×

องค์กรจะรับมืออย่างไร? เมื่อการลาออกระลอกใหญ่ ‘The Great Resignation’ จะเปลี่ยนรูปแบบและความต้องการของคนทำงานในอนาคต [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
08.02.2022
  • LOADING...
Cigna

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • การเกิด ‘The Great Resignation’ อภิมหาการลาออกครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า รูปแบบการทำงานในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป แม้การระบาดจะจบลงก็ตาม ประเทศไทยก็อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ เมื่อเราสามารถปรับตัวกับวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ได้ และมองเห็นข้อดีของความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิต ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากโบกมือใส่วิถีชีวิตเช่นนั้น 
  • นี่เป็นโจทย์ที่นายจ้างและองค์กรต้องเร่งหาวิธีรับมือ เพื่อซัพพอร์ตรูปแบบการทำงานใหม่และความต้องการของพนักงาน เมื่อสวัสดิการด้านตัวเงินอาจไม่ดึงดูดใจเท่ากับการได้รับความสุขทางใจ ความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดี
  • นอกจากการมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ‘ประกันสุขภาพกลุ่ม’ ยังเป็นสวัสดิการที่สำคัญสำหรับพนักงาน

หากประเด็นเรื่อง ‘เหตุผลที่พนักงานตัดสินใจลาออก’ ถูกหยิบมาพูดเมื่อ 5-10 ปีที่แล้ว คงพบเหตุผลหลักๆ ไม่กี่ข้อ เช่น ต้องการปรับเงินเดือน งานที่ทำอยู่ไม่ตรงกับความสามารถ ไม่มีโอกาสเติบโตในที่ทำงาน หรือมีข้อเสนอในตำแหน่งงานที่ดีกว่า

 

แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีหลายประเด็นที่กำลังสั่นคลอนตลาดแรงงานทั่วโลก บทความใน Harvard Business Review เผยว่า สถานการณ์โรคระบาดทำให้คนทำงานเกือบ 50% ไม่สนใจเรื่องการไต่เต้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอาชีพ ถ้าต้องแลกมาด้วยคุณภาพชีวิตที่แย่ลง 

 

ใครจะคิดว่าการระบาดของโรคร้ายไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต แต่ยังสะเทือนไปถึงรูปแบบชีวิตการทำงานของผู้คนทั่วโลก เมื่อเราได้ลิ้มลองข้อดีของการทำงานจากที่ไหนก็ได้ และสำหรับบางคนและงานบางประเภท การ Work from Home ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า ผู้คนเริ่มสัมผัสถึงความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิต สามารถจัดสรรเวลาได้อย่างอิสระ

 

Cigna

 

การเกิด ‘The Great Resignation’ อภิมหาการลาออกครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ เมื่อพนักงานกว่า 4 ล้านชีวิต ตัดสินใจลาออกจากงานหลังผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดเมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 และลาออกเพิ่มอีก 3.9 ล้านคนในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และผลสำรวจจากบริษัทเอสดี เวิกซ์ ยังพบว่า แรงงานในเยอรมนีมีการลาออกที่เกี่ยวเนื่องกับการระบาดของโรคร้ายมากที่สุด และมีแรงงาน 6.0% ลาออกจากงานมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่สำรวจ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ แน่นอนว่าประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มที่จะเกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกัน เมื่อเราสามารถปรับตัวกับวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ได้และมองเห็นข้อดีของความยืดหยุ่นในการทำงานและการใช้ชีวิต ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากโบกมือใส่วิถีชีวิตเช่นนั้น เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า รูปแบบการทำงานในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไปแม้การระบาดจะจบลงก็ตาม  

 

สถานการณ์การระบาดของโรคร้ายในช่วงที่ผ่านมาทำให้คนมีเวลาไตร่ตรองว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการในชีวิตจริงๆ อะไรคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ความสุขที่ได้ให้เวลากับตัวเอง ให้เวลากับครอบครัว อาจเป็นสิ่งที่คนยุคใหม่โหยหามากกว่าเงินเดือนที่ดึงดูดใจหรือโบนัสปลายปีที่ไม่คุ้มค่าพอจะแลกกับความสุขตรงหน้า หากต้องเลือกระหว่างสวัสดิการที่ดีกับความยืดหยุ่นที่ได้จากรูปแบบการทำงานใหม่ มีแนวโน้มที่คนส่วนใหญ่จะยอมทิ้งโบนัสก้อนโตเพื่อแลกกับความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี หรือไม่ก็มองหาบริษัทที่มีข้อเสนอที่ตอบโจทย์ชีวิตมากกว่าและสามารถมอบคุณภาพชีวิตที่ดีได้  

 

Cigna

 

ผลสำรวจจาก Ernst & Young Global ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ระบุว่า 47% ของพนักงาน พร้อมจะลาออกหากต้องกลับไปใช้รูปแบบการทำงานที่ตายตัวแบบเดิม โดย 52% ต้องการความยืดหยุ่นด้านสถานที่ทำงาน และ 40% ต้องการความยืดหยุ่นด้านเวลา นี่เป็นโจทย์ที่นายจ้างและองค์กรต้องเร่งหาวิธีรับมือเพื่อซัพพอร์ตรูปแบบการทำงานใหม่และความต้องการของพนักงาน เมื่อสวัสดิการด้านตัวเงินอาจไม่ดึงดูดใจเท่ากับการได้รับความสุขทางใจ ความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดี 

 

แนวทางการปรับองค์กรให้มีความยืดหยุ่นสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนทำงาน โดยที่ยังสร้างประสิทธิภาพในการทำงานมีให้เห็นมากมาย เช่น เทรนด์การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เพื่อสร้าง Work Life Balance อย่างที่ประเทศไอซ์แลนด์ ได้ทดลองให้แรงงาน 25,000 คน ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ การทดลองตลอด 4 ปี (2015-2019) พบว่า ประสิทธิผลของงานเท่าเดิมและหลายกรณีที่งานดีขึ้นกว่าเดิม ปัญหาเรื่องความเครียดและการหมดไฟลดต่ำลง ที่สำคัญมี Work Life Balance ดีขึ้น ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งเผยคู่มือนโยบายเศรษฐกิจประจำปี หนึ่งในนั้นคือ อนุญาตให้พนักงานเลือกทำงาน 4 วันได้ โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่า “การทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน บริษัทยังคงรักษาพนักงานผู้มีประสบการณ์และความสามารถไว้กับบริษัทได้ ไม่เช่นนั้นแล้วพวกเขาอาจต้องลาออกไปดูแลครอบครัวหรือดูแลผู้เฒ่าในครอบครัว”

 

Adecco ผู้นำด้านการสรรหาและการจัดจ้างพนักงานระดับโลกเผย ‘5 HR Trends’ ในปี 2022 หนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจคือ Personalization หรือการปรับระบบการบริหารบุคคล เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานและให้สอดคล้องกับพนักงานที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะงาน รูปแบบการทำงาน คอร์สเรียน หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้เหมาะกับความจำเป็น รูปแบบการใช้ชีวิต ลักษณะนิสัยและความสามารถ ซึ่งวิธีดังกล่าวน่าจะเหมาะกับองค์กรขนาดเล็กและกลาง เนื่องจากมีจำนวนพนักงานไม่เยอะ  

 

Cigna

 

ส่วนสวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีอย่าง ‘ประกันสุขภาพ’ ก็เป็นสิ่งที่คนทำงานมองหา และเป็นประเด็นที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ ปี 2019 องค์กรใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ ลงทุนเฉลี่ย 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน สำหรับประเทศไทย แม้ว่าทุกองค์กรจะมีสิทธิประกันสังคม แต่ความคุ้มครองต่างๆ ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกความต้องการ ยิ่งเราอยู่ในยุคที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกับโรคระบาดและการอุบัติของโรคใหม่ๆ จากการทำงานและการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพแบบเดิมอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป 

 

‘ประกันสุขภาพกลุ่ม’ ที่มีความยืดหยุ่น ปรับและเปลี่ยนได้ตามความต้องการในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดูจะเป็นคำตอบที่สอดรับกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำงานยุคใหม่ และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคนในองค์กรด้วยสวัสดิการด้านสุขภาพ

 

อย่าง ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่ม (Local Health Benefit: LHB) ของ Cigna ที่สามารถออกแบบแผนประกันตามความต้องการของแต่ละองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรและนายจ้างเลือกผลประโยชน์และความคุ้มครองสำหรับพนักงานได้อย่างตรงความต้องการและเหมาะสม โดยมีความโดดเด่น 3 ด้าน ได้แก่  

 

Cigna

 

Innovation: ให้สุขภาพของพนักงานและความมั่นคงขององค์กรเติบโตไปพร้อมกัน 

เคลมสะดวก ครบ จบในแอปเดียว ‘Cigna Anywhere’ จัดการเรื่องการเคลมได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ และทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องพกบัตรประจำตัวผู้เอาประกันด้วยบริการ E-Care Card สามารถเช็กความคุ้มครอง ดูสถานะการเคลม และเช็กวงเงินความคุ้มครองคงเหลือแบบเรียลไทม์ ยื่นเคลมออนไลน์ได้เลยโดยไม่ต้องส่งเอกสารที่วงเกินไม่เกิน 5,000 บาท (ต้องเก็บเอกสารตัวจริงไว้ 1 ปี) แถมยังเบิกจ่ายเคลมรวดเร็วเพียง 7-10 วันทำการ

  

Flexible: จัดการทุกเรื่องยุ่งยากให้ง่ายด้วยแผนความคุ้มครองที่ยืดหยุ่นและโซลูชันต่างๆ  

มีความยืดหยุ่นในการออกแบบแผนและสามารถขยายความคุ้มครองถึงคู่สมรสและบุตรได้ ทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นด้วยโซลูชันต่างๆ อาทิ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลได้ทันทีไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถสั่งยาและรอรับยาที่บ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงบริการ Refill Medicine เติมยาโดยเภสัชกรถึงบ้าน เหมาะกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาเป็นประจำ 

 

Progressive: คุ้มค่าการลงทุน ช่วยให้องค์กรควบคุมและลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล 

ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยและอุบัติเหตุให้กับพนักงานตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดถึง 600,000 บาท ด้วยเครือข่ายสถานพยาบาลในเครือที่มีมากกว่า 522 แห่ง จึงมั่นใจได้ว่าจะคุ้มครองพนักงานได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ และยังสามารถเรียกเก็บเงินค่ารักษาทางทันตกรรมโดยตรง มีผู้ให้บริการทั่วโลกมากถึง 1.65 ล้านรายที่มีการเรียกเก็บเงินโดยตรง อีกทั้งยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงพร้อมส่วนลดมากมาย มีโปรแกรมสนับสนุน Health & Wellness และ OPD คุ้มครอง 72 ชั่วโมง 

 

Cigna

 

นอกจากความโดดเด่น 3 ด้านที่ครอบคลุมความคุ้มครองรอบด้านและยังยืดหยุ่นพร้อมปรับตามการเปลี่ยนแปลงโลก แผนประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มยังให้มากกว่าความคุ้มครอง แต่ยังเน้นไปที่การพัฒนาสุขภาพแบบครบวงจรด้วยโปรแกรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการให้ความรู้ การจัดกิจกรรม บทความเกี่ยวกับสุขภาพ ผ่านทางกิจกรรมและสื่อออนไลน์อีกด้วย

 

แม้การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อรับมือกับรูปแบบการทำงานของคนยุคใหม่จะเป็นสิ่งจำเป็น แต่อย่าลืมว่าลึกๆ แล้วพนักงานทุกคนล้วนคาดหวังที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากองค์กรในทุกมิติ ทั้งเรื่องงานและสุขภาพ ถึงจะปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานบาลานซ์ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างดีแล้ว สวัสดิการสำคัญอย่างประกันสุขภาพกลุ่มก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน 

 

ดังนั้นการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยแผนประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มที่คุ้มครองอย่างครอบคลุมและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และความต้องการ อาจเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนทำงานในอนาคตว่าจะเลือกทำงานกับบริษัทไหนก็ได้

 

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ “ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่ม (Local Health Benefit: LHB)” เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3IEfX8G

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising