ตรีนุช อิงคุทานนท์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 29 May 2024 05:32:00 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ฝุ่นข้ามแดน ร่างกฎหมายอากาศสะอาดจัดการอย่างไร https://thestandard.co/loopholes-in-clean-air-laws-article/ Fri, 02 Feb 2024 09:22:18 +0000 https://thestandard.co/?p=895375

ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจกฎหมายอากาศสะอาด?    […]

The post ฝุ่นข้ามแดน ร่างกฎหมายอากาศสะอาดจัดการอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทำไมเราถึงต้องให้ความสนใจกฎหมายอากาศสะอาด? 

 

มลพิษและฝุ่นควัน PM2.5 ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลต่ออากาศบ้านเรามากขนาดไหน? 

 

แล้วการออกกฎหมายสั่งห้ามนำเข้าสินค้าที่มาจากการสร้างมลพิษจะสามารถทำได้จริงหรือไม่?

 

ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นคำถามที่คาใจใครหลายคน กฎหมายอากาศสะอาดทั้ง 7 ร่าง ที่จะรวมเป็นร่างกฎหมายเพียงแค่ฉบับเดียว จะเป็นความหวังที่ทำให้อากาศในไทยดีขึ้นได้จริงหรือไม่ ติดตามทั้งหมดได้ในบทความนี้ 

 

แม้ 7 ร่างผ่านสภาแล้ว สื่อและประชาชนจำเป็นต้องติดตามต่อหรือไม่?

 

แม้ร่างอากาศสะอาดทั้ง 7 ร่างจะผ่านวาระที่ 1 ของสภาไปแล้วก็ตาม สังคมไทยบางส่วนยังคงถกเถียงและให้ความสนใจต่อวิธีการจัดการมลพิษด้วยการบังคับใช้กฎหมาย

 

เราได้ติดต่อสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ยื่นร่างกฎหมายอากาศสะอาดของพรรคเพื่อไทย แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ไว้ว่า

 

 

“ไม่ควรถกเถียงประเด็นนี้แล้ว เป็นหน้าที่กรรมาธิการที่ต้องคุยรายละเอียด ตัวเขาเองไม่ใช่กรรมาธิการ ก็ต้องให้เกียรติคนทำงาน สภารับหลักการทุกร่างแล้ว ยังไปนั่งถกเถียงว่าร่างของคนไหนเป็นแบบใด คนพูดคงไม่เข้าใจกลไกสภา”

 

แต่ถ้าเป็นฝั่งของ ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส. พรรคก้าวไกล และกรรมาธิการวิสามัญฯ กลับมองต่าง เขาอยากให้ประชาชนอย่างเราช่วยกันติดตามความเคลื่อนไหวของร่างกฎหมายอากาศสะอาดต่อไป

 

 

“ปกติประชาชนจะสนใจกฎหมายต่างๆ ในวาระที่ 1 พอจบวาระแรกจะขาดความต่อเนื่อง แล้วร่างกฎหมายอากาศสะอาดที่อยู่ในชั้นของกรรมาธิการมีตั้ง 7 ร่าง แต่ละร่างก็มีรายละเอียดต่างกัน เรื่องนี้จึงไม่สามารถจะหายไปจากสังคมได้ เพราะว่าการร่างกฎหมายหลังจากนี้จะส่งผลต่อทุกคน ดังนั้นในความเห็นของผม วาระที่ 2 จึงสำคัญกว่าวาระที่ 1”

 

ส่วนทางด้านของ จักรพล ตั้งสุทธิธรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และประธานคณะกรรมาธิการอากาศสะอาด กล่าวในการแถลงข่าวความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาว่า แม้ร่าง 7 ฉบับจะแตกต่างกัน จนทำให้ประชาชนเกิดข้อกังวลว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่อยากให้ทุกคนสบายใจว่าเวลานี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังใช้องค์ความรู้ที่มีร่วมกันศึกษาในแต่ละมาตราเพื่อประโยชน์สูงสุด

 

‘มลพิษข้ามแดน’ ถึงเวลาไทยต้องกำหนดบทลงโทษชัดเจน

 

ในร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับอากาศสะอาดทั้ง 7 ร่าง มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการแก้ไขปัญหาสินค้านำเข้าที่มีแหล่งที่มาจากการสร้างมลพิษทางอากาศ

 

ร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน ของพรรคก้าวไกล ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมองว่าตอนนี้รัฐบาลยังไม่มีการแก้ปัญหาที่ชัดเจนมากพอ

 

ขณะเดียวกัน ร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ โดย คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม กับเครือข่ายอากาศสะอาด ก็ได้กำหนดอายุความการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดมลพิษข้ามแดน จะต้องมีอายุความ 10 ปี มีโทษปรับอัตราสูง ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ความเร็วลม ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ค่าดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพ ในการตรวจสอบ

 

ถ้าดูร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษ มีโทษปรับ 50,000 บาท, ผู้ที่เผาในที่โล่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 50,000 บาท, ผู้ที่ปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยไม่มีการบำบัดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานควบคุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศนอกประเทศ ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท 

 

 

จุลพันธ์ผู้ยื่นร่างของพรรคเพื่อไทยกล่าวในสภาว่า ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ของพรรคเพื่อไทย มีหลักการและเหตุผลแบบเดียวกับของ ครม. ที่ระบุถึงข้อบังคับมลพิษข้ามแดน โดยยกตัวอย่างว่าตอนนี้ในอาเซียนมีแค่สิงคโปร์ที่บังคับใช้กฎหมายนี้ เพราะได้รับมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและการเผาป่าในอินโดนีเซีย เมื่อฝุ่นควันไหลข้ามมายังสิงคโปร์ รัฐบาลจึงกำหนดกฎหมายเพื่อบังคับให้บริษัทข้ามชาติถ้าเผาหรือก่อมลพิษเกินกำหนด การค้าขายของคุณกับสิงคโปร์จะมีปัญหา

 

วันนี้ไทยก็เจอปัญหาเดียวกัน เป็นผลกระทบจากระบบเกษตรพันธสัญญา หรือ ‘Contract Farming’ จากการปลูกข้าวโพดของประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าดูตัวเลขจะเห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และเมียนมา มีความเชื่อมโยงกับภาวะหมอกควันที่เกิดขึ้นในเมืองไทย

 

กฎหมายฉบับนี้จึงให้อำนาจรัฐบริหารราชการเชิงพื้นที่ พัฒนามาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด เฝ้าระวัง เตือนภัย จัดเก็บข้อมูล และกำหนดบทลงโทษ เก็บภาษี ค่าปรับ สั่งหยุดการนำเข้า ลดการเผาผ่านมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อลงโทษผู้ประกอบการที่ก่อมลพิษเหมือนอย่างที่สิงคโปร์ทำ

 

สรุปคร่าวๆ ได้ว่า ร่างของพรรคเพื่อไทยจะยึดหลักการ ‘ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย’ และจะจัดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเรื่องมลพิษข้ามแดน 

 

ส่วนฝั่ง สส. พรรคก้าวไกล อย่างภัทรพงษ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ว่า ถือเป็นแนวโน้มที่ดีที่ ครม. ได้เพิ่มเนื้อหาการนำเข้าสินค้าจากการเผาเข้ามาหลังสุด แต่สิ่งที่เขากังวลคือการขาดจุดเชื่อมต่อระหว่างบทลงโทษกับผู้ประกอบการที่มีความผิด แม้จะมีการกำหนดบทลงโทษแล้วก็ตาม

 

การขาดจุดเชื่อมต่อที่ว่าคือ หากร่างทั้ง 7 ฉบับรวมกันเหลือร่างเดียว หนึ่งในเงื่อนไขที่เขาคิดว่าร่างของตัวเองควรจะได้ไปต่อคือเรื่องการออกข้อบังคับให้ผู้ประกอบการจะต้องทำรายงาน ระบุให้ชัดว่านำเข้าวัตถุดิบมาจากที่ไหน มีการจัดการและกำจัดอย่างไร ขนส่งด้วยวิธีไหน ระบุไปยันละติจูด ลองจิจูด

 

เมื่อเข้าสู่โรงงานแล้วมีการแปรรูป กระบวนการต่างๆ ปล่อยมลพิษไปแล้วเท่าไร ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีรายงานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้คณะทำงานและประชาชนสามารถตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ว่า สิ่งที่ระบุในรายงานของผู้ประกอบการไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่

 

เพราะถ้าไม่มีรายงานส่วนนี้อาจทำให้มีช่องโหว่กับผู้ก่อเหตุที่เป็นต้นตอของปัญหา เช่น สมมตินาย A จ้างนาย B ให้จัดหาวัตถุดิบจากการเผาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการในโรงงาน ต่อให้มีข้อกฎหมายระบุชัดเจน เราก็อาจไม่สามารถเอาผิดไปถึงนาย A ได้ สิ่งที่จะช่วยในเรื่องนี้ก็คือการรายงานของผู้ประกอบการ

 

นอกจากนี้ภัทรพงษ์มองว่า ผู้ประกอบการและองค์กรหลายแห่งไม่ได้กลัวโทษทางแพ่งหรืออาญา ไม่ได้กลัวการปรับหรือบทลงโทษทางกฎหมายมากเท่ากับบทลงโทษทางสังคม หากมีการตัดสินแล้วว่าผู้ประกอบการรายใดมีความผิด ก็จะต้องเปิดเผยรายชื่อออกสู่สาธารณะด้วย

 

ซึ่งร่างของก้าวไกลเป็นฉบับเดียวที่ระบุเรื่องการเปิดเผยรายชื่อ เช่นเดียวกับการบังคับติดฉลากสินค้าที่ไม่ได้มาจากการเผา สามารถทำเป็นระดับ Eco Friendly บนสินค้า โดยไม่ต้องใช้กฎหมาย แต่รัฐสามารถประกาศขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมได้เลย ซึ่งเขามองว่าหากรัฐมีการขยับ สังคมก็พร้อมร่วมกันผลักดันแน่นอน

 

เขายังยกตัวอย่างในประเทศสวีเดน เราจะเห็นเนื้อสัตว์ที่มีฉลาก Carbon Footprint Labels แล้วพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีฉลากระบุว่า เนื้อแพ็กนั้นถูกผลิตด้วยวิธีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากระบวนการผลิตแบบปกติมากถึง 25%

 

เขาเชื่อว่าประชาชนควรได้รับรู้ว่าใครคือคนที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษที่ทำให้พวกเขาต้องเจอกับปัญหานี้ นั่นคือการทำโทษทางสังคมที่ประชาชนจะต้องได้ตัดสินใจ ผู้คนควรมีสิทธิรู้ว่าสินค้าที่มาจากการเผามีอะไรบ้าง รวมถึงสิทธิในการเลือกว่าจะซื้อสินค้าเหล่านี้หรือไม่

 

เมื่อถึงวันที่ไทยมีกฎหมายมลพิษข้ามแดนจริงๆ ก็จะสอดคล้องกับข้อบังคับของสหภาพยุโรป หรือ EU ที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่มาจากการเผาหรือก่อให้เกิดมลพิษทุกชนิด มีการออกโทษบังคับใช้กับเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ที่ก่อมลพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม และกำหนดไว้ว่าประเทศที่จะเป็นคู่ค้ากันได้ก็ควรต้องมีกฎหมายเรื่องมลพิษข้ามแดนบัญญัติและบังคับใช้ด้วย 

 

ในเรื่องความต่างของมลพิษข้ามแดน มุมมองของจักรพล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า เราจำเป็นต้องวิเคราะห์หลายส่วน ถ้าจะต้องตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะก็ต้องทำ เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจว่าแม้จะแตกต่าง แต่กรรมาธิการฯ ก็จะรีดไขมันที่ไม่จำเป็น และบูรณาการผสมผสานให้กลายเป็นร่างกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุด 

 

Fair Trade ที่ไม่แฟร์กับคนไทย?

 

ประเด็นมลพิษข้ามแดนไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องแค่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเท่านั้น ภัทรพงษ์ระบุว่า เวลานี้พี่น้องเกษตรกรและผู้ผลิตของไทยก็เผชิญกับความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย สิ่งที่นักนิติบัญญัติและรัฐบาลควรทำตั้งนานแล้วคือการจัดการระบบให้เกิดความยุติธรรมกับคนในประเทศ

 

เขาอ้างอิงคำพูดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงความคิดเห็นเรื่องการนำเข้าสินค้าอาหารสัตว์ไว้ว่า เพราะการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ จึงจำเป็นจะต้องนำเข้าสินค้าต่อไป คู่กับการใช้มาตรการ Zero Tax ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ให้เวลาคู่ค้าแต่ละประเทศได้ปรับตัวและปฏิบัติตาม 

 

ภัทรพงษ์ระบุว่า ได้ดูรายละเอียดประกาศการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ปี 2567 ที่เพิ่งต่ออายุใหม่แล้ว ในเนื้อหาไม่ได้ระบุอะไรเพิ่มเติมจากเดิม จึงถือว่าไม่ได้แตกต่างจากประกาศชุดก่อนที่แก้ไขปัญหาไม่ได้

 

และในเดือนธันวาคม 2566 พรรคก้าวไกลเคยเสนอแนะไปแล้วว่าควรจะพิจารณาการห้ามนำเข้า แต่กระทรวงพาณิชย์บอกว่าทำไม่ได้ ดังนั้นในมุมของภัทรพงษ์ คำว่า Fair Trade ที่ใช้กับต่างชาติจึงไม่ยุติธรรมกับผู้ประกอบการและเกษตรกรไทย

 

ถ้าถามว่าไม่แฟร์ในด้านไหน? ปัจจุบันเกษตรกรไทยต้องเข้าระบบการกำหนดพื้นที่ละติจูด ลองจิจูด ต้องให้ข้อมูลชัดเจนว่าเขากำลังปลูกอะไร ปลูกที่ไหน แต่กับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ ทำไมรัฐไทยถึงไม่ให้ผู้ประกอบการต่างชาติระบุพิกัดแบบเดียวกันบ้าง

 

หากรัฐบาลไทยมีข้อกังวลเรื่อง Fair Trade หรือผลกระทบด้านการนำเข้า-ส่งออก ก็สามารถใช้ความตกลงการนำเข้าเสรีสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) หรือ ATIGA แม้ข้อตกลงนี้จะระบุให้แต่ละประเทศต้องลดภาษีสินค้าเกษตรให้เป็นศูนย์ แต่ว่าถ้าสินค้าบางอย่างเข้าข่ายในมาตรา 7 ที่ระบุว่า แต่ละประเทศสามารถที่จะไม่ดำเนินการตามพันธกรณีนี้ก็ได้ ด้วยเหตุผลในการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช เงื่อนไขนี้ก็จะไม่กระทบกับ Fair Trade 

 

ภัทรพงษ์อ้างว่า กระทรวงพาณิชย์เคยชี้แจงว่ามีผู้ประกอบการต่างชาติหลายเจ้าส่งหนังสือรับรองมายังกระทรวงฯ เพื่อยืนยันว่าสินค้าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เขาจึงติดต่อไปยังกระทรวงฯ เพื่อขอข้อมูลว่าใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบรับรอง แต่สิ่งที่เขาได้กลับมาคือแบบฟอร์มธรรมดาที่ไม่มีใครกรอกอะไรเลย และเป็นเอกสารที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนังสือรับรองที่ว่าด้วย 

 

ก็ต้องรอดูว่าพรรคก้าวไกลจะตั้งคำถามต่อเรื่องนี้อีกครั้งหรือไม่ แล้วกระทรวงพาณิชย์จะออกมาชี้แจงข้อสังเกตนี้อย่างไร 

 

อากาศสะอาด = สิทธิพึงมีของพลเมืองไทย

 

เวลานี้การจัดการเรื่องมลพิษและฝุ่นควันที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายยังคงกระจัดกระจายและมีผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงาน มีทั้ง 8 กระทรวง, 12 กรม, 3 สำนักงาน, 2 กอง และ 1 คณะ 

 

เสียงส่วนใหญ่ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และภาคประชาชน มองตรงกันว่า การทำงานตามโครงสร้างแบบนี้ขาดความเป็นเอกภาพ กระจัดกระจายเกินไป การไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบชัดเจนทำให้แก้ปัญหามลพิษที่กระทบกับชีวิตของประชาชนไม่ได้เสียที ดังนั้นสิ่งที่ต้องแก้คือต้องบูรณาการเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้

 

จักรพลระบุว่า ตอนนี้คณะกรรมาธิการฯ กำลังทำงานอย่างเข้มข้น โดยสาระของการทำงานจะมีกรอบใหญ่อยู่ 2 เรื่อง คือ 

 

 

  1. สาเหตุของการเกิดฝุ่นพิษในประเทศ 
  2. หมอกควันข้ามพรมแดน 

 

ซึ่งจะต้องวางแผนแก้ปัญหาให้ครอบคลุม มีมาตรการลงโทษวินัยการเงินการคลัง เก็บภาษีบาปจากผู้ที่ทำให้เกิดมลพิษ เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และยาว

 

แม้การทำค่าฝุ่นให้ลดลงในปีนี้อาจจะยังไม่ทันท่วงที แต่คณะกรรมการ PM2.5 แห่งชาติ ที่เขาอยู่ก็ยังทำงานต่อ ในขณะที่คณะกรรมาธิการอากาศสะอาดกำลังศึกษาร่างกฎหมายอย่างเข้มข้น จะเป็นการทำงานเชิงคู่ขนานกัน ไม่ใช่ว่ารอแค่กฎหมายเสร็จในปีหน้าถึงจะเริ่มการเทกแอ็กชันแต่อย่างใด

 

ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ได้รับผลกระทบ อย่างที่อาจารย์คนึงนิจย้ำในสภาว่า คนไทยจะต้องมีสิทธิในการไม่เป็นมะเร็งปอด สิทธิที่จะไม่ตายก่อนวัยอันควร รวมถึงสิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รู้ค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์

 

หรืออย่างที่ภัทรพงษ์มองว่า ประชาชนต้องมีสิทธิได้หายใจในอากาศที่สะอาด หากมีค่าฝุ่นหรือควันพิษเกินมาตรฐานนานกว่า 24 ชั่วโมง ก็มีสิทธิที่จะได้รับการแจ้งเตือนจากท้องถิ่น มีสิทธิในการตรวจโรคและเข้ารับการรักษาแบบเท่าเทียม รวมถึงมีสิทธิในการฟ้องรัฐที่เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของประชาชน

 

และพวกเราในฐานะประชาชนก็ควรจะต้องจับตามองความเคลื่อนไหวของร่างกฎหมายอากาศสะอาดกันต่อไป เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้วร่างกฎหมายที่จะบังคับใช้ในปีหน้าจะสามารถแก้ปัญหาที่คาราคาซังนี้ได้หรือไม่

The post ฝุ่นข้ามแดน ร่างกฎหมายอากาศสะอาดจัดการอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สมรสเท่าเทียม เท่าเทียมจริงไหม? | KEY MESSAGES #117 https://thestandard.co/equal-marriage-is-it-really-equal/ Sat, 20 Jan 2024 04:11:15 +0000 https://thestandard.co/?p=890025

หลังร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ ผ่านวาระแรกของสภ […]

The post ชมคลิป: สมรสเท่าเทียม เท่าเทียมจริงไหม? | KEY MESSAGES #117 appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ ผ่านวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ จำนวน 39 คน เพื่อพิจารณาวาระ 2 ภายในระยะเวลา 60 วัน ทำให้ตอนนี้สิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยกำลังเขยิบขึ้นอีกขั้น

 

แต่ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ ที่เป็นร่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่างพรรคก้าวไกล ร่างภาคประชาชน และร่างพรรคประชาธิปัตย์ มีรายละเอียดแตกต่างกันอยู่หลายข้อ ที่สุดท้ายร่างทั้ง 4 ฉบับจะถูกรวมเป็นร่างเดียว

 

ความแตกต่างของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับมีอะไรบ้าง เหตุผลใดบ้างที่ทำให้แต่ละร่างมองประเด็นและวิธีแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน มาตราไหนจากร่างกฎหมายฉบับใดจะได้ไปต่อ ผู้มีความหลากหลายทางเพศจะได้สิทธิที่พึงมีอย่างยุติธรรมที่สุดเฉกเช่นประชาชนที่เป็นเพศชายและหญิงจริงหรือไม่?

 

แล้วเมื่อได้ดูเนื้อหาทั้งหมด คุณคิดว่าความต่างของร่างใดควรถูกเลือก หรือรู้สึกเห็นด้วยกับประเด็นไหนของร่างใดมากกว่ากัน?

 

เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์

ตัดต่อ: ชินดนัย มะลิซ้อน

The post ชมคลิป: สมรสเท่าเทียม เท่าเทียมจริงไหม? | KEY MESSAGES #117 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: วิกฤตอัตราการเกิดต่ำ ทำคิมจองอึนต้องหลั่งน้ำตา | KEY MESSAGES #112 https://thestandard.co/north-korea-low-birth-rate-crisis/ Fri, 29 Dec 2023 04:00:25 +0000 https://thestandard.co/?p=881945

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดแห่ […]

The post ชมคลิป: วิกฤตอัตราการเกิดต่ำ ทำคิมจองอึนต้องหลั่งน้ำตา | KEY MESSAGES #112 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ หลั่งน้ำตาต่อหน้า ‘แม่’ ชาวเกาหลีเหนือหลายพันคน ในการประชุมสมาคมแม่แห่งชาติ เพื่อร้องขอให้เหล่าคุณแม่ให้กำเนิดบุตรมากขึ้น

 

เขาจะเรียกประชากรหญิงที่มีบุตรแล้วว่า “คุณแม่ที่รัก” แบ่งปันเรื่องราวว่าเวลานี้มีงานด้านสังคมหลายอย่างที่เหล่าคุณแม่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือและให้ความร่วมมือ เลี้ยงดูลูกของตัวเองให้เติบโตมาอย่างดีเยี่ยม เพื่อเข้าร่วมการกำจัดและปราบปรามสิ่งใดๆ ที่ไม่ใช่แนวทางของสังคมนิยมต่อไป ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ต้องกำจัดก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

 

การคาดการณ์ของรัฐบาลเกาหลีใต้ ข้อมูลจากสหประชาชาติ และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มองตรงกันว่าเกาหลีเหนือแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะทรัพยากรที่ใช้ไปกับขีปนาวุธหนึ่งลูกสามารถเปลี่ยนเป็นอาหารให้ประชาชนทั้งประเทศอิ่มท้องได้นานถึง 3 เดือน และในปี 2022 คิมจองอึนทดสอบขีปนาวุธไปมากกว่า 63 ลูก ใช้เงินในระดับมหาศาล

 

อัตราการเกิดถดถอยเป็นเรื่องหนักหนาจนผู้นำสูงสุดต้องร้องไห้ต่อหน้าสาธารณชนเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้คนรู้สึกไม่อยากมีลูก และถ้าหากคิมจองอึนไม่สามารถทำให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นได้จะส่งผลเสียต่ออำนาจของเขาอย่างไรบ้าง

 

เรื่อง: ตรีนุช อิงคุทานนท์
ตัดต่อ: ธนวัฒน์ กางกรณ์

The post ชมคลิป: วิกฤตอัตราการเกิดต่ำ ทำคิมจองอึนต้องหลั่งน้ำตา | KEY MESSAGES #112 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: SOFT POWER เกาหลีใต้ สร้างอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ | KEY MESSAGES #111 https://thestandard.co/the-success-of-soft-power-s-korea/ Fri, 22 Dec 2023 03:00:47 +0000 https://thestandard.co/?p=879463

ในโลกยุคใหม่ เมื่อพูดถึง Soft Power ชาติแรกๆ ที่หลายคนน […]

The post ชมคลิป: SOFT POWER เกาหลีใต้ สร้างอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ | KEY MESSAGES #111 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในโลกยุคใหม่ เมื่อพูดถึง Soft Power ชาติแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นสหรัฐอเมริกา ที่มักได้อันดับหนึ่งจากการจัดอันดับประเทศที่มี Soft Power แข็งแกร่ง หรือนึกถึงญี่ปุ่นที่ปูรากฐานเรื่องมาตรฐานการผลิตกับวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์ มังงะ แฟชั่น ไอดอล แต่ตอนนี้อีกหนึ่งประเทศมาแรงและถือเป็นต้นแบบการทำ Soft Power สำหรับประเทศขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็กคือ ‘เกาหลีใต้’

 

เมื่อถามว่า Soft Power ของเกาหลีใต้คืออะไร เสียงส่วนใหญ่มักตอบตรงกันว่าคือ ‘อุตสาหกรรมบันเทิง’ ครอบคลุมทั้งดนตรี ภาพยนตร์ ซีรีส์ วาไรตี้ และเกม เรียกว่าฮันรยู (Hallyu) หรือ Korean Wave ที่ไม่ใช่อยู่ๆ จะประสบความสำเร็จภายในปีเดียว แต่ใช้เวลาหลายสิบปีถึงจะทำให้กระแสอยู่ตัวและเป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก

 

Soft Power คืออะไร จากอดีตจนถึงวันนี้ความหมายของคำคำนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน หรือความหมายของ Soft Power ยังคงเหมือนเดิม แล้วประเทศที่สามารถพาตัวเองจากที่ไม่มีใครรู้จักจนตอนนี้เป็นที่รู้จักอย่างเกาหลีใต้ ทำอย่างไรให้ Soft Power ของตัวเองประสบความสำเร็จ

The post ชมคลิป: SOFT POWER เกาหลีใต้ สร้างอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ | KEY MESSAGES #111 appeared first on THE STANDARD.

]]>
USO เปิดพิรุธกองทุนหมื่นล้านของ กสทช. https://thestandard.co/key-messages-nbtc-uso/ Mon, 18 Dec 2023 10:08:00 +0000 https://thestandard.co/?p=878155

ในการทำงานของ กสทช. มีสิ่งที่เรียกว่า ‘บริการโทรคมนาคมพ […]

The post USO เปิดพิรุธกองทุนหมื่นล้านของ กสทช. appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในการทำงานของ กสทช. มีสิ่งที่เรียกว่า ‘บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม’ (Universal Service Obligation: USO) หรือโครงการ USO คาดว่ามีเงินในกองทุนมากกว่างบประมาณหลักที่ กสทช. ได้เสียอีก โดยปีนี้มีตัวเลข 8 พันล้านบาท และในปีก่อนๆ มีมากถึง 4 หมื่นล้านบาท 

 

แม้ก่อนหน้านี้ THE STANDARD จะเคยตั้งคำถามถึง กสทช. ที่ได้งบประมาณจากภาษีประชาชนกว่า 6 พันล้านบาท ทว่าประเด็นของ กสทช. โดยเฉพาะโครงการ USO กลับมีความน่าสนใจมากกว่าที่คิด  

 

⭕รายได้มหาศาลและหน้าที่ของโครงการ USO 

 

โครงการ USO คือหนึ่งในภารกิจหลักของ กสทช. ในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานให้ทั่วถึง โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อย เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และประชาชนในพื้นที่ห่างไกล 

 

เมื่อมีไอเดียว่าทุกคนควรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สิ่งต่อมาคือการหางบประมาณเพื่อดำเนินนโยบาย กสทช. จึงหารายได้ผ่านการหักรายได้ 2.5% ของโอเปอเรเตอร์โทรคมนาคมทั้งหมดในประเทศ ลองคิดภาพว่า AIS, TRUE-DTAC และ NT ต้องหักรายได้ 2.5% เข้ากองทุนนี้ ทำให้ USO มีงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท แม้จะหักค่าใช้จ่ายที่ส่งไปยังคลังแล้วก็ตาม 

 

ข้อมูลบนเว็บไซต์ กสทช. เผยให้เห็นว่ากรอบงบประมาณตามแผนงาน USO ค่อนข้างสูงพอสมควร  

 

แผน USO ฉบับที่ 1 ปี 2555-2559 มีกรอบงบประมาณ 20,468 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 2 ปี 2560-2564 มีกรอบงบประมาณ 45,456 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 3 ปี 2565 มีกรอบงบประมาณ 8,000 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 4 ปี 2566 มีกรอบงบประมาณ 8,000 ล้านบาท

 

กสทช. ใช้งบของกองทุน USO เพื่อให้บริการ 5 ประเภท ได้แก่

 

  1. บริการ WiFi สาธารณะประจำหมู่บ้าน 
  2. บริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ USO Net) 
  3. บริการห้องอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Wrap) 
  4. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงเรียน
  5. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) 

 

⭕เน็ตประชารัฐ ความซับซ้อนในภาระหน้าที่ของ กสทช. และกระทรวงดีอี 

 

วันที่ 22 สิงหาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินภารกิจ USO ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เพื่อยกระดับบริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วประเทศ แบ่งกรอบพื้นที่เป้าหมายเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 

 

Zone A และ B พื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ศักยภาพ จำนวน 30,635 หมู่บ้าน 

Zone C พื้นที่ห่างไกลไม่เกิน 15 กิโลเมตร จำนวน 40,432 หมู่บ้าน 

Zone C+ พื้นที่ห่างไกลมากกว่า 15 กิโลเมตร จำนวน 3,920 หมู่บ้าน 

(Zone C ทั้งหมดรวมเป็น 44,352 หมู่บ้าน) 

 

แผนนี้ถูกเรียกว่าโครงการ ‘เน็ตประชารัฐ’ ทั้งกระทรวงดีอีและโครงการ USO ของ กสทช. ต่างใช้ชื่อเดียวกัน แต่แบ่งดูแลกันคนละพื้นที่และมีการทำงานต่างกัน 

 

พสธร อรัญญพงษ์ไพศาล เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ให้ข้อมูลน่าสนใจกับเราว่า โครงการเน็ตประชารัฐเป็นไอเดียแรกเริ่มจากกระทรวงดีอีที่มอบหมายส่งต่อให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันคือบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายในพื้นที่ Zone C จำนวน 24,700 หมู่บ้าน 

 

หน้าที่หลักของโครงการเน็ตประชารัฐคือการทำ ‘Open Access’ สร้างโครงข่ายให้โอเปอเรเตอร์ท้องถิ่นที่ไม่ใช่เจ้าใหญ่และไม่มีทุนมากพอสร้างโครงข่ายเอง ได้มาเชื่อมต่ออุปกรณ์ โทรคมนาคม กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตในชุมชน

 

แต่พอกระทรวงดีอีทำมาได้ระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณที่ได้แบบปีต่อปีไม่เพียงพอ ส่งผลให้การบริการขัดกับหลักการโทรคมนาคมที่การสื่อสารต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปัญหาหนี้ค้างจ่าย ค่าบำรุงรักษา ค่าโอเปอเรชัน ปัญหาเรื่องความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคม และไม่ใช่หน่วยงานที่มีภารกิจนี้ตั้งแต่ต้น ท้ายที่สุดต้องขอให้ กสทช. มาทำโครงการนี้ต่อ โดยดูแลหมู่บ้าน Zone C ที่เหลืออีก 15,732 หมู่บ้าน รวมกับพื้นที่โซน C+ อีก 3,920 หมู่บ้าน เป็น 19,652 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณของ USO

 

พชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำประธาน กสทช. ด้านเทคโนโลยีต่างประเทศ พัฒนาธุรกิจ และนโยบายภาครัฐ ชี้แจงประเด็นนี้ว่า โครงการเน็ตประชารัฐเป็นไปตามแผน USO ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และเป็นไปตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 17 ที่จัดให้มีบริการทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีโครงการนำร่องที่จังหวัดพิษณุโลกและหนองคาย

 

จนกระทั่ง คสช. ยึดอำนาจ ออกคำสั่งให้หยุดการดำเนินโครงการ USO และนำเงินประมูลคลื่น 4G เข้าคลังเพื่อผันเป็นงบประมาณกลับไปให้กระทรวงดีอี ซึ่ง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ณ เวลานั้น ให้กระทรวงดีอีกำหนดจุดให้โอเปอเรเตอร์ไปดำเนินการ โครงการทั้งหมดจึงไม่ใช่ความคิดของ กสทช. แต่เป็นความคิดและแผนของรัฐบาลยุค คสช. ที่เป็นผู้บริหารประเทศในเวลานั้น

 

ทางด้านของพสธรมองว่า หรือจริงๆ แล้วโครงการเน็ตประชารัฐควรอยู่กับ กสทช. ตั้งแต่แรก เพราะภารกิจหลักของ กสทช. คือการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วถึง ที่จะต้องวางแผนแม่บทว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้าถึงบริการโทรคมนาคม ดึงดูดให้โอเปอเรเตอร์เข้าไปลงทุนและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ห่างไกล และกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมกับทุกคน 

 

⭕ ขอบเขตภารกิจกว้าง เปิดช่องให้ กสทช. ลองจับงานหลายทาง?

 

หนึ่งโครงการที่ถูกพูดถึงมากเมื่อช่วงต้นปีนี้คือ โครงการโทรเวชกรรมถ้วนหน้า (Universal Telehealth Coverage: UTHC) หรือ Telehealth ที่คณะอนุกรรมการการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการอนุมัติงบจากกองทุน USO กรอบวงเงิน 3,850 ล้านบาท และเสนอให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณา

 

แผนโครงการ Telehealth ก่อให้เกิดการถกเถียงทั้งภาคประชาชนรวมถึงในบอร์ด กสทช. ว่างานนี้ควรเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ และอาจไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุน USO ที่ระบุไว้ว่าเน้นให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานแก่ประชาชน หลายฝ่ายมองว่าทำงานซ้ำซ้อนกับโครงการรัฐที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปแล้ว และมีความใกล้เคียงกับโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุข ที่คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติไปเมื่อเดือนมกราคม 2566

 

ในเดือนพฤษภาคม บอร์ด กสทช. ลงมติ 4:3 ให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่ก็ยังคงสร้างคำถามทิ้งไว้ว่าทำไม กสทช. ถึงคิดริเริ่มทำสิ่งนี้ทั้งที่มีหน่วยงานอื่นทำอยู่แล้ว และหากผ่าน งบประมาณกว่า 3,850 ล้านบาทจะถูกใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ 

 

กสทช. เป็นหน่วยงานที่มีอิสระทางปกครอง อิสระทางการเงิน และอิสระในการบริหารบุคลากร อีกทั้งรัฐธรรมนูญ 2560 ส่งผลให้ สว. ที่เคยมีอำนาจถอดถอนบอร์ด กสทช. ตอนนี้ก็ไม่สามารถทำได้แล้ว หลายครั้งประชาชนจึงเกิดความรู้สึกว่า กสทช. ที่มีความเป็นอิสระสูง ไม่ได้ใช้อำนาจตรงตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กร

 

อีกโครงการที่ถูกพูดถึงคือโครงการพัฒนาทักษะสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมดิจิทัลใน 5 ภูมิภาค หรือโครงการจ้างอบรม IT คนชายขอบ ที่อยู่ในแผน USO ฉบับที่ 2 วงเงิน 1,420 ล้านบาท และอยู่ในแผนฉบับที่ 4 ปี 2566 มีวงเงิน 1,796 ล้านบาท 

 

โครงการนี้มีการประมูลหาผู้ให้บริการฝึกทักษะแก่กลุ่มเป้าหมาย 5 แสนคน เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้าน ICT, Smart Farming อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับการฝึกทักษะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ 

 

นอกจากข้อสงสัยเรื่องการทับซ้อนด้านการทำงาน ภคมน หนุนอนันต์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เคยอภิปรายประเด็นนี้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่าโครงการดังกล่าวอาจมีการใช้งบประมาณแบบไม่โปร่งใสหรือไม่

 

ไม่เพียงเท่านี้ แหล่งข่าวที่มีส่วนร่วมในการจัดอบรมของ กสทช. ให้ข้อมูลกับเราว่า โครงการอบรมแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีต่างๆ ค่อนข้างดำเนินไปได้ด้วยดี ฟีดแบ็กของประชาชนหลายพื้นที่ที่เข้าร่วมบอกว่าได้ประโยชน์ เสียเพียงอย่างเดียวคือพวกเขาไม่มีสมาร์ทโฟนใช้โหลดแอปพลิเคชันที่เข้าอบรม แล้วแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นการอบรมที่มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาอย่างถูกจุดหรือไม่ 

 

แต่ทางฝั่ง กสทช. มองต่างออกไป พชรระบุว่าการฝึกอบรม IT คนชายขอบ เป็นแผนที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้กรอบทฤษฎี USO ที่จะต้องให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมหรือการให้ความรู้ และเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร 

 

ส่วนพสธรมองไปยังการวางแผนจะทำตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการวางกลยุทธ์โดยรัฐไม่ว่าโครงการใดควรวางให้รอบคอบ เช่น พิจารณาให้ครบถ้วนว่าการนำอินเทอร์เน็ตไปยังพื้นที่ห่างไกลจำเป็นต้องมีอะไรบ้าง ดูเรื่องอุปกรณ์ ผู้คนในพื้นที่มีความต้องการทางเศรษฐกิจแบบไหน แล้วจะใช้อินเทอร์เน็ตไปกับเรื่องใดบ้าง ไม่ใช่แค่นำอินเทอร์เน็ตเข้าไปเพียงอย่างเดียว 

 

สิ่งนี้ไม่ใช่ภาระของ กสทช. เพียงอย่างเดียว แต่เป็นภารกิจเชิงนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องแบ่งภารกิจกับหน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน วางกรอบยุทธศาสตร์ให้ครบว่าใครทำอะไร ผลักดันตรงไหน หากไม่มีการวางแผนแล้วประสานงานอย่างจริงจัง ปัญหาแบบนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เสมอ 

 

⭕ทำไมเราถึงต้องตรวจสอบโครงการ USO 

 

ภารกิจหลักของ กสทช. คือการออกประกาศหลักเกณฑ์ให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถมีอำนาจต่อรองกับรายใหญ่ ทำให้เกิดความหลากหลายในตลาด คุ้มครองผู้บริโภค 

 

ทิศทางการทำงานของ กสทช. ในปัจจุบัน เกิดขึ้นมาจากการที่รัฐมองว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ถ้ารัฐไม่สามารถให้คนเข้าถึงสิ่งนี้ได้ ก็จะมีปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ

 

แม้มองแบบผิวเผิน หลายคนอาจเข้าใจว่างบประมาณของกองทุน USO ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษีของประชาชนโดยตรงเหมือนอย่างตัวเลขงบประมาณอื่นๆ ที่ระบุไว้ชัดเจน แต่เราไม่สามารถมองข้ามงบประมาณของกองทุน USO หรือคิดว่างบก้อนนี้ไม่ได้มาจากเงินของตัวเอง เพราะเงินจำนวนมหาศาลถูกแบ่งมาจากรายได้ของโอเปอเรเตอร์ที่เก็บจากผู้ใช้บริการ 

 

เมื่อ กสทช. กลายเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจของรัฐและใช้อำนาจรัฐเพื่อจัดทำ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณเพื่อบริการสาธารณะตามกฎหมาย ก็จำเป็นจะต้องถูกตรวจสอบว่าใช้งบไปกับอะไรบ้าง แล้วผลงานที่ออกมาประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งท้ายที่สุด การทำงานของ กสทช. ก็จะส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ไปยังประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคอยู่ดี

 

ชมคลิปได้ที่: https://thestandard.co/key-messages-uso-nbtc/

The post USO เปิดพิรุธกองทุนหมื่นล้านของ กสทช. appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เปิดงบหมื่นล้านกองทุน USO ประชาชนได้อะไรจาก กสทช.? | KEY MESSAGES #110 https://thestandard.co/key-messages-uso-nbtc/ Fri, 15 Dec 2023 04:00:39 +0000 https://thestandard.co/?p=876914

ก่อนหน้านี้เราเคยตั้งคำถามถึงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกร […]

The post ชมคลิป: เปิดงบหมื่นล้านกองทุน USO ประชาชนได้อะไรจาก กสทช.? | KEY MESSAGES #110 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ก่อนหน้านี้เราเคยตั้งคำถามถึงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่ได้งบประมาณจากภาษีประชาชนกว่า 6 พันล้านบาท ทว่าประเด็นของ กสทช. ยังมีความน่าสนใจมากกว่านั้น 

 

ในการทำงานของ กสทช. มีสิ่งที่เรียกว่า ‘บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม’ (Universal Service Obligation: USO) หรือโครงการ USO คาดว่ามีเงินในกองทุนมากกว่างบประมาณหลักที่ กสทช. ได้เสียอีก โดยปีนี้มีตัวเลข 8 พันล้านบาท และในปีก่อนๆ มีมากถึง 4 หมื่นล้านบาท 

 

เมื่อเป็นอย่างนั้น โครงการ USO คืออะไร หน้าที่หลักของโครงการนี้คือการทำอะไร เงินก้อนใหญ่นี้มีที่มาจากไหน และภายใต้การทำงานที่ระบุว่าจะต้องสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน โครงการนี้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากน้อยแค่ไหน ติดตามทั้งหมดได้ในรายการ KEY MESSAGES 

 

รายได้มหาศาลและหน้าที่ของโครงการ USO 

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ กสทช. ทำให้สรุปถึงโครงการ USO แบบคร่าวๆ ได้ว่า เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของ กสทช. ในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานให้ทั่วถึง โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อย เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และประชาชนในพื้นที่ห่างไกล 

 

เมื่อมีไอเดียว่าทุกคนควรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สิ่งต่อมาคือการหางบประมาณเพื่อดำเนินนโยบาย กสทช. จึงหารายได้ผ่านการหักรายได้ 2.5% ของโอเปอเรเตอร์โทรคมนาคมทั้งหมดในประเทศ ลองคิดภาพว่า AIS, True-dtac และ NT ต้องหักรายได้ 2.5% เข้ากองทุนนี้ ทำให้ USO มีงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท แม้จะหักค่าใช้จ่ายที่ส่งไปยังคลังแล้วก็ตาม 

 

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ กสทช. เผยให้เห็นว่า กรอบงบประมาณตามแผนงาน USO ค่อนข้างสูงพอสมควร  

 

แผน USO ฉบับที่ 1 ในปี 2555-2559 มีกรอบงบประมาณ 20,468 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 2 ในปี 2560-2564 มีกรอบงบประมาณ 45,456 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 3 ในปี 2565 มีกรอบงบประมาณ 8,000 ล้านบาท 

แผน USO ฉบับที่ 4 ในปี 2566 มีกรอบงบประมาณ 8,000 ล้านบาท

 

กสทช. ใช้งบของกองทุน USO เพื่อให้บริการ 5 ประเภท ได้แก่

 

  1. บริการ Wi-Fi สาธารณะประจำหมู่บ้าน 
  2. บริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์ USO Net) 
  3. บริการห้องอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Wrap) 
  4. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงเรียน
  5. บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) 

 

‘เน็ตประชารัฐ’ ความซับซ้อนยุ่งเหยิงในภาระหน้าที่ของ กสทช. และกระทรวงดีอี 

 

วันที่ 22 สิงหาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินภารกิจ USO ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เพื่อยกระดับบริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วประเทศ แบ่งกรอบพื้นที่เป้าหมายเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 

 

Zone A และ B พื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ศักยภาพ จำนวน 30,635 หมู่บ้าน 

Zone C พื้นที่ห่างไกลไม่เกิน 15 กิโลเมตร จำนวน 40,432 หมู่บ้าน 

Zone C+ พื้นที่ห่างไกลมากกว่า 15 กิโลเมตร จำนวน 3,920 หมู่บ้าน 

(Zone C ทั้งหมดรวมเป็น 44,352 หมู่บ้าน) 

 

แผนนี้ถูกเรียกว่าโครงการ ‘เน็ตประชารัฐ’ ทั้งกระทรวงดีอีและโครงการ USO ของ กสทช. ต่างใช้ชื่อเดียวกัน แต่แบ่งดูแลกันคนละพื้นที่และมีการทำงานต่างกัน 

 

พสธร อรัญญพงษ์ไพศาล เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ให้ข้อมูลน่าสนใจกับเราว่า โครงการเน็ตประชารัฐเป็นไอเดียแรกเริ่มจากกระทรวงดีอีที่มอบหมายส่งต่อให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันคือบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายในพื้นที่ Zone C จำนวน 24,700 หมู่บ้าน 

 

หน้าที่หลักของโครงการเน็ตประชารัฐคือการทำ ‘Open Access’ สร้างโครงข่ายให้โอเปอเรเตอร์ท้องถิ่นที่ไม่ใช่เจ้าใหญ่และไม่มีทุนมากพอสร้างโครงข่ายเอง ได้มาเชื่อมต่ออุปกรณ์ โทรคมนาคม กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตในชุมชน

 

แต่พอกระทรวงดีอีทำมาได้ระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณที่ได้แบบปีต่อปีไม่เพียงพอ ส่งผลให้การบริการขัดกับหลักการโทรคมนาคมที่การสื่อสารต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปัญหาหนี้ค้างจ่าย ค่าบำรุงรักษา ค่าโอเปอเรชัน ปัญหาเรื่องความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคม และไม่ใช่หน่วยงานที่มีภารกิจนี้ตั้งแต่ต้น ท้ายที่สุดต้องขอให้ กสทช. มาทำโครงการนี้ต่อ โดยดูแลหมู่บ้าน Zone C ที่เหลืออีก 15,732 หมู่บ้าน รวมกับพื้นที่โซน C+ อีก 3,920 หมู่บ้าน เป็น 19,652 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณของ USO

 

พชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำประธานกสทช. ด้านเทคโนโลยีต่างประเทศ พัฒนาธุรกิจ และนโยบายภาครัฐ ชี้แจงประเด็นนี้ว่า โครงการเน็ตประชารัฐเป็นไปตามแผน USO ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และเป็นไปตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 17 ที่จัดให้มีบริการทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีโครงการนำร่องที่จังหวัดพิษณุโลกและหนองคาย

 

จนกระทั่ง คสช. ยึดอำนาจ ออกคำสั่งให้หยุดการดำเนินโครงการ USO และนำเงินประมูลคลื่น 4G เข้าคลังเพื่อผันเป็นงบประมาณกลับไปให้กระทรวงดีอี ซึ่ง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ณ เวลานั้น ให้กระทรวงดีอีกำหนดจุดให้โอเปอเรเตอร์ไปดำเนินการ โครงการทั้งหมดจึงไม่ใช่ความคิดของ กสทช. แต่เป็นความคิดและแผนของรัฐบาลยุค คสช. ที่เป็นผู้บริหารประเทศในเวลานั้น

 

ทางด้านของ พสธร มองว่า หรือจริงๆ แล้ว โครงการเน็ตประชารัฐควรอยู่กับ กสทช. ตั้งแต่แรก เพราะภารกิจหลักของ กสทช. คือการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วถึง ที่จะต้องวางแผนแม่บทว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้าถึงบริการโทรคมนาคม ดึงดูดให้โอเปอเรเตอร์เข้าไปลงทุนและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ห่างไกล และกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมกับทุกคน 

 

พื้นที่ ZONE C+ และศูนย์ USO NET ที่ไม่อาจเรียกได้ว่า ‘ประสบความสำเร็จ’

 

พสธรระบุว่าปัญหาใหญ่สุดของ กสทช. ในพื้นที่ ZONE C+ อาจเกิดขึ้นจากการคิดไม่ครบถ้วนตั้งแต่ตอนทำนโยบายแบ่งเขตโซนนิง A B C C+ เพราะพื้นที่ใน ZONE C+ มีทั้งเขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ป่าสงวน ซึ่งหลายแห่งมีชุมชนอาศัยอยู่ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็นอุทยาน ทำให้โครงการ USO ในโซนนี้ไม่สามารถเข้าไปปักเสาสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ เพราะจะต้องขออนุญาตหรือขอข้อยกเว้นต่างๆ จากอธิบดีกรมป่าไม้ ที่ตอนนี้คำขอทำสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ไฟ ถนน หรืออินเทอร์เน็ต ก็ค้างอยู่เป็นแสนคำขอ 

 

แม้ กสทช. จะพยายามแก้ปัญหาด้วยการใช้ดาวเทียมยิงสัญญาณบรอดแบนด์ลงมาเพื่อให้เกิดสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเปิดใช้บริการได้อยู่ดี เพราะถึงจะไม่ใช้เสาสัญญาณ แต่ก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน รวมถึงปัญหาที่ว่าชุมชนเหล่านั้นไม่ได้ใช้ไฟฟ้าจากเสาไฟ แต่มาจากเครื่องปั่นไฟและโซลาร์เซลล์ กลายเป็นว่าโครงการหมื่นล้านบาทก็ไม่สามารถใช้งานได้จริง

 

ขณะเดียวกัน การแบ่งงานในพื้นที่โซน C ระหว่าง กสทช. และกระทรวงดีอี ก็ไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล พวกเขาไม่สามารถรู้ว่าพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ จึงทำให้เกิดความสับสนบ่อยครั้ง เช่น นักการเมืองท้องถิ่นเกิดความไม่แน่ใจว่าควรแจ้งเรื่องปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับหน่วยงานใด พอแจ้งกับกระทรวงดีอี ทางกระทรวงฯ กลับบอกว่าโครงการเน็ตประชารัฐในพื้นที่นั้นเป็นงานของ กสทช. ต้องขอพิกัดหมู่บ้านเพื่อประสานงานต่อไป ซึ่งหลายครั้งการประสานงานแบบนี้อาจทำให้เกิดการแก้ปัญหาล่าช้า 

 

นอกจากพื้นที่อุทยาน การทำงานในพื้นที่ทั่วไปของ กสทช. ก็มีปัญหาเช่นกัน สำนักข่าวอิศราเคยรวบรวมสถานที่ 52 แห่ง ของโครงการรัฐถูกทิ้งร้าง ซึ่ง 2 ใน 52 แห่ง มีศูนย์ USO NET ในจังหวัดชัยภูมิ ที่ก่อสร้างไม่เสร็จแล้วถูกปล่อยทิ้งร้างหลายปี และศูนย์ USO NET ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีแผนก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562 แต่จนถึงปี 2565 มีเพียงแค่วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างบางส่วนถูกวางทิ้งไว้ในพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้เข้าใช้บริการตามจุดมุ่งหมายหลักของโครงการที่วางไว้  

 

เพจเฟซบุ๊กชื่อว่า ต้องแฉ ระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการยกเลิกการจ้าง เนื่องจากการดำเนินการของผู้รับจ้างไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ กสทช. จึงจะดำเนินการหาผู้รับจ้างรายใหม่เพื่อดำเนินงานต่อ ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ ทาง NT อ้างว่ายังมีศูนย์ USO NET อีก 253 อาคาร ที่ยังไม่ได้ทำเรื่องจ่ายให้กับผู้รับเหมา  

 

เราได้สอบถามความคืบหน้านี้กับทาง กสทช. พชรระบุว่าประเด็นอาคาร USO NET ที่สร้างไม่แล้วเสร็จเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ USO แผนที่ 1 ซึ่งโอเปอเรเตอร์อย่าง TOT รับงานจากกระทรวงดีอีมาสร้างอาคาร 253 แห่ง จาก 2,184 แห่ง ต่อมากระทรวงดีอีส่งคืนมาให้ กสทช. ช่วยดำเนินการต่อเพราะไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ ส่งผลให้ กสทช. จำเป็นต้องยกเลิกสัญญา และมีค่าปรับ 713 ล้านบาท เรื่องนี้ไม่มีเหตุผลทำให้เสียหายเชิงตัวเลขงบประมาณ แต่เป็นเรื่องการเสียโอกาสของประชาชนมากกว่า 

 

ขอบเขตภารกิจกว้างขวาง เปิดช่องให้ กสทช. ลองจับงานหลายทาง?

 

ข้อกำหนดเรื่องการทำงานของ กสทช. ระบุว่ามีทั้งการสำรวจพื้นที่ สำรวจความต้องการ ประสานงานกับหน่วยงานรัฐและภูมิภาค ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน แต่ถึงอย่างนั้น ตัวอย่างผลงานของ USO ที่มีหลากหลายก็เต็มไปด้วยข้อสังเกต 

 

เช่น การใช้งบประมาณที่เพิ่งผ่านมาไม่นานอย่างแผน USO ฉบับที่ 3 หลายฝ่ายมองว่าแผนงานนี้ใช้งบกว่าครึ่งไปกับระบบโทรคมนาคมเพื่อสาธารณสุขมากกว่าด้านอื่นๆ จนเกินไป ส่วนแผน USO ฉบับที่ 4 พบว่ามีการแบ่งใช้งบประมาณไปกับหน่วยงานรัฐและความมั่นคง มากกว่าการทุ่มความสนใจไปยังการขยายบริการโทรคมนาคม ทั้งที่โครงการ USO ควรมีบริการระบบโทรคมนาคมทุกด้านอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงตาม พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพราะปัจจุบันยังมีอีกหลายครัวเรือนที่ยากจนและเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต 

 

อีกหนึ่งโครงการที่ถูกพูดถึงมากเมื่อช่วงต้นปีนี้คือ โครงการโทรเวชกรรมถ้วนหน้า (Universal Telehealth Coverage: UTHC) หรือ Telehealth ที่คณะอนุกรรมการการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการอนุมัติงบจากกองทุน USO กรอบวงเงิน 3,850 ล้านบาท และเสนอให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณา

 

แผนโครงการ Telehealth ก่อให้เกิดการถกเถียงทั้งภาคประชาชนรวมถึงในบอร์ด กสทช. ว่างานนี้ควรเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ และอาจไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุน USO ที่ระบุไว้ว่าเน้นให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานแก่ประชาชน

 

กลุ่มไม่เห็นด้วยอย่างเห็นได้ชัดคือกลุ่มผู้นำแรงงาน NT ที่รวมตัวประท้วงเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เพราะมองว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับโครงการรัฐที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปแล้ว และมีความใกล้เคียงกับโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุข ที่คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติไปเมื่อเดือนมกราคม 2566

 

เมื่อเกิดกระแสต่อต้าน มีการถามย้ำถึงความไม่สมเหตุสมผล สุดท้ายในเดือนพฤษภาคม บอร์ด กสทช. ลงมติ 4:3 ให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว แต่ก็ยังคงสร้างคำถามทิ้งไว้ว่าทำไม กสทช. ถึงคิดริเริ่มทำสิ่งนี้ทั้งที่มีหน่วยงานอื่นทำอยู่แล้ว และหากผ่าน งบประมาณกว่า 3,850 ล้านบาท จะถูกใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่ 

 

พสธรระบุว่า กสทช. เป็นหน่วยงานที่มีอิสระทางปกครอง อิสระทางการเงิน และอิสระในการบริหารบุคลากร อีกทั้งรัฐธรรมนูญ 2560 ส่งผลให้ สว. ที่เคยมีอำนาจถอดถอนบอร์ด กสทช. ตอนนี้ก็ไม่สามารถทำได้แล้ว หลายครั้งประชาชนจึงเกิดความรู้สึกว่า กสทช. ที่มีความเป็นอิสระสูง ไม่ได้ใช้อำนาจตรงตามวัตถุประสงค์หลักขององค์

 

อีกหนึ่งโครงการที่ถูกพูดถึงคือโครงการพัฒนาทักษะสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมดิจิทัลใน 5 ภูมิภาค หรือโครงการจ้างอบรม IT คนชายขอบ ที่อยู่ในแผน USO ฉบับที่ 2 วงเงิน 1,420 ล้านบาท และอยู่ในแผนฉบับที่ 4 ปี 2566 มีวงเงิน 1,796 ล้านบาท 

 

โครงการนี้มีการประมูลหาผู้ให้บริการฝึกทักษะแก่กลุ่มเป้าหมาย 5 แสนคน เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้าน ICT, Smart farming อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับการฝึกทักษะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ 

 

นอกจากข้อสงสัยเรื่องการทับซ้อนด้านการทำงาน ภคมน หนุนอนันต์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เคยอภิปรายประเด็นนี้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่าโครงการดังกล่าวอาจมีการใช้งบประมาณแบบไม่โปร่งใสหรือไม่

 

“โครงการนี้ทำอะไร โครงการนี้จ่ายเงินจ้างบริษัทเอกชนในแต่ละภูมิภาคให้ไปอบรมประชาชนชายขอบใช้เทคโนโลยี ประมูลขายงานกันไปตามภูมิภาคต่างๆ น่าสงสัยว่างบ 1.8 พันล้าน อบรมการใช้เทคโนโลยีให้กับคนชายขอบช่วงเลือกตั้ง มีเป้าหมายเพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมการใช้เทคโนโลยีที่ กสทช. บอกว่ามีกลุ่มเป้าหมาย 5 แสนคนไปอยู่ไหนหมด และตอนนี้ประชาชนเหล่านั้นใช้เทคโนโลยีเก่งขึ้นจริงหรือไม่” 

 

งานวิจัย จับตางบ USO กสทช. 8 พันล้านบาทกับการใช้เงินนอกเหนือภารกิจหลัก ของ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ เผยให้เห็นว่าข้อสังเกตว่า การประมูลครั้งนี้มีกรอบวงเงินงบประมาณเพิ่มจากเดิม ทำให้ค่าฝึกอบรมต่อหัวเพิ่มขึ้นจากไม่เกิน 2,840 บาทต่อคน เป็น 3,467 บาทต่อคน ทั้งที่งบประมาณส่วนนี้ควรลดลงเพราะพัฒนาหลักสูตรเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

‘ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการตรวจสอบพบว่ามีผู้ชนะการประมูลอย่างน้อย 3 รายจาก 5 ราย ไม่ได้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือแม้แต่กับทักษะในหลักสูตรการฝึกอบรม โดยประกอบกิจการคอมพิวเตอร์กิจการโทรคมนาคมแบบใช้สายและเคเบิลใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ ร้านขายปลีกเครื่องเล่นวิดีโอเกม และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ทำให้น่าสงสัยว่าจะสามารถจัดการฝึกอบรมทักษะทั้ง 8 หลักสูตรได้มีคุณภาพจริงหรือไม่’

 

ไม่เพียงเท่านี้ แหล่งข่าวที่มีส่วนร่วมในการจัดอบรมของ กสทช. ให้ข้อมูลกับเราว่า โครงการอบรมแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีต่างๆ ค่อนข้างดำเนินไปได้ด้วยดี ฟีดแบคของประชาชนหลายพื้นที่ที่เข้าร่วมบอกว่าได้ประโยชน์ เสียเพียงอย่างเดียวคือพวกเขาไม่มีสมาร์ตโฟนใช้โหลดแอปพลิเคชันที่เข้าอบรม แล้วแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นการอบรมที่มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาอย่างถูกจุดหรือไม่ 

 

แต่ทางฝั่ง กสทช. มองต่างออกไป พชรระบุว่าการฝึกอบรม IT คนชายขอบ เป็นแผนที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้กรอบทฤษฎี USO ที่จะต้องให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมหรือการให้ความรู้ และเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร 

 

ส่วนพสธรมองไปยังการวางแผนจะทำตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการวางกลยุทธ์โดยรัฐไม่ว่าโครงการใดควรวางให้รอบคอบ เช่น พิจารณาให้ครบถ้วนว่าการนำอินเทอร์เน็ตไปยังพื้นที่ห่างไกลจำเป็นต้องมีอะไรบ้าง ดูเรื่องอุปกรณ์ ผู้คนในพื้นที่มีความต้องการทางเศรษฐกิจแบบไหน แล้วจะใช้อินเทอร์เน็ตไปกับเรื่องใดบ้าง ไม่ใช่แค่นำอินเทอร์เน็ตเข้าไปเพียงอย่างเดียว 

 

ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่ภาระของ กสทช. เพียงอย่างเดียว แต่เป็นภารกิจเชิงนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องแบ่งภารกิจกับหน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน วางกรอบยุทธศาสตร์ให้ครบว่าใครทำอะไร ผลักดันตรงไหน หากไม่มีการวางแผนแล้วประสานงานอย่างจริงจัง ปัญหาแบบนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เสมอ 

 

ทำไมเราถึงต้องตรวจสอบโครงการ USO 

 

ตอนนี้ กสทช. ทุ่มความสำคัญในภารกิจของตัวเองอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง เพราะภารกิจหลักของ กสทช. คือการออกประกาศหลักเกณฑ์ให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถมีอำนาจต่อรองกับรายใหญ่ ทำให้เกิดความหลากหลายในตลาด คุ้มครองผู้บริโภค 

 

ทิศทางการทำงานของ กสทช. ในปัจจุบัน เกิดขึ้นมาจากการที่รัฐมองว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ถ้ารัฐไม่สามารถให้คนเข้าถึงสิ่งนี้ได้ ก็จะมีปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ

 

แม้มองแบบผิวเผิน หลายคนอาจเข้าใจว่างบประมาณของกองทุน USO ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษีของประชาชนโดยตรงเหมือนอย่างตัวเลขงบประมาณอื่นๆ ที่ระบุไว้ชัดเจน แต่เราไม่สามารถมองข้ามงบประมาณของกองทุน USO หรือคิดว่างบก้อนนี้ไม่ได้มาจากเงินของตัวเอง เพราะเงินจำนวนมหาศาลถูกแบ่งมาจากรายได้ของโอเปอเรเตอร์ที่เก็บจากผู้ใช้บริการ 

 

เมื่อ กสทช. กลายเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจของรัฐและใช้อำนาจรัฐเพื่อจัดทำ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณเพื่อบริการสาธารณะตามกฎหมาย ก็จำเป็นจะต้องถูกตรวจสอบว่าใช้งบไปกับอะไรบ้าง แล้วผลงานที่ออกมาประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ซึ่งท้ายที่สุด การทำงานของ กสทช. ก็จะส่งกระทบแบบลูกโซ่ส่งไปยังประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคอยู่ดี

 

อ้างอิง:

The post ชมคลิป: เปิดงบหมื่นล้านกองทุน USO ประชาชนได้อะไรจาก กสทช.? | KEY MESSAGES #110 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gaslighting ปั่นหัวด้อยค่าเพื่อบงการ ไทยยังไม่มีกฎหมายเอาผิด https://thestandard.co/gaslighting/ Mon, 04 Dec 2023 11:30:53 +0000 https://thestandard.co/?p=873432 Gaslighting

“คิดดูดีๆ นะ ฉันไม่ได้ผิด เธอต่างหากที่ผิดทุกอย่าง” &nb […]

The post Gaslighting ปั่นหัวด้อยค่าเพื่อบงการ ไทยยังไม่มีกฎหมายเอาผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Gaslighting

“คิดดูดีๆ นะ ฉันไม่ได้ผิด เธอต่างหากที่ผิดทุกอย่าง”

 

“เรื่องแค่นี้เอง อย่าตีโพยตีพายให้เป็นเรื่องใหญ่”

 

“ถ้าไม่มีฉัน เธอก็อยู่ไม่ได้หรอก เพราะเธอมันไม่เก่ง ไม่มีความสามารถมากพอ”

 

“เขาบอกว่าฉันผิดและไม่ดีพอ และมันก็คงเป็นอย่างนั้นจริงๆ”

 

ประโยคข้างต้นเหล่านี้ บางส่วนอาจมองว่าเป็นแค่บทสนทนาทั่วไประหว่างคนสองฝ่ายที่กำลังโต้เถียงกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีความคิดและมุมมองของตัวเอง พอคิดเห็นไม่ตรงกันก็จะเกิดการวิพากษ์เช่นนี้อยู่เสมอ 

 

แต่ถ้าประโยคที่ว่ามานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดขึ้นทุกวัน ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วส่งผลกระทบต่อผู้ฟังจนทำให้เกิดความสูญเสียความมั่นใจ สูญเสียตัวตน การพูดแบบนี้จึงเข้าข่ายโกหก พยายามควบคุมอีกฝ่ายจากผู้ที่มีพฤติกรรม Gaslighting หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า นักปั่นหัว จอมควบคุม

 

การกระทำที่เข้าข่าย Gaslighting ผู้อื่นมีอะไรบ้าง แล้วเราจะรับมือกับคนเหล่านี้ได้อย่างไร?

 

สำรวจพฤติกรรม Gaslighting เรากำลังถูกใครควบคุมอยู่หรือไม่?

 

ที่มาของคำว่า Gaslighting ปรากฏบ่อยขึ้นหลังภาพยนตร์เรื่อง Gaslight ออกฉายในปี 1944 เนื้อเรื่องเล่าถึงความสัมพันธ์ของคู่รักคู่หนึ่งที่สามีต้องการควบคุมให้ภรรยาอยู่ในอาณัติของตน เพื่อหวังจะฮุบสมบัติของคู่แต่งงาน เขาจะย้ำกับเธออยู่บ่อยๆ ว่าเธอไม่ปกติ มีอาการทางจิต เป็นพวกคิดไปเอง เมื่อได้ฟังคำพูดทำนองนี้ซ้ำๆ ทุกวัน เธอจึงเริ่มคล้อยตาม คิดว่าตัวเองอาจผิดปกติก็ได้ ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น 

 

ดังนั้น ลักษณะของบุคคลที่ถูกนิยามว่ามีพฤติกรรม Gaslighting คือผู้ที่พยายามจัดการ ควบคุม บงการชีวิต และความคิดของอีกฝ่ายด้วยวาจาหรือการกระทำ สร้างอำนาจครอบงำให้อีกฝ่ายเป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ ทำให้อีกฝ่ายเกิดความสับสนในความเป็นตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจ ความกล้า ซึ่งการควบคุมนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่มีความสัมพันธ์แบบคนรักเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงใครก็ได้ เช่น คนในครอบครัว เพื่อน คนในที่ทำงาน หรือองค์กรระดับประเทศ 

 

ปัจจุบัน Gaslighting ถือเป็นการควบคุมทางจิตใจรูปแบบหนึ่ง (Psychological Manipulation) ดร.จอร์จ ไซมอน (George Simon) นักจิตวิทยาที่ตีพิมพ์หนังสือ In Sheep’s Clothing: Understanding and Dealing with Manipulative People เคยอธิบายถึงพฤติกรรม Gaslighting ไว้ว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่จะ Gaslighting คนอื่นมักเป็นคนทำผิดแต่ไม่ยอมรับในความผิดของตัวเอง เลยเปลี่ยนไปชักจูงให้อีกฝ่ายเชื่อว่าสิ่งที่ผิดคือเรื่องที่ถูกต้อง จากนั้นทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนค่อยๆ สั่นคลอนความมั่นใจในหลักคิดของอีกฝ่ายได้ในที่สุด  

 

เมื่อลงลึกในรายละเอียดจะพบว่า Gaslighting เป็นได้ทั้งการพูดทั่วไป คำโกหก การพูดเกินจริง นักปั่นหัวจะพูดย้ำๆ กับเหยื่อว่าสิ่งที่เขาหรือเธอคิดนั้นไม่ถูกต้อง ก่อนจะป้อนความคิดในมุมมองของตัวเองให้อีกฝ่ายคล้อยตาม ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างการที่คนรักพยายามพูดกรอกหูทุกวันว่าอีกฝ่ายจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเขา พูดย้ำๆ ให้ตัดขาดจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเพื่อแยกเหยื่อออกจากสังคม ให้ฟังแต่ความคิดของนักปั่นหัวเพียงคนเดียว ไปจนถึงเรื่องที่สังคมมองว่าผิดศีลธรรมอย่างการที่คนรักพยายามกล่อมว่าการลองมีเซ็กซ์กับคนอื่นไม่ใช่เรื่องผิด ไปจนถึงผู้ต้องหาคดีข่มขืนบางรายที่ตอกย้ำกับเหยื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือความยินยอมของทั้งสองฝ่าย 

 

การเกลี้ยกล่อมชักจูงของนักปั่นหัวส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับการต่อว่าเสียดสี การลดทอนศักดิ์ศรี ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่าย ทั้งการด่าทอแรงๆ ว่าทำไมถึงโง่ ทำไมถึงไม่ฉลาด หรือบอกอีกฝ่ายว่าคิดมากไป เป็นโรคหวาดระแวงเกินกว่าเหตุ เป็นพวกเจ้าอารมณ์ เพื่อให้คนที่ Gaslighting สามารถทำพฤติกรรมแย่ๆ ต่อไปได้ 

 

ในที่ทำงานก็พบเห็นพฤติกรรม Gaslighting ได้บ่อยครั้ง เช่น พนักงานคนหนึ่งขาดความมั่นใจในตัวเองเพราะหัวหน้าย้ำทุกวันว่าเขาไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ ความผิดพลาดหลายอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเขา ทั้งที่เหตุการณ์จริงๆ อาจไม่ใช่แบบนั้น เมื่อถูกตอกย้ำบ่อยเข้าจะนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน และเกิดความเครียดสะสมได้ ส่วนผู้ที่ Gaslighting ก็ได้ประโยชน์ด้วยการเข้าควบคุมผู้ร่วมงานคนนั้น ออกคำสั่งและชี้แนะให้เหยื่อทำตามสั่งได้เบ็ดเสร็จ

 

นอกจากนี้ Gaslighting ยังสามารถขยายขอบเขตจากเรื่องของความสัมพันธ์ให้กลายเป็นเรื่องระดับใหญ่ขึ้นได้ด้วย ดร.ฟาราห์ ลาทิฟ (Farah Latif) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน แสดงความคิดเห็นว่า สังคมจะพบการ Gaslighting จากนักการเมืองหรือหน่วยงานทางการเมืองได้บ่อยครั้งในพื้นที่สาธารณะ ด้วยการสร้างวาทกรรมบางอย่างเพื่อสนับสนุนตัวเอง พร้อมกับโจมตีคู่แข่งทางการเมืองด้วยการบิดเบือน ให้ข้อมูลเท็จ ทำให้ประชาชนคล้อยตามได้เหมือนกัน  

 

ดร.อลิซาเบธ ลอมบาร์โด (Elizabeth Lombardo) นักจิตวิทยา นักบำบัด ผู้เขียนหนังสือ Better Than Perfect ให้คำแนะนำต่อผู้ที่ถูกควบคุมและกำลังเผชิญกับความรู้สึกเศร้า เสียใจ โทษตัวเอง เอาไว้ว่า อารมณ์แง่ลบที่เกิดขึ้นจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สิ่งที่จะต้องทำคือการอย่าปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้เข้าควบคุมเรา จะต้องใจเย็นๆ แล้วใช้วิจารณญาณของตัวเองตกตะกอนทางความคิด ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดทั้งหมดของเราจริงไหม จะได้ไม่หวั่นไหวไปกับความคิดของอีกฝ่ายแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

 

สิ่งที่ต้องทำขั้นต่อมาคือการปฏิเสธ แสดงความชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยว่าสิ่งที่นักปั่นหัวพูดเป็นความจริง แต่เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวที่หวังจะลดทอนความมั่นใจของเรา ทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าไม่สามารถควบคุมเราได้ง่ายๆ  

 

อีกหนึ่งวิธีที่นักจิตวิทยาหลายคนพูดถึง คือการให้ผู้ถูกกระทำบอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเองเจอมากับบุคคลที่สาม อาจเป็นเพื่อน ญาติพี่น้อง คนในครอบครัว หรือจิตแพทย์ เพราะเลนส์คนที่มองเข้ามาโดยที่ไม่ได้รับผลกระทบจะทำให้เห็นมุมมองอีกมุมหนึ่ง รวมถึงการพยายามเอาตัวออกห่างจากคนที่ Gaslighting ที่อาจต้องค่อยๆ เริ่มถอยห่าง เว้นระยะมากขึ้นเรื่อยๆ  

 

แต่ถึงอย่างนั้น ใครๆ ก็สามารถถูก Gaslighting ได้ ไม่ว่าเขาหรือเธอจะเป็นคนที่เรียนจบระดับปริญญาเอก เป็นคนดังที่มีชื่อเสียง นักกฎหมาย นักวิชาการ ทุกคนมีโอกาสถูกควบคุม และไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าแบบที่ ดร.อลิซาเบธแนะนำได้เสมอไป จนทำให้เห็นหลายกรณีที่เหยื่อเข้าสู่โหมดถูกควบคุมโดยสมบูรณ์ ยากที่จะรู้สึกตัวแล้วก้าวออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษได้ทัน จนสูญเสียความมั่นใจ และเกิดความเครียดสะสมจนต้องพบจิตแพทย์ 

 

ทางด้านของผู้ที่ Gaslighting คนอื่น ที่แสดงพฤติกรรมซ้ำบ่อยครั้ง สำนักข่าว BBC เคยยกกรณีชายคนหนึ่งชื่อ เกรก (นามสมมุติ) ที่มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้หญิงหลายสิบคน เขาจะมีเทคนิคในการทำให้ตัวเอง ‘พ้นผิด’ ด้วยการพูดให้อีกฝ่ายที่ไม่มีความผิดเป็นคนผิดแทน 

 

ท้ายที่สุดเกรกจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดจากจิตแพทย์ ซึ่งจิตแพทย์ต้องวิเคราะห์ต่อว่าผู้กระทำแต่ละคนมีลักษณะการ Gaslighting แบบไหน เช่น บางคนที่ทำนิสัยแบบนี้เพราะโตมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ทำเพราะพยายามเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆ หรือบางคนทำเพราะเป็นผู้ที่มีอาการหลงตัวเองขั้นรุนแรง 

 

เราสามารถเอาผิดคนที่ Gaslighting ผู้อื่นได้หรือไม่?  

 

ในเมื่อการ Gaslighting หลายสถานการณ์ไม่ได้เข้าข่ายทำร้ายร่างกาย หมิ่นประมาท หรือคุกคามทางเพศ พฤติกรรมเหล่านี้จึงเกิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ทำให้นัก Gaslighting ทั้งหลายรอดตัวจากการถูกลงโทษ 

 

แต่บางพื้นที่ไม่เป็นแบบนั้น ในปี 2015 รัฐบาลอังกฤษยอมรับว่าพฤติกรรมที่พิสูจน์ได้ว่าควบคุมหรือบีบบังคับคนรักหรือคนในครอบครัว ถือว่ามีความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 (Controlling or coercive behaviour in an intimate or family relationship) มีโทษสูงสุดคือการจำคุก 5 ปี และลงรายละเอียดความผิดปลีกย่อยเอาไว้หลายกรณีด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น บุคคล A กระทำความผิดต่อบุคคล B ด้วยการควบคุมและบีบบังคับซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อ B หรือการตรวจสอบว่ามีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่า A กำลังกระทำบางอย่างกับ B เพราะหวังผลประโยชน์บางอย่าง รวมถึงมีการจำแนกอายุของผู้ถูกกระทำว่ายังเป็นเด็กและเยาวชนอยู่หรือไม่ เพื่อพิจารณาบทลงโทษต่อไป 

 

จูเลีย ฟาร์รูเจีย พอร์เทลลี (Julia Farrugia Portelli) นักการเมืองชาวมอลตา เป็นอีกคนที่ต้องการปรับกฎหมายให้พฤติกรรม Gaslighting มีความผิดฐานก่อความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง เพราะถือว่าพยายามเข้าควบคุมจิตใจ ทำให้เหยื่อเกิดความสับสน โดยเธอมีข้อเสนอแนะกับรัฐบาลของตัวเองว่า ควรเริ่มพิจารณาเคส  Gaslighting จากความรุนแรงในครอบครัวก่อน 

 

ทางด้านกฎหมายไทยก็ยังคงไม่ชัดเจน THE STANDARD ได้สอบถามไปยัง ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและ สส. พรรคก้าวไกล เธอแสดงความคิดเห็นว่า เรื่องนี้ยังมีความกำกวมสูงมาก เพราะการนิยามพฤติกรรมคุกคามหลายคำยังไม่ชัด ทั้งคำว่า Grooming (การล่อลวง), Power Dynamic (การใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ) รวมถึง Gaslighting ซึ่งความเข้าใจของผู้คนที่มีต่อคำเหล่านี้ไม่เท่ากัน 

 

ศศินันท์กล่าวว่า Gaslighting ส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบคำพูด จริงๆ การใช้คำพูดเป็นความผิดได้เหมือนกัน เพราะมีกฎหมายในเรื่องข่มเหงจิตใจอยู่ ถ้าเป็นสามีภรรยากันแล้วเกิดการด้อยค่า ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ลดทอนคุณค่า ก็จะเป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้

 

แต่สำหรับประเด็น Gaslighting ที่ภาพยังไม่ชัด สังคมต้องถกเถียงแลกเปลี่ยนกันสักพักก่อนจะออกมาเป็นกฎหมาย อย่างกรณีการคุกคามที่เกิดขึ้นในพรรคก้าวไกล เมื่อมองผิวเผินหลายคนอาจคิดว่าไม่มีอะไรมาก แต่พอเราได้เข้าไปสอบจึงได้เห็นความผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในทางหนึ่ง การออกกฎหมายหลายฉบับ ไม่ได้แปลว่าพฤติกรรมคุกคามจะหายไปจากสังคม 

 

ต่อให้มีกฎหมายมากขนาดไหน แต่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมยังคงไม่เข้าใจ เราก็แก้ปัญหาไม่ได้มากอยู่ดี เพราะเวลาคดีเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตำรวจไม่ได้เข้าใจกันทุกคน ไม่รู้ว่าระดับไหนจะเรียกได้ว่าคุกคามข่มเหง พอเข้าสู่ชั้นศาล อัยการศาลก็ไม่เข้าใจเรื่องนี้เท่ากันอีก เหยื่อหรือผู้เสียหายจะรู้สึกถูกกระทำซ้ำทั้งจากตำรวจที่ซักถาม จากอัยการ และจากศาล ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากเข้าสู่กระบวนการทางอาญา 

 

เมื่อเป็นแบบนี้เราเลยต้องตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้ผู้เสียหายกล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คำตอบคือตอนนี้คนในองค์กรตำรวจ อัยการ และศาล ไม่ได้มีความรู้หรือมีมุมมองแบบ Gender Lens กันทุกคน จึงจำเป็นต้องมีการอบรมประเด็นเหล่านี้ หรือพิจารณาว่าควรมีแผนกแยกออกไปเลยหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศมีการเรียนรู้ตกผลึกมากกว่าเรา 

 

เพราะฉะนั้นความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่สังคมต้องเรียนรู้ร่วมกันอีกสักพัก ขณะเดียวกันกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมก็ต้องเดินหน้าไปพร้อมกันด้วย ไม่ใช่ว่าสังคมตระหนัก มีการออกกฎหมายเยอะมาก แต่กระบวนการยุติธรรมกลับตามไม่ทัน

 

อ้างอิง:

The post Gaslighting ปั่นหัวด้อยค่าเพื่อบงการ ไทยยังไม่มีกฎหมายเอาผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ปัญหา ‘รัฐสภา’ พื้นที่จากภาษีประชาชน แต่ทำไมห่างไกลประชาชน | KEY MESSAGES #103 https://thestandard.co/key-messages-sappaya-saphasathan/ Mon, 30 Oct 2023 05:50:37 +0000 https://thestandard.co/?p=860388 ‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’

‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’ คือชื่อของอาคารราคาห […]

The post ชมคลิป: ปัญหา ‘รัฐสภา’ พื้นที่จากภาษีประชาชน แต่ทำไมห่างไกลประชาชน | KEY MESSAGES #103 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’

‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’ คือชื่อของอาคารราคาหมื่นล้านที่สร้างขึ้นจากภาษีคนไทย ทว่าเมื่อสังเกตลงไปในรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่โครงการก่อสร้าง ไปจนถึงกฎระเบียบยิบย่อยมากมาย ก็จะทำให้เห็นถึงปัญหาและความแปลกประหลาดหลายอย่าง

 

รัฐสภาในบางมิติถูกเรียกว่าเป็นโรงละครขนาดใหญ่ ที่เหล่านักการเมืองซึ่งมาจากการเลือกและไม่ได้เลือกของประชาชน เข้ามาทำงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ทว่าเรากลับมักจะเห็นการเสียดสี ถกเถียง และแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จนเกิดความชินชา ส่งผลให้มีคำถามถึงความโปร่งใสและจุดประสงค์หลักซึ่งเป็นหัวใจของรัฐสภาที่อาจกำลังมีปัญหา

 

ทำไมเราจึงเกริ่นว่าสภามีปัญหา ปัญหาที่ว่านั้นคืออะไร จริงหรือไม่ที่สภาซึ่งสร้างโดยภาษีประชาชนไม่เป็นมิตรกับประชาชนและคนทำงาน มีทั้งปัญหาเรื่องการก่อสร้างที่ยืดเยื้อยาวนาน ข้อบังคับหรือวิถีบางอย่างที่ทำสืบต่อกันมาสร้างค่านิยมผิดเพี้ยนต่อนักการเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน 

 

ไปจนถึงคำถามที่ว่า ในแต่ละปีเราเสียเงินไปกับระบบรัฐสภามากขนาดไหน และเสียไปกับเรื่องประเภทใดบ้าง

 

วัฒนธรรมสภาหล่อหลอมระบบชนชั้นแก่นักการเมือง?

 

เมื่อพูดถึงการเข้าพื้นที่อาคารราชการ เป็นเรื่องปกติที่ประชาชนจะเข้าถึงพื้นที่ในสภาได้แค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งรัฐสภาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะเปิดพื้นที่ชั้นนอกให้ประชาชนเข้ามาได้ เช่น สวนด้านหน้าอาคาร ห้องสมุดรัฐสภา รวมถึงพื้นที่ที่ถูกจัดไว้ให้เวลาประชาชน หรือว่ากลุ่มภาคประชาชนสังคมที่ต้องการยื่นหนังสือร้องเรียนกับนักการเมือง บริเวณนั้นเรียกว่า ‘ศาลาแก้ว’ โถงโล่งๆ ด้านข้างอาคารฝั่ง สส. ที่เมื่อสังเกตดูแล้ว ถือว่ามีความแตกต่างกับบริเวณอื่นๆ พอสมควร 

 

ปกติเวลานักการเมืองพรรคต่างๆ จะแถลงข่าวในสภา สถานที่ที่แจ้งต่อสื่อมวลชนมักจะมีอยู่สองที่ คือห้องแถลงข่าวที่อยู่ติดกับห้องสื่อมวลชน กับโถงทางเข้ารัฐสภา ทั้งสองที่มีไฟส่องสว่าง เปิดแอร์เย็นเฉียบ และมีลำโพงเครื่องเสียงที่พูดแล้วได้ยินชัดเจน ตรงข้ามกับการแถลงข่าวหรือการยื่นหนังสือของประชาชนบริเวณศาลาแก้วอย่างสิ้นเชิง 

 

พื้นที่ตรงศาลาแก้วไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีไฟส่องสว่าง แม้จะมายื่นหนังสือตอนกลางวัน แต่หลายครั้งเราจะได้เห็นภาพที่ค่อนข้างมืดสลัว จนสำนักข่าวหลายเจ้าต้องพกไฟมาเองเพื่อทำงานให้ง่ายขึ้น คุณภาพเสียงก็เบาบางกว่าด้านใน เพราะเป็นพื้นที่เปิด กลายเป็นว่าการแถลงข่าวของประชาชนบริเวณศาลาแก้ว ค่อนข้างแตกต่างกับพื้นที่แถลงข่าวของนักการเมืองที่ห่างกันเพียงแค่ไม่ถึง 100 เมตร 

 

นักข่าวภาคสนามที่ประจำอยู่สภาเล่าว่า ช่วงแรกที่เปิดศาลาแก้วให้ประชาชนแถลงข่าว เป็นช่วงโควิด-19 กำลังระบาด ศาลาแก้วจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมเพราะว่าเป็นพื้นที่โปร่งโล่ง ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ มีช่องลมระบายและถ่ายเทอากาศได้ดี แต่ตอนนี้โควิด-19 มันก็เบาบางลงไปแล้ว พื้นที่ที่รองรับประชาชนก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม 

 

นอกเหนือจากเรื่องพื้นที่ที่ดูจะไม่ตอบโจทย์ ยังมีอีกประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลรักษาความปลอดภัยในสภา เพราะนอกจากบัตรผ่าน อีกหนึ่งสิ่งที่จะแยกนักการเมือง เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสภา ประชาชน หรือสื่อมวลชน ก็คือการใช้ดุลพินิจผ่านเครื่องแต่งกายของคนที่มาเยือน 

 

เราต้องทำความเข้าใจว่าประชาชนทุกคนไม่ได้มีชุดสุภาพ แต่เขาจำเป็นต้องมารัฐสภา เพราะมีเรื่องร้องเรียนกับนักการเมือง ดังนั้นหลายครั้งเราจึงเห็นภาพประชาชนใส่กางเกงขาสั้น สวมรองเท้าแตะ แล้วไม่สามารถเข้ามาที่สภาได้ แม้ว่าเขาจะมีเรื่องเดือดร้อนมากแค่ไหนก็ตาม จนทำให้นักการเมืองต้องออกไปซื้อรองเท้าให้ประชาชนเปลี่ยนเพื่อเข้ามาในสภา 

 

ตรงกับที่ ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส. พรรคก้าวไกล ให้ข้อมูลกับเราว่า ตอนนี้สภาไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าผู้ที่จะเข้ามาควรต้องแต่งกายอย่างไร การประเมินแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตำรวจสภา ที่แต่ละคนก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน เลยมีข้อเสนอแนะว่า พื้นที่ที่เปิดให้ประชาชนมาพูดถึงความเดือดร้อนของพวกเขากำลังเผชิญอยู่ ควรเป็นพื้นที่ที่ละเว้นเรื่องระเบียบไปเลยจะดีกว่าไหม

 

“บางคนมาจากจังหวัดตาก มาถึงแล้วเข้าไม่ได้เพราะติดเรื่องชุดสุภาพหรือไม่สุภาพตามความคิดของเจ้าหน้าที่สภา ที่ตอนนี้ก็ไม่มีระเบียบอ้างอิงไว้เลยว่าแบบไหนคือสุภาพ กางเกงขาสั้นต้องสั้นหรือยาวแค่ไหน”

 

หากจะดูเรื่องการเอ่ยถึงเครื่องแต่งกายในเอกสารระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา พ.ศ. 2559 ในหมวด 5 การปฏิบัติ ข้อที่ 31 ก็ระบุเพียงแค่ว่า 

 

‘ผู้อยู่ในบริเวณรัฐสภาต้องแต่งกายสุภาพ รักษามารยาทให้เรียบร้อย ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา และอยู่ในบริเวณที่กำหนด’ 

 

 

อีกประเด็นคือเรื่องความปลอดภัย พอรัฐสภาเป็นพื้นที่ที่นักการเมืองระดับชาติเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก ระบบการตรวจสอบคนเข้า-ออก จึงเข้มต้นตั้งแต่ประตู โดยเฉพาะวันที่มีการประชุมนัดใหญ่ๆ อย่างการแถลงนโยบายรัฐบาล การอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี อภิปรายไม่ไว้วางใจ ไปจนถึงวันที่มีการนัดชุมนุมประท้วงของประชาชนหน้ารัฐสภา

 

ท่ามกลางการตรวจสอบประชาชนอย่างเข้มงวด มาตรฐานนี้กลับมีช่องโหว่สำหรับนักการเมือง อาจเพราะเป็นนักการเมืองเป็นคนที่เห็นหน้าบ่อยตามข่าว หรือมีบัตรแสดงตัวตนชัดเจน การตรวจตราที่ใช้ดุลพินิจของตำรวจสภาเป็นหลักจึงมีไม่เท่ากัน

 

กรณีตัวอย่างของเรื่องนี้เห็นได้จากข่าวในช่วงปี 2562 มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ สส. พรรคไทยศรีวิไลย์ ณ เวลานั้น แถลงข่าวที่บริเวณโถงอาคารรัฐสภา เรื่องการรับมอบเครื่องตรวจวัตถุระเบิดใหม่ เพื่อใช้ทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยของการประชุมอาเซียน 

 

เขาอ้างว่าได้รับการประสานกับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ให้นำระเบิด TNT เข้ามาในรัฐสภา และเครื่องตรวจก็ไม่สามารถตรวจพบได้ แสดงว่ารัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้มีความปลอดภัย 

 

ภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางโพ แจ้งความดำเนินคดีกับมงคลกิตติ์ กรณีนำสารตั้งต้นประกอบระเบิดเข้ามาในสภา ถือเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบด้านความมั่นคง

 

มงคลกิตติ์ยืนยันว่าสารที่ใช้มีแค่ไนโตรเจน แม้จะเป็นวัตถุดิบประกอบระเบิดจริง แต่สารดังกล่าวไม่สามารถระเบิดเองได้ เขาไม่ได้นำระเบิดเข้ามาในสภา และอาจจะใช้คำพูดเกินจริงเกินไป ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน 

 

อีกกรณีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 วันแรกของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ผู้ช่วยของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเวลานั้น พกอาวุธปืนเข้ามาในสภา ซึ่งสำนักข่าวเดลินิวส์เขียนข่าวว่า 

 

‘ตรวจพบผู้ติดตามบางรายได้พกอาวุธปืนด้วย จึงไม่อนุญาตให้เข้าพื้นที่ สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐมนตรีดังกล่าวและทีมงานเป็นอย่างมาก พร้อมได้ขอจดชื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาผู้นั้นไป

 

‘รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีรายนั้นเข้าพื้นที่รัฐสภาได้แล้ว จึงได้เรียกผู้อำนวยการสำนักสังกัดสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งไปตำหนิ และให้ตามตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่จดชื่อไว้ให้เข้ามาพบ เพื่อต่อว่าที่ไม่ให้ให้เกียรติรัฐมนตรีและทีมงาน ไม่เพียงเท่านั้น ยังบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาคนนั้นกราบเท้ารัฐมนตรีเพื่อขอขมา ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าจะไม่เต็มใจ เพราะเชื่อว่าตนเองปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง’

 

อย่างไรก็ตาม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่ากรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่การพกอาวุธปืนเข้าสภา และไม่ได้มีการบังคับให้ตำรวจกราบเท้าขอโทษตามข่าวแต่อย่างใด เป็นเพียงการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจเท่านั้น

 

แม้จะมีการยืนยันว่าเป็นความเข้าใจผิด แล้วสามารถเคลียร์กันได้ด้วยดี ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เห็นปัญหาเรื่องการทำให้มาตรการรักษาความปลอดภัย อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และตำรวจสภาเป็นหลัก พอไม่มีการกำหนดมาตรการชัดเจน หรือมีกฎที่บังคับให้กับทุกคน เลยเกิดเป็นช่องว่างบางอย่างที่ทำให้สามารถเกิดความหละหลวม และไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากลุ่มคนที่จะโดนเพ่งเล็งก่อนก็มักเป็นประชาชนคนธรรมดา

 

บางความคิดเห็น มองเรื่องวัฒนธรรมในสภาที่อาจทำให้เกิดค่านิยมแปลกๆ ว่า การที่ระบบของสภาแห่งนี้มีความเป็นชนชั้นสูง เพราะรัฐสภาคือสถานที่เพียงแห่งเดียวที่ สส. จะได้แสดงพลานุภาพของตัวเอง ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง จึงเกิดการบีบให้เจ้าหน้าที่สภา ต้องรับรองนักการเมืองทั้งหลายจนเกินไป 

 

เห็นได้จากการที่เจ้าหน้าที่สภาจะมีวัฒนธรรมเรียกนักการเมืองทุกคนว่า ‘ท่าน’ ในทุกครั้งที่พูดคุย รวมถึงเสียงบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่สภาที่ว่า เมื่อมีคำสั่งจากนักการเมือง แม้จะเป็นการสั่งเรื่องง่ายๆ อย่างขอน้ำดื่ม หรือให้ลงไปรับสื่อมวลชน หรือถูกใช้ให้อำนวยความสะดวกต่างๆ เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำขอหรือคำสั่งนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่หรือภาระงานของตัวเองก็ตาม 

 

ภาษีที่ถูกใช้ตอบสนองนักการเมืองในสภามีราคาเท่าไหร่?

 

ค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการประชุมสภาแต่ละครั้ง ก็ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน เช่น การเกิดคำถามว่า เราสูญเสียเงินจากสภาล่มครั้งละเท่าไหร่? คำตอบคือเสียเงินไปกว่า 8.2 ล้านบาท 

 

ข้อมูลจาก ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส. พรรคก้าวไกล ระบุว่า การที่ สส. ไม่มาประชุมสภาจนสภาล่ม เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะว่า สส. ได้รับเงินเดือนเดือนละ 71,230 บาท ได้เงินเพิ่มอีกเดือนละ 42,330 บาท รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท แต่กลับไม่มาทำงาน ไม่ยอมเข้าประชุม จนเกิดความเสียหายกับประเทศชาติ 

 

นอกจากนี้ เธอยังได้รวบรวมรายจ่ายอื่นๆ ที่สภาต้องเสียไปกับนักการเมืองและการจัดประชุมสภาแต่ละครั้ง 

 

‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’

 

  • เงินเดือนประธานสภา รองประธานสภา หารด้วย 31 วัน ตกวันละ 10,968 บาท
  • เงินเดือน สส. สว. และทีมงาน หารด้วย 31 วัน ตกวันละ 5,921,129 บาท
  • ค่าเดินทางนักการเมืองที่เบิกได้ตามจริง
  • ค่าน้ำและค่าไฟสภา ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลในปี 2563 เฉลี่ยวันละ 1,609,848 บาท
  • ค่าสถานที่ แบ่งเป็น ค่าห้องอาหารขนาดใหญ่สำหรับ 500 คน, ที่จอดรถ 900 คัน, ห้องบริวารอื่นๆ 12 ห้อง, ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าพนักงานทำความสะอาด, ค่าพนักงานดูแลจัดรถ, ค่าเจ้าหน้าที่ รปภ. และอื่นๆ
  • ค่าอาหารนักการเมืองวันละ 800 บาท และค่าอาหารว่างอีก 200 บาท รวมเป็น 1,000 บาทต่อคนต่อวัน 

 

เท่ากับว่าสภาล่ม 1 ครั้ง มีมูลค่าความเสียหาย 8,291,945 บาท ซึ่งผู้จ่ายคือประชาชน

 

ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อเราเจาะลึกไปยังการจัดสรรงบประมาณค่าอาหารเพื่อรับรอง สส. ในวันประชุม ก็พบว่ามีราคาสูงเช่นกัน ปีงบประมาณ 2565 และปี 2564 มีการจัดสรรงบเท่ากันคือ 87,880,000 บาท ส่วนในปีงบประมาณ 2566 ค่าอาหารของ สส. มียอดรวมสูงถึง 108 ล้านบาท

 

  • ค่าอาหาร สส. ในวันประชุม 72,031,000 บาท เฉลี่ย 1,000 บาทต่อคนต่อวัน 
  • ค่าอาหารเลี้ยงรับรองกรรมาธิการ 34,846,100 บาท 
  • ค่าอาหารเลี้ยงรับรองวิปฝ่ายค้าน 1,260,000 บาท

 

จำนวนเงินดังกล่าวครอบคลุมถึงค่าอาหารว่าง เครื่องดื่มตลอดทั้งวัน ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารเย็น ตลอดจนภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าบริการต่างๆ 

 

เมื่อสภาเปิดและมีการประชุม กมธ. ในวันประชุมสภา สส. จะรับประทานอาหารแยกต่างหากได้หลายครั้งต่อมื้อ ทั้งจากห้องอาหาร สส. รวมถึงห้องประชุมกรรมาธิการ ที่ สส. บางคนก็อยู่หลาย กมธ. ที่ดูแล้วจะมีค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน และการประชุมสภาแต่ละครั้ง สส. จากพรรคการเมืองต่างๆ ก็ไม่ได้เข้าประชุมครบทุกคน ส่งผลให้เราได้เห็นข่าวอาหาร สส. เหลือทิ้งอยู่เป็นประจำ

 

ชุติพงศ์จากพรรคก้าวไกลแสดงความคิดเห็นว่า มีวิธีง่ายมากๆ ที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่า ค่าอาหารที่มากเกินความจำเป็นนั้นคุ้มค่าต่อการจ่ายไป คือการที่ประชาชนได้เห็นว่า นักการเมืองที่ได้งบประมาณตรงนี้มาดูแลเรื่องอาหารการกิน ทำงานอย่างตั้งใจ มาเข้าประชุมทุกครั้ง ทำหน้าที่ที่ต้องทำอย่างเต็มที่ เสียงวิจารณ์ก็คงไม่สาหัสเท่านี้ แต่สังคมไทยก็ยังคงได้เห็นภาพนักการเมืองขาดประชุมหรือไม่มาทำงานจนสภาล่มอยู่เสมอ 

 

งบประมาณมหาศาลและความไม่สมเหตุสมผลในรัฐสภา 

 

ต้องย้อนกลับไปนิดหนึ่งว่า ระบบรัฐสภาไทยเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา จากนั้นมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ทำให้ไทยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรก 70 คน เริ่มประชุมสภากันในช่วงวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ครั้งแรกที่พระที่นั่งอนันตสมาคม

 

ต่อมาในปี 2512 มีการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่ถนนอู่ทองใน ด้วยงบประมาณ 78,112,628 บาท แต่ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดที่ใช้ไปอยู่ที่ 100 ล้านบาท ก่อนจะมีการอนุมัติสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่อีกครั้ง ชื่อว่าสัปปายะสภาสถาน ย้ายจากถนนอู่ทองใน ไปอยู่ใกล้กับสี่แยกเกียกกาย เขตดุสิต 

 

โครงการสภาแห่งใหม่เริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2551 โดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับเหมาหลัก ด้วยงบประมาณกว่า 12,280 ล้านบาท

 

วันที่ 22 มกราคม 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น มีมติ ครม. อนุมัติให้เบิกจ่ายงบประมาณ โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ด้วยวงเงิน 22,987,266,200 บาท 

 

สัญญาก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566 บนพื้นที่กว่า 119.6 ไร่ และพื้นที่ใช้สอยขนาด 424,000 ตารางเมตร มีการลงนามในสัญญาเลขที่ 116/2556 ว่าจะมีการส่งมอบที่ดินในวันที่ 7 มิถุนายน 2556 เริ่มวางเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 900 วัน หรือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน และงบประมาณหมื่นล้านบาท นั้นไม่สามารถเป็นจริงได้ และเกิดการขยายเวลาก่อสร้างมากถึง 4 รอบ 

 

‘สัปปายะสภาสถาน’ หรือ ‘รัฐสภาใหม่’

 

รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ด้วยเหตุผลว่าสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า รวมถึงปัญหาด้านการขนดินจากการก่อสร้าง

 

รอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ด้วยเหตุผลเดียวกับการขยายเวลารอบแรก

 

รอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ด้วยเหตุผลว่าสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ส่งมอบพื้นที่หลายแห่งล่าช้า เช่น บริเวณโรงเรียนโยธินบูรณะ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ดุสิต ศูนย์สาธารณสุข 38 ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า และบ้านพักข้าราชการกรมการอุตสาหกรรมทหาร 

 

รอบที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ด้วยเหตุผลเรื่องแรงงานและการได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 

 

เมื่อหมดการขยายเวลารอบที่ 4 บริษัท ซิโน-ไทยฯ จะขอต่อสัญญาขยายเวลารอบที่ 5 แต่สำนักงานสภาฯ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่พบเหตุผลสมควร ก่อนเรียกค่าปรับบริษัทเป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาทต่อวัน นับตั้งแต่สิ้นสุดสัญญารอบที่ 4 จนกว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาจะแล้วเสร็จ

 

ส่งผลให้บริษัทซิโน–ไทยฯ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เรียกร้องค่าเสียหายจากสำนักงานสภาฯ มูลค่ากว่า 1,590 ล้านบาท โดยใช้ประเด็นที่สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ส่งมอบที่ดินล่าช้า ทำให้การก่อสร้างไม่เสร็จทันเวลาภายในสัญญาที่ระบุไว้ และถ้าสำนักงานเลขาธิการสภาฯ เป็นฝ่ายแพ้คดี ค่าปรับนั้นก็ต้องดึงมาจากเงินแผ่นดินหรือภาษีของประชาชน  

 

วันที่ 8 ธันวาคม 2562 วิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เรื่องที่บริษัทซิโน-ไทยฯ ขยายเวลาครั้งที่ 3 ช่วงปี 2561 โดยระบุว่าสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ส่งมอบที่ดินล่าช้า ทั้งที่โรงเรียนโยธินบูรณะย้ายไปตั้งในพื้นที่ใหม่ตั้งแต่ปี 2559 ดังนั้น การส่งมอบที่ดินช้า จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้บริษัทไม่ยอมจ่ายค่าปรับวันละ 12 ล้านบาท 

 

ท่ามกลางข้อตกลงในสัญญาที่มีปัญหาแบบนี้ เกิดการโทษกันไปกันมาเพราะว่าการก่อสร้างยืดเยื้อกว่าที่กำหนดไว้ ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นจะต้องเปิดใช้งานสภาแห่งใหม่ทั้งที่ยังก่อสร้างอยู่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 

 

ในช่วงปี 2564 วัชระ เพชรทอง อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่ติดตามการก่อสร้างอาคารรัฐสภาอย่างใกล้ชิด ได้ยื่นหนังสือให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนถึงความผิดปกติหลายเรื่อง เช่น 

 

  • ตรวจสอบเสาไฟฟ้านอกอาคาร 97 ต้น เพราะมีข้อสงสัยว่าใช้เสาเหล็กจริงๆ หรือตัดงบแล้วใช้เสาประเภทอื่น ที่ใช้แผ่นเหล็กม้วนเชื่อมเป็นเสา 

 

  • ตรวจสอบไม้ที่ใช้ปูพื้นว่าเป็นไม้ตะเคียนทองทั้งหมด ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจริงหรือไม่ และต้องเป็นไม้ 3 เมตร จำนวน 27,300 แผ่น ซึ่งกรมป่าไม้ตรวจสอบแล้วเป็นไม้พะยอม และมีใบเสร็จจากโรงไม้ที่บริษัทซิโน-ไทยฯ นำส่ง ปรากฏเป็นไม้กระยาเลย 6,500 แผ่น

 

  • ตรวจสอบเสาไม้สักรอบสภา 4,200 ต้น เมื่อสังเกตดูจะพบว่าขึ้นราและแตกร้าวไปแล้วกว่า 2,400 ต้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้รับเหมานำไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้หรือไม่ รวมถึงขั้นตอนการอบไล่ความชื้นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ได้ทาน้ำมันเคลือบรักษาเนื้อไม้ ทำให้ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

 

  • ตรวจสอบหินทราโวทีนนำเข้าจากต่างประเทศ จะต้องมีขนาด 50×100 เซนติเมตร หนา 25 มิลลิเมตร ตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสามารถตรวจสอบผ่านใบกำกับภาษีนำเข้าสินค้าจากกรมศุลกากร ซึ่งวัชระอ้างว่า เคยนำเศษหินให้นักธรณีที่รู้จักตรวจสอบ พบว่าอาจไม่ใช่หินทราโวทีนนำเข้า แต่เป็นหินอ่อนหรือหินแกรนิตสีชมพูที่อยู่ในประเทศไทย 

 

  • ตรวจสอบอีกว่าประตูห้องกรรมาธิการไม่กันเสียง 65 ห้อง

 

  • ตรวจสอบพบว่าผู้รับเหมามีเจตนาสร้างประตูห้องกรรมาธิการผิดแบบจำนวน 148 บาน ซึ่งในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เอ่ยในที่ประชุมสภาว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งให้ผู้รับเหมาเปลี่ยนประตูกรรมาธิการ 148 บาน ให้เป็นไปตามรูปแบบรายการตามสัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภา

 

ใจความสำคัญในการเคลื่อนไหวของวัชระ ก็คือการตั้งคำถามถึงผู้รับเหมาว่าอาจไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างรัฐสภาตามสัญญาจ้าง มีการทุจริต ตัดลดงบประมาณ ด้วยการลดคุณภาพสินค้าให้ไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญา และรัฐสภาที่ได้มานี้จะไม่คุ้มค่ากับงบประมาณกว่า 2 หมื่นล้านบาท

 

อีกเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ ชุติพงศ์ให้ข้อมูลกับเราว่า ที่ตอนนี้ยังไม่มีการส่งมอบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีสิ่งประดับบางอย่างในสภา ที่ถึงจะไม่ใช่กลไกสำคัญของสภา แต่ก็ไม่ตรงกับ TOR ที่เขียนไว้ในสัญญาตอนแรก ก็ไม่สามารถส่งมอบได้ 

 

สิ่งนั้นคือ ‘ต้นเกด’ ต้นไม้ใหญ่ที่เว็บไซต์ เกษตรทูเดย์ ระบุว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ 7 วัน หลังจากตรัสรู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ทำให้เชื่อว่าเกดเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เสริมสิริมงคลรอบด้าน นำพาความสงบสุขร่มเย็น

 

ชุติพงศ์ระบุว่า ช่วงแรกผู้รับเหมาสามารถหาต้นเกดที่มีความสูงตรงกับสัญญาได้ แล้วเอามาปลูกที่สวนแล้ว แต่ด้วยความที่ต้นไม้สูงและเป็นต้นไม้แก่ เมื่อมาเจอกับดินใหม่ประกอบกับเหตุผลแวดล้อมอื่นๆ ทำให้ต้นไม้ตาย แล้วจนถึงตอนนี้ก็ยังหาต้นที่มีความสูงตรงกับสัญญาไม่ได้ 

 

ประเด็นเรื่องต้นไม้ที่ชุติพงษ์อ้างถึง ตรงกับข้อมูลของวัชระที่เคยแถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ว่ามีหลักฐานเรื่องผู้รับเหมาใช้วัสดุไม่ตรงกับ TOR เช่น ต้นไม้ใหญ่จำนวนมากที่ตายไปก่อนการตรวจสอบ 347 ต้น ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบการฟื้นตัวและอยู่รอดของต้นไม้ได้ ทำให้ถือว่าการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

 

นอกจากปัญหาเรื่องรายละเอียดที่ไม่ตรงกับ TOR ชุติพงศ์ยังตั้งคำถามถึงความไม่สมเหตุสมผลอีกหลายอย่างด้วยกัน เช่น บริเวณบันไดหนีไฟทำจากไม้สักทอง ที่เขาอ้างว่า เคยถามกับผู้เกี่ยวข้องคนหนึ่ง ถึงเหตุผลว่าทำไมใช้ไม้ในพื้นที่หนีไฟ กลับได้คำตอบติดตลกแค่ว่า “เพื่อความสวยงาม”  

 

ส่วนประเด็นน้ำรั่วในพื้นที่ต่างๆ ทั่วสภา ที่เห็นบ่อยครั้งตามโซเชียลมีเดีย ก็มีเหตุผลรองรับว่าเพราะตอนนี้สภายังสร้างไม่เสร็จ และยังไม่มีการตรวจรับ ปัญหานี้จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างช่วยไม่ได้ 

 

แล้วแบบนี้จุดสิ้นสุดของการก่อสร้างรัฐสภาจะยืดเยื้ออีกนานแค่ไหน?

 

รับมอบไม่ได้ เพราะสภาแห่งนี้เต็มไปด้วยความผิดปกติ?

 

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เพจเฟซบุ๊กของบริษัทฯ ซิโน-ไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กรณีที่มีบุคคลตั้งคำถามเกี่ยวกับความพร้อมส่งมอบงานก่อสร้างอาคารรัฐสภา การส่งมอบงาน 100% เป็นกระบวนการระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง โดยผู้รับจ้างมีหน้าที่แสดงความจำนงให้ผู้ว่าจ้างรับทราบ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการตรวจส่งมอบงาน 

 

แถลงการณ์มีการเขียนยืนยันว่าบริษัทฯ ดำเนินการตามสัญญาทุกประการ ข้อมูลของการก่อสร้างตามแบบมีรายละเอียดที่ซับซ้อน อาจยากที่คนนอกอุตสาหกรรมจะเข้าใจ และงานบางส่วนมีการใช้งานไปแล้วทำให้อาจมีการสึกหรอ บริษัทฯ ก็ได้สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอาคารรัฐสภาในการซ่อมแซมแก้ไข หรือให้คำแนะนำดูแลตามหลักวิศวกรรมตลอดมา 

 

ซิโน-ไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า กรณีที่มีบุคคลตั้งคำถามเกี่ยวกับความพร้อมส่งมอบงานก่อสร้างอาคารรัฐสภา

 

ตอนนี้มีทั้งเสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการรับมอบรัฐสภา เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา วัชระแถลงข่าวในรัฐสภาว่าตนได้ทำหนังสือถึง ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เพื่อคัดค้านการรับมอบงาน เนื่องจากพบว่ากระบวนการของคณะกรรมการ การตรวจ การจ้างโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผิดข้อสัญญาที่กำหนดให้ตรวจรับงานเมื่อแล้วเสร็จโดยปราศจากข้อบกพร่อง

 

ต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ปดิพัทธ์ชี้แจงเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าตรวจรับอาคารรัฐสภาอีกครั้ง ว่าได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบการจ้าง มีการประชุมหารือเพื่อรับมอบงานจากผู้รับจ้างและตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งระยะเวลาที่ก่อสร้างล่าช้าคือ 990 วัน ค่าปรับตามสัญญารายวันวันละ 0.1% จากราคาตามมูลค่าของสัญญา หรือวันละ 12,280,000 บาท โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 

 

  1. ผู้รับจ้างขอใช้สิทธิ์ ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยให้คิดค่าปรับเป็นศูนย์ 827 วัน และขยายเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 15 ให้เป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลในช่วงเวลานั้น โดยมีการงดหรือลดค่าปรับเต็มจำนวนถึง 10,155,560,000 บาท ทำให้สภาไม่สามารถคิดค่าปรับขั้นต่ำกับผู้รับจ้างได้

 

  1. จากการที่ ครม. มีมติเห็นชอบ ให้นำมาตรการช่วยเหลือกรณีค่าแรง 300 บาท ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างเป็นเวลา 150 วัน หากมีการแก้ไขสัญญาการก่อสร้างจริง จะถือเป็นการงดเว้นค่าปรับให้ผู้รับจ้างอีก 1,842 ล้านบาท โดยทั้งสองกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ผู้รับจ้างจะได้รับการยกเว้นค่าปรับรวมทั้งหมด 11,997,560,000 บาท ทำให้สภาไม่สามารถคิดค่าปรับได้

 

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีค่าใช้จ่ายควบคุมงานและที่ปรึกษาบริหารโครงการอีกวันละ 332,140 บาท เป็นเวลา 990 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 18 กันยายน 2566 รวมแล้ว 328,818,600 บาท เนื่องจากผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จภายในเวลากำหนด ทำให้ผู้รับจ้างต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้ผู้ควบคุมงานและที่ปรึกษาบริหารโครงการ

 

ตอนนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะตรวจรับอาคารได้ในช่วงใด เพราะคณะกรรมการยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ รวมถึงติดเรื่องสัญญาที่ระบุว่าอาคารรัฐสภาจะต้องเสร็จสมบูรณ์ 100% เท่านั้นจึงจะสามารถส่งมอบได้ และตอนนี้พบความไม่สมบูรณ์ใหญ่ๆ อยู่ 6 จุด หากยืนยันตามคณะกรรมการเสียงข้างมาก ก็ต้องแก้ในสัญญา ถ้ายืนยันตามคณะกรรมการเสียงข้างน้อย ผู้รับเหมาต้องแก้ไขจุดเหล่านั้นให้ถูกต้อง

 

เรื่องนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหน้าที่ของสภาที่ต้องชี้แจงกับสาธารณชน แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส ตอบคำถามให้ได้ว่าเพราะอะไรถึงไม่สามารถตรวจรับได้ตามเวลาที่กำหนด ภาษีจำนวนมหาศาลถูกใช้ไปกับอะไรบ้าง และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง 

 

สุดท้ายแล้ว รัฐสภาที่มาจากภาษีของประชาชน เมื่อเต็มไปด้วยข้อกังขาหรือข้อสงสัยหลายประการ ทุกฝ่ายก็ควรจะต้องเปิดรายละเอียดทั้งหมด ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของภาษีร่วมกัน ได้รับทราบถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น 

 

รัฐสภาที่ควรจะเป็น?

 

รัฐสภาควรจะเป็นต้องเป็นแบบไหน แต่ละคนต่างก็มีมุมมองต่อเรื่องนี้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ใจความสำคัญหลักๆ ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาของเยอรมนี จะเน้นกระจกใสเป็นส่วนใหญ่ ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ไว้บนฝ้า ออกแบบโดมแก้วที่มีระบบการทำงานเหมือนฮีทเตอร์ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป 

 

ส่วนคอมเมนต์ฝั่งรัฐสภาไทย ในปี 2563 ยังมีการพูดถึงปัญหาเรื่องค่าไฟแพง เพราะอาคารถูกออกแบบมาให้ใช้ไฟจำนวนมาก หากเปิดใช้เต็มระบบ ต้องใช้งบประมาณถึงปีละ 425 ล้านบาท

 

เรื่องเว็บไซต์รัฐสภาก็มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน หลายฝ่ายมองว่าควรจะมีการทำงานที่ทันสมัยกว่านี้ เพราะตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เว็บไซต์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่ได้ลงข้อมูลใหม่ที่เป็นปัจจุบัน และไม่ได้แจ้งประเด็นสำคัญมาพักใหญ่แล้ว 

 

 

หากเทียบกับหลายประเทศ เว็บไซต์รัฐสภาของอังกฤษค่อนข้างออกแบบให้ใช้งานง่าย มีการเก็บเรคคอร์ดทุกอย่าง เพียงแค่เสิร์ชคีย์เวิร์ดต่างๆ เช่น ชื่อนักการเมือง พรรคการเมือง ไปจนถึงคำพูดที่เคยกล่าวไว้ในสภา ประชาชนก็จะพบบันทึกการพูดในสภา ไปจนถึงการลงมติของผู้แทนราษฎรทุกคน เพื่อให้ประชาชนติดตามการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และได้รู้ว่าผู้แทนของตนลงมติออกเสียงหรือมีความคิดเห็นต่อประเด็นสังคมนั้นๆ อย่างไรบ้าง 

 

การปรับปรุงระบบต่างๆ ของรัฐสภาไทยยังคงจำเป็นต้องพัฒนาต่อ และเราจะเห็นว่า มีนักการเมืองจากหลายพรรค ที่อยากเห็นระบบการทำงานของสภาที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ตอบคำถามคาใจกับประชาชนได้มากขึ้น 

 

พรรคก้าวไกลพยายามยื่น ‘ข้อบังคับสภาก้าวหน้า’ ยกระดับการทำงานของสภาให้เป็นแบบ Open Parliament ผลักดันให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการ เปิดเผยรายงานการประชุม และข้อมูลการลงมติ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น กำหนดให้ส่งและเผยแพร่เอกสารทั้งหมด ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก หรือการเพิ่มกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และขอให้ร่าง พ.ร.บ. ที่เสนอโดยภาคประชาชน จัดอยู่ในหมวดเรื่องด่วนที่จะพิจารณา

 

เช่นเดียวกันกับ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน สส. พรรคเพื่อไทย และรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ได้เสนอแนวทางการกลับมาทำรัฐสภาประจำจังหวัดอีกครั้ง ซึ่งเคยเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในสมัยที่ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภา กับการทำสภานำร่อง 6 จังหวัด ด้วยเหตุผลว่าเพื่อให้ประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงฝ่ายนิติบัญญัติได้มากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจนว่านี่คือระบบรัฐสภาที่ควรจะเป็นหรือไม่ 

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสัปปายะสภาสถาน ยังคงมีหลายอย่างที่ต้องตามติด ทั้งเรื่องของจุดสิ้นสุดของการรับมอบอาคารรัฐสภา ระบบต่างๆ ที่ต้องปรับปรุงพัฒนา งบประมาณที่เสียไปแต่ละปี ซึ่งสิ่งสำคัญของประเด็นนี้ คือการทำให้ประชาชนที่มองมายังรัฐสภา รู้สึกว่าภาษีของพวกเขาถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่า 

 

อ้างอิง:

The post ชมคลิป: ปัญหา ‘รัฐสภา’ พื้นที่จากภาษีประชาชน แต่ทำไมห่างไกลประชาชน | KEY MESSAGES #103 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: กสทช. ใช้งบ 6 พันล้านบาท ทำหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? | KEY MESSAGES #100 https://thestandard.co/nbtc-6000-billion-baht/ Sat, 07 Oct 2023 11:05:19 +0000 https://thestandard.co/?p=851854

ที่มาของคนทำหน้าที่บริหารกิจการ กสทช. และผลงานที่ผ่านมา […]

The post ชมคลิป: กสทช. ใช้งบ 6 พันล้านบาท ทำหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? | KEY MESSAGES #100 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ที่มาของคนทำหน้าที่บริหารกิจการ กสทช. และผลงานที่ผ่านมาของพวกเขา กลายเป็นประเด็นสังคมอยู่เสมอ ทั้งประเด็นการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค, การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่ใช้เงินไปกว่า 600 ล้านบาท, ข้อสังเกตที่ว่าประธาน กสทช. ใช้เวลากว่า 25% ของเวลาทำงานทั้งหมด บินไปดูงานที่ต่างประเทศ 

 

รวมถึงคำถามที่ว่า งบประมาณมหาศาลที่ กสทช. ได้มาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับเรื่องใด แล้วทำไมเราถึงยังไม่มี SMS แจ้งเตือนภัยพิบัติ ไม่มีการป้องกันมิจฉาชีพที่โทรมาก่อกวนแทบทุกวัน ปัญหานี้ติดขัดเพราะอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นความผิดปกได้หรือไม่?

 

ตัดต่อ: ธนวัฒน์ กางกรณ์

The post ชมคลิป: กสทช. ใช้งบ 6 พันล้านบาท ทำหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? | KEY MESSAGES #100 appeared first on THE STANDARD.

]]>
งบ 6 พันล้านของ กสทช. ยังไม่มากพอให้ทำ SMS Emergency Alert? https://thestandard.co/6-billion-baht-budget-of-nbtc/ Wed, 04 Oct 2023 01:38:36 +0000 https://thestandard.co/?p=850263 SMS Emergency Alert

ในปี 2566 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทร […]

The post งบ 6 พันล้านของ กสทช. ยังไม่มากพอให้ทำ SMS Emergency Alert? appeared first on THE STANDARD.

]]>
SMS Emergency Alert

ในปี 2566 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เป็นหน่วยงานที่มีงบประมาณมากถึง 6,271,250,400 บาท 

 

แม้เราจะเห็นว่างบประมาณของ กสทช. มีจำนวนมหาศาลมากกว่าหลายกระทรวง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ถึงอย่างนั้น ก็อาจยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบที่ประชาชนมักพูดถึงและให้ความสนใจอยู่เสมอกับเรื่อง SMS แจ้งเตือน หรือเซลล์บรอดแคสต์ (Cell Broadcast) 

 

เซลล์บรอดแคสต์คือระบบส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่ให้บริการพร้อมกันในครั้งเดียว โดยจะแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์อย่างการก่อจลาจลหรือการกราดยิง ที่จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่เคยได้รับแจ้งเตือนเหตุการณ์เหล่านี้เลย

 

ขณะเดียวกัน การทำงานที่ผ่านๆ มาสร้างความจดจำให้กับผู้คน ทั้งประเด็นการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค, การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่ใช้เงินไปกว่า 600 ล้านบาท, ข้อสังเกตที่ว่าประธาน กสทช. ใช้เวลากว่า 25% ของเวลาทำงานทั้งหมด บินไปดูงานที่ต่างประเทศ รวมถึงจดหมายจากคนทำงานในองค์กรที่ขอให้นักการเมืองช่วยตรวจสอบงบประมาณที่ผิดปกติ ยิ่งทำให้สื่อมวลชนรายงานความเคลื่อนไหวของ กสทช. บ่อยขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ว่า ประธาน กสทช. และคณะกรรมการ กสทช. มีเงินเดือนจากการทำงานมากเท่าไร พวกเขาเดินทางไปไหนบ้าง งบประมาณมหาศาลที่ กสทช. ได้มาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับเรื่องใด ทำไมเราถึงยังไม่มี SMS แจ้งเตือนภัยพิบัติ แจ้งเตือนเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน ไม่มีการป้องกันมิจฉาชีพที่โทรมาก่อกวนแทบทุกวัน ปัญหานี้ติดขัดเพราะอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นความผิดปกติด้านการจัดสรรงบประมาณได้แล้วหรือยัง? 

 

แก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ และ SMS แจ้งเตือนเหตุร้ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 

 

เมื่อพูดถึงเซลล์บรอดแคสต์ ตอนนี้หลายชาติมีการใช้ระบบแจ้งเตือนดังกล่าวกันแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีการคุ้มครองประชาชนในทำนองนี้ ซึ่ง กสทช. เคยระบุว่า เวลานี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ แต่ติดขัดเพราะขาดงบประมาณ 

 

ไม่เพียงเท่านี้ กสทช. ยังระบุว่า ที่ทำไม่ได้เพราะติดประเด็นผู้ประกอบการด้วย เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถอัปเดตฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่รองรับระบบนี้ได้ จนทำให้นักการเมืองและนักวิชาการบางส่วนตั้งคำถามต่อว่า กสทช. ไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องตอบสนองต่อมาตรการนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้วหรือ

 

ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน กสทช. เคยแจ้งว่า การแจ้งเตือน SMS แบบทั่วไปจะแล้วเสร็จในช่วงสิ้นปี 2565 แต่จนถึงตอนนี้หลายพื้นที่เกิดเหตุการณ์ที่ควรจะส่ง SMS เช่น วิกฤตค่าฝุ่นในภาคเหนือที่พุ่งสูงเกินมาตรฐาน แต่คนในพื้นที่ก็ไม่เคยได้รับข้อความที่ว่านี้เลย

 

สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. ชี้แจงต่อสภาว่า องค์กรมีหน่วยงานที่กำลังศึกษาเรื่องนี้ รู้ดีว่าการทำเซลล์บรอดแคสต์จะสร้างประโยชน์แก่ประชาชน แต่เรื่องนี้จำเป็นต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำ และส่วนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้จัดทำ ซึ่งใน 2 ส่วนนี้ กสทช. ไม่ได้มีอำนาจในการส่งข้อความ เพราะหน่วยงานที่ต้องส่งข้อมูลเตือนภัยมีตั้งแต่กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปจนถึงกรมควบคุมมลพิษ 

 

“กรณีของต่างประเทศก็จะต้องมีการมาพูดคุยกันก่อนว่าระดับไหนควรต้องแจ้งเตือน ไม่ใช่เห็นปุ๊บเตือน กลายเป็นสร้างความวุ่นวายให้กับสังคมไปเลย ประชาชนแทนที่จะได้ประโยชน์ กลับไม่ได้ประโยชน์”

 

ส่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คืองบประมาณ ซึ่งสุทธิศักดิ์ตอบเพียงแค่ว่า “ก็เชื่อว่าจะมี” 

 

นอกเหนือจากเซลล์บรอดแคสต์ การจัดการกับเบอร์มิจฉาชีพที่มาในรูปแบบต่างๆ เป็นสิ่งที่สังคมอยากรู้ เพราะบางครั้งมิจฉาชีพก็แอบอ้างว่าเป็นคนจาก กสทช. เสียด้วยซ้ำ 

 

ในเรื่องนี้ รองเลขาธิการ กสทช. แสดงความคิดเห็นว่า เหมือน กสทช. เป็นจำเลย ถึง กสทช. เป็นผู้ออกใบอนุญาตสร้างโครงข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตช้าหรือมีปัญหา กสทช. ผิดและเป็นผู้รับเต็มๆ แต่สำหรับประเด็นนี้ จะว่าเป็นความรับผิดชอบของ กสทช. ทั้งหมดก็คงจะไม่ได้ 

 

กสทช. พยายามบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งแบงก์ชาติกับตำรวจที่จัดการเรื่องการเงินและการตามจับผู้ใช้เทคโนโลยีในแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต หากเจ้าหน้าที่ตำรวจรู้ว่าเบอร์โทรศัพท์จำนวนหนึ่งเป็นมิจฉาชีพแล้วแจ้งกลับมาที่ กสทช. ทางสำนักงานก็จะบล็อกให้ทันที แต่ กสทช. ไม่ได้มีสิทธิไปกำกับผู้ใช้งานที่ไม่ดีเหล่านั้น และการควบคุมป้องกันที่เป็นแบบเรียลไทม์ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากต้องลงทุนสร้างแพลตฟอร์ม แต่ตอนนี้จะพยายามทำมาตรการใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

 

ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันบริเวณห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน มีผู้คนจำนวนมากวิ่งหนีออกจากห้างโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนมีเสียงคล้ายปืนดังขึ้นหลายนัด ภายหลังพบว่ามีเด็กชายวัย 14 ปี พกอาวุธปืนขนาด 9 มม. เข้าไปในห้างแล้วไล่ยิงประชาชนแบบสุ่ม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5 ราย 

 

ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์ไปจนถึงช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับคนร้ายได้ ก็ไม่มีการส่ง SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ และไม่มีประชาชนคนไหนได้รับข้อความแจ้งเตือนฉุกเฉินจากหน่วยงานที่ควรจะมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้เลย 

 

เมื่อไม่มีการแจ้งเตือนจากหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ ประชาชนจึงต้องติดตามข่าวสารกันเองผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, X (Twitter), เพจข่าวออนไลน์ แม้กระทั่งแจ้งข่าวกันเองผ่านแอปพลิเคชันนิยายออนไลน์ ที่ผู้แต่งนิยายจะอัปเดตสถานะงานเขียนของตัวเองให้เป็นข่าวแจ้งเตือน แทนการอัปเดตเรื่องผลงานตอนต่อไป แล้วแจ้งเตือนนั้นจะขึ้นเตือนในมือถือของผู้อ่านนิยายเรื่องนั้น เพื่อบอกให้ใครก็ตามที่เห็นหลีกเลี่ยงให้ห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ

 

 

ท่ามกลางปัญหาหลายด้านในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่าน SMS และการปราบปรามมิจฉาชีพที่ กสทช. อ้างว่าทำไม่ได้เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณ ในเวลาเดียวกัน กลับมีการนำงบประมาณใช้จ่ายไปกับเรื่องต่างๆ ที่สร้างความกังขาออกมาเป็นจำนวนมาก ยิ่งตอกย้ำถึงคำถามที่ว่า กสทช. ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือไม่ 

 

อภิมหางบประมาณ และการเดินทางของประธาน กสทช. 

 

หากเราเข้าไปยังเว็บไซต์ของ กสทช. จะพบการระบุว่าองค์กรนี้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรร กำกับคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยมีสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานธุรการ ซึ่งรับโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงาน และเงินงบประมาณมาจากสำนักงาน กทช. ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 

 

งบประมาณ พ.ร.บ.กสทช. พ.ศ. 2551 กำหนดให้ กสทช. เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมจากคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะ สามารถหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อนส่งเข้าคลัง และตั้งงบประมาณตัวเองได้ ที่เมื่อดูงบประมาณปี 2566 จะพบว่ามีมากถึง 6,271,250,400 บาท 

 

ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา คณะกรรมการ กสทช. มีทั้งหมด 11 คน แล้วลดลงเหลือ 7 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ และทั้งหมดล้วนมาจากการเลือกตั้งของ สว. ซึ่งตัวของ สว. เองก็มีที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. อีกทอดหนึ่ง 

 

ในเดือนมิถุนายนปีก่อน คณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติเห็นชอบปรับขึ้นเงินเดือนบอร์ด กสทช. ส่งผลให้สำนักงานมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคณะกรรมการ กสทช. ทั้งหมด 7 คน ตกปีละกว่า 28.6 ล้านบาท 

 

การปรับเงินที่ว่านั้นควบรวมทั้งค่าตอบแทนและเงินเดือนแบบเหมาจ่าย เพิ่มค่าเสียโอกาสในการดำรงชีพเพราะห้ามดำรงตำแหน่งหรือประกอบกิจการใดๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมตามที่กฎหมายระบุไว้ 

 

เงินเดือน กสทช.

 

ประธาน กสทช. ได้ค่าตอบแทนมากถึง 361,167 บาท ค่าเสียโอกาส 89,667 บาท มีรายรับรวม 450,834 บาทต่อเดือน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างประเทศอีก 335,580 บาท 

 

เท่ากับว่างบประมาณที่ถูกใช้ไปกับประธาน กสทช. ตกเดือนละประมาณ 786,414 บาท 

 

ส่วนคณะกรรมการ กสทช. ได้ค่าตอบแทน 289,167 บาท ค่าเสียโอกาส 71,667 บาท มีรายรับรวม 360,834 บาทต่อเดือน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างประเทศอีก 269,000 บาท 

 

เท่ากับว่างบประมาณที่ถูกใช้ไปกับคณะกรรมการ กสทช. ตกเดือนละประมาณ 629,834 บาทต่อคน

 

นอกจากค่าตอบแทนรายเดือนกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมแล้วเกือบล้านบาท สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. คนปัจจุบัน ก็ถูกตั้งคำถามเรื่องความเหมาะสมในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศบ่อยครั้ง 

 

เพราะในการประชุมสภาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา รักชนก ศรีนอก สส. พรรคก้าวไกล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประธาน กสทช. เดินทางไปต่างประเทศด้วยงบประมาณของ กสทช. มากกว่า 121 วัน ในขณะที่รับตำแหน่งได้ประมาณปีกว่า หรือ 470 วัน คิดเป็น 25% ของเวลาทำงานทั้งหมด ทำให้กิจการ วาระการประชุมต่างๆ ของ กสทช. ถูกเลื่อนบ่อยครั้ง 

 

เธอกล่าวว่า ตลอด 1 ปี 3 เดือนที่ผ่านมา มีการเดินทางไปต่างประเทศถึง 15 ครั้ง ใช้งบประมาณ 45.8 ล้านบาท แม้จะมีข้อโต้แย้งออกมาว่ามีการใช้งบประมาณเพียง 7.5 ล้านบาท โดยบอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของประธาน กสทช. ไม่นับผู้ติดตาม แต่เธออยากให้ กสทช. ออกมาชี้แจงงบประมาณในการเดินทางไปต่างประเทศทั้งหมดให้ชัดเจนกว่านี้ 

 

ไม่เพียงเท่านี้ รักชนกยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเราว่า มีแหล่งข่าวไม่ประสงค์ออกนามนำข้อมูลเที่ยวบินของประธาน กสทช. มาให้กับตน ข้อมูลนี้เผยให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2565 – 9 กันยายน 2566 รวมเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน เดินทางไปต่างประเทศ 17 ครั้ง คิดเป็น 132 วัน และใช้งบประมาณของสำนักงาน กสทช. ไปกว่า 49,718,960 บาท 

 

 

สุกิจ ขมะสุนทร รักษาการเลขาธิการ กสทช. ได้ออกมาชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า ตัวเลขกว่า 40 ล้านบาทนั้นไม่เป็นความจริง เช่นเดียวกับที่ประธาน กสทช. ชี้แจงในสภาเพียงแค่ว่า

 

“ผมจะขอให้ฝ่ายสำนักงานและฝ่ายงบประมาณ ซึ่งดูแลภาระงานของผมในฐานะประธานในการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมาเป็นผู้ชี้แจง เพื่อเปรียบเทียบถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต”

 

รวมถึงเหตุผลว่า การเดินทางไปต่างประเทศของประธานและคณะกรรมการ กสทช. เป็นไปตามที่ประเทศไทยได้รับมอบหมาย เพราะในปีที่เข้ามา เป็นช่วงที่สำนักงาน กสทช. ได้รับมอบหมายจาก ครม. ให้ออกหาเสียงเพื่อรับสมัครเป็นกรรมการสภาบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในฐานะประธาน กสทช. ที่เป็นผู้แทนไทย จึงต้องออกหาเสียงตามที่ ITU เป็นผู้เชิญ เพราะไทยเป็นสมาชิก ITU นานกว่าร้อยปี และนี่ก็เป็นปีแรกที่ได้รับมอบหมาย

 

ไตรรัตน์ยังระบุอีกว่า เพราะสองปีก่อนติดเรื่องโควิดเลยไม่สามารถเดินทางได้ พอ ITU กลับมาจัดงาน คณะกรรมการก็เป็นชุดใหม่ที่ไม่เคยเข้าสู่วงการคมนาคมมาก่อน ทำให้ต่างประเทศอยากทำความรู้จัก เลยมีความจำเป็นต้องเดินทางไปร่วมประชุม ทุกอย่างเป็นไปตามหลักการ ค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามกฤษฎีกาที่รัฐบาลกำหนดไว้ ไม่มีการเบิกจ่ายนอกเหนือสิทธิ และเบิกต่ำกว่าสิทธิด้วยซ้ำ

 

จดหมายจากคนทำงาน และบริษัททาวน์เฮาส์ต้องสงสัย 

 

ด้วยจำนวนงบหลายสิบล้านบาท กสทช. จึงถูกจับตามองจากหลายฝ่าย อีกตัวอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ในการประชุมสภาเช่นเดียวกัน ภคมน หนุนอนันต์ สส. พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับจดหมายฉบับหนึ่งที่ได้รับมาจากพนักงาน กสทช. ที่อ้างว่า เวลานี้องค์กรกำลังมีความผิดปกติในการจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน 

 

“นี่คือจดหมายจากพนักงานใน กสทช. ท่านหนึ่ง ที่ทนเห็นความเลวร้ายในองค์กรดำรงอยู่ไม่ไหว จึงส่งจดหมายฉบับนี้มา ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์กับสังคมในการตรวจสอบองค์กรแห่งนี้ จึงขออนุญาตนำจดหมายฉบับนี้ออกมาเผยแพร่ 

 

“บางส่วนของจดหมายระบุว่า ปัจจุบัน กสทช. แม้จะเป็นบอร์ดแล้ว แต่ยังมีโปรเจกต์อย่างต่อเนื่อง แถมเพิ่มขึ้นมากในหลายสำนัก เพราะไม่มีใครกล้าขัดใจ บริษัทหลักที่ใช้ประมูล คือ บริษัท ทาลอนเน็ต จำกัด ที่นับรวมๆ บริษัทในเครือน่าจะได้งานเกิน 1,000 ล้านบาท งบกระจายไปหลายสำนัก เช่น สำนักกิจการภูมิภาค สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักบริหารข้อมูลกลาง กรรมการพิจารณาผลส่วนใหญ่เป็นเด็กเพิ่งทำงานไม่กี่ปี และที่สำคัญไม่มีความรู้ทางเทคนิคในเรื่องที่พิจารณา

 

“การประกวดราคาครั้งใด หากผลคะแนนของบริษัท ท. แพ้ ก็จะหาทางให้บริษัทคู่แข่งตกในเรื่องคุณสมบัติ หรืออาจถึงขั้นปรับคะแนนแต่ละหมวดไม่ตรงกับเอกสาร TOR เพื่อให้หายข้อข้องใจ บอร์ดควรเสนอให้มีการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบย้อนหลังทุกโครงการ โดยไล่ดูเอกสารทุกแผ่นอย่างละเอียด”

 

จดหมายจากพนักงานใน กสทช.

 

ภคมนยกตัวอย่างกรณีบริษัท ท. ที่ต้องสงสัยว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบอร์ด กสทช. และรับโครงการต่างๆ จากบอร์ด กสทช. เพราะเมื่อเธอสืบค้นลงไป พบว่าบริษัทประกอบกิจการซื้อขาย ติดตั้ง บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกแบบพัฒนาอีคอมเมิร์ซ มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ข้อมูลการรับงานภาครัฐปี 2560-2566 มีการรับงานไปแล้ว 35 โครงการ วงเงิน 141.8 ล้านบาท และ 21 จาก 35 โครงการ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง 

 

เช่น โครงการจ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบติดตามและรายงานการตรวจสอบและกำกับดูแลการใช้ความถี่ด้วยเทคโนโลยี Video Streaming โดยวิธีเฉพาะเจาะจง, จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบจัดเก็บข้อมูล สำหรับการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง (FM Radio Recorder System) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง, จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูล การปฏิบัติงานสายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง, จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานสายงานกิจการภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เฉลี่ยโครงการละ 1 ล้านบาท 

 

 

ภคมนตั้งคำถามว่า โครงการเล็กๆ จำนวนมากเหล่านี้ เป็นการใช้งบประมาณที่เกิดประโยชน์หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่เธออ้างว่าได้มาจากคนใน กสทช. เผยว่า นี่ไม่ใช่การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ 

 

เธอจึงขอให้ กสทช. ชี้แจงว่าใช้งบประมาณของรัฐปีละกว่า 20-30 ล้านบาท ในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการกับบริษัทดังกล่าวได้อย่างไร เพราะมีบางฝ่ายตั้งข้อสงสัยต่อว่า จริงหรือไม่ที่บริษัทมีกรรมการ กสทช. คนหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย 

 

กสทช. จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูล ทำให้โปร่งใส ไม่อย่างนั้นภาพลักษณ์จะกลายเป็นองค์กรที่มีสถานะพิเศษที่โครงสร้างทางอำนาจเอื้อประโยชน์ให้ไม่เกิดการตรวจสอบ 

 

ภคมนยังพูดถึงการที่ กสทช. อนุมัติโครงการต่างๆ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง โดยระบุวัตถุประสงค์ว่าเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ เช่น การอนุมัติโครงการพัฒนาทักษะสร้างความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศสู่สังคมดิจิทัล 5 ภูมิภาค ที่ใช้งบประมาณ 1.7 พันล้านบาท ด้วยการจ้างบริษัทเอกชนแต่ละภูมิภาคจัดอบรมการใช้เทคโนโลยี ที่หลายครั้งอาจไม่ตรงกับงานที่ทำ หรือไม่ทำให้เจ้าหน้าที่ได้พัฒนาทักษะตามสายงานของตัวเอง 

 

ไม่เพียงเท่านี้ เรายังได้พูดคุยกับแหล่งข่าวไม่ประสงค์ออกนามที่เคยได้ร่วมงานกับ กสทช. และ กตป. ในการจัดทำโครงการต่างๆ แหล่งข่าวเล่าว่า กสทช. มีโครงการจำนวนมาก งบประมาณของโครงการจะได้มาจากสำนัก กสทช. ที่แต่ละโครงการก็มีงบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าจะจัดกิจกรรมในรูปแบบใด เช่น จัดแค่ในกรุงเทพฯ หรือต้องออกไปยังต่างจังหวัด

 

ในหนึ่งโครงการจะมีการระบุข้อกำหนด วัตถุประสงค์ และโครงสร้างของโครงการ (TOR) ในสัญญาจ้าง หนึ่งโครงการจะต้องมีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค ส่งผลให้จำเป็นต้องออกต่างจังหวัดประมาณ 4-5 ครั้ง เพื่อสำรวจผู้รับใบอนุญาตในแต่ละพื้นที่ ซึ่ง กสทช. จะเป็นคนกำหนดเองว่าควรไปจังหวัดใดบ้าง

 

การจัดโครงการที่ต่างจังหวัดจะทำให้ผู้จัดสามารถเบิกงบประมาณได้มากกว่าการจัดในกรุงเทพฯ เงินจะถูกนำไปใช้ในเชิงการทำโครงการ ลงพื้นที่ และท่องเที่ยว เช่น ค่าประชุม ที่มีราคาขั้นต่ำ 650 บาทต่อคน 

 

ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ตั๋วเครื่องบิน รถตู้ ที่พัก อาหาร ฯลฯ บางครั้งเดินทางไปยังจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ พอทำงานเสร็จก็จัดรถตู้เที่ยวต่อ หลายครั้งสมาชิกที่ร่วมเดินทางก็ไม่ได้มีแค่ตัวคนทำงาน แต่หมายถึงคู่สมรสและบุตรด้วย

 

 

ย้ำอีกครั้งว่าในปี 2565 กสทช. ตั้งงบประมาณไว้ที่ 6,765 ล้านบาท และปี 2566 กสทช. ตั้งงบประมาณกว่า 6,271 ล้านบาท เงินจำนวนมหาศาลนี้ไม่ได้ผ่านการพิจารณาโดยองค์กรที่มาจากประชาชนแม้แต่บาทเดียว 

 

ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุว่าทำเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามทั้งจากประชาชนและนักการเมืองว่า งบประมาณก้อนนี้สร้างประโยชน์ต่อคนไทยมากน้อยแค่ไหน?

 

ประเด็นที่รายการ KEY MESSAGES หยิบยกมาเป็นเพียงข้อมูลบางส่วน ท่ามกลางเรื่องราวมากมายที่สังคมมองและตั้งคำถามยัง กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรที่ถูกระบุในรัฐธรรมนูญว่าจะต้องดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ ทุกคนจึงมีสิทธิตรวจสอบกระบวนการทำงานและโครงการต่างๆ ของ กสทช. และทางหน่วยงานก็จำเป็นต้องตอบข้อสงสัยเหล่านี้ให้ชัดเจน

The post งบ 6 พันล้านของ กสทช. ยังไม่มากพอให้ทำ SMS Emergency Alert? appeared first on THE STANDARD.

]]>