ธนาพร ตั้งเจริญมั่นคง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 23 Nov 2019 09:26:03 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ https://thestandard.co/lots-of-life-home/ Sat, 23 Nov 2019 09:26:03 +0000 https://thestandard.co/?p=306775 กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

วันหยุด ลมหนาว ปลายปี    สามองค์ประกอบนี้ รวม […]

The post กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

วันหยุด ลมหนาว ปลายปี 

 

สามองค์ประกอบนี้ รวมกันเมื่อไร มักมีแรงผลักดันให้อยากออกเดินทางมากเป็นพิเศษ และจังหวัดทางภาคเหนืออย่างเชียงใหม่ เชียงราย ก็มักเป็นจุดหมายลำดับต้นๆ ในใจของคนส่วนใหญ่

 

คงเป็นเพราะอากาศ อาหาร และธรรมชาติ ที่เพียงเปิดประตูบ้าน ขี่รถเครื่องออกไปไม่ไกล หรือนั่งรถยังไม่ทันเบื่อ ภูเขาก็อยู่ตรงหน้า มองไปซ้ายขวา กาดผักปลอดสารพิษ ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟก็มากมี ไหนจะตลาดขายของงานคราฟต์แบรนด์เล็กๆ อีกล่ะ 

 

ดีขนาดนี้ รื่นรมย์ใจขนาดนี้ ไม่แปลกที่จังหวัดหัวเมืองเหนือทั้งสอง จะเป็นที่ที่ผู้คนฝันอยากพำนัก อยากปักหลัก อยากเปลี่ยนวิถีชีวิตปัจจุบัน แล้วเริ่มต้นใหม่ที่นั่น เป็นจังหวัดยอดนิยมที่ทั้งคนต่างถิ่น รวมถึงคนที่เกิดและเติบโต ย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐาน ด้วยความตั้งใจว่าจะเปิดกิจการเล็กๆ แล้วเรียกที่แห่งนั้นว่า ‘บ้าน’

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ภูเขา สายลมหนาว มีหมอกลอยอ้อยอิ่ง ช่างเป็นภาพและบรรยากาศที่สวยงาม แสนโรแมนติก

 

แต่การหันหลังให้เมืองใหญ่เพื่อลงหลักปักฐาน ซึ่งขอกาดอกจันว่า ‘ต้องอยู่รอดให้ได้’ ไม่ใช่เรื่องโรแมนติก 

 

นอกจากต้องกล้าหาญและอดทน การอยู่ให้ได้ในต่างจังหวัด ถึงแม้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก แต่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองปราบเซียน การวางแผนที่ตั้งอยู่บนความจริง คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก 

 

คนภายนอกอาจมองชาวเชียงใหม่เชียงรายว่าใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ดีจังเลย ชิลดีเนอะ 

 

ความผ่อนคลายสบายๆ ที่เรามองเห็น เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมภาพใหญ่เท่านั้น ชีวิตของพวกเขาช้ากว่าชาวเมืองหลวงก็จริง แต่ความช้านี้หมายถึงจังหวะที่สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง ไม่อาจเหมารวมกับความเฉื่อยเนือยเรื่อยเปื่อย เพราะขืนมัวแต่เอิงเอย 

 

มันจะไม่มีกินเอา

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ขึ้นเหนือช่วงปลายฝนที่ผ่านมา เราปักหมุดไปที่ร้าน LOCAL Coffee ร้านกาแฟของคู่สามีภรรยาที่ย้ายกลับไปอยู่เชียงรายเมื่อสองปีก่อน ซึ่งความตั้งใจที่จะกลับไปอยู่บ้าน คือพันธสัญญาที่แป๋วและโน้ต หรือลลิล และพงศกร อารีศิริไพศาล ให้ไว้ต่อกันในวันที่ทั้งสองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยกำหนดเวลาไว้ว่า หากมีลูกจะย้ายกลับไปอยู่เชียงรายซึ่งเป็นบ้านเกิดของแป๋ว เพื่อให้ลูกได้เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่ากรุงเทพฯ  

 

แป๋วเคยทำงานเอเจนซี ดูแลในส่วนอีเวนต์ โน้ตเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้งคู่สนใจเรื่องกาแฟ ความหลงใหลเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนได้รับแรงเชียร์ให้เปิดร้านจากเพื่อนพ้องน้องพี่ร้าน Gallery กาแฟดริป ซึ่งแป๋วและโน้ตเริ่มต้นจากการเป็นลูกค้า จนกลายเป็นเพื่อน โดยได้เข้าไปช่วยงานที่ร้าน ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องกาแฟ การชง และการจัดการร้าน ระหว่างนั้นแป๋วก็เรียนทำขนม ส่วนโน้ตก็ศึกษาและฝึกฝนการคั่วกาแฟ ทั้งสองเริ่มเตรียมความพร้อมนานกว่าสามปีในช่วงที่เวโล ลูกชายตัวน้อยค่อยๆ เติบโตขึ้น 

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ร้าน LOCAL Coffee ของแป๋วและโน้ตตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพักอาศัย มีโรงคั่วขนาดย่อมอยู่ด้านข้าง เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงเสาร์ ตลอดเวลาราวสองชั่วโมงที่นั่งคุยกัน มีลูกค้าเข้าร้านอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ ซึ่งกลายมาเป็นเพื่อนและสังคมเล็กๆ ของทั้งสอง แต่กว่าจะมาถึงจุดที่ทั้งคู่เบาใจเรื่องรายได้ แน่นอนว่าได้ผ่านด่านช่วงทดสอบกำลังใจมาแล้ว ซึ่งด่านเหล่านี้อยู่ในการเตรียมการตั้งแต่ยังทำงานที่กรุงเทพฯ รวมถึงยังวางแผนสำรองเผื่อไว้ กรณีร้านกาแฟไปไม่รอด 

 

หากนับเรื่องรายได้ ทั้งสองบอกว่าในแง่ตัวเลข อาจไม่มากเท่าเมื่อครั้งทำงานประจำที่กรุงเทพฯ แต่สิ่งที่ได้กลับมามากกว่าคือเวลาและสุขภาพทั้งกายและใจ

 

ทุกเย็นหลังเลิกร้าน โน้ตจะไปเตะบอล วิ่ง และโยคะ ส่วนแป๋วโยคะสลับกับวิ่ง เช่นเดียวกับเวโลที่เริ่มสนุกกับการเตะบอลกับพ่อ และแน่นอนมีเวลาได้วิ่งเล่นกับเพื่อนอย่างเหลือเฟือ แทนที่จะใช้ชีวิตติดอยู่บนถนนช่วงเช้าและเย็นเหมือนก่อน   

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ทุกวันนี้โน้ตยังคงบินกรุงเทพฯ-เชียงราย เช้าไปเย็นกลับเพื่อสอนหนังสือ เพราะยังมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ ส่วนแป๋ว วันที่ต้องโซโลคนเดียว แน่นอนจะยุ่งเป็นพิเศษ แต่ความน่ารักคือ “วันที่พี่โน้ตไปสอนหนังสือ ลูกค้าประจำก็จะไม่มา เขาเกรงใจแป๋ว” 

 

“หรือบางคนก็มานั่งเป็นเพื่อนแป๋วที่ร้าน” โน้ตเสริม   

 

ปลายเดือนธันวาคมนี้ ร้าน LOCAL Coffee จะครบสองปีของการเปิดดำเนินการ ตลอด 24 เดือนที่ผ่านมา ทั้งคู่มั่นใจเพิ่มขึ้นทุกวันว่าตัดสินใจไม่ผิดที่กลับบ้าน และแม้จะผ่านความสุ่มเสี่ยงในช่วงเทกออฟมาแล้ว แต่แป๋วและโน้ตยังคงเตรียมการและวางแผนชีวิตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อจะใช้ชีวิตอย่างช้าๆ แต่สนุก และมีความสุขในแบบของเขาและเธอ

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

เช่นเดียวกับแป๋วและโน้ต เมย์และวินย้ายจากกรุงเทพฯ กลับไปอยู่เชียงใหม่เพราะสุขภาพเป็นหลัก เมย์ หรือสุกานดา และวิน หรือสุวิน ท้วมประเสริฐ เปิดเกสต์เฮาส์เล็กๆ ในซอยวัดอุโมงค์ได้หกปีแล้ว แต่ทั้งคู่ย้ายกลับมาก่อนหน้านั้นสองปี โดยสร้างบ้านซึ่งเป็นอาคารสองหลัง ห้าห้องนอน และอีกหนึ่งคาเฟ่ ได้อย่างน่าอัศจรรย์บนที่ดินเพียง 80 ตารางวา

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ทันทีที่ก้าวเข้าไปใน ‘รื่นอารมย์’ ก็นึกสงสัยว่าเมย์กับวินน่าจะเคยทำงานในสายสถาปัตยกรรมหรือออกแบบตกแต่งภายใน เพราะโถงในส่วนของคาเฟ่นั้นออกแบบได้สูงโปร่ง โดดเด่น และให้ความรู้สึกอบอุ่นและรื่นรมย์ใจในย่างก้าวแรก สมกับชื่อบ้านที่ตั้งไว้ 

 

“ตอนสร้างบ้าน เราบอกสถาปนิกว่าอยากได้บ้านอยู่สบาย รื่นอารมณ์ ประหยัดพลังงาน ใช้เครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด และขอหน้าต่างทรงยาว” เมย์เริ่มต้นเล่าถึงการสร้างบ้านเมื่อแปดปีก่อน

 

สายงานที่ทั้งคู่เคยทำไม่ใกล้เคียงกับการคาดเดาของเราเลย เมย์เคยทำงานเป็นเทคนิคอลเซล ส่วนวินอยู่ในงานค้าปลีกของซูเปอร์สโตร์รายใหญ่ ทั้งคู่หนีน้ำท่วมใหญ่จากเมืองกรุงขึ้นมาเมืองเหนือเมื่อปี 2554 และเป็นจังหวะเดียวกับสุขภาพของเมย์ไม่ดี ทำให้การตัดสินใจย้ายกลับมาปักหลักที่เชียงใหม่เร็วกว่าแผนที่ตั้งไว้ถึง 8 ปี

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

นอกจากอยากทำบ้านให้อยู่สบายอย่างรื่นรมย์ใจแล้ว ทั้งสองตั้งใจให้บ้านสร้างรายได้ให้ด้วย จึงออกแบบอาคารสองหลังหันหน้าเข้าหากัน เว้นพื้นที่ตรงกลางเป็นทางเดิน ด้านหนึ่งคือห้องนอน ห้องครัว และคาเฟ่ที่มีเพดานสูงกว่าหกเมตร “อยากได้สูงๆ แต่นี่มันสูงไปครับ” วินเล่าด้วยรอยยิ้ม อีกอาคารคือห้องพักสี่ห้องที่เปิดให้บริการในคอนเซปต์ ‘มานอนบ้านเพื่อน’ ห้องทั้งสี่จึงตั้งชื่อห้องเป็นชื่อเพื่อนสนิทของทั้งคู่ และตกแต่งตามคาแรกเตอร์ของเพื่อนคนนั้น

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

งานบริการให้ประสบการณ์แปลกแตกต่างจากงานเดิมที่ทั้งคู่เคยทำ ตลอดหกปีที่ทำที่พัก เมย์และวินเจอแขกหลากหลายรูปแบบ และได้เพื่อนเพิ่มขึ้นมากมาย แม้รายได้จะไม่แน่นอนเหมือนงานประจำ แต่สิ่งที่ได้เพิ่มขึ้นคือเวลา 

 

“หลายคนบอกว่าดูรุ่มรวย ชิลจังเลย ตอนเช้าไปวิ่งออกกำลังกาย สโลว์ไลฟ์ก็ดีกับสุขภาพนะ แต่เราต้องมีวินัยทางการเงินอย่างมาก ต้องประหยัด ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ได้เงินน้อยลง แต่ก็แลกกับเวลาที่มากขึ้น”

 

นอกจากสุขภาพและเวลาแล้ว โปสการ์ดจากแขกที่เคยมาพักที่ติดไว้ตรงกำแพงด้านหนึ่ง ส่งมาทักทายเมย์และวินจากทั่วโลก 

 

หากมิตรภาพคือหนึ่งในความ ‘รื่นอารมย์’ ของทั้งคู่ นั่นหมายความว่าการแลกนี้คุ้มค่า

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

นอกจากคาเฟ่น่านั่งที่เปิดเรียงรายอยู่บนถนนทุกเส้น จนหายห่วงได้ว่าชีวิตนี้ไม่ขาดคาเฟอีนแน่นอนเมื่อไปเยือนเชียงใหม่ แต่การไปคาเฟ่ทั้งเช้าสายบ่ายเย็น อาจทำให้ตาค้างได้ เพราะมีคาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป หนาวนี้ถ้าใครได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ นอกจากกิจกรรมคาเฟ่ฮอปปิ้งแล้ว อยากชวนให้แวะไปสนุกที่ร้าน Stand Behind the Yellow Line หรือ SBTYL ของออยกับเอ็กซ์ แถวถนนช้างม่อยกัน

 

ที่ว่าสนุก เพราะร้านของ ออย-วรวรรณ เล็กวงษ์เดิม และ เอ็กซ์-ศิรัส อัศวชัยพงษ์ มีข้าวของทุกโทนสี ทุกขนาด ทุกประโยชน์ใช้สอย คนอายุ 35 ปีขึ้นไปจะสนุกเป็นพิเศษ เพราะของในร้านส่วนใหญ่เป็นของวินเทจที่เคยใช้ เคยเห็น เคยเล่นเมื่อครั้งยังเป็นละอ่อนน้อย 

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

การจัดวางสินค้าจุกจิกสารพัดสารพันให้น่าสนใจเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง และการจัดการสเปซก็มีส่วนส่งเสริมสินค้าอย่างมาก สิ่งแรกที่สะดุดตาเมื่อมองจากถนนฝั่งตรงข้าม คือหน้าร้านที่มีทั้งช่องหน้าต่างเล็กๆ ออกแบบให้สั่งเครื่องดื่มได้จากนอกร้าน ข้างๆ กันเป็นประตูเปิดเข้าร้าน และด้านข้างถัดไปเป็นซอกขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ มีหุ่นโชว์เสื้อผ้าตั้งวางไว้ จะเดินเข้าร้านจากซอกนี้ก็ได้ หรือจะเปิดประตูเดินเข้าไปก็ได้ เป็นสเปซที่มีซอกมีโซนน่าสนใจชวนค้นหา ซึ่งเหมาะมากกับข้าวของที่ออยและเอ็กซ์เสาะแสวงหามาขาย

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ออยและเอ็กซ์เป็นนักเดินตลาด นักซื้อ นักสะสม ทั้งคู่ซื้อของจุกจิกสารพัดจากความชอบส่วนตัว ซื้อมาขายไป “ของพวกนี้จริงๆ ไม่ใช่ของจำเป็นกับชีวิต เราซื้อเพราะเราชอบ ขายได้ก็ขาย ขายไม่ได้ก็อยู่กับเราไปตลอดชีวิต” เอ็กซ์บอกว่าบางชิ้นอยู่กับเขามาตั้งแต่อายุ 15 ปี เท่ากับครึ่งหนึ่งของอายุเอ็กซ์บวกอีก 6 ปี

 

ร้าน SBTYL กั้นสัดส่วนเป็น 4 โซน บริเวณห้องกระจกจะเปิดเป็นร้านอาหารเช้าเพื่อต่อยอดจากถ้วยจานชามวินเทจที่มีขายในร้าน โซนครึ่งหลังของห้องกระจกเป็นบาร์แผ่นเสียง เอ็กซ์วางแผนว่าจะเปิดทุกเย็นวันศุกร์ โดยทั้งหมดนี้มีที่นั่งเพียง 8 ที่เท่านั้น โซนที่ 3 อยู่ถัดจากห้องกระจก อัดแน่นด้วยของเล่นและของวินเทจสารพัดรูปแบบ สุดท้ายคือซอกด้านข้างร้าน จัดวางสินค้าทั้งเสื้อผ้า แก้วน้ำ กระติกน้ำ และของสนุกชวนให้มีรอยยิ้มน้อยๆ เต็มไปหมด

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

เอ็กซ์บอกว่าคนไทยมักจะยืนงงๆ ที่หน้าร้าน ไม่ค่อยกล้าเข้ามา แต่คนจีน คนเกาหลีคือลูกค้าหลัก “ผมแต่งร้านไปเรื่อยๆ มีเงินทีก็ทำที คนเกาหลีซื้อเซรามิก ซื้อแก้ว ส่วนคนจีนซื้อของจุกจิก บางอย่างเราไม่ได้ขาย อย่างเข็มหมุดสไมลีย์ติดบอร์ดอยู่ เขาเห็นก็ขอซื้อ แต่ละวันจะเจอลูกค้าขอซื้ออะไรแปลกๆ มันสนุกตรงนี้ เราอยู่ได้เพราะอารมณ์แบบนี้”

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ย้อนกลับมาในซอยวัดอุโมงค์อีกครั้ง หลายคนคงรู้จัก ‘เวิ้งมาลัย’ บ้านพักอาศัยที่มีร้านกาแฟ Paper Spoon ร้านขายเสื้อผ้าและของแต่งบ้าน Communista ร้านเสื้อผ้าเด็ก Hand Room ร้านเสื้อผ้าและของใช้ที่เน้นงานถัก Jyn Tana แกลเลอรีงานศิลป์ขนาดกะทัดรัด จิตรกรพานิช และสุดท้ายคือสิตางค์ เกสต์เฮาส์ขนาดหนึ่งห้อง เปิดรับเฉพาะนักท่องเที่ยวผู้หญิง

 

ทั้งหมดนี้อยู่ในพื้นที่ 136 ตารางวา 

 

เราเรียกบ้านของ กุ้ง-มาลัย สัญกาย ว่า ‘บ้านงอก’ คือสามารถงอกสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้เรื่อยๆ

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

ปีที่แล้ว ที่ดินตรงข้ามเวิ้งมาลัย มีสิ่งปลูกสร้างใหม่เกิดขึ้นชื่อ ‘ไปยาลน้อย’ เป็นการระดมทุนของมิตรสหายชาวเวิ้งมาลัย เก็ทและจ๋า ร้านเล่า และเพื่อนอีก 3-4 คน ร่วมกันสร้างที่พักจำนวน 4 ห้องบนพื้นที่ 80 ตารางวา เปิดเป็น ‘เกสต์โฮม’ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

แม้หลายคนจะไม่ใช่ชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด แต่ชาวคณะไปยาลน้อยตกลงปลงใจปักหลัก และเรียกที่แห่งนี้ว่าบ้านมากว่าสิบปีแล้ว พวกเขาสร้างครอบครัวที่นี่ 

 

ครอบครัวที่ไม่ใช่เพียงพ่อแม่ลูกหรือคู่สามีภรรยา แต่ครอบครัวของพวกเขากินความหมายรวมถึงเพื่อน ซึ่งเปรียบเสมือนญาติสนิทที่แบ่งปันสุขทุกข์ และแน่นแฟ้นในสายสัมพันธ์มากขึ้นตามขวบปีที่รู้จัก จนมั่นใจว่าในวันที่ทุกข์ที่สุด จะมีมืออีกหลายคู่ช่วยประคับประคอง โอบกอด และเกื้อกูล ไม่ต่างจากคนในครอบครัว

 

และไปยาลน้อยคือผลพวงของมิตรภาพในแบบรูปธรรม ซึ่งพวกเขาตั้งใจให้ที่พักแห่งนี้เป็นเสมือนสหกรณ์ขนาดจิ๋วที่มีปันผลให้สมาชิกได้ดูแลกันยามแก่เฒ่า 

 

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ

 

นอกจากระดมทุนกันภายในกลุ่มแล้ว บ้าน 3 หลัง จำนวน 4 ห้องพักเกิดขึ้นจากการระดมแรงงาน ทั้งกำลังกายและกำลังสมองของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ใครรู้เรื่องงานออกแบบ รับไปทำ ใครถนัดงานบัญชีก็ดูแลไป บางคนคล่องตัวเรื่องติดต่อประสานงานก็รับไปจัดการ ส่วนใครถนัดงานบริการ คอยต้อนรับแขกและรับผิดชอบอาหารเช้า   

 

แน่นอนว่าเงินมากย่อมมีกำลังซื้อมาก แต่เงินน้อย ถ้าทุ่มเทด้วยหัวใจ ของที่ได้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลกว่า อ่อนโยนกว่า ละเมียดละไมกว่า 

 

ด้วยเงินลงทุนไม่ถึงสองล้าน เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ในห้องพักจึงปันมาจากบ้านของทุกคน ผ้าม่านเย็บกันเอง ของตกแต่งชิ้นเล็กช่วยกันประดิษฐ์ สวนที่ตั้งใจเนรมิตให้เขียวสะพรั่ง ชุ่มชื่นร่มรื่น เมื่อเห็นงบหลักแสนก็จำต้องล่าถอยเหลือเพียงหมื่นต้นๆ จากนั้นต่างคนก็กลับบ้านไปขุดต้นไม้มาปลูกบนผืนดินที่พวกเขาแบ่งปันความคิด ความฝัน และวันเวลาของวันนี้ ให้ค่อยๆ เติบโตเป็นร่มเงาแก่กันและกันในวันหน้า

 

ด้วยหวังให้บ้านเป็นร้านเล็กๆ ที่อบอุ่นในวงล้อมของรักและมิตรภาพ  

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post กลับบ้านไปเปิดร้านเล็กๆ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยากแค่ไหนก็จะไปให้ถึง https://thestandard.co/mount-everest/ Wed, 15 May 2019 07:48:54 +0000 https://thestandard.co/?p=248710 Mount Everest

ช่วงเดือนนี้เป็นฤดูกาลขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ วิหารศักดิ์ส […]

The post ยากแค่ไหนก็จะไปให้ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Mount Everest

ช่วงเดือนนี้เป็นฤดูกาลขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ วิหารศักดิ์สิทธิ์ที่นักเดินเขาปรารถนาจะขึ้นไปคารวะสักครั้งหนึ่งในชีวิต

 

แต่อย่างที่รู้กัน วิหารบนยอดเมฆแห่งนี้มิใช่สถานที่ที่ทุกคนขึ้นได้และขึ้นไหว

 

ผู้ที่ปวารณาตนจะขึ้นไปยืนบนยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกให้ได้ นอกจากต้องสุดยอดแข็งแกร่งทรหดอดทนแล้ว น่าจะต้องเป็นคนที่มีเงินเก็บเย็นๆ ประมาณหนึ่ง ประมาณไหนดี ก็ประมาณว่าสามารถจ่ายค่าขึ้นซัมมิตราวล้านต้นๆ แล้วไม่กระทบกระเทือนชีวิตความเป็นอยู่หลังเสร็จสิ้นภารกิจราว 45 วันนั่นแหละ

 

ซึ่งเงินล้านนี้จ่ายแล้วไม่ได้กินหรูอยู่สบาย แต่เป็นการจ่ายเพื่อไปเดินล้วนๆ แถมนานถึงหนึ่งเดือนครึ่ง หนำซ้ำยังต้องนอนกลางหิน กินกลางลมหนาว

 

พูดง่ายๆ คือหาความสบายไม่มี

 

Mount Everest Mount Everest

 

ทำไมคนเราถึงยอมจ่ายเงินหลักล้านเพื่อไปลำบากลำบน แล้วไม่ใช่ลำบากธรรมดา แต่เป็นสุดยอดความลำบากสมบุกสมบันเข้าขั้นเสี่ยงตายเลยก็ว่าได้

 

ลองนึกเล่นๆ ว่าถ้ามีงบให้ไปเที่ยวหนึ่งล้านบาท เงินก้อนนี้สามารถบันดาลทริปสุดหรูหราแสนสบาย แค่ดีดนิ้ว ทุกอย่างก็มาเสิร์ฟตรงหน้าราวกับเสกได้ จะบินเฟิร์สคลาส นอนโรงแรมหกเจ็ดดาว หรือเช่ารถสามตอนพร้อมคนขับก็ได้หมด

 

ถามว่าแล้วบนภูเขาโน่นล่ะ    

 

ไม่มีแน่นอนโรงแรมสี่ซ้าห้าดาว ที่พักบนเส้นทางคือห้องนอนแคบๆ เตียงนอนขนาดพอดีตัว ห้องน้ำและห้องอาบน้ำรวม สะอาดบ้าง (ราวกับถูกหวย) ไม่สะอาดบ้าง (เรื่องปกติ) และเมื่อไปถึงเบสแคมป์ (Everest Base Camp – EBC) ที่นอนของเทรกเกอร์ผู้จ่ายเงินจำนวนเจ็ดหลักเพื่อขึ้นซัมมิตอีกเดือนกว่านับจากนี้คือเต็นท์ ที่มีลมพัดตึงและป้องกันความหนาวได้เพียงน้อยนิด

 

ทุกความสูงที่เพิ่มขึ้นยังหมายถึงเปอร์เซ็นต์การเสี่ยงชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งโรคแพ้ความสูง (Altitude sickness) พายุหิมะ หิมะถล่ม ลมพัดแรงในขณะที่ร่างกายเหนื่อยอ่อนจนพลัดตกเขา หรือการรวมตัวของสามขั้วความโหด อันได้แก่ ความหนาว ออกซิเจนน้อย และความเหนื่อยล้าขั้นสุด จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้ แม้จะเหนื่อยยากราวบำเพ็ญทุกรกิริยา แต่ทุกปีเส้นทางขึ้นซัมมิตจะมีเทรกเกอร์หรือนักปีนเขาราว 300 ชีวิตจากทั่วโลก (ไม่รวมเทรกเกอร์อีกนับพันที่มีจุดหมายที่เบสแคมป์ หนึ่งในนั้นเคยมีเรารวมอยู่) เก็บหอมรอมริบเงินก้อนใหญ่เพื่อจะมากิน มานอน และย่ำเท้าไปบนเส้นทางเก่าแก่แห่งนี้

 

การไปให้สุดเพดานที่ร่างกายทานทนไหว เพื่อจะกลับลงมาอย่างผู้บรรลุฝัน อาจเป็นเพียงกิจกรรมของคนมีเงิน หรือคนบ้า ก็สุดแท้แต่ใครจะมอง

 

แต่หากนับว่านี่คือความฝันแล้วล่ะก็ ในหนึ่งชีวิต หากมีเรี่ยวแรงและความพร้อม เป็นใครก็ย่อมอยากไปให้สุด

 

Mount Everest

 

ขณะที่การเดินขึ้นเขาใช้แรงกายและใจค่อยๆ ไต่ระดับความสูงขึ้นไป การท่องอวกาศท้าทายแรงโน้มถ่วงด้วยการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าความพยายามในการสำรวจอวกาศเคยเป็นเรื่องการเมืองและการแข่งขันกันของสองขั้วอำนาจในยุคสงครามเย็น แต่หนังสือ เก็บกระเป๋าไปดาวอังคาร หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Packing For Mars เขียนโดย แมรี โรช แสดงให้เห็นว่าเพื่อจะหลุดออกไปยังห้วงอวกาศนั้น มนุษย์มีความเพียรพยายามมากมายมหาศาลขนาดไหน

 

หลายเคสฟังดูสติเฟื่องมากๆ บางเรื่องเข้าขั้นเพี้ยนเลยก็ว่าได้ และหลายเรื่องก็อยู่เหนือความคาดหมาย เช่น การอ้วกในหมวกอวกาศอาจถึงตายได้, มนุษย์อวกาศต้องอึและฉี่ในถุงพลาสติก บางทีก็ลอยออกมา, ความถี่ของการเปลี่ยนชุดกับกลิ่นตัวและสุขภาพผิวหนัง, อาหารบนอวกาศต้องไม่แตกเป็นชิ้นร่วนและต้องเบา เพราะยานอวกาศแคบ และน้ำหนักทุกกิโลกรัมคือค่าเชื้อเพลิงมหาศาล, จะรีไซเคิลของเสีย ทั้งเสื้อผ้าสกปรก เหงื่อ อึ และฉี่อย่างไรดี ถ้ากินได้ก็ไม่ต้องแบกน้ำหนักกลับมายังโลก (?!!?)

 

ทั้งหมดนี้หลายเรื่องชวนอี๋แหวะ (และความซวยคือส่วนใหญ่อ่านตอนกินข้าว) แต่ เก็บกระเป๋าไปดาวอังคาร เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ที่อ่านสนุกมากจนเผลอหัวเราะเสียงดังเป็นระยะ แม้อ่านๆ ไปจะอดคิดไม่ได้ว่า “ลำบากขนาดนี้จะไปทำไมกัน นอกโลกเนี่ย”

 

Mount Everest Mount Everest

 

ตลอดทุกยุคสมัย มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย และบ่อยครั้งก็ดันทุรังเอามากๆ

 

เราอยากรู้ว่าโลกกลมหรือแบน เราอยากเห็นบ้านเมืองที่ต่างไปจากที่ที่เราอยู่ เราอยากรู้ว่าสูงขึ้นไปข้างบนทั้งยอดเขาและในห้วงอวกาศหน้าตาเป็นอย่างไร เราอยากไปเห็นด้วยตาและรับรู้ด้วยความรู้สึกของตัวเอง

 

และถ้าหากว่ามันเข้าขั้นยากลำบาก เราก็อยากรู้ว่าเพดานสูงสุดของตัวเองอยู่ที่ไหน เราอยากรู้ว่า ณ จุดที่คิดว่าไหว เราจะไหวจริงไหม

 

ถ้าไม่ไหว เราจะกลับลงมาในแบบใด

 

Mount Everest Mount Everest

 

การเดินขึ้นยอดเขาหรือไปดาวอังคารอาจเป็นความฝันเพี้ยนๆ ของคนบางกลุ่ม ทั้งเสี่ยงและสิ้นเปลือง แต่ความฝันที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับภารกิจที่ท้าทาย จริงอยู่ที่ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา นาซาส่งยานไร้คนขับลงจอดบนดาวอังคารหลายครั้งแล้ว คำถามคือเหตุใดต้องส่งคนจริงๆ ขึ้นไปให้ได้ภายในทศวรรษที่ 2030 แทนที่จะเป็นหุ่นยนต์ ซึ่งประหยัดกว่ากันมหาศาล

 

ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตผ่านการจำลองมากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่แมรีเขียนในบทสรุปว่า “เราสังสรรค์กันผ่านคอมพิวเตอร์ คุณสามารถไปเยือนทะเลแห่งความสงบบนดวงจันทร์ผ่านโปรแกรมกูเกิลมูน และเยี่ยมชมทัชมาฮาลผ่านกูเกิลสตรีทวิว ไม่มีใครออกไปเล่นนอกบ้านอีกแล้ว โลกเสมือนกำลังกลายเป็นโลกจริง แต่มันไม่เหมือนโลกจริงแม้แต่น้อย ลองถามมนุษย์อวกาศว่าการมีส่วนร่วมในโลกอวกาศจำลองเหมือนไปอยู่ในอวกาศจริงๆ หรือไม่เพียงใด ความแตกต่างคืออะไร หยาดเหงื่อ ความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ความไม่สะดวกสบาย แต่ก็มีเรื่องความพิศวง ความภูมิใจ ความรู้สึกปีติตื้นตันและปลุกเร้าที่อธิบายด้วยคำพูดไม่ได้” (หน้า 313)

 

Mount Everest

 

โลกเสมือนอาจพาเราไปเยือนทุกที่ได้ทั้งในและนอกโลก แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องสี่เหลี่ยมไม่มีกลิ่นชื้นของดินหลังฝนตก ไม่มีสายลมพัดผ่านเส้นผม ไม่มีเสียงกระดิ่งของฝูงลาและแย็กที่กำลังเดินอ้อมโค้งเขามา

 

ไม่มีรอยยิ้มของผู้ผ่านทางที่เดินสวนกัน คนที่กล่าวกับเราว่า “นมัสเต” และจะจากกันไปชั่วชีวิต

 

เดาเอาว่าวินาทีที่นักเดินเขากอบรวมทุกพลังของชีวิตและจิตวิญญาณจนขึ้นไปยืนบนจุดสูงสุดของพื้นโลกได้สำเร็จ คงมีอารมณ์เต็มตื้นไม่ต่างจากมนุษย์อวกาศก้าวเท้าลงบนดาวดวงอื่น มันคงเหน็บหนาว แต่สุดแสนมหัศจรรย์ มันบ้ามาก แต่พวกเขาก็ไปถึงจนได้ หลายคนคงอยากหัวเราะ แต่อาจเป็นน้ำตาที่เอ่อล้นจนรินไหล

 

ไม่มีใครเป็นเจ้าของความรู้สึกนี้ได้ นอกจากผู้ที่ทุ่มเทเวลาหลายร้อยหลายพันชั่วโมงเคี่ยวกรำร่างกายและจิตใจ ทั้งเฆี่ยนตีและปลุกปลอบกว่าจะไปถึงจุดหมายที่ตั้งใจไว้ มีทั้งสิ่งที่ต้องละทิ้ง และสิ่งที่ต้องก่อร่างสร้างขึ้น

 

จุดหมายมีบทเรียนมากมายให้ย้อนกลับไปทบทวน อาจมิใช่อะไรอื่น นอกจากเพื่อจะมองเห็นข้อจำกัดของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น   

 

Mount Everest

 

บางทีคนเราอาจเดินทางไปไกลหลายแสนกิโลเมตรเพียงเพื่อจะทำความรู้จักตัวเอง และวิหารศักดิ์สิทธิ์อาจไม่ได้อยู่ ณ จุดสูงสุดของโลกหรือไกลสุดขอบจักรวาล

 

อารามแห่งนั้นอาจอยู่ในที่ที่เราหายใจได้สะดวก เพื่อที่เราจะนั่งลงพักเหนื่อยและซึมซับบรรยากาศรอบตัว

 

อารามแห่งนั้นอาจเป็นที่ที่เราได้หันไปยิ้มกับเพื่อนด้วยสายตาขอบคุณที่ยินยอมให้เราร่วมเดินทางด้วย

 

หรืออาจเป็นที่ที่เราได้นั่งทบทวนถึงเส้นทางที่เดินผ่านมา โดยเฉพาะเสียงเบาๆ ข้างในที่คอยบอกว่า “อีกก้าวหนึ่งสิ” จนผลักดันให้เราได้มานั่งฟังเสียงหัวใจเต้นรัวอยู่บนความสูงห้าพันกว่าเมตรเหนือระดับน้ำทะเล

 

อารามแห่งนั้นอาจต้องเสาะแสวงหาผ่านการรอนแรมทางไกล เพื่อจะค้นพบว่าแท้จริงแล้วสถิตอยู่ในสถานที่ลี้ลับและแสนใกล้

 

ที่ซึ่งลั่นกุญแจเปิดๆ ปิดๆ จนกว่าชีวิตจะหาไม่

The post ยากแค่ไหนก็จะไปให้ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความรัก ความตาย และการมีชีวิตอยู่ต่อไป https://thestandard.co/love-die-life/ https://thestandard.co/love-die-life/#respond Mon, 18 Feb 2019 11:35:51 +0000 https://thestandard.co/?p=202284

“ไม่ว่าใครจะบอกว่าเข้าใจเรา เชื่อเถอะ เขาไม่เข้าใจ” &nb […]

The post ความรัก ความตาย และการมีชีวิตอยู่ต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ไม่ว่าใครจะบอกว่าเข้าใจเรา เชื่อเถอะ เขาไม่เข้าใจ”

 

พี่คนหนึ่งกล่าวกับฉันเมื่อคราวพบกันครั้งแรกเมื่อกว่า 4 ปีก่อน เธอเป็นเพื่อนของอดีตหัวหน้าซึ่งแนะนำให้เรารู้จักกัน เธอทราบว่าสามีของฉันเพิ่งเสียชีวิตได้ไม่ถึงเดือน เธอก็เช่นกัน เป็นภรรยาผู้สูญเสียสามี

 

แม้สามีของเธอได้จากไปหลายปีแล้ว แต่ความอ้างว้างนั้นทรงพลังอย่างยิ่ง

 

มันยังคงอยู่ ในถ้อยคำ น้ำเสียง และแววตา ซึ่งบ่งบอกว่ามีเพียงผู้สูญเสียเท่านั้น ที่หลงคว้างอยู่ในความอ้างว้างอันไพศาลของการจากลาตลอดกาล

 

และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด รูโหว่อันเดียวดายยังคงเป็นหลุมดำมืดที่เราเพลี่ยงพล้ำพลัดตกลงไปได้ทุกเมื่อ

 

ไม่ว่ายามเศร้า ยามเหงา

 

ไม่เว้นแม้กระทั่งยามสุข

 

เราอาจใช้เวลาไม่นานที่จะตกหลุมรักใครสักคน แต่อาจต้องใช้เวลาที่เหลือทั้งชีวิตประคับประคองจิตใจให้อยู่อย่างมีสุข หากการพลัดพรากเข้ามาทดสอบเราเร็วเกินกว่ากำหนด

 

อย่างไรกันหรือถึงเรียกว่าเร็วเกิน และใครกันหนอเป็นผู้กำหนด

 

คำตอบอยู่ในสายลม เพื่อนเอ๋ย บ็อบ ดีแลน บอกไว้เช่นนั้น

 

ในวันที่การสูญเสียยังเข้มข้น ความทุกข์โศกทาบทาทั่วร่าง ความคิดถึงติดตรึงอยู่ในทุกความคำนึงและลมหายใจ ความยินดียินร้ายเรื่องไหนๆ ก็ดูจะเบาบาง และไม่สลักสำคัญไปกว่าความตายของคนที่เรารักอีกแล้ว

 

อาจไม่ง่ายและไม่รวดเร็วนักกับการปรับจิตใจให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขในโลกที่ไร้เพื่อนคู่ชีวิตเคียงข้าง และไม่ว่าใครจะปลุกปลอบเราเช่นไร กำลังใจร้อยพันหมื่นแสนจะหลั่งไหลมามากเพียงไหน ถึงที่สุดแล้วคนที่จะกอบกู้เราจากทุกข์โศกของความตาย หรือแม้แต่เรื่องใดในหล้าโลก มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น

 

นั่นคือตัวเรา

 

 

ทุกคนเกิดมาต้องตาย / เขาไปสบายแล้ว / เกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาโลก / บลา บลา บลา

 

มีหรือเราจะไม่รู้

 

กับคนที่อกหัก คนรักนอกใจ หรือถูกทำให้เจ็บ

 

อย่าไปเสียดาย แค่ผู้ชาย /ผู้หญิงคนเดียว / ดีแล้วที่ไม่ถลำลึกไปกว่านี้ / คนแบบนี้ อย่าเสียน้ำตาให้เลย / บลา บลา บลา

 

เสียน้ำตาเถิด ร้องไห้เถิด ทุกข์เศร้าเถิด เพราะนี่คือกระบวนการหนึ่งของการเยียวยา แน่นอนมันเจ็บปวด แต่ความเจ็บปวดคือส่วนหนึ่งของการเติบโต

 

ความเจ็บปวดคือส่วนหนึ่งของชีวิต

 

เราอาจเรียนรู้โลกและตัวตนผ่านช่องทางมากมาย แต่ไม่มีบทเรียนไหนทำให้เราเติบโตได้เท่ากับบททดสอบเรื่องการพลัดพรากและการสูญเสียอีกแล้ว

 

ร่างของคนหนึ่งดับสูญไปสู่อีกโลก ร่างของคนที่เหลือดำรงอยู่อย่างแตกสลาย

 

เราจะมีชีวิตเช่นนี้หรือ…

 

มันอาจไม่สมบูรณ์เหมือนเก่า ไม่ดีพร้อมเท่าที่เคยมีคนเคียงข้าง แต่เราต้องก้าวต่อไป

 

เราจำเป็นต้องก้าวต่อไป

 

ความตายอาจเป็นหลุมลึกดำมืดที่ดูดกลืนให้จมลงในความหมองเศร้า น้ำตาเดี๋ยวๆ ก็ไหล และหลายครั้งไม่อาจหยุดได้โดยง่าย ภาพความทรงจำมากมายเข้าแถวเรียงรายมาตอกย้ำว่า ต่อแต่นี้ไม่มีอีกแล้ว

 

ใช่ ไม่มีอีกแล้ว

 

 

เอาสิ ร้องไห้เข้าไป ร้องให้สาสม ร้องจนตาบวม น้ำมูกน้ำตาเปรอะเลอะไปทั่วทั้งหน้า ร้องจนหายใจไม่ออก ร้องจนไมเกรนรับประทาน ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักย่อมรู้ดีว่า ความคิดถึงทำกับเราได้ถึงเพียงนั้นจริงๆ

 

เราจะมีชีวิตเช่นไรเมื่อคนที่เรารักจากไป

 

ลองสดับฟังและตริตรอง คำตอบอยู่ในสายลม เพื่อนเอ๋ย แต่ละคนย่อมค้นพบวิถีทางที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ว่าเร็วหรือช้า ดั่งประโยคคลาสสิกที่ว่า ‘ทุกอย่างต้องการเวลา’

 

ฉันกำลังเดินทางเข้าสู่ครึ่งหลังของปีที่สี่ ไม่น่าเชื่อ ฉันอยู่โดยปราศจากเพื่อนคู่คิดมาสี่ปีครึ่งแล้ว ไม่ง่าย แต่ก็ผ่านมาได้อย่างไม่ขี้เหร่เกินไป แม้ความเดียวดายอ้างว้างโบยตีฉันอย่างสาหัสสากรรจ์ แต่มันก็ผลักดันให้ฉันกลับมาทำ และได้ลองทำอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง

 

เมื่อต้องอยู่คนเดียว ฉันโอบรับความเหงา ฉันยึดเอาหนังสือเป็นเพื่อน บางเล่มซื้อมากว่า 20 ปี ก็ได้ฤกษ์เปิดอ่านเสียที บางเล่มอ่านซ้ำอ่านทวนมิรู้เบื่อ บางเล่มอ่านแล้วน้ำตาหยดแหมะ หลายเล่มอ่านแล้วสะอื้นฮั่กๆ

 

ฉันค้นพบว่าตัวเองเสพติดความเศร้าเข้าเสียแล้ว

 

เมื่อบ้านเงียบเชียบเกินไปจนได้ยินแต่เสียงนาฬิกา ฉันจัดหาลำโพงมาเปิดเพลงแล้วออกสเตปแดนซ์ยึกยัก คึกคักอยู่เพียงลำพัง แม้ในปีแรกเมื่อกระโดดโยกหัวได้ไม่ถึงนาที ก็ต้องทรุดตัวลงร้องไห้ ไปต่อไม่ไหว เพราะนึกถึงเสียงหัวเราะวันเก่าๆ ที่เคยเต้นท่าติงต๊องด้วยกัน

 

หรือบางเพลงฟังแล้วน้ำตาแตก อย่างเพลง ‘ว่าง’ ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ฟังครั้งแรกคือตาย เดี๋ยวนี้ฟังซ้ำ ร้องตาม ไม่ร้องไห้แล้ว มีซึมบ้าง ก็ต้องให้มันเป็นไป บางเพลงม่วนขนาด แหกปากลั่นบ้าน ไม่แคร์สื่อและเวทีไหนๆ เพราะมี The House เวทีในบ้านของเรา ร้องเพี้ยนผิดคีย์ก็ไม่ถูกโหวตออก

 

 

เมื่อขาดคนข้างกาย ฉันต้องอยู่อย่างแข็งแรง เพื่อจะมีกำลังวังชา และไม่เป็นภาระของใคร ฉันจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กรรมพันธุ์โรคเบาหวาน ความดัน และหัวใจ ปีที่ผ่านมา ฉันตื่นตีสี่ครึ่งสัปดาห์ละ 4 วัน ล้างหน้าแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้าแล้วออกวิ่ง

 

ฉันวิ่งไปในความมืด ดวงจันทร์ยังแขวนอยู่บนฟ้า วิ่งไปจนแสงแรกของยามเช้ามาเยือน ฉันวิ่งช้า แต่ไม่ลดละ วิ่งจนทะลุความน่าเบื่อของการวิ่งได้ในที่สุด

 

การวิ่งทำให้ฉันค้นพบความหมายของการตื่นขึ้นในเช้าวันใหม่

 

บทที่ 8 ของหนังสือ อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่ มีชื่อบทว่า ถ้าคุณไม่ตาย คุณก็แกร่งขึ้น

 

ใช่ ถ้ายังมีลมหายใจ เราจำเป็นต้องแกร่ง โลกไม่เปิดโอกาสให้เราพ่ายแพ้ไปตลอด ไม่ว่าจะสะบักสะบอมแค่ไหน หากยังไม่ตาย เราจะปรับตัวได้อย่างช้าๆ เราจะทานทนขึ้นเรื่อยๆ

 

เปล่าเลย เราไม่ได้ชินชา หากแต่เข้าใจมากขึ้น ยอมรับมากขึ้น และมองเห็นความสุขมากขึ้น

 

เมื่อขาดเพื่อนคู่ชีวิต ฉันมีมิ่งมิตรคอยปลุกปลอบ ทั้งเพื่อนเก่าให้คอยบอกเล่าเรื่องราวของวันวาน และเพื่อนใหม่ที่นำพาเรื่องราวใหม่ๆ มาสู่ชีวิต

 

ทุกคืนในขวบปีแรกของการเข้านอน ฉันเคยอธิษฐานขออย่าต้องตื่นในเช้าวันรุ่งขึ้นอีกเลย แต่ทุกเช้าฉันยังลืมตาขึ้นมาต่อสู้กับความเศร้า รบรากับความเหงา เป็นฝ่ายแพ้เสียมากกว่าในสองปีแรก เสมอกันในปีที่สาม แต่ตอนนี้ฉันเริ่มนำ และจะแซงขึ้นหน้าไปเรื่อยๆ

 

ฉันไม่ได้แกร่งกว่าใคร ฉันก้าวไปอย่างเชื่องช้า ฉันเพียงตระหนักว่า หากยังไม่ตาย ก็ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป ทั้งเพื่อตัวเองและอีกคนที่จากไป

 

หากคุณมีเพื่อนที่สูญเสียคนรัก ไม่ว่าจากเป็นหรือจากตาย รับฟังเมื่อเพื่อนคุณอยากพูด โอบกอดเมื่อเพื่อนคุณร้องไห้ ให้คำปรึกษาเมื่อเพื่อนคุณต้องการคำปลอบใจ บอกเพื่อนคุณว่าทุกสิ่งที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นจริง และจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว หากสิ่งนั้นคือความสุข ขอจงรักษาไว้เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจ

 

ความสุขจากไปแล้ว ความทุกข์ก็เช่นกัน สักวันจะผ่านไป ไม่ว่าเร็วหรือช้า

 

เพราะไม่มีสิ่งใดคงอยู่กับเราตลอดไป

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ความรัก ความตาย และการมีชีวิตอยู่ต่อไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/love-die-life/feed/ 0
ให้งานบ้านขัดเกลาเรา https://thestandard.co/lots-of-life-cleaning-house/ https://thestandard.co/lots-of-life-cleaning-house/#respond Mon, 04 Feb 2019 07:46:45 +0000 https://thestandard.co/?p=191147

ตลอด 365 วันในหนึ่งปี เด็กจีนทุกคนตั้งตารอคอยวันตรุษจีน […]

The post ให้งานบ้านขัดเกลาเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตลอด 365 วันในหนึ่งปี เด็กจีนทุกคนตั้งตารอคอยวันตรุษจีนมากที่สุด สำหรับเด็กๆ แล้ว วันปีใหม่จีนคือวันสุดแสนแฮปปี้ เพราะเป็นวันได้อั่งเปา

 

ปีๆ หนึ่งก็รอวันนี้ โมงยามนี้มากที่สุดนี่แหละ

 

แต่ก่อนจะถึงชั่วโมงรับทรัพย์ เด็กจีนจะเห็นพ่อแม่ทำความสะอาดบ้านเอิกเกริกกว่าวันไหนๆ ในรอบปี เป็นการปัดกวาดเช็ดถูครั้งใหญ่ ลูกหลานมักได้รับมอบหมายให้ช่วยงานบ้านคนละงานสองงาน

 

ภาพจำตอนเด็กของวันใกล้ตรุษจีนคือ การกวาดหยากไย่บนเพดานที่แม่มอบหมาย ไม้กวาดอันยาวชะลูดที่แอบซ่อนตัวมิดชิดตลอดทั้งปี ถูกนำออกมาใช้งานปีละหน ภารกิจของฉันคือ เดินแหงนคอตั้งบ่ากวาดหยากไย่บนเพดานไปทั่วบ้าน

 

การประคองไม้อันยาวแล้วเล็งให้ถูกเป้าหมายเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก แต่ทำได้ไม่นานก็เบื่อ เพราะเมื่อยคอ แถมบ่อยครั้งหยากไย่เส้นดำๆ เบาๆ มักลอยละล่องตกลงมาบนใบหน้า พาให้คันจมูกยุบยิบจนจามลั่นบ้าน

 

ตอนเรายังเด็ก การถูกสั่งให้ทำงานบ้าน คือภารกิจที่น่าเบื่ออย่างยิ่ง

 

ถามว่าพอโตขึ้น การทำงานบ้านน่าเบื่อน้อยลงหรือ

 

ไม่เลย งานปัดกวาดเช็ดถูขัดล้างยังน่าเบื่อเหมือนเดิม เพียงแต่เราเข้าใจมันมากขึ้น

 

 

เมื่อยังเยาว์วัยกว่านี้ ทุกครั้งที่ทำงานบ้าน โดยเฉพาะงานรีดผ้าที่ทั้งยากและน่าเหนื่อยหน่าย ขณะมือลากเตารีดไปบนเสื้อทำงานของพ่อ กางเกงของพี่ ชุดของแม่ ทั้งร้อนและปวดหลัง มองไปที่ตะกร้ารอรีด ผ้ายับยังพับซ้อนสูงเท่าเดิม ดูไม่ลดลงเลยทั้งที่รีดไปหลายตัวแล้ว

 

ทุกครั้งที่ความขี้เกียจแผ่เต็มพื้นที่ร่างกายและจิตใจ ฉันพยายามข่มจิต ปลอบใจตัวเองเสมอ ด้วยคำพูดของ อาจารย์ระวี ภาวิไล (ผู้แปล ปรัชญาชีวิต ทรายกับฟองคลื่น และ ปีกหัก ของ คาลิล ยิบราน) ซึ่งเคยอ่านเจอในบทสัมภาษณ์ว่า

 

“การทำงานบ้านคือการปฏิบัติธรรม”

 

ยอมรับว่าในช่วงวัยยี่สิบเหมือนจะเข้าใจ แต่เอาเข้าจริงไม่เข้าใจ

 

ทำได้เพียงก้มหน้าก้มตาทำงานบ้านไป เพราะแม่สั่งให้ทำ ทำไปก็สะกดตัวเองด้วยมนต์คาถาข้างต้น บอกตัวเองว่าเรากำลังปฏิบัติธรรม เรากำลังปฏิบัติธรรม เรากำลังปฏิบัติธรรม

 

ธรรมอะไรวะ ยามเหนื่อย หน้ามัน เนื้อตัวเหนอะหนะ ในใจไม่วายพยศ เดือดปุด และต่อต้าน

 

ความน่าเบื่อของหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้คือ การต้องทำสิ่งเดิมซ้ำๆ ไม่มีสิ้นสุด อะไรที่เคยตื่นเต้น สุดสนุก เมื่อต้องทำซ้ำๆ มนต์วิเศษก็ยังคลายตัว ไม่ต้องพูดถึงสิ่งที่มองหาความชื่นบานแทบไม่เห็น การต้องทำสิ่งเดิมวนเวียนไม่รู้จบ บางอย่างกลายเป็นความจำเจ บางอย่างสุดแสนซ้ำซาก บางอย่างพัฒนาเป็นความชำนาญ บางอย่างกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

 

สุดแต่เราจะมองมุมไหน

 

หากลองพิจารณาอีกที ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน ทั้งหมดคือ ‘ส่วนหนึ่งของชีวิต’

 

ยามที่บ้านรก โต๊ะเกลื่อนไปด้วยเศษเหรียญ นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ วางระเกะระกะ ชั้นวางของมีทั้งหนังสือที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้อ่านวางซ้อนปนๆ กัน เอกสารหลายซองกองไว้ รอวันจัดเก็บ

 

ทุกครั้งที่มองไป เกะกะสายตา บ่อยครั้งถึงขั้นอึดอัดรำคาญใจ เหมือนจะปล่อยผ่าน แต่กลับค้างคาในอารมณ์ กระนั้นยังคงผัดวันออกไป บอกตัวเองว่าว่างเมื่อไร เคลียร์แน่นอน

 

ความรกพอกพูนบ้าน ความรำคาญคั่งค้างในใจ บางครั้งไม่กี่วัน บางครานานเป็นเดือน จนเมื่อได้จัดเก็บ เช็ดฝุ่น ชำระสะสาง โต๊ะและชั้นวางของกลับมามีระเบียบ เข้าที่เข้าทาง และว่างโล่งอีกครั้ง

 

ในระหว่างลงมือลงแรง แม้ต้องเสียเหงื่อ ผ่านความเหน็ดเหนื่อย มากบ้าง น้อยบ้าง น่าแปลก เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้น จิตใจกลับเบา วาววับ ราวกับผ่านกระบวนการอะไรบางอย่าง

 

 

ราว 10 ปีก่อน ฉันตัดสินใจปรับปรุงบ้าน จากความตั้งใจแรกเพียงเปลี่ยนพื้นกระเบื้องยางกระดำกระด่าง เป็นพื้นกระเบื้องแกรนิตโต้ ทำไปทำมา งานซ่อมพื้นเลยเถิดไปถึงการเปลี่ยนและเดินสายไฟใหม่หมดทั้งบ้าน บ้านซึ่งเป็นตึกแถวสี่ชั้นครึ่ง ฉันมองเห็นเค้าหายนะอันโกลาหลอยู่เบื้องหน้า

 

รู้กันดีว่าการสร้างหรือซ่อมแซมบ้านคืองานสุดเครียด เพราะมีเรื่องให้กลุ้มตั้งแต่งบประมาณที่บานปลายเกินราคาประเมินเสมอ ไหนต้องลุ้นการทำงานของผู้รับเหมา ทั้งเรื่องฝีมือว่าทำงานได้เนี้ยบ เป็นไปตามแบบที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ไหนต้องคอยสวดภาวนา ขออย่าให้ผู้รับเหมาชิ่งหนี ไม่ทิ้งงานกลางคัน ขอให้เจอผู้รับเหมาที่ทำงานต่อเนื่องคราวเดียวจนเสร็จสมบูรณ์   

 

การได้พบเจอผู้รับเหมาฝีมือดี มีความรับผิดชอบ จึงไม่ต่างอะไรกับซื้อหวยแล้วถูกรางวัลที่ 1  

 

จากงานรื้อพื้นเก่าและเปลี่ยนกระเบื้องใหม่สำหรับพื้นที่สองชั้น ผู้รับเหมาประเมินเวลาไว้ไม่เกินสองสัปดาห์ จำต้องลากยาวออกไป สิริรวม 35 วัน จึงแล้วเสร็จ

 

ตลอดเดือนเศษของการซ่อมบ้านในคราวนั้น ทุกวันที่ล่วงผ่านคือความเครียดที่เพิ่มน้ำหนักกดลงบนบ่า บางวันช่างไฟไม่มา บางวันมาเอาเกือบเย็น ทำได้ไม่กี่ชั่วโมงก็กลับ บ้านเต็มไปด้วยฝุ่นมหาศาล งานกวาดถูตอนค่ำหลังช่างเลิกงานเป็นไปเพียงเพื่อให้มีพื้นที่สะอาดพอล้มตัวลงนอนได้  

 

งานปูพื้นกระเบื้องดำเนินไปพร้อมงานเลาะสายไฟเก่าและเดินสายใหม่ ช่างบางคนใส่รองเท้าย่ำไปบนพื้นกระเบื้องสีขาวครีม บางคนแบร์ฟุต แต่เท้าดำเหลือกำลัง คราบพื้นรองเท้าและบาทาเปื้อนน้ำมัน ประทับเป็นรอยห้านิ้วลงบนพื้นกระเบื้องปูใหม่ ตกเย็น ฉันเพียรเช็ดถูร่องรอยเหล่านั้น ไม่ว่าจะออกแรงสักแค่ไหน รอยฝ่าเท้าจางๆ ยังคงอยู่ไม่เลือนหาย

 

คราบดำในหัวใจของฉันค่อยๆ ก่อเกิดทบทวี กลายเป็นความเครียดแสนหนักอึ้ง

 

ถ้าเช็ดไม่ออก ช่างต้องทุบแล้วปูใหม่ ฉันไม่ยอมเห็นรอยเท้าห้านิ้วกระจายทั่วบ้านไปอีก 5 ปี 10 ปี หรือตลอดชั่วชีวิตของฉันแน่นอน  

 

ฉันจะไม่ทน ฉันยื่นคำขาด

 

เช้าวันเก็บงาน ผู้รับเหมาขับรถมาส่งช่าง จากนั้นซุ่มเก็บเครื่องไม้เครื่องมือที่เหลือ แล้วขับรถจากไป เป็นสัญญาณบอกว่า จะไม่มีการทุบพื้นแล้วปูใหม่ ช่างปูพื้นซึ่งเห็นหน้ากันมาตลอดหนึ่งเดือน วันนี้มาพร้อมเมียและลูกวัยเตาะแตะ

 

เอาล่ะสิ ฉันต้องสวมบทเจ๊เจ้าของบ้านจอมโหด ยืนคุมการทำความสะอาดพื้นด้วยน้ำยา ซึ่งผู้รับเหมาบอกว่าเช็ดออกแน่นอน

 

จากเช้าจรดเย็น ฉันยืนประชิดเมียช่าง ซึ่งเป็นหน่วยเช็ดถูทำความสะอาดชนิดแทบหายใจรดต้นคอ พร้อมกับช่วยดูแลเจ้าหนูตัวน้อยไปด้วย นี่มันใช่เรื่องไหมที่ฉันต้องมาเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ฉันไม่วายขุ่นมัว

 

แต่ความบริสุทธิ์ของเด็กน้อย บวกกับความใจเย็นของเมียช่างที่ทำงานโดยไม่ปริปากบ่น ไม่มีหน้างอ มือของเธอค่อยๆ ลงยาแนวบนร่องกระเบื้อง จากนั้นเช็ดล้างพื้นทีละตารางนิ้ว การทำความสะอาดค่อยๆ คลายเกลียวที่ฉันพันขมวดปมยุ่งเหยิงเอาไว้ จนเริ่มปล่อยวางทีละน้อย

 

ความกังวลที่จับหนาเป็นเขม่าขะมุกขะมอมในหัวใจ ค่อยๆ ถูกชำระล้างไปกับคราบฝุ่นปูนบนพื้น

 

แม้เมื่อเสร็จงาน พื้นกระเบื้องใหม่ที่เพิ่งปูจะไม่ขาวเอี่ยมอ่องสมใจปรารถนา แต่คราบดำที่ถ่วงหัวใจมาเกือบเดือนสลายหายไปอย่างน่าอัศจรรย์

 

รอยดำบนพื้นเลือนจาง เช่นเดียวกับรอยดำในใจ

 

มื้อเย็นวันนั้นเป็นมื้อแรกในรอบ 35 วันที่ฉันเติมข้าว ถ้าใครอยากลดความอ้วน แนะนำให้ซ่อมบ้าน ความเครียดจะทำให้คุณกินข้าวไม่ลง ต้นขา หน้าท้องแบนราบพอๆ กับเงินในกระเป๋าที่ลดฮวบจนทำเอาหน้ามืด  

 

ว่ากันว่า เมื่อบ้านรก ข้าวของกองไม่เป็นที่ คือช่วงเวลาที่เราจัดการกับชีวิตตัวเองไม่ได้

 

ย่อมต้องเป็นเช่นนั้น ยามข้าวของอยู่ผิดที่ผิดทาง เกลื่อนกลาดกระจัดกระจาย มักเป็นช่วงที่ตารางชีวิตยุ่งเหยิง ยุ่งเสียจนการดูแลบ้านคือเรื่องรอง บางครั้งถูกจัดความสำคัญในลำดับรั้งท้าย  

 

หากการทำงานบ้านคือการปฏิบัติธรรม อันหมายถึงกระบวนการหนึ่งของสำรวจตรวจสอบและชำระล้างจิตใจ คงเป็นการดี หากเราได้ทำสมาธิพร้อมๆ กับลากไม้ถูพื้นไปบนพื้นบ้าน เช็ดกระจกจนใสไร้คราบหมอง และมองเห็นเงาสะท้อนของตัวเราชัดเจนยิ่งขึ้น

 

เราผู้ซึ่งยังคงเดือดปุด ระงับอารมณ์ไม่อยู่

เราผู้ซึ่งเต็มไปด้วยข้อบกพร่องมากหลาย

เราผู้ซึ่งเพียรพยายามขัดเกลาตัวเองวันละนิด

ผ่านการอ่าน การฟัง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผ่านความรัก ความชัง การสูญเสีย

ผ่านการเดินทาง การใช้ชีวิต และแน่นอน การทำงานบ้าน

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post ให้งานบ้านขัดเกลาเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/lots-of-life-cleaning-house/feed/ 0
อย่าปล่อยให้ยีสต์ตาย https://thestandard.co/lots-of-life-yeast/ https://thestandard.co/lots-of-life-yeast/#respond Mon, 21 Jan 2019 12:49:02 +0000 https://thestandard.co/?p=183768

อาจเป็นหัวข้อสุดแสนคลิเช่ถ้าจะพูดถึงปณิธานปีใหม่ หรือ N […]

The post อย่าปล่อยให้ยีสต์ตาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาจเป็นหัวข้อสุดแสนคลิเช่ถ้าจะพูดถึงปณิธานปีใหม่ หรือ New Year’s Resolution แถมนี่ก็ผ่านปีใหม่มาครึ่งค่อนเดือนเข้าไปแล้ว ถ้าเป็นดากานดาก็คงบอกกับไข่ย้อยว่า

 

“แกมาพูดอะไรเอาป่านนี้”

 

มันอาจจะช้าและฟังดูซ้ำซากกับการตั้งเป้าหมายปีใหม่ แต่ไหนๆ ก็ยังอยู่ในเดือนแรก ซึ่งเชื่อว่าหมุดหมายของปี 2019 ที่ปักไว้ หลายคนยังไม่ได้ฤกษ์เริ่มต้นเลย…ใช่หรือไม่

 

อันที่จริงเราทุกคนรู้กันดีว่าการเริ่มต้นสามารถทำได้ทุกเมื่อ ไม่จำเป็นต้องลากยาวไปถึงสิ้นปีแล้วค่อยฮึดแบบเอาผ้ามาคาดหน้าผากแล้วประกาศก้องว่า “สู้โว้ย”

 

ถ้าสิ่งที่เราตั้งใจจะทำนั้นดี เริ่มวันนี้ ดอกผล คะแนน หรือแต้มบุญ สุดแท้แต่ใครจะเรียกแบบไหนย่อมเริ่มสะสมนับตั้งแต่วินาทีที่เราลงมือลงแรงกระทำ ทั้งสุขภาพ หน้าที่การงาน การให้เวลากับคนสำคัญในชีวิต คือปณิธานปีใหม่อันดับต้นๆ ที่คนนับล้านทั่วโลกปักหมุดตั้งเป้ากันทุกปี

 

แต่มันดีจริงๆ และเราอยากทำให้ได้จริงๆ แต่จนแล้วจนรอด สำหรับบางคนก็ทำไม่ได้ และแล้วก็ตั้งใหม่เหมือนเดิมวนไปทุกปี

 

 

มันอาจจะยากไป มันอาจจะเหนื่อยไป หลายคนอาจตัดพ้อ หรือถ้าทำได้ก็เฉพาะช่วงเริ่มต้นปี พอก้มหน้าก้มตาทำงาน ชีวิตก็วนเข้าวังวนเดิม ด้วยเหตุผลว่างานเยอะ ไม่มีเวลา รถติด นอนดึก เหนื่อยร่างสลาย เบื่อหน่าย แต่ละวันวิ่งวนเป็นวงจรอย่างนี้จนบางทีถึงขั้นขาดพลังชีวิต พอเงยหน้าขึ้นมาอีกที

 

อ้าว…ใกล้สิ้นปีอีกแล้ว

 

ต้นปี ไตรมาสแรก กลางปี ปลายปี ต้นเดือน กลางสัปดาห์ หรือปริ่มๆ จะปลายเดือน ไม่ว่าวันไหนๆ พระอาทิตย์ก็ขึ้นใหม่ทุกเช้า คุณว่าไหม

 

การเปลี่ยนแปลงไม่เคยง่ายในตอนเริ่มต้น เพราะมันทั้งเรียกร้องและทดสอบว่าเราแน่วแน่แค่ไหน อึดเพียงใด เสียสละเพียงพอหรือไม่ กล้าหาญพอที่จะเผชิญความยากลำบากและความเจ็บปวดในบางขั้นตอนหรือเปล่า การเปลี่ยนแปลงยังทวงถามความอดทนและหยั่งระดับความเยือกเย็นของจิตใจอีกว่า ‘เรามั่นคงแค่ไหน’

 

นั่นก็เพราะผลของมันไม่เคยเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนนั่นเอง

 

 

เมื่อเทียบกับการหมักแป้งทำขนมปังที่เราต้องรอให้ยีสต์ขึ้นฟู แต่บางครั้งแป้งก็ไม่เป็นโด (dough) ด้วยหลายปัจจัย จะอุณหภูมิ เวลา หรือยีสต์ตายเพราะเก่าเก็บ

 

เมื่อแป้งไม่ขึ้นฟู ในขั้นแรกนักทำขนมปังบอกว่าลองให้เวลาอีกสักนิด แต่เมื่อเรากำหนดเป้าหมาย เราออกแบบหน้าตาให้กับความสำเร็จ เรามีภาพร่างของเส้นชัย เรามองไปไกลถึงวันนั้น เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ถ้าหัวใจจะพองฟูขึ้นนิดหนึ่ง และเมื่อออกจากจุดสตาร์ท หากระหว่างทางเราจะทดท้อ ห่อเหี่ยว เรี่ยวแรงเหือดหายก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆ ก็ขอทดเวลาบาดเจ็บทั้งนั้น  

 

พักได้แต่ไม่เลิก เพราะเส้นชัยยังอยู่ที่เดิม มันไม่มีขา มันไม่เดินมาหาเรา เราต่างหากต้องบากบั่นไปให้ถึงเอง

 

เมื่อแป้งไม่ขึ้นฟู ในขั้นแรกนักทำขนมปังบอกว่าลองให้เวลาอีกสักนิด แต่เมื่อเรากำหนดเป้าหมาย เราออกแบบหน้าตาให้กับความสำเร็จ เรามีภาพร่างของเส้นชัย เรามองไปไกลถึงวันนั้น เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ถ้าหัวใจจะพองฟูขึ้นนิดหนึ่ง และเมื่อออกจากจุดสตาร์ท หากระหว่างทางเราจะทดท้อ ห่อเหี่ยว เรี่ยวแรงเหือดหายก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆ ก็ขอทดเวลาบาดเจ็บทั้งนั้น

 

บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าคนที่บรรลุเป้าหมาย คนที่ไปถึงเส้นชัย ไม่มากก็น้อยมีเชื้อดื้อกันทุกคน

 

ส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นจากร่างกายแข็งแรงและจิตใจแข็งแกร่ง นั่นคือความพร้อมของคนที่จะลงสนามแข่งขัน ทั้งในเกมการสานปณิธานที่แข่งกับตัวเอง หรือการประลองในสนามชีวิตอื่นๆ ที่มีผู้ท้าชิงมากหน้าหลายตา

 

เราพบว่าพื้นฐานของความแข็งแรงและแข็งแกร่งเริ่มต้นง่ายๆ แค่การดื่มน้ำให้มากพอในแต่ละวัน ง่ายขนาดนั้นจริงๆ จนไม่น่าเอามาพูดถึง แต่บางวันเราก็ดื่มน้ำไม่มากพอ และบางคนก็ดื่มน้ำน้อยเกินไปจนต้องฝึก เราก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น

 

เครื่องดื่มในแต่ละวันอาจมีทั้งกาแฟ น้ำเต้าหู้ น้ำอัดลม ชานมไข่มุก แต่น้ำเปล่าถูกที่สุดและดีที่สุด คนที่มีปัญหาท้องผูก ถ้าดื่มน้ำให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 2 ลิตร ปัญหาการขับถ่ายจะดีขึ้นมาก สำหรับผู้หญิง ถ้าดื่มน้ำน้อยเกินไป ต่อให้ประโคมครีมบำรุงสารพัดยี่ห้อและแพงแสนแพงก็เถอะ ถ้าภายในร่างกายได้รับน้ำไม่พอ ผิวก็ไม่เต่งตึงเด้งฟูสมราคาครีมที่จ่ายไป

 

การออกกำลังกายช่วยทำให้ดื่มน้ำได้มากขึ้น ใครที่ตั้งใจว่าปีนี้จะเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างจริงจัง แต่เปิดปีใหม่มาก็โดนงานล้อมหน้าล้อมหลัง รูปการณ์เหมือนปีที่ผ่านๆ มาไม่ผิดเพี้ยน ถ้ามาทรงนี้นั่นแปลว่าคุณก็น่าจะเดาทางออก เพราะเจอมาแล้วทั้งนั้น

 

 

เวลาใครบอกว่าอยากออกกำลังกาย แต่ไม่มีเวลา เราเข้าใจดีว่า 24 ชั่วโมงที่มีเท่ากันนั้น ข้อจำกัดของแต่ละคนไม่เท่ากัน ตารางความรับผิดชอบในชีวิตของบางคนก็แน่นเอี้ยดถึงขนาดที่ว่ามีเวลานอนก็บุญแล้ว นอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดแน่นอน แต่การเข้านอนในภาวะที่ร่างกายและสมองตึงไปหมด ตื่นเช้าวันรุ่งขึ้น แบตในตัวก็ชาร์จไม่เต็มอยู่ดี

 

เกิน 50% ของคนที่เข้ายิม วิ่งในสวนสาธารณะ ปั่นจักรยาน หรือเข้าคลาสโยคะล้วนเป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งสิ้น ในจำนวนนั้นบางคนเป็นแม่ เป็นพ่อ เป็นลูก ซึ่งมีหน้าที่ต่อครอบครัวไม่ต่างจากเรา แต่เขาเหล่านั้นยังมาออกกำลังกายได้ ในต้นทุน 24 ชั่วโมงที่มีเท่ากันนั้น การจัดสรรเวลาให้พอดีกับการ ‘เลือก’ ใช้ชีวิตจึงเป็นศิลปะของการลดและเพิ่มที่เราต้องเปิดใจและลองทำดูว่าเราจะเลือกมีชีวิตแบบไหน

 

จะตื่นเช้าขึ้นหรือปิดคอมพิวเตอร์ทันทีในตอนเย็น ถ้าจะออกกำลังกายจริงๆ เราต้องลุกจากเตียงอย่างเด็ดเดี่ยวในตอนเช้า เราต้องเก็บกระเป๋าแล้วออกจากออฟฟิศหลังเลิกงานอย่างตั้งมั่น จะมุ่งหน้าไปยิม ไปสวนสาธารณะ หรือสตูดิโอโยคะ จะเล่นเวตเทรนนิ่ง วิ่ง หรือฝึกท่าอาสนะ ทั้งหมดนี้จะทำให้เราเหงื่อออก เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นแรง เราจะพบว่าเนื้อตัวเราช่างเหลวเป๋ว ซิตอัปก็ไม่ขึ้น แพลงก์นาทีเดียวก็ไม่ไหว วิ่งไม่กี่สิบเมตรขาก็เปลี้ย ท่าโยคะแค่ก้มตัวแตะพื้นที่ดูแสนง่ายก็ยังทำไม่ได้

 

ขณะที่หายใจแทบไม่ทัน เอาชีวิตแทบไม่รอด บางคนอาจมีคำถามเด้งขึ้นมาว่า

 

“ฉันมาทำอะไรที่นี่”

 

 

คุณจะไม่ได้คำตอบในครั้งแรก หรือแม้แต่ครั้งที่ 2 ที่ 3 ไม่มีคำตอบจนกว่าคุณจะทำสิ่งเหล่านี้จนร่างกายและจิตใจทนทานขึ้น ทำซ้ำๆ จนมาถึงจุดที่คุณเฝ้ารอเวลาที่จะไปยิม ไปวิ่ง ไปคลาสโยคะ เมื่อถึงวันนั้นคำถามจะหายไปโดยที่คุณไม่ทันรู้ตัว คุณจะจดจ่อแต่เพียงกล้ามเนื้อ แขนขา และลมหายใจที่ทำให้คุณเบิกบานขึ้น มีพลังขึ้น

 

ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้มาฟรีๆ ต้องแลกด้วยเวลาและการลงทุนลงแรง ทุกความสำเร็จมีราคาต้องจ่าย และการได้มาซึ่งสุขภาพดีก็เป็นเดิมพันที่ควรค่ากับการทุ่มหมดหน้าตัก  

 

ผ่านปีใหม่มาค่อนเดือนแล้ว ถ้าหนึ่งในปณิธานปี 2019 คือการเริ่มต้นออกกำลังกาย แต่ยังคงเป็นเป้าหมายที่แช่แน่นิ่งอยู่ในกระดาษหรือบนสเตตัสราวกับแป้งหมักที่ไม่ยอมขึ้นฟู ในขั้นแรกนักทำขนมปังบอกว่าลองให้เวลาอีกสักนิด ยีสต์อาจยังไม่ตื่นดี

แต่ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิต หากเก่าเก็บจะกลายเป็นยีสต์ตาย

 

ปณิธาน ความฝันก็เช่นกัน

 

ปลุกยีสต์ในตัวคุณให้ตื่นขึ้น ให้พองฟูกับวันใหม่สิ่งใหม่ที่มุ่งมั่นตั้งใจไว้ เพราะเผลอแป๊บเดียวคุณก็ต้องตั้งปณิธานของปีหน้าอีกแล้ว

 

อ่านเรื่อง ออกกำลัง 100: วิธีพาร่างไปออกกำลังกายครั้งแรก ฉบับมนุษย์ตัวเตื้องไม่เคยเข้ายิมที่ง่ายกว่า 101 ได้ที่นี่

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post อย่าปล่อยให้ยีสต์ตาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/lots-of-life-yeast/feed/ 0