เคท ครั้งพิบูลย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 03 Jun 2024 05:45:29 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ธุรกิจกับสิทธิ LGBTQIA+ ว่าด้วยการปฏิเสธการจ้างงานคนที่มีความหลากหลายทางเพศ https://thestandard.co/lgbtqia-business-and-rights/ Mon, 03 Jun 2024 05:44:35 +0000 https://thestandard.co/?p=940646 LGBTQIA+

ยังไม่เคยรับกะเทยเป็นลูกเรือเลย? จริงไหมคะ ที่เวลามีกะเ […]

The post ธุรกิจกับสิทธิ LGBTQIA+ ว่าด้วยการปฏิเสธการจ้างงานคนที่มีความหลากหลายทางเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
LGBTQIA+

ยังไม่เคยรับกะเทยเป็นลูกเรือเลย?

จริงไหมคะ ที่เวลามีกะเทยสมัครงานแล้วไม่เคยเรียกสัมภาษณ์เลย?

 

การวัดว่าองค์กรหรือบริษัทของเรานั้นทำเรื่อง LGBTQIA+ จริงๆ แบบไม่จกตา ก็ใช้ตัวชี้วัดนี้ประเมินผลองค์กรไปเลยค่ะ สะดวก ชัดเจน มีคู่เทียบมากมาย ได้ผลมาก็เอามาแปะโชว์ว่าเรามันของจริง องค์กรเรามันคือที่สุดในเรื่องการสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียม

 

ปี 2015 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในประเทศไทยได้จัดการประชุมว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิLGBTQIA+ซึ่งในช่วงปีนั้นไทยมีข่าวการปฏิเสธการจ้างงาน ส่วนในกระแสภาคธุรกิจสากล The Economist ได้จัดเสวนาว่าด้วย ‘Pride And Prejudice The Business And Economic Case For LGBT Diversity And Inclusion’ ในปี 2016 จึงเป็นที่มาของการพูดถึงบทบาทของภาคเอกชนในการสนับสนุนสิทธิ LGBTQIA+มาอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นประเด็นการสื่อสารสังคมของกลุ่มLGBTQIA+ที่ใช้พื้นที่ในการแสดงออกอย่างภาคภูมิใจ

 

​แรกเริ่มกิจกรรมแนวนี้เป็นงานของนักรณรงค์ที่รวมกลุ่มกันในด้านการรำลึกถึงเหตุการณ์ต่อต้านและใช้ความรุนแรง สื่อใจความสำคัญเรื่องความเสมอภาคและความเท่าเทียม มีการสนับสนุนของแหล่งทุนจากภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่ากลุ่มทุนในโลกแบบทุนนิยมส่งผลด้านบวกต่อการจัดงานของLGBTQIA+แม้จุดประสงค์อยู่ที่การพยายามใช้กลไกการตลาดเพื่อสังคม หรือการลงทุนกับประเด็นสังคม และสนับสนุนด้านเงินทุนจำนวนมาก แต่ก็นับเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ทำให้เกิดมูลค่าและคุณค่าต่อทั้งองค์กรและสินค้าของแบรนด์นั้นๆ เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการมากขึ้น

 

มองกลุ่มเพศหลากหลายเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องตีตลาดด้วยความเข้าใจในเรื่องความทันสมัยและกำลังซื้อต่อสินค้า ทุนจึงเป็นอีกแรงหนึ่งของการทำงานเคลื่อนไหวในสิทธิความหลากหลายทางเพศ หากเทียบกับเมื่อก่อนที่ใช้กลไกทางการเมืองเป็นหลัก คือการพยายามสร้างความเข้าใจสิทธิกับพรรคการเมือง มีนักการเมืองสนับสนุนให้เป็นนโยบาย ระยะเวลาสั่งสมจนทำให้สามารถมีนักการเมืองที่สนับสนุนสิทธิและมีตัวแทนของเพศหลากหลายอยู่ในสภา แต่กลไกกลายมาแนวของการทำงานเรื่องสิทธิที่อิงกับแหล่งทุนทางภาคธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้นดังที่ปรากฏชัดเจนในสหรัฐอเมริกา

 

The Economist เป็นอีกข้อยืนยันหนึ่ง การศึกษาโครงการ #EcoPride Pride and Prejudice ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจเพื่อเพศหลากหลาย ที่ให้บรรดาผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูง ออกมากล่าวถึงนโยบายการสนับสนุนเพศหลากหลายในภาคธุรกิจ ไทยเคยจัดงานนี้ดังที่กล่าวไปแล้วโดย UNDP มีบริษัทชั้นนำในไทยเข้าร่วมกว่า 10 บริษัท นับเป็นเวทีที่สะท้อนว่าภาคธุรกิจไทยห่างไกลจากแนวคิดเรื่องสิทธิอยู่มากหากเทียบกับบริษัทเอกชนในต่างประเทศ

 

เนื่องด้วยกลไกในระบบของราชการยังไม่สามารถรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง งานส่วนใหญ่จึงเป็นงานของกลุ่มของนักเคลื่อนไหวหรือภาคประชาสังคม ไม่เพียงพอและตอบสนองต่อปัญหาได้ทันท่วงที สังคมไทยจะมีแนวโน้มการยอมรับความหลากหลายทางเพศได้มากขึ้นแบบทีละเรื่องอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดดในด้านสิทธิ แต่ในทางกลับกัน ในด้านทุนนิยม บริโภคนิยม การท่องเที่ยว จะถีบตัวไปไวมากเพื่อตอบโจทย์ของเพศหลากหลาย และเมื่อมีกิจกรรมเดินขบวนไพรด์ เราก็จะเห็นบริษัทเอกชนต่างใช้โอกาสนี้เข้ามาสนับสนุนและสร้างกระแสการมีส่วนร่วมสนับสนุนสิทธิของเพศหลากหลาย ในต่างประเทศมีการตั้งประเด็นว่าองค์กรเหล่านั้นช่วงชิงการตลาดเพื่อยอดขายเท่านั้นจริงหรือไม่

 

คำที่หลายคนคุ้นเคยมากขึ้นในสังคมไทยคือ Rainbow Washing คือการที่บริษัท แบรนด์ หรือองค์กรต่างๆ ใช้สัญลักษณ์LGBTQIA+เช่น ธงสีรุ้ง หรือการโปรโมต เพื่อให้ดูเหมือนสนับสนุนเพื่อจุดประสงค์ทางการตลาด โดยไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการสนับสนุนสิทธิหรือการแก้ไขปัญหาของLGBTQIA+สามารถเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงโลโก้ โฆษณา หรือผลิตภัณฑ์ในช่วงเดือนไพรด์ โดยที่ไม่ได้มีการสนับสนุนหรือช่วยเหลือที่จริงใจ คำถามก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าองค์กรไหนสนับสนุนจริง จึงขอยกตัวอย่างดัชนีชี้วัดที่น่าสนใจมาเล่าให้อ่านกัน

 

Human Rights Campaign (HRC) เป็นองค์กรในสหรัฐฯ ที่ประเมินนโยบายและแนวปฏิบัติของบริษัทต่างๆ ในการสนับสนุนความเท่าเทียมสำหรับพนักงานLGBTQIA+ผ่านดัชนีความเสมอภาคองค์กรภาคเอกชน (Corporate Equality Index: CEI) ดัชนีนี้ช่วยให้บริษัทต่างๆ นำแนวทางและภาษาที่เหมาะสมสำหรับLGBTQIA+มาใช้ในโครงสร้างบริหารธุรกิจที่มีอยู่ โดยมีการประเมินในหลายด้าน เช่น นโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิประโยชน์ทางสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งพนักงานข้ามเพศและครอบครัว การสนับสนุนวัฒนธรรมการรวมตัวในองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

 

ในปี 2023-2024 มี 545 บริษัทที่ได้ 100 คะแนนเต็ม จากบริษัทที่เข้าร่วมการประเมินดัชนี CEI ทั้งหมด 1,384 บริษัท ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีบริษัทใหม่ 128 บริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมการประเมินในปีนี้ หนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญของดัชนี CEI คือการนำแนวทางที่ครอบคลุมคนข้ามเพศมาใช้ โดยร้อยละ 90 ของบริษัทมีการระบุนโยบายไม่เลือกปฏิบัติตามอัตลักษณ์ทางเพศ และร้อยละ 73 มีประกันสุขภาพที่รวมถึงคนข้ามเพศ อีกทั้งดัชนี CEI ยังเน้นการจัดทำคู่มือสิทธิประโยชน์สำหรับLGBTQIA+เพื่อให้พนักงานทุกคนทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่มี

 

โดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในดัชนี CEI มาจากแทบทุกอุตสาหกรรมและภูมิภาคของสหรัฐฯ และเป็นตัวแทนของนายจ้างในทั้ง 50 รัฐด้วย

 

ในขณะที่เข้าสู่ปีที่ 30 ของการมีส่วนร่วมในสถานที่ทำงานเพื่อประโยชน์ของพนักงานLGBTQIA+และครอบครัว HRC ได้ยกระดับมาตรฐานในการเป็นพันธมิตรขององค์กรที่สนับสนุนการรวมตัวกัน การสำรวจในปีนี้ยากกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติของหลายรัฐโจมตีสมาชิกชุมชนคนข้ามเพศและนอน-ไบนารี รวมถึงฝ่ายที่ต่อต้านความเท่าเทียมของLGBTQIA+โจมตีพันธมิตรทางธุรกิจจำนวนมากขึ้น การโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การยกเลิกการคุ้มครอง และโจมตีความสามารถของพนักงานที่เป็นเพศหลากหลาย

 

การสำรวจดัชนี CEI ในปีนี้มีธุรกิจ 545 แห่งที่ผ่านเกณฑ์ใหม่และได้ 100 คะแนนเต็ม และได้รับรางวัล Equality 100 Award ปี 2023-2024 จาก HRC ในฐานะผู้นำด้านการรวมตัวของLGBTQIA+ในที่ทำงาน ซึ่งถือเป็นงานหนักของหลายบริษัทที่เข้าร่วม เพราะต้องมีทั้งนโยบายที่ชัดเจนและการปฏิบัติที่ครอบคลุมดัชนี CEI นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ได้ 90 คะแนนขึ้นไปมากกว่าที่เคยเป็นมาด้วย แสดงให้เห็นว่านายจ้างจากบริษัทชั้นนำของประเทศเห็นถึงความจริงจังในความมุ่งมั่นในการรวมตัวและใช้ดัชนี CEI เป็นแนวทางพื้นฐานในองค์กรในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ

 

เกณฑ์การให้คะแนนดัชนี CEI ปัจจุบันมีหลัก 4 ประการ ได้แก่

 

เกณฑ์ 1 การคุ้มครองพนักงาน

  • รสนิยมทางเพศ
  • อัตลักษณ์ทางเพศ

 

เกณฑ์ 2 สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุม

  • สิทธิประโยชน์สำหรับคู่สมรสและคู่ชีวิต การรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่นๆ
  • สิทธิประโยชน์การสร้างครอบครัวที่ครอบคลุม
  • ประกันสุขภาพที่รวมถึงคนข้ามเพศ
  • คู่มือสิทธิประโยชน์LGBTQIA+

 

เกณฑ์ 3 การสนับสนุนวัฒนธรรมที่ครอบคลุม

  • แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการศึกษาและฝึกอบรมภายในเกี่ยวกับLGBTQIA+
  • การเก็บข้อมูลLGBTQIA+
  • แนวปฏิบัติที่ครอบคลุมสำหรับคนข้ามเพศ
  • แหล่งทรัพยากรสำหรับพนักงาน LGBTQIA+หรือมีชมรม/กลุ่ม

 

เกณฑ์ 4 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

  • ความพยายามในการมีส่วนร่วมกับชุมชนLGBTQIA+ ที่กว้างขึ้น
  • มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และแนวทางการบริจาคเพื่อการกุศลที่ครอบคลุมLGBTQIA+
  • นโยบายไม่เลือกปฏิบัติในหน่วยธุรกิจ
  • สวัสดิการที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานLGBTQIA+ และครอบครัว
  • การสนับสนุนวัฒนธรรมการโอบรับ
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

 

ทั้งนี้ HRC ได้เผยแพร่รายงานดัชนี CEI ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการสำรวจประจำปีที่จัดทำขึ้นกับนายจ้างรายใหญ่ทั่วโลก ในดัชนีแรกในปี 2002 มีเพียง 13 บริษัทที่ได้ 100 คะแนนเต็ม เมื่อเทียบกับ 545 บริษัทที่ได้รับคะแนนเต็มในปีนี้ เมื่อภาคธุรกิจให้การศึกษา ฝึกอบรม และมีนโยบายความรับผิดชอบเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและการรวมตัวในสถานที่ทำงาน พบว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นต่อการรวมตัวของคนข้ามเพศในที่ทำงาน มีการนำเสนอเรื่องการดูแลสุขภาพและอื่นๆ ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนทราบถึงสิทธิประโยชน์และบริการที่นายจ้างของตนจัดหาให้อย่างเท่าเทียม

 

ลองจินตนาการว่าหากมีบริษัทในไทยสนใจลงทุนเพื่อเข้าร่วมเพื่อวัดดัชนีความเสมอภาคองค์กรภาคเอกชนก็คงจะดีไม่น้อย แม้ต้องใช้เวลาอยู่บ้างเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศ การได้วัดและประเมินบริษัทด้วยแบบวัดที่เป็นสากลคงเป็นหลักฐานหนึ่งเพื่อจะยืนยันว่าบริษัทมีนโยบายและการปฏิบัติจริง และเป็นการยืนยันว่าการออกมาสนับสนุนสิทธิLGBTQIA+นั้นมีที่มาที่ไปที่จริงจังและจริงใจ

 

อ้างอิง:

The post ธุรกิจกับสิทธิ LGBTQIA+ ว่าด้วยการปฏิเสธการจ้างงานคนที่มีความหลากหลายทางเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เดือนไพรด์ในไทย กับการสร้างความภูมิใจในภาวะโรคระบาดและโลกแห่งอคติ https://thestandard.co/pride-month-in-thailand/ Thu, 02 Jul 2020 12:10:28 +0000 https://thestandard.co/?p=377110

กระแสของงานไพรด์ (Pride Month) เดือนแห่งการฉลองและนำเสน […]

The post เดือนไพรด์ในไทย กับการสร้างความภูมิใจในภาวะโรคระบาดและโลกแห่งอคติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระแสของงานไพรด์ (Pride Month) เดือนแห่งการฉลองและนำเสนอประเด็นเพื่อสิทธิเพศหลากหลายทั้งในระดับชุมชนและนานาชาติ จากภาวะโรคระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมหลายอย่างที่เคยมีต้องถูกยกเลิกและเลื่อนออกไป รวมถึงการปรับรูปแบบให้เป็นออนไลน์แบบ Virtual 

 

แม้จะไม่ได้มีการรวมตัวกันในแบบเห็นหน้า แต่ทราบกันดีว่าการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในกลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTIQ2 ) และการเสนอประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี (SOGIE) ต่างหันมาใช้สื่อใหม่ เป็นสื่อสังคมออนไลน์ในการแลกเปลี่ยนและนำเสนอประเด็นการต่อสู้สิทธิของผู้ที่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

 

การตีตรายังเป็นสิ่งที่กลุ่มเพศหลากหลายยังเผชิญอยู่ ความเป็นเพศจึงไม่ได้เป็นจุดเดียวที่คนนำมาเหยียดกัน ที่ผ่านมาการเหยียดความเป็นผู้หญิง การเหยียดกะเทยมีมาต่อเนื่อง การตีแผ่ปัญหานี้มีให้เห็นมากขึ้นหลังจากที่ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติความเท่าเทียมทางเพศ พ.ศ. 2558 (Gender Eqaulity Act B.E. 2558) การมีกลไกภาครัฐรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติทางเพศของภาครัฐจึงเป็นอีกช่องทางที่ทำให้คนไทยนึกถึงและเข้าถึงการพิจารณาต่อปัญหาการกระทำที่เลือกปฏิบัติ 

 

ในการร้องเรียนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนเชิงนโยบายจึงมีให้เห็นมากขึ้น เช่น การร้องเรียนกรณีให้แต่งกายตามเพศสถานะในการรับปริญญา และการแต่งกายตามเพศสภาพในการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น สิ่งที่ถูกพูดกันมากขึ้นตอนนี้คือ การมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม การแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันที่จะต้องถูกรับรองจากรัฐ และกฎหมายการรับรองเพศ สำหรับคนข้ามเพศในประเทศไทย

 

ฉะนั้นการคิดเรื่องกฎหมายคุ้มครองจึงมีให้เห็นชัดขึ้น หากแต่ในระดับบุคคลกลับพบว่ามีจำนวนเรื่องร้องเรียนไม่มาก เป็นเพราะการร้องเรียนระดับปัจเจกเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนของตัวผู้ที่เลือกปฏิบัติและผู้กระทำการเลือกปฏิบัติ เป็นเรื่องอำนาจและความปลอดภัย ประเด็นที่พบมากที่สุดของการร้องเรียนคือการจ้างงาน 

 

หลายตำแหน่งในหลายองค์กรเปิดรับสมัครงานที่ระบุเพศน้อยลง คนข้ามเพศ/กะเทย เมื่อไปสมัครงานจะประสบปัญหามากที่สุด ด้วยเรื่องของเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด การตัดสินรับคนเข้าทำงานโดยที่ไม่มองความสามารถและคุณสมบัติของผู้สมัครจึงยังมีอยู่ ในภาครัฐที่มีการอ้างข้อจำกัดว่าด้วยระเบียบราชการ และภาคเอกชนที่ยังมีเรื่องอคติทางเพศ ส่งผลให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิในการจ้างงานของกลุ่มเพศหลากหลาย และการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เรื่องเพศกำเนิดมาตัดสิน การตีตราและการผลิตซ้ำเรื่องเพศหลากหลายส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย

 

ข้อกำจัดการเข้าถึงงานจึงทำให้เกิดช่องว่างที่กลายเป็นความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงทรัพยากรด้วย บุคคลที่เป็นเพศหลากหลายเผชิญกับการละเมิดมาตั้งแต่ครอบครัวและการเรียนในระบบการศึกษา เมื่อครอบครัวและโรงเรียนไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจจึงยังไม่เกิด บวกกับความคิดแบ่งแยกคนออกจากกลุ่ม และลงโทษยังมีให้เห็น พ่อแม่และครูเลือกใช้การกีดกันและการลงโทษซ้ำๆ จึงทำให้การเปิดเผยตัวตนทางเพศของเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องการกลัวสังคม หลายกรณีจึงมีการละเมิดสิทธิเด็ก การเกิดขึ้นของคลินิก LGBTIQ ในไทยจึงเป็นตัวสะท้อนว่าการมีทีมวิชาชีพที่มาทำงานกับกลุ่มเพศหลากหลายมีจำเป็นในการรักษาชีวิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนต่อการปฏิบัติที่ไม่ดีจากผู้ปกครองและครูที่ไม่มีมิติความละเอียดอ่อนทางเพศ

 

ช่วงกักตัวและรักษาระยะห่างในประเทศไทย ทุกคนต้องอยู่บ้านตามข้อปฏิบัติทางสาธารณสุข แม้ข้อดีที่สุดคือการลดการกระจายเชื้อ แต่ในทางตรงกันข้ามเราพบข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้น และการตีตราสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถเข้าบ้านได้ หลายคนหายแล้วแต่กลับบ้านไม่ได้ หลายคนกลับบ้านแต่ถูกรังเกียจจากชุมชน การตีตราจึงเกิดเป็นการกีดกันแบบที่เคยเกิดขึ้นในการรักษาเอชไอวี 

 

จากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบต่อปัญหาทางสังคมด้วยอย่างประจักษ์อยู่ทุกวันนี้ ทั้งครอบครัว แรงงาน การขาดรายได้ เด็กและผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ และกลุ่มเพศหลากหลาย สิ่งที่น่าคิดคือ ทั้งการดูแลคนในบ้านให้ปลอดภัยเพราะความไม่เข้าใจเรื่องช่วงวัยและเพศจนทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น

 

30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงต่อความเข้าใจเรื่องเพศหลากหลาย จาก 17 พฤษภาคม 1990 องค์การอนามัยโลกได้ถอดถอนการรักเพศเดียวกันออกจากบัญชีจำแนกโรค เพื่อทำให้เห็นว่าการรักเพศเดียวกันไม่ได้เป็นโรค แม้ผ่านมาแล้ว 30 ปี การสร้างความรู้ยังไม่หยุดนิ่ง อคติยังมีอยู่กับกลุ่มคนเพศหลากหลาย การเลือกปฏิบัติมีความซับซ้อนและกีดกันคน ความรุนแรงมีมากขึ้นด้วยความซับซ้อนจากศาสนา วัฒนธรรม สีผิว ดังนั้นเส้นทางการต่อสู้ของสิทธิเพศหลากหลายจึงถูกคลี่ให้เห็นรากแห่งปัญหานี้ 

 

ในสหรัฐอเมริกาการถูกเบียดขับจากสังคมในช่วงปี 1980-1990 การเป็นเพศหลากหลายถูกกีดกันจากการมีอคติกับเอชไอวี/เอดส์ การเป็นคนผิวสีที่ถูกเลือกปฏิบัติและประสบกับความรุนแรง ในหลายกรณีมีการฆาตกรรมและความรุนแรง ในกลุ่มคนข้ามเพศถูกฆาตกรรมในจำนวนที่มากขึ้น แถบลาตินอเมริกามีตัวเลขของการฆ่าสังหารด้วยเหตุแห่งความเกลียดชังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในภูมิภาคเอเชียมีคนข้ามเพศอพยพยย้ายถิ่นมากขึ้นตามไปด้วยเพื่อหลีกหนีจากความรุนแรงและการรักษาชีวิต 

 

จากตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นผลของการมีอยู่ของอคติและการเลือกปฏิบัติ ผลกระทบจากชุดความคิดแห่งการลดทอนความเป็นมนุษย์นี้จึงเป็นข้อท้าทายต่อสังคมไทยที่ยังต้องการสร้างความเข้าใจเรื่องความแตกต่างความหลากหลายให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย

 

ร่างกฎหมายเพื่อคนเพศหลากหลายถูกเร่งเร้าให้เกิดการผลักดันสู่สภาฯ ความต้องการเป็นเรื่องจำเป็นต่อชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์ การคุ้มครองผ่านกฎหมายเป็นหลักที่จะให้ปัญหาของการละเมิดถูกคุ้มครองในระดับชาติ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด-19 คือการออกมาเรียกร้องและต่อต้านการเลือกปฏิบัติ แม้จะพูดกันมากเรื่องฐานวิถีชีวิตใหม่ แต่เรื่องอคติยังไม่ไปไหนและยังคงอยู่ ความเท่าเทียมจะถูกพูดมากขึ้นในระดับชุมชน เพราะด้วยความกดขี่ที่เกิดขึ้นมายาวนานจากรัฐบาล

 

การขับเคลื่อนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ก็เหมือนกับความเข้าใจเรื่องเพศที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เพื่อยุติอคติ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ แม้ว่าความรู้ทั้งทางการศึกษา ภาคการเมืองและภาคประชาสังคมยังไม่อาจสามารถอธิบายได้ให้ครอบคลุมเรื่องของการทำความเข้าใจสิทธิมนุษยชนของ LGBTIQ โดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ย่อมเชื่อมั่นว่าหนทางการเกิดขึ้นของพื้นที่การผลักดันนั้นย่อมต้องมีอย่างแน่นอน 

 

การเตรียมความพร้อมด้วยการรวบรวมเอาความรู้ความเข้าใจ ร่องรอยจากการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ก็จะช่วยทำให้มีฐานคิดและมุมมองต่อการเรียนรู้เพศวิถีได้มากขึ้น 

 

สิ่งที่มี ณ ปัจจุบัน ก็ยังคงต้องเร่งสร้างฐานข้อมูล และรวบรวมเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ อาศัยการวิพากษ์วิจารณ์ การสะท้อนความรู้คิดจากชุมชนเพศหลากหลายในสถานการณ์ต่างๆ ที่จะช่วยทำให้เกิดเป็นพลังอ้างอิงที่น่าที่เชื่อถือ และพัฒนาให้ LGBTIQ รู้เท่าทันตนเอง มีกำลังใจ และทำให้สังคมได้ภาคภูมิใจกับความเป็น ‘มนุษย์’

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post เดือนไพรด์ในไทย กับการสร้างความภูมิใจในภาวะโรคระบาดและโลกแห่งอคติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พัทยาของสาวประเภทสอง https://thestandard.co/pattaya-ladyboy/ https://thestandard.co/pattaya-ladyboy/#respond Wed, 07 Feb 2018 06:30:14 +0000 https://thestandard.co/?p=68156

‘เมืองพัทยา’ ด้วยความเป็นเมืองที่ตั้งวางบนภูมิศาสตร์เลี […]

The post พัทยาของสาวประเภทสอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘เมืองพัทยา’ ด้วยความเป็นเมืองที่ตั้งวางบนภูมิศาสตร์เลียบชาดหาด จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทั้งยังเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนที่แสวงผลกำไรจากธุรกิจการท่องเที่ยว จนปรากฏเป็นธุรกิจหลายรูปแบบ ทั้งที่พักอาศัย ร้านอาหาร สถานบันเทิง ฯลฯ สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจร สภาพเศรษฐกิจของเมืองพัทยาจึงขึ้นอยู่กับรายได้ที่มาจากธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่

 

 

‘สวรรค์ของการพักผ่อน’ จึงเป็นภาพที่พัทยาถูกนำเสนออย่างพยายามเพื่อมุ่งหวังดึงดูดนักท่องเที่ยว นักลงทุน และขณะเดียวกันก็กลายเป็นพื้นที่ดึงดูดแรงงานด้วยเช่นกัน การหลั่งไหลเข้ามาหางานทำของแรงงานต่างจังหวัดที่มีความหลากหลายของเพศภาวะจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัต การเข้ามาของกะเทยในเมืองพัทยาดูจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ของสายตานักท่องเที่ยว

 

พัทยาถูกนำเสนอผ่านแนวทางของการพัฒนาการท่องเที่ยวว่าเป็นสวรรค์ของความบันเทิงและเป็นเมืองตากอากาศ เมืองพัทยาได้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ ของกะเทย-สาวประเภทสองในประเทศไทยมากว่า 3 ทศวรรษแล้ว

 

เป็นสถานที่ที่กะเทย-สาวประเภทสองเข้ามาทำงานเป็นบริกรหญิง พนักงานต้อนรับในร้านอาหารต่างๆ เป็นแม่ครัว และช่างทำผม ในขณะที่อีกจำนวนหนึ่งก็ทำงานด้านบริการทางเพศ เป็นนางแบบ นักแสดง หรือนักเต้น เพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีพ เพื่อหาเงินเก็บไว้สำหรับผ่าตัดแปลงเพศหรือทำศัลยกรรมเสริมความงาม และเลี้ยงดูครอบครัว


ฉายภาพชีวิตวิถีทางเพศของกะเทยบางแง่มุม แม้จะรอบด้านก็สะท้อนความเป็นจริง ทั้งค่านิยมความงาม รูปลักษณ์ การสร้างสรีระใหม่ผ่านการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อการข้ามเพศ และการดิ้นรนไปสู่ความมุ่งหวังของกะเทยในเมืองพัทยาที่จำเป็นต้องใช้ทุนจำนวนมากเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์กะเทย

 

 

เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและมีสถานบริการ-สถานบันเทิงอยู่หลายแห่ง จึงเอื้อต่อการประกอบอาชีพในลักษณะงานบริการตามสถานบันเทิง และบางส่วนในนั้นมีงานบริการทางเพศแทรกสอดอยู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งทุนอันตอบสนองต่อความต้องการของตน


ภาพของเมืองแห่งอุตสาหกรรมเพศพาณิชย์ผนวกรวมกับการท่องเที่ยวแบบทุนนิยมจะปรากฏอย่างชัดแจ้งในยามค่ำคืนของเมืองพัทยา


มากไปกว่านั้นก็ยังพบว่าสถานะความเป็นกะเทยในฐานะที่เป็นคนชายขอบของสังคมมีปัญหาเรื่องการตีตราและการถูกเลือกปฏิบัติ (Stigma and Discrimination) เป็นปัญหาหลักของกะเทย และส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะการจ้างงานในอาชีพอื่น


การที่พัทยาเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวมาใช้เป็นที่พักผ่อน การนำเสนอภาพของการเป็นเมืองท่องเที่ยวนี้เองที่ทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาตอบสนองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนี้ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือประชากรที่เป็นกะเทย และจนมาถึงภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ตอบรับกับแนวคิดทุนนิยมที่เรื่องเพศก็สามารถจะหาซื้อแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยเงินตราหรือสิ่งของ


พัทยาจึงเป็นพื้นที่เปิดของผู้ที่เลือกมาหาก้อนเงินเหล่านั้นด้วยการเป็นพนักงานบริการ (Sex Worker) ดังนั้นกะเทย-สาวประเภทสองที่ประกอบอาชีพงานด้านบริการ โดยเฉพาะบริการทางเพศในพัทยานี้จะมีภาวะเปราะบางสูงต่อการรับเชื้อเอชไอวี เอดส์ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากพฤติกรรมที่ไม่ป้องกัน และด้วยการประกอบอาชีพเชิงเพศพาณิชย์อันผิดกฎหมายในประเทศไทย

 


การเข้าถึงของบริการทางด้านสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องยุ่งยาก รวมทั้งความกลัวจากการถูกเลือกปฏิบัติในอาชีพ ความกล้าที่จะเข้าถึงบริการสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องที่ยากเกินปรากฏจนที่สุดก็กลายเป็นความชินชาภายใต้ความเปราะบาง ในขณะเดียวกัน อัตราความชุกของเชื้อเอชไอวีข้างต้นก็ทำให้เกิดการตื่นตัวจากผู้คนและสังคมภายนอกที่มาพร้อมกับการตีตราอาชีพพนักงานบริการและอคติทางเพศ


กะเทยจำนวนมากเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา ส่งผลให้ไม่มีวุฒิการศึกษา และนำไปสู่การไม่มีงานทำ จึงทำให้เกิดการเป็นคนชายขอบ (Marginalization) ทั้งในระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจ (Social and Economic Marginalization) ระบบการสนับสนุนโดยกฎหมายในเอเชียและแปซิฟิกนั้นก็ไม่มีกฎหมายสำหรับปกป้องหรือคุ้มครองกะเทย จึงทำให้กะเทยตกอยู่ในภาวะการคุกคามจากการเอารัดเอาเปรียบโดยที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองตั้งแต่การรับรองเพศ (Gender Recognition) ไปจนถึงสวัสดิการต่างๆ


ซึ่งหากเปรียบการมีชีวิตอยู่ของกะเทยในพัทยาก็เห็นได้ว่าอิทธิพลทางสังคมมีผลต่อการรูปแบบการใช้ชีวิตของกะเทย และไม่ว่ากะเทยจะอยู่ในพื้นที่ใด ในประเทศใด ก็เผชิญปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติในแบบเดียวกัน หรือเผชิญเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน อิทธิพลทางวัฒนธรรมก็ส่งผลให้เกิดการเกลียดชังต่อบุคคลที่เป็นกะเทยและทำให้สังคมมองข้ามความเป็นมนุษย์ไป และละเลยที่จะปรับ ยอมรับ เข้าใจในความเป็นกะเทยกับบริบทของสังคม

The post พัทยาของสาวประเภทสอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/pattaya-ladyboy/feed/ 0
LGBT = วิกลจริต!? การคิดเรื่องสิทธิ-สวัสดิการสังคมของกลุ่มเพศทางเลือกใน ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ https://thestandard.co/lgbtvoices-lgbt-insane/ https://thestandard.co/lgbtvoices-lgbt-insane/#respond Wed, 13 Sep 2017 06:35:39 +0000 https://thestandard.co/?p=26525

     การถูกมองข้ามความเป็นมนุษย์ของกลุ่ม […]

The post LGBT = วิกลจริต!? การคิดเรื่องสิทธิ-สวัสดิการสังคมของกลุ่มเพศทางเลือกใน ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     การถูกมองข้ามความเป็นมนุษย์ของกลุ่มเพศหลากหลายทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคม สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมในประเทศไทย ที่ยังก้าวไปไม่ถึงการกำหนดเป้าหมายความมั่นคงของมนุษย์ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม

     เพศหลากหลายในฐานะเป็นกลุ่มชายขอบทางเพศ รัฐไทยจำเป็นต้องคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ย้อนไปในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่เคยระบุในมาตรา 30 ว่า

     “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น ต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้”

     แต่ปัจจุบันไม่มีการระบุแบบนี้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งคำว่า ‘เพศ’ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 นั้นได้มีบันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่ารวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไว้ด้วย

     แต่ทว่าในทางปฏิบัติภาครัฐกลับไม่มีการสำรวจประชากรกลุ่มเพศหลากหลาย หรือไม่มีฐานข้อมูลฐานประชากรที่แน่ชัด รวมถึงการไม่มีนโยบายจากทางภาครัฐในการสนับสนุน คุ้มครอง และรองรับสถานภาพทางเพศด้วย

เอกสาร สด.43 หรือใบตรวจรับรองทหารกองเกิน เป็นเอกสารทางราชการระบุว่ากะเทยเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตถาวร และถูกระบุว่า ‘เป็นโรคจิตวิกลจริต’

     LGBT มักถูกเลือกปฏิบัติจากบุคลากรภาครัฐที่ยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในตัวตนและวิถีชีวิตของเพศหลากหลาย การรับรู้เรื่องความแตกต่างหลากหลายทางเพศจึงเป็นผลพวงมาจากการยึดแน่นและติดอยู่ภายใต้วัฒนธรรมความเป็นเพศกระแสหลักแบบหญิงชายตายตัว โดยผู้ที่จัดวางตนเองในกรอบแห่งเพศกระแสหลักจะได้รับการยอมรับและมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้มากกว่าเพศหลากหลาย เกิดช่องว่างหรือการขาดชุดความรู้และการทำความเข้าใจ ผลที่ตามมาคือการขาดบุคลากรทั้งภาครัฐในเรื่องความเข้าใจตัวตนของ LGBT ส่งผลต่อรูปแบบการให้บริการทางสังคมไปจนถึงการสร้างนโยบายที่ขาดมิติความละเอียดอ่อนต่อประเด็นความหลากหลายทางเพศ

     การรวบรวมประเด็นสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ LGBT ระบุอย่างชัดเจนถึงสถานการณ์การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะที่เกิดกับกะเทย/สาวประเภทสอง/คนข้ามเพศ ว่าเกิดการละเมิดสิทธิขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแต่งกายในการเข้ารับปริญญา การห้ามแต่งกายตามเพศภาวะที่ตนเลือกในสถานศึกษา

     นอกจากนั้น บางสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยยังไม่เปิดรับนักศึกษาที่เป็นกะเทยเข้าศึกษา และกรณีเอกสาร สด.43 หรือใบตรวจรับรองทหารกองเกิน เป็นเอกสารทางราชการระบุว่ากะเทยเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตถาวร และถูกระบุว่า ‘เป็นโรคจิตวิกลจริต’ ในเอกสารสำคัญ แม้จะมีกฎหมายให้แก้ไขแล้วแต่ก็ยังพบว่ามีการระบุในเชิงลบอยู่ทุกปี

     การละเมิดสิทธิของความเป็นมนุษย์กับ LGBT เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ ทั้งการกดขี่ การผลิตซ้ำ และการตีตราให้มีพื้นที่ทางสังคมที่จำกัด

     การเลือกรับรู้ของสังคมที่มองว่า LGBT ควรดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามบรรทัดฐานสังคม จนจำกัดวิถีชีวิต และไม่ยอมรับ

สิ่งที่ทำให้เกิดและเรียกว่าเพศชายขอบนั้น เกิดขึ้นมาจากที่ที่คนในสังคมมีมุมมองเรื่องเพศคับแคบ ตั้งอยู่บนฐานของการมีสองเพศเป็นบรรทัดฐาน เพศอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นตามบรรทัดฐานนั้นก็ถูกมองเป็นอื่น

     นอกจากนั้น พบว่าการมองเพศหลากหลายในลักษณะภาพเหมารวม และในเชิงลบถือเป็นการเลือกปฏิบัติในระดับทัศนคติ ทั้งที่แนวคิดสิทธิมนุษยชนระบุให้รับรองและคุ้มครองเฉพาะสิทธิในเรื่องของสิทธิพลเมือง เฉพาะคนในรัฐของประเทศชาตินั้นๆ

     ต่อมาก็มีการพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนที่ถูกตีความในเรื่องสิทธิทางสังคม สิทธิทางเศรษฐกิจ และสิทธิทางด้านวัฒนธรรม การขยายความดังกล่าวทำให้เกิดการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมคนที่ถูกทำให้เป็นคนชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง คนชรา เด็ก ผู้พิการ รวมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย

     การขยายความในมิติของสิทธิมนุษยชนจึงทำให้บุคคลที่ถูกทำให้เป็นชายขอบในมิติเพศภาวะได้รับความสนใจในการคุ้มครองมากขึ้น อันเป็นพัฒนาการในเรื่องของสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

     สำหรับดิฉัน ‘เพศชายขอบ’ ในทัศนะ คือ เพศที่ไม่ได้ถูกจัดวางอยู่ในความคาดหวังของสังคม หรือเพศกระแสหลัก ดังนั้นเพศทางเลือกจึงถูกขีดด้วยเส้นแบ่งด้วยเครื่องเพศ และถูกผลักไสไปอยู่ชายขอบของการให้พื้นที่ของการยอมรับ จึงเรียกได้ว่าเป็นเพศชายขอบ ซึ่งวัดจากการยอมรับและการปฏิบัติของคนในสังคม ขอย้ำว่า สิ่งที่ทำให้เกิดและเรียกว่าเพศชายขอบนั้น เกิดขึ้นมาจากที่ที่คนในสังคมมีมุมมองเรื่องเพศคับแคบ ตั้งอยู่บนฐานของการมีสองเพศเป็นบรรทัดฐาน เพศอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นตามบรรทัดฐานนั้นก็ถูกมองเป็นอื่น

หากหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหลักการสากลยืนยันถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมาโดยกำเนิดของมนุษย์ คำถามสำคัญคือสิทธิดังกล่าวนั้นหมายรวมถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงความเป็นเพศของตนเอง หรือความสามารถเลือกวิถีชีวิตทางเพศได้เองใช่หรือไม่

     ภาวะความเป็นอื่นนี้เองจึงทำให้คนที่มองว่าตัวเองเป็นเพศกระแสหลักก็จะรู้ว่าสิ่งที่แสดงออกนั้นถูกต้อง ส่วนคนที่เป็นเพศกระแสรอง/ทางเลือก หรือหลากหลายทางเพศ ก็จะรู้สึกตัวว่ากำลังทำผิด รู้สึกผิด ประกอบกับสังคมก็มองว่าผิดไปจากสิ่งที่กำหนดไว้แบบสองเพศ พื้นที่ในการแสดงออกความเป็นเพศจึงมีข้อจำกัด เงื่อนไข และนำไปสู่การไม่สามารถแสดงออกถึงเป็นตัวเองได้เต็มที่ มีการปกปิด แอบซ่อน และไม่กล้าเผชิญกับการแสดงตัว รวมไปถึงการรับรู้ถึงความไม่ปลอดภัยในการแสดงตนในฐานะที่เป็นเพศชายขอบ

     หากหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหลักการสากลยืนยันถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมาโดยกำเนิดของมนุษย์ คำถามสำคัญคือสิทธิดังกล่าวนั้นหมายรวมถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงความเป็นเพศของตนเอง หรือความสามารถเลือกวิถีชีวิตทางเพศได้เองใช่หรือไม่

     ด้วยเหตุนี้ การมีสิทธิที่จะกำหนดเจตจำนงความเป็นเพศของตนเองจึงเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนอีกประเด็นหนึ่งที่สังคมควรที่จะเรียนรู้ รณรงค์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

     ขณะนี้ดิฉันรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมที่สังคมไม่ยอมรับบุคคลเพศหลากหลายเป็นเสมือนประชากรทั่วไป และสังคมเองก็ไม่พยายามที่จะเรียนรู้เรื่องนี้ และยังเข้าใจผิดในเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเพศชายขอบในหลายประเด็น ทั้งเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศ การแสดงออกทางเพศ รวมทั้งเรื่องสิทธิและการคุ้มครองเมื่อประสบกับปัญหาการตีตรา อคติ และการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์มีอำนาจวินิจฉัยกะเทยให้ตกอยู่ในภาวะเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือไม่ก็ทางจิตใจที่ ‘ผิดปกติ’ ต้องได้รับการรักษา

     หากวิเคราะห์กรณีการถูกละเมิดสิทธิของ LGBT ในสังคมไทย พบว่าองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์มีอิทธิพลและบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ครอบงำสิทธิในการกำหนดเจตจำนงความเป็นเพศ

     ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์มีอำนาจวินิจฉัยกะเทยให้ตกอยู่ในภาวะเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือไม่ก็ทางจิตใจที่ ‘ผิดปกติ’ ต้องได้รับการรักษา

     เหตุนี้จึงมีผู้คนจำนวนมากเชื่อตามวาทกรรมทางการแพทย์ องค์ความรู้นี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของกะเทย เป็นต้นเหตุแห่งการถูกเลือกปฏิบัติ การถูกละเมิดและลิดรอนสิทธิ รวมทั้งปัญหาการเป็นเหยื่อของความรุนแรงในทุกรูปแบบ ยิ่งเน้นย้ำว่าสังคมไทยยังไม่มีการยอมรับเพศชายขอบอย่างแท้จริง หากแต่เป็นไปเพียงการรับรู้ว่ามีตัวตนเท่านั้น ยังก้าวไปไม่ถึงการยอมรับและการส่งเสริมเรื่องสิทธิ

     หลักฐานก็คือ การที่นโยบายต่างๆ ยังไม่ได้สอดรับกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่เป็นเพศชายขอบเลย แม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติออกมาคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนในสังคม และสถาบันทางสังคมต่างๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข แรงงาน ก็ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนต่อการปฏิบัติกับคนเพศทางเลือกเลย อาทิ พื้นที่ปลอดภัยในโรงเรียน การแต่งกาย การแต่งงาน การจ้างงาน เป็นต้น

     หากกล่าวถึงระบบการให้บริการทางสวัสดิการต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ พบว่า สำหรับสวัสดิการสังคมด้านอื่นๆ ยังไม่พบหลักฐานหรือการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนทั้งในทางนโยบายและในทางปฏิบัติ

     กล่าวได้ว่าความรู้ในการทำงานกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และข้อมูลที่เป็นหลักฐานในเชิงสถิติหรือรายงานที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งที่มีการเคลื่อนไหวของ NGO ทั้งในระดับปฏิบัติคือการรวบรวมประเด็นและลุกขึ้นมารียกร้องเอง เช่น การเปลี่ยนคำหน้านาม กฎหมายแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน รวมทั้งการเคลื่อนไหวในระดับนโยบาย เช่น กรณีใบ สด.43 การเกณฑ์ทหารของกะเทย

     ส่วนการขยับของฝั่งภาครัฐมีน้อยมาก หากเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องด้วยกลไกในระบบของราชการยังไม่สามารถรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง งานส่วนใหญ่จึงเป็นงานของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเท่านั้นเอง ซี่งก็ไม่เพียงพอและตอบสนองต่อปัญหาได้ทันท่วงที

     จากนี้สังคมไทยจะมีแนวโน้มการยอมรับความหลากหลายทางเพศได้มากขึ้น แบบทีละเรื่องอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดดในด้านสิทธิ แต่ในทางกลับกันในด้านทุนนิยม บริโภคนิยม การท่องเที่ยวจะถีบตัวไปไวมากเพื่อตอบโจทย์ของ LGBT

     ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยสมควรที่จะได้วางรากฐานการสร้างความรู้เรื่องเพศที่กว้างขวางมากขึ้น และให้พื้นที่ทางสังคมกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในทุกบริบทและทุกมิติชนชั้นของสังคม

     รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายที่สนับสนุนสิทธิของ LGBT และการคิดนโยบายภาครัฐให้เกิดขึ้นจริง เพราะอะไรจึงต้องคิดเรื่องนี้

     เพราะมีคนรออยู่นั่นเอง

 

Photo: Pichamon Wannasan

The post LGBT = วิกลจริต!? การคิดเรื่องสิทธิ-สวัสดิการสังคมของกลุ่มเพศทางเลือกใน ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/lgbtvoices-lgbt-insane/feed/ 0
ไพรด์เทศไพรด์ไทยในการฉลองวัฒนธรรมความเป็นเพศ https://thestandard.co/opinion-lgbt-voices-gay-pride/ https://thestandard.co/opinion-lgbt-voices-gay-pride/#respond Mon, 24 Jul 2017 07:05:01 +0000 https://thestandard.co/?p=15947

     เป็นเวลาเกือบ 50 ปี ที่งานฉลองความภ […]

The post ไพรด์เทศไพรด์ไทยในการฉลองวัฒนธรรมความเป็นเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

     เป็นเวลาเกือบ 50 ปี ที่งานฉลองความภาคภูมิใจของการเป็นเพศหลากหลายได้เกิดขึ้น คำติดปากที่เรียกกันคือ งานเกย์ไพรด์ (Gay Pride) ที่ในต่างประเทศใช้เรียกรวมและให้ความหมายครอบคลุมทุกเพศที่หลากหลาย

     ในปี 2017 นับเป็นจุดเปลี่ยนหลายด้านของการจัดงานเฉลิมฉลองในครั้งนี้ นอกเหนือจากการที่ผู้คนได้ออกมาแสดงพลังของความเป็น LGBT ในด้านอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถีแล้ว ยังได้เปิดพื้นที่ในการนำเสนอประเด็นทางสังคมในเรื่องอื่นๆ ทั้งประเด็นการเมือง สุขภาพ ความเป็นธรรม การจ้างงาน การรณรงค์เรื่องกฎหมายและสวัสดิการสังคม รวมไปถึงการนำเสนอเรื่องชาติพันธุ์ งานภาคประชาสังคม และองค์กรธุรกิจของหลายบริษัทชั้นนำ

     ประเด็นข้างต้นทำให้งานไพรด์ในหลายประเทศเป็นพื้นที่ของการบอกเล่าปัญหาของกลุ่มเพศหลากหลายที่สะท้อนไปสู่สังคมเพื่อให้รับรู้สถานการณ์สิทธิ

     สัญลักษณ์ของเทศกาล Pride คือ ธงสีรุ้ง ซึ่งเราจะเห็นภาพธงสีรุ้งอยู่เป็นองค์หลักของกิจกรรม เป็นธีมสีที่ผู้คนจะสวมใส่ และมีอุปกรณ์เป็นสีรุ้ง ธงสีรุ้งนี้ถูกใช้มาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศมาตั้งแต่ปี 1978 เป็นเครื่องหมายของการต่อสู้และการรำลึกถึงห้วงเวลาที่ต้องฝ่าฟันเพื่อหาพื้นที่ในการแสดงออกถึงความเป็นเพศภาวะ

     จนปีนี้ ธงสีรุ้งถูกพัฒนาสู่สัญลักษณ์และจับใส่การออกแบบในหลายผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการสร้างให้ธงสีรุ้งเป็นเครื่องหมายต่างๆ เพื่อร่วมเทศกาลนี้ งานไพรด์ได้ขยายไปใหญ่มากขึ้น จากเดิมที่เป็นกิจกรรมกลุ่มนักต่อสู้ LGBT ก็ขยายไปสู่ประชาชนทั่วไปที่สนับสนุนเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ

     สิ่งที่น่าสนใจคือ มีกลุ่มบริษัทสนใจเข้าร่วมสนับสนุนการจัดงานไพรด์มากขึ้น ในสหรัฐอเมริกามีทั้งแบรนด์สินค้าชั้นนำ ห้างร้าน ธนาคาร เข้ามาร่วมตั้งบูธและจัดขบวนในฐานะผู้สนับสนุนงานอย่างใหญ่โตพร้อมป้ายโลโก้ใหญ่ๆ วัฒนธรรมงานไพรด์จึงขยายไปเรื่อยๆ ผ่านสินค้าและบริการเพื่อยืนยันว่าแบรนด์เหล่านั้นมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อการสนับสนุนกลุ่ม LGBT

 

Photo: PAU BARRENA/AFP

 

สำรวจงานไพรด์ในเมืองใหญ่ทั่วโลก

     งานไพรด์ที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากมักเป็นเมืองใหญ่ๆ เช่น ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก ลอนดอน โตรอนโต ออสเตรเลีย และอีกหลายหัวเมือง ในปีนี้แต่ละแห่งก็มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

     ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาร่วมเดินในงานไพรด์ เป็นประธานกล่าวสุนทรพจน์ประเด็นสิทธิเพศหลากหลาย และเป็นครั้งแรกที่มีการชักธงของกลุ่มคนข้ามเพศขึ้นสู่ยอดเสาหน้าอาคารรัฐสภา เป็นธงสีฟ้าขาวเพื่อแสดงออกถึงความก้าวหน้าของกฎหมายคุ้มครองกะเทยในแคนาดา

     สำหรับนครนิวยอร์กเป็นเหมือนเวทีที่บรรดาห้างร้านและแบรนด์ชั้นนำต่างแข่งขันนำเสนอบทบาทในการเป็นผู้สนับสนุน เส้นทางสายหลักบนถนนเลขที่ห้าเปลี่ยนจากถนนสายแฟชั่นเป็นถนนสายสีรุ้ง LGBT เด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุต่างมุ่งหน้าเพื่อมาชมขบวนของกลุ่มตัวแทนต่างๆ ประกอบด้วยขบวนของกลุ่มเกย์ กลุ่มเลสเบี้ยน กลุ่มแคริบเบียน กลุ่มแอฟริกันอเมริกัน กลุ่มไบเซ็กชวล กลุ่มผู้นำศาสนา กลุ่มเครือข่ายครอบครัวเพศหลากหลาย และอีกนับร้อยกลุ่ม ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาชมได้ทั้งวัน รวมทั้งมีผู้มีชื่อเสียง ดารา นักแสดงมาร่วมในขบวนด้วย

     ส่วนในอาเซียนมีเพียงแห่งเดียวที่น่าสนใจที่สุด อาจไม่ใช่งานไพรด์ที่เป็นแบบเดินขบวน แต่เป็นการรวมตัวกันในนามงาน Pink Dot จัดที่สวนสาธารณะ Hong Lim Park โดยทุกคนร่วมใจกันใส่เสื้อสีชมพูเพื่อสื่อสารเรื่องสิทธิของเพศหลากหลายและมีคนเข้าร่วมมากขึ้นทุกปี ธีมหลักเป็นเรื่องอิสรภาพแห่งรัก ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานรณรงค์นี้มาตั้งแต่ปี 2009 ที่สื่อสารกับสังคมเรื่องความรัก ทั้งการรักตนเอง รักครอบครัว และสังคม โดยให้ความหมายว่า ความรักก็คือการยอมรับนั่นเอง แถมยังเป็นงานที่ได้รับอนุญาตให้จัดได้ในพื้นที่สวนสาธารณะแห่งนั้นที่เดียวและไม่ถือว่าผิดกฎหมาย อีกทั้งมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์งานได้น่าสนใจ

 

Photo: MARVIN RECINOS/AFP

 

โฉมหน้างานไพรด์ที่เปลี่ยนไป เมื่อเงินทุนหลั่งไหลมาจากภาคเอกชน

     จากที่กล่าวถึงงานไพรด์ข้างต้นทำให้เห็นประเด็นการสื่อสารทางสังคมของกลุ่ม LGBT ที่ใช้พื้นที่ในการแสดงออกทางเพศภาวะได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปมากมาย

     แรกเริ่มกิจกรรมแนวนี้เป็นงานของนักรณรงค์ที่รวมกลุ่มกันทำเรื่องนี้ในด้านการรำลึกถึงเหตุการณ์ต่อต้านและใช้ความรุนแรง สื่อใจความสำคัญเรื่องความเสมอภาคและความเท่าเทียม

     แต่ในปีนี้มีการสนับสนุนของแหล่งทุนจากภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่ากลุ่มทุนในโลกแบบทุนนิยมส่งผลด้านบวกต่อการจัดงานของผู้มีความหลากหลายทางเพศ แม้จุดประสงค์อยู่ที่การพยายามใช้กลไกการตลาดเพื่อสังคม หรือการลงทุนกับประเด็นสังคม และสนับสนุนด้านเงินทุนจำนวนมาก แต่ก็นับเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ทำให้เกิดมูลค่าและคุณค่าของทั้งองค์กรและสินค้าของยี่ห้อนั้นๆ เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการมากขึ้น

     อีกทั้งยังสะท้อนมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อกลุ่ม LGBT ว่าเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ต้องตีตลาดด้วยความเข้าใจในเรื่องความทันสมัยและกำลังซื้อต่อสินค้า

     ทุนจึงเป็นอีกแรงหนึ่งของการทำงานเคลื่อนไหวในสิทธิความหลากหลายทางเพศ หากเทียบกับเมื่อก่อนที่มีการใช้กลไกทางการเมืองเป็นหลัก คือการพยายามสร้างความเข้าใจสิทธิกับพรรคการเมือง มีนักการเมืองออกมาพูดเรื่องนี้เพื่อสนับสนุนให้เป็นนโยบาย ระยะเวลาสั่งสมจนทำให้มีนักการเมืองที่สนับสนุนสิทธิและมีตัวแทนของเพศหลากหลายอยู่ในสภา แต่กลไกแบบนี้ค่อยๆ กลายมาแนวของการทำงานเรื่องสิทธิที่อิงกับแหล่งทุนทางภาคธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น

     งานของ The Economist ก็เป็นอีกข้อยืนยันหนึ่ง จากที่มีการศึกษาโครงการ #EcoPride Pride and Prejudice ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจเพื่อเพศหลากหลาย ที่ให้บรรดาผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูงออกมากล่าวถึงนโยบายการสนับสนุน LGBT ในภาคธุรกิจ และประเทศไทยเคยจัดงานประชุมทำนองนี้หนึ่งครั้งโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP มีบริษัทชั้นนำในไทยเข้าร่วมกว่าสิบบริษัท แต่ก็เป็นเวทีสะท้อนว่าภาคธุรกิจไทยห่างไกลจากแนวคิดเรื่องสิทธิอยู่มาก

 

Photo: PAU BARRENA/AFP

 

สีน้ำตาลและสีดำที่ถูกเพิ่มบนธงสีรุ้ง

     อีกเรื่องที่อยากยกมานำเสนอ นับเป็นความพีกของงานไพรด์ปีนี้คือ กรณีเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ที่กลุ่มนักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเพศหลากหลายได้ออกมาแจ้งว่าปีนี้ในงานไพรด์ของเมืองจะมีการเพิ่มสีเข้าไปในธงสีรุ้ง นั่นคือสีน้ำตาลและสีดำ เพิ่มมาเป็นสองสีอยู่ด้านบนสุดของธงสีรุ้ง เพื่อรณรงค์เรื่องความสำคัญของกลุ่มคนผิวสีที่เป็น LGBT เรียกว่า People of Color – POC ในแคมเปญ ‘More Color More Pride’

     การทำให้กลุ่มคนผิวสีมีตัวตนในประเด็นสิทธิเพศหลากหลาย และเป็นการยืนยันในหลักการเสมอภาคและเท่าเทียม เนื่องจากสถานการณ์การถูกเลือกปฏิบัติและการตีตราพบว่า กลุ่มเพศหลากหลายที่เป็นคนผิวสีถูกกระทำความรุนแรงในอัตราที่สูงมากอย่างต่อเนื่องในสังคมอเมริกา และรวมไปถึงอาชญากรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียซึ่งชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มคนข้ามเพศที่เป็นคนผิวสี

     บทความในวารสารว่าด้วยคนรักเพศเดียวกัน (Journal of Homosexuality)1 กล่าวถึง กลุ่ม LGBT-POC ว่า กลุ่มคนเหล่านี้ถูกกระทำความรุนแรงจากอคติในอัตลักษณ์ทางเพศและการเหยียดสีผิวบวกรวมกัน จึงเป็นความทับซ้อนของปัญหาและความรุนแรงที่เกิดขึ้น เมื่อนึกย้อนไปปี 2015 กับกรณีกราดยิงในผับที่เมืองออร์แลนโด สหรัฐอเมริกา ยิ่งชี้ให้เห็นถึงความเกลียดชังในความเป็นชาติพันธุ์ เพราะคืนที่เกิดเหตุเป็นงานปาร์ตี้ของกลุ่มลาติน และผู้ก่อเหตุเลือกที่จะกราดยิ่งในคืนนั้น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและสร้างความสะเทือนใจต่อชุมชน LGBT

     การเพิ่มสีเข้าไปในธงสีรุ้งนั้น มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวผิวสีออกมากล่าวถึงกรณีนี้ว่า อาจไม่ใช่เรื่องที่มาพูดรวมกันได้ เพราะเรื่องการเหยียดสีผิวในสหรัฐอเมริกาเป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ต่อสู้เรื่องชนชั้นและการเลือกปฏิบัติเหตุแห่งสีผิว แม้แต่กลุ่ม LGBT ผิวขาวก็ออกมาให้ความเห็นว่า การเคลื่อนไหวด้วยธงสีรุ้งเดิมก็เป็นการแทนและให้ความหมายรวมทุกกลุ่มทุกคนแล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มสีเข้าไปอีก

     ดิฉันมองเรื่องนี้ในฐานะเป็นคนใน (หมายถึงเป็น LGBT) ดิฉันก็นับตนเองเป็นกลุ่มผิวสีหากอยู่ในสังคมอเมริกา ดิฉันเห็นว่าการเพิ่มสีจะช่วยสื่อความหมายของการรวมเอาการมีอัตลักษณ์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดพื้นที่และการแสดงออกทางตัวตนทางเพศภาวะได้ เป็นการให้ความสำคัญต่อคนชายขอบ คนที่เป็นเป้าของการถูกเหยียด และเป็นเรื่องที่สมควร

     การเพิ่มสีนั้นเป็นสัญญะด้านสิทธิที่ขยายออกไป ทำให้ดิฉันนึกถึงข้อเสนอในเวทีสากลที่จะต้องมีการพูดถึงการให้ความสำคัญกับประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยิ่งในเอเชียและแปซิฟิกก็ยิ่งควรจะนำเสนอถึงเรื่องนี้มากที่สุดเพื่อให้เกิดมิติความละเอียดอ่อนต่อข้อเสนอต่างๆ

     ในอีกด้าน ดิฉันเห็นว่าหากยกเรื่องนี้กับเรื่องห้องน้ำของ LGBT ที่มีการเสนอให้เข้าห้องน้ำตามเพศกำเนิด หรือไม่ก็สร้างห้องน้ำแยกออกมาเพิ่ม หรือการจัดให้มีแบบคละเพศที่ทุกคนเข้าได้ ก็เป็นประเด็นที่มองเห็นว่า หรือแท้จริงแล้วไม่ควรแยกออก แบ่งขาด แต่ควรรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวได้ว่าดิฉันเองก็อยู่ในภาวะกึ่งกลางทางความคิดระหว่างการรวมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และการแยกกันเพื่อชี้ให้เห็นความหลากหลายเพื่อความเสมอภาค

 

Photo: NOEL CELIS/AFP

 

     ทุกสิ่งย่อมมีจุดของการเปลี่ยนแปลงและต้องมีจุดเริ่มต้น การให้ความเห็นต่อการเพิ่มสีเข้าไปในธงสีรุ้งก็ยังมีข้อถกเถียงกันต่อไป แม้ในความเป็นจริงจะมีธงประจำกลุ่มอัตลักษณ์ทางเพศอีกมากมายหลายธงในงานไพรด์นอกเหนือจากธงสีรุ้ง

     ดังนั้นเพศที่ไม่มีความนิ่ง และมีความลื่นไหลสูงจนในอนาคตเราไม่สามารถนิยามได้ การมีธงหรือสัญลักษณ์ก็ย่อมมีเพิ่มขึ้นอีก การต่อสู้เพื่อการแสวงหาความเป็นธรรมเป็นเรื่องของการมองให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งทางชนชั้น ภาษา ศาสนา การเมือง เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับกัน การยุติอคติและการตีตราด้วยเหตุแห่งเพศและเรื่องอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังนับเป็นเรื่องท้าทายมากของการพิทักษ์สิทธิ

     นอกจากนี้ในงานไพรด์ยังมีความท้าทายในเรื่องของกระแสทุนและอาจนำไปสู่การจัดงานในเชิงธุรกิจ หรือนี่เป็นเวลาที่ต้องขยายความรู้ความเข้าใจในภาคเอกชนก็เป็นได้

     ในประเทศไทยจะมีการจัดงานไพรด์ในสิ้นปีนี้ ดิฉันหวังที่จะเห็นงานที่เป็นพื้นที่ของพวกเราทุกคนและเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการนำเสนอประเด็นสิทธิชีวิตความเป็นอยู่และให้สังคมได้เข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิทธิเพศหลากหลายมากขึ้น หวังว่างานไพรด์จะสร้างวัฒนธรรมความเป็นเพศให้สังคมได้เรียนรู้และขยายต่อยอดจากเทศกาลแห่งความภาคภูมิใจ และสังคมก็ร่วมภูมิใจในความหลากหลาย – Happy Pride ภูมิใจที่เป็นเรา

 

อ้างอิง: 

The post ไพรด์เทศไพรด์ไทยในการฉลองวัฒนธรรมความเป็นเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/opinion-lgbt-voices-gay-pride/feed/ 0
นายกฯ เกย์คนแรกของไอร์แลนด์: ผู้นำเพศหลากหลาย จุดหมายสังคมเท่าเทียม https://thestandard.co/opinion-lgbt-voices-leo-varadkar-a-gay-man-who-is-first-prime-minister-appear-identity/ Tue, 06 Jun 2017 05:28:31 +0000 https://thestandard.co/?post_type=opinion_post&p=3699

     ข่าวที่เจอในหน้าฟีดโซเชียลมีเดียของ […]

The post นายกฯ เกย์คนแรกของไอร์แลนด์: ผู้นำเพศหลากหลาย จุดหมายสังคมเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ข่าวที่เจอในหน้าฟีดโซเชียลมีเดียของดิฉันในช่วงที่ผ่านมาก็คือ ข่าวของว่าที่นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่เป็นเกย์

     อัตลักษณ์ทางเพศเกย์ หรือที่ดิฉันเรียกภาษาปากว่าเก้งกวางนั้น รวมถึงรสนิยมทางเพศของเขาด้วยที่เป็นคนรักเพศเดียวกัน นับเป็นข่าวใหญ่ของสื่อในต่างประเทศ โดยเฉพาะสำนักข่าวและเพจของกลุ่มสิทธิ LGBT ที่ต่างนำเสนอและยินดีกับ ลีโอ วารัดคาร์ (Leo Varadkar) ว่าที่นายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดและเปิดเผยตัวตนทางเพศตั้งแต่สมัยที่เป็นนักการเมือง เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการทำงานสวัสดิการสังคม

     มองกลับมาอ่านข่าวในประเทศไทย หลายคนคงตกใจไม่น้อยว่ามีนายกฯ ที่เป็นเกย์ได้ด้วยหรือ ในกลุ่มที่เป็นพี่น้องผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นต่างชื่นชมยินดีกับข่าวแบบนี้เป็นที่สุด เพราะนับเป็นอีกก้าวของผู้แทนในนามคน LGBT ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดในรัฐบาล

     มีคนจำนวนไม่น้อยตั้งคำถามถึงความเป็นเพศภาวะว่า เกย์ กะเทย เลสเบี้ยน เป็นนายกฯ ได้จริงหรือ ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้คำตอบแล้วว่าเกย์ก็เป็นนายกฯ ได้ แล้วนายกฯ คนนี้ก็ไม่ใช่คนแรกของโลกด้วย (แต่ไม่ใช่ใครๆ ก็เป็นนายกฯ ได้แบบในบ้านเรา)

     เนื่องด้วยศักยภาพและภาวะผู้นำที่หนุนเสริมให้เกิดความนิยมและเป็นที่ไว้วางใจ หากตัดเรื่องเพศภาวะออกไปก็นับเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่แล้วบนเส้นทางการเมือง การหาเสียง การชูนโยบาย การเลือกตั้ง จนกว่าจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี

     ข่าวนี้ทำให้ดิฉันนึกย้อนไปเมื่อปี 2014 ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมสิทธิมนุษยชนโลก (WorldPride Human Rights Conference) ณ เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ซึ่งได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไอซ์แลนด์คือ โยฮันนา ซิกูร์ดาร์ด็อตเทียร์ ที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ และเป็นนายกฯ คนแรกของโลกที่เป็นเลสเบี้ยนด้วย

     ซึ่งโยฮันนาได้มากล่าวเปิดงานประชุมพร้อมกับคู่ชีวิตของเธอ และได้ปาฐกถาในเรื่องประสบการณ์การทำงานและการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิทางเพศหลากหลาย

     สิ่งที่โยฮันนาได้ทำไว้คือการพิสูจน์เรื่องอัตลักษณ์ทางเพศว่าไม่ได้เป็นส่วนที่ทำให้ศักยภาพคนสูญหายไป ความเป็นคนไม่ได้เสียไปจากการเป็นเลสเบี้ยนของเธอ สิ่งที่น่าใส่ใจคือนายกฯ ที่เป็นบุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศก็ไม่ใช่ว่าจะเดินหน้าเรื่องสิทธิ LGBT อย่างเดียว แต่ที่ผ่านมาระบบการเมืองก็ทำให้ผู้นำเหล่านั้นต่างใช้วิธีการทางการเมืองในการนำเสนอนโยบายเพื่อคนทุกคนในสังคม ด้วยความหวังเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและทั่วถึง แต่อย่างน้อยก็เป็นภาพความทรงจำหนึ่งที่บอกสังคมโลกว่าสังคมที่เป็นธรรมควรเป็นอย่างไร

     ข่าวนี้ได้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่าในประเทศไทยยังไม่เคยมีรัฐมนตรีที่ประกาศตัวเป็นเกย์ เลสเบี้ยน หรือนักการเมืองที่ประกาศอัตลักษณ์ทางเพศของตนต่อสังคม ถึงมีก็มีในระดับท้องถิ่นที่มีข่าวผู้ใหญ่บ้านเป็นกะเทย หรือมีสมาชิก อบจ. เป็นคนข้ามเพศ

     แต่ในต่างประเทศ การออกมาประกาศบอกว่าตัวเองมีตัวตนทางเพศอย่างไรนับเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ และเป็นการหาเสียงไปในตัวกับกลุ่มคนที่สนับสนุน

     ประเด็นความภาคภูมิใจในความเป็น LGBT ในไทยยังไม่เกิด โดยเฉพาะในทางการเมือง ที่น่าตกใจคือ นักการเมืองไทยไม่ได้มีความพยายามหาความรู้ความเข้าใจในกลุ่มประชากรเพศหลากหลาย เห็นได้จากการเลือกตั้งที่ผ่านมา (นานแล้ว) ซึ่งยังไม่เคยได้ยินได้ฟังนโยบาย LGBT จากพรรคไหนเลย

     สาเหตุที่การเมืองไทยยังไม่ได้สนใจเรื่องเพศหลากหลายในสังคม เป็นผลมาจากวิธีคิดแบบอคติทางเพศและไม่ได้สนใจต่อสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเพศในสังคม พรรคการเมืองไม่ได้มีนโยบายที่ถูกคิดและถูกนำเสนอจากความต้องการของประชาชนในด้านนี้

     ซ้ำร้ายในแวดวงการเมืองไทยยังเต็มไปด้วยการกดขี่ทางเพศ หญิงชายทั่วไปยังเกิดการกดขี่ทางเพศโดยเฉพาะสัดส่วนของนักการเมืองหญิง หรือตำแหน่งรัฐมนตรีที่ไม่เคยคิดเรื่องสัดส่วนเพศ ไม่ว่าพรรคไหนก็ไม่สามารถจะก้าวข้ามจากอคติทางเพศไปได้จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งที่ความต้องการต่อการมีนโยบายใหม่ๆ ในการสนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศเป็นทิศทางของการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและเป็นทิศทางของโลก

     แม้ไม่ใช่ LGBT ก็สามารถที่จะเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นผู้ผลักดันนโยบายเพื่อสิทธิทางเพศได้ นับตั้งแต่ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีของประเทศแคนาดา ออกมาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่มีสัดส่วนผู้หญิงผู้ชายให้มีจำนวนเท่ากัน และเป็นนายกฯ ที่ลงไปร่วมเดินงาน Gay Pride จนได้ใจกลุ่มเพศหลากหลายในแคนาดาเป็นจำนวนมาก

     ตามด้วย เอ็มมานูเอล มาครง นายกรัฐมนตรีประเทศฝรั่งเศส ที่ประกาศใช้หลักมิติทางเพศเพื่อจัดสรรให้ทีมรัฐมนตรีมีความสมดุลเรื่องเพศ จึงทำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้นำโลกรุ่นใหม่ที่มีความละเอียดอ่อนทางเพศภาวะ เห็นวิธีคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนของประเทศนั้นๆ ว่ามีพื้นฐานของการทำความเข้าใจเรื่องคนเท่ากัน และเรียนรู้ที่จะอยู่กันท่ามกลางหลากวัฒนธรรมและเคารพในความแตกต่างในฐานะพลเมืองเป็นอย่างดี

     ดิฉันเคยเข้าร่วมประชุมระดับสูงกับองค์การสหประชาชาติ ได้มีโอกาสพบผู้แทนหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีในหลายประเทศ ซึ่งต่างแสดงทัศนะในการทำงานด้านสิทธิทางเพศ และถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะหลายคนสามารถกล่าวในที่ประชุมได้อย่างประทับใจ เข้าใจประเด็น และมีข้อเสนอที่เห็นกลไกความร่วมมือ

     หลายคนคงคิดว่าในการประชุมระหว่างประเทศ จะพูดหรืออ่านบทสุนทรพจน์อะไรออกมาก็ได้ในที่ประชุม จะเอาคำพูดสวยหรูแค่ไหนก็ได้

     แต่จากที่ดิฉันได้เฝ้าติดตามการประชุมต่างๆ ก็ได้เห็นผู้นำหลายประเทศมีวิธีการนำนโยบายไปปฏิบัติ และผลักดันจนมีผลงานการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้ศักยภาพของการบริหารประเทศมีมุมด้านสิทธิทางเพศมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือ สะท้อนไปถึงพื้นฐานความเข้าใจสิทธิของประเทศนั้นๆ ที่ได้คิดวางแผนและลงมือทำมันออกมาในรูปของนโยบาย กฎหมาย เช่น กฎหมายการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน กฎหมายการรับรองเพศ และถือเป็นการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิให้กับประชาชน

     หากประเทศนั้นมีผู้นำเป็นเพศหลากหลายก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่า ประเทศมีกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีจึงทำให้ประชาชนเลือกคนตามความสามารถและมองไปไกลกว่าความเป็นเพศของผู้นำ อีกอย่างคือ ตำแหน่งผู้นำไม่ใช่เวลาพิสูจน์ตัวตนทางเพศ แต่ในระดับผู้บริหารประเทศมันคือช่วงเวลาของการแสดงถึงคุณภาพของผู้นำเพื่อสร้างคุณภาพของสังคม

     หากมองเรื่องเพศติดอยู่ที่ระหว่างขา ก็อย่าได้หวังว่าจะเงยหน้ามองเห็นเรื่องอื่นๆ

The post นายกฯ เกย์คนแรกของไอร์แลนด์: ผู้นำเพศหลากหลาย จุดหมายสังคมเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>