ไม่มีหมวดหมู่ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 20 Jan 2025 09:58:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เจาะลึกยุคทรัมป์ 2.0 หาผู้ชนะในโลกการลงทุน https://thestandard.co/trump-2-0-and-investment/ Mon, 20 Jan 2025 09:58:51 +0000 https://thestandard.co/?p=1032255

ยุค ‘ทรัมป์ 2.0’ เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันท […]

The post เจาะลึกยุคทรัมป์ 2.0 หาผู้ชนะในโลกการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ยุค ‘ทรัมป์ 2.0’ เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2025 เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา จะเข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งการกลับมาของทรัมป์ทำให้หลายต่อหลายคนคาดการณ์กันว่าจะส่งแรงกระเพื่อม พร้อมกับความผันผวนที่มากขึ้นในโลกของการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนเองการเตรียมพร้อมรับมือให้ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรากลายเป็นผู้ชนะได้

 

ส่องนโยบายหลักของทรัมป์

 

‘ภาษี’ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทรัมป์ที่น่าจะถูกนำมาใช้อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าความเข้มข้นจะมากน้อยแค่ไหนจากที่เคยหาเสียงไว้ หลักๆ แล้วนโยบายด้านภาษีของทรัมป์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่

 

  1. ภาษีการค้าระหว่างประเทศ
    ทรัมป์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำแพงภาษี โดยเฉพาะกับคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ซึ่งอาจมีการปรับขึ้นภาษีสูงถึง 60% ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น เม็กซิโกและแคนาดา รวมทั้งไทย อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 10% เพื่อผลักดันให้บริษัทในสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตกลับมาในประเทศ

 

  1. ภาษีสำหรับภาคธุรกิจ
    ทรัมป์มีแผนจะปรับลดภาษีนิติบุคคลของสหรัฐฯ จาก 21% เหลือ 15% เพื่อจูงใจให้ธุรกิจขยายการลงทุนในประเทศ เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม นโยบายถัดมาคือการให้ความสำคัญกับ ‘ความมั่นคงด้านพลังงาน’ โดยสนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในประเทศ ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว

 

อีกหนึ่งนโยบายที่น่าจับตามองคือการคลายกฎการควบคุมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมกับการสนับสนุนการพัฒนาและใช้คริปโตในสหรัฐฯ มากขึ้น เพื่อกระตุ้นภาคเทคโนโลยีและการเงิน

 

นอกจากนี้นโยบายหลักอื่นๆ ของทรัมป์ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ คือเรื่องของการเข้มงวดเกี่ยวกับการรับผู้อพยพและการให้วีซ่ากับคนต่างชาติ รวมทั้งลดการสนับสนุนเงินทุนต่อประเทศที่เป็นพันธมิตร 

 

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

 

นโยบายภาษีของทรัมป์คาดว่าจะนำไปสู่การปรับขึ้นของเงินเฟ้ออีกครั้ง และผลกระทบที่จะตามมาคือนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจจะเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้การลดดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะช้าลง ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดอื่นๆ มีโอกาสจะไหลกลับไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า

 

ขณะที่การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ตามมาด้วยญี่ปุ่น เวียดนาม และไต้หวัน เนื่องจากกำแพงภาษีที่สูงขึ้น ในแง่ของผลตอบแทนของตลาดท่ามกลางสงครามการค้าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคทรัมป์ 1.0 จะเห็นว่าตลาดหุ้นในเอเชียมีผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดหุ้นโลก

 

และในครั้งนี้ก็คาดว่าตลาดในเอเชียเหนือ เช่น จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และเกาหลีใต้ จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรมทุน ในทางกลับกัน แนวโน้มของเอเชียอาจมีความน่าสนใจมากขึ้น หากมาตรการด้านภาษีของทรัมป์อยู่ในระดับที่เบากว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ใครบ้างจะเป็นผู้ชนะในโลกการลงทุนยุคทรัมป์ 2.0

 

 

สำหรับหุ้นสหรัฐฯ ด้วยนโยบายที่หลากหลายอาจให้ผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ และทิศทางการดำเนินนโยบายของทรัมป์จะเป็นลักษณะแบบ Pro-growth คือเน้นการสร้างการเติบโตในประเทศ ก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจทั้งหุ้นกลุ่มการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นขนาดกลางและเล็กในสหรัฐฯ

 

สำหรับกลุ่มการเงิน จะได้แรงหนุนจากการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ สามารถจัดสรรเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการขยายธุรกิจ, การจ่ายเงินปันผล, และ/หรือการซื้อหุ้นคืนเพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลจะช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้นได้

 

ด้านกลุ่มเทคโนโลยี จะได้ประโยชน์จากนโยบายที่มุ่งเน้นการเติบโต (Pro-growth) ของทรัมป์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการเติบโตของกำไรบริษัทเทคฯ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของ AI

 

หุ้นขนาดกลางและเล็กของสหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีที่อาจเกิดขึ้น และหุ้นขนาดเล็กมักเป็นธุรกิจภายในประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงจากประเด็นการกีดกันทางการค้าทั่วโลก ด้านมูลค่าหุ้นยังคงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โอกาสที่หุ้นกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้นขนาดใหญ่จะเป็นผู้นำตลาด และจะช่วยสนับสนุนหุ้นขนาดเล็ก

 

นอกจากนี้ UOB Privilege Banking ยังแนะนำให้นักลงทุนสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่ง ทนทาน และเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายของทรัมป์ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) จะช่วยสร้าง Income ระหว่างการลงทุน และยังช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และอีกกลยุทธ์คือ Multi-Asset เพื่อการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน อีกทั้งเพื่อไม่พลาดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ ภูมิภาค และอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

 

อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ UOB Privilege Banking เพิ่มคำแนะนำ Tactical Call ในไตรมาส 1 ปี 2025 นี้คือ ทองคำ เรายังคงแนะนำให้จัดสรรในพอร์ตการลงทุนสัดส่วน 5-10% เพื่อใช้เป็นการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อทองคำจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น จากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และการกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการทองคำและเครื่องประดับของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง และธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่อาจเพิ่มการถือครองทองคำต่อเนื่อง

 

โดยภาพรวมนักลงทุนควรเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของนโยบายผลตอบแทนของดัชนีตลาดโดยรวมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น แต่ไม่น่าจะอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความแตกต่างของผลตอบแทนในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมอาจมีมากขึ้น

 

นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking 

 

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

อ้างอิง:

 

UOB Privilege Banking

The post เจาะลึกยุคทรัมป์ 2.0 หาผู้ชนะในโลกการลงทุน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jack Ma ห่วงการศึกษาชนบทจีน เตือน AI จะเปลี่ยนโลกใน 10 ปี พร้อมทุ่มเงินหนุนครูรุ่นใหม่สู้ศึกเทคโนโลยี https://thestandard.co/ai-set-reshape-world-jack-ma-tells-chinese-rural-teachers/ Wed, 15 Jan 2025 01:47:23 +0000 https://thestandard.co/?p=1030586 Jack Ma

Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group Holding ส่งสัญญาณเตือน […]

The post Jack Ma ห่วงการศึกษาชนบทจีน เตือน AI จะเปลี่ยนโลกใน 10 ปี พร้อมทุ่มเงินหนุนครูรุ่นใหม่สู้ศึกเทคโนโลยี appeared first on THE STANDARD.

]]>
Jack Ma

Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group Holding ส่งสัญญาณเตือนครั้งใหม่ว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเปลี่ยนแปลงโลกเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่เคยกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่าจะใช้เวลา 20 ปี แต่ล่าสุดระบุว่าการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นในเพียง 10 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่อาจส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่ต้องเร่งปรับตัว

 

ในสุนทรพจน์ผ่านวิดีโอที่เผยแพร่บนบัญชีโซเชียลมีเดียของมูลนิธิที่ตั้งตามชื่อของเขา เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของโครงการสนับสนุนครูในชนบท Ma อดีตครูที่ผันตัวมาเป็นมหาเศรษฐีวัย 60 ปี แสดงความกังวลถึงผลกระทบของ AI และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของจีนที่กำลังจะสร้างความท้าทายครั้งใหม่ให้กับระบบการศึกษาในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง

 

คำกล่าวนี้สอดคล้องกับสุนทรพจน์เมื่อเดือนที่แล้วในงานครบรอบ 20 ปีของ Ant Group ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีการเงิน ที่ Ma ระบุว่า “จากมุมมองในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก AI ใน 20 ปีข้างหน้าจะเกินจินตนาการของทุกคน เพราะ AI จะนำมาซึ่งยุคที่ยิ่งใหญ่กว่า” สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของเขาต่อผลกระทบของเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว

 

Ma หันมาให้ความสำคัญกับภาคการศึกษาและการเกษตรหลังเกษียณ โดยเขารักษาโปรไฟล์ต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังลงจากตำแหน่งบริหารทั้งหมดใน Alibaba บริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองหางโจว ซึ่งเขายังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด แม้จะถอยห่างจากธุรกิจ แต่เขายังคงถูกมองว่าเป็นตัวแทนของภาคเศรษฐกิจเอกชนจีน และเป็นผู้นำทางความคิดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและการศึกษาของประเทศ

 

ในการกล่าวสุนทรพจน์ทางวิดีโอต่อครูจำนวน 1,001 คนในแผ่นดินใหญ่ปี 2024 Ma ชี้ว่าการศึกษาในชนบทเปลี่ยนแปลงไปอย่าง ‘พลิกโฉม’ ในทศวรรษที่ผ่านมา “มีครูรุ่นใหม่เข้ามาร่วมอุดมการณ์มากขึ้น พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ความคิดไม่ล้าหลัง และบางครั้งยังอยู่ในแนวหน้าของการปฏิรูปการศึกษา” 

 

เขากล่าวชื่นชมครูรุ่นใหม่ที่กล้าคิดนอกกรอบและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

 

โครงการสนับสนุนครูชนบทของมูลนิธิ Jack Ma คัดเลือกครู 100 คนจากทั่วประเทศจีนทุกปี โดยแต่ละคนจะได้รับรางวัล 1 แสนหยวน (ประมาณ 4.7 แสนบาท) 

 

ในปี 2025 มีครูสมัครเข้าร่วม 2,894 คน โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกมีอายุเฉลี่ย 39 ปี และ 98% มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลที่เพิ่มสูงขึ้น

 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลนิธิได้รับใบสมัครประมาณ 70,000 คน เยี่ยมชมหมู่บ้านกว่า 1,500 แห่ง และสัมภาษณ์เกือบ 10,000 ครั้ง โดย 97.5% ของครูที่ได้รับคัดเลือกยังคงสอนอยู่ในพื้นที่ชนบท สะท้อนความสำเร็จของโครงการในการสร้างแรงจูงใจให้ครูที่มีความสามารถยังคงทำงานในพื้นที่ห่างไกล

 

นอกจากนี้ มูลนิธิยังมีโครงการสนับสนุนครูใหญ่ในชนบท โดยคัดเลือกครูใหญ่ 20 คนต่อปี แต่ละคนจะได้รับเงิน 5 แสนหยวน (ประมาณ 2.36 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในชนบทอย่างเป็นระบบ

 

Ma ก่อตั้งมูลนิธิของเขาในเดือนธันวาคม 2014 โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษา การประกอบการ ภาวะผู้นำของสตรี และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเขาที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวผ่านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน

 

การลงทุนในการศึกษาในชนบทของ Ma สะท้อนให้เห็นว่า แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพียงใด แต่ ‘การพัฒนาคน’ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่ AI กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การสร้างครูที่มีคุณภาพและวิสัยทัศน์ก้าวไกลจึงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

อ้างอิง:

 

 

The post Jack Ma ห่วงการศึกษาชนบทจีน เตือน AI จะเปลี่ยนโลกใน 10 ปี พร้อมทุ่มเงินหนุนครูรุ่นใหม่สู้ศึกเทคโนโลยี appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Weeknd เลื่อนการปล่อยอัลบั้มใหม่เนื่องจากไฟป่าที่ลอสแอนเจลิส https://thestandard.co/the-weeknd-hurry-up-tomorrow-postponed/ Tue, 14 Jan 2025 03:33:44 +0000 https://thestandard.co/?p=1030191

The Weeknd เลื่อนการเปิดตัวอัลบั้มใหม่ Hurry Up Tomorro […]

The post The Weeknd เลื่อนการปล่อยอัลบั้มใหม่เนื่องจากไฟป่าที่ลอสแอนเจลิส appeared first on THE STANDARD.

]]>

The Weeknd เลื่อนการเปิดตัวอัลบั้มใหม่ Hurry Up Tomorrow ออกไป 1 สัปดาห์ จากวันที่ 24 เป็น 31 มกราคม และยกเลิกคอนเสิร์ต Rose Bowl Concert จากเดิมที่มีกำหนดการจัดในวันที่ 25 มกราคม เนื่องจากไฟป่าที่กำลังลุกลามที่เมืองลอสแอนเจลิสในขณะนี้ 

 

ในโพสต์ประกาศนี้ระบุว่า “ด้วยความเคารพและห่วงใยต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในลอสแอนเจลิส ผมจึงขอยกเลิกคอนเสิร์ต Rose Bowl ที่มีกำหนดการในวันที่ 25 มกราคม เมืองแห่งนี้เป็นแรงบันดาลใจอันล้ำค่าสำหรับผมเสมอมา และผมขอส่งกำลังใจให้กับทุกคนที่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

 

“ด้วยเหตุนี้ ผมจึงตัดสินใจเลื่อนวันปล่อยอัลบั้มใหม่ของผมออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม และผมจะยังคงมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนและฟื้นฟูชุมชนและผู้คนเหล่านี้ ในขณะที่พวกเขากำลังฟื้นฟูสิ่งต่างๆ ให้กลับมาอีกครั้ง”

 

Hurry Up Tomorrow เป็นอัลบั้มสุดท้ายจากอัลบั้มไตรภาค ซึ่งอัลบั้มก่อนหน้านี้ก็คือ After Hours และ Dawn FM นอกจากการปล่อยอัลบั้มนี้แล้ว ในช่วงที่ผ่านมา The Weeknd เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาอยากจะเลิกใช้ชื่อ The Weeknd ในการทำเพลง เพราะเขามองว่าเขาทำผลงานต่างๆ ภายใต้ชื่อนี้จนถึงขีดสุดแล้ว และเขาก็อยากจะสำรวจตัวตนใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานอื่นต่อไปด้วย

 

ภาพ: The Weekndnd

อ้างอิง:

The post The Weeknd เลื่อนการปล่อยอัลบั้มใหม่เนื่องจากไฟป่าที่ลอสแอนเจลิส appeared first on THE STANDARD.

]]>
7 Things We Love About Phillip Lim EP.35 https://thestandard.co/podcast/7-things-we-love-about-phillip-lim-ep-35/ Mon, 13 Jan 2025 12:00:30 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1029995

7 Things We Love About… สัปดาห์นี้ได้รับเกียรติจากดีไซเ […]

The post 7 Things We Love About Phillip Lim EP.35 appeared first on THE STANDARD.

]]>

7 Things We Love About… สัปดาห์นี้ได้รับเกียรติจากดีไซเนอร์ระดับโลกอย่าง Phillip Lim มานั่งพูดคุยถึงในสตูดิโอของ THE STANDARD ซึ่งนี่จะเป็นการสัมภาษณ์ยาวครั้งแรก หลังจากที่เขาประกาศวางมือจากแบรนด์ 3.1 Phillip Lim ที่ตัวเองสร้างมานาน 20 ปี

 

เราได้พูดคุยย้อนไปถึงความทรงจำแฟชั่นจากช่วงยุควงดนตรี New Romantic จุดกำเนิดกระเป๋ารุ่นขายดีอย่าง Pashli Bag และคำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำงานแฟชั่นและสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง

 

ติดตามฟังและชมรายการ 7 Things We Love About Phillip Lim ได้ในวันจันทร์ เวลา 19.00 น. ทุกช่องทางสตรีมมิ่งและ YouTube ของ THE STANDARD POP

 


 

Credits

 

Executive Producer & Show Creator คริสตอฟเฟอร์ สเวนซัน

Producer ชุติกาญจน์ ปิยะมังคลา

Host & Content Creator เริ่มต้น เขมะเพ็ชร,ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์

Videographer THE STANDARD Production Team

Sound Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Motion Graphic นันทิยา ฤทธาภัย

Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

Channel Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล, วรรษมล สิงหโกมล, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, นัฐฐา สอนกลิ่น, ณัชชยา เมธากิตติพร, ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmaster ไชยพร ศิริกลการ

Social Media Admin สุทธกิตติ์ สุทธาวรรณกุล, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, มนัสชนก แก้วพรหม, ชลมาศ นาคศรีจันทร์

Archive ธมลวรรณ น้อยเครือ, เปมิกา เจิ้ง

Video Interlude 3.1 Phillip Lim

The post 7 Things We Love About Phillip Lim EP.35 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุป 7 โมเมนต์ที่นิยามวงการแฟชั่นในปี 2024 | 7 Things We Love About… EP.33 https://thestandard.co/podcast/7-things-we-love-about-ep-33/ Mon, 30 Dec 2024 12:05:46 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1025766

ในปี 2024 มีหลายอย่างเกิดขึ้นในวงการแฟชั่นทั้งขึ้นและลง […]

The post สรุป 7 โมเมนต์ที่นิยามวงการแฟชั่นในปี 2024 | 7 Things We Love About… EP.33 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในปี 2024 มีหลายอย่างเกิดขึ้นในวงการแฟชั่นทั้งขึ้นและลง และเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฝั่งแบรนด์ที่พากันผลัดใบเปลี่ยนครีเอทีฟไดเรกเตอร์ ทำให้เราต้องจับตามองกันต่อไปในปี 2025 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวน

 

แต่ก็มีโมเมนต์ที่ทำให้เรากลับมาสนุกกับแฟชั่นอีกครั้ง อย่างเช่น โชว์แห่งปีอย่าง Maison Margiela Artisanal Spring 2024 โดย John Galliano, ผลงานของสาวๆ BLACKPINK และดีไซเนอร์ฝั่งเบลเยียม รวมไปถึงพลังของดาราและประเทศไทย ที่กลายมาเป็นหมุดหมายใหม่ของวงการแฟชั่นลักชัวรี

 

และนี่คือ 7 โมเมนต์ที่นิยามวงการแฟชั่นในปี 2024

 

ติดตามฟังและชมรายการ 7 Things We Love About… ได้ในวันจันทร์ เวลา 19.00 น. ทุกช่องทางสตรีมมิ่งและ YouTube ของ THE STANDARD POP

 


 

Credits

 

Executive Producer & Show Creator คริสตอฟเฟอร์ สเวนซัน

Producer ชุติกาญจน์ ปิยะมังคลา

Host & Content Creator เริ่มต้น เขมะเพ็ชร,ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์

Videographer ธนกร ศักดิ์มณีกุล, พนาธร ไชยกุล, อรณิชา อภิวิศาลกิจ

Sound Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Motion Graphic นันทิยา ฤทธาภัย

Graphic Designer นิสากร ฤทธาภัย

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

Channel Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล, วรรษมล สิงหโกมล, ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, นัฐฐา สอนกลิ่น, ณัชชยา เมธากิตติพร, ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmaster พงศกร เพ่งพิศ

Social Media Admin สุทธกิตติ์ สุทธาวรรณกุล, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, มนัสชนก แก้วพรหม, ชลมาศ นาคศรีจันทร์

Archive ธมลวรรณ น้อยเครือ, เปมิกา เจิ้ง

Video Interlude Maison Margiela, CHANEL, Louis Vuitton, SNL, JACQUEMUS

The post สรุป 7 โมเมนต์ที่นิยามวงการแฟชั่นในปี 2024 | 7 Things We Love About… EP.33 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประเมิน Toxic Relationship ความรัก งาน ครอบครัว https://thestandard.co/podcast/open-relationship-ep110/ Thu, 26 Dec 2024 11:05:08 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1024060

Toxic Relationship หรือความสัมพันธ์อันเป็นพิษ เกิดขึ้นไ […]

The post ประเมิน Toxic Relationship ความรัก งาน ครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

Toxic Relationship หรือความสัมพันธ์อันเป็นพิษ เกิดขึ้นได้ทั้งความสัมพันธ์รัก ครอบครัว และที่ทำงาน โดยมีลักษณะหลักคือทำให้ ‘ไม่เป็นสุข ทุกข์ต่อเนื่อง’ อันส่งผลถึงสุขภาวะที่ดี อันหมายถึงความสุข สุขภาพกาย และสุขภาพจิต และอาจส่งผลให้หลายคู่ความสัมพันธ์ดำเนินไปถึงภาวะซึมเศร้า

 

Open Relationship, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพประกันภัย ร่วมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นจาก Toxic Relationship จึงอยากชวนสำรวจตั้งแต่รูปแบบการกระทำ ผลลัพธ์ทางใจ และทางออก ซึ่งแน่นอนว่าบางความสัมพันธ์อาจเดินออกมายาก หรือออกมาไม่ได้ ควรจะทำอย่างไรที่จะสร้างระยะห่างให้เกิดพิษทางใจในความสัมพันธ์น้อยที่สุด

 


 

ติดตาม Open Relationship ในช่องทางอื่นๆ

Open Relationship

Blockdit | Website

 


 

Credits

 

The Host ศ. ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ และ อรัน หนองพล

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Video Editor นิติศาสตร์ ไชยชนะ

Sound Director กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Graphic Designer พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster พงศกร เพ่งพิศ

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์ และ มนัสชนก แก้วพรหม

Archive Officer อาทิตยา อิสสรานุสรณ์

The post ประเมิน Toxic Relationship ความรัก งาน ครอบครัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดาวอังคาร บ้านใหม่ของมนุษย์ เป็นไปได้!? https://thestandard.co/podcast/space-shift-ep-5/ Wed, 25 Dec 2024 12:05:49 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1023695 ดาวอังคาร

ดาวอังคารอยู่ได้จริงเหรอ?   ทั้งอากาศเบาบางที่แทบไ […]

The post ดาวอังคาร บ้านใหม่ของมนุษย์ เป็นไปได้!? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดาวอังคาร

ดาวอังคารอยู่ได้จริงเหรอ?

 

ทั้งอากาศเบาบางที่แทบไม่มีออกซิเจน อุณหภูมิเฉลี่ยติดลบ แรงโน้มถ่วงที่น้อยกว่าโลก 3 เท่า หรือกระทั่งพายุฝุ่นสุดโหดแบบในหนัง The Martian

 

อวกาศคาดไม่ถึง เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะไปอยู่บนดาวอังคาร แต่เราจะอยู่ท่ามกลางความท้าทายสุดโหดบนดาวอังคารได้อย่างไร มีเทคโนโลยีสุดล้ำแบบไหนที่ทำให้การไปอยู่ดาวอังคารไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป

 

ค้นความว้าว ไขความลับกับชาวแก๊งอวกาศ กร-กรทอง วิริยะเศวตกุล, นิว-ภริดา ผ่องศรี และ พัตเตอร์-วรเศรษฐ์ ผลเจริญพงศ์

 


 

ติดตาม อวกาศคาดไม่ถึง ในช่องทางอื่นๆ

Website

 


 

Credits

 

The Host 

Show Producer นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์

Video Editor เสาวภา โตสวาท

Videographer ศักดิภัท ประพัทธวรคุณ, ธนกร ศักดิ์มณีกุล, พนาธร ไชยกุล

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Graphic Designer พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน

Social Video Creator พฤกษา แซ่เต็ง

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster พงศกร เพ่งพิศ

Social Media Admins สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์, มนัสชนก แก้วพรหม

Archive Team

The post ดาวอังคาร บ้านใหม่ของมนุษย์ เป็นไปได้!? appeared first on THE STANDARD.

]]>
Duke University มรดกจากชายผู้พลิกโฉมวงการยาสูบ https://thestandard.co/podcast/8-minute-history-ep321/ Tue, 24 Dec 2024 11:05:40 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1023289

8 Minute History เอพิโสดนี้พาย้อนประวัติศาสตร์ของ Duke […]

The post Duke University มรดกจากชายผู้พลิกโฉมวงการยาสูบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

8 Minute History เอพิโสดนี้พาย้อนประวัติศาสตร์ของ Duke University มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ Top 10 ของโลกมาอย่างต่อเนื่อง และมีวาระครบรอบ 100 ปีพอดีในปี 2024

 

สิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ จุดกำเนิดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาจากมหาเศรษฐีที่เป็นเจ้าพ่อแห่งวงการยาสูบ ภายใต้กรอบเวลาที่เป็น ‘ยุคทองของอุตสาหกรรม’ ในสหรัฐอเมริกา

 

อุตสาหกรรมยาสูบเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาแห่งนี้อย่างไร ศิษย์เก่าที่กลายมาเป็นบุคคลสำคัญของโลกมีใครบ้าง หัวใจที่ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ติดอันดับ Top 10 มาหลายปีคืออะไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้

 


 

ติดตาม 8 Minute History
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวก

 

 

Credits

 

Host วิทย์ สิทธิเวคิน

Show Producer พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

Creative เจนิสา เลิศสกุลวิรัตน์

Video Editor นิติศาสตร์ ไชยชนะ

Sound Director กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน

Social Video Creator พฤกษา แซ่เต็ง

Online Community Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

THE STANDARD Shared Service Department

The post Duke University มรดกจากชายผู้พลิกโฉมวงการยาสูบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แสนสิริเห็นอะไรในภูเก็ต เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 2.5 หมื่นล้าน ตั้งออฟฟิศ https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce817/ Tue, 24 Dec 2024 01:05:16 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1022771

ถ้าไม่ใช่กรุงเทพฯ แล้วธุรกิจอสังหาจะพุ่งไปที่ไหน? &nbsp […]

The post แสนสิริเห็นอะไรในภูเก็ต เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 2.5 หมื่นล้าน ตั้งออฟฟิศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถ้าไม่ใช่กรุงเทพฯ แล้วธุรกิจอสังหาจะพุ่งไปที่ไหน?

 

หนึ่งในคำตอบคือ ‘ภูเก็ต’ ทำเลยุทธศาสตร์ที่แสนสิริเดินหน้าบุกเต็มตัว ถึงขนาดเปิด Head Office ในช่วงปลายปี 2024 พร้อมขนทีมมาล่องใต้ ตั้งเป้าหมาย 5 ปีทำยอดให้ถึง 2.5 หมื่นล้านบาท

 

The Secret Sauce เอพิโสดนี้ เคน นครินทร์ พาคุณไปย่านบางเทา ชม THE SOCIETY โซเชียลสเปซใหม่ล่าสุดของแสนสิริ พร้อมเจาะลึกกลยุทธ์กับ อุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

 

อะไรทำให้เขากล้าฝันใหญ่ขนาดนี้?

 

มาร่วมหาคำตอบ เยือนแดนใต้ เสพกลิ่นอายภูเก็ตแนวใหม่ไปพร้อมกัน

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

Host & Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Manager ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Assistant ศิลา รัตนวลีวงศ์

Project Coordinator ซาจิ แซ่อื้อ 

Producer นภัสสร กะสินัง

Content Creators ชาคร ฉายเพชร, ธนภาคย์ อิทธิชัยพล, ภัทรสุดา บุญญศรี, อาภาภัทร อารยางกูร

Video Editors วุฒิชัย ถิระบัญชาศักดิ์, อนนต์ พูนเจ้าทรัพย์, ศุภมิตร เศรษฐลักษณ์

Sound Director กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์, ธภัทร ตั้งวงษ์ไชย

Graphic Designer ธนิดา โตวิวัฒน์ 

Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์ 

Senior Channel Admin ทศพล เพิ่มพูล

Online Community Admin สิรินยา เจษฎาพงศ์ภักดี

THE STANDARD Shared Service Department

The post แสนสิริเห็นอะไรในภูเก็ต เปิดโปรเจ็กต์ใหม่ 2.5 หมื่นล้าน ตั้งออฟฟิศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Understanding Carbon Tax ทำความรู้จักภาษีคาร์บอน https://thestandard.co/podcast/the-sme-handbook-ep44/ Wed, 18 Dec 2024 11:00:24 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=1020999 Understanding Carbon Tax

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มหันมาใช้มาตรการทางการค้าหลายรูปแบ […]

The post Understanding Carbon Tax ทำความรู้จักภาษีคาร์บอน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Understanding Carbon Tax

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มหันมาใช้มาตรการทางการค้าหลายรูปแบบ เพื่อกดดันให้ประเทศคู่ค้าดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงประเทศไทยเองก็กำลังจะนำมาตรการเหล่านี้มาปรับใช้ในประเทศ การเข้าใจเรื่องภาษีคาร์บอน จึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อผู้ประกอบการ SME ไทย โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพารายได้หลักจากการส่งออก และกลุ่มที่กำลังหาโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ

 

THE SME HANDBOOK by UOB เอพิโสดที่ 2 ของซีซัน 8 นี้ เฟิร์น-ศิรัถยา อิศรภักดี ชวน บุญรอด เยาวพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ ครีเอจี้ จำกัด ผู้มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมมากว่า 20 ปี มาร่วมทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน รวมถึงความท้าทายที่ SME ต้องรู้และต้องรีบทำ 

 

Carbon tax คืออะไร และทำไมถึงช่วยสิ่งแวดล้อม 

อาจจะเริ่มจากการปูพื้นฐานก่อนเรื่องก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก คือก๊าซที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 70% ทำให้หลายคนติดปากว่า ก๊าซคาร์บอน ซึ่งจริงๆ ก๊าซเรือนกระจกไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป โลกเรามีชั้นบรรยากาศและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมได้เพราะเรามีก๊าซเรือนกระจกที่สมดุล ที่ผ่านมาโชคดีที่โลกเราก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุลมาตลอด ดังนั้นในหลายประเทศเลยไม่เคยออกกฎหมายมากำกับดูแล ต่างจากมลพิษอื่นๆ แต่วันนี้ก๊าซเรือนกระจกมีมากเกินไปจนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม วันนี้จึงมีการควบคุมให้ก๊าซเรือนกระจกกลับมาสมดุล เกิดเครื่องมือในการกำกับดูแลเป็นระบบภาษีหรือการจ่ายค่าใช้จ่ายแทน คือคุณมีสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซแต่ก็เป็นไปตามกลไกราคาคาร์บอน 

 

ดังนั้นราคาภาษีคาร์บอน คือการ Put a Price on Carbon ใครปล่อยคนนั้นเป็นคนจ่าย ปัจจุบันก๊าซเรือนกระจก 80% ปล่อยฟรีอยู่ไม่มีใครเป็นคนจ่าย แต่จริงๆ ถ้ามาคิดดูแล้วคนที่จ่ายก็คือสังคม เพราะมีเลขสถิติออกมาว่าก๊าซที่เราปล่อยอย่างประเทศไทยเราปล่อย 370 ล้านตัน ทั่วโลกปล่อย 50,000 ล้านตัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราประสบ เมื่อมาคำนวณต้นทุนความเสียหายต่อหน่วยหนึ่งตันที่ปล่อย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 100-200 ดอลลาร์สหรัฐ แปลว่าทุกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประชาชนหรือสังคมเป็นคนจ่ายเงิน แต่คนที่ปล่อยก๊าซยังไม่ได้จ่าย ภาษีคาร์บอนจึงเป็นการดึงกลับมาว่าให้คนที่เป็นคนปล่อยเริ่มเป็นคนจ่าย

 

จากแนวคิดนี้ทำให้เกิดคำจำกัดความทั้งภาษีคาร์บอนและคาร์บอนเครดิต สิ่งเหล่านี้สร้างความรับผิดชอบให้ผู้ที่ปล่อยด้วยกลไกราคาคาร์บอน จริงๆ มีเครื่องมือ 2 เครื่องมือหลักที่ใช้ในการควบคุม อย่างแรกคือใครปล่อยคนนั้นจ่าย ภาษีคาร์บอนคือหนึ่งในเครื่องมือนี้ จะแบ่งเป็น 2 วิธี คือเก็บภาษีคาร์บอนบนสินค้าและเก็บภาษีบนนิติบุคคล วิธีที่นิยมมากที่สุดและไทยกำลังจะทำคือการเก็บคาร์บอนบนสินค้า วิธีที่สองมีแค่บางประเทศ เช่น สิงคโปร์ โคลัมเบีย เป็นต้น ที่ใช้วิธีนี้

 

อีกระบบหนึ่งที่ต่างประเทศใช้ในการออกมาตรการลดคาร์บอนก็คือ Cap-and-Trade การซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกแล้วได้คาร์บอนเครดิต ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมจะมีเส้นที่เรียกว่าเบสไลน์ไว้เทียบกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าเราปล่อยน้อยเมื่อเทียบกับเบสไลน์ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม เราก็มีแนวโน้มจะได้เครดิต หลายคนจะคิดว่าลดแล้วเราจะได้เครดิตเลย มันไม่ใช่อย่างนั้น ต้องมาเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกันก่อน นอกจากนี้ยังมีการเทียบเป็นโครงการ ถ้าเราปรับปรุงพลังงานในโรงงานแล้วเทียบก่อนหลัง พลังงานลดลงเท่าไรและคำนวณออกมา ก็นับว่าเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก

 

สิ่งที่ SME จำเป็นต้องรู้เพื่อ ‘นับหนึ่ง’ สู่การเปลี่ยนผ่าน

ทุกบริษัท SME อาจจะไม่จำเป็นต้องคำนวณว่าเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไร แต่สิ่งที่ต้องรู้คือตอนนี้มีรายได้และรายจ่ายด้านพลังงานคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะการใช้พลังงานกับก๊าซเรือนกระจกมักไปด้วยกัน ทั้งนี้แต่ละธุรกิจจะมีต้นทุนพลังงานไม่เหมือนกัน ถ้าเราทำโรงงานน้ำแข็งอาจมีค่าใช้จ่ายพลังงานเป็น 70% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในขณะที่ธุรกิจบริการอาจมีค่าใช้จ่ายพลังงานเพียง 5% กลุ่มที่มีการใช้พลังงานต่อค่าใช้จ่ายเยอะก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่า ก็ต้องปรับตัวให้เร็วขึ้น 

 

ดังนั้นกลุ่มที่ต้องเริ่มก่อนคือ กลุ่ม SME ที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเกิน 30% ขึ้นไปของต้นทุน แปลว่าพลังงานมีผลต่อกำไรของธุรกิจ ค่าใช้จ่ายพลังงานหลักๆ ในที่นี้จะคำนวณจาก การใช้น้ำมัน เชื้อเพลิง โลจิสติกส์ แก๊สธรรมชาติและค่าไฟฟ้า ตัวอย่างการคำนวณง่ายๆ อย่างน้ำมันดีเซล 1 ลิตร จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 2.7 กิโลกรัม ถ้ารัฐบาลประกาศว่าจะมีภาษีคาร์บอน 200 บาทต่อตันคาร์บอน แปลว่า น้ำมันที่เติม 1 ลิตร ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.7 เราก็เอา 2.7 x 200 บาท ดังนั้นก็ได้คร่าวๆ ว่า ทุกๆ 1 ลิตรของการเติมน้ำมัน จะมีค่าภาษีคาร์บอนเกือบ 50 สตางค์ เราสามารถคำนวณเองได้หากเรารู้ปริมาณที่เราใช้ในแต่ละเดือน 

 

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โครงสร้างน้ำมันในไทยเบื้องต้น เรามีการเก็บภาษีสรรพสามิตซึ่งรวมค่าใช้จ่ายผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปแล้ว ดังนั้นในเฟสแรกที่ประเทศไทยกำลังจะทำแม้มีการประกาศจะใช้ภาษีคาร์บอน แต่โครงสร้างราคาหน้าปั๊มน้ำมันเราก็ยังจ่ายเหมือนเดิม แต่ภาครัฐอาจมีการให้ความรู้เพิ่มเติมว่าภาษีที่เราจ่ายนั้นมีการจ่ายค่าก๊าซเรือนกระจกร่วมด้วย เมื่อถามว่าทำไมคนทั่วไปต้องรู้ว่าเงินที่จ่ายตรงนี้รวมค่าก๊าซเรือนกระจก ก็เพราะน้ำมันมีหลายตัวเลือก 95, 91, E10, E20 ยิ่ง E ตัวเลขเยอะ แปลว่ามีก๊าซเอทานอลผสมอยู่มาก โดยทั่วไปน้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลก็จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเบนซิน

 

เฟสแรกที่จะเกิดขึ้นในไทยคือรัฐสร้าง Awareness ให้ทุกคนรับรู้เรื่องภาษีคาร์บอน แล้วเฟสต่อๆ ไปจะเป็นอย่างไรและ SME ต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

ผลกระทบภาษีคาร์บอนในเฟสแรกเป็นภาพของการมองระยะสั้น แต่ SME อาจจะต้องมองผลกระทบในระยะกลางและระยะยาว ที่สำคัญที่สุดคือ ดูว่าสินค้าที่เราขายในปัจจุบันยังสามารถขายได้ในโลกอนาคตหรือไม่ ส่วนใหญ่ SME ไทยจะเป็นการขายสินค้าไปให้ธุรกิจด้วยกัน ไม่ได้ขายโดยตรงผู้บริโภค ดังนั้นก็ต้องไปดูว่าลูกค้าของเราอยู่ในตลาดที่น่าจะเป็นกรีนหรือไม่ เราอาจต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่จะเปลี่ยนไป 

 

ข้อที่ 2 ต้องดูแนวโน้มของโลก อนาคตพลังงานจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นระยะกลางและยาว จะสามารถแข่งขันได้ต้องหาพลังงานสะอาดมาช่วยให้ต้นทุนถูกลง ซึ่งจริงๆ การลดการใช้พลังงานหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็สามารถทำให้กำไรเราเพิ่มขึ้นด้วย แต่ SME ส่วนมากยังเข้าใจว่าลงทุนกรีนต้องจ่ายเงินอย่างเดียว รวมถึงทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีมาช่วยและต้นทุนเทคโนโลยีลดลงเร็วมาก ทำให้ถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้น โดยภาพรวมสุดท้ายลูกค้าอาจมองว่าสินค้าเราถูกลงและเราอาจมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะสินค้าเรามันสะอาดขึ้น แต่ทั้งหมดทั้งปวงต้องเริ่มจากรู้ตัวเราก่อนแล้วค่อยๆ เริ่มทำไปเรื่อยๆ 

 

SME ที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเกิน 30% อาจเป็นกลุ่มที่ต้องเริ่มก่อน แต่ SME ที่มีค่าใช้จ่ายพลังงานไม่ถึง 30% เอง ก็ต้องทำเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล บางที SME จะเน้นไปที่รายเป็นหลักไม่ได้ดูค่าใช้จ่าย แต่จริงๆ เขาต้องดูว่าค่าใช้จ่าย มีอะไรที่ลดได้อีกหรือไม่ และควรไปลดต้นทุนส่วนอื่นๆ ก่อน แล้วค่อยมาจัดการเรื่องการลดการใช้พลังงาน

 

เมื่อถามถึงภาครัฐ ตอนนี้ภาษีคาร์บอนอยู่ในส่วนไหนของกระบวนจะเริ่มเก็บเมื่อไร

เฟสแรกน่าจะเริ่มต้นปีหน้า (2025) วัตถุประสงค์ของเฟสนี้คือสร้าง Awareness ดังนั้นอาจจะทั้งประกาศใช้และบังคับใช้ใน พ.ร.บ.สรรพสามิต น่าจะเริ่มในกลุ่มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในระยะสั้นอาจไม่ได้กระทบมากนัก แต่ในระยะยาวนั้นไทยมีการตั้งเป้าว่าปี 2030 จะลดก๊าซเรือนกระจก 30% เทียบกับกรณีปกติ เกิดคำถามว่าถ้าราคาคาร์บอนไม่เพิ่มและไม่มีกลไกอื่นมาเราจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหรือไม่ ในหลายสิบประเทศที่ทำภาษีคาร์บอน เฟสหนึ่งก็เริ่มจากสร้างการรับรู้ 2-3 ปี และเฟสต่อมา 2-3 ปี จะเริ่มปรับราคา ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนว่าแต่ละเฟสจะเกิดขึ้นปีไหน แต่หากเราจะบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 ก็ต้องเริ่มกระบวนการทั้งหมดภายใน 5 ปีนี้ 

 

ตัวอย่างของ SME ที่ถือว่าประสบความสำเร็จ มีการปรับตัวอย่างไรบ้างในเรื่องนี้ 

SME ที่ประสบความสำเร็จจะเริ่มจากรู้จักธุรกิจตนเองก่อน มีคำที่เรียกกันว่า Energy Audit คือเช็กว่าเรามีการใช้พลังงานในธุรกิจของเราทั้งหมดเท่าไร จากการนับอุปกรณ์ใช้พลังงานทุกชิ้น ตรวจว่าแต่ละชิ้นใช้พลังงานเท่าไร และจำนวนชั่วโมงที่เราใช้ คำนวณออกมาก็เป็นหน่วยพลังงานและค่าไฟฟ้า จะทำให้เราเห็นว่าเราจ่ายเงินไปกับอุปกรณ์ไหนมาก สามารถลดการใช้งานได้หรือไม่ หลังจากรู้ตัวเองแล้ว ก็จะมาลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพจากอุปกรณ์ที่ลงทุนแล้วได้ต้นทุนคืน เช่นพวกหลอดไฟ ถ้าเปลี่ยนเป็น LED จะคุ้ม เครื่องปรับอากาศถ้าเป็นอินเวอร์เตอร์จะช่วยประหยัดพลังงาน โดยทั่วไปถ้าเราไม่เคยทำเรื่องพวกนี้เลยจะสามารถลดได้ 5-10 % ในปีถัดไป 

 

ในทางทฤษฎีจะมีการลดพลังงาน 3 วิธี 1) Avoid หลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไม่จำเป็น เช่นการปิดไฟ ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีมาช่วย ถ้าเราไม่เคยทำตรงนี้จะลดได้ 5-10% 2) Efficiency เปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องจักรเก่าที่ใช้มา 5 ปี เทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า ก็ลดได้อีก 5-10% 3) เปลี่ยนไปใช้กระบวนการอื่นเลย อันนี้อาจจะยากที่สุดเพราะเป็นการเปลี่ยนทั้งกระบวนการ แต่ถ้าเราอยากไปสู่ Net Zero ก็ต้องปรับโครงสร้างทั้งหมด ตรงนี้อาจจะใช้ต้นทุนมาก แต่ข้อ 1-2 สามารถทำได้เลยทันที

 

หาก SME อยากได้ส่วนของคาร์บอนเครดิตด้วย ธุรกิจประเภทไหนสามารถต่อยอดได้ 

คาร์บอนเครดิตเกิดจากกลไกจูงใจให้การลดก๊าซเรือนกระจก และได้สิ่งตอบแทนในรูปแบบของเครดิต ทางยุโรปพอเขามีเป้าหมายต้องการลดก๊าซเรือนกระจก เลยซื้อคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการบรรลุเป้าของเขา ส่วนในประเทศไทย ตอนนี้เป้าที่เน้นคือการลดก๊าซเรือนกระจก เราต้องลดก๊าซซกระจกให้ถึงเบสไลน์ก่อน คาร์บอนเครดิตถึงจะตามมา ไม่ใช่ว่าทุกครั้งเราจะได้คาร์บอนเครดิต คาร์บอนเครดิตส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเกิดในกลุ่มธุรกิจ Nature Base เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ หรือป่าไม้ ไม่ใช่ภาคธุรกิจแนว SME ที่มักเป็นโรงงานอุตสาหกรรม และบริการ ดังนั้น SME ลดคาร์บอนของตนเองเพื่อให้เสียภาษีคาร์บอนน้อยที่สุดดีกว่า 

 

อย่างไรก็ตามถ้ามองในมุม Incentive อื่นๆ ประเทศไทยตอนนี้เรามีกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจากกระทรวงพลังงาน แต่ละปีจะเปิดเป็นเฟสออกมา ถ้ามีโรงงาน SME ต้องการจะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตจะมีโปรแกรมช่วยเหลือ ดังนั้นถ้าเราเข้าข่ายการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโรงงาน เราก็สามารถขอเข้าโครงการได้ ที่ผ่านมาโรงงานขนาดใหญ่จะมีสูตรคือ 80:20 โรงงานออก 80% รัฐออก 20% ถ้าเป็น SME จะเป็น 70:30 ธุรกิจออกเอง 70% รัฐออก 30% นอกจากนี้ก็มีแพ็คเกจเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากหลายๆ ธนาคาร ดังนั้นคาร์บอนเครดิตมันก็คืออีกหนึ่งเครื่องมือที่มาเสริม แต่ปัจจุบันสำหรับ SME ยังเป็นไปได้ยากที่จะได้เครดิตนี้ 

 

ฝากถึง SME ที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ความยั่งยืน 

การสนใจเรื่องลดคาร์บอนหรือสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือการทำให้ธุรกิจเรายั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนก็ไม่ได้มีเพียงเรื่องสิ่งแวดล้อม การทำให้ธุรกิจยั่งยืนต้องเน้นก่อนว่าเรื่องนี้มาช่วยให้เราใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สินค้าของเรามีคุณค่าและแตกต่าง ความกรีนหรือความรักษ์โลกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าเราแตกต่างได้ ดังนั้นการลงทุนเรื่องความยั่งยืนในวันนี้เป็นจุดเริ่มที่จะทำให้สินค้าเราทั้งแตกต่างและลดต้นทุน เป็นการทำให้รายได้เราเพิ่มและรายจ่ายเราลด อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมกับภาษีคาร์บอนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ SME ควรเริ่มตอนนี้เพื่อให้ธุรกิจเราเติบโตอย่างยั่งยืน

 


 

Credits

 

The Host ศิรัถยา อิศรภักดี

Show Producer พิชญ์สินี ยงประพัฒน์

Co-Producer กรรญารัตน์ สุทธิสน

Creative ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Sound Editor มุกริน ลิ่มประธานกุล

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineer  ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์,ธภัทร ตั้งวงษ์ไชย

Graphic Designer ธิดามาศ เขียวเหลือ

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน

Proofreader Team

THE STANDARD Webmaster Team

THE STANDARD Archive Team

The post Understanding Carbon Tax ทำความรู้จักภาษีคาร์บอน appeared first on THE STANDARD.

]]>