Thailand – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 19 Apr 2025 09:29:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เขตดุสิตเปิดหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 ย้ำจัดระเบียบ ไม่ใช่ยกเลิกทำการค้า แต่มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น https://thestandard.co/dusit-trading-regulations-2567/ Sat, 19 Apr 2025 09:29:52 +0000 https://thestandard.co/?p=1066098

วันนี้ (19 เมษายน) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุ […]

The post เขตดุสิตเปิดหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 ย้ำจัดระเบียบ ไม่ใช่ยกเลิกทำการค้า แต่มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 เมษายน) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองผู้ว่าฯ กทม.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม. การจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าในพื้นที่เขตดุสิต จำนวน 3 จุด ได้แก่ 

 

  1. หน้าวัดธรรมาภิรตาราม (วัดสะพานสูง) 
  2. หน้าตลาดราชวัตร 
  3. หน้าตลาดเทวราช 

 

โดยมี ศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร, อนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ, เทียนชัย วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการเขตดุสิต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตดุสิต สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล 

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า การลงพื้นที่ติดตามการจัดระเบียบผู้ค้านั้นจะเลือกลงพื้นที่ในช่วงเวลาเช้า เนื่องจากพื้นที่ทำการค้าส่วนใหญ่ ผู้ค้าจะเริ่มทำการค้าในช่วงเวลาเช้า อย่างเช่น หน้าวัดธรรมาภิรตารามหรือวัดสะพานสูง ผู้ค้าจะทำการค้าในช่วงเวลา 04.00-09.00 น. ในขณะเดียวกันช่วงเช้าวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุด จะมีประชาชนออกจากบ้านมาจับจ่ายซื้อสินค้าในตลาดเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ได้เห็นถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง บางจุดได้รับการร้องเรียนผ่านทาง Traffy Fondue ถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย บางจุดมีปัญหาการจราจรติดขัดจากการจอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ริมถนนเพื่อแวะซื้อสินค้า บางจุดอยู่กลุ่มในเป้าหมายที่เขตจะจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าใหม่ จะเห็นได้ว่าแต่ละจุดย่อมมีปัญหาแตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้บริหารสำนักเทศกิจและสำนักงานเขต สามารถนำสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ไปพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 2567 

 

“การจัดระเบียบพื้นที่ไม่ใช่การยกเลิกไม่ให้ทำการค้า แต่เป็นการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ให้มีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น ผู้ค้าปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ประชาชนใช้ทางเท้าในการเดินทางสัญจรได้สะดวกและปลอดภัย สุดท้ายแล้วผู้ค้าและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางเท้าร่วมกัน” จักกพันธุ์กล่าว 

 

จักกพันธุ์กล่าวอีกว่า สำหรับหน้าวัดธรรมาภิรตารามหรือวัดสะพานสูง มีผู้ค้า 59 ราย ทำการค้าในช่วงเวลา 04.00-09.00 น. ส่วนใหญ่จะขายอาหารสด อาหารทะเล ผักสดและผลไม้ตามฤดูกาล รวมถึงอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน พื้นที่ทางเท้าจะเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดความสกปรกเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไม่ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาล จากการพูดคุยกับตัวแทนผู้ค้าถึงการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าในจุดดังกล่าว ซึ่งทางผู้ค้าพร้อมให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 โดยปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาทำความสะอาด นำผ้าใบที่ติดอยู่ริมแนวรั้วเหล็กซึ่งมีสภาพเก่าและขาดออกจากแนวรั้วให้เรียบร้อย ร้านค้าที่อยู่ในอาคารไม่ให้ตั้งวางสินค้ารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางเท้า เมื่อตั้งวางแผงค้าด้านนอกอาคารแล้ว จะต้องเหลือพื้นที่ทางเท้าให้ประชาชนเดินสวนกันได้สะดวก ผู้ค้าจะต้องมีพื้นที่สำหรับยืนขายสินค้า ไม่ออกไปยืนบนพื้นที่ทางเท้าที่ประชาชนเดินทางสัญจร พร้อมทั้งขีดสีตีเส้นกำหนดแนวขอบเขตให้ชัดเจน 

 

ส่วนหน้าตลาดราชวัตร มีผู้ค้า 133 ราย จำหน่ายขายอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน ผลไม้ตามฤดูกาล มีทางเท้ากว้าง 2.20 เมตร เมื่อจัดขนาดแผงค้าแล้ว จะต้องมีที่ว่างให้ประชาชนสัญจรประมาณ 1 เมตร ซึ่งเดิมบริเวณทางเท้าหน้ากรมสรรพสามิต จะมีผู้ค้าตั้งวางแผงค้าอยู่ 2 แนว คือแนวในอาคารและแนวนอกอาคาร ที่ผ่านมาเขตฯ ได้เชิญผู้ค้ามาประชุมสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 2567 โดยจัดระเบียบผู้ค้าให้เหลือเพียงแนวนอกอาคารฝั่งเดียว 

 

นอกจากนี้เขตฯ จะพิจารณาหาแนวทางพื้นที่ทำการค้าดังกล่าวให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น อาจจะย้ายผู้ค้าในฝั่งตรงข้ามให้มารวมอยู่ในจุดเดียวกัน หรือแบ่งผู้ค้าเป็น 2 ฝั่งเหมือนเดิม แต่จัดแนวแผงค้าที่กระจัดกระจายอยู่ให้มาอยู่ชิดติดกัน โดยเว้นช่องว่างให้ประชาชนเข้าออกได้สะดวก ในส่วนของหน้าตลาดศรีย่าน มีผู้ค้า 113 ราย ผู้ค้าส่วนใหญ่ขายอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน โดยให้เขตฯ จัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 2567 ที่ผ่านมาเขตฯ ได้จัดทำทะเบียนข้อมูล บัตรประจำตัว และคิวอาร์โค้ดให้ผู้ค้าทั้งหมดทุกจุดแล้ว รวมถึงให้ผู้ค้าสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อบันทึกเวลาเข้าและเวลาออกจากพื้นที่ทำการค้าอีกด้วย 

 

สำหรับหน้าตลาดเทวราช มีผู้ค้า 92 ราย ส่วนใหญ่ขายสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ขนมหวาน ผลไม้ ที่ผ่านมาเขตฯ ได้เชิญผู้ค้ามาประชุม เพื่อทำความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของส่วนรวมในการจัดระเบียบพื้นที่ทางเท้าให้ประชาชนได้เดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 2567 ฝั่งถนนพิษณุโลก ได้กำชับร้านค้าไม่ให้มีการตั้งวางโต๊ะและเก้าอี้รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางเท้า เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินของประชาชน ฝั่งถนนสามเสน และฝั่งถนนลูกหลวง ผู้ค้าขยับแผงค้าขนมและผลไม้ เข้าไปทำการค้าอยู่หน้าอาคารด้านใน นอกจากนี้ยังมีตลาดเทวราช ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุง สามารถรองรับผู้ค้าได้อีกจำนวนหนึ่ง 

 

จักกพันธุ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจประเมินพื้นที่ทำการค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 จากคณะกรรมการตรวจประเมิน 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการสำนักงานเขต คณะกรรมการสำนักเทศกิจ คณะกรรมการผู้ตรวจราชการ จากนั้นจะนำผลการตรวจประเมิน เข้าที่ประชุมคณะกรรมการฯ ระดับเขต และคณะกรรมการฯ ระดับกทม. เพื่อพิจารณาเป็นพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผันหรือยกเลิกพื้นที่ทำการค้า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 ซึ่งคณะกรรมการฯ จะแจ้งให้ทราบว่าแต่ละพื้นที่หรือผู้ค้ารายใด ไม่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 2567 เพื่อผู้ค้าได้หาพื้นที่ทำการค้าแห่งใหม่ หากพื้นที่ทำการค้าใดผ่านเกณฑ์ จะยกระดับเป็นพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน สุดท้ายแล้วการกำหนดให้เป็นพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผันหรือยกเลิกพื้นที่ทำการค้า จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568

The post เขตดุสิตเปิดหลักเกณฑ์ทำการค้าปี 67 ย้ำจัดระเบียบ ไม่ใช่ยกเลิกทำการค้า แต่มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติยืนยัน พร้อมหนุนเก็บหลักฐานหาตัวผู้รับผิดชอบตึก สตง. ถล่ม เร่งเดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์หาผู้ติดค้างเพิ่มเติม https://thestandard.co/chadchart-pushes-search-efforts/ Sat, 19 Apr 2025 09:00:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1066076

วันนี้ (19 เมษายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุง […]

The post ชัชชาติยืนยัน พร้อมหนุนเก็บหลักฐานหาตัวผู้รับผิดชอบตึก สตง. ถล่ม เร่งเดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์หาผู้ติดค้างเพิ่มเติม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (19 เมษายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าสถานการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหตุแผ่นดินไหวว่า วานนี้ (18 เมษายน) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกตนพร้อมด้วย พญ.วันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร และ รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าพบเพื่อสอบถามสิ่งที่ต้องการรับการสนับสนุนหรือความช่วยเหลืออื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งมีประเด็นหนึ่งที่ต้องขอรับการสนับสนุนเพิ่มคือพื้นที่สำหรับเก็บกองวัสดุที่ยังแน่นอยู่ 

 

ส่วนที่มีประเด็นข่าวว่าเราไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บหลักฐานนั้น ชัชชาติยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เราอยากจะให้เอาหลักฐานไปให้ได้มากที่สุดเพื่อหาผู้รับผิดชอบให้ได้ เราร่วมมือกับทุกฝ่าย อาจมีช่วง 2-3 วันแรกที่มีการค้นหาผู้รอดชีวิตอาจมีปัญหาเรื่องการสื่อสารเล็กน้อย แต่ขณะนี้เราร่วมมือกับพิสูจน์หลักฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง รวมทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อย่างเต็มที่ในการเก็บหลักฐาน เพราะเราเองไม่ได้เชี่ยวชาญ เรามีหน้าที่ค้นหาผู้ติดค้างอยู่ 

 

หลักการคือต้องมีเจ้าหน้าที่ของกรมโยธาธิการฯ มาอยู่กับเรา หากอยากได้หลักฐานชิ้นใดสามารถระบุและเก็บหลักฐานชิ้นนั้นไปตรวจสอบได้ ซึ่งเรื่องนี้เราพร้อมดำเนินการให้ตลอด ยืนยันว่าไม่มีปัญหาอะไรร่วมมือกันได้ดี

 

สำหรับความคืบหน้าการค้นหาและรื้อถอนซากอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) วานนี้สามารถเจาะเปิดพื้นที่เพิ่มเติมได้บริเวณที่คาดว่าเป็นปล่องลิฟต์และบันไดหนีไฟ ทำให้พบผู้ที่ติดอยู่ในบริเวณดังกล่าวประมาณ 6 ร่าง ด้านภารกิจการรื้อถอนโครงสร้างอาคาร สามารถลดระดับความสูง บริเวณโซน B และ C เหลือประมาณ 10 เมตร ส่วนโซน A และ D ระดับความสูงเหลือ 12 เมตร วันนี้จะดำเนินการเจาะบริเวณปล่องลิฟต์เข้าไปอีก คาดว่าจะพบผู้ติดค้างด้านในเพิ่มเติม ภาพรวมงานเดินไปได้ค่อนข้างดี แต่ก็พบปัญหาบ้างคือ รถเริ่มเสียมากขึ้นแต่เรามีเจ้าหน้าที่จากกรมทหารช่างที่ประจำอยู่หน้างานอยู่แล้ว

 

ส่วนยอดผู้สูญหายที่อาจมีความสับสนเรื่องจำนวนนั้น ชัชชาติกล่าวว่า หลักการคือเมื่อเราพบชิ้นส่วน ต้องให้พิสูจน์หลักฐานเป็นผู้ยืนยัน เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าบางราย พบเป็นชิ้นส่วนอวัยวะแล้วเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ตอนนี้นำชิ้นส่วนออกมาแล้วกว่า 180 ชิ้น 

 

ชัชชาติกล่าวว่า อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องพยายามเร่งดำเนินการคือการพิสูจน์ DNA พบว่ายังไม่ได้ข้อมูลอีก 10 กว่าคน ซึ่งได้ประสานกระทรวงการต่างประเทศว่าจะหาข้อมูล DNA ตรงนี้เพิ่มได้อย่างไร ทั้งนี้ นอกจากการค้นหาผู้ติดค้างแล้ว เราดำเนินการฆ่าเชื้อในพื้นที่ควบคู่กัน เนื่องจากกังวลว่าเมื่อฝนตก อาจไปชะล้างเชื้อโรคต่าง ๆ ไหลลงไปสู่ทางระบายน้ำ จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพน้ำตลอด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีสิ่งปนเปื้อนแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดอันตรายกับคน และคนที่เข้าไปในพื้นที่ทุกคน เมื่อออกมาต้องมีการสเปรย์ ล้างรองเท้า ล้างมือตลอด

 

ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 19 เมษายน 2568 เวลา 10.00 น. ผู้ประสบเหตุ 103 ราย เสียชีวิต 47 ราย บาดเจ็บ 9 ราย อยู่ระหว่างการติดตาม 47 ราย สำหรับแผนการปฏิบัติงานในวันนี้ยังคงตามแผนเดิม เพิ่มเติมงานในพื้นที่จัดเก็บวัสดุ ให้เคลื่อนย้ายเครื่องจักรไปช่วยกดเหล็กและเคลียร์พื้นที่

The post ชัชชาติยืนยัน พร้อมหนุนเก็บหลักฐานหาตัวผู้รับผิดชอบตึก สตง. ถล่ม เร่งเดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์หาผู้ติดค้างเพิ่มเติม appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีชให้ตัวแทนนำรถ BMW คันเกิดเหตุ มอบให้ตำรวจตรวจสอบร่องรอยเฉี่ยวชน https://thestandard.co/bmw-car-police-investigation/ Sat, 19 Apr 2025 07:11:27 +0000 https://thestandard.co/?p=1065995 ตัวแทนพีช-สมิทธิพัฒน์ นำรถ BMW ป้ายแดงส่งมอบให้ตำรวจตรวจสอบร่องรอยเฉี่ยวชนที่ สภ.ลำลูกกา

วันนี้ (19 เมษายน) เวลา 11.39 น. ตัวแทนของ พีช-สมิทธิพั […]

The post พีชให้ตัวแทนนำรถ BMW คันเกิดเหตุ มอบให้ตำรวจตรวจสอบร่องรอยเฉี่ยวชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตัวแทนพีช-สมิทธิพัฒน์ นำรถ BMW ป้ายแดงส่งมอบให้ตำรวจตรวจสอบร่องรอยเฉี่ยวชนที่ สภ.ลำลูกกา

วันนี้ (19 เมษายน) เวลา 11.39 น. ตัวแทนของ พีช-สมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์ ที่ขับรถ BMW เบียดรถกระบะลุงกับป้า ได้นำรถ BMW ทะเบียนป้ายแดง ท-6523 เข้ามามอบให้กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรลำลูกกา (สภ.ลำลูกกา) โดยขณะที่ตัวแทนเดินลงจากรถนั้น ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามว่าเป็นใครแล้วตัวสมิทธิพัฒน์อยู่ที่ไหน แต่เจ้าตัวปฏิเสธตอบสื่อ พร้อมรีบเดินขึ้นไปยังสภ. ลำลูกกา

 

ขณะที่ พล.ต.ต. ยุทธนา จอนขุน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ภายหลังจากได้รับสำนวนมาจากกองบังคับการตำรวจทางหลวงได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน โดยในวันที่ 18 เมษายน พนักงานสอบสวนได้ไปสอบปากคำป้าผู้เสียหายและหมอที่ทำการรักษาลุงกระบะ ในเบื้องต้นจึงนำมาดำเนินการออกหมายเรียกและตั้ง 4 ข้อกล่าวหา ประกอบด้วย ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ, ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ทำให้เสียทรัพย์ และขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย

 

พล.ต.ต. ยุทธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนทะเบียนรถป้ายแดงจะเป็นของปลอมหรือไม่นั้นจะต้องส่งให้กรมการขนส่งทางบกตรวจสอบอย่างละเอียด หากพบความผิดก็จะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม 

 

พล.ต.ต. ยุทธนา ยืนยันว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 สั่งการอย่างชัดเจนว่าให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการช่วยเหลือทางคดีใดๆ ทั้งสิ้น โดยในวันนี้ภายหลังจากที่ได้รับรถ BMW ก็จะตรวจสอบเบื้องต้นก่อนจะส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานจังหวัดปทุมธานี ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดอีกครั้ง 

 

ด้าน พ.ต.อ. ถิรเดช จันทร์ลาด ผู้กำกับ สภ.ลำลูกกา กล่าวว่า เมื่อคืนนี้ขณะที่สมิทธิพัฒน์เข้ารับทราบข้อกล่าวหามีอาการปกติและทำทุกอย่างตามขั้นตอนโดยไม่มีท่าทีก้าวร้าว โวยวาย หลังจากที่ทางตำรวจได้ให้สัมภาษณ์เสร็จ ก็ได้เดินไปตรวจสอบร่องรอยที่การเฉี่ยวชนของรถ BMW คันดังกล่าว 

 

พล.ต.ต. ยุทธนา กล่าวด้วยว่า พนักงานสอบสวน สภ.ลำลูกกา จะประสานให้ตำรวจทางหลวงนำรถกระบะของลุงมาส่งมอบให้กับตำรวจ สภ.ลำลูกกา เพื่อตรวจสอบก่อนส่งต่อให้กับกองพิสูจน์หลักฐานจังหวัดปทุมธานีด้วยเช่นกัน

The post พีชให้ตัวแทนนำรถ BMW คันเกิดเหตุ มอบให้ตำรวจตรวจสอบร่องรอยเฉี่ยวชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้กำกับ สภ.ลำลูกกา เผย พีช BMW เข้ารับทราบ 4 ข้อกล่าวหาแล้ววานนี้ https://thestandard.co/bmw-driver-acknowledge-charges/ Sat, 19 Apr 2025 05:21:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1065952 พีช-สมิทธิพัฒน์ เจ้าของรถ BMW เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.ลำลูกกา

วันนี้ (19 เมษายน) พ.ต.อ. ถิรเดช จันทร์ลาด ผู้กำกับสถาน […]

The post ผู้กำกับ สภ.ลำลูกกา เผย พีช BMW เข้ารับทราบ 4 ข้อกล่าวหาแล้ววานนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พีช-สมิทธิพัฒน์ เจ้าของรถ BMW เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.ลำลูกกา

วันนี้ (19 เมษายน) พ.ต.อ. ถิรเดช จันทร์ลาด ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรลำลูกกา (สภ.ลำลูกกา) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในส่วนคดีอาญากรณี พีช-สมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์ ขับรถ BMW เบียดรถกระบะลุงกับป้า เป็นเหตุให้ลุงได้รับบาดเจ็บสาหัสว่า เมื่อคืนนี้ (18 เมษายน) สมิทธิพัฒน์พร้อมทนายความได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สภ.ลำลูกกา ในคดีอาญา ทั้งหมด 4 ข้อหา ประกอบด้วย ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ, ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ทำให้เสียทรัพย์ และขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย

 

พ.ต.อ. ถิรเดช กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีทะเบียนป้ายแดงนั้นจะต้องส่งเอกสารไปตรวจสอบที่กรมการขนส่งทางบก หากพบความผิดก็สามารถแจ้งข้อหาเกี่ยวกับการใช้เอกสารปลอมเพิ่มได้ ส่วนรถ BMW นั้นได้ประสานให้นำมาให้พนักงานสอบสวน สภ.ลำลูกกา ภายในวันนี้

 

เบื้องต้นเนื่องจากสมิทธิพัฒน์เดินทางเข้ามาพบพนักงานสอบสวนเอง เมื่อรับทราบข้อกล่าวหาจึงไม่จำเป็นต้องวางหลักทรัพย์ประกันตัว พนักงานสอบสวนจึงพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวตามขั้นตอนทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท. สุรพล เปรมบุตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ได้กำชับให้ตำรวจเร่งรัดทำคดี 

 

ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายของวันนี้ พล.ต.ต. ยุทธนา จอนขุน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี จะเดินทางมาติดตามคดีนี้ที่ สภ.ลำลูกกา และในช่วงเวลา 15.00 น. ทางทีมงานกันจอมพลังพร้อมบุตรของผู้เสียหายจะเดินทางมาติดตามความคืบหน้าของคดีและรอพบสมิทธิพัฒน์หากต้องการมาขอโทษตามที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อวานนี้

The post ผู้กำกับ สภ.ลำลูกกา เผย พีช BMW เข้ารับทราบ 4 ข้อกล่าวหาแล้ววานนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เริ่ม 1 พ.ค. นี้ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน https://thestandard.co/thailand-digital-arrival-card-required-may1/ Sat, 19 Apr 2025 03:48:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1065890 ระบบ Thailand Digital Arrival Card (TDAC) สำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย

วันนี้ (19 เมษายน) อนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำน […]

The post เริ่ม 1 พ.ค. นี้ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ระบบ Thailand Digital Arrival Card (TDAC) สำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย

วันนี้ (19 เมษายน) อนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเตรียมเปิดบริการระบบแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไทยในรูปแบบดิจิทัล (ตม.6) หรือ Thailand Digital Arrival Card (TDAC) สำหรับให้คนต่างด้าวทุกรายต้องลงทะเบียนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย 

 

ระบบดังกล่าวกำหนดให้ชาวต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์ http://tdac.immigation.go.th และในอนาคตจะมีบริการในรูปแบบแอปพลิเคชัน 

 

อนุกูลกล่าวต่อไปว่า ชาวต่างชาติสามารถกรอกข้อมูล TDAC ได้ล่วงหน้า 3 วันก่อนจะเดินทางเข้าประเทศไทย โดยจะต้องกรอกข้อมูลเอกสารเดินทาง หนังสือเดินทาง ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเดินทาง ที่พักในประเทศไทย สถานะทางสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 

 

ทั้งนี้ TDAC ไม่ใช่วีซ่า แต่เป็นระบบบัตรขาเข้าออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดคล้องกับกฎระเบียบและความจำเป็นในหลายประเทศ 

 

สำหรับวิธีการลงทะเบียน TDAC สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย มีดังนี้ 

 

  1. เข้าไปที่ www.tdac.immigration.go.th หรือสแกน QR Code  
  2. กรอกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเดินทาง 
  3. ส่งแบบฟอร์มและรับอีเมลยืนยัน 
  4. นำเอกสารยืนยันและเอกสารการเดินทางไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย

 

“ทั้งนี้ เว็บไซต์ www.tdac.immigration.go.th ยังอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติ โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ใน 5 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ จีน เกาหลี รัสเซีย และญี่ปุ่น พร้อมแผ่นพับและคลิปวิดีโอแนะนำการใช้งาน TDAC นอกจากนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยังได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ e-Visa ของกรมการกงสุล ระบบคัดกรองโรคของกรมควบคุมโรค และระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้การเดินทางเข้าประเทศไทยเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” อนุกูลกล่าว

The post เริ่ม 1 พ.ค. นี้ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รับการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ รัฐบาลไทยควรเดินอย่างไร https://thestandard.co/new-world-order-thailand-strategy/ Sat, 19 Apr 2025 03:31:06 +0000 https://thestandard.co/?p=1065913 รัฐบาลไทยกับยุทธศาสตร์รับมือระเบียบโลกใหม่ท่ามกลางความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

ต้องเปิดทัศนคติใหม่ (New Mindset) แล้วว่า ระเบียบโลกได้ […]

The post รับการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ รัฐบาลไทยควรเดินอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลไทยกับยุทธศาสตร์รับมือระเบียบโลกใหม่ท่ามกลางความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

ต้องเปิดทัศนคติใหม่ (New Mindset) แล้วว่า ระเบียบโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว จากชุดความคิดแบบโลกาภิวัตน์/โลกานุวัตรที่มีสหรัฐฯ เป็นเพียงขั้วอำนาจเดียว (Hegemonic Unipolarity) ที่กำหนดกฎระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่างๆ ไปสู่โลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในมิติภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-Politics) ที่มี 2 ขั้วมหาอำนาจใหญ่คือ สหรัฐฯ และจีนเป็นคู่ขัดแย้ง และเครื่องมือสำคัญที่มหาอำนาจใช้ห้ำหั่นกันคือ เครื่องมือทางภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geo-Economics) 

 

ดังนั้นสงครามการค้า สงครามเศรษฐกิจ จะไม่ใช่เรื่องระยะสั้น แต่เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ (Eco-system) ที่โลกาภิวัตน์/โลกานุวัตรได้แตกออกเป็น 3 ห่วงโซ่มูลค่า นั่นคือ 1. ห่วงโซ่มูลค่าที่นำโดยสหรัฐ (US-led Value Chains) 2. ห่วงโซ่มูลค่าที่นำโดยจีน (China-led Value Chains) และ 3. ห่วงโซ่มูลค่าของประเทศอื่นๆ ในโลก (Value Chains of the Rest of the World) ผู้เขียนใช้คำว่า Value Chains เพราะเราต้องพิจารณาทั้ง Supply, Demand และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เชื่อมโยง Demand และ Supply เข้าด้วยกัน

 

เมื่อเป็นความขัดแย้งในมิติที่มีความหลากหลายทับซ้อน (ภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์) ดังนั้นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในการสร้างอำนาจการต่อรอง โดยเฉพาะในการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของประเทศไทยที่อยู่ในจุดศูนย์กลางของความขัดแย้ง (ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก) และในการวางยุทธศาสตร์ เราจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้แบบสหสาขาวิชา (Multi-disciplinary) ทั้งการค้า การลงทุน การเงิน ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในชุดองค์ความรู้แบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Neo-Classical Economics) แต่เท่านั้นคงไม่เพียงพอ เราต้องใช้มิติความมั่นคง การเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ สังคม-วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี-นวัตกรรม ฯลฯ มาร่วมกันทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมประเทศไทยให้สามารถประคองตนอยู่ได้ และสามารถวางยุทธศาสตร์ถ่วงดุลอำนาจ (Strategic Hedging) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ

 

ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 

 

1) ความมั่นคงในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 

 

2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 

 

3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และสุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ  

 

4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึงชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ สำหรับ ประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 

 

นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1) ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัว หรือของธุรกิจครอบครัว 2) ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3) เจ้าหน้าที่รัฐที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4) นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และ กล้าเปลืองตัว ที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5) ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ และ 6) สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง 

 

การรับมือกับระเบียบโลกใหม่คงต้องวางยุทธศาสตร์และจัดตั้งทีมงานทั้งศึกษา และเจรจา รวมทั้งสร้างเสริมความร่วมมืออย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เจรจาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา, ชุดที่ 2 เจรจาต่อรองกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และชุดที่ 3 สร้างอำนาจต่อรองโดยเล่นบทบาทนำในประชาคมอาเซียน ทำไมขั้นต่ำต้องมี 3 ชุด เพราะ ในมิติเศรษฐกิจ สหรัฐฯ จีน (รวมฮ่องกง) ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม คือประเทศคู่ค้าสำคัญที่สุดของไทย ซึ่ง 3 ประเทศคือสมาชิกประชาคมอาเซียน ในมิติการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สหรัฐฯ คือประเทศมหาอำนาจที่มีแสนยานุภาพสูงสุดในโลก จีนคือมหาอำนาจใกล้บ้าน ในขณะที่อาเซียนคือเวทีที่ประเทศไทยมีบทบาทนำมาตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษ และมีศักยภาพสูงในการสร้างอำนาจการต่อรองทั้งกับสหรัฐฯ และกับจีน

 

แนวทางการเจรจากับสหรัฐฯ:  

 

  • เราต้องแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ไทยเป็นตัวของตัวเอง ไทยมีจุดแข็งของตนเอง ไทยพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนที่เสรีและเป็นธรรม ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐฯ หรือ มหาอำนาจใดๆ 

 

  • จากนั้นต้องเร่งสำรวจว่าเราเองทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐฯ

 

  • อาวุธสำคัญที่สุดที่เพิ่มการต่อรองให้ไทยในการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่ได้มาจากมิติเศรษฐกิจ (เนื่องจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เราจะสามารถซื้อได้จากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ สินค้าเกษตร ซอฟต์แวร์ และบริการอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีมูลค่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับศักยภาพที่เราจะไปลงทุนในสหรัฐฯ) แต่อำนาจการต่อรองของไทยมาจากมิติความมั่นคงและการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราต้องไม่ลืมว่าราชอาณาจักรสยามและสหรัฐอเมริกามีหลักฐานความสัมพันธ์กันตั้งแต่ปี 1818 และลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการค้ากันตั้งแต่ 1833 (192 ปีที่แล้ว) เราคือชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราเป็นพันธมิตรเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมรบกับสหรัฐฯ มาตั้งแต่สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม เราเป็นหนึ่งในภาคีองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ตั้งแต่ปี 1954 และมี Thanat–Rusk communiqué ในปี 1962 เราเป็นหนึ่งในประเทศพันธมิตรหลักนอกนาโต้ (Major Non-NATO Ally: MNNA) และมีความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้นั่นคือ สหรัฐฯ มีสถานเอกอัครราชทูตที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ เพิ่งจะลงทุนเรือนหมื่นล้านบาทเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับสถานกงสุลของสหรัฐฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นในห้วงเวลาที่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก คือจุดศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ ในจังหวะที่จีนกำลังขยายอิทธิพลลงมาในอาเซียนภาคพื้นทวีป และในเวลาที่เมียนมาและเวียดนามกำลังจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่น่าจะใช้เทคโนโลยีของรัสเซีย 

 

  • ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ไม่ต้องหงอ ไม่ต้องหมอบ และต้องยืดอกเจรจากับสหรัฐฯ อย่างสง่าผ่าเผย โดยเรื่องสำคัญที่ไทยต้องการและสหรัฐฯ ก็ต้องการนั่นคือ ถ้าสหรัฐฯ จะดึงเงินลงทุนกลับเข้าประเทศสหรัฐฯ เพื่อไปผลิตสินค้า Made in USA สหรัฐฯ จะให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนจากประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง เพราะต้องอย่าลืมว่า Make America Great Again, การสร้างการจ้างงานและการลดค่าครองชีพให้คนอเมริกัน เกิดไม่ได้เพียงเพราะการสร้างกำแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า หากแต่จะเกิดได้เมื่อกำแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า มาพร้อมกับมาตรการส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และให้สิทธิพิเศษเพื่อให้เงินลงทุนกลับไปลงทุนสร้างฐานการผลิตในสหรัฐฯ

 

แนวทางการเจรจากับจีน: 

 

  • อัตราภาษี 125% ที่จีนจัดเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ และอัตราภาษี 145% (และบางรายการอาจสูงถึง 245%) ที่สหรัฐฯ จัดเก็บกับสินค้านำเข้าจากจีน (ข้อมูล ณ​ วันที่ 17 เมษายน 2025) ทำให้การค้าระหว่าง 2 ประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 

 

  • 2 เรื่องในทางเศรษฐกิจที่ไทยต้องร้องขอจากจีน คือ 1) มีสินค้าใดบ้างที่จีนต้องการรับซื้อจากไทยเพื่อทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐฯ และ/หรือ สินค้าที่จีนมีความต้องการสูงมากเป็นพิเศษ โดยสินค้าที่มีศักยภาพสูงอาทิ พืชพลังงาน พืชที่ใช้ในการผลิตน้ำมัน สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป ทั้ง 3 รายการนี้มีความสำคัญมาก เพราะจีนเป็นประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารและพลังงานได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ สินค้ากลุ่มต่อมาคือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก สารเคมี 2) หากจีนต้องการขึ้นมาเป็นพี่ใหญ่ในเวทีโลก และไทยเองก็พร้อมจะสนับสนุนในฐานะประเทศที่มิใช่อื่นไกลแต่เป็นพี่น้องกัน ‘จงไท่อี้เจียชิน’ (中泰一家亲) ปี 2025 เป็นเพียง 50 ปีเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ หากแต่ในความเป็นจริงแล้วสยามและจีนเป็นเพื่อน เป็นคู่ค้า เป็นพันธมิตรกันมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน-หมิงและ ชิง หรือก่อนการเกิดขึ้นของราชอาณาจักรอยุธยา ดังนั้นสินค้าจีนที่ไม่สามารถส่งออกไปขายยังสหรัฐฯ ต้องไม่ถูกนำมาทุ่มตลาดในประเทศไทยจนทำให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ต้องเดือดร้อน พี่ใหญ่ต้องไม่รังแกน้องเล็กในเวลาที่ตนเองกำลังเดือดร้อน 

 

  • จุดยืนที่ไทยต้องแสดงต่อจีนคือ ไทยพร้อมสนับสนุนจีนในเวทีพหุภาคี โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ (人类命运共同体 Community with a shared future for mankind) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ Global Development Initiative, Global Security Initiative และ Global Civilization Initiative โดยเฉพาะสนับสนุนบทบาทของจีนในเวทีโลก (ในประเด็นที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทย) โดยเฉพาะใน องค์การการค้าโลก (WTO) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งจีนคงจะมีบทบาทโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ไทยพร้อมที่จะเชื่อมโยงระบบการชำระเงินที่ใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการซื้อขาย ไทยพร้อมต้อนรับการลงทุนของจีน 

 

  • ทั้งนี้ฝ่ายไทยเองก็ต้องชัดเจนอาทิ การแสดงความจริงใจผ่านการกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการเร่งรัดการก่อสร้างการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับไทยและจีนในโครงการความริเริ่มแถบและเส้นทาง การแสดงความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เลือกปฏิบัติหรือการคอร์รัปชันฉ้อราษฎร์บังหลวง จนทำให้เครือข่ายอาชญากรรมที่จีนเองก็ต้องการปราบปรามมาสร้างอาณาจักรและเขตอิทธิพลภายในและรอบๆ ประเทศไทย และในเวทีการเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

 

  • และอีกประเด็นคือการเรียกร้องให้จีนช่วยสนับสนุน และเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ให้รับไทยเข้าเป็นสมาชิกแบบ Full Member ของกลุ่ม BRICS เพราะไทยเองก็ต้องการแสวงหาโอกาส ต้องการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป จากสงครามเศรษฐกิจและระเบียบโลกใหม่

 

สร้างอำนาจต่อรองโดยเล่นบทบาทนำในประชาคมอาเซียน: อาเซียนต้องวางยุทธศาสตร์การเจรจากับสหรัฐฯ ร่วมกัน ซึ่งได้มีการตกลงไปแล้วผ่านการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนนัดพิเศษเมื่อ 10 เมษายน 2025 ผู้เขียนเสนอว่าอาเซียนต้องจัดทำคือ

 

  • อาเซียนทั้ง 10 ประเทศที่มีเศรษฐกิจอันดับที่ 5 ของโลก เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อขนาดใหญ่และเติบโตด้วยอัตราเร่ง อาเซียนมีกำลังแรงงานจำนวนมาก เช่นเดียวกับมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ และในทางการเมืองอาเซียนคืออาเซียน อาเซียนเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของมหาอำนาจใด ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ และ/หรือ จีน รวมทั้งอาเซียนต้องการที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงทั้ง 3 ห่วงโซ่มูลค่าของโลกเข้าด้วยกัน

 

  • ‘ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู’ 10 ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันนำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน จากนั้นก็ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในระดับที่ผู้นำอาเซียนไม่สามารถรับได้) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐฯ จะได้จากการร่วมมือกันในอนาคต สิ่งที่หนูอาเซียนจะเสนอให้กับราชสีห์สหรัฐฯ ได้ อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 4 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น ฮับทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ผู้ประกอบการสหรัฐฯ ต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐฯ ดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่งลาสเวกัสได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น 

 

  • เนื่องจากไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันธพาลตัวเก่า 

 

  • คุณผู้อ่านบางท่านอาจจะถามถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน ว่ามันเป็นจริงได้หรือ คำตอบคือได้ เพราะอาเซียนคือประชาคมที่สนับสนุนให้ทั้ง 10 ประเทศมาร่วมมือกัน แต่ในขณะเดียวกันทั้ง 10 ประเทศก็มีอิสระเพียงพอที่จะดำเนินการในกิจการของตนเอง ดังนั้นมิติใดที่ไทยมีผลประโยชน์ร่วมกับอาเซียน ไทยต้องเร่งผลักดันให้อาเซียนเดินหน้าเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และในขณะเดียวกัน หากมีมิติไหนที่สมาชิกรู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนอาจจะไม่สอดคล้องกับอาเซียน อาเซียนก็เปิดกว้างให้สมาชิกนั้นๆ เดินหน้าเจรจาโดยประเทศของตนเองคู่ขนานกับอาเซียนไปด้วยได้ ซึ่งจุดนี้คือสิ่งสำคัญที่แตกต่างจากสหภาพยุโรปที่มีสภาพบังคับที่กำหนดให้สมาชิกต้องมีนโยบายต่างประเทศร่วมกัน (Common External Policy) ซึ่งในหลายๆ ครั้งทำให้สมาชิกต้องการหรือเดินออกจากการเป็นสมาชิก

 

ไทยต้องหาตลาดใหม่ กำแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ในประชาคมนานาชาติ สินค้าที่เคยส่งออกไปสหรัฐฯ จากหลายๆ ประเทศจะกองท่วมกันอยู่ในตลาดโลก และจะไหลเข้ามาในประเทศต่างๆ ที่เปิดกว้างทางการค้า เหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องแสวงหาตลาดใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยยังสามารถทำการค้าขายระหว่างประเทศได้ หากในอนาคตกำแพงภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง (อาจจะก่อน 90 วันตามที่มีการประกาศเลื่อนออกไป) นั่นทำให้เราต้องพิจารณาตลาดการค้าของเราใหม่ ตัวอย่างเช่น เดิมสินค้าบางรายการของเราอาจจะสู้ราคาของสินค้าที่ผลิตในเวียดนามไม่ได้ หากแต่ด้วยอัตราภาษีที่สหรัฐฯ จะเก็บจากเวียดนามในอัตรา 46% และเก็บจากไทย 36% นั่นทำให้เราได้เปรียบเวียดนามด้านราคาประมาณ​ 10% 

 

ดังนั้นสินค้าบางรายการของเราจะมีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกเหนือกว่าเวียดนาม มิพักต้องกล่าวถึงจีนที่โดนกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ ในอัตราที่ไม่สามารถนำเข้าไปในสหรัฐฯ ได้ นั่นหมายความว่าแม้เราจะโดนภาษี 36% แต่เราก็ยังสามารถแทนที่สินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ ได้ และในขณะเดียวกันสิ่งที่เราต้องศึกษาเปรียบเทียบด้วยนั่นคือ บางประเทศที่เราไม่เคยคิดว่าจะเป็นคู่แข่ง อาทิ มาเลเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีสินค้าจากประเทศเหล่านี้ในอัตราที่ต่ำกว่าที่จะจัดเก็บจากประเทศไทย นั่นก็หมายความว่า เราจะต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว อีกหนึ่งกลุ่มประเทศที่ไทยต้องมองเป็นโอกาสคือ โลกมุสลิม

 

โลกมุสลิม คือ ประชากรขนาดกว่า 1.8 พันล้าน ที่กระจายตัวอยู่ในหลายภูมิภาค (หากพิจารณาจาก OIC ซึ่งประกอบด้วย 54 ประเทศสมาชิก) นี่คือตลาดกำลังซื้อสูง มีเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีทรัพยากรที่เป็นต้นทางของภาคการผลิต กลุ่มประเทศที่ Team Thailand ต้องทำงานหนักในการสร้างตลาดคือ โลกมลายู (มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน) การได้พวกเขาเป็นพันธมิตร เป็นคู่ค้า จะเป็นประตูเปิดทางสู่ตลาดโลกมุสลิม 

 

ตามมาด้วย เอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) และแอฟริกา (โดยอาจใช้นโยบายเหาฉลาม คือ พิจารณาว่าจีนไปเปิดตลาดการค้าการลงทุนอยู่ในพื้นที่ใดตามแนว BRI ซึ่งนั่นหมายถึงมีช่องทาง Logistics เชื่อมโยงแล้ว เราก็ส่ง Team Thailand ไปบุกตลาดเหล่านั้น) น่าเสียดายที่ที่ผ่านมา รัฐไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับประเทศในกลุ่มนี้เท่าที่ควร ตัวอย่างที่เห็นอาทิ กระทรวงการต่างประเทศนำเอาประเทศเหล่านี้ไปรวบกันไว้ในการดูแลติดตามโดยกรมเพียงกรมเดียว คือ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในกรมที่ขาดแคลนกำลังคนมากที่สุด หรือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่จะเป็นทัพหน้าในการสร้างโอกาสทางการค้าของไทย ก็มีสำนักงานส่งเสริมการค้า (หรือสำนักงาน Thai Trade) เพียงแค่ 4 แห่งในแอฟริกา ทั้งที่แอฟริกามี 54 ประเทศและมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน (เท่าๆ กับอินเดีย) และในวงวิชาการ เราเองก็ไม่มีศูนย์แอฟริกันศึกษาในประเทศไทยเช่นกัน

 

นอกจากการแสวงหาตลาดใหม่แล้ว การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการบริโภคภายในประเทศ เพื่อลดภาวะพึ่งพิง และสร้างเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภายในประเทศที่มีความยั่งยืนก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง แน่นอนว่าการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเป็นเรื่องยาก (เพราะปัจจัยสำคัญ ขึ้นกับปัจจัยด้านพฤติกรรมของประชาชน และโครงสร้างประชากร) แต่หากทำได้ และขยายตัวรายจ่ายจากการบริโภคภายในประเทศให้มีสัดส่วนสูงขึ้นในมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ไทยก็จะมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวผลักดันให้การบริโภคภายในประเทศอย่างยั่งยืนไม่ใช่การใช้นโยบายประชานิยม หากแต่ต้องเป็นการใช้นโยบายส่งเสริมการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ส่งเสริมความเท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากรและโอกาส และการมีธรรมาภิบาล

 

ในมิติการเงิน การคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยราว 1 ใน 3 อยู่ในรูปของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เมื่อรวมกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อีกมหาศาล (โดยมีทองคำอยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศราว 10% เท่านั้น) ต้องอย่าลืมว่า ในปี 2000 สหรัฐฯ มีปริมาณเงินดอลลาร์หมุนเวียนในระบบ (M2 Money Supply) เพียง 4.66 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2024 ปริมาณเงินดอลลาร์เพิ่มเป็นมากกว่า 20.86 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า และนั่นทำให้เงินดอลลาร์มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับตัวเองไปแล้วกว่า 46% ในช่วงเวลาระหว่างปี 2000-2024 ในขณะที่หนี้สาธารณะหรือหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6 เท่าจาก 5.77 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2000 เป็นกว่า 34.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ปี 2024 ทำให้ในทุกวันทำการสหรัฐฯ ต้องกู้เงินเพิ่มวันละกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีภาระดอกเบี้ยสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องลดเครดิตของรัฐบาลสหรัฐฯ เหล่านี้ทำให้หลายประเทศทั่วโลก เริ่มต้นกระแส De-Dollarization หลายประเทศเริ่มสะสมทองคำเพิ่มขึ้น ลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเอกชนเองก็ทยอยลดความเสี่ยงโดยการเจรจาการค้าและลงทุนในสกุลเงินที่หลากหลาย และในตราสารทางเลือกอื่นๆ มากยิ่งขึ้น 

 

นั่นหมายความว่ารัฐบาลคงต้องทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิดในการให้อิสระธนาคารแห่งประเทศไทยในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและปรับสัดส่วนกระจายการถือครองทรัพย์สินต่างๆ ในทุนสำรองระหว่างประเทศตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) 

 

ใช้มิติสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรมในการเสริมสร้าง Soft Power (ในความหมายที่แท้จริงของ Soft Power ที่ไม่ใช่สินค้าความคิดสร้างสรรค์ หรือสินค้าวัฒนธรรม) ปัจจุบันมาตรการที่มิใช่มาตรการทางการค้าถูกนำมาใช้ในสงครามเศรษฐกิจพอๆ กับมาตรการทางภาษี (หรืออาจจะยิ่งกว่า) อาทิ สปป.ลาว และเมียนมา ถูกระงับวีซ่าบางประเภท เช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน และวีซ่าผู้อพยพ จากสหรัฐฯ เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ จะระงับวีซ่าบางส่วน หากรัฐบาลของกัมพูชาไม่ดำเนินมาตรการแก้ไขข้อบกพร่องที่สหรัฐฯ ระบุภายใน 60 วัน ลองนึกถึงประชาชนลาวที่กำลังเจอวิกฤตการณ์การเงิน และประชาชนเมียนมาที่อยู่ท่ามกลางสงครามกลางเมือง แต่ไม่มีโอกาสได้ไปเรียนต่อ ไปทำการค้า ไปพบญาติพี่น้องของพวกเขาในสหรัฐฯ ร่วมกับ USAID ก็ยกเลิกทุนการศึกษาและความช่วยเหลือเกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุขในการรณรงค์ต่อต้าน HIV/AIDS ไปจนถึงโรงพยาบาลสนาม การเก็บกู้วัตถุระเบิด การรักษาสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขง ฯลฯ ในทางวิชาการงานวิจัยที่เกี่ยวกับสตรี และ LGBTIQ+ ยกเลิก เพราะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อต้านกระแสยอมรับความหลากหลาย เท่าเทียม และครอบคลุมทุกภาคส่วน (Diversity, Equity, Inclusivity) นี่คือ โอกาสที่ประเทศไทยจะให้ทุนการศึกษาให้นักเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านที่เรียนหนังสือเก่งๆ มาเรียนต่อในประเทศไทย ในทุกระดับ นี่คือโอกาสที่ไทยจะเข้าไปช่วยสร้างสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อนบ้าน นี่คือโอกาสที่จะได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากหลายๆ ประเทศทั่วโลกให้มาทำงาน มาลงทุน มาผลิตงานวิจัย สร้างนวัตกรรม หรือแม้กระทั่งเข้ามาเติมเต็มช่องว่างในโครงสร้างประชากรของไทย เหล่านี้คือ Soft Power ที่จะสร้าง Friend of Thailand ให้สนับสนุนไทย ช่วยไทย ในการเรียกร้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติในเวทีโลก

 

ภาพ: ฐานิส สุดโต, ixpert via ShutterStock, REUTERS / Athit Perawongmetha, Nathan Howard

The post รับการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ รัฐบาลไทยควรเดินอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
หน่วยเฉพาะกิจราชมนูเผย มีผู้อพยพ 215 คน หลังทหารเมียนมาโจมตีกลางดึก ห่างชายแดนไทยแค่ 2 กิโลเมตร https://thestandard.co/myanmar-troops-attack-knla-refugees-flee-tak/ Sat, 19 Apr 2025 02:26:25 +0000 https://thestandard.co/?p=1065884 ผู้อพยพชาวเมียนมาจำนวน 215 คนที่หนีภัยการสู้รบเข้ามาในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก หลัง ทหารเมียนมา โจมตีกองกำลัง KNLA ใกล้ชายแดนไทย

วันนี้ (19 เมษายน) มีรายงานข่าวจากหน่วยเฉพาะกิจราชมนูว่ […]

The post หน่วยเฉพาะกิจราชมนูเผย มีผู้อพยพ 215 คน หลังทหารเมียนมาโจมตีกลางดึก ห่างชายแดนไทยแค่ 2 กิโลเมตร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้อพยพชาวเมียนมาจำนวน 215 คนที่หนีภัยการสู้รบเข้ามาในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก หลัง ทหารเมียนมา โจมตีกองกำลัง KNLA ใกล้ชายแดนไทย

วันนี้ (19 เมษายน) มีรายงานข่าวจากหน่วยเฉพาะกิจราชมนูว่า เมื่อเวลา 23.55 น. ของวันที่ 18 เมษายน ทหารเมียนมาได้รุกเข้าโจมตีกองกำลัง KNLA โดยใช้เครื่องบินโจมตีทางอากาศบริเวณพื้นที่บ้านมอพาซู ห่างจากแนวชายแดน 2 กิโลเมตร ส่งผลให้มีผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอพยพข้ามมายังประเทศไทยบริเวณ บ้านห้วยปลากอง ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 

 

หน่วยเฉพาะกิจราชมนูร่วมกับฝ่ายปกครองอำเภอแม่ระมาดประสานรวบรวมผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเข้าพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวฯ บริเวณสำนักสงฆ์ห้วยปลากอง โดยมียอดผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาจำนวน 215 คน แบ่งเป็น ชาย 39 คน หญิง 72 คน เด็กชาย 53 คน และเด็กหญิง 51 คน 

 

นอกจากนี้หน่วยเฉพาะกิจราชมนู หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 ร่วมกับฝ่ายปกครองอำเภอแม่ระมาดและเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม พร้อมทั้งวางกำลังเฝ้าตรวจ นำอาวุธยิงสนับสนุนเข้าที่ตั้งตามแผนประเชิญเหตุ เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยและดูแลความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน

The post หน่วยเฉพาะกิจราชมนูเผย มีผู้อพยพ 215 คน หลังทหารเมียนมาโจมตีกลางดึก ห่างชายแดนไทยแค่ 2 กิโลเมตร appeared first on THE STANDARD.

]]>
DSI อายัดไซต์งานก่อสร้างกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีฯ ในพื้นที่จอดรถ ตึก สตง. ถล่ม สั่งห้ามเคลื่อนย้ายพยานหลักฐาน https://thestandard.co/dsi-seizes-construction-site-containers-oag/ Fri, 18 Apr 2025 13:19:09 +0000 https://thestandard.co/?p=1065862 เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเอกสารสำคัญจำนวน 26 ตู้ จากบริเวณด้านหลังอาคาร สตง. ที่ประสบเหตุพังถล่ม

วันนี้ (18 เมษายน) พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนค […]

The post DSI อายัดไซต์งานก่อสร้างกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีฯ ในพื้นที่จอดรถ ตึก สตง. ถล่ม สั่งห้ามเคลื่อนย้ายพยานหลักฐาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเอกสารสำคัญจำนวน 26 ตู้ จากบริเวณด้านหลังอาคาร สตง. ที่ประสบเหตุพังถล่ม

วันนี้ (18 เมษายน) พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มอบหมายให้ พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 32/2568 เข้าทำการอายัดสถานที่ปฏิบัติงานชั่วคราวของกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีฯ และกิจการร่วมค้าพีเคดับเบิ้ลยู (PKW) จำนวน 24 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารจอดรถสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่เกิดการถล่มหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตาม DSI ได้มีหนังสืออาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งไปยังผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อและผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ขอความร่วมมือรักษาสถานที่เพื่อการสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายเจ้าหน้าที่ตรวจตราสภาพสถานที่เพื่อป้องกันการยักย้ายทำลายพยานเอกสาร และยังมีหนังสือเรียกให้ผู้บริหาร/ผู้มีอำนาจจัดการแทนกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีฯ ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งบุคคลมาให้ถ้อยคำและแจ้งการอายัดอาคารสำนักงานชั่วคราวและทรัพย์สินในสำนักงานระหว่างการตรวจสอบพิจารณา

 

พ.ต.ต. วรณัน เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ตึกถล่มในวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร และกรมการทหารช่าง กองทัพบก ได้รักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขณะนี้ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 24 ตู้ ซึ่งทางกิจการร่วมค้าฯ ทั้ง 2 แห่ง ได้ใช้เป็นไซต์งานก่อสร้างมีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีพยานหลักฐานที่มีความสำคัญต่อรูปคดี

 

เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์ 24 หน่วยของกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีและพีเคดับเบิ้ลยูในพื้นที่อาคารจอดรถ สตง. ที่ถล่ม เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์ 24 หน่วยของกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีและพีเคดับเบิ้ลยูในพื้นที่อาคารจอดรถ สตง. ที่ถล่ม เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์ 24 หน่วยของกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีและพีเคดับเบิ้ลยูในพื้นที่อาคารจอดรถ สตง. ที่ถล่ม

The post DSI อายัดไซต์งานก่อสร้างกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซีฯ ในพื้นที่จอดรถ ตึก สตง. ถล่ม สั่งห้ามเคลื่อนย้ายพยานหลักฐาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
DSI อายัดเอกสารสำคัญในตู้คอนเทนเนอร์จากจุดด้านหลังอาคาร สตง. ถล่ม https://thestandard.co/dsi-seizes-documents-oag-building-collapse/ Fri, 18 Apr 2025 12:57:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1065839 เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเอกสารสำคัญจำนวน 26 ตู้ จากบริเวณด้านหลังอาคาร สตง. ที่ประสบเหตุพังถล่ม

วันนี้ (18 เมษายน) เมื่อช่วงบ่าย พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ โฆ […]

The post DSI อายัดเอกสารสำคัญในตู้คอนเทนเนอร์จากจุดด้านหลังอาคาร สตง. ถล่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าหน้าที่ DSI ตรวจสอบและอายัดตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเอกสารสำคัญจำนวน 26 ตู้ จากบริเวณด้านหลังอาคาร สตง. ที่ประสบเหตุพังถล่ม

วันนี้ (18 เมษายน) เมื่อช่วงบ่าย พ.ต.ต. วรณัน ศรีล้ำ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) พร้อมด้วยผู้อำนวยการกองอายัดทรัพย์สิน เดินทางไปยังบริเวณด้านหลังอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ประสบเหตุพังถล่ม เพื่อดำเนินการอายัดตู้คอนเทนเนอร์จำนวนหนึ่ง

 

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ภายในตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวบรรจุแฟ้มเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. โดยมีตู้เอกสารที่ถูกอายัดไว้รวมทั้งสิ้น 26 ตู้

 

เจ้าหน้าที่ DSI ดำเนินการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาเอกสารจากตู้คอนเทนเนอร์ได้แล้วจำนวน 3 ตู้ และจะมีการทยอยเปิดตู้ที่เหลือเพื่อนำเอกสารทั้งหมดออกมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป

 

โดยการเข้าอายัดเอกสารในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการสืบสวนสอบสวนในคดีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารเหล่านี้มีความสำคัญต่อการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ในโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ DSI จะเร่งดำเนินการตรวจสอบเอกสารที่ได้อายัดไว้โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อาคารถล่ม และดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป

The post DSI อายัดเอกสารสำคัญในตู้คอนเทนเนอร์จากจุดด้านหลังอาคาร สตง. ถล่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลากไส้ สตง. เปิดขบวนการปลอมลายเซ็น-คุมงานทิพย์ https://thestandard.co/sao-exposed-fake-sigs-supervision/ Fri, 18 Apr 2025 11:28:22 +0000 https://thestandard.co/?p=1065807

ทำไมตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มูลค่ากว่า 2 พ […]

The post ลากไส้ สตง. เปิดขบวนการปลอมลายเซ็น-คุมงานทิพย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทำไมตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มูลค่ากว่า 2 พันล้าน ถึงมีการปลอมลายเซ็นผู้ควบคุมงาน 

 

หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมียนมาที่สร้างความเสียหายให้แก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้าง จนพังราบลงมาภายในเวลาเพียงแค่ 8 วินาที และยังคงทับร่างผู้สูญหายกว่าหลายชีวิต ตอนนี้เลยเหมือนน้ำลดตอผุด เพราะความไม่โปร่งใสต่างๆ กำลังค่อยๆ ผุดขึ้นมาจากซากตึกแห่งนี้

 

พิรุธ 3 ข้อ 

 

  1. วัสดุไม่ได้มาตรฐาน

 

  • พิรุธแรกที่ผุดขึ้นมาจากซากตึกถล่ม เห็นได้ชัดที่สุดคือวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอย่าง ‘เหล็ก’ และเมื่อนำไปตรวจสอบก็พบว่าไม่ได้มาตรฐาน  

 

  1. แก้แบบอาคาร 

 

  • พิรุธต่อมาคือ ‘ช่วงเวลา 8 วินาทีสำคัญ’ ที่ตึกถล่ม โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าต้นตอของการถล่มมาจาก ‘ปล่องลิฟต์’ ที่ถูกแก้ไขจาก 30 ซม. เป็น 25 ซม. และอาจทำให้กระทบโครงสร้างหลัก จนไม่สามารถรับแรงบิดจากการโยกตัวอาคาร และทำให้อาคารถล่มแบบ Pancake Collapse

 

  1. ปลอมลายเซ็น

 

  • พิรุธที่สามเลยโผล่ออกมาว่า ‘ใครที่เป็นคนอนุมัติให้แก้ไขแบบ’ 

 

ควบคุมงานทิพย์? 

 

  • สมเกียรติ ชูแสงสุข วิศวกรผู้มีชื่อเป็นผู้จัดการโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. และมีลายเซ็นเป็นผู้แก้แบบปล่องลิฟต์ออกมาแสดงตัวว่าตัวเขาถูกปลอมลายเซ็นเป็นผู้ควบคุมงานของกิจการร่วมการค้า PKW ในโครงการอาคาร สตง. ตั้งแต่ตึกแห่งนี้เริ่มก่อสร้างมาต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 5 ปี และไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย 

 

  • ชัยฤทธิ์ (ขอสงวนนามสกุล) เป็นพนักงานบริษัท ว. และสหายคอนซัลแตนตส์ จำกัด ในตำแหน่งวิศวกร อ้างว่าถูกแอบอ้างเป็นผู้ควบคุมงานตึก สตง. และเคยถูกเกณฑ์ไปถ่ายรูปกับตึก สตง. เพื่อให้ดูว่ามีการควบคุมงานจริง

 

  • อีกชื่อหนึ่งที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังติดตามคือ นายพิมล เจริญยิ่ง วิศวกร อายุ 85 ปี หลังจากที่พบว่า เขาเป็นผู้ลงนามในแบบก่อสร้างอาคาร สตง. ซึ่งเจ้าตัวได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิศราว่า จำไม่ได้ 

 

  • นอกจากนี้ ทาง ร.ต.อ. สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดี DSI เปิดเผยว่า จากรายชื่อวิศวกรผู้ควบคุมงานที่ปรากฏในเอกสารของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รวม 51 คน ตอนนี้พบผู้ที่ถูกนำชื่อไปแอบอ้างในโครงการ 2 คน เท่ากับว่าซึ่งก็อาจเข้าข่ายควบคุมงานทิพย์ 

 

ทำไมต้องปลอมลายเซ็น? 

 

เจษฎา ก้อนแก้ว ผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษากฎหมายก่อสร้าง เล็ทอิทบีลอ ผู้ดูแลเพจช่างกฎหมายมันส์ เปิดเผยกับทีมข่าว THE STANDARD ว่า เมื่อเจาะรายละเอียดงบประมาณโครงการก่อสร้าง ตึก สตง. แห่งใหม่นี้ จะเห็นว่าวงเงินจ้างผู้ควบคุมงาน หรือก็คือกิจการร่วมค้า PKW อยู่ที่ประมาณ 74 ล้านบาท ดูเผิน ๆ อาจเหมือนเยอะ ตั้งเกือบหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ราคานี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

 

เนื่องจากราคาแนะนำของสภาวิศวกรอยู่ที่ 7% ของงบประมาณทั้งหมด ดังนั้น 7% ของ 2 พันล้าน ก็เท่ากับว่า วงเงินจ้างผู้ควบคุมงานควรจะอยู่ที่ประมาณ 140 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นระเบียบของราชการเพดานจะอยู่ที่ 5% แต่อย่างไรก็ตาม วงเงินจ้างผู้ควบคุมงานก็อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาทอยู่ดี 

 

ในวงเงินนี้ก็ต้องแบ่งไปจ้างวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานในแต่ละส่วน โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน

 

  1. ภาคีวิศวกร 
  • เด็กจบใหม่ในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง
  • ขอบเขตงาน: เช่น ออกแบบและคำนวณอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น,โครงสร้างของอาคารแต่ละชั้นที่มีความสูงไม่เกิน 5 เมตร หรือต้องไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสาธารณะ
  • มีจำนวนประมาณ 70,000 คน 
  • ค่าเซ็นตรวจ 5,000 บาท ต่อ 1 งาน 

 

  1. สามัญวิศวกร
  • ระดับกลาง สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี
  • ต้องผ่านการเป็นภาคีวิศวกรมาก่อน และมีผลงานที่แสดงความสามารถในการรับผิดชอบงานวิศวกรรม
  • ขอบเขตงาน: สามารถรับผิดชอบโครงการขนาดกลางถึงใหญ่ได้
  • มีจำนวนประมาณ 10,000 คน 
  • ค่าเซ็นตรวจ 50,000 บาท ต่อ 1 งาน 

 

  1. วุฒิวิศวกร
  • ระดับสูงสุด สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปีหลังจากเป็นสามัญวิศวกร 
  • ขอบเขตงาน: สามารถรับผิดชอบโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อนได้ ให้คำปรึกษา และรับรองความปลอดภัยได้ 
  • มีจำนวนประมาณ 2,000 คน 
  • ค่าเซ็นตรวจ 500,000 บาท ต่อ 1 งาน 

 

ซึ่งถ้าเป็นตึกขนาดใหญ่ระดับ 2 พันล้านแบบตึก สตง. จะต้องใช้ภาคีวิศวกรประมาณ 30-40 คน แบ่งตามแต่ละแผนกไป สามัญวิศวกรก็จะเป็นหัวหน้าในแต่ละแผนก และจะต้องมีวุฒิวิศวกรอย่างต่ำ 3 คน

 

เจษฎาชี้ว่า ด้วยงบเท่านี้อาจไม่เพียงพอในการจ้างวุฒิวิศวกร และที่สำคัญคือ ‘ไม่มีใครเซ็นงานที่ไม่ได้ตรวจเอง’ ไม่มีใครยอมแลกความเสี่ยงบัตรวิชาชีพกับเงินสิบล้าน เพราะใบอนุญาตสามารถหาเงินปีหนึ่งได้มากกว่านั้นมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ลงเอยด้วยการปลอมลายเซ็นและคุมงานทิพย์ เนื่องจากไม่สามารถหาคนมาเซ็นได้ 

 

ไม่ใช่เรื่องแปลกในวงการรับเหมาก่อสร้าง

 

เจษฎาอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ในวงการก่อสร้างหรือรับเหมาก่อสร้าง การปลอมลายเซ็นจะพบได้บ่อยมากในภาคเอกชนเมื่อ 3-4 ปีก่อน เนื่องจากหลักการขออนุญาตก่อสร้าง ถ้าหากว่าเกินกว่า 150 ตารางเมตร จะต้องมีสถาปนิกหรือวิศวกร และจะต้องมีการแนบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งจุดนี้ผู้รับเหมาบางรายก็จะใช้วิธีลักไก่ นำบัตรไปปลอมไปใช้ในงานอื่นๆ เลยกลายเป็นปัญหาที่วิศวกรและสถาปนิกต้องพบเจอกันจำนวนมาก 

 

ทางสภาวิศวกรกับสภาสถาปนิกเลยออกกฎว่าการขออนุญาตก่อสร้าง นอกจากใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แล้วจะต้องมีใบรับรองจากสภาฯ ด้วย ซึ่งจะออกให้เป็นงานต่องาน ขบวนการนี้ในเอกชนจึงลดลงไป แต่กลับกลายมาเฟื่องฟูในหน่วยงานราชการแทน 

 

ช่องโหว่กฎหมาย 

 

เจษฎาเปิดเผยว่า ปัจจัยหลักๆ มาจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ที่กำหนดให้หน่วยงานราชการไม่ต้องขอใบอนุญาตก่อสร้าง เท่ากับว่าไม่ต้องมีใบรับรองเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ดังนั้นการปลอมลายเซ็นจึงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยาก และความเป็นไปได้ที่จะถูกปลอมลายเซ็นถึง 50 คนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร 

 

ใครต้องรับผิดชอบ

 

ส่วนคนที่ต้องรับผิดชอบต้องไล่ไปตั้งแต่กิจการร่วมการค้า PKW ที่เป็นผู้ควบคุมงาน กรรมการในฝั่ง สตง. และผู้รับเหมา

The post ลากไส้ สตง. เปิดขบวนการปลอมลายเซ็น-คุมงานทิพย์ appeared first on THE STANDARD.

]]>