Environment – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 27 Jan 2025 06:31:56 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 UNICEF ชี้ เด็ก 13.6 ล้านคนในไทยเผชิญความเสี่ยงจากฝุ่น PM2.5 https://thestandard.co/unicef-pm25-thai-children-health-risks/ Mon, 27 Jan 2025 06:31:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1034744 เด็กไทยสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 ในช่วงวิกฤตมลพิษทางอากาศ

ยูนิเซฟ (UNICEF) มีความกังวลอย่างยิ่งต่อระดับค่าฝุ่น PM […]

The post UNICEF ชี้ เด็ก 13.6 ล้านคนในไทยเผชิญความเสี่ยงจากฝุ่น PM2.5 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เด็กไทยสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 ในช่วงวิกฤตมลพิษทางอากาศ

ยูนิเซฟ (UNICEF) มีความกังวลอย่างยิ่งต่อระดับค่าฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กประมาณ 13.6 ล้านคนทั่วประเทศ สถานการณ์ที่น่าห่วงนี้ต้องการการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและจริงจัง เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็ก

 

จากรายงาน Over the Tipping Point ของ UNICEF ในปี 2023 พบว่า จำนวนเด็กในประเทศไทยที่เผชิญความเสี่ยงสูงจากฝุ่น PM2.5 นั้นมีมากกว่าจำนวนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศอื่นๆ เช่น น้ำท่วม คลื่นความร้อน และภัยแล้ง

 

คยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “เราต้องการความมุ่งมั่น ความร่วมมือ และการดำเนินการที่เด็ดขาดจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อจัดการกับสาเหตุของมลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง นี่เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้เด็กทุกคนได้เติบโตในโลกที่ปลอดภัย สะอาด และยั่งยืน”

 

ในประเทศไทยระดับฝุ่น PM2.5 ที่เป็นอันตรายในช่วงนี้ ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อที่เด็กๆ จะได้ไม่ต้องเสียวันเรียนไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้ UNICEF กำลังจัดทำการศึกษาวิจัยโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเน้นการปรับปรุงอาคารและห้องเรียนให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติทางสภาพอากาศ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ซึ่งคาดว่าจะเผยแพร่ในปีนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญในการผลักดันการดำเนินการของรัฐบาลและระดมทรัพยากรเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

 

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีถือเป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อมลพิษทางอากาศเป็นพิเศษ โดยฝุ่น PM2.5 สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว เช่น การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ และปัญหาการพัฒนาสมอง นอกจากนี้เด็กยังหายใจรับอากาศมากกว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบปริมาณต่อน้ำหนักตัว และดูดซับมลพิษมากกว่าผู้ใหญ่ ในขณะที่ปอด ร่างกาย และสมองยังคงเจริญเติบโตไม่เต็มที่

 

PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กพอที่จะเข้าสู่ปอดลึกและกระแสเลือด อนุภาคเหล่านี้สามารถทำลายระบบอวัยวะหลายส่วน และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหอบหืด ปอดอักเสบ และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในเด็ก การสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในระยะยาวยังเชื่อมโยงกับโรคไม่ติดต่อในผู้ใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และมะเร็งปอด

 

จากรายงานสภาวะอากาศโลก (The State of Global Air) ฉบับที่ 5 ซึ่งเผยแพร่โดย Health Effects Institute และ UNICEF ชี้ว่า ในปี 2021 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีราว 700,000 คนทั่วโลก หรือคิดเป็นวันละเกือบ 2,000 คน ต้องเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่สองของการเสียชีวิตของเด็กกลุ่มอายุนี้ทั่วโลก รองจากภาวะทุพโภชนาการ รายงานยังระบุด้วยว่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวบ่งชี้ที่แม่นยำและชัดเจนที่สุดในการคาดการณ์ปัญหาสุขภาพของประชากรทั่วโลกในอนาคต

 

เด็กกลุ่มเปราะบางที่สุดคือกลุ่มที่ต้องรับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากที่สุด เพราะพวกเขามีทางเลือกน้อยกว่าที่จะปกป้องตัวเองจากฝุ่น PM2.5 ข้อมูลทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าเด็กในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าอย่างชัดเจน

 

UNICEF ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและภาคเอกชนเร่งแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ เพื่อลดมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเน้นย้ำว่าการตัดสินใจที่กล้าหาญและมองการณ์ไกลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาระยะยาวแทนการใช้มาตรการระยะสั้น

 

ภาพ: ปฏิภัทร จันทร์ทอง / UNICEF

อ้างอิง:

  • UNICEF

The post UNICEF ชี้ เด็ก 13.6 ล้านคนในไทยเผชิญความเสี่ยงจากฝุ่น PM2.5 appeared first on THE STANDARD.

]]>
การพยากรณ์จาก AI ชี้ว่า โลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสในปี 2060 https://thestandard.co/ai-climate-forecast-2060/ Sun, 26 Jan 2025 05:16:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1034587 สภาพภูมิอากาศโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำ นำโดย ศ.เอลิซา […]

The post การพยากรณ์จาก AI ชี้ว่า โลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสในปี 2060 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพภูมิอากาศโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำ นำโดย ศ.เอลิซาเบธ บาร์นส์ จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ​รวบรวมข้อมูลเชิงลึกผ่านแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก 10 แบบ พร้อมความช่วยเหลือจากระบบ AI ได้ผลสรุปออกมาว่า อุณหภูมิ​เฉลี่ย​ของโลก​ที่เพิ่มขึ้น​จาก​สภาวะ​โลกร้อนในหลายภูมิภาคมีโอกาสจะเกินเกณฑ์วิกฤตที่ 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีส ก่อนจะไปถึงปี 2040 หรือ 15 ปีนับจากนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก

 

และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง นั่นคือระบบ AI ยังได้พยากรณ์ว่า ในบางภูมิภาคของโลก อันได้แก่ เอเชียใต้, เมดิเตอร์เรเนียน, ยุโรปกลาง และบางส่วนของทวีปแอฟริกา (บริเวณทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา) จะต้องพบกับระดับของอุณหภูมิ​เฉลี่ยที่จะสูงถึง 3 องศาเซลเซียส หรือ 2 เท่าตามข้อตกลงปารีส ก่อนจะไปถึงปี 2060

 

“งานวิจัยของทีมงานเราที่ลงเผยแพร่บนวารสาร Environmental Research Letters เน้นย้ำถึงความสำคัญในการใช้เทคนิคด้าน AI เชิงนวัตกรรม เช่น การเรียนรู้แบบถ่ายโอน เพื่อไปใช้กับการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศ เพื่อปรับปรุงและจำกัดการคาดการณ์ในระดับภูมิภาค และเราก็พร้อมจะมอบข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ต่อได้สำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักวิทยาศาสตร์ และชุมชนทั่วโลก” บาร์นส์กล่าว

 

ตัวเลขดังกล่าวเกิดจากการที่ทีมวิจัยจัดการฝึกฝนเครือข่ายระบบประสาทเทียมของ AI ในแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network: CNN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากระบบประสาทในสมองของมนุษย์ โดยมีจุดเด่นตรงที่สามารถรักษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และเวลาในข้อมูลไว้ได้ จึงทำให้ AI สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการจดจำภาพการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

 

ทีมวิจัยได้ให้ระบบ AI เรียนรู้ข้อมูลจากทั้งหมด 43 ภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC อิงตามแบบจำลองสภาพอากาศ CMIP6 โดยให้ AI แยกแบบจำลองสภาพอากาศอิงตามภูมิภาคแทนการมองภาพรวมระดับโลก ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะจุดมากขึ้น การทำงานจะแบ่งอุณหภูมิไว้ 5 ระดับ คือ 1, 1.5, 2, 2.5 และสุดท้ายที่ 3 องศาเซลเซียส จากนั้นจะวิเคราะห์ซ้ำข้อมูลที่ได้ โดยจะเสริมด้วยข้อมูลจากการสังเกตและข้อมูลด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

 

ผลลัพธ์ที่ได้บอกเราว่า จากทั้งหมด 43 ภูมิภาคทั่วโลก จะมี 34 ภูมิภาคที่มีแนวโน้มอุณหภูมิ​เฉลี่ย​ของโลกเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2040 โดย 31 ใน 34 ภูมิภาคดังกล่าวมีเกณฑ์ที่อุณหภูมิ​เฉลี่ย​จะเกินไปจนถึง 2 องศาเซลเซียส สิ่งที่น่าตกใจก็คือ ทีมวิจัยพบว่า 26 ภูมิภาคในจำนวนนั้นจะมีอุณหภูมิ​เฉลี่ย​ของโลกเกิน 3 องศาเซลเซียสภายในปี 2060

 

“สิ่งสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นไม่ใช่แค่เพียงการที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ท้องถิ่นและภูมิภาคด้วย” โนอา ดิฟเฟินบอว์ นักวิจัยด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว “การจำกัดว่าแต่ละภูมิภาคจะถึงเกณฑ์ความร้อนเมื่อใดนั้น จะทำให้เราสามารถคาดการณ์เวลาของผลกระทบเฉพาะที่จะเกิดต่อสังคมและระบบนิเวศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น” และกล่าวเสริมว่า “ความท้าทายก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละภูมิภาคอาจมีความไม่แน่นอนมากขึ้น จากระบบสภาพอากาศมีการรบกวนในระดับพื้นที่ที่เล็กกว่า และจากกระบวนการต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นผิวโลก สุดท้ายก็อาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นได้ ดังนั้นผลการตอบสนองของแต่ละภูมิภาคต่อภาวะโลกร้อนในระดับโลกจึงคาดการณ์ได้ยาก”

 

ทีมงานเน้นย้ำถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและแจ้งเตือนให้ทั่วโลกรับมืออย่างเร่งด่วน โดยระบุว่า แม้มนุษยชาติจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงเป็นศูนย์ได้ทั้งหมดแล้ว ผลกระทบก็ยังคงจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากยังมีก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศ

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากโลกร้อนขึ้นไปถึงระดับ 3 องศาเซลเซียส

 

แน่นอนว่าช่วงปีที่ผ่านมาเราเริ่มมองเห็นผลกระทบทางภัยธรรมชาติจากโลกร้อนบ้างแล้ว ทั้งการเกิดฝนตกน้ำท่วมในประเทศที่เป็นทะเลทราย ไฟป่ารุนแรง คลื่นทะเลสูงผิดปกติ ไปจนถึงการเกิดไต้ฝุ่น 4 ลูกในเดือนที่ไม่ควรเกิด อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นทำให้เกิดสภาพอากาศแบบสุดขั้วไปทั่วโลก ภัยธรรมชาติจะเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น

 

งานวิจัยของทีมงาน ศ.ไนเจล อาร์เนลล์ ผู้อำนวยการสถาบันวอล์กเกอร์ มหาวิทยาลัยรีดดิ้ง ที่ตีพิมพ์เมื่อ 2 ปีก่อนพบว่า เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยโลกแตะ 1.5 องศาเซลเซียส โอกาสที่จะเกิดคลื่นความร้อนครั้งใหญ่ทั่วโลกเฉลี่ยต่อปีจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 5% ในช่วงปี 1981-2010 เป็นประมาณ 30% และหากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกแตะ 3 องศาเซลเซียส โอกาสที่จะเกิดคลื่นความร้อนครั้งใหญ่จะเพิ่มขึ้นเป็น 80%

 

งานวิจัยของอาร์เนลล์ยังระบุอีกว่า หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกเกิน 3 องศาเซลเซียส โอกาสเกิดน้ำท่วมจะเพิ่มเกือบ 3 เท่าจากค่าเฉลี่ยทั่วโลก แม้จะยังมีความไม่แน่นอนของตัวเลขอยู่บ้าง เนื่องจากสภาพอากาศเป็นระบบที่ซับซ้อนและมีตัวแปรมากมาย แต่ผลลัพธ์ทั้งหมดต่างเป็นไปในทางเดียวกัน นั่นคือสิ่งเหล่านี้จะเกิดรุนแรงและบ่อยขึ้น

 

“งานวิจัยของผมยังบอกพวกเราว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบทางกายภาพเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรง คือผลลัพธ์พุ่งไปจนน่ากังวล” อาร์เนลล์กล่าวทิ้งท้าย

 

ทีมงานตีพิมพ์​เผยแพร่​งานศึกษา​ครั้งนี้​ลงในวารสาร​

https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1748-9326/ad91ca

 

ภาพ: David McNew / Getty Images

The post การพยากรณ์จาก AI ชี้ว่า โลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสในปี 2060 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินสู่การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า’ ส่องยุทธศาสตร์ต่อสู้มลพิษฝุ่น PM2.5 ของจีนที่อาจเป็นต้นแบบของโลก https://thestandard.co/pollution-prevention-strategy-pm-25-dust-china/ https://thestandard.co/pollution-prevention-strategy-pm-25-dust-china/#respond Wed, 22 Jan 2025 04:00:17 +0000 https://thestandard.co/?p=192417 pollution-prevention

ความศิวิไลซ์ของมนุษย์มักต้องแลกมาด้วยต้นทุนทางธรรมชาติอ […]

The post ‘ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินสู่การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า’ ส่องยุทธศาสตร์ต่อสู้มลพิษฝุ่น PM2.5 ของจีนที่อาจเป็นต้นแบบของโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
pollution-prevention

ความศิวิไลซ์ของมนุษย์มักต้องแลกมาด้วยต้นทุนทางธรรมชาติอันประเมินค่าไม่ได้ จากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน เราพบว่ามนุษย์ยังคงทำผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่เรียนรู้บทเรียนจากผลเสียของการทำลายธรรมชาติ

 

ท่ามกลางปัญหาหมอกพิษที่กำลังรุมเร้าหลายภูมิภาคทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ หลายประเทศเพิ่งตระหนักกับปัญหามลพิษอย่างจริงจัง ขณะที่หลายประเทศเพิ่งเริ่มตระหนักและกดดันภาครัฐให้งัดมาตรการต่างๆ เพื่อทวงคืนอากาศบริสุทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น  

 

อาจถือได้ว่านี่เป็นสัญญาณที่ดีที่ทั่วโลกพร้อมใจกันยกประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ปัญหาโลกร้อนและมลพิษเป็นวาระสำคัญของประเทศ ซึ่งทำให้โลกนี้ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียวที่จะมีอากาศสะอาดให้คนรุ่นหลังได้สูดเข้าไปอย่างเต็มปอด

 

ไม่ไกลจากประเทศไทย จีนซึ่งเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก และครองแชมป์แหล่งต้นตอของมลพิษทางอากาศมานานหลายปี เวลานี้กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลกในด้านการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จีนยังรับบทหัวเรือใหญ่ในการผลักดันมาตรการแก้ปัญหาโลกร้อนบนเวทีโลก ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตสำหรับประเทศที่ทำลายธรรมชาติจนบอบช้ำ ถึงแม้ว่ากว่าที่จีนจะเริ่มตระหนักและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง พวกเขาต้องแลกมาด้วยคุณภาพชีวิตของประชากรและต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่มากมายมหาศาล

 

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าจีนมีผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษในอากาศมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ขณะที่นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้วัดดัชนีความสุขโดยใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์อารมณ์ของผู้ใช้เว่ยป๋อ (Weibo) แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีนที่คล้ายทวิตเตอร์) ใน 144 เมือง นับตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งพบว่าเมื่อระดับฝุ่น PM2.5 (ฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน) สูงขึ้น ข้อความที่สะท้อนความสุขของประชาชนจะลดลง ซึ่งถือเป็นสหสัมพันธ์เชิงลบระหว่างระดับมลพิษกับความสุข

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีการสอดส่องโซเชียลมีเดียเพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนมาตลอด บ่อยครั้งนโยบายระดับชาติที่กำหนดออกมาบังคับใช้ก็มาจากเสียงโอดครวญในโลกออนไลน์ มาตรการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เช่นเดียวกัน และเมื่อรัฐตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจังก็เป็นตัวเร่งให้ต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก จนกระทั่งจีนก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำโลกภายในช่วงเวลาไม่กี่ปี ขณะที่ค่ามลพิษก็ลดลงจนน่าพอใจ ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับไทย

 

เราไปดูกันว่ายุทธศาสตร์การทำสงครามกับมลพิษทางอากาศของจีนเป็นอย่างไร ได้ผลมากน้อยแค่ไหน เราสามารถยึดเป็นแบบอย่างได้เพียงใด

 

 

กรณีศึกษา: สงครามต่อสู้มลพิษของจีน

หลังจีนเปิดประเทศและเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมในทุกๆ ด้าน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลายสวนทางกับความเจริญ เนื่องจากจีนพึ่งพาพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษมหาศาล เช่นเดียวกับการขยายตัวของตัวเมืองก็เป็นอีกตัวเร่งให้ปัญหามลพิษเลวร้ายลง กระทั่งจีนกระโดดขึ้นมาเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (EU) รวมกัน

 

เมื่อปัญหามลพิษหนักขึ้นจนทำให้ประชาชนไม่มีความสุข รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเร่งด่วน และได้กำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทในการต่อสู้กับมลพิษที่ชัดเจนที่สุดของจีน

 

ในแผนปฏิบัติการลดมลพิษทางอากาศที่คลอดเมื่อเดือนกันยายน ปี 2013 ช่วยให้จีนปรับปรุงคุณภาพอากาศได้อย่างมีนัยสำคัญ หลังกำหนดเป้าหมายลดค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงปักกิ่งและเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงลง 33% และ 15% ตามลำดับ ภายในช่วงระหว่างปี 2013-2017

 

ในช่วงเวลาดังกล่าว กรุงปักกิ่งต้องลดค่าฝุ่น PM2.5 จากระดับ 89.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรให้เหลือ 60 ไมโครกรัม ซึ่งมาตรการฉุกเฉินที่ทางการงัดมาใช้ในตอนนั้นมีตั้งแต่การสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วกรุงปักกิ่ง และห้ามประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงและพื้นที่รอบข้างเผาถ่านหินเพื่อให้ความอบอุ่น ซึ่งแม้จะมีกระแสต่อต้านจากหลายๆ ฝ่าย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือปักกิ่งสามารถลดค่าฝุ่น PM2.5 ลงเหลือเฉลี่ย 58 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือลดลงถึง 35% ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เสียอีก

 

สำหรับมหานครเทียนจินที่อยู่ติดกับปักกิ่ง รวมถึงมณฑลข้างเคียงอย่างเหอเป่ยต่างก็ดำเนินมาตรการต่อสู้กับมลพิษเช่นกัน โดยพื้นที่แถบนี้จัดอยู่ในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ (Clusters) เช่นเดียวกับกลุ่มเมืองในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและแยงซีที่ใช้มาตรการต่างๆ จนสามารถลดระดับมลพิษได้ตามเป้าเช่นกัน

 

 

อย่างไรก็ตาม แม้หลายเมืองของประเทศจีนจะทำได้ตามเป้า แต่ก็ยังไม่มีเมืองไหนที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพอากาศตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรสำหรับฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ขณะที่สิ้นปี 2017 มีเพียง 107 เมืองจากทั้งหมด 338 เมืองใหญ่ที่ทำได้ตามมาตรฐานระดับพอรับได้ขององค์การอนามัยโลกที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

หลังแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปีฉบับแรกของรัฐบาลจีนสิ้นสุดลง จีนมีโจทย์ใหญ่ที่ต้องทำต่อคือปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ได้มาตรฐานโลก เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นและยั่งยืน

 

ดังนั้นแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ต่อสู้กับมลพิษทางอากาศเฟสที่ 2 จึงกำหนดขอบเขตควบคุมให้กว้างขวางขึ้นทั่วประเทศ และเพิ่มความท้าทายด้วยกรอบเวลาที่สั้นลงเหลือเพียง 3 ปี (2018-2020) โดยรัฐบาลเรียกมันว่า ‘แผนปฏิบัติการทำสงครามเพื่อท้องฟ้าที่สดใส’

 

แผนปฏิบัติการใหม่นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทว่าด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อมระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 ของจีน ซึ่งมีข้อบังคับสำหรับเมืองขนาดใหญ่หรือเขตพื้นที่ที่อากาศไม่ได้มาตรฐานคุณภาพให้ลดค่าฝุ่น PM2.5 ลงอย่างน้อย 18% เมื่อเทียบกับระดับมลพิษในปี 2015

 

ข้อมูลจาก หวงเหว่ย หัวหน้าแผนกภูมิอากาศและพลังงานแห่งองค์กรสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ อีสต์เอเชีย ระบุว่าแผนปฏิบัติการใหม่มีการควบคุมการปล่อยมลพิษในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น ส่งผลให้หลายเมืองที่ไม่เคยถูกควบคุมเรื่องมลพิษมาก่อนถูกกดดันให้ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ จากเดิมที่เคยเป็นเป้าหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มเมืองปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย รวมถึงเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและแยงซีเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการระบุว่าในบรรดาเมืองขนาดใหญ่จำนวน 338 เมืองที่อยู่ในข่ายถูกควบคุม มีถึง 231 เมืองที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศตามเกณฑ์ค่า PM2.5 ซึ่งอนุญาตให้มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่ากับมาตรฐานที่พอรับได้ขององค์การอนามัยโลก

 

มีการตั้งข้อสังเกตว่าหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การควบคุมมลพิษตามแผนปฏิบัติการฉบับ 3 ปีไม่ได้ผลมากนักเป็นเพราะส่วนกลางไม่ได้กำหนดเป้าหมายให้ลดฝุ่นละอองโดยเทียบจากระดับมลพิษในปี 2017 ทว่ากลับใช้ตัวเลขของปี 2015 เป็นเส้นฐานแทน ซึ่งดูไม่สมเหตุสมผลนัก

 

มีเสียงวิจารณ์ว่าเป้าหมายลดค่าฝุ่น PM2.5 ลง 18% ภายในปี 2020 เป็นเรื่องที่ง่ายดายเกินไปสำหรับบางเมือง ส่งผลให้มาตรการควบคุมการปล่อยมลพิษในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนในหลายเมืองไม่เข้มข้นมากนัก

 

ก่อนหน้านี้มีกว่า 70 เมืองที่ลดมลพิษในอากาศได้เกินเป้าของแผนปฏิบัติการฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับที่มีการกำหนดเป้าหมายใหม่ แต่สำหรับเฟสที่ 2 กลับไม่จูงใจให้เมืองเหล่านี้ดำเนินมาตรการมากขึ้น เพราะเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนระยะ 3 ปีไม่ท้าทายเพียงพอ

 

และแม้ว่าทุกเมืองจะทำได้ตามเป้าโดยลดฝุ่น PM2.5 ลง 18% แต่ก็จะมีกว่า 200 เมืองที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในปี 2020

 

อย่างไรก็ตาม หวังจินหนาน ผู้อำนวยการสถาบันวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในสังกัดกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ชี้แจงว่าการกำหนดเป้าหมายโดยแยกจากแผนแม่บทว่าด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อมระยะ 5 ปี (2016-2020) ของรัฐบาลอาจสร้างความสับสนให้กับรัฐบาลท้องถิ่นผู้รับแผนไปปฏิบัติ เพราะตัวเลขต้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่ประกาศไปในปี 2016 ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถกำหนดเป้าหมายด้านปริมาณใหม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือเพียงตอกย้ำถึงความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายใหญ่ของแผนแม่บทว่าด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อมฉบับที่ 13 ของจีน

 

โฟกัสโอโซนระดับพื้นดินมากขึ้น

นอกเหนือจากฝุ่นละอองขนาดเล็กแล้ว โอโซนที่เป็นพิษซึ่งส่งผลเสียต่อระบบหายใจเมื่อสูดเข้าไปในร่างกายก็เป็นสิ่งที่ทางการจีนวิตกกังวลและถูกบรรจุลงในแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ของรัฐบาลด้วย โอโซนที่ว่านี้อยู่ในระดับพื้นดิน ซึ่งเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) หรือสาร VOCs ที่ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ โดยทางการได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยสาร VOCs และไนโตรเจนออกไซด์ลง 10% และ 15% ตามลำดับ โดยใช้ตัวเลขปี 2015 เป็นฐาน

 

ปัจจุบันมีสัญญาณบ่งชี้ว่าปัญหามลพิษโอโซนในจีนเลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนจะทำให้โอโซนในระดับพื้นดินเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ขณะกรีนพีซเคยคำนวณไว้ว่าระดับโอโซนเฉลี่ยทั่วประเทศจีนในเดือนมิถุนายน ปี 2018 สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 11%

 

 

โมเดลระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้า

หนึ่งในกรณีศึกษาน่าสนใจเกี่ยวกับมาตรการต่อสู้กับปัญหามลพิษ นอกเหนือไปจากการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ย้ายที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมออกนอกเขตเมือง และควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมแล้ว รัฐบาลจีนยังโดดเด่นในเรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ดีเซลและเบนซินที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

หนึ่งในแรงผลักดันสำคัญก็คือถึงแม้รัฐบาลจีนพบว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในกรุงปักกิ่ง แต่ความสำเร็จส่วนใหญ่มาจากการย้ายที่ตั้งอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษให้ไกลออกไปจากเมืองหลวง ซึ่งหากจีนต้องการบรรลุเป้าหมายคุณภาพอากาศทั่วประเทศภายในปี 2035 รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ

 

การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้จึงต้องมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย

 

เพราะรถยนต์เป็นอีกหนึ่งต้นตอของมลพิษทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมืองใหญ่ของจีน

 

ในบทวิเคราะห์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของนิตยสาร Forbes เมื่อปี 2018 มีการคาดการณ์ว่าจีนจะกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่มีระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

 

เรื่องนี้อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมเลยสำหรับจีน เพราะภาครัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ถนนสีเขียวและสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังมานานแล้ว โดยเมื่อเร็วๆ นี้เราได้เห็นความเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญคือบริษัท Tesla ของ อีลอน มัสก์ ได้ทำพิธีลงเสาเข็มเพื่อเดินหน้าสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Tesla แห่งแรกในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะเป็นฐานผลิตรถ Model 3 ที่สำคัญของ Tesla

 

หากคุณยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนพอ ลองดูข้อมูลจาก Forbes ประกอบก่อน

 

Forbes ระบุว่าในปี 2017 จีนผลิตรถเก๋ง รถบัส และรถบรรทุกที่เป็นระบบไฟฟ้าจำนวน 680,000 คัน ซึ่งมากกว่าทั่วโลกผลิตรวมกันเสียอีก นอกจากนี้จีนยังมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าประเทศที่เหลือทั่วโลกด้วย

 

ขณะที่เมืองใหญ่อย่างเซินเจิ้นก็ประสบความสำเร็จในการยกเครื่องรถบัสโดยสารให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEVs) ทั้งหมด ซึ่งเป็นต้นแบบให้เมืองอื่นๆ ดำเนินรอยตาม ขณะที่ยานยนต์ลูกผสมอย่างรถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) ก็กำลังหายไปจากท้องถนนในจีนอย่างรวดเร็ว

 

ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกตัวสะท้อนความนิยมที่มีต่อยานยนต์ทางเลือก โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีนเผยว่า จีนมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทะลุ 800,000 คันในปี 2017 พุ่งขึ้นจากตัวเลขไม่ถึง 100,000 คันในปี 2014

 

แต่ปัญหาการใช้รถ BEVs ก็ยังมีอยู่ รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมการพัฒนาแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ทำให้รถวิ่งได้ไกลขึ้นต่อการชาร์จแบตครั้งเดียว โดยเป้าหมายคือการทำให้รถ BEVs วิ่งได้ไกลเกิน 160 กิโลเมตร (100 ไมล์) ต่อการชาร์จแบต 1 ครั้ง

 

และเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ จีนตั้งเป้าเพิ่มสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะให้ได้ 500,000 จุดภายในปี 2020 จากที่มีอยู่ 214,000 จุดในปี 2017

 

เฉพาะบริษัทการไฟฟ้าแห่งชาติของจีน (State Grid) ก็มีแผนจะเพิ่มจุดชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า 120,000 จุด จากจำนวน 10,000 จุดในปัจจุบัน โดยจะมีการติดตั้งเพิ่มตามเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น เซินเจิ้น ซึ่งทดลองติดตั้งอยู่ริมถนนในบริเวณที่จอดรถ ทั้งหมดนี้ถือเป็นโมเดลสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า BEVs เพราะยิ่งมีจุดชาร์จแบตกระจายไปทั่วมากเท่าใดก็ยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังชั่งใจว่าจะเลือกรถ BEVs หรือไม่ เพราะแทนที่พวกเขาจะขับรถไปเติมน้ำมันตามปั๊มแบบเดิม พวกเขาก็สามารถเสียบปลั๊กชาร์จแบตขณะจอดรถตามที่ต่างๆ ได้

 

ดังนั้นหากคุณเดินทางไปจีนในอีก 10 ปีข้างหน้า คุณอาจเห็นท้องฟ้าที่สดใสปลอดโปร่งขึ้นในเมืองใหญ่ๆ เพราะปัญหาแหล่งมลพิษจากรถเชื้อเพลิงฟอสซิลอาจค่อยๆ หมดไปจากถนนในจีน

 

 

ความหวังใหม่

ความหวังใหม่สำหรับกรุงปักกิ่งที่เผชิญปัญหาหมอกพิษมานานหลายปี วันนี้ประชาชนได้เห็นท้องฟ้าที่สดใสขึ้น พร้อมกับความหวังใหม่ที่จะสามารถสูดอากาศได้เต็มปอดอย่างสบายใจในสักวันหนึ่ง

 

เมื่อเดือนมกราคม ปี 2018 ปักกิ่งวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศเฉลี่ยทั้งเดือนได้ 34 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้มาตรฐานคุณภาพอากาศระดับชาติที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็นครั้งแรก

 

สิ่งที่กรุงปักกิ่งโฟกัสเป็นพิเศษคือการบังคับใช้มาตรการต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างเข้มงวด มีทั้งการสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เหลืออยู่ รวมถึงระงับโครงการก่อสร้างทั้งหมดในช่วงฤดูหนาว และยังออกกฎห้ามการเผาถ่านหินในเขตพื้นที่ต่างๆ รอบกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งทีมเจ้าหน้าที่ขจัดควันพิษ หรือ Smog Squad เพื่อตระเวนห้ามชาวเมืองทำกิจกรรมปิ้งย่างบาร์บีคิวกลางแจ้งและเผาขยะด้วย

 

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของกรุงปักกิ่งเปิดเผยว่า ตลอดเดือนมกราคม ปี 2018 คุณภาพอากาศอยู่ที่ระดับ ‘ดี’ และ ‘ดีเยี่ยม’ รวม 25 วันจากทั้งหมด 31 วัน และสามารถลดความหนาแน่นของอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศถึง 70.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

 

นอกจากค่า PM2.5 แล้ว ค่าฝุ่นละออง PM10, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ของกรุงปักกิ่งยังลดลง 51.1%, 55.6% และ 35.4% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว

 

นอกจากเดือนมกราคมที่เป็นหมุดหมายแห่งความสำเร็จแล้ว ปักกิ่งยังทำได้ตามเป้าคุณภาพอากาศในเดือนสิงหาคมและกันยายนในปีที่แล้วอีกด้วย

 

 

สำหรับภาพรวมในปี 2018 ของปักกิ่ง หลังสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนอันเป็นต้นตอของหมอกพิษได้ถึง 12% ในปี 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลงานที่รัฐบาลค่อนข้างพอใจ แม้ตัวเลขเฉลี่ยตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 51 โมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานคุณภาพอากาศของจีนที่ระดับ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ตาม

 

การบังคับใช้กฎหมายก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อไปสู่เป้าหมาย ทางการจีนเผยว่าเมื่อปีที่แล้วมีผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษจำนวน 656 รายถูกสั่งให้ย้ายฐานที่ตั้ง ขณะที่บริษัทและบุคคลถูกปรับเงินรวมกว่า 230 ล้านหยวนฐานฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 22.5%

 

กรณีศึกษาของจีนถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศที่กำลังคิดใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกอบกู้วิกฤต ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการลงมือปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ เพราะกว่าที่จีนจะเห็นผลลัพธ์ที่เด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ นั้น พวกเขาเริ่มตระหนักและแก้ปัญหามลพิษด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบตั้งแต่เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน

 

เพราะการจะแก้ปัญหาฝุ่นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัดเท่านั้น จึงจะช่วยขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

The post ‘ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินสู่การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า’ ส่องยุทธศาสตร์ต่อสู้มลพิษฝุ่น PM2.5 ของจีนที่อาจเป็นต้นแบบของโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/pollution-prevention-strategy-pm-25-dust-china/feed/ 0
จะเกิดอะไรขึ้น หลังทรัมป์เซ็นคำสั่งนำสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส https://thestandard.co/trump-us-withdraw-paris/ Tue, 21 Jan 2025 04:13:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1032573 trump-us-withdraw-paris

เป็นอีกครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างเสียงฮือฮาตั้งแต่วั […]

The post จะเกิดอะไรขึ้น หลังทรัมป์เซ็นคำสั่งนำสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส appeared first on THE STANDARD.

]]>
trump-us-withdraw-paris

เป็นอีกครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างเสียงฮือฮาตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หลังเขายืนยันที่จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงปารีสเป็นครั้งที่ 2 สวนกระแสความร่วมมือของนานาประเทศที่พยายามลดผลกระทบจากภาวะโลกรวน ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามโลกในระดับวิกฤต

 

  • ความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนภาพลักษณ์สหรัฐฯ

 

การตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ส่งผลให้สหรัฐฯ กลายเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงปารีสร่วมกับอิหร่าน ลิเบีย และเยเมน ทั้งที่ข้อตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม มิเช่นนั้นสถานการณ์ความเลวร้ายทางสภาพอากาศจะไปสู่จุดที่แก้ไขได้ยากแล้ว

 

“ผมขอถอนตัวจากข้อตกลงปารีสที่ไม่เป็นธรรมและลำเอียงทันที” เขากล่าว ก่อนที่จะลงนามในคำสั่งพิเศษฝ่ายบริหาร (Executive Order) ต่อหน้าบรรดาผู้สนับสนุนที่มารวมตัวกัน ณ Capital One Arena ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พร้อมโจมตีว่าจีนยังคงสร้างมลพิษโดยไม่ต้องรับผิดชอบ ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องแบกรับภาระอย่างไม่สมเหตุผล

 

ท่าทีล่าสุดของทรัมป์สะท้อนทัศนะของเขาเกี่ยวกับภาวะโลกรวนได้เป็นอย่างดี เพราะก่อนหน้านี้ทรัมป์เคยประกาศไว้ว่า ‘โลกรวนคือเรื่องหลอกลวง’ อีกทั้งยังสอดคล้องกับแผนงานต่างๆ ของทรัมป์ที่ต้องการปลดพันธนาการของบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซของสหรัฐฯ ออกจากกฎระเบียบสีเขียวต่างๆ เพื่อยกระดับกำลังการผลิตให้ได้มากที่สุด

 

ในขั้นตอนต่อไปนั้น สหรัฐฯ จะต้องแจ้งอย่างเป็นทางการต่อ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) เกี่ยวกับการถอนตัวดังกล่าว ซึ่งภายใต้ข้อกำหนดแล้ว ข้อตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ในอีก 1 ปีต่อมา

 

  • ผลกระทบที่มากกว่าแค่คำสั่งถอนตัว

 

นักวิชาการเตือนว่าการถอนตัวครั้งนี้อาจสร้างความเสียหายต่อความพยายามด้านสภาพภูมิอากาศของนานาชาติในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก หรือเป็นรองเพียงแค่จีน

 

พอล วัตกินสัน อดีตผู้เจรจาเรื่องสภาพอากาศและที่ปรึกษานโยบายอาวุโสของฝรั่งเศส กล่าวว่า การถอนตัวครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจแตะ 3 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษ อันจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น และพายุทำลายล้างเกิดบ่อยครั้งขึ้น

 

  • สหรัฐฯ เลือกเดินสวนทางโลก

 

การตัดสินใจของทรัมป์สวนทางกับนโยบายของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่เน้นผลักดันสหรัฐฯ ให้เป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด และลดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซ แม้ไบเดนจะเคยพลิกสถานการณ์และนำสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสในปี 2021 แต่การถอนตัวครั้งใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่าทรัมป์มีแผนจะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการผลิตและกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

วัตกินสันกล่าวว่า การถอนตัวครั้งนี้ยังอาจสร้างความเสียหายต่อความพยายามด้านสภาพอากาศของนานาประเทศทั่วโลกได้มากขึ้น

 

“ครั้งนี้จะยากขึ้นเพราะเรายังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการดำเนินการ” วัตกินสันกล่าว

 

แม้หลายๆ ชาติจะมีความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นสงคราม ความขัดแย้งทางการเมือง และงบประมาณของรัฐที่จำกัด ทำให้หลายๆ ประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสภาพอากาศมาเป็นลำดับต้นๆ อย่างที่ควรจะเป็น

 

  • จีนจับตา เตรียมคว้าชัยในตลาดพลังงานสะอาด?

 

หลี่ซั่ว (Li Shuo) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตสภาพภูมิอากาศแห่งสถาบัน Asia Society Policy Institute กล่าวว่าการถอนตัวของสหรัฐฯ อาจทำให้จีนกลายเป็นผู้นำในตลาดพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และยานพาหนะไฟฟ้า พร้อมเตือนว่าสหรัฐฯ อาจตามหลังจีนในด้านนี้มากขึ้น

 

“นี่คือโอกาสสำคัญที่จีนจะก้าวขึ้นมา และสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะเสียเปรียบในการแข่งขัน” หลี่กล่าว

 

  • UN ยังคงหวังภาคธุรกิจและท้องถิ่นสหรัฐฯ หนุนพลังงานสะอาด

 

แม้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะถอนตัว แต่กูเตอร์เรสมั่นใจว่าเมืองต่างๆ รวมไปถึงรัฐและภาคธุรกิจของสหรัฐฯ “จะยังคงแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำด้วยการทำงานเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นและปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะสร้างงานที่มีคุณภาพ”

 

ฟลอเรนเซีย โซโต นีโน โฆษกสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “สิ่งสำคัญคือสหรัฐอเมริกาต้องยังคงรักษาความเป็นผู้นำในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ความพยายามร่วมกันภายใต้ข้อตกลงปารีสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เราจำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้าและก้าวไปให้เร็วขึ้นด้วยกัน”

 

ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการขุดเจาะน้ำมันอย่างแพร่หลายในเท็กซัส นิวเม็กซิโก และที่อื่นๆ เป็นเวลานานหลายปี ซึ่งได้รับแรงหนุนจากเทคโนโลยีการขุดน้ำมันแบบ Fracking และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นทั่วโลกนับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครน

 

การถอนตัวของสหรัฐฯ จากข้อตกลงปารีสเป็นสัญญาณเตือนว่าโลกยังคงเผชิญความท้าทายจากการเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่อาจขัดขวางความพยายามร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ในห้วงเวลาที่นาฬิกาของโลกกำลังเดินไปสู่จุดที่ไม่มีทางหวนกลับได้อีกต่อไป

 

ภาพ: Carlos Barria / Reuters

 

อ้างอิง:

The post จะเกิดอะไรขึ้น หลังทรัมป์เซ็นคำสั่งนำสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมญี่ปุ่นถึงเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน https://thestandard.co/japan-new-coal-plant/ Wed, 15 Jan 2025 04:00:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1030489 japan-new-coal-plant

ท่ามกลางทิวทัศน์ของอ่าวโตเกียวและดอกไม้ฤดูหนาว มีโรงไฟฟ […]

The post ทำไมญี่ปุ่นถึงเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
japan-new-coal-plant

ท่ามกลางทิวทัศน์ของอ่าวโตเกียวและดอกไม้ฤดูหนาว มีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งล่าสุดของญี่ปุ่นตั้งตระหง่านอยู่ เรือขนถ่านหินลำใหญ่แล่นสวนทางกับเรือประมงของชาวเมือง ปล่องสูงชะลูดแทงขึ้นไปบนท้องฟ้าสีคราม คาร์บอนไดออกไซด์ที่มองไม่เห็นพวยพุ่งอยู่ในอากาศ

 

ที่นี่คือเมืองโยโกสุกะ จังหวัดคานากาวะ ห่างจากมหานครโตเกียวราว 1 ชั่วโมงหากเดินทางด้วยรถไฟ เมืองเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนชายฝั่งทะเลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และยังเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา

 

กระทั่งปี 2023 โรงไฟฟ้าน้ำมันเก่าแก่ที่ปลดประจำการไปนานคืนชีพกลับมาอีกครั้งในสถานะโรงไฟฟ้าถ่านหิน อาณาเขตของมันอยู่ห่างเพียงไม่ถึง 10 กิโลเมตรจากชุมชนที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน โรงเรียน และท่าจอดเรือประมง นำมาสู่ความกังวลถึงผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในเมืองโยโกสุกะ

 

อิตาลีตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2025 สหราชอาณาจักรปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้ายไปเมื่อปี 2024 ทว่าญี่ปุ่นเพิ่งเปิดใช้งานโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งล่าสุดในปี 2023

 

ปัจจุบันทั่วโลกพยายามเปลี่ยนผ่านเข้าสู่พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก แต่เหตุใดพลังงานถ่านหินจึงยังมีบทบาทอย่างมากใน ‘ประเทศที่พัฒนาแล้ว’ อย่างญี่ปุ่น และทำไมความพยายามของประชาชนที่ลุกขึ้นต่อต้านจึงประสบความล้มเหลว?

 

โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งล่าสุดของญี่ปุ่นในเมืองโยโกสุกะ จังหวัดคานากาวะ เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2023

โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งล่าสุดของญี่ปุ่นในเมืองโยโกสุกะ จังหวัดคานากาวะ เริ่มเดินเครื่องเมื่อปี 2023

 

การต่อสู้ของภาคประชาชนในญี่ปุ่น: ไม้ซีกงัดไม้ซุง

 

THE STANDARD ได้พบกับ ริคุโระ ซูซูกิ วัย 84 ปี หนึ่งในผู้นำภาคประชาสังคมที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าโยโกสุกะ เขาเป็นชาวจังหวัดอิวาเตะที่ย้ายมาทำงานและอาศัยที่โยโกสุกะตั้งแต่ปี 1998

 

แม้ในยุคสมัยของซูซูกิ ประเด็นมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมจะยังไม่เป็นที่สนใจแพร่หลาย แต่เขาประสบกับความสูญเสียด้วยตนเอง หลังจากหลานชายของเขาที่ป่วยด้วยโรคหอบหืดจากมลพิษในโตเกียว และต้องทรมานกับโรคนี้อยู่ถึง 40 ปี จนสุดท้ายจากไปด้วยอายุ 62 ปี

 

เหตุการณ์นี้สร้างแผลลึกในใจของซูซูกิ และทำให้เขาตระหนักถึงผลกระทบจากมลพิษ ก่อนที่เขาจะรับรู้ว่าโรงไฟฟ้าในเมืองโยโกสุกะที่ปิดตัวไปเกือบ 20 ปีกำลังจะเดินเครื่องอีกครั้ง

 

“เดิมทีโรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาก่อน สร้างขึ้นราวช่วงทศวรรษ 1960 ขณะนั้นญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้โรงไฟฟ้าต้องตั้งห่างจากชุมชน”

 

ซูซูกิเล่าถึงที่มาที่ไป ก่อน JERA บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงแห่งเดิมที่ปิดใช้งานไปให้กลายเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,300 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน

 

ริคุโระ ซูซูกิ ผู้นำภาคประชาชนยื่นฟ้องโรงไฟฟ้าถ่านหินในโยโกสุกะ

ริคุโระ ซูซูกิ ผู้นำภาคประชาชนยื่นฟ้องโรงไฟฟ้าถ่านหินในโยโกสุกะ

 

โครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นในปี 2016 และได้จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ขึ้นในปีเดียวกัน กระบวนการดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กระทั่ง EIA แล้วเสร็จในปี 2018 ก่อนที่กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นจะรับรองรายงานดังกล่าวและอนุญาตให้เริ่มการก่อสร้างในปีถัดมา

 

ซูซูกิระบุว่า เขารู้สึกประหลาดใจที่ EIA อ้างว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในจุดเดิมที่โรงไฟฟ้าเก่าปลดระวางแล้วจะทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง แต่การกล่าวอ้างนั้นเปรียบเทียบกับสถานการณ์เมื่อ 18 ปีก่อน ที่โรงไฟฟ้าเก่ายังเปิดใช้งานทั้งหมด แม้คณะกรรมการตรวจสอบ EIA รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดคานากาวะจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาแล้ว ทว่าก็ไม่ได้รับการแก้ไข

 

“เราไม่สามารถยอมรับ EIA ที่ถูกลดขั้นตอนจนเข้าข้างผลประโยชน์ส่วนตัว และขาดการพิจารณาผลกระทบที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ได้” ซูซูกิกล่าวในการประชุมรับฟังความเห็นของคนในชุมชน

 

ด้วยความไม่สมบูรณ์ของ EIA และความกังวลต่อผลกระทบระยะยาว นำมาสู่เหตุการณ์สำคัญที่ประชาชนราว 48 คนในพื้นที่ นำโดยซูซูกิ รวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้กระทรวงเศรษฐกิจฯ พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้

 

ถึงกระนั้นความพยายามก็ไม่สัมฤทธิ์ผล ศาลสูงโตเกียวตัดสินยกคำร้องเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 โดยศาลยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาร้ายแรง แต่โจทก์ “ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่ชี้ว่า การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าใหม่เพียงแห่งเดียวจะเพิ่มความเสียหายจากภัยพิบัติ หรือส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้คนในพื้นที่” และเห็นว่ากระบวนการจัดทำ EIA ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

 

กลุ่มของซูซูกิไม่ย่อท้อ พวกเขายื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาให้ทบทวนคำตัดสิน แต่จนแล้วจนรอดศาลฎีกายกคำร้องเมื่อเดือนตุลาคม 2024 โดยระบุเพียงว่า “เหตุผลในการอุทธรณ์ไม่เป็นไปตามกฎหมาย” เป็นอันปิดฉากความพยายามต่อสู้ด้วยกระบวนการยุติธรรม แต่ทางภาคประชาชนสังคมยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อด้วยวิธีอื่น

 

ชาวเมืองโยโกสุกะที่รวมตัวกันต่อต้านการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ ยูกะ คิกูจิ ผู้อำนวยการ Mekong Watch (คนที่ 2 จากขวา)

ชาวเมืองโยโกสุกะที่รวมตัวกันต่อต้านการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ ยูกะ คิกูจิ ผู้อำนวยการ Mekong Watch (คนที่ 2 จากขวา)

 

ญี่ปุ่น: ประเทศพัฒนาแล้วที่มีข้อจำกัดด้านพลังงาน

 

ช่วงกลางปี 2024 การประชุมของรัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 ซึ่งญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในนั้น บรรลุข้อตกลงครั้งสำคัญว่าจะยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินภายในปี 2030 เพื่อเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่ยังไม่กำหนดเส้นตายสู่การเปลี่ยนผ่านจากพลังงานไฟฟ้าถ่านหิน

 

ข้อจำกัดด้านพลังงานของญี่ปุ่นสืบเนื่องมาจากญี่ปุ่นมีทรัพยากรพลังงานภายในประเทศจำกัดมาก จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อสร้าง ‘ความมั่นคงทางพลังงาน’ มาค้ำจุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และประชากรที่หนาแน่น เป็นเหตุให้มีต้นทุนการผลิตสูง ลำพังค่าไฟฟ้าในญี่ปุ่นก็แพงกว่าไทยเกือบเท่าตัว

 

ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงหันไปพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์อย่างมาก แต่หลังเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อ 13 ปีก่อน รัฐบาลสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด จนญี่ปุ่นต้องเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงาน ส่งผลให้ต้องนำเข้าพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ (LNG) และถ่านหิน เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย รวมถึงเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มราว 50 แห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าที่เมืองโยโกสุกะเองก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

“ด้วยการดำเนินการที่เร่งด่วน การทำ EIA ของโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงขาดความถี่ถ้วน” ซูซูกิอธิบาย

 

สัดส่วนการใช้พลังงานถ่านหินผลิตไฟฟ้า

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

 

จากข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2023 ญี่ปุ่นผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 28.3% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แม้สัดส่วนจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เชื้อเพลิงถ่านหินซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังคงเป็นแหล่งพลังงานสำคัญอันดับ 2 ของญี่ปุ่น รองจาก LNG

 

ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลอย่างถ่านหินและ LNG ด้วยการอนุมัติแผนการดำเนินนโยบายด้านพลังงานใหม่ โดยตั้งเป้าหมายในปี 2030 ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงเหลือ 41% จากเดิมที่มีการใช้รวมกันถึง 70% ของพลังงานทั้งหมด และนำพลังงานหมุนเวียนมาชดเชยราว 36-38% ตลอดจนแนวคิดในการรื้อฟื้นพลังงานนิวเคลียร์ ที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 20-22% ด้วย

 

แผนการดำเนินนโยบายด้านพลังงานของญี่ปุ่นสะท้อนถึงความเชื่อของรัฐบาลญี่ปุ่นว่า ประเทศอาจต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพื่อรองรับการใช้ AI รวมถึงศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการเดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่นของ THE STANDARD ทำให้มีโอกาสได้รับฟังความเห็นจากภาคประชาสังคมที่พยายามชี้ให้เห็นว่า ‘พลังงานหมุนเวียน’ อาจกลายเป็นโอกาสใหม่ที่ยังไม่ถูกค้นพบของญี่ปุ่น

 

ก้าวเล็กๆ ของพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่น

 

RE100 หรือ Renewable Energy 100% เป็นหนึ่งในโครงการระดับโลกที่มุ่งสานต่อพันธกิจในการหันมาใช้พลังงานทดแทน และมีเครือข่ายอยู่ในหลายประเทศ รวมถึงญี่ปุ่นและไทย สำหรับญี่ปุ่นเองมีบริษัทใหญ่เกือบร้อยแห่งเข้าร่วมโครงการนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของญี่ปุ่นที่มากขึ้นเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน ด้วยความหวังจะลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้า และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงกับตลาดพลังงานหมุนเวียนในประเทศ

 

ในช่วงเดือนมิถุนายน 2024 RE100 เน้นย้ำถึงโอกาสของญี่ปุ่นในการเปลี่ยนผ่านมาสู่พลังงานหมุนเวียน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญคือนโยบายของรัฐบาลที่ยังไม่เอื้ออำนวย พร้อมชี้ว่า แรงลมชายฝั่งของญี่ปุ่นมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแหล่งที่มาปัจจุบันถึง 1.7 เท่า เช่นเดียวกับพื้นที่มากมายซึ่งสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้

 

อากิโกะ โยชิดะ จาก Friends of the Earth Japan (FoE Japan) อธิบายว่า การผลักดันเรื่องพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่นริเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 2012 แต่ก็ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ ขณะเดียวกันกระแสของหลายประเทศทั่วโลกก็สร้างความกดดันให้บริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นต้องเริ่มขบคิดถึงการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน

 

Power Shift Campaign คือโครงการที่ภาคประชาสังคมในญี่ปุ่นเริ่มขับเคลื่อนมา 8 ปีแล้ว โดยเน้นการสนับสนุนให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยหันมาเลือกแหล่งที่มาจากพลังงานหมุนเวียน พร้อมสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคอุดหนุนไฟฟ้าจากบริษัทเหล่านั้น เรื่องนี้เป็นไปได้ เพราะญี่ปุ่นเปิดโครงสร้างการค้าเป็นเสรีเมื่อปี 2016 จึงมีการแข่งขันกันได้ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้า ต่างจากประเทศไทยที่ผู้ผลิตไฟฟ้ายังคงเป็นรายใหญ่และค่อนข้างผูกขาด

 

แปลงปลูกถั่วเหลืองผสมกับฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น

แปลงปลูกถั่วเหลืองผสมกับฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น

 

อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการในญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว แต่ยังดำเนินไปอย่างช้าๆ เนื่องจากบริษัทไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินยังคงมีอิทธิพลเหนือตลาดไฟฟ้าของญี่ปุ่นราว 70-80%

 

ถึงกระนั้นเองบริษัทไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง JERA ก็เริ่มวางแผนนำเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยมลพิษมาปรับใช้ เช่น การเผาไหม้ร่วม (Co-Firing) คือการนำเชื้อเพลิงทางเลือกอย่างชีวมวล (Biomass) มาผสมกับถ่านหิน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ก็ยังไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน

 

“อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เปิดเดินเครื่องขึ้นใหม่ในเมืองโยโกสุกะน่าจะเป็นแห่งสุดท้ายในประเทศนี้แล้ว” โยชิดะให้ความเห็น

 

จากญี่ปุ่นสู่ไทย พลังงานหมุนเวียนยังเกินเอื้อม?

 

ย้อนกลับมามองประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2055 คืออีกราว 25-30 ปีต่อจากนี้ ขณะเดียวกันทิศทางของพลังงานในไทยจะขับเคลื่อนอยู่ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทย หรือแผน PDP ที่วางโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าไว้ระยะยาวจนถึงปี 2037

 

ดูเหมือนว่าเป็นข่าวดี เพราะในแผน PDP ล่าสุดของไทยกำหนดสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนไว้ถึง 46% แบ่งเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ 16%, พลังงานน้ำที่นำเข้าจากเขื่อนลุ่มแม่น้ำโขง 15% และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ 15% ทว่าองค์กรภาคประชาสังคมบางส่วนยังไม่เห็นด้วยนักด้วยเหตุผลบางประการ

 

ประการแรก หลายฝ่ายประเมินว่าไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้มากกว่าที่กำหนดในแผน กล่าวได้ว่ามากกว่าญี่ปุ่นเกือบเท่าตัว โดยเฉพาะในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และประการต่อมา มีการชี้ว่าไทยยังคงพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น

 

นอกจากนั้น แผน PDP ของไทยก็ยังไม่หลุดพ้นจากการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล ทั้งการนำเข้า LNG จากเมียนมา แม้กระทั่งพลังงานหมุนเวียนยังต้องนำเข้าจากเขื่อนใน สปป.ลาว ยังไม่รวมถึงแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซขนาดใหญ่เพิ่มอีกอย่างน้อย 8 แห่งภายในปี 2037 ซึ่งดูสวนทางกับเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายใน 2055

 

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประเทศไทย

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประเทศไทย

 

ยูกะ คิกูจิ ผู้อำนวยการ Mekong Watch องค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น อธิบายว่า ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและพลังงานมายาวนาน โดยญี่ปุ่นเริ่มมีบทบาทสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานของไทยตั้งแต่ราว 60 ปีก่อน ผ่านการลงทุนในโครงการสำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและแหลมฉบัง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้ของญี่ปุ่น ถึงแม้จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเติบโต และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

“บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งกำลังลงทุนพัฒนาแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย ตัวอย่างในอดีตเช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ และอีกหลายแห่ง”

 

คิกูจิเปิดเผยว่า ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เตรียมจัดสรรเงินทุนอีก 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลหลังสิ้นปี 2024 ซึ่งขัดแย้งกับข้อตกลงของกลุ่มประเทศ G7 ที่ให้ยุติการสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยภาครัฐในต่างประเทศ

 

ภายใต้สถานการณ์ที่มนุษยชาติกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะที่ ‘ไม่อาจย้อนกลับได้’ เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Mercator Research Institute on Global Commons and Climate Change (MCC) ประเมินว่า จุดนั้นน่าจะมาถึงภายในเดือนกรกฎาคม 2029 หากไม่เร็วกว่านั้น

 

ไม่ว่าประเทศใดในโลกควรต้องทบทวนแผนการด้านพลังงานของตนเอง อาจเริ่มจาก 2 ประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและไทย ที่อย่างน้อยอาจเปลี่ยนผ่านจาก ‘ความมั่นคง’ ของพลังงานฟอสซิลหรือถ่านหิน แล้วหันมาพิจารณา ‘ความยั่งยืน’ ของพลังงานหมุนเวียน ที่อาจช่วยต่ออายุโลกและซื้ออนาคตให้มนุษยชาติได้บ้าง

 

ซูซูกิและตัวแทนภาคประชาชนชาวโยโกสุกะที่แสดงจุดยืนต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่

ซูซูกิและตัวแทนภาคประชาชนชาวโยโกสุกะที่แสดงจุดยืนต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่

 

The post ทำไมญี่ปุ่นถึงเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียรุนแรงแค่ไหน ทำไมถึงรุนแรง https://thestandard.co/california-wildfire-severity/ Thu, 09 Jan 2025 10:26:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1028651 california-wildfire-severity

รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับวิกฤตไฟป่าคร […]

The post วิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียรุนแรงแค่ไหน ทำไมถึงรุนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
california-wildfire-severity

รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับวิกฤตไฟป่าครั้งใหญ่รับปีใหม่ 2025 หลังเกิดไฟป่าลุกไหม้ในหลายพื้นที่และลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่ทีมนักดับเพลิงยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และจำกัดขอบเขตความเสียหายได้ โดย กาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว

 

ล่าสุด โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อนุมัติการประกาศภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง โดยจะสนับสนุนเงินทุนและระดมทรัพยากรด้านต่างๆ เพื่อช่วยแคลิฟอร์เนียรับมือกับวิกฤตไฟป่าในครั้งนี้ 

 

ไฟป่าครั้งนี้รุนแรงแค่ไหน

 

สำนักงานป่าไม้และป้องกันอัคคีภัยของแคลิฟอร์เนีย (CAL FIRE) รายงานว่า ขณะนี้มีไฟป่าอย่างน้อย 6 แห่งในแคลิฟอร์เนียที่กำลังขยายตัวเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะไฟป่าในย่านแปซิฟิกพาลิเสดส์ หรือพาลิเสดส์ไฟร์ (Palisades Fire) ที่สร้างความเสียหายไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ และไฟป่าแถบหุบเขาอีตัน หรืออีตันไฟร์ (Eaton Fire) ที่เผาไหม้พื้นที่ไปแล้วอีกราว 35,000 ไร่ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 วัน

 

เบื้องต้นทางการท้องถิ่นสั่งอพยพประชาชนกว่า 137,000 คนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว หลายครอบครัวจำใจต้องทิ้งบ้านและรถยนต์เพื่อเอาชีวิตรอด หลังไฟป่าลุกลามเข้ามายังเขตที่พักอาศัยอย่างรวดเร็ว แม้ทีมนักดับเพลิงกว่า 1,400 คนจะพยายามช่วยกันควบคุมเพลิงไว้แล้วก็ตาม 

 

ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตจากวิกฤตไฟป่าครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 10 คน โดยทางการแคลิฟอร์เนียคาดการณ์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตและขอบเขตความเสียหายจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

ด้านศูนย์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศโลกของ AccuWeather ประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากวิกฤตไฟป่านี้ว่าอาจสูงถึง 5.2-5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.8-1.9 ล้านล้านบาท) โดย โจนาธาน พอร์เตอร์ หัวหน้านักอุตุนิยมวิทยาประจำ AccuWeather ระบุว่า หากจำนวนสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่ความเสียหายจากไฟป่ายังคงเพิ่มมากขึ้นภายในช่วงไม่กี่วันนี้ อาจทำให้วิกฤตไฟป่าครั้งนี้กลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของแคลิฟอร์เนีย

 

ขณะที่ AccuWeather ประเมินว่า ไฟป่าฮาวาย หรือเมาวี ไฟร์ (Maui Fire) เมื่อปี 2023 ซึ่งเป็นไฟป่าที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ในรอบกว่า 100 ปี โดยคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 100 ชีวิต มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ที่ราว 1.3-1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.5-5.5 แสนล้านบาท) ซึ่งต่างจากตัวเลขประเมินความเสียหายของวิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียครั้งนี้ราว 3-4 เท่า

 

ไฟป่าแคลิฟอร์เนีย ทำไมถึงรุนแรง

 

แม้ว่าปัญหาไฟป่าจะไม่ใช่ปัญหาใหม่ในแคลิฟอร์เนีย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศก็ชี้ว่า มีอยู่อย่างน้อย 3 ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ปัญหาไฟป่าที่ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังนี้ ปะทุกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่และสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ได้แก่

 

1) ลมซานตาอานา

 

ในเดือนที่แคลิฟอร์เนียมีสภาพอากาศเย็นลง มักนำพาสิ่งที่เรียกว่า ‘ลมซานตาอานา’ (Santa Ana Winds) มาด้วย กระแสลมนี้เป็นลมกระโชกแรงที่พัดมาจากพื้นที่แถบทะเลทรายอันกว้างใหญ่ทางตะวันตกของสหรัฐฯ ไปจนถึงทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย

 

กระแสลมนี้พัดพาความแห้งและลมอุ่นๆ พาดผ่านหลายพื้นที่ของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตรงข้ามกับมวลอากาศเย็นและความชื้นที่มักจะถูกพัดพาจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ภาคพื้นของภูมิภาค 

 

ลมซานตาอานาทำให้ความชื้นในพื้นที่แถบนั้นลดลง และมีส่วนเอื้อให้ไฟป่าแคลิฟอร์เนียลุกโชนได้ง่าย ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาสหรัฐฯ รายงานว่า ไฟป่าลุกลามอย่างรวดเร็วด้วยความเร็วลม 129 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะแถบเทือกเขาหรือหุบเขาบางแห่งอาจวัดได้สูงถึง 161 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

2) ความแห้งแล้ง 

 

ในช่วงฤดูหนาวนี้ แม้ว่าพื้นที่ทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนียจะได้รับความชื้นจากเม็ดฝนที่ตกลงมาอยู่บ้าง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนียกลับแห้งแล้งมากเป็นพิเศษ ต้นไม้ต่างผลัดใบ ลดการคายน้ำ ส่วนใหญ่เหี่ยวเฉากลายเป็นเชื้อไฟที่ดีให้กับไฟป่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศชี้ว่า พื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนียอาจอยู่ในช่วงแห้งแล้งที่สุดที่ยาวนานกว่า 150 ปี 

 

3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก 

 

ในขณะที่กระแสลมซานตาอานาและความแห้งแล้งทำให้ไฟป่าครั้งนี้รุนแรงขึ้น แต่อิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) กำลังทำให้วิกฤตไฟป่าเกิดบ่อยครั้งขึ้น กลายเป็นปัญหาเรื้อรังมากยิ่งขึ้น และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก 

 

นักวิจัยด้านสภาพอากาศระบุว่า แคลิฟอร์เนียกำลังเผชิญกับภัยแล้งที่ยาวนานหลายทศวรรษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ‘วิกฤตภัยแล้งครั้งใหญ่’ (Megadrought) ที่ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วสหรัฐฯ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า ภัยแล้งนี้อาจรุนแรงที่สุดในรอบอย่างน้อย 1,200 ปี 

 

อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้เกิดสภาพอากาศที่เอื้อต่อการลุกไหม้ของไฟป่า (Fire Weather) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความชื้นลดลง พืชและพื้นดินส่วนใหญ่แห้งแล้ง

 

นักวิทยาศาสตร์พบว่า พื้นที่ด้านตะวันตกของสหรัฐฯ เกิดไฟป่าบ่อยครั้งขึ้น และขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ปัจจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงที่ไฟป่าจะลุกลามมากขึ้น 25% ในแคลิฟอร์เนีย โดย 10 อันดับไฟป่าครั้งใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มีถึง 5 อันดับที่เกิดขึ้นในปี 2020 เพียงแค่ปีเดียว 

 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังคำนวณว่า ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์มีส่วนทำให้พื้นที่ความเสียหายจากเหตุไฟป่าในแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้น 172% นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และคาดว่าพื้นที่ดังกล่าวจะขยายขอบเขตความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

 

ภาพ: Apu Gomes / Getty Images

อ้างอิง:

 

The post วิกฤตไฟป่าแคลิฟอร์เนียรุนแรงแค่ไหน ทำไมถึงรุนแรง appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลยุทธ์ธุรกิจแบบ OR: เส้นทางสู่ความยั่งยืนที่เติบโตไปพร้อมกัน ทั้งธุรกิจ สังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อม [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/success-formula-or-business-numbers/ Mon, 30 Dec 2024 10:30:06 +0000 https://thestandard.co/?p=1024856 OR space 2

คุณจำวันแรกที่รู้จัก OR ได้หรือไม่?   ในวันแรกทุกค […]

The post กลยุทธ์ธุรกิจแบบ OR: เส้นทางสู่ความยั่งยืนที่เติบโตไปพร้อมกัน ทั้งธุรกิจ สังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อม [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
OR space 2

คุณจำวันแรกที่รู้จัก OR ได้หรือไม่?

 

ในวันแรกทุกคนรู้จักว่า OR เป็นสถานีบริการน้ำมันที่เติมน้ำมันให้กับรถยนต์ของเราตามชื่อบริษัทว่า ‘บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)’

 

OR

 

แต่วันนี้กลับเปลี่ยนไป เรารู้จัก OR ในหลายบทบาทของชีวิตเรา ตั้งแต่การตื่นเช้ามาดื่มกาแฟ การแต่งเสริมความสวยความงามก่อนจะออกไปใช้ชีวิตประจำวัน การชาร์จรถยนต์ EV ของคุณ หรือแม้กระทั่งการรับประทานอาหารเย็นกับคนที่คุณรัก แต่ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทั้งหมดขององค์กรที่ชื่อ OR

 

ตั้งแต่วันแรกมาจนถึงวันนี้ OR เติบโตเป็นอย่างไรแล้วบ้าง และตำราการทำธุรกิจแบบ OR จะต้องเริ่มและทำอะไร

 

‘OR SDG’ ปรัชญาธุรกิจของ OR

 

OR เป็นตัวแปรใหญ่ในการเติบโตของกลุ่ม ปตท. ก็ว่าได้ จากกลยุทธ์การมองหาโอกาสและน่านน้ำธุรกิจใหม่เสมอ สินค้าและบริการก็ผ่านการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และแม้ OR จะเป็นแบรนด์ระดับประเทศและเป็นที่รู้จักบนเวทีโลก แต่การเติบโตร่วมกันกับผู้ประกอบการตัวเล็ก หรือ SMEs ก็ยังเป็นรากฐานที่ส่งเสริมบริษัทเช่นกัน

 

OR SDG - Small, Diversified and Green

OR SDG – Small, Diversified and Green

 

นั่นคือเรื่องที่ยืนยันได้ว่า DNA ของการสร้างธุรกิจและขยายการเติบโตของ OR คือการเติบโตที่มั่นคง ยั่งยืน และไม่ละทิ้งใครไว้ด้านหลัง สะท้อนภาพกลยุทธ์สำคัญ ‘OR SDG’ ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

 

  • S (Small): โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก โดยดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนต่างๆ
  • D (Diversified): โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ โดยมี OR เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางในการกระจายโอกาสให้ธุรกิจอย่าง Start-up, SMEs และพันธมิตรที่มีศักยภาพเติบโตไปด้วยกัน
  • G (Green): โอกาสเพื่อสังคมสะอาด ปรับเปลี่ยนธุรกิจ OR ให้เป็นธุรกิจสีเขียว เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 และลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

 

OR ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนโดยฝังสิ่งเหล่านี้ลงไปในกลยุทธ์ จนได้รับการการันตีด้วยรางวัลต่าง ๆ

 

  • Sustainability Awards 2024 ระดับ Highly Commended โดยรางวัลนี้เป็นรางวัลสำหรับองค์กรที่เป็นเลิศทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 
  • รางวัล 14th Asian Excellence Award 2024 Sustainable Asia Award รางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีผลงานด้าน ESG ที่โดดเด่นจากนิตยสาร Corporate Governance Asia

 

ธุรกิจพลังงาน OR: ธุรกิจที่มากกว่าเรื่องพลังงาน

 

PTT Station คือภาพคุ้นตาของทุกคนตั้งแต่แรกเริ่ม แต่วันนี้ OR เติบโตไปมากกว่าเพียงการเป็นสถานีบริการน้ำมันที่มีผู้ใช้บริการราว 3.4 ล้านคนต่อวัน และมีกว่า 2,100 สถานี

 

‘EV Station PluZ’ เป็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สะท้อนภาพการปรับตัวเพื่อโลกที่เราทุกคนต้องรับผิดชอบของ OR เพื่อให้การเดินทางด้วยพลังงานสะอาดดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อ ซึ่ง OR ขยายสถานีชาร์จครบทั้ง 77 จังหวัด และขยายไปถึงกว่า 900 สาขาในปีนี้

 

OR

 

EV Station PluZ ยังเติมระบบนิเวศของพลังงานไฟฟ้าด้วยแอปพลิเคชัน EV Station PluZ เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก ทั้งการค้นหาจุดชาร์จ จอง และชำระเงิน ช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเดินทางสู่จุดหมายได้อย่างไร้รอยต่อ

 

ค้นหา EV Station PluZ ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน

ค้นหา EV Station PluZ ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน

 

OR ยังเป็นผู้นำและสานต่อการเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่ง OR ประสบความสำเร็จในการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF (Sustainable Aviation Fuel) ให้บริการใน 3 สายการบินในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน Thai Airways, Thai Vietjet Air และ Bangkok Airways

 

การใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF ในเที่ยวบินภูเก็ต-กรุงเทพฯ

การใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF ในเที่ยวบินภูเก็ต-กรุงเทพฯ 

 

นอกจากนี้ OR ยังส่งเสริมธุรกิจพลังงานอื่นๆ เช่น

 

  • FIT Auto ศูนย์บริการซ่อมบำรุง เช็กสภาพ เปลี่ยนอะไหล่รถยนต์และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นคุณภาพสูง จาก PTT Lubricants ที่มีครอบคลุมทุกภูมิภาคกว่า 100 สาขา โดยเพิ่มฟีเจอร์รองรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่น บริการตรวจซ่อมชิ้นส่วนเฉพาะทาง

 

การจัดจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ปตท. ผ่านช่องทางที่ครอบคลุม เช่น ร้านค้าผู้แทนจำหน่าย และจำหน่ายใน PTT Station รวมถึงแอปพลิเคชัน OR LPG 

 

FIT Auto

FIT Auto

 

ธุรกิจพลังงานของ OR จึงไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการเติมพลังงาน แต่เป็นการสร้างสังคมที่เกิดการเคลื่อนไปข้างหน้าได้แบบไร้รอยต่อ ทั้งในรูปการจัดการสถานีบริการน้ำมัน จุดชาร์จ EV Station PluZ รวมถึงพลังงานเครื่องบิน โดยทั้งหมดนี้สร้างความสุขให้ผู้ใช้บริการและสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

 

ธุรกิจค้าปลีก OR: พื้นที่แห่งคำตอบทุกไลฟ์สไตล์

 

‘OR Space’ โมเดลธุรกิจค้าปลีกไร้น้ำมัน พื้นที่แห่งความสุขใหม่ของ OR โดยแตกต่างจาก PTT Station ที่ไม่ได้มีจุดเติมน้ำมัน เพื่อมุ่งมั่นและโฟกัสด้านค้าปลีกมากขึ้น

 

OR Space แม้ดูจะเป็นธุรกิจรีเทล แต่จุดยืนนั้นแตกต่างจากศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า เพราะเน้นโซนศูนย์กลางธุรกิจ โดยธุรกิจนี้จะใช้คอนเซปต์ ‘Convenience Mall’ หรือพื้นที่ที่จะเน้นสินค้าและบริการที่หลากหลาย เป็นความสะดวกสบายให้กับผู้มาใช้บริการ

 

OR Space รามคำแหง 129

OR Space รามคำแหง 129

 

มีทั้งร้านในแบรนด์และพันธมิตร OR เอง รวมถึงการพาร้านค้าดังอย่าง UNIQLO Roadside ที่ถอดแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น มาเปิดให้บริการ ปัจจุบัน OR Space ปักหมุดหมายสำคัญไปด้วยการเปิดตัว 2 แห่ง คือ สาขารามคำแหง 129 และสาขาเณรแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี 

 

ทั้งนี้ OR วางเป้าหมายให้ OR Space คือ การขยาย 10 สาขาต่อปีบริเวณกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นโซลูชันและคำตอบให้ทุกๆ ไลฟ์สไตล์อย่างต่อเนื่อง

 

 

ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OR: โอกาสที่ดีกว่าของทุกคน

 

ยามเช้าตรู่ใครบ้างจะไม่นึกถึงกาแฟที่มักจะเริ่มวันที่ Café Amazon ซึ่งมีกว่า 4,400 สาขาทั้งในและนอก PTT Station ซึ่ง Café Amazon ใช้แนวคิด ‘Circular Economy’ ที่มุ่งเป็นแบรนด์กาแฟที่ใส่ใจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

 

Café Amazon

 

ปัจจุบัน Café Amazon ก้าวสู่แบรนด์ชั้นนำของโลก จากการสร้างตัวเองให้ไปสู่จุดที่เป็น ‘แบรนด์กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก’ ด้วยการสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำผ่านโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ในการสนับสนุนเกษตรกรไทยในการสร้างกาแฟคุณภาพและรักษ์โลก พร้อมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพด้วยการรับซื้อเมล็ดกาแฟที่โรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีการใช้ EV Truck ที่ไม่สร้างมลพิษขนส่งเมล็ดกาแฟทางไกลรายแรกของไทยมายังโรงคั่วกาแฟ Café Amazon อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงปลายน้ำ ในการมอบกาแฟที่ดีที่สุดในทุกๆ แก้ว และการบริการที่แคร์และแฟร์จนเป็นที่ยอมรับ

 

cafe amazon เกษตรกร

Café Amazon และการสนับสนุนเกษตรกรกาแฟไทย

 

และปัจจุบัน Café Amazon ยังขยายธุรกิจไปในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มและกาแฟแคปซูลอีกด้วย

 

วิสัยทัศน์ของการทำธุรกิจให้สำเร็จจะต้องมีความหลากหลายของธุรกิจ เพื่อพุ่งไปข้างหน้าเสมอ ทำให้ธุรกิจค้าปลีกกลายมาเป็นจุดแข็งสำคัญของ OR อย่างมาก และหนึ่งในความแข็งแกร่งที่จะมาเสริมคือ ธุรกิจด้านสุขภาพและความงามจากการเปิดร้านสินค้าสุขภาพและความงาม ‘found & found’

 

found & found

found & found

 

โจทย์ในการเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับทุกคนในรอบด้าน OR จึงขยายธุรกิจไลฟ์สไตล์มาในด้านนี้ found & found เป็นแบรนด์ที่เชื่อว่าการดูแลตัวเองเป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงได้ ‘SIMPLE. EASY. EVERYSKIN.’ ซึ่งมอบผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามจากไทยและต่างประเทศที่ทันสมัยและมีคุณภาพที่เหมาะกับทุกคน โดยปัจจุบันมีถึง 5 สาขาในประเทศ และตั้งเป้ามอบผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามถึง 500 สาขาในปี 2030

 

นวัตกรรม OR: ค้นหาและสนับสนุนสิ่งใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด

 

นวัตกรรมคือเครื่องมือที่จะเสริมสร้างธุรกิจให้มั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืนและไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคือสิ่งที่ OR ทราบดีและดำเนินเรื่อยมา ทั้งการสร้างนวัตกรรมของตัวเองและการลงทุนในนวัตกรรมใหม่

 

OR ยกระดับสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) ผ่านการนำระบบ SAP S/4 HANA ที่รวมฟังก์ชันในการบริหารจัดการธุรกิจพลังงานและค้าปลีกไว้ด้วยกันเข้ามาใช้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน รองรับการเติบโตทางธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล

 

แอปพลิเคชันและระบบสมาชิก blueplus+

แอปพลิเคชันและระบบสมาชิก blueplus+

 

นอกจากนี้ OR ยังได้พัฒนาแอปพลิเคชันและระบบสมาชิก blueplus+ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์ลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ครอบคลุมบริการต่างๆ ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงไลฟ์สไตล์ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

 

การปรับเปลี่ยนครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ OR ในการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย OR 2030 Goals

 

พันธมิตร OR: การพาคนตัวเล็กและชุมชนเติบโตไปด้วยกัน

 

‘รายได้และผลกำไร’ ตัวเลขเหล่านี้คือสิ่งที่ธุรกิจมักนึกถึงเป็นส่วนใหญ่ แต่ธุรกิจมีเพียงแค่นั้นหรือ? 

 

คำตอบของ OR คือไม่ใช่ทั้งหมด เพราะสิ่งที่สำคัญเช่นกันคือการสร้างสิ่งใหม่เพื่อแก้ปัญหา หรือ ‘การเป็นโซลูชัน’ ให้สังคมและสิ่งแวดล้อม นั่นทำให้ OR สามารถเป็นพันธมิตรกับเหล่าธุรกิจคนตัวเล็กและชุมชน เพื่อเติบโตไปพร้อมกับชุมชน

 

  • ‘โครงการร้านไทยเด็ด’ ที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น โดยสร้างช่องจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ ‘ไทยเด็ด’ 355 สาขาทั่วประเทศ มีสินค้าชุมชนกว่า 1,000 รายการ เพิ่มรายได้และสร้างโอกาสให้กับวิสาหกิจขนาดเล็กและชุมชน

 

ร้านไทยเด็ด สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น

ร้านไทยเด็ด สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น

 

  • ‘โครงการ Café Amazon for Chance’ ที่ช่วยสร้างโอกาสในการทำงานเป็นบาริสต้าให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงวัย และผู้พิการ โดยสนับสนุนการจ้างงานและอบรม ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมผ่าน 345 สาขา

 

Café Amazon for Chance

Café Amazon for Chance

 

มากไปกว่านั้น OR เตรียมพัฒนา Café Amazon Park บนพื้นที่ 615 ไร่ ที่ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนากาแฟอย่างยั่งยืนครบวงจร โครงการนี้นอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบและธุรกิจต้นน้ำให้กับธุรกิจ Café Amazon และลดการพึ่งพาการนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศแล้ว ยังสร้างงานและรายได้ให้ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เกิดการจ้างงานในพื้นที่

 

OR

 

การปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ใหญ่จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดปัญหา PM2.5 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ OR ในการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนตามเป้าหมาย OR 2030 Goals ทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม


OR ขยายความสำเร็จสู่ต่างประเทศ

 

ธุรกิจ OR ในประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากโดยไม่มีข้อสงสัย ทั้งจำนวนการใช้บริการ ยอดขาย และการขยายเครือข่ายของธุรกิจ 

 

มากกว่านั้น OR ยังประสบความสำเร็จในต่างประเทศมากมาย โดยมี PTT Station ในต่างประเทศแล้วกว่า 400 สาขา รวมถึงการเปิด EV Station PluZ และร้านสะดวกซัก Otteri นอกจากนี้ Café Amazon ยังเปิดไปแล้วเกือบ 400 สาขา ยอดขายมากกว่า 30 ล้านแก้ว

 

เปิดตัว Otteri ที่กัมพูชา

เปิดตัว Otteri ที่กัมพูชา 

 

การขยายตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่า OR มีฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งในกัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ โดยกัมพูชาถือเป็น ‘บ้านหลังที่สอง’ ของบริษัท ด้วยการเปิดสถานีบริการ PTT Station และ Café Amazon หลายแห่ง รวมถึงร้านสะดวกซัก Otteri และ EV Station PluZ

 

กลยุทธ์ในการเจาะตลาดต่างชาติของ OR คือกลยุทธ์ Asset Light Model ในการร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่มีศักยภาพในตลาดใหม่ ไม่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ถาวร แต่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นสูง

 

Café Amazon ที่ สปป.ลาว

Café Amazon ที่ สปป.ลาว

 

เบื้องหลังความสำเร็จของ OR ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขทางธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คือการสร้างสมดุลระหว่างผลกำไรและการขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน OR พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความสำเร็จที่แท้จริงนั้นมาจากการคิดที่ลึกซึ้งกว่าตัวเลข พร้อมเดินหน้าสร้างคุณค่าให้กับชุมชน ดูแลสิ่งแวดล้อม และกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ OR แตกต่างและก้าวสู่ความเป็นผู้นำในทุกมิติอย่างแท้จริง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

The post กลยุทธ์ธุรกิจแบบ OR: เส้นทางสู่ความยั่งยืนที่เติบโตไปพร้อมกัน ทั้งธุรกิจ สังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อม [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
2025 เราจะเผชิญอะไรกับปัญหาโลกร้อน https://thestandard.co/2025-global-warming-challenges-forecast/ Wed, 25 Dec 2024 12:04:53 +0000 https://thestandard.co/?p=1023769 โลกร้อน 2025

น้อยคนที่จะทราบว่าสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเท […]

The post 2025 เราจะเผชิญอะไรกับปัญหาโลกร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกร้อน 2025

น้อยคนที่จะทราบว่าสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยน้อยกว่า 1% ของทั้งโลก แต่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ปี 2023 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกเรียงตามลำดับ คือ จีน, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, สหภาพยุโรป 27 ประเทศ, รัสเซีย และบราซิล ที่มีจำนวนประชากรรวมกันครึ่งหนึ่งของทั้งโลก เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็น 68% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

 

ในขณะที่ทั่วโลกต่างตื่นตระหนกกับปัญหาโลกร้อน และเรียกร้องให้ชาติต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2023 จีน, อินเดีย, รัสเซีย และบราซิล ยังเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป เมื่อเทียบกับปี 2022

 

ประเทศกำลังพัฒนาต้องแบกรับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้ายและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสะสมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

 

Nature Climate Change หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เปิดเผยงานวิชาการที่เก็บข้อมูลมานานว่า ในปี 2023 โลกมีอุณหภูมิร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี 1850-1900) เป็นครั้งแรกไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ทั่วโลกพยายามจำกัดอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

 

ในปี 2015 ประชาคมโลก 197 ประเทศให้คำมั่นไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้พุ่งเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียสถือเป็น ‘จุดเปลี่ยนสำคัญ’ คือหากอุณหภูมิสูงไปกว่านี้ โอกาสที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ จะยากขึ้นมาก หรืออาจสายไปเสียแล้ว

 

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยครั้งร้ายแรงที่สุดถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศครั้งสำคัญ และหายนะของคนทั้งโลก

 

ฤดูร้อนปี 2024 อุณหภูมิทั่วโลกสูงแตะ 1.5 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาหมอกควันพิษที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัดมาตลอด ทุกพื้นที่ของประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงสุดทำลายสถิติเท่าที่เคยมีมา อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 44.6-44.9 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และตาก เพราะเป็นพื้นที่ราบสูง และไม่มีป่าปกคลุม อันเกิดจากการถูกทำลายไปจำนวนมาก

 

ความร้อนจัดทำให้น้ำทะเลอ่าวไทยและอันดามันมีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงเกิน 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป หญ้าทะเลไทยตายกว่า 10,000 ไร่ ปะการังฟอกขาวเสียหายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผยข้อมูลในปี 2024 ว่า ปะการังมีอัตราการฟอกขาวประมาณ 60-80% จากภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นจนปะการังเครียดและถูกทำลายจนเป็นหินปูนสีขาว และใช้เวลาอีกหลายปีกว่าปะการังจะกลับคืนมาได้

 

ปะการังเป็นแหล่งอนุบาลและที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์น้ำทุกชนิด เมื่อบ้านหายไป ปริมาณสัตว์น้ำที่เป็นอาหารโปรตีนหลักของมนุษย์ทั่วโลกจะต้องขาดแคลนแน่นอน

 

เมื่อหญ้าทะเล อาหารหลักของพะยูนค่อยๆ หายไป พะยูนซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนตายจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ ในปี 2024 มีพะยูนตายไปแล้วเกือบ 40 ตัว มากเป็นประวัติการณ์ จากพะยูนในประเทศที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ฝั่งทะเลอันดามันไม่ถึง 300 ตัว

 

พอย่างเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาโลกเดือดทำให้เกิดภูมิอากาศแปรปรวนวิปริตไปทั้งโลก เกิดพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งพบว่ามีปริมาณฝนมากกว่าปกติถึง 50-60% เกินความสามารถของดินที่จะอุ้มน้ำได้ จึงไหลทะลักมาท่วมบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายมหาศาลทั้งชีวิตและทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

 

ไม่นับรวมถึงความเสียหายจากน้ำท่วมภาคใต้ครั้งร้ายแรงที่สุดจากฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ จนถึงขณะนี้หลายจังหวัดทางภาคใต้ก็ประสบอุทกภัย ตั้งแต่ 3 จังหวัดภาคใต้ไล่ขึ้นมาจนถึงจังหวัดชุมพร ซึ่งคาดว่าความเสียหายน่าจะไม่ต่างจากภาคเหนือเช่นกัน

 

ปี 2025 ความแปรปรวนด้านภูมิอากาศนับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น จากปริมาณความร้อนโดยรวมของมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ส่งผลให้ระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น

 

อุณหภูมิพื้นผิวโลกโดยเฉลี่ยในปี 2025 จะอยู่ระหว่าง 1.29-1.53 องศาเซลเซียส ตามการคาดการณ์ของ Met Office ซึ่งเป็นหน่วยงานพยากรณ์อากาศและภูมิอากาศแห่งชาติของสหราชอาณาจักร

 

และเมื่อพิจารณาการปล่อยมลพิษในปัจจุบัน รวมถึงการกระทำของบุคคล ประเทศ และหน่วยงานระหว่างประเทศทั่วโลกแล้ว อุณหภูมิของสภาพภูมิอากาศน่าจะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 3.2 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษนี้ 

 

ภาวะสุดขั้วของพายุและฝนจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น จำนวนวันและระยะเวลาที่ฝนตกจะมากขึ้น การเกิดพายุไต้ฝุ่นจะถี่มากขึ้น และปริมาณน้ำฝนรวมสูงสุดจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันอย่างรุนแรงบ่อยขึ้นในหลายพื้นที่

 

อุณหภูมิเฉลี่ยของไทยจะเพิ่มขึ้น ทุกภูมิภาคของไทยจะมีอากาศร้อนจัดและร้อนนาน โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวนวันที่อากาศเย็นจะลดลง ขณะที่จำนวนวันที่อากาศร้อนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำแล้งอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่

 

ปัญหาน้ำแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะส่งผลให้การเกษตรในหลายพื้นที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พืชผลแห้งตาย หรือไม่ก็อาจถูกน้ำท่วมจนเสียหายในช่วงฤดูฝน

 

นักวิจัยพบว่า อุณหภูมิตอนกลางคืนที่ร้อนขึ้นในช่วงที่ข้าวกำลังออกดอกจะกระทบกระบวนการสังเคราะห์แสงของข้าว ทำให้ผลผลิตลดลง และเมื่อใดที่มีภาวะฝนแล้ง ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทยโดยเฉพาะข้าวโพดจะลดลงมากที่สุด ตามมาด้วยข้าวและอ้อย

 

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ คาดการณ์ว่า ปัญหาจากโลกเดือดครั้งนี้ คาดว่าประเทศไทยจะได้รับความเสียหายสะสมระหว่างปี 2011-2045 คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 0.61-2.85 ล้านล้านบาท

 

มองออกไประดับโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่ประเทศยากจนและกลุ่มเปราะบางจะเป็นกลุ่มที่เผชิญกับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ด้วยปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

 

ความร้อนส่งผลกระทบต่อทั่วโลก หลายประเทศมีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่น เบลารุส, เบลเยียม, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, คาซัคสถาน, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ยูเครน, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, รัสเซีย, ไทย ฯลฯ

 

ในปี 2025 ผู้หญิงมากกว่า 240 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะไม่มั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ในภูมิภาคอาเซียน ผู้หญิงมากกว่า 7 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะอดอยาก ขณะที่ผู้หญิงมากกว่า 24 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะไม่มั่นคงทางอาหาร เพราะผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังเจอข้อจำกัด เช่น การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ การต้องออกจากระบบการศึกษาและหันมาทำงานด้านเกษตรกรรมที่ถูกกระทบโดยโลกร้อน หรือต้องเลี้ยงดูบุตร ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้

 

ในปี 2030 ประชากรกว่า 130 ล้านคนจะตกอยู่ในความยากจนเพราะโลกร้อน ถูกผลักให้เผชิญความหิวโหย รวมถึงการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต และการพลัดถิ่นของคนจำนวนมาก 

 

ตามรายงานของ Nature Communications ผู้คนจำนวน 200 ล้านคนทั่วโลกจะอาศัยอยู่ใต้แนวน้ำทะเลภายในสิ้นศตวรรษนี้ เมื่อน้ำทะเลสูงขึ้นจากน้ำแข็งขั้วโลกจำนวน 7.5 แสนล้านตันละลายลงสู่ทะเลทุกปี 

 

ปัญหาความแห้งแล้งอย่างรุนแรง และการละลายของธารน้ำแข็งที่เป็นแหล่งน้ำจืดหล่อเลี้ยงคนหลายพันล้านคน จะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง สงครามแย่งชิงน้ำจะเกิดขึ้น คาดว่าจะมีประชากร 1.8 พันล้านคนเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำโดยสิ้นเชิง และ 2 ใน 3 ของประชากรโลกต้องต่อสู้กับความเครียดจากน้ำ

 

ตามรายงานของ UN Climate Action ระบุว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5-2 องศาเซลเซียส จะทำให้พื้นที่ของสิ่งมีชีวิตบนบกส่วนใหญ่หดตัวลงอย่างมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผลักดันให้ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืชและสัตว์สูญพันธุ์สูงกว่าในอดีตเกือบ 1,000 เท่า และภายในกลางศตวรรษนี้ ชนิดพันธุ์ต่างๆ บนโลกจะสูญพันธุ์มากถึงร้อยละ 30-50

 

ในท้องทะเล แนวปะการังที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ทะเลมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นพิเศษ โดยคาดว่าจะลดลงเหลือ 10-30% ของพื้นที่ปกคลุมเดิม เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และเหลือต่ำกว่า 1% ของพื้นที่ปกคลุมเดิม เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส

 

ในปี 2025 อนาคตของนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯ ยังคงไม่แน่นอน หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง ผู้ประกาศว่าปัญหาโลกร้อนไม่มีอยู่จริง และสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล จะทำให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส อันหมายถึงการไม่ร่วมมือกับนานาชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งเงินทุนและการลดอุณหภูมิของโลกในอนาคต

The post 2025 เราจะเผชิญอะไรกับปัญหาโลกร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด https://thestandard.co/real-christmas-tree-eco-friendly/ Tue, 17 Dec 2024 08:46:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1020508

แม้ชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อเข้าสู่เทศกา […]

The post ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้ชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เมื่อเข้าสู่เทศกาลคริสต์มาสเราก็อดไม่ได้ที่จะเฉลิมฉลองไปกับบรรยากาศแสนอบอุ่น ปัจจุบันห้างร้าน สำนักงาน หรือแม้แต่บ้านของคนทั่วไปก็มีการตกแต่งด้วยต้นคริสต์มาส เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 

 

แต่หากคุณคิดว่าการตัดต้นคริสต์มาสที่เป็นต้นไม้จริงๆ เพื่อมาโชว์ครั้งเดียวแล้วทิ้งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าต้นพลาสติก คุณอาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะบทความจากสำนักข่าว BBC ชี้ว่า การใช้ต้นคริสต์มาสจริงอาจดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่คุณคิด

 

อ้างอิง:

 

ปี 1800 สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์ จัดตั้งต้นคริสต์มาสต้นแรกในอังกฤษ

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด

 

ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

The post ต้นคริสต์มาสจริงดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าที่คุณคิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปี 2024 ปีที่โลกร้อนที่สุด https://thestandard.co/2024-hottest-year-on-record/ Tue, 17 Dec 2024 01:00:18 +0000 https://thestandard.co/?p=1019693

แม้จะยังไม่หมดปี แต่ตัวเลขอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2024 […]

The post ปี 2024 ปีที่โลกร้อนที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้จะยังไม่หมดปี แต่ตัวเลขอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2024 ก็ทำลายสถิติเดิมทั้งหมดแล้ว

 

ยุคโลกเดือดมาถึงเราแล้ว

 

และยังเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกค้างเติ่งอยู่เหนือเส้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็น​หมุดหมายสำคัญ​ด้าน​โลก​ร้อน​ที่นานาชาติ​ให้คำมั่นสัญญา​กันไว้ในข้อตกลง​ปารีส​อีกด้วย

 

“ยุคโลกเดือดมาถึงเราแล้ว” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ​กล่าวไว้เมื่อปีกลาย และในปีนี้คำพูดคำนี้ก็วนเวียนตอกย้ำให้เราทั้งหลาย​เห็นว่ามันจริง

 

ข้อมูลจากระบบ ERA5

 

ข้อมูลจากระบบ ERA5 ของโครงการบริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Climate Change Service) ระบุถึงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกวงรอบ 12 เดือนคือ นับจากเดือนตุลาคม 2023 – เดือนกันยายน 2024 มีค่าสูงถึง 1.62 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่เหนือกว่าเส้น 1.5 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงปารีสไปมากจนน่าตกใจ นอกจากนี้​อุณหภูมิผิวน้ำทะเล 6 เดือนแรกของปี 2024 ยังสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งเคยเป็นปีที่ทำสถิติสูงสุดมาแล้ว​ตามแผนภูมิ​ด้านล่าง​

 

ผิวน้ำทะเลอุณหภูมิสูง

 

ผิวน้ำทะเลอุณหภูมิสูงกลุ่มนี้ยังย้ายข้ามจากฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่ฝั่งตะวันตก ตามความเปลี่ยนแปลงจากเอลนีโญมาสู่ลานีญาของปีนี้ และนี่อาจเป็นสาเหตุ​หลักที่ก่อให้เกิด​ไต้ฝุ่น​มากถึง 4 ลูกในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเรื่อง​ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในบันทึกของ WMO

 

โซเนีย เซเนวิรัตเน

 

โซเนีย เซเนวิรัตเน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยวิจัย ETH Zurich เผยว่า “ไม่รู้สึกแปลกใจ” กับการทำลายสถิติใหม่ของอุณหภูมิ​โลก​ในครั้งนี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐภาคี COP29 จัดทำข้อตกลงเพิ่มความพยายามให้มากยิ่งขึ้นในการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 

แต่ก็เหมือนที่เราทราบกัน ผลการประชุม COP29 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ออกมาในเชิงที่ไม่เป็นผลดีกับสภาวะโลกที่กำลังเดินหน้าสู่วิกฤตสักเท่าไร โดยการประชุมรอบนี้เน้นหนักไปที่การขอเงินชดเชยจากประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ไปให้กับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เป็นเกาะปะการัง ที่จะประสบปัญหาน้ำทะเลท่วมจนอยู่อาศัยไม่ได้ในอนาคต เช่น

มัลดีฟส์, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ​คิริบาส และ​ตูวาลู

 

เกิน 1.5 องศาเซลเซียส​แล้วโลกจะไปทางไหน

 

ข้อตกลงปารีสหรือการประชุมโลกร้อน COP21 เมื่อปี 2015 ที่กรุงปารีสนั้น ที่จริงแล้วกำหนดตัวเลขออกมา 2 ชุดคือ 2.0 องศาเซลเซียส และ 1.5 องศาเซลเซียส โดยตัวเลขแรกคือ 2.0 องศาเซลเซียสนั้นสำคัญที่สุด เพราะมันคือ ‘จุดไม่หวนกลับ’ ซึ่งหมายถึงหากปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกข้ามผ่านจุดนั้นไป สถานการณ์หลังจากนั้นก็จะดำเนินไปของมันเอง โดยไม่ว่าอย่างไรมนุษย์ก็จะเข้าไปแก้ไขไม่ได้อีกแล้ว ที่ประชุมจึงตกลงตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียสขึ้นมาอีกตัวเพื่อ ‘ความพยายาม’ ของรัฐภาคีที่ร่วมลงนามเอาไว้ที่จะช่วยกันรักษาให้ได้เป็นด่านแรก แต่ตัวเลขนี้ไม่ใช่ตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาลอยๆ เพราะมีการวิจัยไว้แล้วว่าหลังโลกร้อนจนแตะหรือผ่านตัวเลขนี้ไปจะเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว ทั้งเวลาและสถานที่ รวมทั้งความรุนแรงในแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งในปี 2024 ก็มีภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขั้วปรากฏให้เห็นหลายเวลาและหลายสถานที่ตามที่ปรากฏเป็นข่าว เป็นการเตือนเหล่ามนุษย์บนโลกโดยตรงจากธรรมชาติว่าทั้งหมดคือเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์จินตนาการขึ้นมาเอง

 

แต่นับว่ายังดีที่การประชุม COP29 ได้ข้อกำหนดว่ารัฐภาคีต้องจัดทำข้อตกลง ‘การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด’ (Nationally Determined Contributions: NDCs) ฉบับใหม่ขึ้นในปีหน้าหรือปี 2025 ถือเป็นข้อกำหนด NDC 3.0 ที่ตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ภายในปี 2035 โดยยังคงใช้ตัวเลขเป้าหมายเดิมจากข้อตกลงปารีส นั่นคือกลับไปที่การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ ‘ท้าทายมากยิ่งขึ้น’ สำหรับรัฐภาคีที่จะต้องลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ท่ามกลางความปั่นป่วนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน

 

อ้างอิง:

 

 

 

The post ปี 2024 ปีที่โลกร้อนที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>