News – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 28 May 2025 07:27:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 วิเคราะห์ ‘งบประมาณปี 2569’ จะช่วยเศรษฐกิจไทยได้แค่ไหน? จับตารัฐบาลตั้งงบลงทุนลดลง กู้เกือบชนเพดานอีกแล้ว https://thestandard.co/analyze-thailand-budget-2569/ Wed, 28 May 2025 07:27:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1079422 กราฟเปรียบเทียบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2567-2569 แสดงการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปี 2569

‘งบประมาณรายจ่าย’ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นและป […]

The post วิเคราะห์ ‘งบประมาณปี 2569’ จะช่วยเศรษฐกิจไทยได้แค่ไหน? จับตารัฐบาลตั้งงบลงทุนลดลง กู้เกือบชนเพดานอีกแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
กราฟเปรียบเทียบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2567-2569 แสดงการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปี 2569

‘งบประมาณรายจ่าย’ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นและประคับประคองเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) พบว่า รัฐบาลตั้ง ‘งบลงทุน’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อน GDP ลดลงจากปีก่อนหน้า 7.3%

 

นอกจากนี้ ไทยยังกำลังเผชิญกับ ‘กับดักเพดานการคลัง’ สะท้อนให้เห็นว่า ใน ‘งบประมาณรายจ่ายปี 2569’ นี้แม้รัฐบาลจะกู้จนเกือบเต็มเพดานแล้ว แต่วงเงินงบประมาณปี 2569 นี้ กลับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 27,900 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.7% เท่านั้น

 

จุดนี้ยิ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากสหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีศุลกากร แต่กระสุนทางการคลังของไทยกลับมี ‘จำกัด’


คำถามที่สำคัญต่อมาคือ รัฐบาลควรทำอย่างไร เพื่อทำให้ ‘งบประมาณ’ ที่อยู่ในมือ (ซึ่งก็ไม่ได้น้อยเลย) กระตุ้นและประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้ดีที่สุด และช่วยคนไทยให้ฝ่า ‘พายุ’ ที่กำลังจะพัดเข้ามาได้มากที่สุด

 

งบประมาณปี 2569 เพิ่มจากปีก่อน 27,900 ล้านบาทเท่านั้น

 

ฐากูร จุลินทร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ ‘วิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569’ โดยตั้งข้อสังเกตว่า งบปี 69 วงเงิน 3,780,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 27,900 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.7% เท่านั้น ต่างจาก พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2567 และ 2568 ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

 

โดยพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ถึง 4 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9.2%) และ พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2568 ก็เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 1.5 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7.8%)

 

โดยฐากูรมองว่า เหตุผลเบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของงบประมาณใน 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2567 และ 2568) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘โครงการแจกเงิน 10,000 บาท’

 

“สถานการณ์งบประมาณตอนนี้ เหมือนกับนักมวยที่ออกอาวุธมากไปแล้วในยกที่ 1 และยกที่ 2 แต่ตอนนี้ ในยกที่ 3 เหมือนว่าจะอ่อนแรงนิดหนึ่ง งบประมาณในปีนี้จึงเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% เท่านั้น” ฐากูรกล่าว

 

งบ 69 เพิ่มเพียง 2.7 หมื่นล้านบาท เหตุรัฐบาลกู้แทบเต็มเพดานหมดแล้ว

 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) มองว่า ภาพรวมงบประมาณปี 2569 ที่โตไม่เยอะ เนื่องจากไทยกำลังเจอโจทย์กับดักพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ท่ามกลางความสามารถในการหารายได้ที่มีความท้าทายสูง เหตุเศรษฐกิจโตต่ำ ทำให้การหารายได้ของรัฐบาลเสี่ยงโตต่ำตาม

 

“ถ้ารัฐบาลจะขยาย (วงเงินงบประมาณ) หลัก 10% ก็ทำไม่ได้ เนื่องจากถูกกรอบวินัยการเงินจำกัดไว้ นอกจากนี้ความสามารถในการหารายได้เราก็มีความท้าทาย ท่ามกลางเศรษฐกิจที่โตต่ำ ทำให้ความสามารถในการหารายได้โตต่ำตาม ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะใช้จ่ายมากขึ้นก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผล” ณัฐพรกล่าว

 

สำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) ยังอธิบายอีกว่า เพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลจัดทำวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 เพิ่มขึ้นน้อย เพียง 27,900 ล้านบาทเท่านั้น ก็ต้องย้อนไปดูเพื่อทำความเข้าใจถึง แหล่งที่มาของวงเงิน 3.78 ล้านล้านบาทนี้ ซึ่งมาจาก 2 ส่วนหลัก ได้แก่

 

  1. รายได้ของรัฐบาลไทยในปี 2569 ซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่ 2,920,600 ล้านบาท (ราว 77.25% ของวงเงิน 3.78 ล้านล้านบาท) โดยรายได้ส่วนนี้มาทั้งจากภาษีและรายได้อื่นๆ
  2. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 860,000 ล้านบาท (ราว 22.7% ของวงเงิน 3.78 ล้านล้านบาท)

 

โดยในประมาณการรายได้สุทธิในปี 2569 รัฐบาลคาดว่าจะจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.92 ล้านล้านบาท โดยจำนวนนี้คิดเป็น 14.5% ของ GDP เท่านั้น นับว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ OECD ซึ่งไทยเตรียมเข้าเป็นประเทศสมาชิก ซึ่งอยู่ที่ 40% ต่อ GDP

 

ทั้งนี้ ตามการรวบรวมข้อมูลข้อง รศ. ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของไทยยังอยู่ในขาลงต่อเนื่อง เนื่องจากรายได้นำส่งคลังของไทยก่อนหน้านี้ (เฉลี่ยระหว่างปี 2547-2556) เคยอยู่ที่ราว 17.5%

 

กราฟเปรียบเทียบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2567-2569 แสดงการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปี 2569

Screenshot

 

รัฐบาลกู้ชดเชยขาดดุล ‘เกือบชนเพดาน’

 

โดยในงบปี 69 นี้รัฐบาลยังตั้งวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ 860,000 ล้านบาทนับเป็นการกู้ชดเชยการขาดดุลหนักขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการกู้ชดเชยการขาดดุลที่ ‘ใกล้เต็มเพดาน’ ที่กฎหมายกำหนดแล้ว

 

โดยตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง กำหนดเงื่อนไขการกำหนดกรอบวงเงินกู้สูงสุด ได้แก่ 80% ของรายจ่ายชำระคืนต้น รวมกับ 20% ของกรอบวงเงินงบประมาณ หมายความว่า ในปีงบประมาณนี้ กรอบวงเงินกู้สูงสุดของรัฐบาลจะอยู่ที่ 877,080 ล้านบาท สะท้อนว่า รัฐบาลเหลือพื้นที่เหลือเพียง 1.7 หมื่นล้านบาทเท่านั้นโดยประมาณ

 

ตามการรวบรวมข้อมูลของสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) แสดงให้เห็นว่า การชดเชยขาดดุลของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า จากปี 2557-2568 ที่รัฐบาลกู้ชดเชยการขาดดุลที่ 250,000 ล้านบาทเท่านั้น

 

นอกจากนี้ สัดส่วนการขาดดุลต่อ GDP ในงบปี 2569 นี้ยังอยู่ที่ระดับสูงกว่า 4% ต่อ GDP เป็นปีที่ 3 แล้ว สะท้อนถึงความไม่ยั่งยืนทางการคลัง

 

ทั้งนี้ องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงข้อตกลงเสถียรภาพและการขยายตัว (Stability and Growth Pact) ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีสาระสำคัญคือการรักษาวินัยการคลัง เนื่องจากมองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการมีเสถียรภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แนะนำว่า การกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ไม่ควรเกินระดับ 3% ต่อ GDP

 

Screenshot

 

เอ็กซ์เรย์ ‘โครงสร้างงบประมาณ’: รายจ่ายประจำสูงกว่า 70% – แต่ ‘งบลงทุน’ กลับต่ำลง

 

เมื่อแบ่งรายจ่าย จะพบว่า วงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2569 วงเงิน 3.78 ล้านล้านบาทนี้ 70.1% ไปอยู่ที่รายจ่ายประจำ (เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น) คิดเป็น 2.65 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับประมาณการรายได้ที่ 2.92 ล้านล้านบาทแล้ว สะท้อนว่า อย่างไรรัฐบาลก็ต้องกู้เงินมาสมทบอยู่ดี

 

โดยวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2569 สามารถแบ่งรายจ่ายได้ 4 ด้าน ดังนี้

 

  • รายจ่ายประจำ วงเงิน 2.65 ล้านล้านบาท (คิดเป็น 70.1% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย) ลดลงจากปีก่อนหน้า 1%
  • รายจ่ายลงทุน 8.64 แสนล้านบาท (คิดเป็น 22.9% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย) ลดลงจากปีก่อนหน้า 7.3%
  • รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 1.4 แสนล้านบาท (คิดเป็น 3.7% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.6%
  • รายจ่ายเพิ่มชดใช้เงินคงคลัง 1.23 แสนล้านบาท (คิดเป็น 3.3% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย) ทั้งนี้ ไม่มีการเสนอตั้งรายจ่ายส่วนนี้ในงบประมาณปี 2568

 

Screenshot

จับตา รัฐบาลลด ‘งบลงทุน’

 

สำนักงบประมาณของรัฐสภายังตั้งข้อสังเกตว่า รายจ่ายลงทุนซึ่งถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 7.3%

 

แม้ว่า “รายจ่ายลงทุน (ซึ่งคิดเป็น 22.9% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย) จะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามกรอบวินัยการเงินการคลังภาครัฐกำหนด แต่รัฐบาลก็อาจพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อกำหนดให้รายจ่ายลงทุนมีสัดส่วนอย่างน้อย 25% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ภายในปี 2575”

 

ทั้งนี้ มีผลการศึกษาที่ระบุว่า รายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้นทุก 1 บาท จะช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้น 0.14 บาท หรือหากลดรายจ่ายลงทุน 1 บาท จะทำให้ GDP หายไป 0.14 บาท

 

ทำอย่างไรให้ งบประมาณปี 2569 ประคองเศรษฐกิจไทยได้มากที่สุด

 

แม้ว่า งบประมาณปี 2569 จะเพิ่มขึ้นไม่ได้มาก แต่ก็เป็นงบประมาณมากที่สุดเป็นประวัติการณ์อยู่ดี ตามปกติที่งบประมาณจะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นโจทย์สำคัญที่สุดคือ ทำอย่างไรที่จะให้งบประมาณที่ไม่ได้น้อยนี้ เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากที่สุด

 

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB Thai) กล่าวว่า รัฐบาลทำงบประมาณเต็มกรอบวินัยการเงินการคลัง และทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่สุดท้ายงบประมาณส่วนนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน ต้องดูใน 2 ประเด็น ได้แก่ คุณภาพในการใช้เงิน และการเบิกจ่ายทำได้เต็มที่แค่ไหน

 

“ที่เราต้องติดตามกันจริงๆ ประสิทธิภาพการเบิกจ่าย แม้งบลงทุนจะตั้งไว้น้อยลง แต่ถ้าเกิดการเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เงินออกไปมากขึ้น ก็อาจไม่ได้กระทบกับ GDP มากนัก อย่าลืมว่า สิ่งที่ไทยเจอตอนนี้ คือ เศรษฐกิจไทยโตต่ำมานาน ขาดความเชื่อมั่น ขาดการลงทุน ดังนั้นรัฐควรเร่งการลงทุนและเร่งการใช้จ่าย เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มความเชื่อมั่นของเอกชน”

 

“นอกจากนี้ การจะทำให้เงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ปริมาณ แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพด้วยว่า เงินที่ใช้เกิดตัวทวีคูณกับเศรษฐกิจแค่ไหน และยั่งยืนแค่ไหน” ดร.อมรเทพกล่าว

 

ดร.อมรเทพยังแนะนำต่อว่า รัฐบาลสามารถนำเงินงบประมาณไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้หลายทางเพื่อยกศักยภาพการเติบโตของประเทศ และลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ตัวอย่างเช่น การยกระดับฝีมือแรงงาน การสร้างงานผ่านโครงการสาธารณูปโภค และชลประทาน การกระจายรายได้ไปสู่ต่างจังหวัดและในชนบท เป็นต้น

 

แนะเลิกทำมาตรการระยะสั้น เหตุผลต่อเศรษฐกิจน้อยลงเรื่อยๆ

 

ณัฐพรยังตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งพามาตรการระยะสั้นมาโดยตลอดหลังจากเกิดการระบาดของโควิด หรือตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ พบว่า พอกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายระยะสั้นเข้าไปเรื่อยๆ ประสิทธิผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ลดลง หมายความว่า ใส่เข้าไป 1 บาทแต่กลับกระตุ้น GDP ได้น้อยลง

 

ดังนั้น “จึงเกิดแนวคิดที่ว่า เราควรทำต่อไปหรือไม่ หรือเราควรเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเพื่อสร้าง GDP ได้ในระยะยาว” ณัฐพรกล่าว

 

ขณะที่ ภัทร ศิรินิรันดร์ นักวิเคราะห์งบประมาณ ชำนาญการพิเศษ สำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) ยังระบุว่า ในช่วงก่อนหน้านี้ ที่รัฐบาลเปรยๆ ขึ้นมาว่า อาจจะต้องมีการออกพ.ร.ก.กู้เงินเพิ่ม 5 แสนล้านบาท เพื่อเยียวยาผลกระทบจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ จึงขอฝากว่า อย่าให้เหมือนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำในลักษณะปูพรม โดยอยากเห็นมาตรการทางการคลังหลังจากนี้มีการวินิจฉัยให้ตรงโรคและมีการให้ยารักษาที่ตรงจุด

 

ภาพ: Winslow Productions / Getty Images

The post วิเคราะห์ ‘งบประมาณปี 2569’ จะช่วยเศรษฐกิจไทยได้แค่ไหน? จับตารัฐบาลตั้งงบลงทุนลดลง กู้เกือบชนเพดานอีกแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุทินเด้งรับแนวทางปราบยาเสพติดจากพ่อนายกฯ ทุกฝ่ายต้องไม่เกี่ยงงานกัน ถ้าเจอซึ่งหน้าต้องฟาด ชี้สัมพันธ์นายใหญ่เป็นตามภาพกอดคอ https://thestandard.co/anutin-drug-policy-thaksin-stance/ Wed, 28 May 2025 07:17:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1079418 ยาเสพติด

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา อนุทิน ชาญวีรกูล รอง […]

The post อนุทินเด้งรับแนวทางปราบยาเสพติดจากพ่อนายกฯ ทุกฝ่ายต้องไม่เกี่ยงงานกัน ถ้าเจอซึ่งหน้าต้องฟาด ชี้สัมพันธ์นายใหญ่เป็นตามภาพกอดคอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยาเสพติด

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปาถกฐาเรื่องปราบยาเสพติด โดยให้คำแนะกระทรวงมหาดไทยและตำรวจประสานความร่วมมือให้มากขึ้นว่า ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ทักษิณแนะนำมา ซึ่งตนเอง และ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียน วปอ. รุ่น 61 รุ่นเดียวกันอยู่แล้ว หากมีอะไรต้องประสานงานกัน ก็โทรหากันอยู่ตลอดเวลา

 

อนุทินกล่าวว่า ตนดีใจหลายสิ่งที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำและกำลังจะทำตรงกับแนวทางที่ทักษิณพูดไว้ เช่น เอ็กซเรย์หมู่บ้าน โดยกรมการปกครองซึ่งมีส่วนร่วมให้เป็นหมู่บ้านสีขาว ก็ยินดีอยู่แล้ว เราจะผนึกกำลังกับตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และ ป.ป.ส. ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะไปเร่งเจรจาความช่วยเหลือว่าจะทำอย่างไร หรือเขาต้องการความช่วยเหลือจากเราอย่างไร เพื่อไปดำเนินการกับแหล่งผลิตยาเสพติดตามแนวตะเข็บชายแดน

 

สิ่งที่ทักษิณพูดมาก็มีประเด็น เราก็ต้องไปคุยกับประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าเขาปล่อยให้มีการผลิตยาเสพติดเข้ามาทำลายความมั่นคงของประเทศไทย เราก็มีสิทธิ์ไปเจรจา และให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหา ปราบปรามอย่างจริงจัง ถ้าเขาไม่สามารถดำเนินการได้ เราก็จะมาดูว่าจะสนับสนุนได้อย่างไร ถือเป็นแนวคิดที่ดี

 

ส่วนที่ทักษิณระบุว่าหลายกระทรวงต้องร่วมมือกัน ซึ่งหลายกระทรวงอยู่ในการกำกับดูแลของพรรคภูมิใจไทย อนุทินกล่าวว่า ตนว่าท่านก็บี้ บี้ทุกกระทรวงในฐานะประชาชน เพราะท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ หลายอย่างเราทำมาแล้วก็ตรงกัน แต่ไม่ได้มีโอกาสมาพูดคุย หลายหน่วยงานก็ทำตามแนวทางดังกล่าวอยู่แล้ว ก็มาเสริมในส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทุกฝ่ายก็คงเห็นไปในแนวทางนี้ ส่วนที่ทักษิณระบุว่าให้นำงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท มาแก้ปัญหายาเสพติดนั้น เป็นแนวทางที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางนี้อยู่แล้วในส่วนของงานความมั่นคง

 

เมื่อถามว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าทักษิณเป็นนายกฯ ตัวจริง อนุทินกล่าวว่า คนวิพากษ์วิจารณ์ก็วิพากษ์วิจารณ์ไป แต่ตนว่าเราก็ต้องฟังประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชาชนที่มีประสบการณ์ เรื่องยาเสพติดเป็นเรื่องที่ทำให้คนไทยกลัวมาโดยตลอด การที่ ป.ป.ส. เชิญทักษิณ มาบรรยายเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถือเป็นสิ่งที่ดี

 

ส่วนจะมีโอกาสลงพื้นที่ร่วมกับทักษิณเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ถ้าไปเรื่องยาเสพติด ตนจะไปเพราะเป็นการทำงานร่วมกัน ตนต้องไปอยู่แล้ว เหมือนกับการทำงานด้วยกัน และทักษิณไม่ได้ลงเอง ต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ ทุกฝ่ายต้องไม่เกี่ยงกันทำงาน หน่วยไหนไปถึงก่อนถ้าเจอซึ่งหน้าก็ต้องฟาดกันซึ่งหน้า

 

และเมื่อถามว่า ภาพที่ทักษิณกอดคอนั้นเป็นการกลบข่าวเอาพรรคภูมิใจไทยออกจากรัฐบาลหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ตนเคยบอกแล้วว่าไม่มีใครรู้ดีกว่าผู้เล่น นักวิเคราะห์นักวิจารณ์นักคาดคะเนอะไรทั้งหลาย เอาละ ต่างคนต่างทำหน้าที่ ข้อเท็จจริงคือมันไม่ใช่การแสดง ความสัมพันธ์จริงๆ เป็นแบบที่เห็นในภาพ และภาพที่ตนติดทักษิณเลยนั้น ก็เพราะเป็นรองนายกฯ เช่นเดียวกับ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง อย่าคิดมากเลย

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะชวน เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปกินข้าวกับทักษิณตามวงรอบอีกหรือไม่ อนุทิน กล่าวว่า เนวินไม่ค่อยอยู่กรุงเทพฯ ส่วนทักษิณก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ จะให้เราเป็นคนไปคอยนัดไม่ได้หรอก ต้องให้เกียรติกัน คนนับถือกัน เป็นเรื่องของเขาคุยกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล การเมืองเป็นเรื่องของหัวหน้าพรรค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

The post อนุทินเด้งรับแนวทางปราบยาเสพติดจากพ่อนายกฯ ทุกฝ่ายต้องไม่เกี่ยงงานกัน ถ้าเจอซึ่งหน้าต้องฟาด ชี้สัมพันธ์นายใหญ่เป็นตามภาพกอดคอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาถก พ.ร.ก. ‘ปราบอาชญากรรมไซเบอร์-สินทรัพย์ดิจิทัล’ รมว.ดีอี หวังปรับปรุงให้ทันสมัย-ครอบคลุมสถานการณ์ https://thestandard.co/cybercrime-digital-assets-law-update-thailand/ Wed, 28 May 2025 07:12:06 +0000 https://thestandard.co/?p=1079415 อาชญากรรมไซเบอร์-สินทรัพย์ดิจิทัล

วันนี้ (28 พฤษภาคม) เวลา 09.58 น. เข้าสู่วาระพิจารณาพระ […]

The post สภาถก พ.ร.ก. ‘ปราบอาชญากรรมไซเบอร์-สินทรัพย์ดิจิทัล’ รมว.ดีอี หวังปรับปรุงให้ทันสมัย-ครอบคลุมสถานการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาชญากรรมไซเบอร์-สินทรัพย์ดิจิทัล

วันนี้ (28 พฤษภาคม) เวลา 09.58 น. เข้าสู่วาระพิจารณาพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 ซึ่งแบ่งเวลาในการอภิปรายฝ่ายละ 2 ชั่วโมง รวม 4 ชั่วโมง และจะเป็นการรวมพิจารณา และแยกลงมติทีละฉบับ

 

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนดการตรา พ.ร.ก. มาตรา 172 สามารถใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ได้ วรรค 1 ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นว่า เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเสนอต่อรัฐสภาพิจารณาอย่างไม่ชักช้าเพื่ออนุมัติ หรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก.โดยเร็ว

 

ในโอกาสนี้ รัฐบาลจึงขอกราบเรียนสภาผู้แทนราษฎร ถึงหลักการและเหตุผล พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2568 แบบสรุปได้ ดังนี้ เนื่องจากปัจจุบัน มี พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น แต่พบว่า ยังมีมาตรการบังคับทางกฎหมายที่ยังไม่เพียงพอ กับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของกลุ่มมิจฉาชีพ จึงต้องเร่งด่วนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายปัจจุบันให้ทันสมัยเหมาะสม และครอบคลุมกับสถานการณ์ในยุคดิจิทัล

The post สภาถก พ.ร.ก. ‘ปราบอาชญากรรมไซเบอร์-สินทรัพย์ดิจิทัล’ รมว.ดีอี หวังปรับปรุงให้ทันสมัย-ครอบคลุมสถานการณ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศาลอาญายกฟ้อง อดีต สว. อุปกิต ทุกข้อหา ชี้ไม่มีส่วนรู้เห็นคดีฟอกเงิน-ยาเสพติดทั้งในและนอกประเทศ พร้อมคืนฉายาทรงเอให้ รังสิมันต์ โรม https://thestandard.co/court-acquits-ex-senator-upakit-case/ Wed, 28 May 2025 07:08:43 +0000 https://thestandard.co/?p=1079403 นายกรัฐมนตรีประชุมสั่งสอบสวนเหตุเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก หลังพบแชตนักบินแจ้งปัญหาเครื่องไม่พร้อมใช้งาน

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดพิพา […]

The post ศาลอาญายกฟ้อง อดีต สว. อุปกิต ทุกข้อหา ชี้ไม่มีส่วนรู้เห็นคดีฟอกเงิน-ยาเสพติดทั้งในและนอกประเทศ พร้อมคืนฉายาทรงเอให้ รังสิมันต์ โรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกรัฐมนตรีประชุมสั่งสอบสวนเหตุเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก หลังพบแชตนักบินแจ้งปัญหาเครื่องไม่พร้อมใช้งาน

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ย.1445/2566 ที่อัยการสูงสุดฟ้อง อุปกิต ปาจรียางกูร อดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นจำเลย ในข้อหา 6 ฐานความผิด

 

ประกอบด้วย 1. เป็นสมาชิกวุฒิสภาสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด 2. ร่วมกันจำหน่ายโดยมีไว้ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 (เคตามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต 3. เป็นสมาชิกวุฒิสภาสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานฟอกเงิน 4. เป็นสมาชิกวุฒิสภาร่วมกันฟอกเงิน 5. เป็นสมาชิกวุฒิสภาร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรข้ามชาติโดยสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำผิดร้ายแรง และ 6. มีส่วนร่วมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในกิจกรรมขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

 

จากคดีที่ อุปกิต ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์พัวพันกับขบวนการยาเสพติดและการฟอกเงินกับ ตุน มิน ลัต ชาวเมียนมา ที่ถูกตำรวจไทยจับกรณีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด และฟอกเงิน เมื่อ 17 กันยายน 2565 โดยอัยการสูงสุดมีอำนาจสอบสวนคดีนอกราชฯ ได้มีคำสั่งตั้ง วัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีสอบสวน และคณะอัยการสำนักงานคดีสอบสวนร่วมสอบสวน และนำสำนวนส่งไปยังสำนักงานอัยการคดียาเสพติด เพื่อนำเสนอส่งอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคดี โดยอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วมีความเห็นสั่งฟ้อง

 

ทั้งนี้ อุปกิต ปาจรียางกูร จำเลย ได้รับอนุญาตปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณา โดยมีหลักทรัพย์ประกันเป็นจำนวน 10,000,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข มีคำสั่งห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

 

ซึ่งล่าสุดวันนี้ อุปกิต ได้เดินทางมาถึงศาลตั้งแต่ 08.30 น. ต่อมาศาลอ่านคำพิพากษา พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพนักงานสอบสวนที่ได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาที่ค้ายาเสพติดและโอนเงินผ่าน 22 บัญชี แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า อุปกิต มีส่วนรู้เห็นกับเรื่องดังกล่าวในการสมคบกันเพื่อค้ายาเสพติด แม้จะมีแชตที่คุยกับ ตุน มิน ลัต ผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติด คดี ย1249/2565 ที่ศาลยกฟ้องไปพร้อมกับพวก 5 รายก่อนหน้านี้ 

 

โดยแชตดังกล่าวเป็นเพียงการพูดคุยการโอนเงินชำระค่าไฟฟ้ามูลค่า 30 ล้านบาทที่ท่าขี้เหล็ก โดยชำระให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแม่สาย การพูดคุยเป็นการทวงเงินการชำระค่าไฟฟ้าท่าขี้เหล็กเพียงเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มผู้ค้ายามีการโอนเงินเพียงครั้งละ 5 แสน ถึง 1 ล้านบาท โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการปิดชายแดนจากโควิด จึงต้องใช้บัญชีส่วนตัวของ ตุน มิน ลัต โอนเงินสู่การไฟฟ้าแม่สาย 

 

ภายหลังยกฟ้อง อุปกิตกล่าวว่า ทีมทนายความสามารถโต้แย้งข้อกล่าวหาได้ทั้งหมด ศาลพิพากษายกฟ้อง ทางด้านกฎหมายตนได้รับความเป็นธรรม ตนต้องได้รับความผิดจากการถูกกล่าวหาทุกข้อกล่าวหาทำให้ตนทุกข์ทรมานใจมานาน 3 ปี ในสิ่งที่ตนไม่ได้ทำผิด การอภิปรายของ รังสิมันต์ โรม นำพยานหลักฐานเท็จทั้งหมดมาพูดต่อพยานหลักฐานการสืบสวนของ พ.ต.ท. มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ มาจัดการตน 

 

ตนมั่นใจว่ากรรมจะตามสนอง เพราะมีหลายคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องนี้ และประชาชนสามารถเห็นได้ว่าแม้กระทั่งผู้สมัครผู้ที่เกี่ยวข้องกับพรรคเขาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริง มีเรื่องละเมิดทางเพศ มีอิทธิพล มาอ้างว่าทำการเมืองใหม่แต่จริงๆ แล้วแย่มาก เมื่อผลคำพิพากษายกฟ้องในวันนี้ตนจะขอใช้สิทธิ์ทางกฎหมายเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมคืนมาจะขอยื่นฟ้องกลับถ้าคดีนี้ถึงที่สุดอย่างแน่นอน 

 

อุปกิตกล่าวอีกว่า วันนี้ตนขอมอบตำแหน่งและคำกล่าวที่กล่าวหาตนว่าเป็น สว.ทรงเอ คืนให้ รังสิมันต์ และพรรคที่เจ้าตัวสังกัดอยู่ แม้ว่าการพิพากษาวันนี้เป็นเพียงแค่ศาลชั้นต้น แต่ก็ทำให้เห็นแนวทางแล้วว่าไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกันเลย เรื่องการชำระเงินนั้นเป็นการจ่ายค่าไฟฟ้าในช่วงที่ชายแดนปิดจากโควิด 19 เท่านั้น หลังจากนี้ก็จะดูต่ออีกว่าฝ่ายอัยการจะอุทธรณ์คำร้องหรือไม่

 

เมื่อถามว่าความสัมพันธ์กับ ตุน มิน ลัต เป็นอย่างไร อุปกิตกล่าวว่า ตนกับ ตุน มิน ลัต รู้จักกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว เมื่อก่อนพ่อของ ตุน มิน ลัต เป็นอธิบดีท่องเที่ยว จึงได้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศของเจ้าตัว และหลังจากเกิดเรื่องก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกแล้ว และตนก็เชื่อว่า ตุน มิน ลัต ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้ด้วย ทั้งนี้ตนอยากฝากไปถึงรังสิมันต์ด้วยว่า การเป็นนักการเมืองสมัยใหม่จะมีวาทกรรมที่พูดไปเรื่อยไม่ได้ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

The post ศาลอาญายกฟ้อง อดีต สว. อุปกิต ทุกข้อหา ชี้ไม่มีส่วนรู้เห็นคดีฟอกเงิน-ยาเสพติดทั้งในและนอกประเทศ พร้อมคืนฉายาทรงเอให้ รังสิมันต์ โรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ สั่งสอบละเอียด ปมเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก ย้ำให้ความสำคัญชีวิตกำลังพล ผบ.ตร. รับทราบแชตนักบิน “เครื่องไม่พร้อมบิน” เตรียมสอบทุจริตซ่อมบำรุง https://thestandard.co/helicopter-police-crash-investigation/ Wed, 28 May 2025 07:03:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1079402 นายกรัฐมนตรีประชุมสั่งสอบสวนเหตุ เฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก หลังพบแชตนักบินแจ้งปัญหาเครื่องไม่พร้อมใช้งาน

จากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตำรวจรุ่นเบลล์ 212 ตกที่จังหวัด […]

The post นายกฯ สั่งสอบละเอียด ปมเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก ย้ำให้ความสำคัญชีวิตกำลังพล ผบ.ตร. รับทราบแชตนักบิน “เครื่องไม่พร้อมบิน” เตรียมสอบทุจริตซ่อมบำรุง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกรัฐมนตรีประชุมสั่งสอบสวนเหตุ เฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก หลังพบแชตนักบินแจ้งปัญหาเครื่องไม่พร้อมใช้งาน

จากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตำรวจรุ่นเบลล์ 212 ตกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ล่าสุดวันนี้ (28 พฤษภาคม) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียก พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธ์ุเพชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เข้ามารายงานความคืบหน้าและสอบถามถึงความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำถึงความสำคัญของชีวิตกำลังพล และไม่ละเลยทุกความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้

 

พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ เปิดเผยภายหลังการเข้าพบนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยอย่างมาก และสอบถามถึงความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขอให้พิจารณาและนำเสนอเข้ามา ซึ่งสิ่งแรกที่ตนและผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงคือ ความปลอดภัยของนักบิน และสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นความสูญเสียอย่างยิ่ง

 

สำหรับกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความแชตของหนึ่งในนักบินผู้เสียชีวิตที่ระบุว่า “เครื่องบินแทบบินไม่ได้แล้ว” นั้น ผบ.ตร. ยอมรับว่าได้เห็นข้อความดังกล่าวแล้ว และได้ส่งความเห็นนี้ให้จเรตำรวจแห่งชาติเพื่อนำไปตรวจสอบอย่างละเอียด โดยยืนยันว่าจะไม่ละเลยทุกความเห็นที่ได้รับมา และขอให้ตรวจสอบทุกประเด็น

 

พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ กล่าวต่อว่า หากตรวจสอบพบว่ามีการประพฤติมิชอบ หรือมีการ ทุจริตในการซ่อมบำรุง จะต้องถูกดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นเรื่องของชีวิตกำลังพล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา เพราะเป็นเรื่องของชีวิตคน

 

ในส่วนของการจัดซื้ออากาศยานใหม่ ผบ.ตร. ระบุว่าอยู่ในแผนการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่แล้ว แต่จะต้องพิจารณาถึงภารกิจความจำเป็นและงบประมาณ รวมถึงแนวคิดการบริหารงานในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยจะเร่งตรวจสอบจำนวนเฮลิคอปเตอร์ที่มีอยู่ทั้งหมด รวมถึงจำนวนที่รอจำหน่ายและอยู่ในวงการซ่อมแซม เพื่อประเมินความจำเป็นในการจัดซื้อใหม่

 

ขณะที่มีข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก CSI LA ที่ระบุว่า กองบินตำรวจมีเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด 63 ลำ แต่ใช้งานได้เพียง 9 ลำ และมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทุจริตซ่อมบำรุงนั้น ผบ.ตร. กล่าวว่ามีข้อมูลจากหลายกลุ่ม แต่ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้บริหารกองบินด้วย โดยจะมีการตรวจสอบว่าเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ไม่ได้นั้นเกิดจากสาเหตุใด และส่วนที่อยู่ในวงรอบการซ่อมแซมนั้นเป็นการบริหารจัดการที่ถูกต้องหรือไม่ 

 

แต่หากพบว่าถึงชั่วโมงบินแล้วไม่ซ่อมแซมหรือไม่ดูแล ถือเป็นประเด็นที่ต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น

 

อย่างไรก็ตาม ผบ.ตร. ยืนยันว่าไม่มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้ออากาศยานใหม่ในงบประมาณปี 2569 มีเพียงงบประมาณสำหรับการซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นการขอตามงบประมาณปกติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

The post นายกฯ สั่งสอบละเอียด ปมเฮลิคอปเตอร์ตำรวจตก ย้ำให้ความสำคัญชีวิตกำลังพล ผบ.ตร. รับทราบแชตนักบิน “เครื่องไม่พร้อมบิน” เตรียมสอบทุจริตซ่อมบำรุง appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘อีสานโชว์พ(ร)าว’ CEA ผนึกพันธมิตร ดันซอฟต์พาวเวอร์ท้องถิ่น ให้คนอีสานพราวด์ไกลระดับโลก https://thestandard.co/isan-soul-proud/ Wed, 28 May 2025 06:29:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1079396 ISAN SOUL PROUD

ถึงเวลาที่อีสานจะได้โชว์พ(ร)าว! CEA ผนึกพันธมิตรจัดเทศก […]

The post ‘อีสานโชว์พ(ร)าว’ CEA ผนึกพันธมิตร ดันซอฟต์พาวเวอร์ท้องถิ่น ให้คนอีสานพราวด์ไกลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ISAN SOUL PROUD

ถึงเวลาที่อีสานจะได้โชว์พ(ร)าว! CEA ผนึกพันธมิตรจัดเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2568 ดันซอฟต์พาวเวอร์พื้นถิ่น สู่เวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับภูมิภาค

 

 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับเครือข่ายระดับประเทศ ประกาศความพร้อมจัดงาน ‘เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2568’ หรือ Isan Creative Festival 2025 ภายใต้ธีม ‘อีสานโชว์พ(ร)าว – ISAN SOUL PROUD’ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2568 บน 4 พื้นที่สำคัญในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ TCDC ขอนแก่น ย่านกังสดาล, ย่านชุมชนสร้างสรรค์โคลัมโบ, โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น, ชุมชนสาวะถี รวมถึงพื้นที่สร้างสรรค์อื่นๆ ในภาคอีสาน

 

เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2568 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 โดยในปีนี้ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), AIS 3BB Fibre3, Copilot by Microsoft, ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขอนแก่น และบริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด เพื่อยกระดับเทศกาลสู่ ‘Creative Business Platform’ ที่เชื่อมโยงนักสร้างสรรค์ ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม 

 

สำหรับธีม ‘อีสานโชว์พ(ร)าว – ISAN SOUL PROUD’ เป็นไอเดียที่ต้องการเชิญชวนทุกคนมาต่อยอดโอกาสใหม่ของอีสาน ทั้ง ‘การโชว์โอกาส’ ผ่านต้นทุนวัฒนธรรมที่ต่อยอดได้ทางธุรกิจ และ ‘การโชว์ศักยภาพเชิงพื้นที่’ ที่พร้อมต้อนรับการลงทุน ซึ่งจะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนในภูมิภาคและเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ชาวอีสานภาคภูมิใจกว่าที่เคย

 

สักก์สีห์ พลสันติกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ขอนแก่น กล่าวว่า “ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เทศกาลไม่ใช่แค่กิจกรรม แต่คือเวทีที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 1,590 ล้านบาท และปีนี้เทศกาลฯ พร้อมก้าวสู่ปีที่ 5 อย่างเต็มรูปแบบ ที่จะเชื่อมโยงนักสร้างสรรค์ พัฒนาทุนวัฒนธรรมให้เกิดการลงทุน และสร้างการเติบโตให้เมืองในอีสานกลายเป็น Creative City ที่กระจายโอกาสอย่างยั่งยืน”

 

ด้าน อารีรัตน์ มนตรีปรีชาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB เปิดเผยว่า TCEB นำ ISAN MICE EXPO 2025 จัดควบคู่กับเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ เพื่อเสริมพลังเศรษฐกิจ MICE ของภูมิภาค ภายใต้แนวคิด Modernize in Root – Identify in Global วันที่ 28-29 มิถุนายน ที่ TCDC ขอนแก่น โดยคาดว่าจะสร้างมูลค่าซื้อ-ขายระหว่างงานกว่า 150-250 ล้านบาท

 

วิไลลักษณ์ โพธิ์ตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด กล่าวทิ้งท้ายว่า “ปีนี้ The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 มีความพิเศษยิ่งกว่าทุกครั้ง เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมมือกับเทศกาลอีสานสร้างสรรค์อย่างเป็นทางการ เพื่อขับเคลื่อน ‘ศักยภาพของอีสาน’ ผ่านเวทีความรู้ เสวนา เวิร์กช็อป และกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ที่ออกแบบมาอย่างเข้มข้น โดยผู้นำธุรกิจจากหลากหลายสาขาจะมาร่วมถ่ายทอดโมเดลและแนวคิดธุรกิจแห่งอนาคตที่สามารถเชื่อมโยงกับจุดแข็งของอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร วัฒนธรรม หรือการท่องเที่ยว ทั้งนี้ การรวมพลังของ ‘ความรู้ที่ใช่’ ใน ‘พื้นที่ที่พร้อม’ อย่างพื้นที่ภาคอีสาน จะช่วยพลิกวงการธุรกิจท้องถิ่นและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงให้ ‘คนอีสาน’ และ ‘ของอีสาน’ เติบโตบนเวทีโลก

 

เตรียมพบกับ ‘เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2568’ ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตลอด 9 วันเต็ม ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2568 มาร่วมสัมผัสพลังสร้างสรรค์ของอีสานที่จะเปล่งประกายบนเวทีระดับภูมิภาคและโลกไปพร้อมกัน

 

[PR NEWS]

The post ‘อีสานโชว์พ(ร)าว’ CEA ผนึกพันธมิตร ดันซอฟต์พาวเวอร์ท้องถิ่น ให้คนอีสานพราวด์ไกลระดับโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
The 1 Insight จับมือ Wisesight เปิดโผ 4 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ‘Modern Life Milestones’ บอกลาการสะสมทรัพย์สิน หันมาจ่ายเพื่อความสุขทันที https://thestandard.co/modern-life-milestones-gen-z-lifestyle/ Wed, 28 May 2025 06:27:01 +0000 https://thestandard.co/?p=1079394 ภาพประกอบอินโฟกราฟิก 4 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่จาก The 1 Insight และ Wisesight ที่สะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อความสุขทันที

The 1 Insight ผนึกกำลัง Wisesight Research ปล่อยบทวิเคร […]

The post The 1 Insight จับมือ Wisesight เปิดโผ 4 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ‘Modern Life Milestones’ บอกลาการสะสมทรัพย์สิน หันมาจ่ายเพื่อความสุขทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาพประกอบอินโฟกราฟิก 4 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่จาก The 1 Insight และ Wisesight ที่สะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อความสุขทันที

The 1 Insight ผนึกกำลัง Wisesight Research ปล่อยบทวิเคราะห์ ‘The Great Lifestyle Shift’ เจาะลึก 4 รูปแบบไลฟ์สไตล์ใหม่ในชื่อ ‘Modern Life Milestones’ ที่กำลังพลิกโฉมวิธีคิดและการใช้จ่ายของคนไทย จากยุคเก็บหอมรอมริบเพื่ออนาคต สู่ยุค ‘จ่ายเพื่อความสุขแบบทันควัน’ หรือ Instant Gratification

 

การวิเคราะห์ครั้งนี้ผสมผสานข้อมูลเชิงลึกจากพฤติกรรมการใช้จ่ายจริงของ The 1 Insight เข้ากับการวิจัยความคิดเห็นบนโลกโซเชียลโดย Wisesight Research เพื่อฉายภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงพฤติกรรมและทัศนคติได้อย่างรอบด้าน

 

ผลวิจัยเผยแนวโน้มใหม่ 4 ด้านที่น่าจับตามอง ได้แก่

 

1. Pet is the New Family: หมาแมวขึ้นแท่นลูกคนที่สอง

 

ในยุคที่ผู้บริโภคเริ่มตั้งคำถามกับ ‘สูตรสำเร็จ’ ของชีวิตแบบเดิมและเลือกมีลูกน้อยลง สัตว์เลี้ยงกลายเป็นศูนย์กลางความรักแบบใหม่ โดย 52% ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ‘ลูกขน’ เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะการใช้จ่ายกับคลินิกสัตว์เลี้ยงและอาหารคุณภาพดี ขณะที่ 30% ยอมรับว่าการเห็นสัตว์เลี้ยงอิ่มท้องคือความสุขชีวิต

 

ตลาดสินค้าสัตว์เลี้ยงพุ่งทะยาน 15% โดย Gen Y จ่ายหนักสุด ตามด้วย Gen X ที่น่าทึ่งคือสินค้า Pet Technology โตบ้าระห่ำกว่า 20 เท่า! โดยเฉพาะ ‘ห้องน้ำแมวอัตโนมัติ’ ยอดขายพุ่งกว่า 20 เท่า ตามมาด้วยเครื่องเป่าขนและน้ำพุสัตว์เลี้ยง

 

ทั้งหมดนี้พิสูจน์ชัดเจนว่าสัตว์เลี้ยงกำลังกลายเป็นจุดโฟกัสใหม่ของการดูแลและใช้จ่ายในครัวเรือน เปิดโอกาสทองให้ธุรกิจที่เข้าใจบทบาทของสัตว์เลี้ยงในฐานะ ‘สมาชิกครอบครัว’ อย่างแท้จริง

 

2. Health is the New Wealth: สุขภาพดีคือสมบัติล้ำค่า

 

แนวคิดเรื่อง ‘การดูแลสุขภาพ’ ของผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยมองเป็นเรื่องของอนาคตหรือวัยเกษียณ กลายมาเป็นการลงทุนที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในทุกช่วงอายุ

 

Wisesight Research พบว่า 44% มีความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามิน ขณะที่การออกกำลังกายมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายในกลุ่มฟิตเนสเติบโต 3 เท่าในปีที่ผ่านมา ตามการวิเคราะห์ของ The 1 Insight

 

สินค้าด้านสุขภาพในบ้านก็เติบโตเด่นชัด ลู่วิ่งไฟฟ้าขายดีขึ้น 20% เซ็ตดัมบ์เบลและม้านั่งออกกำลังกายได้รับความนิยมสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

ที่น่าสนใจคือ 52% ของผู้บริโภคมองว่าประกันสุขภาพคือสิ่งแรกที่ต้องลงทุน เพื่อเป็นแผนสำรองลดความเสี่ยงปัญหาการเงิน ส่งผลให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต The 1 Insure พุ่ง 2.5 เท่าในปีที่ผ่านมา สมาร์ทวอทช์ก็ขายดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน Gen Z ที่ใส่ใจติดตามสุขภาพทุกวัน

 

คลินิกเพื่อสุขภาพและความงามโตถล่มทลาย 70% ในปีที่ผ่านมาทุกช่วงวัย กลุ่มทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้าที่ช่วยให้ดูอ่อนเยาว์มีอัตราเติบโตในทุกช่วงวัย แม้แต่ Gen Z ที่ยังหนุ่มสาวแต่เลือกใช้จ่ายเพื่อภาพลักษณ์และ ‘ความมั่นใจ’ ที่ให้ผลลัพธ์ทันที

 

3. Travel is the New Milestone: เที่ยวคือการสะสมความทรงจำ

 

สำหรับผู้บริโภคยุคใหม่โดยเฉพาะ Gen Y แนวคิดเรื่องความสำเร็จได้เปลี่ยนจากการมีทรัพย์สินถาวร สู่การสะสม ‘ประสบการณ์’ ที่มีความหมายมากกว่า

 

Wisesight Research พบว่าคนปัจจุบันมองการท่องเที่ยวเป็นมากกว่าการเดินทาง โดย 44% มองว่าเป็นการเติมเต็มความสุขในชีวิต เพราะเป็นโอกาสที่ดีในการใช้เวลากับคนที่รักหรือคนสำคัญ และยังเป็นการให้เวลากับตัวเอง 

 

30% มองว่าเป็นการเยียวยาจิตใจและสร้างสมดุลชีวิต ช่วยบรรเทาความเครียดจากชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความกดดันจากการทำงานหนัก และ 21% มองว่าเป็นความฝันหรือเป้าหมายในชีวิต โดยเฉพาะการได้ไปเยือนจุดหมายที่ตั้งใจ หรือมีไลฟ์สไตล์การเดินทางในแบบที่ต้องการ

 

พฤติกรรมการใช้จ่ายสะท้อนแนวโน้มนี้อย่างชัดเจน The 1 Insight พบว่ายอดใช้จ่ายคนไทยในห้างยุโรปพุ่งขึ้นกว่า 3.5 เท่า พร้อมกับสินค้าหมวดเสื้อผ้าและอุปกรณ์สำหรับการเดินทางที่เติบโตกว่า 30% ในปีที่ผ่านมา

 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย้ำชัดถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิดของผู้บริโภค ที่ไม่ได้มองการเดินทางเป็นแค่การพักผ่อนเท่านั้น แต่คือ ‘Milestone แห่งชีวิต’ ที่สามารถเติมเต็มได้ทุกปี ไม่จำเป็นต้องรอถึงวัยหรือสถานะที่ ‘พร้อม’ อีกต่อไป

 

4. Joy is the New Priority: ความสุขเล็กๆ ไม่ต้องรอ

 

ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ความสุขในชีวิตประจำวันจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคไม่อยากรออีกต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับ ‘คุณภาพของวันธรรมดา’ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

Wisesight Research พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้คุณค่ากับความสุขในชีวิตประจำวัน โดยมีลำดับความสำคัญแตกต่างกันไป ได้แก่ การได้อยู่กับคนสำคัญและครอบครัว (34%) การได้ทานอาหารอร่อย (22%) การมีชีวิตเรียบง่าย ไม่เร่งรีบ (20%) สุขภาพแข็งแรง (13%) และการได้ทำงานอดิเรก (11%)

 

แนวโน้มนี้สะท้อนผ่านพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างชัดเจน อาทิ กลุ่ม Fine Dining ซึ่งมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นกว่า 60% โดย Gen Y และ Gen X คือกลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตนี้ เพราะมื้ออาหารไม่ใช่แค่เรื่องของการอิ่มท้องอีกต่อไป แต่กลายเป็น ‘พื้นที่แห่งความสุข’ ที่เติมเต็มพลังใจ และสร้างช่วงเวลาคุณภาพในวันธรรมดาได้อย่างจับต้องได้

 

สินค้าที่ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการพักผ่อนในบ้านก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในทุกเจเนอเรชัน Gen Z นิยมซื้อเครื่องเล่นเกมและทีวี Gen Y นิยมอุปกรณ์ออกกำลังกายในบ้าน Gen X ให้ความสำคัญกับเครื่องนอนคุณภาพดี Baby Boomers นิยมอุปกรณ์สปาใช้ในบ้าน

 

อย่างไรก็ดี กลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมข้ามเจเนอเรชันคือ ‘เครื่องนอนและอุปกรณ์เพื่อการพักผ่อน’ โดยเฉพาะ Topper ที่มียอดขายเติบโตถึง 3 เท่า และสินค้ากลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะยอมจ่ายในราคาต่อชิ้นที่สูงขึ้นถึง 1.5 เท่า

 

การใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุขในชีวิตประจำวันได้กลายเป็นเมกะเทรนด์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน แบรนด์ที่สามารถตอบโจทย์ความสบายใจ ความสบายกาย และคุณภาพของวันธรรมดาได้ จะเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทในตลาดต่อจากนี้ไป

 

การวิจัยครั้งนี้ไม่เพียงสะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของพฤติกรรมผู้บริโภคไทย ที่หันมาให้ความสำคัญกับ ‘คุณค่าในชีวิต’ และ ‘ความสุขที่เกิดขึ้นทันที’ มากกว่าการสะสมทรัพย์สินเพื่ออนาคต แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนให้แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับกลยุทธ์ให้ทันกับไลฟ์สไตล์ใหม่ เพราะแบรนด์ไหนที่เข้าใจและตอบโจทย์ ‘Modern Life Milestones’ ได้ดีที่สุด จะคว้าใจผู้บริโภคยุคใหม่ไปครองเต็มๆ ในตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้

 

ภาพ: Jo Panuwat D / Shutterstock

The post The 1 Insight จับมือ Wisesight เปิดโผ 4 ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ‘Modern Life Milestones’ บอกลาการสะสมทรัพย์สิน หันมาจ่ายเพื่อความสุขทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
นันทนาขอยุติรวมชื่อ 20 คน ให้ สว. หยุดปฏิบัติหน้าที่ หวั่นถูกโต้กลับ เรียกร้องสำนึกชะลอเลือกองค์กรอิสระ https://thestandard.co/senator-petition-halted-independent-vote-delay/ Wed, 28 May 2025 06:21:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1079395 นันทนา นันทวโรภาส แถลงยุติการล่าชื่อถอดถอน สว. บริเวณรัฐสภา

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา นันทนา นันทวโรภาส สม […]

The post นันทนาขอยุติรวมชื่อ 20 คน ให้ สว. หยุดปฏิบัติหน้าที่ หวั่นถูกโต้กลับ เรียกร้องสำนึกชะลอเลือกองค์กรอิสระ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นันทนา นันทวโรภาส แถลงยุติการล่าชื่อถอดถอน สว. บริเวณรัฐสภา

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) พร้อมด้วยกลุ่มผู้สมัคร สว. และ ภัทรพงศ์ ศุภักษร หรือ ทนายอั๋น บุรีรัมย์ แถลงกรณีการรวบรวมรายชื่อ สว. 20 คน เพื่อขอให้ สว. ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบคดีฮั้ว สว. หยุดปฏิบัติหน้าที่ 

 

นันทนาได้ยกมือไหว้ พร้อมกล่าวขออภัยประชาชนที่ไม่สามารถหา สว. ร่วมลงชื่อได้ครบ 20 คน เนื่องจาก สว. กลุ่มอิสระ มีเพียง 40-50 คน จะหารายชื่อ 20 ถือว่าเป็นเรื่องยากมาก เพราะคำร้องถอดถอน สว. นั้นก็มีเนื้อหาแข็งกร้าว เป็นยาแรง จนอาจกระทบกับ สว. ที่ลงชื่อ และหากมีการตอบโต้ เอาคืน สว. สีน้ำเงิน ก็สามารถรวมเสียงได้ง่ายชั่วพริบตา จึงขอประกาศยุติการล่าชื่อตั้งแต่วันนี้ 

 

นันทนาได้ยกคำพูดของ ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า แม้กฎหมายไม่ได้ห้าม แต่สิ่งละเอียดอ่อนกว่ากฎหมายคือสมควรทำหรือไม่ ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาใหญ่ บุคคลที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระต้องมีการตรวจสอบทางจริยธรรมว่าเป็นแบบอย่างได้หรือไม่ เพราะเมื่อเราตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบเองก็ต้องมีมาตรฐานทางจริยธรรม 

 

ดังนั้นเพื่อความรอบคอบ เห็นว่าควรเลื่อนภารกิจนี้ไปก่อน เพราะคนในองค์กรอิสระท่านยังทำหน้าที่ได้อยู่ ไม่ได้มีเหตุว่าถ้าไม่ผ่านภายในวันนี้ เดือนนี้ จะเกิดสุญญากาศขึ้น จึงอยากส่งเสียงไปยัง สว. เสียงข้างมาก ให้คำนึงเรื่องจริยธรรม แม้ในข้อกำหนดจะไม่สามารถบังคับได้ แต่ก็ควรจะมีจริยธรรม เพราะการเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนที่รุนแรง และเป็นสิ่งที่ทราบกันดีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ กฎหมายใดๆ ก็ตามไม่ถึง 

 

“ในรอบ 93 ปีของระบอบประชาธิปไตย ยังไม่เคยมีสภาชุดไหนที่ สว. ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่าเข้ามาโดยมิชอบเกินกว่าครึ่งของสภา จึงต้องอาศัยจิตสำนึกและจริยธรรม ของผู้ที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ ในการเร่งวาระผู้ที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และอาศัยช่วงการเปิดประชุมเพื่อพิจารณางบประมาณแผ่นดิน แต่กลับสอดไส้วาระพิจารณาเห็นชอบองค์กรอิสระเข้ามาอย่างมีพิรุธ” นันทนากล่าว

 

นันทนาขอเสนอแผนที่ 2 เพื่อยับยั้งไม่ให้ สว. เสียงข้างมากได้ลงมติ ด้วยการยื่นญัตติด่วนด้วยวาจาในที่ประชุมวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ เนื่องจาก เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว. ได้ยื่นญัตติเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว แต่จนถึงวันนี้ ทราบว่ายังไม่มีการบรรจุลงระเบียบวาระ ดังนั้น ญัตตินี้จึงอาจตกไป แต่ในที่ประชุมวุฒิสภา สว. ยังมีโอกาส ซึ่งตนเองจะเป็นคนใช้สิทธิเสนอญัตติด่วนด้วยวาจานั้น เพื่อให้ สว. ชะลอการลงมติเห็นชอบเกี่ยวกับองค์กรอิสระทั้งหมด 

 

ส่วนในระยะยาว เราจะมีการเสนอให้แก้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ให้การเห็นชอบตำแหน่งบุคคลในองค์กรอิสระ เป็นการกระทำที่โปร่งใส มีการเปิดเผยประวัติความเป็นมา ทั้งด้านดีด้านลบ คุณสมบัติ วิสัยทัศน์ ให้ครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนทราบ แบบไม่มุบมิบ จนเป็นระบบพวกพ้อง ดั่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่

 

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนเริ่มมองเห็นความผิดปกติต่อเรื่องนี้ เห็นความไม่ชอบธรรมต่อการกระทำหน้าที่ของ สว. กลุ่มใหญ่นี้ จึงออกมาช่วยกันส่งเสียงคัดค้าน และขอเรียกร้องไปยังประชาชนทั้งหลาย ให้ช่วยกันจับตาการประชุมวุฒิสภาในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ ช่วยกันส่งเสียง สื่อสาร ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของการเห็นชอบ ของ สว. ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบขององค์กรอิสระไปด้วยกัน ไม่เช่นนั้นแล้ว  จะเป็นการที่ สว. กลุ่มใหญ่นี้ สามารถเลือกผู้พิพากษาตัดสินคดีของตัวเอง สามารถเลือกกรรมการในการมาตัดสินเรื่องร้องเรียนของตัวเอง 

 

“ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 60 ที่มีข้อบกพร่องมากมาย รั่วทุกจุด มีกล่องดวงใจ ใส่ไว้ในองค์กรอิสระ ให้มีอำนาจวินิจฉัย ตัดสินคดีต่างๆ ตรวจสอบผู้มาดำรงตำแหน่งต่างๆ ได้ โดยผูกพันทุกองค์กร มีอำนาจที่กว้าง และเป็นการ้ปิดช่อง ดังนั้น จึงต้องหาวิธีในการยกร่าง แก้รัฐธรรมนูญใหม่ เพื่ออุดช่องว่างในกระบวนการได้มาซึ่ง สว. ต้องเปลี่ยนกติกา เพื่อควบคุมขอบเขตองค์กรอิสระทั้งหลาย” นันทนากล่าว 

The post นันทนาขอยุติรวมชื่อ 20 คน ให้ สว. หยุดปฏิบัติหน้าที่ หวั่นถูกโต้กลับ เรียกร้องสำนึกชะลอเลือกองค์กรอิสระ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยกับการปรับตัวสู่ ‘บริบทโลกใหม่’ การทูตควรรุกอย่างไร? https://thestandard.co/thai-diplomacy-new-world-order/ Wed, 28 May 2025 06:11:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1079375 เวทีเสวนาการทูตไทยในยุคใหม่ ท่ามกลางบริบทความไม่แน่นอนของโลก

สถานการณ์โลก ณ ปัจจุบัน เต็มไปด้วยภาพของปัญหาและความขัด […]

The post ไทยกับการปรับตัวสู่ ‘บริบทโลกใหม่’ การทูตควรรุกอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
เวทีเสวนาการทูตไทยในยุคใหม่ ท่ามกลางบริบทความไม่แน่นอนของโลก

สถานการณ์โลก ณ ปัจจุบัน เต็มไปด้วยภาพของปัญหาและความขัดแย้งมากมาย ทั้งสงคราม ข้อพิพาท และการสู้รบทางเศรษฐกิจ ที่ทวีความซับซ้อนและตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ กระทบต่อทุกชีวิตบนโลก ที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดอย่างยากลำบาก 

 

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญ เพื่อแก้ไขความท้าทายเหล่านี้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ‘การทูต’ ที่สามารถบรรเทาปัญหา และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคู่ขัดแย้ง พลิกสถานการณ์บาดหมางอันเลวร้ายให้กลับดีขึ้นได้ อีกทั้งยังนำมาซึ่ง ‘โอกาส’ จากความร่วมมือในด้านต่างๆ 

 

แน่นอนว่าไทยเราเอง ก็ให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านการทูตมายาวนาน มีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1875 หรือครบ 150 ปีในปีนี้ 

 

แต่สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกในตอนนี้ ที่การแข่งขันของมหาอำนาจรุนแรงและคาดเดาได้ยาก ทำให้ทั่วโลกต้องปรับตัวรับมือ และไทยเราเองก็ต้องขยับทิศทางการทูตอย่างเหมาะสม เพื่อฝ่ากระแสลมพายุอันท้าทายนี้ไปให้ได้

 

THE STANDARD และกระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีเสวนา ‘DECODING THE WORLD ON STAGE: ไทยกับบริบทโลกใหม่: การทูตควรรุกอย่างไร’ ในวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา ฉายให้เห็นภาพระเบียบโลกในยุคใหม่ โดยเฉพาะการมาของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ในสมัยที่ 2 ที่เต็มไปด้วยความ ‘ไม่แน่นอน’

 

พายุทรัมป์ สั่นคลอนระเบียบโลก 

 

ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวบนเวทีเสวนา ชี้ว่าวันนี้ รัฐนาวาไทยกำลังอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรใหญ่ ที่เผชิญกับพายุที่ชื่อว่า ‘ทรัมป์’

 

เขาให้คำนิยามทรัมป์ว่าเป็นนักการเมืองนอกกระแส เพราะมีชุดความคิดแบบฝ่ายขวา หรือที่เรียกกันว่า ‘ประชานิยมปีกขวา’ ซึ่งเป็นชุดความคิดที่เริ่มเห็นมากขึ้นในกลุ่มชาติตะวันตก โดยมีแนวคิดหรือความเชื่อหลักๆ คือ

 

  • จีนเป็นภัยคุกคามหลัก
  • รัสเซียเป็นมิตรที่คุยได้ ไม่ใช่ภัยคุกคาม
  • ทุกประเทศเอาเปรียบสหรัฐฯ ในทางเศรษฐกิจ
  • กำแพงภาษีเป็นเครื่องมือปกป้องตัวเอง
  • ประเทศคู่ค้าต้องซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ ให้สมดุล

 

ในอีกมุมหนึ่ง ทรัมป์มีหลักการ หรือมุมมองที่สอดคล้องกับแนวคิด America First หรือ อเมริกาต้องมาก่อน คือ

 

  • สหรัฐฯ จะไม่จ่ายเงินช่วยเหลือด้านความมั่นคงแบบเดิม
  • ทุกประเทศต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการจ่ายงบความมั่นคงเพิ่ม 
  • สหรัฐฯ จะลดพันธะนอกบ้านลง
  • ถ้าจะมีพันธะ สหรัฐฯ ต้องได้รับผลตอบแทน
  • ผู้อพยพคือตัวปัญหาใหญ่ ที่ทำลายสังคมอเมริกัน ต้องเนรเทศออกไป

 

ดร.สุรชาติ มองว่ารัฐบาลประชานิยมปีกขวาของสหรัฐฯ กำลังอยู่ในภาวะ ‘3 ไม่’ คือ

 

  1. ไม่ยึดถือผลประโยชน์แบบเดิม
  2. ไม่ยึดโยงระบบพันธมิตรเดิม
  3. ไม่ยึดมั่นในพันธกรณีระหว่างประเทศแบบเดิม

 

ภาวะนี้ กำลังส่งผลกระทบต่อระเบียบโลก ในขณะที่การปรับเปลี่ยนนโยบายของทรัมป์กำลังก่อให้เกิดปัญหาแบบ 3 D ได้แก่ Deglobalization หรือกระแสทวนกลับของโลกาภิวัตน์, Decoupling การแยกตัวของห่วงโซ่อุปทาน และ Disruption หรือการหยุดชะงัก 

 

คำถามสำคัญคือ ผู้คนทั่วโลกจะต้องเผชิญภาวะนี้ไปอีกนานแค่ไหน และผลกระทบทั้งต่อโลก ต่อภูมิภาค และต่อประเทศไทย จะเป็นอย่างไร?

 

ดร.สุรชาติ ชี้ว่า ทรัมป์นั้นเชื่อว่าความปั่นป่วนและชะงักงันของโลก (Global Disruption) จะเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ ในการจัดการกับปัญหาภายในประเทศของตนเอง เพราะเป็นโอกาสให้สหรัฐฯ แก้ไขในสิ่งที่ตนเสียเปรียบ 

 

โดยการประกาศนโยบายภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) คือภาพสะท้อนของการกีดกันทางการค้า อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามการค้า และเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหรืออุดมการณ์ฝ่ายขวาในโลกยุคปัจจุบัน

 

ขณะที่สงครามการค้ายังเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันของรัฐมหาอำนาจ ในมิติต่างๆ นอกจากการค้า ยังมีสงครามการเมือง สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามข่าวสาร และการแข่งขันสะสมอาวุธ

 

โดยการแข่งขันนี้อาจทำให้การเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจ กลายเป็น ‘วิกฤตถาวร (Permacrisis)’ และอาจนำไปสู่ยุค ‘สงครามเย็นใหม่’ และอาจพาโลกย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่กำลังรอคอยการมาของ ‘สงครามทางการทหาร’

 

จาก Friendshoring สู่ Onshoring

 

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ให้ความเห็นในมุมความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยมองว่านโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ 2.0 นั้นเปลี่ยนไปมากเมื่อเทียบกับยุค 1.0

 

โดยในยุคทรัมป์ 1.0 นั้น นโยบายเศรษฐกิจที่กระทบไทยโดยตรง คือการกีดกันทางการค้าด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีน

 

แต่ผลกระทบจากการขึ้นภาษีจีน ทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากจีน ไปยังประเทศพันธมิตรอื่นๆ ของสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Friendshoring โดยรัฐบาลทรัมป์ขณะนั้น ต่อเนื่องมาจนถึงยุครัฐบาล โจ ไบเดน ยังไม่มีท่าทีต่อต้านอะไร 

 

อย่างไรก็ตาม ในยุคทรัมป์ 2.0 ประเทศพันธมิตร เช่น แคนาดาและเม็กซิโก ก็เผชิญกับนโยบายกำแพงภาษีแบบช็อกโลก ที่เกิดขึ้นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย โดยละเมิดสนธิสัญญาทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศที่ทรัมป์ทำขึ้นเองในปี 2019 

 

สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าแนวคิด Friendshoring ก็ไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป และนับจากนี้ต้องเป็นแบบ Onshoring หรือการผลิตจากภายในประเทศของตนเอง ซึ่งทรัมป์เชื่อว่าต้องดึงการผลิตกลับสู่สหรัฐฯ​ และสร้างงานและอุตสาหกรรมภายในประเทศให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งให้ได้

 

ทั้งนี้ ทรัมป์เชื่อว่าประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ล้วนแต่เอาเปรียบสหรัฐฯ ทั้งสิ้น ซึ่งตัวเลขอัตราภาษีในนโยบายภาษีศุลกากรตอบโต้ของทรัมป์นั้นคิดจากตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ หารด้วยปริมาณของสินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ 

 

ดร.ศุภวุฒิ มองว่าการคำนวณอัตราภาษีดังกล่าว ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง โดยเขาชี้ว่า แต่ละประเทศมีความสามารถในการผลิตที่แตกต่างกัน และยังต้องพึ่งพาสินค้าที่ประเทศอื่นผลิตได้ ซึ่งการขาดดุลการค้านั้น ไม่ได้สะท้อนการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ แต่สะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ

 

“แต่ทีมของทรัมป์ไม่คิดอย่างนั้น โลกมันเปลี่ยนไปอย่างมาก สิ่งที่เราประสบกันมาตั้งแต่เกิด เลิกคิดไปเลยว่ามันจบไปแล้ว” เขากล่าว

 

หนึ่งในปัจจัยสะท้อนต้นตอปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คืออัตราการบริโภคที่สูงเกินตัวต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ในขณะที่คู่แข่งอย่างจีนซึ่งมีอัตราบริโภคน้อย ก็มุ่งเน้นการผลิตสินค้าขายสหรัฐฯ ทำให้เกิดความไม่สมดุล 

 

โดยดร.ศุภวุฒิ มองว่า ภาคส่วนของสหรัฐฯ ที่บริโภคหรือใช้จ่ายเกินตัว และนำมาซึ่งปัญหาขาดดุลทางการค้า คือ ‘รัฐบาล’ ซึ่งสะท้อนว่าปัญหาแท้จริงของสหรัฐฯ นั้นอาจจะมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ​ เอง

 

สงครามมหาอำนาจ ไทยควรเลือกข้างไหน?

 

สำหรับสถานการณ์ขัดแย้งในปัจจุบัน หนึ่งในจุดที่น่าเป็นห่วงว่าอาจปะทุเป็นสงครามใหญ่ คือ ช่องแคบไต้หวัน ซึ่งสหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้เล่น ที่เข้ามามีบทบาทปกป้องไต้หวันจากการบุกยึดของจีน

 

คำถามสำคัญคือ หากมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนรบกันขึ้นมา ไทยจะเลือกข้างไหน กระทรวงการต่างประเทศและทหารไทยจะทำอย่างไร?

 

ดร.สุรชาติ ชี้ว่ากลยุทธ์ทางการทูตของไทย สามารถที่จะดำเนินการได้แบบผสมผสานโดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ

 

เขายกตัวอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งวางยุทธศาสตร์พึ่งพาการค้ากับจีน แต่ปักหลักยึดถือความมั่นคงจากอเมริกา 

 

แต่กลยุทธ์ดังกล่าวก็ยังมีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะตอนนี้โลกกำลังอยู่ในสภาวะ Post-America NATO หลังทรัมป์ทิ้ง NATO โดย ดร.สุรชาติ เปรียบว่าทรัมป์กับ NATO ก็เหมือนวงแชร์ และทรัมป์เหมือนเป็นเท้าแชร์ คือต้องจ่ายเงินมาก่อนถึงจะอยู่ในกลุ่มได้ หรือกรณีไต้หวันก็คือการซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ 

 

การทูตไทยควรรุกอย่างไร? 

 

สำหรับนโยบายการทูตเชิงรุกของไทยนั้น ต้องย้อนกลับมาดูเงื่อนไขด้านยุทธศาสตร์ โดยมีตัวอย่างชัดที่สุด คือการที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัวเป็นรัฐสมัยใหม่

 

กรณีวิกฤตการณ์ปากน้ำ รศ.112 หรือปี 1893 เป็นทั้งความโชคดีและโชคร้ายของไทย โดยความโชคร้าย คือ การที่เรือรบฝรั่งเศสแล่นฝ่าแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้ ทั้งที่ไทยเอาโซ่ขึงเพื่อไม่ให้เรือผ่านแนวลำน้ำ แต่ความโชคดี คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ร.5 ไม่ยอมรบกับฝรั่งเศส แต่ตัดสินใจเจรจาแทน โดย ดร.สุรชาติ นิยามว่า เป็นยุทธศาสตร์และการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่มากๆ

 

ความสำเร็จเหล่านี้ปรากฏผลในปี 1917 ไทยสามารถเข้ารบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝรั่งเศสได้โดยไม่ติดใจอะไร ซึ่ง ดร.สุรชาติ มองว่าเป็นนโยบายเชิงรุกที่ใหญ่ที่สุด 

 

ส่วนนโยบายเชิงรับที่ใหญ่ที่สุดของไทย คือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย โดยอธิบายกับคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นว่า ‘ไปตายเอาดาบหน้า’ ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวถูกใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีอาชญากรรมสงครามหลังจากนั้น

 

ทั้งนี้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลายรัฐบาลไทยที่มุ่งดำเนินนโยบายเชิงรุก เช่น ยุครัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, ชาติชาย ชุณหะวัณ และยุค ทักษิณ ชินวัตร 

 

ด้าน ดร.ศุภวุฒิ ชี้ว่าสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายเชิงรุกของไทย คือการนำเสนอและพัฒนาจุดเด่นของตนเอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านการบริการอย่างการท่องเที่ยว สุขภาพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยต่อภาคเศรษฐกิจอย่างมาก และนโยบายของทรัมป์กีดกันได้ยาก อีกทั้งไทยยังมีศักยภาพด้านการผลิตอาหาร โดยมีปริมาณส่งออกอาหารเกินดุลถึง 19.7% ซึ่งทั้งจีน ยุโรป และประเทศเอเชียโดยรวม ต่างก็เป็นลูกค้าของไทย

 

การทูตไทยควรยืนอยู่จุดไหน?

 

สำหรับในมิติการทูต ดร.สุรชาติ ตอบคำถามที่ว่า ในภาวะวิกฤตถาวรนี้ การทูตไทยควรจะยืนอยู่จุดไหน โดยชี้ให้เห็น 10 แนวคิดทางการทูตสำหรับไทย ได้แก่

 

  • ไทยจะยึดมั่น ‘ความเป็นกลาง’ 
  • ไทยจะพริ้วดัง ‘สนต้องลม’
  • ไทยจะ ‘รักนวลสงวนตัว’ ไม่เลือกข้าง-ไม่รักใคร
  • ไทยจะ ‘คบซ้อน’ คบทุกฝ่าย-รักทุกค่าย
  • ไทยจะเป็น ‘นางอาย’ ไม่ปรากฏตัวบนจอเรดาร์โลก
  • ไทยจะเป็น ‘จ่าเฉย ไม่รับรู้ความเป็นไปของโลก
  • ไทยจะเป็น ‘นักผจญภัย’ กล้าเดินรุกไปข้างหน้า
  • ไทยจะเป็นพวก ‘โลกาชน’ เกาะไปกับกระแสโลก”
  • ไทยจะ ‘เลือกข้าง-เลือกประเด็น’ บนพื้นฐานประโยชน์ของตน
  • ไทยจะเป็น ‘นักผจญเพลิง’ กระโจนเข้าร่วมกับมหาอำนาจ

 

แนวทางที่เหมาะสมต่อไทยนั้น ดร.สุรชาติ ชี้ว่า ไทยต้องกลับมาย้อนดูตัวเอง โดยที่ผ่านมาการทูตไทยมีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว แต่ส่วนตัวคิดว่า ไทยเป็นประเทศเล็ก ไม่มีนโยบายต่างประเทศเป็นหลักแหล่ง จะมีก็แต่นโยบายด้านความมั่นคงเท่านั้น 

 

ในยุคสงครามเย็น ไทยไม่ใช่ผู้เล่นหลัก แต่เป็นเพียงเบี้ยบนกระดานเท่านั้น ทำได้มากที่สุด คือการก่อ ‘ขบวนเกวียน (Bandwagon)’ หรือเปิดความสัมพันธ์กับชาติอื่นโดยตรง ดังที่จอมพลสฤษดิ์ทำเวลาดังกล่าวกับเวียดนามเหนือและลาว จนทำให้สหรัฐฯ หวาดกลัวว่า สหรัฐฯ จะเข้าร่วมสงครามใหญ่ในลาว 

 

อย่างไรก็ตาม ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ส่งผลให้ไทยได้หลักประกันความมั่นคง คือ ‘แถลงการณ์ ถนัด-รัสก์’ หรือ แถลงการณ์ทางการทูตทวิภาคี ที่ลงนามโดยพันเอกพิเศษ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และดีน รัสก์ (Dean Rusk) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1962 ซึ่งมีเนื้อหาย้ำว่า สหรัฐฯ ต้องช่วยเหลือไทย หากไทยถูกรุกราน ซึ่ง ดร.สุรชาติ มองว่า นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า หลายๆ ครั้ง ผู้นำไทยในยุคก่อนเล่นเกมเก่ง โดยเฉพาะการรุกนโยบาย

 

การที่ไทยตอบไม่ได้ว่า เราจะดำเนินนโยบายรุกอย่างไร ถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ดังสำนวนสุภาษิตของตะวันตกที่ว่า ต่อให้มีลม หากเรือไม่รู้จะไปจอดที่ท่าเรือ เรือก็ไม่รู้จะไปไหน

 

ดังนั้น สิ่งที่ต้องตั้งคำถามในวันนี้ คือ ท่ามกลางกระแสลมที่รุนแรงกว่าในยุคสงครามเย็นครั้งก่อน เป็นไปได้ไหมว่า หากไทยไม่ใช้นโยบายสนลู่ลม แต่เลือกใช้วิธี ‘คบซ้อน’ แทนได้หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการเลือกอยู่ได้ทุกกลุ่ม และพยายามเล่นบทความเป็นกลาง แม้ว่าข้อเท็จจริงเราจะเลือกข้างอย่างชัดเจนก็ตาม

 

“แม้ไทยคิดจะแตะมือทุกฝ่ายในโลก แต่ก็ต้องคิดว่า เราได้อะไรจากความสัมพันธ์นั้น เพราะสถานการณ์ใหญ่มาก จนต้องวนกลับมาตั้งคำถามเดิมว่า ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายในศตวรรษที่ 21 ได้เตรียมตัวเหมือนกับไทยในช่วงสงครามครั้งที่ 1 หรือไม่” ดร.สุรชาติ กล่าว

 

ขณะที่ ดร.ศุภวุฒิ มองว่า การพิจารณาจุดยืนของไทยนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าทรัมป์นั้นละทิ้งระบบเศรษฐกิจแบบเปิดที่สหรัฐฯ สร้างไว้หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และแยกตัวเองไปอยู่แบบโดดเดี่ยวหรือไม่ ซึ่งคำถามของไทย คือเราจะอยู่โดยพึ่งสหรัฐฯ น้อยลงได้อย่างไร?

 

คำตอบหนึ่ง คือแนวทางที่จีนเสนอ ด้วยการรักษาระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และสามารถอยู่ร่วมกันแบบหลายขั้ว (Multipolar) ได้อย่างสันติภายใต้ระเบียบและกฎเกณฑ์ 

 

โดย ดร.ศุภวุฒิ มองว่า ไทยก็ต้องพิจารณาว่า จะอยู่ในโลกที่ไร้สหรัฐฯ​ อย่างไร ซึ่งอาจจะใช้กลไกที่มี เช่น ASEAN, APEC, RCEP มาสร้างระบบการค้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจร่วมกันได้หรือไม่

The post ไทยกับการปรับตัวสู่ ‘บริบทโลกใหม่’ การทูตควรรุกอย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
นภินทรหลบสื่อเข้าแจงคดีฮั้ว สว. ด้าน ศุภชัย โพธิ์สุ ส่งทนายมาแทน https://thestandard.co/napintorn-senate-election-case-suphachai-lawyer/ Wed, 28 May 2025 06:07:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1079383 ฮั้ว สว.

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ตามที่คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนชุดท […]

The post นภินทรหลบสื่อเข้าแจงคดีฮั้ว สว. ด้าน ศุภชัย โพธิ์สุ ส่งทนายมาแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฮั้ว สว.

วันนี้ (28 พฤษภาคม) ตามที่คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนชุดที่ 26 ซึ่งร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้ออกหมายเรียกให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาในคดีฮั้ว สว. ที่สำนักงาน กกต. 

 

ตั้งแต่เวลา 09.15 น. พบว่าบุคคลในรายชื่อทยอยเดินทางเข้ามายังสำนักงาน กกต. ทั้ง นภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมถึง สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาด้วยตนเอง ขณะที่ ศุภชัย โพธิ์สุ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีต สส. นครพนม พรรคภูมิใจไทย ส่งทนายความมาชี้แจงแทน

 

ทั้งนี้ บุคคลที่เดินทางมาตามหมายเรียกได้หลีกเลี่ยงเข้าทางด้านหน้าสำนักงาน กกต. ซึ่งมีกลุ่มสื่อมวลชนดักรอทำข่าวอยู่โดยจะขึ้นลิฟท์จากชั้นใต้ดินเพื่อเข้าสู่ห้องชี้แจงโดยตรง

 

นภินทรเปิดเผยหลังการเข้าชี้แจงข้อกล่าวหาประมาณ 1 ชั้่วโมง โดยยืนยันว่าไม่เคยมีการกระทำเช่นที่กล่าวหา พร้อมขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม แต่เจ้าหน้าที่ กกต. ไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ จึงขอให้การอีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียดภายใน 4-5 วัน พร้อมนำพยานเอกสารมาประกอบเพิ่มเติมด้วย เพราะมีพยานบุคคลที่สามารถยืนยันได้ว่า ตนเองไม่ได้กระทำเช่นนั้น คาดว่ามีไม่น้อยกว่า 5-6 คน ซึ่งไม่ขอเอ่ยถึงบุคคลที่ 3 แต่เบื้องต้นเป็นพยานคนนอกทั้งหมด ต้องรอทาง กกต. สรุปข้อมูลว่าจะมาให้การเองหรือจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ

 

“เซ็นรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว แต่ให้การปฏิเสธ ซึ่งหลังจากสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว รู้สึกโล่งใจ และดูแล้วไม่มีพฤติกรรมที่ผมพิสูจน์ไม่ได้” นภินทรกล่าว

 

ในวันเดียวกัน กลุ่ม สว. ในบัญชีรายชื่อสำรอง ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. ขอให้ระงับการยื่นคำร้องของกลุ่ม สว. ที่ได้ยื่นเรื่องขอให้ยกเลิกคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ โดยตั้งข้อสังเกตว่า สว. เหล่านั้นไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาได้ จึงใช้วิธีร้องเรียนหรือขอให้เปลี่ยนตัวคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนฯ

 

ฮั้ว สว.

The post นภินทรหลบสื่อเข้าแจงคดีฮั้ว สว. ด้าน ศุภชัย โพธิ์สุ ส่งทนายมาแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>