Tech – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 21 Nov 2024 04:13:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Telehouse จับมือ mu Space ผู้นำเทคโนโลยีอวกาศไทย ยกระดับโซลูชันดาวเทียมไทยกับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย https://thestandard.co/telehouse-x-mu-space/ Thu, 21 Nov 2024 04:13:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1011023 Telehouse

Telehouse ประเทศไทย ผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลก แ […]

The post Telehouse จับมือ mu Space ผู้นำเทคโนโลยีอวกาศไทย ยกระดับโซลูชันดาวเทียมไทยกับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Telehouse

Telehouse ประเทศไทย ผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลก และ mu Space ผู้นำด้านนวัตกรรมวิศวกรรมดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการให้บริการ

 

mu Space ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการดาวเทียม มีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจดาวเทียมและโทรคมนาคมทั่วประเทศไทย โดยให้บริการแบบครบวงจร เน้นให้บริการดาวเทียมประสิทธิภาพสูงและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้

 

ในฝั่งของ Telehouse ประเทศไทย ผู้ให้บริการ Colocation Data Center และโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย มีระบบนิเวศการเชื่อมต่อที่หลากหลายและครอบคลุม ช่วยให้บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีความหน่วงต่ำ ให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น ด้วยทำเลที่ตั้งใจกลางกรุงเทพฯ ทำให้การเข้าถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของประเทศไทยทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับบริการดาวเทียมและโทรคมนาคมให้ดีขึ้น

 

ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ร่วมกันในการใช้ความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัท เพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุม ซึ่งจะเน้นไปที่การยกระดับบริการดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) เพื่อปรับปรุงความเร็วและประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมความเสถียรผ่านบริการเชื่อมต่อระหว่าง Data Center (Data Center Interconnect: DCI) ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่าง Data Center ราบรื่นขึ้น พร้อมกันกับการมีเทคโนโลยีที่จะช่วยลดความหน่วงและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

 

นอกจากนี้ mu Space ยังร่วมมือกับ Lightstorm ผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ที่เน้นการเชื่อมต่อศูนย์ข้อมูลและการขยายเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตลาดและเปิดโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ

 

ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำเสนอเส้นทางการส่งข้อมูลที่มีความหน่วงต่ำและมีเส้นทางสำรองสำหรับ DCI ในประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องของบริการและประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้งานปลายทาง

 

The post Telehouse จับมือ mu Space ผู้นำเทคโนโลยีอวกาศไทย ยกระดับโซลูชันดาวเทียมไทยกับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
สตาร์ทอัพไทยรุกตลาดซิลเวอร์เทค เปิดตัว ‘CloudNurse’ แพลตฟอร์มบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุรายแรก https://thestandard.co/thai-startup-launches-cloudnurse/ Thu, 21 Nov 2024 03:50:38 +0000 https://thestandard.co/?p=1011010 CloudNurse

ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยสำ […]

The post สตาร์ทอัพไทยรุกตลาดซิลเวอร์เทค เปิดตัว ‘CloudNurse’ แพลตฟอร์มบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุรายแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
CloudNurse

ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ประชากรไทยที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนสูงถึง 13.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษเกือบ 1 ล้านคน ส่งผลให้ความต้องการใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลจาก McKnight’s Senior Living ปี 2566 ชี้ว่า ตลาดสถานดูแลผู้สูงอายุในไทยมีอัตราการเติบโตสูงถึง 7.8% ต่อปี แซงหน้าประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาก่อนอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6.8% และ 6.4% ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสองประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมานานกว่า 20 ปี ทำให้มีฐานสถานดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากอยู่แล้ว 

 

ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานดูแลผู้สูงอายุกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่ยังใช้ระบบบริหารจัดการแบบดั้งเดิม การบันทึกและจัดเก็บข้อมูลมีความซับซ้อน ใช้เวลานานในการเข้าถึง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการ

 

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของตลาดนี้ในไทย 

 

นอกจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ยังมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวที่เล็กลง จาก 3.51 คนต่อครอบครัวในปี 2546 เหลือเพียง 2.59 คนในปี 2566 รวมถึงวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องทำงานในเมืองและมีเวลาจำกัด ทำให้ความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุแบบมืออาชีพเพิ่มสูงขึ้น

 

“เราให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุเป็นอันดับหนึ่ง CloudNurse จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดภาระงานด้านเอกสารและการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลากับการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเต็มที่” ธนศักดิ์ ฮุ่นตระกูล ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าว

 

แพลตฟอร์มดังกล่าวมาพร้อมฟีเจอร์ตั้งแต่ระบบบันทึกข้อมูลผู้สูงอายุ ระบบจัดการยา ระบบรายงานเหตุ ไปจนถึงการใช้ AI ในการสรุปรายงานให้ญาติของผู้สูงอายุโดยอัตโนมัติ โดยคิดค่าบริการแบบ Payments-as-a-Service (PaaS) อยู่ที่ 350 บาทต่อผู้สูงอายุที่ใช้งาน 1 ท่าน ซึ่งช่วยให้สถานดูแลผู้สูงอายุไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น

 

ปัจจุบัน CloudNurse อยู่ระหว่างการเจรจากับสถานดูแลผู้สูงอายุ 20 แห่ง และตั้งเป้าขยายเป็น 100 แห่งภายในปี 2568 ผ่านการจัดสัมมนาและการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมองโอกาสขยายบริการไปยังกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้านและคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

แม้จะมีคู่แข่งที่เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับโรงพยาบาล แต่ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและการออกแบบที่เน้นความง่ายในการใช้งาน ทำให้ CloudNurse มั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดสถานดูแลผู้สูงอายุได้อย่างตรงจุด

 

ขณะที่สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่มีผู้สูงวัยมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากร คำถามสำคัญคือ ไม่ใช่แค่เราจะดูแลผู้สูงอายุอย่างไร แต่เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี และโครงสร้างทางสังคม เพื่อให้การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่แค่การมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่เป็นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงวัย

The post สตาร์ทอัพไทยรุกตลาดซิลเวอร์เทค เปิดตัว ‘CloudNurse’ แพลตฟอร์มบริหารสถานดูแลผู้สูงอายุรายแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก https://thestandard.co/ecommerce-growth-in-southeast-asia/ Wed, 20 Nov 2024 09:36:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1010801

ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว ทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญช […]

The post ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว ทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีนบุกโฟกัสตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายแคมเปญ Singles’ Day กระหน่ำลดราคาดึงลูกค้า แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายของ Temu ที่พยายามเจาะอินโดนีเซียหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลชี้ ต้องคุมการนำเข้าสินค้าราคาถูกและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็ก

 

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างมาก เพราะด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุน้อยและมีการเข้าถึงโลกโซเชียลเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก 

 

สอดคล้องกับรายงานจาก Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม (GMV) รวมสูงถึง 1.39 แสนล้านดอลลาร์ จึงทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นสนามแข่งขัน สำคัญของยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ทั้ง Shopee, TikTok Shop, Lazada และ Temu 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แม้ว่าจะไม่มีแพลตฟอร์มจากค่ายไหนเปิดเผยตัวเลข GMV (มูลค่ารวมของสินค้าที่ขายผ่านแพลตฟอร์ม) หรือในช่วงเทศกาลลดราคาโดยตรง แต่ก็เห็นการขยายตัวอย่างชัดเจน 

 

สำหรับในปีนี้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนอย่าง Alibaba และ JD.com มีการขยายแคมเปญ Singles’ Day ซึ่งเป็นเทศกาลลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ ไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

จริงๆ แล้ว Double 11 เป็นเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดขึ้นทุกวันที่ 11 พฤศจิกายนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นมาจาก Taobao ของ Alibaba ที่เริ่มต้นจัดงานนี้ในประเทศจีนเมื่อ 15 ปีก่อน ในช่วงแรกเริ่มก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันความนิยมในจีนเริ่มลดลง ไม่นิยมสั่งซื้อสินค้าในช่วงแคมเปญเหมือนหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องเผชิญกับเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย รวมถึงรัฐบาลมีการควบคุมสงครามราคาอีกด้วย 

 

หากสังเกตจะเห็นว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขการขายมา 2 ปีแล้ว และปีนี้ Tmall แพลตฟอร์มในเครือ Alibaba ก็ไม่ได้จัดงานอีเวนต์เหมือนหลายปีที่ก่อนที่เคยมีการแสดงจากนักร้องชื่อดัง เช่น Taylor Swift และ Scarlett Johansson

 

สะท้อนให้เห็นว่าตลาดในจีนเริ่มอิ่มตัวแล้ว แพลตฟอร์มของจีนจึงเปลี่ยนโฟกัส ขยายไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ประโยชน์จากการมีห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ เพื่อลดราคาสู้กับคู่แข่งในตลาดอื่นๆ แต่แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม ตลาด การกำกับดูแล และนโยบายการคุ้มครองตลาดในแต่ละประเทศ

 

เหมือนกับที่ Temu และ SHEIN กำลังเผชิญกับการตรวจสอบในประเทศเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลได้เตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มที่ไม่ได้จดทะเบียน และ Temu ยังพยายามจะเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะรัฐบาลอ้างว่าจำเป็นต้องควบคุมการนำเข้าสินค้าราคาถูก เพื่อปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศ 

 

เมื่อมาดูความคึกคักของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย หากสังเกตจะเห็นว่าถนนในกรุงเทพฯ ย่านที่มีคนพลุกพล่านจะเห็น TikTok Shop แสดงแคมเปญ Double 11 บนจอ LED ขนาดใหญ่ ชวนให้ไปช้อปปิ้ง และมีการยิงโฆษณาบนแอปพลิเคชันเรียกรถอย่าง Grab ไม่เว้นแม้แต่ Lazada ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Alibaba Group ก็สร้างกระแสโปรโมชันอย่างหนักหน่วง รวมถึงแพลตฟอร์ม X ก็เต็มไปด้วยโฆษณาที่เสนอส่วนลดอย่างต่อเนื่อง 

 

ณัฐพงศ์ คู่เมือง ชาวกรุงเทพฯ วัย 28 ปี กล่าวว่า ตัวเขาซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมูลค่า 3,600 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee และใช้โปรโมชันส่วนลดไป ทำให้ประหยัดได้ประมาณ 20% โดยส่วนลดในช่วง Double 11 จะคุ้มกว่าแคมเปญอื่นๆ

 

รวมถึงตลาดมาเลเซียมีผู้คนมากกว่า 5 ล้านคนเข้าร่วมรับชมงาน 11.11 Mega LIVE Showdown ที่จัดขึ้นโดย TikTok Shop เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา งานนี้สร้างคำสั่งซื้อผ่านไลฟ์สตรีมประมาณ 80,000 รายการ ขณะเดียวกัน Shopee Live ในมาเลเซียก็ทำยอดขายสินค้ากว่า 2.5 ล้านชิ้นในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจากยอดขายในช่วงปกติ

 

ด้าน Lazada อธิบายถึงเทศกาล Singles’ Day ของปีนี้ว่า เป็นโอกาสทางธุรกิจของแพลตฟอร์ม และเน้นนำแบรนด์สินค้าที่มียอดเติบโตมาเพิ่มโปรโมชัน ให้ส่วนลด เมื่อมียอดใช้จ่ายถึงเกณฑ์ที่กำหนดและจัดส่งฟรีเพื่อดึงดูดนักช้อป โดยปีนี้ Lazada ยังรายงานด้วยว่าบรรลุเป้าหมายการทำกำไรเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม โดยวัดจากกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย 

 

พร้อมกันนี้เมื่อตลาดอีคอมเมิร์ซขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็สร้างอานิสงส์ให้บริษัทขนส่งสินค้าด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 1-11 พฤศจิกายน J&T Express ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่งพัสดุที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่ของปริมาณการจัดส่งนั้นได้จัดการพัสดุมากกว่า 15 ล้านชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นถึง 73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น J&T Express จึงขยายพื้นที่คัดแยกพัสดุเพิ่มขึ้นประมาณ 19,000 ตารางเมตร และติดตั้งระบบอัตโนมัติเพิ่มอีกกว่า 13 ระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ควบคู่กับการเพิ่มยานพาหนะขนส่งกว่า 900 คัน และจ้างพนักงานมากกว่า 3,800 คน เพื่อเสริมความสามารถในการคัดแยก การจัดส่ง และการบริการลูกค้าให้ได้อย่างครอบคลุม

 

“สุดท้ายตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมาฟื้นตัวแล้ว และเข้าสู่ช่วงการเติบโตที่มั่นคงแล้วหลังผ่านพ้นช่วงวิกฤตโควิดมา” Li Jianggan ผู้ก่อตั้ง Momentum Works กล่าว

 

ภาพ: yanishevska / shutterstock

อ้างอิง:

The post ชาวจีนไม่นิยมช้อปออนไลน์แล้ว? ทำอีคอมเมิร์ซเร่งขยายไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ Temu เจออุปสรรคเข้าอินโดนีเซียไม่ได้ รัฐบาลอ้างต้องคุมสินค้าราคาถูก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Microsoft เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์จิ๋วตอบโจทย์การทำงานไฮบริด ขายในราคาราว 12,000 บาท https://thestandard.co/microsoft-windows-365-link/ Wed, 20 Nov 2024 00:49:40 +0000 https://thestandard.co/?p=1010571 Microsoft Windows 365 Link

Microsoft ประกาศเปิดตัว Windows 365 Link อุปกรณ์ฮาร์ดแว […]

The post Microsoft เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์จิ๋วตอบโจทย์การทำงานไฮบริด ขายในราคาราว 12,000 บาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Microsoft Windows 365 Link

Microsoft ประกาศเปิดตัว Windows 365 Link อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขนาดจิ๋วรุ่นใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อกับบริการ Windows 365 บนคลาวด์ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที สามารถสตรีมการทำงานได้เหมือนกับมีเครื่องพีซี Windows เครื่องหนึ่งซึ่งตอบโจทย์แนวโน้มขององค์กรต่างๆ ที่กำลังย้ายระบบการทำงานไปบนคลาวด์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการทำงาน

 

Windows 365 Link ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ Windows 365 ที่เน้นไปกับการใช้งานง่ายและปลอดภัย โดยอุปกรณ์ดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการทดลองและจะเริ่มวางจำหน่ายในบางประเทศ เริ่มจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2025 เป็นต้นไปในราคา 349 ดอลลาร์ หรือราว 12,000 บาท

 

Windows 365 Link มาพร้อมระบบความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มออกแบบ โดยทุกข้อมูลและทุกแอปพลิเคชันจะถูกจัดเก็บไว้บนระบบคลาวด์ของ Microsoft เท่านั้น ไม่มีการบันทึกลงในตัวเครื่อง อีกทั้งผู้ใช้ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบในฐานะผู้ดูแล (Admin) จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญขององค์กรจะปลอดภัย

 

ผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบด้วย Microsoft Entra ID, USB Security Key หรือแอปพลิเคชัน Microsoft Authenticator

 

นอกจากนี้ Microsoft ยังเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Copilot+ PC สำหรับลูกค้าองค์กร โดยปรับปรุงระบบค้นหาของ Windows และเพิ่มฟีเจอร์ Recall แบบใหม่ (อยู่ในช่วงทดลอง) ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นโดยแค่พิมพ์สิ่งที่ต้องการ ฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้จะเริ่มทดสอบกับกลุ่ม Windows Insider ที่ใช้ Copilot+ PC ก่อน แล้วจึงเปิดให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานในภายหลัง

 

Windows 365 Link มาพร้อมกับ RAM 8GB และความจุ 64GB และใช้ชิปของ Intel

 

อ้างอิง:

 

The post Microsoft เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์จิ๋วตอบโจทย์การทำงานไฮบริด ขายในราคาราว 12,000 บาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
Microsoft เปิดตัวนวัตกรรม AI ใหม่กว่า 80 รายการ ในงาน Microsoft Ignite 2024 https://thestandard.co/microsoft-ignite-2024-ai-innovations/ Tue, 19 Nov 2024 14:58:24 +0000 https://thestandard.co/?p=1010562 Microsoft Ignite

Microsoft เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่กว่า 80 รายการ […]

The post Microsoft เปิดตัวนวัตกรรม AI ใหม่กว่า 80 รายการ ในงาน Microsoft Ignite 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Microsoft Ignite

Microsoft เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่กว่า 80 รายการ รวมถึงความสามารถใหม่ๆ ใน Microsoft 365 Copilot, Copilot + AI Stack และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ในงาน Microsoft Ignite 2024 ท่ามกลางโลกของ AI ที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเทรนด์ที่ลูกค้าหลายแสนรายกำลังใช้เทคโนโลยี AI ของ Microsoft 

 

Microsoft 365 Copilot คือผู้ช่วย AI ในการทำงานที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีบริษัทใน Fortune 500 ประมาณ 70% ที่ใช้งาน Microsoft 365 Copilot สะท้อนให้เห็นความต้องการในตลาด

 

ผลการศึกษาของ IDC ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า Generative AI เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2024 กลุ่มบริษัทมีอัตราการใช้งานถึง 75% อีกทั้งบริษัทที่ใช้งาน AI อยู่ระบุว่า ในเงินทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ลงทุนกับ Generative AI บริษัทได้รับประโยชน์กลับมามากถึง 3.70 ดอลลาร์ กระทั่งมีผู้นำองค์กรหลายรายระบุว่าได้รับประโยชน์สูงถึง 10 ดอลลาร์

 

เมื่อเร็วๆ นี้ Microsoft นำเสนอกรณีศึกษาการใช้ AI เพื่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย Copilot เช่น บริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company ที่กำลังพัฒนา Agent เพื่อย่นระยะเวลาในกระบวนการเพิ่มลูกค้าเข้าสู่ระบบ ซึ่งช่วยลดเวลาดำเนินการลงได้ถึง 90% และลดเวลาการทำงานเอกสารลง 30% โดย Agent จะเดินหน้าจัดการงานให้โดยอัตโนมัติ เช่น ระบุผู้เชี่ยวชาญและจัดทีมงานให้กับลูกค้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับทีมงานในการสอบถามและติดตามผล ช่วยให้พนักงานประหยัดเวลา และเอาเวลาที่ได้คืนมาไปดูแลลูกค้าให้ใกล้ชิดมากขึ้น

 

นอกจากนี้ Microsoft ยังเดินหน้าพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ใน Microsoft 365 Copilot อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดความซับซ้อนของภาระงานในแต่ละวัน

 

Copilot Actions (ปัจจุบันอยู่ในช่วงพรีวิวการทดลองใช้งานเฉพาะกลุ่ม) ช่วยให้ทุกคนสามารถทำงานประจำวันแบบอัตโนมัติได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกคำสั่งในช่องว่าง ไม่ว่าจะเป็นการสรุปการประชุมแบบรายวันใน Microsoft Teams การรวบรวมรายงานประจำสัปดาห์ หรือสรุปการประชุม การพูดคุย และอีเมลต่างๆ เมื่อกลับจากวันหยุดพักร้อน

 

ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Actions ได้ในแอปพลิเคชัน Microsoft 365 และใช้เวลาไปกับงานที่สำคัญกว่า เพื่อช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ

 

Agent ใหม่ใน Microsoft 365 ออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ใช้งาน และยกระดับการทำงานให้กับธุรกิจ โดยสิ่งที่ Microsoft จะเปิดตัวในงาน Ignite ครั้งนี้ ได้แก่

 

  • Agent in SharePoint: ผู้ช่วย AI ที่มีศักยภาพใช้ภาษาธรรมชาติ ซึ่งจะทำงานโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ ไฟล์ และโฟลเดอร์ SharePoint ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานหาคำตอบจากเนื้อหาเหล่านั้นได้ง่ายและตัดสินใจได้เร็วขึ้น ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว โดยทุกๆ ไซต์ของ SharePoint จะมี Agent ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับเนื้อหานั้นๆ ผู้ใช้ยังสามารถสร้าง Agent ที่กำหนดเองได้โดยเลือกไฟล์ โฟลเดอร์ หรือไซต์ SharePoint ที่ต้องการได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกแค่ครั้งเดียว
  • Interpreter: ฟีเจอร์ผู้ช่วยใน Teams เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปลดล็อกข้อจำกัดด้านภาษาได้ด้วยการแปลคำพูดภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งแบบเรียลไทม์ระหว่างการประชุม โดยจะเปิดให้บริการเวอร์ชันพรีวิวสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในช่วงต้นปี 2025 และยังสามารถเลือกเสียงที่แปลออกมาให้เป็นเสียงของตนเองได้อีกด้วย
  • The Employee Self-Service Agent: ผู้ช่วยนี้อยู่ในระหว่างการทดลองใช้งานบน Business Chat เพื่อให้ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ได้เร็วขึ้น และลดความซับซ้อนในการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและไอที เช่น การอธิบายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้พนักงาน ฟีเจอร์นี้สามารถปรับแต่งได้ใน Copilot Studio เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร
  • ผู้ช่วยอื่นๆ ในเวอร์ชันที่เปิดพรีวิวสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป มีทั้งฟังก์ชันจดบันทึกการประชุมแบบเรียลไทม์ใน Teams และการจัดการโครงการแบบอัตโนมัติได้ตั้งแต่ต้นจนจบใน Planner

 

Copilot + AI Stack  

 

Copilot Stack ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการทำงาน โดย Microsoft สร้าง Azure AI Foundry เพื่อให้ลูกค้าออกแบบ ปรับแต่ง และจัดการระบบ AI ได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งสามารถใช้บริการเครื่องมือต่างๆ ของ Azure AI ที่มีอยู่เดิม รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา ได้แก่

 

  • Azure AI Foundry SDK: เวอร์ชันทดลองที่เพิ่งเปิดตัว เป็นชุดเครื่องมือครบวงจรสำหรับองค์กรที่ช่วยให้ออกแบบและปรับแต่งแอปพลิเคชันและผู้ช่วย AI ได้ตามต้องการ สามารถจัดการระบบ AI ได้ และควบคุมการทำงานได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ Foundry ยังมีแอปพลิเคชันสำเร็จรูป 25 แบบให้เลือกใช้ ทำให้การเขียนโค้ดทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเครื่องมือที่นักพัฒนาคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น GitHub, Visual Studio และ Copilot Studio
  • Azure AI Foundry Portal (เดิมชื่อ Azure AI Studio): เปิดให้ใช้งานในเวอร์ชันทดลองกับอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบภาพกราฟิกที่ครอบคลุม เพื่อช่วยให้นักพัฒนาค้นหาโมเดล AI บริการและเครื่องมือต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้นจากการมีแดชบอร์ดศูนย์กลางที่รวมข้อมูลสำคัญทั้งหมดไว้ในที่เดียว เหมาะสำหรับทีมไอที ทีมปฏิบัติการ และทีมกำกับดูแล ในการจัดการแอปพลิเคชัน AI ขององค์กรขนาดใหญ่
  • Azure AI Foundry Agent Service: เป็นบริการใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวเวอร์ชันทดลองเร็วๆ นี้ บริการนี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับงานธุรกิจ โดยใช้ผู้ช่วย AI ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถจัดการ ติดตั้ง และปรับขยายการทำงานได้ตามต้องการ

 

Microsoft ยังคงพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ AI ที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย โดยเปิดตัวระบบรายงาน AI และระบบประเมินความเสี่ยงสำหรับรูปภาพ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน AI ได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎระเบียบ ซึ่งระบบรายงาน AI จะช่วยให้องค์กรสามารถติดตาม ร่วมมือ และควบคุมการใช้งานแอปพลิเคชัน AI รวมถึงโมเดลที่ได้รับการปรับแต่งได้ดียิ่งขึ้น 

 

 

The post Microsoft เปิดตัวนวัตกรรม AI ใหม่กว่า 80 รายการ ในงาน Microsoft Ignite 2024 appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนาคตของ AI ในธุรกิจแบงกิ้งที่เป็นมากกว่าแค่ ‘แชตบอต’ แต่คือผู้ช่วยที่ปลดล็อกให้คนลงแรงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก https://thestandard.co/ai-banking-chatbot/ Tue, 19 Nov 2024 11:55:38 +0000 https://thestandard.co/?p=1010521 AI ธนาคาร

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของหลา […]

The post อนาคตของ AI ในธุรกิจแบงกิ้งที่เป็นมากกว่าแค่ ‘แชตบอต’ แต่คือผู้ช่วยที่ปลดล็อกให้คนลงแรงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
AI ธนาคาร

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของหลายอุตสาหกรรมไปแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังปรับตัวมากที่สุดก็คือธนาคารที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เนื่องจากความคาดหวังของลูกค้าที่ไม่เหมือนเดิมและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น 

 

THE STANDARD WEALTH มีโอกาสคุยกับ John Duigenan ผู้บริหารระดับสูงของ IBM ถึงทิศทางที่ AI กำลังปรับรูปเกมการทำธุรกิจของธนาคาร 

 

 

AI ที่ไม่ได้มีดีแค่แชตบอต

 

จากประสบการณ์ที่ IBM ทำงานร่วมกับธนาคารหลายแห่งในปัจจุบัน กรณีการใช้งาน AI นั้นไปไกลมากกว่าแค่การเป็นแชตบอตที่ใช้ถาม-ตอบข้อสงสัยขั้นพื้นฐาน แต่เหล่าธนาคารกำลังเน้นพัฒนา AI ในฐานะผู้ช่วย (AI Assistant) ที่สามารถทำงานซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลิตภาพ หรือพูดอีกแบบก็คือปลดล็อกให้ “คนลงแรงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า”

 

“ถ้า AI ทำได้แค่ตอบคำถามในสิ่งที่ผมสงสัย นั่นอาจจะไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระเท่าไร แต่ถ้า AI ที่มาในฐานะผู้ช่วยและสามารถทำหน้าที่บางอย่างแทนผมได้ นั่นแหละเราถึงจะเรียกว่านวัตกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกจริงๆ เพราะเรามีเวลามากขึ้น” John กล่าว

 

John ย้ำว่าการใช้งาน AI ในธนาคารมี 3 ประเภทงานสำคัญ ได้แก่:

 

  1. การยกระดับประสบการณ์ลูกค้า: ผู้ช่วย AI สามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงในรายบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโลกเข้าสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม การทำให้ลูกค้าใช้บริการการเงินได้แบบไม่สะดุดและตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาจึงเป็นเรื่องที่ธนาคารให้ความสำคัญมาก

 

  1. การพลิกโฉมการทำงานภายใน: AI สามารถเปลี่ยนให้งานซ้ำซ้อนทำได้แบบกึ่งอัตโนมัติมากขึ้น และทำให้ขั้นตอนการทำงานราบรื่น รวมถึงทดแทนกระบวนการที่เรียกว่า ‘Swivel Chair’ หรือการที่มนุษย์ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง 2 ระบบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นงานที่อาจใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ AI สามารถเข้ามาเชื่อมต่องานเหล่านี้ให้มนุษย์โยกย้ายไปทำงานที่สร้างมูลค่ามากกว่าได้

 

  1. ตัวเร่งการพัฒนาแอปพลิเคชัน: AI จะมาช่วยเรื่องการทำความเข้าใจโค้ด ซึ่งจะปรับปรุงความแม่นยำและประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมนุษย์กับเทคโนโลยีทำงานควบคู่กัน

 

ความท้าทายและอนาคตการใช้ AI ในภาคการธนาคาร

 

แม้ว่าศักยภาพของ AI ในธนาคารจะมีอย่างหลากหลาย แต่ John ยังคงชี้ให้เห็นความท้าทายที่ธนาคารต้องก้าวผ่านไปให้ได้ นั่นคือการนำ AI ผนวกเข้ากับระบบการทำงานดั้งเดิม เช่น เทคโนโลยีที่เคยใช้งานได้ในอดีตอาจต้องได้รับการปรับเพื่อให้สามารถใช้ AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือการใช้ AI ในวงกว้างที่ปลอดภัย รวมถึงวิธีบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรเมื่อ AI เข้ามามีบทบาท ล้วนแล้วแต่เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ

 

นอกจากนี้ การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบที่เน้นความโปร่งใสก็เป็นประเด็นที่ลูกค้าโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงินมองข้ามและละเลยไม่ได้ เพราะหากกฎหมายกำกับดูแลมีความไม่ชัดเจนและ AI ไม่โปร่งใส ความเชื่อมั่นในธุรกิจก็อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบได้

 

อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ก็คือผลกระทบต่อสังคม ซึ่ง John มองว่าเป็นข้อกังวลที่ทุกฝ่ายควรให้น้ำหนัก แต่ในขณะเดียวกันเขาเชื่อว่า AI ควรเป็นตัวปลดล็อกศักยภาพของมนุษย์ ไม่ใช่ตัวขวางกั้น ซึ่งแน่นอนว่างานหลายอย่างยังต้องอาศัยการตัดสินใจที่ใช้ทักษะจากผู้เชี่ยวชาญ โดย AI มีบทบาทในแง่ของตัวแปรที่ทำให้คนทำงานได้ดียิ่งขึ้น

 

สำหรับมุมมองของ John ในปี 2025 กับเรื่องการใช้ AI ในภาคธนาคาร สิ่งสำคัญที่ธนาคารต้องทำคือการขยายขอบเขตการใช้งาน AI แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการรักษาความไว้วางใจ เพราะหากไม่มีความเชื่อมั่น เทคโนโลยีก็ไม่สามารถถูกใช้ในวงกว้างได้

The post อนาคตของ AI ในธุรกิจแบงกิ้งที่เป็นมากกว่าแค่ ‘แชตบอต’ แต่คือผู้ช่วยที่ปลดล็อกให้คนลงแรงน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจดิจิทัลไทยพุ่งแตะ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอกย้ำมหาอำนาจดิจิทัลอันดับ 2 อาเซียน ท่ามกลางกระแส AI และ Digital Nomad https://thestandard.co/thailands-digital-economy-surges-to-46-billion/ Tue, 19 Nov 2024 06:29:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1010330 เศรษฐกิจดิจิทัล

ประเทศไทยยังคงรักษาตำแหน่งยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลใ […]

The post เศรษฐกิจดิจิทัลไทยพุ่งแตะ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอกย้ำมหาอำนาจดิจิทัลอันดับ 2 อาเซียน ท่ามกลางกระแส AI และ Digital Nomad appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจดิจิทัล

ประเทศไทยยังคงรักษาตำแหน่งยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแข็งแกร่ง โดยรายงาน e-Conomy SEA 2024 ที่จัดทำโดย Google, Temasek และ Bain & Company คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสินค้ารวม (GMV) สูงถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในทุกภาคส่วน

 

e-Commerce ยังคงเป็นดาวเด่นที่ทรงพลัง คาดว่าจะเติบโตถึง 19% ด้วยมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการผลักดันวิดีโอคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรงแซงโค้ง สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบอินเตอร์แอ็กทีฟที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

 

ภาคการท่องเที่ยวออนไลน์เดินหน้าทะลุเป้าด้วยอัตราการเติบโตสูงสุดในภูมิภาค โดยคาดว่าจะแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 32% จากปีก่อน ปัจจัยสำคัญมาจากนโยบายวีซ่าเชิงรุกที่ครอบคลุมถึง 93 ประเทศ

 

รวมถึงการเปิดรับกลุ่ม Digital Nomad ที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล นอกจากนี้ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยก็เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการใช้จ่ายในต่างประเทศพุ่งสูงขึ้นถึง 270% นับตั้งแต่ปี 2020

 

บริการด้านการเงินดิจิทัลก็ไม่น้อยหน้า โดยการชำระเงินดิจิทัลคาดว่าจะมีมูลค่าธุรกรรมรวมสูงถึง 1.41 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 5% ขณะที่สินเชื่อดิจิทัลโตแซงหน้าด้วยอัตรา 28% คาดว่าจะมียอดคงค้างสินเชื่อ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ

 

ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษคือการก้าวกระโดดด้าน AI ที่กำลังปฏิวัติภูมิทัศน์ดิจิทัลของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีความต้องการสูงสุด ทั้งในแง่การศึกษา เกม และการตลาด

 

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็สะท้อนความมุ่งมั่นนี้ โดยครึ่งแรกของปี 2024 มีการลงทุนในศูนย์ข้อมูลสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ความจุเพิ่มขึ้นถึง 550% สูงสุดในภูมิภาค

 

แม้ภาพรวมจะสดใส แต่การลงทุนจากภาคเอกชนยังมีความท้าทาย โดยครึ่งแรกของปี 2024 มีมูลค่าการลงทุนเพียง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 92% กระจุกตัวในบริการด้านการเงินดิจิทัล สะท้อนว่านักลงทุนยังต้องการเห็นแผนทางออกที่ชัดเจนของธุรกิจท่ามกลางความท้าทายของตลาดทุน

 

“เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ ตั้งแต่โครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปจนถึงกลยุทธ์ 4 ปีของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นดิจิทัลฮับชั้นนำในภูมิภาค” แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าว

 

ด้าน วิลลี่ จาง Partner, Bain & Company มองว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมูลค่าสินค้ารวมและรายได้เติบโตในระดับเลข 2 หลัก ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตนี้ และยังคงเป็นผู้นำในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังกำลังก้าวขึ้นเป็นแหล่งบ่มเพาะด้าน AI และโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI อีกด้วย”

 

แม้ตัวเลขการเติบโตจะหวือหวา แต่คำถามสำคัญที่ต้องติดตามคือการลงทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน AI จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำให้กลับมาคึกคักได้เมื่อใด และประเทศไทยจะรักษาความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาคท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นได้อย่างไร

The post เศรษฐกิจดิจิทัลไทยพุ่งแตะ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอกย้ำมหาอำนาจดิจิทัลอันดับ 2 อาเซียน ท่ามกลางกระแส AI และ Digital Nomad appeared first on THE STANDARD.

]]>
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เดินหน้าฟ้อง Google ให้ขาย Chrome หวังสั่นคลอนอำนาจเสิร์ชเอนจิน https://thestandard.co/google-chrome-antitrust-lawsuit/ Tue, 19 Nov 2024 05:40:15 +0000 https://thestandard.co/?p=1010264 Google Chrome

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อบังคับ […]

The post กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เดินหน้าฟ้อง Google ให้ขาย Chrome หวังสั่นคลอนอำนาจเสิร์ชเอนจิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Google Chrome

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ Google ขาย Chrome เบราว์เซอร์ยอดนิยม ซึ่งถือเป็นการปราบปรามครั้งประวัติศาสตร์ต่อหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลก

 

คำร้องดังกล่าวจะยื่นต่อผู้พิพากษา Amit Mehta ซึ่งตัดสินในเดือนสิงหาคมว่า Googleผูกขาดตลาดเสิร์ชเอนจินอย่างผิดกฎหมาย โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ต้องการให้ Google ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบปฏิบัติการ Android รวมถึงการออกใบอนุญาตข้อมูล

 

หากผู้พิพากษา Mehta รับคำร้อง อาจส่งผลกระทบต่อตลาดเสิร์ชเอนจินและอุตสาหกรรม AI คดีนี้เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และดำเนินต่อในสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ถือเป็นความพยายามครั้งสำคัญในการควบคุมบริษัทเทคโนโลยี นับตั้งแต่ Microsoft เมื่อ 20 ปีก่อน

 

Chrome เป็นเบราว์เซอร์ยอดนิยมที่ Google ใช้เก็บข้อมูลกิจกรรมของผู้ใช้ เพื่อกำหนดเป้าหมายโฆษณา ซึ่งสร้างรายได้มหาศาลให้กับบริษัท นอกจากนี้ Googleยังใช้ Chromeเพื่อนำผู้ใช้ไปสู่ Gemini ผลิตภัณฑ์ AI หลักของบริษัท

 

Lee-Anne Mulholland รองประธานฝ่ายกำกับดูแลกิจการของ Googleกล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังคงผลักดันวาระนี้อย่างรุนแรง ซึ่งเกินกว่าประเด็นทางกฎหมายในคดีนี้ และเธอยังเสริมว่า “การที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค นักพัฒนา และความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ”

 

เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เสนอมาตรการสำคัญเพื่อลดการผูกขาดของ Googleโดยประเด็นแรกคือการขายเบราว์เซอร์ Chrome ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ผู้คนใช้เข้าถึงเสิร์ชเอนจินของ Googleนอกจากนี้ยังเสนอให้ Googleต้องออกใบอนุญาตขายข้อมูลการคลิก รวมถึงเผยแพร่ผลการค้นหา เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทคู่แข่งและสตาร์ทอัพสามารถนำข้อมูลไปพัฒนา AI ของตนเองได้

 

ในส่วนของระบบปฏิบัติการ Android กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ต้องการให้แยกออกจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Googleไม่ว่าจะเป็นเสิร์ชเอนจินหรือ Google Play Store พร้อมทั้งกำหนดให้ Google ต้องแบ่งปันข้อมูลกับผู้ลงโฆษณา และให้อำนาจผู้ลงโฆษณาในการควบคุมตำแหน่งโฆษณามากขึ้น

 

การดำเนินการตามข้อเสนอเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดเสิร์ชเอนจินและ AI อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการมีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้นและราคาที่อาจถูกลง

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายสำคัญคือการหาผู้ซื้อ Chromeเนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการซื้ออย่างเช่น Amazon ก็กำลังเผชิญกับการตรวจสอบด้านการผูกขาดเช่นกัน นอกจากนี้ Googleยังมีแผนที่จะยื่นอุทธรณ์คำตัดสิน ซึ่งอาจทำให้คดียืดเยื้อและต้องขึ้นไปถึงศาลฎีกา

 

อ้างอิง:

The post กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เดินหน้าฟ้อง Google ให้ขาย Chrome หวังสั่นคลอนอำนาจเสิร์ชเอนจิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดแผนที่อีคอมเมิร์ซ 2025 เมื่อ ‘ความไวเป็นปีศาจ’ คือกุญแจล็อกใจลูกค้า ที่เปลี่ยนจาก ‘เสพติดแบรนด์’ สู่ ‘เสพติดคุณค่า’ https://thestandard.co/unlocking-e-commerce-insight-trends-and-strategies-for-business-success/ Tue, 19 Nov 2024 02:36:13 +0000 https://thestandard.co/?p=1010191 อีคอมเมิร์ซ

ในยุคที่การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซร้อนระอุราวกับหม้อต้ […]

The post เปิดแผนที่อีคอมเมิร์ซ 2025 เมื่อ ‘ความไวเป็นปีศาจ’ คือกุญแจล็อกใจลูกค้า ที่เปลี่ยนจาก ‘เสพติดแบรนด์’ สู่ ‘เสพติดคุณค่า’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อีคอมเมิร์ซ

ในยุคที่การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซร้อนระอุราวกับหม้อต้มน้ำเดือด แบรนด์ต่างๆ กำลังเผชิญโจทย์ใหญ่ นั่นคือทำอย่างไรให้อยู่รอดในสมรภูมิการค้าออนไลน์ที่มีผู้เล่นหน้าใหม่ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด?

 

จากเวที Wisesight Research Discovery EP.7 ภายใต้หัวข้อ ‘Unlocking E-Commerce: Insight Trends and Strategies for Business Success’ ได้เผยให้เห็นภาพความหวือหวาของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่ทะยานขึ้นเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค ด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 9.8 แสนล้านบาทในปี 2023 รองจากอินโดนีเซียเท่านั้น

 

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา Co-founder ของ Etailligence เผยว่า ตลาดมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องราว 14% ไปจนถึงปี 2027 แต่สิ่งที่น่าจับตามองคือปี 2025 ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ เมื่อพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์จะซับซ้อนขึ้นราวกับเขาวงกตที่มีทางเลือกมากมาย

 

ที่น่าสนใจคือจากการสำรวจพบว่านักช้อปออนไลน์แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชัดเจน โดย 35% เป็น ‘สาวกอินฟลูเอ็นเซอร์’ ที่พร้อมจะเชื่อและซื้อตามรีวิว ขณะที่ 31% เป็น ‘นักล่าดีล’ ที่จะเปรียบเทียบราคาจนกว่าจะพอใจ ส่วน 21% เป็น ‘นักวิเคราะห์’ ที่ต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนควักกระเป๋า และที่เหลือ 13% ส่วนใหญ่เป็นคุณแม่มือใหม่ที่เน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก

 

ด้าน พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Deputy Director of Data Research Product จาก Wisesight เผยว่า Gen Z กำลังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งค้นหาสินค้าถึง 55% โดยเฉพาะ TikTok ที่มาแรงแซงโค้งด้วยความสดใหม่ของคอนเทนต์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึก ‘อิน’ กับสินค้ามากกว่าการค้นหาแบบดั้งเดิม

 

“จากข้อมูลในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2024 พบว่ามีเอ็นเกจเมนต์ในตลาดอีคอมเมิร์ซสูงถึง 300 ล้านบาท โดย 46% มาจากอินฟลูเอ็นเซอร์ รองลงมา 34% มาจากผู้ขาย และ 10% จาก Owned Media” พุทธศักดิ์กล่าว พร้อมเสริมว่าหมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Health & Beauty, Fashion และ Food & Beverage

 

นอกจากนี้พฤติกรรมการช้อปบน TikTok Shop ยังแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มมองหาส่วนลด, กลุ่มซื้อตาม Inspirational, กลุ่มที่ต้องการความง่ายในการจบการซื้อขายบนแพลตฟอร์มเดียว และกลุ่มที่ซื้อตามจุดประสงค์โดยเน้นที่แบรนดิ้ง

 

ขณะที่ ปานเทพย์ นิลสินธพ Chief Customer Officer จากสยามพิวรรธน์ เผยมุมมองที่น่าสนใจว่า แม้อีคอมเมิร์ซจะบูม แต่ศูนย์การค้ายังคงมีความสำคัญในฐานะ ‘Social Hub’ โดยความถี่ในการเข้าศูนย์การค้ายังคงอยู่ที่ 5 ครั้งต่อเดือน สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนยังต้องการพื้นที่จริงสำหรับพบปะสังสรรค์

 

ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาจับจ่ายในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่ม FIT (Free Independent Travelers) ที่มีอายุเฉลี่ย 24-35 ปี ซึ่งมองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวมากกว่าการช้อปปิ้งแบบดั้งเดิม

 

ปานเทพย์ยังชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในพฤติกรรมผู้บริโภคปี 2025 โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าลักชัวรีที่ผู้บริโภคจะลดการซื้อตามกระแสลง แต่หันมาให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของเงินและมองหาสินค้า ‘Timeless’ และ ‘Quiet Luxury’ มากขึ้น

 

“แบรนด์จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและเรื่องราวที่ทำให้ลูกค้าภูมิใจที่ได้ครอบครองสินค้าชิ้นนั้น เพื่อโดดเด่นจากคู่แข่งในตลาด” ปานเทพย์กล่าว

 

สำหรับปี 2025 มีการคาดการณ์ว่าจะเป็น ‘ปีแห่งความเร็ว’ โดยตลาด Quick Commerce ในไทยจะเติบโตปีละ 20-30% เพราะ ‘ยิ่งส่งของได้ไว ยิ่งได้ใจผู้บริโภค’ ขณะเดียวกัน Value for Money จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคจะมองหาสินค้าที่คุ้มค่า คุ้มราคา และให้ประสบการณ์ที่แตกต่าง

 

อีกหนึ่งเทรนด์สำคัญคือการเติบโตของ Conscious Shopper ที่ให้ความสำคัญกับสินค้า Timeless และสินค้าที่มีความแตกต่าง โดยเฉพาะสินค้าที่มีเรื่องราวผูกติดกับความรับผิดชอบต่อสังคม สะท้อนการเปลี่ยนแปลงจากการรับรู้สู่การสนับสนุนแบรนด์ที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนอย่างจริงจัง

 

ท้ายที่สุดเส้นทางสู่ความสำเร็จในโลกอีคอมเมิร์ซปี 2025 จึงไม่ต่างจากการแข่งรถฟอร์มูลาวันที่ต้องทั้งเร็ว แม่นยำ และต้องรู้จักปรับกลยุทธ์ให้ทันกับทุกโค้งของการเปลี่ยนแปลง เพราะในโลกที่หมุนเร็วเช่นนี้ การหยุดนิ่งเท่ากับถอยหลัง และการช้าเท่ากับความพ่ายแพ้

 

The post เปิดแผนที่อีคอมเมิร์ซ 2025 เมื่อ ‘ความไวเป็นปีศาจ’ คือกุญแจล็อกใจลูกค้า ที่เปลี่ยนจาก ‘เสพติดแบรนด์’ สู่ ‘เสพติดคุณค่า’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
AMD เตรียมเลิกจ้างพนักงาน 1,000 คนทั่วโลก ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมชิปอันดุเดือด https://thestandard.co/amd-global-layoffs-chip-competition/ Thu, 14 Nov 2024 05:12:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1008463 AMD เลิกจ้างพนักงาน

บริษัทผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ชั้นนำ AMD แถลงเมื่อวันพุธที […]

The post AMD เตรียมเลิกจ้างพนักงาน 1,000 คนทั่วโลก ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมชิปอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>
AMD เลิกจ้างพนักงาน

บริษัทผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ชั้นนำ AMD แถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (13 พฤศจิกายน) ว่า บริษัทจะเลิกจ้างพนักงาน 1,000 คนทั่วโลก หรือราว 4% เนื่องจากบริษัทต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งของตัวเองในตลาดชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังเติบโต ซึ่งมี NVIDIA เป็นผู้นำอยู่

 

จากรายงานของ Wccftech โฆษกของ AMD ยืนยันการเลิกจ้างดังกล่าว และอธิบายว่า การเลิกจ้างดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดสรรทรัพยากรของบริษัทให้สอดคล้องกับโอกาสการเติบโตที่สำคัญที่สุดของบริษัท แต่บริษัทยืนยันที่จะเยียวยาพนักงานที่ได้รับผลกระทบและช่วยเหลือพวกเขาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

 

ทั้งนี้ บริษัท AMD มีพนักงาน 26,000 คน ณ สิ้นปีที่แล้ว ตามเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ 

 

รายงานระบุว่า การเลิกจ้างรอบนี้จะกระทบต่อพนักงานทั่วโลกของบริษัทประมาณ 4% ถึงแม้ว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตขึ้น 17% ด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น 34% ในไตรมาสที่ 3 แต่การคาดการณ์ไตรมาสที่ 4 ของ AMD กลับไม่เป็นไปตามที่คาด

 

AMD เป็นบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก หรือ GPU รายใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก NVIDIA โดย AMD กล่าวว่า AI ถือเป็นโอกาสการเติบโตครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของบริษัท แต่หุ้นของ AMD กลับลดลง 5% ในปี 2024 ในขณะที่หุ้นของ NVIDIA เพิ่มขึ้น 200% 

 

รายงานผลประกอบการของ AMD ไตรมาสที่ 3 เผยให้เห็นรายได้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญสำหรับแผนกเกม ซึ่งอยู่ที่ 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 69% เมื่อเทียบเป็นรายปี 

 

AMD เปิดเผยเมื่อเดือนตุลาคมว่า บริษัทคาดการณ์ยอดขายชิป AI ในปีนี้จะอยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของยอดขายรวมที่ 25,700 ล้านดอลลาร์ AMD เชื่อว่าตลาดชิป AI ทั้งหมดจะมีมูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2028 แต่ปัจจุบันยอดขายรวมของบริษัทนั้นน้อยกว่า NVIDIA ซึ่ง FactSet บริษัทวิจัยข้อมูล คาดว่าจะมีรายได้ 125,900 ล้านดอลลาร์ในปีปฏิทิน 2024

 

อ้างอิง:

The post AMD เตรียมเลิกจ้างพนักงาน 1,000 คนทั่วโลก ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมชิปอันดุเดือด appeared first on THE STANDARD.

]]>