รวิศ หาญอุตสาหะ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 29 Jan 2020 05:52:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กลัวถูกจับได้ว่าตัวเองไม่เก่ง รู้จัก Impostor Syndrome ยิ่งสำเร็จยิ่งมีโอกาสเป็น? https://thestandard.co/impostor-syndrome/ Tue, 14 Jan 2020 13:50:08 +0000 https://thestandard.co/?p=320530

ไมค์ แคนนอน-บรูคส์ (Mike Cannon-Brookes) คือ CEO และผู้ […]

The post กลัวถูกจับได้ว่าตัวเองไม่เก่ง รู้จัก Impostor Syndrome ยิ่งสำเร็จยิ่งมีโอกาสเป็น? appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไมค์ แคนนอน-บรูคส์ (Mike Cannon-Brookes) คือ CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Atlassian ซึ่งเป็นเจ้าของ Jira และ Trello ที่คนยุคใหม่น่าจะคุ้นเคยกันดี

 

ด้วยอายุเพียง 40 ปี และมูลค่าบริษัทประมาณ 30,000 ล้านเหรียญ เขาน่าจะถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างมากที่สุดคนหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้

 

ผมได้มีโอกาสฟัง TED Talks ของไมค์ ที่เขาไม่ได้มาพูดเรื่องความสำเร็จหรือเรื่องธุรกิจ แต่เขามาพูดเรื่อง Impostor Syndrome หรืออาการที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง

 

เขาพูดว่าตัวเขาเองนั้นรู้สึก Out of His Depth อยู่ตลอดเวลา จนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่

 

คำว่าว่า Out of His Depth ถ้าจะแปลให้ตรงตัว น่าจะแปลว่าเกินความสามารถของตัวเองไป

 

และนี่เป็นหนึ่งคำอธิบายของ Impostor Syndrome

 

Impostor Syndrome ไม่ใช่ความรู้สึกว่าเรื่องนี้ยากเกินไป เราจะทำไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่ความกลัวที่จะล้มเหลวด้วย แต่เป็นความรู้สึกที่ว่าเอาจริงๆ แล้ว เราไม่ได้มีความสามารถในเรื่องนั้นแบบนั้น และมีความรู้สึกว่ากลัวคนอื่นจะ ‘จับได้’ ว่าเราไม่ได้มีความสามารถแบบนั้น

 

ไมค์ใช้คำว่ามันคือสถานการณ์ที่เรา ‘Guessed / BS out of that situation’ คือประมาณว่าไม่เดาๆ ก็ แถๆ ออกจากเรื่องนั้นไป

 

เขาเล่าถึงเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่บริษัทของเขาได้ชนะเป็นตัวแทนประเทศออสเตรเลียไปแข่งขัน World Entrepreneur of the Year ที่มอนติคาร์โล กับตัวแทนของประเทศต่างๆ อีก 40 ประเทศ

 

ตัวเขาเองรู้สึกว่าอยู่ผิดที่ผิดทางมาก รู้สึกว่าตัวเขาเองไม่ควรมาอยู่ตรงนี้เลย

 

ระหว่างนั้นเองก็เหลือบมองไปเห็นชายวัย 65 ปี ที่นั่งอยู่ใกล้ๆ ไมค์ เลยชวนคุยเพื่อลดความประหม่า จนได้ความว่าชายคนนั้นเป็นตัวแทนจากประเทศโปรตุเกส

 

บริษัทที่ชายคนนั้นเป็นมีพนักงาน 30,000 และมียอดขาย 4,000 ล้านเหรียญ

 

บริษัท Atlassian ของไมค์ ตอนนั้นมีพนักงาน 70 คน ส่วนยอดขายไม่ต้องพูดถึง

 

เขารู้สึกอยู่ผิดที่ผิดทางมาก

 

เลยพูดกับชายคนนั้นว่า “ผมบอกตามตรงเลยนะครับว่าผมไม่คิดว่าผมควรจะมาอยู่ที่นี่เลย มันเกินความสามารถผมไปมาก ผมคิดว่าเดี๋ยวคงมีคนคิดเรื่องนี้ออกแล้วส่งผมขึ้นเครื่องบินกลับไปออสเตรเลีย”

 

ชายคนนั้นหันกลับมาหาไมค์ แล้วพูดเบาๆ ว่า

 

“ผมรู้สึกเหมือนคุณเป๊ะเลย ผมก็คิดว่าความสามารถผมไม่พอจะมาที่นี่เหมือนกัน”

 

ทันใดนั้น ไมค์เข้าใจเรื่องสองเรื่อง

1. คนอื่นก็เป็น Impostor Syndrome เหมือนกัน

2. ความสำเร็จไม่ได้ทำให้ Impostor Syndrome หายไป ถ้าจะว่าไปมันอาจจะยิ่งทำให้มี Impostor Syndrome มากขึ้นด้วยซ้ำ ยิ่งสำเร็จอาจยิ่งเป็น Impostor Syndrome มากขึ้น

 

อีกเหตุการณ์ที่สอนเขาเรื่องนี้เป็นอย่างดี คือเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานเมื่อ อีลอน มัสก์ บอกว่าเขาอาจจะมีวิธีการแก้ปัญหาไฟดับเรื้อรังทางตอนใต้ของออสเตรเลียได้

 

ไมค์อ่านทวีตแล้วก็เขียนตอบไปหลายข้อความอยู่ประมาณว่า “ทำได้จริงๆ เหรอ”

 

อีลอน มัสก์ ตอบทวีตของไมค์ บอกว่า “I’m dead serious” คือ ทำได้จริง และยังบอกอีกว่าเขาสามารถสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 100 Megawatt-Hour ภายใน 100 วันแล้วปัญหานี้จะถูกแก้แน่นอน

 

ถ้าทำจริงๆ การติดตั้งแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เท่านี้จะเป็นหนึ่งในการติดตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

วันรุ่งขึ้นสื่อทุกสื่อจากทั่วโลกติดต่อหาไมค์ เพื่อต้องการความเห็นจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ด้านพลังงานจากเขา

 

เขาบอกว่าตัวเขาเองยังแยกไม่ออกระหว่างแบตเตอรี่ที่ใส่ของเล่นลูก กับแบตเตอรี่ที่ อีลอน มัสก์ พูดถึงเลยว่ามันต่างกันอย่างไร

 

นี่คือ Imposter Syndrome ของแท้เลย

 

แต่แทนที่เขาจะถอย เขาเลือกที่จะหาความรู้ หาข้อมูล จนในที่สุดโครงการนี้เกิดขึ้นจริงๆ ไม่เพียงเท่านั้นมันยังส่งผลต่อร่างกฎหมายเรื่องพลังงานทดแทนในรัฐสภาของออสเตรเลียด้วย

 

จากที่ไม่รู้อะไรเลย เขากลายเป็นตัวขับเคลื่อนให้โครงการใหญ่ระดับประเทศเกิดขึ้นจริงได้ และสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนจริงๆ

 

สิ่งที่ไมค์อยากจะบอกพวกเราคือ เมื่อ Impostor Syndrome มาเยือน สิ่งที่ต้องทำคือ

1. ‘Don’t Freeze’ อย่าเหวอจนทำอะไรไม่ถูก

2. ‘Find Your Way Out’ หาทางออกให้ได้

 

Impostor Syndrome อาจจะไม่หายไป แต่ถ้าคุณรู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไร มันอาจจะไม่น่ากลัวอย่างที่คิดก็ได้

 

บทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่มีค่ากับผมมากครับ

 

เหมือนที่ เจนนิเฟอร์ โลเปซ เคยกล่าวไว้ว่า

 

“Even though I had sold 70 million albums, there I was feeling like ‘I’m no good at this.’”

 

“ถึงฉันจะขายเพลงไป 70 ล้านอัลบั้มแล้ว ฉันก็ยังมีความรู้สึกว่าฉันร้องเพลงไม่เก่งอยู่ดี”

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post กลัวถูกจับได้ว่าตัวเองไม่เก่ง รู้จัก Impostor Syndrome ยิ่งสำเร็จยิ่งมีโอกาสเป็น? appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรื่องเล่า ความเชื่อ และจินตนาการ ทักษะสำคัญที่ทำให้ AI ยังเอาชนะมนุษย์ไม่ได้ https://thestandard.co/storytelling/ Tue, 30 Jul 2019 13:58:28 +0000 https://thestandard.co/?p=274931

Yuval Noah Harari ผู้เขียนเรื่อง Sapiens เคยพูดไว้บนเวท […]

The post เรื่องเล่า ความเชื่อ และจินตนาการ ทักษะสำคัญที่ทำให้ AI ยังเอาชนะมนุษย์ไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Yuval Noah Harari ผู้เขียนเรื่อง Sapiens เคยพูดไว้บนเวที TED Talks ว่า จริงๆ แล้วถ้าดูในระดับปัจเจกหรือรายบุคคล มนุษย์กับลิงชิมแปนซีนั้นแทบไม่ต่างอะไรกันเลย จะว่าไปถ้าพูดกันแบบตัวต่อตัว เช่น สมมติว่าเอาเราไปปล่อยเกาะกับลิงชิมแปนซีหนึ่งตัว และดูว่าใครจะอยู่รอดได้นานกว่า ลิงน่าจะชนะ

 

แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นมาปกครองโลกนี้ได้ เพราะเราเป็นสัตว์ที่ร่วมมือกันได้เป็นจำนวนเยอะมากๆ และยังคงความยืดหยุ่นไว้ได้อีกด้วย 

 

คุณอาจจะเถียงอยู่ในใจว่า เดี๋ยวก่อนนะ มีสัตว์อีกตั้งเยอะแยะที่สามารถร่วมมือกันได้เป็นจำนวนเยอะๆ เช่น มด หรือผึ้ง แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือความร่วมมือนั้นมีความยืดหยุ่นน้อยมาก เช่น หากเกิดเหตุการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อผึ้งหนึ่งฝูง พวกมันไม่สามารถที่จะร่วมมือกันฆ่านางพญาผึ้งและคิดระบบการปกครองใหม่ขึ้นมาได้

 

ส่วนสัตว์ชนิดอื่นก็สามารถร่วมมือกันได้อย่างยืดหยุ่น แต่อาจจะอยู่ในสเกลเล็ก เช่น โลมา หมาป่า หรือลิงชิมแปนซี แต่สัตว์พวกนี้ทำได้เฉพาะที่เจอหน้ากันเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คือจะร่วมมือกันได้เราต้องรู้จักกัน สัตว์เพียงชนิดเดียวที่สามารถร่วมมือกันได้อย่างยืดหยุ่นและทำได้พร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ คือมนุษย์เท่านั้น

 

ถ้ามนุษย์สู้กับลิงชิมแปนซีแบบ 1 ต่อ 1 หรือแม้แต่ 10 ต่อ 10 ลิงจะชนะเราค่อนข้างแน่นอน

 

แต่ถ้าเป็นมนุษย์ 1,000 ต่อลิง 1,000 มนุษย์จะชนะค่อนข้างแน่นอน

 

ลองนึกภาพการเอาลิง 100,000 ตัวเข้าไปอยู่ในสนามเวมบลีย์ เพื่อดูคอนเสิร์ตของลิงซูเปอร์สตาร์​

 

สิ่งที่เกิดขึ้นคือความโกลาหลแบบที่คาดการณ์ไม่ได้

 

แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นกับมนุษย์ เพราะถ้าเราเอาคน 100,000 คนมาดูคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่สนามเวมบลีย์ เหตุการณ์คงเป็นไปอย่างเรียบร้อยพอประมาณ​ เราลองนึกดูนะครับ เราไม่จำเป็นต้องรู้จักคนจัดคอนเสิร์ต คนทำเวที คนดูเรื่องความปลอดภัย ฯลฯ แต่เรายังเชื่อมั่นในระบบว่าทุกอย่างจะออกมาได้ดี

 

เราไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน แต่เราสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านการแลกเปลี่ยนทางความคิด

 

สิ่งนี้แหละครับที่สัตว์อื่นไม่สามารถทำได้

 

คำถามคือ แล้วทำไมมนุษย์ถึงทำได้ล่ะ

 

คำตอบคือ จินตนาการของเราครับ

 

แล้วจินตนาการของเรามาจากอะไร?

 

คำตอบคือ มันมาจากเรื่องเล่า

 

เรื่องเล่าที่สามารถทำให้คนเป็นล้านๆ คนเชื่อในสิ่งเดียวกันได้ รักหรือเกลียดในสิ่งเดียวกันได้ เชื่อในกฎเดียวกันได้ทั้งที่ไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อน 

 

สัตว์ชนิดอื่นนั้นใช้เรื่องเล่าในการอธิบายความจริงเท่านั้น เช่น ลิงอาจจะส่งสัญญาณบอกเพื่อนลิงด้วยกันว่าข้างหน้ามีฝูงสิงโตอยู่ หรือหลังภูเขานี้มีอาหารอยู่ ทำนองนี้

 

แต่มนุษย์ไม่ทำแบบนั้น เราใช้เรื่องเล่าของเรา เล่าทั้งความจริงที่เห็นตรงหน้า และเล่าจินตนาการต่างๆ ให้กลายเป็นความจริงได้ด้วย

 

เราเคยได้ยินเรื่องทำนองนี้มาตลอดชีวิตครับ

 

‘ที่ฝนไม่ตกเพราะเทพเจ้าโกรธเรา เราต้องบูชายันต์ใครสักคนในเผ่านี้แล้วฝนจะตก’

 

‘ถ้าเธอทำเรื่องนี้ผีจะมาเอาตัวเธอไป’

 

หรือแม้แต่ ‘เราต้องฆ่าคนที่เชื่อไม่เหมือนกับเรา แต่เราไม่ได้ทำเลวนะ เราทำเพื่อเผ่าพันธุ์ของมนุษย์’

 

และคนเป็นล้านๆ คนก็ออกมาทำสงครามกันทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน

 

และคนเป็นล้านๆ คนก็เชื่อในความเชื่อทางศาสนาเดียวกันทั้งๆ ที่ไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อน

 

การเกิดขึ้นของชาติ ของบริษัท หรือแม้แต่ของระบบการเงินของโลกทั้งหมด ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากเรื่องเล่าที่เราต่างเชื่อร่วมกันทั้งนั้น

 

สิ่งเหล่านี้มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถเล่าได้ และก็มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะเชื่อเรื่องเหล่านี้

 

แต่ถ้าหากจะถามว่าอะไรคือเรื่องเล่าที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ 70,000 กว่าปีของเรา

 

คำตอบคือ ‘เงิน’ ครับ

 

ที่บอกว่าประสบความสำเร็จที่สุดเพราะทุกคนเชื่อในเรื่องนี้ แม้แต่คนที่คิดว่ามันไม่สำคัญก็ยังเชื่อในเรื่องนี้

 

ยกตัวอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐละกันครับ แม้แต่คนที่เกลียดสหรัฐฯ ที่สุดอย่าง Osama Bin Laden ก็ยังเชื่อในเงินของสหรัฐ​ฯ จะว่าไปเขาใช้มันเยอะเสียด้วย

 

เรื่องเล่าทำให้มนุษย์เรานั้นอยู่ในโลกของสองใบ โลกใบแรกคือโลกของความจริง ดิน น้ำ ลม ไฟ ภูเขา อาหาร ซึ่งมนุษย์และสัตว์มีโลกนี้เหมือนกัน

 

โลกที่สองคือโลกแห่งเรื่องเล่า เช่น โฉนดที่ดิน เงินตรา ประเทศ​ พระเจ้า ลัทธิ ฯลฯ ซึ่งมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีโลกนี้

 

เราสามารถบอกได้เลยว่าสิ่งที่ยึดเหนี่ยวโลกนี้ด้วยพลังสูงสุดคือความเชื่อในเรื่องเล่าเหล่านี้นั่นเอง และสรรพสิ่งเกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้ดำรงอยู่บนโลกใบนี้ผ่านเรื่องเล่านี้เอง

 

Harvard Business Review เคยมีบทความออกมาว่า Storytelling คือสิ่งที่ AI จะยังไม่สามารถมาทำแทนมนุษย์ได้ อย่างน้อยก็ในเวลาอันสั้นนี้

 

ดังนั้นความสามารถในการเล่าเรื่องจึงเป็นทักษะที่ทรงพลังและสำคัญอย่างมาก

แล้วเราจะพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องได้อย่างไร

 

—————————————————————————————————

 

ลองคิดถึงเพชร De Beers ครับ

 

ในปี 1999 Advertising Age ได้ขนานนามให้ ‘A Diamond is Forever’ เป็น สโลแกนแห่งศตวรรษ หรือ Slogan of the Century 

 

สโลแกนที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท De Beers เราย้อนมาดูประวัติของ De Beers กันนิดหนึ่งนะครับ

 

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 De Beers ควบคุมการผลิตและส่งเพชร uncut diamond กว่า 90% ของโลก ภายหลังบริษัท De Beers เปลี่ยนมือมาอยู่กับมหาเศรษฐีชื่อ Ernest Oppenheimer

 

สถานการณ์ในช่วง 1930 นั้นไม่ค่อยจะสู้ดีนัก เพราะเจอทั้งผลพวงจาก Great Depression กับสงครามโลกครั้งที่ 1 และของฟุ่มเฟือยอย่างเพชรนั้นได้รับผลกระทบแน่นอน

 

ต้องบอกก่อนครับว่าในช่วงนั้นเพชรยังไม่ได้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแบบทุกวันนี้นะครับ จริงๆ แล้วในสมัยนั้นมีคู่แต่งงานไม่เยอะที่แลกแหวนกัน และเพชรก็เป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือกของหลากหลายอัญมณี ในกรณีที่ถ้ามีการแลกแหวนกัน

 

ในปี 1938 Oppenheimer ก็ได้ส่งลูกชายไปหาเอเจนซีที่นิวยอร์กชื่อ N.W. Ayers เพื่อช่วยกันคิดแคมเปญให้สังคมเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเพชร เพราะในอเมริกานั้น De Beers ครองตลาดแหวนหมั้นกว่า 75% ถ้าขยายตลาดนี้ได้ละก็ De Beers ก็จะได้ผลประโยชน์อย่างมาก

 

N.W. Ayers ทำการสำรวจความรู้สึกของตลาดต่อเพชร และได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้หญิงในยุคนั้นไม่ได้ใส่ใจเรื่องอัญมณีอย่างเพชรเท่าไรนัก โดยคิดว่าถ้าจะซื้อของแบบนี้เอาไปซื้อรถหรือบ้านดีกว่า

 

แคมเปญโฆษณาของ De Beers จึงทำแบบปกติธรรมดาไม่ได้ เพราะถ้าจะทำให้สำเร็จนี่หมายถึงการเปลี่ยนความเชื่อของสังคมไปเลย โดยสิ่งที่ De Beers ทำมีสองอย่างด้วยกันครับคือ

 

อย่างแรกใช้สื่อต่างๆ ในการโน้มน้าวเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับเพชร โดยสื่อที่ใช้เยอะและทรงพลังมากที่สุดคือภาพยนตร์ฮอลลีวูดครับ โดยทำตั้งแต่ในภาพยนตร์อย่างเรื่อง Gentleman Prefer Blondes ในฉากที่ Marilyn ร้องเพลง Diamonds Are a Girl’s Best Friend เป็นฉากที่ทรงพลังและทำเอาคนดูเคลิ้มไปตามๆ กัน

 

เรื่องที่สองคือ สารที่ต้องการจะสื่อนั้นพูดกับ ‘ผู้ชาย’ ด้วยครับ เพราะผู้ชายคือคนที่จ่ายเงินซื้อแหวนหมั้น ถ้ายิ่ง ‘อิน’ เท่าไรจะยิ่งซื้อแพงเท่านั้น โดยถ้าจะให้กล่าวรวมๆ คือ สิ่งที่แคมเปญนี้ต้องการจะบอกผู้ชายคือ เพชรยิ่งงดงามมากเท่าไรยิ่งเท่ากับเห็นความงามของคนรักมากเท่านั้น

 

สองเรื่องนี้สร้าง ‘เรื่องเล่า’ ใหม่ให้กับเพชร

 

และในปี 1948 โดย Frances Gerety ก็ได้คิดก๊อบปี้ที่เป็นตำนานขึ้นมาว่า ‘A Diamond is Forever’

 

แท็กไลน์สุดเรียบง่ายแต่ทรงพลังที่ผ่านมา 70 ปีก็ยังทรงพลังอยู่

 

ในปี 1999 Advertising Age ได้ขนานนามให้ ‘A Diamond is Forever’ เป็น Slogan of the Century

 

De Beers ประสบความสำเร็จใจการทำให้เพชรเท่ากับ ‘ความรักนิรันดร์’

หลังจากนั้นธรรมเนียมในการใช้เพชรเป็นแหวนหมั้นก็เริ่มขึ้น

 

โดยแคมเปญของ De Beers นี้มีข้อกำหนดที่ประหลาดมากอยู่อย่างหนึ่งครับ คือจะไม่มีการพูดถึงแบรนด์ De Beers แต่จะให้เพชรเป็นตัวเอก

 

เพราะถ้าอุตสาหกรรมเพชรขยายตัว คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือ De Beers

 

โดยมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ครับ ภายใน 10 ปีแรกของการทำแคมเปญนี้ ยอดขายก็พุ่งทะยานขึ้น โดยบางปีโตเกิน 50% ครับ โดยปัจจุบันมีการประมาณการกันว่า ผู้หญิงกว่า 70% ทั่วโลกได้รับแหวนเพชรในการหมั้นหมาย และเกือบครึ่งของแหวนทั้งหมดนั้นเป็นของ De Beers

 

นี่คือพลังของเรื่องเล่า ความเชื่อ และจินตนาการครับ

 

————————————————————————————————-

 

Carolyn O’Hara เคยเขียนไว้ใน Harvard Business Review ว่า สิ่งที่เราอยากเล่าจะไม่ได้รับการ ‘ได้ยิน’ จนกระทั่งมันถูกร้อยเรียงเป็น ‘เรื่องเล่า’

 

Jonah Sachs ซีอีโอของ Free Range Studio ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Storytelling ของภาคธุรกิจได้ให้แนวคิดการทำสตอรีที่ดีไว้ดังนี้

 

  1. ใครคือคนฟัง: จุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดคือผู้ฟัง การเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆ ต้องย้อนกลับมาถึงเรื่องนี้เสมอ การเล่าเรื่องให้ผู้ฟังที่เป็นคนที่ใช้อารมณ์และความรู้สึกนำ กับคนที่ใช้ตัวเลขและหลักฐานนำ วิธีการเล่าไม่เหมือนกันแน่นอน ถ้าเราไม่เข้าใจผู้ฟัง เรื่องเล่าของเราจะไม่น่าฟังเอาเสียเลย

 

ดังนั้นจุดเริ่มที่สำคัญที่สุดและเป็นเรื่องที่เราต้องกลับมาเช็กตลอดเวลาคือว่า ‘ใครคือคนฟัง’

 

  1. ประสบการณ์ของเรา: การเอาประสบการณ์ของเรามาเป็นส่วนประกอบของเรื่องเล่านั้นจะยิ่งทำให้เรื่องเล่าทรงพลังขึ้นไปอีก อย่างเช่น Micky Mouse นั้นเกิดขึ้นจากหนูที่ Walt Disney เคยเลี้ยง และเขาบอกว่าช่วงเวลาที่มีหนูตัวนี้อยู่ เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของชีวิตเขา

 

  1. หัวใจของเรื่องที่อยากจะเล่า: หลายครั้งเราพยายามหาเทคนิควิธีการนำเสนอมากเกินไป จนเราลืมไปว่าหัวใจของเรื่องที่ต้องการจะเล่าคืออะไร เหมือนภาพยนตร์ที่มี Special Effect เต็มไปหมด แต่บทไม่ได้เรื่อง

 

ในบรรดาเรื่องเล่าทุกเรื่องที่ดี มันจะมีแก่นของเรื่องอยู่ การเล่าเรื่องอย่าให้หลุดออกจากแก่นนั้น

 

  1. พยายามทำทุกอย่างให้เข้าใจง่ายๆ เข้าไว้: ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 บริษัท Lockheed Martin ของสหรัฐ​ฯ ต้องการขอเงินทุนเพื่อสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนจากเรดาร์ ภายใต้โครงการลับชื่อ Skunk Works ซึ่งผู้พิจารณาการอนุมัติเงินทุนคือคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารของซีไอเอ ผู้แทนเสนาธิการทหาร และคณะที่ปรึกษาของประธานาธิบดี Gerald Ford

 

วันที่ต้องนำเสนองาน Ben Rich หัวหน้าวิศวกรของโครงการนี้รู้ว่าคนที่เข้าใจเรื่องเรดาร์อย่างแท้จริงบนโลกใบนี้มีอยู่หยิบมือเดียว และไม่ใช่ผู้ฟังของเขาในวันนี้ด้วย

 

เขาจึงเดินเข้าไปในห้องประชุมโดยไม่มีตัวเลข ไม่มีข้อมูลทางเทคนิค ไม่มีชาร์ตใดๆ พร้อมกับหยิบลูกปืนโลหะกลมๆ ขนาดประมาณครึ่งนิ้ว สาดมันไปบนโต๊ะต่อหน้านายพลและผู้บริหารเหล่านั้นแล้วกล่าวว่า

 

“ผมจะสร้างเครื่องบินรบที่เมื่อจอดประชิดจานเรดาร์ของข้าศึก เรดาร์จะเห็นเครื่องบินทั้งลำใหญ่แค่เท่าลูกปืนอันนี้” เหล่านายพล ข้าราชการ และนักการเมืองทั้งหลายอึ้งกันทั้งห้อง

 

อีกอึดใจเดียว Ben Rich เดินออกมาจากห้องประชุมพร้อมเงินทุนที่ต้องการ นี่คือที่มาของเครื่องบินรบ F-117 Stealth ซึ่งเป็นตำนานของกองทัพสหรัฐฯ ที่ได้เข้าร่วมสมรภูมิรบสำคัญมากมาย

 

ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลจนล้นไปหมด ทักษะเรื่องการเล่าเรื่องจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

 

Brad Pitt เคยกล่าวไว้ว่า “We’re so complex; we’re mysteries to ourselves; we’re difficult to each other. And then storytelling reminds us we’re all the same.”

 

การเล่าเรื่องที่ดีคือกุญแจในการไขกลไกอันซับซ้อนของจิตใจมนุษย์ครับ

 

 

ภาพประกอบ: Sradarit

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post เรื่องเล่า ความเชื่อ และจินตนาการ ทักษะสำคัญที่ทำให้ AI ยังเอาชนะมนุษย์ไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตามหาความสุขที่ขาดหายไปในการทำงาน รู้จัก Motivation Factors ที่ไม่เกี่ยวกับ ‘เงิน’ แต่เกี่ยวกับ ‘งาน’ https://thestandard.co/motivation-factors/ Mon, 17 Jun 2019 10:56:02 +0000 https://thestandard.co/?p=263101

เวลาพูดถึง Motivation หรือแรงจูงใจในการทำงาน ถ้าให้เราค […]

The post ตามหาความสุขที่ขาดหายไปในการทำงาน รู้จัก Motivation Factors ที่ไม่เกี่ยวกับ ‘เงิน’ แต่เกี่ยวกับ ‘งาน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เวลาพูดถึง Motivation หรือแรงจูงใจในการทำงาน ถ้าให้เราคิดเร็วๆ เราอาจจะคิดว่าแรงจูงใจที่ดีน่าจะมาจากเงินและผลประโยชน์ต่างๆ โดยปกติแล้วก็ไม่น่าจะมีใครปฏิเสธเงินที่มากขึ้นถูกไหมครับ

 

How Will You Measure Your Life? เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมชอบมาก ผู้เขียนคือ Clayton Christensen ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่อยู่มาวันหนึ่งเขาก็เกิดสนใจที่จะมาค้นหาว่า จริงๆ แล้ว เราเข้าใจมาตรวัดของชีวิตกันไหมว่าอะไรที่เราอยากได้กันแน่

 

จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้คือการสังเกตว่า เพื่อนร่วมรุ่นที่ฮาร์วาร์ดของเขาที่ล้วนแล้วแต่เป็นนักเรียนหัวกะทิ ไม่ใช่แค่ของประเทศ แต่เป็นของโลกด้วยซ้ำ หลายคนมีหน้าที่การงานดีเท่าที่คนคนหนึ่งจะมีได้ มีทุกอย่างที่จะสามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็นชีวิตที่ดีมากๆ

 

คำว่า ‘ดี’ ที่ว่านี้คือวัดโดยมาตรฐานหลักของสังคมคือ บ้านใหญ่ รถแพง ทุกอย่างหรูหรา เฟิร์สคลาส

 

แต่ทำไมคนเหล่านี้ไม่น้อยเลยที่ไม่มีความสุขในหลายๆ เรื่อง และเรื่องงานก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

เพื่อหาคำตอบ เราย้อนกลับไปดูงานวิชาการที่เป็นที่พูดถึงในประเด็นนี้อย่างกว้างขวางกันครับ

 

ในปี 1976 Michael Jensen และ William Meckling ทั้งสองเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่โฟกัสไปที่เรื่องทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) หรือทฤษฎีผลตอบแทน (Incentive Theory)

 

งานชิ้นนี้บอกว่า คนจะทำงานตามที่บริษัทจ่ายเงินให้ ดังนั้น ถ้าอยากให้คนทำงานดี ต้องให้ผลประโยชน์ของคนทำงานนั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นอยากได้

 

มีการนำงานชิ้นนี้ไปพูดต่ออย่างกว้างขวาง เราอาจจะได้เคยได้ยินคำว่า ‘Aligning Incentive’ (ผลตอบแทนที่สอดคล้อง) อยู่บ่อยๆ ครับ

 

วิธีคิดแบบนี้ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ผู้บริหารจำนวนมากเชื่อว่าการจะทำให้คนทำงานได้ดี ต้องจ่ายเงินให้เพื่อให้คนทำงานตามขอบเขตและเวลาที่วางไว้ ซึ่งเมื่อมันเริ่มมีตัวเงินมาวัด การวัดก็ทำได้ง่าย เข้าใจง่าย เหมือนกับพ่อแม่ที่สัญญาว่าจะให้เงินลูกตามจำนวนเกรด A ที่ได้บนใบเกรด ประมาณนั้นเลย

 

คำถามคือ มันใช้งานได้จริงไหม

 

Christensen บอกว่า เวลาจะทดสอบว่าทฤษฎีนั้นใช้งานได้ไหม ให้ลองหาเหตุการณ์ที่ไม่ปกติที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีที่เราต้องการทดสอบ ถ้าเรื่องที่อธิบายไม่ได้มันมีเยอะ ต่อเนื่อง และเกิดขึ้นซ้ำๆ มันอาจจะแปลว่าทฤษฎีที่ว่านี้มันใช้งานไม่ได้ก็ได้

 

ซึ่งถ้าเราลองมองไปรอบๆ ตัวเราจะเห็นว่า คนที่มีความสามารถจำนวนมากเลือกทำงานโดยที่ไม่ได้นำเงินมาเป็นตัวตั้งแน่ๆ

 

เราเห็นคนเก่งๆ มากมายไปทำงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรตามประเทศห่างไกล งานก็ดูยากลำบาก การกินอยู่ก็ดูไม่สบาย สิ่งที่คนเหล่านี้มีเยอะมาก อาจจะเยอะกว่างานที่จ่ายแพงๆ ด้วยซ้ำคือ Motivation ที่เต็มเปี่ยมมาก

 

เราเห็นคนที่โปรไฟล์เรียกได้ว่าระดับเทพ ตัดสินใจทำงานราชการ ทั้งๆ ที่ถ้าเขาอยากไปทำงานเอกชน จะมีที่ที่อยากรับเขาเข้าไปทำงานโดยเพิ่มเงินเดือนให้ 20-30 เท่าเลยก็มี

 

เราเห็นคนที่นั่งเขียน Wikipedia ฟรีโดยที่ไม่ได้เงิน หรือคนที่แปลคำบรรยายของ TED ฟรี ฯลฯ คนเหล่านี้มี Motivation สูงมากนะครับ แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับเงินเลย

 

แล้ว Motivation มาจากไหนกันแน่

 

แนวคิดอีกทางที่พยายามอธิยายเรื่องนี้มาจาก Frederick Herzberg โดยมีชื่อเรียกว่า Two-Factor Theory

 

Frederick อธิบายว่า สมองคนเราแยกความพอใจ (Satisfaction) กับความไม่พอใจ (Dissatisfaction) ออกจากกัน มันทำให้เป็นไปได้ที่เราจะทั้งรักและเกลียดงานของเราไปในเวลาเดียวกัน

 

แนวคิดนี้สามารถอธิบายโดยแบ่งองค์ประกอบของการทำงานออกมาได้เป็น 2 ส่วนคือ

 

  1. Hygiene Factors (ปัจจัยด้านสุขวิทยา)
  2. Motivation Factors (ปัจจัยด้านแรงจูงใจ)

 

Hygiene Factors คือส่วนประกอบของงานที่ต้องได้รับการดูแลให้ ‘ถูกต้อง’ ไม่อย่างนั้นความไม่พึงพอใจจะเกิดแน่นอน ซึ่งประกอบไปด้วย

 

  • สถานะ
  • ตำแหน่ง
  • เงิน
  • สวัสดิการ
  • ความมั่นคงในงาน
  • สภาพการทำงาน
  • นโยบายขององค์กร
  • นิสัยใจคอของหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
  • ฯลฯ

 

การมี Hygiene Factors ที่ไม่ดีนั้นจะทำให้เกิดความไม่พอใจ ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะของความไม่พอใจสถานที่ทำงาน

 

การให้เงินที่เหมาะสมจึงเป็นการทำให้ ‘ไม่เกิด’ ความไม่พอใจเท่านั้นเอง

 

Owen Robbin ซึ่งเคยร่วมงานกับ Chirstensen ได้เคยพูดไว้ว่า ผลตอบแทนมันเหมือนกันกับดักที่ไม่มีทางออก ในฐานะซีอีโอ สิ่งที่คุณสามารถหวังได้มากที่สุดคือ ถ้าคุณเอาชื่อและรายได้ของทุกคนไปติดประกาศที่บริษัท แล้วลูกน้องของคุณทุกคนพูดเหมือนกันว่า “ฉันหวังว่าฉันจะได้เงินเยอะกว่านี้นะ แต่ก็อีกแหละ รายชื่อและรายได้ที่ติดอยู่มันยุติธรรมแล้ว”

 

นั่นคือ Best Case Scenario การจ่ายเงินที่เหมาะสมและถูกต้องจะทำให้ ‘ไม่เกิด’ ความ ‘ไม่พอใจ’ ขึ้น

 

พูดง่ายๆ ก็คือสิ่งที่ดีที่สุดที่องค์กรทำได้คือ ทำให้ทุกคนไม่โมโหเพื่อนร่วมงานและไม่โมโหองค์กรในเรื่องเงิน ประมาณนี้

 

แล้วถ้าเราเพิ่ม Hygiene Factors ไปเยอะๆ ล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น

 

Federick บอกว่า การเพิ่ม Hygiene Factors ไปเยอะๆ เลย สิ่งที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ คนที่เคยเกลียดงานนั้นอาจจะเลิกเกลียด ‘แต่’ ไม่ได้รักงานนั้นนะ แค่เลิกเกลียดเฉยๆ

 

นี่คือประเด็นที่สำคัญมากครับ

 

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความไม่พอใจในงาน (Job Dissatisfaction) ไม่ใช่ความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction)

 

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความไม่พอใจในงาน (Job Dissatisfaction) คือการหายไปของความไม่พึงพอใจในงาน (Absence of Job Dissatisfaction) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันเลยกับความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction)

 

สรุปการมี Hygeine ที่ดี ทำให้คุณไม่เกลียดงานที่คุณทำเท่านั้นแหละ

 

แล้วอะไรที่ทำให้เรา ‘รัก’ งานที่เราทำล่ะ

 

นี่เป็นที่มาของปัจจัยที่สองคือ Motivation Factors ครับ

 

Motivation Factors ก็อย่างเช่น

 

  • ความท้าทายในงาน
  • การได้รับการยอมรับ
  • การได้รับการมอบหมายความรับผิดชอบที่มีความหมาย
  • การได้เติบโตทางความรู้ ทางจิตวิญญาณ
  • ฯลฯ

 

จะเห็นว่าเรื่องทั้งหมดมาจาก ‘เนื้อแท้’ ของงาน ไม่เกี่ยวกับแรงกระตุ้นภายนอกเลย

 

นี่คือตัวแบ่งสำคัญครับ

 

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องความรับผิดชอบ เนื้อหาของงานที่เรารับผิดชอบจะส่งผลกับเราสองส่วนคือ การเติบโตขึ้นของเรา และผลกระทบของงานที่เราทำต่อผู้คนและสังคม

 

เราจะรักงานที่เราทำหรือไม่ก็อยู่กับเนื้อหาเหล่านี้

 

ปัญหาก็คือ คนเยอะมากที่เลือกอาชีพการงานโดยยึดเอา Hygiene Factors เป็นหลัก หรืออาจจะเป็นปัจจัยเดียวเลยก็ได้ ซึ่งเอาจริงๆ ก็พอเข้าใจได้ครับ เวลาเราเลือกงาน ถ้าเงินเยอะมันก็ล่อตาล่อใจอยู่

 

ประเด็นเรื่องผลตอบแทนมันทำได้ดีที่สุดคือ ทำให้เราไม่ทุกข์เท่านั้นเอง แต่ถ้าเราอยากได้งานที่เราทำแล้ว ‘สุข’ เรื่อง Motivation Factors จะเข้ามาเกี่ยวข้องทันที

 

ถ้าเป็นเรื่องของงานแล้ว การที่เรา ‘ไม่ทุกข์’ ไม่ได้หมายความว่าเราจะ ‘สุข’

 

การเลือกงานจาก Hygiene Factors อย่างเดียวยังทำให้เรามีโอกาสตกอยู่ในกับดักของมันด้วยครับ

 

กับดักที่ว่าคือ เมื่อเราได้เงินเยอะ เราก็เลือกใช้วิถีชีวิตแบบเงินเยอะด้วย มันจะค่อยๆ เริ่มครับ บ้านใหญ่ รถสวย ลูกเรียนที่แพงๆ รู้ตัวอีกทีมันยากมากที่จะเลือกออกมาทำงานที่รัก ที่ Motivate จริงๆ เพราะมันออกไม่ได้แล้ว

 

อย่าเข้าใจผิดนะครับ เงินไม่ใช่ปัญหาอะไรเลยของความสุขในการทำงาน บางคนทำงานได้เงินเยอะมากและก็มีความสุขด้วย

 

ปัญหาคือตัวเนื้องานต่างหาก คำถามที่เราอาจจะต้องถามคือ งานนี้มันมีความหมายพอที่จะทำให้เรามีความสุขและตกหลุมรักมันได้ไหม

 

เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ถ้างานที่เราทำมีความสุข ก็เท่ากับว่าเราจะไม่ต้องทำงานอีกเลยในชีวิต”

 

คำกล่าวนี้ไม่ได้เกินจริงแต่อย่างใด

 

ถ้าคุณอยากจะมาเส้นทางนี้ คุณต้องใช้เวลาและกล้าลงทุนกับการตามหางานที่มีความหมายกับคุณจริงๆ และเมื่อคุณเจอมัน คุณจะรู้สึกได้เองว่านี่แหละมันใช่ ลองถามคำถามแนวนี้กับตัวเองดูครับ

 

  1. ฉันรู้สึกว่างานนี้มีความหมายไหม
  2. งานนี้จะให้โอกาสฉันพัฒนาความสามารถไหม
  3. ฉันจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นจากงานนี้ไหม
  4. ฉันจะได้รับโอกาสในการได้รับการยอมรับถึงตัวตนของฉันจากงานนี้ไหม
  5. ความรับผิดชอบของงานนี้คือสิ่งที่ฉันมีความสุขกับมันไหม
  6. ฯลฯ

 

คำถามแนวนี้จะช่วยให้คุณเริ่มแยกสิ่งที่เป็น Hygiene Factors ออกจาก Motivation Factors ได้

 

และเมื่อถึงตอนนั้น ตอนที่คุณได้ค้นพบมัน คุณจะเริ่มเห็นภาพว่าอะไรกันแน่ที่เป็นความสุขจริงๆ ในการทำงาน

 

เพราะเมื่องานคือความสุขของคุณแล้ว ผลของมันจะออกมาดีเสมอ

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ตามหาความสุขที่ขาดหายไปในการทำงาน รู้จัก Motivation Factors ที่ไม่เกี่ยวกับ ‘เงิน’ แต่เกี่ยวกับ ‘งาน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อายุขึ้นเลข 4 อย่างไรไม่ให้เกิด Midlife Crisis คำแนะนำสู่การตกผลึกชีวิตในวัยกลางคน https://thestandard.co/midlife-crisis/ Tue, 28 May 2019 01:06:31 +0000 https://thestandard.co/?p=254464 Midlife Crisis

ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้มาสักพักแล้วครับ ผมเชื่อว่าตอนเลข […]

The post อายุขึ้นเลข 4 อย่างไรไม่ให้เกิด Midlife Crisis คำแนะนำสู่การตกผลึกชีวิตในวัยกลางคน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Midlife Crisis

ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้มาสักพักแล้วครับ ผมเชื่อว่าตอนเลขนำหน้าของอายุเราเปลี่ยน ตั้งแต่ 1 / 2 / 3 / 4 / 6 / 7 / 8 มันเหมือนจะเป็นการบังคับกลายๆ ว่าถึงเวลาที่เราต้องตกผลึกอะไรบางอย่างในชีวิตให้ได้

 

เหมือนกับว่าทุกๆ 10 ปี เราต้องเอาประสบการณ์ที่ตัวเองสั่งสมมาเรียงลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ ในชีวิต เพื่อที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีความสุขที่สุด

 

แต่การเปลี่ยนเข้าสู่วัย 40 มีความพิเศษเล็กน้อยตรงที่วัยนี้สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็น Midlife จริงๆ และมักมาคู่กับ Midlife Crisis คือความตกใจที่ชีวิตผ่านมาครึ่งทางแล้ว

 

โดยธรรมชาติเราจะเริ่มเช็กแล้วว่าชีวิตของเรามันต่างกับชีวิตที่อยากให้เป็นแค่ไหน ถ้ามันห่างมาก บางทีอาจจะซึมเศร้าเอาได้ง่ายๆ

 

นี่ยังไม่รวมถึงความจริงที่ว่าหลายคนหลังจากเรียนจบตอน 20 ต้นๆ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานแบบไม่ลืมหูลืมตา จนเงยหน้าขึ้นมาอีกทีก็พบว่าตัวเองอายุ 40 แล้ว

 

หลายเรื่องทำให้ตกใจเหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้เราได้คิดว่าต่อจากนี้จะไปอย่างไรต่อ

 

นี่คือเรื่องราวต่างๆ ที่ผมได้เรียนรู้มาและตกผลึกได้ตอนนี้

 

เราในวันนี้คือผลรวมของทางเลือกทั้งเล็กทั้งใหญ่ของเราในอดีต

ถ้าเราไม่ชอบตัวเองตรงไหนก็เปลี่ยนตรงนั้นซะ ความจริงข้อหนึ่งก็คือทางเลือกที่ดีๆ ทั้งหลายในชีวิตในตอนเริ่มต้นมันมักจะไม่น่าทำ ไม่สนุก และที่สำคัญคือกว่าความสุขจะมาต้องอดทนรอ นี่เป็นสาเหตุที่คนเยอะมากเลือกความสุขแบบ Pleasure คือสุขแบบฉาบฉวย เพราะมันสุขทันที แต่ความสุขที่มีความหมายหรือ Enjoyment นั้นต้องอดทนมันถึงจะได้มา

 

การทำทุกวันให้มีความหมายนั้นสำคัญจริงๆ

คำว่ามีความหมายคือมีความหมายกับตัวเองและคนอื่น เราเป็นรอยยิ้มให้คนรอบข้างบ้างไหม เป็นที่พึ่งให้คนรอบข้างบ้างไหม ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นความหมายให้กับตัวเองด้วย เราต้องบอกตัวเองก่อนหลับตานอนให้ได้ว่า “วันนี้ทำดีที่สุดแล้ว เรื่องของพรุ่งนี้เดี๋ยวตื่นมาลุยกันต่อ”

 

สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ

จะเรียกว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าเราอยากทำอะไรในอนาคต สุขภาพจะส่งผลต่อโอกาสที่จะสำเร็จเยอะมาก สุขภาพเราในวันนี้ส่วนใหญ่ก็มาจากทางเลือกในอดีตเช่นกัน ส่วนตัวผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก กิน นอน ออกกำลังกาย ต้องทำให้ดีทุกวัน

 

ในวัยนี้การใช้ร่างกายหนักๆ ควรเลิกให้หมด

ไม่ว่าจะเป็นการอดนอน ดื่มเยอะ กินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ แล้วคุณจะพบว่าการตื่นเช้า นอนเร็ว ออกกำลังกายทุกวัน กินอาหารดีๆ แม้จะดูฝืดๆ ในตอนแรก แต่ทำไปสักพักจะมีความสุขมากกว่า

 

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ของคุณยังอยู่ ถือว่าเป็นคนที่โชคดีมาก

ท่านอยากได้อะไรพยายามหาให้ ท่านบ่นอะไรให้รับฟัง อย่าไปเถียง พยายามหาทางออกทุกเรื่องอย่างละมุนละม่อมและใจเย็นที่สุด อะไรยอมได้ก็ขอให้ยอม เรื่องอีโก้นั้นเก็บเข้าลิ้นชักไปเลย

 

เช่นเดียวกันกับลูก

ตอนเด็กนั้นลูกๆ พึ่งพาเรามาก เราต้องมีเวลาให้เขาทั้งเชิงคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Quantity) เด็กวัยนี้แป๊บเดียวก็โตเป็นวัยรุ่นแล้ว ถึงตอนนั้นเขาจะมีโลกของเขา แต่ถ้าคุณสนิทกับลูกตั้งแต่เด็ก เวลามีปัญหาอะไร เขาจะกล้ามาปรึกษาเรา ความสนิทก็มาจากปริมาณและคุณภาพของเวลาที่เราใช้กับเขานี่ล่ะ

 

ให้ทุกวันมีเป้าหมาย

ตั้งเป้าและพยายามทำให้สำเร็จทุกวันให้ได้ เพราะเราต้องให้กำลังใจตัวเองเสมอ กำลังใจที่มาง่ายและดีมากที่สุดคือกำลังใจที่เราได้จากชัยชนะเล็กๆ จากการทำเป้าหมายให้สำเร็จทุกวันนี่ล่ะ

 

อย่างของผมคือการวิ่งให้ได้เวลาที่ต้องการและการทำพอดแคสต์ เป้าหมายเล็กๆ ทุกวันเหล่านี้มันจะเชื่อมกับเป้าหมายใหญ่ของเรา และถ้าเราทำมันทุกวัน รู้สึกตัวอีกที เป้าหมายที่ใหญ่มากๆ ของเรามันก็จะสำเร็จ ถ้าคนรอบนอกมองเข้ามาโดยไม่รู้ว่าเรามีชัยชนะเล็กๆ ทุกวัน หลายคนอาจจะบอกว่าเราโชคดี แต่เรารู้ว่าเรามาได้เพราะสิ่งที่สะสมกันเล็กๆ ทุกวันต่างหาก

 

อย่าฉุดรั้งตัวเองด้วยความสำเร็จ

เมื่อเราไปถึงเป้าหมายไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม อย่าให้ความสำเร็จมาเป็นเครื่องฉุดไม่ให้เราเรียนรู้ต่อ เพราะเมื่อเราไม่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ทุกวัน เราจะก้าวไม่ทันคนอื่นจริงๆ ใช่ครับ มันเหนื่อย แต่ถึงเหนื่อยก็ต้องทำ เพราะเรารู้ผลของการไม่ทำอยู่แล้ว

 

ในวัยนี้ สิ่งที่ควรจะจัดการได้ลงตัวแล้วคือเรื่องของเงิน

ลองสำรวจจริงๆ ว่าสิ่งที่เรามีอยู่และสิ่งที่เรากำลังอยากซื้อนั้นมัน Spark Joy เหมือนที่ มาริเอะ คนโดะ ว่าไว้ไหม ถ้าไม่ก็อย่าไปเสียเวลากับมัน

 

ปลูกวินัยให้เหมือนต้นไม้

คือดูแลมันอย่างดี หมั่นให้น้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เราสามารถเก็บดอกผลจากต้นไม้ที่ชื่อ ‘วินัย’ ได้ แต่อย่าโค่นต้นไม้เพื่อเอาไม้ไปขายก็พอ เพราะต้นไม้นี้ปลูกยากมาก แต่สามารถโค่นได้ในพริบตาเดียว

 

เรียนรู้ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเป็นคนที่สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learner) ได้นั้นไม่เพียงทำให้เราตามโลกทัน แต่มันยังทำเราให้รู้สึกมีพลังตลอดเวลาด้วย

 

ออกจากความเคยชิน

ถ้าเป็นไปได้ ลองทำงานหลายๆ อย่าง ทั้งงานหลัก งานเสริม ลองพาตัวเองออกจากความเคยชินเดิมๆ การทำอะไรหลายอย่างแบบนี้มีโอกาสพาเราไปเจอแพสชันที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีได้


แก้นิสัยแย่ๆ ของตัวเอง

นิสัยแย่ๆ ที่คิดว่า “ฉันก็เป็นของฉันแบบนี้มาทั้งชีวิต” อย่านิ่งเฉย แก้ซะ

 

พูดว่า ‘ไม่’ อย่างมีสไตล์

คนเราจะบริหารชีวิตของตัวเองได้ ต้องพูดว่า “ไม่” ให้เป็น และต้องพูดอย่างมีสไตล์ด้วย

 

ให้รู้ค่าของสิ่งที่มีอยู่

ผมรู้ว่าคนพูดเรื่องนี้บ่อย แต่หลายครั้งธรรมชาติทำให้เราลืมไปและไม่ให้ค่ากับคนหรือของใกล้ตัว เรื่องนี้พูดง่าย แต่หลายครั้งก็ทำยากหรือทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องเตือนสติตัวเองดีๆ ว่า Never take anything for granted.

 

สำหรับชีวิตที่จะเดินต่อไป ผมรู้สึกมั่นใจและมีความสุข เพราะรู้จักตัวเองแล้วว่าอะไรทำให้เราสุขใจ อะไรทำให้เราทุกข์ใจ อะไรเป็นสิ่งกระตุ้นเรา อะไรเป็นสิ่งที่ฉุดเรา

 

สิ่งสุดท้ายที่ผมเรียนรู้และคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดด้วยก็คือคนเรามีสิทธิ์ที่จะฝันเสมอ ไม่ว่าเราจะเป็นใครและอายุเท่าไร ดังนั้นอย่าดูถูกความฝันของคนอื่น และอย่าดูถูกความฝันของตัวเองด้วย

 

เจสซี โอเวนส์ เคยกล่าวไว้ว่า

 

“We all have dreams. But in order to make dreams come into reality, it takes an awful lot of determination, dedication, self-discipline, and effort.”

 

ชีวิตจริงก็ตามนี้เป๊ะๆ เลย

 

ภาพประกอบ: Pichamon W. 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post อายุขึ้นเลข 4 อย่างไรไม่ให้เกิด Midlife Crisis คำแนะนำสู่การตกผลึกชีวิตในวัยกลางคน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทางเลือกอยู่กับเราเสมอ: เริ่มต้นด้วยวินัย แล้วเดินไปสู่อิสรภาพในอนาคต https://thestandard.co/homo-finishers/ Thu, 16 May 2019 07:20:55 +0000 https://thestandard.co/?p=249185 Homo Finishers

ประโยคหนึ่งที่ผมไม่เคยลืมเลยคือประโยคที่ผมอ่านจากหนังสื […]

The post ทางเลือกอยู่กับเราเสมอ: เริ่มต้นด้วยวินัย แล้วเดินไปสู่อิสรภาพในอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>
Homo Finishers

ประโยคหนึ่งที่ผมไม่เคยลืมเลยคือประโยคที่ผมอ่านจากหนังสือ Homo Finishers: สายพันธุ์เข้าเส้นชัย ของ ‘นิ้วกลม’ ว่า

 

‘วินัยไม่ใช่กรงขัง แต่คือกุญแจสู่อิสรภาพ’

 

ตั้งแต่อ่านหนังสือเล่มนี้มาปีกว่า ผมก็พยายามที่จะกลั่นความหมายของประโยคนี้ออกมาเรื่อยๆ

 

โดยเฉพาะคำว่า ‘อิสรภาพ’ มันคืออะไร

 

คำตอบล่าสุดที่ผมได้ดูเหมือนจะเป็นคำอธิบายที่ผมพอใจมาก อย่างน้อยก็ในตอนนี้ อิสรภาพที่ว่านี้คือ ทางเลือกที่เหลืออยู่ครับ

 

ถ้าเรามองย้อนกลับไปในทุกเรื่อง จริงๆ แล้วคนเราทุกคนมีทางเลือกทั้งสิ้น อย่างน้อยก็ในตอนแรก

 

หน้าที่การงานของเราอยู่ตรงไหนในตอนนี้ มันก็มาจากทางเลือกตลอดเส้นทางการทำงานของเรานั่นแหละครับ

 

สุขภาพของเราตอนนี้เป็นอย่างไร ก็มาจากทางเลือกของเราก่อนหน้านี้

 

การเงินของเราเป็นอย่าางไร ก็มาจากทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยของเรา

 

ขอเน้นว่าไม่มีอะไรถูกผิด แต่สิ่งที่ ‘ต่างกัน’ ของทางเลือกแต่ละทางคือ ‘อิสรภาพ’ ในประโยคข้างบนนี่แหละครับ

 

ถ้าชีวิตเราเลือกทางเลือกของวินัย เมื่อผ่านไปหลายเดือนหลายปีแล้วอิสรภาพจะตามมาครับ

 

แต่ถ้าทางเลือกของเราเต็มไปด้วยตัวเลือกที่ไร้วินัย ผ่านไปหลายเดือนหลายปี อิสรภาพในทางเลือกของเราจะเหลือน้อยลงเรื่อยๆ

 

ขอเล่าเรื่องการวิ่งของผมอีกสักรอบละกัน อย่างเพิ่งเบื่อนะครับ

 

ผมกลับมาวิ่งครั้งแรกเมื่อปีเศษๆ ที่แล้วได้ระยะ 3 กิโลเมตร ที่ Pace ประมาณ 10 นาทีต่อกิโลเมตร

 

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมานี้ ผม ‘เลือก’ ที่จะซ้อมวิ่งอย่างต่อเนื่อง แม้จะรู้ว่าปีนี้เป็นปีที่ยุ่งมากๆ แต่ผมเชื่อว่าทางนี้จะพาผมมาซึ่งอิสรภาพครับ

 

อิสรภาพในการ ‘ฝัน’ ครับ

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมจบ Hua Hin Marathon 2019 ด้วยเวลา 1.55 ชั่วโมง ความเร็วเฉลี่ย 5.28 นาทีต่อกิโลเมตร เป็นที่ 87 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดพันกว่าคน และที่ 22 ในรุ่นอายุ

 

ซึ่งสำหรับผมถึงแม้จะช้ากว่าเป้าไป 5 นาที แต่ผมพอใจมาก เพราะรายการนี้ต้องวิ่งบนหาดทรายซึ่งเป็นเส้นทางที่สร้างความสยองให้ผมมาก เพราะล่าสุดผมเจ็บหนักก็มาจากวิ่งหาดทรายนี่แหละ

 

สำหรับผมนี่มันเพียงพอสำหรับต่ออิสรภาพในการฝันของผมแล้วครับ

 

ผมไม่เคยเป็นคนเล่นกีฬาเก่งมาแต่ไหนแต่ไร ตอนเด็กๆ เตะบอล เตะตะกร้อกับเพื่อนก็เป็นตัวแถมตลอด ไม่ค่อยได้เล่นเป็นตัวจริงหรอกครับ

 

แต่เพราะ 1 ปีที่ผ่านมาผมเลือกทางเลือกที่จะซ้อม แม้ว่าทางเลือกอื่น เช่น การนอนจะดูสบายกว่าก็ตาม

 

ถึงตอนนี้ทางเลือกของผมพาผมมาใกล้ความฝันที่จะวิ่งมาราธอนจบต่ำกว่า 4 ชั่วโมงที่เบอร์ลินในเดือนกันยายนนี้ และแน่นอนว่าถ้าสำเร็จ ปีหน้าเป้าหมายเรื่องเวลาต้องต่ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถทำเวลาไปวิ่ง Boston Marathon ได้นั่นแหละครับ

 

สิ่งที่อยากจะบอกคือ ทุกคนมีทางเลือกนะครับ ขอให้จำเรื่องนี้ไว้เสมอ และถ้าวันหนึ่งคุณรู้สึกไม่มีทางเลือกเลย มันก็มาจากทางเลือกก่อนหน้านี้ของคุณนั่นแหละครับ ที่ทำให้คุณจะ ‘มี’ หรือ ‘ไม่มี’ ทางเลือกในวันนี้

 

คุณเลือกที่จะทำงานมากๆ ก็ได้ ทำงานดีปานกลาง หรือพอใช้ก็ได้ ไม่มีอะไรผิด แต่อาชีพของคุณ 1 ปี หรือ 5 ปีต่อจากนี้มันก็มาจากทางเลือกในวันนี้ของคุณนั่นแหละครับ

 

คุณเลือกจะเป็นพ่อแม่ที่มีเวลาให้ลูกก็ได้ หรือจะไม่ให้ก็ได้ ไม่มีอะไรผิด แต่ลูกคุณจะเป็นอย่างไรก็มาจากทางเลือกของคุณในวันนี้แหละครับ

 

คุณเลือกจะกินหรือไม่กินอะไรก็ได้ ไม่มีอะไรผิด แต่หุ่นกับสุขภาพคุณก็เป็นตามทางเลือกของคุณนั่นแหละครับ

 

แต่ถ้าในทุกทางเลือกคุณใส่คำว่า ‘วินัย’ เข้าไปด้วยตามที่นิ้วกลมบอก

 

สิ่งที่ตามมาคืออิสรภาพ 1 ปี 5 ปี 10 ปีต่อจากนี้

 

ทั้งหมดอยู่ที่คุณเลือกครับ

 

ปล. ขอบคุณ นิ้วกลม @roundfinger ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา มันเปลี่ยนชีวิตผมจริงๆ

 

ภาพประกอบ: Sradarit

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ทางเลือกอยู่กับเราเสมอ: เริ่มต้นด้วยวินัย แล้วเดินไปสู่อิสรภาพในอนาคต appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทเรียนจากผู้ชนะของ ไทเกอร์ วูดส์ ความหมายของแชมป์ตัวจริงที่ดำดิ่งแต่กลับขึ้นมาได้สำเร็จ https://thestandard.co/tiger-woods-secret-success/ Thu, 18 Apr 2019 12:04:26 +0000 https://thestandard.co/?p=236096 Tiger Woods secret success

‘The real champions go through up and down. Finally, Th […]

The post บทเรียนจากผู้ชนะของ ไทเกอร์ วูดส์ ความหมายของแชมป์ตัวจริงที่ดำดิ่งแต่กลับขึ้นมาได้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Tiger Woods secret success

‘The real champions go through up and down. Finally, They prevail’

 

ชีวิตนักกอล์ฟอาชีพของ ไทเกอร์ วูดส์ นั้นราวกับเทพนิยาย

 

เขาเริ่มเล่นกอล์ฟตั้งแต่เล็ก และเทิร์นโปรตอนอายุ 20 และตอนอายุ 21 เขาคว้าแชมป์ The Masters ซึ่งเป็นรายการเมเจอร์แรกของเขาได้ โดยชนะอันดับ 2 ถึง 12 แต้ม ซึ่งถือเป็นสถิติของรายการเลยทีเดียว

 

จากฟอร์มที่ร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นเอง ไทเกอร์ วูดส์ ได้ก้าวขึ้นครองอันดับ 1 ของโลก หลังจากนั้นเขาก็เดินหน้าคว้าแชมป์และทำสถิติมากมาย

 

ไทเกอร์ วูดส์ เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งวงการกอล์ฟยุคใหม่ เขาทำให้กอล์ฟเป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจในวงกว้างกว่าสมัยก่อนมาก เรียกว่าคนมาดูกอล์ฟเพราะไทเกอร์เยอะมาก

 

เขายืนอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 1 ของโลก เกือบทั้งทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือหนึ่งในนักกีฬาที่โลกจะต้องจดจำไปอีกนานแสนนาน สถิติแล้วสถิติเล่าของวงการถูกไทเกอร์ วูดส์โค่นลงราบคาบ สปอนเซอร์มากมายวิ่งเข้าหาเขา

 

ไทเกอร์ วูดส์คือพญาเสือที่ยังมองไม่ออกจริงๆ ว่าใครจะมาแทนที่ได้

 

Tiger Woods secret success

 

แต่แล้วเค้าลางแห่งโชคร้ายเริ่มมาปรากฏตัวให้เห็น

 

ไทเกอร์เริ่มมีข่าวชู้สาวและระหองระแหงกับภรรยา ซึ่งมาพร้อมกับอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ทำให้เขาไม่สามารถลงแข่งได้

 

ชีวิตคู่มาถึงจุดแตกหัก เมื่อภรรยาเขาขอหย่าขาดในปี 2010 หลังจากนั้นชีวิตของเขาเหมือนจะมีแต่เรื่องแย่ๆ ตั้งแต่การถูกจับในข้อหา DUI (driving under the influence of alcohol or drugs หรือเมาแล้วขับ) ซึ่งภาพการถูกจับของเขานั้นกลายเป็นไวรัลไปทั่วโซเชียลมีเดีย เป็นภาพที่ดูแล้วหดหู่มากจริงๆ

 

สปอนเซอร์ทั้งหลายตั้งแต่ Accenture, AT&T, Gatorade, General Motors, Gillette และ TAG Heuer ต่างค่อยๆ ทยอยถอนตัวหรืองดการเสนอโฆษณาของเขา มีเพียงแค่ Electronic Arts และ Nike เท่านั้นที่ยังคงสนับสนุนไทเกอร์ต่อไป

 

โดย Nike ยังคงฐานะการเป็นสปอนเซอร์หลัก แม้ว่าไทเกอร์จะไม่สามารถคว้าแชมป์ใดๆ ได้เลยเกือบ 5 ปี และเรียกได้ว่าเป็น ‘ขาลง’ อย่างต่อเนื่อง

 

หลายคนเริ่มสงสัยว่า สิ่งที่ Nike ทำนั้นเป็นไอเดียที่ดีไหม ในเมื่อทุกคนถอนตัวไปหมดแล้ว ทำไม Nike ยังคงเป็นคนเดียวที่เดินหน้าสนับสนุนไทเกอร์ วูดส์อยู่

 

ฟอร์มการเล่นอันย่ำแย่ สภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้อันดับโลกของเขารูดลงไปอยู่ที่ 1,199 ในเดือนธันวาคมของปี 2017

 

หลายคนเสียดายกับความยิ่งใหญ่ของ ‘อดีตแชมป์’ คนนี้ และคนส่วนใหญ่คิดว่าอาชีพในวงการกอล์ฟของเขาคงจบลงแล้ว ภาพที่ยิ่งใหญ่ของไทเกอร์คงเป็นเพียงอดีตให้เราจดจำ

 

แต่นั่นคือเรื่องราวเมื่อ 18 เดือนที่แล้ว

 

ตัดภาพมาในวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2019 บนกรีนหลุม 18 ที่สนาม Augusta National Golf Club สหรัฐอเมริกา

 

ไทเกอร์ วูดส์ พัตต์ลูกระยะสั้นๆ ไม่ถึงหนึ่งคันธงลงไปในหลุม ทันใดนั้นเอง เสียงปรบมือและเสียงตะโกน “ไทเกอร์ ไทเกอร์ ไทเกอร์” ก็ดังกระหึ่มไปทั่วสนาม เจ้าตัวเองถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว

 

ถ้าคุณเป็นแฟนของไทเกอร์ วูดส์ ผมเชื่อว่าคุณก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เช่นกัน

 

เพราะนี่คือการคว้าแชมป์ The Masters รายการเมเจอร์ที่สำคัญที่สุดของโลก หลังจากที่เขาห่างหายจากการคว้าแชมป์รายการเมเจอร์มา 11 ปีเต็ม

 

ถ้าหากมีใครบอกเมื่อ 18 เดือนที่แล้วว่าไทเกอร์จะกลับมาคว้าแชมป์รายการ The Masters คนที่ได้ฟังคงหัวเราะและส่ายหัวว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้

 

ไม่ใช่แค่อันดับที่ 1,199 อาการบาดเจ็บและฟอร์มการเล่นที่ต่างจากสมัยรุ่งๆ เยอะ แต่ยังรวมไปถึงความจริงที่ว่าเขาอายุ 40 กว่าๆ เข้าไปแล้ว

 

แต่ ไทเกอร์ วูดส์ ในวัย 43 ปีทำได้

 

สื่อต่างๆ เรียกขานเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า

 

‘The greatest comeback in history of sports’

 

Tiger Woods secret success

 

เซเรนา วิลเลียมส์ ทวีตว่า “I am literally in tears watching @TigerWoods this is Greatness like no other. Knowing all you have been through physically to come back and do what you just did today? Wow Congrats a million times! I am so inspired thank you buddy”

 

บารัก โอบามา ทวีตว่า “Congratulations, Tiger! To come back and win the Masters after all the highs and lows is a testament to excellence, grit, and determination.”

 

และมีคนมากมายออกมาแสดงความดีใจ จนคำว่า #Tiger ขึ้นอันดับ 1 Global Trend ในทวิตเตอร์

 

จากอันดับที่ 1,199 เมื่อ 18 เดือนก่อน ขณะนี้อันดับโลกของไทเกอร์ วูดส์กลับมาอยู่อันดับที่ 6

 

Nike ออกโฆษณาของไทเกอร์ในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเขาคว้าแชมป์

 

โฆษณานี้ชื่อว่า ‘Same Dream’ โดยเล่าเรื่องราวของเด็กชายไทเกอร์ วูดส์ ตอน 3 ขวบที่พูดว่า “I will beat Jack Nicklaus”

 

Jack Nicklaus คือสุดยอดตำนานของวงการกอล์ฟที่เคยคว้าแชมป์เมเจอร์มาแล้ว 18 รายการ สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนจะเลิกชีวิตโปรมืออาชีพ

 

วันนี้ ไทเกอร์ในวัย 43 มี 15 แชมป์เมเจอร์แล้ว เขายังพอมีเวลาในการทำตามความฝัน

 

เขาจะทำสำเร็จหรือเปล่า เวลาเท่านั้นที่จะบอกได้

 

แต่สิ่งที่เราบอกได้แน่ๆ คือ

 

เรื่องแรก ถ้ามีคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา เราจะมีแรงไปต่อ ในเคสนี้ผมขอมอบความดีความชอบให้ Nike ที่ยืนอยู่ข้างไทเกอร์เสมอในวันที่ทุกคนถอนตัวไปหมดแล้ว

 

เรื่องที่สอง ชีวิตของแชมป์นั้นอาจจะมีทั้งขึ้นและลง แต่ชีวิตของแชมป์ ‘ตัวจริง’ นั้นจะลงลึกดำดิ่งแค่ไหนก็จะกลับมาได้เสมอ

 

ไทเกอร์ วูดส์เคยกล่าวไว้ว่า

 

“I remember there was a time when people were saying I could never win again.”

 

“ผมจำได้ว่ามันมีช่วงเวลาที่ผู้คนบอกว่าผมคงไม่สามารถกลับมาชนะได้อีกแล้ว”

 

แต่เขาก็กลับมาอย่างยิ่งใหญ่

 

ขอสดุดีหัวใจของนักสู้ครับ

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post บทเรียนจากผู้ชนะของ ไทเกอร์ วูดส์ ความหมายของแชมป์ตัวจริงที่ดำดิ่งแต่กลับขึ้นมาได้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โฟกัสสิ่งสำคัญ มุ่งมั่นแบบมีกระบวนการ เรียนรู้และทำซ้ำ 5 ขั้นตอนสู่การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ https://thestandard.co/5-prioritization-tips-to-achieve-goals/ Tue, 02 Apr 2019 10:53:01 +0000 https://thestandard.co/?p=231397 5 Prioritization Tips to Achieve Goals

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง Radical F […]

The post โฟกัสสิ่งสำคัญ มุ่งมั่นแบบมีกระบวนการ เรียนรู้และทำซ้ำ 5 ขั้นตอนสู่การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
5 Prioritization Tips to Achieve Goals

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง Radical Focus ซึ่งพูดถึงการจัดการเรื่องราวต่างๆ ในบริษัทว่าอะไรเป็นปัจจัยให้บางองค์กรทำเรื่องราวสำเร็จมากมาย ในขณะที่หลายองค์กรก็ยังย่ำอยู่กับที่

 

ผมอ่านถึงกลางๆ เล่มแล้วมีส่วนหนึ่งที่พูดถึงเรื่องว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถทำสิ่งที่เราอยากทำให้เสร็จได้ (Why we can’t get things done) ซึ่งผมชอบมาก เลยขอเอามาเรียบเรียงด้วยเรื่องราวของผมบางส่วนแล้วเขียนไว้เตือนตัวเองครับ

 

สาเหตุที่เราทำในสิ่งที่เราอยากได้ไม่ได้สักทีมี 5 สาเหตุหลักด้วยกัน

 

1. เราไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่เราต้องทำดีพอ (We haven’t prioritized our goals)

 

เคยมีคำพูดที่ว่า “If everything is important nothing is important” (ถ้าทุกสิ่งสำคัญ ก็ไม่มีอะไรสำคัญ)

 

หลายครั้งเวลาเราเห็นงานที่เราจะต้องทำ เรามองแบบผ่านๆ เราจะรู้สึกว่ามันสำคัญพอๆ กันหมด ทั้งที่จริงแล้วถ้าเรามาพิจารณาดีๆ จะพบว่างานของเราแต่ละอย่างนั้นมีความสำคัญต่อเป้าหมายหลักแตกต่างกันมากทีเดียว

 

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้เรามักเรียงความสำคัญของงานผิด หรือจะเรียกว่า Enemy of Prioritisation ก็คงไม่ผิดนักก็คือ เราสับสนระหว่าง ‘ความสำคัญ’ และ ‘ความเร่งด่วน’

 

ถ้าเราเริ่มงานทุกวันโดยทำแต่งานที่เร่งด่วนอย่างเดียว เวลาจำนวนมากจะเสียไปกับการทำงานที่ ‘เร่งด่วน’ แต่ ‘ไม่สำคัญ’

 

ความสามารถในการแบ่งว่าอะไรที่ ‘สำคัญ’ ต่อเป้าหมายและทำมันก่อนโดยไม่ถูกกระแสของความเร่งด่วนถาโถมเข้ามาจึงเป็นทักษะลำดับแรกๆ ที่จะทำให้เป้าหมายขององค์กรสำเร็จได้

 

วิธีการแก้คือ การโฟกัสไปที่เป้าหมายแบบไม่ลดละ การจะโฟกัสได้ต้องทำให้เป้าหมายมีจำนวนน้อยพอที่เราจะไม่ถูกทำให้ไขว้เขวจากความวุ่นวายของวันทำงานได้

 

พลังแห่งการโฟกัสจะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว

 

ทุกเช้าก่อนเริ่มทำงานให้ถามตัวเองเสมอว่า “งานที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำให้เสร็จในวันนี้คืออะไร”

 

2. เราไม่ได้สื่อสารถึงเป้าหมายให้คนอื่นเข้าใจได้ดีพอ และไม่ได้สื่อสารเยอะพอ (We haven’t communicated the goals obessively and comprehensively)

 

ซีอีโอของ LinkedIn เคยกล่าวไว้ว่า “When you are tired of saying it, people are starting to hear it”

 

แปลง่ายๆ ว่า เมื่อคุณพยายามสื่อสารกับเป้าหมายจนกระทั่งคุณรู้สึกท้อ เมื่อนั้นเองที่คนอื่นจะเริ่มเข้าใจว่าคุณต้องการจะบอกอะไร

 

ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้มากๆ เลยครับ

 

หลายครั้งที่เราเขียนอีเมลยาวหนึ่งหน้า A4 โดยไม่ทำอะไรเพิ่มอีก แล้วเราคาดหวังว่าคนทั้งบริษัทจะเข้าใจสิ่งที่เราเขียนและทำตาม อันนี้เป็นเรื่องที่ผิดถนัด

 

การสื่อสารโดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญอย่าง ‘เป้าหมายขององค์กรในปี 2019’ ไม่สามารถทำด้วยการเขียนอีเมลครั้งเดียว จัดสัมมนาครั้งเดียว ทำเวิร์กช็อปครั้งเดียว ประกาศครั้งเดียว ทำ Town Hall ครั้งเดียว ฯลฯ

 

แต่มันคือการทำทั้งหมดที่ว่า และเยอะกว่านั้นอีกหลายๆ ครั้งต่างกรรมต่างวาระ แล้วคนจะเริ่มเก็ตครับ

 

นั่นหมายความว่าเมื่อเรามีเรื่องที่ต้องการจะโฟกัสแล้ว เราต้องหาวิธีการย้ำเรื่องนั้นทุกๆ วัน ไม่ว่าขนาดของทีมคุณจะเป็น 3, 30, 300 หรือ 30,000 คนก็ตาม

 

การย้ำต้องผ่านกระบวนการหลายอย่างมากเช่น การทำ Weekly Check-in, การส่ง Status Update ทางอีเมล, การทำ Visualisation ในที่ทำงานให้ทุกคนเห็น ฯลฯ

 

การตั้งเป้าหมายและไม่มีแผนงานติดตาม เป็นเป้าหมายที่จะล้มเหลวค่อนข้างแน่นอนครับ

 

3. เราไม่มีแผนการที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จ (We don’t have plan to get things done)

 

ผมขอเล่าเรื่องของการทดลองของ Roy Baumeister เกี่ยวกับเรื่องของ ‘ความตั้งใจ’ ให้ฟังครับ

 

ในปี 1996 Roy Baumeister และทีมงานได้ทำการทดลองโดยนำคน 67 คนเข้ามาในห้องที่มีกลิ่นหอมของคุกกี้ช็อกโกแลตชิปที่เพิ่งอบเสร็จใหม่ๆ แล้วแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม

 

คนกลุ่มแรกได้กินคุกกี้ที่มีกลิ่นหอมนั้น ในขณะที่กลุ่มที่สองไม่ได้กิน แต่ได้รับการขอให้กินหัวไชเท้าแทน

 

ลองนึกภาพตามนะครับ คุณอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยกลิ่นคุกกี้อบเสร็จใหม่ๆ แต่คุณต้องกินหัวไชเท้าซึ่งไม่อร่อยเอาซะเลย แถมยังต้องดูคนอื่นกินคุกกี้อีกต่างหาก บางคนที่ต้องกินหัวไชเท้าถึงขั้นหยิบคุกกี้ขึ้นมาดมแล้ววางลง เรียกว่าไม่ได้กินแต่ได้ดมกลิ่นก็ยังดี

 

พอเสร็จจากห้องแรกแล้วทั้งหมดก็ถูกพาไปห้องที่สองเพื่อทำการแก้โจทย์ปัญหาครับ ผลปรากฏว่ากลุ่มคนที่ได้กินหัวไชเท้านั้นพยายามแก้โจทย์ปัญหาเพียงไม่กี่ครั้งก็เลิกทำแล้ว ในขณะที่กลุ่มคนที่ได้กินคุกกี้ใช้จำนวนครั้งของความพยายามมากกว่าถึงสองเท่า

 

การทดลองครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่ากลุ่มคนที่ต้องกินหัวไชเท้านั้น ใช้ความ ‘ตั้งใจ’ ไปกับการพยายามไม่กินคุกกี้เยอะแล้ว เลยเหลือพลังงานในการทำโจทย์ไม่เยอะ

 

พูดง่ายๆ คือคนที่ต้องกินหัวไชเท้า ‘เหนื่อยแล้ว’ เพราะต้องใช้พลังในการห้ามใจไม่กินคุกกี้ไปเยอะแล้ว

 

ในชีวิตจริงก็เหมือนกันครับ ‘วินัย’ หรือ ‘ความมุ่งมั่น’ เป็นทรัพยากรที่มีจำกัดสำหรับแต่ละคน

 

หมายความว่าวินัยหรือความมุ่งมั่นอย่างนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้งานใหญ่ๆ สำเร็จได้

 

แต่สิ่งที่จะช่วยได้คือ กระบวนการครับ

 

ถ้าเราอยากวิ่งเร็ว การมีวินัยลากตัวเองออกจากที่นอนมาวิ่งอย่างเดียวคงไม่พอ แต่การมีโค้ชประกบทุกวันนั้นจะช่วยได้แน่ๆ เพราะการผสานวินัยและกระบวนการเข้าด้วยกัน

 

อย่างการทำงานเราอาจจะมี OKRs ที่ฮึกเหิมเป็นเป้าหมาย แต่กระบวนการล้อมรอบมันทั้ง Weekly Check-in การอัปเดตงานที่ดี และกระบวนการต่างๆ อีกมากมาย

 

4. เราไม่ได้เผื่อเวลามาทำเรื่องสำคัญ (We haven’t made time for what matters)

 

Dwight Eisenhower เคยกล่าวไว้ว่า

 

“What is important is seldom urgent, and what is urgent is seldom important”

 

สิ่งที่สำคัญมักไม่ด่วน สิ่งที่ด่วนมักไม่สำคัญ

 

เราคงคุ้นเคยกับ Priority Matrix ที่คิดโดยไอเซนฮาวร์ ที่มีอยู่ 4 ช่อง ประกอบไปด้วย

  1. เรื่องสำคัญที่ด่วน
  2. เรื่องสำคัญที่ไม่ด่วน
  3. เรื่องไม่สำคัญที่ด่วน
  4. เรื่องไม่สำคัญที่ไม่ด่วน

 

เรามักทำเรื่อง 1+3 เยอะ ในขณะเดียวกันเมื่อมีเวลาเหลือ เราก็ไม่มีแรงพอที่จะทำ 2 เลยทำ 4 แทน

 

ถ้าเป็นแบบนี้เราจะอยู่ในดินแดนแห่งวันพรุ่งนี้ คือเรื่องสำคัญที่ต้องถูกทำแต่มันยังไม่ด่วน มันจะถูกผลักไปเรื่อยๆ แล้วก็จะไม่ถูกจัดการซะที

 

ถ้าเราจะทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ เราต้องจัดเวลาไว้ทำข้อ 2 ให้ได้

 

5. เราเลิกทำแทนที่จะเรียนรู้และทำซ้ำ

 

ทุกคนที่เริ่มทำอะไรใหม่ๆ มักจะล้มเหลวเสมอ ประเด็นไม่ได้สำคัญว่าทำครั้งแรกต้องทำแล้วสำเร็จเลย แต่ว่าเราต้องเข้าใจว่าการทำสิ่งใหม่ๆ มันเป็นกระบวนการ การเลิกทำตั้งแต่ครั้งแรกๆ หมายความว่าเรายังไม่เข้าสู่กระบวนการด้วยซ้ำ เพราะทุกอย่างต้องเรียนรู้และทำซ้ำ

 

การทำซ้ำไม่ใช่ทำเหมือนเดิมแล้วหวังผลที่แตกต่าง แต่คือการเรียนรู้และค่อยๆ เปลี่ยนวิธีทำไปโดยไม่หยุดทำนั่นเอง

 

ถ้าเราสามารถจัดการกับ 5 เรื่องนี้ได้ ผมเชื่อว่าเป้าหมายอะไรก็ไม่ยากเกินไปครับ

 

ภาพประกอบ: Thiencharas W.

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post โฟกัสสิ่งสำคัญ มุ่งมั่นแบบมีกระบวนการ เรียนรู้และทำซ้ำ 5 ขั้นตอนสู่การทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปรับ 5 นิสัย อัปเกรดความ Productive ให้กลายเป็น Super Productive https://thestandard.co/5-steps-to-be-super-productive/ https://thestandard.co/5-steps-to-be-super-productive/#respond Thu, 14 Mar 2019 11:39:48 +0000 https://thestandard.co/?p=222729 Steps To Be Super Productive

ถ้าจะเลือกทำแบบนี้ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่า คุณอาจได้ยินเ […]

The post ปรับ 5 นิสัย อัปเกรดความ Productive ให้กลายเป็น Super Productive appeared first on THE STANDARD.

]]>
Steps To Be Super Productive

ถ้าจะเลือกทำแบบนี้ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่า คุณอาจได้ยินเสียงจากคนรอบข้างประมาณว่า “จะฟิตไปไหน” หรือ “แม่งบ้า” อะไรทำนองนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมาก

 

ในความจริงก็คือ บางทีมันก็ดูบ้าจริงๆ ครับ หลายครั้งเวลาผมนั่งทำอะไรเยอะๆ ผมก็เคยคิดนะว่า “เราเป็นอะไรมากไหมเนี่ย”

 

ดังนั้น วิธีการต่อไปนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่จะใช้ชีวิตแบบ Productive มากๆ และแน่นอนครับ ไม่มีอะไรได้มาฟรี ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงมากเช่นกันครับ เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกนะครับว่า อะไรที่จะไม่แลก เช่น ไม่ว่าจะ Productive แค่ไหน ก็ขอครอบครัวกับสุขภาพไว้ให้มี Priority สูงสุดเสมอ

 

ถ้าทำแบบนี้คุณอาจจะรู้สึกเครียดเป็นบางครั้ง เอาเป็นว่าอยากให้ลองก่อนแล้วกันครับ ถ้าไม่ชอบค่อยว่ากัน

 

สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงสามอย่างหรือที่ผมเรียกว่า Super-Productive Ecosystem ประกอบไปด้วย

 

  1. สิ่งที่ทำนั้นช่วยเพิ่มความ Productive ได้อย่างไร (Active Result)
  2. สิ่งที่เราทำส่งผลให้เรื่องอื่นที่ต่อเนื่องกัน Productive ขึ้นได้อย่างไร (Passive Result)
  3. เรื่องนี้กระทบหรือควรบริหารจัดการ Mindset อย่างไร (Habit Mindset) 

 

โดยกระบวนการในการทำจะใช้วิธีแบบที่ Start Up ทำ นั่นคือการ Built > Measure > Learn ซึ่งหมายความว่าเราจะต้องพยายามสร้างให้เป็นนิสัย ลองดูว่าพอทำแล้ว ทำได้แค่ไหน และที่สำคัญที่สุดคือต้องเรียนรู้ว่านิสัยที่ว่านี้จะสามารถอยู่ได้อย่างคงทนถาวรได้อย่างไร

 

และนิสัยที่จะช่วยคุณอัปเกรดความ Super Productive มีอะไรบ้าง

 

นิสัยแรก: อย่าให้ใครหรือสถานการณ์ไหนมาขโมยเวลาของคุณไปได้ (และก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่นเช่นกัน)  

เวลาผมจะนัดใคร ไม่ว่าจะนัดประชุม นัดสัมภาษณ์ หรือออกไปพูด ผมจะถามเลยว่าเวลาที่เริ่ม ‘จริงๆ’ คือตอนไหน เพราะผมพบว่าหลายงานมากที่นัดผมไป 09.00 น. แต่เริ่มจริงๆ 10.00 น. ซึ่งเป็นอะไรที่เสียเวลามากๆ ครับ เพราะเวลา ‘เริ่มช้า’ มันมักตามมาด้วยการ ‘เลิกช้า’ ซึ่งจะกระทบกับงานต่อๆ ไปด้วย ดังนั้น การรู้เวลาเริ่มจริงๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และผมจะพยายามอย่างที่สุดในการเลิกให้ตรงเวลาด้วย

 

เพราะจริงๆ ถ้าบอกว่าเริ่ม 09.00 น. เวลาที่ผมต้องไปถึงจริงๆ ก็ต้องประมาณ 08.30 น. เผื่อมีเรื่องฉุกเฉิน ดังนั้น เท่ากับว่าถ้าไม่วางแผนให้ดี เวลาเกือบทั้งหมดจะหมดไปกับการเล่นโทรศัพท์

 

งานบางงาน แค่ช่วงพิธีเปิดก็จัดไปเกือบชั่วโมงแล้วครับ และผมเชื่อว่ากระบวนการนี้มี Productivity ต่ำมาก และหลายอย่างสามารถตัดทิ้งได้สบายๆ โดยไม่กระทบกับอะไรเลยครับ

 

แต่อย่างไรก็ดี เรื่องพวกนี้แม้ว่าจะพยายามป้องกันแค่ไหน มันก็จะเกิดขึ้นได้ครับ ดังนั้น เราจึงต้องมีแผนเสมอสำหรับ ‘Waiting Time’ ว่าจะทำอะไร ส่วนใหญ่ถ้าเป็นงานที่ต้องไปพูด พอไปถึงงานเราจะต้องเอาคอมพิวเตอร์ไปเซตก่อน ซึ่งจะทำให้เราไม่มีคอมฯ อยู่กับตัว เพราะฉะนั้นต้องเตรียมการให้ดีครับ

 

สำหรับผมของสามอย่างที่จะติดกระเป๋าไปเสมอคือ 1. iPad 2. หูฟัง และ 3. หนังสือ (หรือ Kindle) ซึ่งจะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และหูฟังจะช่วยให้เรามีสมาธิได้ประมาณหนึ่ง กรณีที่สถานที่ที่เราต้องนั่งรอมันพลุกพล่าน

 

ผลกระทบกับ Super-Productive Ecosystem

 

  1. Active: ชัดๆ เลยคือคุณไม่เสียเวลา ทั้งเวลาของงานนี้และเวลาของงานต่อๆ ไปด้วย
  2. Passive: เป็นการช่วยให้คนรอบๆ ตัวคุณเคารพเวลาของคุณ และเวลาของตัวเองมากขึ้น ซึ่งเอาจริงๆ ผมหวังว่าเรื่องนี้จะช่วยปรับภาพเวลาแบบไทยๆ ที่เริ่มช้าเลิกช้าได้ไม่มากก็น้อยครับ
  3. Mindset: ถ้าคุณเห็นเวลามีค่ามาก คุณจะหวงแหนมัน พอหวงแหนมันคุณจะมี Mindset ในการดูแลเวลาได้ดีขึ้น และไม่ปล่อยมันไปอย่างสูญเปล่าครับ

 

นิสัยที่สอง: Fasting Your Body, Supercharged Your Mind

เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน และต้องบอกว่าผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ แต่ว่าผมได้ลงมือทำด้วยตัวเองมาหลายเดือนแล้วพบว่า Intermittent Fasting ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงพลังงานของสมอง สมาธิ หรือแม้แต่น้ำหนักตัว แต่ที่สำคัญสุดคือ มันเปลี่ยน Mindset ของผมไปอย่างสิ้นเชิง

 

ออกตัวก่อนเหมือนเดิมทุกครั้งครับว่า นอกจากเรื่องของการดึงคีโตนมาใช้เมื่อไกลโคเจนหมดไปหลังจากเราอดอาหารเกิน 12 ชั่วโมงแล้ว อีกเรื่องที่คนพูดถึงเยอะมากตอนนี้คือเรื่อง Autophagy

 

เรื่องนี้โด่งดังมาจากการที่ โยชิโนริ โอสุมิ นักวิจัยญี่ปุ่นคว้ารางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ จากการศึกษากลไกการกินตัวเองของเซลล์ การค้นพบของเขาทำให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเซลล์กับกลไกของมัน พร้อมกับความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ มากขึ้น เช่น โรคพาร์กินสันและโรคทางสมอง

 

ข้อมูลจาก BBC เกี่ยวกับ Autophagy ได้กล่าวไว้ว่า กลไกการกินตัวเองของเซลล์ (Autophagy) เป็นกระบวนการฟื้นฟูทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคบางอย่างลงได้ รวมทั้งทำให้อายุยืนขึ้นด้วย

 

บริษัทยาต่างเร่งหายาที่จะกระตุ้นกระบวนการ Autophagy แต่นักวิชาการหลายคนบอกว่า กระบวนการดังกล่าวสามารถเกิดได้จากการทำ Fasting รวมไปถึงการออกกำลังกายอย่างหนักและจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต

 

ถ้าพูดถึงการ Fasting กับกระบวนการ Autophagy ส่วนใหญ่เอกสารที่ผมได้อ่านมาจะบอกว่ากระบวนการนี้จะเริ่มหลังจากเรากินอาหารคำสุดท้ายไปนานประมาณ 16-18 ชั่วโมง

 

ผมทดลองทำ Fasting มาหลายรูปแบบมาก จนกระทั่งมาพบกับรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดคือ 18/6 คือไม่กิน 18 ชั่วโมง ส่วนช่วงกิน (หรือ Feeding Window) มี 6 ชั่วโมง โดยทำทุกวัน แล้วพบว่าวิธีนี้ส่งผลต่อ Productivity อย่างมาก มากจนถึงกับคิดในใจหลายครั้งแล้วว่า “ทำไมเราถึงไม่รู้จักวิธีการนี้มาก่อน”

 

เรื่องอาหารกับ Productivity นั้นไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการ Fasting เท่านั้น แต่สิ่งที่เรากินตอนช่วง Feeding Window ก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหลักๆ แล้วโปรตีนกับอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุเยอะๆ จะช่วยให้สมองทำงานได้ดี มีกำลังในการทำงานที่ดี ส่วนอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะส่งผลให้สมองเฉื่อยๆ ครับ ซึ่งสิ่งที่กินจะเกี่ยวกับ ‘โอกาส’ ที่ Fasting จะหลุดด้วย

 

ผมสังเกตดูว่าวันที่หลุดโดยไม่ได้ตั้งใจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ เพียงสาเหตุเดียวคือ คุณภาพของอาหารที่กินในวันนั้นไม่ดีพอ ซึ่งเราก็จะต้องสังเกตและปรับปรุงเพื่อให้เราหาสิ่งที่ดีที่สุด

 

ผลกระทบกับ Super-Productive Ecosystem

 

  1. Active: การทำ Fasting จะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขั้น สมาธิดีขึ้น
  2. Passive: ผลข้างเคียงที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้นึกถึงคือ การมี Timeslot เพิ่มมาอีกหนึ่งช่วงเลย อย่างถ้าทำ 18/6 และกินแค่ตอนเช้ากับเที่ยง ซึ่งตอนเย็นสามารถเอาเวลามาทำอะไรได้เพียบเลยครับ และเป็นเวลาที่มีคุณภาพด้วย เรียกว่าช่วง 18.00-21.00 น. ปกติจะเป็นเวลาที่ไม่ได้ Productive มากเท่าไร แต่พอ Fasting เวลาช่วงนี้กลับ Productive มากครับ ขนาดเล่นกับลูกก็ยังเป็นการเล่นที่ Productive เช่นกัน
  3. Mindset: ตอนทำ Fasting เราต้องมีจิตใจเข้มแข็งพอควร โดยเฉพาะตอนแรกๆ หรือตอนที่เราต้องอยู่ในวงของเพื่อนที่กินปิ้งย่างกันอยู่แล้วเรากินไม่ได้ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าการที่ต้อง ‘ต่อสู้’ กับจิตใจตัวเองทุกวันนั้นมันมีความรู้สึกเป็นอย่างไร และเมื่อทำได้เราจะรู้สึกภาคภูมิใจกับตัวเองครับ

 

แม้ตอนหลุด Fasting ก็เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เช่นกัน

 

อย่าลืมเรียนรู้นะครับว่าเราหลุดเพราะอะไร แล้วมาพิจารณาว่าตอนนี้เราคิดอะไรอยู่ อะไรที่กดดันทำให้เราหลุด Fasting ในวันนั้น ถ้าเข้าใจ Mindset ของเรา เราจะคิดออกครับ

 

นิสัยที่สาม: 365 Days Morning Exercise

การออกกำลังกายตอนเช้าไม่ได้มีประโยชน์ต่อแค่ร่างกายเท่านั้น เพราะถ้าเอาแค่ประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายตอนเย็นก็ได้ผลเหมือนกันครับ อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะตอนเย็นแรงเยอะกว่า

 

แต่การออกกำลังกายตอนเช้านั้นช่วยเรื่องการทำงานครับ เพราะหลังออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ที่ทำให้เราจิตใจนิ่ง อารมณ์เย็น และมองโลกในแง่บวก ซึ่งทั้งสามอย่างนี้ส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงานสำคัญในช่วงเช้าอย่างมาก

 

ผลกระทบกับ Super-Productive Ecosystem

 

  1. Active: การออกกำลังกายส่งผลโดยตรงกับช่วง Prime Time ช่วงเช้า ทำให้ช่วง Prime Time นั้นเข้มข้นมากๆ งานยากๆ มีโอกาสถูกทำให้สำเร็จในช่วงเวลานี้มาก
  2. Passive: เวลาออกกำลังกายตอนเช้ามันเป็นเหมือนกับการบอกตัวเองว่าวันนี้ทำอะไรสำเร็จอย่างหนึ่งแล้วนะ มันช่วยสร้างความมั่นใจกับเรื่องที่เรากำลังจะทำที่เหลือในวันนั้นๆ
  3. Mindset: ความประหลาดของการออกกำลังกายตอนเช้าคือ การลากตัวเองออกจากเตียงนั้นโคตรยาก แต่ว่าพอได้เริ่มออกกำลังกายแล้ว เช่น ก้าวขาวิ่งไปแล้วสัก 2 นาที ยกเวตไปแล้วสักเซตหนึ่ง คราวนี้ที่เหลือมันจะง่ายแล้วครับ เพราะฉะนั้นต้องคิดวิธีเริ่มให้ได้ เช่น จัดชุดออกกำลังกายไว้ที่ปลายเตียงทุกคืน

 

นิสัยที่สี่: พร้อมเสมอสำหรับ Deep Reading

เรื่องประโยชน์ของการอ่านหนังสือคงไม่ต้องอธิบายกันเพิ่มเติมแล้วล่ะครับ แต่ที่อยากคุยคือเรื่อง Deep Reading ครับ

 

การอ่านแบบทำความเข้าใจ (Deep Reading) เป็นเรื่องที่ผมเชื่อว่าสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ดังนั้น เราต้องหาเวลาการทำ Deep Reading

 

สำหรับผม Deep Reading ทำยากมากบนมือถือ เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างนิสัยนี้ให้ได้อย่างน้อยที่สุดวันละ 30 นาที

 

นอกจากหนังสือหรือ Kindle แล้ว อีกอย่างที่ผมต้องมีเลยคือหูฟังตัดเสียงดีๆ ครับ เพราะหลายครั้งเวลาจะอ่านหนังสือ บางทีเสียงมันดังก็จะอ่านได้ช้าลงไปเยอะ

 

ส่วนตัวผม นิสัยการอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่องเป็นนิสัยที่สร้างยากที่สุด และหายไปง่ายที่สุด แปลว่าเราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการรักษามันไว้ ซึ่งหมายความว่าเราต้องหาตารางสอดแทรกเรื่อง Deep Reading เข้าไปให้ได้ทุกวัน เพราะถ้าหลุดเมื่อไร ต้องใช้แรงเยอะกว่าจะกลับมาได้ครับ

 

ผลกระทบกับ Super-Productive Ecosystem

 

  1. Active: จะแปลกไหมครับ ถ้าผมจะบอกว่าการอ่านหนังสือมีผลแบบ Active ไม่มาก นอกจากการอ่านเพื่อไปทำอะไรเดี๋ยวนั้น เช่น อ่านเพื่อทำรายงาน อ่านเพื่อสอบ อ่านเพื่อทำ Training ฯลฯ แต่นอกจากนั้นผลมันจะมาตอน Passive มากกว่าครับ
  2. Passive: เรื่องที่เราอ่าน ความรู้ ความเข้าใจของหนังสือ มันจะค่อยๆ ซึมซับอยู่ในสมองเราและเปลี่ยนแปลงเราทีละนิดครับ หลายครั้งเวลาผมบอกว่าเจอ ‘หนังสือเปลี่ยนชีวิต’ บางทีมันไม่ได้หมายถึงว่าเล่มนั้นเปลี่ยนชีวิต แต่มันเป็นการสะสมของหลายๆ เล่มจนได้มาเจอเล่มที่เป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย พอมันครบมันเลยทรงพลังมาก
  3. Mindset: ถ้าเรารู้ว่ามันสร้างยากแต่ถูกทำลายง่าย เราจะพยายามประคบประหงมมัน ด้วยการหมั่นเติมเชื้อเพลิงให้ทุกวันอย่าให้ขาด

 

นิสัยที่ห้า: สร้าง My Space ได้อย่างรวดเร็ว

อันนี้ยากมากจริงๆ ผมเองกำลังฝึกอยู่เช่นกันครับ คำว่า My Space คือ การสร้างสภาวะแวดล้อมข้างๆ ให้เป็นกลางเพื่อให้เราทำงานได้อย่างรู้สึกเหมือนกับเราอยู่คนเดียว

 

ยกตัวอย่าง บางทีเวลาร้อนเกินไป เราอาจจะรู้สึกตัวเหนียวและไม่สบายตัว จริงๆ ตัวเราไม่ได้ร้อนอะไรมากมายหรอกครับ ที่ร้อนมากคือใจของเรา มันอยากไปอยู่ที่สบายๆ มันเลยจะงอแงหน่อย ถ้าเราจับอาการมันได้ เราจะเริ่มเห็นแพตเทิร์น แล้วอาการที่เรารู้สึกว่า ‘ร้อนไป ทำงานไม่ได้’ จะค่อยๆ หายไปครับ

 

อันนี้ยากมากครับ เพราะบางอย่างเราชินมาตลอดชีวิต มันเป็นชุดความคิดไปแล้ว เช่น ถ้าร้อนไป หนาวไป อิ่มไป หิวไป เสียงดังไป คนเยอะไป ฯลฯ เราจะทำงานไม่ได้

 

แต่เราลองคิดดูนะครับว่าในแต่ละปีเราเสียเวลาที่ไม่ควรเสียไปเยอะขนาดไหนกับข้ออ้างประมาณนี้ ส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันเยอะมากครับ

 

ผลกระทบกับ Super-Productive Ecosystem

 

  1. Active: ทำให้ Productivity เกิดขึ้นได้ทุกทีทุกเวลา แน่นอนว่าเพิ่มโอกาสในการทำสิ่งที่เราต้องการจะทำได้มากขึ้น
  2. Passive: เมื่อเราเข้าสู่โหมด My Space ได้เร็ว มันจะช่วยให้เรามีความสุขง่ายขึ้น ทุกข์น้อยลง เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่สงบ สำหรับคนส่วนใหญ่ My Space เป็นทั้งเกราะกำบังความวุ่นวายและที่ชาร์จพลังไปพร้อมๆ กัน
  3. Mindset: สถานการณ์ต่างๆ รอบตัวเรานั้นเป็นปัจจัยภายนอก แต่ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อเราอย่างไรขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเรา การฝึกหา My Space ในทุกสถานการณ์จะทำให้เรานิ่ง สุขุม และจะเลือกการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์กับเรามากขึ้น 

 

ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นของสำหรับคนที่พร้อมจะ ‘แลก’ อะไรบางอย่าง เพื่ออัปเกรดความ Super Productive ขึ้นไปอีกขั้นครับ

 

ภาพประกอบ: Karin Foxx

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ปรับ 5 นิสัย อัปเกรดความ Productive ให้กลายเป็น Super Productive appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/5-steps-to-be-super-productive/feed/ 0
เป็นไปไม่ได้ / ทำไม่ได้ / หรือไม่ได้ทำ ก้าวข้ามกำแพงความเชื่อในใจสู่เป้าหมายชีวิตที่ดีขึ้น https://thestandard.co/overcome-limiting-beliefs/ https://thestandard.co/overcome-limiting-beliefs/#respond Wed, 06 Feb 2019 10:25:43 +0000 https://thestandard.co/?p=192535

หนึ่งปีที่ผ่านมานี้เป็นปีที่พิเศษมากๆ สำหรับผม เพราะมัน […]

The post เป็นไปไม่ได้ / ทำไม่ได้ / หรือไม่ได้ทำ ก้าวข้ามกำแพงความเชื่อในใจสู่เป้าหมายชีวิตที่ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนึ่งปีที่ผ่านมานี้เป็นปีที่พิเศษมากๆ สำหรับผม เพราะมันเป็นปีที่ผมได้พิสูจน์ด้วยตัวเองเลยว่า หลายๆ อย่างที่เราเชื่อว่าเป็น ‘ความจริง’ สำหรับเรา แท้จริงนั้นมันไม่จริงเลย

 

หลายครั้งสิ่งที่เราคิดว่าเป็น ‘ความจริง’ บางทีมันเป็นแค่ ‘ความเชื่อ’ ที่สะสมกันมานานจนความเชื่อนี้แข็งแรงและกลายเป็นกำแพงที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

 

กำแพงแรก ‘ถ้าอยากมีความสุขให้กิน’

ผมมีความเชื่อมาตลอดว่าผมเป็นคนที่ชอบกินมากๆ เชื่อว่าการกินทำให้มีความสุขมากๆ เรื่องกินน่าจะเป็นเรื่องที่ผมใช้เงินมากที่สุดแล้ว

 

เวลาผมเดินทางไปต่างบ้านต่างเมือง ร้านอาหารคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ความพยายามในการจัดทริปของผมจะไปอยู่ที่เรื่องการจองร้านอาหารเยอะ บางทีถึงกับเดินทางไปเมืองนั้นเพียงเพื่อที่จะได้ไปกินอาหารร้านนี้โดยเฉพาะก็มี คนที่สนิทกับผมจะรู้ว่าผมจริงจังกับเรื่องกินมากๆ

 

อีกเรื่องคือผมคิดว่าคนเราต้องกินอาหารครบสามมื้อถึงจะอยู่ได้อย่างมีความสุข และผมก็ดำเนินชีวิตแบบนั้นมาตลอด

 

ฉลองก็กิน เหนื่อยก็กิน เครียดก็กิน ฯลฯ

 

นั่นคือกำแพงความเชื่อของผมครับ ‘ถ้าอยากมีความสุขให้กิน’

 

ผมเชื่อแบบนั้นจริงๆ ว่าการกินนำความสุขมาให้ผมอย่างมาก และเป็นมาตั้งแต่ยังจำความได้

 

จนกระทั่งผมเริ่มมาทำ Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ

 

เริ่มแรกผมทำเพราะอยากลองทำ Brain Hack อยากให้สมองทำงานดีขึ้น จะได้ทำงานได้เยอะขึ้น

 

แรกเริ่มเดิมที ผมทำแบบที่เรียกว่า 16/8 คือกินอาหาร 8 ชั่วโมง อด 16 ชั่วโมง

 

เห็นผลประมาณหนึ่ง แต่พอผมเปลี่ยนมาทำ 18/6 คือกินอาหาร 6 ชั่วโมง อด 18 ชั่วโมง คราวนี้เริ่มเห็นผลเยอะขึ้น

 

จนวันหนึ่งผมลองอดอาหาร 24 ชั่วโมงเลย ปรากฏว่าทำได้นะ แล้วก็ไม่ได้ทรมานอะไรด้วย

 

วันนั้นเองผมรู้สึกว่าผมได้ก้าวข้ามความเชื่อเดิมๆ ได้ทำลายกำแพงเล็กๆ ในใจของเราลงไป

 

กำแพงที่ว่า ‘ถ้าอยากมีความสุขให้กิน’ มันไม่มีอยู่แล้ว

 

ทุกวันนี้ถ้าได้กินของอร่อยก็ดี ไม่ได้กินก็ไม่เป็นไร แต่ผมไม่ค่อยได้คิดถึงเรื่องอาหารมากมายเหมือนแต่ก่อนแล้ว

 

ตอนที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ก็อยู่ในช่วงชั่วโมงที่ 23 ของการทำ IF ของวันนี้ ซึ่งชีวิตก็ปกติดี มีความสุขไม่แพ้ตอนกินแหลก

 

มันทำให้ผมนึกย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดนี้

 

กำแพงที่สอง ‘เครียดต้องดื่ม’

แต่ก่อนผมเคยคิดว่าเวลาเครียดต้องออกไปดื่ม เพราะเวลาเครียดผมก็ออกไปดื่มมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเจอวิธีอื่นได้

 

จนกระทั่งผมเริ่มทนกับชีวิตตัวเองไม่ไหว เลยตัดสินใจลองเลิกดื่มดู ตอนนี้ไม่ได้แตะแอลกอฮอล์มาเกือบปีแล้ว รู้สึกว่าชีวิตเราไม่มีแอลกอฮอล์ก็หายเครียดได้นะ

 

จะว่าไปต้นเหตุของความเครียดนั้นน้อยกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะเรื่องที่ทำให้เครียด หลายๆ ครั้งก็มาจากเรื่องการดื่มนี่แหละครับ

 

มันทำลายกำแพงที่ว่า ‘เครียดต้องดื่ม’ ลงไปอย่างราบคาบ

 

กำแพงที่สาม ‘คนแบบเราไม่มีทางวิ่งมาราธอนจบ’

ผมเคยคิดมาเสมอว่าคนวิ่งมาราธอนจบนี่เป็นคนที่มาจากอีกโลกหนึ่ง และชีวิตคนเราไม่มีความจำเป็นอะไรจะต้องกระเสือกกระสนไปวิ่งมาราธอน ไม่เห็นจะได้อะไรกับชีวิตขึ้นมา

 

ที่สำคัญกว่านั้นคือผมคิดว่าชาตินี้ผมไม่มีทางไปวิ่งมาราธอนเด็ดขาด เพราะมันหนักเกินไปสำหรับชีวิตผม

 

ผมเชื่อแบบนั้นมาตลอด จนกระทั่งวันที่ผมวิ่งมาราธอนจบและผมได้พบกับโลกอีกโลก โลกที่ซึ่งอยู่หลังกิโลเมตรที่ 42.195

 

มันได้พังกำแพงที่ว่า ‘คนแบบเราไม่มีทางวิ่งมาราธอนจบ’ ไปได้

 

ปีนี้ผมอยากลองทำอะไรอีกอย่าง

 

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อมาตลอดตั้งแต่เด็กๆ คือผมเป็นคนที่ไม่เก่งด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

 

ผมเชื่อว่าที่ผมเอ็นทรานซ์ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์เพราะคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ

 

ตอนสมัยเรียน พวกวิชาเลขหรือวิชาคำนวณที่มันยากๆ ผมมักจะทำไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องการเขียนโค้ด (Code) อันนี้เรียกว่าไปไม่เป็นเลย

 

ผมเชื่อมาตลอดว่าผมสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยทักษะด้านอื่นที่ไม่ใช่ด้านเทคนิค

 

จนกระทั่งผมพบว่าความเชื่อนี้ถูกสั่นคลอนจากการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในยุคหลังๆ อย่างมาก

 

สิ่งที่ผมตัดสินใจทำเพิ่มในปีนี้เลยคือผมจะศึกษางานด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสาย Tech แบบลึกซึ้งให้ได้ ตั้งแต่ Automation, Data Analysis ไปจนถึง AI

 

มันคงต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่วันนี้ผมเริ่มแล้ว และจะทำให้ดีที่สุด

 

เดี๋ยวมาติดตามกันว่าผมจะทลายกำแพงความเชื่อว่า ‘เราไม่เก่งทักษะด้านเทคนิค’ ได้ไหม

 

เมื่อหลักฐานเปลี่ยน ความคิดก็เปลี่ยนครับ

 

เดี๋ยวนี้เวลาเจอเรื่องยากๆ หรือความท้าทาย อาจจะเป็นเรื่องที่ในอดีตคิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือทำไม่ได้

 

เดี๋ยวนี้คิดอย่างเดียวเลยครับ

 

‘เป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ’

 

ภาพประกอบ: Nuttarut B.

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post เป็นไปไม่ได้ / ทำไม่ได้ / หรือไม่ได้ทำ ก้าวข้ามกำแพงความเชื่อในใจสู่เป้าหมายชีวิตที่ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/overcome-limiting-beliefs/feed/ 0
ออกสตาร์ทปีใหม่ด้วย Parkinson’s Law กฎที่จะช่วยให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม https://thestandard.co/parkinsons-law/ https://thestandard.co/parkinsons-law/#respond Thu, 03 Jan 2019 09:42:03 +0000 https://thestandard.co/?p=174237

“work expands so as to fill the time available fo […]

The post ออกสตาร์ทปีใหม่ด้วย Parkinson’s Law กฎที่จะช่วยให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>

“work expands so as to fill the time available for its completion.”

 

คือนิยามของ Parkinson’s Law ซึ่งนิยามโดยนักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวอังกฤษชื่อ Cyril Northcote Parkinson ซึ่งเขียนไว้ใน The Economist ปี 1955

 

ถ้าอธิบายประโยคที่ว่าด้วยบริบทปัจจุบันเลยคือ ‘มนุษย์ชอบขยายเวลาการทำงานออกไปตราบใดที่ยังมีเวลาอยู่’

 

ถ้าเป็นตอนเด็กๆ ไม่ว่าอาจารย์จะให้เวลาในการทำงานมา 1 เดือนหรือ 2 เดือน แต่คนส่วนใหญ่ก็มาทำกันใกล้เส้นตายประมาณ 4-5 วัน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีอะไรสำคัญหนักหนาจะทำหรอกครับ

 

พอโตมาเข้าวัยทำงานก็ประมาณเดิมคือ ก่อนเส้นตายจะต้องทำให้เสร็จ จะอดหลับอดนอนก็ยอม แต่ถ้าเส้นตายถูกยืดออกไป เราก็จะทำงานช้าลงหรือหยุดทำไปก่อนแล้วใกล้ๆ เส้นตายค่อยมาทำใหม่

 

อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแบบนี้ แต่เท่าที่ผมเจอมาส่วนใหญ่จะเป็นครับ

 

เพราะฉะนั้นเราจึงมีอาการที่ว่ายุ่งมาก งานล้น งานเยอะมาก เพราะเราเอางานมาเผาตอนใกล้ๆ เส้นตาย ช่วงที่มีเวลาก็ไม่ทำ ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย แล้วงานมันจะไม่เยอะได้ยังไง ใช่ไหมครับ

 

วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่ผมพบว่าดีที่สุดคือการทำ time slot เวลา ด้วย calendar ครับ

 

จริงๆ วิธีการมีหลายวิธีมาก แต่เอาวิธีที่ผมใช้ละกันนะครับ

 

เครื่องมือในการบริหารเวลาและบริหาร productivity ที่ทรงพลังที่สุดสำหรับผมคือ calendar + task management tools อะไรก็ได้ และที่สำคัญต้องใช้วินัยในการลงมือ

 

วิธีการนี้ทำให้งานส่วนตัวผมใช้ Google Calendar + Asana ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องมือสองตัวนี้นะครับ จริงๆ เป็นเครื่องมืออะไรก็ได้ ขอแค่เราใช้งานถนัดมือก็โอเคแล้วครับ

 

อันดับแรกเลยคือ หาเวลาในวันอาทิตย์เอางานที่ต้องทำทั้งสัปดาห์นั้นมาแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่

 

1. Core Responsibility: งานหลักของเรา

 

2. Managing People: งานส่วนนี้แนวโน้มจะเยอะขึ้นเพราะการลงทุนเวลาในการพัฒนาคนนั้นคุ้มค่าครับ ไม่เฉพาะลูกน้องนะครับ การพัฒนาส่วนนี้ยังทำกับเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงบางทีต้องทำกับหัวหน้าด้วย

 

3. Personal Growth: สิ่งที่มีความหมายกับชีวิตของคุณ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับงานที่คุณทำอยู่หรือไม่ก็ได้

 

4. Fires: เวลาที่เผื่อไว้สำหรับงานด่วน ซึ่งบางทีก็กะเกณฑ์ยากเหมือนกัน แต่ถ้าทำงานไปเรื่อยๆ จะพอรู้ว่ามันชอบมาช่วงไหน

 

5. Free Time: เวลาว่าง อันนี้รวมเวลาพัก เวลาเล่นโซชียล ฯลฯ

 

6. Admin: งานที่เป็นงานจิปาถะ เช่น เช็กอีเมล อนุมัติเอกสาร ฯลฯ

 

แบ่งสีของทั้ง 6 กลุ่มนี้ออกเป็นชัดๆ เลยครับ แล้วใส่งานทั้งสัปดาห์ลงไปใน calendar

 

พอเรามอง calendar ของเรา จะเห็นทันทีเลยว่าสัปดาห์ที่จะถึงนั้นเรามีเวลาในการทำงานแต่ละหมวดเท่าไร เช่น ถ้าเวลาของงาน admin เราเยอะเกินไปต้องพิจารณาทำอะไรบางอย่าง เพราะงาน admin มักไม่ใช่งานสำคัญ หรือถ้าเป็นงานสำคัญก็สามารถที่จะ automate หรือ delegate ได้บางส่วน

 

อย่าลืมว่าบางทีงานที่ดูเหมือนจะเป็นงานเดียว หลายครั้งแยกออกเป็นสองประเภทได้เช่นกัน ถ้าแยกได้ต้องแยกนะครับ เช่น บางงานจะมีส่วนของ core responsibility กับ admin รวมอยู่ด้วยกัน

 

ปกติในเวลาทำงานทั้งหมดผมจะพยายามรักษาอัตราส่วนของเวลาประมาณนี้ครับ 30/30/20/5/10/5 หมายความว่าถ้าเวลาทำงาน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย เวลาที่ทำงาน admin ก็ไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตกวันละชั่วโมง ถ้าทำเกินนี้แปลว่าชักเริ่มไม่ productive แล้ว

 

พอได้ตารางของสัปดาห์แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พยายามมีวินัยกับการรักษา time slot ต่างๆ ให้ได้ครับ และช่วยกันสร้างวัฒนธรรมนี้ในองค์กรด้วย เช่น เริ่มและเลิกประชุมตรงเวลาตามที่วางแผนไว้ หรือแม้แต่เรานั่งทำงานคนเดียว ถ้าเรากำหนดไว้ว่าหนึ่งชั่วโมงเสร็จ ก็ต้องทำให้เสร็จในหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่ได้อาจจะแปลว่าเราประเมินกำลังของเราสูงเกินไป

 

ความจริงของ Parkinson’s Law และการใช้ time slot จะสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมาก เพราะบางทีเราทำงานไปเรื่อยๆ ทำให้เราทำงานที่ควรทำเสร็จใน 1 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเราไม่มีเส้นตาย เราก็เลยทำไป 2 ชั่วโมงเลย

 

เรื่องนี้เกิดขึ้นเยอะมาก การทำงานนานเกินความจำเป็น เกิดจากสมาธิที่ไม่ดี การรบกวนจากสิ่งเร้า ทำให้หลายคนกลับบ้านดึกมาก แล้วงานก็ไม่ค่อยเสร็จด้วย  

 

Marc Zao-Sanders CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Education Tech ชื่อ filtered.com ซึ่งเป็นการนำ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลูกค้า ได้เขียนไว้ว่า การทำ time slot หรือ time boxing นั้นมีประโยชน์มากหลายเรื่องดังนี้

 

1. การ visualisation ทำให้มองเห็นสถานการณ์ตามความเป็นจริง: สมมติเราเห็นวันออกอากาศของโฆษณาใหม่อยู่ที่วันศุกร์ และเราเหลือเวลาอีก 4 วัน เราจะรู้ว่า ณ จุดนี้ต้องติดตามเรื่องอะไรจากใครบ้าง เพื่อให้งานเสร็จแน่ๆ

 

การเห็นเป็นภาพใน calendar นั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเข้าใจวิธีการ ‘วาง’ การทำงานของเราใน time slot ต่างๆ นั้นสำคัญอย่างไร

 

เพราะในชีวิตจริงนั้นทำงานหนักแต่ทำผิดจุดนั้นไม่ใช่ทางออก ทางออกคือ ทำงานให้ถูกต้อง ถูกที่ และถูกเวลามากกว่า

 

2. การสื่อสารในองค์กรดีขึ้น: อย่างกรณีผมนี่ ผมแชร์ calendar กับคนประมาณ 20 กว่าคนที่ผมทำงานด้วยเยอะๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถดูได้ว่าเวลาไหนผมทำอะไรอยู่ เพราะตอนแชร์ ผมจะแชร์รายละเอียดของ slot นั้นๆ ให้ด้วย เพราะบาง time slot นั้นอยู่ไกลถ้าจะนัดต่อกันต้องเผื่อเวลาเดินทางกลับมาออฟฟิศด้วย

 

การแชร์ calendar พร้อมรายละเอียดให้คนอื่นนั้น ทำให้ทีมงานดูตารางงานของผมว่าว่าง ไม่ว่างตอนไหน และจะนัดคุยนัดประชุมก็นัดมาได้เลย ไม่ต้องโทรถามกันให้เสียเวลา

 

ข้อดีอีกอันคือ ถ้าหากเราใช้เรื่อง time slot กันจนคล่องแล้ว เวลาจะขอให้ใครทำงานให้ จะพอรู้ได้ว่าเขาพอมีที่ว่างเหลือจะทำงานให้เราได้ไหม

 

3. เป็นการบันทึกว่าเราทำอะไรไปบ้าง: เคยมีอาการนี้ไหมครับ บางทีสัปดาห์ที่วุ่นมากๆ กลับพบว่าเมื่อจบสัปดาห์แล้วยังไม่แน่ใจเลยว่าสัปดาห์นี้ทำอะไรไปบ้าง ถ้าคุณทำ time slot แบบละเอียดๆ เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาครับ

 

หรืออย่างช่วงปลายปีที่เราต้องทำการประเมินส่วนบุคคลหรือ self evaluation กัน บางทีนึกไม่ออกใช่ไหมครับว่าทำอะไรมาบ้าง ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการทำ time slot เช่นกันครับ และยิ่งถ้าใช้คู่กับ task management tools อย่าง Asana หรือ Trello แล้วยิ่งง่ายเลยครับ

 

การทำแบบนี้เป็นการบันทึกเรื่องราวของเราไปในตัว ทำให้เรารู้ว่าสัปดาห์นี้ เดือนนี้ ปีนี้ เราสามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย และ productive แค่ไหนด้วยครับ เป็นการทบทวนตัวเองที่ดีมากครับ  

 

4. ทำให้รู้สึกว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม: มีงานวิจัยของ World Economic Forum บอกว่ายิ่งมนุษย์รู้สึกว่าเขาสามารถควบคุมชีวิตเรื่องที่ทำงานได้มากเท่าไร ความสุขก็จะตามมาด้วย และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน

 

การโดนขัดจัดหวะหรือรบกวนจังหวะการทำงานบ่อยๆ ทำให้เรารู้สึกไม่สามารถควบคุมชีวิตในที่ทำงานได้ ทำให้ความสุขน้อยลงและ productivity ก็จะตกลงตามไปด้วย

 

การทำ time slot ช่วยเรื่องนี้ได้มากเช่นกัน เพราะว่าเราจะสามารถกำหนดได้ว่าเราจะทำอะไรเมื่อไร และตกลงกับคนอื่นรอบๆ ตัวเราในการขจัด distraction หรือสิ่งรบกวนออกไปให้มากที่สุด การที่เราสามารถควบคุมเวลาของเราได้ ทำงานได้สำเร็จตามเวลาที่วางไว้ มันเป็นสิ่งที่สร้างความสุขในที่ทำงานได้อย่างมากครับ

 

จริงๆ เขียนมาดูเหมือนยาว แต่ไม่ยากเลยครับ สามารถเริ่มทำได้เลย แล้วคุณจะได้ใช้ Parkinson’s Law ช่วยให้คุณสามารถมี productivity ได้มากขึ้นครับ

 

เขียนจบแล้วทำให้นึกถึงคำพูดของ Paul Meyer ได้ครับว่า

 

“Productivity is never an accident. It is always the result of a commitment to excellence, intelligent planning, and focused effort.”

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ออกสตาร์ทปีใหม่ด้วย Parkinson’s Law กฎที่จะช่วยให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/parkinsons-law/feed/ 0