเทศกาลดนตรีที่มีต่อเนื่องถึง 3 วัน ไม่ว่าจะเป็น James Brown, B.B. King และ Bill Withers
ขณะที่พระเอกของงานอย่างโฟร์แมนเดินทางถึงสนามบินในซาอีร์ด้วยชุดทางการในแบบของชาวตะวันตก
ตรงข้ามกับอาลีที่มาในชุดของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน
แต่หัวใจสำคัญของงานที่เกิดการชกผิดคิวไปเล็กน้อย เนื่องจากโฟร์แมนได้รับบาดเจ็บมีแผลแตกที่ศีรษะ การชกจึงต้องเลื่อนออกไปจากเดิมอีก 6 สัปดาห์ด้วยกัน
สุดท้ายเมื่อทุกอย่างพร้อม เสียงระฆังดังขึ้นเป็นการเริ่มไฟต์แห่งตำนาน โฟร์แมนเริ่มเปิดฉากด้วยกำปั้นหนักๆ ของเขาทันที โดยที่อาลีดูเหมือนจะต้องพยายามเอาตัวรอดให้ได้ในยกแรก แต่ในยกที่ 2 เมื่อเวลาผ่านไปได้ 30 วินาที อาลีเริ่มงัดแผนใหม่มาใช้
จริงๆ แล้วภาพจำของอาลีในสายตาผู้คนคือนักมวยผู้พลิ้วไหวดุจผีเสื้อ สามารถโยกหลบหมัดของคู่ชกได้อย่างสบายๆ และได้รับการขนานนามลีลานั้นว่า ‘Ali Shuffle’ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่การชกในปี 1966 แต่ในปี 1974 ซึ่งเขาอายุถึง 32 ปีแล้ว ความคล่องตัวที่ลดลงทำให้ต้องใช้แผนใหม่
แผนที่ว่าก็คือ การใช้หลังพิงเชือกแล้วคอยกันหมัดหนักๆ ของโฟร์แมน หมัดไหนบล็อกได้ก็บล็อก หมัดไหนบล็อกไม่ได้ก็ทนเอา แล้วถ้ามีจังหวะก็ค่อยต่อยสวน ซึ่งในเวลาต่อมาแผนนี้ถูกเรียกว่า Rope-a-Dope
แท็กติกการชกแบบนี้ทำให้อาลีรอดตัวจากกำปั้นเหล็กของคู่ชกได้อยู่หลายยก
หมัดที่ว่าหนักของโฟร์แมนค่อยๆ อ่อนแรงลงเรื่อยๆ ความมั่นใจของอาลีเริ่มกลับมา ตอนนี้เขารู้แล้วว่าเขามีโอกาสชนะ
จนกระทั่งการชกเข้าสู่ยกที่ 8 อาลีสบโอกาสปล่อยหมัดหนึ่งสองใส่โฟร์แมนจนร่วงลงไปกองกับพื้น
นั่นคือวินาทีที่ มูฮัมหมัด อาลี ไม่เพียงได้รับชัยชนะ แต่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักชกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกด้วย
แต่ชัยชนะใน Rumble in the Jungle ของอาลีไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ไฟต์ในความทรงจำของผู้คนเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อสู้ในมิติทางสังคม การจุดพลุไฟให้สัญญาณในการต่อสู้กับปัญหาการเหยียดสีผิว และเรื่องของสงครามเวียดนาม (ซึ่งยุติในปีต่อมา)
นี่คือไฟต์ที่มีความหมายมากกว่าแค่เรื่องของเกมกีฬาและมีราคามากกว่าเงิน
เพราะมันคือสัญลักษณ์ของการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่เพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
อ้างอิง:
The post 50 ปีของไฟต์ในตำนาน ‘Rumble in the Jungle’ appeared first on THE STANDARD.
]]>20 ปีที่แล้วโลกฟุตบอลทั้งใบตื่นตะลึงกับความมั่นใจระคนยโ […]
The post ‘The Special Two’ รูเบน อโมริม จ้าวแท็กติกคนรุ่นใหม่ ตัวเลือกที่ดีที่สุดของแมนฯ ยูไนเต็ด? appeared first on THE STANDARD.
]]>20 ปีที่แล้วโลกฟุตบอลทั้งใบตื่นตะลึงกับความมั่นใจระคนยโสของผู้จัดการทีมคนหนุ่มที่เพิ่งพาสโมสรในบ้านเกิดอย่างปอร์โต ผงาดคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ ก่อนจะถูก โรมัน อบราโมวิช ชักชวนให้มาสานฝันของตัวเองในทีมเชลซี
“ได้โปรดอย่าเรียกผมว่าคนยโสเลย แต่ผมเป็นแชมป์ยุโรป และผมคิดว่าผมคือ The Special One” โชเซ มูรินโญ สร้างตำนานและการจดจำของตัวเองในวันนั้น
ผ่านมาถึงวันนี้ วงการฟุตบอลโปรตุเกสคล้ายจะค้นพบคนที่มีทั้งความเก่งกาจในเชิงแท็กติกลูกหนัง และมีบุคลิกตัวตนที่จัดจ้านในตัวของ รูเบน อโมริม นายใหญ่ของทีมสปอร์ติง ลิสบอน หนึ่งในสามยักษ์ใหญ่ของประเทศ
และอโมริมคนนี้คือคนที่ถูกคาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ของทีม ‘ปีศาจแดง’ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
คำถามคือ นี่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะกอบกู้สโมสรที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษแล้วใช่ไหม?
จากช่วงเย็นวันจันทร์ที่ผ่านมา (28 ตุลาคม) จนถึงเช้าวันนี้ (29 ตุลาคม) มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและมีความเปลี่ยนแปลงในระดับรวดเร็วอย่างมากจากในรั้วโอลด์แทรฟฟอร์ด
เริ่มจากข่าวปลด เอริก เทน ฮาก พ้นตำแหน่งผู้จัดการทีมที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพราะไม่มีสัญญาณใดๆ จากสื่อ ซึ่งแตกต่างจากในช่วงก่อนหน้านี้ที่มีการประโคมข่าวครึกโครมแต่สุดท้ายไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
การปลดเทน ฮาก แม้กระทั่งตัวเขาเองก็เพิ่งทราบการตัดสินใจจากฝ่ายบริหารโดย แดน แอชเวิร์ธ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของสโมสร และ โอมาร์ เบอร์ราดา ซีอีโอของสโมสร เรียกตัวเทน ฮาก เข้าประชุมร่วมในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา (ตามเวลาอังกฤษ)
ก่อนจะแจ้งอย่างเป็นทางการอย่างซื่อตรงว่า กุนซือชาวดัตช์ซึ่งคุมทีมมาตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2022 จะไม่ได้ทำงานที่สโมสรอีกต่อไป ซึ่งเทน ฮาก เข้าใจและยอมรับการตัดสินใจจากฝ่ายบริหารด้วยดี ไม่มีความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่างกันแต่อย่างใด
ในขณะที่นักฟุตบอลในทีมมาทราบเรื่องภายหลังจากนั้น
สาเหตุของการตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่การตัดสินใจที่หุนหันพลันแล่น ในทางตรงกันข้ามเป็นการตัดสินใจที่ฝ่ายบริหารของสโมสรเพิ่งจะกล้าตัดสินใจสักที ภายหลังจากที่ปล่อยให้สถานการณ์ทุกอย่างเลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะการไม่ตัดสินใจของพวกเขาเอง
ความจริง INEOS ภายใต้ เซอร์จิม แรตคลิฟฟ์ มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดในเกาะอังกฤษ ซึ่งเข้ามาซื้อหุ้นหนึ่งในสามของสโมสรต่อจากครอบครัวเกลเซอร์ และขอสิทธิ์ในการบริหารกิจการ มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้จัดการทีมของแมนฯ ยูไนเต็ด ตั้งแต่ช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา
แต่ทั้งกระบวนการเจรจากับแคนดิเดตที่น่าสนใจ และที่สำคัญคือกระบวนการ ‘รีวิว’ ผลงานของเทน ฮาก เป็นไปอย่างล่าช้าและขาดความชัดเจน
จะปลดหรือไม่ปลด จะดึงใครหรือไม่ดึงใคร จนสุดท้ายก็ตกลงกับใครไม่ได้และต้องเลือกทางเลือกสุดท้ายในเวลานั้น คือการให้เทน ฮาก ทำงานในตำแหน่งต่อไป โดยให้เหตุผลว่าต้องการจะให้ผู้จัดการทีมที่เพิ่งพาทีมคว้าโทรฟีเอฟเอคัพ ซึ่งเป็นถ้วยแชมป์ใบที่ 2 ในรอบ 2 ฤดูกาลติดต่อกัน มีโอกาสทำงานอย่างเต็มที่ภายใต้โครงสร้างทางกีฬา (Sporting Structure) ใหม่ของสโมสร – ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีมงานเบื้องหลังในชุดสตาฟฟ์โค้ช ที่มีการดึง เรอเน ฮาก และ รุด ฟาน นิสเตลรอย เข้ามาช่วยงาน
ไม่เพียงเท่านั้นเพื่อเป็นรางวัลปลอบใจ แมนฯ ยูไนเต็ดเสนอยืดระยะเวลาสัญญาของเทน ฮาก ออกไปจากเดิมอีก 1 ปีด้วย
พร้อม ‘เปย์’ งบให้อีก 200 ล้านปอนด์สำหรับการเสริมทีมช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา
116 วันหลังจากนั้น INEOS ยอมรับว่า การตัดสินใจในช่วงฤดูร้อนเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทีมในเวลาที่มีโอกาสอยู่
สถานการณ์ของแมนฯ ยูไนเต็ดเลวร้ายลงเรื่อยๆ อย่างน่าใจหาย และการแพ้เวสต์แฮมในนัดล่าสุด – ซึ่งแม้จะถูกมองว่าเป็นความโชคร้ายที่เสียจุดโทษในช่วงท้ายเกมแบบอยุติธรรม เพราะการแทรกแซงที่ผิดพลาดของ ไมเคิล โอลิเวอร์ ผู้ตัดสิน VAR – ทำให้อันดับของพวกเขาจมอยู่ที่ 14
นั่นเป็น ‘ฟางเส้นสุดท้าย’ ที่ทำให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจปลดเทน ฮาก พ้นจากการเป็นผู้จัดการทีม ซึ่งมีราคาที่ต้องจ่ายไม่น้อย เพราะค่ายกเลิกสัญญาตัวเขามากถึง 13 ล้านปอนด์
คำถามที่ทุกคนอยากรู้คือ แล้วใครจะเข้ามาแทนที่?
คำตอบแรกที่ได้คือ รุด ฟาน นิสเตลรอย อดีตหัวหอกระดับตำนานของสโมสร ซึ่งมีประสบการณ์ในการคุมสโมสรใหญ่อย่าง พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน คว้าแชมป์ดัตช์คัพมาแล้วในฤดูกาล 2022/23 จะทำงานในฐานะ ‘มวยแทน’ ไปก่อน
เพียงแต่ดูเหมือนว่าระยะเวลาในการทำงานของฟาน นิสเตลรอย อาจไม่ได้ยืนยาวเหมือนครั้งที่ โอเล กุนนาร์ โซลชา ถูกขอให้กลับมาช่วยสโมสรหลังปลด โชเซ มูรินโญ ซึ่งเริ่มจากการรักษาการณ์ตำแหน่ง ก่อนจะทำผลงานได้อย่างมหัศจรรย์จนสโมสรต้านทานกระแสไม่ไหวตั้งเป็นผู้จัดการทีมเต็มตัวในอีก 4 เดือนต่อมา
สองคีย์แมนอย่างแอชเวิร์ธและเบอร์ราดาที่ได้รับมอบหมายจาก เซอร์เดฟ เบรลส์ฟอร์ด มือขวาของ เซอร์จิม แรตคลิฟฟ์ และเป็นบิ๊กบอสของ INEOS Sport ที่ดูแลทีมกีฬาในเครือทั้งหมด (ทีมจักรยาน, รถแข่ง, เรือใบ และสโมสรฟุตบอล) ให้เริ่มต้นกระบวนการสรรหาคนที่จะมาทำงานแทนทันที
โดยเฉพาะกับแอชเวิร์ธ นี่คือบทพิสูจน์ฝีมือและสายตาของเขาอย่างเป็นทางการครั้งแรกด้วย เพราะในช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมาซึ่งแมนฯ ยูไนเต็ดลังเลเรื่องการปลดหรือไม่ปลดเทน ฮาก และการเจรจากับแคนดิเดต เขายังไม่เข้ามาทำงานอย่างเป็นทางการ
สิ่งที่ดีคืออย่างน้อยกระบวนการไม่ได้เริ่มต้นจาก ‘ศูนย์’ ทั้งหมด เพราะมีข้อมูลแคนดิเดตพร้อมแล้ว ซึ่งตัวเลือกเท่าที่มีในเวลานี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครที่น่าสนใจ
การตัดสินใจควรจะทำอย่างรวดเร็วเพื่อความชัดเจนในทิศทางเดินของสโมสร ไม่ควรจะปล่อยให้งานอยู่ในมือของมวยแทนเป็นเวลานาน ซึ่งเคยผิดพลาดมาแล้วทั้งในรายของโซลชาและ ราล์ฟ รังนิก ปรมาจารย์ลูกหนังชาวเยอรมันที่ถูกขอให้ทำงานแทนในเวลาต่อมา
ดูเหมือนคนที่แอชเวิร์ธต้องการคือ รูเบน อโมริม กุนซือจากทีมสปอร์ติง ลิสบอน
ตามทิศทางข่าวแล้วอโมริมไม่ได้เป็นตัวเลือกที่อยู่ในกลุ่มที่ถูกคาดหมายในทีแรก เพราะคนที่ถูกจับตามองคือ แกเร็ธ เซาธ์เกต, ชาบี เอร์นานเดซ, เกรแฮม พอตเตอร์ ซึ่งทั้งหมดว่างงานอยู่ อีกคนคือ โธมัส แฟรงก์ ผู้จัดการทีมเบรนท์ฟอร์ดที่มีเสียงเชียร์ไม่น้อย
แต่ The Athletic โดย เดวิด ออร์นสตีน ผู้สื่อข่าวคนดังรายงานเป็นที่แรกว่า แมนฯ ยูไนเต็ดกำลังเจรจากับสปอร์ติง ลิสบอน เพื่อขอตัวอโมริมมารับตำแหน่งแทนที่เทน ฮาก
คำว่าเจรจาไม่มีอะไรมากกว่าการตกลงเรื่องเงินชดเชย ซึ่งตามรายงานแล้วอโมริมมีค่าปล่อยตัวตามเงื่อนไขสัญญา (Release Clause) ที่ 10 ล้านยูโร
ตามรายงานข่าวในโปรตุเกสระบุว่า อโมริมไม่เพียงแต่สนใจจะรับตำแหน่งงานนี้เท่านั้น แต่ยัง ‘Say Yes!’ ตกลงที่จะรับตำแหน่งนี้ไปแล้วด้วย ซึ่งหมายถึงเหลือแค่ขั้นตอนการตกลงกันระหว่างสองสโมสรเท่านั้น
อโมริมเป็นกุนซือคนหนุ่มวัย 39 ปีที่ได้รับการจับตามองอย่างมากในช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา ในฐานะกลุ่มโค้ชคนรุ่นใหม่ของวงการ ตีคู่มากับ ชาบี อลอนโซ ตำนานกองกลางทีมชาติสเปนที่สร้างปรากฏการณ์นำไบเออร์ เลเวอร์คูเซน ลบตำนาน ‘Neverkusen’ คว้าแชมป์บุนเดสลีกาสมัยแรกมาครองได้ในรอบ 124 ปีของสโมสร และคว้าแชมป์เดเอฟเบโพคาลได้อีกรายการ
โดยที่อโมริมเองก็ดีกรีไม่ธรรมดา เพราะพาสปอร์ติงคว้าแชมป์ลีกโปรตุเกสได้ถึง 2 สมัย ครั้งแรกในปี 2021 และอีกครั้งในฤดูกาลที่ผ่านมา นอกจากจะคว้าแชมป์ลีกแล้วยังคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยโปรตุเกสได้อีกด้วย – ซึ่งเป็นการคว้าแชมป์บอลถ้วยสมัยที่ 3 หลังจากที่เคยพาบรากา สโมสรเล็กๆ ทีมเก่าคว้าแชมป์นี้ได้มาก่อน
เรียกว่าแม้จะอายุน้อยแต่ก็ไม่น้อยฝีมือและประสบการณ์ มีรางวัลการันตีตัวเองอยู่พอสมควร
โดยที่ครั้งหนึ่งเคยมีข่าวเชื่อมโยงกับลิเวอร์พูลรวมถึงเวสต์แฮม ยูไนเต็ด และเคยสร้างความประหลาดใจด้วยการเดินทางมาอังกฤษ ท่ามกลางข่าวลือว่ามาเพื่อเจรจาหาความเป็นไปได้ที่จะย้ายมาหาสโมสรในพรีเมียร์ลีก
ความเก่งกาจของอโมริม (และบุคลิกบางอย่าง) ทำให้เขาถูกนำไปเปรียบเทียบว่าเป็น ‘The Next Mourinho’ เลยทีเดียว
จุดเด่นสำหรับกุนซือคนหนุ่มผู้นี้ อย่างแรกคือเรื่องของระบบวิธีการเล่นที่น่าสนใจ อโมริมถนัดใช้ระบบการเล่นแบบ 3-4-3 หรืออาจจะเรียกว่า 3-4-2-1 เป็นฟุตบอลสมัยใหม่ที่เน้นเกมรุก บุกมัน เร้าใจ
มันแค่ไหน? ในฤดูกาลนี้สปอร์ติงเปิดฉากมาด้วยการคว้าชัยชนะ 9 นัดรวด โดยที่ทีมทำได้ถึง 30 ประตู แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นแท็กติกที่มีความยืดหยุ่นสูง รวมถึงมีเกมรับที่แข็งแกร่งอย่างมาก โดยในฤดูกาลนี้พวกเขาเพิ่งเสียไปเพียงแค่ 2 ประตูเท่านั้น
โดยเขาไม่เคยเปลี่ยนแปลงระบบการเล่นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เลย เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเมื่อยังใช้การได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังเป็นโค้ชที่ชอบให้โอกาสแก่ดาวรุ่งฝีเท้าดีในสโมสรได้แจ้งเกิด – ซึ่งเป็นแนวทางของสปอร์ติงอยู่แล้ว – มีนักเตะฝีเท้าดีหลายรายที่ได้โอกาสจากอโมริม เช่น กอนซาโล อินาซิโอ, มาเตอุส นูเนส, นูโน เมนเดส, อุสมาน ดิโอมานเด, เปโดร ปอร์โร และ ชูเอา ปาลินญา
รวมถึง มานูเอล อูการ์เต กองกลางตัวรับที่แมนฯ ยูไนเต็ด เพิ่งคว้าตัวมาก็นับได้ว่าเป็นศิษย์อโมริมมาก่อนทั้งสิ้น
ด้วยโปรไฟล์แล้วจึงมีความน่าสนใจและตอบโจทย์กับวิถีของฟุตบอลสมัยใหม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ปัจจุบันนี้โค้ชคนรุ่นใหม่ที่มีวิธีการทำงานทันสมัยใช้ดาต้าเข้ามาช่วย ไปจนถึงการทำงานร่วมกับฝ่ายเทคนิคของสโมสรก็ทำได้เหนือกว่าโค้ชยุคเก่าที่กลายเป็นของตกรุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
อย่างไรก็ดี จนถึงตอนนี้ยังไม่อาจพูดได้ว่า อโมริมจะเป็นผู้จัดการทีมปีศาจแดงคนใหม่แต่อย่างใด เพราะยังอยู่ในกระบวนการเจรจา
กิลเยม บาลาเก คนข่าวชาวสเปน มีรายงานอีกสายว่า “เป็นไปได้ที่อโมริมอาจอยากรองานกับแมนฯ ซิตี้ ต่อจาก เป๊ป กวาร์ดิโอลา ในช่วงปลายฤดูกาล” (แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินไป)
ทุกอย่างยังเกิดขึ้นได้เสมอ และมีโอกาสสำหรับแคนดิเดตคนอื่น – ซึ่งล่าสุดมีการยกชื่อ มาร์โก ซิลวา จากฟูแลมขึ้นมา – เช่นเดียวกัน
แต่ในบรรดาแคนดิเดตทั้งหมด หากแมนฯ ยูไนเต็ดอยากได้คนที่พาทีม ‘ไปข้างหน้า’ จริงๆ
คนรุ่นใหม่อย่างอโมริมน่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดที่พวกเขาพอจะหาได้ในเวลานี้
The post ‘The Special Two’ รูเบน อโมริม จ้าวแท็กติกคนรุ่นใหม่ ตัวเลือกที่ดีที่สุดของแมนฯ ยูไนเต็ด? appeared first on THE STANDARD.
]]>โดยไม่ใครได้คาดคิด อยู่ๆ ภาพของ เจอร์เกน คล็อปป์ ก็กลับ […]
The post ความตายของโรแมนติกฟุตบอล? คล็อปป์รับงานที่ Red Bull นับว่าผิดไหม appeared first on THE STANDARD.
]]>โดยไม่ใครได้คาดคิด อยู่ๆ ภาพของ เจอร์เกน คล็อปป์ ก็กลับมาปรากฏต่อหน้าทุกคนอีกครั้ง และไม่ใช่ภาพของคุณลุงวัยใกล้เกษียณที่สนุกกับการใช้จ่ายวันเวลาในชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป
“หลังจากที่คุมทีมอยู่ข้างสนามมาเกือบ 25 ปี คงไม่มีอะไรที่จะทำให้ผมตื่นเต้นไปมากกว่าการได้มีส่วนร่วมกับโปรเจกต์แบบนี้” คล็อปป์บอกกับทุกคน พร้อมย้ำเตือนถึงหัวใจที่ยังร้อนแรงของเขา “บทบาทอาจจะเปลี่ยน แต่ความรู้สึกของผมที่มีต่อเกมฟุตบอลและเหล่าผู้คนที่ร่วมสร้างเกมนี้ขึ้นมาไม่เคยเปลี่ยน”
สำหรับแฟนบอลลิเวอร์พูลพวกเขาปรบมือและร่วมยินดีกับเส้นทางใหม่ของ ‘บอส’ ในตำแหน่ง Head of Global Soccer ของเครือ Red Bull อาณาจักรกีฬาอันยิ่งใหญ่
แต่สำหรับแฟนโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ที่เพิ่งต้อนรับอดีต ‘ที่รัก’ ของพวกเขาอย่างยิ่งใหญ่และสมเกียรติในเกมเกียรติยศของ ลูคัส พิสซ์เซ็ค และ ยาคุบ บลาสซิคอฟสกี เมื่อเดือนที่แล้ว เรื่องนี้ไม่ต่างอะไรจากการที่คล็อปป์ถือมีดแล้วกรีดตรงกลางหัวใจ
เหมือนเพลงเก่าที่ยังทุ้มอยู่ในใจ ‘ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ’
“เจอร์เกน คล็อปป์ พวกเราไม่มีคนคาดหวังสิ่งนี้หรอกและบอกตรงๆ มันเจ็บปวดมาก คุณทรยศพวกเราเพื่อนของคุณ ครอบครัวของคุณ และบ้านของคุณ คุณทรยศโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์”
“ว้าว คำว่าผิดหวังมันน่าจะน้อยเกินไป เขาทำลายชื่อเสียงทุกอย่างที่ทำมาในเวลาแค่วันเดียว”
“วิธีการทำลายตำนานทั้งหมดที่สร้างมา แนะนำทีละขั้นตอนโดย เจอร์เกน คล็อปป์”
“เจอร์เกน คล็อปป์ นายคือศัตรูของเกมฟุตบอล”
นี่เป็นตัวอย่างความรู้สึกของแฟนฟุตบอลดอร์ทมุนด์บางส่วนที่ระบายและพรั่งพรูออกมาบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งสวนทางกับแฟนฟุตบอลลิเวอร์พูลที่ร่วมอวยพรให้อดีตบอส ซึ่งก็สร้างความประหลาดใจให้กับใครหลายคนเหมือนกัน
เพราะมันดูไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่อะไร ก็แค่รับงานในบทกึ่งผู้บริหารของ Red Bull โดยที่ไม่ได้ลงมาคุมทีมอยู่ข้างสนามด้วยซ้ำ
อีกทั้งเราต่างเชื่อกันว่านี่ไม่ใช่ ‘ปลายทาง’ ที่คล็อปป์หวัง เพราะเส้นชัยของจริงน่าจะอยู่ที่โอกาสจะได้ใช้ ‘เงื่อนไขพิเศษ’ ในการรับตำแหน่งโค้ชทีมชาติเยอรมนีในอนาคต ซึ่งไม่ใช่ความลับอะไรของกุนซือผู้เป็นที่รักมากที่สุดคนหนึ่งของโลกฟุตบอล
คล็อปป์อยากคุมทีมชาติ ใครก็รู้
แต่สำหรับแฟนดอร์ทมุนด์ – และอาจจะรวมถึงแฟนฟุตบอลในเยอรมนีแล้ว เรื่องนี้ละเอียดอ่อนครับ
เพราะสำหรับชาวเยอรมัน สโมสรฟุตบอลในเครือของ Red Bull คือ ‘ศัตรู’ ที่พวกเขาไม่อาจยอมรับได้ หรืออาจพูดได้เลยว่าเป็นสโมสรที่ทุกคนชิงชังได้โดยไม่รู้สึกผิด
เรื่องนี้มีที่มาที่ไป ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่โดยสรุปแล้วคือวงการฟุตบอลเยอรมนีไม่ให้การยอมรับการที่นายทุนอย่าง Red Bull เข้ามาซื้อกิจการของสโมสรฟุตบอลเล็กๆ ในระดับดิวิชัน 5 ในเมืองไลป์ซิกที่ชื่อ เอสเอสเฟา มาร์กรันสตัดท์ ก่อนที่พวกเขาจะเปลี่ยนชื่อสโมสรนี้ใหม่เป็น ราเซินบอลล์สปอร์ต ไลป์ซิก หรือ แอร์เบ ไลป์ซิก ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2009
ในวงการฟุตบอลเยอรมนีมีกฎพิเศษที่ตราขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมนีหรือเดเอฟเบ (DFB) ที่เรียกว่ากฎ ‘50+1’ ซึ่งสโมสรฟุตบอลทุกแห่งจะต้องมีแฟนฟุตบอลที่เป็นสมาชิกของสโมสรถือหุ้นจำนวน 51 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การตัดสินใจใดๆ ที่สำคัญต่ออนาคตและความมั่นคงของสโมสร – ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นแค่ทีมกีฬา แต่เป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมกีฬา – ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดคือแฟนฟุตบอล
แต่กรณีของไลป์ซิก Red Bull ได้ใช้ช่องโหว่ของกฎด้วยการมีจำนวนสมาชิกแค่ 17 คนเท่านั้นที่มีสิทธิออกเสียง และเกือบทั้งหมดคือคนของ Red Bull เอง นั่นหมายถึงผู้บริหารที่มีอำนาจเต็มในการตัดสินใจสั่งซ้ายหันขวาหัน
แม้กระทั่งชื่อของสโมสร ตามกฎมีการบอกว่าห้ามใช้ชื่อของสปอนเซอร์ ก็มีการเลี่ยงบาลีด้วยการเลือกใช้คำว่า ราเซินบอลล์สปอร์ต (แปลตรงๆ ทื่อๆ ว่ากีฬาเล่นบอลบนพื้นหญ้า หรือก็คือเตะบอลนั่นแหละ) ซึ่งตัวย่อคือ ‘แอร์เบ’ (RB) ซึ่งก็ย้อนกลับไปถึง Red Bull อยู่ดี
Red Bull บอกว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของสโมสร แต่ก็เป็นคนที่ออกทุนทุกอย่างให้ เป็นการไม่ซื่อตรงซึ่งขัดต่อนิสัยของชาวเยอรมัน
ด้วยเหตุผลนี้ และด้วยเหตุผลความรุ่งโรจน์ของแอร์เบ ไลป์ซิก ที่ทะยานขึ้นสู่บุนเดสลีกาอย่างรวดเร็วเพราะมีอำนาจเงินทุนมหาศาลสนับสนุน ทำให้แฟนฟุตบอลทั่วเยอรมนีไม่พอใจและไม่ยอมรับ ตราหน้าว่าเป็นสโมสรของนายทุน เป็นแค่เครื่องมือทางการตลาด ไม่มีคุณค่าหรือความหมายใดๆ ต่อวงการฟุตบอล
แอร์เบ ไลป์ซิก จึงถูกขนานนามว่าเป็นสโมสรที่แฟนบอลทั่วเยอรมนีเกลียดชังมากที่สุด
แม้แต่ตัวของคล็อปป์เองก็เคยออกโรงต่อต้านแนวทางของ Red Bull ซึ่งกว้านซื้อสโมสรอีกหลายแห่งไว้ในครอบครอง เช่น เรดบูล ซัลซ์บวร์ก, นิวยอร์ก เรดบูล, เรดบูล บรากันติโน (ในลีกบราซิล) และไม่นานมานี้ได้ซื้อหุ้นในสโมสรลีดส์ ยูไนเต็ด
คล็อปป์กล่าวในปี 2017 เอาไว้แบบนี้ครับ “ผมเป็นคนที่รักความโรแมนติกในเกมฟุตบอล ผมชอบขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมในเกมฟุตบอล และในเยอรมนีก็มีแค่ 2 สโมสรที่ร้องเพลง You’ll Never Walk Alone ก่อนเกม นั่นก็คือไมนซ์และดอร์ทมุนด์”
นี่คือเหตุผลที่แฟนดอร์ทมุนด์และอาจรวมถึงแฟนไมนซ์ที่เคยรักและเทิดทูนบอสจอมโรแมนติกคนนี้สุดหัวใจ รับไม่ได้กับการตกลงรับงานกับสโมสรที่ทำทุกอย่างตรงข้ามกับความโรแมนติกของเกมฟุตบอล
เรื่องนี้คิดเห็นเช่นไรอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ
ในความหงุดหงิดผิดหวังเพราะรู้สึกว่าถูกทรยศของแฟนดอร์ทมุนด์ (และอื่นๆ) ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้
แต่ในอีกด้านหนึ่งหากมองด้วยความรู้สึกที่เป็นกลาง การรับตำแหน่งนี้ของคล็อปป์ก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องที่เข้าใจกันไม่ได้เลย
โดยเฉพาะเมื่อฟังจากปากคำของเจ้าตัว ซึ่งอัดคลิปชี้แจงเรื่องนี้ไว้ผ่านทาง Instagram ของตัวเอง
คล็อปป์บอกแบบนี้ครับ “สวัสดีทุกคน บางคนอาจจะได้ยินข่าวแล้ว แต่อาจจะมีคนที่ยังไม่รู้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 ผมจะเป็น Head of Global Soccer ที่ Red Bull และผมก็รอวันนั้นอยู่
“ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ผมไม่คิดว่าผมจะกลับมาคุมทีมที่ข้างสนามได้อีกแล้ว และมันก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ แต่ผมรักเกมฟุตบอลและผมยังรักการทำงาน Red Bull คือที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผมในเรื่องนี้ ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์ของผมที่สั่งสมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
“เราต่างรู้ดีว่ามีผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากมาย แต่ในชีวิตการทำงานของผม ผมผ่านมาทั้งการต่อสู้เพื่อเลื่อนชั้น ผมต่อสู้เพื่อหนีตกชั้น และผมก็ต่อสู้เพื่อแชมป์และถ้วยรางวัล
“บางครั้งเราอาจจะล้มเหลว บางครั้งเราทำสำเร็จ การรับมือกับสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ดังนั้นผมอยากจะได้เรียนรู้อีกครั้ง เพราะเมื่อยังทำงานอยู่และทีมต้องลงสนามทุก 3 วัน เราแทบจะไม่มีเวลา
“ตอนนี้ผมมีทั้งเวลาและมีโอกาสแล้ว ผมอยากจะได้เห็น ได้รู้สึก และได้ค้นหาว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฟุตบอลได้อีก ผมเฝ้ารอวันนั้นอยู่ แต่ตอนนี้ผมจะขอกลับไปพักผ่อนก่อน แล้วพบกันในเดือนมกราคม”
ฟังแล้วผมคิดว่าก็พอเข้าใจได้
ชีวิตจริงของคนเราเมื่อเวลาผ่าน เติบโตขึ้น บางครั้งเรื่องที่คิดว่าใหญ่เมื่อวางลงแล้วก็เล็กนิดเดียว
ในสิ่งที่เคยคิดและเคยพูดไปสำหรับคล็อปป์ วันนี้เมื่อไม่ได้สวมหมวกของสโมสรไหนแล้ว อีกทั้งการมีโอกาสได้ทำความรู้จักพูดคุยกับ Red Bull ผ่านการทำงานร่วมกันหลายครั้งก็น่าจะเข้าใจกันและกันมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าในช่วงที่คุมลิเวอร์พูล คล็อปป์ดึงนักเตะมาจากเครือนี้หลายคน ไม่ว่าจะเป็น ทาคุมิ มินามิโนะ, อิบราฮิมา โกนาเต, โดมินิก โซโบสไล (แม้แต่ ซาดิโอ มาเน ก็เคยเป็นผลผลิตระบบของ Red Bull)
เป๊ป ไลน์เดอร์ส มือขวาคนสนิทก็ทำงานกับเรดบูล ซัลซ์บวร์ก อยู่ในเวลานี้
แบบนี้พอจะบอกได้ว่าคล็อปป์กับทาง Red Bull ก็คงใกล้ชิดกันพอประมาณ และมองว่าในวัยประมาณนี้ เรี่ยวแรงที่เหลือแบบนี้ ความต้องการที่อยากจะถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ที่มี ทุกอย่างน่าจะตอบโจทย์
โดยตำแหน่ง Head of Global Soccer ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ เนื้อในแล้วมีความคล้ายกับ Head of Sport and Development ที่ ราล์ฟ รังนิก เคยนั่งแท่นอยู่ในช่วงปี 2019 ในช่วงก่อนที่จะรับข้อเสนอมาแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
และคล้ายกับ อาร์แซน เวนเกอร์ ในบท Chief of Global Football Development ของ FIFA (ซึ่งก็อยู่ในสถานการณ์คล้ายกัน ยังรักเกมฟุตบอล แต่ไม่คิดจะกลับมาคุมทีมข้างสนามอีก)
ที่สำคัญคือเป็นจุดพักกลางทางในระหว่างเฝ้ารอว่าจะมีโอกาสคุมทีมชาติเยอรมนีหรือไม่
ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วจึงไม่ได้คิดว่าสิ่งที่คล็อปป์ทำนั้นผิดทั้งหมดแต่อย่างใด แต่สำหรับแฟนบอลที่ยังรับกับเรื่องนี้ไม่ได้ก็เข้าใจได้เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี ในมุมของนักข่าวผู้มีประสบการณ์อย่าง คริสเตียน ฟอล์ค มองว่าถึงตอนนี้เรื่องมันจะดูใหญ่และร้ายแรงเหลือเกิน
แต่สุดท้ายด้วยความเป็นคล็อปป์ ผู้คนที่เจ็บปวดในวันนี้ก็อาจจะลืมและให้อภัยในใจได้สักวัน
เพราะความรู้สึกแบบนี้ ใครวางลงได้ก่อนก็เบาก่อน
ทุกเรื่องในชีวิตก็เช่นกัน
The post ความตายของโรแมนติกฟุตบอล? คล็อปป์รับงานที่ Red Bull นับว่าผิดไหม appeared first on THE STANDARD.
]]>19 นาที 57 วินาที สำหรับบางคนอาจเป็นระยะเวลาในการเดินไป […]
The post โคล พาลเมอร์ คือนักเตะที่เก่งที่สุดในพรีเมียร์ลีกตอนนี้ (หรือยัง?) appeared first on THE STANDARD.
]]>19 นาที 57 วินาที สำหรับบางคนอาจเป็นระยะเวลาในการเดินไปร้านกาแฟเพื่อเติมคาเฟอีนให้ร่างกายสดชื่นขึ้นอีกนิดสำหรับการทำงานในยามบ่าย (และขนมติดมืออีกนิดหน่อย)
แต่สำหรับ โคล พาลเมอร์ มันคือช่วงระยะเวลาที่เขาทำได้ถึง 4 ประตูในเกมระดับพรีเมียร์ลีก ทำลายเกมรับของไบรท์ตันแอนด์โฮฟอัลเบียนลงได้อย่างราบคาบ และทำให้จำนวนประตูรวมในฤดูกาลนี้หลังผ่านไป 6 นัดเขาทำได้ 6 ประตู – ไม่นับแอสซิสต์อีก 4 ครั้ง ที่ทำให้การมีส่วนร่วมกับประตู (Goal Involvements) ให้กับเชลซีรวมเป็น 10 ประตู
สำหรับวงการฟุตบอลอังกฤษ พาลเมอร์ไม่ได้เป็นเพียงแค่นักฟุตบอลดาวรุ่งระดับสตาร์แล้ว
แต่เขาได้กลายเป็น ‘ปรากฏการณ์’ (Phenomenon) ที่กลายเป็นคำถามสนุกๆ ที่เราจะแลกเปลี่ยนกันในวันนี้
โคล พาลเมอร์ คือนักเตะที่เก่งที่สุดในพรีเมียร์ลีกตอนนี้แล้วหรือยัง?
เรามาบิดเข็มนาฬิกาย้อนเวลากลับไปในวันที่สตาร์ที่เป็นเด็กปั้นของแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ตัดสินใจที่จะเก็บข้าวของย้ายออกมาผจญภัยตามหาเส้นทางของตัวเองในช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว
1 ปีที่ผ่านมาพาลเมอร์ได้สร้างผลงานในระดับที่เรียกว่ามหัศจรรย์
ตัวเลขสถิติการทำประตูและแอสซิสต์ของเขาเฉพาะในพรีเมียร์ลีกจากฤดูกาล 2023/24 จนถึงปัจจุบันจบเดือนกันยายนในฤดูกาล 2024/25 สูงถึง 43 ประตู
โดยเราแบ่งเป็นฤดูกาล 2023/24 ยิงได้ 22 ประตู กับอีก 11 แอสซิสต์ และในฤดูกาล 2024/25 ยิงได้ 6 ประตู กับอีก 4 แอสซิสต์
สถิตินี้สูงยิ่งกว่า เออร์ลิง เบราต์ ฮาลันด์ หัวหอกมหาประลัยของทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ฤดูกาลที่แล้ว – ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 2 ในอังกฤษ – ทำไป 37 ประตู กับ 5 แอสซิสต์ และแน่นอนว่าสูงกว่า โอลลี วัตกินส์ (23 ประตู 15 แอสซิสต์), โม ซาลาห์ (22 ประตู 14 แอสซิสต์), บูกาโย ซากา (17 ประตู 14 แอสซิสต์) และ ซนฮึงมิน (19 ประตู 12 แอสซิสต์)
ในความหมายคือวัดกันด้วยสถิติตัวเลขแล้ว พาลเมอร์คือ ‘ตัวรุกที่ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีก’
พาลเมอร์จะทำประตูหรือแอสซิสต์ให้เพื่อนทำประตูในทุก 73 นาที ซึ่งเป็นตัวเลขสถิติที่น่าเหลือเชื่อมาก และไม่ได้ดีที่สุดเฉพาะในพรีเมียร์ลีกเท่านั้น แต่ยังดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมเชลซีสำหรับนักเตะที่ลงสนามในพรีเมียร์ลีกอย่างน้อย 50 นาที
แม้แต่ แฟรงค์ แลมพาร์ด หรือ เอเดน อาซาร์ สองตำนานแห่งสแตมฟอร์ดบริดจ์ ก็ไม่สามารถเทียบกับสถิติของพาลเมอร์ในเวลานี้ได้ แม้ว่าซูเปอร์สตาร์คนใหม่ของเดอะบริดจ์จะอยู่กับสโมสรมาเพียงแค่ 14 เดือนก็ตาม
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ ‘Cold’ (หรือจะ Goal ก็ได้แล้วแต่) พาลเมอร์ ‘พิเศษ’ ยิ่งขึ้นไปอีกนั้นไม่ได้มีเพียงเรื่องของตัวเลขสถิติแค่การทำประตูหรือการทำแอสซิสต์
เพราะ ‘มิติการเล่น’ ของเขามีมากกว่านั้นมากมายนักครับ
สำหรับเชลซี พาลเมอร์คือหัวใจของเกมรุก โดยเฉพาะในฤดูกาลนี้ ซึ่ง เอ็นโซ มาเรสกา บอสใหญ่คนใหม่ได้ปรับตำแหน่งของเขาจากการยืนตำแหน่งปีกขวามาเป็น ‘หมายเลข 10’ (แบบโมเดิร์น) ให้อิสระในการสร้างสรรค์เกมรุกอย่างเต็มที่ โดยลงเล่นในตำแหน่งนี้ 5 จาก 6 นัด (ยุค เมาริซิโอ โปเชตติโน เขาได้ลงเล่นตำแหน่งนี้แค่ 12 นัดตลอดฤดูกาล)
นั่นเป็นการปลดล็อกพรสวรรค์ที่มีทั้งหมดในตัวของดาวเตะวัย 22 ปีรายนี้ออกมา
ในตำแหน่งเพลย์เมกเกอร์ตัวทำเกม ถึงแม้ว่าพาลเมอร์จะยังติดนิสัยชอบขยับมารอรับบอลทางฝั่งขวา แต่ตามข้อมูลจาก Oracle Cloud ของพรีเมียร์ลีกบอกว่า ซ้ายฟ้าประทานคนนี้ขยับเข้าไปอยู่ในพื้นที่ตรงกลางสนามเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
และถึงจำนวนการสัมผัสบอลเฉลี่ย (Average Touches) จะลดลงจาก 60.5 ครั้งในฤดูกาลที่เหลือ 48.4 ครั้งในฤดูกาลนี้ แต่ค่าเฉลี่ยอย่างอื่นในการสร้างสรรค์เกมกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น
แต่สถิติทั้งหมดเหล่านี้ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ประเมินได้จริง ยังไม่สามารถบ่งบอกสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดในตัวของพาลเมอร์ได้
เพราะสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดในตัวของเขาคือ ‘สมอง’ (Football Brain)
ในฤดูกาลนี้ พาลเมอร์พัฒนาการเล่นของตัวเองขึ้นไปอีกระดับ (2 ระดับเป็นอย่างน้อย) โดยจะสังเกตได้ว่าการตัดสินใจในการเล่นของเขา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่จะเลี้ยงบอลเอง การผ่านบอลให้เพื่อน ทุกอย่างจะเป็น ‘ตัวเลือก’ ที่ดีที่สุดเกือบทุกครั้ง
เลี้ยงกินตัวอย่างไรให้ทีมได้เปรียบ ขยับไปรอพื้นที่ตรงไหนให้ได้เปรียบ หรือผ่านบอลแบบไหนแล้วเพื่อนจะเล่นต่อได้เลยแบบได้เปรียบ
สิ่งเหล่านี้วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่วัดด้วยความรู้สึกได้
เหนืออื่นใดคือทุกการตัดสินใจของเขา จะมาพร้อมกับการเล่นที่เนี้ยบเสมอ การผ่านบอลด้วยน้ำหนักและทิศทางที่พอเหมาะพอเจาะที่สุด เหมือนตักด้วยช้อนแล้วป้อนใส่ปากให้เพื่อน หรือการตัดสินใจยิงก็จะยิงด้วยการวางเท้าที่ถูกต้องที่สุด
มันเป็นเรื่องของพรสวรรค์ในการเล่นส่วนหนึ่ง
แต่อีกส่วนก็มาจากความมานะพยายามของเจ้าตัวที่หัดเล่นฟุตบอลกับพ่อ ซึ่งเป็นนักเตะสมัครเล่นมาตั้งแต่เด็ก
เห็นสีหน้าเรียบนิ่งแบบนี้ พาลเมอร์เป็นเด็กที่พยายามไม่น้อยไปกว่าใคร และที่สำคัญมีความกล้าหาญที่จะเดินออกจาก Comfort Zone ของตัวเอง ด้วยการตัดสินใจไปจากแมนเชสเตอร์ ซิตี้ เพราะเชื่อว่าเขาจะมีโอกาสและเวทีได้ปลดปล่อยตัวเองออกมาในทีมเชลซี มากกว่าจะรอคอยโอกาสบนม้านั่งสำรองในทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอลา ที่ยังไม่มั่นใจในตัวเขามากพอ
คำถามว่าพาลเมอร์เป็นนักเตะที่ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีกตอนนี้หรือไม่นั้น คำตอบแล้วแต่เหตุผลและมุมมองของแต่ละคน
แต่ถ้าถามว่านี่คือนักเตะที่น่าจับตาและน่าติดตามดู (อย่างน้อยก็ไฮไลต์แหละ) ที่สุดของพรีเมียร์ลีกในเวลานี้ไหม? นี่คือนักบอลที่ควรค่าจะจ่ายเงินเพื่อซื้อตั๋วเข้าไปดูในสนามหรือกดสมัครแพ็กเกจดูบอลแสนแพงหรือไม่
ไม่
ไม่ต้องคิด ใช่อยู่แล้ว!
อ้างอิง:
The post โคล พาลเมอร์ คือนักเตะที่เก่งที่สุดในพรีเมียร์ลีกตอนนี้ (หรือยัง?) appeared first on THE STANDARD.
]]>