City Vibes – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 10 Sep 2020 05:39:20 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘Welcome to New York, It’s been waitin’ for you’ นิวยอร์ก เมืองที่ไม่เคยหลับ https://thestandard.co/welcome-to-new-york-its-been-waitin-for-you/ Fri, 02 Aug 2019 04:41:15 +0000 https://thestandard.co/?p=275680 city vibes new york

หากเปรียบเมืองเป็นตัวละคร มหานครนิวยอร์กน่าจะเป็นตัวละค […]

The post ‘Welcome to New York, It’s been waitin’ for you’ นิวยอร์ก เมืองที่ไม่เคยหลับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
city vibes new york

หากเปรียบเมืองเป็นตัวละคร มหานครนิวยอร์กน่าจะเป็นตัวละครตัวหนึ่งที่ผู้ชมทั่วโลกมีความคุ้นเคย แม้จะไม่เคยพบปะสบตาในชีวิตจริง ไม่ว่าจะภาพยนตร์ ซีรีส์โทรทัศน์ นวนิยาย หรือแม้กระทั่งบนเพลง นิวยอร์กล้วนแต่เคยได้รับบทนำมาแล้วทั้งนั้น เราทุกคนล้วนเคยได้เห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับมหานครที่ไม่เคยหลับใหลแห่งนี้ 

 

Welcome to New York, It’s been waitin’ for you

Welcome to New York, Welcome to New York

— ‘Welcome to New York’ โดย Taylor Swift 

 

การมาเยือนนิวยอร์กครั้งแรกเพื่อบันทึกเรื่องราวของเมืองในฝันของผู้คนมากมาย ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของการทำงานในฐานะช่างภาพ เพราะแทบทุกมุมถนนของเมืองนี้ล้วนถูกบันทึก และบอกเล่าในหลากหลายแง่มุม แต่เมื่อได้มาสัมผัสแล้วจึงเข้าใจว่าทำไมที่แห่งนี้ถึงครองใจใครต่อใครที่ได้มาเยือนและมาใช้ชีวิต 

 

หลายคนขนานนามว่านิวยอร์กคือเมืองที่ย่อยโลกเอาไว้ ด้วยความเป็น ‘บ้าน’ ของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม และความเชื่อ ทำให้เราได้เห็นร้านอาหารทุกชาติ ร้านค้าที่ตอบโจทย์ทุกสไตล์ไม่ว่าคุณจะมีรสนิยมแบบไหน แฟชั่นที่สุดโต่ง งานศิลป์มากมายทุกแนวที่อยู่ทั้งในแกลเลอรีและข้างถนน ไม่ว่าเราจะได้ยินอะไรมาเกี่ยวกับเมืองนี้ ของจริงมันคือทวีคูณ 

 

เพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมงเราก็ต้องมนต์ของมหานครแห่งนี้เสียแล้ว บรรยากาศของ Central Park ในยามสองทุ่มก่อนดวงอาทิตย์จะถูกบดบังด้วยตึกสูงที่ล้อมรอบสวนใหญ่แห่งนี้ ช่วงเวลานั้นทำให้เราตัดสินใจว่า ไม่ว่าการเดินทางในวันถัดไปจะเป็นอย่างไร เราจะบอกเล่า ‘นิวยอร์ก’ ที่เราสัมผัสและพบเจอผ่านรูปถ่ายของเรา 

 

In New York,

Concrete jungle where dreams are made of

There’s nothing you can’t do

— ‘Empire State of Mind (Part II)’ โดย Alicia Keys

 

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

city vibes new york

INPARTNERSHIP Qatar Airways

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post ‘Welcome to New York, It’s been waitin’ for you’ นิวยอร์ก เมืองที่ไม่เคยหลับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Vessel จุดแลนด์มาร์กใหม่ของนิวยอร์กที่ต้องดูว่าจะเป็นแค่กระแสชั่วคราวหรือไม่ https://thestandard.co/the-vessel/ Fri, 02 Aug 2019 04:06:34 +0000 https://thestandard.co/?p=275644 The Vessel

หากย้อนกลับไปเพียงแค่หนึ่งปีที่แล้ว ใครที่มีแพลนจะไปเที […]

The post The Vessel จุดแลนด์มาร์กใหม่ของนิวยอร์กที่ต้องดูว่าจะเป็นแค่กระแสชั่วคราวหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Vessel

หากย้อนกลับไปเพียงแค่หนึ่งปีที่แล้ว ใครที่มีแพลนจะไปเที่ยวนิวยอร์กครั้งแรกในลิสต์ตัวเอง ก็น่าจะมีแลนด์มาร์กสำคัญ อาทิ เทพีเสรีภาพ, สะพานบรูกลิน, ตึก Empire State และ Central Park เป็นต้น แต่มาวันนี้ก็เชื่อได้ว่า ตึกโครงสร้างเหล็กแบบ Art Installation ที่ชื่อ The Vessel ที่ตั้งใจกลาง Hudson Yards ก็ต้องอยู่อันดับต้นๆ โดยเฉพาะกับคนเจนใหม่ที่ห้ามพลาด เพื่อเช็กอินและถ่ายรูปลงโซเชียล

 

The Vessel เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ปี 2019 ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ โทมัส เฮเทอร์วิก และบริษัท Heatherwick Studio ของเขา พร้อมทุนสร้างราว 200 ล้านเหรียญ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสว่าทาง สตีเฟน เอ็ม. รอสส์ นักลงทุนของ Hudson Yard ได้มีการทาบทามและพูดคุยกับมีศิลปินและนักออกระดับโลก ทั้ง มายา หลิน, ริชาร์ด เซอร์รา, เจฟฟ์ คูนส์ และ ซาฮา ฮาดิด

 

The Vessel เป็นคอนเซปต์โครงสร้างคล้ายรังผึ้งสีทองแดง ประกอบไปด้วยบันได 154 จุด มีทั้งหมด 2,500 ขั้น และเชื่อมต่อกับชานพัก 80 แห่ง ซึ่งกลายเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ทั้งตัวเมืองนิวยอร์กและแม่น้ำฮัดสัน ที่สามารถเห็น Jersey City อีกฝั่งได้ด้วย โดยสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Fortune ก็ได้บอกว่า The Vessel มีโอกาสเป็นแลนด์มาร์กใหม่เหมือนหอไอเฟลในปารีส ซึ่งในช่วงแรกที่เปิดก็มีคนไปเยี่ยมชมราว 50,000 คนต่อวัน

 

The Vessel

The Vessel

The Vessel

The Vessel

INPARTNERSHIP Qatar Airways

อ้างอิง:

The post The Vessel จุดแลนด์มาร์กใหม่ของนิวยอร์กที่ต้องดูว่าจะเป็นแค่กระแสชั่วคราวหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
พูดคุยกับ Alex Poots ซีอีโอของ The Shed สถาบันศิลปะการแสดงแห่งใหม่ของนิวยอร์กที่ Björk, Steve McQueen และ Sia มาร่วมงานแล้ว https://thestandard.co/alex-poots-the-shed-ceo/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:57 +0000 https://thestandard.co/?p=272874

ตั้งแต่แรกเริ่ม หนึ่งในเสน่ห์ของมหานครนิวยอร์กคือการเป็ […]

The post พูดคุยกับ Alex Poots ซีอีโอของ The Shed สถาบันศิลปะการแสดงแห่งใหม่ของนิวยอร์กที่ Björk, Steve McQueen และ Sia มาร่วมงานแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตั้งแต่แรกเริ่ม หนึ่งในเสน่ห์ของมหานครนิวยอร์กคือการเป็นศูนย์รวมสำคัญเชิงวัฒนธรรมและศิลปะทุกรูปแบบ ซึ่งได้ช่วยกำเนิด บุกเบิก และผลักดันกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคมและโลกของเราอย่างไม่รู้จบจนถึงนาทีนี้ โดยในนิวยอร์กมีสถาบันศิลปะมากมาย เช่น Carnegie Hall, Park Avenue Armory, Brooklyn Academy of Music และ Lincoln Center for the Performing Arts ซึ่งเหมือนในหนังหรือซีรีส์ เด็กหลายคนที่อยากเป็นศิลปินไม่ว่าจะมาจากวิสคอนซินหรือกรุงเทพฯ ต่างก็แบกความฝันมาที่นี่ 

 

โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นิวยอร์กก็มีสถาบันศิลปะการแสดงแห่งใหม่ชื่อ The Shed เกิดขึ้น และกลายเป็นกระแสทันทีกับงบประมาณการสร้างอาคารเคลื่อนไหวได้สูงถึง 475 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับการที่หลายคนต่างตั้งคำถามว่า “นิวยอร์กจำเป็นต้องมีสถาบันศิลปะการแสดงแห่งใหม่อีกหรือ” 

 

แต่กว่า 4 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ The Shed เปิดอย่างเป็นทางการ สถาบันศิลปะการแสดงแห่งนี้ก็ได้สะท้อนความหวังใหม่ให้กับโลกศิลปะและการแสดง พร้อมผลงานต่างๆ ที่เป็นแบบ Multidisciplinary ผสมผสานหลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตสุดล้ำของ Björk’s Cornucopia หรือละครเวทีมิวสิคัลสไตล์กังฟูกำลังภายในชื่อ Dragon Spring Phoenix Rise ที่นักร้องสาวอย่าง เซีย มาทำเพลงประกอบให้ 

 

ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ The Shed ก็คือ อเล็กซ์ พุตส์ อาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโอชาวอังกฤษ ซึ่งเขาเคยได้รับเหรียญเกียรติยศ Order of the British Empire จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มาแล้ว โดยล่าสุด THE STANDARD ก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาที่ The Shed ในนิวยอร์ก ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ช่วงเวลาเดียวกับที่เขากำลังยุ่งกับการลงดีเทลสุดท้ายของคอนเสิร์ต Björk’s Cornucopia ที่จะเปิดการแสดงในค่ำคืนนั้นเป็นครั้งแรก

โจทย์ในการทำงานของพวกเขาก็คือการสร้างบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมือนที่อื่นในนิวยอร์ก และต้องเป็นบางสิ่งที่จะทำให้นิวยอร์กมีความล้ำสมัย ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ The Shed ที่เราเห็นกันอยู่ในตอนนี้

alex-poots-the-shed-ceo

อเล็กซ์ พุตส์

 

alex-poots-the-shed-ceo

อาคาร The Shed หากเดินมาจากทางไฮไลน์

 

คุณเริ่มต้นเส้นทางอาชีพในสายดนตรี แต่อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้หันมาทำงานด้านการเป็นผู้จัดการแสดง

ผมเคยเล่นทรัมเป็ตและแต่งเพลง และในตอนที่ผมเล่นดนตรีอยู่ ผมก็มักจะสนใจในการจัดวางรูปแบบของโชว์นั้นๆ เช่น วิธีจัดรูปแบบเวทีคอนเสิร์ต คนดูจะนั่งตรงไหน และคุณจะจัดอย่างไรให้มันแตกต่างออกไป มันก็เริ่มต้นจากตรงนั้น หลังจากนั้นผมก็เริ่มรู้ตัวว่ามีความสนใจด้านการจัดการแสดงมากขึ้น ผมรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง และเริ่มมั่นใจว่าทำตรงนี้ได้ดีกว่าการเล่นดนตรี มันจึงกลายเป็นการเปลี่ยนอาชีพที่เกิดขึ้นโดยปริยาย

 

แล้วจุดเปลี่ยนจากการเป็นผู้จัดการแสดงสู่การเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโอของ The Shed ในทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ส่วนใหญ่ผมจะได้รับตำแหน่งอาร์ตไดเรกเตอร์ หรือเป็นทั้งอาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโอ ดังนั้นในช่วง 14 ปีที่ผ่านมาผมก็ทำงานในตำแหน่งอาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโอมาโดยตลอด ผมชอบที่ได้เข้ามาดูแลทั้งในการกำหนดทิศทางศิลป์ ทางด้านธุรกิจ และการควบคุมดูแลเรื่องเงิน ผมว่ามันเป็นเรื่องดีที่เราจะสนใจทั้งสองด้าน

 

ตลอด 4 ปีครึ่งที่ผ่านมามีคนมาทาบทามให้ผมลองสมัครงานกับ The Shed แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร เพราะกลัวพลาด โดยเฉพาะเมื่อผมทำงานในตำแหน่งอาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโออยู่แล้ว ผมไม่อยากกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จที่หนึ่ง แต่ไปล้มเหลวในอีกที่หนึ่ง ดังนั้นผมจึงไม่ได้สนใจสักเท่าไร แต่พวกเขาก็ยังคงมาทาบทามเรื่อยๆ ผมจึงบอกไปว่าเอาอย่างนี้แล้วกัน พวกคุณก็เรียกสัมภาษณ์คนอื่นๆ ไป แต่เรามาคุยกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างที่เราทำร่วมกันได้ ที่ตรงกับความต้องการของพวกเราทั้งสองฝ่าย แล้วผมก็ตกหลุมรักไอเดียของ The Shed และไอเดียที่ว่ามันตั้งอยู่ในนิวยอร์ก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดึงดูดใจผมเอามากๆ เลย

 

คุณตั้งเป้าหมายอะไรกับการมาทำงานที่ The Shed

งานชิ้นแรกของอาร์ตไดเรกเตอร์และซีอีโอคือการวางภารกิจหลักขององค์กร นั่นคือสิ่งที่พวกเราคุยกันก่อนที่ผมจะเข้ามารับงานที่นี่ เราคุยกันว่าภารกิจหลักของเราคืออะไร และผมอยากให้ภารกิจของเราเป็นการช่วยส่งเสริมผลงานศิลปะที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ ดังนั้นเราจึงมีการสนับสนุนเงินทุนให้กับศิลปะหลากหลายแขนง ทั้งศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ และป๊อปคัลเจอร์ ทั้งหมดในที่นี่ที่เดียว เราทำตั้งแต่การสนับสนุนเงินทุน การสร้างผลงาน ไปจนถึงการจัดแสดง เพราะสุดท้ายแล้วหากคุณมีโปรแกรมที่หลากหลาย คุณก็จะมีกลุ่มผู้ชมที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือเป้าหมายสูงสุดของเรา

เมืองใหญ่ๆ ทุกแห่งในโลกมี Hudson Yards ในรูปแบบของตนเอง นั่นคือความก้าวหน้า ไม่ว่าคุณจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม

alex-poots-the-shed-ceo

ล็อบบี้ของ The Shed โดยที่ขอบเพดานจะเขียนชื่อของบุคคลและครอบครัวที่บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนสร้าง

 

alex-poots-the-shed-ceo

ห้องจัดนิทรรศการศิลปะ

 

นิวยอร์กเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแพลตฟอร์มศิลปะ และ The Shed ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ใหม่ที่เกิดขึ้น คุณมีแผนระยะยาวในการบริหารมันในเมืองที่เต็มไปด้วยแพลตฟอร์มศิลปะอื่นๆ หรือไม่

มันไม่มีแพลตฟอร์มไหนในนิวยอร์กที่สนับสนุนและว่าจ้างศิลปะจากทุกแขนง ผมอยากจะแย้งว่าจริงๆ แล้ว The Shed เป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์กับนิวยอร์กเสียด้วยซ้ำ เพราะไม่มีที่ไหนที่เหมือนเรา สิ่งหนึ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับนิวยอร์กคือมันเป็นเมืองที่เปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เสมอ จริงๆ แล้วในแง่หนึ่ง The Shed ถูกสร้างขึ้นด้วยจิตวิญญาณของนิวยอร์กในยุคบุกเบิก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นิวยอร์กกลายเป็นหนึ่งในเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของโลก เพราะเมืองทั้งหมดในยุโรปและสถานที่อื่นๆ ยังคงได้รับความเสียหายจากสงคราม ต่างจากนิวยอร์กซึ่งกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ในแง่หนึ่ง The Shed จึงถูกสร้างขึ้นบนรากฐานของจิตวิญญาณนั้น

 

คุณได้มีโอกาสทำงานกับสถาปนิกของโครงการตั้งแต่ต้น ช่วยแนะนำ The Shed ให้กับผู้อ่านของเราหน่อยได้ไหม

จริงๆ แล้วโครงการทั้งหมดนี้เริ่มต้นภายใต้การดูแลของนายกเทศมนตรี ไมเคิล บลูมเบิร์ก และรองนายกเทศมนตรี แดน ด๊อกเตอรอฟฟ์ ซึ่งเป็นประธานบริษัทของเรา พวกเขาอยากให้ The Shed เป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไรและสร้างขึ้นบนที่ดินสาธารณะ ประธานบริษัทของเราได้ร่วมงานกับ ลิซ ดิลเลอร์ และเดวิก ร็อกเวลล์ ผู้ร่วมงานของเธอ โดยโจทย์ในการทำงานของพวกเขาก็คือการสร้างบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมือนที่อื่นในนิวยอร์ก และต้องเป็นบางสิ่งที่จะทำให้นิวยอร์กมีความล้ำสมัย ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ The Shed ที่เราเห็นกันอยู่ในตอนนี้ จุดเริ่มต้นของมันจริงๆ ก็เกิดจากกลุ่มบุคคลที่ผมได้กล่าวมา หากไม่มีพวกเขาก็จะไม่มีเราที่นี่

 

alex-poots-the-shed-ceo

โซนโรงละคร The Kenneth C. Griffin Theater

 

alex-poots-the-shed-ceo

โซน The Tisch Skylights and Lab


ใครเป็นคนตั้งชื่อ The Shed และมีที่มาที่ไปอย่างไร

ในตอนแรกเราจะใช้ชื่อว่า Culture Shed และผมก็คิดว่าคนจะต้องย่อมันเหลือแค่ The Shed เหมือนกับสิ่งอื่นๆ ในนิวยอร์กอย่างแน่นอน เช่น The Metropolitan Museum ก็กลายเป็น MET และ Brooklyn Academy of Music ก็กลายเป็น BAM ดังนั้นผมเลยคิดว่าเราน่าจะตัดปัญหาการรีแบรนด์ใหม่ในอีก 4 ปีข้างหน้า และเรียกมันว่า The Shed ตั้งแต่แรกเสียเลย และผมคิดว่าชื่อ The Shed ฟังดูเข้าถึงง่ายสำหรับคนในวงกว้างมากกว่า

 

เพื่อนคนหนึ่งของผมพูดว่าคุณไม่จำเป็นต้องอธิบายว่ามันคืออะไรโดยการย้ำว่ามันคือ Culture Shed หรอกนะ เพื่อนผมคนนั้นคือ มารินา อบราโมวิช เธอพูดว่า คุณรู้ไหม เมื่อพวกเขาก่อตั้ง Apple พวกเขาไม่ได้เรียกมันว่า Apple Computer สักหน่อย จริงๆ แล้วพวกเขาเรียกมันว่า Apple Computer แต่ก็เปลี่ยนมาเป็น Apple อย่างรวดเร็ว โชคดีที่บอร์ดผู้บริหารเห็นด้วยกับความคิดนี้ เราเลยเลือกใช้ชื่อ The Shed ตั้งแต่ต้น

 

คนส่วนใหญ่ในตอนนี้ใช้ชีวิตออนไลน์และเสพสื่อต่างๆ ผ่านมือถือ คุณคิดว่า The Shed จะช่วยเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่มาสัมผัสกับศิลปะแบบนอกจอและชมการแสดงสดได้หรือไม่

ผลงานที่เราจัดแสดงส่วนใหญ่มักเป็นการแสดงสด แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม หากคุณได้ลองไปดูโชว์ของบียอร์ก คุณก็จะเห็นว่ามันมีองค์ประกอบที่ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลอยู่เยอะมาก ดังนั้นผมจึงคิดว่ามันเป็นเรื่องของการผสมผสานเข้าด้วยกันมากกว่า

 

เรามีโชว์ที่กำลังจะจัดแสดงของ นอรา ข่าน ซึ่งเธอเป็นคนวางแผนเองทั้งหมด โดยเป็นผลงานที่แสดงถึงจุดตัดของศิลปะและเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์ ผมสนใจว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับอะไรบ้าง เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปดูโชว์ของ โซแลง โนวส์ ซึ่งกลุ่มคนที่ไปดูโชว์นั้นค่อนข้างอายุน้อยและเป็นกลุ่มอย่างที่คุณพูดถึง แต่พวกเขากลับกลายเป็นกลุ่มผู้ชมที่ตั้งใจดูโชว์มากที่สุดที่ผมเคยเห็นมาในรอบหลายเดือน และผมมั่นใจว่าพวกเขาก็เป็นกลุ่มที่เล่นโซเชียลมีเดียทั้งก่อนและหลังโชว์อย่างแน่นอน ผมว่ามันเป็นเรื่องดีที่เรามีความชื่นชอบสิ่งต่างๆ หลากหลายรูปแบบ        

 

alex-poots-the-shed-ceo

วิวของ The Vessel จาก The Shed

 

 

อีกหนึ่งไฮไลต์ของที่นี่คือตัวอาคารที่เคลื่อนไหวได้

ผมว่าจริงๆ แล้วไฮไลต์ของอาคารนี้อยู่ที่ความยืดหยุ่นในแง่การใช้งานของมันมากกว่า ซึ่งการที่อาคารเคลื่อนไหวได้ก็เป็นส่วนหนึ่งของไฮไลต์นั้น ผมคิดว่ามันเป็นสถานที่แรกจริงๆ ที่ให้งบสนับสนุนศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ และป๊อปคัลเจอร์ในที่เดียว และตอนนี้ศิลปะทุกรูปแบบ ศิลปินทุกประเภท และผู้ชมทุกคนก็ยินดีต้อนรับที่นี่ การที่อาคารสามารถเคลื่อนไหวได้หมายความถึงศิลปินที่ไม่ชอบแสดงผลงานภายในตัวอาคาร เพราะชิ้นงานของเขาให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดกลางแจ้ง เราก็สามารถปรับโฉม The Shed และสร้างพื้นที่นอกอาคารให้กับผลงานของศิลปินได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่โชคดีมากๆ ที่เรามีพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่าง The Shed

 

บนโลกนี้มีอาคารเพียงไม่กี่แห่งที่เคลื่อนไหวได้ คุณมีทีมที่คอยดูแลบำรุงรักษาอาคารล้ำสมัยอย่าง The Shed หรือเปล่า

เรามีทีมงานฝ่ายดูแลอาคารที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งพวกเขาตื่นเต้นมากว่าจะเป็นอย่างไรที่จะได้เข้ามาดูแลอาคารแห่งนี้ เราอยู่ที่นี่มาประมาณ 3 สัปดาห์ครึ่ง และยังอยู่ในช่วงเรียนรู้ว่าปุ่มต่างๆ อยู่ที่ไหนและต้องกดปุ่มอะไรบ้าง เพราะเรามีเวลาน้อยมากในการย้ายเข้ามาที่นี่ ตอนเราขนของเข้ามา เจ้าหน้าที่ก่อสร้างก็ยังทำงานอยู่เลย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เรายังคงต้องศึกษาต่อไป

 

Hudson Yards เป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนที่แพงที่สุดในสหรัฐอเมริกา และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากผู้คน The Shed ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ และคุณมีความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

เมืองใหญ่ๆ ทุกแห่งในโลกมี Hudson Yards ในรูปแบบของตนเอง นั่นคือความก้าวหน้า ไม่ว่าคุณจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม Hudson Yards ไม่ได้รับอนุญาตในการก่อสร้างหากไม่อุทิศส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่ใหม่ให้กับศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจริงๆ แล้ว The Shed ถูกสร้างขึ้นบนที่ดินสาธารณะ มันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ไม่ได้เป็นของเอกชน เราได้ประโยชน์จากการลงทุนและจากธุรกิจที่เข้ามาใน Hudson Yards พวกเขาลงทุนให้กับ The Shed ดังนั้นเราจึงรู้สึกซาบซึ้งในการสนับสนุนของพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะ The Shed จะไม่เกิดขึ้นหากเราไม่ได้เงินลงทุนจากพวกเขา เราอาศัยอยู่ในระบบทุนนิยม มันไม่มีเงินอุดหนุนสาธารณะในประเทศนี้ และผมนึกไม่ออกว่าจะมีวิธีหรือระบบอื่นๆ ที่ทำให้เราสามารถสร้างสิ่งที่มีคุณค่าและพิเศษอย่าง The Shed ได้ มันเป็นระบบรูปแบบหนึ่ง และคุณก็แค่ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน  

 

alex-poots-the-shed-ceo

alex-poots-the-shed-ceo

คอนเสิร์ต Björk’s Cornucopia ที่แสดงในโรงละคร The McCourt ของ The Shed

Photo: Santiago Felipe / Getty Images

 

หนึ่งในอีเวนต์หลักแรกของคุณก็คือคอนเสิร์ตของบียอร์ก ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร

บียอร์กพูดเองว่ามันเป็นคอนเสิร์ตที่พิถีพิถันและซับซ้อนที่สุดที่เธอเคยทำมา โดยเป็นการร่วมงานระหว่างเธอและผู้กำกับ ลูเครเซีย มาร์เทล แต่ก่อนหน้านี้ผมก็ได้มีโอกาสทำงานกับบียอร์กมาประมาณ 10 ปีแล้วกับผลงาน 2 ชิ้นของเธอ โดยชิ้นที่สำคัญมากสำหรับผมก็คือผลงานชุด Biophilia เพราะเราได้เข้าไปช่วยสร้างผลงานชิ้นนั้นให้กับเธออย่างจริงจัง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง Manchester International Festival ที่ผมเป็นคนก่อตั้ง ตอนนั้นเป็นช่วงที่ทำให้ผมได้รู้จักกับบียอร์กแบบจริงๆ และได้สัมผัสกับความคิดสร้างสรรค์และความกล้าเสี่ยงของเธอ     

 

เธอเป็นศิลปินที่เยี่ยมยอดมาก เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วผมก็ได้เจอเธออีกครั้ง และเธอเข้ามาคุยถึงเรื่องการทำอัลบั้มใหม่ชื่อ Utopia ผมก็เลยถามเธอว่าผมจะช่วยอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นเราก็เริ่มพูดคุยและถกไอเดียกันว่าเราจะทำให้คอนเสิร์ตของเธอเป็นมากกว่าคอนเสิร์ตทั่วไปได้อย่างไร และเธอรู้สึกตื่นเต้นกับไอเดียนี้มาก

 

ในอนาคตจะมีศิลปินหน้าใหม่ที่คุณอยากจะร่วมงานด้วยหรือเปล่า

แน่นอน เราเพิ่งร่วมงานกับศิลปินหน้าใหม่ 25 คนในโปรเจกต์ Soundtrack of America กำกับโดย สตีฟ แม็กควีน ซึ่งศิลปินทั้งหมดเป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงหน้าใหม่ มันเป็นโปรเจกต์ที่วิเศษมาก เป็นการพูดถึงดนตรีแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบศิลปะที่ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เราได้เชิญนักวิชาการมาเพื่อวาดแผนภูมิต้นไม้ของดนตรีแอฟริกัน-อเมริกัน หลังจากนั้นศิลปินทั้ง 25 คนก็ใช้แผนภูมินั้นในการค้นหาเส้นทางที่เชื่อมโยงมาสู่พวกเขา และพวกเขาก็จะนำเสนอเส้นทางของตนเองออกมาผ่านการแสดง โดยจะสลับกันไปในแต่ละคืน เราให้ความสนใจทั้งศิลปินหน้าใหม่และศิลปินที่มีชื่อเสียงแล้ว เราไม่อยากที่จะต้องเลือก เราชอบศิลปินทุกรูปแบบ

 

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว คุณคิดว่า The Shed จะกลายเป็นอะไรได้บ้างในอนาคต

เหล่าศิลปินน่าจะเป็นคนที่ตอบคำถามนั้นได้ดีที่สุด ทุกครั้งที่ผมเจอศิลปินที่มีฝีมือ พวกเขามักคิดว่าจะทำอะไรกับที่นี่ได้บ้าง พวกเขาจะดึงศักยภาพของอาคารออกมาได้อย่างไร และขีดความสามารถของตัวอาคารอยู่ที่ไหน

INPARTNERSHIP Qatar Airways

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post พูดคุยกับ Alex Poots ซีอีโอของ The Shed สถาบันศิลปะการแสดงแห่งใหม่ของนิวยอร์กที่ Björk, Steve McQueen และ Sia มาร่วมงานแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>
THE STANDARD พาเที่ยวชมออฟฟิศสุดเท่ของ Instagram และ Facebook ในนิวยอร์ก! https://thestandard.co/visited-instagram-facebook-headquarter/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:56 +0000 https://thestandard.co/?p=272895

หนึ่งในออฟฟิศที่เหล่า Gen X, Y, Z ทั่วโลกอยากไปทำงานและ […]

The post THE STANDARD พาเที่ยวชมออฟฟิศสุดเท่ของ Instagram และ Facebook ในนิวยอร์ก! appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนึ่งในออฟฟิศที่เหล่า Gen X, Y, Z ทั่วโลกอยากไปทำงานและเช็ก อินคงหนีไม่พ้น Instagram และ Facebook ซึ่งทีม THE STANDARD ได้ไปเยี่ยมชมและทัวร์ออฟฟิศสาขานิวยอร์ก ที่ตั้งอยู่ในตึกสูงบนถนน Broadway ย่าน NoHo พร้อมพนักงานกว่า 350 คน ซึ่งแน่นอนว่าใครหลายคนอยากเดินไปบอกหัวหน้าว่าให้เพิ่มสวัสดิการเหมือนเขาบ้าง!

 

เราได้รับการต้อนรับจาก แอชลีย์ แชปแมน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอินสตาแกรมที่มาดูแลและพาทัวร์ภายในของออฟฟิศอินสตาแกรม-เฟซบุ๊กทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมุมถ่ายรูปสนุกๆ โซนโรงอาหาร โซนพักผ่อน ไปจนถึงบรรยากาศห้องทำงานที่ดูแล้วชวนให้ย้ายมาทำงานที่นี่จริงๆ! 

 

instagram-facebook-headquarter

 

ทางเข้าของออฟฟิศจะมีสัญลักษณ์อินสตาแกรมและจอขนาดใหญ่แบบแกลเลอรีที่โชว์ภาพของผู้ใช้งานอินสตาแกรมรอบโลกตามแฮชแท็กสุดฮิตต่างๆ 

 

instagram-facebook-headquarter

 

ด้านซ้ายมือของทางเข้ามีมุมต้อนรับด้วยครัวเล็กๆ หรือ Micro Kitchen ที่แม้จะเล็ก แต่ก็จุไปด้วยขนมถุง ของว่าง เครื่องทำกาแฟแบบเต็มรูปแบบ

 

instagram-facebook-headquarter

 

นอกจากขนมที่มีให้ทานฟรีๆ กันทั้งวันแล้ว ในออฟฟิศยังมีร้านไอศกรีมเจลาโต Frozen Palm ที่ให้ชิมฟรี ทั้งเจลาโตคุณภาพดีกว่า 20 รสชาติที่เวียนไปเรื่อยๆ บางรสชาติยังตั้งชื่อตามฟิลเตอร์ในอินสตาแกรมอย่าง Gingham และ X-Pro II แถมยังมีน้ำผลไม้สมูทตี้เอาใจคนรักสุขภาพ ทั้งหมดนี้ให้พนักงานกินได้ฟรีตลอดวัน! 

 

instagram-facebook-headquarter

 

โซนถ่ายรูปในออฟฟิศจะกระจายตัวอยู่ทุกที่ หนึ่งในนั้นคือห้องออฟฟิศขนาดจิ๋ว ที่วางอยู่ในออฟฟิศอีกที ถ้าใครอยากจะถ่ายรูปก็ต้องมุดตัวไปนั่ง พร้อมพร็อพเป็นโต๊ะทำงานจิ๋ว ไวท์บอร์ดจิ๋ว นาฬิกาจิ๋ว โทรศัพท์จิ๋ว ให้โพสต์ท่าคุยงานได้ด้วย

 

instagram-facebook-headquarter

 

เดินตรงมาเรื่อยๆ จากทางเข้า ก็จะเจอบันไดในตำนาน ทางเดินขึ้นไปยังจุดถ่ายรูปยอดฮิตของแขกทุกคนที่มาเยี่ยมเยือนออฟฟิศอินสตาแกรม เพราะเป็นจุดถ่ายรูปประจำของ อีวา เฉิน 

 

instagram-facebook-headquarter

 

ไม่ใช่แค่การตกแต่งในออฟฟิศที่สวยจนเราอยากย้ายมาทำงานที่นี่เท่านั้น แต่วิวบนดาดฟ้าก็ยังน่าอิจฉามาก! เพราะเราจะมองเห็นตึกสำคัญๆ ในนิวยอร์กได้ด้วย

 

instagram-facebook-headquarter

 

และนี่คือ ‘บาร์ลับ’ ในออฟฟิศของอินสตาแกรมและเฟซบุ๊ก แม้ขนาดจะพอๆ กับ Hidden Bar ที่อื่น แต่ก็มีพื้นที่ให้นั่งชิวและเอาแอลกอฮอลล์มาชงกันตรงนี้ได้ตามสบาย! 

 

instagram-facebook-headquarter

 

แม้อินสตาแกรมและเฟซบุ๊กจะเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัล แต่ภายในออฟฟิศก็ยังมีโซนงานคราฟต์ให้พนักงานได้ทำเวิร์กช็อปวาดโปสเตอร์ ตัดกระดาษ และออกแบบผลงานแบบทำมือสนุกๆ ได้ด้วย

 

instagram-facebook-headquarter

 

Micro Kitchen อีกที่ที่มีจุดบริการตู้ทำน้ำโซดาแบบเลือกเองได้! ซึ่งเราก็ไปลองกดเลือกได้ว่าจะเอารสมะพร้าว แตงโม สตรอว์เบอร์รี หรือรสชาตอื่นๆ พร้อมกำหนดความหวานเองได้ด้วย ถือเป็นตู้น้ำที่เก๋กว่าตู้น้ำออฟฟิศอื่นจริงๆ

 

instagram-facebook-headquarter

 

ทั้งอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กต่างมีแขกมาเยี่ยมมากมาย ถ้าใครอยากฝากข้อความทิ้งไว้ เขาก็มีบอร์ด ‘The Facebook Wall: What’s on your mind’ พร้อมปากกาเตรียมไว้ให้ขีดเขียนผนังได้ทันที ซึ่งแน่นอนว่า THE STANDARD ของเราก็ทิ้งลายเซ็นบอกโลกไว้หน่อยว่าเคยมาเยือนที่นี่แล้วนะจ๊ะ 

INPARTNERSHIP Qatar Airways

The post THE STANDARD พาเที่ยวชมออฟฟิศสุดเท่ของ Instagram และ Facebook ในนิวยอร์ก! appeared first on THE STANDARD.

]]>
อะไรที่ทำให้เกือบ 400,000 คนเดินทางไป Times Square จุดศูนย์กลางของโลกที่หลอมรวมคนทุกรูปแบบ https://thestandard.co/city-vibes-new-york-times-square/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:51 +0000 https://thestandard.co/?p=273689 CITY VIBES New York Times Square

ชอว์น เมนเดส, บิลลี อายลิช หรือแม้แต่เจ๊ไฝ! นี่คือเพียง […]

The post อะไรที่ทำให้เกือบ 400,000 คนเดินทางไป Times Square จุดศูนย์กลางของโลกที่หลอมรวมคนทุกรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
CITY VIBES New York Times Square

ชอว์น เมนเดส, บิลลี อายลิช หรือแม้แต่เจ๊ไฝ! นี่คือเพียงใบหน้าบางคนที่ THE STANDARD ได้เห็นปรากฏขึ้นจอยักย์ LED ในย่าน Times Square ซึ่งเปรียบเสมือนสี่แยกหรือจุดศูนย์กลางของโลก ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Crossroads (ไม่ใช่หนังของบริตนีย์ สเปียร์ส) โดยแค่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็มีคนเดินทางมาที่ Times Square 394,002 คนโดยเฉลี่ยต่อวัน, ละครเวทีบรอดเวย์ทำเงินกว่า 35,464,701 ล้านเหรียญต่อสัปดาห์ และมีพื้นที่โดนเช่าไปกว่า 116,066 แห่ง

 

แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว Times Square ตามดั้งเดิมมีชื่อว่า Long Acre ซึ่งเอาชื่อเดียวกันจากถนนในย่านเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอน ซึ่งในตอนแรกทาง William H. Vanderbilt ที่เป็นต้นตระกูลของนักข่าวและพิธีกร แอนเดอร์สัน คูเปอร์ เป็นเจ้าของ และใช้เป็นที่ค้าขายม้า American Horse Exchange ก่อนที่จะเปลี่ยนเจ้าของและชื่อเป็น Times Square ในช่วงยุคต้น 1900 โดยนายกเทศมนตรี George B. McClellan ในตอนหลังปรับมาเป็นสถานที่เชิงพาณิชย์กับห้างสรรพสินค้า โรงละครบรอดเวย์ และป้ายโฆษณากว่า 200 จุดที่มีรายงานว่าทุกวันนี้มีราคาสูงถึง 4 ล้านเหรียญต่อปี

 

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

CITY VIBES New York Times Square

INPARTNERSHIP Qatar Airways

อ้างอิง: Times Square District Management Association

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post อะไรที่ทำให้เกือบ 400,000 คนเดินทางไป Times Square จุดศูนย์กลางของโลกที่หลอมรวมคนทุกรูปแบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไม THE STANDARD ต้องเสียเวลาไปทำคอนเทนต์วัฒนธรรมไกลถึงนิวยอร์ก ในยุคที่สื่อโดน disrupt https://thestandard.co/city-vibes-new-york/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:46 +0000 https://thestandard.co/?p=272728

คำว่า ‘อึดอัด’ ‘โลกที่สาม’ และ ‘จำเจ’ อาจเป็นคำในแง่ลบส […]

The post ทำไม THE STANDARD ต้องเสียเวลาไปทำคอนเทนต์วัฒนธรรมไกลถึงนิวยอร์ก ในยุคที่สื่อโดน disrupt appeared first on THE STANDARD.

]]>

คำว่า ‘อึดอัด’ ‘โลกที่สาม’ และ ‘จำเจ’ อาจเป็นคำในแง่ลบสำหรับหลายคน แต่สำหรับผมแล้ว 3 คำนี้คือแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์โปรเจกต์ที่ชื่อ City Vibes: New York ของ THE STANDARD ที่ผมหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการผลิตคอนเทนต์เชิงวัฒนธรรมสำหรับประเทศไทย และทำให้เห็นว่าในยุคที่ทุกอย่างถูกเล่นต่างๆ นานาว่า ‘Exclusive’ หรือ ‘ระดับโลก’ จริงๆ แล้วคอนเทนต์อะไรที่เหมาะสมกับคำเหล่านี้

 

เมื่อประมาณเดือนตุลาคม ปี 2018 ผมตกอยู่ในภวังค์ที่นั่งถามตัวเองเกือบทุกวันว่าเราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรให้งานยังสนุกและท้าทายอยู่ตลอดเวลา เพราะ ณ ตอนนั้น THE STANDARD ก็ถือว่าเริ่มฮิตติดลมบน มียอดแชร์ ยอดเอ็นเกจเมนต์ และยอดวิววีดีโอแบบที่ทำให้รู้สึกว่างานที่เราทำออกไปมีคนเห็นจริงๆ แต่ในขณะเดียวกันผมก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในวัฏจักรของการทำอะไรเดิมๆ เขียนบทความ เขียนอัปเดตง่ายๆ พอให้หัวหน้าเห็นว่าเราก็มีงานส่ง ซึ่งหากเราจะเป็นอย่างนี้ต่อไปและอยู่ไปวันๆ เพราะอย่างไรก็ได้เงินเดือน ได้โบนัส ได้ไปออกอีเวนต์สวยหรู จิบแชมเปญ และมีแบรนด์ส่งของมาเพื่อให้เราถ่ายรูปขอบคุณลงในอินสตาแกรม… 

 

‘คุณค่า’ ของผมในฐานะสื่อจริงๆ แล้วคืออะไร และเราจะทำอย่างไรให้ไม่โดนสื่อด้วยกันเองมาตั้งคำครหาว่าได้ดีแค่เพราะแปลข่าวจากต่างประเทศ

 

ผมจึงมีไอเดียแบบเล่นใหญ่ว่าอยากไปหัวเมืองสำคัญรอบโลก และทำโปรเจกต์ที่เราจะมีโอกาสไปเจอและพูดคุยกับคนเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ระดับโลกที่หมุนรอบตัวเรา ซึ่งเป็น Original Content เหมือน Netflix ที่มี Original Series โดยโปรเจกต์จะใช้ชื่อว่า City Vibes ที่ล้อกับคำว่า City Guides ซึ่งสมัยก่อนในยุคสื่อกระดาษเป็นหนึ่งเราจะคุ้นเคยกันดีว่าเมื่อไปเที่ยวประเทศไหนก็ต้องซื้อหนังสือท่องเที่ยวเมืองนั้นๆ

 

 

โดยเมืองแรกที่ผมเลือกก็คือมหานครนิวยอร์ก เพราะผมยังเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่หล่อหลอมวัฒนธรรมมนุษย์เรามากที่สุด โดยผมตั้งโจทย์ท้าทายตัวเองและทีมงานว่าถ้าเราต้องเลือกเมืองที่แมสที่สุดในโลก ที่มีคอนเทนต์มากมายในทุกแพลตฟอร์ม เราจะทำอย่างไรให้แตกต่างและลบคำสบประมาทว่าการเป็นสื่อประเทศโลกที่สามก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่สามารถไปทำคอนเทนต์ในประเทศโลกที่หนึ่งได้ และทำอย่างไรให้ออกมาอย่างมีชั้นเชิง มีคุณค่า และทำให้คนต่างชาติที่อาจเคยมองเราด้วยหางตากลับต้องมองอย่างจริงจังว่าเราทำอะไรได้

 

เกือบ 2 สัปดาห์ที่ผมและทีมงานอีก 4 คนไปทำงานที่นิวยอร์ก ผมสัมผัสได้เลยว่าที่นี่ไม่ใช่แค่เมือง American Dream ที่คนอเมริกันอยากไปใช้ชีวิต แต่เป็น Universal Dream ของคนทั้งโลกจริงๆ เราได้ไปพูดคุยกับ ฟิลลิป ลิม ดีไซเนอร์ระดับโลกที่เกิดในประเทศไทยและอพยพไปอเมริกา, พูดคุยกับ นิโคลา กลาส ดีไซเนอร์หญิงจากเมืองเล็กๆ ในไอร์แลนด์เหนือที่ตอนนี้กลายเป็นครีเอทีฟไดเรกเตอร์ของ Kate Spade, พูดคุยกับพ่อลูกทายาทรุ่นที่ 5 ของ Moscot แบรนด์แว่นตาที่มีรากฐานมาจากการที่คุณทวดอพยพมาจากยุโรปโดยเรือ และพูดคุยกับ ดีใจ โกสิยพงษ์ ผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่หลายคนน่าจะรู้จักนามสกุล ซึ่งเธอก็ไม่ได้เกาะกระแสชื่อเสียงของคุณพ่อ แต่เลือกย้ายมาอยู่ที่นิวยอร์กเพื่อตามความฝันในการเป็นช่างภาพ 

 

มากไปกว่านั้น ในฐานะที่ผมเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในยุค Digital Disruption ที่แปรผันตัวเองมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ ผมก็รู้สึกดีใจว่าโปรเจกต์นี้เหมือนเป็นการกลับไปทำงานในจุดเริ่มต้นและรากฐานของตัวเองที่เราไม่ควรลืม ซึ่งเราได้มีเวลาคัดสรรคอนเทนต์ดีๆ ได้อยู่กับมันนานๆ พร้อมถกเถียงกับทีมงานจนเกิดเป็นรูปเป็นร่างที่เมื่อกลับมาอ่านหรือชมก็จะรู้สึกว่ามีคุณค่า ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในช่วงหลัง THE STANDARD และ THE STANDARD POP ได้ห่างหายจากการทำบทความฟีเจอร์ เพราะเราก็ต้องวิ่งตามเกมดิจิทัลและแย่งชิงพื้นที่สื่อ โดยเฉพาะเมื่อคนจับจ้องและพึ่งพาเรามากขึ้น

 

 

แต่เพราะความอยากเล่นใหญ่ของผม โปรเจกต์นี้ก็ทำตัวเองเจ็บหนักสาหัสเหมือนกัน โดยสิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้คือความเชื่อมั่นในศักยภาพตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าให้มันข้ามเส้นจนกลายเป็นอีโก้และความหลงตัวเอง เพราะอยู่ในไทยเราอาจถูกสปอยล์และขอสัมภาษณ์ใครก็ได้ แต่เมื่อออกนอกประเทศ THE STANDARD ก็ถือว่าเป็น no one ในสายตาต่างชาติ เราไม่ได้มีภาษีเหมือนสื่อนิตยสารหัวนอกในไทยที่ส่งอีเมลไปขอสัมภาษณ์แล้วคนที่โน่นก็อาจสนใจเพราะชื่อ ซึ่งเราก็โดนหลายแบรนด์ใหญ่ปฏิเสธทันที บางแบรนด์ก็จะเหมือนสนใจและให้ความหวัง แต่ก็มาปฏิเสธภายหลัง หรือบางแบรนด์ที่เราได้สัมภาษณ์ก็ลงดีเทลเยอะและเจ้ากี้เจ้าการในทุกขั้นตอนจนเราต้องพลิกตารางการทำงานอยู่ทุกวัน ทั้งที่มีการวางแผนล่วงหน้ามาเป็นเดือนๆ

 

สุดท้ายนี้ผมคงไม่ได้หวังว่าโปรเจกต์ City Vibes: New York จะต้องฮิตถล่มทลาย เพราะหลายอย่างที่เราเสนอก็มีความเฉพาะกลุ่ม ผมได้แต่หวังว่าในยุคที่คอนเทนต์วัฒนธรรมและแฟชั่นถูกจำกัดความผ่านเฮดไลน์ Clickbait SEO แบบคะแนนเต็ม “สวยปัง ยืนหนึ่ง…สาวแฟต้องมี” เป็นส่วนใหญ่ (ที่ผมก็ทำเหมือนกัน) บางครั้งสิ่งที่ THE STANDARD นำเสนอออกไปกับโปรเจกต์ City Vibes: New York ก็อาจช่วยให้คนที่อยากสัมผัสไลฟ์สไตล์ของวงการเหล่านี้เห็นว่าจริงๆ แล้วเส้นทางสายนี้ก็ไม่ได้เดินตามแบบฉบับหนังนางมารร้ายใส่รองเท้าปราด้าอย่างเดียว แต่การที่จะก้าวมาสู่จุดนี้คุณก็ต้องอดทน รักในสิ่งที่ทำ และไม่ได้ทำไปเพื่อจะเด่นจะดัง แต่เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ตนเองสร้างสรรค์จะช่วยขับเคลื่อนสังคมและวัฒนธรรมได้ ซึ่งนั่นล่ะคือมูลค่าที่วัดได้จริง ไม่ว่าพรุ่งนี้โลกเราจะเดินไปในทิศทางไหน

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ทำไม THE STANDARD ต้องเสียเวลาไปทำคอนเทนต์วัฒนธรรมไกลถึงนิวยอร์ก ในยุคที่สื่อโดน disrupt appeared first on THE STANDARD.

]]>
Moscot แบรนด์แว่นตานิวยอร์กที่ยืนหยัดมาทุกเจเนอเรชัน https://thestandard.co/moscot/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:17 +0000 https://thestandard.co/?p=273974 Moscot

Moscot เป็นอีกหนึ่งแบรนด์แว่นตาที่หลายคนอาจคุ้นชื่อและไ […]

The post Moscot แบรนด์แว่นตานิวยอร์กที่ยืนหยัดมาทุกเจเนอเรชัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Moscot

Moscot เป็นอีกหนึ่งแบรนด์แว่นตาที่หลายคนอาจคุ้นชื่อและได้เห็นคนดังอย่าง จอห์นนี เดปป์, ทอม แฮงส์, ลูพิตา นยองโก, แอนเดอร์สัน คูเปอร์, เลดี้ กาก้า และไรอัน กอสลิง ต่างใส่กันมาหมดแล้ว โดย THE STANDARD มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษกับประธานแบรนด์ ฮาร์วีย์ มอสคอต และลูกชาย แซ็ก มอสคอต ทายาทรุ่นที่ 5 ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Designer Officer ที่มหานครนิวยอร์ก ซึ่งการสัมภาษณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นที่ร้านดั้งเดิมของแบรนด์ ณ ย่านโลเวอร์อีสต์ไซด์ ที่ก่อตั้งโดย เฮย์แมน มอสคอต ในปี 1915 หลังอพยพมาจากยุโรปตะวันออกและเริ่มขายแว่นตาบนรถเข็น

The post Moscot แบรนด์แว่นตานิวยอร์กที่ยืนหยัดมาทุกเจเนอเรชัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สัมภาษณ์ผู้ก่อตั้ง Le Labo แบรนด์สุดเท่ที่เท ‘ความรู้สึก’ เข้าไปในขวดน้ำหอม https://thestandard.co/le-labo/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:14 +0000 https://thestandard.co/?p=270617

Le Labo กลายเป็นแบรนด์น้ำหอมคุณภาพดีและเจาะกลุ่มตลาดแบบ […]

The post สัมภาษณ์ผู้ก่อตั้ง Le Labo แบรนด์สุดเท่ที่เท ‘ความรู้สึก’ เข้าไปในขวดน้ำหอม appeared first on THE STANDARD.

]]>

Le Labo กลายเป็นแบรนด์น้ำหอมคุณภาพดีและเจาะกลุ่มตลาดแบบ Niche ที่กลับแมสที่สุดในตลาด เพราะแม้ Le Labo จะเน้นภาพลักษณ์สุดเท่ ด้วยการผสมขายให้ลูกค้าขวดต่อขวด (พร้อมแพ็กเกจจิ้งขวดใสที่ติดฉลากสีขาวบ่งบอกส่วนผสมในฟอนต์พิมพ์ดีด และการ Personalize ติดชื่อของลูกค้าบนขวดทุกขวด เป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจดจำได้) แถม Le Labo ยังไม่อาศัยการตลาดแบบใหญ่โตเหมือนแบรนด์ใหญ่แบรนด์อื่นๆ แต่กลับมีศิลปินและคนดังในวงการมากมายไม่ว่าจะเป็น เซเลนา โกเมซ, เอมิเลีย คลาร์ก, ไรอัน เรย์โนลด์ส ที่ออกตัวว่าใช้น้ำหอมจากแบรนด์นี้ และทำให้ทุกวันนี้ Le Labo กลายเป็นแบรนด์น้ำหอมสุด Niche ที่มีคนรู้จักมากมาย

 

THE STANDARD เดินทางไปสัมภาษณ์พิเศษ Edouard Roschi และ Fabrice Penot สองผู้ก่อตั้ง Le Labo ถึงที่มาของแบรนด์ และเบื้องหลังกลิ่นหอมๆ ที่พวกเขาบอกว่าเต็มไปด้วยความรู้สึกและจุดมุ่งหมายที่จะมอบความแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคม

 

 

เรารู้มาว่า Le Labo ไม่ใช่แบรนด์ที่ปล่อยน้ำหอมกลิ่นใหม่หลายๆ กลิ่นเพื่อเร่งทำการตลาด แต่กลับใช้เวลาถึง 1 ปีเต็มกว่าจะได้น้ำหอมกลิ่นใหม่แต่ละกลิ่น คุณช่วยเล่าถึงขั้นตอนในการสร้างสรรค์น้ำหอมกลิ่นใหม่ได้ไหม ทำไมมันถึงต้องใช้เวลาทั้งปีกว่าจะได้มา

Edouard Roschi: มันไม่มีกฎตายตัวเลยนะ บางทีมันก็ใช้เวลาหลายปีเหมือนกัน เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์กลิ่นที่แทบจะไม่มีทางผลิตจริงได้แบบง่ายๆ เพราะว่ามันมาจากไอเดียที่ไม่สามารถกลั่นกรองให้ออกมาเป็นอะไรที่เหมาะสมกับการผลิตจริง เพราะมันทำยังไงก็ไม่มีทางได้จริงๆ สิ่งที่เราแชร์ให้กับลูกค้าอาจจะเป็นเพียง 10% ของสิ่งที่เราพยายามทำ มันใช้เวลานานมากที่จะสร้างสรรค์สิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จ และเมื่อไรก็ตามที่คุณได้สิ่งที่สร้างความรู้สึกแตกต่างให้กับคุณ มันก็ต้องใช้เวลาทำให้จบ และทำให้มันดีขึ้นด้วยในทางเทคนิค 

 

วิธีที่เราใช้ในการตัดสินใจว่าน้ำหอมกลิ่นนั้นๆ เสร็จแล้ว คือมันต้องกระตุ้นอารมณ์บางอย่างในตัวคุณ จนทำให้คุณรู้สึกว่ากลิ่นนี้มันใช่ และมันเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น หรือไม่ก็คุณต้องพยายามปรับมันไปเรื่อยๆ จนตระหนักได้ว่าสิ่งที่คุณพยายามปรับ พยายามพัฒนามาตลอด มันไม่ได้ทำให้คุณได้สิ่งที่คุณต้องการ หรือสิ่งที่ดีกว่าเลย คุณก็ต้องกลับไปเริ่มหนึ่งใหม่ กลับไปหาความรู้สึกตั้งต้นที่คุณคิดว่ามันดีที่สุด บางทีคุณรู้สึกว่าไปไกลเกินไปแล้ว และคุณต้องย้อนกลับไปหาขั้นตอนในช่วงเดือนสองเดือนก่อนหน้า และตัดสินใจว่านั่นอาจจะเป็นกลิ่นที่ดีที่สุดที่คุณต้องการผลิต 

 

มันเต็มไปด้วยการทดลองและความผิดพลาด และมันเต็มไปด้วยการถกเถียงพูดคุยกับนักปรุงน้ำหอม ซึ่งก็จะมีศัพท์ทางเทคนิคมากมาย และการปรับเข้าหากันที่ถูกต้อง รวมถึงการผสมผสานของความอิมแพ็กทางอารมณ์และประสิทธิภาพเชิงเทคนิค คุณอาจจะผลิตน้ำหอมที่มีคุณภาพและมีกลิ่นหอม หรือบางทีอาจจะได้แค่เรื่องราวของการได้รับกลิ่นที่ดี แต่กลิ่นไม่สามารถติดอยู่ทนได้เลยเพราะเหตุผลทางการเทคนิคก็ได้

 

น้ำหอมทุกกลิ่นที่เราสร้างต่างได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราเจอในการใช้ชีวิตฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

 

 

คุณเคยบอกไว้ว่าในน้ำหอมทุกๆ กลิ่นที่คุณสร้าง คุณได้ฝากตัวตนบางส่วนของคุณเองลงไปในขวดด้วย ทั้งจิตใจ ความสนุก และความเศร้า แล้วกลิ่นไหนของ Le Labo ที่คุณทั้งคู่ใส่ความเป็นตัวเองลงไปมากที่สุด

Edouard Roschi: น้ำหอมทุกกลิ่นที่เราสร้างต่างได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่เราเจอในการใช้ชีวิตฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่ผมไม่แน่ใจว่ามันมีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่ามันคือสิ่งที่เราฝาก ‘ตัวตน’ ไว้ในขวดน้ำหอมนั้นๆ แต่มันคือการรวมกัน การผสมกันของความรู้สึกทั้งหมดที่เราเคยรู้สึก ตั้งแต่ความเศร้าไปจนถึงความสุข ความลำบากไปจนถึงการเฉลิมฉลอง มันคือการผสมรวมกันของสิ่งเหล่านี้ลงไปในขวดน้ำหอมทุกขวด 

 

น้ำหอมบางกลิ่นจบที่ความดาร์ก ความลึก แต่บางกลิ่นก็ได้รับแรงบันดาลใจจากโมเมนต์ที่มันแฮปปี้มากกว่า มันขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังสร้างสรรค์อะไรอยู่ คู่หูของผม Fabrice และผมเองต่างเคยลำบาก เช่นเดียวกับผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์ทุกคน ในการทำงานฝีมือขึ้นมาสักชิ้น Fabrice ลองเขียนหนังสือ ผมลองเล่นดนตรี แต่เราก็จบด้วยการใช้ศาสตร์การปรุงน้ำหอมเป็นหนทางในการบ่งบอกตัวเองและเล่าวิสัยทัศน์ของโลกและความงาม พวกเราต้องการสร้างความรู้สึก มันเป็นวิธีในการเชื่อมโยงกับผู้คนแบบที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ แต่กลับทำให้พวกเขายิ้มได้ หรือแม้กระทั่งร้องไห้ได้ เมื่อไรก็ตามที่คุณสัมผัสกับความวิเศษในการสร้างอิทธิพลต่อชีวิตของคนได้ด้วยกลิ่นแล้ว มันจะเสพติดมากๆ แต่ถ้าจะให้เลือกแค่น้ำหอมเพียงกลิ่นเดียวที่เราใส่ความเป็นตัวเองลงไปมากที่สุด มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตัดสินใจได้

 

 

แบรนด์ที่ยิ่งใหญ่แต่ละแบรนด์ยังคงอยู่ได้เพราะเหตุผลที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน ไม่ว่าพวกเขาจะตั้งใจแก้ไขปัญหาหรือเปลี่ยนวิธีในการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ก็ตาม แล้วพวกคุณล่ะ มีปัญหาตั้งต้นในใจที่อยากจะแก้ไขเพื่อลูกค้าหรือเปล่า

Fabrice Penot: ในช่วงแรกเริ่ม สิ่งที่เกิดขึ้นในใจพวกเรามันค่อนข้างเรียบง่าย ความตั้งใจเดิมของเราค่อนข้างเห็นแก่ตัวเหมือนกัน นั่นคือการปลดแอกตัวเองจากความสำเร็จในวัฒนธรรมองค์กรที่แสนน่าเบื่อที่เราคิดว่าจะต้องเจอ 

 

อีกเหตุผลคือเราต้องการให้ชีวิตของผู้คนสวยงามขึ้น ด้วยผลงานที่ทรงพลังและศิลปะที่ถูกเข้าใจผิดมาตลอด เราได้เรียนรู้จากกลิ่นเหล่านั้นที่ได้สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ ให้ความรู้สึกของความงามที่เราพบเจอได้ในชีวิตจริง

 

เท่าที่ฟัง พวกคุณดูให้น้ำหนักกับ ‘ความรู้สึก’ ในการสร้างสรรค์น้ำหอมสักกลิ่นมาก คุณพอจะจำได้ไหมว่ากลิ่นอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกพึงพอใจกลิ่นแรกในชีวิต

Fabrice Penot: ผมตกหลุมรักกับกลิ่นต่างๆ ตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ต้นมะเดื่อฝรั่งหน้าบ้านของคุณยาย, น้ำหอมของแม่, กลิ่นของหนังสือ, หญ้าที่เพิ่งตัดใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้คือกลิ่นในความทรงจำด้านบวกของผม

 

Le Labo ก่อตั้งในปี 2006 ซึ่งก็ผ่านมา 13 ปีแล้ว Le Labo ในปี 2019 เป็นแบบเดียวกับที่คุณเคยคาดหวังไว้ในตอนแรกเริ่มหรือเปล่า

Fabrice Penot: โลกเปลี่ยนไปมากในระยะเวลาตลอด 13 ปีที่ผ่านมา แต่ Le Labo เหมือนเดิม กล่องบรรจุภัณฑ์ของเราเหมือนเดิม ป้ายเหมือนเดิม งานฝีมือของเราเหมือนเดิม และความตั้งใจของเราก็เหมือนเดิม มีแค่เพียงการตกแต่งในร้านที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

อะไรทำให้ Le Labo ตัดสินใจสร้างน้ำหอมกลิ่นพิเศษให้กับเมืองต่างๆ ในแต่ละประเทศ

Fabrice Penot: เราสร้าง Le Labo ด้วยการเปิดห้องแล็บเล็กๆ ของเราบนถนน Elizabeth Street ในนิวยอร์ก เพราะเราต้องการที่จะต่อต้านกระแสของการคล้อยตามกันในสังคมที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนทำอะไรเหมือนกันไปหมดในสังคม เมื่อไรก็ตามที่เราเดินทางไปที่ต่างๆ เราค่อนข้างเบื่อที่ต้องเจอแต่ร้านเดิมๆ ในลอสแอนเจลิส, โตเกียว, ปารีส (ถึงแม้ว่ามันจะมีสถานที่ทางวัฒนธรรมอีกหลายที่ให้ค้นพบนอกจากการช้อปปิ้งก็เถอะ) เราจึงต้องการที่จะเพิ่มประสบการณ์ทางวัฒนธรรมเข้าไปแบบที่คุณจะไม่มีทางได้พบเจอที่ไหน และพอเรามีห้องแล็บของตัวเองในเมืองหลวงสำคัญเมืองหนึ่งของโลก ความเสี่ยงคือการที่เราจะกลายเป็นเหมือนกับสิ่งที่เราอยากจะต่อต้านในตอนแรก 

 

แล้วเราจะต่อสู้กับมันอย่างไร ก็ด้วยการที่เราต้องตื่นตัวกับมัน และรู้ตัวในทุกๆ วัน ทำให้ตัวเราเองมั่นใจว่าประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับมันจะต้องไม่เหมือนกับที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์จากหน้าร้าน หรือประสบการณ์ที่คุณได้รับจากน้ำหอมของเรา และนั่นคือเหตุผลที่เราตัดสินใจสร้าง City Exclusives ที่น้ำหอมของเราจะเชิดชูเมืองต่างๆ ที่เรามีสาขาอยู่ และจะไม่มีวางขายที่อื่นอีกด้วย (ยกเว้นในเดือนกันยายนที่คอลเล็กชันนี้จะวางขายทุกๆ ร้านรอบโลก) ซึ่งมันท้าทายผลกำไรทางธุรกิจสำหรับเรา แต่ก็ตอบโจทย์ความตั้งใจแรกเริ่มของเราเช่นกัน

 

คุณไม่ทำการโฆษณาแบรนด์สักเท่าไร แล้วอะไรคือหัวใจในการทำให้ผู้คนตกหลุมรัก Le Labo ได้อย่างธรรมชาติ และคุณสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าอย่างไร

Fabrice Penot: เราเชื่อว่าถ้าคุณหลงใหลในสิ่งที่ทำและเชื่อมั่นมากๆ มันจะมีคนที่สังเกตเห็นและชื่นชมในสิ่งนั้นเสมอ แค่คุณต้องอดทนและทำในสิ่งที่ตัวเองรักต่อไปเรื่อยๆ คล้ายๆ กับสิ่งที่คุณมักทำในความสัมพันธ์ คอยดูมันเติบโต ยอมรับในบางครั้งที่คุณต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด และโตไปกับมัน โฟกัสในสิ่งที่เป็น Comfort Zone ของคุณ และหมั่นเติมสิ่งที่น่าสนใจเข้าไปในเรื่องราวที่คุณพยายามเล่า แล้วผู้คนจะยอมรับในสิ่งที่คุณทำ จากนั้นพวกเขาก็จะบอกกันปากต่อปาก คุณไม่ต้องพยายามบังคับใคร หรือไปบอกพวกเขาว่าใช้น้ำหอมกลิ่นนี้สิแล้วคุณจะดูเหมือนชาร์ลิซ เธอรอน อะไรแบบนั้นเลย 

 

 

ใครคือลูกค้าในอุดมคติของคุณ

Fabrice Penot: คนที่รู้สึกและอินไปกับพลังวิเศษล่องหนที่เราพยายามส่งมอบให้ คนที่ไม่สนใจเสียงรอบข้าง ไม่สนใจความหรูหรา สิ่งแวววาว แต่ใส่ใจในความหมาย ความรู้สึก และใส่ใจในคุณค่าของงานฝีมือที่แท้จริง

 

เราย้อนกลับมาคุยเรื่องส่วนตัวของคุณทั้งสองกันบ้าง วันแรกที่คุณทั้งคู่ได้เจอกันเป็นอย่างไรบ้าง และอะไรคืออย่างแรกที่คุณสังเกตในตัวของอีกฝ่าย

Edouard Roschi: เราเจอกันครั้งแรกที่ Giorgio Armani Fragrances ในปารีส เราทำงานแบบเดียวให้กับแบรนด์เดียวกัน แต่คนละส่วน Fabrice ทำงานให้กับ Giorgio Armani Fragrances และผมทำงานให้กับ Emporio Armani Fragrances ซึ่งเป็นเหมือนแบรนด์ลูกที่เด็กลงมา หลังจากทำน้ำหอมกันได้ 3-4 ปี เราบินไปมิลานและไปพบกับจิออร์จิโอ อาร์มานี และน้ำหอมของเราก็ผ่าน พวกเราจึงกลายมาเป็นเพื่อนสนิทกัน และก็เริ่มบ่นเกี่ยวกับงานที่ตัวเองทำอยู่กันทั้งคู่ 

 

ตั้งแต่โมเมนต์นั้นเป็นต้นมา เราเริ่มมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขึ้นว่า Le Labo จะออกมาเป็นอย่างไร และใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งก็มีการเดินทางเข้ามาเกี่ยวเยอะมาก เพราะตอนนั้น Fabrice อยู่นิวยอร์ก และผมอยู่ปารีส มันจึงเป็นการทำงานแบบไปกลับอยู่ตลอด เราทั้งคู่อยากทำอะไรที่มีความหมายสำหรับเรา มีความตั้งใจที่ถูกต้อง ซึ่งมันก็ตรงกับความรู้สึกของเราตอนนั้น และก็ทำให้เราแตกต่าง นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์ และมันก็ใช้เวลาหลังจากนั้นในการเปลี่ยนแรงผลักดันนั้นให้กลายเป็นความจริง ผ่านวิธีการมากมายในการสื่อสารของแบรนด์ และใช้เวลาเป็นปีๆ ซึ่งเราก็ผ่านขาขึ้น ขาลง การเปลี่ยนแปลง แก้ไข คุยกับคนรู้จักมากมาย และตระหนักได้ว่าเรากำลังเดินทางไปผิดทิศ มันใช้เวลาสักพัก 

 

การทำเรื่องที่เรียบง่ายนี่แหละมันอาจจะยากที่สุด แต่เมื่อไรก็ตามที่เรามาถึงจุดที่เรียบง่ายแบบที่เราต้องการแล้ว ทุกอย่างก็เมกเซนส์ขึ้นมา เมื่อคุณเข้าถึงจุดขับเคลื่อนพื้นฐานของความงามในเรื่องราวของคุณ ทุกการตัดสินใจมันก็กลายเป็นเรื่องง่าย แต่นั่นก็ตามมาด้วยการทดลอง การยอมเจ็บปวดกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้

 

 

ทำงานเชิงครีเอทีฟที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และโยนไอเดียกับพาร์ตเนอร์อีกคนหนึ่งดูจะเป็นเรื่องยากและอาจจะมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน คุณสองคนมีวิธีการทำงานด้วยกันอย่างไร และคุณคิดว่าอะไรคือข้อดีของอีกฝ่าย

Edouard Roschi: ถ้าให้ตอบแบบ Business School คงต้องตอบว่าพาร์ตเนอร์ควรจะมีความแตกต่างกันเพื่อให้มันสมดุล แต่ Fabrice กับผมไม่ได้ต่างกันขนาดนั้น ผมว่าในตอนท้ายสุดคือเราต้องเคารพความเห็นของกันและกัน และเชื่อใจกันและกัน มันคือความรู้สึกของการมีอิสระที่มาพร้อมกับการเคารพกัน เพราะคุณจะกล้าแสดงความเห็นและพูดอะไรก็ได้ คุณไม่ต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองให้กับอีกฝ่ายรู้ เพราะอีกฝ่ายเชื่อในตัวคุณและเคารพในสิ่งที่คุณทำให้กับแบรนด์ 

 

ซึ่งมันสำคัญมาก เพราะเมื่อไรก็ตามที่คุณเจออุปสรรคหรือมีความเห็นที่ต่างกัน คุณมั่นใจได้ว่าจะหาทางออกได้ เพราะท้ายที่สุดคุณจะรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องมีเหตุผลที่ดีสนับสนุนการที่เขาเห็นต่าง และมันง่ายขึ้นสำหรับคุณที่จะเปลี่ยนใจ และไม่ติดอยู่กับอีโก้ของตัวเอง หรือติดอยู่กับที่ที่คุณรู้สึกว่าไม่อยากจะเปลี่ยนใจอะไรง่ายๆ พูดง่ายๆคือมันคือความเชื่อใจและเคารพกันและกัน

 

คุยกันเรื่องน้ำหอมมาขนาดนี้แล้ว คุณมีกลิ่นน้ำหอมประจำตัวของตัวเองกันบ้างหรือเปล่า

Fabrice Penot: ผมเป็นอีกคนที่ตกเป็นเหยื่อของ Santal 33 มันไม่มีทางเลี่ยงได้เลย เชื่อผม ผมลองมาแล้ว

 

เราหลงรักหน้าร้าน Le Labo ใน Williamsburg ของคุณมาก เราจะมีโอกาสได้เห็นช้อปสวยๆ แบบนี้ในกรุงเทพฯ บ้างไหม

ทำไมจะไม่ล่ะ! 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post สัมภาษณ์ผู้ก่อตั้ง Le Labo แบรนด์สุดเท่ที่เท ‘ความรู้สึก’ เข้าไปในขวดน้ำหอม appeared first on THE STANDARD.

]]>
อะไรคือเสน่ห์ของ Central Park ที่ทำให้กว่า 42 ล้านคนต้องเดินทางไปทุกปี https://thestandard.co/central-park/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:13 +0000 https://thestandard.co/?p=273976 Central Park

หากต้องเลือกหนึ่งสถานที่ที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของนิว […]

The post อะไรคือเสน่ห์ของ Central Park ที่ทำให้กว่า 42 ล้านคนต้องเดินทางไปทุกปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Central Park

หากต้องเลือกหนึ่งสถานที่ที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของนิวยอร์ก ทั้งในเชิงรูปธรรมหรือนามธรรม ซึ่งสามารถหล่อเลี้ยงให้เมืองนี้มีชีวิตและสีสัน เราก็คงต้องเลือก Central Park สวนใจกลางนิวยอร์กขนาด 750 เอเคอร์ ที่สร้างในปี 1853 เพราะไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวต่างต้องไปแวะเยี่ยมชมสถานที่สุดไอคอนิกต่างๆ ตลอดทุกฤดูกาล อาทิ ลานน้ำพุ Bethesda Terrace แบบภาพยนตร์ กุมภาพันธ์, ลาน Strawberry Fields ที่อุทิศให้ John Lennon, สะพาน Bow Bridge ที่ดีไซน์โดย Calvert Vaux และ Jacob Wrey Mould หรือไปพายเรือที่โซน Conservatory Water 

 

แต่มากไปกว่านั้น มาที่นี่คุณก็จะได้สัมผัสการใช้ชีวิตของชาว New Yorker จริงๆ ที่มาจากทุกเชื้อชาติ อายุ หน้าที่การงาน เพศสภาพ และศาสนา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่เราประทับใจทุกครั้งที่มา โดยมีทั้งคนที่มีคอนโดฯ หรูย่าน Upper East Side มาวิ่งออกกำลังกายพร้อมใส่ชุด Under Armour และมีหูฟัง EarPods, เด็กนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่มีชีวิตเหมือน Chuck Bass มาทำกิจกรรมวิชาพละ หรือการที่มีคู่รักต่างมากะหนุงกะหนิง ที่ทำให้เราอยากถามว่า “พวกคุณต้องการเป็น Ralph Fiennes และ Jennifer Lopez ใน Maid In Manhattan เหรอ?” 

 

Central Park

Central Park

Central Park

Central Park

Central Park

Central Park

Central Park
Central Park

Central Park

 

 

อ้างอิง:

  • Central Park Conservancy

The post อะไรคือเสน่ห์ของ Central Park ที่ทำให้กว่า 42 ล้านคนต้องเดินทางไปทุกปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Phillip Lim ดีไซเนอร์ระดับโลก กับความผูกพันที่มีต่อแฟชั่นและประเทศไทย https://thestandard.co/phillip-lim/ Sun, 28 Jul 2019 17:01:11 +0000 https://thestandard.co/?p=274150 Phillip Lim

ครั้งแรกที่ ฟิลลิป ลิม ดีไซเนอร์ระดับโลกและผู้ก่อตั้งแบ […]

The post Phillip Lim ดีไซเนอร์ระดับโลก กับความผูกพันที่มีต่อแฟชั่นและประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Phillip Lim

ครั้งแรกที่ ฟิลลิป ลิม ดีไซเนอร์ระดับโลกและผู้ก่อตั้งแบรนด์ 3.1 Phillip Lim ให้สัมภาษณ์กับสื่อไทยที่ออฟฟิศของเขาในมหานครนิวยอร์ก เกี่ยวกับมุมมองการทำงาน ทัศนคติต่อวงการแฟชั่น และประวัติความเป็นมาที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเขาเกิดที่ประเทศไทย และสิ่งแรกที่เขาจะทำตอนกลับมาเมืองไทยคือไปกินข้าวร้านเจ๊ไฝ! 

 

The post Phillip Lim ดีไซเนอร์ระดับโลก กับความผูกพันที่มีต่อแฟชั่นและประเทศไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>