LIFE | LIVING – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 04 May 2024 05:44:41 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.3.1 The Spirits of Maritime Crossing บทสนทนาระหว่างจิตวิญญาณแห่งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 https://thestandard.co/life/the-spirits-of-maritime-crossing Sat, 04 May 2024 05:44:41 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=929980 The Spirits of Maritime Crossing

นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้าม […]

The post The Spirits of Maritime Crossing บทสนทนาระหว่างจิตวิญญาณแห่งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Spirits of Maritime Crossing

นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร เป็นนิทรรศการที่เป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 ในปี 2024 (Venice Biennale 2024) ในฐานะ Collateral Events หรือนิทรรศการรับเชิญที่คัดสรรโดยคณะกรรมการของเวนิส เบียนนาเล่ 

 

The Spirits of Maritime Crossing จัดขึ้นโดยมูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ โดยมี ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ รับหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ที่จัดขึ้นในอาคารเก่าแก่ในศตวรรษที่ 18 อย่าง Palazzo Smith Mangilli Valmarana (Palace Smith Mangilli Valmarana) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี 

 

The Spirits of Maritime Crossing

 

โดยเป็นการรวมตัวของ 15 ศิลปิน ทั้งศิลปินร่วมสมัยจากประเทศไทย, ศิลปินจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศิลปินจากซีกโลกตะวันตกอย่าง มารีนา อบราโมวิช (Marina Abramović) จากเซอร์เบีย/สหรัฐอเมริกา กับ พิเชษฐ กลั่นชื่น, จิตติ เกษมกิจวัฒนา กับ นักรบ มูลมานัส, จักกาย ศิริบุตร, นที อุตฤทธิ์, กวิตา วัฒนะชยังกูร จากประเทศไทย, บุญโปน โพทิสาน (Bounpaul Phothyzan) จากลาว, จอมเปท คุสวิดานันโต (Jompet Kuswidananto) จากอินโดนีเซีย, อัลวิน รีอามิลโล (Alwin Reamillo) จากฟิลิปปินส์, คไว สัมนาง (Khvay Samnang) จากกัมพูชา, เจือง กง ตึง (Truong Cong Tung จากเวียดนาม, โม สัท (Moe Satt) จากเมียนมา/เนเธอร์แลนด์, ปรียากีธา ดีอา (Priyageetha Dia) จากสิงคโปร์ และ หยี่ อิ-ลาน (Yee I-Lann) จากมาเลเซีย

 

นำเสนอผลงานศิลปะในสื่อหลากหลายประเภท ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสม ศิลปะจัดวาง วิดีโอจัดวาง วิดีโอแสดงสด และภาพยนตร์สั้น ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับจิตวิญญาณ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงประเด็นทางสังคมการเมือง การพลัดถิ่น การโยกย้ายถิ่นฐาน ผลกระทบจากสงครามและความขัดแย้ง และการสำรวจรากเหง้าและอัตลักษณ์ทางชนชาติหลังยุคอาณานิคมของแต่ละภูมิภาคได้อย่างน่าสนใจ

The Spirits of Maritime Crossing

ถึงแม้ศิลปินเหล่านี้จะมีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม จนไม่ต่างอะไรกับเป็นชาวต่างชาติของคนในภูมิภาคเดียวกัน ดังเช่นธีมหลักของมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ อย่าง Foreigners Everywhere แต่พวกเขาก็มีจุดร่วมบางอย่างคล้ายคลึงกัน ทั้งสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ และสภาวะทางสังคมการเมือง 

 

The Spirits of Maritime Crossing

 

ประเด็นเหล่านี้ต่างถูกสื่อสารผ่านผลงานของศิลปินทั้ง 15 คนที่ต่างก็มีปฏิสัมพันธ์กับบริบทของพื้นที่ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของเมือง และประวัติศาสตร์อันยาวนานของเวนิส รวมถึงสร้างบทสนทนาระหว่างจิตวิญญาณของตะวันตกและตะวันออกได้อย่างโดดเด่นน่าจับตา 

 

The Spirits of Maritime Crossing

 

นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน – 24 พฤศจิกายน 2024 ที่ Palazzo Smith Mangilli Valmarana ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook และ Instagram: bkkartbiennale 

 

 

คลิกอ่านบทความเกี่ยวข้องได้ที่: 

https://thestandard.co/life/interview-apinun-poshyananda-asean-pavilion-venice-biennale-2024/

 

ภาพ: มูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่

The post The Spirits of Maritime Crossing บทสนทนาระหว่างจิตวิญญาณแห่งโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 appeared first on THE STANDARD.

]]>
2024 คนทั่วโลกไม่ได้มองบ้านเป็นแค่ที่อยู่อาศัยแล้ว https://thestandard.co/life/life-space-trend-2024 Fri, 03 May 2024 10:07:49 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=929695 LIFE SPACE TREND 2024

ปัจจุบันคนมองหาบ้านไม่ได้เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น   […]

The post 2024 คนทั่วโลกไม่ได้มองบ้านเป็นแค่ที่อยู่อาศัยแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
LIFE SPACE TREND 2024

ปัจจุบันคนมองหาบ้านไม่ได้เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น

 

เมื่อวันก่อน AP Thai ได้ชวน THE STANDARD LIFE เข้าไปฟังทอล์กโชว์สุดพิเศษจาก ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน หรือเฮียวิทย์ โดยหัวข้อที่พูดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘LIFE SPACE TREND 2024’ หรือเทรนด์การอยู่อาศัยของคนหลายๆ ประเทศที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต 

 

ในอดีตมนุษย์ใช้งานบ้านเป็นเพียงที่อยู่อาศัย แต่หลังจากที่โลกของเราต้องเจอกับการระบาดของโควิด พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนทั่วโลกเปลี่ยนไป เช่นเดียวกันกับความต้องการที่คนมีต่อบ้านก็เปลี่ยนไป เฮียวิทย์เลยพาไปเจาะเทรนด์ใหม่ของ 7 ประเทศทั่วโลก 

 

 

ไม่ต้องอยู่กลางเมืองก็ได้ แต่ขอสเปซให้ได้ใช้ชีวิต

สหรัฐอเมริกา

เริ่มต้นที่อเมริกา ในอดีตเราจะเคยได้ยินคำว่า ‘American Dream’ คือการมีบ้านอยู่ใจกลางเมือง ขนาดไม่ต้องใหญ่มาก แค่ใช้นอนพัก เพราะชีวิตส่วนใหญ่ทุกคนต้องอยู่ที่ออฟฟิศ แต่ในปัจจุบันคนอเมริกันมองหาที่อยู่ที่ไม่แออัด ไม่วุ่นวาย อยู่ในบริเวณใกล้เมืองก็พอ ไม่ต้องกลางเมือง เพราะการทำงานปัจจุบัน อยู่บ้านก็ทำงานได้ คนจะอยากได้พื้นที่ในการใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้น

 

 

ขนาดพื้นที่ไม่ใช่ปัญหา แต่บ้านต้องเป็นออฟฟิศได้

ออสเตรเลีย

ต่อมาคือออสเตรเลีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ขนาดพื้นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่พฤติกรรมต่างหากที่สำคัญ หลังจากยุคโควิด ออสเตรเลียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการ Work from Home, Work from Anywhere กันมากขึ้น ชาวออสเตรเลียเลยแสดงความต้องการผ่านการออกแบบบ้านตั้งแต่แรกเลยว่า ‘บ้านต้องเป็นออฟฟิศได้’

 

 

ทำไมต้องอยู่แต่ในพื้นที่แคบๆ Outdoor Space คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ

ญี่ปุ่น

ต่อไปเป็นประเทศที่มีพื้นที่เล็กมากๆ อย่างญี่ปุ่นกันบ้าง ในอดีตคนญี่ปุ่นอยู่อาศัยกันในพื้นที่แคบๆ ห้องเล็กๆ ในอาคาร แต่ปัจจุบันคนโหยหาธรรมชาติและพื้นที่กลางแจ้งมากขึ้น Outdoor Space และการได้ใกล้ชิดธรรมชาติจึงกลายเป็นปัจจัยหลักของคนญี่ปุ่นสำหรับการเลือกที่อยู่อาศัย

 

 

‘Smart Home’ คือสิ่งที่ต้องการ

เกาหลีใต้

เกาหลีใต้คืออีกหนึ่งประเทศที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่อีกหนึ่งความจริงของประเทศนี้คือ อายุเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้นเรื่อยๆ คนจะมองหาที่อยู่อาศัยที่มีเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวก หรือเรียกง่ายๆ ว่า พวกเขามองหา ‘Smart Home’ กันมากขึ้น

 

 

บ้านต้องสร้างความยั่งยืนให้กับสภาพแวดล้อมด้วย

เดนมาร์ก

มุมมองของคนเดนมาร์กที่มีต่อที่อยู่อาศัยน่าสนใจมาก พวกเขาไม่ได้มองแค่ความต้องการส่วนบุคคล แต่มองครอบคลุมไปถึงความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมด้วย เช่น บ้านต้องปล่อยน้ำเสียสู่สาธารณะให้น้อยที่สุด เป็นต้น

 

 

ข้อมูลบ้าน ที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์ ถูกเก็บในระบบบล็อกเชน

ดูไบ

ในด้านความต้องการที่อยู่อาศัยในประเทศนี้อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่การจัดการเปลี่ยนไป นี่เป็นประเทศที่จัดการข้อมูลบ้านผ่านระบบบล็อกเชนที่ทำให้จัดการง่ายและปลอดภัยขึ้น

 

 

มองหาสเปซที่เข้ากับไลฟ์สไตล์

ไทย

ประเทศสุดท้ายที่เฮียวิทย์ได้มาอัปเดตเทรนด์การอยู่อาศัยคือประเทศไทย หลังจากช่วงยุคโควิด คนไทยหันมาสนใจสเปซภายในบ้านมากขึ้น หลายคนหันมามองว่า พื้นที่ในบ้านสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของเราหรือไม่ เช่น มีมุมให้เราใช้ประชุม Zoom ไหม หรือมีมุมฟิตเนสเล็กๆ ไหม 

 

นั่นจึงเป็นโจทย์ให้นักสร้างที่อยู่อาศัยอย่างเช่น AP Thai ต้องเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นนักออกแบบพื้นที่ คอยคิดพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การอยู่อาศัยในปัจจุบัน เพื่อให้บ้านไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่อาศัย แต่ให้บ้านกลายเป็น ‘อาณาจักรแห่งการใช้ชีวิตที่เราออกแบบเองได้’

 

 

ภาพ: Shutterstock

The post 2024 คนทั่วโลกไม่ได้มองบ้านเป็นแค่ที่อยู่อาศัยแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สนทนากับ อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้ให้กำเนิดนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing หนึ่งเดียวของ ASEAN Pavilion ในมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 https://thestandard.co/life/interview-apinun-poshyananda-asean-pavilion-venice-biennale-2024 Fri, 03 May 2024 06:06:26 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=929552 อภินันท์ โปษยานนท์

ในวาระเฉลิมฉลองครั้งที่ 60 ของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส […]

The post สนทนากับ อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้ให้กำเนิดนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing หนึ่งเดียวของ ASEAN Pavilion ในมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 appeared first on THE STANDARD.

]]>
อภินันท์ โปษยานนท์

ในวาระเฉลิมฉลองครั้งที่ 60 ของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ (La Biennale di Venezia หรือ The Venice Biennale) มหกรรมศิลปะนานาชาติที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งจัดขึ้นมาถึง 129 ปีแล้ว ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี (อย่าเพิ่งสงสัยว่าทำไมจัดมา 129 ปี ถึงมีแค่ 60 ครั้ง เพราะเบียนนาเล่ (Biennale) นั้นเป็นลักษณะของมหกรรมศิลปะนานาชาติขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี คำว่า Biennale (หรือ Biennial ในภาษาอังกฤษ) นั้นแปลว่า ปีถัดไปหรือทุกๆ 2 ปีนั่นเอง)

 

และในเวนิส เบียนนาเล่ 2024 ครั้งนี้ นานาประเทศต่างส่งผลงานศิลปะเข้ามาร่วมแสดงใน Pavilion (ศาลาแสดงงาน) ของแต่ละชาติกันอย่างคับคั่ง ต่างแข่งขันกันเปล่งประกายรัศมีจากงานศิลปะร่วมสมัยอย่างไม่ยอมน้อยหน้ากัน แต่น่าเสียดายที่ในปีนี้ประเทศไทยเราไม่มีการส่งศิลปินไปแสดงงานใน Thailand Pavilion แต่อย่างใด

 

แต่กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดีฉันใด กรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ขาดไร้ผู้มีความสามารถฉันนั้น เพราะในปีนี้มูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ได้นำเหล่าบรรดาศิลปินเข้าร่วมแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 ในนิทรรศการที่มีชื่อว่า ‘The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร’ และก็ไม่ได้มีแค่เพียงศิลปินชั้นนำของไทยเท่านั้น หากแต่รวมถึงศิลปินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น สปป.ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่มาร่วมกันจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยภายในอาคาร Palazzo Smith Mangilli Valmarana (Palace Smith Mangilli Valmarana) อาคารเก่าแก่ในศตวรรษที่ 18 ที่โดดเด่นด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic 

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

โดยเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินอาเซียนที่สำรวจประเด็นทางสังคมและการเมืองของภูมิภาค การพลัดถิ่น การโยกย้ายถิ่นฐาน ผลกระทบจากสงคราม และอัตลักษณ์ทางชนชาติหลังยุคอาณานิคมเหล่านี้ ต่างมีปฏิสัมพันธ์กับบริบทของพื้นที่กับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของเมือง และสร้างบทสนทนาระหว่างจิตวิญญาณของตะวันตกและตะวันออกได้อย่างโดดเด่นน่าจับตายิ่ง

 

ด้วยความที่ในคราวนี้เรามีโอกาสได้เดินทางไปชมนิทรรศการครั้งนี้กับตาตัวเองในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี รวมถึงได้พูดคุยกับ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ผู้เป็นมันสมองและหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ผู้ริเริ่มและผลักดันให้นิทรรศการครั้งนี้สำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ ขอ เชิญทุกท่านมาร่วมกันรับรู้ถึงความเป็นมาเป็นไปของนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ร่วมกันจากบทสนทนาครั้งนี้ได้เลย

 

อภินันท์ โปษยานนท์

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ 

ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 

 

แรกสุดนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 มีที่มาที่ไปอย่างไร

 

ศ.ดร.อภินันท์: อันที่จริงจุดเริ่มต้นของนิทรรศการนี้เกิดขึ้นมาก่อนสถานการณ์โควิดด้วยซ้ำไป เพราะเดิมทีสมาชิกของมูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale Foundation) เราจะมาดูงานในมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ บ่อยครั้ง ตั้งแต่คราวที่เราจัดแสดงเทศกาลศิลปะ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ในปี 2018 และปี 2022 เราก็วางแผนที่จะจัดงานในมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ภายใต้ชื่อนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing มาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว

 

แล้วเราก็จองสถานที่แสดงงานเอาไว้แล้วด้วย เป็นโบสถ์ที่อยู่ติดกับวิหาร Santa María della Salute ตรงปากทาง Grand Canal เวนิส แต่พอเราเตรียมจะเซ็นสัญญา โควิดก็ระบาด จนต้องชะลอโครงการ พอหลังสถานการณ์โควิด เรากำลังจะติดต่อกลับไป ก็ทราบว่าพื้นที่ตรงนั้นมีคนจองไปเรียบร้อยแล้ว เราก็เลยไปสำรวจพื้นที่ใหม่ 4-5 แห่ง แล้วเราก็มาเจอพื้นที่แห่งนี้ (Palazzo Smith Mangilli Valmarana) เราก็ชอบมาก เราเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ท้าทายในการทำงานของเรา ด้วยรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งต่างๆ ที่โดดเด่น

 

แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ เจ้าของสถานที่แห่งนี้บังเอิญเป็นเจ้าของเดียวกับสถานที่เดิมที่เราจองเอาไว้ตอนแรก พอเราไปติดต่อทุกอย่างก็ราบรื่น เขาดีใจที่เป็นเรา เพราะเขาค่อนข้างเลือกมาก เลือกในที่นี้หมายความว่า เขาดูว่าเราจะเอางานอะไรเข้าไปจัดแสดงในนั้น เพราะพื้นที่ค่อนข้างบอบบาง อย่างที่เราเห็นว่าเป็นพื้นที่เก่าแก่ แล้วเขาก็หวงมาก เพราะไม่ได้เปิดมา 12 ปีแล้ว แต่ก็มีคนพักอาศัยอยู่ เพราะทายาทของเจ้าของเดิมคือตระกูลแมนจิลี (Mangilli) ก็ยังอยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นที่พักอาศัย แต่ชั้นนี้ที่เราจัดแสดงงานเมื่อ 12 ปีก่อนหน้านี้ พื้นที่นี้เคยเปิดให้เป็นพื้นที่แสดงงานในเวนิส เบียนนาเล่ มาก่อน หลังจากนั้นก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ชะลอตัวและปิดไป

 

Palazzo Smith Mangilli Valmarana

 

นิทรรศการนี้คือการจัดแสดงครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา?

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ครับ แล้วก็มีแนวโน้มว่านิทรรศการนี้คืองานสุดท้ายด้วย เพราะเขากังวลมาก

 

ว่าจะเกิดความเสียหายกับอาคาร?

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ครับ ในครั้งนี้การติดตั้งงานมีความยากลำบากมาก เพราะอาคารมีความเก่าแก่มาก เราต้องระมัดระวังกันอย่างมาก อีกอย่างเจ้าของพื้นที่เขาต้องการความเป็นส่วนตัวด้วย เห็นได้จากในช่วงเวลานี้ข้างนอกคนเดินกันขวักไขว่มาก แต่พื้นที่ตรงนี้คือพื้นที่ Unseen มากๆ เรายังไม่ต้องพูดถึงตัวนิทรรศการนี้ เอาแค่ตัวสถาปัตยกรรมและการตกแต่งของอาคารแห่งนี้ก็เป็นอะไรที่สุดยอดมากอยู่แล้ว

 

แค่มาดูสถานที่ก็คุ้มค่าแล้ว

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ สำหรับผู้สนใจงานสถาปัตยกรรม ในช่วงเวลาก่อนเปิดงาน คณบดีคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักศึกษาสถาปัตยกรรม สิบกว่าคนเดินทางเข้ามาเยี่ยมชม Pavilion ของเรา เพราะเขาสนใจอาคารแห่งนี้อยู่แล้ว พอเขารู้ว่ามีงานนิทรรศการศิลปะ เขาก็อยากจะมาด้วย

 

เพราะพื้นที่แห่งนี้มีประวัติความเป็นมายาวนาน เดิมทีเป็นอาคารแบบโกธิกไบแซนไทน์ (Gothic Byzantine) ก่อนที่ โจเซฟ สมิธ กงสุลชาวอังกฤษ จะมาซื้ออาคารแห่งนี้ และตกแต่งฟาซาดของอาคารใหม่ในปี 1743 

 

ที่นี่ยังเคยเป็นศูนย์กลางของการพบปะของศิลปินในยุค Neo-Classic ทั้ง กานาเลตโต, ติโปโล ก็เคยมาคลุกคลีอยู่ที่นี่ นอกจากนี้ยังเป็นที่รวมตัวของนักสะสม เนื่องจากเจ้าของอย่างสมิธเอง นอกจากจะเป็นอดีตกงสุลของอังกฤษแล้ว ก็ยังเป็นนักสะสมงานศิลปะ และตัวแทนของกานาเลตโต เพราะฉะนั้นที่นี่ก็มีการแลกเปลี่ยนของงานศิลปะและการทูต 

 

ต่อมาพอสมิธเสียชีวิต เคานต์ จูเซปเป แมนจิลี ก็มาซื้ออาคารแห่งนี้ต่อ (อาคารแห่งนี้จึงมีชื่อแมนจิลีพ่วงอยู่ด้วย) และเคานต์แมนจิลีก็ว่าจ้างสถาปนิก จานอันโตนิโอ เซลวา ให้ตกแต่งสถาปัตยกรรมภายในอาคารแห่งนี้ใหม่ในสไตล์ Neo-Classic ด้วยความที่เคานต์แมนจิลีเป็นคนที่เดินทางเยอะ ก็จะเห็นว่าการตกแต่งมีรายละเอียดจากการเดินทางของเขาอยู่มาก ทั้งอิทธิพลของจีนและแอฟริกาต่างๆ มาผสมผสานกันเป็นดีไซน์ลูกผสม เราก็มองว่าบรรยากาศในพื้นที่แห่งนี้เข้ากับบรรยากาศในผลงานของศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราเชิญมาแสดงงานอย่างมาก

 

ที่น่าสนใจก็คือ ตอนที่เราตั้งชื่อนิทรรศการว่า The Spirits of Maritime Crossing ทางเวนิส เบียนนาเล่ ยังไม่มีการตั้งชื่อธีมของมหกรรมว่า Foreigners Everywhere เลยนะ

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

ซึ่งบังเอิญเหมาะเจาะกับความเป็น Southeast Asia Pavilion ของ Bangkok Art Biennale พอดิบพอดี

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ แล้วเราก็มองว่าแนวคิดของ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 ครั้งนี้เขาพยายามจัดให้งานมหกรรมมีความยิ่งใหญ่และหลากหลายด้วย Pavilion จากหลากหลายประเทศ ภายใต้หัวข้อ Foreigners Everywhere (ชาวต่างชาติในทุกแห่งหน)

 

ทำไมอาจารย์ถึงทำเป็น Southeast Asia Pavilion แทนที่จะเป็น Thai Pavilion

 

ศ.ดร.อภินันท์: ผมไม่เคยคิดว่าจะทำ Thai Pavilion ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะในปี 2003 ผมเป็นคนริเริ่มให้เกิด Thai Pavilion ในเวนิส เบียนนาเล่ เป็นครั้งแรก แต่ประวัติความเป็นมา เราจะไม่เสียเวลาพูดถึงว่ามีดราม่าอะไรตามมาบ้าง (หัวเราะ) แต่ผมคิดว่าชื่อนี้ช้ำไปแล้ว และทางฝ่ายกระทรวงวัฒนธรรมเองก็ไม่ได้จัด Thai Pavilion ในเวนิส เบียนนาเล่ มาสองรอบแล้ว เราหลุดจากวงโคจรไปแล้ว เพราะฉะนั้นความตั้งใจของเราคือ เราจะไม่เป็น Thai Pavilion

 

ไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาติไทยอย่างเดียว

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ครับ แต่แน่นอนเรามีศิลปินไทย ซึ่งมีจำนวนมากกว่าศิลปินชาติอื่นๆ นอกจากนั้นเราก็มีศิลปินชาวลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ อยู่ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามว่า ความเป็น Exotic ของ National Pavilion กับความเป็น Exotic ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะมีความแตกต่างและมีความขัดแย้งอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา ความเชื่อ การเมือง การปกครอง การเกิดรัฐประหาร (โดยทหาร) หรือการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นปัญหามาโดยตลอด ไม่ใช่แค่ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่เป็นปัญหาของหลายประเทศทั่วโลก เราแค่เลือกทำนิทรรศการในบริบทนี้ออกมา และการที่เราไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐบาล เราจึงสามารถพูดสิ่งเหล่านี้ได้

 

วิพากษ์วิจารณ์ได้?

 

ศ.ดร.อภินันท์: ถูก เพราะว่าไม่ใช่แค่ Thai Pavilion เท่านั้น Pavilion อื่นๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนเข้ามาเขาก็ต้องมาแบบลูกรักของรัฐบาล อย่างหลายคนอาจจะผิดหวังกับ Pavilion ของบางประเทศ เพราะเขามาแบบ…

 

เด็กดี?

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ เป็นเด็กดี ไม่ได้หมายความว่าเป็นเด็กดีไม่ดีนะ อาจจะดีก็ได้ แต่ในเวทีนี้ของเวนิส เบียนนาเล่ ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ปี 1895 จัดแสดงมาเป็นร้อยกว่าปีก็มีปัญหามาตลอด เพราะความเป็น National Pavilion คือแต่ละประเทศมาเปล่งรัศมีของประเทศตัวเอง แล้วคุณมีรัศมีหรือไม่มีล่ะ? คุณมีมากคุณก็แสดงออกมามาก คุณมีน้อยคุณก็แสดงออกมาน้อย ซึ่งก็บ่งบอกถึงความเหลื่อมล้ำของประเทศที่มีกับประเทศที่ไม่มี ถึงแม้แต่ในเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งนี้ก็ตาม ที่มีศิลปินเอเชียแสดงเยอะมาก แต่ไม่มีลาว ไม่มีเมียนมา ไม่มีกัมพูชา ไม่มีไทย เราก็เลยไปเสริมให้เขา 

 

ตอนนี้ทุกคนกล่าวถึง Pavilion ของเราว่าเป็น Southeast Asia Pavilion แต่ความจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแบบบริบูรณ์หรอก 

 

เพราะว่าเราไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่ต้องการด้วย เพราะเราอยู่เมืองไทย เราเข้าใจถึงเรื่องการถูกเซ็นเซอร์หรือการเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่พอเรามาอยู่ตรงนี้เราจะเห็นว่าประเทศอื่นๆ เขาก็ถูกรัฐจับตาและพึงระวังเหมือนกัน ซึ่งก็ช่วยไม่ได้ เพราะตอนนี้ Pavilion อิสราเอล ก็ปิดตัวเองไปแล้วจากสถานการณ์ที่ผ่านมา

 

 

ตอนไปดูงานเวนิส เบียนนาเล่ ก็เจอผู้ชุมนุมประท้วงสนับสนุนปาเลสไตน์หน้า Pavilion ของสหรัฐอเมริกาด้วย

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ หรืออย่าง 2 ปีที่แล้ว Pavilion ของรัสเซีย ปิดตัวเอง เพราะศิลปินประท้วงรัฐบาลตัวเอง

 

แล้วความ ‘ไม่เป็นเด็กดี’ ของผลงานในนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing นั้นอยู่ตรงไหน

 

ศ.ดร.อภินันท์: ยกตัวอย่างเช่น ผลงาน จักกาย ศิริบุตร นั้นดูใสๆ แต่พูดถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้คนในชายแดนไทย / พม่า ซึ่งถ้าคุณดูอย่างละเอียดอ่อนคุณจะเข้าใจว่า ถึงแม้จักกายจะนำเสนอผลงานที่ดูน่ารักสดใสแบบเด็กดี แต่ว่าเนื้อหาโคตรแรงเลย เพราะว่าเขาไปทำงานกับชาวไทใหญ่กับคนชายขอบจริงๆ เขาลงพื้นที่จริงๆ ไปเจอผู้คนที่ไม่มีรัฐ ไม่มีสัญชาติจริงๆ หรือผลงานผ้าปักรูปธงของเขาก็เป็นธงที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ คนพลัดถิ่น ซึ่งเราก็ตั้งคำถามกลับไปว่า คำว่า Foreigners Everywhere ในธีมของเวนิส เบียนนาเล่ นั้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แล้วเมื่อไรจะมีศิลปินรัฐฉาน ศิลปินไทใหญ่ ในเวนิส เบียนนาเล่ บ้าง ในขณะเดียวกันเด็กๆ ที่มาร่วมโครงการนี้และร่วมกันปักผ้าในผลงานของจักกาย ก็เป็นตัวแทนของศิลปินไทใหญ่ได้เหมือนกัน 

 

นี่คือตัวอย่างของความ ‘ไม่เป็นเด็กดี’ ในนิทรรศการของเรา

 

หรือแม้แต่ผลงานวิดีโอเพอร์ฟอร์แมนซ์ของ กวิตา วัฒนะชยังกูร ถึงแม้จะเป็นงานที่ดูเหมือนมีสีสัน สดใส อ่อนหวาน แต่ก็มีเนื้อหาที่พูดถึงการถูกกดขี่แรงงานและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของผู้หญิง รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง

 

หรือผลงานของ หยี่ อิ-ลาน ที่เป็นบทเพลงของชาวบอร์เนียว แต่เนื้อหาของเพลงก็พูดถึงความเป็นอยู่ของชุมชนในพรรคคอมมิวนิสต์ของมาเลเซีย พูดถึงความเหลื่อมล้ำ คนพลัดถิ่น คนเร่ร่อน ในขณะเดียวกันเขาก็พูดถึงการถูกกลืนกินทางวัฒนธรรมในชุมชนของเขา

 

หรือผลงานของ โม สัต ศิลปินเมียนมา ด้วยความเป็นตัวตนของเขาก็ตั้งคำถามแล้วว่า ‘เขาคือใคร?’ เอาเข้าจริงๆ แล้วเขาอยู่ในเมียนมาหรือเปล่า เขาก็อยู่ไม่ได้ เขาพลัดถิ่นไปอยู่ในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขายังเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ถูกจับกุมคุมขังด้วย ถ้าคุณไปสืบค้นประวัติของ โมสัต คุณก็จะพบว่า ถึงแม้งานวิดีโอเพอร์ฟอร์แมนซ์ของเขาจะดู Exotic น่าสนใจ แต่ตัวของเขาก็คือสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการ

 

หรือผลงานของ จอมเปท คุสวิดานันโต ก็พูดถึงการถูกล่าอาณานิคมทับซ้อน โคมไฟแชนเดอเลียร์ที่ตกลงมาแตกบนพื้น หรือเปียโนที่เหลือแต่ซาก ก็เป็นสัญลักษณ์ของการที่อินโดนีเซียถูกกระทำทั้งจากชาวดัตช์ ญี่ปุ่น และอเมริกัน เศษซากวัตถุเหล่านี้ยังดูเหมือนเกาะที่ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งเปรียบเปรยถึงประเทศหมู่เกาะอย่างอินโดนีเซีย ที่สร้างบทสนทนากับผลงานของ ปรียากีธา ดีอา ซึ่งมีเนื้อหารุนแรงมาก โดยพูดถึงบรรพบุรุษที่เธอหาไม่เจอ ซึ่งอพยพมาจากอินเดียตอนใต้ พลัดถิ่นมาเป็นกรรมกรกรีดยางในมาลายา และกลายเป็นคนสิงคโปร์ เธอเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลกลับไปสืบหาบรรพบุรุษของเธอ แต่ก็ไม่เจอ ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน แล้วก็เช่นเดียวกับงานของกวิตาคือ การพูดถึงแรงงานเพศหญิง เธอยังเป็นศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

การจัดสรรให้ผลงานของศิลปินแต่ละคนไปอยู่ในพื้นที่แต่ละส่วนภายในอาคาร Palazzo Smith Mangilli Valmarana อาจารย์พิจารณาจากอะไร

 

ศ.ดร.อภินันท์: ก่อนอื่นเราต้องเคารพสถานที่ก่อน แล้วเราก็ต้องเคารพศิลปินด้วย เพราะไม่ใช่อยู่ๆ เราจะบอกให้ศิลปินไปอยู่ตรงนั้นตรงนี้ตามอำเภอใจ เราต้องสนทนากับศิลปินว่าอาคารนี้มีอะไรอยู่ตรงไหน ส่งภาพถ่ายอาคารไปให้พวกเขาดู ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้เดินทางมาสำรวจพื้นที่ เราก็ต้องพูดคุยผ่านการประชุมออนไลน์ว่าพื้นที่ที่ว่านี้เหมาะกับศิลปินแต่ละคนไหม เราทำแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แล้วผมก็ไม่ได้ทำงานคนเดียว ผมต้องให้เครดิตกับพอใจ (อัครธนกุล) ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ และทีมงานทุกคนด้วย พวกเขาทำงานเยอะมาก และมีการพูดคุยกันอยู่ตลอด

 

ยกตัวอย่างเช่น ผลงานของ จิตติ เกษมกิจวัฒนา กับ นักรบ มูลมานัส เราตั้งใจให้ผลงานของพวกเขาพูดคุยกับพื้นที่แสดงงานแห่งนี้ จากความทับซ้อนของประวัติศาสตร์ของพื้นที่แสดงงานกับประวัติศาสตร์ของสยาม ที่อาจจะบอกว่าไม่ได้ตกอยู่ใต้อาณานิคม แต่กลายเป็นอาณานิคมด้วยตัวเองเต็มตัว ด้วยการสร้างบทสนทนากับงานจิตรกรรมในห้องโถงที่พวกเขาแสดงงาน พวกเขาทำงานกันเยอะมาก ทั้งค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาวสยามที่เคยเดินทางมายังยุโรป แล้วก็ไม่ใช่ประวัติศาสตร์การเดินทางแบบทางการ แบบเรื่องของเจ้านายเสด็จประพาสยุโรป หากแต่พูดถึงคน ธรรมดา คนที่ถูกลืมไปจากหน้าประวัติศาสตร์กระแสหลัก

 

 

เป็นประวัติศาสตร์กระแสรอง?

 

ศ.ดร.อภินันท์:ใช่ เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีตัวตน แต่ถูกบันทึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของสามัญชน พวกเขาก็ไปค้นคว้ากันที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติและที่ต่างๆ แล้วหยิบเอาข้อมูลเหล่านั้นมาปรับและแปลงเป็นผลงานภาพเคลื่อนไหว สุดยอดมาก คือก้าวไปไกลกว่าคำว่าศิลปิน กลายเป็นนักวิชาการหรือนักมานุษยวิทยาไปแล้ว

 

อาจารย์คิดว่านิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ครั้งนี้ จะเป็นนิทรรศการนำร่องศิลปินไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกไปแสดงงานบนเวทีระดับโลก เช่นเดียวกับที่อาจารย์เคยทำในนิทรรศการ Traditions/Tensions ที่นิวยอร์ก หรือนิทรรศการ Thailand Eye (ไทยเนตร) ที่ลอนดอน เมื่อหลายสิบปีก่อน ในอนาคตโครงการนี้จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องไหม

 

ศ.ดร.อภินันท์: ผมคิดว่าน่าจะมี เพราะว่าในนิทรรศการครั้งนี้ผลตอบรับที่ผู้ชมต่างพูดถึงศิลปินไทย ศิลปินลาว ศิลปินเวียดนาม หรือศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนิทรรศการนี้กันเยอะมาก เราตั้งคำถามว่า ก่อนหน้านี้ที่เราเชิญศิลปินต่างชาติมาแสดงในเมืองไทย แต่ตอนนี้เรากำลังทดสอบตัวเองด้วยการเชิญศิลปิน Bangkok Art Biennale (หรือไม่ใช่ Bangkok Art Biennale ก็ตามแต่) ออกมาแสดงงานนอกเมืองไทย แต่เราดันไปเลือกโจทย์ที่ยากที่สุด คือเรามาเวนิส เบียนนาเล่ ซึ่งเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุด และเป็นการทำงานที่ยากมากๆ เราก็ต้องคอยดูบทพิสูจน์ในช่วงเวลาอีก 8 เดือนของมหกรรมว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร

 

ตอนนี้เรามีการเริ่มคุยกันแล้วว่า เราอาจจะใช้คำอุปมาอุปไมยว่า ‘วิญญาณข้ามมหาสมุทร’ ในชื่อนี้อยู่ แต่ตัวศิลปินอาจจะเปลี่ยนไปตามบริบทของพื้นที่ เราอาจจะไม่ต้องไปเสาะหาศิลปินไกลตัวนัก แค่ลัดเลาะไปตามประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เป็นบทสนทนาในภูมิภาคของเรา

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

แต่ก็เรียกได้ว่าเริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

 

ศ.ดร.อภินันท์: ผมคิดว่ามันท้าทายนะ ถ้าเผื่องานนี้มีผลลัพธ์ที่ดี เราอาจจะมีผู้สนับสนุนจริงๆ เพิ่มขึ้น เราอยากให้มีคนที่สนใจมากขึ้น ไม่ใช่แค่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ One Bangkok เท่านั้น เราต้องการให้มีหลากหลายองค์กรมาร่วมสนับสนุน อย่างเช่น คราวนี้เรามี 100 Tonson Foundation และNova Contemporary, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) มาร่วมสนับสนุน แต่เราอยากจะให้มีองค์กรในภาคส่วนอื่นๆ มาร่วมเกี่ยวข้องด้วย

 

องค์กรที่ว่านี้หมายถึงองค์กรภาครัฐไหม

 

ศ.ดร.อภินันท์: ไม่ เพราะว่าผมจะไม่กลับไปติดกับดักเดิม ที่พูดไปทั้งหมดไม่มีองค์กรรัฐในสมการของเรา มีไปทำไมล่ะ ผมยกตัวอย่างว่า ถ้ามีองค์กรรัฐมาร่วมด้วย ผมจะเหมือนถูกสวม Straitjacket (เสื้อรัดแขน) ทันที แล้วผมอยู่ในระบบราชการมากี่ปีแล้ว ตั้งแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากระทรวงวัฒนธรรม ผมแก่จะตายอยู่แล้ว เรื่องอะไรผมจะต้องมัดแขนมัดขาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น ก็ให้ Thailand Biennale เขาทำไปสิ

 

หมายถึงถ้าภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเขาก็ต้องมีวาระของเขา

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ ถ้าคุณสนับสนุน แต่คุณมีวาระซ่อนเร้น อย่างเช่น ต้องมีรัฐมนตรีที่ไม่รู้เรื่องงานศิลปะมาเปิดงานให้ เขามาในบริบทของเขา เขาต้องการออกสื่อ เขามาตัดริบบิ้น แล้วเขาก็ไม่สนใจศิลปะแต่อย่างใด ซึ่งผมพูดแบบนี้ได้ เพราะว่าผมเจอมาเยอะหนักหนาแล้ว หรือถ้ารัฐบาลมีวาระที่ต้องการจะสนับสนุนศิลปะจริงๆ ก็ดี สนับสนุนไปเลย แต่คุณต้องให้คนในวงการศิลปะเขามีส่วนร่วมด้วย คุณต้องรับฟังพวกเขา จากกลุ่มคนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่คุณสักแต่ว่าสั่งการลงมาอย่างเดียว 

 

แม้แต่เรื่องของ Soft Power หรือเรื่องอะไรก็ตาม ณ ตอนนี้ พวกเราไม่ได้มาเวนิส เบียนนาเล่ ภายใต้ร่มเงาของรัฐบาล หรือ Soft Power ซึ่งเราก็จะพิสูจน์ให้ได้ว่าเราก็ทำได้ โดยที่เรามีอิสระในการนำเสนอความคิดผ่านผลงานศิลปะ แม้แต่ผลงานที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการเมือง เราไม่ได้ประกาศตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลนะ เพียงแต่เราต้องการความคล่องตัวในการทำงานมากกว่า

 

 

พอพูดถึง Soft Power การที่อาจารย์พาศิลปินไทยหรือศิลปินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกไปแสดงงานบนเวทีระดับโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในนิทรรศการนี้ก็นับเป็น Soft Power ในการเผยแพร่งานศิลปะและวัฒนธรรมจากภูมิภาคนี้ไปสู่โลกสากล และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ศิลปินเหล่านี้มีความก้าวหน้าในอาชีพการงานบนเวทีระดับโลกอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

 

ศ.ดร.อภินันท์: ผมทำเรื่องนี้มา 20-30 ปีภายใต้ระบบราชการ ทั้งกับศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศ แล้วกรณีเหล่านั้นก็ไม่ได้ง่าย แต่บางกรณีอย่าง São Paulo Biennial ในปี 1998 สมัยนั้นผมอยู่จุฬาฯ ทางเทศกาลก็เชิญให้เราไปโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับงบประมาณของใคร หรืออย่าง Traditions/ Tensions ในปี 1996 ที่เป็นนิทรรศการประวัติศาสตร์ เพราะเราไปแสดงที่นิวยอร์ก ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ 

 

หรือแม้แต่นิทรรศการของ มณเฑียร บุญมา ที่เราไปทัวร์แสดงนิทรรศการในประเทศต่างๆ เราไม่เคยใช้งบประมาณของภาครัฐไทยเลย เราได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Rockefeller และองค์กรนานาชาติต่างๆ ซึ่งให้ความสำคัญกับศิลปิน อย่างเช่น นิทรรศการ Traditions/ Tensions งานของ อัลวิน รีอามิโล ที่ร่วมแสดงในนิทรรศการนี้ก็ไปแสดงด้วย ร่วมกับงานของศิลปินไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของรัฐบาล

 

อีกประการหนึ่งคือ การสนับสนุนของรัฐบาลบ้านเราเป็นลักษณะแบบ Thai Centric กล่าวคือ จะไม่สนับสนุนศิลปินที่ไม่ใช่คนไทย แค่นี้ก็จบแล้ว แต่ยังดีว่าในกรณีของมหกรรมศิลปะ Thailand Biennale นั้นมีการเชิญศิลปินต่างชาติเข้ามาร่วมแสดงงานด้วย ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี เป็นสิ่งที่ควรจะสนับสนุนให้มีต่อไป เพราะว่าเราก็อยากให้มีมหกรรมศิลปะแบบนี้สลับปีกันระหว่าง Bangkok Art Biennale สลับกับ Thailand Biennale สำหรับผู้ชม ศิลปิน หรือประชาชนที่สนใจ จะได้มีอะไรบางอย่างที่สร้างความแปลกใหม่ให้ได้เห็นได้ชมกันทั้งคนไทยและต่างชาติ นี่คือ Soft Power ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเรา เราต้องวางแผนให้ชัดเจนและมีความต่อเนื่อง

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

ถ้ามองแบบนี้ ก็สามารถพูดได้ว่ามหกรรมศิลปะ Venice Biennale นั้นเป็น Soft Power ของเวนิสด้วยเหมือนกัน สังเกตจากการที่โรงแรม ที่พักต่างๆ หรือแม้แต่เรือโดยสารในเวนิส ถูกจองเต็มหมด ถึงแม้ราคาจะพุ่งขึ้นหลายสิบเท่า นักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลต่างหลั่งไหลเข้าประเทศในช่วงเวลานี้

 

ศ.ดร.อภินันท์: ใช่ เขาเริ่มต้นมาตั้งแต่แรกแล้ว คือโดยปกติเวนิสเป็นเมืองโรแมนติกที่น่ามาท่องเที่ยว ทั้งแสง สี เสียง ตั้งแต่สมัยของ กานาเลตโต ติโปโล ไปจนถึง ตินโตเรตโต (จิตรกรชาวเวนิส) เขาก็วาดภาพที่จับบรรยากาศของแสงรุ่งอรุณในเมืองเวนิส จนกลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้คนอยากมาเที่ยวอยู่แล้ว 

 

แต่นอกจากนี้ทางเมืองก็มีความคิดที่จะสร้างมหกรรมศิลปะเบียนนาเล่ด้วยการเอางานศิลปะสมัยใหม่มาเติมเต็มความเป็นเวนิส โดยจัดกันในสวน กลายเป็นจุดเริ่มต้นในปี 1895 ขึ้นมาให้คนได้มาดูศิลปะ จะดูรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็สุดแล้วแต่ แต่ก็มีอะไรให้ดู มีอะไรให้สนุกสนานรื่นรมย์

 

เพียงแต่สมัยนั้นอาจจะไม่ได้ใช้คำว่า Soft Power แต่ก็คือการดึงดูดให้คนมาเที่ยว ใช่ไหม พอเขาพัฒนามาเรื่อยๆ ก็ไม่ได้มีแค่ศิลปะ แต่มีงานสถาปัตยกรรม (Venice Biennale of Architecture), ภาพยนตร์ (Venice Film Festival) อะไรต่างๆ มากมาย ทำให้เขาสามารถขายความเป็นเวนิสได้ในทุกนาที ไม่แค่ใช่มหกรรมศิลปะเบียนนาเล่แค่เพียงสองปีครั้งเท่านั้น แต่มีอะไรเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ดึงดูดให้ผู้คนต้องมา ไม่อย่างนั้นคุณก็จะตกขบวน 

 

รวมไปถึงเรื่องของการค้า ศิลปินคนไหนถูกเลือกให้มาอยู่ในเวนิส เบียนนาเล่ แกลเลอรีต่างๆ ก็จะให้ความสนใจกันมาก ถึงแม้ว่าเวนิส เบียนนาเล่ จะตอกย้ำว่าเป็นมหกรรมศิลปะที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย ไม่ใช่ Art Fair แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าแกลเลอรีและตลาดศิลปะก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในมหกรรมนี้ ทำให้เกิดการค้าขาย เกิดอุปสงค์-อุปทานขึ้นมา เพราะฉะนั้นการใช้ Soft Power ในที่นี้ของเขาคือการมองระยะยาว การวางแผนอย่างดี ที่โรงแรมหรือเรือโดยสารในเวนิสถูกจองกันเต็มหมด ก็เพราะเขาทำให้คนจำนวนมากอยากมาเที่ยวได้สำเร็จนั่นแหละ

 

 

ได้ยินว่าตั้งแต่เริ่มเปิดนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ก็มีผู้ชมและ สื่อมวลชนให้ความสนใจกันมาก

 

ศ.ดร.อภินันท์: ก็มีคนส่งข่าวมาให้ผมดูอยู่ เพียงแต่ช่วงที่ผ่านมาผมยุ่งอยู่กับการติดตั้งงาน แต่ผมก็ชื่นใจนะ อย่างเว็บไซต์ Berlin Art Link ก็ประกาศว่า เราเป็น 1 ใน 10 นิทรรศการที่น่าสนใจในเวนิส เบียนนาเล่ 2024 หรือเว็บไซต์ Artnet ซึ่งมีคนอ่านเป็นสิบล้านคนก็ลงว่า นิทรรศการของเราติด 1 ใน 10 นิทรรศการที่ควรชม ซึ่งในปีนี้เป็นวาระ 60 ปี Venice Biennale ที่มี Pavilion เป็นร้อยแห่ง แล้วเราสามารถแทรกตัวเข้าไปในพื้นที่สื่อระดับสากลที่เขามาทำข่าวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์ The New York Times ก็เขียนบทความเกี่ยวกับนิทรรศการนี้ถึง 850 คำ ซึ่งเป็นอะไรที่สุดยอดมาก

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

ในทางกลับกัน การที่องค์กรเอกชนอย่างบริษัทไทยเบฟเวอเรจเป็นผู้สนับสนุนหลักของนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing ครั้งนี้ในเวนิส เบียนนาเล่ ถึงแม้จะมองว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่ดีขององค์กรที่มองเห็นความสำคัญของศิลปะ แต่ในอีกแง่หนึ่งเราก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า เป็นการใช้ศิลปะเป็นแค่ CSR และการโปรโมตภาพลักษณ์องค์กร หรือมีวาระแอบแฝงอื่นๆ หรือไม่

 

ศ.ดร.อภินันท์: อันที่จริงเรื่องแบบนี้ธนาคารต่างๆ เขาก็ทำมานานแล้ว ไม่ใช่แค่ธนาคารต่างชาติ ธนาคารของไทยเราก็ทำ เพราะการซื้อและสะสมงานศิลปะเป็นเครื่องมือที่บ่งบอกถึงพลังทางเศรษฐกิจ 

 

ตอนนี้เรานั่งกันอยู่ที่อิตาลี เราก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงตระกูลเมดีชีใช่ไหม เมดีชีเป็นตระกูลของพ่อค้าวาณิช นักการธนาคาร ผู้ขับเคลื่อนยุคเรเนสซองส์ด้วยการอุปถัมภ์ศิลปินเอกอย่าง ไมเคิลแอนเจโล หรือ ราฟาเอล ให้สร้างผลงานศิลปะเพื่อเปล่งรัศมีของตระกูล ซึ่งคนในตระกูลนี้บางคนก็ไปเป็นพระสันตะปาปาและผู้ปกครอง ถ้าคุณไปฟลอเรนซ์ คุณก็จะได้เห็นผลงานศิลปะที่เป็นผลพวงของตระกูลเมดีชี สิ่งเหล่านี้เรียกว่าวิสัยทัศน์ เราไม่ได้เรียกว่าเมดีชีใช้ CSR เพราะตอนนั้นยังไม่มี CSR (หัวเราะ) แต่ก็ประมาณนั้นแหละ ใช่ไหม?

 

บางคนบอกว่าบริษัทเอกชนใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ จริงๆ มันก็เป็นอย่างนี้มานานนมแล้ว ในความเป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นคนกลาง หรือเป็นตัวแทนศิลปิน ในขณะเดียวกันคนกลางในฐานะของแกลเลอรี ในความเป็น Ecosystem (ระบบนิเวศ) ในวงการศิลปะที่เราพูดกันมากี่พันหนแล้วว่า เราตีความบทบาทของแกลเลอรีกับศิลปินกันอย่างไร เรามีระบบของนิเวศในวงการศิลปะอย่างแท้จริงหรือเปล่า? เรายังเคารพซึ่งกันและกันหรือเปล่า? 

 

 

เพราะในขณะที่แกลเลอรีมีไว้แสดงงานศิลปะของศิลปินก็จริงอยู่ แต่ผู้สะสมก็ยังมีสิทธิ์และความสามารถที่จะไปซื้องานหลังบ้านกับศิลปินโดยตรง และศิลปินก็สามารถขายให้นักสะสมโดยตรงได้เช่นเดียวกัน 

 

ซึ่งในเชิงปฏิบัติ การทำแบบนี้ในโลกศิลปะสากล แม้กระทั่งในเอเชียอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น เขาถือว่าเป็นการล้ำเส้นนะ ระบบเขาถึงอยู่ได้ เกาหลีจึงเต็มไปด้วยกิจกรรม Art Fair เป็นสิบๆ งาน ยังมีงาน Frieze Seoul ผุดขึ้นมาอีก แรงซื้อของนักสะสมในเกาหลีเองก็ทำให้แกลเลอรีต่างๆ ดำรงอยู่ได้ และทำให้แกลเลอรีชั้นนำของยุโรปเข้าไปเปิดตลาดขายงานได้ เพราะเขามีพลังซื้อของคนท้องถิ่น

 

หันกลับมามองในบ้านเรา คุณนับดูสิว่ามีนักสะสมชาวไทยกี่คนที่ซื้องานศิลปะร่วมสมัย ซื้องานของศิลปินต่างชาติ คุณเพชร (โอสถานุเคราะห์) ก็จากเราไปแล้ว ยังมีเหลืออยู่อีกกี่คน แล้วคิดเหรอว่าแกลเลอรีชั้นนำของยุโรปจะเข้ามาทำตลาดในบ้านเรา เราต้องทำการบ้าน เราควรจะมีการวางแผนและทำวิจัยในสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจนว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร

 

อภินันท์ โปษยานนท์

 

ในขณะที่เทศกาลหรือมหกรรมศิลปะอย่าง Bangkok Art Biennale นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แน่นอนว่าผลงานที่แสดงในเทศกาลของเรานั้นมีเรื่องของการค้ามาเกี่ยวข้อง แต่เราเพียงแค่มีข้อตกลงกับศิลปินของเราว่า ถ้าสมมติว่าเรา Commission (ให้ทุนสนับสนุนในการสร้าง) ผลงานของเขา เราก็มีสิทธิ์ที่จะสะสมผลงานชิ้นนั้นเอาไว้ แต่ในกรณีที่เขามีผลงานอยู่แล้วและเอามาแสดงกับเรา เราก็ไม่ได้หักเปอร์เซ็นต์จากการขายผลงานนั้นๆ 

 

เรามองว่าเราเป็นเวทีหนึ่งที่ช่วย ไม่ใช่แค่ศิลปินไทย แต่รวมถึงศิลปินชาติอื่นๆ ให้มีโอกาสในการได้ผลประโยชน์จากการขายผลงานบนเวทีนี้ สำหรับเราเราแค่อยากให้คนเข้ามาชมเทศกาลด้วยความสนุกสนาน ได้เสพศิลปะอย่างมีอรรถรส ส่วนสิ่งที่เราทำ สาธารณชนจะมองเราอย่างไร เราก็น้อมรับคำวิจารณ์ เพราะเราถือว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือเสียงตอบรับ ไม่ว่าจะจากสื่อมวลชนหรือคนรอบข้าง ก็เป็นตัวชี้วัดว่ามีคนสนใจในสิ่งที่เราทำ

 

ภาพ: มูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่

The post สนทนากับ อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้ให้กำเนิดนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing หนึ่งเดียวของ ASEAN Pavilion ในมหกรรมศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 appeared first on THE STANDARD.

]]>
พามาดูเฟอร์นิเจอร์จาก Milan Design Week 2024 ที่ซื้อได้จริงในไทย https://thestandard.co/life/milan-design-week-2024 Thu, 02 May 2024 08:06:48 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=929173 Milan Design Week 2024

รอบนี้คัดมาแต่ชิ้นที่ซื้อได้จริง!   เมื่อวันก่อนเร […]

The post พามาดูเฟอร์นิเจอร์จาก Milan Design Week 2024 ที่ซื้อได้จริงในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Milan Design Week 2024

รอบนี้คัดมาแต่ชิ้นที่ซื้อได้จริง!

 

เมื่อวันก่อนเราเคยพาไปดู 10 ไอเท็มของใช้ในบ้านที่น่าสนใจจากงาน Milan Design Week 2024 กันมาแล้ว หลายชิ้นดูล้ำ หลายชิ้นดูมีแนวคิดที่ดี แต่เอาเข้าจริงมันก็ดูเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกินจริง หลายชิ้นก็ซื้อมาใช้ในบ้านไม่ได้ รอบนี้เราเลยคัดเฟอร์นิเจอร์มาให้ใหม่ เอาแบบที่ซื้อมาใช้ในบ้านได้จริง ทั้งเก้าอี้ โต๊ะ โซฟา ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่เราแนะนำ เขาเป็นพาร์ตเนอร์กับ NORSE Republics ถ้าสนใจเฟอร์นิเจอร์ตัวไหนสามารถติดต่อที่ NORSE Republics ได้เลย

 

Milan Design Week 2024

 

Tacchini 

แบรนด์แรกที่อยากจะพูดถึงคือแบรนด์ Tacchini งานรอบนี้ทางแบรนด์ได้จัดนิทรรศการถึง 2 รูปแบบด้วยกัน โดยงานแรกจะมาในคอนเซปต์ Rude Arts Club เป็นการจำลองคลับส่วนตัวให้คนได้หลีกหนีความวุ่นวาย โดยจะมี Solar Sofa เป็นส่วนประกอบหลักของงาน โซฟานี้เป็นผลงานการออกแบบของ Faye Toogood เป็นการนำเอาเบาะหลายๆ ชั้นมาวางประกอบกัน ดูเรียบง่าย แต่ก็ดึงดูดให้คนที่เห็นโซฟานี้รู้สึกอยากทิ้งตัว

 

 

และงานอีกส่วนหนึ่งของแบรนด์อยู่ภายในงาน Salone del Mobile 2024 เป็นการนำเฟอร์นิเจอร์ต่างคอลเล็กชันมาจัดแสดงร่วมกัน โดยเป็นการออกแบบของสถาปนิกชื่อดัง Lorenzo Bini และ Charlotte de La Grandière โดยการจัดแสดงครั้งนี้จะเป็นการสร้างโถงทางเดินที่ให้ความรู้สึกเหมือนเราได้เดินในบ้านที่อบอุ่น

 

Milan Design Week 2024

 

Gucci 

House of Gucci ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เข้าร่วม Milan Design Week 2024 รอบนี้เขามาในคอนเซปต์ Design Ancora โดยใช้สีหลักเป็นสี Gucci Rosso Ancora โปรเจกต์นี้ประกอบไปด้วยงานดีไซน์ระดับไอคอนของดีไซเนอร์อิตาลีมากมาย หนึ่งในนั้นคือโซฟา ‘Le Mura’ จากแบรนด์ Tacchini ถึงแม้ว่า NORSE Republics จะเป็นตัวแทนจำหน่าย Tacchini แต่คอลเล็กชันพิเศษนี้สามารถติดต่อได้ที่ร้าน Gucci ทั่วโลก

 

 

Panton Lounge 

นิทรรศการ Panton Lounge เป็นนิทรรศการที่จะพาคุณไปสัมผัสกับจินตนาการของ Verner Panton ดีไซเนอร์ชื่อดังที่มีเส้นสายที่ลื่นไหล สีสันที่จัดจ้าน ปัจจุบันลิขสิทธิ์ผลงานออกแบบของ Verner Panton อยู่กับแบรนด์ Vitra, Verona และ &Tradition 

 

Milan Design Week 2024

 

nanimarquina

ถ้าพูดถึงพรม ไม่พูดถึง nanimarquina ไม่ได้ เขาเป็นแบรนด์พรมผ้าทอมือ 100% ในงานนี้ได้เปิดตัว 3 คอลเล็กชันใหม่ ร่วมกับนักออกแบบและศิลปินชื่อดัง

 

 

คอลเล็กชันแรก Colorado by Inga Sempé เป็นคอลเล็กชันที่ผสมผสานประเพณีและความร่วมสมัยไว้ด้วยกัน เป็นการจำลองพรมสไตล์ชนเผ่า มีรายละเอียดอยู่ที่พื้นผิวที่มีความสูงต่างระดับ เกิดจากการทอสองแบบคือ การถักมือและทอเรียบ

 

Milan Design Week 2024

 

Chillida by Eduardo Chillida เป็นคอลเล็กชันที่ได้แรงบันดาลใจจากศิลปะของ Eduardo Chillida ปกติงานของเขาจะเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ แต่นี่เป็นโอกาสพิเศษฉลองครบรอบวันเกิด 100 ปี ทางแบรนด์จึงได้ออกพรมใหม่ 4 แบบ รวมถึงพรมในร่ม 3 แบบ และผ้าแขวนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีส์ Gravitaciones และหนังสือ Preguntas 

 

 

Pearl Runner by Sabine Finkenauer คอลเล็กชันนี้ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Sabine Finkenauer ภาพรวมคอลเล็กชันนี้รูปทรงจะดูเรียบง่าย แต่แฝงความสนุกเอาไว้ ช่วยเพิ่มสีสันและความน่าสนใจให้กับห้องได้ดี

 

Milan Design Week 2024

 

RODA 

มาพูดถึงเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งอย่างแบรนด์ RODA กันบ้าง รอบนี้เขาส่ง 3 เฟอร์นิเจอร์รุ่นใหม่มาร่วมในงานด้วย โดยตัวแรกคือ TESEO Chair and Table by Michele De Lucchi เป็นชุดโต๊ะ-เก้าอี้ที่มีจุดเด่นด้านการใช้เชือกสานเป็นโครงไหลผ่านทุกๆ ส่วนของโครงสร้างโต๊ะ-เก้าอี้ จนกลายเป็นดีเทลที่เด่นของคอลเล็กชันนี้ 

 

 

PHILIA Modular Sofa by Rodolfo Dordoni นี่คือโซฟาโมดูลาร์ตัวใหม่ จุดเด่นอยู่ที่การยกฐานสูง ทำให้โซฟาดูโดดเด่นขึ้นมาเมื่อวางในสวน การใช้งานพนักพิงสามารถปรับได้ถึง 3 ระดับ วัสดุหุ้มมีความทนทาน อยู่กับสภาพแวดล้อมได้หลายแบบ 

 

Milan Design Week 2024

 

ZEFIRO by Piero Lissoni เป็นโต๊ะกลางรุ่นใหม่ที่มาจัดแสดงในงานนี้ โต๊ะตัวนี้มาในรูปทรงกลมและโครงสร้างที่เพรียวบาง แถมเบา ทำให้เข้าได้กับหลายบริบท รุ่นนี้มีขนาด รูปทรง และพื้นผิวให้เลือกหลายแบบด้วย

The post พามาดูเฟอร์นิเจอร์จาก Milan Design Week 2024 ที่ซื้อได้จริงในไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (1-8 พฤษภาคม 2567) https://thestandard.co/life/calendar-1-8-may-2024 Wed, 01 May 2024 04:31:03 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=928754

เดือนเมษาหน้าร้อนก็ได้ผ่านพ้นกันไปสักที! ต้อนรับเข้าสู่ […]

The post CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (1-8 พฤษภาคม 2567) appeared first on THE STANDARD.

]]>

เดือนเมษาหน้าร้อนก็ได้ผ่านพ้นกันไปสักที! ต้อนรับเข้าสู่เดือนพฤษภาคมที่ทุกคนรอคอยอย่างเป็นทางการ ในเดือนนี้เรามีอีเวนต์และนิทรรศการที่น่าสนใจกำลังรอทุกคนอยู่

 

กิจกรรมทำป๊อปอัพดอกไม้ไทยสุดเก๋ หรือจะเป็นเทศกาลดนตรีแนวฮิปฮอปกับวงดังพร้อมจิบเครื่องดื่มสุดชิล แต่ที่พลาดไม่ได้เลยก็คงจะเป็นเทศกาลคราฟต์โกโก้ใจกลางเมืองนี่แหละ!

 

กิจกรรมและเทศกาลน่าสนใจขนาดนี้จะอดใจไม่ออกจากบ้านกันไหวเหรอ เตรียมตัวกันให้พร้อมและออกจากบ้านกันมาได้แล้ว

 

 

Nomadic

 

Nomadic จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘ชนเร่ร่อน’ กลุ่มคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยถาวรและย้ายถิ่นฐานไปในที่ต่างๆ โดยนิทรรศการนี้ได้นำแนวคิดของการเคลื่อนย้ายของชนเร่ร่อนมาตีความใหม่และสร้างสรรค์เป็นผลงานออกมาเพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยทั้งหมดเป็นผลงานของศิลปินจากประเทศไทย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และฮ่องกง ที่ร่วมกันสำรวจและเน้นย้ำถึงประวัติศาสตร์การพลัดถิ่นของผู้คนในทวีปเอเชีย

 

When: วันนี้ – 2 มิถุนายน 2567

Where: ซอยเกษมสันต์ 2

More Info: The Jim Thompson Art Center

 


 

 

MUST Cook Vol. 2

 

MUST Wine Bar ไวน์บาร์ย่านทองหล่อจัด MUST Cook ครั้งที่ 2 โดยรอบนี้ชวนเชฟโอ๊ต จากร้าน HEH บินตรงจากภูเก็ตมาทำอาหารให้ทุกคนชิม พร้อมกับจิบไวน์ของ MUST Wine Bar ควบคู่ไปด้วยกันได้ และงานนี้มีเพียงคืนเดียวเท่านั้น รีบจับจองที่นั่งกันได้แล้วตอนนี้

 

When: 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00-00.00 น.

Where: ทองหล่อ 13

More Info: MUST Wine Bar

 


 

 

Somewhere

 

‘Somewhere ที่ไหนสักแห่ง’ เป็นนิทรรศการศิลปะสื่อผสม ที่จะชวนทุกคนรำลึกถึงความทรงจำดีในอดีต บอกเล่าถึงเรื่องราวของจินตนาการในยุคปัจจุบัน กับความเป็นจริงที่กลับมาจากในอดีตซึ่งจางหายไปแล้ว โดย วรัญญู อั๋นประเสริฐ

 

When: วันนี้ – 26 พฤษภาคม 2567

Where: เจริญกรุง

More Info: Central: The Original Store

 


 

 

Cinco de Mayo

 

ร้านอาหารเม็กซิกันสุดโด่งดังย่านเพลินจิต Smokehouse, Santiaga และ La Monita จัดปาร์ตี้สำหรับค่ำคืนแห่งดนตรีที่จะชวนทุกคนไปแดนซ์กระจายกับดนตรีแนว Afrobeats และ Hip-Hop ที่มีแขกรับเชิญในตำนานอย่างวง THAITANIUM มาเล่นสดให้ฟัง ก่อนต่อด้วยดีเจอีกตลอดค่ำคืน ในงานนี้ทุกคนจะได้จิบค็อกเทลพร้อมชิมทาโก้ 5 เมนูพิเศษฝีมือเชฟมือฉมัง

 

When: 5 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 น.

Where: เพลินจิต

More Info: La Monita Taqueria

 


 

 

Flowers in the box

 

ชวนทุกคนมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยกระดาษกับศิลปินชาวไทย Kias Matt นักออกแบบหนังสือป๊อปอัพเกี่ยวกับดอกไม้ไทยเสริมมงคล ซึ่งคนที่เข้าร่วมเวิร์กช็อปจะได้เรียนรู้ขั้นตอนการออกแบบ กลไก และได้สร้างสรรค์ผลงานป๊อปอัพขึ้นมาจริงๆ ตลอดเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยเปิดสอน 2 รอบ คือ 10.00-12.30 น. และ 14.00-16.30 น. มีค่าใช้จ่าย 1,500 บาทต่อคน (ลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น)

 

When: 4 พฤษภาคม 2567

Where: พหลโยธิน 59

More Info: JYE Healing Workshops and Retreats

 


 

 

THAILAND CRAFT COCOA

 

เทศกาลคราฟต์โกโก้สุดยิ่งใหญ่ ถ้าใครเป็นสายเข้ม รักรสชาติของช็อกโกแลตและโกโก้ต้องห้ามพลาด โดยงานนี้มีไฮไลต์น่าสนใจถึง 5 โซน คือ Cocoa Go! Tasting Passport พาชิมโกโก้จากแหล่งปลูกทั่วไทย, Hall of Fame โซนรวมแบรนด์คราฟต์โกโก้ไทย ดีกรีรางวัลระดับประเทศจนถึงระดับโลก, International Cocoa Brand แนะนำแบรนด์โกโก้ระดับอินเตอร์ และ Bar Take Over ประสบการณ์ชิมคราฟต์โกโก้แบบใหม่ รวมถึงมีเวิร์กช็อปภายในงานให้เข้าร่วมทุกวันด้วย

 

When: 2-8 พฤษภาคม 2567

Where: โซน Eden 1

More Info: centralwOrld

 


 

 

Tail Wagging Dik Dik

 

นิทรรศการแสดงเดี่ยวของ วรรณศิริ บุญเย็น ที่จะบอกเล่าถึงเพื่อนซี้แสนรัก เรื่องราวความรักและความผูกพันระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยง ซึ่งงานนิทรรศการนี้จะสะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างทางทั้งความสุข ความทุกข์ ความภักดีที่ได้รับจากสัตว์เลี้ยง คนรักสัตว์ไม่ควรพลาด เพราะรายได้จากการจำหน่ายผลงานในนิทรรศการชุดนี้ทุกชิ้น 10% จะเป็นส่วนหนึ่งของการบริจาคส่งต่อโอกาสให้กับทาง Gift Project เพื่อหมาแมวจร

 

When: วันนี้ – 3 พฤษภาคม 2567

Where: นครปฐม

More Info: Qubism Art Space

The post CALENDAR: กิจกรรมน่าสนใจสัปดาห์นี้ (1-8 พฤษภาคม 2567) appeared first on THE STANDARD.

]]>
สถาปนิก’67 งานที่คนรักดีไซน์ไม่ควรพลาด https://thestandard.co/life/architect-expo-2024 Tue, 30 Apr 2024 13:58:05 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=928666 สถาปนิก’67

อยากเติมไอเดียด้านการทำบ้านต้องไปงานนี้   วันนี้เร […]

The post สถาปนิก’67 งานที่คนรักดีไซน์ไม่ควรพลาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สถาปนิก’67

อยากเติมไอเดียด้านการทำบ้านต้องไปงานนี้

 

วันนี้เราจะพามาส่องบรรยากาศจริงของงาน สถาปนิก’67 ที่ปีนี้เขามาภายใต้แนวคิด ‘Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์’ คือมนุษย์เรามีวิธีการสื่อสารมากมาย ตั้งแต่ในอดีตที่เป็นการแสดงท่าทาง จนถึงปัจจุบันทั่วโลกเรามีภาษาถึง 7,000 ภาษาในการสื่อสาร เมื่อมนุษย์เริ่มวิวัฒนาการ ภาษาจึงกลายเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่สามารถสื่อสารกับผู้คนจากทุกที่ได้ งานสถาปนิก’67 จึงอยากจะให้งานสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทุกคนในงานเช่นเดียวกัน

 

งานนี้เหมาะกับคนที่รักงานดีไซน์หรือกำลังมองหาไอเดียในการทำบ้านใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถาปนิกก็มาเดินได้ เพราะผู้จัดงานไม่ได้ต้องการให้เป็นงานที่สื่อสารฝ่ายเดียว แต่อยากให้คนที่มาร่วมงานสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับงานได้ด้วย

 

ภายในงานแบ่งออกเป็นหลายโซน ตั้งแต่โซนนิทรรศการหลัก ตรงนี้จะมีการจัดแสดงผลงานออกแบบของ 12 สถาปนิกระดับเอเชีย แถมเขายังมีการโชว์ Mapping อีกด้วย ใกล้ๆ กันจะเป็นโซนนิทรรศการ ASA All MEMBER ให้ทุกคนที่มาร่วมงานได้ลองสัมผัสกับวิชาชีพสถาปนิก ในปีนี้เขายังคงยกกิจกรรม Human Library เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเป็นกันเอง

 

 

ที่บอกว่างานนี้ไม่ต้องเป็นสถาปนิกก็มาเดินได้ เพราะมีหลายกิจกรรมที่รองรับทุกเพศ ทุกวัย ให้มาร่วมสนุกกันได้ อย่างเช่น กิจกรรมวาดรูปที่ให้ทุกคนในครอบครัวมาร่วมสนุกได้ ตามบูธสินค้าต่างๆ ก็มีการออกแบบให้มีลักษณะคล้าย Pavillion สามารถเข้ามาเดินเล่นถ่ายรูปได้ 

 

สถาปนิก’67

 

ใครที่สนใจด้านงานดีไซน์หรือกำลังมองหาไอเดียการทำบ้าน ก็สามารถมาเดินเล่นที่งานได้ตั้งแต่วันนี้ – 5 พฤษภาคม 2567 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์: https://www.asaexpo.org/about-2024

The post สถาปนิก’67 งานที่คนรักดีไซน์ไม่ควรพลาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
FREITAG MONO[PA6] กระเป๋ายุคใหม่ทั้งใบใช้วัสดุแบบเดียว รีไซเคิลง่ายขึ้น https://thestandard.co/life/freitag-monopa6 Tue, 30 Apr 2024 03:42:03 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=928313 FREITAG MONO[PA6]

กระเป๋าเป้เป็นมิตรต่อโลก และมีขายแค่ 5 ที่ในโลก   […]

The post FREITAG MONO[PA6] กระเป๋ายุคใหม่ทั้งใบใช้วัสดุแบบเดียว รีไซเคิลง่ายขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
FREITAG MONO[PA6]

กระเป๋าเป้เป็นมิตรต่อโลก และมีขายแค่ 5 ที่ในโลก

 

FREITAG MONO[PA6]

 

FREITAG คือแบรนด์กระเป๋าที่มุ่งมั่นในการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างเป็นกระเป๋ามาโดยตลอด พอพูดถึงแบรนด์นี้วัสดุที่หลายคนคุ้นเคยคงจะเป็นผ้าใบรถบรรทุกหลากสี แต่ในปัจจุบันเขากำลังก้าวข้ามวัสดุเดิมๆ ด้วยการเปิดตัวกระเป๋ารุ่นใหม่อย่าง FREITAG MONO[PA6] เป็นกระเป๋าเป้ที่ใช้วัสดุเดียวกันทั้งใบตั้งแต่ผ้ายันซิป ทำให้ง่ายต่อการรีไซเคิลเมื่อไม่ใช้กระเป๋าแล้ว

 

 

วัสดุชนิดเดียวทั้งใบ

อย่างที่เกริ่นไปว่าเจ้ากระเป๋ารุ่นนี้เขาใช้วัสดุชนิดเดียวกันทั้งใบ ตั้งแต่ตัวผ้ากระเป๋า ซิป สายสะพาย โดยวัสดุที่เลือกใช้คือ Polyamide / PA6 หรือว่าไนลอน เหตุผลที่ใช้ไนลอนเพราะมีความทนทาน ทางแบรนด์บอกว่ากระเป๋าทรงนี้ปกติต้องใช้ชิ้นส่วนทั้งหมด 17 ชิ้น ถ้าใช้วัสดุอื่นเวลาเรานำไปรีไซเคิลน่าจะต้องใช้ขั้นตอนเยอะมาก แต่พอใช้วัสดุเดียวมันทำให้การจะนำไปรีไซเคิลต่อง่ายขึ้น และปกติเนื้อผ้าไนลอนถ้าอยากให้มีคุณสมบัติกันน้ำส่วนใหญ่จะต้องเคลือบสารเคมีในเนื้อผ้า แต่ผ้าไนลอนของใบนี้มีการทอแบบพิเศษ ทำให้ไม่ต้องเคลือบสารเคมีแต่มีคุณสมบัติการกันน้ำได้

 

 

มีใบเดียวไปได้ทุกที่

การจะมีกระเป๋าที่ Sustain มันต้องลงทุนครั้งเดียวแล้วจบ ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ซึ่งกระเป๋าใบนี้เป็นแบบนั้น เพราะน้ำหนักเบา ไปได้ทุกที่ แถมซื้อเป้ 1 ใบ ได้กระเป๋า 2 ใบ! โดยในเป้จะมีกระเป๋าใบเล็กติดมาด้วย สามารถถอดออกมาใช้เป็นกระเป๋าสะพายข้างได้ ส่วนตัวเป้เองเป็นดีไซน์แบบม้วนปิด (Roll Top) ทำให้ปรับขนาดความจุได้ ไม่ต้องซื้อกระเป๋าหลายใบ นอกจากนี้ข้างในยังมีช่องใส่แล็ปท็อปได้อีกด้วย

 

FREITAG MONO[PA6]

 

ใครที่สนใจเป็นเจ้าของกระเป๋า FREITAG MONO[PA6] อาจจะต้องรีบกันหน่อย เพราะในไทยมีแค่ 100 ใบเท่านั้น และวางจำหน่ายแค่ 5 เมืองทั่วโลกเท่านั้น คือกรุงเทพฯ (สีลม), ซูริก, โตเกียว (ชิบูย่า), เซี่ยงไฮ้ และโซล ราคา 14,200 บาท

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.freitag.ch/en/monopa6

 

ภาพ: FREITAG

The post FREITAG MONO[PA6] กระเป๋ายุคใหม่ทั้งใบใช้วัสดุแบบเดียว รีไซเคิลง่ายขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดมุมมองเลี้ยงลูกให้รับมือกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้สไตล์ หมอแพม พญ.ปุษยบรรพ์ https://thestandard.co/life/passion-calling-x-s-mom-club-dr-pam Tue, 30 Apr 2024 03:00:17 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=926636

ความหลงใหลในวิชาที่เรียนตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ภาค […]

The post เปิดมุมมองเลี้ยงลูกให้รับมือกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้สไตล์ หมอแพม พญ.ปุษยบรรพ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ความหลงใหลในวิชาที่เรียนตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ทำให้ แพม-ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี หรือ หมอแพม มีความตั้งใจมาโดยตลอดว่าวันหนึ่งเธอจะต้องมีครอบครัวและให้กำเนิดสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่า ‘เด็ก’ ให้ได้

 

 

จากเดิมที่เธอมีเพียงหมวก ‘หมอ’ เธอเชื่อมั่นว่าสายอาชีพและวิชาที่ร่ำเรียนมาอย่างตรากตรำจะทำให้เธอรับมือกับการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ ณ วันที่ได้สวมหมวก ‘แม่’ แบบเต็มตัว เธอได้ตระหนักว่าสิ่งที่คิดมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นเลยแม้แต่น้อย จุดนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เธอเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น… แต่มันยังทำให้เธอเข้าใจถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้นอีกด้วย เธอจึงเลือกที่จะแบ่งปันประสบการณ์ของเธอผ่านเพจ ‘หมอแพมชวนอ่าน’ คอมมูนิตี้ท่ีตั้งใจมีไว้แบ่งปันวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก และยังเป็นเหมือนพื้นที่บันทึกการเติบโตของเธอและลูกไปพร้อมๆ กัน

 

 

จริงอยู่ที่ใครหลายคนในยุคนี้อาจจะมีความกังวลกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะรับมือกับการดูแลสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่าลูกอย่างไรให้ดีที่สุด แต่ S-Mom Club เชื่อว่าแม้อนาคตจะคาดเดาไม่ได้ แต่แม่สามารถเตรียมพร้อมเผชิญกับทุกความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วที่จะเกิดขึ้นกับลูกได้ ด้วยการเตรียมพร้อมสมองที่ดีให้กับเขาตั้งแต่วันนี้ทั้งในด้านทักษะและโภชนาการต่างๆ

 

ในฐานะที่หมอแพมเป็นทั้งหมอและนักเขียนด้านการเลี้ยงดูลูกโดยตรง มาดูกันว่าหมอแพมจะมีแนวคิดอย่างไรที่จะรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนได้อย่างมั่นคงใน Passion Calling x S-Mom Club with Dr.Pussayaban Suwannakeeree

 

 

ย้อนกลับไปในอดีต ทำไมหมอแพมถึงเลือกเรียนด้านหมอเด็ก

ตอนที่เรียนรู้สึกว่าทำไมเด็กเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มันจะมีวิชาหนึ่งเป็นวิชาเรียนแบบ Development หมายถึงว่าเรียนตั้งแต่มนุษย์อยู่ในท้อง เป็นเซลล์แตกไปเรื่อยๆ กลายเป็นแผ่น เป็นแผ่นสามชั้นแล้วม้วนกลายเป็นอวัยวะแล้วมันเจริญเติบโต 

 

 

ถ้าสมมติเราเรียนชีววิทยาเราตื่นเต้นกับเรื่องทำไมหนอนถึงกลายเป็นผีเสื้อ แท้จริงแล้วมนุษย์มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะ… เยอะมาก แล้วก็ตอนผ่านแผนกเด็ก คือเด็กๆ ทุกคน ไม่ว่าจะลูกผู้ดีหรือลูกชาวบ้านธรรมดา เด็กทุกคนคือใสหมด เด็กเกิดมามีพัฒนาการปกติ หลังจากนั้นมันเป็นเรื่องจากเด็กคนนั้นที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถัดจากนั้นมันเป็นเรื่องของการเลี้ยงดู คือพันธุกรรมอาจจะมีส่วนแต่ว่าการเลี้ยงดูก็มีส่วน ก็เลยสนใจ หมอรู้สึกว่าเด็กเป็นสิ่งมหัศจรรย์

 

 

แสดงว่าหมอแพมต้องชอบเด็กมาก

มาก 

 

แน่นอนว่าวันหนึ่งก็ต้องเคยฝันว่าอยากเป็นแม่สักวัน 

ใช่ค่ะ

 

หมอแพมมีน้องตอนอายุเท่าไร 

ตอนที่หมอมีลูกตอนนั้นอายุตัวเอง 32 ปีแล้วค่ะ เพราะว่าเรียนหมอมันเรียนนานเนอะ ก็คือเรียนแพทย์ 6 ปีค่ะ แล้วก็เรียนเฉพาะทางเป็นกุมารแพทย์ 4 ปี แล้วก็ต่อด้านกุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจอีก 2 ปี เป็น 12 ปี คือกว่าจะจบแล้วก็แต่งงาน คือแพลนไว้เลยว่าอยากจะมีลูกค่ะ ตั้งใจอยากมีลูกมากๆ

 

หมอแพมเคยมีนิยามในหัวไหมว่าคำว่า ‘แม่’ สำหรับหมอคืออะไร

ก่อนมีลูกกับหลังมีลูกนิยามมันต่างกันเยอะเลยค่ะ ตอนที่เรายังไม่มีลูก เนื่องจากเราเรียนกุมารแพทย์ด้วยเราก็รู้สึกว่าอยู่ที่ OPD มีแม่มารอคิวเพื่อมาขอคำปรึกษาจากเรา เราก็รู้สึกว่ามันก็ต้องทำได้สิ เรามีตำรา มันมีบอกเป๊ะๆ ถ้ามีปัญหาอย่างนี้ต้องแก้อย่างนั้น ถ้ามีปัญหานั้นต้องแก้อย่างนี้

 

ตอนก่อนที่ตัวเองท้องเราคาดหวังสูงมาก หาข้อมูลอะไรที่ทำให้เด็กเจริญเติบโต ต้องกินสารอาหารอย่างไร ต้องทำอะไร แล้วก็รู้สึกว่าถ้ามีลูกฉันต้องเอาอยู่ แต่ปรากฏว่าพอมีลูกความคิดเปลี่ยน เพราะว่าจริงๆ แล้ว…เด็กไม่ได้เป็นไปตามตำรา คือตำราไม่ได้เขียนถึงลูกเรา ตำราเขียนแค่ค่าเฉลี่ย แต่เด็กแต่ละคนเขามีความยูนีก

 

 

หมอก็เลยบอกกับพ่อแม่ทุกคนว่า ตำราเอาไว้เป็นไกด์เหมือนกับเรามี GPS แต่แท้จริงแล้วถ้าเกิดเราจำทางไปบ้านได้ เราก็แวะได้โดยไม่ต้องกลัวจะหลง ความหมายก็คือว่าเด็กเขาก็เกิดมาเพื่อแม่คนนี้แหละ คือถ้าเมื่อไรที่คนเป็นแม่รู้สึกว่าฉันนี่แหละเป็นคนที่ดีที่สุดสำหรับลูก มันก็คือตอนนั้นค่ะ เราจะเป็นแม่ที่ไม่ไขว้เขวไปกับข้อมูลที่มันมากมายมหาศาล เราจะรู้จักหยิบข้อมูลดีๆ หรือว่าสิ่งดีๆ มาเพื่อประยุกต์ใช้กับตัวเอง ก็เลยรู้สึกว่าสิ่งที่คาดหวังก่อนมีลูกกับตอนที่มีลูกแล้วเนี่ยมันคนละเรื่องกันเลย

 

ตอนหลังมีลูกใหม่ๆ หมอก็มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เหมือนกับ เอ๊ะ ทำไมมันถึงเครียดไปหมด ทำไมถึงรู้สึกกดดัน แวบหนึ่งรู้สึกว่าที่คิดว่าจะมีความสุข ทำไมไม่มีความสุข…ทำไมมันเศร้าจัง ทำไมมันทุกข์จัง แค่ลูกไม่กินข้าวมันรู้สึกเหมือนจะเป็นจะตาย

 

พอได้มานั่งตกตะกอนตอนนั้นที่มีปัญหาเยอะๆ ก็ถามตัวเองว่าทำไมเรื่องแค่นี้เราถึงแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะว่าตัวเองเป็นหมอเด็กด้วย แล้วก็ด้วยความที่เราทำงานด้วย ก็เลยใช้ทักษะสกิลในการเป็นหมอเด็กแก้ปัญหา ด้วยการใช้ทักษะในการกดลิ้นเด็กเวลาตรวจร่างกาย เอาช้อนกดเข้าปากลูกค่ะ แล้วลูกก็กลายเป็นแบบกลัวอาหารอยู่พักหนึ่งเลย

 

 

ท้ายที่สุดปัญหามันก็หนักไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าเอ๊ะ เรามาทางนี้มันผิดแน่เลย ลูกรู้สึกว่าเวลาอาหารเป็นเวลาแห่งความทรมาน แค่เห็นแม่หยิบถ้วยอาหารเขาก็ร้องไห้แล้ว ไม่ว่าอะไรที่มันเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราบังคับ เด็กก็รู้สึกว่าถูกคุกคามอยู่ดี หลังจากนั้นก็คิดใหม่ทำใหม่ สบายๆ ชิลๆ พอปล่อยวางลูกก็กินดีเฉย มันก็เลยเรียนรู้ ไม่ใช่เราแค่คนเดียวหรอกเพราะว่าเพื่อนเราก็บ่น คนข้างๆ เราก็บ่น มีแม่ที่เจอปัญหาแบบนี้เหมือนๆ เราเยอะมาก ก็เลยเปิดเพจด้วยค่ะ อยากจะแบบแชร์ข้อมูลที่เราเจอมาค่ะ

 

สำหรับหมอแพม อุปสรรคที่คิดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดคืออะไร

ถ้าสำหรับหมอเองหมอคิดว่าอุปสรรคก็คือตัวเองค่ะ คือเรื่องความรู้เราคงไม่ติด ไม่ได้หมายความว่าคนเป็นแม่ที่เป็นหมอเนี่ยจะฉลาดกว่าคนทั่วไปนะคะ แต่ต้องยอมรับว่าเราเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้ง่ายกว่า

 

แต่ว่าสิ่งที่มันต้องข้ามไปให้ได้ก็คือการควบคุมอารมณ์ตัวเอง เพราะว่าคนเป็นแม่นั้นมันต้องใช้พลังใจสูงมากๆ ยกตัวอย่างคุณแม่ที่เลี้ยงลูก Full Time ทั้งวัน นั่นหมายความว่าเสียสละชีวิตส่วนหนึ่ง ความคุ้นเคยในชีวิตเพื่อมาอยู่กับเด็กคนหนึ่ง แล้วมันต้องมีความหวังเนอะ พอทุ่มเทมากมันก็คาดหวังมาก คุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะมีความทุกข์ แล้วก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยหรือชอบทำ

 

แต่จริงๆ แล้วหมอมาเรียนรู้ทีหลังว่าการเป็นแม่นั้นมันไม่ต้องเสียสละชีวิตตัวเองนะ เราก็ยังเป็นตัวเราที่มีเด็กคนหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเราเพิ่มเติม เรียนรู้ไปด้วยกัน วันแรกที่เรามีลูกก็เป็นวันแรกที่เราเป็นแม่เหมือนกัน แล้วก็ลูกเรียนรู้อย่างไรเราก็เรียนรู้ไปอย่างนั้น หลังๆ หมอก็เลยคิดว่าถ้าจะให้คำแนะนำกับคุณแม่รุ่นใหม่ หมอก็จะบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นแม่ก็คือ เราเป็นแม่ที่พัฒนาได้ วันนี้ผิดพลาดไปแล้วเดี๋ยวก็แก้ใหม่ได้…อย่างนี้ค่ะ

 

 

พูดถึงเรื่องความคาดหวัง แน่นอนทุกวันนี้ลูกก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เรื่องอนาคตก็เป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ หมอแพมมีความรู้สึกกังวลถึงอนาคตของลูกบ้างไหม

ตอนแรกก็กังวลค่ะ แล้วก็มานั่งคิดว่า อืม เหมือนโลกในยุคปัจจุบันคือมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เร็วมากจนกระทั่งว่า… ถ้าให้นึกง่ายๆ สมาร์ทโฟนมันก็เพิ่งจะมีเกิดมาบนโลกใบนี้ แต่ทุกวันนี้ถ้าให้ทุกคนนึกว่าวันนี้ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนเราใช้ชีวิตอย่างไร เราแทบจะนึกไม่ออกแล้วว่าสมัยก่อนที่เราไม่มีมันเราทำอย่างไร

 

แล้วถัดมาก็ต้องเป็น AI หรือเทคโนโลยีที่มันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ก็เลยคิดว่าถึงไปทุกข์กับมันก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี เพราะว่าหมอคิดว่าหลักๆ คือต้องอยู่กับมันให้ได้ คือโลกมันเปลี่ยนแปลงเร็วผกผัน อย่าว่าแต่ 10 ปี 20 ปีเลยค่ะ หมอว่า 5 ปีเราก็นึกภาพไม่ออกว่าโลกเรามันจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ก็เลยคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือว่าเราต้องเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงค่ะ

 

แล้วหมอแพมมีวิธีในการรับมืออย่างไร

ถ้ากับตัวเอง หมอคิดว่าเราต้องเป็นพ่อแม่ที่รู้จัก Unlearn คำว่า Unlearn ในที่นี้หมายความว่าสิ่งที่เรารู้มันอาจจะผิดแล้วก็ได้ในยุคนี้ค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในยุคหนึ่งเกวียนอาจจะเคยเป็นพาหนะที่เร็วที่สุด แต่ยุคนี้นั้นเปลี่ยนไปแล้ว เพราะฉะนั้นความรู้เก่าๆ ที่ไม่ได้ใช้เราก็ Unlearn มันไปบ้าง มันจะได้เบา

 

แล้วก็ต้องเป็นพ่อแม่ที่รู้จัก Relearn พอเราตัดทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เราก็ต้องรู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามา เหมือนหมอเองทำงานเป็นหมอ เราก็เป็นอาจารย์แพทย์ด้วย เราก็ต้องเข้าใจว่าเด็กยุคใหม่สไตล์การเรียนของเขาเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเมื่อก่อนอาจารย์ถามคำถามให้เด็กๆ ตอบ เด็กๆ เขาก็ต้องจำมาตอบหรือว่าเด็กที่จำคำตอบได้ดีในวงสนทนานั้นก็คือคนที่แสดงว่าเขาเตรียมความพร้อมใช่ไหมคะ แต่เด็กทุกวันนี้เขาสามารถไปได้ไกลกว่านั้น

 

ก็คือว่าความจำเขาสามารถใช้ Search Engine ได้ แต่ว่าเขาต้องมี Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์ เขาต้องพิจารณาว่าข้อมูลไหนที่ดีที่สุดที่เขาจะเลือกมาใช้เพราะว่าข้อมูลมันเยอะมากๆ อันนี้หมอคิดว่าคนรุ่นหมอต้องเข้าใจว่าสไตล์การเรียนรู้ของเด็กยุคนี้มันเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเราอาจจะไม่ต้องไปยึดติดกับสิ่งที่ให้น้องจดจำค่ะ

 

 

หมอแพมได้มีการวางแผนในอนาคตของลูกด้านอาชีพการงานไว้บ้างไหม

อาชีพของลูกเหรอคะ ไม่มีเลยค่ะ ยุคนี้คืออาชีพใหม่มาเยอะมาก มีอยู่ยุคหนึ่งคุณพ่อคุณแม่เข้ามาในห้องตรวจก็แบบว่านี่ไงป้าหมอใจดีนะ เดี๋ยวต่อไปจะให้เด็กเป็นหมออะไรอย่างนี้ แต่เด็กเดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว ถ้าถามก็จะบอกว่าอยากเป็น YouTuber อยากเป็น TikToker อันนี้เด็กๆ ตอบนะคะ ก็เลยรู้สึกว่าโลกมันคงเปลี่ยนไปแล้ว สำหรับตัวหมอก็คงไม่ได้กะเกณฑ์ แต่อย่างที่บอกค่ะ คงเลี้ยงดูให้เขามีแนวคิดพื้นฐานบางอย่างที่มันปรับตัวได้แล้วก็เขาจะเลือกอาชีพอะไรก็แล้วแต่ ตามใจเลยค่ะ ครอบครัวเราไม่ได้ยึดว่าควรจะเป็นอาชีพอะไรเพราะรู้สึกว่าอาชีพเกิดใหม่ทุกวัน แล้วทุกอาชีพต้องทำงานหนักหมด มีคุณค่าในตัวเองหมด

 

 

แสดงว่าสำหรับหมอแพมแล้ว ไม่ว่าลูกอยากจะเป็นอะไรหมอปล่อยฟรีเลย

แน่นอนค่ะ เพราะหมอไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ แต่หมอรู้ว่าเด็กคนหนึ่งมันมีสิ่งพื้นฐานไม่กี่อย่างหรอก ความยากก็คือว่าเราอาจจะต้องสร้างสายสัมพันธ์แล้วก็ต้องฝึกให้เขาควบคุมตัวเองให้ได้เร็ว เพราะว่าเด็กยุคนี้พอเขาได้มีมือถือ ได้เข้าสู่อินเทอร์เน็ต ข้อมูลหลั่งไหลหาเขาได้แม้แต่ในห้องนอน คือต้องฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเองให้ได้เร็วกว่ายุคพวกเรา

 

ส่วนตัวแล้วหมอแพมมีวิธีเตรียมความพร้อมให้เขาอย่างไรบ้าง

ถ้าหลักๆ เลยหมอคิดว่าสายสัมพันธ์คือสิ่งที่สำคัญที่สุด สายสัมพันธ์ในที่นี้หมายความว่าเราต้องเป็นแม่ที่มีอยู่จริงก่อนค่ะ ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย คือเด็กเขาจะเจริญเติบโตจากตัวเขาเองแล้วก็ออกไปข้างนอก 

 

ในช่วงขวบปีแรกเด็กๆ เขาอยากจะรู้ว่าตัวเขาเป็นอย่างไร เด็กๆ มองโลกผ่านพ่อแม่ มองโลกผ่านคนที่เขาใกล้ชิดด้วย พ่อแม่นิยามโลกเป็นอย่างไรเด็กก็เป็นเช่นนั้น พ่อแม่ชอบไปเที่ยว พ่อแม่รักธรรมชาติ ลูกก็จะมองสิ่งนี้เป็นค่านิยมที่มันค่อยๆ ปลูกฝังมาค่ะ

 

พอช่วง 1 ขวบปีแรกเขารู้ว่าเขามีคนคนหนึ่งที่รักเขามาก การที่มีคนหนึ่งรักเขามากแปลว่าตัวเขามีตัวตน หลังจากนั้นเขาก็เริ่มเรียนรู้สังคมภายนอก ลองให้นึกสภาพเด็กอนุบาลค่ะ เขาก็จะเริ่มรู้สึกว่าเขาอยากจะรู้เรื่องเด็กที่อายุใกล้เคียงกับเขา เขาอยากจะเลียนแบบพ่อแม่ เด็กวัยอนุบาลทุกคนจะเอารองเท้าพ่อแม่มาใส่ จะแอบใช้เครื่องสำอางของแม่ หรือแอ็กว่าทำงานบ้านเพราะว่าเขาอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะเขารู้แล้วว่าเขามีตัวตนจริง

 

 

พอถัดจากนั้นคือขึ้นมาวัยประถม เขาก็จะเข้าใจว่าบ้านเป็นแค่สังคมเล็กๆ แล้ว ความคิดเชิงนามธรรมจะมา เขาจะรู้สึกว่า เอ๊ะ สรุปที่ฉันคิดว่าฉันเป็นหนึ่งเดียวในโลกนั้นมันไม่จริง คือเด็กทุกคนอยู่ในบ้านเป็นที่หนึ่ง พอออกมาปุ๊บเนี่ยเขาก็อยากจะเรียนรู้ อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อน

 

เราในฐานะที่เป็นแม่ก็เหมือนเป็นหน่วยซัพพอร์ต เราเฝ้าดูอยู่ห่างๆ สำหรับหมออยากให้นึกภาพว่าเราเหมือนเป็นเสื้อผ้าที่พอดีตัวค่ะ คือเสื้อผ้ามันต้องใหญ่ตามตัวเนอะ คับไปก็ไม่ดี หลวมไปก็หลุด หลักการการเลี้ยงลูกหมอคิดว่าพ่อแม่ต้องใหญ่ตามตัวลูก ใหญ่ตามตัวหมายความว่าขอบเขตที่จะให้เขาทำอะไรได้ด้วยตัวเองมันต้องใหญ่ตามตัว อันนี้แหละเป็นสิ่งที่ยาก ยากมากสำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่ค่ะ

 

 

มีแนวคิดไหนไหมที่หมอแพมอยากจะปลูกฝังลูกไว้เสมอ 

หนึ่งก็คือเป็นเด็กที่ปรับตัวได้กับทุกๆ อุปสรรค ทุกๆ ปัญหาค่ะ คือปัญหามีอยู่แล้วแต่ว่าให้เป็นเด็กที่รู้จักปรับตัว อันที่สองก็คืออยากให้เขาอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ง่าย คือจริงๆ ในยุคถัดไปค่ะ ทุกคนก็จะกลัวว่า AI จะมาแย่งงาน แต่จริงๆ แล้วมนุษย์ยังอยากมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เสมอ เพราะฉะนั้นมนุษย์ที่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นก็จะอยู่ได้ง่ายในยุคหน้า 

 

อันที่สามคืออยากจะให้เขามี Critical Thinking ให้เขารู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ว่าความรู้ได้มาสามารถเอาไปใช้ได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่ถูกต้องไหม สุดท้ายก็คงอยากจะให้สุขภาพดี อยากจะให้ลูกเติบโตแข็งแรงค่ะ

 

เชื่อว่าเรื่องสารอาหารก็มีส่วนสำคัญมากที่ช่วยให้เด็กเติบโตอย่างแข็งแรงโดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการสมอง สำหรับหมอแพมมีวิธีการเตรียมความพร้อมในเรื่องสารอาหารให้ลูกอย่างไรบ้าง

เรื่องอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่หมออยากจะบอกคุณพ่อคุณแม่เพราะว่าต่อให้เราส่งเสริมลูกอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเกิดว่าเด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน การกระตุ้นพัฒนาการหรือว่าการเรียนรู้ของเด็กจะได้ไม่เต็มศักยภาพอย่างที่เขาควรเป็น เพราะฉะนั้นเรื่องสารอาหารเป็นเรื่องพื้นฐานในเด็กเล็กค่ะ เราต้องรู้ก่อนว่า 90% ของสมองเด็กเจริญเติบโตภายใน 5 ขวบ เพราะฉะนั้นในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบเป็นช่วงเวลาทองของชีวิตมากๆ เลยค่ะ เพราะฉะนั้นสารอาหารในช่วงนี้เรียกว่าสำคัญ ต้องพูดว่าสำคัญระดับโครงสร้างของสมองเลย เพราะว่าสมองเด็กสร้างเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ ทั้งขนาด ทั้งจุดเชื่อมโยงในช่วงแรกของชีวิต มีการสร้างเซลล์สมองมหาศาล เพราะฉะนั้นถ้าเด็กขาดสารอาหารเขาจะเสียโอกาสในการพัฒนาเยอะเหมือนกันค่ะ

 

 

ทีนี้สิ่งที่หมออยากเสริมก็คือเรามักจะได้รับการเรียนรู้มาว่ากินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่คนไทยไม่เคยพูดว่าสัดส่วนมันต้องเป็นอย่างไร สารอาหารที่สำคัญที่ให้พลังงานมันมี 3 อย่าง โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โปรตีนจะเป็นตัวหลักที่เป็นตัวเสริมสร้างเซลล์ร่างกายของเรา ไขมันกับคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน เพราะฉะนั้นเด็กต้องกินให้ครบส่วน เด็กควรจะได้รับโปรตีนประมาณ 1-2 กรัมต่อน้ำหนักตัวเลย ซึ่งจริงๆ ในคนไทยเรากินโปรตีนน้อย

 

ยุคนี้โชคดีที่เหมือนกับมีสารอาหารหลายอย่างที่คุณแม่สามารถเลือกซื้อได้ ในนมต่างๆ ก็มีการเสริมสารที่ดีกับการเจริญเติบโตของสมอง กรดไขมันจำเป็น, DHA, Sphingomyelin พวกนี้ช่วยสร้าง Myelin Sheath ซึ่งเป็นปลอกของเส้นใยประสาท ทำให้เส้นใยประสาทวิ่งได้เร็วขึ้น ก็จะช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กในช่วงนี้ได้เหมือนกันค่ะ

 

นอกจากสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแล้วก็ต้องได้รับสารอาหารที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก ซึ่งอันนี้จะได้จากเนื้อสัตว์ ผักใบเขียวอยู่แล้ว แล้วก็พวกวิตามินต่างๆ ค่ะ คำตอบของหมอก็คือนอกจากจะกินครบ 5 หมู่ ก็คือต้องกินให้ถูกสัดส่วนแล้วก็กินให้หลากหลายค่ะ

 

 

เชื่อว่ามีคุณแม่ในยุคนี้หลายคนที่ยังกังวลถึงอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ในฐานะที่หมอแพมมีประสบการณ์เป็นคุณแม่มาสิบปีแล้ว หมอมีคำแนะนำอย่างไร

ปีล่าสุดยอดอัตราเกิดของเราต่ำ คือต่ำมากเลยนะคะ เพราะว่าคนยุคใหม่คิดเยอะขึ้น หมออยากจะแชร์ในมุมตัวเอง หมอพูดมาตลอดว่าการมีลูกทำให้หมอเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้น พัฒนาตัวเองมากขึ้นในทุกๆ วัน จริงๆ แล้วเด็กเขาไม่ได้ต้องการเยอะ คือคุณพ่อคุณแม่อาจจะแบบโอ๊ยเรื่องโรงเรียน เรื่องเวลา เรื่องอะไรอย่างนี้ จริงๆ เด็กเขาไม่ได้ต้องการเยอะเพราะว่าเขาเกิดมาเป็นสมาชิกในครอบครัว เราไม่ต้องปรับตัวเข้าหาเด็กหมด เพราะเด็กเขาเองก็มีความต้องการที่จะปรับตัวเข้าหาพ่อแม่เช่นกัน เราไม่จำเป็นต้องทุ่มเทไปจนแบบเราไม่เหลืออะไร เราเติบโตแล้วก็ปรับตัวไปกับเขาได้ ก็อยากจะให้มองการเลี้ยงลูกในแง่ดี คุณแม่ที่มีแล้วเขาก็พบความสุขบางอย่างที่มันก็อธิบายเป็นคำพูดไม่ได้เลย อยากจะให้มองในแง่ดีว่าการมีลูกไม่ใช่เรื่องเลวร้ายค่ะ

 

 

จริงๆ ลูกไม่ได้ต้องการแม่ที่สมบูรณ์แบบเลยค่ะ เด็กไม่ได้มีนิยามเลยว่าแม่คนไหนที่สมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นคุณแม่สามารถเป็นตัวเองได้เลย เราเป็นคนปล่อยมุกเฮฮาก็เป็นให้ลูกเห็น ไม่เป็นไรเลย คำว่าแม่มันไม่จำเป็นต้องดูสูงส่งหรือดูเพอร์เฟกต์ตลอดเวลา คำว่าแม่คือคนที่มีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับลูกค่ะ

 

 

หากคุณแม่มีข้อสงสัยด้านพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

S-Mom Club

Website: https://www.s-momclub.com/

Facebook: https://www.facebook.com/Smomclub

 

#THESTANDARDLIFE #TheUrbanGuidetoWellbeing #PassionCallingxSMomClub #MomfromtheFuture #SMomClub #PussayabanSuwannakeeree #Pediatric #หมอแพมชวนอ่าน
#เลี้ยงลูกยุคใหม่ #เลี้ยงลูกให้ฉลาด #เลี้ยงลูกให้สมองดี #เด็กฉลาด #เทคนิคเลี้ยงลูก #สมองไวสร้างได้

The post เปิดมุมมองเลี้ยงลูกให้รับมือกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้สไตล์ หมอแพม พญ.ปุษยบรรพ์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ชีวิตใหม่ที่บ้านเขาใหญ่ของ เต้ย จรินทร์พร | How Do You Live? EP.4 https://thestandard.co/life/how-do-you-live-ep-4 Sat, 27 Apr 2024 03:40:09 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=927360

หากจะพูดว่าบ้านหลังนี้คือของขวัญชิ้นสำคัญในชีวิตของ เต้ […]

The post ชมคลิป: ชีวิตใหม่ที่บ้านเขาใหญ่ของ เต้ย จรินทร์พร | How Do You Live? EP.4 appeared first on THE STANDARD.

]]>

หากจะพูดว่าบ้านหลังนี้คือของขวัญชิ้นสำคัญในชีวิตของ เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ ในวัย 34 ปี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่กว่าจะเป็นที่มาของ Baan 429 เธอได้ผ่านเรื่องราวมากมาย และพบว่าในชีวิตนี้ การมีของขวัญให้ตัวเองแบบจริงจัง มันถือว่าเป็นการขอบคุณตัวเองที่ดีมากๆ นั่นเลยเป็นที่มาของบ้านหลังนี้

 

บ้านที่นานๆ มาที แต่ทุกครั้งที่มาก็จะได้พลังกลับไป

บ้านที่สบายใจทุกวินาทีที่อาศัยอยู่

บ้านที่ทุกคนในครอบครัวชอบ

บ้านที่ตอบโจทย์ชีวิตของ เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ บ้านหลังนี้จะมีหน้าตาและผ่านการคิดอย่างไร มาติดตามได้ใน HOW DO YOU LIVE? อีพีนี้

The post ชมคลิป: ชีวิตใหม่ที่บ้านเขาใหญ่ของ เต้ย จรินทร์พร | How Do You Live? EP.4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
HOW DO YOU LIVE? เปิดบ้านที่สวยทุกฤดู ของ เต้ย จรินทร์พร https://thestandard.co/life/how-do-you-live-toey-jarinporn Sat, 27 Apr 2024 03:30:43 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=927241 เต้ย จรินทร์พร

เปิดบ้านเขาใหญ่ที่สวยทุกฤดู ของ เต้ย จรินทร์พร ในรายการ […]

The post HOW DO YOU LIVE? เปิดบ้านที่สวยทุกฤดู ของ เต้ย จรินทร์พร appeared first on THE STANDARD.

]]>
เต้ย จรินทร์พร

เปิดบ้านเขาใหญ่ที่สวยทุกฤดู ของ เต้ย จรินทร์พร ในรายการ HOW DO YOU LIVE?

 

25 ปี คือช่วงวัยที่ เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ ตัดสินใจลุกขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัว

 

เพราะหลังจากที่ทำงานในวงการบันเทิงมากว่า 10 ปี เธอมีความตั้งใจจะเป็นผู้เลี้ยงดูทั้งครอบครัวให้มีความสุข โดยเฉพาะช่วงเวลานั้นที่น้องชายป่วยด้วยโรคลูคีเมีย เธอจึงหาเงินและแบ่งเบาภาระของทุกคนให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่เธอตัดสินใจรีโนเวตบ้านหลังแรกที่กรุงเทพฯ และเธอก็พบว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย

 

เต้ยสวมบทโฟร์แมนควบคุมและดำเนินการรีโนเวตบ้านหลังนั้นด้วยความภาคภูมิใจ เมื่อบรรลุเป้าหมายเธอได้ชวนพี่ที่สนิทมาเยี่ยมชมส่วนต่างๆ ของบ้าน ‘นั่นคือห้องของน้องชาย’ ‘มุมนั้นทำให้พ่อ’ ‘ตรงนี้ทำให้แม่’ แต่คำถามสำคัญที่เล่นเอาเธอนิ่งงันจนอยู่หมัดคือ ‘แล้วตรงไหนที่เต้ยทำเพื่อตัวเอง?’

 

คำถามนั้นอยู่ในใจของเธอเรื่อยมา จนถึงช่วงการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้เธอเริ่มรู้สึกเบิร์นเอาต์ และมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับทิศทางอาชีพนักแสดง จังหวะนั้นเองที่เธอได้มาพักที่หมู่บ้านกลางหุบเขาใหญ่ตามคำชักชวนของ หมอโอ๊ค สมิทธิ์ และ โอปอล์-ปาณิสรา อารยะสกุล เต้ยสะดุดตากับบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ท้ายหมู่บ้าน พร้อมเอ่ยปากทีเล่นทีจริงว่า หากได้ราคาตามที่ตั้งใจเธอจะซื้อบ้านหลังนี้ และทุกอย่างก็เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว

 

 

เต้ยกลายมาเป็นเจ้าของบ้านหลังเก่าที่เต็มไปด้วยหยากไย่และมูลค้างคาวกลางเขาใหญ่ ซึ่งแม้สภาพแวบแรกจะชวนถอนใจ แต่ด้วยประสบการณ์การทำบ้านที่กรุงเทพฯ ทำให้การรีโนเวตบ้านที่เขาใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก เธอชักชวนบริษัทสถาปนิกที่ไว้ใจเริ่มออกแบบบ้านในฝัน โดยใส่ความเป็นตัวเองลงไปในทุกส่วน เลือกจะเก็บส่วนที่สำคัญอย่างกระจกที่เมื่อมองออกไปนอกตัวบ้านจะเห็นสวนที่เปลี่ยนไปทุกฤดูกาล คล้ายเฟรมผ้าใบที่วาดต้นไม้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ สอดคล้องกับกระจกทรงโค้งชั้น 2 ที่เฟรมผ้าใบกลายเป็นท้องฟ้าและภูเขาที่สลับสีไปตามช่วงเวลา นอกจากนั้นเธอยังตัดสินใจทุบผนังและเพิ่มกระจกหลังคา เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องถึงตัวบ้านตลอดเวลา

 

 

โถงทางเข้าเธอเลือกแผ่นหินสีต่างๆ ที่สลับลวดลายคล้ายการปะชุนผ้า สอดรับกับฉากบันไดที่ปูกระเบื้องสีแนวตั้งระหว่างขั้น และส่วนสำคัญนอกตัวบ้านคือสวนที่นอกจากจะมีดอกไม้และต้นไม้ที่ผลัดกันออกดอกผลิใบให้สีสันต่างฤดูกาลแล้ว ยังมีเถากุหลาบที่เลื้อยขึ้นระแนงหลังคาบ้านอย่างที่เธอและแม่เคยฝันอยากมี

 

 

แม้จะเต็มไปด้วยรายละเอียด แต่เต้ยสรุปให้ฟังว่า การทำบ้านเขาใหญ่ครั้งนี้เต็มไปด้วยความเบาสบาย ต่างจากการรีโนเวตบ้านที่กรุงเทพฯ อาจเป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารกับผู้รับเหมา และได้ทำในจังหวะที่เหมาะสมทั้งความรู้และประสบการณ์ การทำบ้านครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการฮีลใจจากเรื่องหนักหนาภายนอกให้เธอมีความสุขจากโลกภายใน 

 

เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ที่ได้เชื่อว่าเป็น ‘บ้าน’ ของเธออย่างแท้จริง

 

ติดตามความสวยงามของบ้านที่เปลี่ยนไปทุกฤดู ได้ในรายการ HOW DO YOU LIVE? ทาง YouTube ของ THE STANDARD LIFE คลิกชมได้ที่ แทรกลิงก์ YouTube

The post HOW DO YOU LIVE? เปิดบ้านที่สวยทุกฤดู ของ เต้ย จรินทร์พร appeared first on THE STANDARD.

]]>