LIFE | BODY & MIND – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 26 Apr 2025 11:48:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เขาให้เป็นได้แค่ ‘คนคุย’ ควรพอหรือจะรออีกสักพัก? https://thestandard.co/life/situationship-move-on-or-wait Sun, 27 Apr 2025 00:30:05 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1068517 relationship-limbo-decision

รู้สึกเหนื่อยไหมกับความสัมพันธ์ที่ไม่มีชื่อเรียก? เป็นไ […]

The post เขาให้เป็นได้แค่ ‘คนคุย’ ควรพอหรือจะรออีกสักพัก? appeared first on THE STANDARD.

]]>
relationship-limbo-decision

รู้สึกเหนื่อยไหมกับความสัมพันธ์ที่ไม่มีชื่อเรียก? เป็นได้แค่ ‘คนคุย’ ทั้งที่ใจเราให้เขาไปมากกว่านั้นแล้ว อยากถามหาความชัดเจน แต่ก็กลัวว่าจะเสียเขาไป บางทีมันเหนื่อยกว่าเลิกกันอีก เพราะไม่มีสิทธิ์จะบอกว่าเจ็บ ไม่มีสถานะจะเรียกร้องอะไร ถ้ากำลังสับสนว่าจะอยู่ต่อหรือพอแค่นี้ LIFE จึงอยากชวนทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้มาเกลาใจไปด้วยกัน เพื่อหาทางออกสำหรับประเด็นคนคุย ว่าควรไปต่อหรือพอแค่นี้ พร้อมวิธีรับมือแบบรักษาใจตัวเองด้วย

 

คำว่า ‘คนคุย’ นี่มันฟังดูไม่ผูกมัด แต่ทำไมในใจกลับรู้สึกมีพันธะมากมายจังเลยนะ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงติดอยู่กับความสัมพันธ์แบบไม่ชัดเจนได้นานขนาดนี้? ทั้งที่บางวันก็แทบจะนอนไม่หลับ เพราะเช็กแชตเป็นร้อยรอบ นักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า Intermittent Reinforcement คือการให้รางวัลแบบไม่แน่นอน ทำให้เราเหมือนติดกับดักความรัก เหมือนเล่นเกมกดปุ่มรอรางวัลแบบไม่รู้เมื่อไรจะมา บางวันเขาก็ส่งข้อความมาหา ชวนไปเที่ยว ทำเราฟินจนลอยได้ แต่อีกวันก็เงียบหาย นั่นแหละคือกลไกที่ทำให้เราถึงเหนื่อยแต่ก็ยังรอ

 

หัวใจไม่ใช่พื้นที่ทดลองของใครนะ!

 
ถ้าเรามองดูดีๆ จะเห็นว่าเราให้ทั้งความใส่ใจและความชัดเจน แต่ได้กลับมาแค่ ‘เดี๋ยวค่อยว่ากัน’ แบบนี้มันไม่แฟร์เลย ยิ่งเราให้เขาเท่าไร พอขอความชัดเจนคราวหนึ่ง เรากลับรู้สึกผิดเหมือนเป็นคนเรียกร้องเสียอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้วการอยากรู้ว่าเรากำลังไปทางไหนกัน ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในความสัมพันธ์นะ

 

การเป็นคนคุยมันเติมพลังหรือดูดพลัง?

 
ลองถามตัวเองจริงๆ ดูว่าความสัมพันธ์แบบนี้มันเติมพลังให้เราหรือดูดพลังเราไปกันแน่? ทุกครั้งที่เจอกับเขาหรือคุยกับเขา เรายังหัวเราะได้อย่างเป็นธรรมชาติไหม? หรือต้องคอยระมัดระวังคำพูด กลัวเขาจะหายไปไหม? เราเป็นตัวของตัวเองในความสัมพันธ์นี้หรือเปล่า? หรือเราแอ็กเป็นคนที่เราไม่ใช่เพื่อให้เขาชอบ?

Elizabeth Gilbert เขียนไว้ใน Eat Pray Love ว่า บางคนเข้ามาในชีวิตเราเพื่อทำให้เรารู้ว่าเราสมควรได้รับอะไรที่ดีกว่านั้น บางทีคนที่ทำให้เราเจ็บปวดที่สุดอาจเป็นคนที่สอนบทเรียนสำคัญให้เรามากที่สุดก็ได้ การหยุดไว้อาจไม่ใช่เพราะเขาไม่ดีพอ แต่เพราะเราเพิ่งรู้ว่าเรารักตัวเองได้มากกว่านี้

ดังนั้นจึงไม่ผิดหรอกนะถ้าเราจะตัดสินใจ พอเถอะ หยุดดีกว่า ฉันจะไม่ไปต่อ​ เพราะการไม่สานต่อความสัมพันธ์แบบคลุมเครือไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นการเลือกที่จะรักตัวเองมากกว่า ชีวิตเรามีค่าเกินกว่าจะปล่อยให้ใครสักคนใช้มันเป็นตัวเลือกสำรอง เมื่อถึงวันที่คุณเลือกตัวเองได้ คุณจะเข้าใจว่าการหลุดพ้นจากความรักที่ไม่ชัดเจน คือการเปิดประตูให้ความรักที่สมควรได้รับเข้ามาในชีวิต 

 


 

สถานะ ‘คนคุย’

 

สถานะ ‘คนคุย’ อาจทุกข์หนักกว่าคำว่า ‘เลิก’ อีก เพราะการเลิกกันยังมีสิทธิ์เสียใจ แต่เป็นแค่คนคุย เราไม่มีสิทธิ์จะทวงถามอะไรเลย ทั้งที่เทใจให้เขาไปหมดแล้ว

 


 

Intermittent Reinforcement

 

นักจิตวิทยาเรียกว่า Intermittent Reinforcement เปรียบเหมือนเล่นสลอตแมชชีน บางทีก็ได้รางวัล (เขาส่งข้อความมา) บางทีก็ไม่ได้ (เขาเงียบหาย) แต่เราก็ยังกดต่อไปเรื่อยๆ หวังว่าครั้งหน้าจะได้อีก

 


 

หากคุณเช็กโทรศัพท์บ่อยจนว้าวุ่น

 

หากคุณเช็กโทรศัพท์บ่อยจนว้าวุ่น กลัวตัวเองทำอะไรผิด คิดหนักเวลาเขาไม่ตอบไลน์ ยอมเปลี่ยนนิสัยเพื่อให้เขาชอบมากขึ้น ถ้าเจอแบบนี้ 3 ข้อขึ้นไป ชีวิตคุณกำลังหมุนรอบเขามากเกินไปแล้วนะ

 


 

พอเรากลัวคำตอบ

 

พอเรากลัวคำตอบ กลัวว่าถ้าพูดออกไปแล้วทุกอย่างจะหายไป แต่คิดอีกมุม การไม่พูดก็ทำให้เราต้องจมอยู่กับความไม่แน่นอนทุกวัน คิดดูดีๆ ว่าทางไหนเจ็บกว่ากันแน่?

 


 

อย่าลืมว่าหัวใจเราไม่ใช่ห้องทดลองของใคร

 

อย่าลืมว่าหัวใจเราไม่ใช่ห้องทดลองของใคร ถ้าเขายังไม่พร้อมจะให้ความชัดเจนก็ไม่เป็นไร แต่เขาก็ไม่ควรทำให้เรารู้สึกว่าวันหนึ่งอาจจะได้ถ้าเราพยายามให้มากพอ การปล่อยให้อีกฝ่ายคาใจก็เป็นความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง

 


 

ควรกำหนดขอบเขตในใจว่าจะรอถึงเมื่อไร

 

ควรกำหนดขอบเขตในใจว่าจะรอถึงเมื่อไร ไม่ใช่เพื่อกดดันเขา แต่เพื่อให้ตัวเองไม่ต้องลอยคออยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าถึงวันนั้นแล้วยังไม่มีอะไรเปลี่ยน ก็หยุดและหันกลับมารักตัวเองบ้าง

 


 

เขียนลิสต์ดูว่าคุณได้อะไรกับเสียอะไร

 

เขียนลิสต์ดูว่าคุณได้อะไรกับเสียอะไรในความสัมพันธ์นี้ ได้ความสุขชั่วครั้งชั่วคราว? แล้วแลกมาด้วยอะไร? ความมั่นใจที่ลดลงล่ะ? เวลาที่เสียไปล่ะ? ลองเทียบดูแล้วคุ้มไหม?

 


 

Elizabeth Gilbert

 

Elizabeth Gilbert เขียนไว้ใน Eat Pray Love ว่า “บางคนมาเพื่อสอนให้เรารู้ว่าเราควรได้รับอะไรที่ดีกว่า” บางทีเราอาจต้องขอบคุณที่เขาทำให้เรารู้จักรักตัวเองมากขึ้น

 


 

ถ้าผ่านไปนานแล้วยังอยู่ที่เดิม

 

ถ้าผ่านไปนานแล้วยังอยู่ที่เดิม อย่าบอกตัวเองว่ารออีกหน่อย เดี๋ยวเขาก็พร้อม เพราะนี่ไม่ใช่ช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่กำลังบอกเราว่ามันจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ถ้าเขาให้เราใช่ เราก็ใช่ไปนานแล้ว

 


 

ไม่ต้องรอให้เขามั่นใจว่าคุณดีพอ

 

ไม่ต้องรอให้เขามั่นใจว่าคุณดีพอ คุณต้องมั่นใจว่าตัวเองคู่ควรกับคนที่เห็นค่าและแน่ใจในตัวคุณ ความรักที่ดีไม่ได้ยากขนาดนั้น และคุณก็สมควรได้รับมันนะ

 


 

อย่าลืมว่าชีวิตของเรา ‘มีค่า’

 

อย่าลืมว่าชีวิตของเรา ‘มีค่า’ เกินกว่าจะปล่อยให้ใครสักคนใช้มันเป็น ‘ตัวเลือกสำรอง’ ของใคร

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post เขาให้เป็นได้แค่ ‘คนคุย’ ควรพอหรือจะรออีกสักพัก? appeared first on THE STANDARD.

]]>
Attachment Theory: แกะรอย ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ทำไมโตมาเป็นคนแบบนี้? https://thestandard.co/life/attachment-theory-childhood-impact Fri, 25 Apr 2025 06:33:41 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1068128 attachment-theory-childhood-impact

John Bowlby ผู้คิดค้นทฤษฎี Attachment เคยอธิบายไว้ว่า “ […]

The post Attachment Theory: แกะรอย ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ทำไมโตมาเป็นคนแบบนี้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
attachment-theory-childhood-impact

John Bowlby ผู้คิดค้นทฤษฎี Attachment เคยอธิบายไว้ว่า “ความผูกพันในวัยเด็กเป็นเหมือนคู่มือความสัมพันธ์ที่เราจะใช้ไปตลอดชีวิต” ซึ่งทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมบางคนถึงกลัวการถูกทิ้ง บางคนชอบความเป็นอิสระ และบางคนก็สับสนในความรู้สึกของตัวเอง คิดง่ายๆ ตอนเด็กๆ ถ้าเราร้องไห้งอแง แล้วมีคนมากอด ปลอบ มาเล่นด้วยสม่ำเสมอ เราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้มันโอเค มีคนซัพพอร์ต เราก็จะโตมาเป็นคนที่ ‘Secure’ หรือมั่นคงในความสัมพันธ์ กล้าใกล้ชิด ไม่กลัวโดนเท

 

แต่ถ้าตอนเด็กๆ ร้องไปก็เท่านั้น ลองลงทุนลงไปนอนดิ้นบนพื้นพ่อแม่ก็ไม่สนใจ แถมบางทีก็โดนดุอีก เราก็จะเริ่มงงๆ กับความรักจากคนที่เลี้ยงดูเรามา พอโตมาก็อาจจะเป็นคน ‘Anxious-Ambivalent’ คือฟีลมันจะแบบอยากมีแฟนนะ แต่ก็กลัวเขาไม่รักจริง กลัวโดนทิ้ง ต้องคอยเช็ก คอยถามตลอดเวลาว่ายังรักกันอยู่ไหม

 

ส่วนบางคนที่ตอนเด็กๆ ไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าไร ต้องพึ่งตัวเองมาตลอด ก็อาจจะกลายเป็นคน ‘Avoidant’ คือชินกับการอยู่คนเดียว ไม่อยากผูกพันกับใคร กลัวการใกล้ชิด เพราะรู้สึกว่ายังไงก็ต้องดูแลตัวเองอยู่ดี เขาก็จะขีดเส้นพื้นที่ส่วนตัวชัดเจน 

 

ที่แย่ไปกว่านั้น ถ้าตอนเด็กๆ เจอเรื่องแย่ๆ แบบคาดเดาไม่ได้ โดนทำร้าย หรืออะไรที่มันทำให้รู้สึกสับสนมากๆ ก็อาจจะกลายเป็น ‘Disorganized’ คือไม่รู้จะเอายังไงกับความสัมพันธ์ เดี๋ยวอยากใกล้ เดี๋ยวก็ผลักไส งงๆ ไปหมด

 

แล้วไงต่อ? มันเปลี่ยนได้ไหม?

 

ข่าวดีคือ ‘ปม’ ความรักวัยเด็กเนี่ย มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องติดตัวเราไปตลอดชีวิตหรอกนะ การที่เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกแบบนี้กับความสัมพันธ์ มันคือสเต็ปแรกที่จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้ ลองสังเกตตัวเองดูสิ ว่าเรามีแนวโน้มไปทางไหน? เรากลัวอะไรในความสัมพันธ์? พอเรารู้ทันตัวเองแล้ว เราก็จะเริ่มปรับตัวได้ เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ ค่อยๆ สร้างความไว้ใจ เรียนรู้ที่จะสื่อสารความรู้สึกตัวเองแบบตรงๆ

 

บางทีการคุยกับเพื่อนสนิท หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็ช่วยได้เยอะเลยนะ อย่าคิดว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องน่าอาย การเข้าใจตัวเองและพัฒนาตัวเองให้มีความสุขกับความสัมพันธ์ได้มากขึ้น มันคือเรื่องเจ๋งสุดๆ ไปเลย สรุปง่ายๆ ทฤษฎี Attachment มันเหมือนเป็นการแกะรอยความรู้สึกของเราที่มีต่อความรักและความสัมพันธ์ ตั้งแต่เด็กจนโต การทำความเข้าใจ ‘พิมพ์เขียว’ ในใจเราจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและคนอื่นมากขึ้น และที่สำคัญคือทำให้เรารู้ว่าเราสามารถออกแบบความสัมพันธ์ที่เราต้องการได้ด้วยตัวเอง

 


 

 

John Bowlby ผู้คิดค้นทฤษฎี Attachment อธิบายว่า “ความผูกพันในวัยเด็กเป็นเหมือนคู่มือความสัมพันธ์ที่เราจะใช้ไปตลอดชีวิต” หรือพูดง่ายๆ ว่ามันคือ ‘วิธีรัก’ ที่เราเคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก

 


 

 

ทำให้เราเข้าใจว่า เมื่อมีความรัก ทำไมบางคนถึงกลัวการถูกทิ้ง ทำไมบางคนชอบความเป็นอิสระ และทำไมบางคนก็สับสนในความรู้สึกของตัวเอง

 


 

 

ตอนเด็กถ้าเราร้องไห้งอแงแล้วมีคนมากอดและปลอบจนชิน ก็จะรู้สึกว่าโลกนี้มันโอเค มีคนซัพพอร์ต โตมามีแนวโน้มที่จะเป็นคน ‘Secure’ รู้สึกมั่นคงในความสัมพันธ์

 


 

 

คนที่โตมาแบบไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อเรียกร้องความสนใจ มักโตมาเป็นคนแบบ Anxious-Ambivalent คืออยากมีความรักนะ แต่จะหวาดระแวง กลัวว่าอีกฝ่ายไม่รักจริง กลัวการถูกทอดทิ้ง

 


 

 

ถ้าตอนเด็กๆ ไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าไร ต้องพึ่งตัวเองมาตลอด ก็อาจจะกลายเป็นคนแบบ ‘Avoidant’ คือชินกับการอยู่คนเดียว ไม่อยากผูกพันกับใคร กลัวการใกล้ชิด จะขีดเส้นพื้นที่ส่วนตัวชัดเจน

 


 

 

ที่แย่ไปกว่านั้น ถ้าตอนเด็กๆ เจอเรื่องแย่ๆ หรือโดนทำร้าย ทำให้มีปมในใจมากๆ ก็อาจจะกลายเป็น ‘Disorganized’ คือไม่รู้จะเอายังไงกับความรักดี จะรักก็กลัว จะเลิกก็กลัวตัวเองเหงา

 


 

 

แต่ ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ไม่ใช่สิ่งที่ต้องติดตัวเราไปตลอดชีวิตหรอกนะ ถ้าเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนี้ มันคือสเต็ปแรกที่จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีรักของตัวเองได้

 


 

 

ลองฝึกทำความเข้าใจ ‘พิมพ์เขียว’ ในใจจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและคนอื่นมากขึ้น ทำให้รู้ว่าเราสามารถออกแบบความสัมพันธ์ที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง และมีสิทธิ์ที่จะมีความสุขในความรักได้เหมือนกัน 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

The post Attachment Theory: แกะรอย ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ทำไมโตมาเป็นคนแบบนี้? appeared first on THE STANDARD.

]]>
หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) แพทย์ความงามผู้เข้าถึงใจคนไข้ดั่งนักจิตเวช https://thestandard.co/life/prae-thirada-aesthetic-doctor Fri, 25 Apr 2025 04:54:15 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1068043 Prae Thirada aesthetic-doctor

ความสุขจากการดูแลรักษาความเจ็บป่วยและฟื้นฟูสุขภาพของเพื […]

The post หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) แพทย์ความงามผู้เข้าถึงใจคนไข้ดั่งนักจิตเวช appeared first on THE STANDARD.

]]>
Prae Thirada aesthetic-doctor

ความสุขจากการดูแลรักษาความเจ็บป่วยและฟื้นฟูสุขภาพของเพื่อนมนุษย์คือความทรงจำอันงดงามที่ประทับอยู่ในใจ หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) ตั้งแต่วันแรกที่เธอสวมชุดกาวน์ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ในฐานะแพทย์ด้านความงามอย่างเต็มตัว เธอได้พบโลกอีกใบที่เปี่ยมด้วยความหมายและความสวยงามไปอีกแบบ

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

หมอแพรค้นพบว่า การดูแลด้านความงามนั้นเป็นการเดินทางที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนยิ่งกว่า เป็นการตอบสนองความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความต้องการที่จะดูดีขึ้น  และการทำความเข้าใจความรู้สึก ความคาดหวังของคนไข้แต่ละรายนั้น ก็ไม่ต่างจากการทำงานของแพทย์จิตเวชที่ต้องเข้าถึงเบื้องลึกของจิตใจ เพื่อเติมเต็มสิ่งที่คนไข้มองหา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การได้ช่วยให้ทุกคนที่เข้ามานั้นสวยและดูดีที่สุดในแบบฉบับของตนเอง เช่นเดียวกับแนวคิดอันเป็นหัวใจของ Romrawin อย่าง ‘For the Better You’

เบื้องหลังรอยยิ้มแห่งความสุขและความมั่นใจบนใบหน้าของคนไข้นั้น หมอแพรต้องเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใดบ้าง ค้นพบเรื่องราวและแรงบันดาลใจของเธอได้ใน Passion Calling x Romrawin with Dr.Prae Thirada

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

พอมาทำด้านความงาม หมอแพรรู้สึกว่าแตกต่างจากการเป็นแพทย์ทั่วไปมากไหม 

 

หมอแพร: ถ้าการรักษาโรคส่วนใหญ่ เวลาเจอคนไข้ที่ป่วยมาแล้วเราก็ดูแลเขา ทำให้เขาดีขึ้น อาจจะมีข้อคำแนะนำต่างๆ ที่ทำอย่างไรให้โรคมันไม่หนักขึ้น หรือไม่เป็นมากขึ้น แต่สำหรับความงามบางคนไม่ได้มาด้วยการที่มีโรคมาแล้ว เขาจะมาด้วยความที่เขาจะดีกว่าเดิมได้อย่างไร จะสวยกว่าเดิมได้อย่างไร มันก็เป็นสิ่งที่เราก็ต้องค้นหา แล้วก็ต้องคุยกัน เป็นเรื่องของการ Consult ค่อนข้างเยอะมากๆ ว่าเรามีความต้องการตรงกันไหม คนไข้อาจจะอยากสวยแบบหนึ่ง แต่หมอก็มองว่าแบบนี้อาจจะเหมาะกว่า ซึ่งมันก็ต้องเป็นการจูนกันมากกว่า เพราะฉะนั้นการทำงานก็เลยแตกต่างกันค่ะ

 

เราต้องเข้าไปในใจคนไข้เยอะพอสมควร

 

หมอแพร: ใช่ เราต้องเข้าใจจิตใจเขาว่าสิ่งที่เขากังวลมันคืออะไร ไม่เหมือนการรักษาโรคเนอะ โรคก็คือป่วยมาแล้ว เรื่องของ Aesthetic เป็นเรื่องที่ได้เรียนรู้อีกในหลายๆ มิติ การทำงานกับคนไข้เนี่ย มันไม่ใช่แค่ว่าเดินมา แล้วเราก็จิ้มๆ กลับบ้าน หรือว่าจ่ายยากลับบ้าน มันเป็นการดูแลระยะยาว

 

จะว่าไปเหมือนหมอด้านสุขภาพจิตเลย 

หมอแพร: ใช่ค่ะ มีคนไข้เคยพูดว่า หมอเป็นคนที่ทำให้เขามีความสุขกับการที่เขาดูดีขึ้น เพื่อนรอบข้างชม ทำอะไรมา สวยขึ้นเนอะ หมอเป็นเหมือนหมอจิตเวชคนหนึ่งของพี่เลยอะไรอย่างนี้ เราก็รู้สึกว่า เออ เราไม่ได้เรียนจิตเวชนะ แต่เราก็สามารถทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นในอีกมิติหนึ่งได้

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

รู้สึกอย่างไรที่ได้ยินคนไข้พูดแบบนั้น

 

หมอแพร: รู้สึกดีใจนะ รู้สึกว่าต่อให้เราไม่ได้เป็นหมอผ่าตัดหรือปั๊มหัวใจคนไข้ขึ้นมา  แต่ว่าเราก็เป็นการดูแลคนไข้ในอีกแบบหนึ่ง ก็มีความภูมิใจในสิ่งที่เราทำอยู่ เราทำให้เขามีความสุข มันคือสิ่งที่สวยงามของโลกใบนี้ เพราะคนที่อยู่ร่วมกัน แล้วช่วยกันให้แต่ละคนมีความสุขได้ มันก็เป็นสิ่งที่ดี 

 

มีเคสไหนที่หมอแพรรู้สึกประทับใจไม่มีวันลืมเลยบ้างไหม

 

หมอแพร: จริงๆ ก็เป็นเคสนี้แหละ ที่เขาพูดถึงเรื่องจิตเวช เพราะเราก่อนหน้านั้นก็ไม่เคยคิดนะ ว่าเราเป็นหมอที่จะดูแลทางด้านดูแลจิตใจขนาดนั้น คือเราแค่มาแล้วก็ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ว่าสุดท้ายมันกลายเป็นว่า มันอาจจะเติมเต็มอะไรบางอย่างในชีวิตเขาก็ได้ บางคนอาจจะมีปมในใจบางอย่าง ที่รู้สึกว่าอันนี้มันเป็นปัญหาเขามากเลย แต่พอเราแก้ได้มันกลายเป็นว่า เขารู้สึกขอบคุณที่ทำให้เขามาถึงจุดนี้ได้ 

 

เมื่อครู่เป็นเคสที่ประทับใจ มีเคสไหนที่รู้สึกท้าท้ายที่สุดบ้างไหม 

 

หมอแพร: มันก็จะมียาก 2 อย่าง ยากอย่างแรกก็คือ ยากจากการเปลี่ยน เปลี่ยนความต้องการจากเดิมที่เขามาด้วยโจทย์ที่ยากมาก เช่น การอยากสวยแบบโมเดลคนหนึ่งในเกาหลีอะไรอย่างนี้ ซึ่งอันนั้นน่ะ ยาก ยากตั้งแต่การ Consult แล้ว ต้องคุยให้รู้เรื่องก่อนว่าหมอไม่สามารถทำได้ อะไรที่หมอทำได้หมอก็จะ Commit ว่าเราทำได้ แต่อะไรที่ทำไม่ได้ เราก็ต้องยอมรับตรงๆ ว่าเราอาจจะทำได้แค่นี้ ซึ่งเขาโอเคไหม 

ความต้องการในเรื่องของความสวยเนี่ยมันไม่มีขีดจำกัด สวยของคนไข้กับสวยของหมอก็ไม่เหมือนกัน คนไข้จะชอบถามว่า จะดีขึ้นได้กี่เปอร์เซ็นต์ คำว่าเปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่ตอบไม่ได้เลย เพราะว่าเปอร์เซ็นต์คนไม่เท่ากัน 

อันที่ 2 ก็คือถ้าเป็นคนไข้ที่มีความผิดปกติในการคาดหวังอยู่แล้ว ที่เป็นกลุ่ม Body Dysmorphic มันก็เป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งอันนี้เราก็ต้องพยายามดูให้ออกว่าเขาเป็นคนกลุ่มนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นคนกลุ่มนี้ แปลว่าเขาจะไม่มีความพอใจในความสวย เราทำให้สวยแหละ คนอื่นมองว่าสวยแหละ แต่ว่าคนไข้อาจจะบอกไม่ ไม่พอใจ ไม่สวย กลุ่มนี้หมอก็จะหลีกเลี่ยง ก็จะแนะนำว่า อาจจะไปหาหมอท่านอื่น หรือว่าลอง Consult หลายๆ ที่ดูก่อน ก็จะปลอดภัยกับทุกๆ ฝ่ายมากกว่า

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

อย่างที่หมอแพรบอกว่า สวยเรากับสวยเขาก็ไม่เหมือนกัน อยากรู้ว่านิยามความสวยในแบบของหมอแพรคือแบบไหน

 

หมอแพร: ถ้าความสวยในมุมเรา ที่คิดว่าสวยแล้วคือ ภายในเราต้องสวยด้วยทัศนคติในการใช้ชีวิตแต่ละวัน  เพราะว่ามิติความสุขในชีวิตมันไม่ใช่แค่ความสวยจากหน้าตา มันรวมทั้งครอบครัว  การออกกำลังกาย การที่ได้มีเวลาไปใช้ชีวิต ทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราก็จะรู้สึกว่าเรามีความเติมเต็มในชีวิตที่เราเกิดมาหนึ่งชีวิตละ 

ส่วนความสวยในรูปแบบภายนอกเนี่ย เราก็เติมเต็มในจุดที่มันพร่องไป ดูแลให้มันไม่ไปเกินอายุเรา แล้วที่สำคัญก็ต้องมีความสุขในทุกๆ วันด้วย

 

อย่าไปโฟกัสที่ภายนอกอย่างเดียว 

 

หมอแพร: ใช่ ฉันอยากจะมีปากแบบคนนั้นหรือว่าตาต้องเป็นแบบนั้น แต่บางทีรวมกันมันก็ไม่สวยนะ หรือแม้แต่หน้าแบบสวยมาก แบบอาจจะเหมือนถอดแบบมาจากนางแบบเลย แต่ว่าในใจเรามันไม่มีความสุข บางคนมองก็จะรู้ว่า เรามีความทุกข์อะไรบางอย่าง ต่อให้หน้าสวย แต่ว่าเราไม่อยากคุยด้วยเพราะรู้สึกว่าไม่สดใส  

 

เชื่อว่ามีกรณีคนไข้ที่ยังไม่เคยได้ทำหัตถการอะไรมาก่อนแล้วมีความกลัว กังวลกับทุกสิ่งมากเป็นพิเศษ หมอแพรรับมือกับคนไข้ประเภทนี้อย่างไร 

 

หมอแพร: ก็คงต้องคุยก่อนว่าจุดที่ทำให้เขาเดินมาในคลินิกเนี่ยคืออะไร สมมติร่องนี้มีเป็น 10 ปีแล้ว อะไรที่มันทำให้เขาต้องเดินมาทำ คือเหมือนอาจจะหาแรงจูงใจของเขาก่อน แล้วหาว่าเครื่องมืออะไรที่จะตอบเขาได้ 

 

ก็จะมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งที่ทำทุกอย่างได้เลย เปิดใจกันหมด จะทำ จะฉีด จะเครื่องอะไรได้หมด กับอีกกลุ่มหนึ่งก็คือยังไม่เคยทำอะไรมาเลย ขอแบบเริ่มต้นเล็กๆ ก่อน หมอก็เข้าใจค่ะ เพราะว่าทุกคนมันไม่ได้เดินมา แล้วก็แบบอยากจะโดนเข็มอะไรอย่างนี้ 

จริงๆ หมอก็จะคุยกับคนไข้อยู่แล้วว่า สิ่งสำคัญของการที่ดูแลหน้าให้ดีในระยะยาว มันไม่ใช่การฉีดอย่างเดียว เพราะว่ามันคือเหมือนแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วยซ้ำ แต่ต้นเหตุคือ คุณนอนดีไหม ออกกำลังกายสม่ำเสมอไหม เรื่องของความเครียดพวกนี้ก็มีผล เรื่องของ Aging เกิดจากสิ่งเหล่านั้นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่อง 6 เสาหลักของ Lifestyle Medicine ในยุคนี้

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

เพราะฉะนั้นถ้าเขาอยากให้หน้าดูดีขึ้นแล้วระยะยาวไม่เสื่อมโทรมลงเร็ว มิติอื่นเขาก็ดูด้วย แต่ว่าวันนี้หมอจะช่วยมิติที่เราทำได้เลย ผลบางอย่างมันอาจจะเห็นเลย บางอย่างก็อาจจะต้องรอหน่อย และการบำรุงเนี่ย สำคัญมากๆ นะคะในทุกๆ วัน หมอจะมีตัวช่วยในแง่ที่ว่าเรามาทำเป็นครั้งคราว เพราะบางอย่างบำรุงทำไม่ได้ เดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องเยอะแยะมากมาย ที่ช่วยยกชั้นลึกด้วย ชั้นตื้นด้วย การเติมเต็มบางอย่าง หรือการกระตุ้นพวกคอลลาเจน อิลาสตินต่างๆ  

 

บางคนก็มาแบบพี่ไม่อยากทำอะไรเยอะ ไม่อยากให้คนเห็นเปลี่ยนอะไรเยอะ แต่อยากแค่ดูดีขึ้น ก็เริ่มจากการทำเครื่องก่อนค่ะ แต่สุดท้ายก็คือครบทุกอย่างที่คลินิกมีแล้วเขาก็แฮปปี้มาก แล้วก็บอกว่า  ไม่รู้มาไกลกันได้ขนาดนี้ จากจุดเริ่มต้นคือไม่ได้อยากทำอะไรมาก 

 

ก็สนุกดี รู้สึกมีความสุขกับการที่เราได้เห็นเขาสวยขึ้นในทุกๆ ครั้งที่เจอกัน  มันก็เหมือนฮีลใจเราด้วย เพราะเราก็อยากให้เขาดูดี เขาก็มาบอกเราว่า  ขอบคุณนะที่เราทำให้เขาดูดีขึ้น ก็มีความสุขไปด้วยกันค่ะ

 

โดยส่วนตัวแล้ว หมอแพรชอบทำดูแลตัวเองอย่างไรเป็นพิเศษ

หมอแพร: หมอเป็นคนชอบบำรุงอยู่แล้ว แต่สิ่งที่บำรุงทำไม่ได้ก็คือหัตถการบางอย่าง เช่น กลุ่มยกกระชับ เราก็ใช้เครื่องอย่างน้อยก็ประมาณ 6-8 เดือนครั้ง หรือหนึ่งปีครั้ง ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องของการเติมเต็มบางอย่าง เช่น Hyaluronic Acid  หรือว่าเป็นกลุ่ม Biostimulator ที่ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิว พออายุเยอะขึ้น มันก็ทำให้คอลลาเจนกับอีลาสตินมันเสื่อมตามกาลเวลาอยู่แล้ว เราก็อาจจะใส่กลุ่มพวกนี้เพื่อไปเสริมทำให้ผิวมันแน่นด้วยตัวเองได้บ้าง 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

เชื่อว่าจริงๆ พอหมอดูแลตัวเองออกมาได้ดี มันก็สะท้อนออกมาเป็นความมั่นใจให้กับคนไข้ 

หมอแพร: ใช่แล้ว ส่วนใหญ่คนไข้มา Consult ก็คืออยากได้หน้าแบบหมอ  เราก็มั่นใจในการตอบเขาได้ว่า เราเป็นอย่างนี้ได้เพราะอะไร เราดูแลอย่างไรมาบ้าง 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

จากประสบการณ์ 15 ปี ในแวดวงการแพทย์และความงาม หมอแพรได้เรียนรู้อะไรบ้าง

หมอแพร: แพทย์ด้านความงามเนี่ย มันเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเรื่องความรู้ การอัปเดตเทคโนโลยี ยาหรือเครื่องมือต่างๆ มันก็ทำให้เราได้พัฒนาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา งานประชุมคือเยอะมากจริงๆ เพราะเราจะต้องรู้ว่าแต่ละอย่างมันเหมาะกับใคร แล้วมันมีข้อห้ามอะไรไหม อะไรที่มันปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัยกับคนไข้ประเภทไหน แล้วก็ต้องวินิจฉัยคนไข้ให้ถูกต้องในแง่ที่ว่าเราจะใช้อะไรในการรักษาเขา คนนี้ใช้อันนี้ได้ไหม แล้วไปใช้อันนั้นได้ไหม หรือใช้ร่วมกันแล้วมันจะเป็นอย่างไร แล้วมันมีข้อควรระวังในคนไข้แต่ละกลุ่มโรคไหม  ซึ่งอันนี้ก็ต้องเป็นสิ่งที่เราก็ต้องเรียนรู้นะคะ

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

ได้ความรู้จากการพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วก็ได้ในเรื่องการสื่อสาร ทำให้เราได้พัฒนาเรื่องคนมากขึ้น และที่สำคัญก็คือได้ในเรื่องของความสุข เราเห็นผลลัพธ์แล้วคนไข้แฮปปี้

 

‘For the Better You’ ในแบบฉบับของหมอแพรคืออะไร 

 

หมอแพร: เราเป็นเราแบบนี้แหละ แต่ว่าเราดูดีขึ้นในทุกๆ วัน ในทุกๆ เดือน ในทุกๆ ปี คนเห็นหน้าเราก็อาจจะทักว่าเจอกันทีไรก็ยังเหมือนเดิมเลยนะ ไม่แก่ลงเลย หรือว่าดูดีขึ้นในทุกๆ ครั้ง แล้วก็ที่สำคัญคือ จากภายในด้วยค่ะ

 

อยากฝากอะไรถึงคนที่ไม่เคยมั่นใจในความสวยตัวเอง

 

หมอแพร: ถ้าคนไม่เคยมั่นใจในความสวย อย่างแรกก็คงต้องเดินมาคุยกันก่อนว่า ความไม่มั่นใจของเขามันคือจุดไหน หมออาจจะช่วยปรับแก้แค่บางจุดที่จะทำให้เขาดูดีขึ้น แน่นอนว่าความมั่นใจของแต่ละคนมันไม่พอดี หมอว่าทำตรงนี้แล้วสวย แต่เขาอาจจะรู้สึกว่ามันยังไม่พอ ก็อาจจะต้องค่อยๆ ลองทำดู และแก้กันไปแต่ว่าไม่มีอะไรที่แก้ไม่ได้ ทุกอย่างมันแก้ได้หมด 

 

คนไข้จะถามอย่างนี้เยอะมากว่า หมอเห็นหน้าพี่แล้วหมอคิดว่าพี่ต้องทำอะไร ก็เป็นโจทย์ที่แบบเราจะดีไซน์อย่างไรดีเนอะ ให้มันดูดีขึ้น มันเป็นอาร์ตเหมือนกันนะคะ น่าสนุก แต่ท้าทายเพราะว่าไม่รู้ว่าถูกใจหรือเปล่า 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

อยากฝากอะไรถึงคนเขาที่อยากเริ่มเข้าวงการคลินิก

หมอแพร: ปัจจุบันคลินิกความงามก็มีเยอะนะคะ หรือว่าสถาบันต่างๆ มากมาย ที่ดูแลเรื่องความสวยงาม ก็ต้องเลือกสถานที่ที่มีมาตรฐาน ยามีมาตรฐาน  คุณหมอเป็นคุณหมอจริงๆ ที่ทำการรักษาให้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ มันคือความปลอดภัยของตัวคนไข้เอง แล้วก็มีมาตรฐานในการดูแลรักษาหลังจากนั้นให้เหมาะสม

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

การเข้าวงการไม่ได้แปลว่าคุณต้องเข้ามาฉีดอย่างเดียว แต่มันจะเป็นการชะลออายุผิวของเขา อาจจะเป็นเครื่องมือก่อนก็ได้นะคะ ทำไม่บ่อยก็ได้ ถ้าอายุยังไม่เยอะ เราไม่ต้องทำเยอะ แต่ทำเรื่อยๆ เป็นการ Maintain ก็ต้องบอกว่าเด็กยุคนี้ก็โชคดีที่มีเครื่องมือเยอะ ที่จะตอบสนองทั้งเจ็บมาก เจ็บน้อย หรือเอาไม่เจ็บ ก็แนะนำว่าถ้าอยากจะเข้า ก็ลองเริ่มเข้าดูค่ะ มันไม่มีอะไรน่ากลัว แล้วก็ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราเป็นคนเลือก หมอมีหน้าที่แค่แนะนำ เหมือนวินิจฉัยให้ แนะทางเลือกในการรักษา แต่คนไข้จะเป็นคนเลือกเองค่ะ 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

Romrawin Clinic

Open: ตรวจเวลาทำการได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Address: ตรวจสอบสาขาได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Tel: 08 0153 9000, 08 0154 9000

Website: https://www.romrawin.com

Instagram: https://www.instagram.com/romrawinclinic

Facebook: https://www.facebook.com/RomrawinClinic

The post หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) แพทย์ความงามผู้เข้าถึงใจคนไข้ดั่งนักจิตเวช appeared first on THE STANDARD.

]]>
Diptyque เปิดตัว Home Fragrance Diffuser ใหม่ล่าสุด พร้อมดีไซน์ขวดสุดหรู https://thestandard.co/life/diptyque-home-fragrance-diffuser Thu, 24 Apr 2025 06:14:14 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1067730 diptyque-home-fragrance-diffuser

สาวๆ คนรักกลิ่นหอมจะต้องฟินแน่ๆ เมื่อ Diptyque แบรนด์น้ […]

The post Diptyque เปิดตัว Home Fragrance Diffuser ใหม่ล่าสุด พร้อมดีไซน์ขวดสุดหรู appeared first on THE STANDARD.

]]>
diptyque-home-fragrance-diffuser

สาวๆ คนรักกลิ่นหอมจะต้องฟินแน่ๆ เมื่อ Diptyque แบรนด์น้ำหอมสุดหรูจากปารีสที่หลายคนหลงรัก เปิดตัวคอลเล็กชันใหม่ล่าสุดในรูปแบบ Home Fragrance Diffuser ที่ใช้เทคนิค Cold Diffusion สุดพิเศษ พร้อมดีไซน์ขวดทรงโค้งมนสวยงาม เรียบหรูดูมีระดับ

 

จุดเด่นของคอลเล็กชันนี้คือมีให้เลือกถึง 3 ขนาด โดยไฮไลต์อยู่ที่ Large Diffuser ความจุถึง 2 ลิตรที่รังสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคการเป่าแก้ว (Blow Glass) จากช่างผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส ทำให้ได้ขวดแก้วใสรูปทรงโค้งมนเป็นริ้วๆ ที่สะท้อนแสงได้อย่างสวยงาม พร้อมโลโก้ Diptyque Paris อันเป็นเอกลักษณ์ พิเศษกว่านั้น คอลเล็กชันนี้มาพร้อมกลิ่น The Ambre (Amber) ใหม่ล่าสุดที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมอย่างพิถีพิถันสำหรับการกระจายแบบเย็น และวางตำแหน่งเคียงข้างกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ อีก 7 กลิ่น classic signature เช่น Figuier (Fig Tree), Baies (Berries), Roses, Fleur d’Oranger (Orange Blossom), Tubéreuse (Tuberose), Mimosa และ 34

 

เครื่องกระจายกลิ่นนี้สามารถเติมน้ำหอมได้อย่างไม่จำกัดด้วย Refill บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียม ให้คุณเลือกและสลับกลิ่นหอมเพื่อปรับแต่งพื้นที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ อีกทั้งยังเสริมประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสด้วยอุปกรณ์เสริมชิ้นใหม่อย่างจุกปิดเพื่อหยุดการกระจายกลิ่นชั่วคราว เพิ่มความหรูหราให้กับช่วงเวลาการใช้งานมากยิ่งขึ้น

 

สำหรับสาวๆ ที่กำลังมองหาไอเท็มตกแต่งบ้านที่นอกจากจะสวยแล้วยังให้กลิ่นหอมละมุนแล้ว บอกเลยว่าคอลเล็กชันใหม่จาก Diptyque น่าจับตามองมาก เพราะนอกจากจะได้กลิ่นหอมคุณภาพแล้ว ดีไซน์ขวดสวยๆ ยังเป็นไอเท็มตกแต่งบ้านชิ้นเก๋ได้อีกด้วย!

 

สัมผัสความหอมเหนือระดับได้แล้วที่ Diptyque ทุกสาขา

The post Diptyque เปิดตัว Home Fragrance Diffuser ใหม่ล่าสุด พร้อมดีไซน์ขวดสุดหรู appeared first on THE STANDARD.

]]>
คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ https://thestandard.co/life/surviving-heat-wave-guide Wed, 23 Apr 2025 06:09:12 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1067264 วิธีรับมือกับ คลื่นความร้อน ในช่วงเดือนเมษายน ด้วย 6 เทคนิคเอาตัวรอดจากอากาศร้อนจัด

ในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนข […]

The post คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิธีรับมือกับ คลื่นความร้อน ในช่วงเดือนเมษายน ด้วย 6 เทคนิคเอาตัวรอดจากอากาศร้อนจัด

ในช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนของทุกปี การดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากความร้อนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคลื่นความร้อนสามารถส่งผลต่อสุขภาพให้แย่ลงและเป็นอันตรายได้ LIFE จึงรวบรวมวิธีรับมือกับคลื่นความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมคำแนะนำที่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากผู้อ่าน เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยในเดือนที่คาดว่าจะร้อนที่สุด

 

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงอากาศร้อน เพราะร่างกายสูญเสียน้ำผ่านเหงื่อมากกว่าปกติ ควรจิบน้ำเป็นประจำตลอดวัน ไม่ควรรอจนกระหายน้ำจึงดื่ม เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายเริ่มขาดน้ำแล้ว

 

2. เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม

สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อผ้าโปร่ง และหลวมสบายที่ช่วยระบายอากาศได้ดี ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเข้มและรัดรูปในช่วงอากาศร้อน

 

3. หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด

ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุด หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรสวมหมวก แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดให้ทั่วผิวที่จะสัมผัสแสงแดด

 

4. รับประทานอาหารที่เหมาะสม

เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง เช่น ผักสด ผลไม้ และซุปใส ลดการบริโภคอาหารทอดหรืออาหารไขมันสูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้เพิ่มความร้อนให้กับร่างกายในกระบวนการย่อย

 

5. มีอุปกรณ์ช่วยคลายร้อนติดตัว

พกพาอุปกรณ์ช่วยคลายร้อน เช่น สเปรย์น้ำแร่ พัดลมมือถือ หรือผ้าเย็น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายเมื่อจำเป็น อุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

 

6. สังเกตอาการผิดปกติ

เฝ้าระวังอาการบ่งชี้ของภาวะเจ็บป่วยจากความร้อน เช่น อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลียผิดปกติ หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดพักในที่ร่ม ดื่มน้ำ และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

 

ภาพ: Shutterstock

The post คู่มือเอาตัวรอดจากคลื่นความร้อนตลอดเดือนนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมยังฝันถึงแฟนเก่า…ทั้งที่ไม่ได้รักแล้ว? https://thestandard.co/life/why-dream-about-ex Wed, 23 Apr 2025 00:22:49 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1067067 ภาพประกอบแสดงความหมายของการ ฝันถึงแฟนเก่า เมื่อความรักจบลงแล้วแต่ยังปรากฏในความฝัน

ภาพ เสียง และความรู้สึก ค่อยๆ จางไปเมื่อตื่นจากห้วงความ […]

The post ทำไมยังฝันถึงแฟนเก่า…ทั้งที่ไม่ได้รักแล้ว? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภาพประกอบแสดงความหมายของการ ฝันถึงแฟนเก่า เมื่อความรักจบลงแล้วแต่ยังปรากฏในความฝัน

ภาพ เสียง และความรู้สึก ค่อยๆ จางไปเมื่อตื่นจากห้วงความฝัน “จริงๆ ตอนนั้นก็ดีนะ…แต่ตอนนี้ก็ดีเหมือนกัน” แม้จะเลิกราไปนาน ต่างมูฟออนไปเติบโต ใช้ชีวิตในเส้นทางที่ใช่ แต่ทำไมเรายังฝันถึงเขาอยู่? เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามในใจใครหลายคนที่ยังเจอหน้าคนรักเก่าในฝันอยู่เรื่อยมา 

 

มีหลายทฤษฎีอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของความฝันไว้ว่า การฝันเป็นการประมวลผลความทรงจำเพื่อจัดระเบียบข้อมูลและถ่ายโอนความจำ บ้างก็เป็นการจำลองภัยคุกคามเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความอันตราย ตลอดจนการแสดงความปรารถนาที่ถูกเก็บกดไว้ในจิตใต้สำนึก 

 

อย่างไรก็ตาม ความฝันเป็นสิ่งที่ซับซ้อน และบางครั้งมันก็ไม่ได้สะท้อนความปรารถนาที่อยู่ในจิตสำนึกของเราเสมอไป แต่อาจเกิดจากหลายสาเหตุที่พาเราหวนคืนสู่อดีตในชั่วขณะ 

 

ประมวลเรื่องราวในอดีต

สมองของเราไม่ได้ทำหน้าที่เพียงเก็บความทรงจำ แต่ยังประมวลผลความทรงจำเหล่านั้นโดยเฉพาะตอนที่เราหลับ การฝันถึงแฟนเก่าอาจเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของเรากำลังคัดกรองประสบการณ์ อารมณ์ หรือบทเรียนที่ได้รับจากความสัมพันธ์นั้น แล้วพยายามทำความเข้าใจและเรียนรู้จากมัน 

 

สัญลักษณ์

บางทีแฟนเก่าในฝันอาจไม่ได้อยู่ในฟอร์มบุคคล แต่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งอื่นในชีวิตคุณก็ได้ อาจเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิต รูปแบบพฤติกรรม คุณสมบัติที่คุณกำลังมองหาหรือพยายามหลีกเลี่ยง เช่น การฝันถึงรักแรกอาจเป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสา ความสดใสของการมีรักครั้งแรก ในขณะที่การฝันถึงแฟนเก่าที่ Toxic อาจเป็นตัวแทนของความกลัวที่จะถูกควบคุมในความสัมพันธ์ปัจจุบัน รวมไปถึงความกลัวต่อความสัมพันธ์ครั้งใหม่ที่ยังไม่เกิด

 

จุดจบของความสัมพันธ์

หากความสัมพันธ์จบลงโดยไม่มีการเคลียร์ปัญหาหรือทำความเข้าใจกันอย่างชัดเจน ความฝันอาจเป็นความพยายามของจิตใจคุณในการค้นหาการจบด้วยดี แม้คุณจะไม่รู้สึกว่าต้องการมันในจิตสำนึกก็ตาม คุณอาจฝันถึงการสนทนาที่ไม่เคยมี การได้รับคำขอโทษที่ไม่เคยได้รับ หรือการเคลียร์ใจว่าทำไมทุกอย่างถึงจบลง

 

สิ่งกระตุ้น

สิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตปัจจุบันอาจเป็นตัวกระตุ้นความทรงจำเกี่ยวกับแฟนเก่าก็เป็นได้ เช่น สถานที่ที่เคยไปด้วยกัน เพลงที่เคยร้องด้วยกัน บุคลิกของใครบางคนที่มีความคล้ายคลึงกัน หรือแม้แต่ความรู้สึกเปราะบางในบางห้วงอารมณ์ก็ล้วนสามารถกระตุ้นความฝันเกี่ยวกับแฟนเก่าได้

 

ความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ช่วงเวลาที่เครียดหรือมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เช่น งานใหม่ การย้ายบ้าน หรือความสัมพันธ์ใหม่ ล้วนสามารถทำให้เราหวนกลับไปมองอดีตได้ จิตใจของเราอาจกลับไปทบทวนอดีตเพื่อค้นหารูปแบบ เปรียบเทียบ หรือจัดการกับความท้าทายในปัจจุบัน และแฟนเก่าก็อาจเป็นหนึ่งในตัวละครที่ปรากฏตัวในความฝัน

 

สุดท้าย…ความฝันก็คือความฝัน

อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือปล่อยให้ความฝันรบกวนชีวิตในปัจจุบันมากนัก เพราะความฝันก็คือความฝัน การฝันถึงแฟนเก่าไม่ได้หมายความว่าคุณอยากกลับไปคืนดีกับเขาเสมอไป ลองสำรวจจิตใจตัวเองดูว่าอะไรอาจเป็นตัวกระตุ้นความฝันบ้าง รีเช็กความรู้สึกที่มีในฝัน เศร้า โกรธ ดีใจ กลัว หรือเสียใจ อารมณ์เหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับชีวิตและสภาวะทางอารมณ์ในปัจจุบันของคุณก็ได้ นี่อาจเป็นโอกาสในการค้นพบตัวเองที่ช่วยให้คุณเติบโตขึ้นอีกก้าวก็ได้นะ 

 

อ้างอิง:

The post ทำไมยังฝันถึงแฟนเก่า…ทั้งที่ไม่ได้รักแล้ว? appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก Inner Child Healing วิธีเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา https://thestandard.co/life/inner-child-healing Tue, 22 Apr 2025 03:00:11 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1066706

Inner Child Healing หรือการเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา ค […]

The post รู้จัก Inner Child Healing วิธีเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>

Inner Child Healing หรือการเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา คือแนวคิดทางจิตวิทยาที่เชื่อว่าในตัวของผู้ใหญ่ทุกคนมี ‘เด็กน้อย’ ซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นตัวแทนของประสบการณ์ในวัยเด็ก โดยเฉพาะประสบการณ์ที่อาจมีความเจ็บปวด ความกลัว ความรู้สึกถูกทอดทิ้ง หรือความเปราะบางทางจิตใจที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา

 

ในวัยเด็กเรามักเก็บประสบการณ์ที่กระทบจิตใจหรืออารมณ์ไว้โดยไม่รู้ตัว และแม้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความรู้สึกเหล่านั้นยังฝังอยู่ลึกๆ และส่งผลต่ออารมณ์ ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมในปัจจุบันของเราโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น กลัวการถูกทิ้งเพราะเคยรู้สึกว่าถูกละเลยในวัยเด็ก ขาดความมั่นใจเพราะเคยถูกวิจารณ์หรือเปรียบเทียบ ไม่กล้าแสดงความรู้สึกเพราะเคยถูกปฏิเสธ หรือไม่ได้รับการรับฟัง

 

ประโยชน์ของ Inner Child Healing ต่อการเติบโตและมีความสุขในชีวิตมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม Self-Esteem และความมั่นใจ ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองและคนอื่น สร้างความเข้าใจในอารมณ์ และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น รวมถึงการปล่อยวางความเจ็บปวดในอดีต มีชีวิตในปัจจุบันที่มีความสุขกว่าเดิม

 


 

Inner Child Healing คือกระบวนการที่เรากลับไปเผชิญหน้ากับอารมณ์และความทรงจำเหล่านั้นอีกครั้งด้วยทัศนคติที่เป็นผู้ใหญ่ มีเมตตา และความรัก เพื่อช่วยให้ ‘เด็กน้อย’ ที่อยู่ในตัวเราได้รับการดูแล เข้าใจ และปลอบประโลม กระบวนการนี้ช่วยให้เราสามารถรับรู้และเข้าใจที่มาของอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ ปล่อยวางความเจ็บปวดในอดีตที่ติดอยู่ในใจ เรียนรู้ที่จะรักและยอมรับตัวเองมากขึ้น เพิ่มความมั่นใจและความมั่นคงทางอารมณ์ในชีวิตปัจจุบัน

 

ตัวอย่างวิธีการเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา (Inner Child Healing) มีหลายวิธี เช่น การพูดคุยกับเด็กภายในตัวเอง (Inner Child Dialogue) คือการพูดกับตัวเองด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนเหมือนเรากำลังปลอบเด็กน้อยคนหนึ่ง การเขียนจดหมายถึงตัวเองในวัยเด็ก (Inner Child Letter) เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ ความรู้สึก และแสดงความรักต่อ ‘ตัวเองในวัยเด็ก’ การทำสมาธิแบบ Inner Child Meditation เพื่อพบและสวมกอดตัวเองในวัยเด็กด้วยจินตภาพที่ชัดเจน และการทำกิจกรรมที่รักในวัยเด็ก เช่น วาดรูป เล่นเกม หรือทำขนม สิ่งที่ทำให้จิตใจรู้สึกผ่อนคลายเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

 

ประโยชน์ของ Inner Child Healing ต่อการเติบโตและมีความสุขในชีวิตมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม Self-Esteem และความมั่นใจ ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองและคนอื่น สร้างความเข้าใจในอารมณ์และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น รวมถึงการปล่อยวางความเจ็บปวดในอดีต มีชีวิตในปัจจุบันที่มีความสุขกว่าเดิม

 

Inner Child Healing หรือการเยียวยาเด็กน้อยในตัวเอง สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ ทำด้วยตัวเองหรือทำร่วมกับนักจิตบำบัด ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนของปัญหาและความพร้อมของแต่ละบุคคล หากอยากเริ่มด้วยตัวเอง คุณอาจเขียนจดหมายถึงตัวเองในวัยเด็ก เพื่อบอกความรู้สึก ให้กำลังใจ และให้อภัยตัวเอง ฝึกสมาธิโดยการจินตนาการถึงตัวเองในวัยเด็ก เพื่อพูดคุยหรือกอดปลอบโยน ทำกิจกรรมที่เคยรักสมัยเด็ก เพื่อฟื้นคืนความสุขง่ายๆ หรือหมั่นพูดให้กำลังใจตัวเองในชีวิตประจำวันด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมทางอารมณ์และปัญหาไม่ซับซ้อนมาก แต่ถ้าปัญหาลึกซึ้งหรือส่งผลกระทบต่อชีวิตมากกว่า ควรปรึกษานักจิตบำบัดที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เข้าใจปมปัญหาได้ลึกซึ้ง ปลอดภัย และเป็นระบบมากขึ้น ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การพูดคุยบำบัด (Talk Therapy) ศิลปะบำบัด (Art Therapy) หรือการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) เพื่อช่วยให้คุณเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงที่สุด

 

สรุปง่ายๆ Inner Child Healing คือการกลับไปดูแลหัวใจตัวเองในวันที่เรายังเด็กและเปราะบางที่สุดด้วยสายตาแบบผู้ใหญ่ที่เข้าใจ ให้อภัย และพร้อมที่จะรักตัวเองในทุกๆ ช่วงเวลาอีกครั้ง

 

The post รู้จัก Inner Child Healing วิธีเยียวยาเด็กน้อยภายในตัวเรา appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จักแนวคิด Lagom ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตที่ ‘พอดี’ แบบสวีเดน https://thestandard.co/life/lagom-art-of-moderation Mon, 21 Apr 2025 01:50:51 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1066319 lagom-art-of-moderation

เคยรู้สึกไหมว่าชีวิตทุกวันนี้มัน ‘เยอะ’ ไปหมด? งานก็ต้อ […]

The post รู้จักแนวคิด Lagom ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตที่ ‘พอดี’ แบบสวีเดน appeared first on THE STANDARD.

]]>
lagom-art-of-moderation

เคยรู้สึกไหมว่าชีวิตทุกวันนี้มัน ‘เยอะ’ ไปหมด?


งานก็ต้องเร่ง ความฝันก็ต้องวิ่งตาม ความสัมพันธ์ก็อยากให้รอด แถมโลกยังคอยบอกเราว่า “ต้องมีมากกว่านี้ ถึงจะดีพอ” ถ้าคุณกำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ บางทีแนวคิดจากประเทศสวีเดนอย่าง ‘Lagom’ อาจเป็นสิ่งที่หัวใจคุณกำลังตามหาอยู่ก็ได้นะ

 

แนวคิด Lagom คืออะไรนะ?

 

คำว่า Lagom (อ่านว่า ลา-กอม) มาจากภาษาสวีเดน ไม่มีคำแปลตรงตัวในภาษาอื่น แต่ถ้าจะให้อธิบายสั้นๆ ก็อาจเทียบได้กับคำว่า ‘พอดี’ หรือ ‘พอเหมาะพอควร’ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป แค่ ‘พอดีๆ’ นั่นแหละ

 

แต่มันไม่ใช่แค่การตักข้าวให้ไม่เยอะเกิน หรือไม่ใช้เงินเกินงบ Lagom คือแนวทางการใช้ชีวิตที่เน้น ‘ความสมดุล’ ในทุกเรื่อง ตั้งแต่การทำงาน การพักผ่อน ความสัมพันธ์ ไปจนถึงการดูแลตัวเองเลยล่ะ

 

รากเหง้าที่อบอุ่นของคำว่า Lagom

 

นักภาษาศาสตร์บางคนบอกว่า คำนี้อาจมาจากวลีไวกิ้งโบราณ ‘Laget Om’ แปลว่า ‘รอบกลุ่ม’ คือสมัยก่อนเวลาเหล่าไวกิ้งดื่มน้ำผึ้งหมักจากเขาสัตว์ พวกเขาจะส่งต่อกันแบบจิบพอดีๆ เพื่อให้ทุกคนได้ลิ้มรส ไม่หมดก่อน ไม่ขาดตอน นั่นแหละ ‘พอดีเพื่อส่วนรวม’ ตั้งแต่ยุคโล่และขวานเลยทีเดียว

 

Lagom ไม่ได้แปลว่า ‘น้อย’ แต่แปลว่า ‘พอดี’

 

อยากให้เข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า Lagom ไม่ใช่การใช้ชีวิตแบบตัดทุกอย่างจนเหลือแต่มินิมอลสุดขีด แต่มันคือการเลือกให้ชีวิต ‘เต็มแบบไม่ล้น’ เช่น

 

  • ทำงานพอให้ก้าวหน้า แต่ไม่ถึงกับต้องประชุมจนตีสองทุกวัน
  • กินของอร่อยได้ แต่ไม่ต้องฟาดชานมไข่มุกทุกมื้อ
  • ใส่ใจคนรัก แต่อย่าลืมเวลาดูแลตัวเอง
  • Lagom เป็นเหมือนคันเร่งที่เราปรับเองได้ ให้ชีวิตไม่เร่งจนล้า และไม่ช้าจนหยุดนิ่ง

 

ทำไมสวีเดนถึงอินกับ Lagom ขนาดนี้?

 

เพราะมันฝังอยู่ใน DNA ของวัฒนธรรมเลยล่ะ เรามักจะเห็น Lagom สะท้อนอยู่ในดีไซน์บ้านที่เรียบง่ายแต่ฟังก์ชันครบ วิธีที่คนสวีดิชให้ความสำคัญกับเวลา ‘Fika’
(การหยุดพักดื่มกาแฟกับเพื่อนร่วมงาน) รวมถึงความใส่ใจสิ่งแวดล้อม การแยกขยะ และเลือกบริโภคอย่างมีสติ

 

ชีวิต Lagom = ชีวิตที่ยั่งยืน

 

แนวคิดนี้ยังสอดคล้องกับความยั่งยืน (Sustainability) อีกด้วยนะ เพราะเมื่อเราเลือก ‘พอ’ เราจะไม่เปลืองเกินจำเป็น ลดของเสีย ลดความเครียด และมีพื้นที่ให้หายใจ ทั้งกับตัวเอง และกับโลก

 

แล้วเราจะเริ่มใช้ Lagom ได้อย่างไร?

 

  • ลองถามตัวเองว่า “สิ่งนี้จำเป็นไหม?” ก่อนจะกดสั่งของจากแอปช้อปปิ้งออนไลน์
  • เลือกนอนเร็วขึ้นอีกนิด แทนการดูซีรีส์ยันตีหนึ่ง
  • เรียนรู้ที่จะปฏิเสธสิ่งที่เกินพอดี แม้มันจะดูน่าสนุกในตอนแรก
  • หาเวลาอยู่กับตัวเองอย่างเงียบๆ โดยไม่รู้สึกผิด
  • ไม่ต้องเปลี่ยนชีวิตทั้งหมดในวันเดียว แค่เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ ‘พอดี’ กับใจเรา

 

อยากรู้จัก Lagom ให้ลึกขึ้นอีก?

 

ลองหาอ่านหนังสืออย่างเรื่อง Lagom: The Swedish Art of Balanced Living หรือ Live Lagom และตามอ่านบทความออนไลน์เกี่ยวกับ Swedish lifestyle ได้เลย
บางทีคำตอบของชีวิตที่ยุ่งเกินไป อาจไม่ใช่ ‘มากขึ้น’ แต่อาจเป็นแค่ ‘น้อยลงนิดหนึ่ง แล้วอยู่ตรงนั้นให้นานขึ้น’ ซึ่งถ้าจะให้สรุปสั้นๆ ว่า Lagom คืออะไร? มันน่าจะหมายถึงชีวิตแบบที่ ‘ไม่ต้องดีที่สุด แค่รู้สึกว่ามันพอดี ก็เพียงพอแล้ว’

 


 

Lagom (อ่านว่า ลา-กอม)

 

Lagom (อ่านว่า ลา-กอม) มาจากภาษาสวีเดน หมายถึงความ ‘พอดี’ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เป็นปรัชญาชีวิตที่ช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกล้นของชีวิตสมัยใหม่ที่มักถูกคาดหวังให้ ‘มี’ มากขึ้นเรื่อยๆ

 


 

เป็นแนวทางการใช้ชีวิตที่เน้น ‘ความสมดุล’

 

เป็นแนวทางการใช้ชีวิตที่เน้น ‘ความสมดุล’ ในทุกเรื่อง ตั้งแต่การทำงาน การพักผ่อน ความสัมพันธ์ ไปจนถึงการดูแลตัวเอง โดยเป็นการต่อต้านวัฒนธรรมบริโภคนิยมในสังคมปัจจุบัน

 


 

รากศัพท์อาจมาจากวลีไวกิ้งโบราณ ‘Laget Om’ (รอบกลุ่ม)

 

รากศัพท์อาจมาจากวลีไวกิ้งโบราณ ‘Laget Om’ (รอบกลุ่ม) สื่อถึงการแบ่งปันเครื่องดื่มให้ทุกคนได้ลิ้มรสอย่าง ‘พอดีเพื่อส่วนรวม’ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดนี้อยู่คู่กับวัฒนธรรมสแกนดิเนเวียนมานานนับพันปี

 


 

Lagom ไม่ได้หมายถึง ‘น้อย’ แต่หมายถึง ‘พอดีๆ’

 

Lagom ไม่ได้หมายถึง ‘น้อย’ แต่หมายถึง ‘พอดีๆ’ เช่น ทำงานให้ก้าวหน้าแต่ไม่หักโหม หรือกินของอร่อยได้แต่ไม่ต้องทุกมื้อ

 


 

แนวคิดนี้ช่วยลดความเครียด

 

แนวคิดนี้ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลจากการเปรียบเทียบหรือความรู้สึกว่าตัวเองไม่เพียงพอ โดยเน้นความสุขที่เกิดจากความพอใจในสิ่งที่มี

 


 

แนวคิด Lagom

 

แนวคิด Lagom ฝังลึกในวัฒนธรรมสวีเดน สะท้อนผ่านดีไซน์เรียบง่าย แม้แต่การหยุดพักแบบ Fika (พักดื่มกาแฟกับเพื่อนร่วมงาน) และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทำให้สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีดัชนีความสุขสูงและระบบสวัสดิการที่ดี เพราะสังคมให้คุณค่ากับคุณภาพชีวิตมากกว่าความมั่งคั่ง

 


 

สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน (Sustainability)

 

สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน (Sustainability) เพราะเมื่อเราเลือก ‘พอ’ จะลดของเสีย ลดความเครียด และมีพื้นที่ให้หายใจได้มากขึ้น

 


 

อยากใช้ชีวิตตามแบบ Lagom เริ่มต้นง่ายๆ

 

อยากใช้ชีวิตตามแบบ Lagom เริ่มต้นง่ายๆ เช่น ถามตัวเองก่อนซื้อของว่า “จำเป็นไหม?” เลือกนอนเร็วขึ้น รู้จักปฏิเสธสิ่งที่เกินพอดี ไม่ยึดติดกับวัตถุหรือสถานะ แต่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า

 


 

หาเวลาอยู่กับตัวเองอย่างเงียบๆ

 

หาเวลาอยู่กับตัวเองอย่างเงียบๆ โดยไม่รู้สึกผิด ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งชีวิตในวันเดียว แค่เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่พอดี

 


 

สรุปคือ Lagom

 

สรุปคือ Lagom หมายถึงชีวิตที่ ‘ไม่ต้องดีที่สุด แค่รู้สึกว่ามันพอดี ก็เพียงพอแล้ว’

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

The post รู้จักแนวคิด Lagom ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตที่ ‘พอดี’ แบบสวีเดน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รู้จัก Dyson Supersonic r™ ใหม่ เล็ก เบา แต่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา https://thestandard.co/life/dyson-supersonic-r Sun, 20 Apr 2025 03:02:52 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1066043 Dyson Supersonic r™

THE STANDARD LIFE บินลัดฟ้าไปร่วมงานเปิดตัว Dyson Super […]

The post รู้จัก Dyson Supersonic r™ ใหม่ เล็ก เบา แต่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
Dyson Supersonic r™

THE STANDARD LIFE บินลัดฟ้าไปร่วมงานเปิดตัว Dyson Supersonic r™ ไดร์เป่าผมดีไซน์โค้งสุดล้ำใหม่ล่าสุดของแบรนด์ ซึ่งจัดขึ้นที่ HAUS217 ประเทศสิงคโปร์ เพื่อสัมผัสประสบการณ์ตรงกับนวัตกรรมเป่าผมรุ่นล่าสุดที่กำลังจะเปลี่ยนโลกของการจัดแต่งทรงผมไปอย่างสิ้นเชิง ถึงขั้นที่ Matthew Collins ซึ่งเป็น Global Styling Ambassador ของ Dyson บอกเอาไว้ว่า นี่คือไดร์เป่าผมที่ดีที่สุดที่เขาเคยใช้มาเลยทีเดียว 

 

ภายในงานเราได้พบกับทีมวิศวกรผู้คิดค้น นำโดย Simon Loh ตำแหน่ง Senior Engineering Manager แผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมของ Dyson เขาเล่าให้ฟังว่าต้องใช้เวลากว่า 2 ปีในการพัฒนารูปทรงตัว ‘r’ ให้สมบูรณ์และไร้ที่ติ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาพฤติกรรมการจัดแต่งทรงผมของผู้คนทั่วโลก เพื่อให้ Dyson Supersonic r™ เป็นไดร์เป่าผมที่เล็ก น้ำหนักเบา แต่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา

 


 

รู้จัก Dyson Supersonic r™ 

 

ก่อนหน้านี้เครื่องเป่าผม Dyson Supersonic r™ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2024 เฉพาะในวงการช่างทำผมมืออาชีพและสไตลิสต์เท่านั้น จนกลายเป็นอุปกรณ์คู่ใจของเหล่าสไตลิสต์ระดับโลกอย่าง Sam McKnight, Eugene Souleiman และ Lacy Redway ที่เลือกใช้ไดร์เป่าผมรุ่นนี้ เพราะความคล่องตัว สะดวกสบาย และจัดแต่งทรงผมได้อย่างแม่นยำ โดยหลังจากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบเครื่องเป่าผมนี้กับวิศวกรจาก Dyson มานานกว่า 5 ปี Matthew Collins ซึ่งเป็น Global Styling Ambassador ของ Dyson ถึงกับกล่าวว่า “นี่คือไดร์เป่าผมที่ดีที่สุดที่ผมเคยใช้มา” เลยทีเดียว



Dyson Supersonic r™ เป็นเครื่องเป่าผมที่ทรงพลังที่สุดและเบาที่สุดของ Dyson มีขนาดเล็กกว่ารุ่นเดิม 30% เบากว่า 20% (น้ำหนักเพียง 325 กรัม) พร้อมดีไซน์รูปทรงโค้งแบบตัว r ที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยให้เข้าถึงบริเวณที่ปกติเข้าถึงยากได้ง่ายขึ้น

 

ส่องความเจ๋งของดีไซน์ปฏิวัติวงการ

 

Simon Loh ตำแหน่ง Senior Engineering Manager แผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม เล่าให้ฟังว่า เขาใช้เวลากว่า 2 ปีในการพัฒนารูปทรงตัว r ให้สมบูรณ์ โดยได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาพฤติกรรมการจัดแต่งทรงผมของผู้คนทั่วโลก

 

“หนึ่งในความท้าทายที่พบบ่อยคือ การเข้าถึงบริเวณด้านหลังของศีรษะและอาการเมื่อยล้าของแขนระหว่างการเป่าผม” Simon Loh กล่าว “รูปทรงตัว r ไม่ได้เป็นแค่การออกแบบที่ดูแปลกตา แต่เป็นการแก้ปัญหาที่มีผู้ใช้งานจริงๆ มานานหลายปีนั่นเอง”

 

การออกแบบที่มีเอกลักษณ์นี้ไม่ได้มีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริเวณที่เข้าถึงยากได้อย่างง่ายดายมากขึ้น โดยเฉพาะใครที่เคยเมื่อยแขน เวลาใช้ไดร์เป่าจัดแต่งทรงผมบริเวณด้านหลังศีรษะ ต้องบอกเลยว่าหลังจากลองจับลองใช้ในงานเปิดตัว มันมีน้ำหนักเบาและถือสบายมือสุดๆ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของแขนระหว่างเป่าผมได้ดี และเพิ่มความคล่องตัวในการจัดแต่งทรงผมด้วย

 

ในความเล็กกะทัดรัดซ่อนเทคโนโลยีสุดล้ำมากมาย

 

  • Dyson Supersonic r™ มาพร้อมระบบควบคุมความร้อนอัจฉริยะ ปกป้องเส้นผมจากความร้อนที่มากเกินไป ช่วยรักษาความเงางามตามธรรมชาติของเส้นผม

 

  • เซ็นเซอร์ RFID ที่อยู่ในหัวเป่าแต่ละชิ้น สามารถจดจำการตั้งค่าล่าสุดที่คุณใช้กับหัวเป่าแต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ

 

  • มีระบบการกระจายลมที่สม่ำเสมอด้วยแผ่นฟอยล์ 10 แผ่นในส่วนโค้งของเครื่อง ช่วยให้ลมร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอมากขึ้น ทำให้การเป่าผมแม่นยำและรวดเร็วกว่าเดิมมากๆ 

 

  • เทคโนโลยีประจุไอออนลบ ช่วยลดไฟฟ้าสถิตในเส้นผม ลดปัญหาผมชี้ฟู และเพิ่มความเงางามให้ทุกสภาพเส้นผม

 

เทียบชัดๆ กับประสิทธิภาพเหนือระดับ 

 

  • Dyson Supersonic r™ ไม่เพียงสวยงามและล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเครื่องเป่าผมทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด ตรงที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้การเป่าผมแห้งเร็วกว่าเครื่องเป่าผมทั่วไปถึง 2 เท่า

 

  • มอเตอร์ Dyson Hyperdymium™ ที่มีความเร็วสูง ช่วยให้ลมแรงแต่ไม่ร้อนเกินไป

 

  • ทำงานเงียบกว่าเครื่องเป่าผมทั่วไป แม้จะมีพลังมากกว่า

 

  • ผลลัพธ์ผมเรียบลื่น เงางาม และดูมีสุขภาพดี

 

การันตีโดยช่างผมมืออาชีพ

 

ไฮไลต์ของงานคือ การได้ชมการสาธิตจัดแต่งทรงผมด้วย Dyson Supersonic r™ จาก Isaac Ng สไตลิสต์ระดับตำนานแห่งวงการช่างทำผมในสิงคโปร์ ผู้มีชั่วโมงบินในอาชีพนี้กว่า 30 ปี และ Luna Kim ผู้เชี่ยวชาญด้านทรงผมสไตล์เกาหลีจาก Walking on Sunshine ซาลอนชั้นนำของสิงคโปร์ ทั้งคู่ได้แสดงให้เห็นว่า Dyson Supersonic r™ ทำให้การสร้างลุคระดับมืออาชีพเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

 

Isaac Ng เล่าว่า “สิ่งที่ผมชอบที่สุดคือความเบาและการคว้าจับที่ถนัดมือ ผมสามารถทำงานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมงโดยไม่รู้สึกเมื่อยล้า และหัวเป่าที่หลากหลายทำให้สามารถสร้างสรรค์ทรงผมได้หลากหลายสไตล์” และเขาก็สาธิตการทำผมด้วยการไดร์ตรง และใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้การจัดแต่งทรงผมง่ายขึ้นทั้งสำหรับคนผมยาว และผมสั้น 

 

ส่วน Luna Kim ก็สาธิตการทำผมยอดนิยมสไตล์สาวเกาหลี กล่าวเสริมว่า การควบคุมความร้อนอัจฉริยะเป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องเส้นผมของลูกค้าได้มากที่สุด ลูกค้าทุกคนสังเกตได้ว่าผมดูมีสุขภาพดีขึ้น เงางามขึ้น และไม่เสียหายจากความร้อนเหมือนการใช้เครื่องเป่าผมทั่วไป ที่สำคัญคือ Dyson Supersonic r™ ทำให้เธอครีเอตทรงผมได้ง่ายขึ้นมากจริงๆ

 

ผลลัพธ์จากการลองใช้ Dyson Supersonic r™ 

 

ระหว่างที่ได้ทดลองใช้ Dyson Supersonic r™ จริงๆ ที่งานเปิดตัว เราสังเกตเห็นว่าสื่อความงามและผู้เข้าร่วมงานต่างประหลาดใจกับความเบาของเครื่องและความง่ายในการจัดแต่งทรงผม แม้แต่คนที่ไม่เคยใช้เครื่องเป่าผมระดับพรีเมียมมาก่อน ก็สามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว

 

 

ภาพ: Courtesy of Dyson

The post รู้จัก Dyson Supersonic r™ ใหม่ เล็ก เบา แต่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง ด้วยการเติมความสวยแก่คนไข้ https://thestandard.co/life/empower-beauty Sat, 19 Apr 2025 09:00:57 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=1032981 empower-beauty

‘ชอบศิลปะ’ ความหลงใหลในความสวยงามของงานศิลป์ตั้งแต่เด็ก […]

The post พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง ด้วยการเติมความสวยแก่คนไข้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
empower-beauty

‘ชอบศิลปะ’ ความหลงใหลในความสวยงามของงานศิลป์ตั้งแต่เด็กเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ทำให้ หมอออย-พญ.อรุณี ทองอัครนิโรจน์ (ว.40692) ได้เป็นแพทย์ประจำ รมย์รวินท์คลินิก และยังเป็นเหมือนเพื่อนของคนไข้ที่คอยให้คำแนะนำและเกร็ดความรู้ด้านความงามจนถึงทุกวันนี้

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

จากศิลปะบนวัตถุ…สู่ศิลปะบนใบหน้า ความเป็นศิลปินในสายเลือดและประสบการณ์ด้านผิวหนังกว่าทศวรรษ ทำให้หมอออยค้นพบแพสชันด้านการปรับรูปหน้ามากเป็นพิเศษ เพราะมากกว่าความสุขจากการได้ทำในสิ่งที่รักมาตั้งแต่เด็ก คือความสุขจากการได้ดูแลคนไข้ดุจเพื่อน ได้เห็นรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ ได้ทำให้คนไข้ทุกคนสวยและดูดีในแบบของตัวเองที่สุด เฉกเช่นแนวคิด ‘For the Better You’ โดย Romrawin

มุมมองความงามในแบบฉบับของหมอออยในหัตถการความงามจะช่วยให้คุณสวยในแบบที่เป็นคุณมากแค่ไหน ค้นพบคำตอบได้ใน Passion Calling x Romrawin with Dr.Oil Arunee

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

ความงามเป็นสิ่งที่หมอออยสนใจมาตั้งแต่เด็กเลยไหม

 

หมอออย: ไม่เชิงเลยค่ะ ปกติแล้วคุณแม่สอนให้ดูแลตัวเองตั้งแต่เล็กๆ คุณแม่สอนให้ใช้ครีมกันแดดตั้งแต่ยังเล็กมาก ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้เลยว่าทำไมเราจะต้องเลี่ยงแดด แล้วจริงๆ ตอนเด็กเป็นเด็กที่รักศิลปะมากเป็นพิเศษ เรียกว่าไม่ต้องเรียน เหมือนชอบเอง ทำเอง ด้วยการเป็นคนที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ ตอนนั้นก็รู้สึกว่าการเรียนหนังสือ ถ้าเราลองตั้งใจดูสักนิด เกรดดีขึ้น คนก็จะชื่นชม เลยทำให้เราเป็นเด็กที่ชอบเรียน ชอบแข่งขันมาช่วงหนึ่ง

 

ตั้งแต่เรารู้ตัวว่าเราชอบศิลปะ ชอบด้านการเรียน เราก็เลยเอาสองอย่างมาแมตช์ด้วยกัน การเรียนอะไรที่สามารถเอามาใช้ในแง่ของศิลปะตอนนั้นก็คือชีววิทยา ต้องวาดรูป มองเห็นภาพเซลล์ มองเห็นภาพสิ่งแวดล้อม มันเลยทำให้เรารู้สึกว่าเราจะทำอะไรที่มันได้ทั้งความรู้ในสิ่งที่เราจะก้าวไปข้างหน้า แล้วก็เอาศิลปะเข้ามารวบไปด้วยกัน ตอนนั้นก็ไม่เคยคิดเลยค่ะว่าอยากจะเป็นหมอ แต่สุดท้ายสังคมมันพาไป แล้วอันนี้ก็เวิร์กกว่าการไปเรียนวิศวะ เพราะเราไม่ชอบตัวเลขขนาดนั้น

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

จู่ๆ มาเป็นหมอสายความงามได้อย่างไร

 

หมอออย: ต้องบอกก่อนว่าปกติแล้วการเรียนหมอมันไม่ใช่ว่าเรียนไปแล้วเราจะรู้ว่าเราจะจบมาเป็นอะไรนะคะ ในระหว่างที่เราเรียนไปทุกๆ ชั้นปี เราก็จะเริ่มค่อยๆ เห็นการเปลี่ยนแปลง คือช่วงประมาณปี 4, ปี 5, ปี 6 ที่จะเริ่มเห็นแล้วว่าหมอแต่ละวอร์ดหรือหมอแต่ละวิชาชีพ เขาทำอะไรบ้าง

 

ตอนนั้นมีโอกาสได้ไปเรียนแผนกผิวหนัง จะบอกว่าแผนกผิวหนังความรู้สึกเหมือนเราเล่นจับผู้ร้าย มันจะต้องหาทริก หาคำใบ้โดยการไม่ต้องซักถาม มองปุ๊บ เอ๊ะ หน้าตาผื่นแบบนี้ มีลักษณะแบบนี้ มีองค์ประกอบแบบนี้ เรานึกถึงอะไร ตอนนั้นก็เลยรู้สึกว่า โอ้โห คนไหนที่ช่างสังเกต ช่างทาย ช่างเดา แล้วก็มีประสบการณ์มาก่อน มันก็อาจจะเดาถูก แล้วพอเดาถูกก็เฮ้ย เจ๋งอะ

 

เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้สึกอินด้วย

 

หมอออย: ใช่ เวลาเรามองเห็นโรคผิวหนัง เราจะมองว่ามันไม่น่าดูเลย มันดูน่ารังเกียจ มันดูเป็นแดงๆ ขุยๆ บางทีก็เป็นโรคติดเชื้ออะไรอย่างนี้ แต่ ณ ตอนนั้นที่เราได้เรียนไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มรู้สึกว่ามันมีศาสตร์อื่นอีกนะ ในด้านของผิวหนัง คือนอกจากการทำให้คนหายจากโรคบางอย่างที่มันดูไม่สวยงาม มันสามารถทำให้คนดูสวย ดูดีขึ้นได้ด้วย

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

ในยุคนั้นหมอออยเคยมีประสบการณ์เข้าคลินิกบ้างไหม

 

หมอออย: มีค่ะ เราก็จะต้องมีเรื่องของสิวนะคะ รอยสิว ก็เคยเข้าไปปรึกษาคุณหมอว่าจะรักษาอย่างไรอะไรแบบนี้

 

ตอนนั้นหมอออยมีมุมมองกับหัตถการความงามอย่างไร

 

หมอออย: เมื่อก่อนเวลาคนเขาจะมาคลินิกต้องแอบๆ กันมา เขาไม่อยากให้ใครรู้ว่าบางทีเราไปทำอะไรมา มันยังดูเป็นสิ่งที่ต้องปกปิด แบบว่าอยากสวย อยากดูดี เป็นธรรมชาติ แต่ไม่อยากให้ใครรู้ว่าฉันต้องผ่านการทำเครื่อง ไปจิ้ม ไปทำอะไรมา

 

แต่ปัจจุบันคนยอมรับมากขึ้นนะ ถ้าสังเกตโฆษณาเต็มไปหมด บางคนเขาภูมิใจในการที่จะเข้าไปทำคอนเทนต์ในสถานเสริมความงาม รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่อยากให้คนได้รับรู้ อยากให้คนได้รู้ว่าฉันได้ทำนะ ลองแล้วไปรีวิวซิว่าเป็นอย่างไร คือตอนนี้โลกมันมองกลับกันหมด เราก็เลยรู้สึกว่าเป็นอะไรที่เปิดมากขึ้น แล้วคนก็พร้อมที่จะอยากดูดี ดูสวยมากขึ้นค่ะ

 

แล้วสมัยนี้คือเทคโนโลยีมันไปไกลมาก เมื่อก่อนคนอาจจะกลัวว่ามันจะต้องเจ็บ ต้องยอมทน ยอมทรมาน เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีต่างๆ มันมีทั้งง่ายและเร็ว รวมทั้งเห็นผลชัด ไม่ต้องพักหน้าเยอะ Lunch Time Beauty ก็มีนะ เหมือนกับพอเบรกกลางวันเราก็แวบไปแป๊บหนึ่ง ทำสวยเสร็จกลับมาทำงานต่อได้แล้ว ใช้ชีวิตง่ายค่ะ

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

วันที่เราได้มาเป็นหมอเต็มตัว ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร

 

หมอออย: จะบอกว่าไม่เคยคิดว่าจะเป็นหมอผิวหนังตั้งแต่แรก ต้องยอมรับก่อนว่าในประเทศไทยจริงๆ หมอผิวหนังเป็นตำแหน่งที่มันน้อยนะคะ คือทุกคนก็อยากจะมาเป็น

 

ครั้งแรกที่ก้าวเข้ามาทำงานในคลินิกเสริมความงาม ปกติเราก็ไม่เคยได้คุยกับคนไข้ในรายละเอียดถึงความทุกข์กับสิ่งที่เขาเห็นบนผิว คือเราก็เข้าใจทั่วไปแหละว่า โอเค มีสิว อยากรักษาสิว มีผื่น อยากรักษาผื่น แต่ในบางครั้งคนไข้ที่เข้ามาเขามีปัญหาลึกไปกว่าสิ่งที่เราเห็น อันนั้นเป็นอันหนึ่งที่รู้สึกว่าเคยใช้เวลาคุยกับคนไข้เคสแรกๆ เป็นชั่วโมง แค่คุยกับประเด็นของเขาที่แบบว่า เออ อันนี้มันไม่ใช่แค่สิวกับสิ่งที่มันเกิด มันเกิดจากความเครียด การไม่ได้นอน เพราะมีปัญหากับที่บ้าน ทะเลาะกันมา แล้วก็มีเรื่องค่าใช้จ่ายโน่นนี่นั่น

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

หนึ่งปัญหาที่เราเห็นมันเป็นที่มาของปัญหานานัปการ บางทีเวลาเราแงะๆ แคะๆ เข้าไป ไม่ต้องรักษาอะไรเลยก็ได้ แค่คุยกับเขา เขาหาย เชื่อไหมเขาสามารถกลับมาใช้รูทีนของเขาที่ดีขึ้นแล้วก็หายได้ คือหลายๆ ครั้งหมอเจอ น้องหลายๆ คนแรกๆ ที่เข้ามาทำก็ไม่มี Budget ในการทำหน้ามากมาย ทุกคนก็มาด้วยความที่เป็นเด็กนักเรียน บางทีมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ พอปรึกษา ถามไปถามมา สิ่งที่เกิดขึ้น อ๋อ มันเกิดจากการใช้รูทีนผิดๆ เช่น การใช้น้ำยาล้างหน้าที่ไม่เหมาะกับผิวเรา หรือว่าการไปทดลองครีมใหม่ แค่บอกให้เขาหยุดแล้วก็กลับมาดูแลเบสิกสกินแค่นั้นเลย

 

วันนั้นก็คือแทบไม่ได้ทำอะไร นั่งคุยก็ทำให้คนคนหนึ่งกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น นั่นก็คือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของการเป็นหมอเหมือนกันค่ะ

 

ดูเหมือนจริงๆ แล้วมันไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องพึ่งเข็ม พึ่งหัตถการอะไร สุดท้ายมันคือการดูว่าปัญหาลึกๆ ในใจเขาคืออะไรด้วย

 

หมอออย: ใช่ จริงๆ แล้วคนเรามันมีที่มาของการที่จะเกิดปัญหาหลายอย่าง บางอย่างไม่ต้องไปใช้อุปกรณ์อะไรเลย มันแค่กลับไปจัดการที่ตัวเราเอง อาจต้องการใครสักคนที่คุยแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองดีขึ้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่จะบอกว่าอาชีพนี้มันให้ได้ มันสามารถที่จะทำให้คนอื่นดีขึ้นได้

 

จะว่าไปก็เหมือนหมอด้าน Mental Health เหมือนกัน

 

หมอออย: แน่นอนค่ะ หมอเชื่อว่าหมอทุกแผนกที่ต้องสัมผัสกับคนจะต้องรู้ว่าอีกคนเขาคิดอย่างไร แล้วเราก็จะหาวิธีการคุย มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เลยค่ะ

 

จากประสบการณ์ในหัตถการหลายรูปแบบ หมอออยชอบทำอะไรมากที่สุด

 

หมอออย: จริงๆ แล้วในอาชีพหมอมันได้ลองทุกแบบเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคผิวหนังทั่วไป ดูแลผิวเบื้องต้น จนถึงการแก้ไขโครงสร้างของผิวหน้า ซึ่งจะบอกว่าอันที่ยากที่สุดก็คืออันนี้ คือการปรับโครงหน้า นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้น บางคนมีปัญหาบางอย่างที่เป็นมาตั้งแต่แรกเกิด การที่ปรับเขานิดๆ หน่อยๆ ทำให้เขาดูดี มั่นใจในแบบที่เป็นตัวเขาเอง อันนี้มันส่งเสริมให้เขาดีขึ้น แล้วก็ส่งเสริมให้เรามีความสุขกับฟีดแบ็กที่เขาบอกกลับมาด้วยค่ะ

 

พอเรามั่นใจ มันก็สะท้อนไปถึงความสวยข้างนอกด้วย

 

หมอออย: ใช่ ความมั่นใจมันส่งพลังออกมาเหมือนกัน เคยสังเกตไหม บางคนหน้าตาอาจจะไม่ได้สวยมาก แต่ว่าถ้าเขาได้พูดหรือสื่อสารอะไรออกมา เขาสวยขึ้น บุคลิกเขาหรือหลายๆ อย่างทำให้เขาสวยขึ้น กับบางคนที่เครียด ดูไม่อยากจะพูดอะไร แต่หน้าตาคือสวยมากเลยนะ แต่พอพูดปั๊บหมองเลย มันมีหลายแบบ

 

เพราะฉะนั้นการที่เราจะ Inside-Out, Outside-In มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ นอกจากภายนอกกับภายในตรงกัน มันยังทำให้เรารู้สึกว่าคนนี้เป็นคนจริงใจ เราอยากคุยด้วย

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

นิยามความงามในแบบฉบับของหมอออยคืออะไร

 

หมอออย: จะบอกว่าจริงๆ แล้วความงามสำหรับหมอมันไม่มีนิยามแหละ มันเป็นการมองโลกของแต่ละคนมากกว่า อย่างของหมออาจจะมองว่าแบบนี้คือสวย ของคนอีกคนหนึ่งก็อาจจะมองว่าอีกแบบหนึ่งคือสวย เพราะฉะนั้นความสวยมันคือความพึงพอใจของตัวเราเองหรือว่าของคนอื่นที่มองเรา

 

ถ้าบางคนไม่ได้แคร์ตัวเอง แคร์ภาพที่คนอื่นมองเรา เราก็จะไปแคร์ว่าความสวยแบบที่เขามองนี่แหละคือความสวยแบบที่ฉันอยากได้ เพราะฉะนั้นความสวยมันก็เลยไม่มีขีดจำกัดหรือว่า Definition ขึ้นอยู่กับความพอใจของตัวเราเอง

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

Beauty Privilege มีจริงไหม

 

หมอออย: เวลาเราหน้าตาดีเขาบอกว่าโลกจะใจดีกับเรา เวลาเราหน้าตาดีเรามีโอกาสหรือมีสิทธิ์ที่จะได้รับเข้าทำงานมากกว่าอีกคน ในคนที่มีความสามารถเหมือนกัน จริงไหมคะ เราสามารถจะทำให้อีกคนเซย์เยสกับเราได้ง่ายมากขึ้น อันนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นเรื่องจริงนะ

 

คิดว่าแฟร์ไหมที่โลกใบนี้ให้ Privilege กับคนสวย

 

หมอออย: จะว่าไปมันก็เหมือนไม่แฟร์ แต่อย่าลืมว่าเราสามารถสร้างได้ มันก็แฟร์ได้เหมือนกัน

 

เคยมีเคสไหนที่หมอออยรู้สึกประทับใจหรือจำได้ไม่ลืมบ้างไหม 

 

หมอออย: ส่วนใหญ่มันจะเป็นเคสที่พอเราทำแล้วมันอิมแพ็กต์กับชีวิตเขาเยอะๆ หลายๆ ครั้งก็จะเคยเจอเคสที่แบบว่ามีความพิการบางอย่างแต่กำเนิดที่มันแสดงออกมาให้เห็นบนใบหน้า ทำให้กระดูกหน้าไม่เท่ากัน มีความหน้าเบี้ยวมาก หรือว่าอาจจะมีโรคบางอย่าง อย่างเช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ที่อาจซ่อมแล้วแต่มีแผลเป็น ทำให้เวลาพูดหรือยิ้มมันมีปากที่ไม่เท่ากัน

 

เวลาที่เราได้ทำหรือว่าช่วยเขาให้หน้ามีความ Symmetry มากขึ้น ความ Symmetry มันเป็นส่วนหนึ่งของความสวยแหละ เราแค่ปรับให้มันมาได้ในเรื่องของสัดส่วน ได้โครงหน้าที่เป็นแบบธรรมชาติ แล้วก็ทำให้หน้ามีความ Positive ในแง่ของโทน แล้วก็ทุกๆ อย่าง มันทำให้เราดูเด็กแล้วก็ดูดีขึ้นนะคะ ดูสวยขึ้นแบบนั้นเลย

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

ตอนที่ทำเสร็จ พอเขาเห็นตัวเอง เชื่อไหมว่าเขายกกระจกขึ้นมาแล้วเขาน้ำตาไหล เราอยากร้องไห้ตามเลย คือเขารู้สึกจริงๆ เขารู้สึกขอบคุณแบบไม่ต้องพูดเลยค่ะ พอเขากลับไปใช้ชีวิต เขาบอกเลยว่ามันทำให้เขาสามารถที่จะกล้าไปคุย ได้โอกาสในเรื่องของงานมากขึ้น แล้วก็รู้สึกว่าเปลี่ยนบุคลิกของตัวเองไปได้เพราะแค่หมอทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ แค่นั้นเอง เราบอกว่าจริงเหรอ  มันดีจังเลยเนอะ

 

หลังจากนั้นมันเลยทำให้เรารู้สึกว่าเราสามารถต่อยอดความคิดนี้ไปได้เรื่อยๆ เรายิ่งทำ ยิ่งให้ เราส่งทั้งพลัง ส่งทั้งความรู้สึกในการทำทุกๆ เคส รู้สึกว่าคนไข้มีความเข้าใจ แล้วเขาก็รู้สึกเห็นด้วย

 

ทุกครั้งเราก็เลยดูแลคนไข้เหมือนเป็น Journey เราดูแลกันไปเรื่อยๆ เขาเข้ามาบางที นอกจากเรื่องของการดูแลผลลัพธ์บนใบหน้าแล้ว เขาก็ได้มีเพื่อนเพิ่มอีกหนึ่งคน เพื่อนที่จริงใจ เพื่อนที่พร้อมจะดูแลในเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากแค่การทำหน้า

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

การที่หมอออยได้รักษาคนไข้ มันเหมือนได้ให้และเติมกำลังใจให้คุณหมอด้วย

 

หมอออย: นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ ยิ่งเราอยู่ในจุดที่เราทำแล้วคนไข้บอกต่อนี่บอกเลยว่าเป็นอะไรที่มีความสุขมากๆ เพราะรู้สึกได้เลยว่ามันต้องทัชเขาระดับหนึ่ง เพราะเราไม่เคยบอกเขาว่าต้องบอกต่อหน่อยนะ เอามาถ่ายรีวิวหน่อยนะ ส่วนใหญ่จะไม่ใช่สไตล์นั้น เพราะว่าเราจะเป็นคนค่อนข้างให้ความมั่นใจกับคนไข้สูงมากเหมือนกัน

 

คนที่ถูกแนะนำมาส่วนหนึ่งเป็นคนไข้ที่ใหม่มาก แล้วบางทีใหม่ต่อวงการความงามด้วย จะจิ้มอย่างหนึ่ง จะเครื่องอย่างหนึ่ง กลัวไปหมด ไม่กล้าไปหมด ยากที่สุดก็คือการเปิดใจคนไข้ค่ะ เปิดใจเสร็จแล้ว พอเขาเชื่อใจ เริ่มมั่นใจกับเรา แค่ Session แรกๆ ทำเสร็จเห็นผล หลังจากนั้นก็คือเป็นเพื่อนกันไปเลย หมออยากทำอะไรทำ

 

ส่วนใหญ่เวลาหมอทำงานหนึ่งงานก็จะมองก่อนว่าอะไรคือปัญหาของเขาที่เขากังวลมากที่สุด แล้วเราค่อยมองหาว่าระหว่างทางเราใช้อุปกรณ์หรือใช้อะไรที่จะแก้ไขให้เขาได้บ้าง เพราะฉะนั้นเราก็จะเลือกในสิ่งที่เรียกว่าเหมาะสมที่สุด Budget ต้องได้ด้วย อย่าหนักเกินไป เลือกแค่อย่างถึงสองอย่าง พอเขาเริ่มได้ผลลัพธ์ที่ดีแล้วเริ่มเปิดใจ อันนั้นแหละมันจะทำให้เขาเริ่มก้าวไปสู่จุดถัดไปเรื่อยๆ

 

เพราะฉะนั้นหมอว่าการแชร์หรือการพูดกับเขาตรงๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าปัญหาเขามีอะไรบ้าง แล้วเริ่มแก้จาก First Priority ที่คนไข้กังวลที่สุด เขาก็จะเริ่มเห็นตัวเองแล้วว่าเราดีขึ้นได้

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

จากที่หมอออยเองก็เป็นทั้งคุณแม่ คอนเทนต์ก็ต้องทำ เคสคนไข้ก็ต้องดูแล เคยมีโมเมนต์ที่อยากพักหรือวางมือบ้างไหม

 

หมอออย: จริงๆ แล้วมันจะเป็นอารมณ์ที่แวบขึ้นมาตลอดทุกครั้งที่เหนื่อย แต่ความยากก็คือ เมื่อไรก็ตามที่เราต้องเข้าไปนั่งต่อหน้าคนไข้หนึ่งคนที่เข้ามาแล้วเขาคาดหวังสิ่งที่เขาจะได้จากเรา ความเหนื่อยอันนั้นเราต้องยกหายไปเลย แต่มันก็จะถูก Overwhelm มากขึ้นจากสิ่งที่คนไข้เขาตอบกลับเวลาที่เขาได้ผลลัพธ์ที่ดี

 

ปัจจุบันการทำเรื่องของความสวย นอกจากทำให้เขาดูสวยแล้ว เรายังรู้สึกว่ามันเป็นการเติมพลังตัวเอง เติมใจ เติมเชื้อเพลิง คือเติมกันไปเติมกันมา เหมือนเพื่อนกัน เป็น Journey ของการดูแลคนไข้ที่ดี เป็น Journey ของการเจอเพื่อนใหม่ เป็น Journey ของการมีคอนเน็กชันใหม่ๆ บางทีเราก็ได้เจอคนไข้ที่มีลูก ก็มาคุยแลกเปลี่ยนกัน นี่คือสิ่งที่เราได้นอกเหนือจากการทำงานค่ะ

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

ดูเป็น Journey ที่น่าจะให้อะไรหมอเยอะเลยทีเดียว ถ้าถามตัวเอง ณ ปัจจุบันนี้ คิดว่าสิ่งที่หมอออยได้เรียนรู้จากการเป็นหมอด้านความงามคืออะไร

 

หมอออย: จริงๆ แล้วเรื่องของการดูแลคนไข้มันก็เป็นหน้าที่เนอะ มันเป็นการงานใช่ไหมคะ แต่เราไม่เคยมองงานว่าเป็นงาน

 

พอเรามองงานเป็นสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุข เราจะเห็นคนไข้ที่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นแค่คนที่มารู้จักกันแค่หนึ่งวันแล้วผ่านไป กลายเป็นคนที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไปในระยะยาว เราเห็นพัฒนาการชีวิตเขา เขาเห็นการเติบโตของเรา เห็นตั้งแต่ลูกเรายังไม่เกิด จนตอนนี้ 2 คนแล้ว คนไข้นี่คือยิ่งกว่าเพื่อนนะคะ เราดูแลกันไปทั้งในแง่ของการดูแลผิว แล้วก็ดูแลความรู้สึกของกันและกัน

 

เพราะฉะนั้นการทำงานในทุกวันมันเป็นการเติมความสุข เรียกว่าการทำหน้าเป็นแค่เสี้ยวเล็กๆ ดีกว่า ชีวิตจริงคือการมาหาความสุขในที่ทำงาน

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

หมอออยคิดว่าอะไรคือสิ่งที่สะท้อนความมั่นใจของตัวเอง

 

หมอออย: จริงๆ แล้วมันก็ต้องเกิดมาจากทั้งภายในและภายนอก ต้องบอกก่อนว่าการเป็นหมอหน้าเนี่ย คนไข้เขามองหน้าเราก่อนเป็นสิ่งแรก เขาก็ต้องดูก่อนว่าที่หมอแนะนำไปหมอได้ทำไหม หมอทำได้ไหม แล้วมันเห็นผลลัพธ์จริงบนหน้าหมอด้วยหรือเปล่า

 

หลายครั้งคนไข้เคยแชร์กับเราว่า บางทีถ้าเกิดเป็นหมอที่เขาไม่โอเค ไม่ใช่ไทป์ของเขา เขาก็โอเค ไม่ไปต่อ แต่ถ้าครั้งที่เขาเจอหมอแล้วขอสักครึ่งหนึ่งของหมอแล้วกัน อันนี้แหละมันเลยสะท้อนว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันต้องเกิดกับตัวเราด้วย แล้วมันก็ส่งต่อไปถึงคนไข้เราเหมือนกัน มันต้องเป็นความมั่นใจที่เกิดจากภายในส่งต่อไปถึงเขา

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

ซึ่งหมอก็เชื่อว่าทุกคนก็ดูดีในแบบของตัวเองได้แน่นอน 

 

หมอออย: ทุกคนมีความสวยในแบบของตัวเอง ทุกคนมีค่ะ รับรองว่ามี เชื่อสิ แล้วลองมาทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วมันสวยงามมากยิ่งขึ้น ปรับนิดๆ หน่อยๆ หรือว่าอย่างน้อยสิ่งที่ไม่มี สิ่งที่มันไม่ดี สิ่งที่เราต้องแก้ สิ่งที่เป็นจุดด้อย แค่แก้ให้มันดีขึ้น ให้มันดู Harmonize ให้มันดูสมูทไปทั้งหมด มันจะทำให้ภายนอกของเราดูมั่นใจมากยิ่งขึ้น แล้วมันก็จะส่งต่อเข้าไปถึงภายในให้เรามีความมั่นใจในตัวเอง

 

‘For the Better You’ ในแบบฉบับของหมอออยคืออะไร

 

หมอออย: For the Better You คือการเป็นคุณในรูปแบบที่ดีกว่าเดิม หมอว่ามันไม่ใช่แค่จากภายในที่เรามั่นใจขึ้นอย่างเดียว ภายนอกที่ส่งเสริมก็ทำให้เรามั่นใจขึ้นไปอีก มันก็เลยเป็นเสี้ยวที่สำคัญ เหมือนที่บอกว่า Beauty Privilege เราอยากให้โลกใจดีกับเรา แค่ปรับตัวให้สวยมากยิ่งขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง ก็ทำให้เรามั่นใจจากภายในสู่ภายนอกได้เลย

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

อยากให้โลกใจดีกับเรา เราต้องใจดีกับตัวเองด้วย

 

หมอออย: ใช่เลยค่ะ การใจดีกับตัวเองคือการเริ่มต้นหันกลับมารักตัวเองก่อน หันกลับมาเห็นว่าตัวเราก็มีมุม มีความสวย ที่เราอยากจะเสริมให้มันเด่นขึ้นหรือว่าโดดเด่นมากยิ่งขึ้น แล้วเราก็ให้เวลาในการปรับแก้ไข อย่าเพิ่งยอมแพ้นะคะว่าเราไม่สวย เราสวยสิคะ เพราะว่าเราก็มีจุดดีของตัวเราเองเหมือนกัน ขอแค่เสริมให้ถูกต้องแค่นั้นเองค่ะ

 

เราต้องเลิกคิดว่าฉันไม่สวยและไม่มีวันดีขึ้น

 

หมอออย: ถูกต้องค่ะ เราต้องรักตัวเองให้มาก เรียกว่าให้โอกาส ให้กำลังใจตัวเองก่อน หลังจากนั้นเราก็ลองได้ทำมัน พอทำมันเสร็จ ผลลัพธ์มันเกิดปุ๊บ เราก็จะได้ไม่เสียดายว่าไม่ได้ทำ

 

พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง

 

Romrawin Clinic

Open: ตรวจเวลาทำการได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Address: ตรวจสอบสาขาได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Tel: 08 0153 9000, 08 0154 9000

Website: https://www.romrawin.com

Instagram: https://www.instagram.com/romrawinclinic 

Facebook: https://www.facebook.com/RomrawinClinic

The post พญ.อรุณี กับความสุขจากการเติมพลังของตัวเอง ด้วยการเติมความสวยแก่คนไข้ appeared first on THE STANDARD.

]]>