ประวิทย์ แต่งอักษร – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 01 Feb 2024 09:01:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Perfect Days (2023) สุนทรียศาสตร์ของคนขัดส้วม https://thestandard.co/opinion-perfect-days/ Thu, 01 Feb 2024 09:01:52 +0000 https://thestandard.co/?p=894808

เผื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ชมขาจร หนังเรื่อง Perfect Days […]

The post Perfect Days (2023) สุนทรียศาสตร์ของคนขัดส้วม appeared first on THE STANDARD.

]]>

เผื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ชมขาจร หนังเรื่อง Perfect Days ของผู้กำกับเยอรมันชั้นครู Wim Wenders ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาหนังนานาชาติ และในบรรดาหนังที่ถูกส่งเข้าประกวดจาก 92 ประเทศ (รวมถึง เพื่อน(ไม่)สนิท จากเมืองไทย) ผลปรากฏว่าหนังเรื่อง Perfect Days ได้รับโหวตให้เข้ารอบ 1 ใน 5 เรื่องสุดท้าย ซึ่งไม่ว่าชื่อของหนังจะถูกประกาศบนเวทีหรือไม่ มันก็เป็นชัยชนะที่สมควรปรบมือให้ในหลายมิติด้วยกัน นั่นรวมถึงการที่สมาคมผู้อำนวยการสร้างของญี่ปุ่นคัดเลือกหนังเรื่องนี้ในฐานะตัวแทนประเทศตั้งแต่ต้น

 

เพราะถ้าหากจะโยนเรื่องชาตินิยมทิ้งไปก่อน นี่เป็นปีที่หนังญี่ปุ่นแข็งแกร่งจริงๆ ด้วยผลงานของคนทำหนังสำคัญหลายเรื่อง เรียงตั้งแต่ The Boy and the Heron ของ Hayao Miyazaki, Monster ของ Hirokazu Koreeda, Evil Does Not Exist ของ Ryusuke Hamaguchi (ซึ่งอาจไม่เข้าเกณฑ์ในแง่ของวันฉาย) ขณะที่ Godzilla Minus One ของ Takashi Yamazaki (ผู้กำกับ Always: Sunset on Third Street) ก็ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และเสียงวิจารณ์อย่างล้นหลามทีเดียว 

 

หรือพูดอย่างย่นย่อ ถึงแม้ Perfect Days จะชนะรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งล่าสุด นั่นก็ไม่ได้ทำให้หนังเรื่องนี้ดูมีภาษีหรือแต้มต่อเหนือกว่าหนังที่อ้างถึงข้างต้น (ซึ่งก็ล้วนไปได้สวยในเทศกาลหนังและเสียงวิจารณ์เช่นกัน) เป็นไปได้ว่าสมมติว่า Perfect Days ไม่ถูกเลือกก็คงจะไม่มีใครว่าอะไร

 

 

แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ ความห่วงกังวลเรื่องผู้กำกับเป็นคนต่างชาติ (ซึ่งจะมาเข้าใจความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างไร) ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ใครทึกทักไปเอง และเป็นตัว Wenders นั่นเองที่ตั้งคำถามในเชิงท้าทายคนดูรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังแห่งกรุงโตเกียวว่า หลังจากที่ทั้งหมดดูหนังจบแล้ว พวกเขายังจะคิดว่านี่เป็นหนังที่ชาวเยอรมันเป็นคนสร้างหรือไม่ เพราะเจ้าตัวบอกด้วยความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เขาค้นพบระหว่างการทำหนังเรื่องนี้ก็คือจิตวิญญาณของความเป็นญี่ปุ่น 

 

ฟังผิวเผินก็ดูเหมือนยาหอมที่ Wenders พูดเอาใจเจ้าภาพและไม่ต้องถือสาหาความ แต่ใครที่ติดตามดูหนังของ Wenders มาอย่างต่อเนื่องก็จะพบอย่างไม่มีวันผิดพลาดว่า คนทำหนังที่มีอิทธิพลทั้งในแง่ของความคิดและสไตล์การนำเสนออย่างเหลือล้นก็คือ Yasujiro Ozu และหนังสารคดีเรื่อง Tokyo-Ga (1985) ของ Wenders ซึ่งเจ้าตัวเป็นคนให้เสียงบรรยาย ก็ไม่เพียงพาคนดูไปสำรวจสถานที่ต่างๆ ในกรุงโตเกียวที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นฉากหลังในหนังของ Ozu หลายเรื่อง ทว่าเสียงรำพึงรำพันของเขาเกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้ก็ฟังดูเหมือนคนที่กำลังเสาะแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ‘Japanese Soul’  

 

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง ความเป็นญี่ปุ่น หรือเยอรมัน หรือสัญชาติอะไรก็แล้วแต่ ก็อาจจะไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะเอาเข้าจริงๆ ในมุมมองของ Wenders ภาพยนตร์สำหรับเขาไม่เคยมีสัญชาติ (“For me, cinema has never been a national story”) และหนังเรื่องแล้วเรื่องเล่าพูดถึงความเป็นมนุษย์ที่เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศไม่มีความหมายจริงๆ จังๆ 

 

 

โดยปริยาย ฉากหลังของ Perfect Days อาจจะได้กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทว่าเนื้อแท้ของหนังก็คลับคล้ายจะเป็นการชวนคนดูสนทนาธรรมเกี่ยวกับชีวิต ความสุข ความทุกข์ คุณค่า และแก่นแท้ของมัน ซึ่งเกี่ยวโยงกับผู้คนไม่ว่าพวกเราจะซุกตัวอยู่มุมไหนของโลก และทั้งหมดของแง่มุมที่น่าครุ่นคิดก็ค่อยๆ ซึมซับเข้ามาในการรับรู้ของเราทีละเล็กละน้อยด้วยท่าทีการนำเสนอที่อ่อนไหวและอ่อนโยน สำรวมและถ่อมตน

 

หรือเปรียบไปแล้ว Wenders ก็เป็นเหมือนกับ ‘เซนมาสเตอร์’ ผู้ซึ่งสอดแทรกปรัชญาชีวิตที่ล้ำลึกผ่านปริศนาธรรมที่สุดแสนเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ อันได้แก่ ชีวิตทุกเมื่อเชื่อวันของพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะในกรุงโตเกียวที่ชื่อ Hirayama (Koji Yakusho) ผู้ซึ่งน่าสังเกตว่าเกือบครึ่งค่อนเรื่องของหนังก็ว่าได้ที่คนดูแทบจะไม่ได้ยินสุ้มเสียงของตัวละคร 

 

และตลอดช่วงเวลาทั้งหมดของหนังซึ่งกินเวลาฉาย 2 ชั่วโมง คนดูถูกกำหนดให้จดจ่ออยู่กับกิจวัตรที่คล้ายกันแทบทุกวันของชายวัยกลางคน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า รดน้ำต้นไม้ในกระถางเล็กๆ นอกหน้าต่าง เปิดประตูบ้านด้วยสีหน้ายิ้มแย้มรับวันใหม่ ขับรถตู้ขนาดกะทัดรัดตระเวนไปตามห้องน้ำซึ่งอยู่ ณ ที่ต่างๆ ในกรุงโตเกียวท่ามกลางเสียงเพลงยุค 60-70 จากเทปคาสเซตต์ ซึ่งในมุมของนักสะสม คอลเล็กชันเพลงเก่าของเขาล้วนมีสถานะเป็น ‘แรร์ไอเทม’ มากๆ (House of the Rising Sun, Perfect Days, Feeling Good) หรืองานอดิเรกอีกอย่างของ Hirayama ก็คือการถ่ายภาพต้นไม้ใบหญ้าและแสงสว่างของแต่ละช่วงเวลาด้วยกล้องฟิล์มปัญญาอ่อนตามประสาของคนยุคอนาล็อก ขณะที่ตอนท้ายของวันก็สิ้นสุดด้วยการชำระล้างร่างกาย ณ โรงอาบน้ำสาธารณะ ดื่มกินในบาร์เจ้าประจำเป็นครั้งคราว อ่านนิยายของนักเขียนรุ่นคลาสสิก (William Faulkner, Aya Koda, Patricia Highsmith) ก่อนนอน และฝันเป็นภาพแอ็บสแตรกต์ที่หลายครั้งมีบุคคลที่เขาพบเจอในวันนั้นๆ เข้าไปปะปน

 

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ ความเหมือนกันแทบทุกวันของ Hirayama (ผู้ซึ่งชื่อของเขาพ้องพานกับชื่อตัวละครในหนังเรื่องสุดท้ายของ Ozu เรื่อง An Autumn Afternoon ซึ่งพูดถึงชีวิตตามลำพังในช่วงบั้นปลาย) ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งจะต้องย้ำรอยเดิม เพราะข้อเท็จจริงก็คือ รายละเอียดปลีกย่อยที่เกิดขึ้นก็ทำให้แต่ละวันแตกต่าง มีรสชาติ และลักษณะเฉพาะในแบบฉบับของมัน และนั่นตอกย้ำว่าชีวิตมีแต่ ‘ดำเนินไปข้างหน้า’ และไม่เคยมีวันไหนที่วนเวียนซ้ำซากอย่างแท้จริง

 

ความน่าทึ่งของ Perfect Days ก็อย่างที่ได้เกริ่นไว้ก่อนหน้า นี่เป็นหนังที่จะว่าไปแล้วเกือบไม่มีเส้นเรื่อง นั่นรวมถึงเหตุการณ์ดรามาติกช่วงครึ่งหลัง ซึ่งอาจจะทำให้คลื่นลมที่เคยสงบนิ่งในจิตใจของเขาเกิดแรงกระเพื่อมขึ้นมาบ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของหนุ่มใหญ่พลิกผันหรือเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ตรงกันข้าม ทั้งหมดนั้นกลับเน้นย้ำสิ่งที่เรียกว่า จุดยืน อุดมการณ์ และความเชื่อของตัวละครให้ยิ่งแน่นหนามากขึ้น

 

 

หรือถ้าหากจะพูดอย่างรวบยอด Perfect Days เป็นหนังที่พูดถึงความงาม และในขณะที่ประโยคต่อไปนี้อาจจะฟังดูน้ำเน่า สำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลงละเมอ แต่หนังของ Wenders ถ่ายทอดได้อย่างโน้มน้าวชักจูงให้เห็นว่า คุณค่าที่จรรโลงและปลอบประโลมความรู้สึกนี้ได้แก่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และ Hirayama เป็นคนที่โชคดีเพราะดวงตาของเขามองเห็นธรรม บางทีประเด็นอาจจะไม่ได้อยู่ที่การตั้งคำถามว่าตัวละครอย่าง Hirayama มีอยู่จริงหรือไม่ในโลกใบนี้ แต่ใช่หรือไม่ว่าความสามารถในการเพ่งพินิจหรือมองหา ‘สุนทรียะ’ ที่แอบซ่อนอยู่ในสิ่งละอันพันละน้อย เป็นวัตรปฏิบัติที่ใครก็สามารถฝึกฝนขัดเกลา และความละเอียดและอ่อนไหวนี่แหละที่นำมาซึ่งความเห็นอกเห็นใจและความเข้าอกเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

 

เพราะเหตุนี้เองที่เกือบตลอดทั้งเรื่องเรามักจะได้เห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้มและเปี่ยมไปด้วยความสุขของตัวละคร และพื้นที่สำหรับความทุกข์ ความโศกเศร้า ตลอดจนเรื่องแย่ๆ ซึ่งรู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และอยู่คู่กับด้านที่สว่างไสวของชีวิตเหมือนกลางวัน-กลางคืน ก็ถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตที่เจ้าตัวรับมือได้

 

และแน่นอนว่าหนึ่งในความงดงามที่ตราตรึงความรู้สึกมากๆ ของหนังเรื่อง Perfect Days ได้แก่บรรดาห้องน้ำสาธารณะแต่ละแห่ง ซึ่งในแง่ของสถาปัตยกรรรมมันถูกออกแบบได้อย่างวิจิตรบรรจงและดึงดูดสายตาราวกับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งเอาจริงๆ มันก็ควรจะมีบรรยากาศแบบนั้นเพื่อการทำธุระอย่างมีสมาธิ) อีกทั้งยังเปี่ยมไปด้วยรสนิยมและกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลบอกโดยอ้อมถึงคุณภาพชีวิตของผู้คน และคนนอกอย่างเราๆ ท่านๆ ได้แต่เฝ้ามองด้วยความอิจฉา และคงไม่ต้องเอ่ยถึงความสะอาดสะอ้าน ซึ่งใครที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นก็คงประสบพบเห็นด้วยตัวเองว่าสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่การสร้างภาพหรือโฆษณาชวนเชื่อ และมันเชื่อมโยงกับความเป็นประเทศ ที่หนึ่งในหลากหลายซอฟต์พาวเวอร์ก็คือห้องน้ำที่เป็นมิตรและน่าใช้มากที่สุดในโลก

 

 

อีกส่วนหนึ่งที่ถูกใช้ประโยชน์ได้อย่างแนบเนียนและแยบยลก็คืออัตราส่วนจอภาพแบบ 4:3 ซึ่งในแง่หนึ่งเป็นฟอร์แมตหนังโบราณที่ใช้โอ้อวดความอลังการงานสร้างไม่ได้ (หนังของ Ozu ทุกเรื่องก็ใช้ภาพสัดส่วนนี้) แต่ในทางกลับกันกรอบภาพที่เกือบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้ก็เหมาะสมมากๆ เวลาถ่ายสิ่งปลูกสร้างขนาดย่อม เช่น ห้องน้ำ หรือห้องหับขนาดกะทัดรัดของหนุ่มใหญ่ หรือสร้างความสัมพันธ์ระยะประชิดระหว่างคนดูกับตัวละคร และแน่นอนว่าโมเมนต์ทรงพลังช่วงท้ายเรื่อง อันได้แก่ การจับภาพโคลสอัพใบหน้าตัวละคร ผู้ซึ่งความรู้สึกอันหลากหลายของเขาหลั่งไหลออกมาอย่างท่วมท้นและพรั่งพรู ได้รับอานิสงส์จากกรอบภาพแบบนี้โดยตรง และเชื่อมั่นได้อย่างหนึ่งว่า ภาพจอกว้างซึ่งมาพร้อมกับพื้นที่ว่างซ้าย-ขวา จะไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกควบแน่น หรือแม้กระทั่งลดทอนความเข้มข้นทางอารมณ์

 

และองค์ประกอบที่ถือเป็นชีพจรของหนังทั้งเรื่องก็คือการแสดงของ Koji Yakusho ผู้ซึ่งน่าเชื่อว่าบทบาทคนทำความสะอาดห้องน้ำที่ตกผลึกกับชีวิตจะถูกจดจำไปแสนนาน ดังที่กล่าวข้างต้น ความที่ตัวละครแทบจะไม่พูดจาช่วงครึ่งเรื่องแรก ก็เหมือนกับจะทำให้ช่องทางสื่อสารของเขาลดลง แต่ก็นั่นแหละ แก่นแกนของตัวละครอยู่ตรงนี้เอง อันได้แก่ ความเป็นคนช่างสังเกตสังกา ตลอดจนใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยของชีวิต นั่นรวมถึงหลายๆ โมเมนต์ที่เขาแอบมองคนจรจัดที่ป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น และพวกเราได้แต่สงสัยว่าหนุ่มใหญ่นึกคิดอะไร หรือฉากที่เขาฉีกยิ้มอย่างรู้สึกสนุกในตอนที่เล่นเกม ‘โอเอ็กซ์’ กับคู่ต่อสู้นิรนาม ซึ่งทีละน้อยมิตรภาพก็งอกงามเหมือนต้นไม้ในกระถางเล็กๆ ที่เขาฉีดน้ำให้ความชุ่มชื้นตอนเช้า หรือฉากที่เขากับใครอีกคนเล่น ‘เหยียบเงา’ ซึ่งน่าจะชวนให้หลายๆ คนนึกย้อนกลับไปว่าครั้งสุดท้ายที่พวกเราเล่นอะไรที่ดูเหลวไหลและน่าขันคือเมื่อใด

 

 

Perfect Days เป็นหนังที่มองสรรพสิ่งรอบข้างด้วยสายตาอ่อนหวาน แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เคยหันหลังให้กับโลกอันแสนโหดร้ายของความเป็นจริง และอย่างหนึ่งที่แน่ๆ ก็คือโลกทัศน์และชีวทัศน์ของ Wim Wenders ที่บอกเล่าผ่านหนังของเขาก็เป็นอย่างเดียวกับของ Yasujiro Ozu นั่นเอง ที่มองเห็นชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องน่าผิดหวัง และพวกเราล้วนลงเอยด้วยความอ้างว้างเดียวดาย แต่อย่างน้อยแสงเงาระยิบระยับซึ่งลอดผ่านแมกไม้ที่ขยับเขยื้อนเป็นจังหวะตามสายลมในแต่ละช่วงวันก็ช่างงดงามและให้ความรู้สึกปลอบโยน และสำหรับคุณ Hirayama วันที่ย่ำแย่ของเขาก็ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายเกินไป

 


 

Perfect Days (2023)

กำกับ: Wim Wenders

ผู้แสดง: Koji Yakusho, Tokio Emoto, Arisa Nakano, Aoi Yamada

 


 

ภาพ: MONGKOL CINEMA

The post Perfect Days (2023) สุนทรียศาสตร์ของคนขัดส้วม appeared first on THE STANDARD.

]]>
Anatomy of a Fall (2023) หนังปาล์มทองสุดเข้มที่พูดถึงความตายปริศนาและการชำแหละซากชีวิตคู่ที่ล่มสลาย https://thestandard.co/anatomy-of-a-fall-movie/ Tue, 19 Dec 2023 09:56:31 +0000 https://thestandard.co/?p=878540 Anatomy of a Fall

เหตุการณ์เล็กๆ ช่วงครึ่งแรกของภาพยนตร์ฝรั่งเศสแนว Court […]

The post Anatomy of a Fall (2023) หนังปาล์มทองสุดเข้มที่พูดถึงความตายปริศนาและการชำแหละซากชีวิตคู่ที่ล่มสลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Anatomy of a Fall

เหตุการณ์เล็กๆ ช่วงครึ่งแรกของภาพยนตร์ฝรั่งเศสแนว Courtroom Drama เรื่อง Anatomy of a Fall ที่ชนะรางวัลปาล์มทองจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีล่าสุดและประสบความสำเร็จด้านรายได้ครึกโครมในประเทศบ้านเกิด อาจจะใช้อธิบาย ‘สถานะที่แท้จริง’ ของภาพยนตร์ได้อย่างแยบยล

 

มันคือฉากที่พยานคนหนึ่งถูกอัยการซักไซ้ไล่เลียงถึงเหตุการณ์ตึงเครียดบางอย่างที่เธอรู้สึกและสัมผัสได้ แต่ไม่ได้เกิดแบบซึ่งๆ หน้า ขยายความสั้นๆ ระหว่างที่เธอสัมภาษณ์นักเขียนหญิง ณ บ้านพักตากอากาศแบบชาเลต์บนภูเขา จู่ๆ เธอก็ได้ยินเพลงจังหวะเร่งเร้าและครึกโครมแผดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จนทั้งสองสื่อสารกันแทบไม่รู้เรื่อง และสิ่งที่ทั้งเธอและคนดูรับรู้พร้อมกันก็คือ นั่นเป็นฝีมือของคนที่เป็นสามีของนักเขียน และความรู้สึกทันท่วงทีของพยานคนดังกล่าวก็คือ บางทีสามีของนักเขียนคงต้องการขัดขวางหรือก่อกวนการพูดคุย แต่เธอก็ออกตัวว่า การพยายามอ่านเจตนารมณ์ของใครบางคนผู้ซึ่งถึงแม้เธอจะรับรู้ถึงการดำรงอยู่ของเขา แต่ไม่ได้พบเจอตัวเป็นๆ เป็นสิ่งที่ฟันธงไม่ได้ง่ายๆ

 

ตรงไหนสักแห่งแถวนี้ที่อัยการเล่นมุกที่เรียกเสียงหัวเราะเบาๆ ในห้องพิจารณาคดีทำนองว่า ในฐานะตัวแทนฝ่ายฟ้องร้อง ตัวเขาถูกจ้างให้ทำหน้าที่อ่านเจตนารมณ์ของคนที่เขา (ทั้งไม่รู้จักและ) ไม่ได้พบเจอตัวเป็นๆ

 

 

มองในแง่มุมหนึ่ง คนดูก็อยู่ในสถานะเดียวกับอัยการคนนี้ด้วยเหมือนกัน เราอาจได้เปรียบมากกว่าหน่อยหนึ่งตรงที่คนทำภาพยนตร์พาเราไปรู้จักและพบเจอตัวละครที่สำคัญตามสมควร แต่จนแล้วจนรอดคนดูก็ยังคงถูกทดสอบทักษะในการอ่านเจตนารมณ์ที่แท้จริงอย่างหนักหน่วงและเข้มข้นอยู่นั่นเอง ส่วนหนึ่งเพราะคนทำภาพยนตร์เว้นระยะห่างระหว่างตัวละครกับคนดู 

 

ขณะที่อีกส่วนที่น่าจะสำคัญมากกว่าก็คือ สิ่งละอันพันละน้อยที่ถูกบอกเล่าเป็นเพียงแค่ปลายเหตุ และการอ่านเจตนารมณ์ของโน่นนี่นั่น ที่คนทำภาพยนตร์ถ่ายทอดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นในระดับ ‘กายวิภาค’ ก็น่าจะช่วยให้เรามองเห็นว่า สุดท้ายแล้วความยุ่งยากทั้งหลายทั้งปวงไม่ได้ปะทุจากปมขัดแย้งส่วนบุคคลเพียงลำพัง แต่มีประเด็นเรื่องจิตวิทยาสังคม เพศสภาพ ความเป็นผู้หญิงและผู้ชาย หรือแม้กระทั่งเรื่องเชื้อชาติมาเกี่ยวข้อง

 

 

อย่างที่คนดูสันนิษฐานได้ไม่ยาก ชื่อภาพยนตร์ Anatomy of a Fall ซึ่งแปลตรงตัวจากชื่อภาษาฝรั่งเศส Anatomie d’une Chute ไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษรเพียงอย่างเดียวแน่ๆ แต่ในเบื้องต้น ‘การร่วงหล่น’ ณ ที่นี้หมายถึงเหตุการณ์ที่ Samuel (Samuel Theis) สามีของนักเขียนหญิง Sandra (Sandra Hüller) ‘พลัดตก’ ลงมาจากห้องใต้หลังคา ซึ่งอยู่ชั้นสามของชาเลต์และเสียชีวิตอย่างน่าอเนจอนาถ ตัวนักเขียนหญิงถูกตั้งข้อสงสัยว่า บางทีเธออาจจะเกี่ยวข้องกับการตายครั้งนี้ และเนื้อหาส่วนใหญ่ก็ดำเนินไปตามกรอบของภาพยนตร์ที่พูดถึงการต่อสู้คดีความในชั้นศาล ซึ่งอัดแน่นไปด้วยบทสนทนาเชือดเฉือน และต่างฝ่ายต่างหักล้างและเอาชนะคะคานด้วยสารพัดตรรกะและเหตุผล

 

ข้อน่าสังเกตก็คือ ภายใต้กระบวนการไต่สวนของฝรั่งเศสที่ใช้ระบบลูกขุน Anatomy of a Fall ของ Justine Triet แทบไม่เคยให้คนดูได้เห็นว่ามีใครนั่งอยู่ในคอกลูกขุนบ้าง (และมีเพียงแค่ภาพระยะไกล) ทีละน้อย กลายเป็นคนดูนั่นแหละที่ต้องวินิจฉัยข้อมูลและหลักฐานเบื้องหน้า ซึ่งยิ่งเวลาผ่านพ้นไป ความรู้สึกเคลือบแคลงสงสัยของพวกเราคนดูต่อความบริสุทธิ์ผุดผ่องของตัวละครก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในลักษณะไม่ต่างจากภาพยนตร์ของ Alfred Hitchcock (Suspicion และ Shadow of a Doubt)

 

 

ขณะที่ในทางกลับกัน Sandra ก็ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะพูดอีกครั้ง ระหว่างคนดูกับตัวละครนี้มีระยะห่างพอสมควร หลายๆ ครั้งเราหยั่งไม่ได้ถึงตื้นลึกหนาบางที่ซุกซ่อนในห้วงคิดคำนึง บางทีมันอาจเป็นเพราะบุคลิกที่แข็งกระด้างและดูไม่สะทกสะท้านของเธอ หรืออย่างน้อยเธอก็เก็บอาการได้แน่นหนามิดชิด โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ถ้าหากเป็นคนอื่น ทำนบอารมณ์ความรู้สึกคงพังพินาศไปแล้ว ไม่มีข้อสงสัยว่านี่เป็นการแสดงที่เลอเลิศของ Sandra Hüller ผู้ซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งยวดในการทำให้ปมปริศนาความตายของผู้เป็นสามีเพิ่มรสชาติของความเอร็ดอร่อยและเข้มข้นมากขึ้น

 

อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกับคาแรกเตอร์นี้และควรระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็คือ แง่มุมด้านศีลธรรมและจริยธรรมของตัวละคร พูดง่ายๆ เธอไม่เพียงถูกเปิดโปงว่าเป็นไบเซ็กชวลและมีความสัมพันธ์นอกชีวิตสมรสกับหญิงอื่น ในฐานะนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ เธอยังถูกกล่าวหาว่าขโมยทั้งไอเดียของสามีมาใช้ในงานเขียนตัวเองและลักลอบเอาชีวิตของคนรอบข้างมาเป็นวัตถุดิบในการทำมาหากิน ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงมันน่าจะลดทอนคะแนนนิยมของเจ้าตัวให้ยิ่งตกต่ำมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คำถามที่ค้างคาก็คือ มาตรฐานด้านศีลธรรมและจริยธรรมที่สังคมไม่ปลื้มเกี่ยวข้องกับการชี้มูลความผิดตัวละครมากน้อยแค่ไหน เพราะเอาจริงๆ นี่ไม่ใช่การประกวดประขันเรื่องความเป็นคนดิบดี(ย์) หรืออุปนิสัยใจคอ

 

 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร Anatomy of a Fall ก็ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่เดินตามขนบของภาพยนตร์แนว Whodunit หรือ Courtroom Drama อย่างหน้ามืดตามัว และหยิบยืมมาเพียงแค่เค้าโครง เพราะเหตุนี้เองเป้าประสงค์ของภาพยนตร์จึงไม่ได้เป็นเรื่องใครฆ่า หรือ ‘จำเลยมีความผิดตามคำฟ้องหรือไม่’ และยิ่งเวลาผ่านพ้นไป น้ำหนักของปมปัญหาดังกล่าวก็บางเบาและเจือจาง 

 

และไหนๆ ก็ไหนๆ ประเด็นวินิจฉัยจริงๆ ได้แก่ การตั้งคำถามว่า ‘เกิดอะไรขึ้นกันแน่’ และต้นสายปลายเหตุของมันคืออะไร ซึ่งนั่นคือตอนที่ความหมายนัยประหวัดของคำว่า ‘Fall’ ออกฤทธิ์ และมันไม่ใช่เรื่องของการร่วงหล่นอีกต่อไป แต่ได้แก่การล่มสลายของความสัมพันธ์ของทั้งสองคนที่จุดเริ่มต้นย้อนกลับไปถึงไหนๆ และคนดูมีเบาะแสให้สืบเสาะหลายช่วงด้วยกัน 

 

หนึ่งก็คือตอนที่ Daniel (Milo Machado Graner) ลูกชายวัยสิบเอ็ดขวบประสบอุบัติเหตุขณะที่อายุยังน้อย จนส่งผลให้เขาตาบอดเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นเหตุการณ์ที่ Samuel โทษตัวเองไม่เลิกรา (ลึกๆ แล้ว Sandra ก็โยนความผิดบาปนี้ให้เขาด้วยเช่นกัน) อีกหนึ่งสิ่งที่ยิ่งทำให้เจ้าตัวยิ่งรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า โยงใยอยู่กับสถานะนักเขียนที่ไปได้ไม่สวย และยิ่ง Sandra ประสบความสำเร็จในงานอาชีพของเธอมากเท่าไร มันก็ยิ่งตอกย้ำความล้มเหลวของเขามากเท่านั้น 

 

 

แน่นอนว่าฉากที่สั่นสะเทือนความรู้สึกสุดๆ หนีไม่พ้นห้วงเวลาที่ทุกคนในห้องพิจารณาคดีย้อนฟังเสียงทะเลาะเบาะแว้งของทั้งสองคนอย่างหนักหน่วงและรุนแรงในวันก่อนเกิดเหตุ ซึ่ง Samuel แอบใช้โทรศัพท์บันทึกเอาไว้ และหัวข้อโต้เถียงก็มีทั้งเรื่องหยุมหยิมปลีกย่อย (เช่น เรื่องที่ Samuel กล่าวหา Sandra ซึ่งเป็นคนเยอรมัน ว่าเธอบงการทุกอย่าง รวมถึงภาษาอังกฤษที่ใช้พูดในบ้าน) หรือการลำเลิกเบิกประจานในเรื่องที่เวลาที่มันถูกเปิดเผยในที่แจ้ง มันทั้งอัปลักษณ์และชวนให้สลดหดหู่สำหรับคนที่ได้ยิน (เช่น วิธีการร่วมเพศที่ Samuel บอกว่าเขาต้องโอนอ่อนผ่อนตามตลอดเวลา)

 

และเหตุการณ์ช่วงท้ายของคลิปเสียง ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าคงมีการลงไม้ลงมือ ก็เปิดกว้างสำหรับการตีความของทุกคน และนับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ความคลุมเครือของสิ่งที่เกิดขึ้นเล่นบทบาทสำคัญ หรืออีกนัยหนึ่ง ภาพยนตร์หยิบยื่นแง่มุมหรือบทเรียนที่ชวนครุ่นคิดว่าด้วยเรื่องความเป็นจริงกับจินตนาการ เพราะในขณะที่ฝ่ายโจทก์เชื่อว่าการมีปากเสียงรุนแรงครั้งนี้เปรียบเสมือน ‘การซ้อมใหญ่’ ของ Sandra ก่อนที่เธอจะลงมือ ‘ขั้นเด็ดขาด’ ในวันต่อไป คำชี้แจงของ Sandra ถึงความหมายของแต่ละสุ้มเสียงที่พวกเราได้ยิน (เสียงแก้วแตก เสียงตะโกนโหวกเหวก การทุบตี และข้าวของพังทลาย ฯลฯ) กลับพลิกผันให้เรื่องเล่าหันเหไปอีกทาง

 

 

ส่วนที่ยิ่งทำให้สถานการณ์ทวีความยุ่งยากขึ้นไปอีกก็คือ ขณะที่คนดูไม่อาจปักใจเชื่อฝ่ายไหนร้อยเปอร์เซ็นต์ กลวิธีในการบอกเล่าของ Justine Triet ก็ดูมีเลศนัย สไตล์การถ่ายภาพและตัดต่อแบบภาพยนตร์สารคดีอาจจะสร้างบรรยากาศที่ดูกระฉับกระเฉงและตรงไปตรงมา 

 

แต่จนแล้วจนรอด คนทำภาพยนตร์ก็ไม่ได้วางตัวเป็นกลาง หรือจริงๆ แล้วการใช้เทคนิคย้อนอดีต หรือแฟลชแบ็ก โดยเฉพาะช่วงท้ายที่ Daniel เอ่ยถึงประโยคแปลกๆ ที่ฟังเหมือนคำพูดสั่งเสียของพ่อ ก็น่าสังเกตว่ามี ‘มือที่มองไม่เห็น’ ของคนทำภาพยนตร์เข้ามาเจ้ากี้เจ้าการ (มันคือฉากที่พ่อพูดคุยกับลูกชายระหว่างขับรถ แต่เสียงของเขากลับเป็น ‘เสียงพากย์’ ของ Daniel ที่มาจากห้องพิจารณาคดี) และมันส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของหนุ่มน้อยด้วย เพราะถ้าลองนึกทบทวนดีๆ เขาเป็นคนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องที่เกิดขึ้นมากกว่าเพื่อน (พ่อตายไปแล้ว และอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่ติดคุก) เป็นไปได้หรือไม่ว่า การพูดความจริงอาจไม่สำคัญเท่ากับการจำกัดความเสียหายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง

 

 

กล่าวในที่สุดแล้ว การตายอย่างน่าฉงนสนเท่ห์ช่วงต้นเรื่องเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ และการพยายามไขปริศนาก็เปิดโลกทัศน์และการรับรู้ของคนดูอย่างกว้างไกล ข้อที่ควรหมายเหตุทิ้งท้ายก็คือ ภาพยนตร์เรื่อง Anatomy of a Fall ไม่ได้สร้างจากเรื่องจริง แต่สมมติเล่นๆ ว่าคนทำภาพยนตร์จะใส่ประโยคในทำนองแอบอ้าง มันก็สอบผ่านความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากคนดูอย่างลอยนวล เพราะรายละเอียดน้อยใหญ่ที่ผู้สร้างสอดแทรกดูหนักแน่น สมเหตุผล รอบด้าน และเชื่อมโยงได้กับโลกความเป็นจริง ทั้งการตีแผ่ชีวิตสมรสในช่วงที่กำลังหายใจพะงาบๆ จนถึงการขุดคุ้ยธาตุแท้และด้านที่หม่นมืดของตัวละคร และพร้อมๆ กันนั้นเราก็ได้เห็นสัญชาตญาณของการอยู่รอด ความเปราะบางอ่อนไหวที่น่าสมเพช และบางทีห้วงเวลาที่อับแสงที่สุดของตัวละคร (มากยิ่งไปกว่านั้นก็ยังมีเรื่องระบบยุติธรรมที่ไม่ว่าจะแน่นหนารัดกุมแค่ไหน ก็อาจเข้าไม่ถึงความจริง และวิธีการที่ศิลปินแอบซ่อนความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงผ่านงานศิลปะของตัวเอง)

 

หรือรวมๆ แล้วมันคือการชำแหละให้คนดูได้เห็นว่าในเชิงกายวิภาค ความสัมพันธ์ที่ล่มสลายมันห่อหุ้มไว้ด้วยความบิดเบี้ยวและหักงอนานัปการ ทั้งการปิดบังอำพราง โกหกหลอกลวง ทรยศหักหลัง การตั้งข้อกล่าวหา หรือการฉกฉวย จนไม่น่าเชื่อว่าครั้งหนึ่งคนสองคนที่เกลียดกันเข้ากระดูกดำขนาดนี้จะเคยผูกพันและยึดเหนี่ยวด้วยสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘ความรัก’

 

Anatomy of a Fall (2023)

ผู้กำกับ:  Justine Triet

นักแสดง: Sandra Hüller, Swann Arlaud, Milo Machado-Graner, Antoine Reinartz และ Samuel Theis

 

ภาพ: Mongkol Major

The post Anatomy of a Fall (2023) หนังปาล์มทองสุดเข้มที่พูดถึงความตายปริศนาและการชำแหละซากชีวิตคู่ที่ล่มสลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Killers of the Flower Moon (2023) ประวัติศาสตร์อเมริกาฉบับแร้งทึ้ง https://thestandard.co/killers-of-the-flower-moon-2023/ Thu, 26 Oct 2023 04:43:40 +0000 https://thestandard.co/?p=858823 Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพยนตร์เป็นหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ความบันเทิง […]

The post Killers of the Flower Moon (2023) ประวัติศาสตร์อเมริกาฉบับแร้งทึ้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพยนตร์เป็นหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ความบันเทิง การบอกเล่าเรื่องราว การเปิดโปงความเป็นจริง บันทึกความทรงจำ อุทาหรณ์เตือนสติคนดู ฯลฯ 

 

และในกรณีของ Killers of the Flower Moon ผลงานมาสเตอร์พีซเรื่องล่าสุดของ Martin Scorsese ซึ่งดัดแปลงจากหนังสือแนวสารคดีชื่อเดียวกันของ David Grann ที่ว่าด้วยเหตุฆาตกรรมสะเทือนขวัญและชวนให้สลดหดหู่เศร้าหมองที่เกิดขึ้นจริงกับชาวอินเดียนเผ่าโอเซจในรัฐโอคลาโฮมาช่วงทศวรรษ 1920 ถ้าหากใครจะเรียกว่านี่เป็นการสารภาพความผิดบาปก็น่าจะได้เหมือนกัน 

 

เพราะหนังของ Scorsese ไม่เพียงนำคนดูไปร่วมรู้เห็นความละโมบ พฤติการณ์ฉ้อฉล และบ้างก็สุดแสนอำมหิตของเหล่า ‘นักขุดทอง’ ผิวขาวที่หลั่งไหลมาจากภาคตะวันออกช่วงหลังสงครามกลางเมือง น้ำเสียงของคนทำหนังก็ชวนให้รู้สึกและสัมผัสได้ไม่ยากว่าเขารู้สึกอัปยศอดสูต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้น และฉากที่คนทำหนังพาคนดูไปร่วมพิธีกรรมรำลึกและคารวะชนพื้นเมืองนับไม่ถ้วนที่ตกเป็นเหยื่อ ‘การบุกเบิกตะวันตกของคนขาว’ ในช่วงเปิดและปิดเรื่อง ตลอดจน ‘ถ้อยคำไว้อาลัย’ ของใครบางคนในตอนท้าย ก็เจือปนไปด้วยความรู้สึกขอโทษ

 

Killers of the Flower Moon (2023)

หนังสือ Killers of the Flower Moon: The Osage Murders and the Birth of the FBI โดย David Grann

ภาพ: Amazon

 

แต่ไม่ว่าใครจะมองเห็นหนังของ Scorsese ในแง่มุมใด อย่างหนึ่งที่แน่ๆ มันคือด้านมืดของประวัติศาสตร์การสร้างชาติของอเมริกาที่ถูกซุกไว้ใต้พรม โชคดีที่ในท้ายที่สุด มันถูกขุดคุ้ยและเปิดโปง และนั่นคือตอนที่ต้องเรียกว่า ‘กรุแตก’ เพราะแง่มุมที่ใครต่อใครนึกไม่ถึงก็คือดีกรีความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ทศวรรษ 1910-1930) เป็นระบบและขบวนการ และตามที่เอ่ยก่อนหน้า ประมาณการกันคร่าวๆ ว่าน่าจะมีคนอินเดียนที่จบชีวิตจากการถูกฆ่าในหลากหลายรูปแบบ (ยิงทิ้งจนถึงวางยาพิษ) นับร้อยๆ คน

 

ประโยคที่ฟังแล้วน่าตกใจของ David Grann ผู้เขียนหนังสือที่เป็นคนเปิดเผยเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น ได้แก่ตอนที่เขาบอกว่า เบื้องต้นเขาคิดว่าตัวเองกำลังสืบหาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุอุกอาจที่เกิดขึ้น แต่ยิ่งสาวลึกลงไปเรื่อยๆ คำถามก็เปลี่ยนจาก ‘มีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง’ กลายเป็น ‘มีใครบ้าง (วะ) ที่ไม่เกี่ยวข้อง’ ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง ต้นสายปลายเหตุของ Killers of the Flower Moon โยงกลับไปเมื่อครั้งที่คนอินเดียนพื้นเมือง ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นเจ้าของประเทศตัวจริง ถูกคนขาวไล่ที่อยู่อาศัยดั้งเดิมและกวาดต้อนไปอยู่ในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าซึ่งถูกเรียกว่าเขตสงวนของชาวอินเดียน วันดีคืนดี พื้นที่ไร้มูลค่าเหล่านั้นกลับเก็บกักน้ำมันดิบมหาศาล และนั่นคือตอนที่เงินทองไหลมาเทมา อันส่งผลให้ชาวอินเดียนเผ่าโอเซจกลายเป็นกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าร่ำรวยที่สุดในโลก 

 

เทียบบัญญัติไตรยางศ์ง่ายๆ ถ้าหากคนขาวฐานะดีมีรถยนต์หนึ่งคันในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เศรษฐีชาวโอเซจก็จะมีรถเป็นสิบคัน หรือกระทั่งเครื่องบินส่วนตัว นั่นคือตอนที่คนขาวพากันมาญาติดีด้วยทุกรูปแบบ และสิ่งที่ติดตามมาก็คือเหตุฆาตกรรมและความตายก่อนวัยอันควรของเหล่าเศรษฐีป้ายแดงที่กลายเป็นปริศนา ซึ่งจากที่หนังของ Scorsese เกริ่นให้คนดูรับรู้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่เคยเข้าไปสอบสวนการตายที่น่าฉงนสนเท่ห์ด้วยประการทั้งปวง

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

ใครที่ได้อ่านหนังสือของ Grann และดูหนังของ Scorsese คงจะมองเห็นได้ชัดแจ้งว่ามุมมองในการเล่าไม่เหมือนกัน ด้วยความที่ฉบับหนังสือเป็น Non-fiction ลักษณะการนำเสนอจึงเป็นเหมือนการนำรูปคดีมาถ่ายทอดในลักษณะพรรณนาโวหาร และคนอ่านถูกย้ำเตือนตลอดเวลาว่าทั้งหมดเป็นเรื่องจริงด้วยการแทรกรูปภาพของตัวบุคคลจริงและเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ข้อที่ควรระบุเพิ่มเติมก็คือท่อนสร้อยของชื่อหนังสือ อันได้แก่ The Osage Murders and the Birth of the FBI ก็บอกโต้งๆ ว่า การฆ่าแกงครั้งมโหฬารนี้มีส่วนสถาปนาหน่วยสอบสวนกลางที่ใครๆ ก็รู้จักในชื่อ FBI

 

หนังของ Scorsese เน้นหนักที่ความสัมพันธ์ระหว่าง Ernest Burkhart (Leonardo DiCaprio) หนุ่มผิวขาวนักแสวงโชค กับ Mollie Burkhart (Lily Gladstone ในบทบาทที่น่าจดจำ) หญิงสาวชาวโอเซจผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในทายาทผลประโยชน์อันมั่งคั่ง ข้อที่ควรระบุอย่างทันท่วงทีก็คือ Ernest เป็นหลานชายของ William King Hale (Robert De Niro) นักธุรกิจที่กว้างขวางและได้รับการนับหน้าถือตาของชุมชน และขณะที่เบื้องหน้า เขาแสดงออกว่าเป็นพรรคพวกเดียวกับชาวโอเซจ พูดภาษาพื้นเมืองได้ และเข้าร่วมในพิธีกรรมของคนเหล่านั้นตลอดเวลา แต่บทสนทนาลับหลังระหว่างเขากับ Ernest ก็เผยให้คนดูได้เห็นธาตุแท้ของตัวละคร ตลกร้ายสุดๆ ก็คือ พวกเขาไม่ใช่คนขาวกลุ่มเดียวที่รุมทึ้งและฉกฉวยประโยชน์จากเหยื่อเคราะห์ร้ายที่น่าเวทนา และข้อมูลที่หนังระบุว่าบรรดาพี่สาวน้องสาวของ Mollie ล้วนแต่งงานกับคนขาว (ที่หวังตกถังข้าวสาร) ก็ตอกย้ำถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

แต่ก็นั่นแหละ ฉากที่หนังสาธยายให้เห็นพฤติกรรมหาเศษหาเลยจากคนอินเดียนของคนขาวจนหยดสุดท้าย ได้แก่ตอนที่ Ernest พระเอกของเรามาขอให้สัปเหร่อผิวขาวละเว้นการปลดทรัพย์ของน้องเมียชาวอินเดียนของเขาสักราย (​ซึ่งดูเหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติลับหลังเจ้าภาพ) ก่อนพบว่าหมอนั่นชาร์จค่าโลงศพแบบขูดเลือดซิบๆ และในทันทีที่ความหน้าเลือดของเขาถูกทักท้วง ใครคนนั้นก็ตอกกลับราวๆ ว่า ‘นี่ไม่ใช่เงินของเอ็ง’ และ ‘ข้าซึ่งทำมาหากินด้วยหยาดเหงื่อและแรงงานก็สมควรเก็บเกี่ยวดอกผลเหมือนกับที่พระคัมภีร์บอกไว้’ พร้อมกับยิงคำถามที่ทำให้พระเอกพูดไม่ออก ‘ครั้งสุดท้ายที่เอ็งเห็นพวกโอเซจทำมาหากินคือตอนไหนวะ’ ซึ่งไม่มากไม่น้อย มันบอกโดยอ้อมถึงทัศนคติของคนขาวต่อชาวอินเดียน ข้อสำคัญ เขาไม่ได้คิดว่าตัวเองทำอะไรผิด เพราะถ้อยคำในไบเบิลก็ให้อนุญาตไว้แล้ว

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

ในทำนองเดียวกับหนังแทบทุกเรื่องของ Scorsese ก็ว่าได้ที่พล็อตไม่ใช่เสาหลักเพียงหนึ่งเดียว หากได้แก่การพาคนดูไปสำรวจบุคลิกตัวละคร หรือที่เรียกว่า Character Study ตัวละครที่อยู่ใน ‘ระยะชัด’ ในที่นี้มีด้วยกันสามคน หนึ่งก็คือ William Hale ผู้ซึ่งเจตนารมณ์อันเปล่าเปลือยล่อนจ้อนถูกเปิดโปงตั้งแต่ชั่วโมงแรก หรือว่าไปแล้ว Hale ก็เป็นแบบฉบับของนักการเมืองที่ด้านหนึ่งสร้างฐานเสียงให้กับตัวเองในฐานะ ‘สหายผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีต่อชาวอินเดียน’ 

 

แต่อีกด้านหนึ่งก็ดำเนินแผนสวาปามผลประโยชน์ของชนกลุ่มนี้อย่างเงียบๆ ในลักษณะไม่ต่างจากผีดิบดูดเลือด และด้วยวิธีการสร้างคาแรกเตอร์ที่มีแง่มุมหลากหลายซ้อนทับในคนเดียวกัน บวกกับอานิสงส์จากการแสดงที่จัดจ้านของ Robert De Niro บุคลิกที่ขัดแย้งราวฟ้ากับเหว นรกกับสวรรค์ คนบาปกับนักบุญ ก็กลับหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างกลมกลืน

 

ข้อสำคัญ William Hale ไม่เหมือนตัวร้ายในหนังนับไม่ถ้วนที่พอถึงม้วนสุดท้าย พวกเขามักสูญเสียการสำรวมและเป็นปีศาจร้ายในชั่วพริบตา ทว่าจากที่หนังบอกเล่า เขาก็ยังคงสวมบทมิตรที่แนบแน่นของชาวโอเซจไม่เสื่อมคลาย และทิ้งคำถามในห้วงคำนึงคนดูตลอดกาลว่า ความปรารถนาดีเหล่านั้นมีสัดส่วนของความจริงแท้แค่ไหน

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

ตัวละครที่หยั่งตื้นลึกได้ง่ายกว่าก็คือ Ernest ผู้ซึ่งในเบื้องต้น เขาก็เป็นเพียงแค่มือไม้ของ Hale และแผนการของเขาตามที่ผู้เป็นลุงมอบหมายก็คือหาทางทำให้ตัวเขาในฐานะคู่สมรสของ Mollie เป็นผู้รับมรดกบ่อน้ำมันแต่เพียงผู้เดียว แต่ก็นั่นแหละ สิ่งที่เรียกว่า Dilemma หรือภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของตัวละครก็คือการที่เจ้าตัวตระหนักได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ Mollie เป็นเรื่องซีเรียสจริงจัง และตรงไหนสักแห่งแถวนี้ที่ห้วงคำนึงของตัวละครกลายเป็นสมรภูมิสู้รบที่ดุเดือดเลือดพล่านระหว่างความรัก ความภักดี และการทรยศหักบุญผู้มีพระคุณ และสถานการณ์สำหรับตัว Ernest ก็เหมือนเดินอยู่บนเส้นลวดที่การทรงตัวเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ

 

Killers of the Flower Moon (2023)

The Heiress (1949)

ภาพ: IMDb

 

แน่นอนว่าคนที่น่าสงสารเห็นใจที่สุดก็คือ Mollie ผู้ซึ่งตกที่นั่งเดียวกับนางเอกจากหนังขึ้นหิ้งของ William Wyler เรื่อง The Heiress (1949) ซึ่ง Scorsese บอกว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจ หรืออันที่จริง หนังทั้งสองเรื่องบอกเล่าเรื่องเดียวกัน ทายาทมรดกมหาศาลตกหลุมรักชายหนุ่มที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเขาอาจจะหวังเพียงแค่ฮุบสมบัติของเธอ 

 

และไหนๆ ก็ไหนๆ น่าสังเกตว่ารูปโฉมโนมพรรณของ Lily Gladstone ก็ถูกออกแบบให้ดูคล้ายคลึงกับ Olivia de Havilland นางเอกหนังของ Wyler มากๆ และไม่มีข้อสงสัยว่าสำหรับหญิงสาวทั้งสองคน ไม่มีอะไรน่าเจ็บปวดขื่นขมเท่ากับการได้พบว่าคนที่อยู่ใกล้กับหัวใจของพวกหล่อนมากที่สุดกลับเผยด้านที่ไม่เคยได้พบเห็น ไม่เคยได้รับรู้มาก่อนอย่างน่าตกใจ

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

พูดถึงความยาวของหนังสักหน่อย เห็นใครๆ พูดถึงความเป็นหนังสามชั่วโมงครึ่งของ Killers of the Flower Moon ซึ่งก็ต้องบอกว่ามันกินเวลาฉายนานกว่าปกติจริงๆ แต่ถ้าหากจะเปรียบหนังเป็นเหมือนรูปเขียน ขนาดเล็กหรือใหญ่ของรูปเขียนนั้นๆ ล้วนสัมพันธ์กับสิ่งที่ศิลปินต้องการถ่ายทอด โดยอัตโนมัติ ความสั้นหรือยาวของหนังเรื่องหนึ่งก็เช่นกัน Killers of the Flower Moon เป็นหนังที่ต้องอาศัยผืนผ้าใบที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติจริงๆ เพราะสิ่งที่บอกเล่าไม่ได้เป็นแค่โศกนาฏกรรมส่วนบุคคล หรือแม้กระทั่งของชนเผ่าโอเซจเพียงลำพัง 

 

แต่ก็อย่างที่เอ่ยข้างต้น หนังของ Scorsese วาดให้พวกเราได้เห็นว่า อเมริกาก่อร่างสร้างประเทศจากการเอารัดเอาเปรียบ ความโลภ ความฉ้อฉล การทรยศหักหลัง การเหยียดเชื้อชาติและสีผิวของคนขาวอย่างไร (และยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันอย่างไร) ซึ่งนั่นทำให้ความกว้างและลึกเป็นเรื่องจำเป็น 

 

ขณะที่ในแง่ของจังหวะจะโคนในการบอกเล่า มันก็มีทั้งช้าและเร็วตามตรรกะของมัน บางช่วงก็จู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัว หลายช่วงก็ให้ความรู้สึกงดงามราวบทกวี และวิธีการที่ Scorsese ใช้ประโยชน์จากเครื่องไม้เครื่องมือทางด้านภาพยนตร์ในการสื่อสารสิ่งละอันพันละน้อย ก็คงไม่ต้องหยิบยกมาสรรเสริญเยินยอว่ามันล้ำเลิศเพียงใด ยกเว้นที่ต้องพูดถึงเป็นพิเศษก็คือดนตรีประกอบของ Robbie Robertson ผู้ล่วงลับที่ฟังเหมือนเสียงลมหวีดหวิวในทุ่งกว้าง และรู้สึกได้ถึงอันตรายที่แอบซ่อน น่าเชื่อว่าในระยะยาว มันจะกลายเป็นตราประทับของหนังเหมือนกับที่งานของ Bernard Herrmann เป็นสุ้มเสียงที่คนนึกถึงเวลาใครพูดถึง Taxi Driver (1976)

 

Killers of the Flower Moon (2023)

ภาพ: Paramount Pictures

 

โดยรวมแล้ว เกือบสามชั่วโมงครึ่งของหนังก็ถือเป็นกรอบเวลาที่สมเหตุสมผลในตัวเอง ข้อสำคัญ มันเปิดโอกาสให้คนดูได้ครุ่นคิดพินิจถึงเรื่องวิปโยคอันเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างตกผลึกและหนักแน่น นั่นทำให้เมื่อนึกย้อนกลับไปถึงประโยคเปิดของข้อเขียนนี้ที่บอกว่าภาพยนตร์เป็นหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน อีกแง่หนึ่งของ Killers of the Flower Moon ก็คือการที่มันสามารถเป็นสติสัมปชัญญะ การกระตุ้นเตือนสามัญสำนึกและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนในสังคม ซึ่งบางทีนี่อาจเป็นธรรมะขั้นปรมัตถ์ของ ‘ภาพยนตร์’ ในปทานุกรมของหนึ่งในคนทำหนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

 

Killers of the Flower Moon (2023) 

กำกับ: Martin Scorsese

ผู้แสดง: Leonardo DiCaprio, Robert De Niro, Lily Gladstone

The post Killers of the Flower Moon (2023) ประวัติศาสตร์อเมริกาฉบับแร้งทึ้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ https://thestandard.co/opinion-once-upon-a-star/ Thu, 12 Oct 2023 08:00:51 +0000 https://thestandard.co/?p=853929

ขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึงช้างตัวเบ้อเริ่มที่อยู่ในห้องก่อ […]

The post มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึงช้างตัวเบ้อเริ่มที่อยู่ในห้องก่อน 

 

น่าสังเกตว่าทันทีที่เทรลเลอร์และโปสเตอร์สไตล์วินเทจของหนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ งานกำกับของ อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร และเป็นผลงานที่ Netflix ออกทุนสร้างร้อยเปอร์เซ็นต์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘ทีไทย ทีมันส์’ ที่ออกข่าวปีก่อน) ได้รับการเผยแพร่สู่การรับรู้ของสาธารณชน เสียงเรียกร้องหนาหูจากทั่วสารทิศก็คือโอกาสที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ (อย่างน้อย ‘สักหนึ่งสัปดาห์ก็ยังดี’) ด้วยเหตุผลที่ไม่ได้สลับซับซ้อน

 

นี่เป็นหนังที่นอกจากส่วนหนึ่งของเนื้อหาพูดถึงประวัติศาสตร์หน้าสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารของอุตสาหกรรมหนังไทย ยังเป็นหนังที่เฉลิมฉลอง ‘ภาพยนตร์’ ในฐานะมหรสพ หรืออีกนัยหนึ่ง หนังที่อรรถรสในการชมสัมพันธ์กับการได้ดูเป็นหมู่คณะอย่างแยกจากกันไม่ได้ (หลายๆ ฉากในหนังก็ถ่ายทอดห้วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็น Magic Moment ของมันโดยตรง) และนั่นทำให้โดยอัตโนมัติ แพลตฟอร์มหรือช่องทางเดียวที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์แบบรวมหมู่ หรือที่เรียกว่า Collective Experience ก็คือในโรงภาพยนตร์

 

 

แต่บังเอิญว่าเจ้าของหนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ เป็นเจ้าของเดียวกับบริการสตรีมมิง ซึ่งมีระบบการเผยแพร่คอนเทนต์หรือภาพเคลื่อนไหวในแบบที่ไม่ต้องพึ่งพาโรงหนังอีกต่อไป โรงหนังก็เลยไม่ใช่อุโบสถอันศักดิ์สิทธิ์ หรือพื้นที่จารึกแสวงบุญสำหรับคนดู หรือเอาเข้าจริงๆ กลายเป็นส่วนเกินของสมการนี้ด้วยซ้ำ

 

นั่นทำให้เป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ ที่ใครจะรู้สึกถึงความลักลั่นและย้อนแย้งของการที่หนังที่สร้างเพื่อหวนรำลึกถึงภาพยนตร์ในฐานะสันทนาการที่ผู้คนได้หัวเราะ ร้องไห้ และซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน กลับถูกเผยแพร่ผ่าน ‘จอหนัง’ ของใครของมัน และพวกเราในฐานะคนดูไม่มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หนังเรื่องอื่นยังพอทำเนา แต่สำหรับเรื่องนี้ มันชวนให้รู้สึกรุนแรงกว่าเพื่อน 

 

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ แง่มุมหนึ่งที่อาจยกมาชดเชยส่วนที่ขาดตกบกพร่องก็คือ แพลตฟอร์มสตรีมมิงช่วยลดทอนความเหลื่อมล้ำเชิงภูมิศาสตร์ หมายความว่า ตราบเท่าที่ใครคนนั้นอยู่ในที่ๆ มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตและเป็นสมาชิกของบริการสตรีมมิงยี่ห้อนั้นๆ การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมหนังไทย จนเกิดความเหลื่อมล้ำในเชิงของการรับรู้และรสนิยม) ก็ไม่ใช่ประเด็นปัญหาอีกต่อไป และในขณะที่หนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ ต้องแลกกับการไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์อย่างที่ใครๆ ลงความเห็นว่านี่คือที่ทางที่เหมาะสมของมัน การที่คนทั่วโลกสามารถดูหนังเรื่องนี้ผ่านจอภาพส่วนตัวในช่วงเดียวกัน ก็เป็นเรื่องที่คงต้องชั่งตวงวัดกันไปว่ามันคุ้มค่ากับอรรถรสและสุนทรียะที่ตกหล่นสูญหายหรือไม่อย่างไร

 

และเป็นไปได้หรือไม่ว่าในเมื่อ ‘ตลาด’ มีขนาดใหญ่และความหลากหลายมากขึ้น คนทำหนังก็ไม่ต้องติดอยู่ในเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเดิมๆ ของการต้องทำหนัง (ฉายโรง) เพื่อตอบสนองกลุ่มคนดูที่เป็นวัยรุ่นเพียงลำพัง และ มนต์รักนักพากย์ ก็เล่าเรื่องที่ฉีกตัวเองไปจากกรอบเนื้อหาที่คุ้นเคยและมีเนื้อหาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อย่างที่ผู้กำกับเล่าแจ้งแถลงไขไว้ก่อนหน้านี้ว่า นี่คือจดหมายรักของเขาต่อหนังไทย และหนังไทยในที่นี้ก็ย้อนกลับไป 50 กว่าปี หรือช่วงปลายของยุค ‘หนังไทย 16 มม.’ (ซึ่งถ่ายทำแบบไม่บันทึกเสียงและใช้การพากย์สด) และจากที่หนังของนนทรีย์นำเสนอซึ่งรองรับด้วยข้อเท็จจริง นักพากย์เป็นผู้เล่นสำคัญที่ชี้เป็นชี้ตายความสำเร็จหรือล้มเหลวของหนังเรื่องหนึ่งอย่างชนิดวันต่อวันทีเดียว

 

 

โฟกัสสำคัญของ มนต์รักนักพากย์ ได้แก่หน่วยหนังเร่ขายยาของ มานิตย์ (เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ) ซึ่งจะว่าไปแล้วสถานะของหน่วยเผยแพร่ความบันเทิงแบบจรยุทธ์ของเขาอยู่ในลำดับชนชั้นที่ต่ำสุดของระบบการฉายหนัง ซึ่งเริ่มจากโรงชั้นหนึ่งในเมืองหลวง โรงชั้นสอง โรงหัวเมืองต่างจังหวัด หนังล้อมผ้า (ซึ่งเก็บค่าดู) จนกระทั่งถึงหนังเร่ขายยาที่ตะลอนไปตามจังหวัดต่างๆ และดูฟรี และจากที่คนดูได้เห็น สภาพของตัวหนังที่ตกทอดมาถึงพวกเขาก็เต็มไปด้วยรอยขีดข่วน ภาพกระตุก สีสันเลอะเลือน หรือที่เรียกกันว่ากากฟิล์มนั่นเอง

 

แต่ทั้งๆ ที่เผชิญกับข้อจำกัดนานัปการ ทั้งกฎเกณฑ์ของบริษัทขายยาที่คร่ำครึโบราณ เทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนไป (การมาถึงของหนัง 35 มม. เสียงในฟิล์ม และโทรทัศน์) ตลอดจนคู่แข่งตัวฉกาจอันได้แก่หน่วยฉายหนังล้อมผ้าซึ่งมีทุกอย่างเหนือกว่า ทั้งเครื่องฉาย สภาพฟิล์มหนัง และนักพากย์

 

สิ่งที่หนังเรื่อง มนต์รักนักพากย์ บอกเล่าก็คือการดิ้นรนเฮือกสุดท้ายของทีมไก่รองบ่อนของมานิตย์ ซึ่งประกอบด้วย เรืองแข (หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ) นักพากย์หญิงคนเดียว, เก่า (เก้า-จิรายุ ละอองมณี) คนคุมจอและเครื่องฉาย, ลุงหมาน (สามารถ พยัคฆ์อรุณ) คนขับรถ และกล่าวได้ว่าความพยายามกระเสือกกระสนเพื่อไปต่อและอยู่รอด (และโดยไม่ต้องยึดติดอยู่กับข้อบังคับล้าหลัง) ก็ไม่เพียงก่อให้เกิดทั้งความกระตือรือร้นและแรงบันดาลใจใหม่ๆ กับทุกคนในทีม อาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวยังล้ออยู่กับภาวะลูกผีลูกคนของหนังไทยช่วงนั้น (พ.ศ. 2513) ที่ถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องรับมือกับความพลิกผันที่รุมเร้านานัปการ และนั่นรวมถึงเหตุไม่คาดฝันที่จู่โจมแบบไม่มีใครตั้งตัว

 

 

อย่างที่ใครๆ รับรู้รับทราบ หนึ่งในตัวละครที่เล่นบทบาทสำคัญ ทั้งๆ ที่เขาล่วงลับไปแสนนานก็คือ มิตร ชัยบัญชา และความแยบยลของบทหนังส่วนนี้ก็ได้แก่การใช้ประโยชน์จากคาแรกเตอร์นี้ ทั้งในฐานะบุคลิกที่มีเลือดเนื้อ และความหมายเชิงสัญลักษณ์ซึ่งโยงไปถึงแก่นเรื่อง หรือพูดอย่างเจาะจง หนังใช้การเสียชีวิตกะทันหันของมิตรเป็นเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้เหล่าตัวละครในเรื่องค้นพบความปรารถนาและความมุ่งหวังของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น แต่ก็อีกนั่นแหละ วิธีการที่ผู้สร้าง ‘เลือก’ ให้เราได้ ‘พบเจอ’ กับมิตร ชัยบัญชา ในหนังเรื่องนี้ ก็นับว่า ‘เสี่ยง’ และท้าทายการยอมรับของคนดูพอสมควร

 

อย่างไรก็ตาม 2-3 ส่วนที่โดดเด่นมากๆ อย่างแรกสุดก็คืองานสร้าง (เอก เอี่ยมชื่น ผู้ซึ่งร่วมงานกับนนทรีย์มาตั้งแต่หนังเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง) ที่จำลองช่วงเวลาตามท้องเรื่องได้สมจริงสมจังและประณีต ทั้งเสื้อผ้าหน้าผมของตัวละคร อุปกรณ์ประกอบฉาก รถบุโรทั่งที่ใช้เร่ฉายหนัง ฉากตลาดยามเช้าในต่างจังหวัด โรงเรียนสอนพิมพ์ดีด ไปจนถึงโรงแรมซอมซ่อที่หน่วยเร่ฉายหนังใช้ซุกหัวนอน ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เพียงแค่ทำให้ยุคสมัยที่ผ่านพ้นไปแล้วเนิ่นนานกลับมาโลดเต้นและดูมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทว่ามันยังช่วยสนับสนุนให้เรื่องที่บอกเล่าดูขึงขังจริงๆ มากขึ้น

 

 

อีกหนึ่งก็คือการสร้างบุคลิกของมานิตย์ ผู้ซึ่งว่าไปแล้วบทหนังแทบจะไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละคร นอกจากเขาเป็นหัวหน้าหน่วยเร่ฉายหนังที่ดูอบอุ่นและเปี่ยมด้วยเมตตา และนั่นยิ่งทำให้เราอยากรู้ภูมิหลังของใครคนนี้มากขึ้น แต่บางทีเรื่องแต่หนหลังของเขาก็คงไม่มีอะไรสลักสำคัญที่คนดูควรรู้ เพราะสุดท้ายแล้วชีวิตและความรักของเขาก็มีเพียงแค่สิ่งที่เราได้เห็นเบื้องหน้า นั่นคือการพากย์หนังขายยาที่เจ้าตัวบอกว่าพากย์แต่ละเรื่องมาเป็นร้อยๆ รอบ 

 

และแน่นอน คนที่ทำให้ตัวละครซึ่งดูเหมือนไม่มีมิตินี้กลับเต็มล้นไปด้วยความเป็นมนุษย์ก็คือ เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ หรือว่ากันตามจริง ตัวตนของเขากลืนหายไปกับคาแรกเตอร์นี้อย่างไร้รอยต่อจริงๆ และคนดูเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยในความเป็นนักพากย์ห้าเสียงที่คล่องแคล่วช่ำชอง แม้ว่าจนแล้วจนรอดเสียงผู้หญิงของเขาก็สมควรถูกนักเลงหัวไม้ด่าทอว่าเหมือน ‘สุนัขเยี่ยวรดกะละมัง’ จริงๆ แต่ใครที่โตทันหนังกลางแปลงพากย์สด ซึ่งใช้นักพากย์ผู้ชายคนเดียว เสียงผู้หญิงก็ระคายหูแบบนี้ทั้งนั้น

 

ไม่ว่าจะอย่างไร หนึ่งในฉากที่ผู้สร้างถ่ายทอดคาแรกเตอร์นี้ได้จับใจมากๆ อยู่ในตอนท้าย ที่เจ้าตัวบอกเจตนารมณ์ของตัวเองกับทุกคนด้วยน้ำเสียงและสีหน้าสีตาที่เด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น แต่ก็แฝงไว้ด้วยความอ่อนโยน ทำนองว่าเขาจำเป็นต้องสู้เพื่อความฝันของตัวเอง เพราะไม่อย่างนั้นมันก็จะกลายเป็นปมค้างคาหรือบาดแผลทางจิตใจ แต่พูดอย่างถี่ถ้วน นี่เป็นฉากที่ส่วนประกอบต่างๆ ลงตัวจริงๆ ทั้งงานด้านภาพ การตัดต่อ การแสดงของนักแสดงทุกคนที่พอดิบพอดี และการกำกับที่ทุกอย่างดูไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากๆ

 

 

ประเด็นสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดที่น่าพูดถึงเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก็คือบทบาทของมันในฐานะผลงานบันทึกประวัติศาสตร์หนังไทย น่าสังเกตว่าหนังไทยไม่เหมือนหนังฮอลลีวูดตรงที่เราไม่ค่อยสร้างหนังที่พูดถึงความเป็นไปในระบบอุตสาหกรรมสักเท่าไร (ส่วนหนึ่งคงเพราะมันไม่ใช่หัวข้อที่ขายได้และมักจะมีราคาแพง) เพราะอย่างนี้ความพยายามของ มนต์รักนักพากย์ ในการบอกเล่าเรื่องแต่หนหลังที่เกือบตกสำรวจนี้ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชม 

 

แต่ก็นั่นแหละ เงื่อนไขของการเป็นหนัง ‘บันเทิงคดี’ ก็ทำให้ผู้สร้างต้องใส่สีตีไข่และหยิบโน่นผสมนี่ หรือพูดตรงๆ หนังมีความคลาดเคลื่อนในแง่ข้อเท็จจริงตามสมควร ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัว นี่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เพราะจนแล้วจนรอดคนทำหนังก็บอกตั้งแต่ต้นว่านี่คือจดหมายรักที่เขาสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาที่ ‘หอมหวานที่สุดของวงการหนังไทย’ หรืออีกนัยหนึ่ง เขาไม่ได้มองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยสายตานักประวัติศาสตร์ แต่ในฐานะคนที่รักและผูกพันกับหนังไทยซึ่งเต็มไปด้วยฉันทาคติ จะเรียกว่าด้อมหรือนายแบกก็คงจะได้ อันส่งผลให้สิ่งละอันพันละน้อย ทั้งเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ความทรงจำ (ที่เอาแน่นอนไม่ได้) และจินตนาการของผู้สร้าง ควบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน 

 

 

โดยปริยาย มนต์รักนักพากย์ เป็นหนังที่ชวนให้เปิดบทสนทนาต่อเนื่องหลังดูจบจริงๆ ส่วนหนึ่งอาจจะเพื่อชำระสะสางสิ่งที่คนทำหนังถือวิสาสะดัดแปลง แต่ส่วนที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็เพื่อให้ผู้ชมรุ่นหลังจะได้รับรู้ว่า ทันทีที่จิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ นี้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์หนังไทย เบื้องหน้าที่ดูหอมหวานและชวนให้ถวิลหากลับแอบซ่อนไว้ด้วยเส้นทางที่ทั้งทุลักทุเล ระหกระเหิน และไม่เคยโรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบด้วยประการทั้งปวง

 

มนต์รักนักพากย์ (พ.ศ. 2566)

กำกับ: นนทรีย์ นิมิบุตร
ผู้แสดง: ศุกลวัฒน์ คณารศ, หนึ่งธิดา โสภณ, จิรายุ ละอองมณี, สามารถ พยัคฆ์อรุณ 

 

ภาพ: Netflix

The post มนต์รักนักพากย์ (2566) ลอง ลิฟ ไทย ซีเนมา-มิตร ชัยบัญชา ฟอร์เอฟเวอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ (พ.ศ. 2566) เมืองป่วน คนป่วย ชีวิตห่วยแตก และฝันเปียกถึงบอลโลก https://thestandard.co/6ixtynin9-the-series-opinion/ Mon, 11 Sep 2023 09:26:56 +0000 https://thestandard.co/?p=840227 เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์

อย่างที่น่าจะรู้กันว่า เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ เป็นผลงา […]

The post เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ (พ.ศ. 2566) เมืองป่วน คนป่วย ชีวิตห่วยแตก และฝันเปียกถึงบอลโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์

อย่างที่น่าจะรู้กันว่า เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ เป็นผลงานรีเมกหนังตัวเองของ เป็นเอก รัตนเรือง ซึ่งออกฉายครั้งแรกช่วงปลาย พ.ศ. 2542 และความแตกต่างเบื้องต้นในเชิงโครงสร้างก็มองเห็นได้ชัดแจ้ง เรื่องหนึ่งเป็นหนังฉายโรงความยาว 2 ชั่วโมง อีกเรื่องเป็นซีรีส์ 6 ตอน (ตอนละ 40 กว่านาทีโดยประมาณ ยกเว้นตอนสุดท้ายที่ยาว 1 ชั่วโมงเศษ) และสตรีมทาง Netflix 

 

เรื่องตลก 69 (2542)

ภาพ: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 

 

ข้อที่น่าพูดถึงจริงๆ จังๆ เกี่ยวกับ เรื่องตลก 69 เวอร์ชันหนังก็คือ มันถูกสร้างในช่วงที่วิกฤตต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540) ยังอาละวาดไม่เลิก และดูเหมือนว่าเป็นเอกใช้พล็อตที่ผูกขึ้นอย่างพิลึกพิลั่นเป็นเสมือนข้ออ้างในการกะเทาะความบิดเบี้ยวของสังคมช่วงเวลานั้นได้เจ็บปวดแสบสันต์ ทั้งวิธีการที่นายจ้างเลย์ออฟคนทำงานซึ่งดูบ้าบอคอแตกมากๆ ความห่อเหี่ยวสิ้นหวังของผู้คนที่ถูกพิษเศรษฐกิจเล่นงานอย่างน่าเวทนา ข้อสำคัญ ใครจะสามารถลืมวรรคทองของเพื่อนนางเอกที่พูดว่า “เศรษฐกิจยิ่งเหี้- คนมันยิ่งแรด” ซึ่งแฝงฝังข้อเท็จจริงอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

ประเด็นก็คือ ความผันผวนทางเศรษฐกิจครั้งกระนั้นอาจจะผ่านไปแล้วแสนนาน แต่ถ้าประมวลจากสิ่งที่บอกเล่าในฉบับสตรีมมิง ซึ่งสอดแทรกสิ่งละอันพันละน้อยที่ย้ำเตือนคนดูเป็นระยะๆ ถึงโลกความเป็นจริง ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน สามสิ่งที่สรุปได้ก็คือ สังคมไทยก็ยังคงบิดเบี้ยว (ด้วยการทุจริตและคอร์รัปชัน) เศรษฐกิจก็ยังคงเหี้- (ผลพวงจากโรคระบาดและอีกหลายปัจจัย) ข้อสำคัญ ระดับความ ‘แรด’ (หรือจะใช้คำว่า ‘พล่าน’ ก็น่าจะได้) ของผู้คนก็หนักข้อยิ่งกว่าเดิม

 

6ixtynin9: The Series. Mai Davika Hoorne (ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่) as Tum(ตุ้ม)

ภาพ: Netflix

 

โดยปริยาย เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การเอาหนังเก่ามาเล่าใหม่ภายใต้ยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนไปเท่านั้น ทว่าดูประหนึ่งคนทำหนังใช้โอกาสที่เปิดกว้างเป็นช่องทางในการพูดเรื่องสารพัดสารพันที่เขาอยากพูดเกี่ยวกับความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือแม้กระทั่งวิกลจริตของสังคม ด้วยน้ำเสียงเยาะเย้ย ถากถาง และแดกดัน และสำหรับใครที่ติดตามหนังของเป็นเอกมาตั้งแต่ต้น ความยียวนกวนประสาทของเป็นเอกก็ยังคงเป็นทั้งลายเซ็นและเครื่องหมายการค้าเสมอต้นเสมอปลาย และวัยที่เพิ่มมากขึ้นก็ไม่ได้ทำให้เขาดูอ่อนโยนลงแต่อย่างใด 

 

และไหนๆ ก็ไหนๆ ข้อได้เปรียบของการเป็นซีรีส์หลายตอนจบ ได้แก่ การที่มันเอื้ออำนวยให้คนทำหนังได้จินตนาการถึงหลายๆ สถานการณ์ ที่สมมติเป็นหนังฉายโรง 2 ชั่วโมง คงถูกตัดทิ้งไปแน่ๆ และผู้กำกับสามารถขยี้มุกโน่นนี่นั่นได้ละเอียดและถี่ถ้วน (เช่น การให้ความสำคัญกับบรรดาลิ่วล้อของทั้งครรชิตและเสี่ยโต้ง หรือบทคุณป้าชุดขาวที่รับลงทะเบียนแรกเข้าสำหรับคนที่เพิ่งเดินทางมาถึงปรโลก ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป) แต่กลับกัน บางครั้งหรือหลายครั้ง ส่วนที่เพิ่มเข้ามาก็ค่อนข้างย้วยหรือเหมือนจะเป็นเพียงไขมันส่วนเกิน เช่น ฉากที่หนังพรรณนาถึงวัยเด็กของนางเอก ซึ่งไม่ทำงานในเชิงดรามาติกเท่าที่ควร หรือบางเหตุการณ์ก็ค่อนข้างงุ่มง่าม

 

6ixtynin9: The Series. Mai Davika Hoorne (ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่) as Tum(ตุ้ม)

ภาพ: Netflix

 

ข้อสังเกตส่วนตัวอีกอย่างหนึ่งที่สรุปได้จาก​สิ่งที่บอกเล่าใน เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ (ซึ่งอาจจะผิดก็ได้) ก็คือ แพลตฟอร์มสตรีมมิงดูเหมือนจะเป็นสนามที่ให้เสรีภาพในการแสดงออกทั้งภาพ เสียง และเนื้อหาอย่างถึงลูกถึงคนมากกว่าหนังฉายโรง และ เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ ก็เป็นซีรีส์ที่เป็นเอก ‘เล่นเกือบเต็มพื้นที่’ จริงๆ ทั้งฉากเซ็กซ์ที่ค่อนข้างดุเดือดเลือดพล่าน การฆ่าแกงและนำเสนอความรุนแรงทางเพศ หรือฉากที่ตัวละครเล่นยากันอย่างโจ่งครึ่ม ไปจนถึงการถ่ายทอดภาพของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่อาจไม่ได้จาบจ้วง แต่ก็ดูเป็นตัวตลกที่น่าสมเพช (แต่จริงๆ ตัวละครทุกคนก็น่าสมเพชทั้งหมดนั่นแหละ) ขณะที่เนื้อหาที่ว่าด้วยการประท้วงของกลุ่มเยาวชนปลดแอกและคณะราษฎรอาจจะไม่ได้สุ่มเสี่ยงหรือล่อแหลมเท่าไรนัก แต่ยังไม่พบเห็นว่ามีหนังฉายโรงแตะต้องเรื่องอ่อนไหวนี้

 

น่าสงสัยว่าถ้าหาก ‘ของแสลง’ พวกนี้ไปอยู่ในหนังฉายโรง มันจะมีปัญหากับกรรมการจัดเรตติ้งบ้านเรามากน้อยเพียงใด เพราะจนแล้วจนรอด Netflix ซึ่งมีระบบจัดการเรื่องอายุคนดูเป็นของตัวเองก็ยังให้ เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ ได้เพียงแค่เรต 16+ ซึ่งไม่ใช่อัตราเร่งสูงสุดด้วยซ้ำ

 

6ixtynin9: The Series. Pen-Ek Ratanaruang (เป็นเอก รัตนเรือง)

เป็นเอก รัตนเรือง

ภาพ: Netflix

 

พูดถึงในส่วนเนื้อหา เค้าโครงหรือจุดปะทุของ เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ ก็คล้ายคลึงกับฉบับฉายโรงนั่นเอง ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจนำพาให้สาวออฟฟิศชื่อ ตุ้ม (ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่) ที่สุดแสนอับโชค ถูกบริษัทบอกเลิกจ้าง และขณะที่เจ้าตัวยังไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรต่อกับชีวิตวันนี้วันพรุ่ง ซึ่งดูวี่แววแล้วมองไม่เห็นความเป็นไปได้ จู่ๆ หญิงสาวก็พบว่ามีใครก็ไม่รู้นำกล่องพัสดุใส่เงินสดเป็นล้านมาวางหน้าห้องพักเบอร์ 6 ของเธอ และภายหลังต่อสู้กับความว้าวุ่นสับสนในห้วงคิดคำนึง ตุ้มก็ตัดสินใจเก็บลาภลอยนี้ไว้กับตัวเอง และแทบจะทันทีที่ได้ข้อสรุปแบบนั้น ความฉิบหายวายป่วงแทบทุกรูปแบบก็ถาโถมใส่ตัวละครแบบไม่ทันให้ตั้งตัวและอย่างสะบักสะบอม

 

ว่าไปแล้วความน่าสนุกของการติดตามดูหนังของเป็นเอก รวมถึงซีรีส์เรื่องนี้ด้วย อีกทั้งน่าจะเป็นสไตล์เฉพาะตัวที่ใครก็ลอกเลียนได้ยาก ก็ตรงที่เขาเป็นนักเล่าเรื่องที่ชั้นเชิงในการถ่ายทอดแพรวพราวจริงๆ หลายครั้งเขาสามารถทำให้สถานการณ์ที่สุดแสนราบเรียบกลับดูพิเศษหรือสะดุดความรู้สึกของคนดูอย่างเฉียบพลัน (เชื่อว่านี่คงเป็นทักษะจากการเป็นคนทำหนังโฆษณาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม) และตัวอย่างมีให้ยกมาสนับสนุนนับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นได้แก่ตอนที่ตุ้มไปหาซื้อลังหวายจักสานขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ในอีพี 3 และวิธีการที่เป็นเอกใช้ในการบอกเล่าก็ทั้งตลกขบขัน เหนือความคาดหมาย และประสาทเสีย อีกทั้งคนดูยังล่วงรู้โดยอัตโนมัติถึงหนทางแก้ ‘ปัญหาเฉพาะหน้า’ ของนางเอกอย่างทันท่วงที 

 

หรือพล็อตย่อยที่ตัวละครเสี่ยโต้งตระเวนหาลูกน้อง 3-4 คนซึ่งถูกเลย์ออฟไปแล้ว เพื่อซ้ำเติมคนเหล่านั้นด้วยข้อเสนอที่ดูผิวเผินแล้วเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ก็เป็นฉากที่เน้นย้ำความบัดซบของระบอบทุนนิยมที่เหยียบย่ำความเป็นมนุษย์อย่างเลือดเย็น

 

6ixtynin9: The Series. Mai Davika Hoorne (ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่) as Tum(ตุ้ม)

ภาพ: Netflix

 

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นเหมือนไม้ตายของเป็นเอกมาโดยตลอด ได้แก่ บรรดาตัวละครที่ถูกนำเสนอในมิติที่ดูเป็นผู้เป็นคนมากๆ หรืออย่างน้อยหลบเลี่ยงบุคลิกแบบเหมารวม อันส่งผลให้ชีวิตน้อยใหญ่ในซีรีส์เรื่องนี้ล้วนแล้วมีวงโคจรเป็นของตัวเอง มีด้านมืดและสว่าง รัก โลภ โกรธ หลงแบบมนุษย์มนา ที่แน่ๆ หัวหน้าค่ายมวยที่ชื่อ ครรชิต (อมรเอก มิเกลลี่) รู้ว่าตัวเขายืนฟากไหนในความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างม็อบเด็กกับรัฐบาลเผด็จการ หรือรสนิยมทางเพศของ เสี่ยโต้ง (อภิวิชญ์ รินทพล) ก็ไม่ได้ถูกคนทำหนังหยิบยกขึ้นมาพิพากษา ส่วนลูกน้องครรชิตคนที่เป็นใบ้ ก็ยังอุตส่าห์มี ‘บทพูด’ ที่เรียกเสียงหัวเราะจากคนดู และฉากที่ ซอนนี่ (ธ เทพ ไชยชาญบุตร) นักค้ายารายใหญ่ เลกเชอร์เรื่องอิทธิพลของหนังต่อพฤติกรรมรุนแรงของเด็กๆ ก็มีเหตุผลที่พอรับฟังได้

 

กลายเป็นว่าตัวละครที่หยั่งไม่ได้ง่ายๆ เพราะใครคนนี้เก็บงำความรู้สึกตัวเองค่อนข้างมิดชิดก็คือตุ้มนั่นเอง เป็นไปได้หรือไม่ว่าชีวิตตามลำพังในเมืองหลวงทำให้เธอเป็นคนเฉยเมยและเย็นชา และหญิงสาวแทบจะไม่แสดงออกว่ายินดีหรือยินร้ายกับเรื่องต่างๆ นานาที่เข้ามาปะทะ ตั้งแต่ฉากเริ่มต้นที่รถยนต์บุโรทั่งของเธอถูกล็อกล้อ หรือฉากที่เจ้าตัวต้องรับมือกับโทรศัพท์ลามกซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่หนังให้เห็น เธอคุ้นชินกับมันเสียแล้ว ทั้งหมดทั้งมวลยังไม่ต้องเอ่ยถึงรูปร่างที่ผ่ายผอมของตัวละคร และไม่ว่าใครๆ จะพูดถึงความสะสวยของตุ้มอย่างไร ยิ่งเวลาผ่านพ้นไป สีหน้าสีตาตลอดจนการแสดงออกของตัวละครก็ดูใกล้เคียงกับผีดิบมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

แต่บางทีอะไรๆ ที่หนังบอกเล่าเกี่ยวกับตุ้มก็ไม่บั่นทอนความรู้สึกคนดูเท่ากับการที่พวกเราถูกกำหนดให้ติดตามตัวละครที่แทบไม่มีแต้มต่อหรือความได้เปรียบใดๆ ในชีวิต พบเจอกับบททดสอบทางศีลธรรมอย่างแสนสาหัสทีเดียว และเทียบกับฉบับฉายโรง ชะตากรรมของตุ้มเวอร์ชันนี้ก็เหมือนกับไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ยิ่งเมื่อคำนึงว่าฉบับซีรีส์มีการ ‘เช็กชื่อ’ อย่างถี่ถ้วนว่าใครอยู่ใครตาย สถานการณ์ของตุ้มในท้ายที่สุดซึ่งอาจเรียกว่า ‘กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง อยู่ต่อไม่ไหว’ ก็น่าจะนำพาให้เธอกลายสภาพไม่ต่างจากภูตผีที่หาหลักแหล่งให้กับตัวเองไม่เจอ

 

ภาพ: Netflix

 

ไหนๆ พูดถึงฉากเช็กชื่อก็ขอขยายความต่ออีกนิด ฉากหลังความตายที่มีคุณป้าชุดขาว (วีรพร นิติประภา) คอยตรวจสอบชื่อและนามสกุลของคนที่ชีวิตถึงฆาตด้วยน้ำเสียงดุๆ และทัศนคติเบื่อหน่ายกับงานที่สุดแสนจำเจซ้ำซาก ก็นับเป็นทั้งตลกร้ายและจินตนาการที่แห้งผากของผู้กำกับ เพราะประมวลจากสิ่งที่ซีรีส์บอกเล่า นี่คือการบริหารจัดการที่ตกยุคตกสมัยมากๆ ตั้งแต่ระบบโลจิสติกส์ของปรโลกที่ใช้รถตู้ซอมซ่อขนส่งผู้วายชนม์ อีกทั้งสีหน้าสีตาของทั้งเจ้าหน้าที่ในรถตู้รวมถึงพลขับก็ล้วนแล้วบอกบุญไม่รับ พวกเขาไม่แม้กระทั่งห้ามปรามไม่ให้คนตายมีปากเสียงกัน (ทำนองว่าไม่ใช่หน้าที่) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตกรุ่นที่คุณป้าใช้ก็น่าจะอัปเดตระบบปฏิบัติการไม่ได้แล้ว ขณะที่ตัวคุณป้าเองก็คงถูกระบบกลืนกินจนแทบไม่เหลือสามัญสำนึกหรือความสามารถในการริเริ่มส่วนบุคคล และฉากที่เธอแสดงออกอย่างเงอะๆ เงิ่นๆ ในตอนที่เธอถูกใครบางคน ‘ไฮแจ็ก’ โต๊ะทำงาน ก็น่าจะเรียกเสียงหัวเราะได้อย่างครื้นเครง

 

ไม่รู้คนอื่นว่าอย่างไร ตอนที่ดูฉากเหล่านี้กลับไม่ได้นึกว่านี่คือโลกหลังความตาย แต่รู้สึกว่ามันคือระบบราชการ 0.4 ที่พวกเราไม่ต้องสิ้นลมไปก่อนก็สามารถเข้ารับบริการที่น่าประทับใจนี่ได้ไม่ยากเย็น

 

เรื่อง: เรื่อง ตลก 69 เดอะซีรีส์ (พ.ศ. 2566)

กำกับ: เป็นเอก รัตนเรือง

ผู้แสดง: ดาวิกา โฮร์เน่, อมรเอก มิเกลลี่, อภิวิชญ์ รินทพล, ภัทร เอกแสงกุล ฯลฯ

The post เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์ (พ.ศ. 2566) เมืองป่วน คนป่วย ชีวิตห่วยแตก และฝันเปียกถึงบอลโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
Oppenheimer (2023) ชายผู้เด็ดแอปเปิ้ลต้องห้ามจากสวนเอเดนของพระผู้เป็นเจ้า https://thestandard.co/oppenheimer-2023-movie/ Mon, 24 Jul 2023 03:33:29 +0000 https://thestandard.co/?p=821236 Oppenheimer

คำถามประจำสัปดาห์…   สมมติเล่นๆ ว่า ถ้าหากพี […]

The post Oppenheimer (2023) ชายผู้เด็ดแอปเปิ้ลต้องห้ามจากสวนเอเดนของพระผู้เป็นเจ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Oppenheimer

คำถามประจำสัปดาห์…

 

สมมติเล่นๆ ว่า ถ้าหากพี่น้อง Lumiere ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปและเครื่องฉายภาพเคลื่อนไหวขึ้นจอเป็นเจ้าแรก ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ามันกลายเป็นรูปแบบความบันเทิงที่ทรงพลังและครองใจคนทั้งโลกจวบจนปัจจุบัน บังเอิญล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ภาพยนตร์จะยังคงถือกำเนิดอยู่นั่นเองหรือไม่

 

คำตอบก็คือแน่นอน เพียงแค่หน้าประวัติศาสตร์ก็จะหันไปจดจำชื่อนักประดิษฐ์และนักบุกเบิกคนอื่น เช่น Max Skladanowsky, Robert W. Paul หรือแม้กระทั่ง William Friese-Greene เพราะเงื่อนไขและองค์ประกอบของการถือกำเนิดในตอนนั้นสุกงอม และมันเป็นเรื่องของระยะเวลาว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่ง ใครเป็นคนที่ลากเส้นตามรอยประได้คมชัดและมีประสิทธิภาพมากกว่ากันและก่อนเพื่อน

 

J.Robert Oppenheimer

ภาพ: wikipedia

 

ฉันใดฉันนั้น ฉายา ‘บิดาของระเบิดปรมาณู’ ของ J.Robert Oppenheimer นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายยิวผู้ปราดเปรื่องล้ำเลิศ ก็เป็นผลพวงจากการที่เขา (ในฐานะหัวหน้าโครงการลับสุดยอดของรัฐบาลอเมริกันที่ชื่อ Manhattan Project ในช่วงสงครามโลกครั้งสอง) ชนะเกมการแข่งขันประดิษฐ์อาวุธมหาประลัย (เหนือคู่แข่งตอนนั้น อันได้แก่นาซีเยอรมันของฮิตเลอร์ซึ่งแพ้สงครามไปซะก่อน และในช่วงหลังจากนั้น คู่แข่งก็เปลี่ยนหน้าไปเป็นสหภาพโซเวียตซึ่งประดิษฐ์ระเบิดปรมาณูไล่หลังอเมริกาเพียงสี่ปี)

 

และผลงานชิ้นโบว์แดง (หรือโบว์ดำ) ของ Oppenheimer ก็คือระเบิดนิวเคลียร์สองลูกที่ถูกทิ้ง ณ เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ซึ่งไม่เพียงสาธิตให้ชาวโลกได้ประจักษ์แจ้งกับอานุภาพทำลายล้างที่น่าสะพรึงกลัว จากการที่ผู้คนบาดเจ็บล้มตายทันทีนับแสนๆ คน ทว่าประเด็นที่น่าห่วงกังวลมากไปกว่านั้นก็คือ มันนำพาให้มวลมนุษยชาติเขยิบเข้าไปใกล้ฉากทัศน์ใหม่ของ ‘วันสิ้นโลก’ มากขึ้นเรื่อยๆ

 

ข้อที่ชวนให้ครุ่นคิดก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ว่าในจักรวาลคู่ขนานและด้วยเงื่อนไขที่ไม่เหมือนเดิม (เช่น เขาไม่ได้เป็นหัวหน้าโครงการ Manhattan) หน้าประวัติศาสตร์อาจจะบันทึกชื่อ Oppenheimer ในฐานะหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ค้นพบพลังงานอันมหาศาลของหลุมดำที่กลืนกินทุกอย่างในห้วงจักรวาล (ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาค้นพบจริงๆ) และไม่ต้องแบกรับสถานะ ‘คุณพ่อนิวเคลียร์’ หรือกลายเป็นบุคคลต้องคำสาปในลักษณะไม่แตกต่างจากเทพแห่งกรีก Prometheus ที่ต้องทุกข์ทรมานจากการถูก Zeus ลงโทษให้นกอินทรีจิกกินตับไตไส้พุงเนื่องเพราะเขา ‘ขโมยไฟไปให้มนุษย์ใช้ประหัตประหารกัน’

 

ภาพ: Universal Pictures

 

ตามเนื้อผ้า หนังเรื่อง Oppenheimer ของ Christopher Nolan ซึ่งดัดแปลงจากงานเขียนที่ชื่อ American Prometheus:The Triumph and Tragedy of J.Robert Oppenheimer มุ่งสำรวจชีวิตของนักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกในแง่มุมดังกล่าวนั่นเอง ทั้งชัยชนะและความสำเร็จของการประดิษฐ์อาวุธปรมาณู วิบากกรรมที่ถาโถมเข้ามา ความเคลือบแคลงสงสัยในสิ่งที่ตัวเองทำ จุดอ่อนและข้อบกพร่องในฐานะปุถุชน และเหนืออื่นใด การแสดงออกถึงมโนสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะดอกเตอร์ Frankenstein ผู้ซึ่งควบคุมอสุรกายที่เขาชุบชีวิตขึ้นมาไม่ได้

 

และในขณะที่หนังกินเวลาฉายยาวเหยียดถึงสามชั่วโมงเต็ม ความท้าทายที่แท้จริง แม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นเรื่องเกินความคาดหมายสำหรับแฟนๆ ของ Nolan ก็คือหนังเรื่อง Oppenheimer ไม่ได้เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง และมันบอกเล่าผ่านสองเหตุการณ์หลักเป็นอย่างน้อยที่ตัดสลับไปมา หนึ่งก็คือเหตุการณ์ปี 1954 ที่ Oppenheimer ถูกคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของสหรัฐฯ ซึ่งตัวเขาเป็นที่ปรึกษา ไต่สวนข้อกล่าวหาพัวพันกับพรรคคอมมิวนิสต์และมีพฤติการณ์ ‘ไม่เป็นอเมริกัน’ อีกหนึ่งสิ่งที่ถูกบอกเล่าด้วยภาพขาวดำ เกิดขึ้นในปี 1959 ได้แก่เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละครชื่อ Lewis Strauss (ซึ่งคนดูอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ไม่ล่วงรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังก็คงจะงงว่าหมอนี่เป็นใคร) ที่กำลังถูกวุฒิสมาชิกซักถามในประเด็นความสัมพันธ์ของเขากับ Oppenheimer ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรับรองตำแหน่งรัฐมนตรี

 

ภาพ: Universal Pictures

 

และทั้งสองเหตุการณ์นี้ไม่เพียงขับเคลื่อนด้วยบทสนทนาที่โยงไปถึงตัวละครมากหน้าหลายตา ยังสอดแทรกไว้ด้วยฉากย้อนอดีตที่พาคนดูไปรับรู้เหตุการณ์น้อยใหญ่ซึ่งพูดไม่อ้อมค้อม มันปะติดปะต่อให้เข้ากันไม่ได้อย่างง่ายดาย และนั่นยังไม่นับรวมช็อตสั้นๆ ที่คนทำหนังแทรกเข้ามาเพื่อผลลัพธ์ทางอารมณ์ หรือการย้ำเตือนถึงหายนะที่เฝ้าคอย หรือแสดงห้วงคำนึงอันอลหม่านสับสนของตัวละคร

 

หรือเปรียบไปแล้ว หนังเรื่อง Oppenheimer ก็เหมือนกับจิ๊กซอว์ขนาดมหึมาที่เต็มไปด้วยชิ้นส่วนน้อยใหญ่มากมาย หากทว่าเมื่อทุกรายละเอียดถูกจัดวางอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ของมัน ผลลัพธ์โดยรวมก็เกื้อหนุนให้คนดูมองเห็น ‘ภาพใหญ่’ ที่ทั้งกว้างและลึก ของ 1. ตัวบุคคลผู้ซึ่งชีวิตของเขาพบเจอกับสิ่งที่เรียกว่า Rise and Fall หรือความรุ่งโรจน์และร่วงหล่นในลักษณะแตกต่างจากรถไฟเหาะตีลังกา ของ 2. บริบททางการเมืองและนักการเมืองที่ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน (และประเทศไหน) ก็สกปรก โสโครก อัปลักษณ์ และคิดเล็กคิดน้อยเหมือนกัน และเหนืออื่นใด ของ 3. ความจริงและการเตือนสติผู้คนในสังคมในแง่ที่ว่า ‘พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง’ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วโลกใบนี้ก็คงจะไม่หลงเหลือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่ามนุษย์อีกต่อไป

 

ภาพ: Universal Pictures

 

แต่ก็นั่นแหละ ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่ถาโถมใส่คนดู เสน่ห์ดึงดูดและเป็นแง่มุมที่ชวนให้สนเท่ห์ที่สุดของหนังได้แก่เนื้อหาที่มุ่งสำรวจและศึกษาตื้นลึกหนาบางของตัวละคร และอย่างหนึ่งที่สรุปได้ก็คือ Oppenheimer เป็นตัวละครที่ไม่ค่อยแสดงออกหรือมักจะเก็บซ่อนความคิดเห็นต่างๆ นานาเอาไว้ภายใต้ใบหน้าที่ดูเคร่งขรึมจริงจัง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะหยั่งรู้ได้ว่าเขานึกคิดอะไร และวิธีการที่คนทำหนังจับภาพ Oppenheimer ในระยะใกล้มากหลายครั้ง นั่นรวมถึงช็อตเปิดและปิดเรื่อง (ยิ่งใครได้ดูในระบบ IMAX ด้วยแล้ว ก็คงสัมผัสได้ถึงความน่าพิศวงและเป็นปริศนาของใบหน้าที่ชวนหลอกหลอนนี้มากยิ่งขึ้น) มีส่วนช่วยขยับขยายให้พวกเราได้มองเห็นร่องรอยของอารมณ์และความรู้สึกที่ ‘น้อยนิดแต่มหาศาล’ ของตัวละคร ทั้งความหมกมุ่นลุ่มหลง ความดื้อดึง ความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเจ็บปวดขื่นขมที่โดนหักหลัง ไปจนถึงความโศกสลดที่เจ้าตัวกลายเป็นคนที่จุดไฟแห่งความวิบัติฉิบหายของมนุษยชาติให้มันลุกโชน

 

ไม่ต้องสงสัยว่านี่เป็นการแสดงที่ลึกซึ้งสุดแสนวิเศษและละเอียดลออของ Cillian Murphy และสมควรยืนปรบมือให้อย่างกึกก้องยาวนาน

 

ภาพ: Universal Pictures

 

แต่อารมณ์ของตัวละครก็ส่วนหนึ่ง และบุคลิกก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ยิ่งทำให้ Oppenheimer เป็น Subject ที่ยิ่งน่าทึ่งมากขึ้นไปอีก และอย่างหนึ่งที่สามารถพูดได้ก็คือ เขาเป็นตัวละครที่สภาวะข้างในของเขาดูเหมือนเป็นสนามรบตลอดเวลา  ระหว่างการทำในสิ่งที่ตัวเองมุ่งมาดปรารถนาและมีความสามารถทำได้กับสำนึก ผิดชอบชั่วดี ระหว่างความฉลาดปราดเปรื่องกับความโง่เขลาเบาปัญญา หนึ่งในฉากเล็กๆ ตอนต้นเรื่องที่อาจใช้อธิบายสมมติฐานนี้ได้แก่เหตุการณ์ที่เขาแก้เผ็ดอาจารย์ผู้ซึ่งเล่นงานเขาเรื่องความซุ่มซ่ามในห้องแล็บ ด้วยการฉีดยาพิษเข้าไปในผลแอปเปิ้ลที่วางบนโต๊ะของอาจารย์คนนั้น และจากที่หนังนำเสนอ กว่าที่เขาจะตระหนักได้ว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และดิ้นรนแก้ไขเรื่องคอขาดบาดตาย (โง่ๆ) ที่อาจจะเกิดขึ้น มันก็หวุดหวิดเฉียดฉิวเหลือเกิน มิหนำซ้ำ คนที่กำลังรับเคราะห์กลับกลายเป็นบุคคลที่สาม

 

น่าสังเกตว่าเหตุการณ์นี้เป็นเสมือนลางบอกเหตุถึงเรื่องยุ่งยากที่กำลังจะเกิดขึ้น เขา (และทีมนักวิทยาศาสตร์) สร้างปรมาณูขึ้นมาด้วยความเชื่ออันไร้เดียงสาว่า อานุภาพร้ายแรงของมันจะค้ำประกันสันติภาพของโลกใบนี้ให้ยั่งยืน ทว่าจนแล้วจนรอด ทุกอย่างหันเหไปตรงกันข้าม และจิตสำนึกของความพยายามยับยั้งหายนะที่มาจ่อคอหอย บานปลายกลายเป็นการที่เขาถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน และถูกตั้งคำถามถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ฉากที่เหล่านักการเมืองรุมทึ้ง Oppenheimer ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวในห้องไต่สวน ก็หยอกล้ออยู่กับเรื่องของเทพแห่งกรีกองค์นั้นอย่างขมขื่นทีเดียว อีกทั้งผลลัพธ์สุดท้ายก็ยังลงเอยในสภาพที่ตัวเขาไม่แตกต่างจาก Adam ที่ถูกพระเจ้าอัปเปหิจากสวนเอเดนโทษฐานเด็ดผลไม้ต้องห้าม

 

ภาพ: Universal Pictures

 

กล่าวในแง่ของเทคนิค Oppenheimer เป็นหนังที่ถ่ายด้วยกล้อง IMAX และฟิล์มเซลลูลอยด์ขนาด 65 มม. ซึ่งพูดได้ว่าไม่มีใครใช้ประโยชน์จากจอภาพมหึมาและระบบเสียงที่กระหึ่มเร้าได้เก่งกาจและเหนือชั้นเหมือน Nolan อีกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉากที่เขาสำแดงถึงพิษสงของระเบิดปรมาณูที่ทั้งงดงามอย่างน่าตื่นตะลึง ขณะเดียวกัน ก็เรียกสิ่งที่มองเห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก ‘ไฟนรกขุมโลกันตร์’ ข้อมูลที่ยิ่งชวนให้ตื้นตันมากขึ้นก็ตรงที่ทั้งหมดทั้งมวลที่ปรากฏเบื้องหน้า ไม่ได้เป็นผลพวงจากมายากลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทว่ามันคือเปลวไฟอนาล็อกที่รุ่มร้อน เดือดดาล และกราดเกรี้ยวจริงๆ และนั่นทำให้ไม่มากไม่น้อย ความอุทิศทุ่มเทอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งผสมผสานกับทักษะการทำหนังอันล้ำเลิศของ Nolan ก็ส่งผลให้เขากลายเป็นคนทำหนังสายพันธุ์ที่หาได้ยากจริงๆ

 

ภาพ: Universal Pictures

 

มีแง่มุมหนึ่งคนมักจะพูดถึง Oppenheimer และถูกเอ่ยถึงในหนังด้วย ก็คือการที่เขาไม่เคยได้รางวัลโนเบล ทั้งๆ ที่ด้วยคุณสมบัติและผลงานมันก็เกินความคู่ควรและเหมาะสมไปโขทีเดียว แต่ก็นั่นแหละ หลังจากเวลาผ่านพ้นไป รางวัลอันยิ่งใหญ่อย่างโนเบลก็ดูเล็กกระจ้อยร่อยไปแล้วสำหรับบทบาทและสถานะทางประวัติศาสตร์ของ Oppenheimer

 

ฉันใดก็ฉันนั้น Chiristopher Nolan ก็ (ยังคง) ไม่เคยชนะรางวัลออสการ์ ทั้งๆ ที่ใครลองไล่เรียงชื่อหนังทั้งหมดก็คงนึกสงสัยว่าสถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ตกสำรวจผลงานของ Nolan ไปได้อย่างไร แต่ไม่ว่าเกียรติยศดังกล่าวจะเดินทางมาถึงหรือไม่และเมื่อใด มันก็ไม่มีวันเปลี่ยนข้อเท็จจริงที่ว่า Nolan เป็นคนทำหนังที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 21 และไม่มีข้อกังขาว่าหนังเรื่อง Oppenheimer จะเป็นอีกหนึ่งผลงานควบคู่ไปกับ Memento, The Dark Knight, Inception, Dunkirk ที่จะทำให้คนรุ่นหลังนึกถึงและจดจำ Christopher Nolan อย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

 

Oppenheimer (2023)

กำกับ: Christopher Nolan

ผู้แสดง: Cillian Murphy, Emily Blunt, Robert Downey Jr., Matt Damon ฯลฯ

The post Oppenheimer (2023) ชายผู้เด็ดแอปเปิ้ลต้องห้ามจากสวนเอเดนของพระผู้เป็นเจ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Past Lives (2023) หนังโรแมนติกดราม่าที่ละเมียดละไมอ่อนหวาน ว่าด้วย ‘ชีวิตแต่หนหลังและบางเรื่องที่ไม่เคยเลือนหาย’ https://thestandard.co/opinion-past-lives-2023/ Fri, 07 Jul 2023 08:00:34 +0000 https://thestandard.co/?p=813646 Past Lives (2023)

หนังเรื่อง Past Lives ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Celine Son […]

The post Past Lives (2023) หนังโรแมนติกดราม่าที่ละเมียดละไมอ่อนหวาน ว่าด้วย ‘ชีวิตแต่หนหลังและบางเรื่องที่ไม่เคยเลือนหาย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Past Lives (2023)

หนังเรื่อง Past Lives ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Celine Song คนทำหนังแคนาดา-เกาหลี เปิดเรื่องด้วยฉากที่ทั้งกระตุ้นและยั่วเย้าความฉงนสนเท่ห์ ตลอดจนพฤติกรรมสอดรู้สอดเห็นของคนดูได้ฉลาด หรือแม้กระทั่งเจ้าเล่ห์แสนกล

 

ภาพขนาดปานกลางของคนสามคนนั่งอยู่ที่เคาน์เตอร์ของร้านเหล้าแห่งหนึ่งในนิวยอร์กช่วงราวๆ ตีสี่ เสียงสนทนาแบบ Off-Screen ของใครก็ไม่รู้สองคนซึ่งแอบมองตัวละครทั้งสาม พยายามประเมินและคาดเดาความเกี่ยวข้องของพวกเขา ซึ่งประกอบด้วยหญิงหนึ่ง ชายสอง และสองในสามเป็นคนเอเชีย ทำนองว่า ใครน่าจะเป็นแฟนกับใคร อีกคนไปนั่งอยู่ตรงนั้นในฐานะอะไร เป็นไกด์ทัวร์ใช่หรือไม่ หรือว่าทั้งหมดเป็นเพื่อนร่วมงาน

 

ว่าไปแล้วเสียง Off-Screen นั้นก็คือเสียงของคนดูนั่นเอง และคนทำหนังเพียงแค่อำนวยความสะดวกด้วยการตั้งคำถามที่น่าจะผุดขึ้นในห้วงคำนึงของพวกเราแน่ๆ เท่านั้น

 

ความแยบยลของการเลือกเปิดเรื่องแบบนี้ก็คือ เมื่อฉากนี้หวนกลับมาเล่นซ้ำอีกครั้งช่วงท้าย (และโดยไม่มีเสียงนอกจออีกแล้ว) และคนดูไม่ได้อยู่ในความลึกลับดำมืดอีกต่อไป นี่เป็นห้วงเวลาที่ทั้งกระอักกระอ่วน ขมขื่น เศร้าสร้อย กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือแม้แต่ชวนให้ดำดิ่งในความมืดมนอนธการ

 

 

ตามเนื้อผ้า Past Lives เป็นหนังโรแมนติกดราม่าที่โยงใยอยู่กับความสัมพันธ์แบบสามเส้า และคุณสมบัติร่วมประการหนึ่งที่หนังของ Celine Song มีเหมือนกับหนังรักขึ้นหิ้งเรื่อง Brief Encounter ของ David Lean, In the Mood for Love ของ Wong Kar-wai, Carol ของ Todd Haynes และรวมถึง Eternal Sunshine of Spotless Mind (ซึ่งตัวละครใน Past Lives เอ่ยถึง) ของ Michel Gondry ก็คือการที่มันไม่ใช่หนังประเภทที่หลงละเมอเพ้อพกอยู่แต่กับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ จนกระทั่งหันหลังหรือเพิกเฉยต่อการมีอยู่ของโลกความเป็นจริง ข้อสำคัญ มันถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละครที่คนดูสัมผัสได้ถึงเลือดเนื้อตลอดจนความเป็นมนุษย์ที่รู้สึกรู้สม รู้ร้อนรู้หนาว และอ่อนไหว

 

เพราะเหตุนี้เอง ชีวิตของ Nora (Greta Lee ในบทบาทการแสดงที่ตราตรึง) จึงไม่ได้ว่างเปล่าและเฝ้าคอยความรักมาเติมเต็มเหมือนหนังประโลมโลกนับไม่ถ้วน ตรงกันข้าม ตัวละครนี้ผู้ซึ่งสืบสาวราวเรื่องแล้วก็ชวนให้สรุปได้ว่าเธอก็คือร่างทรงของผู้กำกับนั่นเอง (ทั้งในแง่การอพยพถิ่นฐานช่วงวัยเด็ก ความสนใจเรื่องการขีดเขียน) เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานในงานอาชีพ ความใฝ่ฝันตอนเล็กๆ ของเธอก็คือการเป็นชาวเกาหลีคนแรกที่ชนะรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม และเมื่อหนังพาคนดูกระโดดข้ามกาลเวลาไปอีก 12 ปี เข็มทิศชีวิตของตัวละครในเรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้เบี่ยงเบนจากเป้าที่เจ้าตัวเล็งไว้ตอนแรกเท่าไรนัก และไม่ว่าความมุ่งมาดปรารถนาของ Nora จะได้แก่การชนะรางวัลโนเบล, พูลิตเซอร์ หรือโทนี อย่างหนึ่งที่แน่ๆ ก็คือ ความรักแทบจะไม่ใช่สารตั้งต้นในการดิ้นรนกระเสือกกระสนของตัวละคร

 

Past Lives (2023)

 

ไม่ว่าจะด้วยเหตุนี้หรือไม่อย่างไร ประมวลจากที่หนังนำเสนอ ชีวิตแต่งงานของเธอกับ Arthur (John Magaro) สามีนักเขียนชาวอเมริกัน แทบจะไม่มีอะไรที่ดูหวือหวาหรือดูดดื่มหวานซึ้งเอาซะเลย ว่ากันตามจริง ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นเพียงเพราะสถานการณ์เอื้ออำนวย ทั้งเรื่องการพบเจอกันในโครงการนักเขียน นอนด้วยกันเพราะต่างก็เป็นคนโสดและไม่มีใคร ย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในอพาร์ตเมนต์ขนาดรังหนู อยู่กินในฐานะสามีภรรยาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อว่า Nora จะได้ใบเขียว ซึ่งจะช่วยให้เธอวิ่งไล่ไขว่คว้าตามความฝันของตัวเองในเมืองนิวยอร์กได้ง่ายดายขึ้น

 

คำถามในเชิงสมมติ (หรือ What If) ที่เรียบง่ายแต่ลึกๆ แล้วสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นของ Arthur ต่อ Nora ในฉากที่ทั้งสองพูดคุยกันบนเตียงนอน ทำนองว่า ถ้าหาก Nora พบเจอคนอื่นแทนที่จะเป็นเขาเมื่อครั้งกระนั้น คนที่นอนข้างๆ หญิงสาว ณ ตอนนี้จะเป็นอีกคนใช่หรือไม่ และไม่ว่า Nora จะตอบข้อสงสัยนี้อย่างไร สิ่งที่มองเห็นโทนโท่ก็เป็นอย่างที่กล่าวถึงก่อนหน้า ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนเป็นเรื่องของความประจวบเหมาะของสถานการณ์ และมีโอกาสสูงมากถ้าหาก ‘ทฤษฎีความน่าจะเป็น’ หันเหไปอีกทาง ระหว่าง Nora กับ Arthur ก็คงจะเป็นคนแปลกหน้าต่อกันไปตลอดกาล

 

Past Lives (2023)

 

แต่ก็นั่นแหละ ดูเหมือนคนทำหนังสื่อสารโดยอ้อมว่าหลักคิดแบบนี้ประยุกต์ใช้กับเรื่องของ Nora กับ Hae Sung (Teo Yoo) ไม่ได้ และพวกเราคนดูอยู่ในฐานะประจักษ์พยานความสัมพันธ์ของทั้งสองคนที่ครอบคลุมเวลาเนิ่นนานถึง 24 ปี หรือตั้งแต่ทั้งสองยังเยาว์วัย มองในแง่มุมหนึ่ง โอกาสที่เด็กหญิงและเด็กชายที่ครั้งหนึ่งเคยสนิทสนมแนบแน่นจะได้กลับมาพบหน้าค่าตากันอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากกันไปแบบข้ามทวีป (เพราะพ่อแม่ของ Nora โยกย้ายถิ่นฐาน) ก็เป็นเรื่องริบหรี่เต็มทน 

 

ขณะที่การตามหากันจนเจอของทั้งสองคนในช่วงที่พวกเขาโตเป็นหนุ่มสาว ส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี แต่คนทำหนังก็อุตส่าห์เว้นพื้นที่ไว้เพื่ออธิบายถึง ‘ความเป็นไปได้อันน้อยนิด’ นี้ทำนองว่ามันคือสิ่งที่คนเกาหลีเรียกว่า In-Yun ซึ่งบ้านเราคงเรียกอย่างกว้างๆ ว่าพรหมลิขิตหรือชะตาชีวิต และไม่ว่าสิ่งที่เรียกว่า In-Yun หรือพรหมลิขิตจะมีอยู่จริงหรือไม่อย่างไร ใช่หรือไม่ว่าความเชื่อเรื่องพลังอำนาจที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ตัวเล็กๆ เป็นเสมือนหนทางที่คนในสังคมตะวันออกมักใช้ Make Sense หรือทำความเข้าใจความลี้ลับและเป็นปริศนาของชีวิต

 

Past Lives (2023) 

 

ส่วนที่ต้องปรบมือดังๆ ให้กับคนทำหนังก็ตรงที่ Celine Song นำเสนอแง่มุมเหล่านี้ได้อย่างไม่หลงละเมอหรืองมงาย กระทั่งนำเอาความเชื่อแบบโบราณมาผสมผสานกับความเป็นไปของโลกสมัยใหม่ได้แนบเนียนและกลมกลืน แต่ประเด็นความเชื่อเรื่องคนเราเชื่อมโยงกัน เนื่องเพราะบางช่วงหรือหลายช่วงของชีวิตในอดีตเคยคาบเกี่ยวและทับซ้อนกันก็ส่วนหนึ่ง อีกแง่มุมที่คนทำหนังชวนคนดูสำรวจจริงๆ ก็ตรงตามชื่อหนังนั่นเอง

 

หรือพูดอย่างรวบรัด หนังเรื่อง Past Lives บอกเล่าการเดินทางทางจิตวิญญาณของ Nora ผู้ซึ่งจริงๆ แล้ว การได้พบปะพูดคุยกับ ‘หวานใจช่วงวัยเยาว์’ อีกครั้งไม่ได้นำไปสู่การคุ้ยเขี่ยถ่านไฟเก่าให้คุโชนอย่างมีนัยสำคัญ ทว่ามันเปิดโอกาสให้ตัวละครได้ทบทวนชีวิตแต่หนหลังของตัวเอง และเจ้าตัวก็ตกผลึกในแง่ที่ว่าเธอไม่ใช่ ‘เด็กหญิงอายุ 12 ขวบ ขี้แย’ คนนั้นอีกแล้ว เพราะโลกความเป็นจริงหยิบยื่นบทเรียนสำคัญว่าเธอไม่สามารถร่ำร้องเรียกหาความเห็นอกเห็นใจจากคนใกล้ตัวทุกครั้งที่ต้องการ และทีละน้อย เด็กหญิง 12 ขวบคนนั้นก็หายสาบสูญไป มองในแง่หนึ่ง การที่ Nora ได้พบเจอกับ Hae Song ก็ช่วยให้เธอได้ต่อติดกับเด็กหญิงคนนั้นอีกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ได้รับรู้ว่าสาวน้อยคนนั้นอยู่แห่งหนใดในอดีตกาลอันไกลโพ้น และไม่มากไม่น้อย ประเด็นการสำรวจสิ่งที่เรียกว่า ‘ชาติปางก่อน’ ก็กลายเป็นแง่มุมที่คนดูรู้สึกมีส่วนร่วมได้โดยอัตโนมัติ

 

Past Lives (2023)

 

แต่ส่วนที่น่าทึ่งจริงๆ ก็คือ ทั้งๆ ที่ Past Lives บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์สามเส้าที่มองผิวเผินแล้วแทบไม่หลงเหลือพื้นที่ที่ไม่เคยถูกเหยียบย่ำมาก่อน แต่สุดท้ายแล้ว มันกลับเป็นหนังที่พูดได้เต็มปากเต็มคำว่า Original มากๆ หรืออีกนัยหนึ่ง สะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร ทั้งประเด็นละเอียดและอ่อนไหวที่คนทำหนังหยิบยื่นดังที่เอ่ยข้างต้น รวมไปถึงกลวิธีการบอกเล่าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรสนิยม อันได้แก่กลไกทางด้านภาพ การออกแบบเสียง ดนตรีประกอบ ไปจนถึงการแสดงของนักแสดง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ต้องยกความดีความชอบให้กับผู้กำกับในแง่ที่รายละเอียดน้อยใหญ่เหล่านั้น ที่นอกจากไม่เรียกร้องความสนใจในตัวเอง ยังทำงานกับอารมณ์ความรู้สึกของคนดูอย่างสอดประสานและเป็นอันหนึ่งเดียวกัน

 

หนึ่งในฉากสำคัญและน่าจดจำที่สุดของหนัง และผู้ชมสัมผัสได้ถึงความพิเศษของห้วงเวลานั้น ก็คือตอนที่ Hae Song ได้พบกับ Nora ตัวเป็นๆ ครั้งแรกหลังจากเวลาผ่านพ้นไป 20 กว่าปี มันเป็นฉากที่ระคนอารมณ์ความรู้สึกหลากหลายซึ่งประดังเข้ามาพร้อมกัน ทั้งความกระสับกระส่ายและตื่นเต้นเพราะต่างก็ไม่ได้เจอกันมาแสนนาน ความเก้อเขิน ความปีติยินดี ทำนองว่าจนแล้วจนรอดต่างฝ่ายก็ยังคงหลงเหลือความเป็น ‘ใครคนนั้น’ ที่พวกเขารู้จักคุ้นเคย จนถึงความรู้สึกไม่อยากจะเชื่อว่านี่เกิดขึ้นจริง ประมาณว่านี่เป็นแค่ความฝันใช่หรือไม่ และในช่วงเวลาสั้นๆ ตรงนั้นเอง มันดูประหนึ่งว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างก็ไม่มีความหมาย และโลกใบนี้มีเพียงพวกเขาเพียงสองคน

 

Past Lives (2023)

 

ไม่น่าเชื่อว่า Past Lives เป็นผลงานเรื่องแรกของ Celine Song เพราะมันดูเหมือนเป็นหนังที่ผู้สร้างบอกเล่าด้วยความคล่องแคล่วและเชื่อมั่นอย่างคนที่คร่ำหวอดประสบการณ์ แต่ในมุมกลับกัน มันก็เป็นหนังที่แฝงไว้ด้วยความรู้สึกสดใหม่ เสน่ห์ดึงดูด ความมีชีวิตชีวา หรือแม้กระทั่งห้วงเวลาที่น่าพิศวงงงงวย ข้อสำคัญ ในความเป็นหนังที่พูดถึงเรื่องจำเพาะของคนสามคน ตัวหนังช่วยขยับขยายให้คนดูได้ครุ่นคิดอย่างจริงๆ จังๆ ถึงตัวเราในบางแง่มุมที่นึกไม่ถึงหรืออาจจะหลงลืม รวมทั้งในบางจังหวะและเวลา Past Lives ก็เป็นเหมือนกับโอบกอดของใครสักคนที่ช่วยปลอบโยนพวกเราคนดูจากความเป็นไปของชีวิตที่ช่างไม่น่ารื่นรมย์

 

Past Lives (2023)

กำกับ: Celine Song  

ผู้แสดง: Greta Lee, Teo Yoo, John Magaro

 

ภาพ: A24

The post Past Lives (2023) หนังโรแมนติกดราม่าที่ละเมียดละไมอ่อนหวาน ว่าด้วย ‘ชีวิตแต่หนหลังและบางเรื่องที่ไม่เคยเลือนหาย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Across the Spider-Verse (2023) ไอ้แมงมุมตัวตึง แอนิเมชันเปิดประสบการณ์ภาพยนตร์ที่ลืมไม่ลง https://thestandard.co/across-the-spider-verse-2023/ Tue, 06 Jun 2023 10:00:26 +0000 https://thestandard.co/?p=799928

หนึ่งในห้วงเวลาที่ชวนให้ตื้นตันบนเวทีประกาศรางวัลออสการ […]

The post Across the Spider-Verse (2023) ไอ้แมงมุมตัวตึง แอนิเมชันเปิดประสบการณ์ภาพยนตร์ที่ลืมไม่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนึ่งในห้วงเวลาที่ชวนให้ตื้นตันบนเวทีประกาศรางวัลออสการ์ครั้งล่าสุดเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านพ้นไป ได้แก่ ตอนที่ Guillermo del Toro กล่าวสุนทรพจน์ (ด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ) ขณะขึ้นไปรับรางวัลแอนิเมชันยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง Guillermo del Toro’s Pinocchio (2022) ถ้อยคำอันแสนกะทัดรัด 3-4 ประโยคแรกของเขา อาจจะนับเป็นทั้งแถลงการณ์ การแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เหนือสิ่งอื่นใดสัญญาประชาคมที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นและศรัทธาอันแรงกล้าของเจ้าตัวต่อความสำคัญของภาพยนตร์แอนิเมชัน สิ่งที่ Guillermo del Toro พูด อาจถอดความหมายกว้างๆ ได้ดังนี้

 

Guillermo del Toro’s Pinocchio (2022) 

ภาพ: Netflix

 

“แอนิเมชันคือภาพยนตร์ (Cinema) แอนิเมชันไม่ใช่ตระกูลหรือแนวเนื้อหาของภาพยนตร์ (Genre) แอนิเมชันเป็นรูปแบบการนำเสนอที่พร้อมจะได้รับการเขยิบศักยภาพไปอีกขั้นหนึ่ง และพวกเราทุกคนก็หมายมั่นปั้นมือ โปรดช่วยกันทำให้แอนิเมชันไม่ตกหล่นสูญหายไปจากบทสนทนา” 

 

(Animation is cinema. Animation is not a genre. Animation is ready to be taken to the next step. We are all ready for it. Please help us keep animation in the conversation.)

 

ไม่ว่าการ ‘เขยิบศักยภาพไปอีกขั้นหนึ่ง’ ตามที่ del Toro เอ่ยถึง จะมีความหมายว่าอะไร อย่างหนึ่งที่บอกได้แน่ๆ ก็คือ ภาพยนตร์เรื่อง Spider-Man: Across the Spider-Verse (2023) ของ Joaquim Dos Santos, Kemp Powers และ Justin K. Thompson ได้นำพาตัวมันเองไปสู่ตำแหน่งแห่งที่ที่พูดได้ไม่ต้องอ้อมค้อมว่า การดูภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้เปิดประสบการณ์ด้านภาพยนตร์ หรือ Cinematic Experience ในแบบที่ภาพยนตร์ที่ใช้คนเป็นๆ แสดงหยิบยื่นให้ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง มันขยับขยายโลกทัศน์และจินตทัศน์ของคนดูอย่างชนิดสุดเส้นขอบฟ้าจริงๆ หรือสรุปอย่างรวบรัด มันคือ ‘สถานีต่อไป’ ของความคิดสร้างสรรค์และศิลปวิทยาการ

 

คอมิก Spider-Verse #1 (2014)

ภาพ: Marvel

 

ว่ากันตามจริง คนดูรับรู้ได้ถึงความพิเศษและผิดแผกแตกต่างของ Spider-Man ฉบับแอนิเมชัน ตั้งแต่ภาคก่อนหน้าแล้ว ที่ใช้ชื่อว่า Spider-Man: Into the Spider-Verse (2018) เพราะมันไม่ใช่เพียงแค่การเอาพล็อตเดิมๆ ของ Spider-Man มารีเมกตามขนบและวัตรปฏิบัติที่สืบทอดกันมา (และเป็นอะไรที่ซ้ำซาก) ทว่า มันอาศัยเค้าโครงจากหนังสือการ์ตูนชุด Spider-Verse (ตีพิมพ์ในปี 2014) ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นการ Reimagining หรือเทียบเคียงเล่นๆ มันเหมือนกับการสร้างห้องทดลองขึ้นมาใหม่ และจินตนาการถึงโอกาสและความเป็นไปได้อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับขนบและเงื่อนไขพื้นฐานของความเป็น ‘Spider-Man’

 

หรือพูดอย่างย่นย่อ ทั้งหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์แอนิเมชันเริ่มต้นด้วยความเชื่อที่ว่า Spider-Man ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของ Peter Parker ที่เปลี่ยนนักแสดงไปเรื่อยๆ หรืออีกนัยหนึ่ง Spider-Man ไม่จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งเดียว และในทันทีที่แฟรนไชส์นี้แนะนำให้คนดูรับรู้ถึงการมีอยู่ของจักรวาลคู่ขนาน และรวมไปถึงพหุจักรวาลหรือมัลติเวิร์ส ก่อนที่มันจะกลายเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ทั้งประตูนรก สวรรค์ และมัชฌิมโลก ก็เปิดออกพร้อมกัน

 

Spider-Man: Into the Spider-Verse (2018) 

ภาพ: Sony Pictures 

 

ระลึกชาติกันเล็กน้อย Spider-Man: Across the Spider-Verse เป็นตอนที่ 2 ของไตรภาคที่เริ่มต้นด้วย Spider-Man: Into the Spider-Verse และตอน 3 ซึ่งมีกำหนดออกฉายปีหน้า ใช้ชื่อว่า Spider-Man: Beyond the Spider-Verse (2024) ตัวเอกของเรื่อง ได้แก่ Miles Morales (Shameik Moore) เด็กหนุ่มผิวดำเชื้อสายเปอร์โตริกันแห่งย่านบรูกลิน ผู้ซึ่งจับพลัดจับผลูถูกแมงมุมอาบกัมตรังสีกัดและกลายเป็น Spider-Man คนที่ 2 ต่อจาก Peter Parker ที่จบชีวิตไปต่อหน้าต่อตาด้วยน้ำมือของจอมวายร้ายที่ชื่อ Wilson Fisk 

 

และขณะที่เนื้อหาในส่วนที่พูดถึง ‘อำนาจอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง’ เป็นเหมือนแก่นเรื่องมาตรฐานที่ติดตั้งมาตั้งแต่ขั้นประกอบชิ้นส่วนในโรงงาน แง่มุมที่ทำให้ Into the Spider-Verse พิเศษและแตกต่างก็เป็นอย่างที่กล่าวก่อนหน้า ซูเปอร์ฮีโร่ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว พวกเราล้วนสามารถหาหน้ากากมาสวมใส่ได้และกลายเป็น Spider-Man ในแบบฉบับของแต่ละคน

  

ภาพ: Sony Pictures 

 

ภาค 2 หรือ Across the Spider-Verse เก็บตกจาก Into the Spider-Verse ราวๆ ปีครึ่ง และมองในแง่มุมหนึ่ง มันทำหน้าที่ของการเป็น ‘ตอน 2 ของภาพยนตร์ไตรภาค’ ได้อย่างเจ้าเล่ห์แสนกล อันได้แก่ สืบสาน รักษา และต่อยอด ก่อนจะปิดฉากด้วยตอนจบที่ปล่อยให้คนดูอยู่ในภาวะทุรนทุราย 

 

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกสิ่งที่ดูเหมือนยุติไปแล้วในภาคแรก (หัวโจกถูกกำราบ เหล่าไอ้แมงมุมหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ที่หลงมิติอยู่ใน ‘โลก-1610’ ได้กลับคืนสู่ ‘ด้อม’ ของตัวเอง และเป็นที่เชื่อว่าเครื่องทะลุมัลติเวิร์สถูกทำลายล้างไปเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นเหตุการณ์ท้ายเครดิต ซึ่งสื่อสารความหมายตรงกันข้าม) ล้วนเป็นภาพลวงตา และความยุ่งยากครั้งใหม่มีขนาดใหญ่โตกว่าที่คาดคะเนยิ่งนัก ในกรณีของ Miles Morales สิ่งที่เจ้าตัวต้องเผชิญก็เรียกเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากสภาวะที่น่ากระอักกระอ่วน กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หนีเสือปะจระเข้

 

ภาพ: Sony Pictures 

 

ข้อน่าสังเกตก็คือ สถานการณ์หรือปมขัดแย้งที่หนุ่มน้อยพบเจอไม่แตกต่างจากสถานการณ์ของตัวภาพยนตร์ชุด Spider-Verse แต่อย่างใด บรรยายสรุปอย่างย่นย่อและโดยที่ไม่เปิดเผยเนื้อหาจนเกินไป ช่วงครึ่งหลังของเรื่อง พระเอกของเราถูก Miguel O’ Hara หรือ Spider-Man 2099 จากอีกมิติเวลา และเป็นหัวหน้าชมรมไอ้แมงมุมกอบกู้มัลติเวิร์ส ตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงว่า Miles เป็นสิ่งแปลกปลอมของชุมชนแห่งนี้ และการดำรงอยู่ของเขารบกวนเสถียรภาพและสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้พหุจักรวาลต้องพบกับความพินาศย่อยยับ หรือพูดง่ายๆ ก็คือเขาเป็น Spider-Man นอกคอก และหนทางเดียวก็คือ Miles ต้องยอมจำนนต่อขนบปฏิบัติหรือข้อบัญญัติ (Canon) ที่ ‘ชาว Spider’ ทั้งชายหญิงและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (รวมถึงสไปเดอร์เหมียวและสไปเดอร์ทีเร็กซ์) ล้วนยึดถือกันสืบมา ซึ่งผู้ชมต้องไปค้นหาในภาพยนตร์กันเอาเองว่ามันคืออะไร ทว่า สำหรับพระเอกของเรา นี่มันเป็นการร้องขอให้เขาต้องเสียสละมากเกินไปและเจ้าตัวยอมรับไม่ได้

 

คำถามที่ผุดขึ้นในห้วงคำนึงของตัวละครก็คือ ทำไมใครต่อใครถึงต้องคอยกำหนดว่าเรื่องของเขามันควรจะพัฒนาไปอย่างไร ทั้งๆ ที่นี่มันเป็น ‘เรื่องเล่าของเขา’

 

ภาพ: Sony Pictures 

 

ลองเทียบบัญญัติไตรยางศ์ง่ายๆ ใช่หรือไม่ว่าภาพยนตร์แอนิเมชันชุด Spider-Verse ก็เป็นเสมือนสิ่งแปลกปลอมในความสัมพันธ์กับจักรวาลภาพยนตร์ของมาร์เวล (MCU) เพราะก็อย่างที่เหล่าสาวกรับรู้รับทราบ ตัวภาพยนตร์ไม่ได้สังกัด Marvel Studios และสิ่งที่แฟรนไชส์นี้พยายามดลบันดาลให้เกิดขึ้นก็คือ การเป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ในแบบฉบับของตัวมันเอง ที่ไม่ต้องตกอยู่ใต้อาณัติของเส้นเรื่องและกรอบเวลาของเจ้าอาณานิคมแห่งใด  และนับเนื่องจากภาคแรกจนถึงภาค 2 ก็ต้องบอกว่ามันไม่เพียงแค่มาได้ไกลและเป็นตัวของตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ กระทั่งพูดได้ว่ามันคือ ‘ภาพยนตร์ Spider-Man’ 2 เรื่องที่เฉียบคมและเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์มากที่สุด

 

และส่วนหนึ่งของความน่าพิศวงงงงวยของภาพยนตร์เรื่อง Across the Spider-Verse ได้แก่ งานด้านวิชวลที่แทบไม่มีทางที่ใครที่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วจะสามารถเก็บเกี่ยวความน่าอัศจรรย์พันลึกได้ในคราวเดียว และการดูรอบที่ 2 หรือมากกว่านั้น น่าจะช่วยสร้างความรู้สึกดื่มด่ำกำซาบได้ลึกล้ำมากขึ้น 

 

รวมทั้งได้เห็นถึงความละเอียดและพิถีพิถันของการสร้างมู้ดและโทน ตลอดจนสภาวะของชั้นบรรยากาศที่แตกต่างของแต่ละยูนิเวิร์ส บางด้อมก็เป็นแค่ลายเส้นขยุกขยุยเหมือนเขียนไม่เสร็จ บ้างก็เป็นแค่การ์ตูนสองมิติแบนๆ ด้านๆ บ้างก็ดูสะลึมสะลือและสีสันเลอะเลือนเหมือนได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิมเพรสชันนิสต์ บ้างก็หยิบฉวยเอาลายเส้นอย่างในหนังสือการ์ตูนมาใช้ประโยชน์โดยตรง (ลักษณะเป็นช่องๆ และการใช้ตัวหนังสือในกรอบสี่เหลี่ยมบอกเล่าเรื่องราว) หรือฉากที่ผู้สร้างแนะนำให้ผู้ชมรู้จัก Spider-Man แห่งมุมไบ กลิ่นอายของความเป็นดินแดนภารตะก็ฟุ้งกระจายผ่านเส้นสายและการใช้สีที่เข้มข้นหนักแน่น

 

และฉากที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้ก็คือ โมเมนต์สุดแสนโรแมนติกที่คู่พระนางนั่งกลับหัวกลับหางเฝ้ามองความเป็นไปของเมืองนิวยอร์กที่แออัดยัดทะนานด้วยตึกสูงในห้วงยามสนธยา

 

ภาพ: Sony Pictures 

 

แต่ก็นั่นแหละ กลไกด้านภาพและเสียงอันวิจิตรพิสดาร ซึ่งส่งผลให้โสตทัศน์ของคนดูต้องทำงานไม่หยุดหย่อน ก็รองรับไว้ด้วย ‘ปมเรื่องหลักและรอง’ ที่แฟนๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของแฟรนไชส์ น่าจะเชื่อมโยงได้ไม่ยากเย็นนัก หนึ่งในนั้น ได้แก่ ประเด็นความสัมพันธ์ในแบบระหองระแหงระหว่างคนเป็นพ่อ-แม่กับคนเป็นลูก และก็อย่างที่ทุกคนนึกออกว่า เราสามารถต่อสู้กับอุปสรรคขวากหนามหรือศัตรูตัวฉกาจหน้าไหนก็ได้ และโดยที่ไม่ต้องรู้สึกหวั่นไหวต่อภยันตราย แต่สำหรับความรักและความห่วงกังวลของคนเป็นพ่อ-แม่ ที่บางครั้งหรือหลายครั้งมันดูเกินกว่าเหตุมากๆ นี่คือสมรภูมิที่เอาชนะไม่ได้ 

 

มองในมุมกลับกัน Across the Spider-Verse ก็สื่อสารกับคนเป็นพ่อ-แม่เช่นกัน โดยเฉพาะการพูดถึงความยุ่งยากของการต้องรับมือกับเด็กหนุ่มเด็กสาวผู้ซึ่งพลังของพวกเขาล้นเหลือไม่แตกต่างจากซูเปอร์ฮีโร่ และพวกเขาพร้อมจะทำอะไรที่มันหุนหันพลันแล่นและบุ่มบ่ามตลอดเวลา

 

อย่างที่บอกข้างต้น Spider-Man: Across the Spider-Verse เป็นตอนที่ 2 ของไตรภาค และความสำเร็จอย่างยิ่งยวดของคนทำภาพยนตร์ก็คือ การทำให้คนดูตะครุบเหยื่อที่ผู้สร้างวางหลอกล่ออย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งนั่นแปลว่าคนดูต้องคอยอีกอย่างน้อย 1 ปีกว่าที่เรื่องราวที่ค้างคาจะได้รับการสะสางให้ลุล่วงไปในทิศทางหนึ่งทิศทางใด เชื่อว่าเหล่าสาวก Spidey คงเห็นพ้องว่า นั่นเป็นเวลาที่แสนเนิ่นนาน และการเฝ้ารอก็เป็นสภาวะที่สุดแสนจะทานทน

 

Spider-Man: Across the Spider-Verse (2023)

กำกับ: Joaquim Dos Santos, Kemp Powers และ Justin K. Thompson

ให้เสียงพากย์: Shameik Moore, Hailee Steinfeld, Jason Schwartzman และ Oscar Isaac

The post Across the Spider-Verse (2023) ไอ้แมงมุมตัวตึง แอนิเมชันเปิดประสบการณ์ภาพยนตร์ที่ลืมไม่ลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023) หนังปิดไตรภาคของทีมจำอวดพิทักษ์กาแล็กซีที่ทั้งเศร้า ซึ้ง และครื้นเครง https://thestandard.co/guardians-of-the-galaxy-vol-3-2023/ Sat, 06 May 2023 08:23:17 +0000 https://thestandard.co/?p=786011 Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

นับเฉพาะหนังในจักรวาล Marvel (MCU) ที่ถูกสร้างและออกฉาย […]

The post Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023) หนังปิดไตรภาคของทีมจำอวดพิทักษ์กาแล็กซีที่ทั้งเศร้า ซึ้ง และครื้นเครง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

นับเฉพาะหนังในจักรวาล Marvel (MCU) ที่ถูกสร้างและออกฉายในโรงหนัง Guadians of the Galaxy Vol. 3 (2023) ถูกจัดอยู่ใน Phase 5 (Phase หนึ่งมีหนังประมาณ 6-11 เรื่อง) หรือถ้าไล่เรียงตามลำดับสายพานการผลิต ก็เป็นหนังเรื่องที่ 32 โดยมี Iron Man ในปี 2008 เป็นหัวแถว

 

สำหรับขาจร ลำพังแค่ลองทบทวนรายชื่อและไม่ต้องตามดูให้ครบถ้วน ก็เป็นเรื่องที่น่าเหน็ดเหนื่อยในตัวมันเอง ขณะที่สำหรับเหล่าสาวกผู้อุทิศตน นี่เป็นการเดินทางที่แสนยาวไกลจริงๆ และถ้าหากจะพูดกันอย่างแฟร์ๆ คุณภาพของหนังแต่ละเรื่องก็คละเคล้ากันไป 

 

หลายเรื่องก็สร้างความเลื่อมใสศรัทธาได้อย่างแรงกล้า (Avengers: Endgame, Spider-Man: No Way Home, Captain America: Civil War, Black Panther) แต่อีกหลายเรื่อง และโดยเฉพาะหนังที่คาบเกี่ยวจาก Phase 4 ไป Phase 5 ก็พูดอย่างอื่นไม่ได้นอกจากบอกว่า มันไม่ได้หยิบยื่นอะไรที่ท้าทาย ทั้งยังซ้ำซากจำเจ (Doctor Strange in the Multiverse of Madness, Thor: Love and Thunder, Ant-Man and the Wasp: Quantumania หรือแม้กระทั่ง Black Panther: Wakanda Forever) และก่อให้เกิดคำถามว่า กรุพระเครื่องยี่ห้อ MCU ยังคงความศักดิ์สิทธิ์และน่าเกรงขามอีกมากน้อยแค่ไหน เพียงใด

 

จริงๆ แล้วการเรียกร้องความพิเศษ ความแปลกใหม่ และเป็นตัวของตัวเอง จากแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่โตและเทอะทะมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย เพราะก็อย่างที่รับรู้ หนัง Marvel แต่ละเรื่องไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ หากเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอันกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาลที่เหมือนกับถูกออกแบบเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว และการที่หนังสักเรื่องหรือหลายเรื่องจะทำตัวนอกลู่นอกทางหรือแตกแถว ก็อาจก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมไปถึงหนังเรื่องอื่นอย่างช่วยไม่ได้ และนั่นส่งผลให้ซูเปอร์ฮีโร่แต่ละคนแผลงฤทธิ์ได้แต่เฉพาะในวิกของตัวเอง

 

Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

 

แต่ก็นั่นแหละ ในเงื่อนไขของการเป็นหนังกระแสหลักที่สร้างเพื่อกลุ่มคนดูวงกว้าง Guardians of the Galaxy ทั้ง 3 ภาค ซึ่งพูดได้เต็มปากว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ของ James Gunn ตั้งแต่เริ่มแรก (ทั้งในฐานะคนเขียนบทและกำกับ ผู้ซึ่งเรื่องราวเบื้องหลังการถูก Disney ไล่ออกและจ้างกลับมาใหม่ยังคงประเด็นโจษขานกันไม่เลิกรา) น่าจะเป็นหนังที่ดูเหนือความคาดหมาย หรือแม้กระทั่ง ‘บ้าบอคอแตก’ มากกว่าเพื่อน ที่แน่ๆ มันพยายามไม่เชื่องหรือปล่อยให้คนดูทำนายทายทักได้ง่ายดาย 

 

หนึ่งในความห่ามของหนังซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่ก็อาจใช้เป็นเครื่องหมายบอกถึงความพยศและการทดสอบแนวต้านของคนทำหนังก็คือ การที่ Guadians of the Galaxy Vol. 3 ได้ชื่อว่าเป็นหนัง Marvel เรื่องแรกที่ตัวละครหลุดคำผรุสวาท (ขึ้นต้นด้วยอักษร F) ออกมาในฉากอันแสนฉุกละหุกที่ Quill พระเอกของเรา พยายามอธิบายวิธีเปิดประตูรถยนต์รุ่นเรโทรให้ Nebula ผู้ซึ่งไม่ประสีประสากับเทคโนโลยีล้าหลังแบบนี้ และว่ากันตามจริง มันเป็นฉากที่ตลกมากกว่าหยาบคาย และคำคำนั้นก็โผล่มาแบบเหมาะควรด้วยกาลเทศะจริงๆ 

 

และไหนๆ ก็ไหนๆ สิ่งที่เรียกว่าเป็นเสมือนสปิริตของหนังชุด Guardians of the Galaxy และยังคงโดดเด่นและชัดแจ้งใน Vol. 3 ก็คือความเป็นหนังแฟนตาซีผสมนิยายวิทยาศาสตร์เกรดบี ซึ่งมันถูกแสดงผ่านองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม เมกอัพ ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก ทั้งในลักษณะของการรำลึก คารวะ และหยอกล้อความอนาถาและน่าสมเพชเวทนาคละเคล้ากันไป (ใครลองนึกถึงยูนิฟอร์มของหน่วยรักษาความปลอดภัยบนดาวดวงแรกที่กลุ่มตัวเอกบุกไปล้วงข้อมูลที่ดูเหมือนมาสคอตของยี่ห้อยางรถยนต์ ก็น่าจะเห็นภาพชัดแจ้ง) 

 

Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

 

อีกอย่างที่เป็นเครื่องหมายการค้าของหนังชุดนี้ก็คือ บรรดาเพลงป๊อปและร็อกจากทศวรรษ 1970 เป็นส่วนใหญ่ จากเทปคาสเซตต์รวมฮิตของพระเอก ที่หลายครั้งถูกใช้เป็น Background Music แทนดนตรีบรรเลง และมันแทบจะทำให้หนังซูเปอร์ฮีโร่ของจักรวาล Marvel เรื่องอื่นแอบอ้างความคิดสร้างสรรค์ในส่วนนี้ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

 

กระนั้นก็ตาม โครงสร้างที่แข็งแกร่งจริงๆ ได้แก่ การออกแบบบุคลิกตัวละคร ซึ่งก็อย่างที่มองเห็นโทนโท่ว่า ตำนานผจญภัยนี้เป็นการรวบรวมเอากลุ่มคนที่ไม่เข้าพวก กระทั่งดูจนตรอกและสิ้นหวัง เข้าไว้ด้วยกัน 

 

ข้อสำคัญภายใต้กรอบของการเป็นตัวละครที่มีพลังอำนาจหรือความสามารถพิเศษกว่าใครๆ ทุกคนล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน ข้อบกพร่อง หรือแม้กระทั่งปมด้อยในแบบปุถุชนคนธรรมดา ‘มากๆ’ ซึ่งไม่มากไม่น้อย กลายเป็นเงื่อนไขที่นำพาให้คนดูสัมผัสได้ถึงความมีเลือดเนื้อ และรู้สึกเกี่ยวข้องผูกพันกับตัวละคร

 

และต้องบอกว่า James Gunn ใช้ประโยชน์จากความอ่อนไหวเปราะบางในส่วนนี้กับ Vol. 3 ได้อย่างเฉลียวฉลาดและแยบยล ผ่านเส้นเรื่องสองเส้นที่มุ่งหน้ากันไปคนละทิศทาง

 

Guardians of the Galaxy Vol.3

 

เรื่องหนึ่งเป็นของ Peter Quill (Chris Pratt) ผู้ซึ่งในตอนที่หนังพาคนดูไปพบตัวละครนี้ เขายังถอนตัวจากความโศกเศร้าเพราะสูญเสียคนรัก Gamora (Zoe Saldaña) ที่ถูก Thanos จับโยนจากหน้าผาใน Avengers: Infinity War (2018) ไม่ได้ แต่คงไม่ใช่เรื่องลึกลับดำมืดแต่อย่างใด 

 

และหนังตัวอย่างก็ระบุอย่างไม่ปิดบังอำพรางว่า อีกปางหนึ่งของ Gamora ได้กลับมาร่วมผจญภัยกับปฏิบัติการครั้งใหม่นี้ เพียงแต่ว่าเธอไม่มีข้อมูลหรือความทรงจำแต่ครั้งเก่าก่อนกับพระเอกที่ยังคงหลงละเมอเพ้อพก และสถานการณ์ระหว่างตัวละครทั้งสองก็คล้ายหนังตลกพ่อแง่แม่งอน ที่ฝ่ายหนึ่งพยายามรื้อฟื้นความหลัง ขณะที่อีกฝ่ายไม่ยอมเล่นด้วย 

 

และหนึ่งในฉากที่ตลกที่สุดของหนังอยู่แถวนี้เอง (จริงๆ แล้ว Marvel ตัดฉากนี้ออกมาเป็นคลิปให้ดูได้ในช่อง YouTube ด้วย) นั่นคือตอนที่ Quill เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดในใจกับคนรักผ่านระบบอินเตอร์คอม โดยหารู้ไม่ว่าทุกคนในทีมต้องทนฟังประโยคเลี่ยนๆ ด้วยความกล้ำกลืน บ้างก็อึดอัดทรมาน

 

ว่าไปแล้วนี่เป็นฉากที่โชว์ฝีมือกำกับของ James Gunn อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการหลอกล่อให้คนดูเคลิบเคลิ้มไปกับห้วงเวลาที่ซาบซึ้งตรึงใจ และเชื่อว่าหลายคนก็คงเอาใจช่วย 

 

ทว่าชั่วพริบตาและรวดเร็วยิ่งกว่า Thanos ดีดนิ้วในหนังเรื่อง Endgame ฉากโรแมนซ์ก็แปรเปลี่ยนเป็นตลกซิตคอมที่น่าจะเรียกเสียงหัวเราะได้อย่างครึกโครม 

 

ส่วนที่น่าทึ่งก็คือ ในท้ายที่สุดแล้วผู้สร้างก็หาทางออกให้กับความสัมพันธ์ที่มาถึงทางตันของคนทั้งสองได้อย่างชนิดบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่นทีเดียว

 

Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ เส้นเรื่องหลักของหนังเกี่ยวข้องกับ Rocket (เสียงพากย์โดย Bradley Cooper) ผู้ซึ่งย้อนกลับไปสองภาคก่อนหน้า มันไม่เคยยอมให้ใครมาเรียกว่าแร็กคูนหรือตัวอะไรก็ตาม และว่ากันตามจริง เราไม่เคยรู้ตื้นลึกหนาบางเกี่ยวกับคาแรกเตอร์ที่ดูฉลาดเป็นกรดนี้ นอกจากมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม 

 

และคนดูได้แต่นึกสงสัยว่า เรื่องราวแต่หนหลังแบบไหนกันที่เจ้า Rocket แอบซ่อนไว้ภายใต้เกราะกำบังแน่นหนาของการเป็นตัวประหลาดที่มีทัศนะเย้ยหยันแดกดัน 

 

และปมเรื่องของ Vol. 3 ที่ว่าด้วยมวลหมู่สมาชิกผู้พิทักษ์จักรวาลต้องดิ้นรนแข่งกับเวลาเพื่อช่วยชีวิต Rocket ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการบุกจู่โจมอย่างปัจจุบันทันด่วนของ Adam Warlock ช่วงต้นเรื่อง ก็ค่อยๆ ปอกเปลือกนอกของเจ้าแร็กคูนกลายพันธุ์ให้คนดูได้รับรู้เรื่องแต่หนหลัง ผ่านฉากย้อนอดีตที่หนังแทรกเข้ามาเป็นระยะ 

 

และอย่างหนึ่งที่บอกได้แน่ๆ ก็คือ บาดแผลเมื่อครั้งที่เจ้าตัวเป็นสัตว์ทดลองในห้องแล็บยังคงอักเสบกลัดหนอง และทีละน้อย โน่นนี่นั่นที่หนังถ่ายทอด ก็น่าจะทำให้พวกเรามองเห็นตัวละครนี้ด้วยสายตาไม่เหมือนเดิม

 

อีกครั้งหนึ่งที่ต้องชมคนทำหนัง ในแง่ที่เขาสอดแทรกฉากดราม่าที่ดูหม่นมืดแบบนี้เข้ามาในหนังที่ขับเคลื่อนด้วยแอ็กชันอึกทึกครึกโครมเป็นหลักได้อย่างแนบเนียนและกลมกลืน หรืออย่างน้อยเราไม่รู้สึกว่ากำลังถูกคนทำหนังตั้งหน้าตั้งตาบีบเค้นให้ต้องสะเทือนไหวไปกับวิบากกรรมแต่ครั้งเก่าก่อนอย่างเอาเป็นเอาตาย และทั้งหมดคลับคล้ายว่างอกเงยออกมาจากปมเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ

 

Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

 

รวมๆ แล้วถ้าจะมีอะไรที่น่าเสียดายหรือน่าผิดหวัง ก็ตรงที่ตัวร้ายที่เรียกตัวเองว่า High Evolutionary ดูแข็งกระด้างและน่าเบื่อเกินไป ลึกๆ แล้วหมอนี่ก็เหมือนกับ Thanos ในแง่ที่เป้าประสงค์ของเขาสะท้อนความปรารถนาอันแรงกล้าต่อมวลมนุษยชาติ 

 

ทว่าวิธีการของเขามันโหดเหี้ยมและเลือดเย็น อีกทั้งคาแรกเตอร์นี้ดูไม่มีเสน่ห์ดึงดูดเหมือน Thanos (และเราได้เห็นแต่ด้านที่เกรี้ยวกราด) อันส่งผลให้จนแล้วจนรอดเยื่อใยระหว่างเขากับ Rocket รวมถึงคนดู พลอยแห้งแล้งเย็นชา และการอยู่หรือไปของบุคลิกนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่พวกเราต้องแคร์แต่อย่างใด

 

Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023)

 

อย่างไรก็ตาม ส่วนที่พูดได้ไม่อ้อมค้อมว่าคนทำหนังดูพิถีพิถันมากๆ ก็คือ บทสรุปของเรื่องที่สันนิษฐานได้ว่า จนป่านนี้หลายคนคงรับรู้ว่า Guardians of the Galaxy Vol. 3 ไม่ได้เป็นแค่หนังปิดไตรภาค หากแต่มันคือวาระที่ ‘งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา’ และก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่ใครจะ ‘อ่าน’ และตีความตอนจบของหนังเรื่องนี้โดยเชื่อมโยงกับการที่ตัว James Gunn ย้ายค่ายไปทำหนังให้กับ DC คู่แข่งตลอดกาลของ Marvel

 

พูดง่ายๆ มันดูเหมือนว่า ภารกิจสุดท้ายของ Gunn คือจัดการส่งให้ทุกๆ บุคลิกตัวละครได้ลงเอยในแบบที่นอกจากไม่มีใครถูกทิ้งขว้างแล้ว แต่ละคนยังมีบทสรุปหรือหนทางไปต่อที่น่าเชื่อว่าแฟนๆ และกองเชียร์คงร่วมชื่นชมยินดี

 

ด้วยเหตุนี้เอง คำถามที่ว่า Guardians of the Galaxy จะมีตอนต่อหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด เพราะเอาเข้าจริงๆ หนังก็ให้เงื่อนงำไว้แล้ว 

 

ทว่าอย่างหนึ่งที่เราสามารถฟันธงได้ค่อนข้างแน่ก็คือ สำหรับทีมจำอวดพิทักษ์กาแล็กซีรุ่นบุกเบิกของ James Gunn ซึ่งหอบหิ้วกันมาเนิ่นนานร่วมสิบปี หนังเรื่อง Guardians of the Galaxy Vol. 3 คือสถานีปลายทาง

 

Guardians of the Galaxy Vol.3 (2023) 

ผู้กำกับ: James Gunn

นักแสดง: Chris Pratt, Zoe Saldaña, Dave Bautista, Karen Gillan, Bradley Cooper ฯลฯ

 

ภาพ: Marvel Studios

The post Guardians of the Galaxy Vol. 3 (2023) หนังปิดไตรภาคของทีมจำอวดพิทักษ์กาแล็กซีที่ทั้งเศร้า ซึ้ง และครื้นเครง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Air (2023) ตำนานเกือกยัดห่วงบันลือโลก https://thestandard.co/opinion-air-2023/ Mon, 10 Apr 2023 10:41:33 +0000 https://thestandard.co/?p=775140

หนังเรื่อง Air (2023) ผลงานกำกับของ Ben Affleck และเป็น […]

The post Air (2023) ตำนานเกือกยัดห่วงบันลือโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนังเรื่อง Air (2023) ผลงานกำกับของ Ben Affleck และเป็นการร่วมงานกันอีกครั้งกับเพื่อนคู่หูตลอดกาล Matt Damon ในฐานะนักแสดงนำ บอกเล่าเรื่องราวที่น่าเชื่อว่าคนอเมริกันน่าจะไม่เคยรู้สึกเหนื่อยหน่ายหรืออิ่มเอมเกินกว่าจะรับรู้รับฟังครั้งแล้วครั้งเล่า หรือจริงๆ แล้วพวกเขาน่าจะอ้าแขนต้อนรับเรื่องราวพวกนี้ตลอดเวลา เพราะในท้ายที่สุดแล้ว มันช่วยสำทับความเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่เรียกว่าเป็นมายาคติที่ว่าด้วยความฝันในแบบของคนอเมริกัน

 

หรืออีกนัยหนึ่ง สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนแห่งโอกาสและเสรีภาพสำหรับทุกภาคส่วนที่ดิ้นรนไขว่คว้า โดยไม่ต้องแคร์ว่าพวกเขาจะมาจากฐานะที่ต่ำต้อยด้อยค่าเพียงใด แต่บางทีคำว่า ‘ดิ้นรนไขว่คว้า’ อาจจะฟังดูเพราะพริ้งและสวยหรูเกินไป และว่าไปแล้วพฤติการณ์ของแมวมองของฝ่ายบริหารบริษัทรองเท้ายี่ห้อ Nike ตามที่บอกเล่าในหนังเรื่อง Air เรียกอีกอย่างได้ว่าการเล่นแร่แปรธาตุ และหลายครั้งแท็กติกของเขาพูดไม่ได้ว่าเป็นการเข้าตามตรอกออกตามประตู

 

 

ใครที่เป็นแฟนบาสเกตบอล NBA โดยเฉพาะในช่วงสมัยของ Michael Jordan (1984-2003) คงต้องเคยได้ยินเรื่องราวการเดิมพันทางธุรกิจครั้งมโหฬารของ Nike ด้วยการเซ็นสัญญามูลค่ามหาศาลกับ Michael Jordan ผู้ซึ่งเพิ่งจะก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยหมาดๆ และยังไม่ได้แม้แต่ลิ้มรสชาติของการเล่นในระดับ NBA แม้แต่เกมเดียว (เผื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติม เนื้อหาส่วนนี้ถูกบอกเล่าโดยสังเขปใน EP.5 ของหนังสารคดีความยาว 10 ตอนเรื่อง The Last Dance ซึ่งสตรีมทาง Netflix) และไม่ว่าฝ่ายบริหารของ Nike ไปได้ข้อมูลที่สร้างความเชื่อมั่นมาจากไหน (เพราะว่ากันตามจริง นอกจากฝีไม้ลายมือที่โดดเด่นของ Jordan แล้ว ก็ไม่มีทางที่ใครจะล่วงรู้อนาคตว่าเขาจะไปได้สวยในระดับอาชีพมากน้อยเพียงใด เพราะนี่เป็นกีฬาประเภททีม) ปรากฏว่าผลลัพธ์ของการแทงหวยในระดับยอมฉิบหายขายตัวครั้งนี้ลงเอยด้วยการที่ Nike ค้นพบบ่อน้ำมันที่สูบเท่าไรก็ไม่มีวันหมดจวบจนถึงปัจจุบัน

 

 

ในทางกลับกัน ความท้าทายของ Affleck ในฐานะผู้กำกับ และรวมถึง Alex Convery คนเขียนบทในการบอกเล่าเรื่องดังกล่าว อยู่ตรงที่พวกเขาจะทำอย่างไรให้เรื่องที่เหมือนกับ ‘ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว’ ยังคงมีลมหายใจหรือชีวิตชีวา และไม่ต้องไปคำนึงว่ามันจะต้องทำให้คนดูรู้สึกจดจ่อ ร่วมลุ้นระทึกหรือเอาใจช่วยตัวละคร ส่วนที่น่าทึ่งก็คือในท้ายที่สุดแล้วสามารถพูดได้เต็มปากว่าการล่วงรู้ตอนจบของพวกเราก็แทบจะไม่มีความหมายอะไร เพราะจนแล้วจนรอด การวางกรอบในการบอกเล่า อารมณ์ขันที่สอดแทรก ทักษะและชั้นเชิง ตลอดจนจังหวะจะโคนในการหลอกล่อ ไปจนถึงการแสดงที่เลอเลิศของทุกคน ส่งผลให้ Air เป็นหนังที่คนดูไม่อาจละวางสายตาตลอดระยะเวลากว่าสองชั่วโมง

 

และไหนๆ ก็ไหนๆ แท็กติกหรือกลวิธีที่คนทำหนังใช้ในการหว่านล้อมให้คนดู (อเมริกันหรือไม่ก็ตาม) คล้อยตามก็ด้วยการวางปมเรื่องแบบ Underdog หรือเนื้อหาที่ว่าด้วยตัวละครที่นอกจากไม่มีทั้งแต้มต่อหรือความได้เปรียบแต่อย่างใด โอกาสของชัยชนะหรือการบรรลุเป้าหมายก็ริบหรี่เต็มทน

 

 

หรือพูดอย่างเจาะจงง่ายๆ ในตอนที่คนทำหนังพาผู้ชมไปพบกับทีมบริหารของแผนกรองเท้าเล่นบาสของ Nike ในช่วงปี 1984 องค์กรแห่งนี้เป็นเพียงแค่มือวางอันดับสามรองจาก Converse และ adidas หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ภายใต้กฎเกณฑ์การอยู่รอดของระบอบทุนนิยม อันดับสามหมายความว่า ถ้าหากไม่มีใครทำอะไร มันก็เป็นเรื่องของระยะเวลาว่าช้าหรือเร็วเท่านั้นที่พวกเขาจะตกเป็นเหยื่ออันโอชะของปลาใหญ่สองตัว และตรงไหนสักแห่งแถวนี้เองที่ Sonny Vaccaro (Matt Damon) ผู้ซึ่งหนังบอกให้รู้ว่าเขาเป็นนักพนันที่ห่วยแตก มองเห็นฝีไม้ลายมืออันสุดแสนพิเศษของเด็กหนุ่มอายุเพียงแค่ 21 ปีที่ชื่อ Michael Jordan ผู้ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงของเขาคือการชู้ตแต้มสำคัญที่ช่วยให้ทีมมหาวิทยาลัยของเขาชนะการแข่งขันระดับประเทศ และเสนอให้ Phil Knight (Ben Affleck) CEO ของ Nike ทุ่มทุนสร้างอย่างชนิดหมดหน้าตักดังที่กล่าวข้างต้นในเกมการแย่งชิง ‘MJ’ กับบริษัทรองเท้ายี่ห้ออื่น เพราะนั่นเป็นหนทางเดียวที่จะได้ตัว ซึ่งสันนิษฐานได้ไม่ยากว่าคนกำเงินมองว่านี่เป็นแผนการที่บ้าระห่ำ และไม่ใช่วิธีการทำธุรกิจที่ชาญฉลาด

 

 

มองในแง่หนึ่ง หนังของ Affleck ประสบความสำเร็จในการวาดให้ผู้ชมได้เห็นว่าสนามแข่งขันทางธุรกิจไม่เพียงคลาคล่ำด้วยเสือสิงห์กระทิงแรด หากยังห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านไม่แตกต่างจากเกมยัดห่วง NBA หรือหนักหนาสาหัสกว่าด้วยซ้ำ และผู้ชมถูกเน้นย้ำตลอดเวลาว่า Nike ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Converse และ adidas ซึ่งทั้งชื่อเสียงและสายป่านยืดยาวกว่าอย่างเทียบไม่ได้ เหนืออื่นใด ตัว MJ ก็ไม่เคยเห็นยี่ห้อ Nike อยู่ในสายตา และมี adidas เป็นแบรนด์ที่เจ้าตัวอยากร่วมเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจอยู่ก่อนแล้ว

 

แต่ก็อย่างที่หลายคนคงมองเห็นข้ามช็อตได้ไม่ยาก จุดประสงค์ของอุปสรรคขวากหนามที่ถาโถมเข้ามาก็เพื่อให้ช่วงเวลาเข้าเส้นชัยมันหอมหวานและมีความหมายมากขึ้น และในขณะที่เนื้อหาบอกเล่าเรื่องของการขับเคี่ยวในทางธุรกิจ และมีเรื่องของเม็ดเงินมหาศาลมาเกี่ยวข้อง ส่วนที่ต้องระบุอย่างเจาะจงและดูเหมือนคนทำหนังก็ไหวตัวทัน ได้แก่การที่มันไม่ได้พยายามจะเป็นหนังที่สร้างเพื่อเฉลิมฉลองระบอบทุนนิยมอย่างหน้ามืดตามัว และเน้นย้ำว่าชัยชนะของ Nike เป็นเรื่องของปฏิภาณไหวพริบของ Sonny และทีมงาน และรวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎข้อหนึ่งของบริษัทซึ่งถูกเน้นย้ำให้คนดูรับรู้ระหว่างทาง และมันอ่านว่า ‘Break the rule: fight the law’ หรือพูดง่ายๆ กฎมีเอาไว้ให้แหก เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว หน้าประวัติศาสตร์คงต้องจารึกว่ารองเท้าที่ Michael Jordan สวมใส่ติดยี่ห้อ adidas แน่นอน

 

 

แต่ก็อีกนั่นแหละ หากพูดเรื่องปฏิภาณไหวพริบและการแหกกฎแหวกกรอบ MVP หรือผู้เล่นทรงคุณค่าของหนังก็คงต้องยกให้ Viola Davis ในบท Deloris แม่ของ MJ คำนวณคร่าวๆ ระยะเวลาปรากฏตัวบนจอของ Davis น่าจะไม่ถึงหนึ่งในสามของหนังทั้งเรื่อง ทว่าฝีไม้ลายมืออันเข้มข้นและจัดจ้านก็ทำให้เธอกลายเป็นตัวเต็งผู้เข้าชิงนักแสดงสมทบหญิงปีหน้าของทุกสถาบันโดยอัตโนมัติ (แม้ว่ามันจะดูเร็วเกินไปสักนิด) และอย่างหนึ่งที่แน่ๆ ก็คือ แอ็กติ้งของ Davis ทำให้ผู้ชมเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยว่า Deloris คือคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ MJ ทั้งในและโดยเฉพาะนอกสนามอย่างแท้จริง

 

มองในแง่หนึ่ง Deloris ก็เป็นตัวละครแบบเดียวกับ Richard Williams (Will Smith) พ่อของ Venus และ Serena Williams สองนักเทนนิสชื่อก้องโลกจากหนังเรื่อง King Richard (2021) พวกเขาไม่ได้เห็นแก่เงินหรือตั้งหน้าตั้งตาขายลูกกิน แต่พวกเขาตระหนักใน ‘มูลค่า’ ของศักยภาพและความสามารถ และปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่มากไม่น้อย ฉากที่ Viola Davis ต่อประโยคของ Matt Damon ที่บอกว่า “รองเท้ามันก็แค่รองเท้า” ด้วยถ้อยคำที่เธอบอกว่า “…จนกระทั่งลูกชายของฉันสวมใส่มัน” ก็บอกโดยอ้อมถึงความเป็นนักธุรกิจที่เด็ดเดี่ยว และสามารถยืนแลกหมัดกับ Nike ได้อย่างไม่ต้องลดราวาศอกแม้แต่นิดเดียว

 

 

ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนังเรื่อง Air น่าจะทำให้สายพานการผลิตรองเท้า Air Jordan ต้องทำงานหนัก และยอดขายน่าจะพุ่งขึ้น (ไม่มากก็น้อย) เพราะก็อย่างที่จั่วหัวข้างต้น มันบอกเล่าที่มาและตำนานของรองเท้าสนีกเกอร์เล่นบาส ซึ่งน่าจะทำให้คนดูขาจรเฝ้ามองสินค้ารุ่นนี้ด้วยสายตาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่ก็อย่างที่กล่าวก่อนหน้า หากนี่เป็นหนังที่พูดถึงการก่อร่างสร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของ Nike ก็น่าเชื่อว่าคนดูคงไม่แคร์ และวิธีการที่ Affleck ทำให้ยี่ห้อทางธุรกิจนี้ดูเป็นมนุษย์มนาผ่านตัวละครที่คิดนอกกรอบอย่าง Sonny ผู้ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว สารรูปของเขาดูห่างไกลจากการเป็นตัวแทนขององค์กรยักษ์ใหญ่ ทั้งบุคลิก วิธีคิด และโดยเฉพาะเสื้อผ้าและรูปร่างที่ดูซอมซ่อมากๆ (ข้อสังเกตก็คือเราไม่เคยเห็นเขาใส่สูตผูกไทแม้แต่ฉากเดียว) ก็ต้องนับว่าแยบยลและประสบความสำเร็จในการซื้อใจคนดู

 

และแน่นอน การแสดงที่คล่องแคล่วลื่นไหลและสุดแสนเป็นธรรมชาติของ Matt Damon ก็ถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของหนัง นั่นรวมถึงห้วงเวลาที่เจ้าตัวเอ่ย Monologue เลี่ยนๆ ตอนท้ายซึ่งก็ยังอุตส่าห์เอาตัวรอดไปได้

 

 

อีกอย่างหนึ่งที่นับเป็นเสน่ห์ดึงดูด ได้แก่การตกแต่งบรรยากาศของทศวรรษ 1980 ผ่านงานสร้างและงานกำกับศิลป์ที่ประณีตและพิถีพิถันผ่านเสื้อผ้าหน้าผม ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยของตัวละคร ผ่านเสียงเพลงป๊อปที่แสนโด่งดังของยุคสมัย (Dire Straits, Bruce Springsteen, The Alan Parsons Project ฯลฯ) และทีละน้อย การดูหนังเรื่องนี้ก็เหมือนกับการได้นั่งไทม์แมชชีนย้อนกาลเวลา

 

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ต้องปรบมือให้กับ Ben Affleck ในการจัดการกับปมปัญหาที่ว่าด้วย ‘การปรากฏตัวของ Michael Jordan’ หรืออีกนัยหนึ่ง ในหนังที่ว่าด้วยรองเท้าที่ถูกออกแบบให้ MJ สวมใส่ มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวบุคคลต้นแบบ ประเด็นอยู่ที่ว่าคนทำหนังจะให้เห็นอย่างไร หรือให้ใครมาสวมบทบาทแทน ซึ่งหากเป็นอย่างหลัง ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็อาจจะไปลดทอนความน่าเกรงขาม หรือแม้กระทั่งทำให้รู้สึกสะดุดหรือต่อไม่ติด และพูดอย่างรวบรัด วิธีแก้ไขความยุ่งยากของ Affleck (ซึ่งต้องไปค้นหากันเอาเอง) ก็ยิ่งเสริมสร้างมนตร์ขลังและความเป็นตำนานของ Michael Jordan และสะท้อนรสนิยมของคนทำในแง่ที่หนังเปิดโอกาสให้คนดูได้บริหารจินตนาการของตัวเอง

 

รวมๆ แล้ว Air เป็นหนังที่เล่าเรื่องได้สมชื่อ มันให้ความรู้สึกล่องลอยและเบาสบายเหมือนติดปีกโบยบิน

 


 

Air (2023)

ผู้กำกับ: Ben Affleck

นักแสดง: Matt Damon, Ben Affleck, Jason Bateman, Chris Tucker, Viola Davis

 


 

ภาพ: Warner Bros. Pictures

The post Air (2023) ตำนานเกือกยัดห่วงบันลือโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>