Tech – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 28 Apr 2024 06:23:59 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ https://thestandard.co/apple-renews-talks-with-openai-iphone-generative-ai-features/ Sun, 28 Apr 2024 06:23:59 +0000 https://thestandard.co/?p=927573 iPhone Apple OpenAI

Apple Inc. บริษัทผู้ผลิต iPhone สัญชาติอเมริกัน ได้เร่ง […]

The post ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
iPhone Apple OpenAI

Apple Inc. บริษัทผู้ผลิต iPhone สัญชาติอเมริกัน ได้เร่งหารือกับ OpenAI อีกครั้งเกี่ยวกับการปรับใช้ Generative AI ของ OpenAI เพื่อขับเคลื่อนคุณสมบัติหรือฟีเจอร์ใหม่บางอย่างที่จะเปิดตัวในปลายปีนี้

 

Bloomberg รายงานว่า ทั้ง 2 บริษัทตอนนี้ได้เริ่มหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขของข้อตกลงที่เป็นไปได้ รวมไปถึงวิธีที่ฟีเจอร์ต่างๆ ของ OpenAI จะรวมเข้ากับระบบปฏิบัติการใหม่ของ Apple ที่กำลังจะออกมาอย่าง iOS 18

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนว่า Apple ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามเพิ่มฟีเจอร์ AI เข้ามาในระบบปฏิบัติการ หลังจากเมื่อเดือนที่แล้ว Bloomberg รายงานว่า Apple กำลังเจรจาเพื่อขอใบอนุญาตแชตบอต Gemini ของ Google สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ iPhone

 

ในรายงานของ Bloomberg ยังกล่าวว่า ตอนนี้ Apple ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะใช้พันธมิตรรายใด และอาจบรรลุข้อตกลงกับทั้ง OpenAI และ Alphabet Inc. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google 

 

Apple ถือว่าเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ Generative AI ได้ค่อนข้างช้ากว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ อย่าง Microsoft และ Google ซึ่งกำลังสานต่อสิ่งเหล่านี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

 

ด้าน ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Apple กล่าวไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า บริษัทกำลังลงทุน ‘อย่างมีนัยสำคัญ’ ใน Generative AI และจะเปิดเผยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการนำเทคโนโลยีไปใช้ในปลายปีนี้

 

อ้างอิง:

The post ผู้ใช้ iPhone เตรียมเฮ! Apple เร่งเจรจา OpenAI หวังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใน iOS 18 ปลายปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท https://thestandard.co/meta-loses-200-billion-in-value/ Fri, 26 Apr 2024 02:14:28 +0000 https://thestandard.co/?p=926847 Meta

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มต้นรายงานผลประกอบการของ Meta […]

The post อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Meta

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มต้นรายงานผลประกอบการของ Meta ด้วยการพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากนั้นจึงเข้าสู่ประเด็น Metaverse พร้อมกับชูเรื่องชุดหูฟัง แว่นตา และระบบปฏิบัติการของบริษัท แต่ตลอดการเปิดเผยข้อมูลตอนแรก เขามุ่งเน้นที่หลายๆ ด้านที่ทำให้ Meta สูญเสียเงิน

 

ทว่านักลงทุนไม่เห็นด้วย หุ้นของ Meta ร่วงลงมากถึง 19% ในการซื้อ-ขายนอกเวลาทำการของวันพุธที่ผ่านมา ลบ Market Cap ไปกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 7.4 ล้านล้านบาท การร่วงลงอย่างมากเกิดขึ้นแม้ว่า Meta รายงานผลกำไรและรายรับสำหรับไตรมาสแรกดีกว่าที่คาดไว้

 

ซักเคอร์เบิร์กดูเหมือนพร้อมสำหรับการลดราคาหุ้น “ผมคิดว่ามันคุ้มที่จะชี้ให้เห็นว่าโดยปกติแล้วหุ้นของเรามีความผันผวนสูงในช่วงผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ซึ่งเราลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ยังไม่ได้สร้างรายได้จากมัน” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว และได้ยกตัวอย่างความพยายามในอดีต อย่างเช่น บริการวิดีโอสั้น Reels, สตอรี และการเปลี่ยนผ่านมาพึ่งพารายได้จากอุปกรณ์โมบายล์

 

Meta สร้างรายได้ถึง 98% จากโฆษณาดิจิทัล แต่เท่าที่ซักเคอร์เบิร์กพูดถึงโฆษณา เขามองไปยังอนาคตและวิธีที่บริษัทอาจเปลี่ยนการลงทุนในปัจจุบันให้เป็นเงินจากโฆษณา จากการพูดคุยถึงความพยายามของ Meta ในการสร้าง ‘AI ระดับแนวหน้า’ เขากล่าวว่า “มีหลายวิธีในการสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ที่นี่ รวมถึงการเพิ่มสเกลการส่งข้อความทางธุรกิจ การนำโฆษณาหรือเนื้อหาแบบชำระเงินมาสู่การโต้ตอบด้วย AI”

 

เขาใช้เวลาพูดถึง Meta Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ตัวล่าสุดของบริษัท และการเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ของ Meta AI ซึ่งเป็นคำตอบของบริษัทต่อ ChatGPT ของ OpenAI ในการต่อกรด้าน AI

 

จากนั้นซักเคอร์เบิร์กก็ย้ายไปที่โอกาสสำหรับการขยายตัวภายในตลาดชุดหูฟัง Mixed Reality อย่างเช่น ชุดหูฟังสำหรับคนทำงานหรือสำหรับคนที่ออกกำลังกาย Meta เพิ่งเปิดให้เข้าถึงระบบปฏิบัติการที่ขับเคลื่อนชุดหูฟัง Quest เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซักเคอร์เบิร์กบอกว่า การเปิดระบบนี้จะช่วยให้ระบบนิเวศของ Mixed Reality เติบโตเร็วขึ้น

 

เขายังพูดถึงแว่นตา AR ของ Meta ด้วย โดยเรียกมันว่า ‘อุปกรณ์ในอุดมคติสำหรับผู้ช่วย AI’ เพราะคุณสามารถทำให้พวกเขามองเห็นสิ่งที่คุณเห็นและได้ยินสิ่งที่คุณได้ยิน

 

ระหว่างนี้หน่วย Reality Labs ของ Meta ซึ่งเป็นที่ทำงานพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ Metaverse ที่เพิ่งเกิดยังขาดทุนยับต่อเนื่อง Reality Labs รายงานยอดขาย 440 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก และขาดทุน 3.85 พันล้านดอลลาร์ การขาดทุนสะสมของหน่วยนี้มาตั้งแต่สิ้นปี 2020 ทะลุ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1.7 แสนล้านบาทแล้ว

 

กระนั้นราคาหุ้นของ Meta ก็ยังเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในปีที่แล้ว และแม้จะปิดตลาดในวันพุธก็ยังสูงขึ้น 40% ในปี 2024 ราคาเคยทำสถิติสูงสุด 527.34 ดอลลาร์เมื่อต้นเดือนเมษายน

 

หลังจากปี 2022 อันโหดร้ายที่บริษัทสูญเสียมูลค่าไปราว 2 ใน 3 ซักเคอร์เบิร์กดูจะกลับมาได้รับความเชื่อมั่นจาก Wall Street อีกครั้ง

 

ตัวขับเคลื่อนให้ราคาตีกลับมาคือ แผนลดต้นทุนที่ซีอีโอของ Meta ประกาศเมื่อต้นปีที่แล้ว ตอนที่เขาบอกกับนักลงทุนว่า ปี 2023 จะเป็น ‘ปีแห่งประสิทธิภาพ’ บริษัทลดจำนวนพนักงานและตัดโครงการที่ไม่จำเป็น เพื่อการเป็น ‘องค์กรที่แข็งแรงและคล่องตัวขึ้น’

 

ซักเคอร์เบิร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า Meta จะดำเนินงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การโยกย้ายทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในการลงทุนด้าน AI จะ “ทำให้งบลงทุนของเราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีความหมาย”

 

คาดว่ารายจ่ายลงทุนปี 2024 จะอยู่ในราว 3.5-4 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 3-3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ “เนื่องจากเรายังคงเร่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนโรดแมปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของเรา” Meta ระบุ

 

ซักเคอร์เบิร์กบอกว่า คาดว่าจะเห็น ‘วัฏจักรการลงทุนที่กินเวลาหลายปี’ ก่อนที่ผลิตภัณฑ์ AI ของ Meta จะขยายไปถึงการให้บริการที่มีกำไร แต่ก็บอกด้วยว่าบริษัท ‘มีประวัติที่ดี’ ในเรื่องนี้

 

ซูซาน ลี หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Meta กล่าวสะท้อนคำพูดของซักเคอร์เบิร์กว่า บริษัทต้องการพัฒนารูปแบบขั้นสูงและขยายขนาดผลิตภัณฑ์ออกไป ก่อนที่จะขับเคลื่อนรายได้อย่างมีความหมาย

 

“แม้จะมีศักยภาพสูงในระยะยาว แต่เรายังแค่เริ่มแรกในเส้นทางที่จะเห็นผลตอบแทน” ลีกล่าว

 

แม้แต่ก่อนที่การแถลงข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น นักลงทุนก็เริ่มขายหุ้นที่ถือไว้แล้ว นั่นเป็นเพราะ Meta ออกคาดการณ์รายรับในไตรมาสที่ 2 แบบไม่สดใสนัก บดบังผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาสแรก

 

ขณะที่ราคาหุ้นร่วงหนักซักเคอร์เบิร์กบอกกับนักลงทุนว่า หากพวกเขายินดีจะร่วมเดินทางต่อไป ก็อาจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าเช่นกัน

 

“โดยปกติแล้วการลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เพิ่มขนาดในแอปพลิเคชันของเราเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีมากสำหรับเราและสำหรับนักลงทุนที่อยู่กับเรา และสัญญาณเริ่มต้นที่นี่ก็ค่อนข้างสดใสเช่นกัน” ซักเคอร์เบิร์กกล่าว “แต่การสร้าง AI ชั้นนำจะต้องลงแรงมากกว่าประสบการณ์อื่นๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไปในแอปของเรา และเรื่องนี้คงใช้เวลาหลายปี”

 

ภาพ: Alex Wong / Getty Images

อ้างอิง:

The post อนาคต Meta อยู่ที่ AI? มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทุ่มเงินพัฒนา ลั่น ‘คุ้มค่า’ แม้ขาดทุนในระยะแรก ฟากนักลงทุนส่ายหน้าจน Market Cap หายไป 7.4 ล้านล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนเตือน Vlogger! คิดก่อนโพสต์ เล่นตลกก็มีลิมิต หลังจับกุมมากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือในโลกออนไลน์ https://thestandard.co/china-warned-vlogger-fake-story-shut-down/ Thu, 25 Apr 2024 07:28:59 +0000 https://thestandard.co/?p=926658 จีน Vlogger

ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาที่วิพากษ์วิจาร […]

The post จีนเตือน Vlogger! คิดก่อนโพสต์ เล่นตลกก็มีลิมิต หลังจับกุมมากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือในโลกออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีน Vlogger

ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์การเมืองอย่างเข้มงวด แต่ตอนนี้ทางการจีนเริ่มปราบปรามข่าวลือที่ไม่มีสาระทางการเมืองด้วยเช่นกันในช่วงหลายปีให้หลังมานี้

 

นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีคนถูกจับกุมมากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือออนไลน์ และมีอีกมากกว่า 10,700 คนที่โดนโทษในทางปกครองตามที่ทางการจีนเปิดเผย

 

หนึ่งในตัวอย่างล่าสุดคือบัญชี Thurman Maoyibei ในแพลตฟอร์มโซเชียล Douyin, Weibo และ BiliBili ถูกปิดทั้งหมดหลังกุเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กทำการบ้านหายจนเป็นไวรัลในแดนมังกร

 

ตำรวจจีนเปิดเผยว่า Thurman และบริษัทอาจโดนโทษในทางปกครอง ซึ่งมีได้หลายระดับตั้งแต่การเตือนไปจนถึงการกักตัว โดย Thurman Maoyibei เป็นชื่อในโซเชียลของเจ้าของบัญชี ส่วนนามสกุลจริงที่ตำรวจเปิดเผยคือ Xu เธอมีผู้ติดตามรวมกันกว่า 30 ล้านคนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ของจีน

 

ตามข้อมูลจากตำรวจ Xu และเพื่อนร่วมงานแซ่ Xue ได้ร่วมกันทำวิดีโอที่กุเรื่องขึ้นมาหลายชุดแล้วปล่อยลงโซเชียลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา Xu อ้างว่าระหว่างที่ไปเที่ยวปารีสเพื่อฉลองตรุษจีน พนักงานคาเฟ่แห่งหนึ่งยื่นสมุดการบ้านที่เป็นของเด็กชั้นประถมศึกษา 1 คนชื่อ Qin Lang ให้กับเธอ และเธอก็สัญญาว่าจะเอาสมุดไปคืนให้กับเด็กคนนั้นที่เมืองจีน

 

เรื่องราวนี้กลายเป็นไวรัลอย่างมาก เกิดกระแสตามหาเด็กชายคนนี้ไปทั่วประเทศจนกลายเป็นแฮชแท็กที่ได้รับยอดวิวหลายล้านครั้งบน Douyin และ Weibo สื่อทางการของจีนยังรายงานเรื่องนี้ด้วย มีโรงเรียนบางแห่งพยายามตามหาตัวเด็กชายคนนี้ แต่ก็ได้รับแจ้งว่าไม่มีตัวตนอยู่จริง

 

ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังโพสต์คลิปแรก Xu อ้างในอีกคลิปหนึ่งว่าติดต่อกับพ่อแม่เด็กได้แล้ว และนำสมุดการบ้านคืนให้เจ้าของเรียบร้อย

 

ตำรวจเมืองหางโจวกล่าวว่า ได้รับแจ้งเรื่องคลิปไวรัลของ Xu และเปิดการสอบสวน พบว่าหนังสือที่ปรากฏในคลิปนั้น Xu และเพื่อนร่วมงานเป็นคนซื้อมาเองเพื่อจุดประสงค์ในการสร้างคอนเทนต์ ต่อมา Xu ให้สัมภาษณ์ว่า เธอสร้างเรื่องนี้ขึ้นเพราะ ‘ความไม่รู้กฎหมาย’ และขอโทษที่ ‘สร้างความปั่นป่วน’

 

“ฉันรู้ดีว่าตัวเองมีหน้าที่ต่อสังคม และไม่ควรสร้างเรื่องดึงดูดความสนใจ” เธอกล่าว “ฉันอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ เรียนรู้จากบทเรียนของฉัน และขออย่าได้สร้างและเผยแพร่คอนเทนต์ที่ไม่จริง”

 

Xu เป็นดีไซเนอร์เสื้อผ้าที่ผันตัวมาเป็น Vlogger มีชื่อเสียงจากคอนเทนต์ชีวิตประจำวัน เธอโพสต์คลิปในชื่อ Thurman Maoyibei ตั้งแต่ปี 2020

 

ในขณะที่หลายคนเห็นด้วยกับการปิดบัญชีของเธอ แต่บางคนก็คิดว่าโทษหนักไปสำหรับการ ‘เล่นตลกที่ไม่ได้ร้ายกาจอะไรขนาดนั้น’

 

“เธอควรตั้งใจทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ สำหรับบัญชีที่มีอิทธิพลขนาดนั้น” ความเห็นหนึ่งใน Weibo ระบุ และ “มันไม่ถูกนะที่กุเรื่องขึ้นมา แต่ฉันว่ามันจะมากไปหน่อยไหม ถ้าทุกบัญชีต้องทำตามมาตรฐานนี้ เราคงเห็นบัญชีโดนปิดอีกเยอะ” ความเห็นที่มียอดไลก์มากกว่า 6,000 ครั้งระบุ

 

อ้างอิง:

The post จีนเตือน Vlogger! คิดก่อนโพสต์ เล่นตลกก็มีลิมิต หลังจับกุมมากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือในโลกออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวลาการมีอยู่ของ TikTok ในสหรัฐฯ เริ่มนับถอยหลังแล้ว https://thestandard.co/tiktok-in-the-us-counting-down/ Thu, 25 Apr 2024 06:39:13 +0000 https://thestandard.co/?p=926615

The Verge รายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไฟเขียวลงนามอน […]

The post เวลาการมีอยู่ของ TikTok ในสหรัฐฯ เริ่มนับถอยหลังแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

The Verge รายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไฟเขียวลงนามอนุมัติร่างกฎหมายแบน TikTok ที่กำลังเริ่มนับถอยหลังกรอบระยะเวลา 9 เดือนถึง 1 ปีที่ ByteDance ต้องสละการถือครอง หรือไม่เช่นนั้นผู้ใช้งานทั้งหมดในสหรัฐฯ จะไม่สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันได้อีกต่อไป

 

แม้ว่าก่อนหน้านี้ดูเหมือนกฎหมายจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาโดยสภาคองเกรสหลังจากที่ร่างกฎหมายผ่านมติเห็นชอบในขั้นแรกจากสภาผู้แทนราษฎร (US House of Representative) แต่เทคนิคทางด้านการเมืองส่งผลให้ร่างกฎหมายส่งไปถึงโต๊ะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ในเวลาอันสั้น

 

เทคนิคที่ว่าคือการมัดรวมกฎหมายงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในสภาวะสงครามอย่างยูเครนที่ได้รับเงินสนับสนุนราว 60,000 ล้านดอลลาร์, อิสราเอล 26,000 ล้านดอลลาร์, ไต้หวันกับพื้นที่อินโด-แปซิฟิก 8,000 ล้านดอลลาร์ และ 1,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่กาซา เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งทั้งหมดถูกมัดรวมกับร่างกฎหมายแบน TikTok จึงทำให้สภาคองเกรสต้องพิจารณากฎหมายเหล่านี้พร้อมกัน

 

ทันทีที่ร่างกฎหมายผ่าน โจวโซ่วจือ ซีอีโอของ TikTok ได้ออกมาไลฟ์ตอบโต้สถานการณ์ว่าการแบนแพลตฟอร์มครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เป็นพื้นฐานของสังคมอเมริกัน

 

“การทำเช่นนี้มันดูไม่ตรงกับแนวคิดที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญเลย เพราะเสรีภาพทางความคิดที่ TikTok ยึดถือเป็นสำคัญนั้นไม่ต่างกับสิ่งที่ทำให้สหรัฐฯ เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพเลย โดย TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ชาวอเมริกันสามารถแสดงออกได้ตามความสร้างสรรค์ของพวกเขา และนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคนจำนวนมากใช้บริการของเราในชีวิตประจำวัน”

 

@tiktok

 

วิดีโอ: TikTok

 

อย่างไรก็ตาม โจวโซ่วจือยืนยันว่าแพลตฟอร์มจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อต่อสู้กับกฎหมายนี้ในชั้นศาล เนื่องจากความจริงและสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวอเมริกันเป็นปัจจัยที่อยู่ข้างเดียวกันกับ TikTok โดยเขามั่นใจว่าการโต้แย้งในครั้งนี้จะทำให้ TikTok ชนะได้ในท้ายที่สุด

 

อ้างอิง:

The post เวลาการมีอยู่ของ TikTok ในสหรัฐฯ เริ่มนับถอยหลังแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก Phi-3 โมเดล AI ตัวจิ๋วที่สุดของค่าย Microsoft https://thestandard.co/microsoft-phi-3/ Wed, 24 Apr 2024 10:12:10 +0000 https://thestandard.co/?p=926243 Phi-3 โมเดล AI

Microsoft ออกจดหมายแถลงการณ์เปิดตัว Phi-3 Mini โมเดลภาษ […]

The post รู้จัก Phi-3 โมเดล AI ตัวจิ๋วที่สุดของค่าย Microsoft appeared first on THE STANDARD.

]]>
Phi-3 โมเดล AI

Microsoft ออกจดหมายแถลงการณ์เปิดตัว Phi-3 Mini โมเดลภาษาขนาดเล็ก (SLMs) ตัวแรกของบริษัทที่ผู้พัฒนานิยามว่า ‘คุ้มต้นทุนและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาโมเดลภาษาขนาดเล็ก’ โดยโมเดลประเภทนี้มีน้ำหนักที่เบา ประหยัดต้นทุนกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่เนื่องจากขนาดพารามิเตอร์ที่น้อยกว่า ซึ่งพารามิเตอร์หมายถึงความซับซ้อนของชุดคำสั่งที่ AI จะสามารถเข้าใจได้

 

Ronen Eldan นักวิจัยด้านแมชชีนเลิร์นนิงประจำ Microsoft Research เผยถึงแรงบันดาลใจในการพัฒนา Phi-3 ว่าในระหว่างที่เขากำลังอ่านนิทานก่อนนอนให้กับลูกสาวของตัวเองฟัง เขาก็เกิดคำถามในหัวว่า “เธอเรียนรู้คำเหล่านี้ได้อย่างไร และเข้าใจความเชื่อมโยงของคำต่างๆ อย่างไร?”

 

สิ่งนี้ทำให้ Microsoft Research คิดในมุมของการพัฒนา AI ที่ใช้เพียงชุดคำศัพท์ที่เด็กอายุ 4 ขวบก็ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก จนนำมาสู่การสร้างโมเดลภาษาขนาดเล็กที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึง AI ได้มากยิ่งขึ้น

 

ถึงแม้ว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) จะเปรียบเสมือนมาตรฐานสำหรับการหาคำตอบกับคำถามที่ซับซ้อน แต่โมเดลภาษาขนาดเล็กก็มีฟังก์ชันหลายอย่างที่ทำได้ไม่แพ้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เช่น การเข้าใจภาษา เขียนโค้ด หรือทำโจทย์เลขที่มีความซับซ้อนไม่มาก และเหมาะกับองค์กรที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรข้อมูล ซึ่ง Microsoft อ้างว่า Phi-3 Mini ที่มีขนาด 3.8 พันล้านพารามิเตอร์ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโมเดลที่มีขนาดใหญ่กว่ามันสองเท่าตัว

 

“เทรนด์ที่เรากำลังจะเห็นต่อจากนี้ไม่ใช่การย้ายจากโมเดลใหญ่มาเล็ก แต่เป็นการย้ายจากการพึ่งพาโมเดลประเภทใดประเภทหนึ่งมาสู่การผสมผสานของโมเดลหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด” Solina Yadav ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ Generative AI ของ Microsoft กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม Phi-3 ไม่ใช่โมเดลภาษาขนาดเล็กตัวแรกของวงการ เพราะก่อนหน้านี้คู่แข่งอย่าง Google ก็ได้เปิดตัว Gemma ขนาด 2 ล้านพารามิเตอร์ และ 7 ล้านพารามิเตอร์มาแล้วเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งเชี่ยวชาญการประมวลผลงานด้านภาษา หรือจะเป็น Claude 3 Haiku ที่สามารถสรุปความเอกสารงานวิจัยทั้งเนื้อหาและข้อมูลแผนภูมิได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Llama-3 ขนาด 8 ล้านพารามิเตอร์ของ Meta ที่ออกมาในสัปดาห์ที่แล้ว ก็ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน โดยมันอาจถูกนำไปใช้ในการช่วยเขียนโค้ด

 

สำหรับกรณีการใช้งาน ด้วยขนาดที่เล็กและประหยัดต้นทุนมากกว่าจากกำลังประมวลผลที่ถูกใช้น้อยโดยธรรมชาติของโมเดลภาษาขนาดเล็ก โมเดลประเภทนี้จึงเหมาะกับการนำไปใช้บนอุปกรณ์ส่วนตัว เช่น สมาร์ทโฟนหรือโน้ตบุ๊ก โดย Eric Boyd รองประธาน Microsoft Azure AI Platform ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่า Phi-3 จะทำงานได้ดีกว่ากับแอปพลิเคชันที่ต้องอาศัยการปรับแต่งให้เข้ากับกรณีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายบริษัทมองหาเนื่องจากปริมาณข้อมูลภายในจำนวนไม่มาก

 

ปัจจุบัน Phi-3 เปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงได้แล้วบน Azure, Hugging Face และ Ollama โดยเวอร์ชันถัดไปอย่าง Phi-3 Small (7B Parameters) และ Phi-3 Medium (14B Parameters) กำลังจะตามมาในอนาคตอันใกล้

 

ภาพ: SOPA Images / Getty Images

อ้างอิง:

The post รู้จัก Phi-3 โมเดล AI ตัวจิ๋วที่สุดของค่าย Microsoft appeared first on THE STANDARD.

]]>
Apple จะมีแอป ‘เครื่องคิดเลข’ ใน iPad แล้ว หลังจากปล่อยให้รอกันมา 14 ปี!! ความหวังต่อไป Instagram และ WhatsApp https://thestandard.co/calculator-app-on-ipad/ Wed, 24 Apr 2024 07:23:27 +0000 https://thestandard.co/?p=926146

Apple กำลังวางแผนจะให้แอป Calculator หรือเครื่องคิดเลขม […]

The post Apple จะมีแอป ‘เครื่องคิดเลข’ ใน iPad แล้ว หลังจากปล่อยให้รอกันมา 14 ปี!! ความหวังต่อไป Instagram และ WhatsApp appeared first on THE STANDARD.

]]>

Apple กำลังวางแผนจะให้แอป Calculator หรือเครื่องคิดเลขมาพร้อมกับ iPad เป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่เปิดตัว iPad รุ่นแรก แหล่งข่าวของ MacRumors ระบุ

 

iPadOS 18 จะมีแอป Calculator ในตัว สามารถใช้ได้กับ iPad ทุกรุ่นที่รองรับการอัปเดต ซึ่งน่าจะเปิดตัวในงานประชุม WWDC (Worldwide Developers Conference) ของ Apple ในวันที่ 10 มิถุนายนนี้

 

ที่ผ่านมาการไร้แอป Calculator ของตัวเองใน iPad เป็นเรื่องที่ชาวเน็ตพูดถึงและล้อเลียนมานาน ตอนนี้ผู้ใช้ iPad ต้องโหลดจาก App Store อย่างเช่น PCalc หรือ Calcbot

 

เมื่อสัปดาห์ก่อนเว็บไซต์ AppleInsider รายงานว่า macOS 15 จะมีแอป Calculator รุ่นใหม่ ที่สามารถใช้งานร่วมกับแอป Notes ได้ และสามารถปรับขนาดหน้าต่างได้ รวมทั้งมีแถบด้านข้างแสดงผลการคำนวณล่าสุด และลูกเล่นอื่นๆ มีโอกาสว่าแอปใน Mac จะเป็นรุ่นเดียวกับที่อยู่ใน iPad

 

iPadOS 18 เวอร์ชัน Beta ตัวแรกน่าจะปล่อยให้ดาวน์โหลดหลังจากงาน WWDC จบ และรุ่น Official น่าจะออกมาประมาณเดือนกันยายน

 

สำหรับผู้ใช้ iPad ความหวังต่อไปคือการเพิ่มแอป Instagram และ WhatsApp เข้ามาเสียที ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าควรส่งเสียงไปยัง Apple หรือ Meta ผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มดี

 

อ้างอิง:

The post Apple จะมีแอป ‘เครื่องคิดเลข’ ใน iPad แล้ว หลังจากปล่อยให้รอกันมา 14 ปี!! ความหวังต่อไป Instagram และ WhatsApp appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนาคต TikTok กับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าฝั่งตะวันตกที่ถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย https://thestandard.co/tiktoks-future-and-relationships-with-western/ Wed, 24 Apr 2024 07:20:06 +0000 https://thestandard.co/?p=926141

TikTok กำลังเจอกับศึกการกีดกันรอบด้าน ในการดำเนินธุรกิจ […]

The post อนาคต TikTok กับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าฝั่งตะวันตกที่ถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>

TikTok กำลังเจอกับศึกการกีดกันรอบด้าน ในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าฝั่งตะวันตกทั้งในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

 

Bloomberg รายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (20 เมษายน) สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ลงความเห็นผ่านร่างกฎหมายที่จะส่งผลให้ ByteDance จำเป็นต้องเลือกระหว่างการยอมขาย TikTok ออกจากการถือครอง หรือไม่เช่นนั้นจะต้องถูกยุติการให้บริการ

 

แต่ไม่เพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดในฝั่งของยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ก็ได้ออกแถลงการณ์การตรวจสอบกลไกแอป TikTok Lite ที่ให้บริการกับผู้ใช้งานชาวสเปนและฝรั่งเศส ในประเด็นการละเมิดกฎ Digital Services Act (DSA) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

 

อะไรกำลังจะเกิดขึ้นต่อไปจากการผ่านร่างกฎหมายของสหรัฐฯ? ใครได้ใครเสียจากคำตัดสินครั้งนี้? และ TikTok Lite กำลังสร้างเจเนอเรชันของคนที่ ‘เสพติดโซเชียลมีเดีย’ ตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมาธิการยุโรปหรือไม่?

 

ทั้งหมดนี้คือคำถามสำคัญที่ THE STANDARD WEALTH จะขอสรุปให้เข้าใจกัน

 

เกิดอะไรขึ้นกับ TikTok ในสหรัฐฯ และ ByteDance จะต้องขายทิ้งจริงหรือ

 

อนาคตของ TikTok ในสหรัฐอเมริกา กับสถานะแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ByteDance กำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่อาจกลายเป็นเพียงอดีต หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ร่างกฎหมายจะถูกส่งไปยังสภาคองเกรสพิจารณา และเมื่อผ่าน โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน จะลงนามให้เป็นกฎหมายที่มีผลอย่างเป็นทางการ โดย ByteDance จะมีเวลาหนึ่งปีในการถอนการถือครอง TikTok ออก หากกฎหมายถูกบังคับใช้

 

สำหรับสาเหตุการออกร่างกฎหมายครั้งนี้มีผลพวงมาจากความกังวลของผู้กำกับดูแลสหรัฐฯ ต่อความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจีนอาจจะนำข้อมูลของผู้ใช้งานชาวอเมริกันไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น การกำหนดหรือผลักดันเนื้อหาบางประเภทที่สนับสนุนแนวคิดจีนให้กับคนอเมริกัน หรืออาจทำข้อมูลรั่วไหล ซึ่งนำไปสู่การถูกสวมรอยโปรไฟล์ได้ เนื่องจากบริษัทในจีนทั้งหมดอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่ต้องแชร์ข้อมูลกับรัฐบาลเมื่อมีการร้องขอ แต่ TikTok ยังคงยืนกรานว่าบริษัทใช้เงินกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลไว้อยู่แล้ว

 

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของสหรัฐฯ กับการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือขู่กีดกันการเข้าถึงของผู้บริโภคเพื่อใช้งานแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศ จนทำให้ฝ่ายที่เห็นต่างอย่างแพลตฟอร์ม TikTok มองว่ามันคือการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ฉบับที่ 1 (First Amendment) ที่ถือว่าเสรีภาพทางความคิดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน

 

“เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สภาผู้แทนราษฎรฉวยโอกาสหยิบยกประเด็นความขัดแย้งเรื่องสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศที่กำลังเกิดขึ้น มาเป็นฉากบังหน้าในการผ่านร่างกฎหมาย ที่จะทำลายเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของคนอเมริกันกว่า 170 ล้านคน และธุรกิจ 7 ล้านรายผู้มีส่วนสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับอเมริกาถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี” โฆษก TikTok กล่าวไว้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกฎหมายถูกอนุมัติ TikTok ก็พร้อมจะดำเนินการต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป เพราะความเป็นไปได้ที่ ByteDance จะขาย TikTok ออกมีน้อยมาก เนื่องจากบริษัทระบุไว้ชัดเจนว่า ไม่มีเจตนาจะขายการถือครองแพลตฟอร์ม อีกทั้งการขายก็ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีนเสียก่อน ซึ่งฝั่งรัฐบาลได้แสดงจุดยืนว่า พวกเขาจะไม่ยอมให้อัลกอริทึมที่บริษัทสัญชาติจีนพัฒนา รวมทั้งข้อมูลอันมีค่าทั้งหมด ตกไปอยู่ในภายใต้เงื้อมมือการปกครองของอเมริกาอย่างแน่นอน

 

นอกจากนี้ประเด็นที่ยิ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้นคือ ทีท่าของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ออกมาบอกว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการขาย TikTok ครั้งนี้ ซึ่งเป็นคำพูดที่ตรงข้ามกับครั้งเมื่อตอนที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยการแสดงออกของทรัมป์ครั้งนี้อาจจะนำมาสู่จุดเปลี่ยนก่อนที่กระบวนการขายธุรกิจจะบรรลุผลใน 1 ปีหากเขาชนะการเลือกตั้งและกลับมาดำรงตำแหน่ง

 

TikTok จะอยู่รอดหรือไม่หากถูกแบนในสหรัฐฯ และใครได้ประโยชน์

 

แม้แนวโน้มการขาย TikTok ดูจะเป็นไปได้ยาก และจำนวนคนใช้แพลตฟอร์มก็มีอยู่เพียง 10% ของผู้ใช้งานทั่วโลก แต่ในกรณีที่มันเกิดขึ้นจริง สิ่งที่แพลตฟอร์มจะต้องรับมือคือ ความจริงที่ว่าตลาดการใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ ของชาวอเมริกันถือได้ว่าเป็นตลาดที่สร้างมูลค่ามากที่สุดในโลก ทำให้บริษัทโฆษณาจำนวนมากพยายามที่จะจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานกลุ่มนี้ ซึ่งถ้า TikTok ถูกยุติการให้บริการในสหรัฐฯ นั่นเท่ากับว่ามันคือการยอมปล่อยให้โซเชียลมีเดียรายอื่นเข้ามาแย่งส่วนแบ่งของผู้ใช้งานเหล่านี้แทน และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ TikTok ทั่วโลก เมื่อคนอเมริกันหันไปพึ่งแพลตฟอร์มอื่นแทน จนทำให้บริษัทโฆษณาต้องย้ายตามไปด้วย

 

ซ้ำแล้วการแบน TikTok จะทำให้แผนใหญ่ของแพลตฟอร์มที่เตรียมขยาย TikTok Shop ในสหรัฐฯ ต้องถูกพับเก็บไป ซึ่งการคาดการณ์ในธุรกิจส่วนนี้โดยแพลตฟอร์มมองว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตได้กว่า 10 เท่าตัว

 

แล้วถ้า TikTok ถูกแบน อานิสงส์จะตกไปอยู่ในมือของใคร?

 

เคิร์ต แวกเนอร์ นักข่าวสายโซเชียลมีเดียของ Bloomberg วิเคราะห์เอาไว้ว่า คำตอบของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือ Meta ผู้เป็นเจ้าของ Instagram ที่มีบริการคล้ายกันชื่อว่า Reels เนื่องจากนี่เป็นตัวเลือกอันถัดมาที่ชาวอเมริกันจะหันไปใช้งานแทน

 

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าโซเชียลมีเดียอื่น อย่างเช่น YouTube ที่ Alphabet เป็นเจ้าของ ก็จะได้ผลพวงเชิงบวกจากเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยพวกเขาสามารถกอบโกยเม็ดเงินโฆษณาได้เมื่อ TikTok ไม่สามารถให้บริการได้อีกต่อไป ซึ่งทันทีที่ร่างกฎหมายขู่แบน TikTok ถูกอนุมัติ ราคาหุ้นของ Meta และ Alphabet ก็พากันดีดตัวสูงขึ้น 

 

TikTok Lite กำลังสร้างเจเนอเรชันของคนที่เสพติดโซเชียลมีเดีย?

 

‘ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก’ วลีนี้อาจดูไม่เกินจริงสำหรับสิ่งที่ TikTok ต้องรับมือ เพราะเมื่อความวุ่นวายในข้อขัดแย้งกับสหรัฐฯ ยังดำเนินต่อ ความท้าทายใหม่ก็เข้ามาหา TikTok เพิ่มจากอีกซีกโลก เมื่อล่าสุด TechCrunch รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรปเข้าตรวจสอบแพลตฟอร์มเป็นครั้งที่ 2 ในประเด็นที่ TikTok Lite ถูกกล่าวหาว่ากำลังสร้างเจเนอเรชันของคนที่ ‘เสพติดโซเชียลมีเดีย’ 

 

ถามว่า ทำไมคณะกรรมาธิการยุโรปถึงมองว่าบริการของ TikTok เป็นแบบนั้น?

 

ถ้าจะสรุปสั้นๆ TikTok Lite เป็นเวอร์ชันที่เพิ่งถูกปล่อยให้คนสามารถใช้งานได้ในสเปนและฝรั่งเศสเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยมีกลไกที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้งานทำ ‘Task and Rewards Program’ ผ่านการรับชม เชิญชวนเพื่อนให้เข้าใช้งาน หรือกดไลก์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม เพื่อแลกกับแต้มสะสม ซึ่งแต้มสะสมนี้สามารถนำไปแปลงเป็นบัตรกำนัลบน Amazon หรือโทเคนดิจิทัลจาก TikTok สำหรับจ่ายเป็นรางวัลให้กับผู้สร้างคอนเทนต์

 

“การแสดงคลิปสั้นที่กระชับแต่ไม่มีที่สิ้นสุดดูแล้วอาจเต็มไปด้วยความสนุก แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีผลเสียที่จะทำให้เยาวชนของเราเสี่ยงต่อการเสพติด เพิ่มความเครียด และทำให้สมาธิสั้น ซึ่งเราตั้งข้อสงสัยว่า TikTok Lite ที่ส่งเสริมให้คนเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายและทำให้เสพติดได้ไม่ต่างจากบุหรี่แบบรสชาติอ่อน ตราบใดที่ TikTok ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่จะโต้แย้งคำกล่าวหานี้ ทางเรา (คณะกรรมาธิการยุโรป) ก็พร้อมที่จะยุติฟีเจอร์ของ TikTok Lite ทันที” เธียร์รี เบรตัน กรรมาธิการยุโรปฝ่ายตลาดภายในของสหภาพยุโรป ระบุในจดหมายแถลงการณ์

 

ด้วยเหตุผลนี้คณะกรรมาธิการยุโรปจึงมองว่า ฟีเจอร์ Task and Rewards Program อาจนำไปสู่ผลกระทบของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ให้ยิ่งเสพติดแพลตฟอร์มมากกว่าเดิม อีกทั้งทางแพลตฟอร์มเองก็ไม่ได้ส่งรายงานประเมินความเสี่ยงของฟีเจอร์ดังกล่าว จึงขัดต่อกฎ DSA และนำมาสู่การตรวจสอบ

 

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ฟีเจอร์ได้ตามปกติ ในขณะที่ทางการกำลังตรวจสอบว่าแพลตฟอร์มทำผิดกฎจริงหรือไม่ แต่เวลานั้นเหลือน้อยมากแล้วสำหรับ TikTok เพราะคณะกรรมาธิการยุโรปจะให้เวลาถึงวันนี้ (24 เมษายน) เพื่อนำหลักฐานมาโต้แย้ง โดยในขั้นแรก TikTok ได้ออกมาแสดงความผิดหวังกับคำตัดสินว่า “TikTok Lite ไม่ได้เปิดให้ผู้ใช้งานอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าถึงได้ และเราก็ตั้งข้อจำกัดกับเวลาที่ใช้ดูวิดีโอ” แต่เมื่อคำตัดสินออกมาเช่นนี้ แพลตฟอร์มก็ยืนยันว่าจะร่วมหารือแนวทางแก้ไขกับคณะกรรมาธิการต่อไป

 

โดยสรุป ดูเหมือนว่าความพยายามกีดกันโซเชียลมีเดียจากจีนจะค่อนข้างรุนแรงจากทีท่าของผู้คุมกฎในฝั่งตะวันตกทั้งสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป จากนี้คงต้องจับตาดูกันต่อว่า TikTok จะงัดไม้ไหนขึ้นมาเพื่อแก้เกมให้แพลตฟอร์มยังสามารถให้บริการกับผู้ใช้งานทั่วโลกได้และไม่สูญเสียอำนาจการแข่งขันไปให้กับเจ้าอื่น แต่ต้องยอมรับว่าความท้าทายทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรับมือเลย

 

อ้างอิง: 

The post อนาคต TikTok กับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าฝั่งตะวันตกที่ถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย appeared first on THE STANDARD.

]]>
บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” https://thestandard.co/zuckerberg-data-not-key-for-ai/ Mon, 22 Apr 2024 09:37:05 +0000 https://thestandard.co/?p=925424 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

ท่ามกลางการเฟ้นหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งของเห […]

The post บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

ท่ามกลางการเฟ้นหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งของเหล่าบริษัทบิ๊กเทค เพื่อป้อนสู่โมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) Business Insider รายงานว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอ Meta กลับเปิดประเด็นในเรื่องของการพัฒนา AI ว่า ‘ข้อมูล’ ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของ AI

 

“สิ่งที่ผมมองว่าจะเป็นประโยชน์และสำคัญมากกว่าคลังข้อมูลสำหรับฝึกฝน AI คือ การเรียนรู้จากวงจรสะท้อนของผลลัพธ์ (Feedback Loops) โดยการที่มีผู้คนจำนวนมากเข้าใช้งานจะทำให้เราเห็นพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งการเริ่มพัฒนาจากตรงนั้นจะทำให้โมเดลมีคุณค่ากว่าเมื่อเวลาผ่านไป” มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารข่าวเทคโนโลยี Command Line

 

วงจรสะท้อนของผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ถูกใช้เพื่อฝึกซ้ำและปรับปรุงโมเดลให้ดีขึ้นจากผลลัพธ์ที่ได้มาก่อนหน้า โดยกลไกแบบนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ AI รู้ได้ว่าเมื่อไรมีข้อผิดพลาดและจะต้องแก้ไขจุดใดในอนาคต เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า

 

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของซักเคอร์เบิร์กก็ไม่ได้ชะลอความหิวกระหายในการหาแหล่งข้อมูลใหม่เพื่อฝึกฝน AI ของบริษัทบิ๊กเทค เพราะเมื่อต้นเดือนเมษายนปีนี้มีรายงานจาก The New York Times ว่า OpenAI สร้างโปรแกรมชื่อว่า Whisper สำหรับถอดบทสนทนาวิดีโอจากแพลตฟอร์ม YouTube ซึ่งทำไปแล้วรวมกว่า 1 ล้านชั่วโมง 

 

หรือในกรณีของ Google ที่เริ่มเปิดการเข้าถึงให้กับโมเดล AI ของตัวเอง ซึ่งระบุในข้อตกลงบริการกับผู้ใช้งานว่า บริษัทจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดสาธารณะได้ เช่น เอกสาร Google Docs แบบที่เปิดสาธารณะ หรือข้อความรีวิวร้านอาหารบน Google Maps

 

แม้แต่ Meta เองก็มีคลิปเสียงเกี่ยวกับการหารือภายในบริษัทว่าจะเข้าซื้อ Simon & Schuster สำนักพิมพ์ที่มีฐานข้อมูลหนังสือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งพูดถึงการรวบรวมข้อมูลที่ติดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตมาเพื่อใช้งานก่อน เพราะการรออนุมัติจากผู้ตีพิมพ์ ศิลปิน และสำนักข่าว นั้นใช้เวลานานเกินไป

 

การยอมเสี่ยงกับการกระทำที่อาจละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวและลิขสิทธิ์การครอบครองข้อมูลของเจ้าของคอนเทนต์ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูล แสดงให้เห็นว่า ‘ข้อมูล’ ยังเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาต่อยอดโมเดล AI สะท้อนผ่านการกระทำของ OpenAI, Google และ Meta ที่ The New York Times ใช้คำว่า “พยายามหาทางลัดด้วยการหาช่องโหว่ทางกฎหมายและนโยบายบริษัท” 

 

จริงอยู่ที่คำกล่าวอ้างของซักเคอร์เบิร์กเกี่ยวกับการฝึกฝน AI ด้วยวิธีการเรียนรู้จากวงจรสะท้อนของผลลัพธ์ คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้โมเดล AI มีประสิทธิภาพ แต่อีกหนึ่งความเสี่ยงของการพึ่งพาวิธีดังกล่าวคือ หากชุดข้อมูลมีความลำเอียงและข้อผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ถูกนำไปต่อยอดก็จะส่งผลให้คำตอบที่ได้จาก AI ผิดเพี้ยนตามไปด้วย เมื่อสุดท้าย ‘ข้อมูล’ ตั้งต้นที่ถูกใช้ไม่ใช่ข้อมูลที่ดี

 

ภาพ: Alex Wong / Getty Images

อ้างอิง:

The post บิ๊กเทคเมิน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก กับคำกล่าว “ข้อมูลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนา AI” appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาจถึงเวลาที่ Apple ต้องทำ iPhone ราคา 9,250 บาทขายในตลาดเกิดใหม่ เพื่อฝ่ามรสุมยอดขายร่วง https://thestandard.co/it-might-be-time-for-apple-to-make-a-cheaper-iphone/ Mon, 22 Apr 2024 08:18:35 +0000 https://thestandard.co/?p=925369

Apple กำลังเจอมรสุมทั้งการตรวจสอบเข้มงวดจากหน่วยงานกำกั […]

The post อาจถึงเวลาที่ Apple ต้องทำ iPhone ราคา 9,250 บาทขายในตลาดเกิดใหม่ เพื่อฝ่ามรสุมยอดขายร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>

Apple กำลังเจอมรสุมทั้งการตรวจสอบเข้มงวดจากหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ การตามหลังผู้นำด้าน AI และความยากลำบากในการหาผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่ๆ หลังโครงการผลิตรถยนต์ถูกยกเลิกไป แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าคือ การที่สองธุรกิจหลักที่เคยเติบโตดีกำลังมีปัญหา นั่นคือ iPhone และตลาดจีน

 

ยอดขาย iPhone กำลังลดลง

 

หลังกลับมาฟื้นตัวช่วงสั้นๆ ในช่วงเทศกาล คาดว่ายอดขาย iPhone จะลดลงอีกครั้งเมื่อ Apple ประกาศผลประกอบการล่าสุด ซึ่งจะฉุดยอดขายให้ลดลงประมาณ 5% ตามการคาดการณ์ของ Wall Street ซึ่งเป็นการลดลงครั้งที่ 5 ในช่วง 6 ไตรมาสที่ผ่านมา โดย IDC มองว่ายอดขาย iPhone จะลดลงถึง 10% ในไตรมาสแรก ทั้งๆ ที่ตลาดรวมคาดว่าจะเติบโต 8%

 

ปัญหายอดขาย iPhone ที่ไม่ดีในจีนยังมาจากเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น กระแสการสนับสนุนแบรนด์จีน โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐบาล ทำให้ลูกค้าชาวจีนนิยมสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่า ในช่วงเทศกาลยอดขายของ Apple ในจีนลดลง 13% ซึ่งเป็นยอดลดที่สูงที่สุดใน 4 ปี นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจะลดลงอีกครั้งในไตรมาสล่าสุดที่จะมีการรายงานในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้

 

แต่ข่าวดียังมีอยู่บ้างคือ ผู้ใช้ iPhone ชาวจีนส่วนใหญ่ยังไม่เลิกใช้ Apple แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่การดึงดูดกลุ่มคนใหม่ๆ ให้มาอยู่ในระบบ Ecosystem ของ Apple และทำให้ผู้ใช้เดิมอัปเกรดเครื่องเร็วขึ้น

 

คนอัปเกรดช้าลง และเหตุผลที่ Apple ควรต้องเปลี่ยน

 

คนอัปเกรด iPhone ช้าลงมีหลายเหตุผล ทั้งการยกเลิกการอุดหนุนจากค่ายสัญญาณมือถือ ราคาที่แพงขึ้น เศรษฐกิจไม่ดี และโลกกำลังฟื้นตัวจากโควิด แต่สาเหตุหนึ่งก็คือ Apple เองให้เหตุผลที่น่าสนใจในการอัปเกรดน้อยเกินไป

 

ต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ Apple แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งแต่ iPhone 12 ที่ออกในปี 2020 และก่อนหน้านั้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี 2017 ยุคการปรับโฉม iPhone ทุก 2-3 ปีน่าจะผ่านไปแล้ว

 

เพื่อเป็นการชดเชย Apple มุ่งไปทางการขายบริการและอุปกรณ์เสริมแทน ถึงแม้ผู้ใช้จะไม่ยอมอัปเกรดมือถือทุกปีหรือ 2 ปี แต่ก็ยังยอมควักเงินค่าบริการ แอปพลิเคชัน และ AirPods หรือแม้แต่อาจจะซื้อ Apple Watch ด้วย ซึ่งทำให้ Apple สามารถหากำไรได้เพิ่มขึ้น

 

กระนั้น มาร์ก เกอร์แมน จาก Bloomberg ก็มองว่า กลยุทธ์นี้ก็ดูจะถึงจุดพีคแล้ว หลังยอดขายเริ่มไม่โต และถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว

 

Apple จะทำอะไรได้บ้าง

 

วิธีที่เห็นได้ชัดคือ การสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่ๆ แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีอะไรในเร็ววันนี้ แถมก่อนหน้านี้ Apple ก็เคยทุ่มเงินหมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.7 แสนล้านบาท) และเวลาอีก 10 ปีในการพัฒนารถยนต์ที่ไม่มีวันจะออกมาให้เราเห็น (เพราะยกเลิกไปแล้ว)

 

หรือใช้เงินอีกหลายพันล้านไปกับการพัฒนาแว่น Vision Pro มูลค่า 3,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 1.29 แสนบาท) ที่น่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะทำเงินได้อย่างจริงจัง จนกว่า Apple จะออกรุ่นเบาๆ ราคาไม่แรงเกินไป แว่นก็อาจเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มไปเสียก่อน

 

แต่ถึงจะไม่มีสินค้าใหม่ มาร์ก เกอร์แมน ก็มองว่ายังมีหนทางฟื้นการเติบโตได้นั่นคือ การออก iPhone รุ่นที่ถูกกว่าและกลับมาบุกตลาดเกิดใหม่

 

นับตั้งแต่มีการวางขาย iPhone รุ่นแรก ก็มีเสียงเรียกร้องให้มีรุ่นที่ถูกกว่าอยู่ตลอด แต่ Apple ไม่เคยจริงจังนัก ความพยายามแรกคือ การลดราคาเครื่องเก่า 1 ปีลง 100 ดอลลาร์ (ประมาณ 3,700 บาท) ก่อนเปิดตัวรุ่นใหม่ แล้ว Apple ก็ออก iPhone 5c ในปี 2013 ที่ใช้ตัวเครื่องของรุ่นเดียวกัน แต่เปลี่ยนวัสดุเป็นพลาสติก และลดราคา 100 ดอลลาร์เช่นกัน

 

Apple กลับมาอีกครั้งในปี 2016 ด้วย iPhone SE ที่ราคาดีขึ้นเป็น 399 ดอลลาร์ (ประมาณ 14,700 บาท) ถูกกว่ารุ่นท็อปหลายร้อยดอลลาร์ แต่ความโบราณของดีไซน์ทำให้ไม่ดึงดูดใจ ในปัจจุบัน SE มีราคาประมาณ 429 ดอลลาร์ (ประมาณ 15,800 บาท) ไม่ถือว่าถูกมากหากพิจารณาจากฟีเจอร์ที่ขาดหายไป

 

คาดว่าปีหน้ามีแผนจะอัปเกรด SE ให้เป็นดีไซน์จอเต็มพื้นที่ ดูทันสมัยขึ้น แต่คาดว่าราคาจะสูงกว่า 400 ดอลลาร์อยู่ดี

 

ทางออกที่น่าสนใจ: ผลิต iPhone ราคาประมาณ 250 ดอลลาร์ และขายเฉพาะในตลาดเกิดใหม่

 

หาก Apple ต้องการจับตลาดเกิดใหม่ให้ได้จริงจัง ควรทำ iPhone ในระดับราคา 250 ดอลลาร์ (ประมาณ 9,250 บาท) แน่นอนว่าคงไม่ใช่สไตล์ที่ สตีฟ จ็อบส์ ทำ แต่นี่อาจเป็นสิ่งที่ Apple ต้องการในเวลานี้

 

Apple สามารถลดต้นทุนโดยใช้จอ LCD แบบเต็มพื้นที่แทน OLED ที่แพงกว่า หรือลดจำนวนกล้อง ใช้ชิปที่เก่าหน่อยแต่ยังทำงานได้ และอาจจะต้องใช้ตัวเครื่องแบบพลาสติก (แต่ยังคงไว้ซึ่งดีไซน์สวยงามของ Apple) นอกจากนั้นก็อาจจะจำกัดการขายมือถือรุ่นนี้เฉพาะในตลาดเกิดใหม่เท่านั้น

 

นี่ถือเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดครั้งใหญ่ เพราะ Apple จะต้องละทิ้งแนวคิดรักษาอัตรากำไรและเน้นไปที่ตัวเลขรายได้กับส่วนแบ่งตลาดแทน การกระทำนี้อาจช่วยสร้างแบรนด์ Apple ในโลกกำลังพัฒนา และดึงคนให้มาใช้สินค้าราคาแพงในภายหลัง พร้อมๆ กับทำให้คนเหล่านี้ติดใจบริการและแอปของ Apple

 

Apple พยายามเลี่ยงการทำ iPhone ราคาถูก เพราะกลัวจะทำให้ภาพลักษณ์สินค้าพรีเมียมของตัวเองเจือจางไป แต่เมื่อตลาดเปลี่ยนไป ตลาดคู่แข่งเติบโต ความเสี่ยงที่ต้องแบกรับก็สูงขึ้น Apple เองก็เริ่มมีการปรับตัวเล็กน้อยด้วยการขาย MacBook Air M1 ราคา 699 ดอลลาร์ (ประมาณ 25,800 บาท) ผ่าน Walmart แทนช่องทางขายของตัวเอง

 

โลกใบนี้ยังมีคนอีกหลายพันล้านคนที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ Apple และนั่นอาจไม่เปลี่ยนแปลงหากยังไม่มีรุ่นราคาเข้าถึงได้ง่าย อินเดียถือเป็นโอกาสใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ซึ่ง Apple ก็ได้ลงมือขยับตัวแล้ว

 

อินเดียมีเครือข่ายมือถือขยายอย่างต่อเนื่อง ชนชั้นกลางกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีคนซื้อมือถือใหม่มากขึ้นทุกปี Apple ได้เปิดร้าน 2 แห่ง และมีแผนที่จะเปิดอีก 3 แห่งในอินเดีย ไม่เพียงเท่านั้นอินเดียยังกำลังจะเป็นศูนย์กลางการผลิตอีกด้วย Apple กำลังขยายโรงงานผลิต iPhone และมีแผนขยายไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มขึ้น

 

และยังมีประเทศใกล้เคียงกับอินเดียที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย โดย Apple มีร้านค้าในไทย 2 แห่ง และกำลังจะเปิดร้านแรกในมาเลเซีย ปีที่แล้วบริษัทเปิดร้านค้าแบบออนไลน์ในเวียดนาม ซึ่งมักเป็นสัญญาณให้เห็นว่า Apple กำลังเตรียมตัวบุกตลาดใหม่ๆ อยู่ นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ก็กำลังกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ

 

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ ทิม คุก ซีอีโอของ Apple เดินทางไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งเวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย และให้คำสัญญาว่าจะลงทุนในพื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนี่ตามหลังการเดินทางไปจีนเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน

 

และยังมีโอกาสอีกมากนอกเหนือจากเอเชีย ทั้งบางส่วนของยุโรปตะวันออกและลาตินอเมริกา Apple อาจจะบุกไปถึงแอฟริกา ที่ถึงแม้จะยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่ Apple ก็ศึกษาตลาดนี้อยู่เช่นกัน

 

นั่นไม่ได้หมายความว่า Apple จะตัดประเทศจีนออก ซึ่งยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของตน แต่บริษัทจำเป็นต้องพึ่งพาแดนมังกรให้น้อยลง และการพัฒนา iPhone ราคาถูกก็สามารถช่วยได้

 

อ้างอิง:

The post อาจถึงเวลาที่ Apple ต้องทำ iPhone ราคา 9,250 บาทขายในตลาดเกิดใหม่ เพื่อฝ่ามรสุมยอดขายร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Netflix พลิกวิกฤต! งัดไม้ตาย ‘แบนแชร์รหัสผ่าน’ ดันสมาชิกใหม่ทั่วโลกเพิ่มถล่มทลายกว่า 9.33 ล้านราย https://thestandard.co/netflix-has-an-explosion-of-new-members/ Fri, 19 Apr 2024 06:22:55 +0000 https://thestandard.co/?p=924530

Netflix ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกที่เติบโตกว่าที่คาด ส […]

The post Netflix พลิกวิกฤต! งัดไม้ตาย ‘แบนแชร์รหัสผ่าน’ ดันสมาชิกใหม่ทั่วโลกเพิ่มถล่มทลายกว่า 9.33 ล้านราย appeared first on THE STANDARD.

]]>

Netflix ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกที่เติบโตกว่าที่คาด สามารถเพิ่มสมาชิกได้ถึง 9.33 ล้านรายทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขสองเท่าของที่ Wall Street คาดการณ์ไว้

 

กลยุทธ์ที่ทำให้เติบโตมาจาก 2 เรื่องหลักๆ คือ ปราบปรามการแชร์รหัสผ่าน นำไปสู่การสมัครสมาชิกใหม่ และเปิดแพ็กเกจแบบมีโฆษณาที่ราคาถูกลง (6.99 ดอลลาร์ต่อเดือน) แต่ยังแพงกว่าการเพิ่มสมาชิกนอกครัวเรือนเพียงคนเดียว (7.99 ดอลลาร์ต่อเดือน) นักวิเคราะห์มองว่าการปราบปรามการแชร์รหัสผ่านได้ผลเกินคาด และทำให้ลูกค้าในกลุ่มนี้หันมาเป็นสมาชิก Netflix ที่ชำระเงินเอง

 

Macquarie บริษัทวิจัยประเมินว่าการปราบปรามการแชร์รหัสผ่านสามารถผลักดันให้มีสมาชิกใหม่มากถึง 30 ล้านรายในปีงบประมาณนี้ ในขณะที่มีผู้ใช้มากถึง 100 ล้านรายที่แชร์รหัสผ่านกัน นอกจากนี้ Netflix ระบุว่า แพ็กเกจแบบมีโฆษณาเติบโตถึง 65% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 40% ของการสมัครสมาชิกใหม่ในตลาดที่ให้บริการแพ็กเกจดังกล่าว

 

สิ่งที่ต้องจับตาคือ Disney เตรียมปราบปรามการแชร์รหัสผ่านบน Disney+ ตั้งแต่ช่วงหน้าร้อนนี้ และจะเข้มข้นขึ้นอีกในช่วงปลายปี เช่นเดียวกับ Warner Bros. Discovery ที่จะใช้วิธีดังกล่าวในปีนี้เช่นกัน

 

Netflix ยังออกมาประกาศว่า จะหยุดรายงานตัวเลขสมาชิกทุกไตรมาส รวมถึงรายได้เฉลี่ยต่อสมาชิก (ARM) ตั้งแต่ไตรมาสแรกในปี 2025 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบริษัท

 

เหตุผลคือต้องการให้นักลงทุนมองบริษัทด้วยตัวชี้วัดเดียวกับที่ผู้บริหารใช้ และมองว่านี่เป็น ‘ตัวแทนที่ดีที่สุดสำหรับความพึงพอใจของลูกค้า’ กล่าวคือ รายได้, อัตรากำไรจากการดำเนินงาน, กระแสเงินสด และจำนวนเวลาที่ใช้ในการดู Netflix

 

Netflix คาดการณ์ว่า สมาชิกที่จะเพิ่มในไตรมาส 2 จะน้อยกว่าไตรมาสแรก ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตที่ช้าลง เพราะผู้ใช้ที่แชร์รหัสผ่านส่วนมากกลายเป็นสมาชิกแบบชำระเงินไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ หุ้น Netflix จึงร่วงลง 4% ในการซื้อขายหลังปิดตลาดส่วนหนึ่ง เนื่องจากคาดการณ์การเติบโตของรายได้ทั้งปียังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้

 

นักลงทุนมักจะไม่ชอบการที่มีความโปร่งใสน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ Netflix ที่เคยให้ข้อมูลจำนวนสมาชิกที่มีความละเอียดยิบ รวมถึงรายละเอียดการเติบโตในแต่ละภูมิภาคมากกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตาม การบีบให้นักลงทุนมาโฟกัสที่รายได้และกำไรแทนที่จะเป็นยอดสมาชิกนั้น ก็เป็นหลักฐานว่า Netflix กำลังเติบโตเต็มที่แล้ว หลังครองตลาดสตรีมมิงมายาวนาน

 

Netflix มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งกว่าบริษัทสื่อดั้งเดิมมาก รายได้ปีต่อปีของเติบโตถึง 15% กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 54% และอัตรากำไรจากการดำเนินงานพุ่งขึ้น 7% เหล่านี้คือตัวเลขการเติบโตที่ทำได้ดีกว่าบริษัทอย่าง  Warner Bros. Discovery, Disney, Paramount Global และ NBCUniversal ของ Comcast ที่มีบริการสตรีมมิงขาดทุน หรือมีกำไรน้อยนิด รวมถึงธุรกิจทีวีแบบเก่าที่กำลังหดตัว

 

นี่ทำให้เกิดคำถามว่าบริษัทสื่ออื่นๆ จะเดินตามรอย Netflix หยุดรายงานตัวเลขสมาชิกของบริการสตรีมมิงของตนเองหรือไม่

 

อ้างอิง:

The post Netflix พลิกวิกฤต! งัดไม้ตาย ‘แบนแชร์รหัสผ่าน’ ดันสมาชิกใหม่ทั่วโลกเพิ่มถล่มทลายกว่า 9.33 ล้านราย appeared first on THE STANDARD.

]]>