ชลากรณ์ ปัญญาโฉม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 05 Mar 2018 07:19:54 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/ https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/#respond Mon, 05 Mar 2018 07:09:58 +0000 https://thestandard.co/?p=74969

เห็นข่าว KBank ประกาศจะเริ่มทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้วน […]

The post Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เห็นข่าว KBank ประกาศจะเริ่มทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้วน่าสนใจไม่น้อย

 

ประกอบกับบังเอิญว่าผมแอบนั่งดูตัวเลขแอปพลิเคชันที่คนจำเป็นต้องใช้บนมือถือมาสักระยะแล้วพบว่า แอปพลิเคชันของธนาคารเริ่มเป็นแอปพลิเคชันที่ผู้คนส่วนมากต้องมีติดเครื่องไว้

 

ตัวเลขล่าสุดจาก We Are Social นั้นบอกว่า แอปพลิเคชันของ KBank มีผู้ใช้งานในประเทศไทยรองจาก LINE, Facebook, Facebook Messenger และ Instagram เพียงแค่นั้น นั่นหมายความว่ามีผู้ใช้งานประจำอยู่จำนวนไม่น้อย

 

แน่นอนว่าแอปพลิเคชันของแบงก์หรือธนาคารอื่นๆ ก็น่าจะมีผู้ใช้งานประจำอยู่มากด้วยเช่นกัน

 

นั่นหมายความว่า ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารเป็นประจำในการโอนเงิน หรือทำธุรกรรมทางธนาคารมากขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนตรงกันกับที่ ธนาคารเริ่มลดสาขาลง

 

ตัวเลขประกอบที่น่าสนใจคือ ตัวเลขผู้มีบัตรเครดิตนั้นต่ำไปนิด แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขของผู้มีบัญชีเงินฝากและเงินกู้รายย่อยนั้นสูงมาก

 

ทั้งหมดนี้แม้บรรยากาศที่ใครๆ ก็ว่าธนาคารกำลังจะถูก Technology Disrupt แต่เมื่อมอง Technology ในแง่ประโยชน์ของการใช้งานนั้นมีโอกาสอันน่าสนใจปะปนอยู่

 

ผมเคยคิดมาสักพักแล้วว่า ถ้าจะมีใครสักคนสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของประเทศเราเองเอาไว้ใช้

 

ธนาคารนี่แหละเหมาะสมที่สุดที่จะทำ เพราะผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานประจำในแต่ละวันมีอยู่มากไม่แพ้แพลตฟอร์มอื่นๆ ของต่างประเทศเลย

 

ลองนึกดูเล่นๆ ว่า ถ้าเราเข้าแอปพลิเคชันของแบงก์อยู่แล้ว แล้วเราสามารถซื้อ-ขาย ของได้ด้วย ซื้อใช้เองหรือซื้อส่งให้เพื่อนได้ในราคาที่พอๆ กันกับอีคอมเมิร์ซอื่นๆ และให้ตัดยอดเงินในบัญชีเราไปได้เลย เพราะคนส่วนมากมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารอยู่แล้วสักธนาคารหนึ่ง ไม่ต้องมีบัตรเครดิตก็จับจ่ายซื้อของได้ง่าย หรืออาจมีระบบเงินผ่อนรอไว้เลยจากฐานบัญชีเงินฝากเรา มันก็น่าจะสะดวกดี

 

รวมไปถึงธนาคารเองนั้นมีฐานลูกค้า ร้านค้าต่างๆ อยู่มากมายอยู่แล้ว จากเงินกู้ SMEs ต่างๆ

 

ถ้าทำสำเร็จ ธนาคารจะมีข้อมูลอีกมากในการจับจ่ายใช้สอยของผู้คน รวมถึงสินค้า ร้านค้า เงินกู้ ฯลฯ

 

ซึ่งถ้าบริหารจัดการข้อมูลพวกนี้ได้ดี ธนาคารจะสร้างธุรกรรมการเงิน รวมไปถึงการจับจ่ายใช้สอยได้อีกมาก

 

และน่าจะไม่แพ้อีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจของคนที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นมีอยู่พอสมควรในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

 

ผมคิดว่าไอเดียแบบนี้ใครๆ ก็น่าจะคิด ธนาคารเองก็น่าจะคิดออก

 

คำถามคือจะ Execution อย่างไร เพื่อสร้างพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยให้เกิดขึ้นเพิ่มเติมบนแอปพลิเคชันของธนาคารที่ในวันนี้ส่วนมากใช้โอนเงิน ทำธุรกรรมทางธนาคาร และซื้อ Product ทางการเงิน หรือประกันภัยเพียงแค่นั้น

 

การ Execution การทำการตลาด การคัดเลือกสินค้า การตั้งราคา การจัดส่งสินค้า การบริหารจัดการหน้าร้านบนแอปพลิเคชันนั้นไม่ง่ายนัก แต่ไม่ใช่ว่าจะยากเกินความสามารถ

 

ถ้าธนาคารสามารถฝึกพนักงานธนาคารในวันนี้ให้สามารถบริหารจัดการร้านค้า คัดเลือกร้านค้า และสินค้า รวมถึงการดูแลการตลาดให้สินค้าที่มาทำการค้าขายบนแอปพลิเคชันของธนาคารได้ด้วยจะดีไม่น้อย แน่นอนว่าธนาคารมีระบบการเงินและเงินกู้ที่ดีในการสนับสนุนสินค้าที่ขายดีบนออนไลน์ได้อยู่แล้ว เพราะสามารถเห็นข้อมูลเมื่อเกิด Transaction

 

ผมคิดว่าทุกธนาคารน่าจะเห็นข้อมูลนี้ และกำลังเตรียมตัวอยู่ เพียงแต่ KBank นั้นขยับตัวก่อน

 

โดยส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว และก็ขอเอาใจช่วยทุกธนาคารที่มีความคิดจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้ทำสำเร็จ เราจะได้มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่แข็งแรงของคนไทยที่ใครๆ ก็พูดถึงกันมานาน

 

ในเมื่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba เริ่มทำตัวเป็นธนาคารแล้วได้ ตัวธนาคารเองก็อาจจะกลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซบ้างก็ได้

 

บนวิกฤตของ Technology Disruption นั้นมีโอกาสเสมอ หากเราเรียนรู้จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดไม่ใช่ไอเดีย แต่เป็นทัศนคติและการปฏิบัติเสียมากกว่า

 

ท้ายนี้ขอฝากตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัว เผื่อใครคิดอะไรออก ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก ตัวเลขการใช้เงินอันดับ 1 บนออนไลน์คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ตามมาด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และของเล่น ถ้าเจาะให้ลึกอีกหน่อยคือ การจองโรงแรมและตั๋วในการเดินทาง ผู้เล่นที่ได้ประโยชน์จากธุรกรรมนี้มีอยู่ไม่มาก ถ้าใครมีแพลตฟอร์มที่ใหญ่และ Execution ที่ดีก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

 

ขอให้ทุกคนหาโอกาสจาก Technology Disruptive ให้เจอ และสร้างโอกาสจาก Disruptive นั้นให้ได้

The post Digital Disruption บนวิกฤตมีโอกาสอันยิ่งใหญ่เสมอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/digital-disruption-opportunity/feed/ 0
ปีแห่งการเรียนรู้ https://thestandard.co/year-of-learning/ https://thestandard.co/year-of-learning/#respond Fri, 22 Dec 2017 08:45:46 +0000 https://thestandard.co/?p=57319

ใกล้วันสุดท้ายของปีแล้ว ทางทีม THE STANDARD เขาอยากให้เ […]

The post ปีแห่งการเรียนรู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใกล้วันสุดท้ายของปีแล้ว ทางทีม THE STANDARD เขาอยากให้เขียนถึงปีนี้และปีหน้าหน่อย


มาลองดูไปพร้อมๆ กันนะครับ


ในภาพรวมปีนี้ ดูเหมือนว่าเราจะได้ยินแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงกันตลอดทั้งปี

 

แต่ปีนี้เราได้ยินกันถี่มากและได้ยินอยู่ตลอดเวลา มีทั้งหลักสูตร สัมมนา ข่าวสารหลากหลายต่างๆ นานาที่ล้วนพูดถึงและขู่กรรโชกเราด้วยความน่ากลัวของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน


ในความเป็นจริงแล้ว โลกและสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงมาอยู่ตลอด เพียงแต่ว่าหลายปีที่ผ่านมายังพอมีเวลาให้เราตั้งหลักเรียนรู้และปรับตัวกันพอสมควร


สำหรับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ถ้าลองย้อนนึกดูก็จะพบว่าโลก สังคม และสภาพแวดล้อมนั้นเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากขนาดไหน


ผมยังอายุไม่ถึง 60 แต่มาย้อนนึกดูแล้วพบว่าโลกและสังคมรอบข้างนั้นเปลี่ยนแปลงไปมากในระยะเวลาไม่นานนัก


ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันชัดๆ สมัยผมเด็กๆ ทีวีที่ได้ดูครั้งแรกยังเป็นขาวดำ ก่อนจะปรับมาเป็นสีและมีรีโมต


รถยนต์ส่วนมากไม่มีแอร์ เป็นเกียร์ธรรมดา


ผมใช้เวลาหลายปีมากกว่าจะขอเบอร์โทรศัพท์ที่บ้านได้


จนผมเข้ามหาวิทยาลัยปีหนึ่ง ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในตอนนั้นเป็นระบบเอ็นทรานซ์ ต้องเลือกคณะก่อนสอบ แล้วรอฟังผลทางจดหมาย หรือไปส่องไฟที่สนามจุ๊บ หรือรอดูรายชื่อทางทีวี หรือรอซื้อหนังสือพิมพ์


ใครสอบไม่ได้ก็เลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชน เรียนรามคำแหง หรือวิทยาลัยครูที่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ


โทรศัพท์สาธารณะคิวยาวในยามเย็นค่ำ ถึงวันนี้แทบไม่มีใครใช้แล้ว


คอมพิวเตอร์เครื่องเท่าห้อง แสดงผลเป็นกระดาษเจาะรู และเริ่มมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ


จนปีสอง เริ่มมีเพจเจอร์เพื่อฝากเบอร์ให้โทรกลับ ปีสาม เริ่มเป็นเพจเจอร์แบบส่งข้อความได้ มีบริการโทรศัพท์มือถือตั้งอยู่ตามชุมชนแข่งกับตู้โทรศัพท์สาธารณะ

 

มี Netscape, Hotmail, Doramail


มี DOS C:// มี CU Word ให้ใช้พิมพ์รายงานส่ง มีโรงเรียนสอนเขียนโปรแกรม Database ภาษา C ภาษา Pascal


ปีสี่ถึงเริ่มทำงาน เริ่มมีโทรศัพท์มือถือที่พกง่ายขึ้น แต่ราคาแพง มี Phonepoint ที่โทรได้ตามจุดเท่านั้น ไม่สามารถโทรได้ทุกที่ แต่เป็นโทรศัพท์พกพา


มีคนทำธุรกิจโทรไปต่างประเทศหรือส่งแฟกซ์ราคาถูกผ่านระบบเน็ตเวิร์ก ต้องติดกล่องและมีรหัส จำไม่ได้ชัดนักว่าถูกกฎหมายไหม แต่ประหยัดลงมาก


เริ่มมี ICQ, MSN ก่อนจะถึง BB เป็นยุค www, webboard, Internet Thailand


ในช่วงนั้นผมเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง เล็งเห็นว่าคนเมืองเริ่มมีกิจกรรมมากขึ้น ห้างเริ่มขยายมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีเริ่มเชื่อมผู้คนเข้าหากัน


ผมรวมตัวกันกับเพื่อนเปิดเว็บไซต์ชื่อ www.sontaya.com สนธยาดอทคอม เป็นเว็บไซต์สำหรับบอกข่าวกิจกรรมการแสดงและกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงการขายตั๋วงานต่างๆ


ผมแอบภูมิใจมากที่คิดออก และคิดเผื่ออนาคตไว้ด้วยแล้ว


แต่มันมีความผิดพลาดหลายอย่างในงานชิ้นนี้ ซึ่งผมได้เรียนรู้หลายอย่างท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ไอเดีย และการทำงาน


ความผิดพลาดข้อแรกคือชื่อสนธยา เหตุผลที่ใช้ชื่อสนธยาก็เพราะว่าเพลงของพี่ปั่น-ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว ที่ร้องว่า “ใครเลยจะรู้ว่าสนธยาไปไหน”


เราแอบคิดว่าคนจะเข้าใจชื่อนี้เมื่อเราสื่อสารออกไป แต่น้อยคนมากจะเข้าใจ อุตส่าห์แอบหลงภูมิใจอยู่หลายเดือน


ข้อต่อมา การบริหารจัดการ เนื้อหาเว็บไซต์ และการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตในวันนั้นไม่ง่ายนัก เราไม่มีความสามารถอะไรกันเลยนอกจากการทำเว็บไซต์และออกแบบ ไม่รู้เรื่องการขายโฆษณา การขายของบนอินเทอร์เน็ต เพราะถ้าจะขายตั๋วงานโชว์ หรือรับจ้างประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ในวันนั้นบนอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องหาวิธีการหลากหลาย


และที่สำคัญคือทุกๆ คนมีงานประจำและสนใจงานประจำที่ทำกันอยู่เป็นหลัก แม้จะไหวตัวกันแล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้นมาพร้อมโอกาส แต่เราก็ล้มเหลวกันอยู่ดี


เมื่อครบถ้วนซึ่งความไม่พร้อมในหลายประการ เราก็เลิกล้มกันไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้


หลังจากนั้นไม่นาน เราก็พบเว็บไซต์ที่ชื่อ Thaiticketmaster ซึ่งตอนนั้นเองที่ทำให้เราได้เรียนรู้กันอีกว่าไม่ใช่ว่าเราเก่งที่คิดออก ใครๆ ก็คิดออก ใครๆ ก็มีไอเดียเจ๋งๆ ได้ การทำงานให้สำเร็จต่างหากที่สำคัญกว่าไอเดีย สำคัญกว่าความคิด


และอาจสำคัญไม่แพ้ไปกว่าความรู้ การลงมือปฏิบัติ หรือที่เรียกกันว่า operation นั้นสำคัญมาก เราสอบตกเรื่องของ operation แม้จะมีไอเดียที่ดีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแล้วก็ตาม


วกกลับมาที่การเปลี่ยนแปลงในปีนี้ ในวันนี้ ซึ่งตลอดทั้งปีที่ผ่านมาทุกๆ คนน่าจะทราบกันดีแล้วถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ธุรกิจ ซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็ว


และแน่นอนว่าเราได้เรียนรู้กันมาตลอดปีแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมาพร้อมวิกฤตและโอกาส


เราได้เรียนรู้ถึงหลากหลายความคิดว่าอะไรกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และเรากำลังจะเจอกับอะไรบ้างในอนาคตอันใกล้


เราได้เรียนรู้ถึงหลากหลายความคิดในการเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลง และความคิดเห็นในการหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลง


อย่างที่ผมเล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงและความล้มเหลวของผมเอง


แม้เราจะเรียนรู้กันแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา เราถูกกรอกหูผ่านตากันมาตลอดปีถึงความน่ากลัวของการเปลี่ยนแปลงในวันนี้และโอกาสในวันหน้า


คำถามคือเรารู้แล้วว่าเปลี่ยน แต่ทำอย่างไรจะไปต่อได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้นต่างหากที่เป็นคำถามสำคัญ


และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือการลงมือปฏิบัติและการปรับตัวให้ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เรารู้แล้วว่ากำลังจะมา


เพราะลำพังเพียงแค่ความรู้ไม่อาจทำให้เราเปลี่ยนแปลงอะไรได้ การลงมือทำ ลองผิดลองถูก และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันน่าจะเป็นทางออก


แน่นอนว่าการลงมือทำอะไรสักอย่างท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้นต้องอาศัยความกล้าหาญเป็นอย่างมาก เพราะเรากำลังจะทำในสิ่งที่เราไม่รู้ชัดว่าจะเปลี่ยนไปทางไหน เราเพียงแต่รู้แล้วว่ามันกำลังเปลี่ยนด้วยความรวดเร็ว


ถ้าปีนี้เป็นปีแห่งการเรียนรู้ ผมเชื่อว่าปีหน้าจะเป็นปีแห่งการปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลง


ขอให้ทุกๆ คนกล้าหาญที่จะลงมือปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงในปีหน้า


สวัสดีปีใหม่ครับ

 

ภาพประกอบ: Nisakorn.r

The post ปีแห่งการเรียนรู้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/year-of-learning/feed/ 0
ปัญหาสร้างโอกาส https://thestandard.co/problems-into-opportunities/ https://thestandard.co/problems-into-opportunities/#respond Tue, 05 Dec 2017 01:14:21 +0000 https://thestandard.co/?p=52771

ผมเริ่มสนใจเรื่องออนไลน์อย่างจริงจังด้วย 3 เหตุผล &nbsp […]

The post ปัญหาสร้างโอกาส appeared first on THE STANDARD.

]]>

ผมเริ่มสนใจเรื่องออนไลน์อย่างจริงจังด้วย 3 เหตุผล

 

และทั้ง 3 เหตุผลล้วนมาจากปัญหา

 

เหตุผลข้อแรก คือหลังการประมูลทีวีดิจิทัลแล้ว การสื่อสารไปยังผู้ชมนั้นยากขึ้น เพราะสื่อสิ่งพิมพ์เกือบครบทุกรายมีช่องทีวีเป็นของตัวเองแล้ว โอกาสที่จะให้ช่วยสื่อสารเนื้อหาของสถานีไปหาผู้ชมนั้นจะถูกจำกัดลง ดังนั้นจึงต้องสร้างช่องทางสื่อสารที่ไม่ใช่ทีวีขึ้นมาเพิ่มเติม

 

เราเริ่มต้นจาก ‘ไลน์’ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย SMS ในวันนั้น และส่งภาพ ส่งสติกเกอร์ ได้ด้วย ผู้คนจำนวนมากใช้ไลน์

 

จากนั้นเราก็ขยายไปที่เฟซบุ๊กเพื่อสื่อสารกับคนดู

 

สุดท้ายก็ไปที่ยูทูบ, แอปฯ, เว็บไซต์ ฯลฯ

 

ทั้งหมดนี้ในช่วงแรกเป้าประสงค์หลักคือเพื่อการสื่อสารกับคนดู และสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามมาคือ วิธีการสื่อสารแบบเข้าถึงผู้คนบนโลก online/mobile

 

เหตุผลข้อที่ 2 คือ เมื่อเราทำรายการทีวี สิ่งที่พบเจอคือเสียงสะท้อนจากลูกค้า ลูกค้าโดยมากอาจไม่ใช่คนดูทั้งหมด

 

สิ่งที่ลูกค้าพูดให้ได้ยินบ่อยๆ คือ รายการดีนะแต่ไม่มีเรตติ้ง รายการมีเรตติ้งนะแต่ไม่มีกระแส? รายการมีกระแสนะแต่ไม่มีเรตติ้ง? ฯลฯ

 

ตัดเรื่องรายการดี-ไม่ดีออกไปก่อน เพราะเป็นเรื่องความชอบและรสนิยมส่วนตัวผสมอยู่มาก

 

เอาเรื่องที่จับต้องได้ก่อน

 

เรตติ้งมีคนวัดชัดเจนว่าเป็นใคร เป็นตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ที่อุตสาหกรรมใช้ จะเชื่อ/ไม่เชื่อขนาดไหนอยู่ที่ผู้ซื้อ โดยมากที่เจอมักใช้งานตัวเลขเรตติ้งที่ว่า

 

ถัดมาเป็นเรื่องกระแส? กระแสคืออะไร? มาจากไหน? ทำไมบางรายการเรตติ้งดีแต่ไม่มีกระแส? ทำไมบางรายการมีกระแสแต่ไม่มีเรตติ้ง? ทำไมกระแสของผู้คนบางทีเป็นคนละเรื่องกัน?

 

ด้วยเหตุผลข้อนี้ เราจึงรีบขยายแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มอันหลากหลาย เพราะเป็นพื้นที่ในการถกเถียงและแสดงความคิดเห็น เมื่อพื้นที่กระจายออกไปในวงกว้าง สุดท้ายอาจได้ผลที่เรียกว่า ‘ปากต่อปาก’ จนเป็นกระแสในท้ายที่สุด

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ตามมาคือ ข้อมูลก้อนใหญ่ ใครสนใจอะไร ถกเถียงกันเรื่องอะไร ฯลฯ

 

เหตุผลข้อสุดท้ายคือ ปัญหาที่ว่าทีวีกำลังจะตาย เสียงนี้ได้ยินมาตลอดตั้งแต่เริ่มทำช่องทีวี หลายคนบอกว่า online/mobile/internet คืออนาคต

 

ปัญหาข้อนี้กวนใจมาก ยิ่งได้พูดคุยกับผู้คนที่เต็มไปด้วยความเชื่อแบบนี้ ยิ่งกวนใจ

 

ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ หาคำตอบว่าจริงแท้ขนาดไหน?

 

ด้วยเหตุผลข้อนี้ ผมจึงยิ่งต้องลงมือทำออนไลน์ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นอีกในภาพรวม และภาพแคบ

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้มานั้นใหญ่และกว้างไกลเกินกว่าที่คิดไว้ และอาจเป็นกุญแจนำไปสู่อนาคต

 

ถึงวันนี้แล้วผู้คนคงเห็นกันแล้วว่าออนไลน์แพลตฟอร์มทั้งหมดที่เราผสมผสานขึ้นมานั้นกว้างใหญ่ขนาดไหน

 

ทีวีที่ว่าจะตาย แม้จะยังพูดกันหนักขึ้น แต่เรายังไม่ได้ตาย และยังพบว่ามีโอกาสอีกมากมายซ่อนอยู่ เมื่อผสมผสานกันดีๆ ระหว่างโลกใบใหม่และโลกใบเดิม

 

‘ปัญหา’ นำมาซึ่งโอกาสเสมอ

 

เรื่องที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ โอกาสที่มาพร้อมโลกใหม่ที่เรียกกันว่า ‘โลกออนไลน์’ เรียกสวยๆ ก็ใช้คำว่า IoT หรือ Internet of Things มันสวยหรูดูดีขนาดไหน? ในบริบทและสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรา

 

คำนิยมวันนี้ในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยคือ รวยกระจุก จนกระจาย

 

คำคำนี้น่าจะได้ยินเพิ่มมากขึ้น และบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

 

ช่องว่างระหว่างความรวยและความจนของคนในประเทศนับวันก็จะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ

 

สภาพแวดล้อมโดยรวมแบบนี้ จะสร้างความแตกต่างอย่างมากให้กับข้อมูลที่เราพบเจอ หากไม่ไตร่ตรองให้ละเอียดรอบด้าน

 

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมมักยกตัวอย่างบ่อยๆ เช่น ค่ามือถือและค่าใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

 

คุณคิดว่าคนใช้จ่ายกันเดือนละเท่าไร?

 

คำตอบที่ได้จากโอเปอเรเตอร์คือ มีการใช้อินเทอร์เน็ตดาต้ามากขึ้น ซึ่งจริงนะครับ มีการใช้ดาต้ากันมากขึ้น เพราะมีคอนเทนต์ให้เลือกดูเลือกอ่านบนออนไลน์มากขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

 

แต่ค่าใช้จ่ายและความสามารถในการจ่ายของคนไทยโดยรวมทั้งประเทศ ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นขนาดไหนในวันนี้?

 

ยังต้องลองหาคำตอบกันต่อไป

 

ในวันที่จีดีพีเราโตน้อยลงมาก การใช้จ่ายของผู้บริโภคค่อนข้างกระจุกตัว เรามีหนี้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มมากขึ้น เรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปพร้อมๆ กับที่ยังไม่ค่อยได้เตรียมตัวไว้ล่วงหน้า ผู้สูงอายุเราส่วนมากในประเทศมีเงินสะสมหลังเกษียณน่าจะยังไม่เพียงพอกับโลกในอนาคตที่ดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารเริ่มไม่พอใช้ โครงการประกันสังคม โครงการบัตรประกันสุขภาพ หรือกระทั่งล่าสุด บัตรคนจน จึงยังคงเป็นประเด็นร้อนอยู่เสมอ

 

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ความหลากหลาย และความแตกต่างอย่างมากในประเทศนั้น สร้างความแตกต่างอย่างสุดขั้ว ซึ่งทำให้เกิดข้อมูลชวนเชื่อกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่เสมอ

 

ประกอบกับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยส่วนมากนั้นจะกระจุกตัวตามความสนใจเป็นหลัก เราสนใจอะไรจะถูกหล่อหลอมให้เชื่อข้อมูลแต่เพียงแบบนั้น

 

เราจะเสิร์ชหาแต่เรื่องที่เราเลือกที่จะเชื่อ เลือกอ่าน เลือกฟัง เพียงแต่เรื่องที่เราเชื่อ

 

เรื่องเดียวกันกับที่ว่าทำไมรายการทีวีหรือละครบางเรื่องเรตติ้งดีมาก แต่ไม่มีกระแสผ่านตา

 

ส่วนรายการทีวีหรือละครหลายเรื่องกระแสดีมาก แต่กลับมีเรตติ้งไม่มาก

 

หลายครั้งเราโยนความผิดไปที่การตรวจวัดเรตติ้ง เพราะผลไม่ตรงใจและไม่เปิดเผยถึงกระบวนการตรวจวัดในวงกว้าง

 

เราเลือกที่จะเชื่อตัวเลขบนอินเทอร์เน็ตแทน เพราะเราเชื่อว่ามันเป็นตัวเลขสะท้อนความเป็นจริง เนื่องจากส่วนหนึ่งเราใช้มันอยู่ทุกวันในเกือบทุกๆ เรื่อง ทั้งๆ ที่บนโลก อินเทอร์เน็ตนั้นมันก็สามารถสร้างตัวเลขประชากรให้ใหญ่ขึ้นมาเกินจริงได้

 

เรามีประชากรชาวอินเทอร์เน็ตในหลากหลายแพลตฟอร์ม น่าจะมากกว่าจำนวนประชากรจริงในประเทศ หากแบ่งตามเพศ อายุ ภูมิภาค ของผู้ที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้จริงๆ ในเรื่องนี้เรากลับยังไม่เคยตั้งคำถาม?

 

ถ้ายกตัวอย่างให้ชัดเจนขึ้นอีกหน่อย

 

หนังไทยหรือหนังฝรั่งหลายเรื่องทำรายได้ดีมากในสังคมเมือง และมีเสียงชื่นชมมากบนโลกออนไลน์ แต่เมื่อไปฉายออกนอกเมืองนั้น รายได้กลับไม่สวยงามนัก

 

ในขณะที่หนังไทยหลายเรื่องนั้นรายได้และเสียงวิจารณ์บนโลกออนไลน์เข้าขั้นย่ำแย่

แต่รายได้นอกสังคมเมืองกลับเติบโตเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับรายได้ในสังคมเมือง

 

หรือถ้ายกตัวอย่างในทางการเมืองจากอดีตจนปัจจุบัน จะพบว่าโดยส่วนมากสังคมเมืองมักเลือกแบบหนึ่ง สังคมนอกเมืองมักเลือกอีกแบบหนึ่ง สังคมบางพื้นที่ก็จะเลือกอีกแบบหนึ่ง

 

ถ้าเราเปิดใจกว้างๆ จะพบข้อมูลอันหลากหลายบนความแตกต่างที่ซ่อนอยู่ ไม่ใช่เรื่องของความฉลาดหรือไม่ฉลาด แต่เป็นพื้นฐานข้อมูลบนความแตกต่างของการรับรู้และความสนใจอันหลากหลายในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างและเหลื่อมล้ำ

 

ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี้เองของทั้งรายได้ รสนิยม ความชอบ ความสามารถในการจ่าย ฯลฯ นำมาซึ่งความหลากหลายของข้อมูล

 

หลายคนเริ่มเลือกใช้วิธีจำกัดวงการสื่อสารให้แคบลงไปเรื่อยๆ

 

เมื่อก่อนมีคำว่า target segment ตามมาด้วย niche target

 

มาถึงวันนี้เราพูดกันเรื่อง micro influencer ย่อให้เล็กลงไปอีก เพราะเราไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูลในภาพใหญ่กันได้เพียงพอ เราเลยเลือกที่จะจับกลุ่มให้เล็กลงไปอีกหลายๆ กลุ่ม

 

คำถามคือ ในวันนี้เมื่อเทคโนโลยีดีขึ้นมาก ทุกอย่างมีราคาถูกลง ต้นทุนในการผลิตถูกลง สินค้าและบริการมีราคาถูกลง การพุ่งไปที่ niche อาจไม่สร้างกำไรเพียงพอต่อธุรกิจ

 

สังเกตดีๆ จะพบว่า สินค้าลักซูรีแบรนด์ต่างๆ ในอดีตถึงวันนี้ เริ่มกลับมามีราคาที่จับต้องได้ ใครๆ ก็สามารถซื้อได้ หรือใช้ระบบเงินผ่อนดอกเบี้ย 0% ได้

นั่นอาจเป็นเพราะว่า niche target อาจไม่เพียงพอต่อการทำกำไรให้ธุรกิจ หลายธุรกิจจึงต้องเริ่มกระจายสู่วงที่กว้างขึ้น

 

บางสินค้าพุ่งไปที่ทางเลือกในการลิมิเต็ดเอดิชัน ที่สามารถสร้างราคาและดีมานด์ในระยะสั้นได้ เพื่อที่จะยังคงพยายามรักษาระดับราคา และระดับกำไรของธุรกิจไว้

 

ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นตัวอย่างของความแตกต่างอย่างสุดขั้วในภาพรวมของประเทศ

 

ความแตกต่างที่ว่า นำมาซึ่งความแตกต่างของข้อมูลข่าวสาร นำมาซึ่งความแตกต่างในการรับรู้ นำมาซึ่งความแตกต่างในความคิดเห็น นำมาซึ่งความแตกต่างในพฤติกรรมการบริโภค และนำมาซึ่งสารพัดความแตกต่าง

 

ความแตกต่างอย่างสุดขั้วเหล่านี้เอง จะเป็นปัญหาใหญ่ให้ขบคิดในทุกธุรกิจในอนาคต

 

ความรู้ความเข้าใจในภาพกว้างและภาพแคบอย่างละเอียดลออ จะช่วยให้เชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ และจะสร้างโอกาสที่ดีในอนาคต

The post ปัญหาสร้างโอกาส appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/problems-into-opportunities/feed/ 0
มูลค่าของความคิด https://thestandard.co/creator-fee/ https://thestandard.co/creator-fee/#respond Wed, 13 Sep 2017 11:29:03 +0000 https://thestandard.co/?p=26708

     ผมมีโอกาสแวะไปชมนิทรรศการการ์ตูนของ […]

The post มูลค่าของความคิด appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ผมมีโอกาสแวะไปชมนิทรรศการการ์ตูนของสำนักพิมพ์ Shonen Jump ที่ Mori Art Museum ในโตเกียว ในขณะที่กองบรรณาธิการ THE STANDARD ทวงต้นฉบับมาพอดี

     สำนักพิมพ์ Shonen Jump เป็นสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์การ์ตูนดังๆ มาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี เช่น Kinnikuman, Dr. Slump, City Hunter, Kimagure Orange Road, Saint Seiya: Knights of the Zodiac, Dragon Ball,ไอ้เขี้ยวเงิน, หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ ฯลฯ เป็นงานนิทรรศการที่เรียบง่าย แต่ให้อารมณ์ของความทรงจำที่ดี และมีไอเดียน่าสนใจหลายชิ้น

     ระหว่างที่เดินชมนิทรรศการอยู่กับเพื่อนคนหนึ่งที่เขามีอาชีพทำอีเวนต์ ทำงานภาพยนตร์และโฆษณา

     ผมก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า

     งานที่เห็นอยู่ตรงหน้า ถ้าเป็นงานอีเวนต์ หรืองานนิทรรศการที่เมืองไทย ผู้จัดทำจะได้รับค่าตอบแทนกันอย่างไร

     สิ่งที่ผมเห็นตรงหน้าเป็นพื้นกล่องลานประลองการต่อสู้ในการ์ตูนเรื่อง Dragon Ball ซึ่งเป็นพื้นสี่เหลี่ยมยกพื้นขึ้นมาเรียบๆ แบบลานประลองในการ์ตูน

     บนผนังใช้โปรเจกเตอร์ฉายภาพฉากเวทีให้ต่อกันกับพื้นพอดี จากนั้นก็เป็นภาพการ์ตูนตัดสลับไปมาทีละตัว ไม่ได้มีการต่อสู้หรือ animated อะไรมากมาย แค่พอให้คนที่เคยอ่านการ์ตูนเรื่องนี้นึกถึง และย้อนความทรงจำกันได้และมีเรื่องพูดคุยกันเมื่อเห็นภาพตรงหน้า

     คำถามที่น่าสนใจคือ

     งานลักษณะแบบนี้ แม้ว่าจะดูเรียบง่ายแต่ก็ทรงพลัง และมีไอเดียที่น่าสนใจ ความยากนั้นไปอยู่ที่ตอนคิดหรือไอเดียในการนำเสนอ

     ส่วนการนำเสนอในแง่การใช้วัสดุสิ่งก่อสร้างและติดตั้งไม่ได้มีราคามากนัก

     ถ้าอยู่ที่เมืองไทยจะถูกตั้งคำถามไหมว่า ‘ทำไมใช้ของแค่นี้’

     งาน presentation ชิ้นนี้ ดูไม่น่าแพงและควรจะจ่ายค่าว่าจ้างอย่างไรดี ถึงจะสมราคา

     เพราะในแง่การใช้วัสดุหรือการก่อสร้าง และการติดตั้งไม่ได้มาก

     ไม่มีจอมัลติมีเดีย ไม่มีการแมปปิ้งภาพ ไม่มีเทคโนโลยี หรือเทคนิคในการนำเสนอแบบใหม่ ประเมินด้วยสายตาแล้ว การสร้าง การติดตั้งไม่น่ายุ่งยาก

     และไม่น่าจะแพง แต่…

     ค่าความคิด ที่จะนำเสนอแบบนี้เราควรคิดมูลค่ามันอย่างไรดี?

     งานหลายๆ ชิ้นในบ้านเราโดยเฉพาะพวกงานอีเวนต์ งานนิทรรศการ รวมไปถึง งานโฆษณา ฯลฯ

     เวลาเราประเมินค่าใช้จ่าย เรามักจะเผลอคิดแค่ค่าวัสดุ ค่าก่อสร้าง ค่าแรง ค่ากล้อง ค่าไฟ ฯลฯ ที่เราพอจะจับต้องได้

     แต่ ‘มูลค่าความคิด’ โดยเฉพาะความคิดที่จะนำเสนอ (แบบเป็นรูปเป็นร่าง) เรามักจะมองผ่านมันไป ไม่ให้มูลค่ากับมันนัก อาจเพราะมันจับต้องค่อนข้างยาก แน่นอนว่า บางงานเรามีค่า creator fee (หรือค่าความคิดด้วย แต่โดยมากมักคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่างานรวม)

     ส่วนมากเมื่อเราเห็นงานที่สำเร็จแล้ว เรามักจะเผลอคิดว่า เรียบง่ายแบบนี้ใครๆ ก็คิดได้

     อย่างเช่นตัวอย่างนี้ ที่เมื่อเห็นงานแล้วก็อาจจะเผลอบอกว่า “ใช่ๆ Dragon Ball ต้องมีลานประลอง” แต่เราจะนำเสนอมันอย่างไรดีล่ะ?

     เราอาจสร้างลานประลองขนาดใหญ่ แล้วแมปปิ้งภาพ 3 หรือ 4 มิติลงไป โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้คนใส่แว่นมอง แล้วเห็นตัวละครต่อสู้กัน

     มันอาจจะได้ความทันสมัยและไฮเทคของเทคโนโลยี ซึ่งมันอาจดูคุ้มค่าและสะดวกในแง่ของการประเมินราคา ถ้าคิดถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย

     แต่มันอาจจะดูเป็นแอนิเมชันมากกว่าการเป็นมังงะ หรือการ์ตูนเล่ม และอาจไม่ได้อารมณ์ร่วมของคนชมงานเท่าวิธีที่เรียบง่าย

     ในงานนิทรรศการของ Shonen Jump ยังมีการนำเสนออีกหลายชิ้นที่เข้าข่ายนี้คือ เรียบง่ายแต่ทรงพลังสำหรับแฟนการ์ตูนเล่ม อย่าง Kinnikuman และ City Hunter ฯลฯ ลองคิดกันดูเล่นๆ ก็ได้ว่า ถ้าเป็นเราทำ เราจะนำเสนอมันอย่างไรดี?

     การใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ในการประเมินมูลค่าทางความคิดนั้นไม่ง่ายเลย

     การคิดมูลค่างานจากสิ่งที่จับต้องได้นั้นค่อนข้างสบายใจกันทุกฝ่าย แต่สำหรับสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างความคิดหรือไอเดีย เราควรประเมินมันอย่างไรดี

     ในวันที่เครื่องไม้เครื่องมือทุกอย่างมีราคาถูกลง การผลิต การถ่ายทำ การติดตั้ง ฯลฯ ง่ายขึ้น ใครๆ ก็ทำได้ แต่ในทางความคิด อาจไม่ใช่แค่ว่าใครๆ ก็คิดได้ เราควรให้มูลค่าความคิดตรงนี้กันแค่ไหนอย่างไรดี

     เขียนมาถึงตรงนี้ ก็อยากฝากความคิดนี้ไว้กับทุกๆ คนที่ได้อ่าน

     และเป็นกำลังใจให้นักคิดนักสร้างงานทุกๆ คนด้วยเช่นกัน

The post มูลค่าของความคิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/creator-fee/feed/ 0
กรณีศึกษา The Cassette Music Bar: ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกได้? https://thestandard.co/thecassettemusicbar/ https://thestandard.co/thecassettemusicbar/#respond Sun, 20 Aug 2017 14:04:34 +0000 https://thestandard.co/?p=21399

     ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกไ […]

The post กรณีศึกษา The Cassette Music Bar: ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกได้? appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกได้

     ว่ากันว่าฮิตเลอร์กล่าวไว้ ไม่รู้จริงไหม?

     ผมมีรุ่นน้องที่รักใคร่ชอบพออยู่คนหนึ่งชื่อ ‘แจ้’ แจ้เป็นคนรุ่นใหม่ ที่ขยันขันแข็งคนหนึ่ง

     แจ้เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร และร้านอาหารกึ่งผับอยู่หลายแห่ง เกือบทั้งหมดล้วนไปได้ดี

     อย่างในย่านถนนข้าวสาร น่าจะมีร้านของแจ้อยู่เกินครึ่ง
     ด้วยความที่แจ้เป็นคนขยันและชอบทำธุรกิจนี้ เมื่อมีโอกาส ไม่ว่าจะที่ไหนทำเลไหน แจ้จะลองอยู่เสมอ

     เวลาใครมาถามผมเรื่องร้านอาหาร ผมจะบอกว่า ต้องลองถามแจ้ดู

     ปีก่อน แจ้ได้พื้นที่เปิดร้านใหม่ย่านเอกมัย เซ้งต่อมาอีกทีหนึ่ง แจ้ลองทำอยู่พักใหญ่ เป็นผับกึ่งแจ๊ซ ผลปรากฏว่า กิจการกลับไปได้ไม่ค่อยดีนัก

     จนกระทั่งในปีนี้ แจ้ชวนน้องอีกคนมาร่วมหุ้น ปรับปรุงร้านเดิมใหม่ น้องคนนั้นชื่อ ‘ภา’

     ภาเป็นรุ่นน้องอีกคนที่ผมรู้จักและคุ้นเคยพอสมควร เป็นผู้หญิงแบบผู้หญิ้งผู้หญิงที่บางทีผมก็งงๆ
     ภาเป็นเจ้าของร้านรองเท้าที่สยามสแควร์ ชื่อ paa ทำแบรนด์เอง ออกแบบเอง มาเกือบ 10 ปี เริ่มจากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ไปจตุจักร และมามีร้านถาวรที่สยามสแควร์ และขายตามห้าง
     ร้านรองเท้าของภาไปได้ดีมาก เป็นที่รู้จักพอสมควร

     ภาเคยเล่าว่า รองเท้าที่ร้านจะมีสีที่เป็น positive กับผู้หญิง เวลาภาจะตั้งชื่อรุ่นรองเท้าที่ร้าน ภาจะตั้งชื่อที่จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกถึงสีที่แตกต่างกันไป แต่จะเป็นไปในแง่บวก ตอนผมฟังภาเล่าก็ไม่ค่อยเข้าใจนัก
     เมื่อโตขึ้น ภาจึงเริ่มสนใจกิจการอาหาร เพราะรองเท้าเป็นเรื่องของแฟชั่น มันเปลี่ยนบ่อย ภาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองโตแล้ว จึงคิดว่าน่าจะตามแฟชั่นยากขึ้น เลยเริ่มสนใจกิจการร้านอาหาร
     ภากับหมิง (สามี) เริ่มต้นกิจการร้านอาหารจากการขอซื้อกิจการ Kobe Steakhouse ที่สยามและเพชรบุรีมาทำ ปรับเปลี่ยน เรียนรู้อยู่พักใหญ่ ในที่สุดก็ไปได้ดีและเริ่มขยายเข้าห้างแล้ว
     เมื่อแจ้มาชวน ภากับหมิงแทบจะไม่ลังเลเลย
     หลังจากมีภามาร่วมลงทุน ภาปรับปรุงร้านใหม่อยู่ 3-4 อย่าง ที่เหลือแทบไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย

 

     1. ภาเริ่มจากการวางคอนเซปต์ร้านใหม่และตกแต่งนิดหน่อย โดยเริ่มต้นตั้งชื่อร้าน และเขียนว่า เดอะ คาสเส็ต The Cassette Music Bar
     ภาบอกว่าเขียนแบบนี้ เพราะตัวเลขตรงตามตำราเป๊ะ พร้อมเอาตัวเลขมาอวดผมด้วยว่าบวกเลขแล้วดีมาก ทั้ง 2 ภาษา
     ซึ่งก็เป็นไปตามนิสัยผู้หญิงของภา
     ส่วนเหตุผลที่ตั้งชื่อนี้ ก็เพื่อกำหนดคอนเซปต์ของร้าน กำหนดกลุ่มลูกค้า


     2. ภาแต่งหน้าร้านด้วยคาสเซตต์เทปขนาดใหญ่ สีแพนโทน และหมุนได้ เหมือนที่สมัยก่อนเอาคาสเซตต์ใส่เครื่องเล่น แน่นอนว่าทุกคนที่มาร้านนี้จะถ่ายรูปกันตรงนี้


     3. ที่เคาน์เตอร์บาร์ในร้านแสนสวยของแจ้ ภาเอาสติกเกอร์สนูปี้ขนาดใหญ่มาติด ดูแล้วช่างขัดแย้งกับเคาน์เตอร์บาร์ที่มีขวดแอลกอฮอล์เรียงรายสวยงาม

     ภาบอกว่ามันยิ้มให้เราอยู่ พี่เห็นไหม?


     4. ภากำหนดเพลงให้นักดนตรีเล่นในร้านตามลิสต์ของภาเท่านั้น
     ช่วงแรกภากับหมิงจะเป็นคนเปิดเพลงเอง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ แน่นอนว่าเป็นเพลงไทยในยุคคาสเซตต์เทปเท่านั้น แต่ที่ละเอียดอ่อนไปกว่านั้นคือ ภาจะห้ามนักดนตรีเล่นเพลงอกหักแบบจมดิ่ง เอาแค่เพลงสนุกกับเพลงอกหัก แบบ positive ฟังทีแรกผมไม่ค่อยเข้าใจนัก
     ภาบอกว่า ถ้านักดนตรีเล่นเพลงอกหักแบบจมดิ่ง ไม่เกิน 3 เพลง ลูกค้าจะเช็กบิลกลับบ้าน แต่ถ้าอกหักแบบมีความหวัง ลูกค้าจะอยู่สนุกต่อ
     ตัวอย่างเพลงอกหักแบบจมดิ่งของภา สมมติว่าเป็นเพลงของ พี่อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ ก็เช่นเพลง ฟั่นเฟือน เพราะมันเศร้ามาก เนื้อมันร้องว่า ไม่อยากรู้ว่าตัวเองเป็นใคร…
     แต่ถ้าเป็นเพลง ใจนักเลง จะถือว่าเป็นเพลงอกหักแบบ positive เพราะเนื้อมันร้องว่า ให้เธอได้กับเขาและจงโชคดี… แปลว่าทำใจได้แล้วพร้อมเดินต่อ
     ภาเข้มงวดกับนักดนตรีมาก ฝีมือดีขนาดไหนก็ต้องให้ร้องเพลงในลิสต์เท่านั้น แน่นอนว่าภาหานักดนตรีมือดีมาเล่นที่ร้านให้ยากมากในช่วงแรก


     ผมไม่รู้หรอกว่าที่ภาเล่าให้ฟังทั้ง 4 ข้อ มันจริงไหม แต่ว่าผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ร้านเปิดไม่ถึงเดือน ลูกค้าผู้หญิงแน่นร้านทุกคืน แน่นอนว่าเมื่อลูกค้าผู้หญิงแน่นร้าน ลูกค้าผู้ชายจะตามมา ส่วนกำลังซื้อนั้นหายห่วง เพราะคนยุคคาสเซตต์นั้นเป็นวัยทำงานแล้ว

     คนแน่นทุกวันตลอดสัปดาห์ ถึงขนาดที่ว่ายอดจองเต็มทุกวันข้ามไปเป็นเดือนแล้ว บางวันภาต้องประกาศงดรับลูกค้าวอล์กอินเพราะกลัวลูกค้าผิดหวัง
     วกกลับมาที่แจ้ หุ้นส่วน
     ช่วงแรกที่ภาเริ่มมาทำ แจ้บอกผมว่าแจ้งงพอสมควร แจ้เองทำร้านอาหารกึ่งผับมาก็มาก พยายามทำร้านนี้กลับไม่สำเร็จ จนชวนภามาร่วมด้วย กิจการดำเนินไปได้ดีมาก เป็นอีกเรื่องเลย
     ผมบอกแจ้ไปว่า ภาเป็นผู้หญิงที่เข้าใจผู้หญิง เคยทำร้านรองเท้า ที่ต้องการความเข้าใจจากผู้หญิงสูง เพราะมีเรื่องของแฟชั่นและรสนิยมแบบผู้หญิงผสมอยู่ ผมไม่แปลกใจมากนัก ทั้งๆ ที่ตอนฟังเหตุผลของภา ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจ
     สุดท้ายแล้ว แจ้ก็ยังเก่งอยู่ดีในการเลือกหุ้นส่วนมาช่วยทำกิจการให้ไปต่อได้ดี
     ส่วนเรื่องร้าน เดอะ คาสเส็ต หรือ The Cassette Music Bar และการจัดการร้านของภานั้นคงคล้ายๆ กับคำที่ฮิตเลอร์กล่าวไว้

     ‘ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกได้’

The post กรณีศึกษา The Cassette Music Bar: ถ้าสามารถรู้ใจผู้หญิงได้ จะครองโลกได้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/thecassettemusicbar/feed/ 0
Human Data ฉบับหนึ่ง จักรวาล https://thestandard.co/opinion-human-data-nueng-jakkawal-issue/ https://thestandard.co/opinion-human-data-nueng-jakkawal-issue/#respond Wed, 14 Jun 2017 09:42:20 +0000 https://thestandard.co/?p=6629

     ผมรู้จัก หนึ่ง จักรวาล เมื่อหลายปีก […]

The post Human Data ฉบับหนึ่ง จักรวาล appeared first on THE STANDARD.

]]>

     ผมรู้จัก หนึ่ง จักรวาล เมื่อหลายปีก่อน ในตอนนั้นต้องการโปรดิวเซอร์ดนตรีแจ๊ซมาร่วมในรายการทีวีชื่อ The Band

     ภาพของหนึ่ง จักรวาล ในแวบแรกที่ผมเห็นจาก Google คือ นักดนตรีแจ๊ซมาดเท่ ดูคล้ายนักดนตรีผิวสีมากฝีมือที่เคยเห็นจนคุ้นตา ตามภาพนักดนตรีแจ๊ซในหัวที่เรามักเผลอคิดไปเองว่าเขาเป็นแบบนั้น

     หลังจากได้เจอตัวเป็นๆ แล้วผมพบว่า ภาพของพี่หนึ่ง นักดนตรีแจ๊ซชื่อดังในหัวผมนั้นผิดเพี้ยนไปมาก และตูดหมึกกว่าที่ผมคิด (ตูดหมึกเป็นคำที่ผมใช้เรียกคนเก่งที่ไม่มีฟอร์ม ไม่ค่อยมีอีโก้อะไรมาก เข้าถึงง่าย ทำงานง่าย และสนุก)

     พี่หนึ่ง จักรวาล เริ่มต้นชีวิตจากสลัมคลองเตย หัดเล่นดนตรีเท่าที่จะพอมีโอกาสหยิบยื่น เล่นดนตรีมาหลากหลายแบบ ลูกทุ่ง, หมอลำ, ป๊อป, ร็อก, แจ๊ซ, อาร์แอนด์บี ฯลฯ ทั้งฝึกเอง และใช้โอกาสตามงานว่าจ้างในการฝึกฝน ผ่านประสบการณ์การถูกให้เลิกเล่น ย้ายร้าน ย้ายที่เล่น เล่นไม่ได้ มาอย่างโชกโชน

     ตลอดชีวิตนักดนตรีของพี่หนึ่ง จักรวาล ในช่วงเริ่มต้นนั้น เป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางดนตรีจากคนฟังเพื่อเลี้ยงชีพโดยแท้ เพลงแบบไหน ดนตรีแบบไหนที่ต้องเล่นให้เป็นและเล่นให้ดีไว้เสมอ เพราะเมื่อมีงานเลี้ยงหรืองานร้านอาหาร เพลงสำคัญบางเพลงนักดนตรีต้องเล่นให้เป็น เพื่อให้ความสุขกับแขก เมื่อแขกชอบ นักดนตรีก็จะมีโอกาสมีงานประจำอย่างต่อเนื่อง

     พี่หนึ่ง จักรวาล เคยเล่าให้ฟังว่า ถ้าเป็นเพลงร้อง นักดนตรีต้องทำดนตรีอุ้มนักร้อง หรือส่งเสริมนักร้องให้ได้ตลอดการแสดง เพราะตลอดชีวิตการทำงานของแก แกบอกว่า ถ้านักร้องเกิดร้องไม่ดีตามงานแสดงต่างๆ ขึ้นมาจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ นักดนตรีมักจะโดนต่อว่าก่อนเสมอว่าเล่นไม่ดี ดังนั้นการฝึกทำดนตรีให้เป็นในหลายๆ รูปแบบจะช่วยได้มากสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

     นอกจากนี้ พี่หนึ่งเล่าว่า เพลงเพลงเดียว ในดนตรีแต่ละแบบ สร้างอารมณ์ให้คนดูแตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เพลงเพลงหนึ่งในดนตรีแบบหนึ่งที่แสดงเวลาสองทุ่ม ในร้านอาหารร้านหนึ่ง คนฟังชื่นชอบมาก แต่ถ้าขยับเวลาเป็นสี่ทุ่ม ในร้านเดิม เพลงเดิมดนตรีเดิม กลับไม่สนุกเท่าเดิมเสียแล้ว เวลาสี่ทุ่มไปแล้วดนตรีอาจต้องสนุกขึ้นอีกทั้งๆ ที่เป็นเพลงเดิม อาจเป็นเพราะบรรยากาศในร้านตอนนั้น คนฟังกรึ่มได้ที่แล้ว

     ในขณะเดียวกัน เพลงเพลงเดียวกันนี้และดนตรีแบบเดียวกันนี้ เวลาเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนสถานที่แสดงและเปลี่ยนผู้ชมไป เพลงเพลงนั้นก็อาจไม่สนุกแล้ว พี่หนึ่งจะเปลี่ยนดนตรีให้เข้ากับอารมณ์คนฟัง

     ถึงวันนี้ วันที่ใครๆ ก็พูดเรื่อง Big Data แต่ Big Data ฉบับหนึ่ง จักรวาล นั้น เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดการทำงานหลายสิบปีที่สะสมมายาวนาน และไม่ใช่แค่เรียนรู้ แต่ยังมีความเข้าใจในอาชีพที่ทำอย่างถ่องแท้

     Big Data ทางอารมณ์คนฟังแบบนี้หาดูไม่ได้จากตัวเลขทางออนไลน์ และจะเอามาใช้ง่ายๆ

     พี่หนึ่งจัดเป็นระเบียบ Data เอาไว้ในหัวให้พร้อมสำหรับการใช้งานอยู่ตลอดเวลาที่จะไปเล่นดนตรีที่งานไหนก็ตาม และเมื่อมีงานใหม่ๆ เจอประสบการณ์ใหม่ๆ แกก็จะเก็บเกี่ยวเอาไปเรียงร้อยไว้ในหัวเพิ่มเข้าไป เพื่อเอามาใช้ตอบอารมณ์คนฟังให้ดีที่สุดอยู่เสมอ

     น้อยคนนักจะรู้ว่าคาราโอเกะที่เราร้องๆ กันอยู่ทุกวันนี้ หลายพันเพลงถูกทำโน้ตคำร้องให้เราร้องกันโดยหนึ่ง จักรวาล

     ในสมัยนั้นนักดนตรีและโปรดิวเซอร์ยังมีงานอยู่มาก น้อยคนนักที่จะสนใจมานั่งทำดนตรีคาราโอเกะ แต่สำหรับหนึ่ง จักรวาลแล้ว นี่เป็นโอกาสอันดี ในเรื่องของรายได้ในวันนั้น (เนื่องจากไม่ค่อยมีคนอยากทำ แกจึงทำเป็นจำนวนมากอยู่คนเดียว และได้รับค่าจ้างเป็นเพลงๆ ไป) และเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้รูปแบบ หรือแพทเทิร์น ทางดนตรีว่ามันมีแบบไหนบ้าง เรียบเรียงไปทางไหนได้บ้าง ฯลฯ ซึ่งการเรียนรู้ในวันนั้น เป็น Big Data ถังใหญ่ที่ฝังลงไปในหัวแก และพร้อมจะหยิบเอามาใช้ในวันนี้

     ถึงวันนี้แล้ว หากใครอยากร้องเพลงโดยมีนักดนตรีชื่อหนึ่ง จักรวาล เล่นดนตรีให้ ให้คุณไปร้องเพลงที่ร้านคาราโอเกะสักร้าน อย่างน้อยต้องมีสักเพลงแหละน่า ที่ทำดนตรีคาราโอเกะโดยหนึ่ง จักรวาล เท่านี้คุณจะสามารถอวดเพื่อนๆ ได้แล้วว่า คุณได้ร้องเพลงที่ทำดนตรีโดย หนึ่ง จักรวาลแล้ว

 

ภาพประกอบ: AeA oranun

The post Human Data ฉบับหนึ่ง จักรวาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/opinion-human-data-nueng-jakkawal-issue/feed/ 0