พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 27 Jul 2024 06:34:14 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ความสำคัญของภูพระบาท ปัญหาของทวารวดีอีสาน และมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ https://thestandard.co/the-importance-of-phu-phra-bat/ Sat, 27 Jul 2024 06:34:14 +0000 https://thestandard.co/?p=963801

ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีอีกชื่อที่คนไ […]

The post ความสำคัญของภูพระบาท ปัญหาของทวารวดีอีสาน และมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีอีกชื่อที่คนไทยหลายคนไม่ค่อยคุ้นเคย ไม่ต่างจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้รับมรดกโลกไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะทั้งสองแหล่งไม่อยู่ในเนื้อหาแกนหลักของประวัติศาสตร์ชาติไทย

 

อุดรธานีเป็นอู่อารยธรรมเก่าแก่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยและโลก เชื่อว่าแทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักคือบ้านเชียง เพราะอยู่ในแบบเรียน และเห็นผ่านสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ อีกมากมาย

 

เหตุผลที่ทำให้บ้านเชียงเป็นมรดกโลกได้นั้น เพราะในยุคหนึ่งเชื่อว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งกำเนิดโลหกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก มีอายุราว 6,000 ปี อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าของการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จึงทำให้ค่าอายุลดลงเหลือเพียง 2,100 ปีก่อนคริสตกาลเท่านั้น

 

ในส่วนของภูพระบาทนั้นมีเหตุผลหลายประการที่ควรเป็นมรดกโลก และต่อให้ไม่ได้มรดกโลก ภูพระบาทก็มีความสำคัญมากในแง่ของการเป็นสถานที่ที่สะท้อนความเชื่อทางศาสนาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงประวัติศาสตร์เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้ ซึ่งช่วยให้เข้าใจภูมิวัฒนธรรม (Cultural Landscape) ที่ดีมากแห่งหนึ่ง ในที่นี้ผมมีประเด็น 4 เรื่องที่คิดว่าควรกล่าวถึงและเสนอด้วยดังนี้

 

เรื่องแรก ภูพระบาทเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ก่อนรับพระพุทธศาสนา

 

ผมคิดว่าก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา คนในยุคนั้นคงมองว่าภูพระบาทเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เหตุผลเพราะบนภูพระบาทมีหินทรายธรรมชาติที่ถูกกัดเซาะจนมีลักษณะเป็นแผ่นหินที่ซ้อนอยู่บนเสาหิน รูปทรงคล้ายกับโต๊ะหรือเห็ด ในที่นี้ขอเรียกว่า ‘เสาหินรูปโต๊ะ’ และ ‘โต๊ะหิน’ ความแปลกประหลาดนี้เองคงทำให้คนในยุคนั้นคิดว่าเสาหินพวกนี้สร้างขึ้นโดยผีสางเทวดาที่มีอำนาจ

 

เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้หินรูปโต๊ะบางแห่งบนภูพระบาทมีภาพเขียนสีอยู่ด้วย ภาพเขียนสีพวกนี้ใช้สีแดงเป็นหลัก แบ่งภาพได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาพวาดของสิ่งมีชีวิตเป็นภาพเหมือน และภาพวาดเชิงสัญลักษณ์

 

ภาพวาดในกลุ่มที่เป็นสิ่งมีชีวิตนี้มีภาพคน มือ และวัว ภาพมือและคนอาจบ่งบอกถึงการร่วมแรงกันทำงาน ภาพวัวอาจบ่งบอกถึงการล่าสัตว์ สังเกตได้ว่าภาพวัวที่พบที่ภูพระบาทนี้เป็นวัวแบบไม่มีหนอก แสดงว่าเป็นวัวพื้นเมือง (สายพันธุ์ทอรีน) ไม่ใช่วัวแบบอินเดีย อาจกำหนดอายุเบื้องต้นได้ว่าภาพวัวพวกนี้คงมีอายุก่อน 2,500-2,000 ปีมาแล้ว

 

ภาพเขียนสีรูปคนที่ถ้ำคน ภูพระบาท

(อ้างอิง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), https://archaeology.sac.or.th/archaeology/502)

อีกกลุ่มคือภาพวาดเชิงสัญลักษณ์ ที่น่าสนใจคือกู่นางอุสาและโนนสาวเอ้ ซึ่งวาดเป็นภาพลายเส้นที่เราไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ ข้อมูลทางชาติพันธุ์ของชาวแซน (San) ในแอฟริกาอธิบายว่า ภาพเขียนสีเป็นวิธีการจับพลังงานในอีกโลกหนึ่งที่อยู่หลังผนังหิน ซึ่งผู้ที่เห็นนั้นก็คือหมอผีที่จับสิ่งนั้นขึ้นมา แล้วเอาพลังที่กลายเป็นภาพนั้นมารักษาผู้ป่วย ขอฝน หรือล่าสัตว์

 

ภาพเขียนสีใกล้กับกู่นางอุสา

 

แต่ที่น่าสนใจด้วยคือ ภาพลายเส้นบนภูพระบาทที่กู่นางอุสาและโนนสาวเอ้นี้ ผมเชื่อว่าอาจมีความสัมพันธ์กับลวดลายสีแดงบนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง เพราะทำเป็นลายเส้นคดโค้งขนานกันไปมา ภาพพวกนี้จึงอาจสื่อถึงพลังงานบางอย่าง อาจเป็นขวัญ มิ่ง หรือแนน

 

ปรากฏการณ์วาดภาพเขียนสีบนเสาหินหรือโต๊ะหินคล้ายกันนี้พบได้หลายที่ เช่น ในอินเดีย จีน และอีกหลายประเทศ นอกจากเทคนิคการเขียนสียังพบเทคนิคการใช้หินกะเทาะลงไปให้เป็นรูปลอย (Petroglyph) ซึ่งเท่าที่เห็นในไทยอย่างหลังจะไม่นิยมสักเท่าไร เหตุผลของการวาดภาพลงบนหินพวกนี้ ถ้าดูจากข้อมูลชาติพันธุ์ของชนเผ่าในปัจจุบันก็อาจสอดคล้องกับแนวคิดของชาวแซนคือ ภาพวาดบนหินคือการดึงพลังจากอีกโลกหนึ่งมายังโลกปัจจุบัน

 

สำหรับปกติแล้วหินตั้งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์จะสร้างขึ้นด้วยหลายวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น เป็นสถานที่ฝังศพผู้นำ หรือเป็นสถานที่รำลึกถึงบรรพบุรุษ ในกรณีของหินธรรมชาติที่มนุษย์ให้ความหมายใหม่นั้นเป็นเรื่องยากที่จะสันนิษฐาน แต่ก็อาจเกี่ยวข้องกับการรำลึกถึงบรรพบุรุษเช่นกัน กรณีของเสาหินหรือโต๊ะหินที่ภูพระบาทอาจถูกใช้สำหรับการรำลึกถึงบรรพบุรุษ (Memorial Place) หรือมองว่าเป็นวัตถุที่ใช้สื่อกับอีกโลกหนึ่ง

 

เรื่องที่สอง การผสมผสานความเชื่อเดิมเข้ากับพระพุทธศาสนา

 

ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เมื่อมีการรับศาสนาพุทธเข้ามา ส่งผลทำให้มีการสร้าง ‘เสมา’ หรือ ‘สีมา’ ขึ้น ตามความหมายเสมาคือเขตหรือแดนที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม ขนาดเล็กสุดต้องไม่น้อยกว่าพระสงฆ์ 21 รูปสำหรับนั่งทำพิธีได้ ซึ่งในพระวินัยปิฎกกำหนดให้เสมาเป็น ‘นิมิต’ (สัญลักษณ์) มี 8 อย่าง ได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำนิ่ง

 

ใบเสมาจึงตรงกับนิมิตประเภทศิลา แต่จะเห็นได้ว่าในพระวินัยปิฎกก็ไม่ได้ระบุว่าต้องทำเป็นรูปร่างหน้าตาแบบใด แต่ปรากฏว่าในอีสานและเขตลุ่มน้ำโขงเช่นในเวียงจันทน์และสะหวันนะเขตนิยมทำเป็นรูปใบเสมารูปทรงคล้ายใบไม้แหลม ธรรมเนียมการทำใบเสมาแบบนี้ไม่พบในอินเดียและลังกา ดังนั้นจึงเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

เท่าที่มีการสำรวจใบเสมาที่พบในเขตลุ่มน้ำชี มูล และโขง (พบมากที่สุดในลุ่มน้ำชี) พบว่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ แบบใบแหลม แบบแท่ง (มีทั้งทรงกระบอกกลมและทรงเหลี่ยม) และแบบหินธรรมชาติ

 

กลุ่มหินธรรมชาตินี้น่าสนใจ เพราะอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหินตั้งที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ เห็นได้จากในเขตเมืองซำเหนือ ประเทศลาว ซึ่งทำเป็นหินตั้งแผ่นแบนปลายแหลม ปัจจุบันคนพื้นเมืองในพื้นที่ยังบูชากันอยู่โดยถือว่าเป็นการบูชาเทพฮัตอัง (Hat Ang) ผู้มีหน้าที่ในการปกป้องผืนดิน (เจ้าที่)

 

หินตั้งที่เมืองซำเหนือ ประเทศลาว

(อ้างอิง: The Megalithic Portal, https://www.megalithic.co.uk/article.php?sid=46097)

 

ในไทยพบเช่นกันที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ที่ผู้เขียนขุดค้นและกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ 2,500 ปีมาแล้ว ก็พบหินบางก้อนที่ทำเป็นแผ่นปลายเกือบแหลมเช่นกัน ถึงอย่างนั้นยังไม่มีหลักฐานทางตรงที่บ่งบอกว่าใบเสมาพัฒนามาจากหินตั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยตรง เพราะรูปแบบของหินตั้งในลาวและในไทยไม่วางในตำแหน่ง 8 ทิศ แต่ทั้งหมดวางเป็นกลุ่มเท่านั้น

 

หากต้องการเข้าใจความเชื่อเรื่องการทำแผ่นหินล้อมรอบแกนหินแล้ว ปัจจุบันยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำประเพณีแบบนี้อยู่ในลาวคือ กลุ่มชาติพันธุ์ ‘บรู’ พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) ที่แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งอธิบายว่าหินตรงกลางคือแกนของใจบ้าน หรือก็คือแกนกลางของจักรวาล

 

การปักหินตั้งของชาวบรู

(อ้างอิง: บูร เที่ยงคำ / Facebook, https://www.facebook.com/100038449034718/posts/1069310354360589/?mibextid=oFDknk&rdid=arE4FDssJc4992Uz)

 

ดังนั้นด้วยการที่มีประเพณีการทำใบเสมาปักล้อมรอบเสาหินรูปโต๊ะอย่างเป็นระเบียบทั้ง 8 ทิศบนภูพระบาท ซึ่งพบที่หอนางอุสา กู่นางอุสา ถ้ำฤๅษี เพิงหินนกกระทา คอกม้าน้อย วัดลูกเขย ถ้ำพระ และลานหินมณฑลพิธี ย่อมสะท้อนความสำคัญอย่างยิ่งยวดของภูพระบาทในฐานะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และสะท้อนการผสมผสานความเชื่อใหม่เข้ากับความเชื่อเก่า ซึ่งทำให้นึกถึงสังคมไทยทุกวันนี้ที่มีแกนความเชื่อแบบ ‘พุทธปนผี’

 

เป็นไปได้ว่าเสาหินรูปโต๊ะนี้คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ ดังเห็นได้จากโบราณสถานบางในเมืองวัฒนธรรมเสมา เช่น ที่พระธาตุยาคูที่เมืองฟ้าแดดสงยางที่กาฬสินธุ์ หรือเจดีย์บางองค์ที่เมืองเสมา นครราชสีมา ก็พบว่ามีการใช้ใบเสมาปักล้อมรอบ ดังนั้นเสาหินรูปโต๊ะจึงอาจเป็นการผสมความเชื่อเดิมแล้วสมมติให้กลายเป็นเจดีย์ภายใต้ความเชื่อแบบพุทธ

 

นอกเหนือไปจากใบเสมาที่ปักล้อมรอบเสาหินรูปโต๊ะแล้ว ยังพบว่าเพิงผาบางแห่งมีการแกะสลักรูปพระพุทธรูปทั้งประทับนั่งและยืน โดยเฉพาะประทับยืนที่ทำวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์นั้นจะพบว่าเป็นรูปแบบร่วมกับพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีจากภาคกลาง อีกทั้งยังพบพระพุทธรูปศิลปะเขมร ล้านช้าง และสืบเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ส่วนศีรษะจะหักหายไป หลักฐานนี้จึงสะท้อนความต่อเนื่องของการใช้พื้นที่ภูพระบาทในฐานะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นอย่างดี

 

พระพุทธรูปแบบทวารวดีและเขมรที่แกะสลักอยู่บริเวณโขดหิน

 

เรื่องที่สาม ใบเสมาพวกนี้ไม่ใช่ ‘ทวารวดีอีสาน’

 

ใบเสมาพวกนี้เดิมทีเรียกว่า ‘ใบเสมาทวารวดีอีสาน’ เพราะเชื่อว่าเป็นของอิทธิพลทางศิลปะและการเมืองของอาณาจักรทวารวดีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ส่งขึ้นไปยังอีสาน เหตุผลที่คิดเช่นนั้นเพราะข้อจำกัดขององค์ความรู้ในยุคหนึ่งและเกิดจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผ่านจากยุคอาณานิคมที่ทำให้กำหนดลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นแกนของอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรม และศาสนา ดังนั้นเมื่อรูปแบบศิลปกรรมของเสมาพวกนี้คล้ายกับทวารวดีในภาคกลาง จึงนำไปสู่ชื่อเรียกเช่นนั้น

 

กู่นางอุสาจะเห็นใบเสมาล้อมรอบ

 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเอกสารท้องถิ่นและเอกสารจีน รวมถึงหลักฐานอื่นๆ ประกอบ พบว่าในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังระบุว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นรัฐชื่อ ‘เหวินตาน’ (文單) ซึ่งได้ส่งบรรณาการไปยังจีนใน ค.ศ. 656-661, 717, 753, 771 และ 798 สะท้อนว่าเหวินตานเป็นรัฐอิสระ ไม่ใช่ทวารวดีจากภาคกลาง

 

ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เสนอว่า เมืองศูนย์กลางของเหวินตานน่าจะเป็นเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ทาซึโอะ โฮชิโน (Tatsuo Hoshino) ยืนยันว่าเหวินตานไม่ใช่เวียงจันทน์ตามที่เคยเชื่อกัน นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มิเชล เฟอร์ลัส (Michel Ferlus) เสนอว่า ‘เหวินตาน’ มาจากสันสกฤตว่า ‘มลูตาละ’ แปลว่า เมืองน้ำตาลโตนด

 

ใบเสมาปักล้อมรอบเจดีย์ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์

 

ในขณะที่ใบเสมาในกลุ่มภูพระบาทนั้น ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ เสนอว่าอาจเป็นกลุ่มเมืองที่ในเอกสารจีนเรียกว่า ‘เต้าหมิง’ (道明) ซึ่งอาจมาจากภาษาตระกูลไท/ไตว่า ‘ท้าวเมือง’ ได้หรือไม่ และในเอกสารจีนระบุว่าเต้าหมิงเป็นเมืองในเครือข่ายของเหวินตาน

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องมีการศึกษาในเชิงภาษาศาสตร์เพิ่ม เพราะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 คนที่พูดภาษาในตระกูลไท/ไตยังไม่เคลื่อนย้ายลงมา อีกทั้งในภาพใหญ่ในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 ดังกล่าว พบเฉพาะจารึกภาษามอญโบราณ ภาษาเขมรโบราณ สันสกฤต และบาลีเท่านั้น

 

ถ้าข้อสันนิษฐานเรื่องตำแหน่งของเต้าหมิงถูกต้อง ภูพระบาทอาจเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรมลูตาละก็เป็นไปได้

 

ดังนั้นเราควรเรียกวัฒนธรรมการทำใบเสมานี้ว่า ‘วัฒนธรรมเสมา’ หรือ ‘วัฒนธรรมสีมา’ อาจจะมีความเหมาะสมกว่า หรืออาจมีคำบ่งบอกเชิงพื้นที่ เช่น ‘วัฒนธรรมเสมาอีสาน’ หรือ ‘วัฒนธรรมเสมาลุ่มน้ำโขง’ ซึ่งจะช่วยทำให้เรามองภาพที่ใหญ่ขึ้น

 

คำถามว่าทำไมวัฒนธรรมใบเสมาจึงแพร่กระจายในเขตลุ่มน้ำโขง-อีสาน เหตุผลหลักน่าจะเป็นเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางบกที่เดินทางตัดจากจีนเข้าสู่เวียดนามแล้วผ่านภาคอีสาน จากนั้นผ่านลงไปในลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้วข้ามไปยังทะเลอันดามันนั่นเอง

 

เรื่องที่สี่ มรดกโลกมักถูกขีดขั้นด้วยเส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่

 

ความจริงแล้วนอกเหนือไปจากภูพระบาทยังมีแหล่งโบราณคดีที่คล้ายกันอีก 2 แห่งอยู่ในประเทศลาว ได้แก่ ด่านสูง ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไปจากภูพระบาทราว 45 กิโลเมตร และวังช้าง ซึ่งอยู่ทางเหนือของด่านสูงราว 35 กิโลเมตร ทั้งที่ด่านสูงและวังช้างต่างมีการสลักพระพุทธรูปในศิลปะแบบวัฒนธรรมเสมาหรือเรียกแบบเก่าคือแบบทวารวดีด้วยกันทั้งคู่ อาจกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17

 

พระพุทธรูปแกะสลักที่แหล่งโบราณคดีวังช้าง ประเทศลาว

(อ้างอิง: https://www.atlasobscura.com/places/vang-sang-buddhas)

 

ประเด็นของข้อมูลข้างต้นนี้ทำให้เห็นปัญหาของการเสนอมรดกโลกที่เส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ได้กลายมาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการเข้าใจภาพกว้างของวัฒนธรรมเสมาและการสลักพระพุทธรูปหินบนเสาหินและโต๊ะหินบนภูเขาที่พบร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)

 

จากการสนทนากับ ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ ก็มองว่าถ้าในเชิงอุดมคติแล้ว หากมีการเสนอร่วมกันระหว่างไทยกับลาวก็จะช่วยทำให้เราเห็นเครือข่ายของพระยุคโบราณที่เป็นพระป่าหรืออรัญวาสี และเข้าใจการแพร่กระจายของศาสนาพุทธยุคต้นที่เข้าไปยังพื้นที่ตอนในของแผ่นดินมากขึ้น

 

ในความเห็นของผู้เขียนคิดว่าแม้ว่าการเสนอมรดกโลกภายใต้แนวคิดที่เสนอร่วมกันระหว่างสองประเทศอาจจะเป็นเรื่องยากภายใต้เงื่อนไขหลายๆ อย่าง อย่างน้อยที่สุดถ้าหากมีการนำเสนอข้อมูลของทางฝั่งลาวไปพร้อมกันด้วยก็จะเป็นเรื่องดีที่ช่วยสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวให้ดีมากยิ่งขึ้น

 

คำอธิบายภาพเปิด: หอนางอุสา ภูพระบาท

อ้างอิง:

  • Ferlus, Michel. 2012. “Linguistic evidence of the trans-peninsular trade route from North Vietnam to the Gulf of Thailand (3rd-8th centuries),” Mon-Khmer Studies. 41, pp.10-19
  • Hoshino, Tatsuo. 1986. Pour une histoire medieval du Moyen Mekong. Bangkok: Duang Kamol.
  • Murphey, Stephen. 2010. The Buddhist boundary markers of northeast Thailand and central Laos, 7th-12th Centuries CE: towards an understanding of the archaeological, religious and artistic landscapes of the Khorat Plateau. PhD Thesis, SOAS, University of London.
  • กรมศิลปากร. 2533. ศิลปะถ้ำ “กลุ่มบ้านผือ” จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 
  • พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. 2550. รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีนายเสียน (เขาฝาง 2) บ.วังประจบ ต.วังประจบ อ.เมือง จ.ตาก. เสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจบและสำนักงานศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร.
  • พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. 2559. “การเคลื่อนย้ายของวัฒนธรรมกับโลงหินและหินตั้งที่ตำบลวังประจบ จังหวัดตาก,” วารสารเมืองโบราณ. 42, 2 (เม.ย.-มิ.ย.), น.145-159.

The post ความสำคัญของภูพระบาท ปัญหาของทวารวดีอีสาน และมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
การก้าวข้ามกำแพงภาษากับหนังสือ ‘สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง’ https://thestandard.co/overcoming-the-language-barrier-with-books/ Wed, 27 Mar 2024 04:36:00 +0000 https://thestandard.co/?p=915979

มีนักโบราณคดีต่างชาติบางคนบอกว่าประเทศไทยเหมือนหลุมดำทา […]

The post การก้าวข้ามกำแพงภาษากับหนังสือ ‘สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

มีนักโบราณคดีต่างชาติบางคนบอกว่าประเทศไทยเหมือนหลุมดำทางโบราณคดี เพราะชาวต่างชาติหรือกระทั่งเพื่อนบ้านไม่ค่อยรู้ข้อมูลทางโบราณคดีเกี่ยวกับไทยมากนัก เหตุผลหลักๆ ก็คือข้อมูลส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย

 

เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดอะไร เพราะสถานการณ์นี้ก็เกิดขึ้นกับในประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาของตนเองเช่นกัน มรดกทางภาษาจากยุคอาณานิคมนั้นทุกวันนี้ก็เริ่มไม่เข้มแข็งอีกต่อไป มีเพียงบางประเทศเท่านั้นคือสิงคโปร์และมาเลเซียที่ยังใช้ภาษาของเจ้าอาณานิคมอย่างคล่องแคล่ว จึงทำให้เรื่องโบราณคดีของทั้งสองประเทศรับรู้ในระดับนานาชาติมากกว่าที่อื่น

 

ความรู้ทางโบราณคดีในระดับสากลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกวันนี้โดยมากมาจากกลุ่มของชาวยุโรปที่เข้ามาทำงานตั้งแต่สมัยอาณานิคม (เช่น ยอร์ช เซเดส์) เรื่อยมาถึงยุคสงครามเย็น (เช่น ชาร์ลส์ ไฮแอม และ ดี.จี.อี. ฮอลล์) กระทั่งในปัจจุบัน

 

แน่นอนว่านักวิชาการเหล่านี้เขียนงานเป็นภาษาอังกฤษ โลกของภาษาอังกฤษจึงเป็นตัวกำหนดความรู้สากล ความรู้สากลพวกนี้ครั้งหนึ่งเคยทันสมัย แต่ ณ ปัจจุบัน หลังจากยุคอาณานิคมและหลังยุคสงครามเย็น กลับกลายเป็นความรู้ที่ Out of Date หรือไม่ทันสมัยไปแล้ว เพราะความรู้ทางด้านโบราณคดี รวมถึงประวัติศาสตร์ในทุกวันนี้ในหลายประเทศ รวมถึงไทย ผลิตเป็นภาษาท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของคนท้องถิ่น แต่เป็นปัญหาของโลกภาษาอังกฤษ หรืออาณานิคมทางภาษาในยุคหลังอาณานิคมแบบหนึ่ง

 

ความรู้สุวรรณภูมิเชื่อมโลก

 

เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา สถาบันโลกคดีศึกษา และสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ภายใต้วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (ธัชชา) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดงานเปิดตัวหนังสือ สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมากในวงวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดี ไม่ใช่แค่ตัวข้อมูลเพียงอย่างเดียว หากแต่สำคัญตรงที่มีการแปลออกมาเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 7 ภาษา ประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม เขมร มาเลย์ พม่า และจีน ส่วนภาษาไทยนับเป็นภาษาที่ 8

 

การแปลหนังสือ สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง นี้เริ่มต้นจาก นพ.บัญชา พงษ์พานิช อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ผู้มีความหลงใหลในงานโบราณคดียุคต้นประวัติศาสตร์ และยังเป็นการสานต่องานของท่านพุทธทาสที่เคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโบราณคดีศรีวิชัยอีกด้วย เนื้อหาและภาพประกอบของหนังสือเล่มนี้เป็นการปรับปรุงมาจากหนังสือ สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งเต็มไปด้วยหลักฐานยุคต้นประวัติศาสตร์ที่แสดงการติดต่อกับอินเดียไกลไปถึงสมัยพระเจ้าอโศกและจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งสะท้อนว่าสุวรรณภูมิเป็นดินแดนส่วนหนึ่งบนเส้นทางสายไหมทางทะเลที่สำคัญ และเป็นเหตุที่ทำให้สุวรรณภูมิรับศาสนาจากอินเดียและมีผู้คนหลากหลายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนนำไปสู่ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ดังเช่นทุกวันนี้ สุวรรณภูมิจึงเป็นต้นทางของประวัติศาสตร์ไทย ไม่ใช่เรื่องกึ่งตำนานดังเช่นองค์ความรู้ชุดเก่า

 

จากซ้ายไปขวา ผศ.ชวลิต ขาวเขียว, นพ.บัญชา พงษ์พานิช, สมปอง สงวนบรรพ์ และ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ บนเวทีเปิดตัวหนังสือ สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง จัดที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ

 

สมปอง สงวนบรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันโลกคดีศึกษา และอดีตเอกอัครราชทูต ในฐานะผู้สนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือชุดนี้ได้กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ “เป็นการพิสูจน์ว่าสุวรรณภูมิที่กล่าวกันในอดีต ทั้งในตำนานและในนิยายต่างๆ มันมีจริง และเกิดขึ้นจริง” และยังเป็นหนังสือที่เมื่อพิจารณากันในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว หนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึง “คนในภูมิภาคนี้ใช้ชีวิต มีประสบการณ์ วัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมาจากดินแดนสุวรรณภูมิตรงนี้ เพื่อที่จะให้ชนชาติทุกชาติในแถบนี้ได้มีความภาคภูมิใจ ได้รู้ว่าเราเคยอยู่ร่วมกันมา ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อบางอย่าง แต่ก็ถือว่าได้อยู่ร่วมกันมาอย่างสันติสุขตลอดมา 2,500 กว่าปี”

 

นพ.บัญชา พงษ์พานิช ในฐานะผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวว่า “ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา องค์ปฐมที่ศึกษาสุวรรณภูมิคือล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 และมีการศึกษาต่อเนื่องกันมามากมาย ทั้งความเห็นว่าสุวรรณภูมิมีจริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างจีนและอินเดีย แยกเป็น 2 ศูนย์ คือ การค้าและพระพุทธศาสนา แต่หลายหลักฐานที่นิยมใช้นั้นยังไม่เก่าแก่พอ อาจจะต้องหาหลักฐานให้มากขึ้น และรอหลักฐาน โดยอาจารย์ผาสุข อินทราวุธ ซึ่งเป็นครูใหญ่ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร บอกว่า ตราบใดที่หาหลักฐานที่เก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 2 เก่าถึง 2,500 ปี ในแผ่นดินนี้ และถ้าหลักฐานนั้นเกี่ยวเนื่องกับอินเดีย และถ้าหากว่าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วย ท่านบอกว่าจะคอนเฟิร์มว่าสุวรรณภูมิมีจริง

 

แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นพบหลักฐานจำนวนมากที่ช่วยยืนยันได้ว่าดินแดนสุวรรณภูมิมีอยู่จริงทั้งจากอินเดีย กรีกและโรมัน จีนเก่าไปถึงราชวงศ์ฮั่น รวมถึงวัตถุที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นและค้าขายไปทั่วทะเลจีนใต้ นพ.บัญชา พงษ์พานิช กล่าว

 

นพ.บัญชา พงษ์พานิช ขณะกำลังกล่าวถึงหนังสือ สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง

 

ผศ.ชวลิต ขาวเขียว ผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา และรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาสุวรรณภูมิว่า สุวรรณภูมิคืออารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มากใน 2,000 ปีที่แล้ว ซึ่งการศึกษาอดีตเกี่ยวกับสุวรรณภูมินี้จะทำให้ “เรารู้จักตัวเองและเรียนรู้ปัจจุบัน แล้วนำเอาสิ่งที่ผ่านมาไปสู่อนาคต”

 

เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวในงานด้วยว่า “กระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีความสนใจให้ความสำคัญกับการค้นคว้าเรื่องราวของดินแดนสุวรรณภูมิอย่างจริงจัง และดินแดนสุวรรณภูมิมีความเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มาช้านาน พื้นที่สุวรรณภูมิเคยเป็นสะพานเชื่อมโลก ทั้งเรื่องการค้า การบริการ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ เป็นยุคที่เกิดนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมาตลอดเวลา มีหลายหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าคนในดินแดนแถบนี้มีความเชี่ยวชาญในสายเลือด ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม หัตถกรรม และสุนทรียศาสตร์มาเป็นเวลานาน ไม่เพียงแต่จะมีความเด่นเฉพาะด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวดังที่เคยเข้าใจกันมา”

 

เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้งานวิจัยของสถาบันสุวรรณภูมิ รวมถึงสถาบันโลกคดีศึกษาได้รับความสนใจจากกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นเพราะปัญหาในระดับประเทศที่ให้น้ำหนักกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์มากจนเกินไป จนเกิดช่วงถ่างระหว่างกันของทั้งวิทยาศาสตร์กับงานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

ความรู้ทางประวัติศาสตร์คือความสัมพันธ์ทางการทูต

 

ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ในปัจจุบันไม่ได้เป็นไปเพื่อชาตินิยมหรือภูมิภาคนิยมอีกต่อไป แต่เป็นความรู้ที่ช่วยให้เราจัดความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและโลกใบนี้ได้

 

สมปอง สงวนบรรพ์ ได้ให้ความเห็นถึงความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิว่า “ในทางการทูต เราถือว่าประวัติศาสตร์จะเป็นหลักฐานทางด้านวัตถุ ทางด้านพิธีกรรม ทางด้านนโยบายหรือการดำเนินการ การติดต่อปฏิสัมพันธ์ เป็นเรื่องของความต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงัก แน่นอนการเปลี่ยนนโยบายจากสันติภาพมาเป็นการรบ มาเป็นความผูกพัน เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นมีรากฐานที่ต่อเนื่องกันมา เพราะฉะนั้นในแง่นี้ก็สามารถตอบได้ว่าการที่เราค้นพบสุวรรณภูมินี้ก็ถือว่ามีจุดเชื่อมที่สำคัญ มันอาจจะมีก่อนหน้านั้น แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของ Positioning ของไทย พิกัดของไทย”

 

สมปอง สงวนบรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันโลกคดีศึกษา

 

นอกจากนี้แล้วสมปองยังได้กล่าวอีกว่า “จุดที่เราค้นพบสุวรรณภูมิก็เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าตรงนี้นอกจากจะเป็นพื้นที่ในเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว ก็คงเป็นเหตุผลทางด้านของมนุษยศาสตร์ด้วย ที่เราสามารถที่จะเชื่อมต่อ ต้อนรับ ไม่ขัดขวาง เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นจุดสะท้อนถึงความเป็นไทย ความเป็นไทยที่สืบทอดกันมาจนเราเป็นประเทศที่คบกับใครก็ได้ ก็หวังว่าอนาคตก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไป เพราะมันได้พิสูจน์มาตลอดแล้วว่าไม่ว่าใครไปใครมาก็อยากจะมาอยู่ที่นี่ ถึงได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินทองมาตั้งแต่โบราณ”

 

ด้วยเหตุนี้เองสมปองจึงสรุปด้วยว่า “เรา (ประเทศไทย]) สามารถที่จะเป็นจุดเชื่อมสัมพันธ์สร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกว้างไกลออกไปในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ หรือในโลก” ดังนั้นการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์โบราณคดีในบางเรื่องบางประเด็นทุกวันนี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงตัวเรากับโลกใบนี้ เรียกว่าเป็น ‘Global History’ นั่นเอง

 

มนุษยศาสตร์ไม่ใช่ติ่งของวิทยาศาสตร์

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แสดงทัศนะต่อปัญหาข้างต้นว่า “ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นต่อเนื่อง จนกระทั่งราว 1960 เกิดการระเบิดขององค์ความรู้ เกิดเป็น S-Curve ที่ 1 ของความรู้วิทยาศาสตร์ S-Curve นี้ทำให้เกิด Technological Revolution หรือการปฏิวัติที่อาศัยเทคโนโลยี ถัดมาอีกเมื่อราว 1995-2000 ก็เกิด S-Curve อีกอันหนึ่งตามมาคือ Digital Revolution ทั้งหมดนี้ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าแล้วขยายตัวอย่างรุนแรง ทำให้สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ถูกลดความสำคัญในสายตาของมนุษย์ไป สังคมศาสตร์ลดลงไปพอสมควร แต่ส่วนที่เหมือนจะหายไปคือมนุษยศาสตร์”

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส ยังได้เพิ่มเติมด้วยว่า “มนุษยศาสตร์เป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่เป็นเพียงติ่งของวิทยาศาสตร์ คำตอบของปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่สมบูรณ์ จะปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ไม่สมบูรณ์เพราะว่าขาดความเป็นมนุษย์ ขาดมนุษยศาสตร์ ขาดคติความเชื่อของเรา”

 

ดังนั้นงานวิจัยของสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ซึ่งเป็นทั้งการทำงานในมิติทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี โลหะวิทยา วัสดุศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศิลปะ และอื่นๆ อีกมาก จึงเป็นจุดบรรจบของการเชื่อมโยงความถ่างกันระหว่างงานทางด้านวิทยาศาสตร์กับมนุษยศาสตร์ เพราะการจะเข้าใจเรื่องราวในอดีตห่างไกลระดับ 2,000 ปีได้นั้นจะต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขาอย่างมาก นี่เองจึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส ให้ความสำคัญกับเรื่องราวของสุวรรณภูมิเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมภาคพื้นสมุทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในเร็ววันนี้ เพราะสุวรรณภูมิไม่ใช่แค่เชื่อมโลก แต่ยังเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ไปพร้อมกัน

 

ท้ายสุด ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาสุวรรณภูมิที่เป็นอดีตอันยาวไกลนี้ว่า การศึกษาเรื่องสุวรรณภูมินี้ “จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ หลายท่านพูดง่ายๆ ว่า ขนาดประวัติศาสตร์เรามีของ 800 ยังเล่าได้ขนาดนี้ อย่างน้อยสุดถ้าเรามี 2,500 ปี เราก็จะมีพื้นที่เล่นอีกประมาณ 3 เท่า หรือมีพื้นที่อีกพันกว่าปี มูลค่าเพิ่มก็จะเพิ่มได้มากขึ้นอีก เหนือไปกว่านั้น การลากเส้นประวัติศาสตร์ได้ยาวก็จะยิ่งเพิ่มความภูมิใจ ความเข้าใจ ความตระหนักต่อความสำคัญในแถบนี้ ซึ่งจะสร้างมูลค่าได้อีกมาก นอกเหนือจากมูลค่าด้านเศรษฐกิจ”

 

อีกทั้งยังมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส ว่า “ในเชิงการวิจัย การวิจัยที่สำคัญที่สุดคือการวิจัยที่จุดรอยต่อระหว่างศาสตร์ที่ดีที่สุด นักวิจัยระดับโลกจะไม่ค่อยวิจัยเพื่อขยายสิ่งที่มีอยู่ แต่หาจุดรอยปะทะระหว่างศาสตร์ รอยปะทะระหว่างวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ที่เราละเลยมานาน”

 

อาจกล่าวได้ว่าทัศนะของทั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ได้เผยให้เห็นปัญหาของการทำงานวิจัยในบ้านเราที่แยกขาดระหว่างสายวิทยาศาสตร์กับมนุษยศาสตร์+สังคมศาสตร์มาช้านาน สุวรรณภูมิจึงอาจเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นที่ทำให้ศาสตร์ทั้งสองทั้งสามนี้มาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง

 

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

หนังสือ สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง ทุกภาษานี้ปัจจุบันตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม แต่ในอนาคตจะมีการเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือดิจิทัล ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ข้อมูลว่า “เราจะทำเป็นหนังสือดิจิทัล ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ อยู่ในแพลตฟอร์ม WISE ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคนออกแบบแพลตฟอร์มที่รวบรวมองค์ความรู้จากทั่วโลกในเรื่องของสุวรรณภูมิศึกษา ตัวหนังสือจะเป็นเอกสารสำคัญ เป็นชุดความรู้ที่อยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านั้น ปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้และหนังสือนี้ได้ถูกเข้าถึงโดยนักวิชาการจากต่างประเทศกว่า 20 ประเทศแล้ว”

 

ดังนั้นแน่นอนว่าการแปลหนังสือนี้ต้องใช้ทั้งกำลังกายและทุนทรัพย์จำนวนมาก วิสัยทัศน์ของภาครัฐจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้นแบบมีมากมายหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการแปลความรู้ แต่หากต้องการทลายหลุมดำทางโบราณคดี การเขียนหนังสือแล้วแปลให้ได้หลายภาษา ย่อมช่วยทำให้ความรู้แพร่กระจาย ยกระดับงานวิจัยไทย ส่งเสริมความสำคัญของประเทศต่อสายตาชาวโลก และยังทำให้คนในภูมิภาคนี้มีความเข้าใจกันมากขึ้นข้ามพ้นขีดจำกัดทางด้านภาษา

The post การก้าวข้ามกำแพงภาษากับหนังสือ ‘สุวรรณภูมิแผ่นดินทอง’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชาวบ้านอำเภอสีชมพูเป็นห่วง! แหล่งโบราณคดีถูกทำลายจากการทำเหมืองหิน https://thestandard.co/archaeological-under-threat-of-quarry/ Tue, 19 Mar 2024 03:41:08 +0000 https://thestandard.co/?p=912706

ภูเขาลูกหนึ่งในเขตบ้านซำขาม ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหว […]

The post ชาวบ้านอำเภอสีชมพูเป็นห่วง! แหล่งโบราณคดีถูกทำลายจากการทำเหมืองหิน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภูเขาลูกหนึ่งในเขตบ้านซำขาม ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น กำลังจะถูกระเบิดเพื่อทำเหมืองหิน ชาวบ้านในพื้นที่เป็นกังวล เนื่องจากภูเขาลูกดังกล่าวและข้างเคียงเต็มไปด้วยแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะบางแห่งพบภาพเขียนสีที่แสดงฉากพิธีกรรมขอฝนแห่งเดียวในไทย 

 

จากการสำรวจเบื้องต้นโดยกลุ่มรักษ์ดงลาน&พันธมิตร และกรมศิลปากร พบแหล่งโบราณคดีจำนวนมากถึง 15 แห่งในพื้นที่บริเวณนี้ ถือว่ามีความหนาแน่นมากในขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ประกอบด้วยแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งพิธีกรรม 

 

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแหล่งโบราณคดีในเขตป่าดงลาน และชุมชนในตำบลดงลาน

 

ในวงสีแดงเป็นภูเขาที่จะถูกระเบิดเพื่อทำเหมืองหิน

 

ในประเทศไทย ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์พวกนี้กำหนดอายุอยู่ในราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว หรือจัดอยู่ในสมัยหินใหม่ถึงยุคโลหะ ภาพมักเขียนด้วยสีแดง ทำจากดินเทศ (แร่เฮมาไทต์) ซึ่งสีแดงนี้เป็นสัญลักษณ์แทนเลือด ความมีชีวิต และความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นศิลปะยุคแรกเริ่มของผู้คนในประเทศไทย 

 

ภาพเขียนสีพวกนี้มักจะวาดอยู่บนผนังถ้ำหรือเผิงผาที่อยู่ในจุดที่สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นพิเศษ คืออยู่ในพื้นที่สูง มองเห็นพื้นที่ราบกว้างไกล และภูเขาลูกอื่นๆ ดังนั้นการระเบิดเหมืองหินย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ดั้งเดิมของพื้นที่อีกด้วย 

 

ทิวทัศน์บริเวณแหล่งภาพเขียนสีในเขตป่าดงลาน และชุมชนในตำบลดงลาน

 

ภาพเขียนสีเด่นของพื้นที่บริเวณนี้คือภาพพิธีกรรมที่คาดว่าเป็นการขอฝน ชาวบ้านเรียกชื่อแหล่งนี้ว่า ‘ผาแต้ม’ หรือ ‘ผาสูง’ เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่สูง ภาพนี้ประกอบด้วยกลุ่มคนวาดด้วยสีแดงเป็นจำนวนมากร่วมร้อยคน ยืนเรียงกัน บางส่วนรวมกลุ่มกัน ด้านบนของภาพมีภาพคนกำลังตีฆ้องหรือกลองอยู่ 2 ชุด 

 

ปกติแล้วในหลายๆ กลุ่มชาติพันธุ์สมัยโบราณหรือในปัจจุบันยังคงมีพิธีกรรมขอฝน เช่น ชาวจ้วงในมณฑลกว่างซีจ้วงจะมีพิธีตีกลองมโหระทึก และเต้นท่าคล้ายกบ หรือชาวกะเหรี่ยงก็มีการใช้กลองมโหระทึกเพื่อทำพิธีกรรมขอฝนเช่นกัน หรือการฟ้อนกลองตุ้มของชาวบ้านหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีเป้าหมายเพื่อขอฝน

 

ภาพเขียนสีแหล่งผาแต้ม หรือผาสูง

 

ภาพคนตีกลองที่แหล่งโบราณคดีผาแต้ม หรือผาสูง

 

สำหรับภูเขาที่จะขอทำเหมืองเพื่อระเบิดหินนั้นอยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีผาแต้มเพียง 200 เมตรเท่านั้นเมื่อวัดจากตีนเขา และห่างจากแหล่งภาพเขียนสีผาพวงเพียง 300 เมตรเท่านั้น ด้วยระยะที่ใกล้มากเท่านี้ แรงสั่นสะเทือนย่อมจะต้องส่งผลกระทบต่อแหล่งภาพเขียนสีโดยรวม 

 

ส่วนตัวภูเขาที่จะระเบิดหินนั้น ในเบื้องต้นได้สำรวจพบโบราณวัตถุหลายประเภทในถ้ำ เช่น เศษหม้อ ไห และยังพบเศษฟันมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้จึงสามารถช่วยอธิบายต้นกำเนิดของคนในอำเภอสีชมพู

 

นอกจากนี้แล้ว ภูเขาในเขตนี้ยังถือว่ามีความสำคัญในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย โดยได้สำรวจพบนกเอี้ยงถ้ำ สัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 53 ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว 

 

 

ภาพเขียนสีพวกนี้ แหล่งโบราณคดีพวกนี้ อาจไม่ได้สำคัญมากนักในสายตาของนายทุนและเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงาน แต่การทำเหมืองหินนั้นจริงๆ แล้วเป็นประโยชน์ระยะสั้น และสร้างความร่ำรวยให้เฉพาะนายทุนเป็นหลัก แต่กรรมตกอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันธรรมชาติ 

 

หากปรับมุมมองและคิดกันในระยะยาว ภาพเขียนสีและแหล่งโบราณคดีพวกนี้แท้จริงแล้วเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถสร้างใหม่ได้ และเป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ การทำลายเพื่อหวังประโยชน์ในระยะสั้นจึงไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย 

 

ในวันที่ 19 มีนาคมนี้ กลุ่มรักษ์ดงลาน&พันธมิตร จะยื่นหนังสือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการทบทวนการอนุญาตทำเหมืองและโรงโม่หิน โดยได้ขอเชิญชวนคนที่มีหัวใจอยากจะร่วมปกป้องมรดกทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติให้กับลูกหลาน เพื่อร่วมกันฟังข้อมูลของคนในพื้นที่ ปัญหา และทางออกที่ดีกว่าการทำเหมืองหิน โดยมีกิจกรรมดนตรีและศิลปะ เพื่อแสดงพลังและจุดยืนว่าไม่ต้องการเหมืองหิน 

 

The post ชาวบ้านอำเภอสีชมพูเป็นห่วง! แหล่งโบราณคดีถูกทำลายจากการทำเหมืองหิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เราควรลอยกระทงต่อไปหรือไม่ เมื่อต้องลำบากใจกับสิ่งแวดล้อมนิยม https://thestandard.co/should-we-continue-loy-krathong/ Mon, 27 Nov 2023 05:57:42 +0000 https://thestandard.co/?p=870224

คนไทยทุกวันนี้ลอยกระทงด้วยความรู้สึกสองด้าน ด้านหนึ่งคื […]

The post เราควรลอยกระทงต่อไปหรือไม่ เมื่อต้องลำบากใจกับสิ่งแวดล้อมนิยม appeared first on THE STANDARD.

]]>

คนไทยทุกวันนี้ลอยกระทงด้วยความรู้สึกสองด้าน ด้านหนึ่งคือการสืบสานประเพณีไหว้พระแม่คงคา คละเคล้าไปกับความสนุก อีกด้านคือความรู้สึกผิดต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้บางคนปฏิเสธที่จะลอยกระทงกันไปเลยทีเดียว

 

คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเราควรลอยกระทงต่อไปไหมในเมื่อโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่ก่อนจะปฏิเสธ ผมคิดว่าเรื่องหนึ่งที่เราต้องรู้ด้วยก็คือประเพณีลอยกระทงมีที่มาจากอะไร จากนั้นลองมาหาที่มาของความคิดว่าทำไมคนบางกลุ่มจึงไม่ต้องการลอยกระทง

 

จากเมืองจีน

 

ลอยกระทงไทยมีที่มาจากไหนยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ แต่ที่แน่ๆ ลอยกระทงไทยไม่ได้มาจากอินเดียดังที่สื่อบางที่มักเข้าใจกัน ความเป็นไปได้มากที่สุดคือลอยกระทงไทยและเพื่อนบ้านคงมาจากจีน

 

ในเอกสารจีนระบุว่า ลอยกระทงเริ่มต้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ปกครองจีนระหว่าง ค.ศ. 618-907) นิยมมากในสมัยราชวงศ์หยวน โดยทำเป็นรูปดอกบัวลอยและทรงโคม อีกทั้งมีเรือกระดาษลอยในแม่น้ำและทะเล เป้าหมายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตาย เทศกาลนี้เรียกว่า ‘จงหยวน’ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ทุกวันนี้ชาวจีนในบางท้องที่ยังคงมีประเพณีลอยกระทง(放河灯)กันอยู่

 

ลอยกระทงในประเทศจีน
(อ้างอิง: https://images.app.goo.gl/CQ9mAQPsZQbufnQU6)

 

เข้าใจว่าด้วยการค้าระหว่างจีนกับผู้คนในอุษาคเนย์ และมีชาวจีนอพยพเข้ามา จึงทำให้ประเพณีลอยกระทงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีของคนในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ดี ประเพณีลอยกระทงอาจมีมานานแล้วในภูมิภาคอุษาคเนย์

 

บูชาผีบรรพบุรุษ

 

ในสมัยหริภุญไชยมีเรื่องเล่าว่า เมื่อราว พ.ศ. 1460 (ค.ศ. 917) ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงในเมืองหริภุญไชย (ลำพูนโบราณ) ชาวเมืองจึงพากันหนีไปเมืองสุธรรมนคร (สะเทิม เมียนมา) และเมืองหงสาวดีตามลำดับ หลัง 6 ปีเมื่อโรคสงบลงจึงเดินทางกลับมา ยกเว้นคนแก่ชราและที่มีครอบครัวที่นั่นได้อาศัยอยู่เมืองหงสาวดีต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษ ชาวหริภุญไชยจึงเกิดประเพณี ‘ลอยขาทนียโภชนียาหาร’ หรือลอยกระทง เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ

 

แต่ลอยกระทงสมัยหริภุญไชยนั้นก็อาจแตกต่างจากลอยกระทงในเชียงใหม่-ลำพูนปัจจุบัน เพราะใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (2542) ระบุว่า การลอยกระทง (สะตวง) ในงานยี่เป็งเมืองเชียงใหม่นั้น ผู้ที่เริ่มนำกระทงแบบกรุงเทพฯ ขึ้นไปนั้นคือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี คงเริ่มลอยจนเกิดความนิยมเมื่อราว พ.ศ. 2460-2470 แต่กระทงในครั้งนั้นก็ทำอย่างง่ายๆ เป็นเพียงการจุดเทียนบนกาบมะพร้าว ทำเป็นรูปเรือเล็กหรือรูปหงส์เท่านั้น

 

ข้อมูลเรื่องนี้ยังน่าสงสัย เพราะถ้าเจ้าดารารัศมีนำประเพณีลอยกระทงไปจากกรุงเทพฯ ก็ควรจะเป็นกระทงทรงดอกบัวเสียมากกว่า เป็นไปได้ว่ากระทงรูปเรือที่เจ้าดารารัศมีลอยนี้คือการ ‘ลอยสะเปา’ (เรือสำเภา) ที่คนทางเชียงใหม่-ลำพูนยังปฏิบัติกันอยู่

 

แต่ที่แน่ชัดคือ ประเพณีลอยกระทงของเชียงใหม่นั้นได้รับความนิยมจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย ทิม โชตนา นายกเทศมนตรีในเวลานั้นได้จัดประเพณีลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ผสมกับล้านนาขึ้นบริเวณถนนท่าแพและพุทธสถาน จึงเกิดการจัดงานยี่เป็งอย่างใหญ่โตทุกปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ภาพสลักที่บายน

 

ในขณะที่กระทงทรงดอกบัวพบหลักฐานเก่าสุดอยู่ในกัมพูชา คือภาพสลักสตรีกำลังลอยกระทงที่ระเบียงคดปราสาทบายน (สร้างราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12) เป็นกลุ่มของสตรีนั่งเรียงกันเป็นแถวที่ท่าน้ำ เข้าใจว่านี่คงเป็นประเพณีลอยกระทง และเมื่อพิจารณาภาพสลักที่ปราสาทบายนก็จะพบว่ามีภาพของกองทัพชาวจีนด้วย จึงเป็นไปได้ว่าประเพณีลอยกระทงนี้คงรับมาจากจีนนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจทราบได้ว่าสตรีเหล่านี้ลอยกระทงเพื่อบูชาบรรพบุรุษหรือไหว้พระแม่คงคา แต่น่าจะเป็นอย่างแรกเสียมากกว่า เพราะในภาพสลักนี้ไม่มีภาพของพระแม่คงคาอยู่

 

 

ประเพณีประดิษฐ์

 

ลอยกระทงในสมัยกรุงเทพฯ เป็นประเพณีสืบมาจากประเพณีลอยโคมในสมัยอยุธยา แต่มาเป็นประเพณีจริงจังและทำเป็นรูปทรงดอกบัวเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 ดังปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นางนพมาศ ที่แต่งขึ้นในสมัยนี้ เพียงแต่มีฉากหลังเป็นสุโขทัย จึงทำให้คนเข้าใจไปว่าลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยนี้

 

ทุกปี สุจิตต์ วงษ์เทศ จะต้องออกมาอธิบายว่าในสมัยสุโขทัยไม่มีประเพณีลอยกระทง เพราะตระพังในเมืองเก่าสุโขทัยนั้นเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ขุดไว้เพื่อลอยกระทงหรือเผาเทียน เล่นไฟ แต่ถ้าถามว่าประเพณีลอยกระทงในเมืองเก่าสุโขทัยเริ่มต้นเมื่อไรนั้น พบว่าเริ่มต้นเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อ นิคม มูสิกะคามะ เป็นหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2520 นี้เอง จนกลายเป็นงานใหญ่ระดับชาติ ลักษณะเช่นนี้เองที่นักวิชาการนิยามว่าเป็น ‘ประเพณีประดิษฐ์’ (Invented Tradition) เพราะประเพณีดังกล่าวนี้เป็นกระบวนการสร้างความทรงจำร่วมเพื่อให้เกิดความเป็นไทย ห่างไกลจากความหมายดั้งเดิม

 

จุดมุ่งหมายของการลอยกระทงในเขตภาคกลางนี้ต่างไปจากจีนและหริภุญไชย เพราะเป็นไปเพื่อบูชาขอขมาพระแม่คงคา เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะการรับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามา จึงเกิดการแปลงความเชื่อท้องถิ่นให้เป็นอินเดีย ดั้งเดิมประเพณีลอยกระทงคงทำขึ้นเพื่อขอขมาผีน้ำ ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าผีสถิตอยู่ในธรรมชาติ ร่องรอยการบูชาผีนี้อาจเห็นได้จากประเพณีทางเหนือและของจีนนั่นเอง

 

กระแสสิ่งแวดล้อมนิยม

 

จำได้ว่าสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กระทงมีทั้งทำจากใบตอง โฟม กระดาษตะกั่ว แต่โดยมากเป็นโฟม เพราะราคาถูก สวย สะดวก ลอยน้ำได้ดี แต่ต่อมาสักกลางทศวรรษ 2530 จึงเริ่มรณรงค์ให้ใช้กระทงทำจากใบตองและหยวกกล้วยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้คนพร้อมใจกันทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ แต่ในตอนนั้นก็ยังใช้เข็มกลัดทำจากตะปู ซึ่งคงลืมคิดไปว่ามันก็เป็นอันตราย

 

คำถามคือเพราะเหตุใดคนในสังคมจึงพร้อมใจกันเปลี่ยนแปลง ถ้าย้อนกลับไปในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Movement) ในโลกตะวันตก ซึ่งมีการพูดถึงประเด็นปัญหาโลกร้อน (Global Warming) กันอย่างจริงจังในระดับนานาชาติ เห็นได้ชัดจากเพลง Heal The World ของ Michael Jackson ทั่วโลกรณรงค์ให้เลิกใช้โฟม และสาร CFC เพราะสามารถทำลายชั้นโอโซนได้

 

ในประเทศไทยเองก็ขานรับกระแสดังกล่าว รัฐบาลจึงเริ่มรณรงค์ห้ามการใช้โฟม มีนักวิชาการออกมาอธิบายปัญหาของสารพิษในโฟม สื่อต่างๆ ให้ข้อมูลว่ากว่าโฟมจะสลายตัวก็ร่วมพันปี ก็ยิ่งทำให้คนในสังคมตระหนักถึงภัยร้ายแรงดังกล่าวมากขึ้น เพียงไม่กี่ปี กระทงโฟมก็หายไปจากท้องตลาด เหลือแต่กระทงใบตอง และมีคนหัวใสทำกระทงจากขนมปังกันหลายเจ้า

 

ผมเชื่อว่าคนในสังคมไทยเวลานี้ไม่มีใครใช้โฟมทำกระทงกันอีกแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ กระแสของคนในสังคมทุกวันนี้ก็คือการปฏิเสธกระทั่งการลอยกระทงใบตอง เพราะมองว่าเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเน่าเสีย เราอาจอธิบายได้ว่ากระแสดังกล่าวนี้เป็นสำนึกแบบสิ่งแวดล้อมนิยม แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นผลมาจาก 2 เรื่องหลัก

 

เรื่องแรกคือการเปลี่ยนแปลงความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับประเพณีความเชื่อน้อยลง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้ความรู้สึกที่มีต่อแม่น้ำ ความรู้สึกที่มีต่อเทพเจ้าและผีไม่ได้สำคัญมากเหมือนคนสมัยก่อน ซึ่งไม่ใช่ความผิดอะไร ผู้ใหญ่ไม่ควรต้องกังวล เมื่อความศักดิ์สิทธิ์คลายลง ประเพณีที่ผูกพันกับความเชื่อแบบลอยกระทงก็ผ่อนปรนลงไปด้วย ครั้นจะลอยกระทงเพื่อความสนุกด้วยวิถีทางโลกก็ไม่ใช่เรื่องอีก เพราะถูกบีบด้วยสังคมแบบสิ่งแวดล้อมนิยม

 

เรื่องที่สองคือการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งได้สร้างทางเลือกให้กับการลอยกระทงที่สามารถทำผ่านมือถือได้ แต่ผลที่ตามมาพร้อมกันด้วยก็คือการเสื่อมลงของความศักดิ์สิทธิ์ เพราะสื่อกลาง (Medium) เดิมที่ใช้กันนั้นมีความเป็นรูปธรรม และมีบรรยากาศต่างจากโลกดิจิทัล ลอยกระทงจึงเป็นโลกของของเล่นไปเสีย

 

ผมไม่แน่ใจว่าเราควรลอยกระทงหรือไม่ควรลอยกระทงกัน แต่ลอยกระทงทุกวันนี้เป็นเรื่องระดับรัฐ ไม่ใช่สังคมหมู่บ้านแบบสมัยโบราณ รัฐจึงมีหน้าที่ต้องจัดการกับขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการดำรงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่แน่นอนว่าในอีกด้านหนึ่งในระดับปัจเจก ประชาชนก็ควรต้องทำกระทงจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เพื่อให้ไม่รู้สึกผิดต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องดราม่าด้วยภาพเอไอพระแม่คงคาร้องไห้กับกระทง เพราะผมคิดว่าปัญหาของน้ำเสียในคูคลองของไทยนั้น การลอยกระทงเป็นแค่ปัญหาชั่วคราว แต่การปล่อยน้ำเสียจากบ้านเรือน ร้านค้า และโรงงานลงแม่น้ำนี่สิที่รุนแรงกว่ามาก แต่ที่แน่ๆ งดตะปูกลัดกระทงด้วยนะครับ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

The post เราควรลอยกระทงต่อไปหรือไม่ เมื่อต้องลำบากใจกับสิ่งแวดล้อมนิยม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เมืองโบราณศรีเทพ’ กับวิกฤตที่ต้องเร่งช่วยกันเพื่อความยั่งยืน https://thestandard.co/si-thep-historical-park-3/ Mon, 16 Oct 2023 17:23:19 +0000 https://thestandard.co/?p=855272

หลังจากประชาชนเริ่มทราบข่าวว่าเมืองโบราณศรีเทพได้ประกาศ […]

The post ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ กับวิกฤตที่ต้องเร่งช่วยกันเพื่อความยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากประชาชนเริ่มทราบข่าวว่าเมืองโบราณศรีเทพได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ผู้คนต่างหลั่งไหลไปเยี่ยมชมเมืองโบราณแห่งนี้กันอย่างมหาศาล บางวันเกือบหมื่นคน 

 

ด้านหนึ่งก็นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่คนไทยให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์โบราณคดี แต่อีกด้านหนึ่ง หลังจากที่ผมไปมา 2 ครั้ง คิดว่ามีหลายเรื่องที่ต้องเร่งทำและเป็นข้อน่ากังวล  

 

เรื่องแรก ศรีเทพควรมีพิพิธภัณฑ์ของตนเอง ความจริงแล้วเดิมทีศรีเทพเคยมีอาคารนิทรรศการและจัดแสดงโบราณวัตถุ ซึ่งถือเป็นอาคารที่ดีมาก มีขนาดพอเหมาะ แต่ปัจจุบันเท่าที่สอบถามเจ้าหน้าที่ อาคารดังกล่าวเกิดการชำรุดเสียหายและน้ำฝนรั่วเข้ามาได้ จึงทำให้ต้องปิดอาคารจัดแสดงหลังแรก เหลือเฉพาะอาคารหลังที่สองเท่านั้นที่ตอนนี้มีโปสเตอร์/นิทรรศการอธิบายความสำคัญของศรีเทพ ในระยะใกล้ ไม่ต้องระยะไกลคือการปรับปรุงอาคารหลังเดิมให้สามารถใช้งานได้ก่อน จากนั้นค่อยวางแผนคิดเรื่องการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ใหม่ให้สมกับการได้รับมรดกโลก 

 

ร้านค้าตั้งประชิดติดโบราณสถานมากจนเกินไป 

 

เรื่องที่สอง สำคัญมากคือ โบราณวัตถุและประติมากรรมต่างๆ ของศรีเทพควรนำกลับคืนมาจัดแสดงที่ศรีเทพ เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้คนเดินทางไป และผมเชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างคาดหวังจะได้ดูโบราณวัตถุของแท้ของศรีเทพ ไม่ใช่ดูของจำลอง อีกทั้งข้อเสนอต่อยูเนสโกยังเน้นย้ำเรื่อง ‘สกุลช่างศรีเทพ’ 

 

ดังนั้นการนำเสนอความเป็นของแท้ (Authenticity) จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปัจจุบันประติมากรรมชิ้นสำคัญของศรีเทพกลับไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (กรุงเทพฯ) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ (ลพบุรี)

 

แต่ลำพังเอาโบราณวัตถุของแท้มาตั้งอย่างเดียวนั้นก็ยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจมากกว่าป้ายบอกว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้คืออะไร และที่ต้องมีด้วยคืออุปกรณ์หรือกิจกรรมที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง 

 

ประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าอมิตาภะ (?) และประติมากรรมรูปพระสุริยเทพ พบที่ศรีเทพ

 

เรื่องที่สาม การสื่อความหมายของโบราณสถานแต่ละแห่ง เท่าที่สังเกต อุทยานพยายามติดป้ายต่างๆ ดีแล้ว แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เขาคลังใน มีความเชื่อมโยงกับโบราณสถานที่ใด ทั้งในไทย เช่น ที่คูบัว และในอินเดีย เช่น ที่มหาวิหารนาลันทา ประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระ และสัตว์ต่างๆ นั้นหมายถึงอะไร (เช่น สัมพันธ์กับคติเรื่องป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ) หรือประติมากรรมรูปพระอาทิตย์มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับชุมชนชาวเปอร์เซีย โบราณสถานบางแห่งถ้าหากมีภาพสันนิษฐานรูปแบบดั้งเดิมก็จะดีมากสำหรับคนทั่วไป เพราะถ้าไม่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะก็ยากที่จะจินตนาการได้ง่ายๆ 

 

ประติมากรรมปูนปั้นประดับฐานโบราณสถานเขาคลังใน

 

เมื่อไม่นานมานี้ผมเพิ่งไปที่บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่ามีการจัดการกระบวนการให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวดีมาก นักท่องเที่ยวจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 20 คน จากนั้นจะมีไกด์อธิบาย 1 คน ซึ่งได้รับการเทรนด์มาอย่างดี ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และการเดินภายในบุโรพุทโธก็เป็นไปอย่างเป็นระเบียบ แต่เรื่องนี้เกินกำลังของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ณ ขณะนี้ ทางหนึ่งที่น่าจะช่วยได้คือ ต้องมีการเทรนด์นักเรียนหรือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น เพื่อมาช่วยอธิบาย ผลัดเปลี่ยนกัน มีกระบวนการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ชัดเจน ซึ่งก็จะช่วยทำให้เกิดการสร้างอาชีพและเป็นการฝึกเยาวชนด้านการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน

 

ป้ายข้อมูลถึงจะมีอยู่บ้างแล้ว แต่ควรทำเพิ่มเพื่อสื่อความหมายให้กับนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

 

เรื่องที่สี่ การพัฒนาความสามารถในการรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยว (Tourism Carrying Capacity) นับตั้งแต่ศรีเทพได้เป็นมรดกโลก พบว่าบางวันมีนักท่องเที่ยวมามากถึงเกือบหมื่นหรือกว่าหมื่น จำนวนเท่านี้ถือว่าเกินที่เจ้าหน้าที่อุทยานและภัณฑารักษ์จะรับมือได้ บางครั้งถึงกับนักโบราณคดีต้องมาขับรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวเองก็มี เรื่องนี้หน่วยงานระดับท้องถิ่นและจังหวัดคงต้องเข้ามาช่วยเหลือให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับเรื่องของห้องน้ำที่มีปัญหาไม่เพียงพอ 

 

นอกเหนือไปจากปัญหาข้างต้นแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือโบราณสถาน ซึ่งต้องรองรับกับการเดินของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากหลายพันคนต่อวัน ซึ่งจะส่งผลให้อิฐและศิลาแลงค่อยๆ สึกกร่อน ชำรุดเสียหาย เรื่องนี้ต้องมีกระบวนการการจัดเส้นทางเดินให้ชัดเจนมากขึ้น

 

การจัดการเส้นทางเดินนั้นเป็นเรื่องจำเป็นทั้งต่อนักท่องเที่ยวและการอนุรักษ์โบราณสถาน

 

รื่องที่ห้า การจัดการพื้นที่และการจัดการขยะ เรื่องนี้ทำได้ดีในระดับหนึ่ง พื้นที่ในเขตเมืองในไม่ค่อยได้รับผลกระทบ เพราะร้านค้าอยู่ห่างจากโบราณสถานหลัก แต่กรณีของเขาคลังนอกนั้นถือได้ว่าน่าเป็นห่วง ร้านค้าล้อมรอบในระยะที่ค่อนข้างใกล้กับโบราณสถาน ทำให้เกิดภาพที่ไม่สวยงามนัก ร้านค้าบางส่วนตั้งอยู่ใกล้กับเจดีย์บริวารประจำทิศ รถยนต์บางคันจอดหน้าเจดีย์บริวาร ทำให้บดบังเจดีย์ และบางจุดเริ่มพบขยะ แต่ก็ยังไม่มากนัก เรื่องร้านค้านี้ต้องระวัง เพราะถ้าปล่อยให้อยู่ในพื้นที่นั้นนานเข้า จะเริ่มเกิดการจับจองและยากต่อการโยกย้ายในอนาคต 

การจัดการพื้นที่และขยะนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกรมศิลปากรโดยตรง และภาระงานตอนนี้ก็ดูจะมากเกินไปกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ผมคิดว่าหน่วยงานท้องถิ่นและระดับจังหวัดควรต้องเข้ามาช่วยจัดการจัดระเบียบพื้นที่อย่างจริงจังให้มากขึ้น คิดและวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ร้านค้าตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ควร เช่นเดียวกันกับพื้นที่รอบเมืองศรีเทพ ในอนาคตจะเต็มไปด้วยบ้านเรือน โรงแรม และร้านอาหาร เรื่องนี้จังหวัดเพชรบูรณ์ต้องเร่งคิดเรื่องปัญหาเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของเมืองในระยะยาว

 

 

ผมเข้าใจดีว่าภายใต้สถานการณ์ที่ศรีเทพได้เป็นมรดกโลกนี้อาจจะกะทันหันไปเสียหน่อย ทำให้แต่ละฝ่ายเตรียมความพร้อมกันไม่ทัน อีกทั้งยังอยู่ในช่วงรอยต่อทางการเมืองอีกด้วย จึงทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่สายไป หน่วยงานต่างๆ ต้องทำงานกันอย่างเป็นบูรณาการ บางเรื่องเกินกำลังและหน้าที่ของกรมศิลปากร หน่วยงานท้องถิ่นและจังหวัดก็ควรต้องเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและจัดการอย่างจริงจัง เพราะการได้เป็นแหล่งมรดกโลกนั้นต้องคิดแผนระยะยาวเพื่อรับมือกับการท่องเที่ยว พร้อมกับพัฒนาให้ศรีเทพเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน

The post ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ กับวิกฤตที่ต้องเร่งช่วยกันเพื่อความยั่งยืน appeared first on THE STANDARD.

]]>
6 เหตุผลที่ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ได้มรดกโลก (ตอนที่ 2) https://thestandard.co/si-thep-historical-park-2/ Tue, 19 Sep 2023 07:30:03 +0000 https://thestandard.co/?p=843096 เมืองโบราณศรีเทพ

ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเมืองโบราณศรีเทพที่จังหวัดเ […]

The post 6 เหตุผลที่ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ได้มรดกโลก (ตอนที่ 2) appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมืองโบราณศรีเทพ

ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเมืองโบราณศรีเทพที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเหตุผลหลายประการที่ศรีเทพสมควรได้เป็นมรดกโลก ซึ่งคณะกรรมการที่ร่างข้อเสนอไปนั้นได้ให้เห็นผล 3 ประการหลัก และเป็นที่ยอมรับจากยูเนสโก แต่ในที่นี้ผมขอเสนอความเห็นของผมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

 

ข้อที่ 1 เมืองศรีเทพมีการเลือกตั้งถิ่นฐานอย่างชาญฉลาด ซึ่งสะท้อนความเข้าใจระบบน้ำและพื้นที่ของที่ราบลุ่มป่าสัก ดังนั้น จึงมีการขุดคูเมืองขนาดใหญ่ อีกทั้งมีการสร้างคันดินบังคับน้ำทางด้านเหนือและตะวันออกของเมืองอีกด้วย อีกทั้งยังตั้งเมืองอยู่ในพื้นที่ระหว่างที่ราบภาคกลางและที่ราบสูงโคราช ทำให้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้า ในความเห็นผมแล้วคิดว่าไม่เพียงเท่านั้น แม่น้ำป่าสักยังเป็นเส้นทางการค้าระหว่างลุ่มน้ำโขงกับป่าสัก สอดคล้องกับชุมชนโบราณทวารวดีในเขตภูเรือและวังสะพุง 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ข้อที่ 2 ศรีเทพมีระบบการจัดการน้ำเพื่อให้เหมาะกับการอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่แห้งแล้ง ดังนั้น ถ้าหากไปเมืองศรีเทพจะพบว่าในเขตเมืองในเต็มไปด้วยสระน้ำ หรือบารายขนาดเล็กใหญ่จำนวนประมาณ 70 สระ ส่วนเมืองนอกมีทั้งหมดประมาณ 30 แห่ง รวมถึงยังมีสระน้ำใหญ่เล็กนอกคูเมืองอีก การปรับตัวเข้ากับความแห้งแล้งนี้เองที่ทำให้เกิดการตั้งข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุที่เมืองศรีเทพถูกทิ้งร้างไปอาจเกิดจากภัยแล้งที่รุนแรง (Megadroughts) ที่เกิดขึ้นหลัง ค.ศ. 1300 อย่างไรก็ตาม น่าแปลกใจว่าเมืองแห่งนี้กลับไม่พบร่องรอยงานก่อสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ค.ศ. 1181-1218) ดังนั้น อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก่อนหน้ารัชกาลนี้ จนทำให้เกิดการทิ้งร้างเมืองศรีเทพไป ซึ่งน่าจะมีการวิจัยกันในอนาคต 

 

ข้อที่ 3 เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและศาสนาที่หลากหลาย ประกอบไปด้วยโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดีกำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 ได้แก่ เขาคลังใน เขาคลังนอก และโบราณสถานขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้สะท้อนศาสนาพุทธเถรวาทและมหายาน 

 

ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ยกกองทัพมาตีเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเข้ายึดได้ราว พ.ศ. 1568 เป็นไปได้ว่ามีการยกกองทัพขึ้นมายังเมืองศรีเทพ ทำให้เมืองแห่งนี้เกิดการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเขมรขึ้น ได้แก่ ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์กู่ฤๅษี โดยมีการรื้ออิฐเก่าของวัดสมัยทวารวดีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างอาคารด้วย 

 

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ในยุคต้นๆ ของเมืองศรีเทพมีลัทธิการนับถือพระสุริยเทพ หรือ ลัทธิเสารยะ ซึ่งพระสุริยเทพแห่งเมืองศรีเทพนี้ถือว่าเจอมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมด 8 องค์ มีบางองค์ที่ทราบตำแหน่งชัดเจน เช่น มีองค์หนึ่งพบในทางเดิน/อาคารรูปกากบาทหน้าปรางค์สองพี่น้อง แสดงถึงการนับถือสืบเนื่องจากสมัยต้นๆ จนถึงในช่วงวัฒนธรรมเขมร 

 

ข้อที่ 4 มีงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นสกุลช่างเฉพาะ ดังที่ศาสตราจารย์ฌอง บัวเซลิเยร์ (Jean Boisselie) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสให้ความเห็นว่า ศิลปะของเมืองโบราณศรีเทพมีความโดดเด่นแตกต่างจากศิลปะประติมากรรมเขมรโบราณอย่างสิ้นเชิง 

 

ข้อคิดเห็นของ ฌอง บัวเซลิเยร์ นั้น สังเกตได้จากพระพุทธรูปและเทวรูปหลายองค์ที่ยืนในลักษณะ ‘ตริภังค์’ คือการเอียงสามส่วน สังเกตได้ชัดจากการยืนเอียงให้สะโพกเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งถือเป็นสุนทรียศาสตร์ความงามที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยเฉพาะพระวิษณุศรีเทพที่มีลักษณะการยืนเอียงคล้ายกันกับพระวิษณุที่โบราณสถานในเมืองมามัลลปุรัม (มหาพลีปุรัม) และสวมหมวกทรงกระบอก (กิรีฏมงกุฎ) ความคล้ายคลึงของศิลปะนี้เองที่ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมจึงพบการใช้ตัวอักษรปัลลวะและภาษาสันสกฤตที่เมืองศรีเทพ และเป็นไปได้ว่ามีพวกพราหมณ์จากอินเดียใต้มาอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ด้วย 

 

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเทวรูปพระสุริยเทพดังที่กล่าวไปแล้วที่มีใบหน้า (พระพักตร์) ที่เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนหน้าตาแบบคนเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งการค้าเป็นชุมชนในอินเดียใต้สมัยโบราณ สอดคล้องกับการขุดพบเครื่องถ้วยสีเขียวแบบเปอร์เซีย (Basra ware) ที่เมืองศรีเทพ 

 

ภาพวาดเทพเจ้าในศาสนาพุทธตามแนวคิดแบบมัณฑละ มีอายุในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Mandala

 

ข้อที่ 5 ขาคลังนอกสะท้อนระบบความเชื่อมณฑลจักรวาล หรือ ‘มัณฑละ’ (Mandala) อย่างชัดเจน ความเชื่อนี้มีรากมาจากพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ ซึ่งเชื่อว่าอาณาจักรของพระพุทธเจ้าหรือเทพทางพุทธประทับอยู่ในพระราชวังหรือวิมานบนเขาพระสุเมรุ ลักษณะของพระราชวังนี้มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ในแต่ละทิศมีเทพองค์รองคอยพิทักษ์ ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นได้ชัดว่าแผนผังของเขาคลังนอกมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมยกเก็จ เรียงซ้อนชั้นกันขึ้นไปเหมือนภูเขา ยอดสุดเป็นสถูปขนาดใหญ่ มีเจดีย์บริวารทั้งสี่มุม ทั้งหมดนี้แทนสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่มีทวีปทั้งสี่ล้อมรอบ นอกจากนี้แล้ว ยังมีเจดีย์บริวาร 3 องค์ในแต่ละด้านที่ด้านหน้าทางเข้าทั้งสี่ทิศ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลักตรีกาย (นิรมาณกาย สัมโภคกาย ธรรมกาย)

 

ต่อมาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งอาจราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ทางขึ้นทางทิศเหนือ ใต้ และตะวันออกถูกปิด ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาทางโครงสร้าง แต่น่าจะเป็นเหตุผลจากการเข้ามาของลัทธิอมิตาภะ (Amitabha Cult) ที่เชื่อว่าดินแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะอยู่ทางทิศตะวันตก ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 2551 จึงมีการค้นพบพระพุทธรูปประทับยืนองค์หนึ่งติดกับฐานของสถูปทางด้านทิศตะวันตก คำถามคือดินแดนของสุขาวดีอยู่ที่ไหน ดินแดนนั้นอาจอยู่ที่เขาถมอรัตน์ 

 

เขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองศรีเทพ

 

ข้อที่ 6 มีเขาถมอรัตน์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมือง เมื่อขึ้นไปบนเขาคลังนอกแล้วมองไปทางทิศตะวันตกจะเห็นเขาถมอรัตน์อย่างชัดเจน (ต้นไม้บังในบางมุม) ดังนั้น จึงอาจเป็นดินแดนสุขาวดี บนยอดเขาแห่งนี้มีถ้ำ ซึ่งสลักพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์เมตไตรย (ศรีอาริย์) ดังนั้น พระพุทธรูปดังกล่าวนี้จึงอาจเป็นพระอมิตาภะ เพราะมีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นบริวารที่จะนำสรรพสัตว์ข้ามสังสารวัฏ

 

การจัดวางโบราณสถานต่างๆ ของเมืองศรีเทพนี้เหมือนจะให้ความสำคัญกับเขาถมอรัตน์เป็นพิเศษ เห็นได้จากปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้องล้วนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาถมอรัตน์ และยังมีปรางค์ฤๅษีที่อยู่ในแกนทิศตะวันตก-ตะวันออก แม้จะไม่ตรงกับเขาคลังนอกร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ทำให้เห็นแนวคิดเรื่องแผนผังจักรวาล 

 

ดังนั้น เมืองศรีเทพจึงเป็นเมืองที่สะท้อนถึงแนวคิดของคนโบราณที่ให้ความสำคัญกับภูมิวัฒนธรรม (Cultural Landscape) และทำให้เมืองศรีเทพกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Space) ที่คนที่อยู่อาศัยเปรียบเสมือนกับอยู่ในเมืองของเทพ 

The post 6 เหตุผลที่ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ได้มรดกโลก (ตอนที่ 2) appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศรีเทพ เขาศักดิ์สิทธิ์ ด็อกเตอร์สเตรนจ์ และมณฑลจักรวาล (ตอนที่ 1) https://thestandard.co/si-thep-historical-park/ Sat, 16 Sep 2023 02:54:13 +0000 https://thestandard.co/?p=842247 เมืองโบราณศรีเทพ

พื้นที่แห่งใดที่ได้เป็นมรดกโลกมักส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้น […]

The post ศรีเทพ เขาศักดิ์สิทธิ์ ด็อกเตอร์สเตรนจ์ และมณฑลจักรวาล (ตอนที่ 1) appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมืองโบราณศรีเทพ

พื้นที่แห่งใดที่ได้เป็นมรดกโลกมักส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่นั้นๆ ดีขึ้นอย่างชัดเจน เพราะทำให้คนรู้จักกันทั่วโลก ข้อสรุปนี้มาจากงานวิจัยหลายชิ้น เชื่อว่าเมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทยคงจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น 

 

ในขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยทวารวดี-ก่อนทวารวดี รวมถึงเขมร จะมีผู้คนค้นคว้าศึกษากันมากขึ้น อาจมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นเรื่องปกติ ต้องไม่หวงห้าม เพราะจะได้เปิดโอกาสให้คนได้คิดและจินตนาการ 

 

คำถามสำคัญตอนนี้คือ ทำไมศรีเทพถึงได้เป็นเมืองสำคัญในสมัยโบราณ 

 

ถ้าหากจำภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ มีตัวแสดงคนหนึ่งที่มีบทบาทพอสมควรคือ ‘พระศรีถมอรัตน์’ (ต่อมาแต่งตั้งเป็นพระยาศรีไสยณรงค์) ชื่อนี้สำคัญ เพราะสะท้อนว่าในความทรงจำของราชสำนักอยุธยาที่ยังคงจดจำเขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 600-700 ปีก่อนสมัยสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเชื่อมโยงกับเมืองโบราณศรีเทพในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อในคติศาสนาพุทธมหายาน

 

เขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองศรีเทพ 

 

ภาพพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า ที่สลักภายในถ้ำ (อ้างอิง: ยุทธนา ผิวขม แอดมินเพจ FaithThaiStory)

เขาถมอรัตน์เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (Cultural Landscape) ของเมืองศรีเทพ ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเมือง เนื่องจากบนยอดเขามีถ้ำขนาดเล็ก แต่สลักภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย และพระพุทธเจ้า (อาจมีพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์ด้วย) สะท้อนคติความเชื่อในศาสนาพุทธมหายาน เห็นได้จากการนับถือพระโพธิสัตว์ ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าจะเป็นผู้ที่ช่วยพาสัตว์ทั้งหลายข้ามสังสารวัฏ และยังอาจเกี่ยวข้องกับลัทธิตันตระที่เชื่อในเรื่องความลี้ลับ ถ้ำบนยอดเขาจึงอาจตอบสนองต่อความเชื่อนี้

 

รูปแบบศิลปะของพระโพธิสัตว์ในถ้ำบนเขาถมอรัตน์นี้คล้ายกับพระโพธิสัตว์สำริดกลุ่มประโคนชัยที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ เทียบศิลปะได้กับศิลปะไพรกเมง-กำพงพระของกัมพูชา จึงกำหนดอายุแคบๆ ว่า พระโพธิสัตว์และพระพุทธรูปที่เขาถมอรัตน์นี้คงสลักเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14

 

เขาคลังนอก มหาสถูปที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธมหายาน

 

เขาถมอรัตน์เชื่อมโยงกับโบราณสถานแห่งหนึ่งที่สำคัญในเมืองศรีเทพคือเขาคลังนอก ซึ่งถือเป็นมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในไทยในโลกยุคโบราณ คือมีขนาดฐาน 60×60 เมตร (ถ้าไม่นับรวมพระปฐมเจดีย์ที่ไม่ทราบขนาดแน่นอน) ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เขาคลังนอกคล้ายกับโบราณสถานในแถบอินเดียใต้ที่ชอบตกแต่งฐานด้วยซุ้มบัญชรทรงสูงขนาดเล็ก เทียบได้กับศิลปะเกรละ (Kerala) บางคนให้ความเห็นว่าอาจได้แรงบันดาลใจจากศิลปะจาลุกยะ (Chalukya) ด้วยเช่นกัน 

 

เทวสถานในศิลปะเกรละ อินเดียใต้ (อ้างอิง: https://twitter.com/templefable/status/947720947183763456)

 

แต่ถ้าเทียบกันแล้วก็จะเห็นได้ว่ามีข้อต่างอยู่อย่างหนึ่ง เพราะเขาคลังนอกไม่ได้ยกอินเดียใต้มาทั้งดุ้น แต่เป็นการผสมกันระหว่างศิลปะอินเดียใต้คือส่วนฐาน กับอินเดียเหนือจากราชวงศ์ปาละในส่วนยอดที่เป็นเจดีย์ ดูเผินๆ คล้ายกับมหาสถูปบุโรพุทโธบนเกาะชวา แต่ย่อมกว่ามาก 

 

การผสมผสานศิลปะเช่นนี้ เขาคลังนอกจึงสะท้อนให้เราเห็นถึงเครือข่ายการค้าและศาสนาในช่วงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14 หรืออาจราว พ.ศ. 1300-1400 หลังจากนั้นอาจมีการต่อเติมและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของศาสนา 

 

เขาคลังนอกเปรียบได้กับพีระมิดจริงหรือ ความจริงแล้วอาจเปรียบเทียบได้ในเชิงรูปทรงที่ก่อเป็นชั้นฐานขึ้นไป แต่ถ้ามองจากแนวคิดในการสร้างแล้วถือว่าคนละเรื่อง เพราะเขาคลังนอกสร้างขึ้นจากแนวคิดเขาพระสุเมรุผสมกับมณฑลจักรวาล 

 

ในภาพยนตร์ของ Marvel เรื่อง Doctor Strange พระเอกของเรามือหักเพราะขับรถโดยประมาท จนต้องดั้นด้นหาวิธีรักษาถึงเนปาล จนได้เจอกับ Ancient One สุดท้ายได้รับวิชามา และสามารถสร้างโล่สีส้มๆ ของจอมเวทได้เวลาต้องต่อสู้กับศัตรู โล่นี้เรียกว่า ‘Tao Mandala’ ซึ่งลัทธิเต๋าแบบ Marvel นั้นก็ปนๆ กันกับศาสนาพุทธมหายานลัทธิตันตระ 

 

 

มัณฑละของด็อกเตอร์สเตรนจ์ (อ้างอิง: https://marvelcinematicuniverse.fandom.com/wiki/Tao_Mandalas)

 

ไม่ว่าด็อกเตอร์สเตรนจ์จะมีความเข้าใจต่อมัณฑละอย่างไร แต่โดยทั่วไปแล้ว มัณฑละ (Mandala) หรือมณฑลจักรวาลตามความเชื่อของศาสนาพุทธมหายานนั้น พัฒนาขึ้นมาจากการวาดยันต์ (Yantra) ต่อมาเชื่อว่ายันต์ดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์อันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า จึงทำให้ยันต์เกิดความซับซ้อนขึ้นและกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์ 

 

มัณฑละอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้านี้จึงเริ่มวาดให้กลายเป็นพระราชวัง ซึ่งปกติจะมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้า 4 ด้านหันไปทิศทั้งสี่ หรือมุมของโลกทั้งสี่ ซึ่งจะช่วยปกป้องไม่ให้สิ่งชั่วร้ายหรือปีศาจเข้ามา และเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ แผนผังของมัณฑละนี้อาจดูได้จากในศิลปะทิเบต ที่บางครั้งมองอย่างเร็วๆ จะเห็นได้ว่าคล้ายกับแผนผังของเขาคลังนอก

 

เหตุผลที่เขาคลังนอกต้องก่อฐานสูงขึ้นไปเป็นชั้นๆ นั้น เพราะเขาคลังนอกคือการจำลองเรือนฐานันดรสูงของพระเจ้า จึงเต็มไปด้วยซุ้มบัญชรมากมาย และสามารถตีความได้เช่นกันว่า การก่อสร้างเขาคลังนอกนั้นต้องการให้เกิดความรู้สึกว่าเขาคลังนอกคือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คือเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือเป็นแกนกลางของโลกและจักรวาล ซึ่งเป็นที่อยู่ของทวยเทพ ซุ้มบัญชรคือตัวแทนบ้านของพระเจ้าที่สถิตอยู่ตามเขาพระสุเมรุนั่นเอง 

 

แผนผังมัณฑละมีหลากหลายรูปแบบ แต่มีระบบระเบียบทำเป็นรูปทรงเรขาคณิต ปกติแล้วพื้นที่รอบนอกของมัณฑละจะทำเป็นวงแหวนไฟ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่างและปัญญา เมื่อพ้นวงแหวนเข้าไปมักจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน ซึ่งบริเวณนี้ถือเป็นพระราชวังหรือวิมานของเทพและพระพุทธเจ้า มีการวาดรูปเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ แทรกเข้าไป เช่น ดอกบัว หมายถึงปัญญาหรือการสั่งสอน และ เพชร / วัชระ หมายถึงจิตใจอันบริสุทธิ์ ระหว่างที่พระสงฆ์วาดภาพของมณฑลจักรวาลนี้ เช่น ในทิเบต ปกติแล้วจะต้องมีการทำพิธีกรรม สวดมนต์และคาถาเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่วาดจะได้รับพลังที่สถิตเข้ามาภายในกาย 

 

ภาพวาดเทพเจ้าในศาสนาพุทธตามแนวคิดแบบมัณฑละ มีอายุในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Mandala

 

เมื่อเปลี่ยนจากแผนผังมัณฑละตามความเชื่อมาสู่การสร้างศาสนสถานบนภูมิศาสตร์ตามจริงแล้ว ก็คงไม่สามารถสร้างมัณฑละอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง แต่เห็นชัดว่าเขาคลังนอกมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปรียบได้กับวิมานหรือพระราชวังของเทพเจ้าหรือพระพุทธเจ้าในคติมหายาน 

 

ฐานของอาคารทำเป็นฐานยกขึ้นไป 2 ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยซุ้มบัญชร ด้านบนทำเป็นลานรูปสี่เหลี่ยม เดิมทีมีระเบียงคดล้อมรอบเจดีย์ ยังเห็นรอยหลุมเสาใช้สำหรับเดินประทักษิณ (บูชาเจดีย์) 

 

ถัดไปจากตัวเขาคลังนอกที่เป็นฐานขนาดใหญ่พบว่าในแต่ละด้านมีการสร้างเจดีย์ขนาดเล็ก 3 องค์ สะท้อนแนวคิดเรื่องแผนผังจักรวาลได้เป็นอย่างดี เจดีย์ทั้ง 3 องค์นี้อาจเป็นตัวแทนของโลกทั้งสาม หรือความเชื่อเรื่องตรีกายของมหายาน ได้แก่ ธรรมกาย (พระธรรม) สัมโภคกาย (กายทิพย์ของพระพุทธเจ้า) และนิรมาณกาย (ขันธ์ 5)  

 

1 ใน 3 เจดีย์ขนาดเล็กที่เรียงออกไปจากเขาคลังนอก

 

เมื่อขึ้นไปบนลานประทักษิณของเขาคลังนอกแล้วมองไปทางทิศตะวันตกจะมองเห็นเขาถมอรัตน์ตั้งสูงเด่น ในขณะที่ทางทิศใต้จะเป็นตำแหน่งของเขาคลังใน การวางแผนผังให้โบราณสถานแต่ละแห่งอยู่ในแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก แกนทิศเหนือ-ใต้ จึงเป็นความจงใจเพื่อสร้างแผนผังจักรวาลนั่นเอง ทำให้พื้นที่ทั้งเมืองศรีเทพกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างใหญ่มหาศาล 

 

อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เขาคลังนอกถูกปรับปรุงดัดแปลงด้วยการปิดทางเข้า 3 ด้าน คือ ประตูทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ขึ้นได้ทางเดียวคือทิศตะวันตก ซึ่งก็คือทิศเดียวกับที่เป็นที่ตั้งเขาถมอรัตน์ เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธนิกายสุขาวดี

 

นิกายสุขาวดีเป็นนิกายที่ได้รับความนิยมในจีน โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) นับถือพระพุทธเจ้าอมิตาภะ (1 ใน 5 พระพุทธเจ้าสำคัญของมหายาน) เชื่อว่าดินแดนของพระองค์อยู่ทางทิศตะวันตก เมื่อใครก็ตามตายจะไปเกิดใหม่ยังดินแดนสุขาวดี (Pure Land Sukhavati) เพียงแค่คนคนนั้นท่องชื่อพระอมิตาภะเท่านั้น ไม่แปลกที่นิกายนี้มีโอกาสจะมาจากจีน เนื่องจากที่เมืองศรีเทพมีการพบพระพิมพ์ดินเผา 2 องค์ที่มีจารึกด้านหลังเป็นภาษาจีนว่า ‘ภิกขุเหวินเซียง’ อยู่ด้วย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ดังนั้นในครั้งหนึ่งศรีเทพคงเป็นที่จาริกแสวงบุญสำคัญ

 

พระพุทธรูปปางแสดงธรรมสองพระหัตถ์ พบจากเขาคลังนอก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี (อ้างอิง: กรมศิลปากร, 2551) 

 

จากการขุดค้นทางโบราณคดีได้พบพระพุทธรูปทำปางแสดงธรรมสองพระหัตถ์ (วิตรรกมุทรา) แบบที่นิยมกันในศิลปะทวารวดี โดยพบอยู่ติดกับฐานของเจดีย์และอยู่ในทิศตะวันตก จึงทำให้เคยมีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าปางแบบนี้เป็นปางตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ เนื่องจาก พิริยะ ไกรฤกษ์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะอาวุโส เคยเสนอว่า พระพุทธรูปที่ทำปางคล้ายกันนี้พบในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์สุย อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ เชษฐ์ ติงสัญชลี นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ได้เสนอว่า พระพุทธรูปวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์แบบนี้คงได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอมราวดี-อนุราธปุระ (อินเดียใต้-ศรีลังกา) เสียมากกว่า 

 

ไม่ว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะเป็นพระอมิตาภะหรือไม่ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่เขาคลังนอกในสมัยหลังให้ความสำคัญกับทิศตะวันตกเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นดินแดนของพระอมิตาภะ เมื่อพิจารณาภาพสลักบนยอดเขาถมอรัตน์แล้วจะพบว่าประกอบด้วยรูปพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระศรีอริยเมตไตรย (อาจมีพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์ด้วย) ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าพระพุทธเจ้านี้คงเป็นพระอมิตาภะ ในขณะที่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรถือเป็นผู้ช่วยของพระอมิตาภะ 

 

ส่วนพระศรีอริยเมตไตรยนั้น ความจริงแล้วก็เป็นผู้ที่สถิตยังดินแดนอันบริสุทธิ์ (Pure Land of Maitreya) เช่นกัน แต่เมื่อนิกายสุขาวดีได้รับความนิยมมากขึ้นในจีน จึงทำให้นิกายของพระศรีอริยเมตไตรยถูกวิพากษ์วิจารณ์ เพราะพระองค์ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่แท้จริง ต่างจากพระอมิตาภะที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าคนจะไม่นับถือพระองค์ เพราะก็ยังหวังพึ่งพาโลกในอนาคตที่พระองค์จะกลายเป็นพระพุทธเจ้า นี่อาจเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมภาพสลักบนเขาถมอรัตน์จึงมีพระศรีอริยเมตไตรยอยู่ด้วย 

 

อาจสรุปได้ว่า เขาคลังนอกเป็นเสมือนสถานที่จาริกแสวงบุญที่คนโบราณเดินประทักษิณรอบพระสถูปเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า แต่ในขณะเดียวกันก็สวดภาวนาว่าถ้าหากตนตายจะได้ไปอยู่ยังดินแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ หรือไปอยู่ยังดินแดนอันบริสุทธิ์ของพระศรีอาริย์ด้วยไปพร้อมกัน ความหมายเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่วางผังให้ศรีเทพกลายเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ในยุคหนึ่งคงดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมายังเมืองแห่งนี้ในฐานะศูนย์กลางของศาสนาพุทธมหายานที่สำคัญเป็นแน่ 

 

อ้างอิง:

  • Choe Yeonshik. “The Cult of the Pure Land of Maitreya in Paekche and Silla in the Three Kingdoms Period,” Journal of Korean Religions. Vol. 6, No. 1, pp. 13-36.
  • Mahayana Buddhism To Mandala. Available at: http://what-when-how.com/buddhism/mahayana-buddhism-to-mandala/
  • Pure Land Buddhism. Available at: https://en.wikipedia.org/wiki/Pure_Land_Buddhism
  • กรมศิลปากร. รายงานการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังนอก บ้านสระปรือ ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี, 2551. 
  • เชษฐ์ ติงสัญชลี. การวิเคราะห์การแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544. 
  • พิริยะ ไกรฤกษ์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528.
  • อนุรักษ์ ดีพิมาย. โบราณสถานเขาคลังนอก: ลำดับอายุสมัยและแนวคิดในการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.

The post ศรีเทพ เขาศักดิ์สิทธิ์ ด็อกเตอร์สเตรนจ์ และมณฑลจักรวาล (ตอนที่ 1) appeared first on THE STANDARD.

]]>
สีทองแห่งศรัทธา ความย่อยยับของพระพุทธรูปโบราณ https://thestandard.co/opinion-the-golden-faith/ Sat, 26 Aug 2023 02:30:57 +0000 https://thestandard.co/?p=833856

กว่า 6 ปีแล้วที่สีทองแห่งศรัทธาได้ระบาดไปทั่วประเทศ พระ […]

The post สีทองแห่งศรัทธา ความย่อยยับของพระพุทธรูปโบราณ appeared first on THE STANDARD.

]]>

กว่า 6 ปีแล้วที่สีทองแห่งศรัทธาได้ระบาดไปทั่วประเทศ พระพุทธรูป วิหารอุโบสถหลายแห่งถูกทาด้วยสีทองสังเคราะห์สมัยใหม่ ในมุมมองของผู้ศรัทธานั้น นี่คือความสวยงามและการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดีกว่าปล่อยให้เสื่อมโทรม แต่ในมุมมองของนักอนุรักษ์แล้วนี่คือการทำลายพระพุทธรูปและอาคารเก่า ซึ่งตอนนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ชัดเป็นรูปธรรมแล้วในหลายวัดหลายอารามด้วยกัน

 

ทำไมพระพุทธรูปต้องสีทอง? ผมคิดว่าเราควรเริ่มต้นจากคำถามนี้ก่อน ซึ่งเป็นเหตุจูงใจให้พระพุทธรูปต้องเป็นสีทอง เรื่องนี้สามารถเข้าใจได้จากความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วยลักษณะของมหาบุรุษ เรียกกันว่า ‘มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ’ โดยใน พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ได้พรรณนาไว้ว่า พระฉวี (ผิว) ของพระพุทธเจ้ามีสีเหลืองงาม “ดังสีทองทั่วทั้งพระกาย ครุวนาดุจรูปทองทั้งแท่ง อันนี้จัดเป็นพระมหาบุรุษลักษณะคำรบ 11” 

 

อย่างไรก็ดี ซุนยิงกัง (Sun Yinggang) เสนอว่า ผิวกายสีทองของพระพุทธเจ้าที่อธิบายในมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการนี้อาจมีที่มาจากคัมภีร์ของนิกายมหายานในสมัยคันธาระ เพื่อยกย่องความยิ่งใหญ่และเหนือมนุษย์ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ ผิวกายสีทองของพระพุทธเจ้าอาจเกี่ยวข้องกับปรัชญาในระดับลึกอีกด้วย ฟิลลิส กรานอฟฟ์ (Phyllis Granoff) เสนอว่า ผิวกายสีทองเป็นสัญลักษณ์แทนสวรรค์ สุขภาพ และทรัพย์สมบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้บูชารู้สึกเปี่ยมไปด้วยความสุข ในขณะที่ชาวพุทธในทิเบตเชื่อว่าการปิดทองคำให้กับพระพุทธรูปนั้นจะทำให้เมื่อเกิดใหม่ในชาติหน้ามีผิวพรรณผุดผ่องราวกับทองคำ และบางกรณีจะทำให้เกิดเป็นเศรษฐีที่ร่ำรวยอีกด้วย 

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

 


 

ภายใต้ความเชื่อเช่นนี้เองที่ทำให้การปิดทองคำเปลวบนองค์พระพุทธรูปกลายเป็นประเพณีสำคัญแพร่กระจายในทุกประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ บ้างอาจปิดทองทั้งองค์ บ้างปิดทองแค่บางส่วน และนี่อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยสำริดหรือทองเหลือง กระทั่งทองคำ 

 

แต่ทั้งการปิดทองคำเปลวและการสร้างด้วยสำริดต่างมีราคาแพงมาก ถ้าไม่ใช่เศรษฐีหรือกษัตริย์ก็ยากที่จะทำได้โดยง่าย สถานการณ์ดังกล่าวไม่ต่างจากในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งผมเคยเดินสำรวจพระพุทธรูปที่ระเบียงคดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร บังเอิญได้พบกับช่างที่กำลังปิดทองคำเปลวพระพุทธรูป จึงทำให้ผมทราบราคาว่าพระพุทธรูปประทับนั่งความสูงราว 80 เซนติเมตร มีค่าใช้จ่ายในการปิดทองราว 1 แสนบาท! 

 

ด้วยเงื่อนไขเรื่องราคาที่แสนแพงนี้เอง ผู้ที่ศรัทธาและพระสงฆ์ก็คงไม่สามารถปิดทองคำเปลวพระพุทธรูปได้ตามตั้งใจ ในขณะที่สีทองที่มาจากการสังเคราะห์จึงกลายเป็นคำตอบของเรื่องนี้ เพราะกระป๋องหนึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,000-3,000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพสี แถมกระป๋องเดียวยังทาพระพุทธรูปได้หลายองค์อีกด้วย 

 

ในเมื่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสวนทางกับศรัทธาจึงทำให้สีทองเข้ามามีบทบาทเช่นนี้ 

 

อะไรคือปัญหาของสีทองวิทยาศาสตร์? 

 

สีทองสังเคราะห์แตกต่างไปจากทองคำเปลว เนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมัน ทำให้เมื่อทาลงไปยังพระพุทธรูปโดยเฉพาะที่ทำจากหิน สีน้ำมันจะเคลือบผิวและปิดรูพรุนของหินหมด ทำให้ความชื้นจากบรรยากาศและที่ซึมขึ้นมาจากพื้นไม่สามารถผ่านออกไปได้อีก ความชื้นนี้เองที่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้หินทรายหรือปูนเสื่อมสภาพ 

 

โดยปกติแล้วกระบวนการเกิดหินทรายขึ้นมาประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ การระเหยไปของน้ำและความชื้น (Evaporation) กระบวนการบีบอัด (Compaction) และกระบวนการเชื่อมประสาน (Cementation) ซึ่งมีแร่ธาตุสำคัญคือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่มาจากหินปูน หินอ่อน เปลือกหอย หรือกระดูก ซึ่งน้ำสามารถทำให้แคลเซียมคาร์บอเนตสลายตัว

 

เมื่อเป็นเช่นนั้น หินทรายจะค่อยๆ แตกออกจากกัน คืนสภาพกลับกลายเป็นทราย เช่นเดียวกับปูนโบราณที่ใช้ฉาบผนังและเชื่อมอิฐก็จะสลายตัวลงจากความชื้นที่สะสม 

 

ผลที่ตามมาจากการทาสีทองจึงทำให้พระพุทธรูปหลายวัด โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทรายศิลปะเขมรและอยุธยาเกิดการแตกสลายและผุพังเพราะปิดกั้นความชื้น เมื่อกักอยู่ภายในองค์พระนานๆ ปริมาณน้ำก็จะมากขึ้น ทำให้เป็นตัวทำละลายแคลเซียมคาร์บอเนต 

 

ปรากฏการณ์นี้จะเห็นมากในกลุ่มของพระพุทธรูปหินทรายในสมัยก่อนอยุธยา (อโยธยา) และอยุธยาที่นิยมใช้หินทรายสีแดง ซึ่งเป็นหินทรายเนื้ออ่อนที่ง่ายต่อการสลายตัวอย่างมาก เนื่องจากเกิดขึ้นจากแรงบีบอัดที่ไม่มากและมีแร่เหล็ก (Hematite) เป็นองค์ประกอบ จึงทำให้ง่ายต่อการสลายตัวเข้าไปอีก พระพุทธรูปแบบนี้นิยมทำกันมากในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคตะวันตกของไทยแถบจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ซึ่งมีแหล่งที่มาของหินทรายจากบริเวณอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 

 

ต่างจากการปิดทองแบบโบราณที่ใช้ยางรักเคลือบบนพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งยางรักเป็นสารอินทรีย์จึงมีคุณสมบัติคลายความชื้นได้ เช่นเดียวกับการปิดทองที่เป็นทองคำเปลวก็มีคุณสมบัติยอมให้น้ำผ่านได้ตามรอยต่อของแผ่นดินและรูพรุน 

 

กรณีของพระพุทธรูปในวัดที่มีการแชร์ในโลกโซเชียลกันมากคือกรณีของวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ซึ่งผมเคยไปดูเมื่อ 4 ปีก่อน ตอนนั้นสภาพก็เริ่มผุพังและเสื่อมไปมาก มาเห็นภาพอีกครั้งในโลกโซเชียลแล้วก็ยิ่งใจหาย เพราะเสื่อมสภาพมากขึ้นไปอีก จนเศียรพระบางรูปหลุดออกมา บ้างหินทรายผุพัง คงเหลือเฉพาะสีทองที่เคลือบเป็นเปลือกอยู่ภายนอก

 

พระพุทธรูปที่วัดแจงร้อนเกิดการเสื่อมสภาพจากการทาสีทอง

 

พระพุทธรูปที่วัดแจงร้อนเกิดการเสื่อมสภาพจากการทาสีทอง

 

วัดบางแห่งตอนนี้เรียกร้องให้กรมศิลปากรและองค์กรต่างๆ เข้าช่วยเหลือเพื่อลอกสีทองออก เพราะไม่มีงบประมาณมากพอจะแก้ไขด้วยการลอกสี ซึ่งการลอกสีนี้ดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ยาก เพราะต้องค่อยๆ ลอก ไม่เช่นนั้นผิวหินจะหลุด แต่ที่สำคัญคือการเอาสีน้ำมันออกจากรูพรุนของหินนี่สิครับที่เป็นเรื่องยากมาก บางคนบอกว่าเป็นราคาที่วัดต้องจ่ายและจัดการเอง ซึ่งความจริงก็ควรเป็นเช่นนั้น ยิ่งวัดที่มีเงินทำบุญมากๆ ก็ควรต้องออกงบประมาณเอง ไม่ควรเรียกร้องงบจากหน่วยงานไหน ควรเรียกร้องเพียงให้มีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาหรือสาธิตให้ดูเสียมากกว่า 

 

ส่วนวัดที่ทำด้วยความไม่รู้และไม่มีงบ เรื่องนี้อาจต้องพึ่งพาคนทั่วไปหรือชุมชนให้ความช่วยเหลือ แต่ชุมชนจะมาช่วยก็นับเป็นเรื่องยาก เพราะในปัจจุบันวัดหลายแห่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งและยึดโยงกับชุมชนมานานแล้ว คงต้องให้หน่วยงานรัฐที่พอมีกำลังเข้าไปช่วยเหลือ

 

เรื่องทาสีทองนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงแค่เรื่องการทำลายพระพุทธรูปหรืออุโบสถวิหารอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พูดอีกแบบคือทำไปโดยขาดความรู้ มีแต่ศรัทธาเท่านั้น หากแต่มีความเกี่ยวพันกับปัญหาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมด้วย แม้กรมศิลปากรจะจัดอบรมให้ความรู้กับพระสงฆ์ หรือเรียกว่าสังฆาธิการ หรือการอบรมเจ้าอาวาสให้มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์มาโดยตลอด 

 

แต่ปัญหาซ้ำซากนี้ก็เกิดขึ้นเสมอ เพราะไม่ได้มีเพียงพระเท่านั้นที่ขาดความรู้ แต่ญาติโยมผู้ศรัทธาที่ขาดความรู้ และในโลกอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดีย นับว่ามีอิทธิพลอย่างมากที่ทำให้สีทองนี้แพร่หลายในกลุ่มญาติโยม เพราะพวกเขาจะเห็นแต่คนที่ไปทำบุญด้วยการทาสีทอง ไม่ได้เห็นถึงปัญหา ซึ่งก็นับว่าน่าเห็นใจเป็นอย่างมาก แทนที่จะได้บุญแต่กลับเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว 

 

ทางแก้เบื้องต้นคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเผยแพร่ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ให้มากขึ้น ติดป้ายตามวัดและโบราณสถานห้ามไม่ให้ทาสีทองหรือใช้สีน้ำมัน หรือกระทั่งประกาศและลงโทษอย่างจริงจังเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว หรือคุยกับบริษัทสีให้ตระหนักถึงปัญหา เพื่อให้ทำฉลากติดคำเตือนข้างกระป๋องสี

The post สีทองแห่งศรัทธา ความย่อยยับของพระพุทธรูปโบราณ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูกายแก้ว วิกฤตการเมืองและสังคมไทย https://thestandard.co/kru-kai-kaew-thai-political-and-social-crisis/ Tue, 15 Aug 2023 12:54:28 +0000 https://thestandard.co/?p=829676 ครูกายแก้ว

ทุกครั้งที่สังคมไทยเผชิญกับวิกฤตทางสังคม การเมือง และเศ […]

The post ครูกายแก้ว วิกฤตการเมืองและสังคมไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครูกายแก้ว

ทุกครั้งที่สังคมไทยเผชิญกับวิกฤตทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ มักจะปรากฏการบูชาภูตผีปีศาจหรือเทพเจ้าที่ทรงอิทธิฤทธิ์แทบจะทุกครั้ง 

 

‘ครูกายแก้ว’ เป็นใครมาจากไหนไม่มีใครทราบ 

 

ตามประวัติเชิงตำนานเล่ากันว่า มีพระธุดงค์จากลำปางไปนั่งสมาธิที่ปราสาทนครวัด นครธม กัมพูชา และได้ครูกายแก้วมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นครูของศาสตร์และศิลป์ทั้งปวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากนั้นได้มอบให้ลูกศิษย์มีชื่อว่า พ่อหวิน เป็นอดีตทหารกองดุริยางค์ทหารในสมัยก่อน

 


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


 

จากนั้นมีอาจารย์ท่านหนึ่งได้รับมอบครูกายแก้วต่อมาอีกที ซึ่งครูกายแก้วได้ปรากฏกายให้เห็น ท่านจึงได้หล่อเป็นองค์สำริดยืน คล้ายคนแก่ มีลักษณะเป็นผู้บำเพ็ญเพียร มีปีกด้านหลัง กึ่งมนุษย์กึ่งนก มีเขี้ยวทอง รูปลักษณ์ของครูกายแก้วนี้ได้อ้างอิงว่ามาจากภาพสลักบนกำแพงปราสาทบายน 

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ย่อมสวนทางกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โอภาส จริยพฤติ หรือ ไกด์โอ พาเที่ยว ได้ให้ความเห็นว่า ที่ปราสาทบายนไม่มีภาพสลักของครูกายแก้ว แต่ภาพสลักที่คล้ายกับครูกายแก้วนั้นอยู่ที่ระเบียงคดปราสาทนครวัดด้านทิศเหนือฝั่งตะวันออก และครูของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ไม่ใช่ครูกายแก้ว ภาพที่คล้ายกับครูกายแก้วนั้นคือ ‘ท้าวพาณอสูร’ ซึ่งได้ไปเข้าเฝ้าขอความอนุเคราะห์ต่อพระศิวะที่ประทับที่เขาไกรลาส

 

ถ้าวิเคราะห์กันในเชิงเรื่องเล่าไม่ต้องสนใจข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เราจะเห็นกระบวนการที่ทำให้รูปเคารพสักองค์หนึ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาผ่านเรื่องเล่าในเชิงลี้ลับ แบบเดียวกับไอ้ไข่ แบบเดียวกับจตุคามรามเทพ และที่เสริมให้ครูกายแก้วศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไปนั้นจะเห็นได้ว่ามาจากพื้นที่ที่ในสำนึกของคนไทยแล้วเชื่อว่าเต็มไปด้วยเวทมนตร์คาถาของขลังคือ เขมร ทั้งๆ ที่ถ้าหากคุณได้รู้จักเขมรในทางวัฒนธรรมจะพบว่า คนเขมรไม่ได้คลั่งเครื่องรางของขลังแบบที่ไทยเป็นเลย 

 

นอกจากนี้แล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ของครูกายแก้วยังเพิ่มขึ้นผ่านกระบวนการส่งต่อจากอาจารย์ที่เป็นทหาร ซึ่งสังคมไทยมักมองเป็นอำนาจพิเศษชนิดหนึ่ง และส่งต่อมายังมือของจอมขมังเวทย์อีกทอดหนึ่งด้วย 

 

แต่ความน่าสนใจของปรากฏการณ์ครูกายแก้วนี้ ผมคิดว่ามีความคล้ายคลึงกันมากกับปรากฏการณ์ของการบูชาภูตผีปีศาจและเทพเจ้าของไทยในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา 

 

จตุคามรามเทพได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2550 หลังเหตุการณ์รัฐประหารปี 2549 ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้าของเศรษฐกิจไทยถูกถอดถอน ดังนั้น สังคมจึงรู้สึกสั่นไหวกับเรื่องนี้ ส่งผลทำให้จตุคามแทบทุกรุ่นมีชื่อรุ่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่งร่ำรวย 

 

ราวปี 2559 ได้เกิดปรากฏการณ์ร่างทรงขึ้น ปรากฏการณ์นี้เป็นผลพวงมาจากการรัฐประหารปี 2557 ที่ทำให้สังคมรู้สึกถึงความสั่นคลอนไม่มั่นคง และยังทำให้ขาดความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจอีกด้วย ปรากฏการณ์ร่างทรงนี้ค่อยๆ ซาลงในกระแสโซเชียลมีเดีย แต่ยังคงมีและบูมอีกครั้งในช่วงสั้นๆ เมื่อปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมกำลังเผชิญปัญหาและตั้งคำถามกับรัฐบาล คสช. ในเรื่องของการคอร์รัปชัน รวมถึงตำรวจ และพระสงฆ์ที่เป็นข่าวในทางเสื่อมเสีย ซึ่งอย่างหลังนี้ทำให้สังคมขาดที่พึ่งทางใจ ดังนั้น จึงหวังพึ่งพาอำนาจผี บรรพกษัตริย์ และเทพฮินดูที่มีอำนาจและสามารถบันดาลอำนาจคุ้มครองและความร่ำรวยให้ได้

 

ในแง่เศรษฐกิจ เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ได้เกิดปรากฏการณ์ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขนาบซ้ำเติมด้วยปัญหาโควิดที่ยิ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำมากขึ้นไปอีก ซึ่งทั้งหมดนี้นำมาซึ่งความรู้สึกไม่มั่นคงในการใช้ชีวิต ร้อยละร้อยที่ไปไหว้ไอ้ไข่จึงหวังความร่ำรวย ที่น่าสนใจด้วยคือ เครื่องแบบที่ไอ้ไข่ชอบนั้นคือเครื่องแบบทหาร ซึ่งสะท้อนถึงสำนึกในเรื่องอำนาจนิยมในสังคมไทยที่ทหารก่อสำนึกอำนาจนิยมนี้ลงในสังคมกระทั่งในผีเด็ก

 

หรือล่าสุดคือ ปรากฏการณ์ท้าวเวสสุวรรณที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการบูชาเพื่อหวังในเรื่องความร่ำรวย แม้ว่าคนจำนวนมากจะไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วท้าวเวสสุวรรณเป็นใครก็ตาม เพราะรูปลักษณ์คล้ายกับยักษ์วัดแจ้งมากกว่าจะคล้ายกับท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งแบบดั้งเดิมที่มีรูปกายอ้วนแสดงความอุดมสมบูรณ์ ประดับพร้อมกับหม้อเงินหม้อทองก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องประติมานวิทยานั่นไม่ใช่สิ่งที่เรื่องสำคัญมาก ตราบใดที่อำนาจของเทพหรือยักษ์สามารถบันดาลให้ร่ำรวยได้ ซึ่งพระพุทธรูปไม่สามารถเป็นที่พึ่งในลักษณะดังกล่าว

 

เช่นเดียวกันกับเทพและผีองค์อื่นๆ ปรากฏการณ์ครูกายแก้วนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่ไม่มีใครแน่ใจว่าทิศทางของบ้านเมืองจะเดินไปทางไหน การเมืองในระดับสถาบันก็มีความอึมครึม และเศรษฐกิจของไทยที่อาจไม่ได้ดีจริงตามที่เห็น ผู้คนจึงแห่กันไปบูชาครูกายแก้วเพื่อหวัง ‘การเงิน การงาน และโชคลาภ’ อำนาจของครูกายแก้วนี้ดูจะมีจุดร่วมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผ่านมาอีกประการหนึ่งคือ เป็นอำนาจที่ยึดโยงตนเองเข้ากับอำนาจของกษัตริย์โบราณ ซึ่งคือแหล่งของอำนาจที่ทั้งน่าใกล้ชิดและร้อนดังดวงตะวัน 

 

ถ้าครูกายแก้วจะเป็นผีป่าก็จะวิ่งมาสิงเมืองดังเช่นที่หลายท่านกล่าวถึงกัน แต่คำถามคืออะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ผีป่าวิ่งเข้าสิงเมืองได้ง่ายดายเช่นนี้มาร่วมเกือบสองทศวรรษแล้ว ผีตัวจริงจึงอาจไม่ใช่ครูกายแก้วอย่างที่คิดครับ

The post ครูกายแก้ว วิกฤตการเมืองและสังคมไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูลังกาถิ่นชาวเย้า (อิ้วเมี่ยน) จากสุนัขมังกรสู่การเดินทางไกล https://thestandard.co/phu-lang-ka-yao-people/ Sat, 22 Jul 2023 02:39:39 +0000 https://thestandard.co/?p=820419 ภูลังกา

พักเรื่องการเมืองแล้วมาอ่านอะไรอย่างอื่นกันบ้างแล้วกันค […]

The post ภูลังกาถิ่นชาวเย้า (อิ้วเมี่ยน) จากสุนัขมังกรสู่การเดินทางไกล appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูลังกา

พักเรื่องการเมืองแล้วมาอ่านอะไรอย่างอื่นกันบ้างแล้วกันครับ ช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยได้เขียนคอลัมน์ใน THE STANDARD สักเท่าไร เพราะมัวแต่ยุ่งกับงานวิจัยและงานสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ได้ทุนมาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และทางป่าใหญ่ ครีเอชั่น เป็นผู้ผลิต หนึ่งในเรื่องที่ทำมีเรื่องชาวเย้า หรืออิ้วเมี่ยน ที่ภูลังกา จังหวัดพะเยา 

 

ผมเลือกที่นี่ ไม่ใช่เพราะกาแฟอร่อย บรรยากาศดี แต่เป็นเพราะประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวเย้านี้มีความยาวนานร่วมพันปี ดังนั้นจึงเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า และเชื่อได้เลยว่าภายใต้บรรยากาศการเมืองไทยแบบนี้ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ด้วยวาทกรรม การที่เด็กเรียนรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์นั้นจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยทำให้รู้สึกถึงการประเมินเรื่องเล่าต่างๆ 

 

บรรยากาศของภูลังกายามหน้าฝน

 

แรกเริ่มเข้ามาแดนสยาม

ชาวเย้าเป็นชาวเขากลุ่มหนึ่ง อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาไทยเกิน 140 ปีแล้ว แต่รัฐไทยมักสร้างมายาคติว่าชาวเขาเป็นผู้อพยพเข้ามาใหม่ จึงมีปัญหาเรื่องสัญชาติจนทุกวันนี้ เพราะเหมารวมไม่จำแนกแยกแยะ เอกสารเก่าสุดเท่าที่สืบค้นได้ว่าชาวเย้าที่ภูลังกาเข้ามาในชายพระราชอาณาเขตของสยามตั้งแต่เมื่อไรนั้น ปรากฏในเอกสารจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังเมื่อ ร.ศ. 103 หรือ ค.ศ. 1884 / พ.ศ. 2427 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ส่งรายงานจากเมืองหลวงพระบาง ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ทางการสยามและเมืองน่านรับทราบว่าได้มีชาวเย้าอพยพเข้ามาใกล้กับชายแดน ความว่า 

 

“…เรื่องฮ่อเข้ามาแอบแฝงผลายเขตรแดนนี้ใช่จะมีแต่ที่เมืองหลวงพระบาง มีผู้เล่าว่าเดิมทีเมืองน่านก็มีฮ่อจำพวกหนึ่งเรียกว่า ฮ่อเย้าหยิน เข้ามาแอบแฝงอยู่ปลายแดนเหนือเมืองเชียงของ แต่เมืองน่านไม่ตกใจ เกลี้ยกล่อมไว้เปนพลเมืองแบ่งน้ำให้กิน แบ่งถิ่นให้อยู่ เป็นสุขแล้ว เก็บเอาส่วยม้าทุกปีก็เรียบร้อยมาจนทุกวันนี้…” (ร.5 ม/ 62 ข่าวทางเมืองหลวงพระบาง) ข้อมูลนี้ค้นโดย ดร.สุชล มัลลิกะมาลย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสนใจเรื่องชาวเย้าเป็นอย่างมาก 

 

ชาวเย้าจากตระกูลแซ่ต่างๆ ในงานมหกรรมวัฒนธรรมอิ้วเมี่ยนโลก

 

ใจความความสำคัญของเอกสารชั้นต้นข้างต้นนี้คือ ใน พ.ศ. 2427 ทางการสยามรับทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่ามีชาวเย้าอพยพเข้ามาในพื้นที่หลวงพระบางและน่าน ดังนั้นพวกเขาจึงเข้ามาก่อนหน้า พ.ศ. 2427 อีกเรื่องที่สำคัญ ในสายตาของทางการสยามแล้วถือว่าชาวเย้าเป็นพลเมือง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวเย้าเสียส่วยอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี  

มีเรื่องที่ต้องรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับชื่อเรียกทางชาติพันธุ์ (Ethnonym) คือชื่อ ‘ฮ่อเย้าหยิน’ นี้มี 3 คำ 

 

คำแรก ‘ฮ่อ’ นี้เป็นชื่อที่คนล้านนาและสยามเรียกกลุ่มคนจีนที่อยู่แถบยูนนาน บางครั้งเรียก ‘จีนฮ่อ’ รวมกันก็มี ความเข้าใจว่าเย้าเป็นฮ่อนั้น คงเป็นเพราะมีลักษณะวัฒนธรรมที่ดูคล้ายกับคนจีน

 

คำว่า ‘เย้า’ เป็นชื่อเรียกเฉพาะ ตัวจีน 瑤 นี้ก็มีความหมายว่า สวยงาม หรือเป็นหยกอันสูงค่า เรื่องนี้คงเกี่ยวข้องกับตำนานอันเป็นที่มาชื่อที่ได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิในตำนาน ดังนั้นเราจึงสามารถเรียกชาวเย้าว่าเย้าได้ ไม่ใช่คำดูหมิ่น 

 

คำสุดท้ายคือคำว่า ‘หยิน’ นี้มาจากคำว่า ‘เหริน’ (人) ในภาษาจีนแปลว่า ‘คน’ 

 

อย่างไรก็ดี คำเรียกว่า ‘เย้า’ ก็ยังเป็นชื่อที่จีนสมัยโบราณตั้งให้ ไม่ใช่ชื่อที่ตนเองเรียกตั้งแต่ดั้งเดิม ถ้าคิดและอธิบายแบบจิตร ภูมิศักดิ์ ปราชญ์ทางภาษาและประวัติศาสตร์ เหตุที่ชาวเย้าเรียกตนเองว่า ‘เมี่ยน’ หรือ ‘อิ้วเมี่ยน’ ก็เพื่อแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการต่อสู้อย่างหนึ่ง พบได้ทั่วไปหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่มักนิยามชื่อเรียกของตนเองว่า ‘คน’ เช่น คำว่า ‘ไท’ ก็แปลว่า ‘คน’ ก่อนจะผันผวนไปเป็นความหมายอื่นๆ 

 

สุนัขมังกร

ชาวเย้ามาจากไหน ในตำนานของชาวเย้าที่บันทึกไว้ในหนังสือเดินทางที่มีชื่อเรียกว่า ‘เกีย เซ็น ป๊อง’ ซึ่งถือเป็นหนังสือเดินทางคล้ายพาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก โดยจักรพรรดิจีนพระราชทานให้ เล่าว่า พระเจ้าผิงหวางฮ่องเต้ในสมัยราชวงศ์โจวทรงพิโรธพระเจ้าเกาอ๋องผู้เป็นกษัตริย์ต่างเมือง จึงทรงดำริที่จะกำจัดเสีย เหล่าขุนนางก็พากันปรึกษาว่าจะหาผู้ใดไปจัดการ ขณะนั้นเองสุนัขมังกรที่ชื่อว่า ‘ผันหู’ ก็พลันกระโดดออกมาจากทางด้านซ้ายของท้องพระโรง ถวายบังคมว่า ข้า (สุนัขมังกร) จะเป็นผู้จัดการเอง เมื่อพระเจ้าผิงหวางทรงได้ฟังดังนั้นก็ดีพระทัย จึงมอบสุนัขมังกรไปปราบ 

 

เกีย เซ็น ป๊อง หนังสือเดินทางที่ยาวที่สุดในโลก

 

เมื่อปราบได้แล้ว ผันหูจึงทูลขอนางในที่เปรียบเป็นเจ้าฟ้าหญิงเพื่อแต่งงานด้วย ด้วยความดีความชอบ พระเจ้าผิงหวางฮ่องเต้จึงได้จัดงานแต่งงานให้ เมื่องานแต่งแล้วเสร็จ ด้วยความรู้สึกละอายพระทัยที่เจ้าหญิงต้องแต่งงานกับสุนัขมังกร พระเจ้าผิงหวางฮ่องเต้จึงทรงมีรับสั่งให้ผันหูและนางในเดินทางไปอยู่ภูเขาค่อยจี (บางฉบับว่าภูเขาจีซาน) แต่พระองค์ก็มีความเมตตา ด้วยจัดให้มีสาวใช้สอง 2 คนทำหน้าที่ตัดฟืน หาบน้ำ นำเงิน และทำอาหารไปให้ทุกเดือน 

ต่อมาผันหูและเจ้าฟ้าหญิงมีลูกกัน 6 คน พระเจ้าผิงหวางฮ่องเต้จึงตั้งแซ่ให้ 6 แซ่ รวมถึงเนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นกำเนิดมาจากสุนัขมังกรและครรภ์มนุษย์ จึงถือว่าเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่ จึงอนุญาตให้เรียกว่า ‘คนเย้า’ (瑤人) นอกจากนี้พระองค์ทรงให้ทั้ง 6 คนแต่งงานกับครอบครัวอื่น และให้บุตรสาวของทั้ง 6 คนแต่งบุตรเขยเข้าเรือน ทั้งนี้เพื่อให้สืบตระกูลได้ 12 แซ่ ทุกวันนี้ชาวเย้าจึงมีทั้งหมด 12 ตระกูลแซ่ 

 

ภาพวาดต้นม้วนกระดาษ จะเห็นภาพของสุนัขมังกรอยู่ใกล้กับจักรพรรดิ

 

แต่แล้วผันหูได้ตายลงจากการต่อสู้กับกวาง บุตรชายและบุตรสาวต่างร้องไห้เสียใจและช่วยกันแบกศพกลับบ้าน โดยใช้เสื้อ ผ้าเช็ดหน้า กางเกง และกระโปรงที่มีลายดอกไม้ปกปิดเรือนร่าง แล้วบรรจุลงในโลงไม้ จากนั้นพระเจ้าผิงหวางฮ่องเต้ทรงอนุญาตให้ลูกหลานทั้ง 12 ตระกูลไม่ต้องถูกเกณฑ์ทหาร และมีประกาศไปทั่วสารทิศว่าให้ทั้ง 12 ตระกูลนี้ทำหน้าที่ดูแลภูเขา และเมื่อใดที่ประชากรเพิ่มมากขึ้นจนไร้ที่ทำกินแล้ว ก็อนุญาตให้ลูกหลานเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเลือกที่ทำกินได้ ในระหว่างเดินทางไม่ต้องคารวะผู้อื่น ข้ามแพไม่ต้องจ่ายเงิน เข้าพบขุนนางไม่ต้องคุกเข่า และเพาะปลูกบนภูเขาไม่ต้องเสียภาษี 

 

เชื่อกันว่า ‘เกีย เซ็น ป๊อง’ เป็นพระราชสาส์นพระเจ้าผิงหวางใช้ป้องกันตัวสำหรับการเดินทางข้ามภูเขา โดยคัดลอกใหม่ในสมัยฮ่องเต้เจิ้งจุง อาจตรงกับจักรพรรดิชิงเชิ่งจู่ (ค.ศ. 1661-1722) มีการคัดลอกคล้ายกันอยู่ 3 ฉบับ โดยเกีย เซ็น ป๊องฉบับนี้ชาวเย้าในประเทศไทยได้นำติดตัวมาจากประเทศจีน โดยบันทึกอยู่บนกระดาษสาที่นำมาต่อกันเป็นแผ่นยาว เขียนด้วยพู่กันและหมึกจีนสีดำ ปัจจุบันมีการทำสำเนาอีกฉบับไว้ที่อาจารย์แคะเว่น ศรีสมบัติ ที่ภูลังกา

 

แต่นอกเหนือจากการบันทึกตำนานลงในรูปของตัวอักษรแล้ว ที่โดดเด่นคือชาวเย้ายังได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ในลวดลายผ้าอีกด้วย ถ้าหากไปที่บ้านของชาวเย้า เหนือประตูเข้าบ้านจะมีผ้าชิ้นหนึ่งปักเป็นลาย ‘ล่มเจ่ว’ ซึ่งแปลว่า อุ้งเท้าสุนัขมังกร ทั้งนี้เพื่อใช้สำหรับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ที่ผ้าโพกศีรษะของผู้หญิงจะมีการปักลายล่มเจ่วไว้ด้วยเช่นกัน และที่กางเกงของผู้หญิงชาวเย้า ซึ่งปักผ้าลวดลายสวยสดงดงามเป็นอย่างมาก จะมีลวดลายที่มีความหมายเล่าสืบย้อนฉายภาพประวัติศาสตร์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นลายหยิวที่แปลว่า ถนน หมายถึงการเดินทาง, ลายเหยี๊ยว ทำเป็นรูปคล้ายฟันเลื่อย ถือว่าเป็นรั้วที่ใช้ป้องกันศัตรู และลายรูปคนที่เรียกว่า ‘ซม’ หมายถึงทหารที่มาปกป้องผู้คน ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มนั้น ข้อมูลจากประวัติศาสตร์บอกเล่าและลวดลายผ้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย 

 

 

ฝิ่น และผู้นำการอพยพ

เชื่อกันว่าชาวเย้ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่มณฑลหูหนาน ปรากฏตัวในหน้าประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ 2,000 ปีที่แล้ว แต่แล้วในจีนได้เกิดปัญหาทางการเมืองขึ้น กองกำลังชาวจีนได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ ‘ไท่ผิงเทียนกั๋ว’ เมื่อ พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1850) เพื่อต่อต้านพวกแมนจู สุดท้าย พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) พวกกบฏไท่ผิงถูกปราบปราม ทำให้หนีลงมาทางใต้ซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่างๆ ของจีน ทั้งในมณฑลยูนนาน ฝูเจี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน หูหนาน และส่วนหนึ่งหลบหนีมายังตังเกี๋ย ปัญหาทางการเมืองที่วุ่นวายทางใต้นี้เองที่ทำให้ชาวเย้าและชาวเขาอีกหลายๆ กลุ่มต้องการหาพื้นที่ที่สงบและทำมาหากินได้สะดวก 

 

ชาวเย้าที่เชียงราย ภาพถ่ายราว ค.ศ. 1900-1910
ภาพ: Album Siam et Laos

 

ในเวลานั้น ‘ต่าง จั่น ควร’ (หรือจั่นก๊วน) ผู้นำชาวเย้า จึงได้นำญาติพี่น้องและบริวารออกเดินทางลงมาทางใต้ เรื่องดังกล่าวนี้ วนัช พฤกษะศรี และคณะ ได้เก็บข้อมูลการเดินทางเข้ามาในเขตประเทศไทยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ฟุจ้อย ศรีสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1938) ในที่นี้ผมขอเคาะย่อหน้าใหม่และทำให้อ่านง่ายขึ้นด้วยการเติมหัวข้อสถานที่การเดินทางเข้าไป เรื่องเล่าดังกล่าวเล่าว่า  

 

[เริ่มอพยพจากจีน] “พวกเย้าเคยอยู่ที่เมืองนามกิ๋ง ซึ่งเป็นเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ทะเลในประเทศจีน ต่อมาเมืองนี้ได้เสียแก่ข้าศึก ซึ่งเขาว่าคงจะเป็นพวกจีนพวกเย้าจึงอพยพมาอยู่แถวเมืองล่อขางฉวน [สุชล – ไม่สามารถระบุได้] จากเมืองนี้ก็ได้อพยพมาอยู่ที่มณฑลกวางซี จากนั้นเข้ามาอยู่ในมณฑลยูนนาน

 

[เข้าสู่เวียดนาม] จากยูนนานได้อพยพเข้ามาอยู่ที่เมืองไหลเมืองแทง [สุชล – เมืองไล เมืองแถง/เดียนเบียนฟู] เขาว่าพวกเย้ามาอยู่ที่นั่นนาน 5 ปี เมืองนี้อยู่ระหว่างประเทศจีนกับประเทศลาว

 

เจ้าเมืองไหลเมืองแทงได้เกณฑ์พวกเย้าไปรบกับพวกกวางตุ้ง ซึ่งปรากฏว่า พวกเมืองไหลฯ เป็นฝ่ายชนะ แต่แทนที่พวกเย้าจะได้รับความดีในการช่วยรบ กลับถูกพวก “เจ้านาย” ขึ้นไปเก็บเงินกันมากจนพวกเย้าได้รับความเดือดร้อนทนไม่ได้ จึงได้อพยพตามคำแนะนำของหัวหน้าเย้า

 

[เข้าสู่ พื้นที่ สปป. ลาว ปัจจุบัน] นายจั่นก๊วน แซ่เติ๋น พากันมาอยู่ที่เมืองง่อย [สุชล – เมืองงอย ใน สปป. ลาว] อยู่ที่นี่ไม่นานก็อพยพเข้าไปอพยพเข้าไปอยู่ใกล้เมืองฮุน บริเวณต้นแม่น้ำแมง [สุชล – ต้นแม่น้ำเบง] อยู่ที่นั่นนาน 12 ปี นายจั๋นก๊วนหัวหน้านำการอพยพก็ได้รับการแต่งตั้งจากทางการของประเทศลาวให้เป็นเพี้ยหลวง (เท่ากับตำแหน่งกำนัน) มีหน้าที่ปกครองดูแลพวกเย้าและแม้วในบริเวณนั้น

 

ชาวเย้ามารับเสด็จรัชกาลที่ 7 ถ่ายภาพที่จังหวัดเชียงใหม่

ภาพ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

[เข้าสู่ น่าน-สยาม] ต่อมาปรากฏว่าไม่มีที่ทำไร่ปลูกข้าวเพียงพอเพราะตามเชิงเขามีแต่ป่าเหล่าซึ่งเป็นไร่เท่าของพวกขมุที่เคยอยู่ในบริเวณนั้นมาก่อนและได้ละทิ้งไปก่อนที่พวกเย้าจะเข้ามาอยู่ ส่วนที่บนดอยนั้นปลูกได้แต่ฝิ่นและสมัยนั้นยังราคาไม่ดี เมื่อมีพี่ปลูกข้าวไม่เพียงพอ นายจั่นก๊วนจึงได้นำพวกเย้าอพยพออกจากบริเวณเมืองฮุนเข้ามาอยู่ที่ดอยปูแว [สุชล – ภูแว] ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอและ (อ.ทุ่งช้างปัจจุบัน) จังหวัดน่าน ที่ดอยปูแว นายจั่นก๊วน [ชื่อภาษาเมี่ยนของพญาคีรี] ก็ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าเมืองน่าน (เจ้าราชวงศ์) ให้เป็นพญาคีรีศรีสมบัติ

 

ต่อมาเห็นว่าที่ดอยวาวมีป่าอยู่มากและอุดมสมบูรณ์กว่าดอยปูแว จึงได้ขออนุญาตเจ้าเมืองน่านย้ายหมู่บ้านไปตั้งอยู่ที่ดอยน้ำวาวและอยู่นานถึง 13 ปีก็หมดที่ทำกิน จึงได้ย้ายมาอยู่บริเวณดอยผาช้างน้อย ที่ต่อมาทางการได้ใช้ชื่อนี้เป็นชื่อของตำบลผาช้างน้อย ขณะนั้นอยู่ในอาณาเขตจังหวัดน่าน พวกเย้าอยู่ที่นั่นได้ 7 ปี ได้รับความเดือดร้อนล้มตายประมาณ 40 คน เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ (พวกเย้าและแม้วเรียกโรคภัยไข้เจ็บทุกประเภทว่า พยาธิ)

 

[ถึงภูลังกา] ดังนั้นจึงได้ย้ายหมู่บ้านมาอยู่ที่บ้านภูลังกาในปัจจุบันและสืบมาจนทุกวันนี้โดยไม่ได้ย้ายหมู่บ้านไปที่อื่นเกือบ 30 ปี [สุชล – ตรวจสอบข้อมูลอื่นได้ 40 ปี] อย่างไรก็ดี นายฟุจ๋อย [สุชล – ฟุจ้อย] ซึ่งเป็นผู้เล่าประวัติเรื่องนี้ได้แจ้งว่าบริเวณบ้านภูลังกานี้ เมื่อพวกเย้าเข้ามาตั้งหมู่บ้านนั้น เคยเป็นที่ตั้งหมู่บ้านของพวกแม้วมาก่อน แต่อพยพไปที่อื่น สำหรับบริเวณบ้าน-ภูลังกาจึงกล่าวได้ว่าพวกเย้าเข้ามาตั้งหมู่บ้านอยู่ติดต่อกันมาได้ประมาณ 40 ปี…”

 

สาเหตุที่ทางการสยามต้อนรับชาวเย้านั้นเป็นเพราะชาวเขาเป็นกลุ่มที่มีความชำนาญด้านการปลูกฝิ่น ด้วยเหตุนี้จึงออกประกาศเชิญชวนให้ชาวเขาเข้ามาปลูกฝิ่น เพราะฝิ่นในเวลานั้นยังถูกกฎหมาย และเป็นที่ต้องการของตลาดจีนและตลาดโลกเป็นอย่างมาก 

 

ในบันทึกการเดินทางของเจมส์ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล) ในช่วงที่สำรวจทำแผนที่ในเขต สปป.ลาวและภาคเหนือ ได้เล่าว่า ชาวเย้าเข้ามาปลูกฝิ่นในเขตหลวงพระบางอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2424 เป็นอย่างช้า และพบได้ทั่วไปในเขตน่าน ให้หลังไม่กี่ปี ในหลักฐานอื่นระบุว่าใน พ.ศ. 2455 เชียงราย น่าน และเด่นชัย เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นหลัก ภูลังกาที่เวลานั้นขึ้นอยู่กับเมืองน่านมีพื้นที่ปลูกฝิ่น 750 ไร่ ได้ฝิ่นดิบ 75,000 ตำลึง (สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์, 2522) รายได้จากการค้าฝิ่นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นรายได้อันดับต้นๆ ของสยาม จนในบางแง่มุมก็อาจกล่าวได้ว่าชาวเขาคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสยามนั่นเอง 

 

 

ชาวเย้าที่มารับเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ คนตรงกลางคือ พญาคีรีศรีสมบัติ และด้านข้างคาดผ้าขาวคือ นายฟุจ้อย (หลายชาย) (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

 

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ทุกครั้งที่เจ้านายองค์สำคัญๆ เดินทางยังภาคเหนือ ชาวเย้าคือกลุ่มคนที่มีหน้าที่ต้องมาต้อนรับและรายงานตัวด้วย ที่สำคัญมีอยู่ 2 ครั้งด้วยกันคือ ครั้งแรก การตรวจราชการสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จตรวจราชการภาคเหนือ ใน พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และครั้งที่สอง การตรวจราชการโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) ซึ่งครั้งที่สองนี้น่าสนใจ เนื่องจากได้มีการระบุในภาพถ่ายเก่าว่า “พญาคีรี (พญาเย้า) เข้าเฝ้าที่ประทับแรม” 

 

พญาคีรีศรีสมบัติ และลูกชาย (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

 

ภาพหลังนี้ผมไปพบในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และส่งต่อให้กับ ดร.สุชล มัลลิกะมาลย์ ซึ่งได้ส่งต่อให้กับตระกูลศรีสมบัติที่บ้านใหม่ปางค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา ซึ่งนำไปสู่ความรู้สึกดีใจอย่างมากของคนในชุมชน เพราะไม่มีใครในหมู่บ้านที่ได้เคยเห็นกันมาก่อน ทุกอย่างเป็นเพียงเรื่องเล่า ฟังดูคล้ายตำนาน แต่ภาพถ่ายของพญาคีรีทำให้คนในหมู่บ้านรู้สึกถึงการมีตัวตนและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานของตน 

 

เรื่องของชาวเย้าเป็นเพียงหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายกลุ่มที่ล้วนมีประวัติศาสตร์ของตนเอง แต่พื้นที่ของประวัติศาสตร์ชาติกลับไม่ให้ความสนใจมากนัก กลับเน้นเฉพาะเรื่องราวของคนไทย/ไท ทั้งๆ ที่ประเทศนี้เป็นประชารัฐที่พลเมืองทุกคนล้วนแต่มีสิทธิมีเสียง แต่ด้วยวิธีคิดเชิงเดี่ยวแบบนี้เองที่ทำให้แม้กระทั่งประวัติศาสตร์ยังถูกผูกขาดด้วยอำนาจ

 

อ้างอิง:

  • พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. การสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ “ชาวเขา” ในสังคมไทย ระหว่างทศวรรษ 2420 ถึง 2520. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
  • วนัช พฤกษะศรี และคณะ. ดงภูผา: บันทึกการสำรวจหมู่บ้านชาวเขา จ.เชียงใหม่-เชียงราย-พะเยา พ.ศ.2504-2505. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยชาวเขา, 2538.
  • สุชล มัลลิกะมาลย์. การทบทวนความเข้าใจในเรือนพื้นถิ่น “ชาวเขา” ในประเทศไทยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาเรือนชาวเมี่ยนในเขตหุบเขาภูลังกา. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2563.
  • สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์.  ภาษีฝิ่นกับนโยบายด้านการคลังของรัฐบาลไทย พ.ศ.2367-2468.  วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.

The post ภูลังกาถิ่นชาวเย้า (อิ้วเมี่ยน) จากสุนัขมังกรสู่การเดินทางไกล appeared first on THE STANDARD.

]]>