LGBTQIA+ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 22 Nov 2024 07:13:55 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กฎหมายสมรสเท่าเทียม เริ่มมีผลบังคับวันใดกันแน่? https://thestandard.co/opinion-equal-marriage-law/ Fri, 22 Nov 2024 07:13:55 +0000 https://thestandard.co/?p=1011576

​หลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งแ […]

The post กฎหมายสมรสเท่าเทียม เริ่มมีผลบังคับวันใดกันแน่? appeared first on THE STANDARD.

]]>

​หลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ก็ถือว่ากฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศไทย 

 

เนื่องจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่แสดงถึงความเสร็จสิ้นบริบูรณ์ของการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องขั้นตอนสุดท้ายนี้ไว้ในมาตรา 81 วรรคสอง

 

​อย่างไรก็ดี การประกาศตัวว่ามีกฎหมายเกิดขึ้นในประเทศกับการมีผลใช้บังคับได้ของกฎหมายนั้นเป็นประเด็นที่แยกออกจากกันได้ กล่าวคือแม้กฎหมายนั้นจะถูกประกาศออกมาแล้วแต่กฎหมายนั้นอาจยังไม่มีผลใช้บังคับก็ได้ ซึ่งหมายความว่า กฎหมายนั้นยังไม่เริ่มเปล่งอำนาจที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นได้ตราขึ้น อุปมาเหมือนทารกที่คลอดออกมาแล้วแต่ยังไม่ส่งเสียงร้อง

 

​เหตุผลที่กฎหมายปรากฏตัวในราชกิจจานุเบกษาแต่ยังไม่มีผลใช้บังคับ เพราะประสงค์ให้ชะลอผลที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายนั้นออกไปก่อน ที่เป็นเช่นนั้นมีเหตุผลสำคัญคือ เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในภายหน้า เช่น การวางแผนเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปรับตัว การประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้สิทธิที่จะเกิดขึ้นใหม่

 

​กฎหมายสมรสเท่าเทียมก็มีลักษณะดังที่ได้กล่าวมา เนื่องจากในมาตรา 2 บัญญัติว่า ‘พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป’ ซึ่งวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 24 กันยายน 2567

 

​คำถามที่ต้องการความชัดเจนคือ สรุปแล้วกฎหมายสมรสเท่าเทียมใช้บังคับได้ ณ วันใดเป็นวันแรก

 

เรื่องนี้มีความเห็นไม่ตรงกัน เพราะฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามีผล ณ วันที่ 22 มกราคม 2568 แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามีผล ณ วันที่ 23 มกราคม 2568 ต่างกันอยู่ 1 วัน

 

​สำหรับฝ่ายที่เห็นว่ามีผล ณ วันที่ 22 มกราคม 2567 สามารถเห็นได้ตามสื่อต่างๆ ที่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการมีผลในวันดังกล่าว ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ พบข่าวว่ามีภาคประชาชนที่เตรียมจัดแคมเปญรวมคู่รัก LGBTQIA+ ทั้งสิ้น 1,448 คู่ไปจดทะเบียนสมรสตั้งแต่วันแรกซึ่งหมายถึงวันที่ 22 

 

แต่ฝ่ายที่เห็นว่ามีผล ณ วันที่ 23 มกราคม 2568 ก็มี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทัศนะจากฝั่งกระทรวงมหาดไทยที่ออกมากล่าวถึงการเตรียมความพร้อมและกล่าวถึงวันเริ่มมีผลบังคับของกฎหมายว่าคือวันที่ 23 ซึ่งขยับออกไปจากฝ่ายแรก 1 วัน

 

​ข้อควรทราบคือ กระทรวงมหาดไทยคือหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทสำคัญต่อการวางระบบระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนครอบครัว และอย่างที่หลายคนรู้อยู่ว่า ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศเป็นสถานที่สำคัญของการจดทะเบียนสมรส ซึ่งสถานที่เหล่านั้นมีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแล

 

​แต่ข้อที่น่าจินตนาการคือ หากมีคู่สมรส LGBTQIA+ จำนวน 1,448 คู่หรือมากกว่านั้นเดินทางไปขอจดทะเบียนสมรสในวันที่ 22 แต่ถูกปฏิเสธ สถานการณ์จะเป็นเช่นไร

 

​คำถามรากฐานของเรื่องนี้คือ เหตุใดวันมีผลของกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงมีมุมมองที่แตกต่าง

 

​จากคำถามดังกล่าวมีข้อสังเกตว่า ก็เพราะวันเริ่มต้นนับระยะเวลาเพื่อหาวันมีผลใช้บังคับไม่ตรงกัน เนื่องจากฝ่ายที่สองนับคนละวันกับฝ่ายแรก โดยฝ่ายที่สองขยับวันเริ่มนับไปอีกหนึ่งวัน

 

​หากย้อนกลับไปดูตัวบทจะพบถ้อยบัญญัติว่า ‘ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา’ 

 

ฝ่ายแรกนับเริ่มนับวันที่ 24 กันยายน 2567 เพราะมองว่าวันนั้นคือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังเนื้อความในตัวบทที่ให้ ‘นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา’ ซึ่งก็คือนับตั้งแต่วันที่ 24 ดังกล่าว ท้ายสุดจึงทำให้วันที่มีผลใช้บังคับ (ซึ่งต้องผ่านพ้น 120 วันก่อน) คือวันที่ 22 มกราคม 2568

 

แต่ฝ่ายที่สองมีการแถลงจากฝั่งกระทรวงมหาดไทยว่า ถือการนับวันบังคับตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา โดยนับวันแรกคือวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ราชกิจจานุเบกษาประกาศ ซึ่งหมายความว่าไม่ได้นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั่นเอง ซึ่งตรงนี้มีข้อมูลมาสำทับด้วย กล่าวคือสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกหนังสือเวียนฉบับลงวันที่ 26 กันยายน 2567 เกี่ยวกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ มีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้โดยสรุปว่า การนับระยะเวลานั้นมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน โดยอ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 ที่ว่าด้วยการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายดังกล่าว พร้อมกับอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งประเด็นนี้เชื่อมโยงได้กับการชี้แจงจากฝั่งกระทรวงมหาดไทยที่ออกมากล่าวโดยมีนัยว่ายึดถือตามแนวนี้

 

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าการนับเวลาของฝ่ายที่หนึ่งจะไม่มีข้อมูลสำทับ เนื่องจากการที่เริ่มต้นนับวันที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันแรกของการนับเพื่อนำไปสู่การหาวันมีผลใช้บังคับนั้น มีแนวความเห็นจากฝั่งคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นข้อที่สร้างความหนักแน่นให้กับฝั่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในอดีตที่มีที่มาจากกรณีซึ่งมีประเด็นความเห็น 2 แนวที่เขย่งกัน 1 วันเกี่ยวกับวันที่มีผลใช้บังคับของกฎหมายให้พิจารณา เช่นในคราวที่มีความเห็นเกี่ยวกับวันเริ่มใช้บังคับ พ.ร.บ.ปปง. ซึ่งฝั่งคณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันว่า เมื่อกฎหมายกำหนดโดยชัดแจ้งว่าให้เริ่มนับกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ต้องนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น ไม่ใช่นับวันรุ่งขึ้น

 

​สำหรับตัวผู้เขียนเองมีความเห็นว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับ ณ วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นไปในทิศทางเดียวกับฝ่ายแรก ซึ่งมีแนวของฝั่งคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเครื่องสนับสนุน 

 

ทั้งนี้ เพราะผู้เขียนเห็นว่ากฎหมายบัญญัติชัดเจนในตัวเอง ว่านับแต่วันใดเป็นวันเริ่มต้นคำนวณ 120 วันที่จะนำไปสู่การหาวันแรกที่กฎหมายมีผล เมื่อตัวกฎหมายสมรสเท่าเทียมกำหนดไว้ในตัวเองว่านับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นจุดเริ่มต้นการคำนวณ ก็ต้องเป็นไปตามที่ตัวกฎหมายสมรสเท่าเทียมชี้ชัดไว้เช่นนั้นแล้ว

 

ดังนั้นจึงนับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นวันที่ 1 และครบกำหนด 120 วันในวันที่ 21 มกราคม 2568 เพราะฉะนั้นกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นวัน ‘พ้น’ กำหนด 120 วันเป็นต้นไปตามที่กฎหมายระบุ

 

​ผู้เขียนเห็นว่าความเห็นที่แตกต่างสองแนวในเรื่องวันมีผลใช้บังคับของกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีประเด็นต่อไปในวันข้างหน้า หากยังไม่มีข้อยุติหรือยังมีความเห็นที่ต่างกันระหว่างผู้ประสงค์จดทะเบียนสมรสกับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการเข้าไปขอจดทะเบียนสมรสในวันที่ 22 มกราคม 2568 แล้วถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่

 

​อย่างไรก็ดี สถานการณ์ดังกล่าวยังมีช่องทางในการยุติปัญหาข้อพิพาท นั่นคือการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพราะในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสให้แก่คู่รัก LGBTQIA+ ในวันที่ 22 มกราคม 2568 โดยเจ้าหน้าที่ยืนยันว่ายังไม่ถึงวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับให้จดทะเบียนสมรสได้ ก็ถือว่ามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ มีสภาพเป็นคดีปกครอง ไม่ใช่คดีแพ่งที่ประสงค์ให้บังคับตามสิทธิในทางครอบครัว คู่รัก LGBTQIA+ ที่ถูกปฏิเสธมีสิทธิยื่นฟ้องศาลปกครองได้ เพราะศาลปกครองมีอำนาจในกรณีดังกล่าว ไม่ใช่ศาลยุติธรรม (จากการที่ผู้เขียนลองค้นคว้า พบว่ามีคดีที่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสแล้วถูกฟ้องเป็นคดีในศาลปกครองให้เทียบเคียงคือ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.233/2557) และถ้าการที่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธที่จะจดทะเบียนสมรสให้กับคู่รัก LGBTQIA+ มีคดีเกิดขึ้น ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ศาลปกครองจะตัดสินชี้ขาดว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลในวันที่ 22 มกราคม 2568 หรือวันที่ 23 มกราคม 2568 กันแน่

The post กฎหมายสมรสเท่าเทียม เริ่มมีผลบังคับวันใดกันแน่? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘พะเยา’ แชมป์เสิร์ช Google! คนไทยตื่นตัว ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังประกาศใช้จริง ค้นหา ‘จดทะเบียนสมรส’ ก็มาแรง https://thestandard.co/thailand-equal-marriage-awareness/ Thu, 26 Sep 2024 05:05:09 +0000 https://thestandard.co/?p=988210

หลังจากราชกิจจานุเบกษามีประกาศเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม […]

The post ‘พะเยา’ แชมป์เสิร์ช Google! คนไทยตื่นตัว ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังประกาศใช้จริง ค้นหา ‘จดทะเบียนสมรส’ ก็มาแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากราชกิจจานุเบกษามีประกาศเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียมเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้ 120 วัน หรือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป 

 

ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการรับรองการสมรสระหว่างบุคคลโดยไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิง โดยให้บุคคลสองคนสามารถแต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการแก้ไขคำว่าชายและหญิงเป็น ‘บุคคล’ และเรียกคู่สามี-ภรรยาเป็น ‘คู่สมรส’

 

Google ประเทศไทย เผยว่า หากย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงวันนี้ การค้นหาคำว่า ‘สมรสเท่าเทียม’ ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ที่สภาผู้แทนราษฎรไทยมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และวันที่ 18 มิถุนายน ที่วุฒิสภามีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่การค้นหาจะสูงขึ้น

 

หลังจากมีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา เวลา 21.00 น. บน Google Trends แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการค้นหาคำว่า ‘สมรสเท่าเทียม’ ตั้งแต่เวลา 19.30-23.00 น. และอีกครั้งในช่วงเวลา 06.30 น. ของวันที่ 25 กันยายน แสดงว่าผู้คนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง

 

โดยจังหวัดที่ค้นหาคำว่า ‘สมรสเท่าเทียม’ มากที่สุด 5 อันดับแรกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ได้แก่ จังหวัดพะเยา, กาญจนบุรี, นนทบุรี, จันทบุรี และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ 

 

เมื่อเปรียบเทียบการค้นหาบน Google Trends ย้อนหลังไป 1 ปีในการยื่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วันที่ 9 สิงหาคม 2566 จนถึงวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 กันยายน 2567 จะเห็นความสนใจของคนไทยในการค้นหาคำว่าสมรสเท่าเทียม ดังนี้

 

  • วันที่ 9 สิงหาคม 2566: เปิดประชุมรัฐสภาใหม่ พร้อมยื่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

 

  • วันที่ 21 ธันวาคม 2566: ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระที่ 1 เข้าสู่วาระที่ 2

 

  • วันที่ 27 มีนาคม 2567: ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระที่ 3

 

  • วันที่ 18 มิถุนายน 2567: วุฒิสภามีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

 

  • วันที่ 24 กันยายน 2567: กฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

นอกจากคำค้นหาจดทะเบียนสมรส ก็พบว่าสมรสเท่าเทียมล่าสุดอยู่ในการค้นหาที่เกี่ยวข้องที่มาแรงเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยจดทะเบียนสมรส 2567, ฤกษ์ดีจดทะเบียนสมรส 2567 และวันจดทะเบียนสมรส 2567

The post ‘พะเยา’ แชมป์เสิร์ช Google! คนไทยตื่นตัว ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังประกาศใช้จริง ค้นหา ‘จดทะเบียนสมรส’ ก็มาแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
เมื่อ ‘สมรสเท่าเทียม’ กำลังจะมา ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ ที่จะ ‘เข้าใจ’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’? https://thestandard.co/key-messages-marriage-equality/ Fri, 20 Sep 2024 12:39:08 +0000 https://thestandard.co/?p=986111

หลายสำนักข่าวรายงานตรงกันว่า เมื่อวานนี้ (19 กันยายน) ส […]

The post เมื่อ ‘สมรสเท่าเทียม’ กำลังจะมา ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ ที่จะ ‘เข้าใจ’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’? appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลายสำนักข่าวรายงานตรงกันว่า เมื่อวานนี้ (19 กันยายน) สถานะของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … หรือกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ แสดงผลว่า ‘พ้น 90 วัน พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง’ ในเว็บไซต์ระบบสารสนเทศของรัฐสภา เป็น ‘ความผิดพลาดของเว็บไซต์ที่อ่านค่าผิด’

 

ก่อนที่ต่อมาในวันเดียวกัน เว็บไซต์ได้เปลี่ยนแปลงสถานะของร่าง พ.ร.บ. เป็น ‘ส่งร่าง พ.ร.บ. ให้คณะรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย’

 

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สังคมหันกลับมาสนใจความคืบหน้าของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมอีกครั้ง ที่แม้ว่าหลังวุฒิสภาให้ความเห็นชอบไปเมื่อ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ประชาชนต่างร่วมยินดีกับความก้าวหน้าในมิติทางกฎหมายของไทย ทว่าในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะยังไม่มีผลบังคับใช้ อย่างเร็วก็จนกระทั่งวันที่ 30 มกราคม 2568 ที่กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว

 

ไม่ใช่เพียงเรื่องของระยะเวลาเท่านั้น คำถามสำคัญอีกประการคือ ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทยมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ ที่จะตามมากับกฎหมายฉบับนี้แล้วหรือไม่

 

THE STANDARD ชวนหาคำตอบในเวทีเสวนา ‘เตรียมประเทศไทยสู่กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ของ ‘บางกอกไพรด์’ ที่ร่วมสนทนากับตัวแทนภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ตลอดจนตัวแทนจากวงการบันเทิง เพื่อทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน

 


 

 

เวทีเสวนา ‘เตรียมประเทศไทยสู่กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 


 

ไม่ได้จบแค่กฎหมายฉบับเดียว

 

วาดดาว-อรรณว์ ชุมาพร ประธานและผู้ก่อตั้ง ‘นฤมิตรไพรด์’ และหนึ่งในกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สัดส่วนภาคประชาชน เป็นผู้นำการเสวนา พร้อมอธิบายถึงความคืบหน้าและขั้นตอนก่อนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ โดยคาดว่าหากพิจารณาตามกรอบเวลาที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่างกฎหมายจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2567 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มกราคม 2568

 

จากนั้น นัยนา สุภาพึ่ง ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ (for-sogi) และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สัดส่วนภาคประชาชน ชวนให้ประชาชนมองถึงผลที่ตามมาหลังจากจดทะเบียนแล้ว คือสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสตามกฎหมาย ที่กำหนดว่าคู่สมรสต้องอุปการะซึ่งกันและกัน

 

รวมถึงทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสครึ่งหนึ่งจะต้องเป็นของคู่สมรสด้วย หรือที่เรียกว่า ‘สินสมรส’ ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจจดทะเบียนสมรสกัน ควรรับทราบข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย

 

นัยนายังกล่าวว่า หนึ่งในคำถามที่พบมากเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ คือ หากคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ จะสามารถจดทะเบียนกันได้ตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องสัญชาติ แต่ปัญหาอยู่ที่ ‘เงื่อนไขในการได้มาซึ่งสัญชาติ’ ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ ซึ่งยังมีร่องรอยของการเลือกปฏิบัติทางเพศอยู่ เช่น การกำหนดให้ผู้หญิงต่างสัญชาติต้องสามารถพูดภาษาไทยได้ แต่หากเป็นผู้ชายต่างสัญชาติกลับไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว

 

นอกจากนี้ นัยนาระบุว่า ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับมาก ที่ควรต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงภายหลังกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ ทั้งเรื่องการรับบุตรบุญธรรม คำนำหน้า คำที่เป็นกลางเพศซึ่งยังไม่มีในกฎหมาย และอื่นๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญได้จัดทำข้อสังเกตส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม

 


 

วาดดาว

 

วาดดาว-อรรณว์ ชุมาพร ประธานและผู้ก่อตั้งนฤมิตรไพรด์ และอดีตกรรมาธิการสมรสเท่าเทียมฯ

 


 

ภาครัฐยืนยันความพร้อมจดทะเบียน

 

ด้าน ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตัวแทนภาครัฐ เผยว่า กรุงเทพมหานครร่วมกับภาคีในมุมของงานท้องถิ่น ก็คือการจดทะเบียนสมรส กรุงเทพมหานครมีความพร้อมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมามีการซักซ้อมแล้ว คือให้จดแจ้งสมรสเท่าเทียม แต่ตอนนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้เพราะกฎหมายยังไม่ผ่าน จึงให้จดแจ้งไว้ก่อน มีทั้งหมด 164 คู่ หากอนาคตกฎหมายผ่านทุกอย่างก็พร้อม

 

ทั้งนี้ คาดว่าประมาณเดือนตุลาคม 2567 ทั้ง 164 คู่จะได้มาจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม เพื่อที่จะได้สิทธิทุกอย่างตามกฎหมาย ดังนั้น ในมิติที่เกี่ยวกับท้องถิ่น กรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากที่จะสนับสนุนเรื่องนี้

 

“ยืนยันว่าทุกสำนักงานเขตในกรุงเทพฯ พร้อมจดทะเบียนทันที และพร้อมจดในวันพรุ่งนี้ด้วยซ้ำ หากกฎหมายผ่านบังคับใช้” ศานนท์กล่าวในช่วงหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตาม ศานนท์ยังกล่าวว่า กทม. ให้ความสำคัญกับการอบรมเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ซึ่งมองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการแก้ไขกฎหมาย โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกฎการไว้ทรงผมและการแต่งกายของนักเรียน ที่ทำให้เกิดกรณีนักเรียนมีปัญหาขัดแย้งกับครอบครัวหรือสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจและการปลูกฝังทัศนคติ

 


 

ศานนท์

 

ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ร่วมเสวนาในฐานะตัวแทนภาครัฐ

 


 

ภาคธุรกิจและวงการบันเทิง เน้นเพิ่มพื้นที่ของความเข้าใจ

 

สรัญญา เจริญศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนภาคเอกชน เชื่อว่าภาคเอกชนมีความพร้อมมาก หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน อัตราการแต่งงานของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในไทย จะช่วยส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ตลอดจนธุรกิจด้านสาธารณสุขทั่วทั้งประเทศไทย

 

ขณะที่ศูนย์การค้า MBK Center เอง ได้วางบทบาทเป็นศูนย์การค้าซึ่งกลุ่ม LGBTQIA+ จะมีความสบายใจในการมาใช้บริการ ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่ช่วงเดือนมิถุนายน หรือ Pride Month เท่านั้น แต่จะมีกิจกรรมตลอดทั้งปีเพื่อสนับสนุนการแสดงออกของผู้ใช้บริการ และให้การสนับสนุนทางด้านธุรกิจและด้านจิตใจ

 

นอกจากนี้ ต๋อง-ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา นักแสดงและศิลปิน ให้ความเห็นว่า สำหรับวงการบันเทิงเองมีความพร้อมมานานแล้ว และมองว่าวงการบันเทิงควรเป็นตัวกลางสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความหลากหลายทางเพศ และเผยแผ่ความเข้าใจนั้นไปสู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านของผู้ผลิตเอง เช่น นักเขียนนิยายแนว LGBTQIA+ ที่มียอดขายดีมาก

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีผลงานบางส่วนที่สร้างขึ้นมา โดยผู้สร้างมีเจตนาที่ดี แต่บางครั้งก็มีภาพจำที่ยังไม่ถูกต้อง และยังแสดงออกถึงความไม่เท่าเทียมอยู่บ้าง เช่น นิยายที่ถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเพศเดียวกัน แต่ก็ต้องมีฝ่ายที่มีความเป็นชาย (Masculinity) มากกว่าอีกฝ่าย จึงควรมีการพูดคุยกันในกลุ่มผู้ผลิตเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และสอดแทรกวาระสำคัญๆ เข้าไปในผลงาน

 


 

 

ต๋อง-ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา นักแสดง และผู้ร่วมเสวนาในฐานะตัวแทนจากวงการบันเทิง

 


 

The post เมื่อ ‘สมรสเท่าเทียม’ กำลังจะมา ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ ที่จะ ‘เข้าใจ’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ความคืบหน้า ‘สมรสเท่าเทียม’ จะได้จดทะเบียนเมื่อไร? https://thestandard.co/thailand-marriage-equality-progress/ Fri, 20 Sep 2024 11:01:47 +0000 https://thestandard.co/?p=986047

หลังจากวานนี้ (19 กันยายน) เกิดความกังวลจากสื่อสังคมออน […]

The post ความคืบหน้า ‘สมรสเท่าเทียม’ จะได้จดทะเบียนเมื่อไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากวานนี้ (19 กันยายน) เกิดความกังวลจากสื่อสังคมออนไลน์เรื่องสถานภาพของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หรือร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เนื่องจากปรากฏข้อมูลในเว็บไซต์ว่า พ้นช่วงเวลา 90 วันในการลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมายแล้ว

 

แม้ต่อมาเว็บไซต์รายงานสารบบกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่ประชาชนอาจยังสงสัยว่า ท้ายที่สุดแล้วกฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อไร หรือวันไหนที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้จริงๆ

 

THE STANDARD สรุปความคืบหน้าของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม นับตั้งแต่รัฐสภาลงมติเห็นชอบ จนถึงวันและเวลาเบื้องต้นที่คาดการณ์ว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้

 

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

The post ความคืบหน้า ‘สมรสเท่าเทียม’ จะได้จดทะเบียนเมื่อไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
50 เขต กทม. ประกาศความพร้อมสนับสนุนจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ขณะนี้มี 164 คู่ จดแจ้งคู่ชีวิตไว้แล้ว https://thestandard.co/50-districts-marriage-equality-support/ Fri, 20 Sep 2024 08:03:28 +0000 https://thestandard.co/?p=985923

วันนี้ (20 กันยายน) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร […]

The post 50 เขต กทม. ประกาศความพร้อมสนับสนุนจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ขณะนี้มี 164 คู่ จดแจ้งคู่ชีวิตไว้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (20 กันยายน) ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าว ‘เตรียมพร้อมแต่งงาน : นับถอยหลังวันจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม’ โดยกล่าวว่า วันนี้เป็นอีกขั้นหนึ่งของการสมรสเท่าเทียมซึ่งผ่านวาระ 2-3 แล้ว 

 

กรุงเทพมหานครมาร่วมกับภาคีในมุมของงานท้องถิ่น ก็คือการจดทะเบียนสมรส โดยปกติการจดทะเบียนสมรสจะจดที่สำนักงานเขตตาม พ.ร.บ. เดิม ซึ่งจะเป็นผู้ชายกับผู้หญิง แต่ครั้งนี้ถ้ากฎหมายลูกทั้งหมดผ่าน กรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานสำคัญในการรับจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ฉะนั้นงานครั้งนี้เหมือนประกาศความพร้อมที่ 50 สำนักงานเขตพร้อมที่จะร่วมกับภาคีเครือข่ายถ้ากฎหมายผ่าน

 

ศานนท์กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพมหานครมีความพร้อมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในวันวาเลนไทน์ที่มีการซักซ้อมแล้ว คือให้จดแจ้งสมรสเท่าเทียม แต่ตอนนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้เพราะกฎหมายยังไม่ผ่าน จึงให้จดแจ้งไว้ก่อน มีทั้งหมด 164 คู่ หากอนาคตกฎหมายผ่าน ทุกอย่างพร้อม คาดว่าประมาณเดือนตุลาคม 2567 ทั้ง 164 คู่จะได้มาจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม เพื่อที่จะได้สิทธิทุกอย่างตามกฎหมาย ดังนั้นในมิติที่เกี่ยวกับท้องถิ่น กรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากที่จะสนับสนุนเรื่องนี้

 

ทั้งนี้ นฤมิตไพรด์และภาคีเครือข่ายจัดงาน ‘เตรียมพร้อมแต่งงาน : นับถอยหลังวันจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม’ เพื่อส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม และเปิดช่องทางลงทะเบียนสำหรับคู่รัก LGBTQIA+ โดยคู่รักทุกเพศที่ต้องการจดทะเบียนสมรส สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวจดทะเบียนสมรสในวันที่ประกาศใช้กฎหมาย พร้อมเดินหน้าจัดงานแต่งงานคู่รัก LGBTQIA+ และจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกว่า 1,000 คู่ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

The post 50 เขต กทม. ประกาศความพร้อมสนับสนุนจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ขณะนี้มี 164 คู่ จดแจ้งคู่ชีวิตไว้แล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
บางกอกไพรด์รับรางวัล Paris Prize for LGBT Rights ร่วมผลักดันสมรสเท่าเทียมในไทย https://thestandard.co/bangkok-pride-paris-prize-for-lgbt-rights/ Tue, 06 Aug 2024 06:18:55 +0000 https://thestandard.co/?p=967798

วานนี้ (5 สิงหาคม) มีการจัดพิธีมอบรางวัลเพื่อสิทธิของกล […]

The post บางกอกไพรด์รับรางวัล Paris Prize for LGBT Rights ร่วมผลักดันสมรสเท่าเทียมในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (5 สิงหาคม) มีการจัดพิธีมอบรางวัลเพื่อสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศปารีส หรือ Paris Prize for LGBT Rights (Prix international de Paris pour les droits des personnes LGBTQIA+) สาขาต่างประเทศ ประจำปี 2024 โดยกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีมติมอบรางวัลดังกล่าวให้แก่องค์กรบางกอกไพรด์ (Bangkok Pride) ซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรม Bangkok Pride Festival ในประเทศไทย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

 

ในการนี้ ฌ็อง-ลุก รอเมโร-มีแชล (Jean-Luc Romero-Michel) รองนายกเทศมนตรีกรุงปารีส เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่ผู้ดูแลองค์กรบางกอกไพรด์ โดยมี เรมี ล็องแบร์ (Rémi Lambert) อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

ขณะที่ ดนุพร ปุณณกันต์ สส. บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ร่วมงานและแสดงความยินดี รวมถึง ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และตัวแทนจากองค์กรภาครัฐและเอกชน

 

สำหรับรางวัล Paris Prize for LGBT Rights จัดตั้งขึ้นในปี 2561 โดยความร่วมมือของสมาคมระหว่างประเทศของนายกเทศมนตรีของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Association Internationale des Maires Francophones: AIMF) เพื่อมอบแก่บุคคลและองค์กรที่อุทิศตนเพื่อผลักดันสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งในประเทศฝรั่งเศสและในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งในปีนี้ บางกอกไพรด์ได้ร่วมมือกับรัฐบาล องค์กรเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดขบวน Bangkok Pride 2024 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่สภาผู้แทนราษฎรอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สส. ทุกพรรค ภาคประชาชน และรัฐบาล เพื่อผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมไทย จนในท้ายที่สุดสมาชิกวุฒิสภามีมติเสียงส่วนใหญ่ผ่านกฎหมายฉบับนี้ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

The post บางกอกไพรด์รับรางวัล Paris Prize for LGBT Rights ร่วมผลักดันสมรสเท่าเทียมในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดคุกคลองเปรม ส่องมาตรการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ https://thestandard.co/klong-prem-lgbtqia-prisoners/ Thu, 01 Aug 2024 07:08:55 +0000 https://thestandard.co/?p=966028

วันนี้ (1 สิงหาคม) สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณ […]

The post เปิดคุกคลองเปรม ส่องมาตรการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (1 สิงหาคม) สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ นำสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้าศึกษาดูงานการควบคุมดูแลตามมาตรการการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ตามโครงการ ‘สื่อมวลชนสัญจร Press Tour เพื่อศึกษาดูงานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ’ ภายในแดน 1 เรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งมีผู้ต้องขังจำนวนทั้งสิ้น 1,085 คน โดยเป็นกลุ่มผู้ต้องขังข้ามเพศจำนวนทั้งสิ้น 64 คน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

 

  • ประเภทที่ 1 คือ ผู้ต้องขังข้ามเพศที่แปลงเพศโดยสมบูรณ์แล้ว จำนวน 14 คน

  • ประเภทที่ 2 คือ ผู้ต้องขังข้ามเพศที่ยังไม่แปลงเพศ แต่ลักษณะทางกายภาพไม่เป็นไปตามเพศกำเนิด เช่น เสริมหน้าอก จำนวน 9 คน
  • ประเภทที่ 3 คือ ผู้ต้องขังข้ามเพศที่ยังไม่แปลงเพศและไม่ได้มีลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่พิจารณาแล้วเห็นควรให้แยกขัง เนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จำนวน 41 คน 

 

ทั้งนี้ เรือนจำได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ (SOPs) โดยยึดถือหลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศโดยไม่เลือกปฏิบัติ และจะต้องปฏิบัติต่อผู้ต้องขังเหล่านี้เช่นเดียวกันกับผู้ต้องขังทั่วไป รวมถึงสิทธิการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ตลอดจนการพัฒนาพฤตินิสัยที่ผู้ต้องขังจะได้รับทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

 

The post เปิดคุกคลองเปรม ส่องมาตรการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตม. สนามบินติดสติกเกอร์หัวใจสีรุ้ง สร้างความเชื่อมั่น ลดความกังวลนักเดินทาง LGBTQIA+ บินเข้า-ออกไทย https://thestandard.co/airport-immigration-rainbow-heart-stickers/ Thu, 01 Aug 2024 05:17:32 +0000 https://thestandard.co/?p=965921

วันนี้ (1 สิงหาคม) พล.ต.ต. เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตร […]

The post ตม. สนามบินติดสติกเกอร์หัวใจสีรุ้ง สร้างความเชื่อมั่น ลดความกังวลนักเดินทาง LGBTQIA+ บินเข้า-ออกไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (1 สิงหาคม) พล.ต.ต. เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 (ผบก.ตม.2) กล่าวถึงกรณีที่ ตม. สนามบินสุวรรณภูมิติดสติกเกอร์มีสัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจสีรุ้ง มีอักษร LGBTQIA2S+ และข้อความ Immigration 2 บริเวณช่องตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศว่า เนื่องจากโลกยุคปัจจุบันเปิดกว้างด้านเพศทางเลือกต่างๆ และรัฐบาลให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางเพศ โดยเฉพาะชาว LGBTQIA+ ซึ่งประเทศไทยประกาศจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Pride 2030 ขึ้น 

 

ผบก.ตม.2 กล่าวว่า ในฐานะที่ด่าน ตม. สนามบินทั้ง 5 แห่งของ บก.ตม.2 ได้แก่ สุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, ภูเก็ต, เชียงใหม่ และหาดใหญ่ เป็นประตูหลักของประเทศ และมีคนเดินทางเข้า-ออกจากทั่วโลกกว่าวันละ 1.2 แสนคน มีคนไทยและคนต่างชาติที่มีความหลากหลายทางเพศเดินทางผ่านแดนจำนวนมาก พบว่าที่ผ่านมา กลุ่ม LGBTQIA+ หลายท่านวิตกกังวลต่อการตรวจผ่านแดน เนื่องจากอาจมีเพศสรีระ เช่น การแต่งตัว ที่ไม่ตรงกับเพศสภาพในเอกสารการเดินทาง อาจด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายของประเทศเจ้าของสัญชาติในการเปลี่ยนสถานะทางเพศ หรือบางกรณีอาจทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงเค้าโครงใบหน้าผิดไปจากเดิม ทำให้การตรวจผ่านแดนที่ช่องตรวจ ตม. ติดขัดไม่ราบรื่น และอาจเป็นข้อสงสัยว่า เจ้าหน้าที่กีดกั้นเจาะจงเฉพาะกลุ่ม

 

เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนเดินทางที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งไทยและต่างชาติในการเข้า-ออกประเทศไทย โดยจะขยายการปฏิบัติไปยังช่องทางตรวจคนเข้าเมืองสนามบินหลักให้ครบทั้ง 5 แห่งในสังกัด บก.ตม.2 และเริ่มคิกออฟตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อบอกให้สังคมโลกได้รับทราบว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนที่เปิดกว้างสำหรับนักเดินทางจากทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศแต่อย่างใด และนับเป็นการจัดกิจกรรมที่ด่าน ตม. ของประเทศไทย เป็นแห่งแรกของโลกที่สร้างความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวให้ปรากฏต่อสังคมชาวโลก 

 

แนะนักเดินทางชาว LGBTQIA+ เข้าไทยครั้งแรก 

 

  1. กรณีผู้เดินทางซึ่งเดินทางเข้าไทยครั้งแรก และเพศสภาพซึ่งระบุในหนังสือเดินทางมีความแตกต่างจากเพศสรีระจริงที่ปรากฏตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีทำศัลยกรรมหรือกรณีเพศสรีระไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง เช่น แต่งกายเป็นหญิง แต่หนังสือเดินทางระบุเป็นชาย ฯลฯ ผู้เดินทางควรมีเอกสารยืนยันตัวตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (Citizen Card) หรือใบอนุญาตขับขี่ (Driving License) หรือเอกสารเดินทางซึ่งเคยใช้ก่อนหน้า หรือเอกสารหรือประวัติทางการแพทย์ที่แสดงถึงการรับการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศ ฯลฯ เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ตม. หากมีข้อซักถาม เพื่อยืนยันตัวตนด้วย

 

  1. กรณีผู้เดินทางที่มีใบหน้าหรือสรีระทางกายขณะปัจจุบันแตกต่างกันกับภาพข้อมูลบุคคลในหนังสือเดินทาง แต่เคยมีการบันทึกข้อมูลใบหน้าและลายนิ้วมือตามข้อแรกดังกล่าวมาแล้ว ทางระบบ ตม. จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบ Biometric เพื่อตรวจเปรียบเทียบใบหน้าผู้เดินทางปัจจุบันกับข้อมูลชิปภายในหนังสือเดินทางเพื่อยืนยันตัวตน โดยไม่ต้องเรียกซักถามอีก

 

  1. ผู้เดินทางคนไทย และคนต่างชาติที่เป็นชาว LGBTQIA+ ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย โดยเฉพาะคนต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นวีซ่าหรือได้รับวีซ่าเข้าประเทศไทย จะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมเช่นเดียวกับนักเดินทางอื่นๆ โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกในการตรวจหนังสือเดินทางตามนโยบายรัฐบาล

 

  1. กรณีที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม World Pride ในปี 2030 ตม. สนามบินพร้อมให้ความร่วมมือ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) เพื่อจัดช่องทางพิเศษ และอำนวยความสะดวกด้านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองตามที่ประสานงานอย่างเต็มที่ 

 

ทั้งนี้ เครื่องหมายสติกเกอร์หัวใจสีรุ้งของ ตม. ที่จัดทำขึ้น มาจากแนวคิดธงสีรุ้งที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ภายใต้การออกแบบของ กิลเบิร์ต เบเกอร์ ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978

The post ตม. สนามบินติดสติกเกอร์หัวใจสีรุ้ง สร้างความเชื่อมั่น ลดความกังวลนักเดินทาง LGBTQIA+ บินเข้า-ออกไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดใจ จักรภพ-สุไพรพล คู่รัก LGBTQIA+ ในแวดวงการเมือง ในโอกาสที่ไทยผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม https://thestandard.co/ek-jakrapob-and-pop-supraiphon/ Sat, 29 Jun 2024 02:05:48 +0000 https://thestandard.co/?p=951413

เอก-จักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบา […]

The post เปิดใจ จักรภพ-สุไพรพล คู่รัก LGBTQIA+ ในแวดวงการเมือง ในโอกาสที่ไทยผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>

เอก-จักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พร้อมด้วย ป๊อป-สุไพรพล ช่วยชู คู่รัก LGBTQIA+ ในแวดวงการเมือง ร่วมพูดคุยกับ THE STANDARD หลังรัฐสภาไทยผ่านร่างกฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ เป็นชาติแรกในอาเซียน และในโอกาสที่ทั้งคู่ผ่านพ้นวิกฤตการเมืองที่ทำให้จักรภพต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ และแยกพวกเขาให้ห่างกันนาน 15 ปี 

 

มาทำความรู้จัก ‘คู่รักนักการเมือง’ คู่นี้ในแง่มุมต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน

 

 

ทั้งสองคนรู้จักกันได้อย่างไร เล่าให้เราฟังหน่อย

 

ป๊อป สุไพรพล: เจอกันในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ไปงานเปิดตัวหนังสือคุณจักรภพ เลยพบกันเป็นครั้งแรก

 

เอก จักรภพ: เราอยู่บนเวที ลงมาเซ็นหนังสือ คนมากหน้าหลายตา จำได้ว่าเจอในงานนั้น แต่จำรายละเอียดมากกว่านั้นไม่ได้ ตอนหลังมานั่งคุยกัน ลำดับความกัน ก็จำได้

 

จุดไหนที่ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจยกระดับความสัมพันธ์สู่สถานะ ‘คนรัก’ 

 

ป๊อป สุไพรพล: เป็นช่วงคาบเกี่ยวการเมือง ซึ่งตอนนั้นมีการจัดชุมนุมเรียกร้องให้กับประชาชน

 

เอก จักรภพ: มันเริ่มต้นแบบคนทำงาน ต่อสู้ด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ป๊อปเขาก็อยู่ข้างตัวตลอด มีอะไรก็บอกเขา เขาดูแลหมด เราเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น จากความใกล้ชิดทางกายก็ขยับมาใกล้ชิดทางจิตใจ สุดท้ายความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นโดยที่เราก็ไม่รู้ตัว ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่เราทั้งคู่ต่างแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน 

 

 

ขณะที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองนานถึง 15 ปี รับมือกับความสัมพันธ์ที่เป็น ‘รักทางไกล’ อย่างไร 

 

เอก จักรภพ: เราไม่รู้ว่าจะนานถึง 15 ปีตอนที่โบกมือลากัน ผมลงจากรถเขาแล้วขึ้นรถอีกคันหนึ่ง เขาขับรถอีกคันและร้องไห้ตามหลังมา เราไม่รู้หรอกว่าจะได้ห่างกันนานขนาดนั้น เราก็อยากจะอยู่ด้วยกันให้มากที่สุด ระหว่างนั้นผมบอกเขาตลอดเวลาว่า ถ้าคอยไม่ไหว ผมเข้าใจนะ ผมไม่ชอบที่จะไม่แฟร์กับใคร อยากจะแฟร์กับคนอื่นให้มากที่สุด บางทีเราเผลอไม่แฟร์ก็มี แต่ว่าถ้ารู้ตัว เราต้องแฟร์ โดยเฉพาะนี่คือคนที่อยู่ข้างตัว

 

ป๊อป สุไพรพล: หลังจากที่ลี้ภัยไป 15 ปี ในระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทยก็เดินทางไปเยี่ยมบ้าง เราทั้งสองคนต้องอดทนอย่างมาก การที่จะไปเจอกันก็ต้องนัดหมายกัน แล้ววางแผนการเดินทาง ถ้าเดินทางโดยเครื่องบินจะมีประวัติการเดินทาง แต่ช่วงที่อยู่ใกล้ประเทศไทยก็ต้องเดินทางโดยรถ 

 

เอก จักรภพ: แต่พอไปอยู่ไกลก็ต้องใช้เครื่องบิน ประเทศที่อยู่ไกลก็ต้องเดินทางหลายต่อ บางครั้งขึ้นรถก็ต้องเปลี่ยนรถ คอยดูว่ามีคนตามไหม เพราะมันอันตรายต่อเราทั้งคู่

 

 

อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในความสัมพันธ์ตลอด 23 ปีที่ผ่านมาคืออะไร

 

ป๊อป สุไพรพล: น่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง เพราะสิ่งนี้กระทบทุกอย่าง ทั้งเรื่อง LGBTQIA+ การช่วยเหลือประชาชนให้เท่าเทียมกัน แม้แต่เรื่องความยากจนและชนชั้นทางสังคม

 

เอก จักรภพ: การเมืองเป็นอุปสรรคใหญ่สุด โดยเฉพาะในมิติของการต่อสู้ทางการเมือง ตอนนั้นก็เป็นอุปสรรคทางความสัมพันธ์ เพราะว่าเราต้องระวังกันและกัน ป๊อปก็อยู่ในวัยที่เขาน่าจะอยากมีรักที่สวยงามและเป็นสีชมพู สถานการณ์ขณะนั้นไม่อนุญาตให้เป็นสีชมพู เขาก็ยอมรับความเป็นสีเทาได้อย่างดี ซึ่งเป็นเวลานานมากๆ ผมถึงได้ตัดสินใจว่า เราเปิดตัวต่อสังคมกันเถอะ เพราะนอกจากจะเป็นการให้แรงบันดาลใจกับคนอื่น ผมก็อยากจะให้เกียรติเขา ที่เขารอคอยมานาน แล้วก็ก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้มา ทั้งที่เขามีสิทธิ์จะเรียกร้องได้ในฐานะความเป็นคนคนหนึ่ง แต่เขาก็ยอมสละสิทธิ์นั้นเพื่อจะได้อยู่ด้วยกัน 

 

 

หลังจากเปิดเผยเรื่องความสัมพันธ์ ฟีดแบ็กจากคนรอบตัวและสื่อโซเชียลเป็นอย่างไร

 

ป๊อป สุไพรพล: ตั้งแต่เปิดตัวมา หลายคนก็ยอมรับ บางคนก็ตกใจหรือเงียบไปเลย บางศาสนาถึงขั้นต่อว่าก็มี แต่คนที่ยอมรับได้เขาก็รู้สึกว่าเรื่องราวของเราเป็นกำลังใจให้เขา หลายๆ คนที่ยังไม่กล้าที่จะบอกกับสังคมให้รับรู้ก็น่าจะกล้าหาญขึ้น อยากจะเปิดเผยเรื่องราวของตนเองมากขึ้น 

 

เอก จักรภพ: ผมภูมิใจกับสังคมไทยมากขึ้นหลังจากที่ผมเปิดตัว เพราะตอนที่เปิดตัวเราก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นอย่างไร ผมมีอาชีพสาธารณะ ขึ้นอยู่กับความเห็นของคนเยอะ เรายิ่งต้องระวังมาก เราต้องแคร์มาก แต่สิ่งที่เราแคร์มากกว่าคือ ‘ความซื่อสัตย์’ สังคมไทยเปลี่ยนไปเยอะ จากการไม่ยอมรับเลย ก็มีทั้งคนที่ยอมรับมาก ออกหน้าอยากมีส่วนร่วมและอยากช่วยเหลือ รวมถึงคนที่สนับสนุนแต่ก็ยังไม่ค่อยอยากจะออกหน้ามาก สนับสนุนแบบเงียบๆ ผ่านโพสต์ ผ่านข้อความต่างๆ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ค้าน ไม่เห็นด้วย แต่พวกเขาก็ดูเหมือนจะค้านด้วยจิตใจและมุมมองแบบเก่าๆ น้อยลง ซึ่งเขาก็ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เขาเกิด ต้องให้เวลาเขา 

 

บางคนเขาไม่เห็นด้วยกับจุดยืนทางการเมืองของเราก็เลยพาลมาโจมตีเราเรื่องนี้

ผมถือว่า LGBTQIA+ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผมเท่าๆ กับการเมือง เพราะว่ามันเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้สังคมได้เรียนรู้คำว่า ‘เท่าเทียมกัน’

ซึ่งเราเขียนในรัฐธรรมนูญมาทุกฉบับ แต่มันก็ไม่เคยเท่ากันเลย มีชนชั้นที่มองไม่เห็น มีเพดานแก้วที่คนโผล่ขึ้นไปไม่ได้เยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ได้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ลดลงเรื่อยๆ ผมมองว่าสังคมไทยเราสว่างขึ้นเรื่อยๆ แต่แน่นอนมันยังมีปัญหาอีกเยอะที่เราจะต้องฝ่าฟันกันต่อไป

 

 

เคยถูกเลือกปฏิบัติหรือมีประสบการณ์ที่ไม่ดีที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศบ้างไหม 

 

ป๊อป สุไพรพล: ที่ผ่านมาก็มีการกีดกันจากผู้ใหญ่บ้าง เขาอาจจะแยกประเภทไปเลยว่าเราไม่ใช่เพศชายและเพศหญิงตามกรอบที่สังคมไทยยอมรับ

 

เอก จักรภพ: ตลกดี พอเรามีบทบาททางสังคม ทางการเมือง คนจะไม่ค่อยกล้าเลือกปฏิบัติกับเรามาก แต่มันจะซ่อนอยู่อีกแบบหนึ่ง ยกตัวอย่าง ผมอยู่กับค่ายการเมืองหนึ่งทุกวันนี้ เวลามีคนอธิบายเกี่ยวกับตัวผม จะพิจารณาขึ้นตำแหน่งต่างๆ เขามักจะพูดว่า “ไม่ดีมั้ง จักรภพเขา Emotional” เป็นวิธีการว่าแบบอ้อม แบบเหมารวม ว่าเพราะเขาเป็นเกย์ ถึงได้ Emotional หรือใช้อารมณ์มาก เพราะฉะนั้นไม่ควรจะให้เขาขึ้น มันมาในรูปแบบนี้ แต่พอเรามีอำนาจต่อรองเขาก็อาจจะไม่ได้ว่าเราโดยตรง ดังนั้น LGBTQIA+ ที่ประสบความสำเร็จ อย่านึกว่าตัวเองไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ผมคิดว่าหน้าที่หลักของ LGBTQIA+ ในช่วงบุกเบิกคือการช่วยกันมองหาการเลือกปฏิบัติรูปแบบต่างๆ เพื่อจะฉายไฟลงไปให้สังคมมองเห็นถึงปัญหานี้

 

คนที่เขาเลือกปฏิบัติหรือดูถูกเหยียดหยามเรา บางทีเขาไม่รู้ตัว เขานึกว่าเขาทำสิ่งที่ถูกต้อง หรือเหมือนกับกลุ่มเพื่อนที่ชอบเอาเพื่อนคนหนึ่งเป็นเป้าของการบูลลี่ คนนี้อ้วน คนนี้กินเยอะ คนนี้มาช้า บูลลี่ๆๆ เพื่อให้ตัวเขาเองรู้สึกดีขึ้น บางทีเขาไม่ได้ตั้งใจ แต่เขาไม่รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นอาจกลายเป็นตราบาปหรือเป็นแผลเป็น สำหรับคนคนหนึ่งไปชั่วชีวิต เหมือนกับที่ผมโตมา ผมย้อนกลับไปคิดถึงเพื่อนบางคนที่ผมอาจเคยล้อเขาไว้ เขาเป็นโรคอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ขามีจุด กลายเป็นจุดลาย เราก็ล้อๆ จนวันหนึ่งเขาหายไปเลย เรามารู้ทีหลังว่าเขาตัดสินใจย้ายโรงเรียนไป เพราะว่าเขาทนตรงนี้ไม่ได้ แต่ต่อหน้าเราเขาไม่เคยต่อว่า เขาไม่เคยสู้กลับ เราไม่เคยรับรู้หรือตระหนักถึงผลการกระทำของเรา จนกระทั่งพอโตขึ้น ผมต้องตามไปหาเขา เชื่อไหมว่าพอไปบอกเขาว่า เรามาเพื่อจะบอกขอโทษเรื่องนี้ ตอนแรกเขาหัวเราะ แต่พอจะขึ้นรถกลับ เขาโผมากอดเรา เขาบอกว่าเขาดีใจที่เราเข้าใจความรู้สึกของเขาในที่สุด

 

 

อนาคตของ LGBTQIA+ ในแวดวงการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เราจะไปถึงจุดที่มีนายกรัฐมนตรีไทยเป็น LGBTQIA+ ได้หรือไม่ 

 

เอก จักรภพ: เป้าหมายไม่ควรจะเป็นแบบนั้น เป้าหมายควรจะเป็น LGBTQIA+ ไม่ต่างจากคนอื่น จะเป็นอะไรก็เป็นได้ทุกอย่าง เป้าหมายสำคัญไม่ควรที่จะมุ่งเรื่อง Career Path หรืออนาคตของ LGBTQIA+ แต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะกลายเป็นเรื่องโควตา กลายเป็นว่าเราโปรโมตกันเอง ช่วยเพราะมีอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศเหมือนกัน ก็อาจจะไม่แฟร์ต่อคนอื่นที่ไม่เป็น LGBTQIA+ สิ่งนี้เรียกว่า ‘การเลือกปฏิบัติแบบทางกลับ’ (Reverse Discrimination) เป้าหมายควรจะเป็นว่า เราทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน

 

ผมเชื่อในระบบเสรีนิยม แต่ไม่เชื่อในเสรีนิยมที่ไม่ช่วยเหลือให้คนซึ่งถูกกดขี่ได้มีโอกาสที่เท่ากัน ไม่อยากให้ตั้งธงว่า LGBTQIA+ จะเป็นผู้นำการเมืองได้ไหม จะรวยขนาดนั้นได้ไหม จะกลายเป็นผู้นำทางสังคมได้หรือไม่ ถ้าเป็นก็เป็น ไม่เป็นก็คือไม่เป็น สิทธิในการเลือกเส้นทางชีวิตเป็นของทุกคน

 

 

‘ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของ LGBTQIA+’ คิดเห็นอย่างไรกับประโยคนี้

 

ป๊อป สุไพรพล: น่าจะเป็นสวรรค์ในด้านของแหล่งท่องเที่ยว แต่ว่าในด้านของการยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานในครอบครัว หรือแม้แต่ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปจนถึงสถานที่ทำงานก็ยังมีปัญหาอยู่

 

เอก จักรภพ: ผมเจอมาจากข่าวในสหรัฐอเมริกาเมื่อนานมากแล้ว มันมีคำว่า ‘Don’t ask, don’t tell’ คือจะเป็นเกย์ก็เป็นไป จะเป็น LGBTQIA+ ก็เป็นไป แต่ไม่ต้องมาบอกฉัน ฉันก็ไม่อยากรู้ แล้วเราก็จะเสแสร้งว่าเราเหมือนกัน ทำให้ผมเข้าใจว่า การปฏิเสธตนเองและผู้อื่น หรืออ้างเพื่อจะหา Common Ground หาจุดร่วมกัน เป็นวิธีการที่ทำให้ปัญหายืดเยื้อต่อไป ไม่กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา

 

ปัญหาของสังคมไทย เราใช้คำว่าเกย์ กะเทย ตุ๊ด ในทางลบมาโดยตลอด พออยู่ในกลุ่มเพื่อน หลายคนก็คาดหวังว่า LGBTQIA+ ต้องเป็นตัวตลก เป็นตัวฮาในกลุ่มเพื่อน ต้องกล้าแสดงออก แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่ LGBTQIA+ ทุกคนจะเหมือนกัน บางคนก็ชอบอ่านหนังสือ ชอบอยู่เงียบๆ ชอบสันโดษ สนุกกับการไปไหนคนเดียว บางคนก็ชอบไปกับกลุ่มเพื่อน การไม่ยอมรับกันและกันตรงนี้ นำไปสู่ธรรมเนียม ‘การเหมารวม’ ว่าคนกลุ่มนี้ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ทำให้ปัญหายืดยาวออกไป

 

นอกจากนี้ผมคิดว่าสังคมไทยควรที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเพศศึกษามากกว่านี้ คำอธิบายคือสิ่งที่เราควรจะต้องให้กับลูกหลานของเรา ไม่ใช่การสั่งห้ามแต่เพียงอย่างเดียว

 

 

คิดเห็นอย่างไรกับประโยคที่ว่า ‘สังคมไทยจะยอมรับเฉพาะ LGBTQIA+ ที่เก่งและมีความสามารถเท่านั้น’

 

ป๊อป สุไพรพล: คิดว่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเช่นนั้น เพราะว่าคนที่ดูเหมือนฉลาดน้อยกว่า หรือว่าไม่กล้าแสดงออก อาจกลายเป็นคนที่เก็บกด ถูกผลักให้กลายเป็นคนที่แปลกแยกทางสังคม หรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้

 

เอก จักรภพ: ผมเองก็คิดว่าน่าจะจริง เรื่องเก่งหรือเรื่องมีการศึกษาประเมินยากว่าเก่งอย่างไร แต่ประเด็นก็คือคนที่มีอำนาจต่อรองทางสังคมน้อยจะกลายเป็น LGBTQIA+ ที่หดหู่ ถูกกดทับ ซึ่งสุดท้ายก็เป็นเรื่องชนชั้นทางเศรษฐกิจ เป็นประเด็นปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่า คงไม่ใช่ว่าเกย์ที่เก่งหรือมีการศึกษาจะได้รับการยอมรับ เกย์ที่มีอำนาจต่อรองสูงจะได้การยอมรับสูง แต่ในขณะเดียวกัน เกย์บางส่วนที่มาจากครอบครัวร่ำรวย นามสกุลใหญ่ มีบริษัทรองรับให้บริหาร บางครั้งเขาก็แสดงตัวหรือเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตนเองไม่ได้ เนื่องจากความกดดันภายในครอบครัว

 

ผมกับป๊อปเราคุยกันตลอดว่าเราอยากให้คนมีความสุข เพราะเราคิดว่าถ้าคนมีความสุข สังคมก็จะดีตามไปด้วย

 

 

‘สมรสเท่าเทียม’ จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไปอย่างไรบ้าง

 

ป๊อป สุไพรพล: น่าจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการให้สังคมไทยปรับเข้าหากัน การที่จะต้องแก้กฎหมายต่างๆ ที่ยังอยู่ในระยะเวลา 120 วัน เพื่อที่จะให้ LGBTQIA+ กลายเป็นคนที่มีตัวตนในสังคมมากยิ่งขึ้น

 

เอก จักรภพ: สิ่งที่จะเกิดขึ้น ผมคิดว่า ‘ได้มากกว่าเสีย’

สมรสเท่าเทียมเป็นการสื่อสารทางสังคมที่เริ่มบอกว่าคนเราไม่ต่างกัน

ประเด็นแรก ผมคิดว่าเราได้คนกลับมารับใช้ส่วนรวมมากขึ้น มีพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น

 

สอง ผมอาจพูดในเชิงพยากรณ์ และอาจมองดูในแง่ร้ายเล็กน้อย หลังจากเห็นบทเรียนในหลายประเทศ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในขั้นต้นอาจทำให้พวกเราในชุมชน LGBTQIA+ ของเราเองบางส่วนโอ้อวดเกินไป เธอต้องยอมรับฉัน ฉันต้องได้ตรงนี้ ต้องได้ตรงนั้น ทำให้สถานการณ์สุดโต่ง และอาจทำให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชุมชน LGBTQIA+ สู้กลับ ซึ่งการสู้กลับตรงนี้จะทำให้เกิดสมดุลใหม่ในสังคมไทย

 

สาม กฎหมายฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมสิ่งที่เรียกว่า ‘LGBTQIA+ Economy’ การมีตัวตนของ LGBTQIA+ จะนำไปสู่การเกิดปฏิสัมพันธ์ เกิดการรวมกลุ่มกัน เกิดการสร้างกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจเป็นคอมมูนิตี้ใหม่ๆ ขึ้นมา และผมคิดว่าน่าจะเป็นคอมมูนิตี้ที่แข็งแรง  

 

ไทยผ่านสมรสเท่าเทียมแล้ว แพลนต่อไปของทั้งคู่คืออะไร

 

ป๊อป สุไพรพล: ก็คงจดทะเบียนสมรสตามที่ได้สิทธิความเท่าเทียมนี้

 

เอก จักรภพ: หากว่าผ่าน 120 วันเรียบร้อยก็จะไปจดทะเบียนกัน เราแยกเป็นสองเรื่อง จดทะเบียนกับฉลอง จดทะเบียนเราก็ว่าไปตามกฎหมาย แต่ฉลองกำลังคิดว่าเราอายุขนาดนี้แล้ว ไม่รู้จะจัดเป็นงานฉลองหรือไปทำบุญ หรือไปทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วยกัน

 

 

เส้นทางชีวิตทางการเมืองต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร หลังคดีความสิ้นสุด

 

ป๊อป สุไพรพล: สนใจในส่วนที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนในการที่จะไปช่วยภาคประชาชนแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีปัญหาครอบครัวและได้รับผลกระทบจากการเป็น LGBTQIA+ ก็อยากช่วยเหลือทางด้านนั้นด้วย

 

เอก จักรภพ: ป๊อปเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านความยากลำบากอย่างมากในชีวิต ผลจากการได้อะไรมายากทำให้เกิดผลสองอย่างคือ เขาจะเห็นคุณค่าในของที่เขาได้มา และเขาเริ่มย้อนกลับไปเข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเขา พอเขาโตขึ้นและก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ได้ ปรากฏว่าเขากลายเป็นคนที่อดทนที่สุด ถ้าไม่ใช่เพราะป๊อปผ่านประสบการณ์เหล่านี้ เขาอาจทนอยู่ในสนามต่อสู้ทางการเมืองไม่ได้นานถึง 10 กว่าปี 

 

ผมอยู่ในแวดวงการเมือง แล้วก็ภูมิใจในการเป็นนักการเมือง คนจำนวนไม่น้อยมักมองว่าสังคมนักการเมืองคือสังคมคนชั่ว คนโกง ไม่มีใครคิดถึงประชาชน แต่ผมมองว่านั่นคือความท้าทายในชีวิตเรา เราสามารถจะเป็นความแตกต่างได้ การเมืองเป็นเรื่องของครรลอง เป็นเรื่องของวิถีชีวิต ผมมีพลังที่จะทำงานให้กับสังคม ผมต้องการเวทีขนาดการเมืองที่จะมารองรับ ผมก็จะอยู่ในการเมืองต่อไปจนกว่าจะอยู่ไม่ได้ LGBTQIA+ จะเป็นเรื่องที่ผมไม่ปฏิเสธ แต่ผมก็จะไม่เอาประเด็นนี้ไปโยนใส่หน้าใคร

เมื่อไรก็ตามที่จะถกเถียงเรื่อง LGBTQIA+ เพียงแค่บอกมา ผมจะไปร่วมโต้วาทีด้วยทุกเวที เพื่อเน้นย้ำว่า ‘การเป็น LGBTQIA+ ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ’

 

 

3 คำที่สะท้อนถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของทั้งคู่มีคำว่าอะไรบ้าง เพราะอะไร

 

ป๊อป สุไพรพล: คำแรกน่าจะเป็นคำว่า ‘ห่วงใย’ การที่เราจะมาผูกพันกันได้ ความห่วงใยน่าจะเป็นหลักสำคัญ เป็นข้อผูกมัดอย่างหนึ่งที่ทำให้เรามีจิตใจที่สัมพันธ์กัน

 

เอก จักรภพ: คำที่สอง ผมคิดว่าคือ ‘ความอดทน’ สิ่งนี้เป็นเรื่องยาก เพราะว่าคนที่อดทนกันไม่ได้ส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะความอดทนเขาน้อย แต่เป็นเพราะเขารู้สึกว่าไม่เห็นต้องอดทนเลย ความอดทนทำให้เราก้าวข้ามเส้นบางอย่าง เข้าใกล้กับสัจจะของการอยู่ร่วมกัน เข้าใจเขา เข้าใจเรามากขึ้น

 

อีกคำคือคำว่า ‘ความนับถือ’ การจะอยู่ด้วยกันต้องยอมรับตัวตนที่เขาเป็น พอเรายอมรับในสิ่งที่เขาเป็นแล้ว ไม่มีมุมไหนที่จะรู้สึกผิดหวังกันอีกต่อไป เหลือเพียงแค่ว่า วันนี้ทะเลาะกันมากหน่อย หรือวันนี้สนุกกันมากๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตและความสัมพันธ์

 

 

ข้อความที่อยากจะส่งต่อ โดยเฉพาะในมิติของการใช้ชีวิตคู่ 

 

ป๊อป สุไพรพล: อยากให้เราทุกคนเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และไม่ต้องกังวลว่า สมรสเท่าเทียมจะทำให้ LGBTQIA+ มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่นๆ เพราะเป้าหมายสำคัญคือ การทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่เหยียดเพศหรือถูกเลือกปฏิบัติ

 

เอก จักรภพ:

ผมอยากให้ทุกคนสนุกกับการเดินทางเท่าๆ กับเป้าหมายที่จะไป อย่ารอสนุกตอนไปถึงจุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว แต่ให้สนุกกับระหว่างทางที่ไปด้วย

 

มีเพียงความตายเท่านั้นที่เป็น ‘สิ่งที่แน่นอน’ (Absolute) ผมเคยติดคุกการเมืองมา ผมเคยลี้ภัยมา 15 ปี สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ Absolute การที่ผมทั้งสองคนอยู่ด้วยกันก็ไม่ใช่ Absolute แต่มันเป็นการเดินทางที่เราทั้งคู่สนุกที่จะเดินทางไป ไม่รู้จะไปจบลงตรงไหน อย่างไร ป๊อปกับผมเราจะแข็งแรงไปได้แค่ไหน หรือจะมีเหตุการณ์ทางการเมืองอะไรเกิดขึ้นอีก เราไม่รู้ เรารู้เพียงแค่ว่า วันนี้เราสนุกกับการที่เราได้ทำอะไรด้วยกัน ได้อยู่ด้วยกัน ได้แชร์ความทุกข์ความสุขกัน

 

ท้ายที่สุด ผมอยากจะบอกว่า

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว สังคมกำลังค่อยๆ รวบรวมความมั่นใจออกเป็นกฎหมาย วางเป็นบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อให้เราทั้งหลายในยุคต่างๆ ทุกๆ เจนได้มีความมั่นใจที่จะก้าวออกมามากขึ้น

ใจเย็นๆ อดทน ไม่ต้องปฏิเสธตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเมตตาต่อสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เขายังไม่เข้าใจเรา อาจจะต้องให้เวลาพวกเขา

 

ป๊อป สุไพรพล: สมรสเท่าเทียมของไทยที่ผ่านมาได้ถึงทุกวันนี้  ต้องขอบคุณทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน และทุกพรรคการเมืองที่ช่วยให้กฎหมายประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้น เพื่อปูทางไปสู่สังคมที่โอบรับความแตกต่างหลากหลายได้มากยิ่งขึ้น

The post เปิดใจ จักรภพ-สุไพรพล คู่รัก LGBTQIA+ ในแวดวงการเมือง ในโอกาสที่ไทยผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม appeared first on THE STANDARD.

]]>
แซฟฟิกคืออะไร ถือว่าเป็น LGBTQIA+ ไหม https://thestandard.co/what-is-sapphic/ Sat, 29 Jun 2024 01:00:24 +0000 https://thestandard.co/?p=951360

ช่วงนี้หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ‘สเปกแซฟฟิก’ อยู่บ่อยๆ ห […]

The post แซฟฟิกคืออะไร ถือว่าเป็น LGBTQIA+ ไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>

ช่วงนี้หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ‘สเปกแซฟฟิก’ อยู่บ่อยๆ หรืออาจเคยเห็นการนิยามตัวเองของคนบางกลุ่มว่า “เราเป็นแซฟฟิก ไม่ใช่เลสเบี้ยน’ หรือไม่ก็เพิ่งจะได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก

 

ในสังคมปัจจุบันที่ความหลากหลายทางเพศมีการเปิดกว้างมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แน่นอนว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย และไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะยังไม่เข้าใจหรือตามไม่ทัน 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำว่า ‘แซฟฟิก’ ก็เป็นคำศัพท์ที่เพิ่งเอากลับมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งเราอาจได้ยินอยู่บ่อยครั้งในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์แซฟฟิกหรือสเปกแซฟฟิก ฯลฯ แล้วแซฟฟิกไม่ใช่เลสเบี้ยนเหรอ? ทำไมหลายคนเลือกที่จะนิยามตัวเองว่าแซฟฟิก ไม่ใช่เลสเบี้ยน

 

แซฟฟิกคืออะไร? ถือว่าเป็น LGBTQIA+ ไหม?

 

คำว่า ‘แซฟฟิก’ (Sapphic) มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมาจากชื่อของ ‘แซฟโฟ’ (Sappho) นักกวีหญิงชาวกรีกท่านหนึ่ง คำนี้ถูกใช้เพื่ออธิบายประเภทบทกวีของเธอที่หลายๆ คนตีความว่าเป็นบทกวีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง ส่วนอัตลักษณ์ทางเพศของเธอยังคงเป็นที่ถกเถียงจนถึงปัจจุบันว่าเธอเป็นเลสเบี้ยนหรือไม่ เนื่องจากไม่มีหลักฐานหรือรายละเอียดที่ชัดเจน แต่บทกวีของเธอมักจะกล่าวถึงความรู้สึกของเธอต่อผู้หญิงคนหนึ่ง จึงเกิดเป็นคำว่า ‘แซฟฟิก’ ขึ้นมา

 

แซฟฟิกเป็นนิยามของอัตลักษณ์ทางเพศที่มีความเชื่อมโยงกับความเป็นหญิง อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ได้ว่า แซฟฟิกเป็นร่มคันใหญ่ และใต้ร่มคันใหญ่นี้ก็มีไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล เควียร์ และทรานส์เจนเดอร์ ฯลฯ จึงถือได้ว่าแซฟฟิกก็อยู่ในกลุ่ม LGBTQIA+ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Cisgender (บุคคลที่อัตลักษณ์ทางเพศสอดคล้องกับเพศกำเนิด) หรือ Transgender (บุคคลข้ามเพศ) ก็สามารถเรียกตัวเองว่าแซฟฟิกได้ ไม่จำเป็นต้องมีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นหญิงเท่านั้น 

 

ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงสองคนไม่ได้แปลว่าจะเป็นคู่รักเลสเบี้ยนเสมอไป คนใดคนหนึ่งอาจเป็น Bisexual หรือ Pansexual หรือกำลังค้นหาตัวตนอยู่ การแปะป้ายว่าคู่รักหญิง-หญิงเป็นเลสเบี้ยนอาจเป็นการลบตัวตนของไบเซ็กชวลว่าไม่มีอยู่จริง หรือที่เรียกว่า ‘Bisexual Erasure’ ได้ ดังนั้นไม่ใช่แซฟฟิกทุกคนจะเป็นเลสเบี้ยน และไม่ได้หมายความว่าเป็นแซฟฟิกแล้วจะมีความรักแค่กับเพศหญิงเท่านั้น การที่หลายๆ คนเลือกที่จะนิยามตัวเองว่าเป็นแซฟฟิก อาจเป็นเพราะเขารู้สึกว่าคำนี้ครอบคลุมความเป็นตัวเขามากกว่านั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม การเคารพซึ่งกันและกันคือสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนหรือนิยามตนเองว่าอย่างไร ทุกคนก็ควรได้รับการเคารพและมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน การเคารพในทุกๆ ความสัมพันธ์และอัตลักษณ์อาจสำคัญกว่าการมาชี้ว่าความสัมพันธ์นี้นิยามว่าอย่างไร หรืออัตลักษณ์ของบุคคลนี้คืออะไร

 

ภาพ: Carlo Prearo / Shutterstock

อ้างอิง: 

The post แซฟฟิกคืออะไร ถือว่าเป็น LGBTQIA+ ไหม appeared first on THE STANDARD.

]]>