ชานันท์ ยอดหงษ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 28 Sep 2023 08:05:39 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คุณูปการ ‘สมรสเท่าเทียม’ สลายปิตาธิปไตย-หญิงผู้เป็นภรรยาจะมีสิทธิเท่าเทียมสามี https://thestandard.co/marriage-equality-woman-man-equal-right/ Thu, 28 Sep 2023 07:11:38 +0000 https://thestandard.co/?p=847468 สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม (ไม่ใช่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต) คือการให้ทุก […]

The post คุณูปการ ‘สมรสเท่าเทียม’ สลายปิตาธิปไตย-หญิงผู้เป็นภรรยาจะมีสิทธิเท่าเทียมสามี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม (ไม่ใช่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต) คือการให้ทุกคู่ชีวิต ไม่ว่าจะคู่ชาย-หญิง, ชาย-ชาย, หญิง-หญิง ตามเพศกำเนิด สามารถจดทะเบียนสมรส เป็น ‘คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย’ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

เพราะการสมรสนั้นเป็นเรื่องความรักของบุคคลที่มีความลึกซึ้ง ความผูกพันแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อกัน เป็นหุ้นส่วนชีวิต ใช้ชีวิตร่วมกันโดยมีเป้าหมายคือความสุข ทว่ากฎหมายยังคงตั้งบนพื้นฐานว่า เพศสัมพันธ์เป็นไปเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์และอยู่ภายใต้สถาบันครอบครัว เห็นได้จากกฎหมายว่าด้วยเหตุฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516 (10)   ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ว่า ‘สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้’ คือถ้าคู่สมรสหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางเพศได้ก็มีสิทธิสามารถฟ้องหย่าได้ 

 

อันที่จริง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 บรรพ ล้อไปตามช่วงชีวิตของมนุษย์ในการดำรงชีวิตในสังคม เกิดเป็นบุคคล ครอบครองทรัพย์สิน ดำรงชีวิต ทำนิติกรรม สร้างเนื้อสร้างตัว ประกอบธุรกิจ กู้หนี้ยืมสิน เช่าซื้อขาย จ้าง ตั้งบริษัทสมาคม แล้วสร้างครอบครัว มีลูก จนเสียชีวิตและจัดการเรื่องมรดก และนับแต่เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 ป.พ.พ. ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว 22 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 เพื่อให้กฎหมายครอบคลุมการดำรงชีวิตของประชาชนมากขึ้น 

 

ถ้าคำนึงเฉพาะบรรพ 5 ที่ว่าด้วยครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการสมรส การหย่า การหมั้นนั้น มีการแก้ไขเสมอมา ซึ่งครั้งล่าสุดคือตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550 เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดสำนึกชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และปัจจุบัน สังคม วิถีชีวิต ค่านิยม ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก เพศสภาพเพศวิถีไม่ได้มีเพียงชายหญิงและรักต่างเพศเท่านั้น ที่สังคมอยู่ร่วมกัน ปฏิสังสรรค์กัน แต่มี LGBTQIA+ การแก้ ป.พ.พ. อีกครั้งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น และเป็นวิวัฒนาการของกฎหมายที่พัฒนาไปตามวิถีชีวิตของประชาชน

 

อย่างไรก็ตาม มันก็มีข้ออ้างขัดขวางสมรสเท่าเทียมว่า การจดทะเบียนสมรสนั้นเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ก่อตั้งสถาบันครอบครัวผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม คู่รักเพศเดียวกันไม่ใช่คู่รักตามธรรมชาติ เพราะไม่นำไปสู่การให้เจริญพันธุ์ ซึ่งข้ออ้างนี้เป็นการตีความที่คับแคบ ขัดกับหลักความเป็นจริง และไม่ยกระดับความคิดไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีกระบวนการช่วยเจริญพันธุ์แล้ว

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ที่ยังไม่ได้ให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสกันได้เหมือนคู่รักต่างเพศ ไม่ใช่สมรสเท่าเทียม ที่นอกจากไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนรักต่างเพศกับคนเพศเดียวกันแล้ว ยังไม่เท่าเทียมระหว่าง ชาย-หญิง สามี-ภรรยา รักต่างเพศที่จดทะเบียนสมรสกัน เห็นได้จากมาตรา 1516 (1)  ตามบรรพ 5 ครอบครัว ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการฟ้องหย่าที่ ‘สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

เพราะ ‘การเป็นชู้’ นั้นหมายถึง ชายร่วมประเวณีกับหญิงที่มีสามีแล้ว ทำครั้งเดียวก็ฟ้องหย่าได้ แต่ถ้าไปร่วมประเวณีกับหญิงที่ไม่มีสามี ถ้าจะฟ้องหย่าต้องรอฝ่ายชายทำเป็นอาจิณ (อาจิณ ราชบัณฑิตยสภาแปลว่า เป็นปรกติ ติดเป็นนิสัย เสมอๆ เนืองๆ) เสียก่อน แต่สำหรับ ‘การมีชู้’ หมายถึง หญิงมีสามีไปร่วมประเวณีกับชายอื่น ไม่ว่าชายนั้นจะแต่งงานมีภรรยาหรือไม่ก็ตาม ถือว่ามีชู้ สามีฟ้องหย่าได้เลย ไม่ต้องรอให้ทำเป็นอาจิณ กลายเป็นความไม่เท่าเทียมทางเพศของกฎหมายครอบครัวที่สนับสนุนชายเป็นใหญ่

 

บรรพ 5 ครอบครัว ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นยังอยู่พื้นฐานความคิดว่า มีแต่ชายกับหญิงเท่านั้นที่จะสร้างครอบครัวได้ และยังไม่หลุดออกจากโครงสร้างชายเป็นใหญ่-ปิตาธิปไตย คำที่ใช้ในกฎหมายก็ยังคงเป็นคำที่มีสำนึก Binary เช่นคำว่า เป็นชู้ มีชู้ และรวมทั้ง ‘ร่วมประเวณี’ ที่ราชบัณฑิตยสภาหมายถึงเสพสังวาส, เป็นผัวเมียกัน

 

หากบ้านนี้เมืองนี้มีสมรสเท่าเทียม ที่จะไปสลายระบบ Binary รักต่างเพศนิยมในกฎหมาย ไม่เพียงจะยกระดับกฎหมายให้คู่รักชายหญิง LGBTQIA+ มีสิทธิจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมกัน ยังจะช่วยให้ผู้หญิง-ภรรยามีสิทธิเท่าเทียมเสมอผู้ชาย-สามี ในการฟ้องหย่า ผู้ชาย-สามีไม่มีสิทธิคุ้มกันการถูกฟ้องมากกว่าผู้หญิง-ภรรยา เพราะย่อมต้องมีการแก้ไขหรือยกเลิกคำในระบบ Binary อย่าง ‘เป็นชู้’ ‘มีชู้’ 

 

ขณะเดียวกัน สำหรับรัฐแล้ว การสมรสก่อตั้งครอบครัวเป็นเสรีภาพของบุคคลในระดับหนึ่ง แต่การหย่านั้นไม่ใช่เสรีภาพของบุคคลอย่างชัดเจน ด้วยความเชื่อว่า สถาบันครอบครัวคือรากฐานความมั่นคงความสงบเรียบร้อยของรัฐ ครอบครัวจึงต้องสมบูรณ์อบอุ่น เพื่อผลิตประชากรมีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ การหย่าร้างคือบ้านแตกสาแหรกขาด การหย่าร้างคือสิ่งที่รัฐไม่ปรารถนา ดังนั้นหากจะฟ้องหย่ารัฐจึงต้องออกมาตรการเงื่อนไขกฎระเบียบควบคุม ที่จะฟ้องหย่าได้ต้องมีพฤติกรรมร้ายแรงจริงจัง เช่นในมาตรา 1516 (2) 

 

‘สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

 

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

 

แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่ากฎหมายพยายามคุ้มครองผู้ถูกกระทำจนเจ็บช้ำน้ำใจ

 

ด้วยเหตุนี้การหย่าก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลฟ้องหย่าก็ตาม เพราะสำหรับคู่สมรสที่ตกลงปลงใจหย่าโดยความยินยอม ที่เขต/อำเภอ หลายครั้งหลายคู่ต้องพบกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนผู้ปรารถนาดีต่อโลก (ไม่ค่อยอยากใช้คำว่า ‘นายทะเบียน’ สักเท่าไร แม้จะเป็นคำที่ใช้ตามกฎหมาย แต่มันให้ความรู้สึกถึงช่วงชั้น ผู้เป็นใหญ่เหนือประชาชน และขณะเดียวกันก็สะท้อนความชายเป็นใหญ่ในเวลาเดียวกัน) หว่านล้อมโน้มน้าวไม่ให้หย่า หรือกว่าจะลงลายมือชื่อในทะเบียนการหย่าและในใบสำคัญการหย่า ต้องมั่นใจว่าคู่สามีภรรยาตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะหย่าจริงจัง 

 

สำหรับเจ้าหน้าที่แล้ว ‘หลายครั้งที่เราต้องทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือโน้มน้าวให้คู่สามีภริยาที่พากันมาจดทะเบียนหย่าให้เปลี่ยนในและกลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน แม้จะต้องชักแม่น้ำทั้งห้ามาปลอบ ให้กำลังใจ ตักเตือน ให้คำปรึกษา หรือใช้เวลาทำความเข้าใจกันเป็นวันๆ แต่ด้วยหัวใจนักปกครองก็ไม่ทำให้เราท้อ เพื่อประชาชนเราทนได้…’ แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้ไปอยู่ใต้เตียงเขาก็ตาม

 

อันที่จริง คือประชาชนสักคู่สมรสหนึ่งจะไปหย่า เค้าคิดสรตะมาแล้ว ตรองมาแล้ว ตัดสินใจมาดีแล้ว เตรียมเอกสารมาครบแล้ว เตรียมพยานบุคคลมาแล้ว ขนส่งมวลชนถนนหนทางบ้านนี้เมืองนี้ใช่ว่าจะดีสะดวกเดินทาง ถ่อมาถึงอำเภอแล้ว ก็คือคิดมาดีแล้ว

 

เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ทะเบียนทำตามหน้าที่ แต่หน้าที่ที่ถูกกำหนดมาเช่นนี้อยู่บนพื้นฐานของการมองว่าเป็นการสร้างความมั่นคง ความผาสุกให้กับสถาบันครอบครัว แต่นั่นก็คือผลักให้เขากลับไปอยู่ในสภาวะเดิม ปัญหาเดิม เพราะการหย่าคืออีกกระบวนการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ ยุติความทุกข์

 

ด้วยความหวังอย่างยิ่งว่า สมรสเท่าเทียม ที่ไม่เพียงปลดล็อกรักต่างเพศนิยมในกฎหมาย เพิ่มสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการสมรส แต่จะสร้างความเท่าเทียมในการหย่าร้างด้วย เพราะนั่นก็เป็นผลผลิตของรักต่างเพศนิยม และชายเป็นใหญ่ในเวลาเดียวกัน

The post คุณูปการ ‘สมรสเท่าเทียม’ สลายปิตาธิปไตย-หญิงผู้เป็นภรรยาจะมีสิทธิเท่าเทียมสามี appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้หรือไม่ โลกนี้มีหลายประเทศให้สิทธิลางาน เพราะเหตุจากปวดประจำเดือนได้ https://thestandard.co/dysmenorrhoea-company-absent-capable-countries/ Mon, 25 Sep 2023 10:24:15 +0000 https://thestandard.co/?p=845902 ปวดประจำเดือน ลางาน

โดยทั่วไประยะเวลาเฉลี่ยของประจำเดือนประมาณ 5-7 วัน อากา […]

The post รู้หรือไม่ โลกนี้มีหลายประเทศให้สิทธิลางาน เพราะเหตุจากปวดประจำเดือนได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปวดประจำเดือน ลางาน

โดยทั่วไประยะเวลาเฉลี่ยของประจำเดือนประมาณ 5-7 วัน อาการปวดประจำเดือนของผู้มีประจำเดือน (Dysmenorrhoea) อาจจะเริ่มปวดเมื่อใกล้ๆ จะมีประจำเดือน หรือปวดขณะมี ซึ่งความรู้สึกปวดมากน้อยก็แล้วแต่คน ซึ่งบางคนอาจรู้สึกเล็กน้อย อดทนได้ บางคนอาจปวดทรมานจนวันนั้นไม่สามารถทำอะไรได้

 

จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2020 ระบุว่า อาการปวดประจำเดือนอาจ ‘เลวร้ายพอๆ กับอาการหัวใจวาย’ 

 

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนนั้นถูกประเมินต่ำไปอย่างมาก หรือถูกมองข้าม แล้วมองว่าเป็นเงื่อนไขส่วนบุคคล ทำให้ความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือนไม่ถูกให้ความสลักสำคัญใดๆ ในระดับสวัสดิการ ขณะที่ความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ว่าจากโรคระบาดหรืออุบัติเหตุได้รับการคุ้มครองโดยภาครัฐและเอกชนมากกว่า

 

จากการสำรวจผู้หญิงชาวดัตช์ 32,748 คน อายุระหว่าง 15-45 ปี ในปี 2019 ลงตีพิมพ์ในวารสาร British Medical Journal พบว่า 14% หยุดงานหรือเรียนในช่วงเวลาที่พวกเธอมีประจำเดือน ส่วนใหญ่โทรศัพท์มาแจ้งว่า ‘ลาป่วย’ มีเพียง 20% เท่านั้นที่ให้เหตุผลที่แท้จริง ร้อยละ 3.4 กล่าวว่าพวกเธอต้องหยุดงานเกือบทุกรอบเดือน ร้อยละ 81 ยอมรับว่าทำงานในขณะที่ปวดประจำเดือน ในช่วงเวลาของพวกเขา และรายงานว่าประสิทธิภาพการทำงานลดลง

 

จากการสำรวจ ประมาณ 68% ต้องการมีตัวเลือกในการทำงาน หรือชั่วโมงเรียนที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อผู้หญิง เพราะการทำงานหรือเรียนหนังสือในช่วงมีประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพของเธอลดลง

 

แม้การมีประจำเดือนจะให้ความรู้สึกปวด แต่ไม่ใช่ความป่วยไข้ และไม่ใช่ความอ่อนแอของเพศที่มีประจำเดือนก็ตาม การที่ต้องหยุดเรียน หยุดงานในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งนำไปสู่การขาดรายได้ หรือเสียโควตาลาป่วย ก็เป็นเรื่องที่ไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่แรกของคนที่มีประจำเดือนกับคนไม่มีประจำเดือน

 

สิทธิลางานเพราะปวดท้องประจำเดือนถูกนำเสนอครั้งแรกในรัสเซียในช่วงปี 1880-1927 ด้วยสำนึกที่จะปกป้องหน้าที่การสืบพันธุ์ของแรงงานหญิงในช่วงเวลาของประเทศที่กำลังมี Industrialization อย่างรวดเร็ว ซึ่งออกเป็นกฎหมายในบางสาขาอาชีพ การทำงานหนักในช่วงมีประจำเดือน ถูกมองว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะเจริญพันธุ์ระดับชาติ และด้วยบริบทของการปฏิวัติรัสเซีย การสูญเสียประชากรที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามกลางเมืองที่ตามมาภายหลัง ทำให้รัฐบาลส่งเสริมอนามัยเจริญพันธุ์ และการคลอดบุตร

 

ประเทศตัวอย่าง

 

การลาปวดท้องประจำเดือนถือว่าเป็นสิทธิหนึ่ง เป็นนโยบายเอกชนและกฎหมายแรงงานในหลายแห่ง โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ไต้หวัน และอินโดนีเซีย

 

ญี่ปุ่น มีกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 1947 ในฐานะสิทธิแรงงาน หลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และประสบปัญหาการสูญเสียประชากรจำนวนมาก มีกฎหมายที่อนุญาตให้แรงงานหญิงลางานเพราะความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือนได้ เรียกว่า ‘Seirikyuuka-Physiological Leave’ แรงงานจะต้องขอลากับนายจ้างโดยตรง หากแต่การพูดถึงประจำเดือนยังเป็นเรื่องต้องห้าม ละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องส่วนตัวของวัฒนธรรม อีกทั้งนายจ้างผู้จัดการส่วนใหญ่ก็ดันเป็นผู้ชาย แรงงานหญิงจึงไม่ต้องการที่จะบอกกับหัวหน้าของเธอโดยตรง และมีหลายคนไม่รู้ถึงนโยบายนี้ เพราะไม่มีการให้ข้อมูล และไม่มีข้อกำหนดให้บริษัทหรือนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่แรงงานหยุด จากการสำรวจในปี 2017 จึงพบว่ามีเพียง 0.9% เท่านั้นที่ขอลาเพราะปวดประจำเดือน

 

เกาหลีใต้ ตามกฎหมายแรงงาน Article 71 of the Labour Standards Law เริ่มมีนโยบายนี้ตั้งแต่ปี 2001 จากการสำรวจในปี 2013 แรงงานหญิงเคยลาเพราะความปวดประจำเดือน 23.6% ในปี 2017 พบว่า 19.7%. ออกกฎหมายเพื่อแรงงานหญิง หากแรงงานหญิงไม่ลาจะได้ค่าจ้างเพิ่มในเดือนนั้น

 

ไต้หวัน แรงงานหญิงสามารถหยุดงานได้ 3 วันต่อปี นอกเหนือจาก 30 วันของแรงงานลาป่วย ที่ได้รับค่าจ้างเพียงครึ่งเดียว

 

อินโดนีเซีย แรงงานหญิงได้รับการอนุญาตให้ลาปวดประจำเดือนได้ เดือนละ 2 วัน ตามมาตรา 81 ของกฎหมายแรงงาน No. 13/2003 และ Labour Act (No. 12/1948)

 

อินเดีย กฎหมายชื่อว่า The Menstruation Benefit Bill, 2017 ถูกนำเสนอในสภาล่าง ด้วยข้อคำนึงว่าเด็กและผู้หญิงเป็นกลุ่มเปราะบางต่อการถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในทางปฏิบัติและแนวคิดทฤษฎีสตรีนิยม อย่างไรก็ตามก็มีหลายบริษัทเอกชนได้ออกกฎในบริษัทที่อนุญาตให้แรงงานหญิงลาปวดท้องประจำเดือนแล้ว เช่น บริษัทไรเดอร์หญิง Swiggy ที่ให้แรงงานลาได้ 2 วันต่อเดือนโดยไม่หักค่าแรง ตั้งแต่ปี 2021, ในปี 2017 บริษัทสื่อดิจิทัล Culture Machine ให้แรงงานหยุดงานได้ในวันแรกของวันที่มีประจำเดือน, ในปีเดียวกันนิตยสารออนไลน์ Magzter ที่ให้ลูกจ้างลาปวดประจำเดือนได้วันที่ 1-2 ของรอบเดือน, บริษัทไรเดอร์ Zomato ให้ลูกจ้างลาได้ 10 วัน ตั้งแต่ปี 2020, IndustryARC บริษัทวิจัยการตลาดและการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์สำหรับ Start-up

 

ในแอฟริกา รัฐบาลแซมเบีย ประกาศกฎหมายในปี 2015 ให้แรงงานหญิงมีสิทธิได้รับวันหยุดในแต่ละเดือนจากการมีประจำเดือน ซึ่งใช้คำว่า ‘วันแม่’ (Mother’s Day) และมีบทการดำเนินคดีและลงโทษสำหรับนายจ้างที่ปฏิเสธลูกจ้างหญิงลา ซึ่งบังคับใช้กับผู้หญิงทำงานทุกคนอย่างถูกกฎหมาย ไม่ว่าพวกเขาจะมีลูกหรือไม่ก็ตาม ด้วยมายาคติที่ว่า การได้พักผ่อนในช่วงมีประจำเดือนช่วยส่งเสริมการเจริญพันธุ์ อันเป็นชุดอธิบายทางการแพทย์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ดังจะเห็นได้จากนโยบายของรัสเซียและญี่ปุ่น

 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเคลื่อนไหวสตรีนิยม Victorian Women’s Trust ที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1985 ในรัฐวิกตอเรีย ออสเตรเลีย เริ่มเคลื่อนไหวในปี 2013 เพื่อให้รัฐบาลออกกฎหมายอนุญาตให้แรงงานหญิงที่มีประจำเดือนสามารถทำงานจากที่บ้าน หรือให้วันลาเมื่อมีประจำเดือน โดยได้รับค่าจ้างสูงสุด 12 วันในแต่ละปี 

 

ขณะที่ทางฝั่งยุโรป รัฐสภาอิตาลี เสนอนโยบายนี้ในปี 2017 ที่ร่างกฎหมายกำหนดให้บริษัทต่างๆ กำหนดวันลางาน 3 วันต่อเดือนโดยได้รับค่าจ้าง สำหรับผู้หญิงที่ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นที่ถกเถียงและยังไม่ได้ประกาศใช้ กระทั่งในปี 2023 รัฐบาลสเปนผ่านกฎหมายให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาปวดประจำเดือน 3-5 วันต่อเดือน ระหว่างมีประจำเดือน โดยยังได้รับค่าจ้าง หากแต่ยังต้องมีใบรับรองแพทย์

 

ข้อโต้แย้ง

 

แม้นโยบายและกฎหมายแรงงานลาปวดประจำเดือน จะเป็นการสร้างสวัสดิการที่คำนึงถึงแรงงานที่หลากหลาย หากแต่กลับถูกมองว่าเป็นความเพ้อฝัน มีบางกลุ่มที่โต้แย้งว่า สิทธิลาป่วยก็ได้ครอบคลุมถึงปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีสิทธิลาหยุดเพราะปวดประจำเดือน แต่ข้อโต้แย้งนี้จะเท่ากับว่าผู้หญิงมีวันลาเนื่องด้วยสุขภาพน้อยกว่าผู้ชาย เหตุเพราะผู้ชายไม่มีประจำเดือน และเป็นการตระหนักถึงประจำเดือนในฐานะความป่วยไข้มากกว่าเป็นเรื่องเงื่อนไขทางร่างกาย

 

นอกจากนี้ยังมีข้อโต้แย้งอีกว่า สิทธิลาปวดประจำเดือนเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศในสถานที่ทำงาน ที่กำหนดระดับทางชีวภาพทางเพศว่ามีผลต่อศักยภาพในการทำงานและการผลิตงาน ทำให้ถูกมองว่าผู้หญิงมีศักยภาพในการทำงานน้อยกว่าผู้ชาย ผลิตงานได้น้อยกว่า มีความอ่อนแอโดยธรรมชาติ รวมไปถึงต้นทุนการจ้างที่สูงกว่าแรงงานชายเมื่อเทียบกับระยะเวลาการทำงาน นำไปสู่การไม่จ้างผู้หญิงทำงาน เพราะนายจ้างต้องการแรงงานที่สามารถผลิตงาน และทำงานได้เต็มที่ตามความต้องการ เช่นเดียวกับกรณีการลาคลอด

 

นอกจากนี้ยังทำให้ถูกมองว่า ประจำเดือนคือโรคภัยไข้เจ็บชนิดหนึ่งมากกว่าเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในวัยเจริญพันธุ์ ในบางวัฒนธรรมที่รังเกียจเลือดประจำเดือน และมักกีดกันผู้หญิงที่มีประจำเดือนเข้าสังคมหรือสัมผัสเครื่องอุปโภคบริโภคด้วยความเชื่อก่อนสมัยใหม่ ว่าจะนำความอัปมงคลมาสู่ชุมชนและคนใกล้ชิด ยิ่งตอกย้ำว่าประจำเดือนสกปรกจนไม่ควรให้ผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือนผลิตงาน สัมผัสอุปกรณ์ในการทำงาน หรือปรุงอาหาร ในกรณีอาชีพแม่ครัวในอินเดียและแอฟริกา

 

สรุป

 

อย่างไรก็ตาม ในกระแสทุนนิยมโลก การออกแบบการทำงานและการผลิตของประเทศ ได้กำหนดพื้นที่การผลิตนอกบ้านเป็นบทบาทของผู้ชาย การผลิตภายในบ้านเป็นบทบาทของผู้หญิง พื้นที่และโครงสร้างการทำงานนอกบ้านที่ผ่านมาจึงออกแบบเพื่อผู้ชายเท่านั้น ไม่ได้เพื่อผู้หญิง และเมื่อบริบทสังคมมีวิวัฒนาการ สถานภาพ สิทธิ และเสรีภาพของผู้หญิงได้รับการยกระดับ และเข้ามาเป็นแรงงานหนึ่งของการผลิตทุนนิยม และอุตสาหกรรม หากแต่โครงสร้างและพื้นที่ทำงานยังไม่ได้รับการพัฒนาตามบริบทสังคมเท่าที่ควร การมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานหญิงในเรื่องลาปวดประจำเดือนจึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างการผลิตที่สอดคล้องกับเพศสภาพ และเพศสรีระที่หลากหลายของแรงงาน 

 

มากไปกว่านั้น สวัสดิการจำเป็นต้องมีความหลากหลาย และคำนึงทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม การมีสิทธิแรงงานลางานเนื่องจากความเจ็บปวดจากการมีประจำเดือน ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศในสถานที่ทำงาน และเป็นการสร้างอำนาจในการเพิ่มสิทธิในการเลือกตัดสินใจ และการกำหนดเงื่อนไขทางชีวภาพได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าแรงงานหญิงจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ตาม แต่สถานที่ทำงานควรได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความสะดวกสบายต่อร่างกายมนุษย์ และตัวตนที่หลากหลายของแรงงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการผลิตงาน และเป็นการสนับสนุนการทำงานนอกบ้านของผู้หญิง ซึ่งการทำงานนอกบ้านของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมีรายได้ด้วยตัวเอง มีอำนาจในการจับจ่าย ตอบสนองความต้องการและบริโภคของตนเอง ตัดสินใจในการเลือกเพื่อตัวเธอเอง ไม่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ชาย

 

อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม:

  • Jincy Thomas and Ansa Augustin. (2018). A Study on the Perception of Men and Women on Availing Menstrual Leave at Work Place. Int.J.Curr.Res.Aca.Rev. Special Issue 5. P. 70-79 
  • Priya Bhalerao And Aayush Shah. (2020). Menstrual Leave – Regressive or Progressive? International Journal of Law Management & Humanities. Volume 3 Issue 5. p. 827-835.
  • Sally King. Menstrual Leave: Good Intention, Poor Solution. Juliet Hassard  and Luis D. Torres (Editors). Aligning Perspectives on Health, Safety and Well-Being. Springer: Switzerland, 2021.

The post รู้หรือไม่ โลกนี้มีหลายประเทศให้สิทธิลางาน เพราะเหตุจากปวดประจำเดือนได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โดดเดี่ยว-กังวล-เปราะบาง ‘LGBTQIA+ สูงอายุ’ กับภาวะที่สวัสดิการผู้สูงอายุถดถอย https://thestandard.co/lgbtqia-elderly-welfare-deteriorates/ Fri, 18 Aug 2023 10:18:04 +0000 https://thestandard.co/?p=830805 LGBTQIA สูงอายุ

ละคร มาตาลดา อวสานไปแล้ว ละครเรื่องนี้ถือว่าเปิดพื้นที่ […]

The post โดดเดี่ยว-กังวล-เปราะบาง ‘LGBTQIA+ สูงอายุ’ กับภาวะที่สวัสดิการผู้สูงอายุถดถอย appeared first on THE STANDARD.

]]>
LGBTQIA สูงอายุ

ละคร มาตาลดา อวสานไปแล้ว ละครเรื่องนี้ถือว่าเปิดพื้นที่ให้เราได้เห็น Chosen Family และ LGBTQIA+ สูงอายุ ท่ามกลางซีรีส์และละคร LGBTQIA+ และ Y มากมายที่พูดถึงวัยรุ่น แม้จะเป็น LGBTQIA+ สูงอายุที่รายได้ดี เป็นเจ้าของกิจการนางโชว์ชื่อดัง มีลูกน้องบริวาร มีเงินมากพอที่จะฝากลูกน้องไปซื้อทองมาบ่อยๆ ที่เป็นเรื่องยากมากในโลกนอกละคร

 

ประเทศไทยได้เข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป ปัจจุบันมีการเฉลี่ยอายุของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 75 ปี แต่ในปี 2568 อายุของคนไทยโดยประมาณจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งมีอายุยาวนานขึ้น 

 

ปัจจุบันอายุมัธยฐานของประชากรไทยอยู่ในวัย 39 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ (จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 25 ปี ในปี 2533, 29 ปี ในปี 2543, 35 ปี ในปี 2553 และ 39 ปี ในปี 2563) และเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก อันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ในอาเซียน อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุนั้นยังไม่เพียงพอทั่วถึง ขณะเดียวกันค่าครองชีพทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้น ทำให้เงินเก็บหลังเกษียณไม่เพียงพออีกต่อไป สร้างความยากลำบากในการเข้าถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

ลำพังผู้สูงอายุจำนวนมากมีเงินออมน้อยหรือไม่มีเลย มีงบประมาณจำกัดสำหรับการดำรงชีวิต ทั้งค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก เบี้ยผู้สูงอายุก็น้อยนิด (ขณะที่ยิ่งสูงอายุค่าใช้จ่ายยิ่งสูงขึ้น เพราะค่ารักษาพยาบาลและค่าเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต) และไม่ถ้วนหน้า เพราะตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ได้เปลี่ยนเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยพิจารณาที่รายได้ของผู้สูงอายุว่าจะต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ซึ่งเท่ากับว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ ‘ถ้วนหน้า’ อีกต่อไป ทำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะไม่ได้รับเงินทุกคนแล้ว ทั้งๆ ที่สวัสดิการผู้สูงอายุต้องถ้วนหน้าเช่นเดียวกับสวัสดิการโดยรัฐอื่นๆ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

 

การที่รัฐบาลรักษาการเปลี่ยนเกณฑ์เช่นนี้ เท่ากับว่าทำลายระบบสวัสดิการให้กลายเป็นเวทนานิยม เปลี่ยนสิทธิพึงได้ที่รัฐต้องบริการประชาชน กลายเป็นความเอื้ออาทรที่รัฐมองพลเมืองเป็นคนอนาถา พึ่งพิงรัฐ มากกว่าจะเป็นเจ้าของรัฐ ผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยต้องไปพิสูจน์ความยากจน ภาวะพึ่งพิงที่ลดทอนคุณค่าความเป็นคน และกระบวนการพิสูจน์ความยากจนสร้างค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นให้กับทั้งรัฐและผู้ที่ยื่นคำขอเบี้ยยังชีพ

 

ยิ่งผู้สูงอายุที่เป็น LGBTQIA+ ยิ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากเพิ่มขึ้น เพราะ LGBTQIA+ เบบี้บูมเมอร์หลายคนไม่ได้มีลูกหลาน อยู่ตัวคนเดียว ห่างเหินจากครอบครัว อันเป็นผลพลอยร้ายจากการไม่มีสมรสเท่าเทียม และอคติตีตราด้วยเหตุแห่งเพศสภาพเพศวิถีตามบริบทยุคสมัย การไม่มีสมรสเท่าเทียมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการด้านสุขภาพได้ และการถูกเลือกปฏิบัติ กีดกัน ไม่ได้รับการยอมรับทางสังคม ทำให้ไม่ได้เข้าถึงงานที่มั่นคงรายได้ดี ไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ

 

LGBTQIA+ สูงอายุมีโอกาสมีครอบครัวหรือมีลูกน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ใช่ LGBTQIA+ ได้รับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่า บางคนหย่าจากคู่สมรสแบบรักต่างเพศ แน่นอนด้วยสภาวะเช่นนี้ LGBTQIA+ วัยเกษียณย่อมมีแนวโน้มที่จะโดดเดี่ยว กังวล และเปราะบางมากกว่า ร้ายไปกว่านั้น LGBTQIA+ บางคนต้องออกจากบ้านที่เกิดและเติบโตมาเพราะถูกรังเกียจ ไม่ยอมรับ ตัดขาดจากพ่อแม่พี่น้อง บางคนใช้ชีวิตกับคู่ชีวิตที่ไม่ได้มีสมรสเท่าเทียม ซึ่งแน่นอนว่าเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ เหมือนคู่สมรสชายหญิง หลายคนเลือกที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองระหว่างเพื่อนฝูงวัยเดียวกัน

 

ด้วยเหตุนี้ LGBTQIA+ สูงอายุหลายคนจึงอยากมีที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและสบายใจที่เรียกว่า ‘บ้าน’ สำหรับ LGBTQIA+ โดยเฉพาะ เพราะที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมเป็นรากฐานที่สำคัญของสุขภาพ และถือได้ว่าเป็นความกังวลหลักของผู้สูงอายุหลายคน

 

SAGE ซึ่งเป็นศูนย์ทรัพยากรแห่งชาติสำหรับ LGBTQIA+ สูงอายุของสหรัฐอเมริกา รายงานว่ามีผู้สูงอายุ LGBTQIA+ เกือบ 4 ล้านคนในสหรัฐฯ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 ล้านคนภายในปี 2030 จากการสำรวจ มีถึง 48% ของคู่รักเพศเดียวกันที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่จากการหาบ้านพักวัยเกษียณ 23% ของคนข้ามเพศถูกเลือกปฏิบัติในการหาบ้านเพื่ออยู่อาศัย และ 34% ของ LGBTQIA+ วัยเกษียณมีความกังวลว่าจะต้องหลบซ่อนอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองเพื่อให้ได้อยู่บ้านพักคนชรา การมีบ้านสำหรับ LGBTQIA+ สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของ LGBTQIA+ รวมทั้งต่อ Chosen Family ภายใต้สังคมที่จำกัดพื้นที่ 

 

ในอีกกรณีของ LGBTQIA+ สูงอายุที่ฟิลิปปินส์ มี Home for the Golden Gays (HGG) ในเมืองปาไซ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรของฟิลิปปินส์ที่ให้การสนับสนุนและดูแลผู้สูงอายุ LGBTQIA+ สมาชิกในองค์กรประมาณ 40 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นกะเทยและเกย์สาว พวกเธอถูกเรียกกันว่า ‘The Lolas’ (Lola เป็นภาษาฟิลิปปินส์ แปลว่า ย่า) HGG ก่อตั้งในปี 1975 เมื่อ จัสโต จัสโต คอลัมนิสต์ชาวฟิลิปปินส์ สมาชิกสภาเมืองปาไซ และนักกิจกรรม LGBTQIA+ ใช้บ้านของตัวเองเป็นสถานที่อยู่อาศัยของบรรดาเกย์และกะเทยสูงอายุ ให้ใช้ชีวิต ทำมาหากิน สังสรรค์ จิกกัด ปลอบใจ ตามประสาครอบครัว อย่างไรก็ตาม เมื่อจัสโตเสียชีวิตในปี 2012 เพียง 1 วันให้หลัง สมาชิกบ้านเกย์ทองก็ถูกขับไล่โดยครอบครัวของจัสโต

 

บรรดา Lolas ต้องระเห็จกลับบ้านญาติ ญาติก็ไม่ได้ต้อนรับนัก ต่างต้องเผชิญความยากลำบากที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน บ้างก็กระจายอยู่ตามท้องถนนเป็นคนไร้บ้าน ไม่มีที่พักพิง มีเงินเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย 

 

พวกเธอจึงพยายามระดมทุนสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ถาวร จัดงานแดร็กโชว์และโครงการเผยแพร่ชุมชนอย่างน้อยเดือนละครั้ง รับเงินจากผู้บริจาคและเอกชนบ้าง พอจะทำให้ครอบคลุมค่าอุปโภคบริโภคและค่ารักษาพยาบาลตามความชราภาพของสมาชิก 

 

สมาชิกบางคนทำงานเป็นพ่อค้าแม่ขายหรือคนทำความสะอาดถนนเพื่อหารายได้เข้ากลุ่ม ในสภาวะโครงสร้างที่มีความเหลื่อมล้ำสูง สวัสดิการสังคมและสวัสดิการโดยรัฐยังไม่ดีพอ พวกเธอยังต้องได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เหมือนชะตากรรมของบ้าน Home for the Golden Gays ที่เกิดขึ้นจากบุคคล ไม่ใช่สวัสดิการโดยรัฐ

 

อันที่จริงการมีอยู่หรือควรมีบ้านพักคนชรา LGBTQIA+ ไม่ได้หมายความว่า LGBTQIA+ ต้องการหรือเรียกร้องอะไรพิเศษเหนือกว่าชายหญิงรักต่างเพศ หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่า 

 

หากแต่พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ ผลักไสให้มีคุณภาพชีวิตแย่กว่า มั่นคงน้อยกว่า มีโอกาสในการดำรงชีวิตที่ดีน้อยกว่าตั้งแต่เกิดยันแก่

The post โดดเดี่ยว-กังวล-เปราะบาง ‘LGBTQIA+ สูงอายุ’ กับภาวะที่สวัสดิการผู้สูงอายุถดถอย appeared first on THE STANDARD.

]]>
มัณฑารพ กมลาศน์: หัวหน้านางพยาบาลรุ่นบุกเบิก หม่อมเจ้าผู้ยกระดับวิชาชีพเพื่อมวลชน https://thestandard.co/mandarop-kamalas-pioneer-head-nurse/ Fri, 16 Apr 2021 05:31:53 +0000 https://thestandard.co/?p=476321 มัณฑารพ กมลาศน์: หัวหน้านางพยาบาลรุ่นบุกเบิก หม่อมเจ้าผู้ยกระดับวิชาชีพเพื่อมวลชน

เมื่อราชสำนักรัชกาลที่ 5 ไล่ตามความศิวิไลซ์ การเปิดรับว […]

The post มัณฑารพ กมลาศน์: หัวหน้านางพยาบาลรุ่นบุกเบิก หม่อมเจ้าผู้ยกระดับวิชาชีพเพื่อมวลชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
มัณฑารพ กมลาศน์: หัวหน้านางพยาบาลรุ่นบุกเบิก หม่อมเจ้าผู้ยกระดับวิชาชีพเพื่อมวลชน

เมื่อราชสำนักรัชกาลที่ 5 ไล่ตามความศิวิไลซ์

การเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 นำไปสู่การก่อตั้งโรงเรียนสตรีสุนันทาลัยภายในวัง เพื่ออบรมสอนบรรดาหญิงผู้ดีลูกท่านหลานเธอ ลูกสาวข้าราชการขุนนางให้มีความรู้สมัยใหม่แบบตะวันตก มีความรู้พออ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มีมารยาทธรรมเนียมตะวันตก คำนวณเลขคณิต รู้ภูมิศาสตร์ พงศาวดาร และวิชาแม่บ้านการครัว ทว่าโรงเรียนก็ไม่ได้ตั้งใจผลิตผู้หญิงป้อนเข้าสู่ระบบราชการ หากแต่ตั้งใจผลิตหญิงมีความรู้สมัยใหม่เพื่อเป็นภรรยาชนชั้นนำชายหรือเป็นนางรับใช้หญิงชนชั้นสูงอีกที

 

ดังนั้นเมื่อนักเรียนสตรีสุนันทาลัยสามารถสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อเรียนต่อต่างประเทศได้สำเร็จ จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเรียนต่างประเทศเหมือนผู้ชายที่สอบได้ 

 

หนึ่งในนักเรียนหญิงที่สอบได้ใน พ.ศ. 2441 แต่ไม่ได้ไปต่อคือ หม่อมเจ้ามัณฑารพ กมลาศน์ แต่ก็ได้รับเงินปลอบใจแทนจำนวน 1,600 บาท ซึ่งเป็นเงินที่มากกว่าผู้อื่น เพราะจำนวนเงินรางวัลมากน้อยตามระดับชนชั้นผู้รับ มีหญิงสามัญชนที่สอบได้เหมือนกันแต่ได้รางวัลปลอบใจเพียง 80 บาท

 

ชีวิตใต้ร่มระบบอุปถัมภ์ของมัณฑารพ กมลาศน์

หม่อมเจ้ามัณฑารพ กมลาศน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2425 เป็นธิดากรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรกับหม่อมวาศน์ กมลาศน์ ณ อยุธยา เธอมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของรัชกาลที่ 4 และได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงในการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ราชินีในรัชกาลที่ 5 (ต่อมาเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เมื่อเรียนจบสุนันทาลัยก็มาเป็นอาจารย์สอนหญิงชนชั้นสูงภายในวัง และได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินีชั่วคราว ต่อมาเธอเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งเป็นสองโรงเรียนสตรีที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยนั้น

 

ชีวิตของ มัณฑารพ กมลาศน์ เข้ามาสู่วงการพยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2461 เพราะถูกส่งไปเรียนโรงเรียนนางพยาบาลสภากาชาด หลักสูตร 1 ปี ตามคำสั่งของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เนื่องจากหญิงชนชั้นสูงต่างก็ต้องการให้ข้าหลวงของตนมีความรู้ทางการแพทย์พยาบาลสมัยใหม่มารับใช้ดูแลด้านสุขภาพอนามัยตนเองยามป่วยไข้

 

ผู้หญิงเมื่อแรกมีการพยาบาลและการแพทย์สมัยใหม่

เดิมทีการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐราชสำนักและเริ่มมีตั้งแต่ พ.ศ. 2423 ใช้รักษาเฉพาะทหารที่เจ็บป่วยเท่านั้น กระทั่งเริ่มมีกิจการโรงพยาบาลศิริราชที่รักษาราษฎรใน พ.ศ. 2429 จากนั้นจึงเริ่มมีโรงเรียนแพทย์ และ ‘โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์ แลการพยาบาลไข้’ ใน พ.ศ. 2439 และเมื่อมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตามมณฑลต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2448 ก็ขยายอาชีพนางพยาบาลให้ไปรักษาพยาบาลคนไข้ตามบ้าน ทำงานในสถานีอนามัย สอนสุขวิทยาตามโรงเรียน ต่อมาอีกหลายปีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็เปิดหลักสูตรนางพยาบาลของสภากาชาดสยามเมื่อ พ.ศ. 2457 ด้วยสำนึกคิดที่เชื่อมโยงวิชาชีพพยาบาลกับ ‘ความเป็นหญิง’ ที่ต้องปรนนิบัติ บริการ ดูแล สมาชิกในครอบครัวว่า

 

“การพยาบาลคนเจ็บไข้เป็นหน้าที่ของผู้หญิงโดยเฉพาะ และผู้หญิงทำได้สนิทเรียบร้อยดีกว่าผู้ชายทำ เพราะฉะนั้นคนพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วไปในโลก จึงต้องเป็นผู้หญิง ผู้ชายเป็นแต่ผู้ช่วยในสิ่งที่ผู้หญิงไม่ควรกระทำ”

 

แต่เนื่องจากโรงเรียนวิชาชีพพยาบาลสอนวิชางานบ้านงานเรือน ดูแลเด็ก ทำอาหาร เย็บปักถักร้อยเหมือนโรงเรียนสตรีทั่วๆ ไปด้วย แต่เพิ่มเติมวิชาพยาบาล อนามัย การดูแลเด็ก การดูแลคน การผดุงครรภ์ นักเรียนที่จบออกไปส่วนมากก็หันมาประกอบอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อผ้าแทน เพราะงานผดุงครรภ์และนางพยาบาลเป็นงานหนักแต่รายได้ต่ำ หญิงสามัญชนที่เข้าเรียนโรงเรียนวิชาชีพนี้ก็ไม่ได้สนใจในอาชีพพยาบาลจริงๆ หากแต่เป็นหนทางในการจะได้รับการศึกษาสูงขึ้น เพราะเป็นโรงเรียนที่สมัครเข้าได้ง่าย

 

ขณะเดียวกันในช่วงแรกมีอาชีพนางพยาบาลนั้นก็ถูกมองว่าเป็นอาชีพชั้นต่ำ รับจ้างทั่วไปคอยดูแลคนเจ็บป่วย ไม่ได้เรียนตามหลักวิชา อธิบดีกรมสาธารณสุขในขณะนั้นจึงปรับปรุงความรู้และนิยามนางพยาบาลว่าเป็นผู้ช่วยแพทย์ เกลี้ยกล่อมโฆษณาให้ลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และหญิงชนชั้นสูง (ซึ่งก็ได้เลือกหญิงชนชั้นสูงระดับหม่อมเจ้าที่ถือว่าเป็นเจ้าระดับล่างสุด) มาสมัครเรียนวิชาพยาบาลเพื่อเป็นตัวอย่างให้เกิดความนิยมแก่คนทั่วไป

 

จากข้ารับใช้ราชสำนักสู่บุคคลสาธารณะผู้มีคุณูปการแก่มวลชน

เมื่อมัณฑารพเข้ามาในวงการนางพยาบาลก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากองโรงเรียนพยาบาล ทำหน้าที่ทั้งควบคุมระบบการศึกษาการเรียนการสอนและการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของสภากาชาด ในระหว่างนี้เธอได้จัดระเบียบมาตรฐานความรู้พยาบาลเพื่อยกระดับให้เทียบเท่าสมัยใหม่สากล

 

เมื่อเริ่มมีอาชีพพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดการรวมตัวก่อตั้งเป็น ‘สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม’ ใน พ.ศ. 2470 กลายเป็นสมาคมวิชาชีพสตรีแห่งแรกของประเทศ เพื่อสร้างสวัสดิการ ปกป้องสิทธิ และยกระดับอาชีพ รวมทั้งจัดกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่ง มัณฑารพ กมลาศน์ หัวหน้าพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคม และต่อมาใน พ.ศ. 2474 เธอได้ให้พิมพ์วารสาร ‘จดหมายเหตุสมาคมนางพยาบาลไทย’ และเป็นบรรณาธิการเอง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้วิชาชีพพยาบาลและเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับมาตรฐานอาชีพพยาบาล

 

บทบาทสำคัญและกรณียกิจต่อวงการพยาบาลของ มัณฑารพ กมลาศน์ เป็นผลพลอยได้อย่างไม่ตั้งใจของระบบอุปถัมภ์และศักดินาสวามิภักดิ์ ที่ชนชั้นเจ้าอยู่ในสถานะ ‘เจ้าชีวิต’ สามารถกำกับชีวิตของผู้อื่นได้ว่าจะต้องเป็นหรือทำหน้าที่อะไร รับใช้ใครในกิจการด้านใด ซึ่งชีวิตและโอกาสของมัณฑารพก็ถูกอุปถัมภ์และตัดสินใจแทนโดยชนชั้นสูงมาตลอด แม้เธอจะสอบชิงทุนหลวงไปเรียนต่างประเทศได้คะแนนอันดับ 1 แต่ก็ต้องเสียโอกาสทางการศึกษามารับใช้หญิงชนชั้นสูงกว่า และถูกกำหนดให้ต้องทำหน้าที่ตามความต้องการส่วนบุคคลของเจ้าชีวิต

 

อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นเจ้าชีวิตของเธอ เธอก็ใช้ความรู้ความสามารถ สถานะทางสังคม และตำแหน่งแห่งที่ที่มีสร้างสาธารณประโยชน์แทน กลายเป็นหญิงคนแรกๆ ที่เข้ามาทำงานและสร้างความรู้ด้านพยาบาลอันเป็นอาชีพใหม่สำหรับผู้หญิงแห่งยุคสมัย 

 

เพราะก่อนหน้านั้นอาชีพและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สมัยใหม่ผูกขาดกับผู้ชาย และได้กลายเป็นอีกผู้หนึ่งที่ช่วยยกระดับจัดระเบียบวงการพยาบาลในเวลาต่อมา ท่ามกลางหญิงจำนวนมากที่เริ่มประกอบอาชีพนางพยาบาลก็อุทิศตัวเพื่อสาธารณประโยชน์และสาธารณสุขเช่นกัน แต่เพราะทำงานให้สภากาชาดที่เป็นสถาบันสังคมสงเคราะห์เก่าแก่ของหญิงชนชั้นสูง และด้วยสถานะหม่อมเจ้าของเธอแต่ประกอบอาชีพพยาบาล ทำงานบริการช่วยเหลือประชาชนจำนวนมาก เธอจึงโดดเด่นและถูกกล่าวขวัญชื่นชมมากกว่านางพยาบาลสามัญชนคนอื่นที่ทำงานและอุทิศตัวเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามมัณฑารพมีอายุเพียง 46 ปี เธอเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ จึงลาออกจากราชการพยาบาลไปรักษาตัว แต่อาการก็กลับทรุดลงอย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และเพื่อระลึกถึง สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย (เดิมคือสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม) จึงตั้งมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เพื่อส่งเสริมทุนทางการศึกษาและวิจัยด้านพยาบาล

 

พิสูจน์อักษร: ชนเนตร ลอยครุฑ

The post มัณฑารพ กมลาศน์: หัวหน้านางพยาบาลรุ่นบุกเบิก หม่อมเจ้าผู้ยกระดับวิชาชีพเพื่อมวลชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 https://thestandard.co/chuencham-ramrachabhakdi/ Tue, 26 Jan 2021 12:46:00 +0000 https://thestandard.co/?p=447647 ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475

ชื่นแช่ม รามราชภักดี (พ.ศ. 2449-2524) เป็นอีกสตรีผู้หนึ […]

The post ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475

ชื่นแช่ม รามราชภักดี (พ.ศ. 2449-2524) เป็นอีกสตรีผู้หนึ่งที่พยายามจะยกระดับสถานภาพสตรี และเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้หญิง 

 

เธอโตมาในสังคมข้าราชการที่มักเต็มไปด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในครอบครัว สามีและภรรยามีสถานภาพแตกต่างกันอย่างชัดเจน นอกเหนือจากการจัดระดับชั้นระหว่างภรรยาน้อย ภรรยาหลวง 

 

อย่างไรก็ตาม การที่เธอเป็นลูกสาวชนชั้นนำ ก็ทำให้เธอได้เข้าถึงทรัพยากรทางสังคมมีโอกาสและสถานะที่ดีกว่าหญิงชนชั้นอื่น ซึ่งก็ช่วยประกอบสร้างให้เธอเป็นหญิงที่มีความรู้ความสามารถได้ไม่ยาก

 

เธอเป็นลูกสาวของพระยาวิเชียรปราการ (ชื้น คชภูมิ) กับแย้ม นามสกุลเดิม อิศรางกูร สามีของชื่นแช่มคือพระยารามราชภักดี (สวัสดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ข้าราชการมหาดไทยว่าราชการในหลายจังหวัด

 

 

แม่บ้านแม่เรือนไม่ใช่แค่มีหน้าที่แม่และเมียเท่านั้น

 

สำหรับเธอ ภรรยาจะต้องมีความรู้เป็นเพื่อนคู่คิดสามีได้ ไม่ใช่หญิงรับใช้ปรนนิบัติสามี มีพื้นที่จำกัดแต่ในครัวเรือนหรือสมบัติประดับบารมีสามี แต่ต้องเคียงข้างสามีบนพื้นที่สาธารณะ และมีบทบาทสำคัญนอกบ้านได้ 

 

ดังนั้น ผู้หญิงจึงต้องรู้จักมารยาทการเข้าสังคม รู้จักการทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภรรยาของข้าราชการ เธอจึงได้เขียนตำราหลักปฏิบัติสำหรับภรรยาราชการ โดยภรรยาข้าราชการเอง เรื่อง ‘บุคคลิกภาพภรรยานักปกครอง’ จากประสบการณ์ที่พบเห็นมาจากการที่เธออยู่ในแวดวงราชการ ให้เป็นคู่มือให้กับผู้หญิงที่เป็นภรรยาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นนำ นักปกครอง ในฐานะที่ภรรยามีผลต่อหน้าตา ความสง่างามของสามี สามารถให้คุณให้โทษแก่สามีได้ในวงการราชการ ทั้งเป็นผู้ปกครองหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

 

ต่อมาเธอแต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ‘วีรสตรีที่ประวัติศาสตร์ลืม’ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้หญิงก็มีบทบาทในเรื่องการเมืองภาครัฐ การสงคราม ยอมสละความสุข ความรักส่วนตัวเพื่อชาติได้ หากแต่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของประชาชน ผ่านตัวละคร ‘พระสุพรรณกัลยาณี’ และได้นำมาตีพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานศพพ่อของเธอ

 

 

การก่อตั้ง ‘สมาคมสตรีศรีลานนาไทย’ พ.ศ. 2491

 

ในช่วงเวลาที่เธอติดตามสามีไปปฏิบัติราชการที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2489-2490 และได้เห็นว่าเชียงใหม่มีอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผู้หญิงในพื้นที่เองสามารถแบ่งเวลามาทำงานสาธารณะ และตื่นตัวที่จะสร้างสาธารณะกุศล บำเพ็ญประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางศาสนา เธอจึงก่อตั้งสมาคมของผู้หญิง ‘สมาคมสตรีศรีลานนาไทย’ และจดทะเบียนใน พ.ศ. 2491

 

แช่มชื่นตั้งข้อสังเกตว่า เชียงใหม่มีวัดมาก แต่ไม่มีโรงเรียนอนุบาลของรัฐ ผู้ปกครองต้องฝากลูกเรียนโรงเรียนคริสต์ศาสนาแทน ทำให้ชาวเชียงใหม่ที่มีการศึกษาสมัยใหม่ขณะนั้นนับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น เพราะมีสถาบันขัดเกลาตั้งแต่เด็ก ซึ่งรวมถึงลูกสาวเธอด้วย เพราะเธอเองก็ส่งลูกสาวไปเรียนในโรงเรียนมิชชันนารี เธอเห็นว่าลูกของเธอไหว้พระเยซูมากกว่าพระพุทธเจ้า จึงร่วมมือกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และภรรยา หาเงินในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ป้องกันเด็กในพื้นที่เปลี่ยนศาสนาไปตามระบบการศึกษาสมัยใหม่โดยมิชชันนารี เธอของบประมาณจากรัฐบาลสร้างโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่วัด

 

และเพื่อหาเงินสร้างโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ชื่นแช่มจึงเขียนหนังสือชื่อเดียวกับสมาคม ‘สตรีศรีลานนาไทย’ พิมพ์ 200,000 เล่ม ขายราคาเล่มละ 5 บาท เพื่อเป็นคู่มืออนามัยสำหรับแม่บ้าน ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อนามัย ตั้งแต่การจ่ายตลาดเลือกเนื้อสัตว์ การทำความสะอาดก่อนนำมาทำอาหาร ความรู้ด้านเชื้อโรค พยาธิและการกำจัด การแต่งบ้านให้สวยงามในราคาประหยัด และสำหรับบ้านที่มีพื้นที่แคบ รวมถึงสูตรทำอาหารคาวหวาน

 

สมาคมสตรีศรีลานนาไทยของเธอมีสมาชิกถึง 400 คน และกลายเป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนระหว่างผู้หญิงชนชั้นนำเก่า ตระกูลชนชั้นเจ้าจากอาณาจักรล้านนา กับประชาชนหญิง นักธุรกิจ และข้าราชการจากกรุงเทพฯ ในฐานะผู้อุปถัมภ์สมาคม และได้จัดกิจกรรมพบปะสมาคมทุกเดือน เพื่อแสดงวิธีประดิษฐ์ของใช้ ทำดอกไม้ อาหารคาวหวาน และกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เช่น ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นกลับคืนภูมิลำเนาเดิม อุปถัมภ์นักเรียนที่ไม่มีผู้อุปการะ ช่วยเหลือครอบครัวยากจน ผู้ไม่มีอาชีพแน่นอน ช่วยเหลือด้านการศึกษาให้ครอบครัวผู้มีลูกมาก และในช่วงสงครามเกาหลีก็ได้ส่งของขวัญให้ทหารที่ไปรบ

 

สมาคมของเธอเป็นที่สนใจของสตรีหัวก้าวหน้าขณะนั้นเป็นอย่างมาก นิตยสารสตรีสารที่ถือว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงหัวก้าวหน้าในขณะนั้นลงข่าวชื่นชมสนับสนุนสมาคมของเธอ

 

‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย’ พ.ศ. 2497

 

ต่อมารัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีโครงการที่จะตั้งสมาคมสตรีประจำจังหวัดทั่วประเทศ ในนาม ‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง’ สมาคมสตรีของเธอจึงได้น้อมรับนโยบายเข้าร่วมกับโครงการเป็น ‘สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย’ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2497

 

และในคราวเปิดสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงที่จังหวัดสมุทรปราการ เธอก็ได้เขียนบทความ ‘อุดมคติของข้าพเจ้า’ ลงในหนังสือที่ระลึกวันเปิดสมาคมส่งเสริม เพื่อเชิดชูผู้หญิงที่เป็นภรรยาแม่บ้านแม่เรือนว่า

 

“ผู้ที่เกิดมาเป็นสตรีจะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีโดยสมบูรณ์ ชาติจะเจริญได้ก็ต้องอาศัยบุคคลแต่ละครอบครัวเจริญดี ครอบครัวแต่ละครอบครัวจะเจริญได้ก็ต้องอาศัยแม่เรือนที่ดีเป็นหลัก เพราะถ้าสตรีผู้เป็นแม่บ้านแม่เรือนคนใดขาดความเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีแล้ว บ้านเรือนหรือครอบครัวนั้นย่อมประสพแต่ความเสื่อม”

 

เนื่องจากชื่นแช่มเป็นภรรยาข้าราชการชั้นสูงคนหนึ่งที่ต้องการยกระดับสถานภาพสตรี แต่พื้นที่และโอกาสของผู้หญิงยังคงมีจำกัดมากตามเงื่อนไขของค่านิยมในขณะนั้น เธอจึงเลือกให้ความสำคัญกับความหมายของสถานะแม่บ้าน ในฐานะหน้าที่ของผู้หญิงที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจตามนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น และพยายามอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติตามนโยบายโครงการต่างๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่พยายามสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจ ในฐานะที่เป็นโอกาสหนึ่งที่แม่บ้านจะมีส่วนร่วมกับกิจการบ้านเมืองได้ 

 

เธอเองก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เลื่อมใสในการทำงาน ความสามารถ และอุดมการณ์ของจอมพล ป. อย่างมาก ถึงกับเขียนสรรเสริญในคำไว้อาลัยสามีของเธอเอง

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ชื่นแช่ม รามราชภักดี: ผู้พยายามยกระดับแม่บ้านแม่เรือนหลังปฏิวัติ 2475 appeared first on THE STANDARD.

]]>