เจ้าหญิงแห่งวงการ HR – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 19 Mar 2018 11:06:25 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คนคิดบวกสร้างเครื่องบิน คนคิดลบสร้างร่มชูชีพ องค์กรควรจะจัดการกับคนทั้ง 2 ขั้วนี้อย่างไร https://thestandard.co/negative-positive-thinker/ https://thestandard.co/negative-positive-thinker/#respond Mon, 19 Mar 2018 11:04:35 +0000 https://thestandard.co/?p=78387

เครื่องบินถูกสร้างมาจากคนคิดบวก ที่คิดว่าสามารถทำเรื่อง […]

The post คนคิดบวกสร้างเครื่องบิน คนคิดลบสร้างร่มชูชีพ องค์กรควรจะจัดการกับคนทั้ง 2 ขั้วนี้อย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครื่องบินถูกสร้างมาจากคนคิดบวก ที่คิดว่าสามารถทำเรื่องที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ แต่เราจะนั่งเครื่องบินลำนั้นหรือไม่ ถ้ากัปตันประกาศว่าเครื่องบินลำนี้ไม่มีร่มชูชีพนะครับ

ใครบ้างคะ ที่แวดล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมงานที่คิดแบบเดียวกัน ใครบ้างคะ ที่มีแต่เพื่อนร่วมงานที่คิดบวก ไม่เคยมองอะไรเป็นปัญหาและอุปสรรคเลย

 

อาจจะมีบางคนตอบว่า “มี” ซึ่งก็จะไม่ถามต่อว่ามีแต่คนแบบนั้นในที่ทำงานแล้วดีอย่างไร ดีกว่าการที่มีคนไม่เห็นด้วยบ้าง มีคนคิดลบบ้างอยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่

 

แล้วทำไมจึงไม่ถามแบบนั้น  ก็เพราะในการทำงานจริงๆ เราไม่สามารถเลือกได้ทั้งหมดว่าเราจะทำงานกับใครบ้าง เช่นเดียวกันกับที่เราเองก็ไม่สามารถเลือกได้ทั้งหมดเช่นกันว่าเราจะทำงานแค่ไหน ให้สำเร็จในระดับใด ทั้งหมดจะถูกกำหนดโดยคนที่มีอำนาจ และบทบาทหน้าที่มากกว่าเราเสมอ

 

แต่ใครๆ ก็อยากได้ปริมาณของคน ‘คิดบวก’ มาร่วมงานด้วยมากกว่าใช่ไหมคะ

 

เคยมีคนถามว่า แล้วถ้าจะหาคนคิดบวกมาทำงานด้วย เราจะเลือกอย่างไร จะพิจารณาอย่างไรว่าผู้สมัครคนนี้คิดบวกหรือเปล่า… กลัวจะได้แต่ประเภทที่เจอใครขัดใจ ก็คิดแต่จะเข้าไปบวก #ทีมนักสู้ #ทีมเสียชื่อไม่ว่าเสียหน้าไม่ได้ 55+

 

เอาล่ะค่ะ จากประสบการณ์ ถ้าเราอยากได้คนคิดบวก เราต้องทำอย่างไร ในการสรรหาคน

ลบเจอลบไม่เป็นบวก: เพราะนี่ไม่ใช่หลักคณิตศาสตร์ แต่มันคือความจริง ที่คนประเภทไหนก็จะดึงดูดคนประเภทนั้นเข้าหาตัวเอง สิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งองค์กรต้องระมัดระวังก็คือ อย่าให้คนคิดลบไปตามหาคนคิดบวก เพราะเขาเองไม่เคยรู้ว่าการคิดบวกดีอย่างไร แล้วเขาจะให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นได้อย่างไร

 

คิดบวกไม่ใช่โลกสวย: คิดบวกไม่ได้แปลว่าจะต้องมองทุกอย่างว่าดี สดใส ไร้ปัญหา แต่คนคิดบวกคือคนที่สามารถทำความเข้าใจและยอมรับปัญหา พร้อมทั้งค้นคว้าหาทางแก้ไขให้อยู่เสมอ

 

เมื่อสามารถแยกคน 2 แบบนี้ออกจากกันได้แล้ว ในการตั้งคำถามเพื่อหาว่าคนคนนั้น เป็นคนคิดบวกหรือไม่ ก็ให้ตั้งคำถามที่เป็นการสอบถามความคิดเห็นและวิธีการทำงาน โดยยกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ปัญหาจริง แล้วดูว่าคนคนนั้นมองมันอย่างไร คนโลกสวยจะไม่คิดว่าเป็นปัญหาและไม่หาทางแก้ไข คนโลกสวยอาจจะบอกว่าปัญหามาก็อย่าไปเครียด เดี๋ยวก็ดีเอง “ถ้าทุกอย่างดีได้เอง จะจ้างแกมาทำไมให้เปลือง” 555 ใช่ค่ะ ในการทำงาน เราใจเย็นได้ขนาดนั้นจริงๆ ใช่ไหมคะ แต่คนคิดบวก จะมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางที่เขาคิดว่ามันน่าจะทำได้ คนที่รู้ว่ามีปัญหา รู้ว่าปัญหานั้นใหญ่ แต่ไม่นำเสนอหนทางแก้ไข ยังไม่ใช่คนคิดบวกนะคะ เอาง่ายๆ ว่า ถ้าเราคิดบวก เราจะไม่กลัวที่จะพูดสิ่งที่เราคิดค่ะ เราจะไม่กล้าเมื่อเราคิดว่ามันจะไม่ดี มันจะต้องไม่ได้รับการยอมรับ มันจะผิด เราจึงไม่พูดออกมา

 

แต่ที่สำคัญก็คือ ไม่มีใครเป็นอะไรได้โดยสมบูรณ์

ดังนั้นโปรดอย่าตัดสินว่า ถ้าคนคนนั้น คิดลบบ้างในบางเรื่องแล้วเขาจะไม่สามารถคิดบวกได้เลย ยกเว้นคุณจะรอได้ รอจนกว่าจะเจอคนคนนั้น คุณก็รอไปก่อน แต่ถ้ารอไม่ได้ ให้คิดไว้ว่า หาคนที่มีส่วนผสมด้านบวกมากกว่าด้านลบ แล้วค้นหาเพิ่มเติมว่าด้านลบของคนคนนั้นจะถูกกระตุ้นด้วยสถานการณ์ใด เพราะแต่ละคนมักจะอดทนกับเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเรารู้ว่างานที่เราทำ คนที่เรามีเป็นแบบไหน ถ้าเป็นแบบที่จะทำให้คนคนนั้นเผยด้านลบออกมา ก็อย่าเลือกคนแบบนั้น ไม่ใช่แค่ Put the right man to the right job นะคะ แต่ต้อง to the right place ด้วยค่ะ

 

“เครื่องบินถูกสร้างมาจากคนคิดบวก ที่คิดว่าสามารถทำเรื่องที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ แต่เราจะนั่งเครื่องบินลำนั้นหรือไม่ ถ้ากัปตันประกาศว่าเครื่องบินลำนี้ไม่มีร่มชูชีพนะครับ”

 

เติมน้ำดี ในน้ำดี: เมื่อมีคนคิดบวก คิดดีมาร่วมงานแล้ว ต้องหมั่นเติมพลังด้านบวกให้คนเหล่านั้นอยู่เสมอด้วยนะคะ อย่าปล่อยให้คนคิดลบๆ มีอำนาจ หรือโอกาสมากกว่าคนดีๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการฝ่อได้ ต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี พูดคุยแต่เรื่องดีๆ ไม่ปิดกั้นโอกาส ไม่ตัดสินถูกผิดว่าใครเป็นคนคิด แต่ต้องถูกผิดเพราะผลที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ผลงานสำคัญที่สุด ทุกคนสามารถคิดและทำอะไรก็ได้เพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จร่วมกัน #สำเร็จนะคะไม่ใช่แค่เสร็จเนอะ

 

“โลกไม่ได้ต้องการแค่คนคิดบวก” ใช่ค่ะ คุยกันมาถึงตรงนี้ สิ่งที่จะบอกคือ ไม่ใช่แค่คนคิดบวกนะคะที่มีความสำคัญ ในหลายครั้งคนที่คิดลบบ้าง (บ้างนะคะ ย้ำว่าบ้าง ไม่ใช่ตลอดเวลา) ก็ช่วยให้เรารอดพ้นจากการต้องเจอกับปัญหาใหญ่ได้ด้วยการป้องกันไว้ก่อน นั่นแปลว่า ในองค์กรต้องรู้ว่าควรจะจัดวางคนแบบไหนเอาไว้ตรงไหน เช่นคนที่ทำงานเรื่องการตรวจสอบ หรือการบริหารความเสี่ยงในองค์กร ถ้าไม่คิดลบบ้าง ก็ย่อมไม่เห็นว่างานไหน กระบวนการใดที่จะทำให้องค์กรเกิดปัญหาในอนาคตได้ เมื่อมองไม่เห็น ก็นำไปสู่ความประมาท และอาจจะเกิดผลร้ายแรงเกินกว่าที่จะรับมือได้

 

สิ่งที่พนักงานอย่างเราต้องทำความเข้าใจคือ เราต้องยอมรับว่าคนเราต่างมีข้อดี องค์กรที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่องค์กรที่มีแต่คนแบบเดียวกัน แต่ต้องเป็นองค์กรที่สามารถประสานคนที่แตกต่างกันให้ทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้

 

เครื่องบินถูกสร้างมาจากคนคิดบวก ที่คิดว่าสามารถทำเรื่องที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ เราจึงมีเครื่องบินโดยสาร ที่ช่วยให้เราเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย แต่เราจะนั่งเครื่องบินลำนั้นหรือไม่ ถ้ากัปตันประกาศว่าเครื่องบินลำนี้ไม่มีร่มชูชีพนะครับ เพราะเรามั่นใจเหลือเกินว่าไม่จำเป็นต้องใช้

 

คนคิดบวกสร้างเครื่องบิน คนคิดลบประดิษฐ์ร่มชูชีพ ทั้ง 2 สิ่งล้วนสำคัญในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น อย่าตัดสินคนที่ต่างจากเราว่าไม่ดี แต่จงโทษตัวเองว่าเราบกพร่องอะไรจึงไม่สามารถผสานตัวเองเข้ากับคนอื่นๆ ได้

 

#รักนะคะ

#เจ้าหญิงแห่งวงการ HR

 

ภาพประกอบ: Nisakorn Rittapai 

The post คนคิดบวกสร้างเครื่องบิน คนคิดลบสร้างร่มชูชีพ องค์กรควรจะจัดการกับคนทั้ง 2 ขั้วนี้อย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/negative-positive-thinker/feed/ 0
ลักษณะของเพื่อนร่วมงานยอดแย่ประจำออฟฟิศ พร้อมวิธีรับมือ https://thestandard.co/office-life-negative-types-co-workers/ https://thestandard.co/office-life-negative-types-co-workers/#respond Sun, 11 Feb 2018 17:01:33 +0000 https://thestandard.co/?p=67967

เราเคยคุยกันไปแล้วว่าหัวหน้าที่ปังกับพังต่างกันอย่างไร […]

The post ลักษณะของเพื่อนร่วมงานยอดแย่ประจำออฟฟิศ พร้อมวิธีรับมือ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เราเคยคุยกันไปแล้วว่าหัวหน้าที่ปังกับพังต่างกันอย่างไร เพราะหัวหน้าคือคนสำคัญที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้…แต่คนอีกกลุ่มที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย นั่นคือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมทีมหรือต่างทีม แต่ถ้าไปจั่วเจอออฟฟิศที่ต้องทำงานกับคนนิสัยแย่ๆ สุขภาพจิตชีวิตก็คงจะดิ่ง แต่เอาจริงๆ แย่ในความคิดเราอาจจะไม่ได้แย่ในสายตาของคนอื่นก็ได้นะ เรามาทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานยอดแย่ แย่ชนิดเอกฉันท์ ไม่ค้านสายตากรรมการกันก่อนนะ ว่านอกจากการทำผิดกฎหมาย ทำผิดศีลอย่างร้ายแรง ผิดลูกผิดเมียผิดผัวใคร แล้วยังต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง จึงจะคู่ควรกับรางวัลเพื่อนร่วมงานยอดแย่

ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมายที่คงจะไม่มาสาธยายว่าในแต่ละออฟฟิศต้องเจอเพื่อนร่วมงานเยินๆ ในรูปไหนบ้าง แต่เราจะปล่อยเรื่องนี้ไปได้อย่างไร

ลักษณะของเพื่อนร่วมงานยอดแย่

1. กล้าขอแต่ไม่เคยให้  

ถ้าต้องทำงานกับคนประเภทที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่เห็นแก่ส่วนรวม ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้มากกว่าคนอื่นโดยที่ไม่คิดถึงความถูกต้อง นี่เราไม่ได้พูดถึงแค่คนที่ชอบถามถึงของฝาก แต่ไม่เคยหิ้วอะไรมาฝากนะ ฮ่าๆ มันมีนะ คนที่ชอบขอความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่ไม่เคยให้ความร่วมมือกับใคร จะได้ทุกอย่างแต่ไม่ยอมเสียสักอย่าง แน่นอนว่าเพื่อนร่วมงานแบบนี้ ไม่ใช่คนดีแล้วแหละ

 

2. ซีนอารมณ์

ค่ะ…ถ้าต้องทำงานอยู่ท่ามกลางตัวร้ายอย่าง มาหยารัศมี คุณหญิงเล็ก หรือว่าเรยา คิดดูว่าจะประสาทเสียแค่ไหน ถ้าต้องเจอกับคนที่ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองแล้วละเลงใส่คนอื่น #อย่าเห็นฉันเป็นสนามอารมณ์ คนที่เกรี้ยวกราด พูดคำหยาบ นอกจากจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้แล้ว ยังจัดเป็นเพื่อนร่วมงานที่ไม่ให้เกียรติคนอื่นอีกด้วยนะคะ

 

3. นินทาว่าร้าย

หายนะที่สุดแล้วค่ะ ถ้าต้องทำงานกับคนที่ชอบนินทา ชอบรวมกลุ่มเพื่อวิจารณ์คนอื่น คนพวกนี้จะเหมือนปลวก ใช่ค่ะ #ปลวก ที่คอยกัดกินอยู่ข้างใน ไม่แสดงตัวชัดเจน แต่จะคอยทำลายบรรยากาศดีๆ ทำลายความเป็นทีมเวิร์ก หรือแม้กระทั่งรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ถ้าต้องเจอคนแบบนี้บ่อยๆ คนดีๆ ก็จะค่อยๆ หายไปค่ะ

 

4. ไม่ยอมพัฒนา

เราไม่พูดถึงคนที่ไม่เก่งนะคะ แต่พูดถึงคนไม่เก่งที่ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง ต้องยอมรับค่ะว่าการทำงานกับคนไม่เก่ง แถมมีนิสัยเช่นนี้ เป็นสภาวะที่น่าอึดอัดใจมาก โดยเฉพาะถ้าคนนั้นไม่ยอมรับว่าตัวเองบกพร่อง และที่พังสุดคือคอยหาข้ออ้างเพื่อปกปิดความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งในระยะสั้นอาจจะยังไม่แย่นัก แต่ถ้าต้องทำงานกับคนแบบนี้ไปนานๆ เราจะได้ภาระมากกว่าได้เพื่อนร่วมงานค่ะ

 

และยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมายที่คงจะไม่มาสาธยายว่าในแต่ละออฟฟิศต้องเจอเพื่อนร่วมงานเยินๆ ในรูปไหนบ้าง แต่เราจะปล่อยเรื่องนี้ไปได้อย่างไร ในเมื่อเรามาทำงานเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงก้าวหน้าทางรายได้ ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ หรืออะไรก็ตาม แล้วจะทำอย่างไรเมื่อต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานแย่ๆ

 

จะรับมือกับเพื่อนร่วมงานยอดแย่อย่างไร?

1. พึงเอาชนะความมืดด้วยความสว่าง

ฮ่าๆ แค่เกริ่นมาก็ดูสวยแล้ว แต่มันคือเรื่องจริงนะคะ เมื่อเจอคนที่แย่ๆ อย่าแข่งกันแย่ ถึงแม้มันจะสาแก่ใจในการที่โดนด่ามาก็ด่ากลับ #ไม่โกง แต่นั่นแปลว่าเรากำลังเพิ่มหัวเชื้อความเยินให้เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง แล้วออฟฟิศนี้มันจะตกต่ำไปเรื่อยๆ ค่ะ ><” เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอเพื่อนร่วมงานไม่โอเค นั่นคือการดึงเขาขึ้นมา หรือถ้าดึงไม่ได้ ก็ต้องไม่จมไปกับเขา เราต้องหาคนดีๆ ในออฟฟิศให้เจอ และรวมกลุ่มกันให้มากที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้คนแย่ๆ มีพวกน้อยลงแล้ว การแวดล้อมด้วยคนดีๆ ในที่ทำงาน มันช่วยให้เรามีพลังได้มากขึ้นจริงๆ #เมื่อรู้ว่าอะไรสกปรกก็ไม่ควรเอามือไปแหย่

 

2. เชื่อในกฎแห่งกรรม

ค่ะ ขอให้เชื่อมั่นในผลของการกระทำ (จนกว่ามันจะเชื่อถือไม่ได้แล้วจริงๆ) ออฟฟิศส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีระบบการประเมินผลงานและพฤติกรรมในการทำงาน โดยเพื่อนร่วมงานค่ะ ขอให้ใช้ช่องทางนี้ประเมินให้ยับ ฮ่าๆๆ สิ่งที่จะบอกคือ เราอย่าเพิกเฉยต่อช่องทางในการให้ฟีดแบ็กต่างๆ กับเพื่อนร่วมงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลให้ผู้ใหญ่เอาไปใช้ดำเนินการต่อได้ อย่าคิดลบ อย่าคิดว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ให้คิดว่าเพราะที่ผ่านมาคนดีๆ เพิกเฉยนี่แหละ ที่ทำให้คนไม่ดียังมีที่ยืนในออฟฟิศ แต่ก็ต้องเลือกวิธีที่ดีด้วยนะคะ ไม่ใช่เกลียดแล้วจะใช้อำนาจฆ่าตัดตอน #ความพยาบาทไม่ใช่ของหวานค่ะ

 

3. คิดบวก

ไม่ใช่เข้าไปบวกนะคะ ^^” แต่ให้เติมพลังบวกให้ตัวเองเยอะๆ ค่ะ เพราะถ้าเราเป็นคนคิดลบเราจะเหนื่อย ท้อแท้ หมดพลัง สิ้นหวัง เพราะคนพวกนี้ได้ง่ายมากค่ะ การเติมพลังบวกทั้งจากตัวเราเอง คนรัก เพื่อนนอกออฟฟิศ และครอบครัว จะช่วยให้เรามีแรงทำหน้าที่ของตัวเองได้อีกมาก …อย่างตัวผู้เขียนเองโดยส่วนตัวจะไม่เอาปัญหาในที่ทำงานไปเล่าให้คนนอกออฟฟิศฟังมากนัก ยกเว้นการขอคำปรึกษาที่เราตั้งใจจะได้รับคำปรึกษาจริงๆ เพราะเชื่อว่าการเล่าเรื่องไม่ดีในที่ทำงานให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องฟัง นอกจากจะทำให้เราวนๆ อยู่กับเรื่องแย่ๆ แล้ว ยังเป็นการเอาเรื่องไม่ดีไปใส่หัวคนอื่นอีก เพราะฉะนั้นอย่าเอาเรื่องลบๆ ไปรบกวนแหล่งพลังงานบวกในชีวิตของเราค่ะ

 

4. น้ำใจ ยิ่งให้ยิ่งได้

เมื่อมีโอกาส ให้ทำให้เขาเก่งขึ้น ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำตัวเองเป็นตัวอย่างที่ดี หรือการให้คำแนะนำ หรือการกระตุ้นจูงใจด้วยสิ่งที่คนเหล่านั้นสนใจ ขอให้ทำด้วยเจตนาที่ดี ด้วยวิธีที่ดี ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญนะคะ แนวทางนี้เป็นการแก้ปัญหาได้แบบยั่งยืนที่สุด แต่ก็ยากที่สุดเช่นกัน เพราะถ้าคนแย่ๆ เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงอะไรได้ง่ายๆ  เขาคงไม่กลายเป็นคนแบบนี้ในปัจจุบัน แต่ก็นั่นแหละค่ะ อย่าสิ้นหวังในการทำสิ่งดีๆ อย่าคิดว่าไม่ใช่ธุระหรือความรับผิดชอบของเรา เพราะไม่ว่าอย่างไรเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีก็จะส่งผลกระทบกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ดังนั้นถ้าทำได้ ขอให้ช่วยเหลือเขาให้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีขึ้นให้ได้ค่ะ

 

5. ทำตัวเองให้ดี

อย่าว่าแต่เขาแล้วเราเป็นเองนะ สิ่งที่จะบอกคือ อย่าไปอินกับเพื่อนร่วมงานแย่ๆ ให้มากนัก ถ้ามีเวลาอยู่จำกัด ให้เอาไปทำเรื่องที่ดีกับตัวเองให้มากที่สุด ใช่ค่ะ การพยายามช่วยเหลือเพื่อเปลี่ยนแปลงคนแย่ๆ ให้กลายเป็นดีนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่ถ้าหาก #สุดมือสอยก็ต้องปล่อยไป นะคะ เราช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่เมื่อสุดกำลังแล้ว ให้เก็บเอาพลังไปใช้ในการทำงานเพื่อให้ตัวเองไปถึงเป้าหมายของเราให้ได้ เพราะเมื่อเราเก่งและดีจนเป็นที่ยอมรับ ขอให้มั่นใจเถอะค่ะว่า เมื่อมีอำนาจ เราจะจัดการอะไรได้ง่ายขึ้นค่ะ #ถ้าไม่เชื่อให้ถามลุงในทีวีดูซิคะ #อุ๊ย

 

6. บัยยยยยส์

ที่สุดของที่สุดก็คงต้องแยกทางกันค่ะ เพราะเมื่อเราได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถมองเห็นความคุ้มค่าของการต้องเอาตัวเองไปอยู่ในสังคมแบบนั้น การลาออกก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีนะคะ การลาออกที่ดี คือการเลือกเพื่อไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน การลาออกที่ดีต้องไม่ใช่การหนีปัญหาเดิมจากที่เดิมเพื่อไปเจอปัญหาเดิมในที่ใหม่ การลาออกที่ดีต้องเป็นการลาออกที่ไม่ทำร้ายตัวเองและคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นก่อนจะลาออก ขอให้เรามั่นใจว่าเราได้รับผิดชอบและทำหน้าที่เพื่อนร่วมงานที่ดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้คือ ความผิดพลาดเป็นดาบสองคม นั่นคือนอกจากความผิดพลาดจะเป็นบทเรียนที่ดีแล้ว ความผิดพลาดยังเป็นตัวหลอกที่บอกเราว่า ก็ไม่เห็นเป็นไร ทำอะไรไม่ดีก็ไม่เห็นจะตาย #อย่าเคยชินกับการทำสิ่งไม่ดี

 

อยากบอกกับทุกคนว่า ไม่ใช่แค่คนอื่นที่จะมีผลต่อเรา ตัวเราเองก็มีผลกับคนอื่นเช่นกัน การเป็นส่วนผสมที่ดีที่ใครๆ ก็อยากเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ย่อมเป็นผลดีกับเรามากกว่าการเป็นส่วนผสมบูดเน่าที่เข้ากับใครก็ไม่ได้ เก่งงานอย่างเดียวไม่พอ เราต้องเก่งคนด้วย หลายครั้งที่เราเห็นคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพราะแค่ทำงานเก่ง แต่เพราะสามารถทำให้คนเก่งๆ มาทำงานให้เขาได้ #ความดีมีอำนาจในตัวเอง

 

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า ระฆังดี ไม่ตีก็ดัง คนจะดี ต้องไม่ตีระฆังเล่น

 

#รักนะคะ

#เจ้าหญิงแห่งวงการ HR

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

The post ลักษณะของเพื่อนร่วมงานยอดแย่ประจำออฟฟิศ พร้อมวิธีรับมือ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/office-life-negative-types-co-workers/feed/ 0
เผยเคล็ดผักชีดี๊ดีรับการประเมิน พร้อมตอบตัวเองให้ได้ ปีนี้คุณเป็นพนักงานที่ดีพอแล้วหรือยัง https://thestandard.co/assess-yourself-are-you-a-good-employee-this-year/ https://thestandard.co/assess-yourself-are-you-a-good-employee-this-year/#respond Tue, 26 Dec 2017 08:15:28 +0000 https://thestandard.co/?p=58223

และแล้วช่วงสิ้นปีก็เดินทางมาถึงกันอีกแล้ว และสำหรับชาวอ […]

The post เผยเคล็ดผักชีดี๊ดีรับการประเมิน พร้อมตอบตัวเองให้ได้ ปีนี้คุณเป็นพนักงานที่ดีพอแล้วหรือยัง appeared first on THE STANDARD.

]]>

และแล้วช่วงสิ้นปีก็เดินทางมาถึงกันอีกแล้ว และสำหรับชาวออฟฟิศอย่างเราๆ ก็ช่างเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความน่ายินดี และน่ากังวลใช่ไหมล่ะคะ นั่นก็เพราะแต่ละปีที่ผ่านเลยไป เราจะได้ใช้เป็นโอกาสในการบอกกับตัวเองว่าจะเริ่มต้นทำอะไรเพื่อให้ชีวิตของตัวเองดีขึ้นกัน #วนไปค่ะ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายนะคะ เพราะใครๆ เขาก็เอาความตั้งใจที่เคยพูดไว้มา Reuse ใหม่

 

เคยคิดไหมคะว่าทำไมเราจึงทำบางเรื่องได้ไม่สำเร็จ ทั้งๆ ที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า หรืออาจจะเพราะเราไม่ตั้งใจจริง… ดิฉันหมายถึงไม่ตั้งใจในการกำหนดเป้าหมาย หรือไม่ตั้งใจในการทำให้สำเร็จ เพราะเชื่อว่าคนที่ทำตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จนั้นจะไม่ใช่คนที่ต้องมานั่งทบทวนตัวเองตอนสิ้นปีซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่จะเป็นคนที่ยึดมั่นและโฟกัสกับผลที่จะเกิดขึ้นมาตลอดปีมากกว่า

 

เราลองมาคิดกันดูเล่นๆ ไหมคะว่า ปี 2017 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป ในฐานะพนักงานออฟฟิศนั้นเราจะให้ตัวเองได้เกรดอะไร

 

ปัจจัยที่ควรเอามาพิจาณาก็ควรเป็นเรื่องเหล่านี้

 

1. ชิ้นมาสเตอร์พีซ

หลับตานึกดูนะคะว่าปีนี้เรามีผลงานอะไรที่เป็นความภาคภูมิใจของตัวเองบ้าง ผลงานที่บอกได้ว่าเราคือส่วนสำคัญในการทำให้สำเร็จ และเป็นผลงานที่ส่งผลที่ดีต่อคนอื่นๆ ผลงานที่ท้าทายความสามารถของเรา ผลงานที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้ตัวเรา ในแต่ละปีเราควรมีผลงานชิ้นโบแดงประดับไว้นะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นบันไดที่ดีมากๆ สำหรับการยกระดับเราให้สูงขึ้น อายุงานแต่ละปีที่ผ่านไปไม่ใช่แค่จะบอกว่าเราแก่ขึ้นนะคะ แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะกำหนดอนาคตของเราด้วยค่ะ

 

2. ทำงานบางอย่างได้ดีขึ้น

ไม่ใช่แค่เก่งขึ้นนะคะ แต่ต้องเชี่ยวชาญมากขึ้นด้วย ในแต่ละปีที่ผ่านไปเราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าเราทำอะไรได้ดีขึ้น #ในทางที่ดีเนอะ เพราะทักษะเกิดจากการทำเรื่องเดิมซ้ำๆ จนเกิดเป็นความชำนาญ ชำนาญแปลว่าทำได้เร็วขึ้น ผิดพลาดน้อยลง หรือได้ผลมากขึ้นในเวลาที่เท่าเดิม ไม่ว่าจะเข้าฝึกอบรม อ่านหนังสือ หรือพูดคุยกับคนเก่งๆ แต่ถ้าคุณไม่ได้เอาความรู้นั้นมาใช้เพื่อให้คุณทำอะไรได้ดีขึ้น มันก็เป็นแค่ทฤษฎีที่อยู่ในหัวคุณ คนที่ตอบตัวเองได้ว่ามีอย่างน้อย 1 อย่างในการทำงานที่ทำได้ดีขึ้น ก็ถือได้ว่าปีนี้เป็นปีที่น่าพอใจเลยทีเดียวค่ะ

 

3. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

365 วันที่ไม่มีเรื่องกับใคร ทำได้หรือเปล่าคะ บทพิสูจน์ว่าเราก้าวผ่านแต่ละปีไปได้อย่างสวยงาม คือนอกจากจะไม่สร้างศัตรูเพิ่มแล้ว ก็ควรที่จะเพิ่มมิตรภาพในออฟฟิศให้มากขึ้นอีกด้วย #เหตุผลที่คนควรอยู่ด้วยกัน เพราะทีมเวิร์กนั้นมีพลังในการสร้างสรรค์สิ่งยิ่งใหญ่ได้ดีกว่า คนที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี จะเป็นที่รักและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่เกรี้ยวกราด อย่าใช้ข้ออ้างว่าวีนเพื่อให้เกิดผลงานนะคะ เพราะคนที่ Cool กว่าคือคนที่สามารถทำให้ทุกคนให้ความร่วมมือได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจค่ะ

 

4. ช่วยให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น

เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ท้าทายและสนุกมากเลยนะคะ ที่นอกจากเราจะทำงานเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังจะทำให้คนรอบข้างเราดีขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้เพื่อนร่วมงาน การสนับสนุนให้ผลงานของทีมสำเร็จตามเป้าหมาย หรือการแบ่งปันรายได้และโอกาสให้กับคนรอบข้าง #ก้าวคนละก้าว #ฝากร้านพี่ตูนนิด ใช่ค่ะ พี่ตูนเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ในการเป็นคนที่พยายามเพื่อทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จ และแบ่งปันความสำเร็จของตนเองให้กับคนอื่นๆ ด้วย เราอาจจะไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่ขอให้เริ่มต้นคิดว่า เราจะใช้ชีวิตในแต่ละปีเพื่อตัวเองและคนอื่นได้อย่างไรบ้าง

 

แต่ถ้าปีนี้ไม่ทันแล้ว จะทำอย่างไรให้ช่วงเวลาที่เหลืออีกไม่กี่วัน ทำชีวิตทั้งปีของเราพัง แบบว่าเดินเกมผิด ชีวิตก็อาจจะเปลี่ยนได้เลยนะคะ #ไม่พังในโค้งสุดท้ายนะคะ อย่าเพิ่งท้อว่าการทำตัวดีช่วงปลายปีจะช่วยไม่ได้ #กลั้นใจไว้จนกว่าโบนัสจะออกนะคะ และมาดูกันดีกว่าค่ะว่าโค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ สิ่งที่ควรทำมีอะไรบ้าง

ช่วงปลายปีนี่พีกสุดๆ ไหนจะโดนเร่งเป้า ทำงบประมาณ วางแผนปีหน้า ไหนจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เป็นบ้ากันค่อนออฟฟิศ แต่เราต้องยิ่งควบคุมสติอารมณ์ตัวเองให้ดี

สิ่งที่ควรทำในช่วงสิ้นปีเพื่อให้พร้อมรับการประเมิน

 

1. ใช้เวลาให้คุ้มค่า

หลังจากที่ใช้ฟุ่มเฟือยเวลามาสิบเดือน (โอ๋ๆ ล้อเล่นนะคะ) บางคนอาจจะงานเยอะเสียจนไม่สามารถจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก บวกกับความท้อแท้ที่มีต่อปริมาณงาน ทำให้ช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถบริหารเวลาได้ดีเท่าที่ควร การเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เจ้านายเห็นพัฒนาการของเราได้ชัดเจนคือ การมาทำงานให้เร็วขึ้น กลับบ้านให้ช้าลงสักหน่อย คือมาถึงจุดนี้ต้องเข้าใจนะคะว่าเรื่องของภาพที่คนมองเห็นก็ยังมีผลต่อการตัดสินใจ

 

2. ระงับสติอารมณ์

เข้าใจว่าเป็นงาน #ยากในยาก สำหรับบางคน เพราะช่วงปลายปีนี่พีกสุดๆ ไหนจะโดนเร่งเป้า ทำงบประมาณ วางแผนปีหน้า ไหนจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เป็นบ้ากันค่อนออฟฟิศ แต่เราต้องยิ่งควบคุมสติอารมณ์ตัวเองให้ดี ต้องงดความขัดแย้งกับคนอื่นให้ได้มากที่สุด เนื่องจากข้อพิพาทในช่วงนี้จะดุเดือดไปสักพัก และมักจะคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่หัวหน้ากำลังนึกว่าจะประเมินพฤติกรรมเราว่าอย่างไรดี

 

3. อย่าวู่วาม

การตัดสินใจอะไรในช่วงนี้ต้องคิดดีๆ ต้องแสดงออกถึงความเป็นคนมีเหตุผล #มั่นคงทางอารมณ์ เพราะการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรในช่วงปลายปี อาจจะส่งผลต่อไปในอนาคตได้ เช่น ได้รับมอบหมายภารกิจอะไรที่นอกเหนือจากงานที่ทำอยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่งตัดสินใจปฏิเสธ ให้คิดด้วยเหตุผลให้รอบคอบก่อนว่าคุ้มค่าไหม หมายถึงคุ้มค่ากับอนาคตด้วยนะ แอบกระซิบว่าหลายๆ บริษัทมักจะมีโบนัสพิเศษที่ให้พิเศษสำหรับบางคนด้วย เราควรได้รับสิ่งนั้นสิคะ

 

4. ช่วยทุกคน

ร่างทรงแม่ชีเทเรซา ช่วงเวลานี้ใครขออะไรก็ให้ไปก่อนเลยค่ะ นี่อย่าเรียกว่าปลูกสตรอว์เบอร์รี แค่ปลูกผักชีก็พอ เอาจริงๆ เครื่องมือยอดฮิตในการประเมินผลงานในปัจจุบันนี้คือการให้เพื่อนร่วมงานมาประเมินเราด้วย ซึ่งก็นั่นแหละ ถ้าเคยทำตัวไม่ดีไว้แล้วยังไม่เล่นใหญ่รัชดาลัยเป็นคนมีน้ำใจในตอนนี้อีกก็ท่าจะรอดยากแล้วนะคะ

 

5. เนียนๆ ไว้

อย่าเผลอให้ใครรู้ว่าจะลาออกนะคะ ถ้าเราไม่ได้เป็นตัวจี๊ดที่ทำผลงานเก่งกาจระดับแถวหน้า อาจจะมีผลต่อโบนัสก็เป็นได้ แบบหัวหน้าบางคนคิดว่า ไหนๆ มันก็จะไม่อยู่แล้ว เอาเงินส่วนนี้มากระจายให้คนที่ยังอยู่ต่อดีกว่า แบบว่าอยู่ๆ โควตาเกรดต่ำสุดก็มาลงเสียอย่างนั้น #เงิบนะคะบอกเลย

 

จริงๆ ก็อยากแนะนำอีกหลายเรื่อง แต่ดูจะไม่เหมาะเนอะ ถ้าเราจะเน้นทางปลูกผักชีเสียจนเกินไป เพราะอย่างไรเสีย #สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และ #มนุษย์ออฟฟิศก็เช่นกัน ที่เล่าให้ฟังนี่ก็เป็นผักชีขั้วบวกเนอะ ทำแล้วยังไงก็เป็นเรื่องดี แต่จะดีมากถ้าเราทำดีแบบนี้อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัย รับรองว่าไม่ต้องมาลำบากทำคะแนนในช่วงท้ายๆ เพราะ #มันเหนื่อย

 

#รักนะคะ

#เจ้าหญิงแห่งวงการHR

The post เผยเคล็ดผักชีดี๊ดีรับการประเมิน พร้อมตอบตัวเองให้ได้ ปีนี้คุณเป็นพนักงานที่ดีพอแล้วหรือยัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/assess-yourself-are-you-a-good-employee-this-year/feed/ 0
Office Life: มาเฟียออฟฟิศ เรื่องใหญ่ในที่ทำงานที่คนทำงานต้องใส่ใจ https://thestandard.co/office-life-mafia/ https://thestandard.co/office-life-mafia/#respond Mon, 18 Dec 2017 09:41:01 +0000 https://thestandard.co/?p=55947

เพราะออฟฟิศคือสังคมที่เราต้องใช้เวลาต่อวันนานกว่าสังคมอ […]

The post Office Life: มาเฟียออฟฟิศ เรื่องใหญ่ในที่ทำงานที่คนทำงานต้องใส่ใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เพราะออฟฟิศคือสังคมที่เราต้องใช้เวลาต่อวันนานกว่าสังคมอื่นๆ ฉะนั้นพฤติกรรมต่างๆ ของคนภายในออฟฟิศจึงส่งผลต่อเราไม่มากก็น้อย และเช่นเดียวกันที่ทุกคนก็ย่อมจะได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของคนอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ไม่ว่าในสังคมไหนๆ ก็ต้องมีใครบางคนหรือบางกลุ่มรับบทผู้นำ ซึ่งอาจจะมาจากการได้รับการสถาปนา หรือไม่ก็ ‘สถาปนาตัวเอง’ ขึ้นมา


แบบแรกที่ได้รับการสถาปนานี้ ถึงแม้จะมีหลักเกณฑ์หรือแนวทางอย่างเป็นทางการมากมาย แต่ในหลายๆ องค์กรก็ยังต้องเผชิญกับผู้บริหารบางคนที่ไม่สามารถทำหน้าที่ของผู้นำได้ดี นี่ไม่ต้องคิดว่าถ้าในออฟฟิศนั้นยังเต็มไปด้วยผู้นำกลุ่มในแบบที่ สอง คือแบบที่สถาปนาตัวเองขึ้นมา มันจะน่าสยดสยองสักแค่ไหนหากเราต้องไปใช้ชีวิตในออฟฟิศแบบนั้น

 

จากทั้งประสบการณ์ตรงและที่มีคนมาปรึกษา พบว่าเกือบทุกที่จะมีมาเฟียออฟฟิศ หลับตาสิคะ แล้วนึกหน้าคนแบบนั้น นึกค่ะ ถ้าออฟฟิศไหนไม่มีมาเฟีย ออฟฟิศนั้นช่างน่าอิจฉายิ่งนัก แต่ค่อนข้างมั่นใจว่าใครๆ ก็ต้องมีประสบการณ์เจอมาเฟียในที่ทำงานมาก่อนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นได้ทั้งผู้ชาย-ผู้หญิง อายุมาก-อายุน้อย ทำงานมานานหรือมาใหม่

 

และจากการเฝ้าสังเกตคนกลุ่มนี้มาเป็นระยะเวลานานพอสมควรก็พอจะสรุปได้ว่า มาเฟียเหล่านั้นมีเส้นทางในการขึ้นเถลิงอำนาจเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ในออฟฟิศได้อย่างไรบ้าง

 

1. พี่อยู่มาทุกยุค

อันนี้คลาสสิกที่สุด ประเภทที่คิดว่าอยู่มาก่อนก็ต้องรู้อะไรมากกว่า (ซึ่งเรื่องที่รู้มักจะเป็นเรื่องส่วนตัวของคนอื่นมากกว่าเรื่องที่เป็นประโยชน์กับการทำงาน) มักคอยขัดแข้งขัดขาคนที่มาใหม่ ใครกำลังจะได้ดีหรือมีโอกาสเรียนรู้อะไรได้มากขึ้น คนพวกนี้เป็นต้องรีบสกัดดาวรุ่ง ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากชนิดที่ว่าจะถามอะไรสักหน่อยก็แทบจะต้องร่างเป็นจดหมายขออนุญาตกันเลยทีเดียว หรือแม้กระทั่งบางคนที่อาจจะมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานดี แต่ไม่มีจิตสำนึกถึงส่วนรวม

คนพวกนี้มักจะคอยทำหน้าที่จับผิดแทนที่จะสอนคนใหม่ว่าควรทำงานอย่างไร เพราะในใจจะคิดว่าถ้าตัวเองทำงานนั้นได้ ใครๆ ก็ควรจะทำได้ โดยลืมนึกไปว่ากว่าจะมีวันนี้ ตัวเองต้องผ่านการเรียนรู้อะไรมาบ้าง หรือบางคนจะคิดว่าตอนนางเข้ามาทำงานก็ไม่มีใครสอนยังรอดมาได้ เพราะฉะนั้นคนใหม่ ถ้าเก่งจริงก็ต้องทำงานได้เองสิ ถ้าคนใหม่ทำไม่ได้ก็จะโดนคนพวกนี้ดูถูก และแม้ว่าจะทำได้ก็จะโดนหมั่นไส้อยู่ดี #พวกผีไดโนเสาร์

 

2. หัวหน้าไม่ทำหน้าที่

หัวหน้าใจดีนี่ก็จะเป็นที่รักและเข้าใจ แต่ถ้าใจดีจนละเลยหน้าที่ในการตัดสินผิดถูกด้วยเหตุผลบ่อยๆ ก็จะทำให้บางคนเกิดความมั่นใจในการจะเป็นคนร้ายๆ ในที่ทำงานเพื่อความสะใจหรือเพื่อให้ได้ใช้อำนาจเกินขอบเขต นี่ยังไม่นับรวมประเภทที่ว่าหัวหน้าให้ท้ายอีกนะ คิดดูสิว่าจะเป็นมหันตภัยระดับไหน นึกภาพพวกแม่นมตัวร้ายในละคร แบบนั้นเลยจ้า

 

3. เด็กเส้น

จะเส้นเล็กเส้นใหญ่ ถ้าหลุดเข้ามาเมื่อไรก็ถือเป็นทางลัดขึ้นสู่ตำแหน่งมาเฟียได้ทันที เพราะบางคนก็มักจะคิดว่าถึงอย่างไรก็จะมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุน ทำให้การโต้แย้งกันกับคนพวกนี้มักจะไม่จบลงตรงที่เหตุผล แต่จะเป็นการตัดสินใจแบบฟันธงของผู้ใหญ่ในแบบที่งงกันไปทั้งออฟฟิศก็เป็นไปได้ ก็เราคุ้นเคยกับระบบอุปถัมภ์มาเนิ่นนานล้านปีขนาดนี้ คงไม่แปลกใจที่คนเส้นใหญ่มักจะไปได้ไกลแม้จะไม่ขยับขาเดิน นี่ก็เป็นหนึ่งเหตุผลที่คนเก่งๆ มักจะลาออกไป เพราะไม่มีใครอยากอยู่ในการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม

 

4. กิ๊ก

ทันทีที่มีเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องแบบลึกซึ้ง บางคนก็จะได้อำนาจพิเศษติดตัวไปด้วย อาจจะเป็นการได้รับสิทธิพิเศษ หรือการได้รับการคุ้มครองแบบที่ทำอะไรก็ไม่ผิด หรือผิดยังไงก็ไม่โดนวีน ในขณะที่บางคนแค่ผมร่วงลงบนพื้นก็โดนด่าว่าเป็นต้นเหตุของอาการภูมิแพ้ของเพื่อนร่วมงานแล้ว ไต่เต้าหรือจะสู้เต้าไต่ แต่สมัยนี้ไม่ได้มีแค่เต้าไต่นะคะ กล้วยไต่ก็ไม่ใช่น้อย…อุ๊ปส์

 

5. ลูกรัก

บางคนอาจจะทำงานได้เสียดีจนเป็นที่พึงพอใจของผู้บริหารระดับสูง แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ก็จะเป็นคนเก่งที่ไม่มีใครรัก เป็นคนที่มีอำนาจจากการทำงานได้ดี แต่ไม่มีบารมีให้คนนับถือด้วยใจ จึงต้องทวีระดับการใช้อำนาจขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถควบคุมทุกคนเอาไว้ให้ได้นานๆ ภาวะผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ไม่ใช่ว่าจะต้องรอเป็นหัวหน้าหรอกนะจึงจะเรียนรู้เรื่องนี้ได้ ในบางครั้ง บางคนอาจจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายเนื่องจากมีผลงานที่ดี แต่ถ้าไม่มีศิลปะในการสื่อสารหรือการทำงานร่วมกับคนอื่นก็จะกลายเป็นคนเก่งที่ไม่สามารถสั่งการใครได้ แน่นอนว่าบางคนอาจจะเลือกใช้อำนาจจากการเป็นลูกรักเพื่อบังคับให้คนอื่นทำตามในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดี

 

6. จ่าฝูง

หัวหน้าแก๊งเมาท์ผู้ซึ่งรวบรวมกำลังคนจากการเป็นศูนย์ข้อมูลในการนินทาคนอื่นไว้จะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในหมู่คนที่ชอบพูดถึงคนอื่นลับหลังด้วยกัน เพราะนอกจากอำนาจจะมาจากการกล้าทำเรื่องไม่ดีแล้ว ยังทำให้คนที่กลัวการถูกนินทาต้องยอมอ่อนข้อให้คนพวกนี้ด้วย คนกลุ่มนี้เป็นตัวบ่อนทำลายความสามัคคีในองค์กรอย่างมาก สิ่งที่ทุกออฟฟิศควรทำคืออย่าปล่อยให้การนินทาเป็นเรื่องปกติที่คิดว่าคนถูกนินทาต้องทำใจและปล่อยผ่าน เพราะการนินทาเป็นการสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรว่าไม่มีช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นรูปธรรม หรือสะท้อนว่าผู้บริหารไม่รับฟังปัญหาของพนักงาน การไม่มีระบบการบริหารผลงานและค่าตอบแทนที่ดี หรือแม้กระทั่งระบบการกระจายงานที่ไม่ดี ทำให้มีคนว่างงานได้ขนาดนี

 

7. ว่าง

ใช่ค่ะ มันจะมีคนบางคนที่ดูว่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ว่างจนเรารู้สึกสงสัยว่าจำเป็นต้องมีคนคนนี้ในออฟฟิศจริงๆ หรือ คนที่ว่างมากมักมีเวลาเหลือพอที่จะสนใจเรื่องจุกจิกเล็กน้อยไปเสียทุกเรื่อง และแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ จึงทำให้บางคนเอามาเป็นจุดแข็งในการคอยจับผิดคนอื่นไปทั่ว ยิ่งถ้าเจ้านายสนับสนุนว่าการจับผิดเป็นเรื่องดี องค์กรแบบนี้จะเต็มไปด้วยคนขี้อิจฉาและจะมีปัญหาในการปรับปรุงพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เนื่องจากใครๆ ก็จะแข่งกันขุดคุ้ยปัญหามากกว่านำเสนอแนวทางแก้ไข หรือบางทีคนที่คอยเสนอสิ่งใหม่ๆ ก็จะท้อต่อพลังการจับผิดของคนพวกนี้ไปเสียเอง

 

มั่นใจมากค่ะว่าถ้ามีมาเฟียเกิดขึ้นแล้วนั้น ความสุขในการทำงานของคนทั่วไปจะลดลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะทุกครั้งที่ต้องทำงานกับคนเหล่านี้มักจะเต็มไปด้วยเรื่องบ้าบอเกินกว่าจะคาดคิดได้ ซึ่งโคตรจะบั่นทอนพลังในการทำงานเลยค่ะ

 

สิ่งที่องค์กรสมควรต้องทำคือการป้องกันไม่ให้เกิดมาเฟียขึ้น หรือถ้ามีแล้วก็ต้องรีบตัดตอนไม่ให้แผ่ขยายเครือข่ายออกไป ที่สำคัญคือผู้บริหารต้องไม่เป็นผู้ฟูมฟักมาเฟียเหล่านั้นเสียเอง เพราะสาเหตุที่มาเฟียส่วนใหญ่ยังคงมีอิทธิพลอยู่ได้ เพราะได้รับการสนับสนุนจากคนที่มีอำนาจระดับสูง

 

องค์กรที่ดีจำเป็นต้องมีระบบในการบริหารผลงานและแนวทางการบริหารองค์กรที่เป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการตัดสินด้วยอารมณ์และความพึงพอใจ วัฒนธรรมการพึ่งพาอาศัยและการเอาอกเอาใจแบบคนไทยไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ต้องให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม การทำงานแบบมืออาชีพคือการมีจรรยาบรรณในอาชีพ เราทุกคนโตพอที่จะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกและผิด อย่าให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ก็จะเป็นการฆ่าตัดตอนมาเฟียไปได้ค่ะ

 

ในส่วนของตัวพวกเราเองที่นอกจากจะต้องไม่ทำตัวเองเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่แล้ว ถ้าหากต้องทำงานกับคนเหล่านี้ ให้คิดไว้เสมอว่า #อย่าไปไฝว้ เพราะเสียทั้งเวลาและเสียพลังงานเปล่าๆ ค่ะ คนพวกนั้นไม่มีอะไรจะเสีย และพร้อมที่จะดึงด้านมืดของทุกคนออกมาเพื่อทำให้ใครๆ ก็มองว่าคนไม่ดีมีเยอะแยะ ไม่ใช่แค่พวกเขา เพราะฉะนั้นถ้าต้องทำงานเกี่ยวข้องกันก็ควรเน้นแต่เนื้อหา ไม่เอาอารมณ์ไปเกี่ยวข้อง ทำงานแบบมีหลักฐาน ยึดกระบวนการที่ถูกต้อง และต้องมีพยานเสมอ

 

จำไว้ว่าเป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนดีด้วยนะคะ

 

#รักนะคะ

#เจ้าหญิงแห่งวงการHR

 

ภาพประกอบ: Nisakorn R.

The post Office Life: มาเฟียออฟฟิศ เรื่องใหญ่ในที่ทำงานที่คนทำงานต้องใส่ใจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/office-life-mafia/feed/ 0
Office Life : น่าเสียดายถ้า HR ไม่ได้บอก มนุษย์ทำงานที่รัก คุณรู้เรื่อง 14 ข้อต่อไปนี้แล้วหรือยัง? https://thestandard.co/14-things-recruiters-wont-tell-you/ https://thestandard.co/14-things-recruiters-wont-tell-you/#respond Sun, 12 Nov 2017 17:00:22 +0000 https://thestandard.co/?p=43518

     ในบางบทบาทที่ HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุ […]

The post Office Life : น่าเสียดายถ้า HR ไม่ได้บอก มนุษย์ทำงานที่รัก คุณรู้เรื่อง 14 ข้อต่อไปนี้แล้วหรือยัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ในบางบทบาทที่ HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลถูกมอบหมายให้อยู่ในฐานะตัวแทนของบริษัท จึงเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ต้องสื่อสารกับพนักงานในหลายๆ เรื่อง

     ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเสียดายถ้า HR ไม่ได้บอกบางเรื่องให้กับเราได้รู้ และต่อไปนี้คือ 14 ข้อควรรู้ ทั้งสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มมองหางาน ไปจนถึงพนักงานรุ่นเก๋าที่อยู่มาตั้งนาน แต่หารู้ไม่ว่าตัวเองมีสิทธิ์อย่างไรบ้าง

      1. Resume ที่น่าสนใจคือเรซูเม่ที่ให้ข้อมูลว่าสามารถทำงานอะไรได้บ้าง และต้องการเงินเดือนเท่าไร คนเป็น HR จะอึดอัดมาก ที่เจอเรซูเม่ที่ไม่ระบุว่าต้องการเงินเดือนเท่าไร ถ้าเขียนมาให้ครบ HR จะตัดสินใจง่ายในการส่งต่อ ส่วนใบสมัครที่จะถูกปัดตกเป็นกลุ่มแรกๆ คือคนที่สะกดผิดเยอะๆ โดยเฉพาะชื่อมหาวิทยาลัยของตัวเอง ซึ่งก็มีไม่น้อยเลย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ คนที่ไม่รู้ว่าการเขียนอีเมลเชิงธุรกิจด้วยภาษาสุภาพเป็นอย่างไร แนะนำให้ใช้บริการส่งใบสมัครทางเว็บไซต์สมัครงานจะดีกว่าส่งอีเมลตรงหาบริษัท

      2. ช่วงเวลาที่มีคนลาออกมากที่สุดคือเดือนมกราคม (หลังจากได้โบนัส) และกรกฎาคม (ไปเริ่มงานที่ใหม่เพื่อจะได้ผ่านทดลองงานก่อนสิ้นปี) ถ้าต้องการจะหางานใหม่ ให้หาในช่วงนั้น จะมีตำแหน่งงานว่างเยอะกว่าปกติ แต่ในปัจจุบันก็มีหลายบริษัทที่ปรับช่วงเวลาการจ่ายโบนัสออกไป แต่ก็ยังจะอยู่ในไตรมาสแรกเป็นส่วนใหญ่ ช่วงนั้นจึงเป็นโอกาสทองในการหางานใหม่นะ

      3. ปัจจุบันเว็บไซต์ต่างๆ ที่รับสมัครงานมีฟังก์ชันให้บริษัทบันทึกประวัติว่าผู้สมัครคนไหนที่นัดสัมภาษณ์แล้วเบี้ยวนัด ซึ่งจะแสดงให้บริษัทอื่นๆ ได้เห็นด้วย

      4. HR มีวิธีการสืบประวัติผู้สมัครหลายช่องทาง เช่น โทรไปถามที่ทำงานเก่า สืบค้นชื่อจากในอินเทอร์เน็ต หรือเปิดดูในเฟซบุ๊ก บางคนที่เคยโพสต์ด่าเจ้านาย ด่าบริษัท หรือโพสต์อะไรแย่ๆ แรงๆ แล้วเปิดเป็น public อาจจะมีสิทธิ์พลาดโอกาสในการทำงานได้นะ อย่าหาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ พี่ก็เคยใช้วิธีนี้ และเพื่อนๆ ในวงการของพี่ก็ทำกันเป็นเรื่องปกติ…ขอแค่ไม่มือลั่นไปกด Like ยังไงน้องๆ ก็ไม่รู้ตัวหรอก

      5. ถ้าผ่านสัมภาษณ์แล้ว HR โทรมาต่อรองเงินเดือน แต่มันต่ำกว่าอัตราที่เราคิดว่าอยากได้ อย่าลดจนไม่สบายใจ เพราะตอนที่เลือกใบสมัครและสัมภาษณ์จบแล้ว นั่นแสดงว่าอัตราที่เราขอไปเป็นอัตราที่บริษัทพิจารณาแล้ว ที่สำคัญคือถ้าเราประเมินรายได้ที่เราควรจะต้องได้รับแล้วได้น้อยกว่านั้น เราจะไม่รู้สึกเต็มร้อยกับงานนั้น อย่าให้ต้องเสียเวลากันทั้ง 2 ฝ่ายเลย

สิ่งที่ทุกคนต้องสนใจคือข้อบังคับในการทำงานที่ทุกบริษัทต้องมี ถ้าไม่มีไปถามหาจาก HR ได้เลย เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรา #จำเป็นมาก เพราะในนั้นจะต้องประกอบไปด้วยกฎระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิ์ต่างๆ ที่พนักงานควรจะต้องทราบ เพราะมีลูกจ้างจำนวนมากที่ถูกนายจ้างเอาเปรียบด้วยการทำให้รู้ไม่หมด

      6. ถ้านายจ้างตกลงจ้างแล้วยกเลิกการจ้าง เราสามารถฟ้องร้องทางแพ่งได้นะ ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาหรือไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร

      7. วันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือที่เรียกว่าวันพักร้อน เป็นสิทธิ์ของพนักงาน นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พวกเราทราบล่วงหน้าหรือกำหนดร่วมกัน แต่ถ้าบริษัทฯ ไม่มีประกาศ หรือข้อตกลงว่าพนักงานสามารถลาพักร้อนได้เมื่อไหร่บ้าง ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่พนักงานจะใช้วันพักร้อนได้ตามอิสระ ซึ่งถ้าไม่มีการตกลงเลื่อนสมทบวันพักร้อนที่ใช้ไม่หมดไปปีถัดไป พวกเราสามารถรับคืนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างต่อวันแทนได้ ในกรณีที่ขอใช้วันพักร้อนไปแล้วหัวหน้าไม่อนุมัติให้หยุด

     8. สิ่งที่ทุกคนต้องสนใจคือข้อบังคับในการทำงานที่ทุกบริษัทต้องมี ถ้าไม่มีไปถามหาจาก HR ได้เลย และต้องอ่านด้วยนะ เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเรา #จำเป็นมาก ต้องถามว่าเก็บไว้ที่ไหน สามารถเข้าไปอ่านได้อย่างไร เพราะในนั้นจะต้องประกอบไปด้วยกฎระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิ์ต่างๆ ที่พนักงานควรจะต้องทราบ เพราะมีลูกจ้างจำนวนมากที่ถูกนายจ้างเอาเปรียบด้วยการทำให้รู้ไม่หมด

      9. ไม่มีการทดลองงาน การเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน หมายความว่า การระบุเรื่องทดลองงานมีผลกับเราว่านายจ้างต้องตัดสินใจก่อนที่จะครบ 120 วัน ถ้าเลยจากนั้น การมาบอกว่าเราไม่ผ่านทดลองงาน เราต้องได้รับค่าชดเชย โดยไม่รวมค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย

      10. การลาออกเป็นสิทธิ์ของลูกจ้าง จะแจ้งด้วยวิธีไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนใบลาออกของบริษัทก็ได้นะ แต่ก็เป็นมารยาทเนอะ อย่าลืมว่าโลกนี้กลมกว่าที่คิด จากกันไปให้คนจดจำในทางที่ดีย่อมจะดีกว่า

      11. การแจ้งลาออกน้อยกว่า 30 วัน อาจจะมีผลกับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนของนายจ้างนะ ต้องศึกษาเงื่อนไขกองทุนก่อนลาออกให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะชวดเงินสมทบในส่วนของนายจ้างได้ทั้งก้อน

      12. ในกรณีที่บริษัทมีประกันชีวิตและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ จะต้องมีแบบฟอร์มให้กรอกชื่อผู้รับสิทธิ์กรณีที่พนักงานเสียชีวิตด้วยนะ เมื่อกรอกไปแล้วและมีการเปลี่ยนแปลงเช่น ผู้รับสิทธิ์เดิมเสียชีวิตไปก่อนแล้ว หรือแต่งงานมีเมีย มีลูกแล้วต้องการเปลี่ยนผู้รับสิทธิ์ก็ควรจะแก้ไขให้ถูกต้องตามที่ต้องการนะ อย่าได้ละเลย

      13. ระบบไอทีของบริษัทสามารถมอร์นิเตอร์ได้ตลอดเวลาว่าเราทำอะไรในคอมพิวเตอร์บริษัทบ้าง เข้าเว็บไหน โพสต์อะไร และทั้งหมดสามารถใช้เป็นหลักฐานในการลงโทษพนักงานได้ เนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์นับเป็นทรัพย์สินของนายจ้างที่ลูกจ้างได้รับเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการทำงานตามค่าจ้างนั้นย่อมเป็นของนายจ้าง เขาจึงสามารถทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ของเราก็ได้…พวกกรุ๊ปไลน์ที่ตั้งเอาไว้เมาท์เจ้านายนี่พึงระวังไว้ให้ดีกันด้วยนะ #อย่าหาว่าพี่ไม่เตือน

      14. นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานให้ลูกจ้างในทุกกรณีที่มีการขอ และห้ามระบุข้อความที่เป็นลบกับลูกจ้างลงในหนังสือรับรองฯ ด้วย

     และอีกสิ่งที่สำคัญอยากจะทิ้งท้ายเอาไว้ในตอนนี้ก็คือ อยากจะให้ทุกคนเลือกทำงานในองค์กรที่มีความมั่นคงและให้โอกาสในการพัฒนาตัวเอง อย่าเลือกเพียงเพราะแค่เงินเดือนเพียงอย่างเดียว สวัสดิการและวัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ การติดตามข่าวสารต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจได้ คนที่พร้อมกว่ามีโอกาสก่อน ทั้งสำหรับการหางานใหม่ และการเติบโตก้าวหน้าในองค์กร

     #รักนะคะ

     #เจ้าหญิงแห่งวงการHR

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx

The post Office Life : น่าเสียดายถ้า HR ไม่ได้บอก มนุษย์ทำงานที่รัก คุณรู้เรื่อง 14 ข้อต่อไปนี้แล้วหรือยัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/14-things-recruiters-wont-tell-you/feed/ 0
Office Life: ตั้งสติก่อน stop คิดอยากจะลาออกช่วงนี้หรือช่วงไหน ก็ต้องคิดให้ดีก่อนนะจ๊ะ https://thestandard.co/office-life-resign/ https://thestandard.co/office-life-resign/#respond Mon, 25 Sep 2017 09:27:40 +0000 https://thestandard.co/?p=29973

     ผ่านมาถึงเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 […]

The post Office Life: ตั้งสติก่อน stop คิดอยากจะลาออกช่วงนี้หรือช่วงไหน ก็ต้องคิดให้ดีก่อนนะจ๊ะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ผ่านมาถึงเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 กันแล้วนะคะ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่อะไรหลายๆ อย่างถาโถมเข้ามาท้าทายขวัญและกำลังใจของลูกจ้างอย่างเราๆ กันมากมายจริงๆ ค่ะ  ซึ่งมันก็มีเหตุผลของมันอยู่นะคะ ไม่ว่าจะเป็นการถูกเจ้านายเร่งให้ทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เพราะเหลือเวลาอีกแค่ 1 ไตรมาสก็จะต้องสรุปผลงานกันแล้ว หรือการต้องเตรียมแผนงานสำหรับปีหน้า ประมาณว่างานปีนี้ก็ต้องทำ ส่วนงานปีหน้าก็ต้องคิด #นั่นแหละค่ะท่านผู้ชม

     อีกเหตุผลคือ ใกล้จะถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเรื่องโบนัสและผลตอบแทนที่จะจ่ายในไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงของการเร่งโกยคะแนน อันเป็นที่มาซึ่งทำให้บรรยากาศในการทำงานของทุกๆ ออฟฟิศเริ่มที่จะตึงเครียด ไม่สนุกสนานลั้นลาเหมือนช่วงที่ผ่านมา เอาจริงๆ ช่วงเดือนกันยายนนี่เป็นช่วงที่หลายๆ ความพังมาอยู่รวมกันโดยมิได้นัดหมายนะคะ งานก็เยอะ ฝนก็ตก วันหยุดก็น้อย #กรี๊ด จนทำให้หลายๆ คนมักจะคิดถึงการลาออก!

ถึงแม้การลาออกจะเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ต้องพบเจอ อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปตามบุญทำกรรมแต่ง แต่ขอให้การลาออกในแต่ละครั้งนั้นผ่านการคิดตรึกตรองอย่างถ่องแท้แล้วว่าเป็นการเดินออกจากที่หนึ่งเพื่อมุ่งไปยังที่ที่ดีกว่า

แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณได้อ่านบทความนี้ ขอให้ลองชั่งใจเสียใหม่ เพราะการลาออกในช่วงนี้โคตรจะไม่ดีเอามากๆ ไม่ดีอย่างไร ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ

     ข้อที่หนึ่ง ตัวเลือกน้อย ช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดแรงงานค่อนข้างปิด นั่นคือมีตำแหน่งงานว่างที่น่าสนใจไม่มากเท่าช่วงไฮซีซันระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ที่มีการลาออกหลังจากรับโบนัสกันของหลายๆ คน ทำให้ช่วงนั้นมีตำแหน่งงานดีๆ ที่น่าสนใจให้เลือกสมัครกันมากมาย ตรงกันข้ามกับช่วงนี้ที่ตำแหน่งงานว่างมีให้เลือกไม่มากนัก

     ข้อที่สอง ได้ไม่คุ้มเสีย การลาออกในช่วงนี้ นอกจากคุณจะพลาดโอกาสในการได้รับเงินโบนัสที่เกิดจากความอดทน ต่อสู้ ฝ่าฟันมาหลายเดือนแล้วนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างมากและมั่นใจว่ามีไม่ถึง 10% ที่ถามคำถามนี้ตอนที่สมัครงาน นั่นคือการนับอายุงานของพนักงานใหม่เพื่อนำไปใช้คำนวณโบนัส เพราะมีหลายองค์กรค่ะที่ไม่พิจารณาจ่ายโบนัส รวมถึงพิจารณาปรับเงินเดือนประจำปีให้กับพนักงานใหม่ที่อยู่ระหว่างทดลองงาน ซึ่งพนักงานใหม่ที่ไปเริ่มงานหลังเดือนตุลาคม กว่าจะผ่านทดลองงานก็เดือนมกราคมปีหน้า นั่นแปลว่านอกจากจะพลาดโบนัสของที่เก่าแล้ว อาจจะยังต้องรออีกเป็นปีๆ เพื่อให้ได้รับโบนัสและปรับเงินเดือนจากที่ใหม่ ครั้นจะขออัพค่าตัวมากๆในช่วงที่มีตำแหน่งงานว่างน้อยกว่าคนหางานก็คงต้องสู้กันเหนื่อยหน่อยค่ะ

     ข้อที่สาม งานเช็ดล้าง การเข้าไปทำงานที่ใหม่ในช่วงนี้คือการเข้าไปรับภาระที่คนเก่าทิ้งเอาไว้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเขาประเมินแล้วว่าเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้เมื่อต้นปีผ่านมาจนถึงไตรมาสนี้อาจจะไม่สำเร็จ และคงได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการรอคอยไปอีก 3-4 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราเข้าไปรับหน้าที่นั้นต่อในช่วงนี้ ไม่ต้องคาดหวังเลยว่าจะได้คิดแผนงานอะไรใหม่ได้มากมาย นอกเสียจากการเข้าไปเพื่อถูกกดดันให้ทำงานที่ค้างไว้ให้สำเร็จ ลองจินตนาการดูนะคะว่าถ้าคุณจะต้องเปลี่ยนทั้ง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน สถานที่ใหม่ แล้วยังต้องทำงานที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนคิดวางแผนไว้ให้สำเร็จอีก #หายนะที่แท้ทรูค่ะ

     ข้อที่สี่ เฝ้าออฟฟิศ ใช่ค่ะ ถึงแม้ว่าช่วงเดือนนี้จะไม่ค่อยมีวันหยุด แต่หลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีที่อากาศก็ดี แถมยังมีวันหยุดเยอะอีก ก็จะเป็นช่วงที่หลายคนวางแผนการใช้วันพักร้อนเพื่อไปเที่ยวกับครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนสนิทกัน แต่นั่นไม่ใช่สำหรับพนักงานใหม่ค่ะ เพราะถ้าคุณเป็นพนักงานใหม่ในช่วงนี้ คุณก็คงจะไม่มีวันพักร้อนให้ได้ใช้ไปอีกหลายเดือน นั่นก็หมายความว่าในช่วงที่ใครๆ ต่างก็ไปเที่ยวกัน คุณก็ยังต้องตั้งใจทำงานต่อไป… อันนี้ก็ขอฝากไว้สำหรับคนที่มีแฟนแล้ววางแผนจะไปสวีทกันปลายปีที่อากาศทั่วโลกดีสุดๆ ด้วยนะคะ การเปลี่ยนงานครั้งนี้อาจจะมีผลต่อปัญหาครอบครัวก็เป็นได้ >_<

     เมื่อนับข้อไม่ดีได้ 4 ข้อแล้ว ขอฝากเอาไว้อีกนิดนะคะว่า ถึงแม้การลาออกจะเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ต้องพบเจอ อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปตามบุญทำกรรมแต่ง แต่ขอให้การลาออกในแต่ละครั้งนั้นผ่านการคิดตรึกตรองอย่างถ่องแท้แล้วว่าเป็นการเดินออกจากที่หนึ่งเพื่อมุ่งไปยังที่ที่ดีกว่า

 

และก่อนจะลาออกจากงานเดิม ขอให้ตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเองก่อนนะคะว่า

  • ปัญหาที่เกิดขึ้นที่จนทำให้อยากลาออกเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้แล้ว หรือเสียแรงเปล่าที่จะแก้ไขใช่หรือไม่
  • เราไม่ได้หนีปัญหาไปโดยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการลาออกครั้งนี้ใช่หรือไม่ ถ้าเราเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดจากการตัดสินใจร่วมงานกับที่ปัจจุบัน ต้องเรียนรู้ว่าจะไม่ปล่อยให้เกิดเรื่องแบบนี้อีกในการเลือกที่ทำงานที่ต่อไป
  • ถ้าลาออกไปหางานใหม่ ชีวิตเราจะดีขึ้นใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้ ความมั่นคง ความก้าวหน้า ความสามารถในการทำงาน หรือคุณภาพชีวิต
  • เราไม่ได้ทิ้งอะไรไว้โดยไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดก่อนลาออกหรือไม่ โลกกลมกว่าที่คิด และเมื่ออายุมากขึ้นเราจะเรียนรู้ว่าเครดิตและคอนเน็กชันมีผลมากกับการยกระดับเราให้สูงขึ้นไปได้
  • เราตัดสินใจด้วยเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์หรือไม่

 

     คำโบราณที่บอกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวานยังคงเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยนะคะ เพียงแต่เราก็ต้องพิจารณาทุกอย่างด้วยสติปัญญาว่าการอดเปรี้ยวนั้นจะทำให้ได้กินของหวานหรือของเน่า

     การตัดสินใจลาออกจากงานจะยิ่งเป็นเรื่องใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของเราค่ะ ถ้าเราอายุเยอะประมาณหนึ่งแล้วยังทำให้การลาออกเป็นเรื่องง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็ลองพิจารณาตัวเองดูนะคะว่าทำไมเราถึงยังอยู่ในจุดที่ไม่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่นและตนเองได้ขนาดนั้น เพราะในวัยที่ทำงานไปหลายๆ ปีควรจะต้องอยู่ในจุดที่มีตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญต่อองค์กรและทีมงาน การตัดสินใจลาออกหนึ่งครั้งก็อาจจะส่งผลต่อชีวิตเราและคนรอบตัวอีกไม่น้อย เพราะฉะนั้นต้องเป็นการตัดสินใจที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นและทำร้ายคนอื่นให้น้อยที่สุด

     ตั้งสติก่อน stop นะคะ #ฝากไว้ให้คิด

The post Office Life: ตั้งสติก่อน stop คิดอยากจะลาออกช่วงนี้หรือช่วงไหน ก็ต้องคิดให้ดีก่อนนะจ๊ะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/office-life-resign/feed/ 0
หัวหน้างาน ‘ปัง’ พาไปสวรรค์ หัวหน้างาน ‘พัง’ พาไปนรก แล้วเจ้านายที่ออฟฟิศคุณล่ะเป็นแบบไหน? https://thestandard.co/boss-type/ https://thestandard.co/boss-type/#respond Wed, 06 Sep 2017 23:00:37 +0000 https://thestandard.co/?p=24947

     รองจากการถูกลอตเตอรีชุดใหญ่ก็คือการ […]

The post หัวหน้างาน ‘ปัง’ พาไปสวรรค์ หัวหน้างาน ‘พัง’ พาไปนรก แล้วเจ้านายที่ออฟฟิศคุณล่ะเป็นแบบไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>

     รองจากการถูกลอตเตอรีชุดใหญ่ก็คือการได้หัวหน้างานที่ดีนี่ล่ะที่ถือเป็นความโชคดีในชีวิต หัวหน้าที่ดีจะนำพาเราไปสู่เส้นทางการเป็นพนักงานที่ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกัน หัวหน้างานที่ไม่ดีก็สามารถทำให้ชีวิตเราจมดิ่งได้ชนิดคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

     จากผลการสำรวจยอดนิยมในออฟฟิศ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ Employee Satisfaction, Employee Engagement หรือแม้กระทั่ง Exit Interview ที่สอบถามถึงสาเหตุการตัดสินใจลาออกของพนักงานนั้น มั่นใจได้ว่าผู้เข้ารอบ 3 คนสุดท้ายที่เป็นปัจจัยสูงที่สุดในการลาออกของพนักงานมักจะเป็น ‘หัวหน้างาน’ ค่ะ

     บนเส้นทางของการเป็น HR ให้หลากหลายออฟฟิศ ขอนำเอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนะคะว่าหัวหน้าแบบไหนที่ ‘ปัง’ และแบบไหนที่ ‘พัง’ สำหรับลูกน้องค่ะ

 

     ขอเริ่มต้นด้วย 5 คุณสมบัติหัวหน้าสุด ‘พัง’ ซึ่งจะขอพูดถึงบทบาทของการเป็นผู้นำทีมว่า หัวหน้าแบบไหนที่ไม่ควรใช้เป็น role model ในการทำงาน

 

 

      1. รับชอบแต่ไม่รับผิด หัวหน้างานประเภทนี้จะทำตัวเป็นคนตรวจสอบมากกว่าส่งเสริมลูกน้อง บ่อยครั้งที่หัวหน้ากลายเป็นคนตั้งคำถามเราในห้องประชุมประหนึ่งว่าไม่ได้มาด้วยกัน

     หัวหน้างานต้องยอมรับว่า ตำแหน่งนี้จะถูกคาดหวังว่าต้องทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันของลูกทีมได้ หัวหน้างานที่เอาตัวบังกระสุนให้น้องๆ ย่อมถูกมองเป็นฮีโร่เสมอ ตรงกันข้ามกับหัวหน้าที่สั่งงานลูกน้องอย่างบ้าคลั่ง แต่สุดท้ายตัวเองทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอ พร้อมกับรับความดีความชอบนั้นไว้เสียเอง หัวหน้าแบบนี้ไม่มีเสียยังจะดีกว่า!

 

 

      2. เจ้าอารมณ์ แม้ว่าหัวหน้าเองก็เป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีความรู้สึกโกรธและหลงได้ แต่ต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป

     ไม่ต้องสงสัยค่ะ เปิดดูสลิปเงินเดือนแล้วทำความเข้าใจนะคะ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่คุณได้เงินเดือนมากกว่าลูกน้อง เพราะเจ้าของบริษัทได้จ่ายค่าจ้างสำหรับการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ แทนเขาไปแล้ว ซึ่งหัวหน้างานที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล นอกจากจะไม่สามารถจัดการอะไรได้ดีแล้ว ยังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอีกด้วย หัวหน้าประเภทนี้จะมีข้ออ้างยอดฮิตคือ “พี่ก็เป็นของพี่แบบนี้มาตั้งนานแล้ว จริงๆ พี่ไม่มีอะไรหรอกนะ พี่ปากร้ายแต่ใจดี”

     เฮ้! ตื่นค่ะ ตื่น! หมดยุคสมัยที่ใครจะถูกจ้างมาเพื่อเป็นที่รองรับอารมณ์กันแล้ว ถ้าพี่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ พี่ก็ไม่สามารถควบคุมใครได้อย่างแน่นอน

 

 

      3. ไม่ส่งเสริมให้ลูกน้องประสบความสำเร็จ หัวหน้าอาจจะคิดว่าสาเหตุที่ลูกน้องลาออก ส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะได้งานใหม่ที่เงินเดือนสูงกว่า ไม่ใช่ความผิดของหัวหน้าสักหน่อย ผิดในผิดค่ะ!

     การที่ลูกน้องทำงานกับหัวหน้าคนไหนแล้วไม่ได้ทำให้เก่งขึ้น ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย และสุดท้ายต้องย่ำอยู่กับที่ ได้ขึ้นเงินเดือนและโบนัสในอัตราที่ต่ำกว่าคนอื่น ส่วนหนึ่งก็เพราะหัวหน้างานไม่ได้ทำหน้าที่เป็นโค้ชที่ดีในการพัฒนาศักยภาพ ทั้งความสามารถในการทำงาน และปลุกแพสชันให้กับลูกน้อง

     นี่ยังไม่รวมถึงการไม่กำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ทำให้ลูกน้องไม่รู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อให้ได้เป็นที่หนึ่งในองค์กรอีกนะคะ นั่นจึงเป็นที่มาของการต้องออกไปหาบ่อน้ำแห่งใหม่ที่อาจจะสดใสและอุดมสมบูรณ์กว่าเดิม #พี่จะคิดว่าพี่รอดแล้วไม่ได้นะคะ

 

 

      4. ไม่ยุติธรรม ความลับไม่มีในโลกค่ะ อย่าคิดว่าคุณจะเนียนพอในการเอื้อผลประโยชน์ให้เหล่าบรรดาลูกรักแบบไม่เป็นธรรม แล้วจะไม่ทำให้ลูกน้องคนอื่นหมดศรัทธาในตัวหัวหน้าอย่างคุณ การถูกมองว่าเป็นหัวหน้าที่ลำเอียงนั้นมีทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ แบบที่ตั้งใจก็ไม่ได้เข้าใจยากอะไร เช่น การปกป้องลูกน้องคนสนิทไม่ให้ต้องร่วมรับผิด หรือการให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าคนอื่นๆโดยไม่คำนึงถึงผลงาน เป็นต้น แต่การต้องกลายเป็นหัวหน้าที่ลำเอียงแบบไม่ตั้งใจมีที่มาจากการไม่สื่อสารเรื่องราวต่างๆ ให้ลูกน้องรับทราบอย่างชัดเจน เช่น กฎระเบียบต่างๆ ในการทำงาน แนวทางการประเมินผลงาน แนวทางในการจ่ายค่าตอบแทน หรือแม้กระทั่งการไม่สร้างโอกาสให้ลูกน้องทุกคนได้แสดงความสามารถ ก็นำไปสู่การถูกมองว่าเป็นหัวหน้าที่ไม่ยุติธรรมได้ และสิ่งเหล่านี้ก็จะนำไปสู่การทำลายล้างความไว้วางใจที่ลูกน้องมีให้ในที่สุด

 

 

      5. เน้นการกระทำมากกว่าผลงาน หัวหน้าประเภทนี้จะชอบลูกน้องที่เหมือนจะทำงานหนัก ตอบไลน์เร็ว กลับบ้านดึกๆ ดื่นๆ ซึ่งถ้าหัวหน้าไม่ยึดที่ผลงานของลูกน้องเป็นสำคัญ จะทำให้ทิศทางในการบริหารทีมงานมีความผิดเพี้ยนไปได้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับลูกน้องที่สามารถสร้างผลงานได้โดยใช้เวลาน้อยกว่าคนอื่นๆ กลับไปชื่นชมคนที่ใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด โดยที่อาจจะได้ผลงานเท่ากันหรือน้อยกว่าคนอื่น

     หัวหน้าสมัยใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานไหนก็ต้องคำนึงถึงผลกำไรสูงสุดที่เกิดจากการทำน้อยได้มากเป็นสำคัญ ย้ำว่าโลกของการทำงานกับคนยุคใหม่คือเน้นที่ผลงานมากกว่าวิธีการ #อย่ากลายเป็นหัวหน้าตกยุค นะคะ

นอกจากจะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานเป็นอย่างดีแล้ว หัวหน้าจะต้องเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของลูกน้องทุกคนให้ได้ด้วย เพราะหัวหน้าคือคนที่ทำหน้าที่ในการผสมผสานจุดเด่นของลูกทีมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

แล้วหัวหน้างานสุด ‘ปัง’ ล่ะเป็นอย่างไร

     ตราบเท่าที่เรายังไม่ใช่เจ้าของกิจการ เราทุกคนก็มีโอกาสเป็นได้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นลองทบทวนตัวเองดูว่าเราเป็นหัวหน้าที่ดีพอแล้วหรือไม่ แล้วหัวหน้าแบบไหนที่โดนใจลูกน้อง มีเช็กลิสต์คุณสมบัติของหัวหน้าสุด ‘ปัง’ ที่ใครได้ทำงานด้วยแล้วต่างก็รู้สึกแฮปปี้มีความสุข ชนิดที่ว่าคนก็สำราญ งานก็สำเร็จกันดีกว่า

 

 

      1. เป็นผู้นำที่ดี นี่คงเป็นคุณสมบัติข้อแรกๆ ที่ลูกน้องทุกคนจะคาดหวังจากหัวหน้า การเป็นผู้นำ หมายถึงความสามารถในการนำทีมไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม นั่นคือหัวหน้าจะต้องสามารถรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี เพราะในการทำงานปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หัวหน้าที่ดีจะต้องสามารถกระตุ้นและจูงใจให้ลูกน้องทุกคนมั่นใจที่จะเดินตามไป แม้ว่าจะเป็นเส้นทางที่ยากสักแค่ไหนก็ตาม

 

 

      2. เก่งคนและเก่งงาน นอกจากจะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานเป็นอย่างดีแล้ว หัวหน้าจะต้องเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของลูกน้องทุกคนให้ได้ด้วย เพราะหัวหน้าคือคนที่ทำหน้าที่ในการผสมผสานจุดเด่นของลูกทีมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน นอกจากนั้นยังต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และแก้ไขจุดอ่อนของแต่ละคนให้ได้อีกด้วย

 

 

      3. เป็นโค้ชที่ดี หัวหน้าที่ดีต้องไม่กลัวที่จะมีลูกน้องเก่ง หัวหน้าที่เก่งจริงๆ ต้องสามารถเป็นผู้นำของลูกน้องที่เก่งกว่าตัวเองได้ อย่าเป็นหัวหน้าประเภทที่เลือกคนไม่เก่งเข้ามาในทีม เพราะกลัวว่าตัวเองจะถูกลดบทบาท แต่ให้เป็นหัวหน้าที่สามารถพัฒนาลูกน้องได้ในทุกรูปแบบ การเป็นโค้ชที่ดีนั้นไม่ใช่เพียงแค่สอนทักษะในการทำงานเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถเป็น mental coach ได้ด้วย หมายความว่าลูกน้องไม่ได้ต้องการแค่คนสอนการทำงาน แต่ต้องการคนที่สามารถสร้างพลังในการทำงานให้กับลูกน้องได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่ยากสักแค่ไหน หรือต้องเจอกับเป้าหมายที่ท้าทายเพียงใด หัวหน้าต้องไม่ใช่คนแรกที่พูดคำว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ แต่ต้องเป็นคนที่มองเห็นโอกาสในทุกอุปสรรคให้ได้นั่นเอง

 

 

      4. เป็นผู้ฟังที่ดี พูดเก่งกับคนนอก ฟังเก่งกับคนใน หมายความว่า ในบทบาทของผู้นำทีมที่ต้องเป็นปากเสียงของลูกน้อง หัวหน้าที่ดีต้องมีทักษะในการพูดเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของทีมได้ แต่เมื่อกลับมาอยู่ภายในทีม ต้องฟังให้มากกว่าพูด เพราะหัวหน้าที่ดีต้องมีทักษะการฟังเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากลูกน้องเพื่อนำไปวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ หัวหน้าที่เอาแต่พูดจะไม่มีทางได้รับข้อมูลที่เป็นจริง และเป็นไปได้ยากมากที่จะสามารถปรับปรุงพัฒนาผลงานของทีมได้

 

 

      5. สั่งงานได้ ติดตามงานเป็น จะมีบางคนที่คิดว่าหัวหน้าที่ลูกน้องรักจะต้องไม่ทำให้ลูกน้องเหนื่อย ซึ่งก็ไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ต้องไม่ใช่การทำให้ลูกน้องสบายด้วยการที่หัวหน้าทำงานแทน หัวหน้าบางคนไม่กล้าสั่งงานลูกน้อง เพราะกลัวลูกน้องไม่รัก ไม่กล้าตามงาน เพราะกลัวลูกน้องคิดว่าเป็นคนจู้จี้จุกจิก หัวหน้าที่ดีต้องมีความสามารถในการมอบหมายและติดตามงาน เพราะถ้าหัวหน้าไม่สามารถทำให้ลูกน้องมีผลงานได้ก็จะกลายเป็นพนักงานที่ไม่มีตัวตน จนนำไปสู่การมองไม่เห็นผลงานและถูกแช่เย็นในที่สุด #รักลูกน้องให้ถูกทาง

     กล่าวโดยสรุป ในการทำงาน หัวหน้าที่ดีก็คล้ายๆ กับพ่อแม่ของเรานี่ล่ะค่ะ ที่ต้องการให้เราได้ดีเพื่อตัวของเราเอง เพื่อให้เรามีความก้าวหน้ามั่นคง เพื่อให้เราสามารถเป็นกำลังสำคัญของเขาได้ เพื่อจะทำให้อนาคตของเรามั่นคงไปด้วยกันกับเขา การมีหัวหน้าที่ดีนี่ถือเป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะคะ อย่างน้อยก็มี role model ให้เราได้ยึดเป็นหลักในการทำงาน และถ้าได้อยู่ในทีมที่ดีแล้วก็ทำตัวให้คู่ควรกับโอกาสที่ได้รับด้วยการตั้งใจทำงานให้เต็มที่นะคะ

     สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า การจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้ ‘ต้องไม่เป็นคนชี้ออก’ หมายความว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ให้มองที่ตัวเองก่อนว่าทำหน้าที่ที่ได้รับได้อย่างดีหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของหัวหน้าหรือลูกน้อง ถ้าทุกคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ก็จะสนับสนุนให้ทีมประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

The post หัวหน้างาน ‘ปัง’ พาไปสวรรค์ หัวหน้างาน ‘พัง’ พาไปนรก แล้วเจ้านายที่ออฟฟิศคุณล่ะเป็นแบบไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/boss-type/feed/ 0