ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 25 Sep 2018 11:12:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 #ป้อมเกาะโต๊ะ #แม้วเกาะจ๊อด เรื่องเล่าที่ไม่ตรงความจริง https://thestandard.co/politics-the-story-thats-not-true/ https://thestandard.co/politics-the-story-thats-not-true/#respond Thu, 20 Sep 2018 13:14:33 +0000 https://thestandard.co/?p=122631

ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน จะผ่านไปแล้ว 12 ปี แต่ทันทีที่อ […]

The post #ป้อมเกาะโต๊ะ #แม้วเกาะจ๊อด เรื่องเล่าที่ไม่ตรงความจริง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน จะผ่านไปแล้ว 12 ปี แต่ทันทีที่อดีตนายกทักษิณโพสต์ว่า อยากให้ประเทศเดินหน้า โดยพร้อมอโหสิกรรมกับฝ่ายที่รังแกทั้งหมด พล.อ. ประวิตร ก็ตอบโต้ว่า ให้ไปเคลียร์คดีเสียก่อน จากนั้นทักษิณก็เปิดประเด็นว่า พล.อ. ประวิตร พูดไม่เหมือนสมัยเกาะขอบโต๊ะขอตำแหน่ง ผบ.ทบ.

 

ไม่มีใครเข้าใจว่าทำไม พล.อ. ประวิตร ต้องตอบโต้อดีตนายกที่พูดเรื่องรัฐประหารปี 2549 ซึ่งเกิดโดยคณะทหารที่ พล.อ. ประวิตร ไม่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าดูจากคลิปก็จะพบว่า สื่อเอาคำพูดของทักษิณเรื่องอโหสิกรรมไปถาม พล.อ. ประวิตร จากนั้น พล.อ. ประวิตร ซึ่งจังหวะนั้นไม่น่าจะรู้เรื่องโพสต์ของทักษิณก็ตอบอย่างที่เป็นข่าวออกมา

 

พูดตรงๆ พล.อ. ประวิตร ถูกนักข่าวถามให้ตอบเพื่อสร้างประเด็นที่ไม่ควรเป็นประเด็นแบบนี้หลายครั้งแล้ว และในเมื่อการควบคุมคำถามของนักข่าวนั้นทำไม่ได้  การหลีกเลี่ยงไม่ตอบคำถามที่ไม่จำเป็นก็เป็นทางเลือกที่ดี

 

แม้ดราม่าของสองคนสูงวัยจะสนุกในแง่การสร้างกระแสสังคม แต่คุณค่าของข่าวแบบนี้เป็นแค่การประชันน้ำลายของสงครามปากที่ไร้ข้อสรุป ซ้ำสิ่งที่อันตรายคือการมั่วประเด็นจนกองเชียร์แต่ละฝ่ายตอบโต้กันด้วยความเท็จ และพอฝุ่นตลบดราม่าจบลง สิ่งที่จะคงเหลือคืออวิชชาทางการเมือง

 

ล่าสุด การตอบโต้ของทักษิณเรื่องว่า พล.อ. ประวิตร พูดไม่เหมือนสมัยขอเป็นผู้บัญชาการทหารบกก็เกิดดราม่า #ป้อมเกาะโต๊ะ ส่วนผู้สนับสนุนอีกฝ่ายก็ตอบโต้โดยแฉภาพทักษิณยืนกุมเป้า โดยมีอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดช่วงปี 2533 โอบไหล่ในสภาพป๋าจนเกิดประเด็น #แม้วเกาะจ๊อด ตามมา

 

แน่นอนว่าการตอบโต้ด้วยภาพผ่านโซเชียลแบบนี้ทำให้ทุกฝ่ายสะใจ แต่ในกรณีนี้ ภาพถูกปั่นให้เป็นเรื่องเล่าบนข้อมูลที่ผิด และถึงที่สุดแล้วภาพทำให้เกิดความเข้าใจทางการเมืองที่บิดเบี้ยวจากความจริง

 

ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้ความเสียหายแก่บุคคลทั้งสองฝ่าย คือการถ่ายทอดและผลิตซ้ำความเข้าใจการเมืองไทยผิดๆ ทั้งในแง่ประชาธิปไตย ความรู้เรื่องทหาร และพฤติกรรมคณะรัฐประหารในไทย

 

อย่างที่เห็นในภาพ นายทหารเสื้อคับที่คีบบุหรี่พร้อมโอบไหล่ทักษิณด้วยบุคลิกกว้างขวางคือ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเดือนเมษายน 2533 และเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารชื่อ ‘คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ’ หรือ รสช. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 จนเกษียณอายุปีเดียวกัน

 

ในแง่ราชการ พล.อ. สุนทร หมดอำนาจเหนือกองทัพไปตั้งแต่เดือนกันยายน 2534 ซึ่งท่านมีอายุครบ 60 ปี ส่วนในแง่การเมือง ตำแหน่งหัวหน้าคณะ รสช. ก็ดำรงอยู่ถึงแค่เดือนเมษายน 2535 ซึ่งคณะรัฐประหารชุดนั้นสิ้นสภาพลงตามรัฐธรรมนูญ

 

อดีตนายกทักษิณเกิดปี 2492 และภาพถ่ายนั้นน่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่ทักษิณอายุ 42-43 ปี แต่โด่งดังในฐานะนักธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงที่เริ่มต้นจากศูนย์ในทศวรรษ 2530 จากธุรกิจวิทยุติดตามตัว เคเบิลทีวี และโทรศัพท์มือถือ Cellular 900 รวมทั้งเริ่มสนใจทำ ‘ดาวเทียมไทยคม’ เพื่อให้ธุรกิจสื่อสารมีความสมบูรณ์

 

ตามที่เรื่องเล่าในดราม่าโต้ประเด็น #ป้อมเกาะโต๊ะ พยายามสื่อสาร ภาพเป็นหลักฐานว่าทักษิณก็สายเกาะทหารเพื่อให้ตัวเองได้งานทางธุรกิจ และภาพพลเอกผู้มีบุคลิกกว้างขวางโอบไหล่ทักษิณยืนค้อมตัวยิ้มๆ ก็ทำให้ง่ายต่อการชี้ว่า หัวหน้าคณะรัฐประหารช่วยให้ทักษิณได้งานดาวเทียม

 

ถ้าประเด็นป้อมเกาะโต๊ะทำให้คนเกาะดูแย่ ส่วนคนโดนเกาะถูกแขวะว่าทำไม่ถูกที่ให้คนเป็น ผบ.ทบ. เพราะขยันเกาะ ภาพโอบก็ทำให้ฝ่ายหนึ่งดูแย่จากเรื่องได้งานเพราะหัวหน้าคณะรัฐประหารช่วย ส่วนอีกฝ่ายก็เสี่ยงจะดูแย่เพราะยกสัมปทานของชาติให้คนตามใจชอบเหมือนกัน

 

อย่างไรก็ดี ภาพนี้เล่าเรื่องที่ผิด กรณีนี้ไม่มีใครได้งานเพราะใครช่วย และไม่มีใครยกสัมปทานให้ใครเพราะเป็นพวกเดียวกัน การโยงภาพกับการประมูลจึงเป็นข่าวเท็จจากความไม่เข้าใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง

 

ในงานเขียนซึ่งอธิบายเหตุการณ์นี้ได้ดีที่สุดของ สรกล อดุลยานนท์ ซึ่งตีพิมพ์ใน มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 2 เมษายน 2544 ทักษิณซึ่งตอนนั้นอายุ 40 ต้นๆ เริ่มคิดทำ ‘ดาวเทียมไทยคม’ ราวๆ ปี 2533 โดยวิธีการในขณะนั้นคือการ ‘ประมูล’ งานนี้จากกระทรวงคมนาคม

 

ดังที่กล่าวไปแล้ว พล.อ. สุนทร ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 จุดเริ่มต้นของดาวเทียมนี้จึงเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กองทัพไม่มีอำนาจในการประมูลโครงการนี้ เช่นเดียวกับผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลานั้นก็ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อเรื่องด้วยเหมือนกัน

 

ในแง่ตัวบุคคล ผู้นำประเทศตอนนั้นคือ พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัน ซึ่งลาออกจากราชการมาทำพรรคชาติไทยตั้งแต่ปี 2519 กระทั่งพรรคชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งจนท่านเป็นนายกในปี 2531 ส่วนรัฐมนตรีคมนาคมยุคนั้นคือ มนตรี พงษ์พานิช จากพรรคกิจสังคม ซึ่งใหญ่ระดับภูมิใจไทยปัจจุบัน

 

ในแง่ระยะเวลา กระทรวงคมนาคมเริ่มเปิดประมูล ‘ดาวเทียมไทยคม’ ในวันที่ 20 กันยายน 2533 จากนั้นรัฐมนตรีก็เซ็นอนุมัติผลการประมูลในวันที่ 7 ธันวาคม ส่วนคณะกรรมการกลั่นกรองซึ่งมีประธานคือปลัดกระทรวงคมนาคมชื่อ ศรีภูมิ ศุขเนตร ก็ประกาศผลการประมูลในวันที่ 14 ธันวาคม ปีเดียวกัน

 

ตามลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการดาวเทียมไทยคม การประมูล การอนุมัติผลการประมูล รวมทั้งการแถลงผลการประมูลดำเนินไปในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2533 ก่อนที่รัฐประหารปี 2534 จะเกิดขึ้น กองทัพจึงไม่มีอำนาจเรื่องนี้ และตัว พล.อ. สุนทร ก็ไม่มีบทบาทให้คุณให้โทษการประมูลแต่อย่างใด

 

ภายใต้ปฏิบัติการข่าวสารเพื่อตอบโต้ดราม่าประเด็น #ป้อมเกาะโต๊ะ เรื่องเล่าที่ไม่ตรงความจริงในภาพทำให้นายทหารซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องประมูลถูกมองว่าช่วยเหลือนักธุรกิจ ส่วนผู้ชนะประมูลก็ถูกมองว่าได้งานเพราะขยันเกาะโต๊ะ ทั้งที่กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาที่กองทัพไม่มีอำนาจอย่างสิ้นเชิง

 

พล.อ. สุนทร รัฐประหารปี 2534 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ส่วนกระทรวงคมนาคมเปิดประมูล ‘ดาวเทียมไทยคม’ วันที่ 20 กันยายน 2533 เท่ากับการประมูลเริ่มในวันที่ทหารยังไม่ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และ พล.อ. สุนทร ยังไม่ได้เข้าสู่วงจรอำนาจอะไร

 

ในปลายปี 2533-2534 ทหารที่สังคมเห็นว่ามีอำนาจขั้นถูกสงสัยว่าจะยึดอำนาจได้ทุกเมื่อคือ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หรือ บิ๊กจิ๋ว ซึ่งเก่ง มีพวกเยอะ มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่สมัย พล.อ. เปรม เป็นนายก และทันทีที่ลาออกจากกองทัพก่อนเกษียณ ก็ถูกรัฐบาลพลเรือนตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี

 

นอกจากการประมูลดาวเทียมไทยคมจะเกิดขึ้นก่อนคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติยึดอำนาจในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนไม่มีทางที่ผู้ชนะหรือนายทหารจะเกี่ยวข้องกับผลประมูลอย่างที่เข้าใจผิด ในแง่เนื้อหาสาระของการประมูลก็อธิบายได้ว่าทำไมผลจึงเป็นอย่างที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

 

ตามเอกสารที่เป็นทางการ บริษัทที่แสดงตัวกับกระทรวงคมนาคมว่าต้องการประมูลโครงการดาวเทียมมีทั้งสิ้น 5 บริษัท แต่เมื่อถึงเวลายื่นซองประมูลกลับมีผู้ส่งเอกสารครบเพียง 3 เจ้า หนึ่งคือชินวัตรคอมพิวเตอร์ของทักษิณ, สองคือไทยแซท และสามคือวาเคไทยของเจ้าของรถไฟฟ้า BTS ปัจจุบัน

 

ในบทความ ไทยคม-ชัด-ลึก สัมพันธ์อลเวง ‘ทักษิณ-จ๊อด’ และท่านสารวัตร ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่กล่าวไป บริษัทของทักษิณเสนอผลประโยชน์ให้รัฐสูงสุดคือ 15.33% ตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี และประกันกำไรขั้นต่ำ 1,350 ล้านบาท

 

สำหรับบริษัทคู่แข่งที่แพ้ประมูล ‘ไทยแซท’ เสนอผลตอบแทน 10% ประกันกำไร 980 ล้านบาท ส่วน ‘วาเคไทย’ ของคีรีเสนอผลตอบแทนให้รัฐ 8.78% และประกันกำไรขั้นต่ำ 875 ล้านบาท หรือต่ำกว่าของบริษัทคุณทักษิณเกือบเท่าตัว

 

ด้วยกระบวนการประมูลและเนื้อหาสาระของการประมูล ไม่มีอะไรให้เชื่อมโยงได้ว่ามีความเอื้อเฟื้อจากนายพลวัยเกษียณจนนักธุรกิจไร้อำนาจในวัย 40 ต้นๆ ได้สัมปทานโครงการดาวเทียม เว้นแต่ความเชื่อว่าทหารจะใช้อำนาจที่ได้มาจากการรัฐประหารเพื่อช่วยเหลือนักธุรกิจที่เสนอผลประโยชน์อย่างที่ต้องการ

 

ความเชื่อนี้จริงหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกัน แต่เรื่องจริงที่ต้องยอมรับคือความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับนักธุรกิจถูกกำกับจากประวัติศาสตร์การเมืองและรูปแบบของการรัฐประหารตลอดเวลา

 

พูดอย่างกระชับที่สุด รัฐประหารปี 2534 เกิดขึ้นในเวลาที่กองทัพเป็นเอกภาพ เพราะความบังเอิญทางประวัติศาสตร์ที่ผู้นำทุกเหล่าทัพจบโรงเรียนนายร้อยรุ่น 5 เหมือนกัน หรือแปลความอีกอย่างก็คือก่อนที่นายทหารรุ่นนี้จะมีอำนาจทุกเหล่าทัพ กองทัพอยู่ใต้อิทธิพลของนายทหารกลุ่มอื่นมาก่อนยาวนาน

 

หากพูดให้เห็นภาพง่ายๆ กองทัพไทยก่อนปี 2534 ที่อยู่ใต้อิทธิพลของทหารกลุ่ม จปร. รุ่น 1 และ จปร. รุ่น 7 การรัฐประหารที่เกิดขึ้นจึงต้องดำเนินการไปโดยเฝ้าระวังแหล่งอำนาจในกองทัพที่หลากหลาย คณะรัฐประหารจึงไม่ตั้งตัวเองเป็นนายก และคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้มาจากการยกเครือข่ายนายพลเป็นรัฐบาล

 

หลังรัฐประหารวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เสร็จสิ้นลง พล.อ. สุนทร แต่งตั้งอดีตทูตซึ่งผันตัวเป็นนักบริหารภาคเอกชนอย่างอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ จากนั้นอานันท์ก็ตั้งคณะรัฐมนตรีจากนักบริหารมืออาชีพที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น รัฐบาลหลังรัฐประหาร 2534 จึงไม่ใช่รัฐบาลทหารอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

 

ด้วยบารมีและสถานะซึ่งมีความสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มอย่างกว้างขวางของอานันท์  คณะรัฐประหารก้าวก่ายการทำงานของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเองแทบไม่ได้ ถึงแม้ทหารบางคนพยายามแทรกแซงรัฐบาลเพื่อช่วยบริษัทสื่อสารที่ยังทำธุรกิจจนถึงตอนนี้ แต่รัฐมนตรีพลเรือนปฏิเสธการแทรกแซงทุกครั้งไป

 

ในกรณีรัฐประหาร 2534 คณะผู้ยึดอำนาจไม่ได้ล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วตั้งตัวเองเป็นนายกและคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารประเทศหลังรัฐประหารมาจากพลเรือนที่มีวิสัยทัศน์และเป็นที่ยอมรับสูง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือโดยภาพรวมแล้วคณะรัฐประหารไม่มีพฤติกรรมแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล

 

จริงอยู่ว่าธรรมชาติของการรัฐประหารเปิดโอกาสให้เจ้าสัวเข้าถึงนายพลเพื่อผลักดันโครงการขนาดใหญ่อย่างไม่โปร่งใส แต่อำนาจที่เป็นจริงในกองทัพและนอกกองทัพทำให้รัฐประหาร 2534 มีเรื่องนี้น้อยกว่าในยุคหลังอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะในแง่ตัวเรื่องที่เป็นข่าวอื้อฉาวและในแง่วงเงินงบประมาณ

 

มองแบบยาวๆ รัฐประหาร 2534 เป็นต้นแบบของรัฐประหาร 2549 ที่ผู้ยึดอำนาจไม่ได้ตั้งตัวเองเป็นรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็ไม่ได้มีพฤติกรรมใช้อำนาจรัฐเพื่อจรรโลงสถานะไม่สิ้นสุด การรัฐประหารทั้งสองครั้งจึงไม่ได้สร้างปัญหาและไม่ได้มีข่าวอื้อฉาวมากนัก เมื่อเทียบกับการรัฐประหารที่ตั้งตัวเองเป็นรัฐบาลโดยตรง

 

โดยปกติแล้ว 12 ปี คือเวลาที่นานจนเด็กทารกเข้าเรียนมัธยมต้นเริ่มวัยเจริญพันธุ์ และถ้าเป็นความสัมพันธ์ฉันท์คนรักที่โรยรา 12 ปี คือเวลาซึ่งเนิ่นนานพอที่ความแค้นจะเลือนหายจนต่างฝ่ายต่างมีครอบครัวใหม่ไปหมด

 

อย่างไรก็ดี ดราม่าประเภท #ป้อมเกาะโต๊ะ ไปเคลียร์คดีให้หมด หรือแม้แต่ #แม้วเกาะจ๊อด ชี้ว่าแม้รัฐประหารปี 2549 จะผ่านไปแล้ว 12 ปี เวลาที่เนิ่นนานกลับไม่ทำให้ความรัก ความแค้น ความขัดแย้ง การเรียกร้องความเป็นธรรมของผู้สูญเสีย และการไล่ล่าจากฝ่ายยึดอำนาจในวันนั้นจบลง

 

หัวหน้ารัฐประหารอย่าง พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน อาจเป็นนายพลเกษียณอายุที่ถูกจดจำในฐานะคุณปู่ของอดีตดาราดัง ส่วนนายกหลังรัฐประหารอย่าง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ อาจกลับไปเป็นองคมนตรีอย่างที่ท่านเคยเป็นมา แต่ตัวละครอื่นๆ ยังมีบทบาทและมีการเผชิญหน้าอย่างที่เคยเป็น

 

ถึงแกนนำม็อบหนุนรัฐประหารอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล จะปลอมเอกสารเพื่อกู้เงินจนถูกจำคุกไปแล้วสองปี ผู้ร่วมงานม็อบฝ่ายสนธิก็ยังเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยุค คสช. จัดตั้งพรรคเพื่อหนุนพล.อ. ประยุทธ์เป็นนายก ดำรงตำแหน่งคณบดีหรืออธิการบดี ฯลฯ รวมถึงทำงานให้ผู้มีอำนาจปัจจุบัน

 

ในระดับสถาบันการเมืองที่เป็นทางการ มีชัย ผู้เป็นประธานสภานิติบัญญัติจากคณะรัฐประหารปี 2549 ก็เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐประหารปี 2557 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นรัฐมนตรีคลังในยุคนั้น และก็เป็นรองนายกเศรษฐกิจในยุคนี้ เช่นเดียวกับตัวละครมหาศาลที่มีบทบาทจากปี 2549 จนปัจจุบัน

 

การตอบโต้ทางวาทกรรมระหว่างอดีตนายกทักษิณและประวิตร เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งใหญ่ที่ยังไม่จบ และภายใต้ความขัดแย้งที่ตัวละครหลายกลุ่มยังมีบทบาทจนได้ประโยชน์จากความขัดแย้งแบบนี้ โอกาสที่ประเทศไทยจะเดินหน้าสู่สภาวะสันติคือฝันที่อยู่ไกลความจริง

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post #ป้อมเกาะโต๊ะ #แม้วเกาะจ๊อด เรื่องเล่าที่ไม่ตรงความจริง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/politics-the-story-thats-not-true/feed/ 0
พรรคสุเทพ: ทางเลือกเก่าสู่อนาคตที่มืดมน https://thestandard.co/suthep-new-party-in-sirote-klampaiboon-opinion/ https://thestandard.co/suthep-new-party-in-sirote-klampaiboon-opinion/#respond Tue, 05 Jun 2018 10:32:21 +0000 https://thestandard.co/?p=95408

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู […]

The post พรรคสุเทพ: ทางเลือกเก่าสู่อนาคตที่มืดมน appeared first on THE STANDARD.

]]>

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

คุณสุเทพไม่ใช่นักการเมือง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่าทำเพื่อประชาธิปไตย และไม่ว่าคุณสุเทพจะปั้นแต่งเหตุผลเรื่องการขัดขวางการเลือกตั้งปี 2557 อย่างไร การตั้งม็อบแล้วปิดล้อมหน่วยเลือกตั้งจนถึงขั้นทำร้ายผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนไม่ใช่พฤติกรรมประชาธิปไตยแน่ๆ ต่อให้ผู้ติดตามคุณสุเทพจะบอกตัวเองอีกแบบก็ตาม

 

นอกจากจะปลุกระดมมวลชนให้ประทุษร้ายพลเมืองผู้ใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย คุณสุเทพยังสนับสนุนให้หัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นนายกฯ ไม่หยุด ยิ่งกว่านั้น คือคุณสุเทพสารภาพกับบางกอกโพสต์ว่าคุยกับ พล.อ. ประยุทธ์ ตั้งแต่ก่อนยึดอำนาจว่ากองทัพจะรับช่วงจาก กปปส. ที่ม็อบยึดกรุงเทพฯ แล้วครึ่งปี

 

ตามคำให้การของคุณสุเทพในโอกาสที่ พล.อ. ประยุทธ์ ใช้กำลังยึดอำนาจครบเดือนในวันที่ 23 มิถุนายน 2557 คุณสุเทพไม่เพียงมีบทบาทรวบรวมผู้คนให้ละเมิดสิทธิเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ แต่คุณสุเทพยังสื่อให้เห็นว่ารู้เห็นกับรัฐประหารตั้งแต่ก่อนเกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนนายกฯ จากการยึดอำนาจมาตลอดเวลา

 

ต่อให้มองข้ามเรื่องที่คุณสุเทพไม่เคยปกป้องประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิตลอด 4 ปีตั้งแต่ห้ามชุมนุม, สื่อถูกปิด, คนเห็นต่างถูกจับ, ดำเนินคดีพรรคที่วิจารณ์รัฐบาล, ทหารอุ้มชาวสวนยางไม่ให้ประท้วงยางราคาตก ฯลฯ บทบาทคุณสุเทพหลังปี 2557 ก็ไม่มีตรงไหนเกื้อกูลการเติบโตของประชาธิปไตยแม้แต่นิดเดียว

ขณะที่ พล.ต. สนั่น ทำให้คุณชวนได้เป็นนายกฯ เพราะพรรคชนะเลือกตั้งหนึ่งครั้ง และอีกครั้งแพ้พรรคอื่นแค่ 2 ที่นั่ง คุณสุเทพกลับทำให้พรรคได้ ส.ส. ต่ำกว่าพรรคพลังประชาชนที่ถูกคณะรัฐประหารปี 2549 เล่นงานทุกด้าน 68 เสียง ซ้ำการเลือกตั้งครั้งถัดไปก็ได้ ส.ส. ลดลงไปอีก 106 ทั้งที่ตัวเองเป็นรัฐบาล

โดยปกติแล้วพรรคการเมืองควรเป็นการรวมตัวของบุคคลซึ่งเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยภูมิหลังของผู้ก่อตั้งที่ไม่ได้มีบทบาทสนับสนุนประชาธิปไตยมาเกือบครึ่งทศวรรษ คำถามมีอยู่ว่าคุณสุเทพก่อตั้งพรรคนี้เพื่ออะไร และอะไรคือยุทธวิธีของพรรคนี้ในการสืบทอดภารกิจที่คุณสุเทพทำตลอดมา 5 ปี

 

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อย่าง คุณนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ตั้งข้อสังเกตไว้แหลมคมว่า คุณสุเทพตั้งพรรคเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง แต่โดยปกติแล้วพรรคจะเป็นที่มาของอำนาจก็โดยสามเงื่อนไขเท่านั้น หนึ่งคือมีจำนวน ส.ส. มากในสภา สองคือมีผู้มีบารมีทางการเมืองสังกัด และสามคือพรรคเล่นการเมืองมวลชน

 

เริ่มต้นที่เรื่องจำนวน ส.ส. ในสภา การสำรวจความเห็นประชาชนหลายครั้งให้ผลตรงกันว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นการแข่งขันของสองพรรคใหญ่อย่างที่เป็นมาเกือบ 20 ปี หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นั่นคือเป็นการพิสูจน์ความนิยมระหว่างประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย ซึ่งในอดีตคือไทยรักไทยและพลังประชาชน

 

ภายใต้การแบ่งขั้วทางการเมืองที่เหนียวแน่นมาเกือบ 20 ปี พรรคคุณสุเทพไม่มีทางมี ส.ส. ในสภาเทียบเท่าสองพรรคใหญ่ได้แน่ๆ ไม่แม้แต่จะเทียบได้กับพรรคขนาดกลางที่มีคะแนนนิยมในพื้นที่เหนียวแน่นอย่างภูมิใจไทยของคุณเนวินและชาติไทยพัฒนา ต่อให้วันนี้คุณบรรหารจะไม่อยู่เป็นผู้นำพรรคแล้วก็ตาม

 

คุณสุเทพทำพรรคโดยมีฐาน ส.ส. หนึ่งคนคือน้องตัวเอง และต่อให้คุณสุเทพจะดำเนินการดูดนักการเมืองเก่าแค่ไหน พรรคนี้ก็ไม่มีทางมีพลังดูดเท่าพรรคประชารัฐที่มีทั้งคุณสมคิดและงบรัฐบาลสนับสนุนไปได้ ไม่ต้องพูดถึงคนอื่นในพรรคที่ก็ไม่ได้มีเครือข่ายพอจะดูดนักการเมืองสายที่นิยมการถูกดูดได้เหมือนกัน

 

ในเมื่อไม่มีทางที่นักการเมืองเกรดเอจะย้ายจากเพื่อไทย, ประชาธิปัตย์, ภูมิใจไทย, ชาติไทยพัฒนา ฯลฯ มาอยู่กับพรรคคุณสุเทพ คุณสุเทพจึงไม่มีทางสร้างอำนาจต่อรองด้วยจำนวน ส.ส. ที่ประชาชนเลือกเข้าสภา

 

มองในแง่การดึงผู้มีบารมีทางการเมืองร่วมงาน แม้คุณสุเทพจะสร้างม็อบขัดขวางการเลือกตั้งและยึดกรุงเทพฯ ปี 2557 จนสร้างวิกฤตให้ทหารยึดอำนาจสำเร็จ คนแต่ละกลุ่มก็ร่วมชุมนุมกับคุณสุเทพด้วยเหตุที่ต่างกัน ความเชื่อว่าคนจะลงคะแนนให้พรรคเพราะคุณสุเทพเคยนำม็อบจึงเป็นมโนภาพที่ไกลเกินจริง

 

แม้ในเวลาที่คุณสุเทพมีตำแหน่งเลขาพรรคประชาธิปัตย์เป็นอาภรณ์ คุณสุเทพก็ไม่ใช่คนที่เชิญชวนนักการเมืองและผู้มีชื่อเสียงให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคได้มากนัก คุณสุเทพในฐานะเลขาฯ มีบารมีน้อยกว่าอดีตเลขาฯ อย่าง พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ อย่างเทียบไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงผลงานการเมืองที่ห่างชั้นกันไกล

 

ขณะที่ พล.ต. สนั่น ทำให้คุณชวนได้เป็นนายกฯ เพราะพรรคชนะเลือกตั้งหนึ่งครั้ง และอีกครั้งแพ้พรรคอื่นแค่ 2 ที่นั่ง คุณสุเทพกลับทำให้พรรคได้ ส.ส. ต่ำกว่าพรรคพลังประชาชนที่ถูกคณะรัฐประหารปี 2549 เล่นงานทุกด้าน 68 เสียง ซ้ำการเลือกตั้งครั้งถัดไปก็ได้ ส.ส. ลดลงไปอีก 106 ทั้งที่ตัวเองเป็นรัฐบาล

ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของคุณสุเทพและพรรคแบบนี้ ทางเดียวที่คุณสุเทพจะทำพรรคเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างที่คุณนิพิฏฐ์กล่าวไว้คือการใช้พรรคปลุกระดมมวลชนอย่างที่เคยทำ กปปส. จากนั้นก็สร้างสถานการณ์การเมืองให้การเลือกนายกฯ เกิดทางตันแล้วหนุน ‘นายกฯ คนนอก’ ที่เครือข่ายนี้ต้องการ

ในแง่ความยอมรับทางการเมือง ประชาธิปัตย์ที่คุณชวนเป็นหัวหน้าและคุณสนั่นเป็นเลขาฯ สามารถรวบรวมคนระดับคุณศุภชัย พานิชภักดิ์, คุณบุญชู โรจนเสถียร, คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์, คุณสาวิตต์ โพธิวิหค, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ฯลฯ ให้เข้าพรรค ขณะที่คุณสุเทพทำให้เป็นยุคทองของคุณมัลลิกาและคุณสกลธี

 

พูดให้เห็นภาพขึ้น ประชาธิปัตย์ยุคก่อนคุณสุเทพเป็นที่นับถือจนมีผู้สมัคร ส.ส. เป็นอดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารทหารไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, เลขาฯ BOI และอาจารย์สายประชาธิปไตยจากรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนประชาธิปัตย์ยุคคุณสุเทพไม่สามารถดึงดูดคนที่มีศักยภาพแบบนั้นได้แม้แต่นิดเดียว

 

ทั้งที่คุณสุเทพเป็นเลขาฯ พรรคภายใต้ความได้เปรียบจากรัฐประหาร 2549 คุณสุเทพกลับไม่เคยทำอะไรให้พรรคสำเร็จเท่าคุณชวนและคุณสนั่น นักการเมืองกลุ่มเดียวที่คุณสุเทพดึงมาได้คือเครือข่ายคุณเนวินจากไทยรักไทย แต่คุณเนวินก็ไม่ได้มาเพราะคุณสุเทพเท่าความต้องการร่วมรัฐบาลที่ทหารอยู่เบื้องหลังอยู่ดี

 

ในเมื่อคุณสุเทพที่เป็นเลขาฯ พรรคใหญ่ทำผลงานได้แค่นี้ คุณสุเทพในวันที่เป็นอดีตแกนนำม็อบขวางเลือกตั้ง ซึ่งมีคดีเยอะไปหมด ย่อมไม่มีทางดึงนักการเมืองหน้าเก่าหรือผู้มีชื่อเสียงหน้าใหม่ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

 

น่าสังเกตว่าพรรคคุณสุเทพเปิดตัวที่มหาวิทยาลัยรังสิตด้วยคนหน้าเก่าในวงการการเมืองหลายคน และถึงแม้บางคนจะเป็นที่นับถือในคนกลุ่มเดียวกัน สังคมก็ไม่รู้จักคนเหล่านี้พอจะสร้างคะแนนนิยมให้พรรคเป็นกอบเป็นกำได้ คุณสุเทพจึงไม่มีทางสร้างอำนาจต่อรองได้ หากอาศัยแต่คนหน้าเก่าที่มีชื่อไม่กี่คน

 

ในบรรดาคนหน้าเก่าซึ่งเปิดตัวกับพรรคสุเทพในวันที่ 3 มิถุนายน ม.ร.ว.จัตุมงคล กับ อ.เอนก เป็นคนซึ่งสังคมรู้จักมากที่สุด ท่านแรกเป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลังซึ่งต่อมานายกฯ บรรหารตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2539 ส่วนอีกท่านเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลายชุดที่รัฐบาลคณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นมา

 

แน่นอนว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล เป็นที่ยอมรับในแง่ความเฉียบแหลมด้านการคลังและการพัฒนา ไม่ต้องพูดถึงบทบาทท่านเมื่อเป็นข้าราชการผู้น้อยที่ปกป้องผลประโยชน์ประเทศเยอะมาก เช่นเดียวกับการเขียนหนังสือ ‘สดุดีคนอื่น’ ที่แสดงคุณธรรมแห่งการให้เกียรติผู้อยู่เบื้องหลังโครงการขนาดใหญ่อันแสนจับใจ

 

ไม่ว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล จะเป็นที่เชื่อถือในคนที่เคยร่วมงานกับท่านแค่ไหน ข้อเท็จจริงคือคนทั่วไปรู้จักท่านน้อยจนคุณสุเทพได้คะแนนจากท่านไม่ได้แน่ๆ และที่จริงท่านหมดบทบาทสาธารณะไปเมื่อถูกคุณทักษิณปลดจากผู้ว่าธนาคารชาติในปี 2544 ซึ่งเท่ากับไม่มีใครมีโอกาสรู้ว่าท่านคือใครและทำอะไรมาเกือบ 20 ปี

 

นอกจากจะไม่ได้คะแนนจาก ม.ร.ว. ผู้น่านับถือที่ไม่เคยรับตำแหน่งหลังรัฐประหารแบบคนระดับท่านบางราย คุณสุเทพก็ยากจะได้คะแนนเป็นกอบเป็นกำจากอดีตนักวิชาการอย่าง อ.เอนก ที่มีภาพว่าถูกรัฐบาลทหารตั้งให้เป็นประธานโน่นนี่เยอะไปหมด รวมทั้งตำแหน่งในสภาปฏิรูปซึ่งสังคมมองว่าไม่ได้ทำอะไร

 

จริงอยู่ว่า อ.เอนก เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้าพรรคมหาชน แต่ท่านได้ตำแหน่งทั้งที่ไม่เคยเป็น ส.ส. เพราะใกล้ชิดเลขาฯ พรรคอย่าง พล.ต. สนั่น ซึ่งยิ่งใหญ่จนเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยด้วย ตำแหน่งจึงเป็นผลของการวิ่งเต้นทางการเมืองด้วยเส้นทางลัดยิ่งกว่าแสดงถึงความยอมรับจากประชาชน

 

เมื่อ พล.ต.สนั่น ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเพราะแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ อ.เอนก ก็หมดบทบาทในพรรคตามไปด้วย และเมื่อคุณสนั่นตั้งพรรคมหาชนแล้วคนอื่นปฏิเสธคำเชิญเป็นหัวหน้าพรรค อ.เอนก จึงได้ตำแหน่งนี้ในที่สุด ผลก็คือพรรคได้ ส.ส. 2 ที่นั่ง ส่วนตัวเองกับคุณสนั่นสอบตกแบบไร้ราคา

 

อ.เอนก อาจเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิชาการดังเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่การที่ท่านมีตำแหน่งสาธารณะจากความใกล้ชิดกับ ‘ผู้ใหญ่’ ทั้งทหารและพรรคการเมืองก็คือใบเสร็จยืนยันว่าท่านไม่ใช่คนที่มีคะแนนนิยมโดยตัวเองมาตลอด 20 ปีบนเส้นทางการเมืองที่ ‘เครือข่าย’ สำคัญกว่าความนับถือของประชาชน

 

แม้จะระดมเสียงประชาชนเพื่อสร้างความสนับสนุนทางการเมืองไม่ได้ อ.เอนก ก็สำคัญในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์สู่การเชื่อมต่อกับ ‘เครือข่าย’ ที่อยู่เบื้องหลังพรรคคุณสุเทพทั้งหมด เช่นเดียวกับ ม.ร.ว.จัตุมงคล

องค์ประกอบในพรรคคุณสุเทพทำให้พรรคนี้ไม่มีทางประสบความสำเร็จในสนามเลือกตั้ง แต่ความพ่ายแพ้ไม่ใช่ปัญหาของพรรคที่ตั้งเพื่อสร้างสถานการณ์เป็นหลัก เพราะมีแต่วิธีนี้ที่พรรคซึ่งคะแนนเสียงต่ำจะมีอำนาจต่อรองสูงจนผลักดันให้นายกฯ ที่ประชาชนไม่ได้เลือกขึ้นยึดครองประเทศตามที่พลังเบื้องหลังเครือข่ายนี้ต้องการ

ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของคุณสุเทพและพรรคแบบนี้ ทางเดียวที่คุณสุเทพจะทำพรรคเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างที่คุณนิพิฏฐ์กล่าวไว้คือการใช้พรรคปลุกระดมมวลชนอย่างที่เคยทำ กปปส. จากนั้นก็สร้างสถานการณ์การเมืองให้การเลือกนายกฯ เกิดทางตันแล้วหนุน ‘นายกฯ คนนอก’ ที่เครือข่ายนี้ต้องการ

 

เห็นได้ชัดว่ายุทธศาสตร์คุณสุเทพจะประสบความสำเร็จได้ด้วยเงื่อนไขสองข้อ ข้อแรกคือการใช้พรรคเป็นกลไกสร้างขบวนการแบบพันธมิตรและ กปปส. ข้อสองคือการแย่งชิง ส.ส. จากพรรคใหญ่มาสนับสนุนคุณสุเทพแบบที่เคยวิ่งราวกลุ่มคุณเนวินจากไทยรักไทยมาหนุนคุณอภิสิทธิ์ตั้งรัฐบาล

 

เฉพาะในเรื่องแรก อ.เอนก ได้ประกาศในวันเปิดตัวพรรคแล้วว่าจะตั้ง ‘โรงเรียนการเมือง’ อันเป็นยุทธวิธีที่คุณสุเทพเคยทำ 1 ปีก่อนก่อม็อบ ส่วนเรื่องที่สองก็เป็นเรื่องที่ประชาธิปัตย์ต้องจัดการว่าจะทำอย่างไรกับ กปปส. ที่คุณสุเทพทิ้งไว้เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้ยกมือหนุนนายกคนนอกอย่างที่คุณสุเทพต้องการ

 

ภายใต้คนหน้าเก่าซึ่งทำหน้าที่ด้านภาพยิ่งกว่าจะนำมาซึ่งคะแนนเสียง คนกลุ่มใหญ่ในพรรคคุณสุเทพได้แก่นักปราศรัยและนักจัดม็อบที่เคยยึดทำเนียบ, ยึดสนามบิน, ล้มเลือกตั้ง ฯลฯ จนเกิดรัฐประหาร 2549 และ 2557 จนกล่าวได้ว่าบุคลากรที่ชำนาญการปลุกเร้ามวลชนเพื่อสร้างวิกฤตคือพลังของพรรคที่แท้จริง

 

ไม่เพียงพรรคคุณสุเทพจะเป็นที่รวมของผู้มีบทบาทระดมมวลชนอย่างคุณสุริยะใส, อดีต ส.ว. จากการแต่งตั้งอย่าง คุณประสาร มฤคพิทักษ์ หรือพิธีกรรายการ เดินหน้าประเทศไทย แม้แต่ทีมโฆษกหรือคณะทำงานของพรรคคุณสุเทพก็ประกอบด้วยนักปราศรัยบนเวทีขัดขวางการเลือกตั้งในปี 2557 หลายรายด้วยเช่นกัน

 

ไม่ควรมีใครถูกกีดกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะเคยเคลื่อนไหวมวลชน แต่ในเมื่อคนเหล่านี้เคยมีบทบาทล้มล้างประชาธิปไตยมาแล้วสองครั้ง พรรคที่หนาแน่นไปด้วยบุคคลแบบนี้จึงไม่ปกติ เพราะเป็นสัญญาณของการตั้งพรรคโดยไม่หวังผลด้านเลือกตั้งเท่าการบีบประเทศสู่ระบบปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

 

องค์ประกอบในพรรคคุณสุเทพทำให้พรรคนี้ไม่มีทางประสบความสำเร็จในสนามเลือกตั้ง แต่ความพ่ายแพ้ไม่ใช่ปัญหาของพรรคที่ตั้งเพื่อสร้างสถานการณ์เป็นหลัก เพราะมีแต่วิธีนี้ที่พรรคซึ่งคะแนนเสียงต่ำจะมีอำนาจต่อรองสูงจนผลักดันให้นายกฯ ที่ประชาชนไม่ได้เลือกขึ้นยึดครองประเทศตามที่พลังเบื้องหลังเครือข่ายนี้ต้องการ

The post พรรคสุเทพ: ทางเลือกเก่าสู่อนาคตที่มืดมน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/suthep-new-party-in-sirote-klampaiboon-opinion/feed/ 0
อวสานสมชัย : ไพ่ที่ถูกทิ้งในระบบล้มเลือกตั้ง https://thestandard.co/somchai-seesoonthiyaakorn-was-dismissed-by-section-44/ https://thestandard.co/somchai-seesoonthiyaakorn-was-dismissed-by-section-44/#respond Wed, 21 Mar 2018 11:20:50 +0000 https://thestandard.co/?p=78906

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู […]

The post อวสานสมชัย : ไพ่ที่ถูกทิ้งในระบบล้มเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

การใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ปลดคุณสมชัย ศรีสุทธิยากร จาก กกต. เป็นการใช้อำนาจคณะรัฐประหารจัดการบุคคลในองค์กรอิสระที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้ระบอบ คสช.จะใช้ ม.44 ปลดข้าราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนนับไม่ถ้วน แต่ไม่เคยที่ พล.อ. ประยุทธ์ จะเซ็นชื่อปลดกรรมการองค์กรอิสระคนเดียวแบบที่ทำกับสมชัย

 

ไม่มีใครรู้ว่าคุณประยุทธ์ไม่พอใจอะไรคุณสมชัยนักหนา นอกจากตัวคุณประยุทธ์เอง ซึ่งตามกฎหมายที่ตัวเองเขียนขึ้น คุณประยุทธ์ไม่จำเป็นต้องชี้แจงเหตุในการปลดหรือรับผิดชอบอะไรแม้แต่นิดเดียว

 

คุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์น่าจะเป็นคนที่ดีใจที่สุดที่คุณประยุทธ์ทำแบบนี้ เพราะต่อไปนี้ข้อครหาว่าฝั่งไทยรักไทยแทรกแซงองค์กรอิสระจะเป็นเรื่องตลก เพราะการปลดคือการแทรกแซง ในขณะที่อดีตนายกฯ สองคนนี้ไม่เคยปลดใครแบบนี้ และคุณประยุทธ์น่าจะเป็นคนแรกที่ปลดกรรมการองค์กรอิสระในประเทศไทย

 

จริงอยู่ว่าคุณประยุทธ์มีอำนาจตามกฎหมายที่เขียนเองในการปลด แต่ต้นทุนทางการเมืองในการปลดครั้งนี้แพงมาก และน่าจะเป็นหนึ่งในเคราะห์กรรมทางการเมืองที่จะไล่ล่ารัฐบาลนี้ ต่อให้จะเป็นการปลดหนึ่งในบุคลากรทางการเมืองที่มีคนรักน้อยที่สุดในประเทศไทยอย่างคุณสมชัยก็ตาม

 

ในโรดแมปตามแผนที่ สนช. ซึ่งเป็นคนของรัฐบาลกำหนด กรรมการชุดปัจจุบันจะพ้นวาระทันทีที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. เสร็จสิ้น

 

ในทางปฏิบัติ กกต. ชุดสมชัยจึงเหมือนคนป่วยที่อยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ เหลือเพียงแต่รอวันมรณะจริงในวันที่ กกต. ชุดใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน

 

คำถามคือ ทำไมคุณประยุทธ์ต้องใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ปลดคุณสมชัย ในเมื่อ กกต.ทั้งชุดก็จะหมดอำนาจไปในอีกไม่กี่วัน?

 

คำแถลงของคุณประยุทธ์ในราชกิจจานุเบกษาระบุสาเหตุในการปลดคุณสมชัยสองข้อ ข้อแรกคือสมชัยพูดเรื่องการเลือกตั้งเยอะจนคนสับสน ข้อสองคือคุณสมชัยสมัครเป็นเลขาฯ กกต. ทั้งที่ตัวเองเป็น กกต. ซึ่งเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ แต่คนที่มีวิจารณญาณกี่คนจะเชื่อว่าสองเรื่องนี้เป็นเหตุแห่งการปลดจริง?

 

ถ้าปลดคุณสมชัยเพราะทำสังคมสับสนเรื่องวันเลือกตั้ง ตลอดสี่ปีที่ผ่านมา คนไทยคงสับสนเรื่องนี้เพราะการเลือกตั้งถูกเลื่อนซ้ำซากมาแล้วสี่ครั้ง ยิ่งกว่านั้นคือฝ่ายเลื่อนมุ่งมั่นจนทำตั้งแต่คว่ำรัฐธรรมนูญ แกล้งทะเลาะกันเรื่องกฎหมายลูก ยื่นศาลตรวจกฎหมาย หรือแม้แต่บังเอิญเจอระเบิดที่ใช้งานไม่ได้ตลอดเวลา

 

ถ้าจะปลดคุณสมชัยเพราะทำให้สังคมสับสนเรื่องเลือกตั้ง คนที่ควรถูกปลดเป็นอันดับแรกคือคนที่ทำให้การเลือกตั้งเลื่อนซ้ำซากไม่รู้จบ ส่วนเรื่องสมชัยสมัครเลขาฯ เป็นการขัดผลประโยชน์หรือไม่นั้นเป็นเรื่องกฎหมายที่ กกต. ต้องวินิจฉัย ไม่ใช่คนนอกไปยุ่งเรื่องซึ่งคนมีอำนาจตามกฎหมายเขาไม่พูดอะไร

 

พูดตรงๆ การปลดโดยอ้างเรื่องสมชัยสมัครเป็นเลขา กกต. ทำให้คุณประยุทธ์ยื่นมือไปแทรกแซงองค์กรอิสระมากขึ้นไปอีก เพราะไม่เพียงยุบ ส่งคนไปคุม ปลดกรรมการองค์กรอิสระ แต่ยังทำเรื่องที่เป็นอำนาจกรรมการองค์กรอิสระโดยตรง

 

ความเป็นมาแบบนี้ทำให้เชื่อได้ยากว่าคุณประยุทธ์พูดความจริงอย่างครบถ้วนในคำแถลงเหตุปลดสมชัย

 

ใครที่อ่านหนังสือออกย่อมรู้ว่าคุณประยุทธ์เห็นต่างกับคุณสมชัยเรื่องคืนอำนาจให้ประชาชน การเลื่อนเลือกตั้งสี่ครั้งในสี่ปีคือใบเสร็จว่าคุณประยุทธ์ไม่อยากคืน ส่วนคุณสมชัยเล่นบทเตือนภัยสังคมเรื่องยุทธวิธีที่ ‘กลุ่มเลื่อน’ ใช้ในการยื้ออำนาจไปเรื่อยๆ ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่ตรงกับที่คุณสมชัยพูดจริง

 

ในรอบปีที่ผ่านมา คุณสมชัยชี้ว่ายุทธวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมที่ฝ่ายเลื่อนเลือกตั้งทำเพื่อยื้ออำนาจมีสามเรื่อง หนึ่งคือยึดอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งไปเป็นของตัวเอง สองคือใช้ชั้นเชิงในสภายื้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และสามคือยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจกฎหมายจนการเลือกตั้งอาจช้าไปอีกเป็นปี

 

ขณะที่นายกผู้รัฐประหารโดยอ้างเรื่องโมฆะกรรมของการเลือกตั้ง 2557 ระบุว่าตัวเองจะประกาศวันเลือกตั้งเอง ตั้งเงื่อนไขว่าจะไม่เลือกตั้งหากพรรคการเมืองไม่มาคุยด้วย สั่งให้ทุกพรรคชี้แจงนโยบายตามที่นายกระบุ คุณสมชัยทักตรงๆ ว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจในการประกาศวันเลือกตั้งเป็นของ กกต.

 

แปลไทยให้เป็นไทยก็คือคุณสมชัยบอกนายกและคนไทยว่าคุณประยุทธ์ไม่มีสิทธิยึดอำนาจประกาศวันเลือกตั้งเป็นของตัวเองตามใจชอบ กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจคุณประยุทธ์เรื่องนี้ และฉะนั้น จึงไม่มีใครต้องทำอะไรตามเงื่อนไขนอกกฎหมายซึ่งคุณประยุทธ์ตั้งขึ้นซึ่งขัดกับอำนาจที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้อีกทาง

 

ข้ออ้างทางกฎหมายเรื่องเดียวที่ให้นายกยุ่งเรื่องวันเลือกตั้งคือคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 ซึ่งคุณประยุทธ์เขียนเองหลังรัฐธรรมนูญผ่านแล้วว่าให้รัฐบาล และ คสช. จัดทำขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยให้หารือกับ กกต. กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประธาน สนช. และอาจเชิญผู้แทนพรรคหรือกลุ่มการเมืองร่วมพูดคุย

 

อย่างไรก็ดี คำสั่งนี้ไม่ได้บอกว่าการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของนายก เช่นเดียวกับไม่ได้บอกว่านายกเลื่อนเลือกตั้งได้ หากพรรคการเมืองไม่มาชี้แจงนโยบายกับรัฐบาลที่มีอำนาจโดยจับพรรคการเมืองวันรัฐประหาร ไม่ต้องพูดถึงเรื่องอย่างให้ ‘รัฐบาล’ หารือ ‘คสช.’ ทั้งที่สององค์กรนี้แทบเป็นเรื่องเดียวกัน

 

ยังดีที่คุณสมชัยไม่ทักว่าทำแบบนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ไม่ขยี้ต่อว่าทำแบบนี้เท่ากับคำสั่ง คสช. ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เท่ากับคำสั่งคุณประยุทธ์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่เปิดประเด็นว่าพรรคการเมืองไม่ต้องไปตามที่นายกกำหนด เพราะคำสั่ง คสช. ระบุแค่เรื่องเชิญ แต่ไม่ได้สั่งให้ทุกพรรคต้องไป

 

นอกจากจะย้ำว่าอำนาจประกาศวันเลือกตั้งเป็นของ กกต. ไม่ใช่นายก คุณสมชัยยังย้ำหลายครั้งเรื่อง สนช. และกระบวนการศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้การเลือกตั้งช้ากว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2562 จนอาจถึงเดือนสิงหาคมหรือมากกว่านั้น หากศาลรัฐธรรมนูญบอกว่ากฎหมายเป็นโมฆะจนต้องยกร่างใหม่ตั้งแต่ต้นทั้งฉบับ

 

การแสดงบทบาทประเภท ‘รู้ทันประยุทธ์’ หรือ ‘รู้ทันคนเบี้ยวเลือกตั้ง’ แบบนี้ต่างหากที่น่าจะเป็นเหตุที่คุณสมชัยถูกคำสั่งหัวหน้า คสช. ปลดจากตำแหน่ง ทั้งที่จะพ้นจากตำแหน่งอีกไม่กี่วัน

 

คนเกลียดคุณสมชัยจำนวนมากสะใจกับคำสั่ง คสช. ที่คุณประยุทธ์สั่งปลดคุณสมชัย แต่มองในภาพใหญ่แล้ว การปลดเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการสยายปีกคุมองค์กรอิสระที่น่าวิตก และหากเอาเรื่องประเทศเป็นตัวตั้ง การปลดเป็นสัญญาณของการเมืองเรื่องยื้อเลือกตั้งและคุมประเทศที่สยดสยองและอันตราย

 

ในช่วงที่กลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยขัดขวางการเลือกตั้งปี 2557 ความอุกอาจของคุณสมชัยเรื่องทำงานใหญ่ใจต้องเอียงเป็นเรื่องที่ใครเห็นก็ไม่มีวันลืมได้ ไม่ต้องพูดถึงท่วงทำนองเย้ยหยันตั้งแต่ก่อนประกาศเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งผิดกฎหมาย และในที่สุดก็เกิดการยกเลิกการเลือกตั้งจริงๆ โดยไม่แม้แต่จะนับคะแนน

 

นอกจากความเอียงในการทำหน้าที่ กกต. แบบเป็นปฏิบัติการคู่ขนานการต่อต้านประชาธิปไตยช่วงต้นปี 2557 คุณสมชัยยังเอียงในจังหวะที่องค์กรอิสระทั้งหมดเอียงข้างฝ่ายล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เช่นเดียวกับสื่อมวลชนแทบทั้งหมดที่เอียงข้างหยุดประเทศไม่ให้มีการเลือกตั้งเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน

 

คุณสมชัยเป็นสัญลักษณ์ของความเอียงส่วนบุคคลที่ทำให้ความเอียงของระบบรุนแรงขึ้น ยุคสมัยของคุณสมชัยเป็นยุคสมัยที่องค์กรอิสระบอกว่าทุกอย่างที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งทำนั้นผิด ส่วนข้อเรียกร้องของฝ่ายทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่าง กปปส, กลุ่ม 40 ส.ว. รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ถูกตลอดเวลา

 

ภายใต้ความเอียงของระบบที่ทำให้ประเทศถอยหลังจนปัจจุบัน องค์กรอิสระส่วนใหญ่ถูกผู้มีอำนาจยุคนี้แทรกแซงอย่างต่อเนื่อง ระดับการแทรกแซงมีตั้งแต่โละทิ้งในกรณีกรรมการสิทธิ กำหนดคุณสมบัติใหม่แล้วเอาออกเฉพาะคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ใหม่อย่าง กกต. หรือส่งลูกน้องคุณประวิตรไปเป็นประธาน ป.ป.ช.

 

สำหรับรัฐบาลนี้ คนในองค์กรอิสระที่เอาใจรัฐบาลไปหมดยังไม่พอ เพราะรัฐบาลนี้ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญที่องค์กรอิสระมีอำนาจล้มรัฐบาลได้มากกว่ารัฐธรรมนูญของกลุ่มรัฐประหารชุดที่แล้ว และการมีคนของตัวเองคุมองค์กรเหล่านี้โดยตรงดีกว่าการมีคนพร้อมอวยซึ่งอาจเปลี่ยนตามทางลมการเมืองที่เปลี่ยนไป

 

ความต้องการคุมองค์กรอิสระแบบนี้ทำให้รัฐบาลเผชิญหน้ากับบุคลากรในองค์กรอิสระ ต่อให้คนเหล่านั้นพร้อมอวยหรือเคยเป็นนั่งร้านให้รัฐบาล รวมทั้งทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนของรัฐบาลกับองค์กรอิสระ หรือแม้แต่เปิดทางให้คนที่มีความขัดแย้งส่วนบุคคลฉวยโอกาสเล่นงานกัน

 

อย่าลืมว่าขณะที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัยเปิดทางให้รัฐบาลแทรกแซง กกต. โดยตั้งคุณสมบัติใหม่เพื่อคัดเฉพาะคนที่คุณสมบัติผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติแก้เรื่องนี้เป็นการโละ กกต. ชุดนี้ทิ้งทั้งชุดแล้วหาชุดใหม่ตามรัฐธรรมนูญใหม่ทันที

 

ไม่ว่าคนจะจดจำคุณสมชัยเรื่องการทำให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะอย่างไร การปลดคุณสมชัยด้วยคำสั่ง คสช. คือสัญญาณอันตรายของการเลื่อนเลือกตั้งและการคุมองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญและการสรรหาที่รัฐบาลเกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และทั้งหมดไม่ใช่เส้นทางสู่การสร้างประเทศที่ดี

 

ไพ่ใบเก่าปลิดปลิวตามสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไป ประเทศไทยไม่เสียหายจากการไม่มีคุณสมชัย แต่อำนาจที่โยนคุณสมชัยทิ้งแบบนี้อันตรายกับประเทศแน่ๆ เพราะเป็นอำนาจที่เห็นทุกคนเป็นคู่ขัดแย้ง ไม่เว้นแม้แต่คนเคยร่วมทำประเทศนี้เอียงจนไม่เหลือหลักมาด้วยกัน

The post อวสานสมชัย : ไพ่ที่ถูกทิ้งในระบบล้มเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/somchai-seesoonthiyaakorn-was-dismissed-by-section-44/feed/ 0
โกงเงินคนจน: ทำไมรัฐบาลจับโกงสู้เด็กฝึกงานไม่ได้ https://thestandard.co/peculation/ https://thestandard.co/peculation/#respond Fri, 16 Mar 2018 09:29:25 +0000 https://thestandard.co/?p=77776

ข่าวโกงเงินคนจนตั้งแต่คนยากไร้ไปจนถึงผู้ป่วยเอดส์นั้นเป […]

The post โกงเงินคนจน: ทำไมรัฐบาลจับโกงสู้เด็กฝึกงานไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ข่าวโกงเงินคนจนตั้งแต่คนยากไร้ไปจนถึงผู้ป่วยเอดส์นั้นเป็นอาชญากรรมที่ประจานความเลวทรามของข้าราชการผู้เกี่ยวข้องทุกคน เพราะคนโกงต่ำช้าจนกล้าโกงคนที่อาจอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต มิหนำซ้ำผู้โกงยังเป็นข้าราชการที่ร่วมกันปล้นประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งที่นั่นคือคนที่มีฐานะลำบากที่สุดในสังคม

 

ในการโกงเงินกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเด็กที่เป็นเหยื่อขบวนการค้ากามก็เช่นกัน ความต่ำช้าของเรื่องนี้คือคนโกงเป็นคนที่รู้ว่าการโกงเป็นการปล้นเงินที่อาจทำให้เด็กจบชีวิตในซ่องก็ได้ แต่คนพวกนี้ทำแบบนี้สิบกว่าปีโดยไม่มีหยุด ทั้งที่การทำแบบนี้คือการทำร้ายเด็กจากครอบครัวที่แทบไม่มีทางเลือกในสังคม

 

ไม่มีใครรู้ว่าการโกงของทรชนพวกนี้ทำให้ผู้ป่วยเอดส์มีชีวิตด้วยความทุกข์ทรมานเท่าไร เช่นเดียวกับไม่มีใครรู้ว่าการโกงทำให้เด็กต้องออกจากห้องเรียนไปเป็นที่รีดน้ำกามไปแล้วกี่คน แต่ที่แน่ๆ คือผู้โกงเป็นข้าราชการซี 8 ที่ชีวิตสุขสบายจากภาษีเดือนละ 60,000 บาท หรือสองเท่าของเงินที่คนจนในประเทศหาได้ทั้งปี

 

4 ปีแล้วที่รัฐบาลนี้ใช้ปืนตั้งตัวเองสู่อำนาจโดยอ้างว่าปราบโกง แม้จะพูดยากเรื่องการโกงของรัฐบาลในเวลาที่กลไกตรวจสอบถูกทำลายไปหมด ทว่าที่ไม่ต้องเถียงกันก็คือประชาชนรู้สึกว่าข้าราชการโกงรุนแรงในยุคสมัยนี้แน่ๆ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพในการปราบโกงของรัฐบาลก็ล้มเหลวที่สุดด้วยเหมือนกัน

 

เฉพาะใน 2 ปีนี้ ข่าวข้าราชการไม่โปร่งใสที่ฉาวๆ ก็มีเรื่องตำรวจรับส่วยอาบอบนวด, ผู้บัญชาการตำรวจยืมเงินคนพัวพันค้ามนุษย์ 300 ล้าน, โรงพยาบาลระยองซื้อเครื่องมือแพทย์แพงกว่าปกติสองเท่า, สหกรณ์ทั้งระบบโกงกันเกือบหมื่นล้าน, อมเบี้ยชราภาพผู้ประกันตน หรือข่าวโกงดอกไม้จันทน์งานพระราชพิธี

 

ถามด้วยคำถามแบบเดียวกัน เราไม่มีทางรู้ว่าส่วยอาบอบนวดมีส่วนให้ธุรกิจค้ามนุษย์ได้เด็กหญิงชายไปเป็นแรงงานเซ็กซ์แล้วกี่ราย, เครื่องมือแพทย์ที่แพงเกินไปกระทบต่อโอกาสด้านการรักษาในโรงพยาบาลรัฐเท่าไร, โกงสหกรณ์ทำคนล้มละลายกี่คน เช่นเดียวกับความทรมานของคนเกษียณอายุที่ถูกปล้นเบี้ยชรา ซึ่งพวกเขาจ่ายค่าแรงสมทบทุกเดือน

 

ล่าสุด สำนักข่าวอิศราก็เปิดเผยคลิปซึ่งเล่าเรื่องตรงกับที่หลายคนทราบกันมา 2 ปีแล้ว นั่นคือทหารยศพันเอกข่มขู่ครูชายแดนใต้ให้ตรวจรับงานกล้อง CCTV ในโครงการ Safe Zone School มูลค่า 577 ล้านบาท โดยอ้างว่าไม่รับรองถ้าบริษัทอื่นได้งาน แม้กล้องจากบริษัทที่พันเอกสนับสนุนจะไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ราชการกำหนดไว้ในทีโออาร์

 

ไม่มีใครรู้อีกเช่นกันว่ากล้องที่พันเอกหนุนหลังนั้นมีส่วนแค่ไหนในความไม่สามารถระงับความเสียหายที่เกิดแก่ผู้บริสุทธิ์และเด็กๆ จากการก่อเหตุร้ายและวินาศกรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงที่ผ่านไป

 

เอาเรื่องโกงเท่าที่ยกมา หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องก็มีตั้งแต่กลาโหม, ตำรวจ, สาธารณสุข, เกษตร, แรงงาน, มหาดไทย, ศึกษา, พัฒนาสังคม และในเมื่อกระทรวงเกือบครึ่งของประเทศมีเรื่องโกงกินแบบนี้ เราคงไม่ต้องถามว่ามีการโกงที่หน่วยงานใดบ้าง เพราะคำถามที่ตรงความจริงคือมีหน่วยงานไหนที่ไม่โกง

 

จริงอยู่ว่าการโกงแต่ละกรณีมีองค์ประกอบต่างกัน แต่การโกงที่เบ่งบานคือหลักฐานว่าทหารปราบโกงไม่ได้อย่างที่พูดในวันยึดอำนาจเพราะเผชิญ ‘ความล้มเหลวเชิงโครงสร้าง’ สองข้อ ข้อแรกคือการไม่สามารถป้องกันคนโกงให้ทำการโกงได้สำเร็จ และข้อสองคือการไม่อาจเอาผิดคนโกงจนปล่อยให้คนโกงลอยนวล

 

คนไทยโกรธแค้นกลุ่มโกงเงินผู้ป่วยเอดส์ เพราะเป็นข้าราชการ แต่ดันปล้นคนจน แต่เรื่องนี้กระทบใจคนวงกว้าง เพราะคนโกงถูกจับโดยนักศึกษาฝึกงาน แทนที่จะเป็นรัฐมนตรี นายพล หรือ ป.ป.ช. ทั้งที่การโกงในกรณีนี้ตื้นเขินจนไม่น่ารอดหูรอดตาผู้บังคับบัญชาได้ ยกเว้นแต่มีการให้ท้ายโดยข้าราชการด้วยกัน

 

จากการเปิดเผยของน้องแบมผู้แฉโกงจนนายกฯ ควรเชิญมาสอนงานขบวนการปล้นคนไร้ที่พึ่งที่ขอนแก่นทำการทุจริตโดยวิธีที่ไม่ยำเกรงกฎหมายอย่างถึงที่สุด สรุปสั้นๆ คือคนพวกนี้โกงจนชินชาขนาดกล้าใช้นักศึกษาฝึกงานไปปลอมเอกสารยักยอกทรัพย์โดยกรอกข้อมูลรายได้และความเดือดร้อนของคนจนตามใจชอบ จากนั้นก็แนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมลายเซ็นไปขึ้นเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง

 

เป็นไปได้อย่างไรที่เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมฯ จังหวัดขอนแก่น ทำเอกสารเท็จด้วยวิธีโง่ๆ แต่ราชการด้วยกันเชื่อจนปล่อยให้โกงคนกว่า 2,000 รายสำเร็จ เป็นไปได้อย่างไรที่การโกงลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในอีก 44 จังหวัด รวมเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท โดยไม่มีรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาขัดขวางแม้แต่คนเดียว

 

ในกรณีจังหวัดอุดรธานี กลุ่มโกงไม่ได้ทำแค่เขียนเอกสารเท็จแนบสำเนาบัตรประชาชนเพื่อปล้นเงินคนจน แต่ยังถึงขั้นปลอมเอกสารเพื่อรับเงินในนามคนจนและผู้ป่วยเอดส์ที่ไม่เคยขอเงินช่วยเหลือ รวมทั้งสร้างเอกสารลวงโลกเพื่อเอาเงินภาษีประชาชนเข้ากระเป๋าตัวเองในนามคนที่ไม่เข้าข่ายรายได้น้อยหรือไร้ที่พึ่ง

 

ทั้งหมดนี้คือความล้มเหลวเชิงโครงสร้างที่ไม่สามารถป้องกันคนโกงให้ทำการโกงได้สำเร็จโดยตรง

 

นอกจากจะล้มเหลวด้านป้องกันการโกง ระบบราชการยังล้มเหลวด้านเอาผิดคนโกงด้วย เพราะร่องรอยของการโกง ได้แก่ บุคคลรวยขึ้นผิดปกติ, ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน หรือแจ้งไม่ตรงความจริง และการที่ข้าราชการหน่วยเดียวกันโกงทั้งประเทศ แปลว่าต้องมีคนรวยผิดปกติพร้อมกันจำนวนมากแน่ๆ แต่ทำไมไม่มีใครในกระทรวงที่สงสัยความร่ำรวยแบบไร้ที่มาของ ‘ขบวนการ’ ที่มีเงินเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน

 

เมื่อข่าวโกงอื้อฉาวจนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เข้าไปตรวจสอบ แค่การลงพื้นที่ที่นครพนมก็ทำให้ได้ข้อมูลว่าข้าราชการจ้างชาวบ้านเซ็นเอกสารเท็จหัวละ 50-100 บาท เพื่อไปสวมรอยเบิกเงินหัวละ 5,000 บาท รวมทั้งยัดเงินให้ชาวบ้านปกปิดข้อมูลเรื่องการโกงโดยให้การเท็จว่าได้รับเงินครบจริงๆ

 

โดยปกติแล้ว หน่วยงานพัฒนาสังคมคือหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ต้องใกล้ชิดคนจนและคนไร้ที่พึ่งมากที่สุด คำถามคือทำไมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุไม่รู้เรื่องโกงที่ ป.ป.ท. รู้ในการลงพื้นที่ไม่กี่วัน ข้าราชการทำงานกับชาวบ้านที่เป็นเป้าหมายของงานน้อยไปหรือไม่ หรือคนหน่วยงานเดียวกันให้ท้ายเรื่องโกงกว่าที่เป็นข่าวออกมา

 

กรณีโกงเงินกระทรวงศึกษาธิการเพื่อช่วยเด็กไม่ให้ถูกเอาไปขายตัวก็เช่นกัน เป็นไปได้อย่างไรที่ไม่มีใครในกระทรวงเห็นความร่ำรวยผิดปกติของซี 8 ที่โอนเงิน 88 ล้าน เข้าบัญชีญาติตัวเองในช่วงปี 2551-2561 แล้วโอนไปหน่วยงาน 77 ล้าน และเป็นไปได้อย่างไรที่ไม่มีครูในพื้นที่สังเกตว่าเงินช่วยเด็กต่ำกว่าความจริงมา 10 ปี

 

ไม่ว่าจะในพื้นที่ไหน ครูคือคนที่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดไม่ใช่หรือ ยิ่งครูในพื้นที่ซึ่งเด็กมีความเสี่ยงจะถูกเครือข่ายค้ามนุษย์ลากไปขายตัวจนกระทรวงศึกษาธิการต้องจัดงบช่วยตั้งแต่ปี 2542 ครูหรือผู้อำนวยการโรงเรียนยิ่งต้องรู้สถานะเด็กที่สุด ไม่ใช่ปล่อยให้มีการโกงต่อเนื่องเท่าครึ่งหนึ่งของระยะเวลาที่ทำกองทุน

 

จากกรณีโกงเงินกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เพื่อช่วยคนไร้ที่พึ่งถึงการโกงเงินกระทรวงศึกษาธิการเพื่อช่วยไม่ให้เด็กขายตัว ‘ความล้มเหลวเชิงโครงสร้าง’ ของระบบราชการทำให้ไม่อาจเอาคนโกงมาลงโทษได้ แม้ผู้ร่วมโกงจะทำพฤติกรรมคล้ายกันทั้งประเทศอย่างกว้างขวาง รวมทั้งผู้โกงทำพฤติกรรมเดิมซ้ำซากเป็นเวลา 10 ปี

 

เมื่อใดก็ตามที่ความกล้าหาญของเด็กฝึกงานและโซเชียลมีเดียกลายเป็นกลไกปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เมื่อนั้นก็คือการเกิด ‘ความล้มเหลวทางโครงสร้าง’ ที่รัฐบาลและระบบราชการหมดสมรรถภาพในการป้องกันโกงจนถึงเอาผิดคนโกงทั้งหมด

 

ในเมื่อการโกงเกิดเพราะรัฐบาลนายพลจัดงบช่วยประชาชนผ่านข้าราชการที่ช่วยกันโกง ทางออกของการแก้โกงคือต้องกระจายอำนาจการจัดสรรและเบิกจ่ายเม็ดเงินไปสู่ประชาชนให้มากที่สุด หน้าที่นี้ต้องเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ไม่ใช่ข้าราชการทำเองฝ่ายเดียวอย่างปัจจุบัน

 

การโกงที่แพร่ระบาดแบบนี้ขัดแย้งกับคำพูดของรัฐบาลที่ใช้อาวุธยึดอำนาจโดยอ้างว่าเพื่อปราบโกง เพราะนอกจากการโจมตีคุณยิ่งลักษณ์ว่าโกงจำนำข้าว ซึ่งจบโดยศาลไม่ตัดสินว่าโกง รัฐบาลมีผลงานด้านควบคุมการโกงของอำนาจรัฐน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการทำลายระบบตรวจสอบอย่างการตั้งสภาจากพวกเดียวกัน, ประธาน ป.ป.ช. เป็นคนของรองนายกฯ, คุมสื่อ, อุ้มคนเข้าค่ายทหาร ฯลฯ

 

ถ้ารัฐบาลสร้างระบบควบคุมอำนาจรัฐไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ควบคุมข้าราชการโกงไม่สำเร็จ แล้วจะเหลืออะไรที่พูดได้ว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลด้านปราบโกง

 

คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่เม็ดเงินซึ่งควรไปถึงคนจนจะตกอยู่ในกระเป๋าของข้าราชการแบบนี้ หากเราไม่เข้าใจแบบที่ทั่วโลกเข้าใจว่าการสร้างระบบที่โปร่งใสด้วยประชาธิปไตยคือวิธีเดียวในการปกป้องผลประโยชน์ประชาชน

The post โกงเงินคนจน: ทำไมรัฐบาลจับโกงสู้เด็กฝึกงานไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/peculation/feed/ 0
พรรคธนาธร โจทย์ที่ต้องทำ หากไม่ได้ทำพรรคเล่น https://thestandard.co/thanathorn-jungrungreangkit-newgen-party/ https://thestandard.co/thanathorn-jungrungreangkit-newgen-party/#respond Wed, 07 Mar 2018 05:42:18 +0000 https://thestandard.co/?p=75499

พรรคการเมืองคือการเข้าไปมีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐด้วยวิธีทาง […]

The post พรรคธนาธร โจทย์ที่ต้องทำ หากไม่ได้ทำพรรคเล่น appeared first on THE STANDARD.

]]>

พรรคการเมืองคือการเข้าไปมีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐด้วยวิธีทางการเมือง ในทันทีที่เปิดให้จดจองชื่อพรรคการเมือง ความสนใจเรื่องใครตั้งพรรคไหนและใครอยู่เบื้องหลังจึงเป็นกระแสในสื่อแทบทั้งหมด เพราะสองเรื่องนี้เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง สายสัมพันธ์กับสองพรรคใหญ่ เครือข่ายอำนาจนอกระบบ การตั้งรัฐบาล และอนาคตของประเทศไทย



ถ้าเทียบการเลือกตั้งเป็นตลาด พรรคการเมืองก็คือหุ้นที่ผู้มีสิทธิออกเสียงไปลงขันกันว่าจะให้ใครมีส่วนในอำนาจรัฐแทนตัวเองมากที่สุด พรรคจึงมีหน้าที่ทำให้ประชาชนเชื่อพอจะออกไปกาบัตรเลือกตั้งว่าเลือกแล้วจะได้อะไรกลับมา รวมทั้งเชื่อว่าเมื่อเทียบกับพรรคอื่นแล้ว พรรคนั้นตอบโจทย์มากที่สุดทั้งในระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม และระดับส่วนรวม



ในการเปิดจองชื่อพรรคที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ คือสินค้าที่พรรคใหม่เสนอขายประชาชนมากที่สุด แต่ก็เป็นสินค้าที่ผู้ขายน่าเชื่อถือต่ำที่สุดด้วย เพราะบางพรรคปลุกผีพรรคที่ปิดกิจการนานแล้ว บางพรรคตั้งโดยเมียหัวหน้าแก๊งรัฐประหารสามสิบปีก่อน และถ้าไม่นับพรรคของนักการเมืองอย่างคุณไพบูลย์กับ กปปส. พลเอก ประยุทธ์ ก็ถูกขายโดยพรรคที่ยังไร้ราคา



ในบริบทแบบนี้เองที่ข่าวการตั้งพรรคการเมืองของธนาธรกับปิยบุตรโดดเด่นขึ้นมา



ตรงข้ามกับพรรคที่เกาะนายพลจนดูต่อท่ออำนาจแบบไร้นโยบาย พรรคธนาธรไม่พูดเรื่องประยุทธ์หรือหนุนใครเป็นนายกจนได้ภาพว่าสนเรื่อง ‘นโยบาย’ ยิ่งกว่าอำนาจ  ยิ่งกว่านั้นคือขณะที่พรรคอื่นไม่รู้ว่าจะสื่อกับประชาชนหลังวันจองชื่ออย่างไร พรรคธนาธรทำได้ในด้านการพูดกับประชาชนโดยตรงผ่านโซเชียลโดยไม่ต้องรอทีวีและสิ่งพิมพ์  



ภายใต้ยุทธวิธีโหนนายพลจนพรรคใหม่ดูเป็นพรรคชวนสิ้นหวังโดยคนอายุ 70 พรรคธนาธรยึดกุมแบรนด์ ‘คนรุ่นใหม่’ ซึ่งเป็นคำที่ทุกคนคิดว่าตัวเองเข้าข่ายนี้ได้ตั้งแต่คนเบื่อประยุทธ์ คนเกลียดเพื่อไทย คนหน่ายประชาธิปัตย์ เอ็นจีโอ ธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือทุกคนที่รู้สึกว่านักการเมืองในทุกพรรคตอนนี้โง่ ไม่ทันโลก และไม่ยึดมั่นประชาธิปไตย



ภายใต้ข้อเท็จจริงที่พรรคใหม่ทุกพรรคไม่เคยมีผลงานอะไร ความโดดเด่นของพรรคธนาธรเกิดจากประสิทธิผลด้านการสื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อใหม่ และความเข้าใจว่าสังคมไทยมีประชากรกลุ่มซึ่งไม่พอใจผู้มีอำนาจทุกคนจากทุกค่าย จากนั้นคือการสร้างจินตนาการรวมหมู่ว่าพรรคนี้เป็นพื้นที่เปิดให้ทุกคนร่วมคิดและร่วมเป็นเจ้าของได้เท่าๆ กัน



ตัวอย่างของประชากรแบบนี้คือคอลัมนิสต์อาวุโสอย่าง ‘กาแฟดำ’ ซึ่งเขียนถึงพรรคธนาธรแบบโอบอุ้มจนคนอ่านงง เพราะ ‘กาแฟดำ’ ยุคเป็นเจ้าของสื่อนั้นโจมตีฝ่ายทักษิณขั้นถูกครหาว่าโปรดอภิสิทธิ์และอวยทหารด้วยซ้ำ แต่ ‘กาแฟดำ’ ในฐานะปัจเจกก็คล้ายคนอีกมากที่รู้สึกว่าผู้มีอำนาจทุกคนไม่ได้เรื่อง คนแบบนี้จึงโหยหา ‘คนรุ่นใหม่’ ตลอดเวลา



ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ พรรคธนาธรเปิดตัวบนยุทธศาสตร์สี่ขา คือการเข้าหาประชากรกลุ่มใหม่ การตอบสนองความใฝ่ฝันเรื่อง ‘คนรุ่นใหม่’ การพูดเรื่อง ‘ระบอบ’ มากกว่าบุคคล และการสร้างความรู้สึกว่าพรรคนี้เป็นของทุกคน

 

อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวพรรคก็เหมือนกับการเปิดตัวองค์กรอื่นๆ นั่นคือการเปิดตัวขององค์กรไหนล้วนไม่เท่ากับการดำเนินการจริงขององค์กรนั้น และยิ่งไม่ต้องพูดว่าการเปิดตัวจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างที่ผู้ก่อตั้งองค์กรต้องการ



ถ้าหยิบจับพรรคธนาธรไปจัดวางโดยคำนึงถึงการตั้งพรรคการเมืองใหม่ในประเทศไทย รวมทั้งการตั้งพรรคการเมืองลักษณะเดียวกันในประเทศอื่น เราจะพบว่ามีอุปสรรคอย่างน้อยสามข้อที่พรรคต้องคิดให้เยอะ หากอยากประสบความสำเร็จทั้งในแง่ชนะการเลือกตั้ง รวมทั้งในแง่เป็นองค์กรทางการเมืองเพื่อทำงานจนชนะเลือกตั้งในระยะยาว



ข้อแรก พรรคธนาธรไม่ใช่พรรคแรกที่ชูประเด็น ‘คนรุ่นใหม่’ เพื่อเอาชนะการเลือกตั้งในประเทศไทย



คนที่เพิ่งสนใจการเมืองอาจคิดว่าการสร้างพรรค ‘คนรุ่นใหม่’ เพิ่งเกิดในประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงคือเรามีพรรคและคนที่ทำการเมืองด้วยประเด็น ‘คนรุ่นใหม่’ เยอะไปหมดในยุคที่มีเลือกตั้งต่อเนื่อง เหตุผลง่ายๆ คือคำนี้เป็นทั้งข้อเท็จจริงและวาทกรรมโยนขี้ว่า ‘คนรุ่นเก่า’ คือต้นตอของปัญหาที่คนไม่พอใจ และหากอยากขจัดปัญหาให้สิ้นซาก ก็ต้องเทคะแนนให้ ‘คนรุ่นใหม่’ ไม่ใช่ ‘คนรุ่นเก่า’ ที่ถูกสร้างภาพว่าเป็นชนวนสังคมทราม



ความยุ่งยากของการชูประเด็น ‘คนรุ่นใหม่’ มีสองเรื่อง เรื่องแรกคือไม่ใช่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทุกคนจะคิดว่าประเทศมีปัญหา และข้อสองคือไม่ใช่คนที่เห็นปัญหาทุกคนจะคิดว่า ‘คนรุ่นใหม่’ คือทางออกของประเทศไทย



อย่าลืมว่าขณะที่คำว่า ‘คนรุ่นใหม่’ ทรงพลังในการโจมตีคนอื่นว่าสร้างปัญหา แต่ทันทีที่มีการเลือกตั้ง วาทกรรม ‘คนรุ่นใหม่’ จะถูกแทนที่ด้วยบุคคลที่ไม่สวยหรูเหมือน ‘คนรุ่นใหม่’ ในจินตนาการ เช่นเดียวกับ ‘คนรุ่นเก่า’ ตัวเป็นๆ ที่ไม่ได้บัดซบตามวาทกรรมกล่าวหาไปหมด ความโหยหาที่สังคมมีต่อคนรุ่นใหม่จึงไม่แน่ว่าจะกลายเป็นการลงคะแนน



ชวน, สุขุมพันธุ์, ศุภชัย, จักรภพ, สกลธี, คุณหญิงสุดารัตน์, พรรคนำไทย, พรรคเสรีธรรม, น้องไอติม, ปลื้ม ฯลฯ เคยเข้าการเมืองครั้งแรกโดยชูประเด็นคนรุ่นใหม่ในยุคตัวเองทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จทันทีทุกกรณี



ทำอย่างไรที่จะนำเสนอ ‘คนรุ่นใหม่’ ตรงกับที่คนจินตนาการและเหนือกว่าทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่จากพรรคอื่นๆ คือเส้นแบ่งระหว่างพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่กับพรรคการเมืองที่ใช้คนรุ่นใหม่เป็นฐานความนิยม



ข้อสอง การชูยุทธศาสตร์นำประเทศออกจากความขัดแย้งเป็นความหวังที่ต้องทำให้คนเชื่อว่าเป็นไปได้



ประเทศไทยหลังรัฐประหาร 2549 คือดินแดนแห่งความขัดแย้งซึ่งหลายฝ่ายลากประเทศลงเหวจนปัจจุบัน ผลพวงอย่างความถดถอยด้านนิติธรรม ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล ฯลฯ เป็นหายนะที่ทุกคนเห็นกันหมด โศกนาฏกรรมคือถึงจุดนี้ทุกฝั่งมีคนชี้นิ้วว่าอีกฝ่ายเท่านั้นที่ทำชาติเสียหาย และที่สุดการออกจากความขัดแย้งก็ถูกเตะถ่วงด้วยสงครามน้ำลาย



สิบสองปีที่ผ่านมาคือสิบสองปีที่การนำประเทศออกจากความขัดแย้งทุกสูตรล้มเหลว ไม่มีใครเชื่อคณะปรองดองของอานันท์ ไม่มีใครสนเรื่องพรรคข้อกลางของพลเอก ชวลิต ลบผลพวงรัฐประหารสูตรนิติราษฎร์ถูกมองว่าใช้ไม่ได้ ยิ่งลักษณ์แก้ไขไม่แก้แค้นถูกรัฐประหาร สุดารัตน์ถูกพวกเดียวกันถล่มหลังบอกว่าเพื่อไทยต้องไม่สร้างความขัดแย้งขึ้นมา

 

ขณะที่จุดแข็งของพรรคธนาธรอยู่ที่การสร้างแบรนด์ ‘คนรุ่นใหม่’ ในสายตาคนที่ไม่โอเคกับพรรคไหนเลย อุปสรรคของพรรคคือคนกลุ่มที่มี political preference กับบางฝ่ายนั้นมองว่าพรรคเป็นส่วนหนึ่งของ ‘กีฬาสี’ แน่ๆ ไม่ต้องพูดถึงประเด็นประเภท ‘ต่อสู้กับผู้กดขี่’ ซึ่งง่ายจะถูกสงสัยว่าพรรคอยู่ไหนในแผนที่ใหญ่เรื่องหยุดความขัดแย้งทางการเมือง



พรรคธนาธรพูดดีเรื่องการนำประเทศออกจากความขัดแย้งที่เป็นมาสิบกว่าปีด้วยประชาธิปไตย แต่อุปสรรคของเรื่องนี้มีสองข้อ ข้อแรกคือทำอย่างไรให้คนเชื่อว่าพรรคไม่ได้เป็นพวกเดียวกับพรรคไหนหรือฝ่ายใดจนสร้างปัญหา และข้อสองคือทำอย่างไรให้คนเชื่อว่าพรรคจะประสบผลด้านยุติความขัดแย้งที่ไม่มีผู้มีบารมีหรือพรรคไหนทำสำเร็จเลย



หากทำไม่ได้ พรรคก็จะเจอปัญหาที่โหดเหี้ยมอย่างสงครามทางอุดมการณ์ ซึ่งนั่นหมายถึงสงครามกับรัฐราชการและกลุ่มอนุรักษ์นิยมทั้งหมด และนั่นคืออวสานของการพูดว่าพรรคจะพาประเทศออกจากความขัดแย้งที่เป็นมาตลอดสิบสองปี



ข้อสาม ทำอย่างไรให้ยุทธวิธีของพรรคทางเลือกในต่างประเทศเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้งในประเทศไทย



พรรคธนาธรแปลกใหม่กว่าพรรคใหม่อื่นเรื่องการสร้างพรรคจากประชาชน แม้ตอนนี้พรรคเกรียนและพรรคสามัญชนจะพูดเหมือนกัน แต่พรรคธนาธรนั้นชัดเจนที่สุดเรื่องทำพรรคโดยมีแรงบันดาลใจจากพรรคทางเลือกที่มีผู้นำโนเนมแต่กลับเติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง Pademos ของสเปน, Demosisto ของฮ่องกง, M5S ของอิตาลี ฯลฯ สุดแท้แต่กรณี



แน่นอนว่าพรรคที่กล่าวมานี้เริ่มต้นจากคนธรรมดาเหมือนพรรคธนาธร และการเติบโตของโซเชียลมีเดียก็ทำให้พรรคสื่อสารกับประชากรรุ่นใหม่ที่ไม่โอเคกับผู้นำการเมืองเดิมสำเร็จ หัวใจของพรรคจึงคล้ายการสร้างแบรนด์และความเชื่อมั่นจนแปรกระแสคนกลุ่มใหม่เป็นคะแนนได้ แต่ไม่ถูกที่สรุปว่าพรรคทางเลือกชนะแค่เพราะประชากรศาสตร์การเมือง


Political Geography ไม่ใช่ Political Spectrum และประชากรวัยเดียวกันไม่จำเป็นว่าจะมีพฤติกรรมลงคะแนนเหมือนกัน


ใครรู้การเมืองเปรียบเทียบคงรู้ว่าพึงเลี่ยงเอาพฤติกรรมการเมืองในสังคมหนึ่งไปอนุมานสังคมอื่น และที่จริงพรรคทางเลือกแต่ละกรณีชนะด้วยปัจจัยซับซ้อนกว่าแมตชิ่งของโซเชียลกับประชากร ตัวอย่างเช่น อิตาลีการเมืองวุ่นจนมีช่องให้ M5S จูงใจวัยรุ่นด้วยนโยบายต้านผู้อพยพกับให้พลเมือง 780 ยูโร/เดือน ส่วน Podemos สร้างผู้นำบนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เข้มแข็งกับประสบการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ และกลุ่มต้านโลกาภิวัตน์สเปน



พรรคธนาธรมีจุดแข็งที่การโฟกัสประชากรกลุ่มใหม่ และใช้โซเชียลเข้าถึงกลุ่มนี้ได้แม่นยำ แต่ในทางกลับกัน จุดแข็งนี้เป็นจุดอ่อนสองข้อ ข้อแรกคือพรรคธนาธรได้เปรียบเพราะพรรคใหม่อื่นประสบการณ์ต่ำ แต่ประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยไม่มีทางด้อยประสบการณ์แบบนี้ ส่วนข้อสองคือ โซเชียลที่ไร้พื้นฐานทางสังคมย่อมเหมือนการสร้างบ้านบนพื้นทราย



จริงอยู่ว่าประเทศไทย ค.ศ. 2018 มีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงจนพฤติกรรมลงคะแนนของคนเปลี่ยนไป และเป็นความจริงว่าพรรคการเมืองต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองประชากรให้มากที่สุด แต่ไม่มีสังคมไหนที่ทุกอย่างเปลี่ยนในพริบตา พรรคที่จะประสบความสำเร็จต้องเข้าใจการดำรงอยู่ของปัจจัยเก่าเท่ากับขี่ยอดคลื่นของความเปลี่ยนแปลง



มีเรื่องอีกเยอะที่พรรคทางเลือกใหม่ต้องทำเพื่อให้เป็นทางออกประเทศ ถ้าไม่อยากเป็นแค่ห้องทดลองเปลี่ยนประเทศด้วยพลเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง

 

Photo: www.forbes.com, www.bbc.com/thai

The post พรรคธนาธร โจทย์ที่ต้องทำ หากไม่ได้ทำพรรคเล่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thanathorn-jungrungreangkit-newgen-party/feed/ 0
ยิ่งลักษณ์ VS ประยุทธ์ ใครแก้โกงดีกว่าระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งกับรัฐบาลทหาร? https://thestandard.co/election-military-dealing-with-cheating/ https://thestandard.co/election-military-dealing-with-cheating/#respond Mon, 26 Feb 2018 09:21:12 +0000 https://thestandard.co/?p=73201

คนจำนวนมากในประเทศไทยเชื่อว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งคือพว […]

The post ยิ่งลักษณ์ VS ประยุทธ์ ใครแก้โกงดีกว่าระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งกับรัฐบาลทหาร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

คนจำนวนมากในประเทศไทยเชื่อว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งคือพวกขี้โกง และขณะเดียวกัน คนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มก็เชื่อว่ารัฐบาลจากการยึดอำนาจนั้นโกงกว่า ความยุ่งของประเทศนี้คือความเชื่อที่ต่างกันนำไปสู่ท่าทีการเมืองที่ต่างกัน จากนั้นก็เกิดความขัดแย้งและการเผชิญหน้าที่ปกคลุมประเทศมาสิบสองปี

 

สำหรับคนที่เชื่อแบบแรก เผด็จการทหารที่เกิดขึ้นในปี 2549 และ 2557 คือประตูสวรรค์สู่การต้านโกงแน่ๆ แต่สำหรับคนที่คิดแบบหลัง รัฐบาลทหารของกลุ่มพลเอกทั้งสองครั้งคือจุดเริ่มต้นของการคอร์รัปชันและเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องอย่างเงียบๆ แต่รุนแรงกว่ายุคที่มีการเลือกตั้งและประชาธิปไตย

 

หากตัดนักการเมืองและทหารที่ได้อำนาจจากการเลือกตั้งและการรัฐประหารทิ้งไป ปัญหาที่คนไทยคุยกันไม่รู้เรื่องคือตกลงเผด็จการทหารแก้โกงได้จริงหรือไม่จริง

 

ถ้าปัญหานี้ตอบง่ายเหมือนคำถามเรื่องพระอาทิตย์ขึ้นจากทิศไหนก็คงดี แต่ข้อเท็จจริงคือการคุยเรื่องปริมาณโกงในยุคเผด็จการนั้นยากเพราะเหตุสามข้อ ข้อเแรกคือระบบเผด็จการทุกที่ไม่ยอมให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง ข้อสองคือการเข้าถึงข้อมูลที่แสดงความผิดของผู้มีอำนาจแบบเผด็จการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และข้อสามคือการตรวจสอบผู้มีอำนาจในระบบนี้อาจถูกคุกคามหรือลงโทษได้ตามอำเภอใจ

 

ใครไม่เชื่อเรื่องนี้ก็ลองถาม อ.ธนวรรธน์ พลวิชัย ว่าท่านโดนนายกรัฐมนตรีจวกว่าอะไรบ้างหลังออกมาแถลงข่าวว่าการจ่ายสินบนและเงินใต้โต๊ะยุครัฐบาลนี้กำลังพุ่งสูงสุดในรอบสามปี

 

หนึ่งในตัวเลขที่ฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายหนุนรัฐประหารนิยมใช้ในการเถียงกันเรื่องนี้คือภาพลักษณ์ด้านความโปร่งใส ทั้งสองฝ่ายคิดคล้ายกันว่าตัวเลขนี้สะท้อนปริมาณโกงที่เกิดขึ้นจริง การโกงเป็นผลผลิตของระบบการเมืองขณะเกิดการโกง และการเปลี่ยนระบบย่อมส่งผลให้ภาพลักษณ์นี้เปลี่ยนแปลงตาม

 

พูดง่ายๆ ฝ่ายประชาธิปไตยเชื่อว่าดัชนีความไม่โปร่งใสยุคเผด็จการต้องสูงขึ้น ขณะที่ฝ่ายนิยมเผด็จการก็เชื่อว่าภาพลักษณ์ความไม่โปร่งใสของรัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องเลวลงตลอดเวลา

 

อย่างไรก็ดี ผลการเปรียบเทียบดัชนีโกงในแต่ละรัฐบาลกลับชี้ว่า ‘ที่มา’ ของรัฐบาลไม่มีผลต่อการขึ้นลงของภาพลักษณ์ด้านความโปร่งใสของประเทศมากนัก หรือพูดให้ตรงขึ้นก็คือจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลรัฐประหาร มุมมองต่างประเทศต่อประเทศไทยด้านโกงกินและคอร์รัปชันก็แทบไม่ต่างกัน

 

ในการเปิดเผยอันดับความโปร่งใสโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติครั้งล่าสุด ประเทศไทยยุครัฐบาลประยุทธ์ในปี 2560 มีคะแนนความโปร่งใสอยู่ที่ 37 ซึ่งสูงกว่าปี 2559 ที่คะแนนคือ 35 แต่น้อยกว่าปี 2558 ซึ่งคะแนนความโปร่งใสอยู่ที่ 38 ในปีแรกที่พลเอก ประยุทธ์ รัฐประหารแล้วตั้งตัวเองเป็นรัฐบาล

 

ดูอย่างผิวเผินแล้ว คะแนนโปร่งใสของรัฐบาลประยุทธ์ซึ่งเริ่มต้นที่ 38 แต่ลดลงไปเหลือ 35 และกระเตื้องเป็น 37 เหมือนจะบอกว่ารัฐบาลนี้โปร่งใสต่ำลงเมื่อเทียบกับปีแรกที่ยึดอำนาจ แต่ถ้ามองแบบเปรียบเทียบ รัฐบาลทหารก็มีคะแนนโปร่งใสระหว่าง 35-38 ไม่ต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ คสช. รัฐประหารโค่นล้มไป

 

ในปีแรกที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งจนยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายก คะแนนความโปร่งใสของประเทศไทยอยู่ที่ 37 ก่อนจะตกไปที่ 35 และขยับขึ้นเป็น 38 ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้านโกงดีกว่า คสช. เพราะยิ่งอยู่นานคะแนนความโปร่งใสยิ่งดีขึ้น แม้ในแง่เปรียบเทียบ คะแนนจะอยู่ในช่วง 35-+38 ไม่ต่างกันก็ตาม

 

 

สภาพที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และประยุทธ์มีดัชนีโปร่งใสขึ้นลงระหว่าง 35-38 สะท้อนว่าที่มาของอำนาจรัฐแทบไม่มีผลกับมุมมองที่ต่างประเทศมีต่อคอร์รัปชันในไทย การทำรัฐประหารเพื่อแก้โกงจึงเป็นข้ออ้างที่ใช้ไม่ได้ ซ้ำยังทำให้ภาพลักษณ์ประเทศถอยหลังลงคลองจนต้องใช้เวลาฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ ณ จุดที่เคยเป็น

 

โปรดสังเกตว่าอันดับความโปร่งใสของประเทศยุครัฐบาลทหารตกต่ำจากอันดับที่ 76 ไปเป็น 101 ก่อนจะกระเตื้องกลับมาเป็น 96 แต่นั่นก็ยังต่ำกว่าอันดับความโปร่งใส ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งปีแรกที่ชนะเลือกตั้งอยู่ที่ 88 และก่อนยุบสภาอยู่ที่ 85 หลังจากร่วงไปที่ 102 ในปีสองของรัฐบาล

 

คะแนนความโปร่งใสของประเทศที่วนเวียนในช่วง 35-38 แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยอื่นซึ่งทรงอิทธิพลต่อทัศนคติต่างประเทศไม่น้อยกว่าที่มาของอำนาจรัฐ ตัวอย่างเช่นการเรียกสินบนเพื่อแลกกับความสะดวก ระบบภาษีไม่โปร่งใส ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ระบบอุปถัมภ์ ความใกล้ชิดของธุรกิจกับรัฐบาล ฯลฯ

 

จะเป็นรัฐบาลที่เข้าสู่อำนาจโดยเลือกตั้งหรือกระบอกปืน โครงสร้างพื้นฐานที่โลกมองว่าเอื้อคอร์รัปชันเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงน้อยมาก รัฐบาลประชาธิปไตยทำน้อยไปที่จะลดเงื่อนไขอันทำให้เกิดความระแวงเรื่องโกงพวกนี้ ส่วนรัฐบาลเผด็จการยิ่งเจอปัญหาทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและเรื่องที่มาของรัฐบาล

 

ตรงข้ามกับข้อถกเถียงว่าใครขี้โกงกว่าระหว่างทหารกับนักการเมือง การโกงไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพ ทหารโกงได้เหมือนนักการเมือง ผู้รับเหมา หรือกำนัน การอยู่บ้านหลวงหลังเกษียณคือการโกงไม่ต่างจากไถเงินเป่าคดี หรือใส่เหล็กสร้างถนนสเปกต่ำ และการยกย่องอาชีพไหนเกินเหตุก็เข้าข่ายอวดอุตริศีลธรรม

 

สำหรับคนที่ต้านโกงจริงๆ ไม่ใช่ต้านเพื่อสอพลอหรือหนุนนายยึดอำนาจ คำถามที่ต้องคิดคือทำอย่างไรที่จะสร้างระบบป้องกันโกงได้มากที่สุด ไม่ใช่ขยี้คนกลุ่มเดียวแล้วมโนว่าคนอีกกลุ่มเป็นวีรบุรุษขี่ม้าขาว

 

เลขาธิการองค์การต่อต้านคอร์รัปชันของไทยพูดดีว่าการต้านโกงต้องเริ่มต้นที่ความรู้เรื่องโกง และคนที่ศึกษาเรื่องโกงในหลายประเทศเขาสรุปไว้นานแล้วว่าพฤติกรรมโกงของรัฐบาลไหนล้วนมีจุดเริ่มต้นจากปัจจัยพื้นฐานสองข้อ ข้อแรกคือนโยบายเศรษฐกิจ ส่วนข้อที่สองคือระบบการเมือง

 

แน่นอนว่ากรอบกว้างๆ ของการโกงคือรัฐบาลและข้าราชการผูกขาดการตัดสินใจใช้ทรัพยากรสาธารณะ แต่การลงมือโกงจริงๆ จะเกิดขึ้นเมื่อนโยบายเศรษฐกิจมีช่องให้รัฐบาลทุจริต ยิ่งกว่านั้นคือรัฐบาลต้องอยู่ในระบบที่สังคมควบคุมผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะไม่ได้ รวมทั้งไม่มีกลไกบังคับความรับผิดทางการเมือง

 

เห็นได้ชัดว่าหัวใจของการต้านโกงไม่ใช่การทุ่มเถียงว่าทหารหรือนักการเมืองที่โคตรโกง แต่คือการสร้างกระบวนการกำหนดและบริหารนโยบายเศรษฐกิจเปิดกว้างจนรัฐบาลยกทรัพยากรสาธารณะให้ใครตามใจไม่ได้ เช่นเดียวกับการออกแบบให้มีฝ่ายค้านหรือองค์กรที่จะตรวจสอบรัฐบาลได้ตลอดเวลา

 

นโยบายซื้อรถไฟความเร็วสูงจากจีนโดยไม่ประมูลเข้าข่ายนโยบายเอื้อโกงในยุคปัจจุบัน เพราะแค่นายทุนคุยกับผู้มีอำนาจถูกคอก็โกยเงินไทยกลับจีนไปหลายแสนล้าน ส่วนประชาชนได้แต่นั่งทำตาปริบๆ โดยทำอะไรไม่ได้ และระบบบริหารประเทศตอนนี้ก็ไม่มีช่องทางให้เอาผิดเรื่องนี้แม้แต่นิดเดียว

 

ไม่ต้องเถียงกันว่ายุคไหนโกงเยอะระหว่างยิ่งลักษณ์กับประยุทธ์ เพราะโจทย์สำคัญของประเทศคือการปราบโกงโดยทำให้การโกงมีอุปสรรคจนไม่อยากโกง และเพราะการโกงเป็นเรื่องเดียวกับการผูกขาดอำนาจ การปราบโกงจึงต้องทลายอำนาจไม่ให้กระจุกที่คนกลุ่มซึ่งตรวจสอบไม่ได้อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

The post ยิ่งลักษณ์ VS ประยุทธ์ ใครแก้โกงดีกว่าระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งกับรัฐบาลทหาร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/election-military-dealing-with-cheating/feed/ 0
ป้ามือขวาน อาชญากรรมที่ กทม. ร่วมสร้าง ความล้มเหลวในการบริหารเมือง https://thestandard.co/car-destroy-conflict-show-bkk-failure/ https://thestandard.co/car-destroy-conflict-show-bkk-failure/#respond Wed, 21 Feb 2018 09:09:23 +0000 https://thestandard.co/?p=72098

ไม่กี่นาทีที่ ‘ป้ามือขวาน’ จามรถกลายเป็นชนวนให้คนทั้งแผ […]

The post ป้ามือขวาน อาชญากรรมที่ กทม. ร่วมสร้าง ความล้มเหลวในการบริหารเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไม่กี่นาทีที่ ‘ป้ามือขวาน’ จามรถกลายเป็นชนวนให้คนทั้งแผ่นดินคุยกันว่า เรื่องนี้เป็นมาอย่างไร ดราม่าประเภทใครถูก ใครผิด ถูกสาดซัดด้วยการแชร์ประสบการณ์จนท่วมโซเชียลมีเดียว่าประเทศนี้มีคนเคยอยู่ในสถานการณ์แบบป้าเยอะมาก ส่วนเสียงผดุงคุณธรรมประเภทศาลเตี้ยไม่ดีนั้นมีนิดๆ แต่ก็แสนแผ่วเบา

ไม่ว่าผลทางกฎหมายจะเป็นแบบไหน ป้ากลายเป็นวีรสตรีแห่งชาติไปแล้ว ยกเว้นกลุ่มแม่ค้าถ่ายคลิปหรือคนเดินตลาดที่บอกว่าป้าเยอะ ทั้งที่ป้าพูดชัดมากเรื่องซื้อบ้านในหมู่บ้านแพงๆ เพื่อแลกความสงบ แต่จู่ๆ ก็มีคนสร้างตลาดนัดล้อมบ้าสามทิศ จนเกิดปัญหาจราจรและรบกวนชีวิตมากมาย

ข่าวป้ามือขวานดังเพราะมีคนเจอปัญหาแบบนี้เยอะ โดนกักในบ้านตัวเองก็มี เอารถออกจากห้างไม่ได้ก็มาก หลายคนเคยอยู่ในสถานการณ์ที่กฎหมายไม่ช่วยอะไร และคนไม่น้อยอยากทำคล้ายป้า แต่ไม่ได้ทำ

 

ในกรณีข่าวป้ามือขวาน หรือ ‘ป้ารามสูร’ (ชื่อ-นามสกุลจริง บุญศรี แสงหยกตระการ) มีประเด็นอย่างน้อย 3 เรื่องที่ต้องคุยกัน

 

เรื่องแรกคือการเติบโตของตลาดนัดกับการขยายตัวของเมือง เรื่องที่ 2 คือความขัดแย้งด้านการใช้พื้นที่ของคนแต่ละกลุ่ม และเรื่องที่ 3 คือกรุงเทพมหานครกับความล้มเหลวในการสร้างกติกาใช้พื้นที่ให้ยุติธรรม

ใครๆ ก็รู้ว่าตลาดนัดแบบที่ทำป้ามือขวานยุ่งนั้นมีทั่วประเทศไทย เฉพาะกรุงเทพฯ ในปี 2557 มีตลาด 351 แห่ง แบ่งเป็นตลาดในเขตที่ผังเมืองจัดเป็นเขตที่อยู่อาศัย 110 แห่ง และเขตชานเมือง 59 แห่ง ส่วนปี 2558 จำนวนตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 364 แห่ง โดยอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยและเขตชานเมือง 108 และ 65 แห่งตามลำดับ

 

 

แน่นอนว่าจำนวนตลาดที่เป็นทางการในกรุงเทพฯ ต้องต่ำกว่าข้อมูลจริงที่กรุงเทพฯ มีตลาดนัดสัญจรหรือไม่ได้ขออนุญาตเยอะมาก เปิ้ลมาร์เก็ต, ตลาดรุ่งวาณิชย์ และตลาดอื่นที่ล้อมรอบบ้านป้ามือขวานนั้นไม่มีใบอนุญาตทำตลาดและก่อสร้างอาคารด้วยซ้ำ ถึงแม้บางแห่งจะดำเนินการมาเกือบสิบกว่าปีแล้วก็ตาม

จำนวนตลาดในกรุงเทพฯ ชี้ชัดว่า มีการขยายตัวของตลาดในเขตที่อยู่อาศัยและเขตชานเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ และตลาดกับผู้อยู่อาศัยที่อยู่มาก่อนต้องแย่งชิงการใช้สอยพื้นที่เดียวกันแน่ โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งจึงมีเยอะ ไม่ว่าตลาดจะได้รับใบอนุญาตหรือไม่ก็ตาม

 

คนกรุงเทพฯ อยู่ในอภิมหานครที่ขยายตัวโดยวางกับระเบิดของความขัดแย้งประเภทจอดรถขวางทางเข้าออก จราจรติดขัด เสียงดัง ไฟตลาดรบกวนตอนดึก ตั้งแผงหน้าบ้านคนอื่น ฯลฯ เต็มไปหมด ความคับข้องแบบป้ามือขวานคือวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในหมู่คนเมืองจำนวนมากที่ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร
คนบางกลุ่มคอมเมนต์ว่า ป้าน่าจะยอมๆ แต่ความขัดแย้งเรื่องนี้มีแรงขับทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนจนการยอมคือการที่ป้ากับคนแบบป้าจะเจอปัญหาไม่รู้จบ เหตุผลคือตลาดนัดเป็นการพัฒนาที่ดินเขตชานเมืองที่ลงทุนแค่ 200,000 ก็ทำได้ และการผลักต้นทุนที่แท้จริงบางส่วนให้ชุมชนคือต้นเหตุให้ป้าเดือดร้อนขึ้นมา

เจ้าของตลาดทุกคนรู้ว่ากฎข้อแรกในการทำตลาดคือหา ‘ทำเล’ ซึ่งไม่ไกลชุมชน แต่ยิ่งที่ดินใกล้ชุมชน ราคาก็ยิ่งแพงจนตลาดจะมีต้นทุนสูงไปด้วย ผลก็คือเจ้าของบางคนคิดว่าเอาที่ไปทำแผงหากำไรดีกว่าทำที่จอดรถแน่ๆ ส่วนลูกค้าก็ไปจอดตามถนนและซอยของชุมชน ซึ่งกลายเป็นที่จอดรถโดยตลาดไม่ต้องลงทุน

คนที่ตามข่าวป้ามือขวานทุกคนรู้ว่าป้าหยวนๆ และอดทนมาแล้วเกือบสิบปี การยอมแก้ปัญหาจากแรงขับทางเศรษฐกิจแบบนี้ไม่ได้ และยิ่งยอมยิ่งเท่ากับจำนนให้การถูกเอาเปรียบต่อไป

ทันทีที่ป้าไม่ยอม สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเผชิญหน้ากับตลาดซึ่งมีเงินหมุนเวียนจากผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่เจ้าของที่, คนเช่าแผง, เด็กส่งของ ฯลฯ และหากข้อมูลนักพัฒนาตลาดบางท่านถูกว่า ตลาดนัดควรมีพื้นที่อย่างน้อย 2 ไร่ และแผงราวๆ 150-200 ก็เท่ากับป้าเสี่ยงถูกคนอย่างน้อย 500-600 คนมองว่าขวางการทำมาหากิน

ถึงจุดนี้ ความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างคน หนักกว่านั้นคือป้าเจอคู่กรณีซึ่งแย่งชิงพื้นที่จากชุมชนไปค้ากำไร โดยไม่มีความคิดเรื่องอยู่ร่วมกับชุมชนด้วย ทางเลือกที่เศรษฐกิจตลาดนัดให้คนแบบป้าจึงมีแค่ 4 ข้อคือ โวย, อยู่แบบเก็บกด, เปลี่ยนบ้านเป็นตลาด และขายบ้านหนี ซึ่งทั้งหมดบัดซบเท่ากัน

มนุษย์ที่มีสมองรู้ว่ารัฐเกิดเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งแบบนี้ ตลาดนัดกับชุมชนชานเมืองที่ไม่มีเรื่องกันก็มี ตลาดในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในที่อยู่ร่วมกับชุมชนได้ในตรอกแคบๆ ก็เยอะ และจริงๆ ชุมชนต้องการตลาดเพื่อลดต้นทุนด้านอาหาร ส่วนตลาดก็อยากให้ชุมชนเป็นลูกค้าถาวร ทั้งสองฝ่ายจึงมีมิติที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

คำถามคือ ทำไมรัฐไม่แทรกแซงอะไรในเรื่องที่ต้องทำเพื่อบริหารพื้นที่ให้เกิดความยุติธรรม?
ในเวลานี้เรื่องเล่าที่พูดกันเยอะคือ ตลาดเจ้าปัญหาแห่งหนึ่งมีเจ้าของเป็นสุภาพสตรีสกุลเจียรวนนท์ จากนั้นก็เชื่อมโยงว่ารัฐมนตรีเพื่อไทยสัมพันธ์กับสุภาพสตรีท่านนี้ ถัดไปคือการตั้งประเด็นว่า กทม. และสำนักงานเขตรับเงินจนอยู่ใต้อิทธิพลนักการเมืองกับ ‘เจ้าสัว’ จนไม่ทำอะไร

 

อย่างไรก็ดี คำอธิบายนี้มีปัญหา 4 ข้อ ข้อแรกคือบุคคลในข่าวมีชื่อพัวพันตลาดแห่งเดียว ขณะที่ตลาดเจ้าปัญหามีทั้งหมด 4 แห่ง, ข้อ 2 คือไม่มีใครรู้สถานภาพระหว่าง ‘นักการเมือง’ กับสุภาพสตรีท่านนั้นช่วงที่มีชื่อพัวพันตลาด, ข้อ 3 คือยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าเขตรับสินบนจากเจ้าของตลาดรายไหน และข้อ 4 คือเป็นไปได้หรือที่นักการเมืองผู้ถูกทหารดำเนินคดีซ้ำซากจะมีอิทธิพลเหนือ กทม. ยุคที่ผู้ว่ามาจาก คสช.?

การลงโทษข้าราชการที่ปล่อยปละละเลยให้ป้าโดนรังแกนั้นจำเป็น แต่ระบบบริหารพื้นที่กรุงเทพฯ ต่างหากที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด ความทุกข์ของป้ามือขวานสะท้อนว่าปล่อยข้าราชการคุมพื้นที่ไม่ได้ และสิ่งที่ต้องทำคือให้องค์กรปกครองท้องถิ่นจากการเลือกตั้งหรือประชาชนทำหน้าที่นี้อย่างที่หลายประเทศทำ

ตลาดที่ควรเป็นท่ามกลางเมืองที่ขยายตัวคือตลาดที่มีทุกอย่าง แต่ไม่ใหญ่จนคุกคามวิถีชีวิต ส่วนประชาชนต้องมีอำนาจกำกับให้เจ้าของตลาดต้องจ่ายต้นทุนประเภทที่จอดรถ, ระยะห่างจากบ้านเรือน, เวลาขึ้นของ ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชนอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม

ป้ามือขวานผิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรม แต่ปฏิกิริยาของสังคม เรื่องนี้สะท้อนความไม่พอใจการบีบคั้น ซึ่งตลาดและ กทม. ทำกับป้ากว่าหนึ่งทศวรรษ ยิ่งกว่านั้นคือความคับแค้นร่วมเรื่องพื้นที่ ซึ่งทุกคนมีเหมือนกันหมด โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเย้ยให้ป้าขายบ้านหนีผู้คุกคาม

ไม่มีใครผิดในเรื่องนี้ หากเราพัฒนาเมืองโดยความเป็นธรรมและความเป็นคน

The post ป้ามือขวาน อาชญากรรมที่ กทม. ร่วมสร้าง ความล้มเหลวในการบริหารเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/car-destroy-conflict-show-bkk-failure/feed/ 0
รื้อไฮสปีดญี่ปุ่น: ลดภาระไทยหรือยุทธศาสตร์ใหม่ซื้อรถไฟจีน? https://thestandard.co/thailand-high-speed-rail-trick/ https://thestandard.co/thailand-high-speed-rail-trick/#respond Tue, 13 Feb 2018 10:24:30 +0000 https://thestandard.co/?p=69982

รถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่น่าจะมีประชาช […]

The post รื้อไฮสปีดญี่ปุ่น: ลดภาระไทยหรือยุทธศาสตร์ใหม่ซื้อรถไฟจีน? appeared first on THE STANDARD.

]]>

รถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะที่น่าจะมีประชาชนต้องการมากที่สุดในประเทศไทย หลักฐานง่ายๆ คือพรรคเพื่อไทยใช้นโยบายนี้หาเสียงจนชนะเลือกตั้ง จากนั้นฝ่ายต้านรัฐบาลเพื่อไทยก็ล้มโครงการนี้เพื่อจะได้ล้มรัฐบาลไปด้วย แต่ในที่สุดทหารก็หยิบโครงการนี้มาทำต่อจนปัจจุบัน

 

แน่นอนว่าเป็นธรรมดาที่แต่ละรัฐบาลจะทำโครงการด้วยหลักการและวิธีที่ไม่เหมือนกัน รัฐบาลที่แล้วทำไฮสปีดเทรนโดยเสนอเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการดำเนินโครงการจะใช้วิธีเปิดประมูลให้แต่ละบริษัทแข่งขันโดยเปิดเผย ขณะที่รัฐบาลปัจจุบันใช้วิธียกงานสายอีสานให้จีนและสายเหนือให้ญี่ปุ่นตามอำเภอใจ

 

ถ้าเทียบรถไฟความเร็วสูงกับการสร้างตึก ระบบประเทศตอนนี้ก็เหมือน ‘บริษัทมหาชน’ ที่อยู่ดีๆ ซีอีโอยกงานให้ผู้รับเหมาบางรายโดยไม่ให้คนอื่นแข่งด้วย ส่วนเนื้องาน แบบ วัสดุที่ใช้ งบประมาณ และกรอบการทำงานทั้งหมดก็เอาไว้คุยกันหลังผู้รับเหมาได้งานไปแล้วอีกที

 

การดำเนินโครงการแบบนี้เสี่ยงที่เจ้าของบริษัทจะเสียเปรียบแน่ๆ ส่วนซีอีโอก็น่าสงสัยว่าจะสนิทกับผู้รับเหมามากไปหน่อย และคงมีคนตั้งคำถามว่าหรือผู้รับเหมาแอบให้ของหรูสมนาคุณ

 

สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ‘บริษัทประเทศ’ สิ่งที่ควรเฝ้าระวังในกรณีนี้คือปัญหาความไม่คุ้มค่าและไม่คุ้มทุน

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งในข่าวที่คนวิพากษ์มากที่สุดคือสื่อสิงคโปร์ The Straits Times รายงานว่าญี่ปุ่นจะไม่ร่วมทุนทำรถไฟความเร็วสูงกับไทย ประเด็นแรกที่พูดคือประเทศไทยวันนี้ปิดกั้นข่าวจนคนไทยต้องอ่านข่าวนี้จากสื่อเทศ และประเด็นที่สองคือสถานการณ์ประเทศแย่จน ‘ต่างชาติ’ รังเกียจการลงทุนกับรัฐบาล

 

อย่างไรก็ดี สองเรื่องนี้เข้าข่ายโหนญี่ปุ่นด่ารัฐบาลเยอะไปนิด เพราะสเตรทไทมส์เขียนข่าวนี้โดยอ้างบางกอกโพสต์ และโพสต์ก็ทำข่าวโดยอ้างรัฐมนตรีคมนาคม ข้อหาเรื่องปิดข่าวจึงเป็นเท็จเช่นเดียวกับเรื่องต่างชาติ ซึ่งจริงๆ เป็นเพราะไฮสปีดสูตรรัฐบาลนี้ปัญหาเยอะ มากกว่าจะเป็นเพราะมุมมองต่อรัฐบาล

 

คำถามคือตกลงสถานการณ์จริงๆ ของเรื่องนี้เป็นอย่างไร?

 

หากอ้างอิงคำแถลงของกระทรวงคมนาคม ญี่ปุ่นไม่ได้ยุติความร่วมมือในโครงการไฮสปีดเทรนสายเชียงใหม่กับไทย รวมทั้งไม่ได้ยกเลิกการร่วมลงทุนด้วย หรือพูดง่ายๆ คือข่าวทั้งหมดล้วนไม่มีมูล

 

ประเด็นก็คือภายใต้คำชี้แจงระดับทางการที่กล่าวไป คำแถลงนี้ยอมรับว่ารัฐบาลไทยเสนอประเด็น ‘รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม’ รวมทั้งเปิดเผยว่าไทยเสนอโจทย์ใหม่ให้ญี่ปุ่นคิดว่าทำอย่างไรที่ ‘ภาระการลงทุน’ ของไทยจะลดน้อยที่สุด ถึงแม้ข้อเสนอทั้งสองเรื่องจะกระทบกับการทำโครงการอย่างรุนแรง

 

เพื่อความเป็นธรรมกับฝั่งไทย กระทรวงคมนาคมแถลงชัดเจนว่าการลดภาระการลงทุนไม่ใช่การลดความเร็วรถไฟเหลือ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงต่อไป รวมทั้งไม่ใช่การลดจำนวนสถานีอย่างที่เป็นข่าว เพราะการเปลี่ยนแปลงสองเรื่องนี้ไม่มีผลให้มูลค่าการลงทุนต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

ในแง่นี้ วิธีเดียวที่จะลดภาระการลงทุนของรัฐบาลจึงได้แก่การหว่านล้อมให้ญี่ปุ่นควักเงินร่วมลงทุน

 

แน่นอนว่าปฏิกิริยาแบบทางการของญี่ปุ่นคือรับเรื่องนี้ไปศึกษาเพิ่มเติม แต่เมื่อคำนึงว่าไทยยกโครงการนี้ให้ญี่ปุ่นโดยไม่ผ่านการประมูลและไม่มีข้อตกลงผูกมัดตั้งแต่ต้น ข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับต่อไปก็คือญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บนความเชื่อว่าไทยเสนอให้ญี่ปุ่นเป็นผู้ขายรถไฟและงานก่อสร้างอย่างเดียว

 

ถ้าเป็นข้อตกลงธุรกิจระหว่างเอกชน การชักชวนให้ผู้ขายเปลี่ยนเป็น ‘ผู้ร่วมทุน’ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสำหรับผู้ขายนั้นหมายถึงการโยนรายได้จากการขายทิ้งไป การควักเงินลงทุนเพิ่มขึ้น การร่วมรับความเสี่ยงในการลงทุน ฯลฯ ซึ่งไม่มีใครอยากยอมรับในแง่ธุรกิจ หากไม่ชัดเรื่องผลตอบแทนทางการเงิน

 

พูดให้เป็นรูปธรรม สิ่งที่รัฐบาลไทยกำลังทำคือให้ญี่ปุ่นช่วยลดภาระการลงทุนของไทย โดยทิ้งรายได้จากการขายไฮสปีด 420,000 ล้านบาท มาร่วมรับความเสี่ยงกับไทยในโครงการที่ต้นทุนกิโลเมตรละ 627 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นราว 20% จากต้นทุนยุคยิ่งลักษณ์ที่ตกกิโละ 521 ล้านบาท ซึ่งยากมากที่ญี่ปุ่นจะยอมร่วมทุน

 

โอกาสเดียวที่อาจเกิดปาฏิหาริย์เรื่องนี้คือ ไทยประสบความสำเร็จในการทำให้บรรษัทเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นในต่างแดน (Join) สนับสนุนการร่วมลงทุนโครงการนี้ แต่เรื่องนี้ไม่ง่าย ต้องดูว่าโครงการเข้าเกณฑ์หรือไม่ ซ้ำต้องผ่านการประเมินทางการเงินและการอนุมัติของรัฐบาลญี่ปุ่นอีกที

 

ถึงที่สุดแล้ว ปัญหาเรื่องผลตอบแทนทางการเงินจะเป็นตัวแปรให้ญี่ปุ่นไม่รับข้อเสนอเรื่องร่วมทุนกับรัฐบาลไทย เส้นทางสู่การให้ญี่ปุ่นร่วมทุนมีอุปสรรคเยอะกว่าที่รัฐบาลไทยคิด ความต้องการลดภาระการลงทุนของไทยจะไม่คืบหน้า และน่าเป็นห่วงว่าอุปสรรคนี้อาจมีผลขั้นทำให้โครงการนี้ไม่เกิดเลย

 

ปัญหาคือทำไมรัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอที่ญี่ปุ่นต้องปฏิเสธแน่ๆ บนโต๊ะเจรจา?

 

มองในแง่บวก รัฐบาลทหารของไทยไม่ได้เพิ่งคิดเรื่องร่วมทุนตอนทำงานนี้กับญี่ปุ่น เพราะไทยเคยต่อรองให้จีนร่วมทุนทำไฮสปีดอีสานด้วยเหมือนกัน จึงกล่าวต่อไปได้ว่าการหาผู้ร่วมทุนเป็นเครื่องชี้สัมฤทธิผลของนโยบายรัฐ และขณะเดียวกันก็เป็นกระจกสะท้อนความน่าเชื่อถือของโครงการในมิติการลงทุน

 

ในกรณีไฮสปีดไทยจีน สูตรร่วมทุนของสองประเทศมีตั้งแต่ 60/40 จน 70/30 โดยไทยต้องยอมใช้ผู้รับเหมาจีนและวัสดุจีนเพื่อให้จีนได้รายได้อื่นเสริมด้วย แต่จู่ๆ รัฐบาลประยุทธ์กลับล้มข้อเสนอนี้ ผลคือจีนไม่ลงทุนร่วมสักหยวน ไทยจ่ายเอง 100% และจีนโกยเงินเกือบสองแสนล้านจากภาษีคนไทยที่ใช้ซื้อรถไฟ

 

แน่นอนว่าท่าทีจีนแบบนี้คือหลักฐานเรื่องจีนประเมินว่าไฮสปีดอีสานขาดทุน แต่ประเด็นคือจีนทำไฮสปีดอีสานราคาถูกกว่าญี่ปุ่นทำไฮสปีดสายเหนือเยอะ และถ้าจีนมองว่างานนี้ขาดทุนจนไม่ควรลงทุนร่วมด้วย ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ญี่ปุ่นจะไม่คิดแบบเดียวกัน

 

ถามในแง่ลบ ทำไมไทยกล้าขอให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนโครงการที่ขาดทุนแน่ๆ ทั้งที่เคยล้มเหลวแล้วกับจีน?

 

ถ้ามองเรื่องแนวทางที่ไทยดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงกับญี่ปุ่นเป็นตัวตั้ง เป็นไปได้หรือไม่ว่าไทยยื่นข้อเสนอที่ญี่ปุ่นปฏิเสธแน่ๆ เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือจบด้วยการซื้อรถไฟจีนอีกที?

 

อย่าลืมว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นนโยบายที่คนทั้งประเทศต้องการ ซ้ำในแง่การเมืองก็เป็นโครงการที่รัฐบาลนี้ควรทำให้เสร็จ ความล้มเหลวในการทำเรื่องนี้กับญี่ปุ่นไม่ได้หมายถึงการยุติโครงการนี้ไปด้วย เพราะไทยซื้อไฮสปีดจีนได้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลก็ดี จะซื้องานนี้จากจีนอีกครั้งก็ไม่เห็นเป็นไร

 

นักวิชาการพูดเยอะว่ารัฐบาลไทยควรกระจายความเสี่ยงในโครงการหลายแสนล้านด้วยวิธีร่วมทุน แต่การดำเนินการของรัฐบาลทำให้ไฮสปีดจีนจบด้วยการใช้ภาษีคนไทยลงทุนเองทั้งหมดมาแล้ว ส่วนกรณีญี่ปุ่นก็น่าตั้งคำถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การเจรจาต่อรองของรัฐบาลนี้จะทำให้การร่วมลงทุนล้มเหลวซ้ำรอยเดิมอีกที

 

หวังว่าข่าวญี่ปุ่นปฏิเสธการลงทุนร่วมกับไทยจะไม่เป็นจริง และหวังว่าการเจรจาภาครัฐจะไม่ทำให้ไฮสปีดญี่ปุ่นจบด้วยการเป็นภาคสองของไฮสปีดจีน

The post รื้อไฮสปีดญี่ปุ่น: ลดภาระไทยหรือยุทธศาสตร์ใหม่ซื้อรถไฟจีน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thailand-high-speed-rail-trick/feed/ 0
คดีล่าเสือดำต้องเขย่าสังคมชนชั้นและอภิสิทธิ์ชน https://thestandard.co/black-panther-hunting-and-social-distance/ https://thestandard.co/black-panther-hunting-and-social-distance/#respond Sat, 10 Feb 2018 11:59:17 +0000 https://thestandard.co/?p=69181

ภาพเสือดำถูกถลกหนังพร้อมกะโหลกและอวัยวะภายในทำให้คนทั้ง […]

The post คดีล่าเสือดำต้องเขย่าสังคมชนชั้นและอภิสิทธิ์ชน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภาพเสือดำถูกถลกหนังพร้อมกะโหลกและอวัยวะภายในทำให้คนทั้งประเทศสะเทือนใจ แต่ในที่สุดประธานบริษัทผู้อื้อฉาวก็ถูกประกันตัวไป และหลายคนประเมินว่าสักพักคดีจะเงียบ ต่อให้คนจะมองว่าข่าวนี้สะท้อนเรื่องมหาเศรษฐีเป็นอภิสิทธิ์ชนในประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกับคนใหญ่คนโตก็ตาม

 

แน่นอนว่าคดีจะหายไปหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของคดี แต่ขณะที่ภาพดังกล่าวทำให้คนโกรธแค้นเรื่องนี้จนเกิดประเด็น ‘อภิสิทธิ์ชน’ ข้อมูลหลายแหล่งกลับระบุว่าเจ้าสัวมีพฤติกรรมนี้นานแล้ว ตัวอย่างเช่น คุณระดับ กาญจนะวณิชย์ โพสต์ถึง ‘พี่เปรมชัย’ ว่า “เรื่องที่เกิดขึ้นในวันนี้ พี่ทำมันมานานมาก” หรือเว็บ MGR เปิดภาพเจ้าสัวพร้อมหนังเสือโคร่งในออฟฟิศ หลังปกปิดมากว่า 20 ปี

 

 

ถ้าความเป็นอภิสิทธิ์ชนเป็นปัญหา ข้อมูลแบบนี้ก็บอกเราว่า ‘เจ้าสัว’ สนุกกับอภิสิทธิ์ที่จะฆ่ามาเกือบครึ่งชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นคือทั้งหมดเป็นการฆ่าเพื่อสนองตัณหาในการไล่ล่า ไม่ใช่ทำเพื่อหาอาหารหรือขายเป็นของป่าแลกเงิน

 

คนจำนวนหนึ่งพูดตลกแบบไม่ขำว่าเจ้าสัวเลียนแบบรพินทร์ ไพรวัลย์ ใน เพชรพระอุมา แต่หากเรื่องนี้จริงก็เท่ากับว่าเจ้าสัวตามก้นฝรั่งเจ้าอาณานิคมผู้เขียนงานต้นแบบของนวนิยายเล่มนี้อย่าง King Solomon’s Mines ในปี 1885 หรือเท่ากับว่าเจ้าสัวมีพฤติกรรมถอยหลังย้อนยุคไปจากปัจจุบัน 133 ปี

 

อย่างไรก็ดี พูดแบบนี้อาจโทษฝรั่งไปนิด เพราะที่จริงวรรณคดีต้นรัตนโกสินทร์ก็มีการพูดถึงการล่าเพื่อความบันเทิงด้วย ตัวอย่างเช่น พระเจ้าเสือประหารพ่อขุนแผนเพราะโกรธที่ฆ่าควายป่าตัดหน้าในพระราชพิธีล่าสัตว์ พูดง่ายๆ คือทรงสั่งตัดหัวขุนไกรเพราะพิโรธที่ถูกขัดขวางพระเกษมสำราญในการฆ่าควาย

 

มองแบบนี้ การไล่ล่าคร่าชีวิตเพื่อความบันเทิงนั้นเป็นพฤติกรรมของคนชั้นสูงแน่ๆ จะเป็นเจ้าอาณานิคมแบบฝรั่งหรือรัฐราชสำนักสยามก็ตาม

 

 

คำถามคือทำไมคนชั้นสูงถึงชอบล่า ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจหรือการเงิน

 

โลกตะวันตกมีงานเขียนเยอะแยะที่พูดถึงการล่าโดยเชื่อมโยงกับการแผ่อิทธิพลของเจ้าอาณานิคม พูดง่ายๆ คือฝรั่งในยุโรปชอบล่า เพราะการล่าเป็นอุปลักษณ์ของอำนาจเหนือคนพื้นเมืองในอินเดียและแอฟริกา

 

 

ในงานเขียนที่โด่งดังตามแนวทางนี้อย่าง The Man-eaters of Tsavo นายทหารอังกฤษผู้ผันตัวเป็นพรานบันทึกการล่าสิงโตคู่ในยูกันดาที่กินคนงานก่อสร้างทางรถไฟของอังกฤษเป็นร้อย ต่อมาพรานฆ่าสิงโตได้ การก่อสร้างคืบหน้า จากนั้นอังกฤษก็ประสบผลสำเร็จในการกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติจากแอฟริกา

 

ไม่มีใครทราบว่างานชิ้นนี้อิงความจริงโดยเคร่งครัดหรือไม่ แต่เมื่อมันถูกแปลงเป็นหนังในทศวรรษที่ 1990 อุปลักษณ์ทั้งหมดของหนังสือว่าสิงโตคือคนดำ พรานคืออาณานิคมอังกฤษ การล่าคือการกวาดล้างชนพื้นเมืองเพื่อยึดแอฟริกา และการแพร่หลายของการล่าในกาฬทวีปก็เกิดในยุคทองของลัทธิอาณานิคม

 

 

ขณะที่ประวัติศาสตร์ยุโรปทำให้การล่าวิวัฒนาการอย่างที่กล่าวไป การล่าในอเมริกากลายเป็นสันทนาการที่แพร่หลายแบบที่นักประวัติศาสตร์ทาสอย่างสตีเวน ฮาห์น และคาร์ล จาโคบี ระบุว่าเป็นเรื่องของคนชั้นสูงและคนชั้นกลางผิวขาว หรือพูดง่ายๆ คือคนขาวรวยๆ ใช้การล่าเป็นเครื่องมือแสดงชนชั้นในสังคม

 

สรุปแบบเร็วๆ อเมริกาก็เหมือนทุกประเทศที่เคยมีการล่าสัตว์เพราะความจำเป็น แต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่นั่นเริ่มแบ่งแยกการล่าเพื่อสนองความหิวกับการล่าเพื่อความสนุก จากนั้นการล่าแบบหลังกลายเป็นกีฬาที่ผู้ล่าต้องมีความเป็นสุภาพบุรุษอังกฤษทุกกระเบียดนิ้ว ขณะที่การล่าแบบแรกเป็นเรื่องของนักเลงชั้นต่ำที่ปราศจากวัฒนธรรม

 

ถึงจุดนี้ ‘การล่า’ ไม่ใช่เรื่องที่ใครก็ทำได้ เพราะการล่าแสดงว่าใครใหญ่พอจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนรวมเพื่อการหย่อนใจ การล่าที่กลายเป็นสันทนาการนั้นคือบรรดาศักดิ์ให้คนผิวขาวชั้นสูงและกลางโอ้อวดว่าอภิสิทธิ์ชนอย่างฉันเท่านั้นที่ทำได้ และในที่สุดการล่าก็กลายเป็นการแสดงศักดิ์ของคนในสังคม

 

 

ไม่ว่าการล่าจะทำไปเพื่อสนองตอบอารมณ์อาณานิคมหรือสังคมชนชั้น การล่ามีด้านที่ควบคู่กับการแสดงความเป็นชายด้วยเสมอ เหตุผลคือการล่าเชื่อมโยงกับคุณสมบัติสำคัญ 3 ข้อที่ทำให้ผู้ชายเพ้อเรื่องความเป็นชายได้ ข้อแรกคือความแข็งแกร่งของร่างกาย, ข้อสอง การควบคุมคณะลูกหาบในการล่า และข้อสามคือทักษะในการเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่อันตราย

 

ควรระบุว่าการล่าเพื่อโชว์ความเป็นชายนั้นไม่ได้แปลว่าผู้ล่ามีแต่ผู้ชาย เพราะนักล่าในสังคมอาณานิคมหรือระบบชนชั้นนั้นเป็นหญิงได้เสมอ เพียงแต่หญิงที่เป็นนักล่านั้นต้องมีคุณสมบัติของความเป็นชาย และการยอมรับว่าผู้หญิงเป็นนักล่าได้ก็เป็นประเด็นที่สะท้อนอำนาจผู้หญิงในสังคมนิยมไพรของอเมริกา

 

 

อนึ่ง โปรดสังเกตว่านักล่าทุกสายนิยมถ่ายรูปคู่สัตว์ที่ถูกล่าด้วยท่วงท่าแสดงอำนาจเหนือสัตว์และบริวารทั้งหมด การล่าจึงเป็นการแสดงเพื่อโชว์ความแข็งแกร่งของคนชั้นสูงผู้ล่า ผลก็คือภาพการล่าเป็นไปอย่างโอ่อ่า งามสง่า และเปิดเผย ส่วนการอวดความแข็งแกร่งนั้นจะเป็นไปเพื่ออะไรก็สุดแท้แต่กรณี

 

ทั้งหมดนี้คือเรื่องการล่าและการแสดงออกเรื่องล่าในสังคมยุคสมัยที่ถือว่าการล่าคือความศิวิไลซ์

 

แน่นอนว่าโลกปี 2018 ไม่ได้คิดว่าอาณานิคมหรือการแบ่งชนชั้นคือศิวิไลซ์ ฉะนั้นการล่าหรือโอ้อวดเรื่องล่าจึงไม่มีพื้นฐานทางสังคมให้เกาะเกี่ยวอีก บริบทแบบนี้ทำให้ภาพการล่าไม่สื่อถึงอำนาจผู้ล่าอย่างในคริสต์ศตวรรษที่แล้ว ไม่ต้องพูดถึงประเด็นความเป็นชายซึ่งกลายเป็นเรื่องไร้สาระแทบสิ้นเชิง

 

 

ถ้าสังคมอาณานิคมหรือระบบชนชั้นทำให้การล่าสื่อความถึงอำนาจและความเป็นชาย ภาพเจ้าสัวในข่าวก็สื่อสภาพที่อำนาจและความเป็นชายปวกเปียกอย่างที่สุด ภาพเล่าว่าการล่าไม่เกี่ยวกับความแข็งแกร่งหรือทักษะเอาตัวรอดของผู้ล่า ยิ่งกว่านั้นคือผู้ล่าเอาชนะผู้ถูกล่าโดยวิธีหมาหมู่ ทั้งที่มีอาวุธเหนือกว่าทุกทาง

 

ภายใต้ปฏิกิริยาสังคมซึ่งเต็มไปด้วยความรังเกียจเจ้าสัวล่าเสือดำ สิ่งที่ข่าวนี้ชี้ให้เห็นคืออภิสิทธิ์ชนมีเนื้อในที่ไม่โอเค ส่วนสังคมไทยต้องมีเครื่องมือตรวจจับภาพจริงอภิสิทธิ์ชนเหมือนที่เกิดในกรณีนี้ให้ได้ เพราะคนแบบหัวหน้าวิเชียรไม่ได้มีทุกที่ และอภิสิทธิ์ชนอยู่เหนือกฎหมายเสมอในจุดที่อยู่นอกสายตาสังคม

The post คดีล่าเสือดำต้องเขย่าสังคมชนชั้นและอภิสิทธิ์ชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/black-panther-hunting-and-social-distance/feed/ 0